อบรมทำวัตรเช้าช่วงจาริก
โดย สมณะโพธิรักษ์
เมื่อวันที่ ๑๕ เมษายน พ.ศ.๒๕๑๘
ณ ที่ว่าการอำเภอเมือง นครราชสีมา


เราได้เดินกันมาเรื่อย ๆ ตามระยะของเวลา แล้วเราก็ควรจะโตขึ้นตามเวลา เพราะเวลามันเดินทางไป ก็มันก็พาเอาความเกิดขึ้น หรือความเสื่อม ให้เป็นไป ถ้าเผื่อว่าเราเป็นพระ หรือเราเป็นผู้ที่จะพึงรู้ พึงกระทำ สิ่งที่ถูกต้อง หรือที่ดี ที่สิ่งที่เรียกว่า ยอดรู้ หรือตัวรู้ หรือมนุสโส ควรจะได้แล้วละก็ ก็ควรจะมีสิ่งที่เกิดอันดี และมีสิ่งที่เรียกว่า เสื่อมสลายไปอันเลว ถ้าท่านทำ ทำความเกิดให้แก่มนุสโส หรือให้แก่โลก เราต้องทำความดีให้เกิดอยู่เรื่อย ๆ แล้วเราก็ทำความเสื่อม ให้เกิดอยู่เหมือนกัน ให้สลายไปเหมือนกัน โดยเรารู้ เราเจตนาให้ความเสื่อมนั้น มันเสื่อมไปจริง ๆ ช่วยมันเสื่อมด้วย ความเกิดก็ทำ ช่วยให้มันเกิดด้วย จึงเรียกว่า ผู้รู้ความเกิด และผู้รู้ความเสื่อม หรือผู้รู้ความดับ ความเสื่อมนั้น เราจะไม่ให้เสื่อมธรรมดา จะให้ดับเร็วที่สุดด้วย เสื่อมจนกระทั่ง ให้มันสูญสลายไปด้วย ไม่ใช่ให้มันเสื่อมธรรมดา เราจะต้องรู้ว่า อะไรที่เราจะทำให้เสื่อม และช่วยให้มันเสื่อม ให้มันดับ ที่จริงมันเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วเสื่อมไป เป็นธรรมดา แต่เมื่อเรารู้ว่า สิ่งนี้ไม่ควรจะเกิด สิ่งนี้ไม่ควรจะอยู่ เราก็จะต้องทำให้มันเสื่อม หรือทำให้มันดับไปให้ได้ ผู้ที่ทำให้ดับไปให้ได้ เรียกว่า ผู้ทำนิโรธได้ ผู้ทำความเสื่อมไป ให้มันเสื่อมสลายลงเร็วที่สุด เรียกว่า เป็นผู้ปฏิบัติธรรม เรียกว่า โยคาวจร เป็นผู้ทำความเสื่อม ให้เสื่อมไปจริง ๆ ช่วยให้มันเสื่อมให้เร็ว เป็นพระโยคาวจร กำลังปฏิบัติประพฤติ ทำสิ่งที่มันชั่วมันเลว โดยเฉพาะ มันมีอยู่ที่ตน ให้มันเสื่อม ให้มันดับ ให้มันสลาย ให้สูญไปให้ได้เร็วที่สุด เท่าที่จะทำได้ นั่นคือ เราละความชั่ว หรือเลิกชั่ว แล้วทำตัวให้ดีขึ้น เราละความชั่วในตัวเรา ความดีมันก็เกิดขึ้น ในตัวของมันเอง มันเป็นกรรมอันเดียวกัน แยกไม่ออก แต่ก็แยกอธิบายได้ มันเป็นตัวเดียวกัน เมื่อเราละความชั่ว เราทำความชั่ว ให้เสื่อมสลายไป อยู่ในตัวเรา ความดีมันก็เกิดขึ้น ที่ตัวเราอยู่ในตัว โดยอัตโนมัติ ไม่มีอื่นเหมือนกัน

ถ้าเราทำดี ก็นั่นแหละ เรากำลังทำลายความชั่วในตัวเรา ก็เป็นอันเดียวกัน โดยสภาวธรรม โดยสัจจะธรรมของมันเอง มันเป็นอย่างนั้นจริง ๆ ก็ขอให้เรารู้สิ่งที่ชั่ว และเราก็พยายามทำลาย สิ่งที่ชั่วลงเถิด ในตัวของเรา แล้วเราเอง เราก็จะเป็นผู้ที่จะทำความดีขึ้น ให้แก่ตัวเราเองจริง ๆ อันนี้เราก็เป็น ผู้ที่จะเรียนรู้ ก่อนที่เราจะทำความเสื่อม เราก็จะต้องมีความรู้ชัดรู้เจน เพราะอะไร เราจะทำให้เสื่อม หรืออะไร คือความชั่ว

เราจะทำให้เกิด เราก็จะต้องรู้ชัดรู้เจนว่า อะไรคือความดี อะไรคือความถูกต้อง ที่เราจะทำให้มันเกิดขึ้น แล้วทำให้มันเกิดขึ้น ทั้งให้แก่ตัวเราเอง ความดีนั้น ทั้งให้อยู่ข้างนอกตัวก็ได้ ความดีทำเสมอเถิด ทำให้แก่ใครก็ได้ ไม่มีเจ้าของ แต่ความชั่วสิ อยู่ในตัวของเรานี่ เราเป็นเจ้าของ ที่คนอื่นเขาเห็น คนอื่นเขารู้แล้ว เขาจะต้องดูถูกดูผิด อยู่ในตัวของเรา เขาเห็นว่าเป็นสิ่งผิด แล้วเขาก็จะถูกดูถูก ตัวเราชัดที่สุด แต่ส่วนความดีนั้น ถ้าใครดูออก ดูเป็น ดูถูก คือดูได้ว่า มันมีอยู่ที่ตัวเรา ก็เป็นเรื่องดูเก่ง เห็นชัด ดูได้ออก แล้วเราก็เป็นผู้ที่มีสิ่งดีนั้น ในตัวเองจริง เราก็เป็นคนดี เขาก็จะนับถือ เขาก็จะบูชา เขาจะยกเราเป็น อาหุเนยยบุคคล เป็นคนที่ควรคารวะ ควรนับถือ ก็จริง แต่เราก็ไม่ควรยึดความดีนั้น ว่าเป็นของตน เป็นที่สุดอีก แต่เรามีจริงก็จงมีเถิด โลกนี้ไม่เคยที่จะเดียดฉันท์ หรือรังเกียจ ที่ใครจะมีความดีที่ตน ที่จะทำแต่ดี มีแต่กรรมดี

หรือมีความเลวในตัวอยู่ โลกเดียดฉันท์ ทุกแห่งเดียดฉันท์ ทุกแห่งรังเกียจ ไม่ดีน่ะ เพราะฉะนั้น เราจึงจำเป็นที่จะต้องล้างความชั่ว ออกจากตน แล้วก่อความดี สร้างความดีให้ได้เสมอ มีกรรมทุกกรรม ตั้งแต่จิตที่เรียกว่า มโนกรรม ก็ให้มันดี แล้วเริ่มต้น มโนปุพพังคมา ธัมมา เริ่มต้นที่จิตดีแล้ว ก็จิตมาก่อน จิตเป็นประธาน เริ่มขึ้นที่จิตก่อน เมื่อจิตเริ่มต้นดี มโนเสฏฐา มโนมยา วจีกรรม กายกรรม ก็จะดีตาม โดยเราจะต้องมี มันจะดีได้ยากอยู่เหมือนกัน เพราะว่าวจีที่เคย ก็เคยแต่ไอ้อย่างถนัด หรือชินเป็นนิสัย เป็นนิสัย เป็นสันดานติดอยู่ มันก็จะไปเป็นตามที่มันเคยชั่ว เคยไม่งาม ไม่พร้อม กายกรรมที่เคยติดเป็นนิสัย เป็นสันดาน เป็นอธิวาสนาอยู่ในตัว มันก็จะเป็นกายกรรมที่ชั่ว ที่เคยมาอย่างเก่า อยู่เสมอ แล้วมันจะดึงไปทางนั้น แม้จิตที่ตั้งไว้ดี เป็นมโนกรรมที่ดี เป็นสัมมาสังกัปโปที่ดี เป็นมโนปุพพัง ไว้ก่อน ก็ตาม บางทีมันลากจูงไม่ไหว

