1/1 Close

หน้าแรก >[04] กสิกรรม > วังน้ำเขียว > ที่ตั้งสำนักงาน-ประวัติ บุคลากร ระเบียบ กิจกรรม องค์ความรู้ ผลิตภัณฑ์

กลุ่มส่งเสริมกสิกรรมไร้สารพิษ วังน้ำเขียว

 

ที่ทำการ

เลขที่ 14 หมู่ที่ 11 บ้านน้ำซับ ตำบลวังน้ำเขียว อำเภอวังน้ำเขียว
จังหวัดนครราชสีมา 30370 โทรศัพท์ 01-9664247 , 01-861758

ความเป็นมา

กลุ่มส่งเสริมกสิกรรมไร้สารพิษ วังน้ำเขียว ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 27 มกราคม 2541
จากการรวมตัวของเกษตรกรอำเภอวังน้ำเขียว เนื่องจากเล็งเห็นซึ่งปัญหาและ
โทษภัยของการใช้สารเคมีในการเกษตร ซึ่งส่งผลกระทบอย่างรุ่นแรงต่อสุขภาพ
ของประชาชน และสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่ต้นน้ำ จึงได้หันมาปลูกผัก
และไม้ผลโดยไม่ใช้ สารเคมี (ไร้สารพิษ) รวมทั้งดำเนินกิจกรรมต่างๆ ที่มีผลดี
ต่อการประกอบอาชีพด้านการเกษตรของสมาชิกและเพื่อนเกษตรกร ตลอดจน
สิ่งแวดล้อม กิจกรรมที่เกิดขึ้นเป็นไปในแนวทาง เศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง ได้รับ
พระกรุณา โปรดเกล้าฯ รับไว้ในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เมื่อวันที่
9 ตุลาคม 2541 ปัจจุบันมีสมาชิกจำนวน 496 คน ในพื้นที่ 42 หมู่บ้านของอำเภอ
วังน้ำเขียว และมีเครือข่ายในพื้นที่อื่น ๆ เช่น อำเภอสีคิ้ว ขามทะเลสอ ครบุรี
จังหวัดนครราชสีมา และได้จดทะเบียนเป็นสหกรณ์กสิกรรมไร้สารพิษใน-เขต
ปฎิรูปที่ดินอำเภอวังน้ำเขียว จำกัด เมื่อวันที่

วัตถุประสงค์

1. เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้สมาชิกตระหนักถึงมหันตภัยจากการใช้สารเคมี โดย
มาดำเนินกิจกรรม เกษตรปลอดสารพิษ

2. เพื่อส่งเสริมสนับสนุน ให้สมาชิกรวมกลุ่มจัดตั้งองค์กร ชุมชน และ ดำเนิน
กิจกรรมตามแนวทาง เศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง

3. เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้สมาชิก นำเทคโนโลยีที่เหมาะสม จากภูมิปัญญา
ท้องถิ่นมาผสมผสานในการดำเนินกิจกรรม

4. เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้สมาชิกมีส่วนร่วมในการปกป้อง อนุรักษ์และพัฒนา
วัฒนธรรม ประเพณี ทรัพยากรธรรมชาติตลอดจนสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นของตน

5. เพื่อแสวงหาเครือข่ายและประสานความร่วมมือในการดำเนินกิจกรรม

6. เพื่อเป็นแหล่งศึกษาให้ความรู้และถ่ายทอดประสบการณ์ให้แก่ประชาชนและ
องค์กรอื่น ๆ

พื้นที่ดำเนินงาน

หมู่บ้านในเขตอำเภอวังน้ำเขียว และเครือข่ายกลุ่มส่งเสริมกสิกรรมไร้สารพิษ
ทั่วประเทศไทย

กิจกรรมที่ดำเนินการในปัจจุบัน

1. ส่งเสริมให้สมาชิกมีอาชีพด้วยการปลูกผักไร้สารพิษ จำนวน 80 ราย ภายใน
พื้นที่ 3 ตำบล รวม พื้นที่ปลูกประมาณ 90 ไร่

2. ส่งเสริมให้สมาชิกรวมกลุ่มอาชีพต่าง ๆ ขึ้น จำนวน 10 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มสตรี
แปรรูปผลผลิต กลุ่มจำหน่ายผลผลิต กลุ่มทำอิฐดินซีเมนต์ กลุ่มทำปุ๋ยชีวภาพ
กลุ่มเพาะชำกล้าไม้ กลุ่มช่างยนต์เล็ก กลุ่มร้านค้าสาธิต กลุ่มเยาวชน กลุ่มผู้สูงอายุ
และกลุ่มเผาถ่านไร้มลพิษ