การปฏิบัติธรรม จึงต้องใช้สติ มีกำลังแห่งความระลึกรู้รอบ ในตัวเรา ทั้งจิต ทั้งกาย ทั้งวจีให้พร้อมพรั่ง แล้วให้มันลงตัวกัน เมื่อจิตตั้งเป็น สัมมาสังกัปโปว่า จะให้ดีอย่างนี้ เป็นอย่างนี้แหละ ทำถูกแล้ว อย่างนี้ จะเป็นการละความชั่ว อย่างนี้จะเป็นการก่อความดี ให้แก่ตน หรือให้แก่โลกก็ตาม เมื่อตั้งอย่างนั้นแล้ว สัมมาสังกัปโป จึงจำเป็นจะต้องมี สัมมาสติห้อมล้อม แล้วก็มีสัมมาวายามะ มีความพยายาม ๆ ๆ พยายามเข้า เพื่อจะให้เกิดปฏิเสวนา ให้เกิดอธิวาสนา จนลงตัวเป็น ปริวัชนา เป็นภาวนามัย ครบรอบ เป็นผลสำเร็จ เป็นการบรรลุ เป็นการได้ทำแล้ว เป็นกตบุญญตา หรือเป็น กตญาณ เป็นสิ่งที่ได้ทำแล้ว เป็นกิจกรณะ เป็นกตกรณกิจ เป็นกิจที่ได้กระทำแล้ว ลงตัวจบ สิ้นรอบ เป็นสันดาน เป็นวิสัย เป็นนิสัย เป็นอธิวาสนา เป็นที่ติดอยู่ที่ตัวแล้ว ถ้าอย่างนั้น กายมันก็จะเป็น อย่างที่เราได้ดัดแปลง หรือปรับปรุงมัน วจีก็ได้เป็นอย่างที่เราดัดแปลง ปรับปรุงมัน เพราะมาแต่ มโนปุพพังคมา ธัมมา มโนเสฎฐา มโนมยา จิตเกิดก่อน แล้วก็พยายามมีจิตอีก คือสติ แล้วก็มีจิตอีก คือพยายาม ตัวพยายามก็เป็นจิตห้อมล้อม ช่วยให้เราเอง จะแสดงวาจา จะแสดงกาย ก็ให้ออกมา ตามที่จิตเราเข้าใจ จิตที่เราเจตนา สัมมาสังกัปโป ดำริ แล้วก็พยายามที่จะกระทำ ให้เป็นไปตามนั้น สิ่งที่จะเป็นไป อย่างถูกต้องนี่ ก็ต้องมีสัมมาทิฐิ มีความเข้าใจ อย่างถูกแล้วอย่างจริง เห็นถูกว่า เป็นไปในทิศทางเสียสละ เป็นไปในทิศทาง ไม่ยึดตัวยึดตน เป็นไปในทิศทาง ที่ประกอบกายกรรม ก็ให้เป็นรูปนี้ วจีกรรมก็ให้เป็นรูปนี้ โดยจิตตั้งเริ่มต้น ประคับประคอง มันเสมอว่า จะให้เป็นไป ตามที่ต้องการอย่างนี้ ดำริ เป็นสัมมาสังกัปโป เป็นการดำริ เป็นการตั้งใจ เป็นการอธิษฐาน เป็นฐานะแห่งการที่จะขึ้นไป สู่ความยิ่ง อธิษฐานเป็นการตั้งใจ ตั้งจิต เป็นสัมมาสังกัปโป ไม่ใช่ขอ

อธิษฐานไม่ใช่เรื่องของการขอน่ะ เดี๋ยวนี้เข้าใจคำว่า อธิษฐาน คือ เรื่องของการขอ มันไม่ใช่ คือการตั้งจิต แปลว่า ตั้งจิตถูกแล้ว จนกระทั่งจิตตั้ง จิตตั้งก็คือ สมาธิ คือมั่นคง จิตมั่นคง อธิษฐานก็คือ ตั้งจิต ไม่ใช่จิตตั้งน่ะ เราจะตั้งจิตขึ้นมาอย่างนี้ แล้วก็จะเดินทางนี้

ที่เราได้ฝึกปรือกันทุกวันนี้ เราก็ทำสัมมาทิฐิ ให้เกิดกันอย่างแท้จริง ผมเป็นผู้พยายามชี้แนะ เบนทาง ให้เข้าทางเสมอ ให้พวกคุณเข้าใจ ด้วยปัญญา เข้าใจได้อย่างไม่สงสัยข้องใจ ให้ได้ แล้วก็ชี้ให้เห็น ด้วยเหตุด้วยผล แล้วก็ให้คุณพยายามทดสอบ ทดลอง พิสูจน์เอาเสมอ ถึงบอกว่า อย่าพยายามฟังอย่างพร่า ๆ อย่าพยายามเข้าใจ แต่เพียงปลีก ๆ อย่าพยายามเข้าใจ ที่ไม่ชัดเจน ต้องเข้าใจให้ชัดเจน เห็นให้แท้ เห็นให้จริง อันไหนสงสัย อันไหนเห็นดี เห็นชอบแล้ว แล้วก็ปฏิบัติตาม เพื่อคลายความสงสัย เพื่อพิสูจน์ผล แล้วคุณจะรู้เองเห็นเอง แล้วจะเป็นศรัทธา เป็นการฝังศรัทธา ความเชื่อมั่นลงไปที่เรา แล้วเราก็จะเติมภูมิ เติมปริยัติ เติมสัมมาทิฐิเข้าไปอีก แล้วก็คุณก็ไปตั้งสติ ไปตั้งสัมมาสังกัปโป ไปตั้งสัมมาวายามะ กันเข้าไปเอง ก่อสัมมาวาจา ก่อสัมมากัมมันโต ก่อสัมมาอาชีโว ขึ้นมาเองให้ได้ ให้ได้จริงๆ เสมอๆ เมื่อมันตั้งลงมั่นแล้ว มันก็จะไปกองอยู่ที่จิตอีก เป็นสัมมาสมาธิ เป็นสิ่งที่จิต ตั้งขึ้นแล้ว จิตได้หยั่งลงแล้ว จิตได้แข็งแรงขึ้นแล้ว จิตจะมั่นคงขึ้นแล้ว จิตได้ครบถ้วนแล้ว เป็นวสวัตตี จิตได้เป็นอัตโนมัติแล้ว ด้วยสิ่งที่เราได้กระทำ

แม้แต่เกิดเป็นจิต มโนปุพพังก่อน แม้แต่จะออกมาบันดาล ให้เป็นวจีอย่างนี้ บันดาลให้เป็นกายกรรม อย่างนี้ ที่เราได้กระทำ ที่เราได้รู้ว่า เราสำรวมการเดิน เราเข้าใจด้วยสัมมาทิฐิว่า การเดินสำรวม สังวร อย่างนี้ดี ไม่กวัดไม่แกว่ง ไม่ให้มันกรีดกราด เก้งก้าง เป็นนัจจะ แม้วจีก็ไม่ให้เป็นคีตะ ไม่ให้เป็นวาทิตะ เราก็รู้อยู่ กายกรรมของเรา ก็จะสำรวม การยืน เดิน นั่ง นอน การทำงานอะไร ก็ให้อยู่ใน สมณสารูป เป็นไปโดยควร ไม่เกินขอบเขต อะไรพวกนี้ เป็นสัมมาทิฐิ ที่เราได้แนะนำแล้ว เราก็ได้พยายาม ชี้บอก แม้กระทั่ง มันละเอียดลงไป จนอย่างนี้ ต้องจับมือบางคน เหมือนกับหัดเด็กบางคน สอนให้เขียนหนังสือ มันไม่ไหว อินทรีย์พละมันไม่กล้า ต้องจับมือ แล้วก็บอกว่า คัดอย่างนี้ ก ไก่ บางทีก็ต้องทำกัน คือการบอก ทำยังงี้ซิ มือก็ทำยังงี้ กายก็ทำยังงี้ วจีทำยังงี้ บางคนต้องทำ ถึงอย่างนั้น ก็ทำ

แต่เราจะไม่พยายามทำก่อน เพราะว่าเป็นการดูถูกคนน่ะ มันรู้สึกว่า ดูถูกเขาเกินไป แต่มันก็เป็นจริง ถ้าเผื่อว่ากระทำได้ ก็จงทำเถิด ผู้เป็นพี่ หรือผู้เป็นพ่อ หรือผู้เป็นครู ก็จะต้องรู้จริงเห็นจริง รู้ก่อนเห็นก่อน แล้วก็จะแนะนำ จับมือเขียนอย่างที่ว่านี้ หรือว่าให้ทำอย่างที่กล่าวนี้ ให้ถูกตามที่เป็นไปนั้น เมื่อจับกัน ช่วยกันได้ โดยใกล้ชิด โดยจับฝึก ให้เข้าช่องเข้าร่อง ให้เข้าแนวเข้าทางจริง มันก็เป็นของดี ตัวผู้นั้นเอง ก็อย่าไปนึกละอาย หรือว่านึกน้อยใจ หรือว่านึกรังเกียจ ว่าเราเอง ถูกเขามาดูถูก อย่าเลย เพราะการได้ช่วยกันเป็นการดี การให้ช่วย แม้แต่จะจับมือคัด ใครสามารถช่วย ถ้าเห็นว่าถูกแล้ว ดีแล้ว เป็นพี่แล้ว เป็นผู้ที่อยู่ในฐานะ ที่จะช่วยกันได้แล้ว กระทำบ้าง ก็ขอให้เขาทำเถิดน่ะ เป็นการชี้ขุมทรัพย์ เป็นการกระทำ ให้เราไปสู่จุดที่สูงขึ้น ดีขึ้นเจริญขึ้น เป็นอริยะแท้ เป็นอารยะแท้ อย่าได้สงสัยเลย แล้วคุณก็ควรวางจิต อย่าถือเป็นมานะ อย่าถือตัวถือตน อย่าอวดตัวอวดตน อย่ายึดตัวยึดตนเลยน่ะ มันจะกลายเป็นการลำบาก ความเจริญมันจะไม่มี มันทำตนเป็นผู้ที่มีมานะ มีอติมานะ ดูหมิ่นถิ่นแคลนผู้อื่น แล้วตัวเราเอง ก็ถือตัวถือตน แล้วก็จะไม่ให้ผู้อื่นมาช่วยตัวเราได้

ถ้าเผื่อว่าเขาจะช่วย ก็เข้าใจเขาให้ถูก แม้แต่เด็กที่เขาไม่เดียงสา เขาไม่รู้ เขาจะสอนเรา ก็ขอให้สอนได้ เช่นเดียวกันกับคนที่โตแล้ว ที่ไม่เดียงสาน่ะ ไม่เดียงสานี่ ก็คือผู้ที่ยังอ่อน ยังเยาว์ เราเรียกว่าพาละ พาละแปลว่าคนไม่เดียงสา พาละ คนอ่อน คนเยาว์ คนโง่ แม้คนโง่เขาจะสอนเรา ก็จงให้เขาสอนเถิด เพราะว่า คนที่จะสอนเรา ที่แท้จริงนั้น มีอยู่ ๒ คน
๑. คนที่เป็นครูอาจารย์ที่แท้จริง หรือเป็นปราชญ์
๒. ก็คือคนโง่ ที่เขานึกว่าเขาเป็นครู เป็นผู้ที่ใหญ่กว่าเรา สูงกว่าเรา เขาหลงตัวว่าเขาสูง เขาหลงตัวว่า ถูกแล้ว เขาก็จะสอนเรา ถ้าเราเห็นว่า เขาสอนนั้นยังผิดอยู่จริง ๆ เราก็ยินดีรับฟัง จะปฏิบัติตาม หรือไม่ปฏิบัติตาม เป็นสิทธิ์ของเรา

ส่วนครูอาจารย์สอนนั้น ก็เอามาพิจารณาให้มาก ถึงผู้ที่เป็น.. เราคิดว่า เขาเป็นผู้ไม่เดียงสา เป็นผู้อ่อนกว่าเรา ต่ำกว่าเรา เขาสอนก็ตามเถอะ เราก็ฟัง แล้วก็คิดให้มาก บางทีเขาอาจจะถูกก็ได้ เราอาจจะหลงตัว หลงตน นึกว่าเราเองใหญ่ นึกว่าเราเองถูก มีมานะทิฐิใหญ่ก็ได้ พิจารณาเถอะ ไม่เสียหาย คนที่สอนเรานั้น จงขอบคุณเขาทุกๆคน ไม่ว่า ผู้ไม่เดียงสา หรือเป็นผู้พาล ผู้อ่อน ผู้เยาว์ ผู้ยังโง่อยู่ก็ตาม เขาสอนเรา ก็จงขอบคุณเขา เป็นครูเป็นอาจารย์ ก็ยิ่งขอบคุณใหญ่ เพราะผู้เป็นครู เป็นอาจารย์ หรือเป็นผู้ที่อยู่สูงกว่าเราจริง เป็นปราชญ์ เป็นบัณฑิตจริง เขาก็ยิ่ง จะต้องสอนถูก ถูกมากกว่า ถ้าเผื่อว่าเป็นปราชญ์ ที่ยังบกพร่อง ก็มีความถูกน้อยกว่า ก็ไม่เป็นไร ก็พิจารณาเหมือนกัน น่ะ แล้วเราก็ทำตาม แล้วก็พิจารณา แล้วรู้แล้วรับเอา แล้วก็ทำตาม เราก็จะได้ประโยชน์ ไม่ขาดทุนทั้งคู่ อย่าถือเป็นการขาดทุน แล้วยิ่งเราไปคิดนึกรังเกียจ เดียดฉันท์ แล้วก็นึกวู่วาม ถือตัวถือตน แล้วก็ขัดเคือง ไม่ยอมให้ใครมาว่า ไม่ยอมให้ใครมาดูถูก ไม่ยอมให้ใครมาว่ากล่าว ทำตนเองเป็นผู้มีมานะ อันกระด้าง มีการถือตัวถือตน มีแต่รังแต่จะขาดทุน ไม่เกิดประโยชน์อะไร เราอย่าเป็นอย่างนั้น

ฉะนั้นก็ขอให้ทุกคน สังวรในเรื่องมานะ ผมพาจาริกมื้อนี้ เจตนาแต่ต้นมา จนกระทั่งถึง ณ บัดนี้ ก็เพื่อที่จะให้พวกคุณ ลดมานะทิฐิ อันเป็นกิเลสรากเหง้า ของความเป็นคน ยังเหลือตัวอยู่ ก็เพราะถือตัว ยังยึดตัวอยู่ ก็เพราะว่า ยังไม่เข้าใจในคำว่าตัว ยังไม่เข้าใจในคำว่า อัตตา ยังไม่เข้าใจคำว่า มานะ นั่นแหละ มันจึงยังไม่หมดตัวหมดตน มันจึงถือตัว มันจึงยึดตัว มันยังเป็นผู้มีตัว เป็นที่สุดไม่ได้ สูงสุดยังไม่ได้ อันนี้เป็นรากเหง้า ของกิเลสสังโยชน์ อันสูงสุด เพราะฉะนั้น เราจะต้องรู้ แม้แต่ไหวขึ้นมา ฟูขึ้นมา เป็นอุทธัจจะ ถ้ามันจะรวมตัวไปปรุงกับจิต