3. จัดตั้งธนาคารกลุ่มส่งเสริมกสิกรรมไร้สารพิษ ตามแนวพระราชดำริ ให้บริการ
ฝาก-ถอน แหล่งเงินทุน มีสมาชิกจำนวน 477 คน มีเงินฝากเฉลี่ยเดือนละ
1,500 บาท

4. จัดตั้งร้านค้าสาธิต จำหน่ายเครื่องอุปโภคบริโภค ปัจจัยการผลิต แต่ไม่จำหน่าย
สุรา บุหรี่ น้ำอัดลมและสารเคมี มียอดเงินการจำหน่ายเฉลี่ยเดือนละ 30,000 บาท

5. รวบรวมผลผลิตของสมาชิกจำหน่ายโดยกลุ่มโดยไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง

6. เผยแพร่ความรู้และประสบการณ์ด้านกิจกรรมกลุ่มอาชีพให้แก่บุคคลอื่น
ด้วยการจัดฝึกอบรม ดูงาน มีผู้มาศึกษาดูงานกว่า 40 จังหวัด ปีละกว่า 20,000 คน

7. ส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ด้วยการปลูกหญ้าแฝกบริเวณ
พื้นที่ลาดเอียง ปลูกต้นไม้บริเวณพื้นที่ต้นน้ำ เลิกใช้สารเคมีในการเพาะปลูก การเลิก
เผาฟางและหญ้าโดยนำมา ใช้คลุมผิวดิน เป็นต้น

เจ้าหน้าที่องค์กร

ดำเนินการ ในรูปคณะทำงาน โครงการส่งเสริมกสิกรรมไร้สารพิษ อันเนื่องมาจาก
พระราชดำริ มีจำนวน 8 คน วุฒิปริญญาตรี 4 คน มัธยมศึกษา 4 คน มีประสบการณ์
ด้านการพัฒนาชนบท การพัฒนาสิ่งแวดล้อม การพัฒนาแบบกระบวนการกลุ่ม
งานด้านการฝึกอบรมการจัดค่ายเยาวชน การบริหารจัดการโครงการ การเพาะปลูก
โดยไม่ใช้สารเคมี การบริหารจัดการกองทุน การตลาดผักปลอดสารพิษ งานด้าน
การพัฒนาเยาวชนและสตรี เป็นต้น

งบประมาณการดำเนินงานของกลุ่ม

1. จากการระดมทุนของสมาชิกผ่านธนาคารกลุ่ม

2. เงินอุดหนุนจากหน่ายงานภายนอกในรูปของโครงการ

1) กองทุนชุมชนธนาคารออมสิน ปี พ.ศ. 2542
จำนวน 5,103,000 บาท
2) สถานฑูตออสเตรเลีย ผ่านทางออสเอด ปี พ.ศ. 2543
จำนวน 1,108,000 บาท
3) กรมการปกครอง ผ่านทางองค์การบริหารส่วนตำบลวังน้ำเขียว ปี พ.ศ. 2543
จำนวน 964,000 บาท

3. สำนักงานคณะกรรมการประสานงานพิเศษ โครงการอันเนื่องมาจาก
พระราชดำริ (กปร.) สนับสนุนโครงสร้างพื้นฐาน เช่น สร้างอาคารอบรม ทำถนน
ขุดลอกแหล่งน้ำ

หลักการและเหตุผล

อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา ตั้งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง
ของประเทศไทย ภูมิประเทศเป็นภูเขาสูง ขนาบด้วยอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่และ
อุทยานแห่งชาติทับ-ลาน เป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำลำธารสำคัญ 3 สาย ได้แก่
ลำพระเพลิง ลำมูลบน ลำเชียงสา ไหลผ่านหลายอำเภอของจังหวัดนครราชสีมา
รวมสู่ลำน้ำมูลผ่านจังหวัดบุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ ไหลลงสู่แม่น้ำโขง ที่อำเภอ
โขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ประชากรของอำเภอวังน้ำเขียวมีจำนวน 400,698
คน แบ่งพื้นที่การปกครองเป็น 5 ตำบล 68 หมู่บ้าน 1 เทศบาล อาชีพส่วนใหญ่
ทำการเกษตรได้แก่ ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง ไม้ผล และทำนา มีพื้นที่
ทำการเกษตรรวมกันประมาณ 286,310ไร่ การใช้สารเคมีในการเกษตรมีปริมาณ
ค่อนข้างสูงเป็นผลให้เกิดการตกค้างในผลผลิต ในดิน และแหล่งน้ำลำธารตลอดจน
มีการเผาพื้นที่หลังการเก็บเกี่ยวเป็นบริเวณพื้นที่กว้างทำให้หน้าดินถูกทำลาย การพัง
ทลายของหน้าดินมีปริมาณสูง พื้นที่เสื่อมโทรม เป็นผลให้เกิดการบุกรุกพื้นที่ป่าสงวน