จิตอุทธัจจะ หมายความว่า จิตที่กำลังเริ่มเกิดขึ้นมา อุ แปลว่าเกิด อุทะ ก็คือ อุ กับ ทะ อัจจะ แปลว่า เป็นสภาพรู้ แสงสว่าง จิตนี่คือแสงสว่าง คือความรู้นั่นเอง มันเป็นธาตุรู้ มันเป็นแสงสว่าง มันเป็นสิ่งที่ จะเกิดปรากฏ ความรู้ เรียกว่า อัจจะ เคยแปลให้ฟังแล้ว อุทธัจจะก็มาจากคำอย่างนี้ เมื่อประกอบกันเข้า เป็นคำสมาส แล้ว ก็เป็นอุทธัจจะ อุ ก็แปลว่าเกิด เพราะฉะนั้น เมื่อการเกิด ทะ แปลว่า การทรงไว้ เมื่อการเกิด หรือ มันทรงไว้ หรือมันตั้งอยู่ด้วยแสงสว่าง เรียกว่า จิต อุทธัจจะตัวนี้ แปลว่า จิตจริง ๆ เป็นตัวจิต เป็นธาตุรู้ เมื่อมันเกิดการมีตัวรู้ขึ้นมาแล้ว ถ้ารู้สักแต่ว่ารู้ตามจริง ตามความเป็นจริง จิตตัวนั้นเรียกว่า จิตบริสุทธิ์ จิตผุดผ่อง จิตผ่องใสจริง ๆ เป็นสัจจะ เคยแปลให้ฟังแล้ว ประกอบไปด้วย ความสว่าง หรือ ความรู้แจ้งเฉยๆ อัจจะแปลว่าความสว่าง สัจจะแปลว่า ประกอบด้วยความสว่าง ก็เขาเรียกตัวมันว่า สัจจะ จะเอาธรรมะใส่เข้าไปอีกก็ได้ ธรรมะก็แปล ทรงไว้ซึ่งจิต มะก็แปลว่าจิต ที่เคยแปลให้ฟังเสมอ ทะ ก็แปลว่า ทรงไว้ ทมะ หรือ ธรรมะ แปลว่า ทรงไว้ซึ่งความสว่าง ประกอบด้วยความสว่าง แจ้งเฉย ๆ ได้ความรู้ได้ได้รู้ ๆ ๆ ๆ จริง ไม่มีอะไรปรุง ไม่มีอะไรปน ก็เรียกว่า อุทธัจจะ ที่ปราศจาก กุกกุจจะ ปราศจากความกังวล ปราศจากขี้ตะกอน ปราศจากขี้ละออง ปราศจากธุลีใดๆ ที่จะทำให้เราเป็นราคะ ทำให้เราเป็นความกำหนัด ความพอกเพิ่มตัวตนขึ้นมา ไม่มีจิตอย่างนั้นก็รู้ เพราะฉะนั้น คนที่เป็น พระอรหันต์ จึงมีอุทธัจจะ กับมีวิชชา

ถ้าอุทธัจจะใดควบคุมด้วยวิชชา อุทธัจจะนั้นใช้ได้ ถ้าอุทธัจจะใด ควบคุมด้วยอวิชชา อุทธัจจะนั้นเลว หมอง คล้ำ แล้วก็เริ่มต้นเดินทาง มโนปุพพังคมา ธัมมา มโนเสฏฐา มโนมยา เมื่อมันเริ่มต้น ด้วยความหมองคล้ำ มันก็จะโต มันมโนเสฏฐา แล้วก็เป็นมโนมยา เป็นตัวเรา มโนมยา หมายความว่า ยึดเป็นตัวเป็นท่าน เป็นเราเข้าแล้ว เป็นตัวเป็นตนเข้าแล้ว แล้วเราก็จะเป็นมานะ เป็นมยะ แล้วก็เป็นมนะ แล้วก็เป็นมายะ มานะ เมื่อเป็นมายะ เป็นมานะ เป็นมายา เป็นมานา มันก็เป็นตัวเป็นตน เป็นตัวจิต ที่มันเป็นโลกียะขึ้นมา แล้วก็ทุกข์ แล้วก็เดือดร้อน อึดอัด ขัดเคือง แน่นหนัก ลำบาก

ผู้ไม่รู้เท่าทันออกปานนี้ ไม่รู้ละเอียดลอออย่างนี้ จึงยังต้องมีทุกข์อยู่ จะละกามมาได้ จะละอายมาได้ หยาบคายออกปานนั้น แล้วก็ตาม หากยังเหลือแม้มานะ หรือมานาอยู่ออกปานนี้ ก็ยังเป็นตัวร้ายกาจ ที่จะทำให้เรา อึดอัดขัดเคือง หนักแน่น ทารุณ มีทุกข์ ลำบาก ยังไม่หมดความเกิด ยังไม่เจริญสุดยอด ยังไม่ได้ชื่อว่า อรหันต์อยู่ตราบนั้น เพราะฉะนั้น ตราบใดที่เราเรียนรู้ รู้มานะตัวจริง เข้าใจให้ชัด อย่าเนวสัญญานาสัญญา ต้องรู้ให้ชัดแท้ อย่าให้เบลอ ๆ เนวสัญญานาสัญญา จะว่ารู้ก็ไม่จริง จะว่าไม่รู้ ก็ไม่จริง มันก็พอรู้มั่ง แต่ว่าก็ไม่ชัดไม่เจน ถ้ายิ่งไม่รู้เลยน่ะ ก็ยิ่งไม่เข้าท่าใหญ่ ถ้าไม่รู้ตัวเลย ยิ่งไม่เข้าท่า ถ้ารู้บ้างไม่รู้บ้าง เป็นเนวสัญญานาสัญญา เข้าใจ จิตของเราก็เข้าใจบ้าง ไม่เข้าใจบ้าง แต่ไม่ชัด อันนั้นก็ยังไม่ดี ต้องทำความชัด เหมือนกับโฟกัสเลนส์ โฟกัสเลนส์ ถ่ายรูปให้ชัดแป๋วให้ได้ ให้จริง เป็นสัญญาเวทยิตตะ ให้สัญญานั้น กำหนดหมายมั่นลงไป เป็นหยั่งรู้ เวทยิตตะอันได้รับเสวยแล้ว อันได้เต็มรูป ของความรู้แล้ว เวทะ แปลว่าความรู้ เวทยะ แปลว่าความรู้ อิตตะหมายความว่า รู้อันนั้น เป็นอันนั้น สู่อันนั้น อิตตะ หมายความว่า ลงไปเลย เพราะฉะนั้น เวทยิตตะ ก็หมายความว่า เสวยอารมณ์แล้ว รับอารมณ์แล้ว หรือว่ารู้อารมณ์แล้ว รู้อารมณ์อะไร รู้จิตของเราเองนั่นแหละ เป็นสำคัญ เรียกว่า กรรมฐาน รู้จิตของเราเป็นอารมณ์ อารมณ์ที่สัญญา กำหนดหมาย หรือทำความสำคัญ หรือ รู้ความหมาย ของมันชัดแล้วว่า อ้อ ! มันรู้อย่าง อันจิตมันเป็นอย่างนี้

เมื่อเรารู้มันชัดว่า มันไปทางหมอง ไปทางเศร้า ไปทางหนัก ไปทางแน่น ไปทางที่ยังเป็นกิเลส เป็นราคะ แม้แต่ตัวเป็นมนะ มานะ เริ่มต้นเป็น มโนปุพพังคมา ธัมมา มโนเสฏฐา มโนมยา เริ่มต้นตั้งแต่ เป็นตัวเป็นตนขึ้นมา เล็กแค่นี้ มายาตัวแค่นี้ ก็ให้รู้เท่าทัน แล้วก็อย่าไปยึดตัวยึดตน จิตก็สักแต่ว่าเป็นจิต ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ของใคร มันทำการรู้ก็รู้ อันใดรู้ดีก็ให้รู้ดี อันใดรู้ชั่วก็ให้รู้ชั่ว เมื่อรู้ว่าดี ก็รังสรรค์สืบต่อ เมื่อรู้ชั่วก็จงงดเสีย จงทำการเกิดโดยการรู้ เพราะฉะนั้น ผู้ใดจะเป็นผู้ที่ ทำการเกิดอันดี เรียกว่า กุศลกรรม ก็ทำไปเถอะ แล้วเราจะต้องรู้ชัด ด้วยปัญญาอันแท้จริง รังสรรค์ไป เหน็ดเหนื่อยบ้าง ก็ทำ

ผมขอบอกพวกคุณโดยตรงว่า ตัวผมนี้กำลังรังสรรค์สิ่งที่ดี ตามภูมิปัญญาของผม ที่หลงตัวหลงตน ขอใช้คำว่า หลงตัวหลงตนก่อน เพราะคุณบางคน อาจจะยังไม่แน่ใจ ก็จงพิสูจน์ อย่ามาเชื่อว่า ผมเอง ถูกแล้ว ร้อยเปอร์เซ็นต์ อย่ามาเชื่อว่าอย่างนั้น จงพิสูจน์ สงสัยว่าที่ผมปฏิบัติอยู่นี้ ถูกหรือไม่ บางคนมองหยาบๆ เผินๆ จะเห็นว่า บางอันบางอย่างนี่ผิด แล้วคุณก็ตัดสิน คุณก็ไม่เอาเลย ก็ไม่ว่า เอาไว้ก่อน พวกคุณยังไม่เข้าใจ อันใดที่คุณเห็นแล้ว ชัดแล้ว ว่าถูกก็ทำตาม เพราะฉะนั้น บางอย่าง ที่คุณยังเห็นว่าผิดอยู่ ก็อย่าเพิ่งน่ะ เห็นว่ายังไม่งามอยู่ ก็อย่าเพิ่งน่ะ แต่ก็อย่าคิดดูถูกผมนัก เพราะว่า ถ้าดูถูก ผู้เป็นครูแล้ว เราก็ไม่ได้วิชา เราก็จะเกิดศรัทธาเลื่อมใสน้อย นับถือน้อย เมื่อนับถือเลื่อมใสในครูน้อย มันก็เจริญช้า เพราะว่าครูเราก็ยังดูถูกได้ แล้วเราเอง ก็เกิดมานะขึ้นมาในตัว เป็นอติมานะ คือ ดูหมิ่นถิ่นแคลน เมื่อเกิดการดูหมิ่นถิ่นแคลนแล้ว เมื่อมีอติมานะ ซึ่งมันยิ่งกว่ามานะ มานะคือยึดตัวยึดตน ถือตัวถือตนอยู่เท่านั้นเอง แต่อติมานะนี่ มีกิเลสซ้อนแล้ว คือนอกจาก ยึดตัวยึดตนแล้ว ยังดูหมิ่นถิ่นแคลนผู้อื่น โดยเฉพาะ ผู้ที่เรายังอุตส่าห์ ยอมรับว่าเป็นครู แล้วยังดูหมิ่น ดูแคลนครูได้อีก มันก็เกมกัน เกมเลย ไม่มีใครใหญ่กว่านี้อีกแล้ว ก็เราดูถูกครูได้แล้ว เราก็ต้องใหญ่กว่าทุกอย่างในโลก เพราะเราเลือก แล้วว่าครู คือผู้ที่จะถือเป็นผู้แนะนำสั่งสอน หรือผู้ที่เขาดีกว่าเรา เรายกให้เป็นครู คือยกให้ว่า เป็นตัวอย่าง เป็นสรณะ เป็นที่พึ่ง เมื่อเรายกให้เป็นครู เป็นสรณะ เป็นที่พึ่ง แล้วเรายังดูหมิ่น ถิ่นแคลน มีอติมานะ ให้ผู้เป็นครูได้ด้วย แม้แต่ความเป็นเศษเสี้ยวของ อติมานะ มีความดูหมิ่นถิ่นแคลน เศษน้อยก็ตาม เราก็เริ่มต้นเป็นผู้ที่ ได้รับประโยชน์ น้อยลงไปทันที

ยิ่งมี อติมานะมาก ยิ่งมีการดูหมิ่นถิ่นแคลนมากเท่าใด ผู้นั้นก็ยิ่งได้รับประโยชน์ น้อยลง ๆ ๆ ตามจำนวนของ อติมานะ ที่เป็น สัพพาสวะ หรือเป็นอาสวะ อันเกิดจริงเป็นจริงแน่นอน แน่นอนที่สุด คิดให้เห็น อย่าเพิ่งเชื่อผม เอาไปพิสูจน์ดู ฟังดูดี ๆ ว่าเป็นอย่างนั้นหรือไม่ เราคิดดูเหตุผลก่อน แล้วก็ลองทดสอบดู ถ้าไม่เชื่อ ลองดูถูกดู ดูหมิ่นถิ่นแคลนดูด้วย แล้วคุณจะได้รับประโยชน์จริงหรือไม่ ลองดูก็ได้น่ะ ถึงไม่ลองดู ถ้าใครคิดเหตุผลจริงๆ แล้ว มันก็ไม่น่าจะสงสัยอะไร ซึ่งผมเอง ผมไม่สงสัย ถ้าผมมีครู โดยเฉพาะผม เดี๋ยวระลึกถึงพระพุทธเจ้าเป็นครู ไตร่ตรอง ทบทวน พิจารณา แทรกซอนเข้าไป ไม่ดูถูกก่อน อ่านพระไตรปิฎกทุกที ไม่ดูถูกก่อน เขาอาจจะแปลผิดก็จริง แต่เราก็ไม่ดูถูกก่อน พระพุทธเจ้า ทำไมทำอย่างนี้ เรายังไม่เข้าใจ เอ๊ ! เราดูเผินๆพับ ดูเหมือนผิด ผมเองผมก็ต้อง พยายามยั้งไว้ก่อน เอาไว้พิจารณา ถ้าเข้าใจยังไม่ได้ ทิ้งไว้ก่อน พิจารณาจนเห็นแท้ เห็นจริงว่า เอ๊ ! อันนี้มันไม่ถูกนี่นะ ถ้าไม่ถูก นี่เขาผิด หาเหตุหาผลว่าอะไรผิด เขาแปลผิด เขาจำมาผิด หรือว่า เราเข้าใจยังไม่ถึง เพราะฉะนั้น อันใดที่ควรจะทดสอบดู ทดลองดู ทดลองเลย พอเห็น เข้าใจได้บอก อ๋อ ! เหลี่ยมมุมอย่างนี้เอง เราเข้าใจอีกอย่างหนึ่ง พอเวลาเหตุปัจจัยครบแล้ว มันไม่เป็นอย่างนั้นหรอก นี่ธรรมะมันเป็นอย่างนี้ เมื่อพิสูจน์เข้าจริง บางทีมันนึกว่า มันจะออกมา ๒+๒ เป็น ๔ เปล่า มันมีสิ่งพิเศษ ที่เติมขึ้น ๒+๒ เป็น ๕ ก็ได้ นั่นเราคาดเกินคาด เพราะ ๒+๒ เป็น ๔ นี่ มันคณิตศาสตร์ธรรมดาง่าย ๆ แต่ ๒+๒ เป็น ๕ เพราะเขาไปมีอรูป ที่เราหาไม่เจอ มาบวกเข้า เป็นสิ่งที่เราคิดไม่ถึง เรานึกว่า ๒ กับ ๒ เท่านั้น เราเก็บมาหมดแล้ว เปล่า มันมีเศษอยู่ เป็นอรูปที่เราเจอไม่ได้ แล้วโลกก็เจอยาก สิ่งเหล่านี้มีอยู่จริง เป็นสิ่งที่เหนือความคาดเดา เหนือ sense ธรรมดา นี่เป็นตาที่ ๓ ตาของผู้ประเสริฐจริง