กลุ่มส่งเสริมกสิกรรมไร้สารพิษ วังน้ำเขียว เป็นการรวมตัวกันของเกษตรกรที่เล็งเห็น
ถึงโทษภัยของการใช้สารเคมีในการเกษตร และการทำเกษตรที่ทำลายสภาพแวดล้อม
ของพื้นที่ต้นน้ำโดยยึดอาชีพปลูกผักไม่ใช้สารเคมี มีสมาชิกาปลูกผักจำนวน 168 ราย
พื้นที่เพาะปลูกประมาณ 90 ไร่ การดำเนินโครงการส่งเสริมกสิกรรมไร้สารพิษในเขต
พื้นที่ต้นน้ำ เป็นการส่งเสริมสมาชิกรายใหม่ที่ตั้งใจจะทำอาชีพปลูกผักไร้สารพิษของ
สมาชิก ตามแนวทางเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ซึ่งจะสามารถเลิกการใช้สารเคมีในการเกษตรได้อย่างสิ้นเชิง ลดการตกค้างของ
สารเคมีในผลผลิต ในแหล่งต้นน้ำ ลดการเผาทำลายหน้าดินและการบุกรุกพื้นที่
ป่าสงวน โดยเฉพาะเป็นการดำรงชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง โดยจะคัดเลือกเกษตรกร
จากพื้นที่ 42 หมู่บ้าน 5 ตำบล ของอำเภอวังน้ำเขียว เข้าร่วม โครงการ ซึ่งคาดว่า
จะเป็นแบบอย่างและขยายผลสู่เกษตรกรรายอื่น ๆ ในปีต่อ ๆ ไป

วัตถุประสงค์

1. เพื่อปลุกจิตสำนึก ให้สมาชิกเล็งเห็นความสำคัญ ของการอนุรักษ์ และพัฒนา
สิ่งแวดล้อม บริเวณพื้นที่ต้นน้ำ

2. เพื่อส่งเสริมอาชีพการปลูกผัก โดยไม่ใช้สารเคมี ให้กับสมาชิก แทนการ
เพาะปลูกพืชเดิม ที่ใช้สารเคมี

3. เพื่อส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วม ของประชาชน ในการพัฒนาท้องถิ่นและ
สิ่งแวดล้อม ตามแนวทางเศรษฐกิจพึ่งตนเอง

กิจกรรม

1. จัดอบรมและฝึกทักษะ ผู้เข้าอบรมเป็นสมาชิกกลุ่ม จำนวน 100 คน แบ่งการอบรม
เป็น 2 รุ่น หลักสูตร 2 วัน 1 คืน

2. ศึกษาดูงาน คัดเลือกผู้ที่จะประกอบอาชีพปลูกผักไร้สารพิษ จำนวน 26 คน ดูงาน
โครงการส่วนพระองค์ ที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน จังหวัดฉะเชิงเทรา
ระยะเวลา 1 วัน

3. ส่งเสริมการปลูกผักไร้สารพิษ สมาชิกจำนวน 26 คน แบ่งเป็น 2 ประเภท

3.1 ประเภทที่ 1 เป็นผู้ที่มีที่ดินเป็นของตนเอง มีอุปกรณ์เครื่องมือการเกษตรแล้ว
แต่ยังขาดปัจจัยการผลิต เช่น เมล็ดพันธ์ผัก ปุ๋ยชีวภาพ สารสมุนไพรไล่แมลง
วัสดุคลุมดิน จำนวน 10 คน

3.2 ประเภทที่ 2 เป็นผู้ที่ไม่มีที่ดินเป็นของตนเอง ไม่มีอุปกรณ์ เครื่องมือ
การเกษตร และไม่มีปัจจัยการผลิตแต่ต้องการมีอาชีพปลูกผักด้วยการไม่ใช้
สารเคมีโดยใช้ที่ดินของผู้อื่นมีจำนวน 16 คน ทั้งสองประเภทสมาชิกจะปลูกผัก
ในพื้นที่คนละ 800 ตารางเมตร

4. ส่งเสริมการทำปุ๋ยชีวภาพ สมาชิกทั้ง 26 คน รวมกลุ่มกันทำปุ๋ยน้ำ ปุ๋ยหมักชีวภาพ
สาร-สมุนไพรไล่แมลงใช้เอง โดยใช้เศษอาหารจากครัวเรือนและเศษพืชจาก
แปลงเกษตร