จะเห็นได้ว่า ตาทิพย์ หรือเป็นอภิญญา หรือเป็นสิ่งที่เป็นอรูป เป็นสิ่งที่เหนือ ที่เราจะเห็นได้เป็นธรรมดา ส่วนใหญ่ ก็ไม่เห็นจริงๆ ในโลก เป็นของพิเศษ ที่เพิ่มขึ้นมา มันเป็นอย่างนั้น มันถึง ๒+๒ เป็น ๕ ได้ เพราะฉะนั้น ผู้ใดเข้าใจ ๒+๒ เป็น ๕ ซึ่งเป็นภาษาอธิบาย ที่ลึกซึ้งอยู่ทั้งนั้น แต่โดยหลักการแล้ว ๒+๒ เป็น ๕ ไม่ได้ ๒+๒ จะต้องเป็น ๔ ตามสมมุติสัจจะ ผู้ที่จะเข้าใจปรมัตถ์ ๒+๒ เป็น ๕ ก็เป็นผู้ที่จะรู้อรูป รู้สิ่งที่ลึกซึ้ง รู้สิ่งที่มีอยู่ในโลก แต่ยังไม่เปิดเผยในโลก เพราะเป็นอรูป เป็นสิ่งที่สุขุมประณีต ลึกซึ้ง เท่านั้นเอง เพราะฉะนั้น ที่ผมทำไว้ E = mc2 + a นั้น ก็มีความหมายอย่างนี้ a ตัวนี้เป็นอรูปอย่างนี้ ถ้าใครทำ ผู้นั้น ก็จะรังสรรค์ ถ้ารู้ว่านี่ดี ก็จะรังสรรค์ mc2 + a ไปเรื่อย ๆ แต่ผู้ใดไม่เข้าใจ ก็ขอให้จบอยู่แค่ a มีค่าเป็น ศูนย์ ก็ใช้ประโยชน์แค่นั้น เท่านั้น ซึ่งเขาก็ใช้อยู่แล้ว โดยโลกเขาใช้ E = mc2 อยู่แล้ว แล้วก็ให้ a เป็นศูนย์ ถ้า a กลายเป็น ether ไปด้วย ยิ่งเน่าใหญ่ เขาบวก ether มันก็จะทำลาย ทำลายอะไร E จะไม่เท่ากับ mc2

E จะเท่ากับ mc2 นี่ลบด้วย a แต่เขาไม่รู้ เขานึกว่า a เป็นของดี a มันจะลบ mc2 มันจะลดค่าของ mc2 ลง เขาจะไม่ได้ mc2 เต็ม เขาจะไม่ได้ค่าของกำลังงาน ที่เขาออกมาเต็ม เพราะเขาทำลาย และ บั่นทอน บั่นทอนในตัวของมันเอง มันกินตัวกินเนื้อของมันเอง เช่น

คนที่เขาหาเงินมาได้ แล้วเขาก็เอาไปสูบฝิ่น แทนที่เขาจะได้เงินนั้นเต็ม เป็น mc2 ลงแรงไป E มี m คือมีมวล เท่านั้น มีกำลัง ความเร่งกำลัง แรงพลังงาน ที่มันออกมาจากของตัวเอง ที่มีพลังเร่งของตัวเอง เต็มเหยียดเอง แล้วก็ได้ผลออกมาเท่านั้น เขาตีราคาแล้วเป็น E เป็นค่าของเงินบาท มาแล้วก็ตาม อะไรก็ตาม ได้มาแล้ว แล้วเราก็ได้ E หรือว่าตีค่าเป็นเงินบาท ของตัวเองแล้ว เสร็จแล้ว เราแทนที่จะใช้ E นี้ให้เป็นประโยชน์แก่ชีวิต อย่างแท้จริง หรือให้แก่โลก เรากลับเอามัน แบ่งไปซื้อฝิ่นสูบ ไปซื้อบุหรี่สูบ ทำลายเป็นขี้เถ้า ไปเปล่า ๆ การทำลายอย่างนี้ มันกินตัวซ้อนตัว ไม่ได้เกิดประโยชน์ ทำลายร่างกายด้วย แล้วก็ทำลายเงินตัวเองด้วย แล้วก็ตัวเองนึกว่า ตัวเองนี้เสพอารมณ์ เป็นกิเลสตัณหา อันเสพติดด้วย ทำลายทุกอย่างเลย อย่างนี้คือค่าของ a ที่ลบ mc2 นี่พูด ผู้ใดเข้าใจ พอฟัง ก็ฟังไปก่อน ผู้ใดยังไม่พอฟัง เข้าใจยังไม่ได้ ก็พอฟังภาษาลำลองไปก่อน มันจะเป็นอย่างนี้ โดยจริง กลายเป็นการทอน ทั้งๆ ที่ตัวเอง ทำ E = mc2 ได้เต็ม แต่เสร็จแล้ว ตัวเองก็ลดค่าของ mc2 ของตัวเอง แล้วลดค่า E ทิ้งของตัวเอง ทิ้งไปเอง ไม่มีผู้อื่นทำ อย่างนี้จริง ๆ เพราะฉะนั้น ถ้าผู้ใดรู้ค่าของ a ที่ถูกต้อง เป็นการดี เป็นของดีจริงแล้ว ก่อไปเถิด เป็นอรูป คนอื่นยังไม่รู้ ก็ช่าง แต่เรารู้กัน ปราชญ์รู้กัน ผู้ที่เข้าใจกันรู้กัน เพราะฉะนั้น พวกนี้รู้น้อย

ผมถึงขอยืนยันว่า พวกเรานี่คือ ผู้ที่จะได้รู้ ได้เข้าใจเพิ่มขึ้น รู้ค่าของ a รู้สิ่งที่ยังลึกซึ้ง ยังซับซ้อน ยังประณีต สุขุมอยู่ แม้แต่เรา ทำไม มาเดินสุขุมอย่างนี้ เขาไม่รู้ เขานึกว่าคนบ้า คนโง่ คนเชื่อง เป็นคนขี้โรคหรือ เขาไม่รู้หรอก อรูปที่มันอยู่ในนั้น ว่าคืออะไร เป็นสภาพของ การสำรวมระวัง อย่างไร เขาไม่รู้หรอก เรารู้ของเราแจ่มแจ้ง แล้วเราก็ดำเนิน E = mc2 + a ตัวนี้ไปเถอะ บวกอรูป หรือบวก สิ่งที่เขายังเข้าใจไม่ได้ นี่ไปเถอะ

แต่ขอให้คุณแน่ใจว่าดีจริงนะ ผมบังคับไม่ได้นะ ผมไม่ได้บังคับใคร ที่พูดนี่ก็ไม่ได้บังคับ คุณพิจารณาให้ดี ให้เข้าใจจริงนะว่าดี แล้วคุณก็ทำ

ถ้าผู้ใดเข้าใจว่า นั่นสิ่งนั้น พิสูจน์แล้ว พิจารณาแล้วว่าดี ก็จงดำเนินไปเถิด อย่ากลัวเลย แต่ขอให้เข้าใจให้จริง อย่าให้ให้มันเพี้ยน อย่าให้มันผิด อย่าให้เป็น เนวสัญญานาสัญญา น่ะ เอ้า ! (ลองดูกันหน่อย เช็คหน่อยก็ได้ เช็คหน่อยก็ได้ ชั่วโมงเหมือนกัน มันควรจะเท่ากัน ทำงานไหม เอ้า ! ก็ดีแล้วเอ้า)

ถ้าผู้ใดรู้ความจริง ตามความแท้จริง แล้วก็เป็นผู้ที่มีประโยชน์ เป็นผู้ที่มีเจตนาให้แก่โลก เหมือนพระพุทธเจ้า ท่านตรัสเอาไว้เสมอว่า ท่านเองท่านเหมือน เรือยามฝั่ง เป็นผู้ที่เกิดมา เพื่อที่จะเป็น ประโยชน์แก่โลก เป็นผู้ที่จะอนุเคราะห์โลก เป็นผู้ที่จะเกื้อกูลโลก เป็นผู้ที่จะให้เป็นประโยชน์แก่โลก เพื่อความสุขของโลก หรือของปวงชน เป็นอันมาก หรือแปลในภาษาสมัยนี้ ก็เพื่อปวงชน หรือ เพื่อประชาชน หรือเพื่อสังคมนั่นเอง การเกิดของพระพุทธเจ้านั้น อย่างนั้นจริง ๆ และการที่เอาพระพุทธ มาแสดง หรือเอาพุทธะมากระจาย เอาสิ่งที่เป็นธรรมะที่แท้จริง ที่เป็นสิ่งที่ดีจริง ที่เราได้วิเคราะห์ วิจารณ์ แล้วเราได้รับความเข้าใจ อย่างถูกแล้วว่า อันนี้เราจะสร้างเป็นเสฎฐะ เสฏโฐ เป็นเสฎฐะ คือ เป็นกิจที่จะต้องทำไว้ให้แก่โลก เราก็ทำลงไปไว้ โดยความแน่ใจเถิด เพราะฉะนั้น เราจึงจะรู้ จะเข้าใจว่า เราอยู่ทุกวันนี้ เราทำงาน อย่างน้อยที่สุด เราออกไปบิณฑบาต เราไปโปรดสัตว์ เราก็ไปแพร่ แพร่อะไร แพร่อรูป อย่างน้อยที่สุด ไปแพร่อรูป แพร่ความสำรวม ความเยือกเย็น ความไม่โลภ ไม่โกรธ อธิบายอะไร ที่พอจะเป็นเหตุ เป็นปัจจัย ที่เขาจะทำความเข้าใจ ลึกซึ้งได้เพิ่ม ได้เพิ่มขึ้นพอสมควร ตามกาลเวลา ตามบานะ(ฟังไม่ชัด) ที่ควรได้ ก็แสดงไป ด้วยกายกรรม วจีกรรมอันควร ซึ่งเกิดมาจากจิตของเรา ที่มีปัญญาเท่าใด ๆ เราก็ไปแพร่ แพร่ขยายเท่านั้น ๆ เราก็ทำงานของเราอยู่ อย่างน้อยมีวันหนึ่ง ก็แค่บิณฑบาต เป็นกิจ อันพอยังชีวิตไปน่ะ

แล้วถ้าใครทำได้มากกว่านั้น ก็จงทำเพิ่มขึ้นเถิด พากเพียรเถิด มีอุฏฐานะ มีการพยายาม มีการพากเพียร เจตนาให้ถึง อุฏฐานสัมปทา ให้พร้อมไปด้วยความพากเพียร ที่เป็นประโยชน์ ทิฏฐธรรมิกัตถประโยชน์ เป็นประโยชน์ ทันทีทันใด เป็นประโยชน์ปัจจุบัน ทิฏฐะแปลว่าปัจจุบัน เกิดความเห็นได้เดี๋ยวนี้ เป็นเดี๋ยวนี้ อกาลิโก ไม่ใช่เอาเวลามาวัด เกิดเดี๋ยวนี้ ทำเดี๋ยวนี้ ก็คือ ปัจจุบันธรรม เดี๋ยวนี้ เป็นปรมัตถ์เดี๋ยวนี้ แล้วก็กระทำ เป็นทิฏฐธรรมเดี๋ยวนี้ เป็นประโยชน์เดี๋ยวนี้ เรียกว่า ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ และประโยชน์อันแรก คือ อุฏฐานะ เมื่อเรามีอุฏฐานะ มีความพากเพียร พากเพียรอะไร พากเพียรก่อกรรมดี เป็นกายกรรม วจีกรรม อันเกิดมาแต่ มโนกรรม ที่เป็นความรู้ ความเข้าใจแท้ เป็นญาณทัสสนะ เป็นความเข้าใจถูก และเป็นไปเพื่อทิศทาง แห่งความวิมุติ แห่งความเย็น แห่งความสันติ และความเป็นภราดรภาพ เราจะกระทำอย่างนั้น และกระทำอยู่ ใครจะว่ายังไงก็ว่าไป เราก็จะรับฟัง เราก็จะเป็น อย่างนั้นเสมอ โดยความเข้าใจ เพราะฉะนั้น พวกคุณเอง ก็พยายามเรียนรู้ที่ตน เข้าใจที่ตน

จิตของเราที่ยังมีมานะ ละออก จิตของเรายังมีตั้งแต่อบาย เราละออกของเรา มีอบายน้อย ลดลง บางคนยังเหลือเศษ อยู่ในใจบ้าง ก็ให้รู้ อย่าประมาท พยายามดับ พยายามวาง พยายามลด แม้แต่เศษของกาม ที่เรายังติดอยู่ ก็พยายามลดเศษของโลกธรรม ๘ ได้ลาภ ได้ยศ ได้สรรเสริญ ก็อย่าหลงสรรเสริญ ก็คือ ตัวสืบต่อ เข้าหามานะ มานะทิฐิ ยึดตัวยึดตน ว่าตัวเองใหญ่ ตัวเองดี ถ้าเราลดอบายมาได้ เราก็ดีจริง เราลดกามมาได้ เราก็สูงจริง และจะมีการได้รับสรรเสริญ ได้รับการยกย่อง ได้รับการนับถือจริง แต่อย่าหลง ไอ้ที่เขามานับถือ อย่ามาหลงที่เขามายกย่อง อย่ามาหลงตัวหลงตน ที่เราดีจริง เรามีดีจริง แต่เราไม่หลงดี ถ้าเรามีดีจริง หลงดีแล้ว ดีนั้นจะเป็นตัวเป็นตน เป็นมานะ แล้วก็ถือตัว ยึดตน แล้วก็จะดื้อด้าน แล้วก็จะลำบากใจ จนไม่รู้ประมาณ เราพยายาม ที่จะปั้นดีไว้ในโลกเท่านั้น แต่ไม่ไปแข่งดี กับเขาน่ะ ไม่ไปแข่ง ไม่ไปท้า ไม่ไปพนัน ไม่ไปต่อสู้ ตีรันฟันแทง เราจะเผยดี แล้วพยายามยัดเยียดดี กระจายดี ออกไปเฉย ๆ น่ะ ถ้าเรารู้ว่า เราทำถูกแล้ว เราก็เฉย เราไม่พยายามที่จะให้ กระทบกระแทก กระทั้น ให้เกิดการระเบิด ให้เกิดการทำลาย ให้เกิดการวิวาท ไม่เอา