5. รวบรวมและจำหน่ายผลผลิต สมาชิกทั้ง 26 คน รวมกลุ่มกับสมาชิกที่ปลูกผัก
เดิม 80 ราย

รวบรวมผลผลิตจำหน่ายด้วยตนเองโดยไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง แหล่งจำหน่าย
ได้แก่ ตลาดในท้องถิ่น ตลาดบางกะปิ ตลาดลาดพร้าว 101 และร้านเลมอนฟาร์ม

6. การคืนทุนสังคมและฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมบริเวณพื้นที่ต้นน้ำ สมาชิกที่ผ่านการอบรม
100 คนและปลูกผักไร้สารพิษ 26 คน จะร่วมกันคืนทุนให้แก่สังคม โดยแบ่งการ
คืนทุนเป็น 2 ประเภท คือ

6.1 ผู้ที่ได้รับการสนับสนุนกิจกรรมที่ก่อให้เกิดรายได้ ซึ่งมีจำนวน 26 คน จะคืนทุนเป็นเงินคิดตามมูลค่าที่ได้รับการสนับสนุน โดยชำระคืนเป็นงวด
เมื่อจำหน่ายผลผลิตได้ เงินที่คืนจะรวมกันเป็นกองทุนส่งเสริมอาชีพให้แก่
สมาชิกรายใหม่ต่อไป และคืนทุนเป็นกิจกรรมฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ปลูกต้นไม้
พันธ์ท้องถิ่น และปลูกหญ้าแฝกสองข้างลำน้ำ

6.2 ผู้ที่ได้รับการอบรมจำนวน 100 คน ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้
จะคืนทุนด้วยการร่วมกิจกรรมฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม

7. การบริหารจัดการโครงการ จะใช้บุคลากรซึ่งเป็นคณะทำงานโครงการส่งเสริม
กสิกรรมไร้สารพิษ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ร่วมปฏิบัติงานในโครงการนี้

การมีส่วนร่วมของชุมชน

1. การกำหนดนโยบายและแผนการดำเนินงาน เกิดขึ้นจากการมีส่วนร่วมของ
สมาชิกกลุ่ม โดยการทำเวทีประชาคม สมาชิก จะคัดเลือกตัวแทนของตน เข้าไป
เป็น คณะกรรมการของกลุ่มเพื่อให้การดำเนินงานของกลุ่มเป็นไปตามนโยบาย
และแผนงาน ทิศทางการดำเนินงานจะยึดแนวทางเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง
ภายใต้การสนับสนุนขององค์การบริหารส่วนตำบล และส่วนราชการ เช่นพัฒนา
ชุมชน เกษตรอำเภอและประสานความร่วมมือกับองค์กรพัฒนาเอกชน ได้แก่
มูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าและพืชพรรณแห่งประเทศไทย และสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย

2. การดำเนินงานโครงการ เป็นการดำเนินงานภายใต้แผนงานของกลุ่ม ใน 8
กิจกรรม ที่กำหนดไว้ ได้แก่ การผลิต การแปรรูป การตลาด การสาธิต
การฝึกอบรม การพัฒนาองค์กร การออมทรัพย์และการพัฒนาพลังงาน
และสิ่งแวดล้อม กิจกรรมต่าง ๆ จะสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและ
สังคมแห่งชาติที่หน่วยงานต่าง ๆ นำมาปฏิบัติในพื้นที่ โดยเฉพาะ ในเรื่อง
การลดการใช้ สารเคมีในการเพาะปลูกและการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมพื้นที่ต้นน้ำ

3. การประเมินผลกิจกรรม กลุ่มจะจัดให้มีการประชุมประจำเดือน ทุกวันเสาร์
แรกของทุกเดือนและประชุมใหญ่สามัญประจำปี ปีละ 2 ครั้ง เพื่อติดตามความ
ก้าวหน้าของกิจกรรมและประเมินผลการดำเนินงาน

งบประมาณ

รายการ
จำนวนเงิน (บาท)
UNDP อุดหนุน
ท้องถิ่นสมทบ
1. จัดอบรมและฝึกทักษะ
38,800
5,000
2. ศึกษาดูงาน
13,600
-
3. ส่งเสริมสมาชิกปลูกผักไร้สารพิษ
300,000
204,800
4. ส่งเสริมสมาชิกทำปุ๋ยชีวภาพ
47,190
-
5. รวบรวมและจำหน่ายผลผลิต
-
60,000
6. คืนทุนสังคมและฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมต้นน้ำ
-
102,200
7. การบริหารจัดการโครงการ
100,000
24,000
รวม
499,590
396,000
รวมทั้งสิ้น
895,590