แต่เราจะทำให้มันเรียบร้อย ให้มันเป็นไปด้วยเย็น ด้วยคืบคลานไปด้วย อย่างเรียบงาม smoothly ให้ไปได้ อย่างที่เรียกว่า ไม่ขรุขระ ไม่ขัดอะไรมากนัก ไม่ขัดจนกระทั่งร้อน แต่จะขัดๆ เกลาๆ เป็นสัลเลโข เป็นการเกลี่ย การเซาะ การผ่า การขูด การขูดไปให้มันพอ ถ้าเราเการ่างกายของเรานี่ เกามันจะพอดี รู้สึกคัน ๆ รู้สึกว่าเกิดผัสสะ ที่พอดี ๆ แต่ถ้าเรากดเกานี่แรง ขูดให้หนัก จะเจ็บผิวหนังทันที ฉันใดก็ฉันนั้น เพราะฉะนั้น เราก็จะขัดๆ เกลาๆ ขัดๆ พอที่จะเกลาๆ ให้มันคันๆ ให้มันขูดๆ แล้วสิ่งที่ถูกเกา ถูกขัดนั้น เราก็รู้ว่า สิ่งนั้นควรขัด ควรเกลา หรือควรขัดควรขูดออกด้วย อย่าให้รู้สึกแสบ อย่าให้รู้สึกเจ็บ อย่าให้รู้สึกแรงเกินไป กระแทกกระทั้นเกินไป แต่เลี่ยงไม่ได้หรอก ที่จะต้องขัด ต้องเกลาน่ะ ต้องเลาะ ต้องเซาะ ต้องไซ้บ้าง แต่เราจะเป็นผู้รู้ เพราะสิ่งนี้ เราจะต้องเป็นผู้รู้ ผู้อื่นเขาจะรู้สึกยาก เราใช้อรูปนี้ เป็นการขัดเกลา เสมอนะ เมื่อผู้นั้นเขาไม่รู้สึกในอรูป เขาจะไม่รู้สึกสะเทือน ผู้ใดรู้สึก รู้สึกอรูปจะสะเทือน เพราะฉะนั้น ระวัง

ถ้ารู้สึกว่าสะเทือนแล้วนั่นแหละ เรากำลังรู้ว่า ภูมิของเขามีอยู่เท่านั้น แล้วเราก็คอยลด ให้เหลือขนาดอรูป เราใช้อรูปนี่แหละ เป็น a เพราะฉะนั้น ผู้ใดรู้อรูป หรือรู้ a อันนี้นะ absolute นี่ อันนี้เป็นสิ่งที่เป็นจริง เป็นสัจจะ ที่แท้จริงยิ่งที่สุดเลย absolute ของพวก formless หรือ immaterial ใช้ภาษาฝรั่งนิดหนึ่ง ผมไม่เก่งภาษาฝรั่งหรอก แต่ก็คิดว่า จะใช้ศัพท์พวกนี้ถูกบ้าง ก็มาใช้ประกอบขึ้นน่ะ ไม่ใช่อวดดีหรอก ที่จริงยอมรับว่า ตัวเองไม่เก่งภาษาฝรั่งจริง ๆ แต่พยายามใช้คำ ให้มันกว้างๆ ขึ้นเท่านั้นเอง เป็น formless คือ เป็นสิ่งที่ไม่มีตัว ไม่มีตนหรอก เป็นนามธรรมน่ะ formless หรือว่า immaterial หรือ imcomporial อะไรแล้วแต่ ภาษาฝรั่ง เขามีหลายตัวเหมือนกัน imcomporial คือ เป็นนามธรรม เป็นอรูป ยังไม่เป็นวัตถุแท้ ยังไม่หนัก ยังไม่เห็นชัด เพราะฉะนั้น ผู้นั้นใช้อันนี้แหละ เรียกว่า absolute หรือ a มีอันนี้ รู้อันนี้ แล้วเอามาใช้ ผู้นั้นก็จะเป็นผู้ที่ก่อ E เป็นพลังงานที่ mc2 + a ไปในโลก งานพร้อมเลย ที่ทำอรูปนี่บวกเข้าไป ให้เขาเรื่อยในโลก ก่อสร้างอันนี้ เติมเข้าไปในโลก mc ก็จะเป็นค่าที่สูงขึ้น เพราะมี a นี่ มือรูปนี่ ก่อไว้เรื่อย บวกไว้เรื่อย เพราะ E ก็จะเป็นตัวประโยชน์ในโลก เป็นแรงงาน เป็นผลผลิต อะไรก็ตามในโลก มันจะเติมไว้ ๆ เติมไว้ในโลกเสมอ เราเป็นผู้ก่อด้วยรู้ ด้วยเข้าใจ ด้วยซาบซึ้งตรึงใจจริง ๆ ด้วยเห็นแท้ ในสิ่งเหล่านี้ แล้วเราก็ทำ จงพึงทำน่ะ จงพากเพียรทำ

+++++++++

 

นี่ก็ขอเพิ่มเติมที่เราจะเน้น แล้วเราก็จะได้ตักเตือนกันนะ เรามีเรื่องที่จะพูดกัน ตอนปลาย ๆ อีกนิดหน่อย เกี่ยวกับ เรื่องที่ประสบการณ์ต่าง ๆ ที่เรามาทำงาน เราได้เดินทางมา แล้วเราก็ได้รับ การกระทบสัมผัส กับผู้ที่เขาไม่รู้ แล้วเขาก็คิดว่า เราไปตัดทอนเขา ก็จริง เขาเห็นว่า เรานี่ไม่ถูก เขาเห็นว่าเราเล็ก เขาไม่เห็นว่าเราใหญ่ เขาไม่เห็นว่าเราถูกต้อง เขาก็พยายามจะทำให้ถูก ตามที่เขาเห็น ก็เป็นความเห็นของเขา ก็จริงอยู่ เพราะฉะนั้น เขาก็จะต้องขัด สิ่งใดที่ เขาเห็นว่าไม่ถูก เขาเจตนาดีเหมือนกัน เขานึกว่า เราทำผิด เขาก็จะต้องทำให้ถูก แล้วก็จะต้องช่วยเหลือเรา ทุกวิถีทาง ก็ดี ขอบคุณเขา ตลอดทางนะ แล้วเราก็ขอบคุณมาเรื่อย ๆ อย่าไปมีมานะ อย่าไปลงโทษเขา อย่าไปอึดอัด ขัดใจ อย่าไปเดือดร้อนใจ จงเย็นใจ จงรู้ จงเข้าใจทุกสิ่งที่เกิด ตามเหตุตามปัจจัยเสมอ เรากระทบมาเรื่อย ๆ แม้แต่บางทีบางอัน ที่เราทำไม่งาม เราก็ได้รับบทเรียน โผล่พัวะเข้าไป ในสถานที่ของเขา โดยไม่บอกกล่าว กับเจ้าที่เขา เขามีสิทธิขอบเขต ในอาณาเขตนั้น แล้วเราก็ไม่ทำ อย่างนี้เป็นต้น

หรือแม้แต่เราบอก แล้วเราจะไปทำอะไรชัด รุนแรงเกินไป ทั้ง ๆ ที่เราอาศัยที่ของเขา เราก็จะต้องรู้ แม้มาอยู่ที่นี่ ก็เป็นบทเรียนเหมือนกันน่ะ เขาบอกว่า เจ้าที่ของเขา ที่นี่เขามีเจ้าที่เยอะ มีแม้แต่นายอำเภอ มาบอกว่า ผมฐานะเป็นเจ้าที่ นี่ก็ไม่รู้เรื่อง เราเองเราก็ไม่ได้เจอนายอำเภอ ตั้งแต่วันมา เพราะเขาไม่อยู่ เขาไปงานบวชลูกเขา เพิ่งมาวันนี้ เขาก็โผล่ลงมาหา เขาบอก "ผมเป็นเจ้าที่"

เราก็ไม่รู้ว่าเขามาแล้ว เราก็เผลอไปด้วยกัน ก็เป็นความผิดของเรา เราก็ยอมรับ ในสิ่งที่ว่า มันบกพร่องไปหน่อย แต่เราก็เห็นว่า พวกนี้เป็นเจ้าหน้าที่ของ ในที่ว่าการอำเภอ เขาก็ต้องให้การต้อนรับ แล้วเขา ก็เข้าใจดีแล้ว ก็เลยไม่ได้ไปนั่นอะไรน่ะ แต่แท้จริง ก็ควรจะรู้จัก ผู้ใหญ่เขาในที่นั้น แล้วก็บอกกล่าว เป็นทางการอะไรบ้าง ก็น่าจะดี อันนี้ก็เป็นข้อบกพร่องเล็กๆ น้อยๆ แต่ทางโลก เขาก็ยึดถือว่าสูง ไม่ใช่เล็กน้อยล่ะ ถ้าเราจะทำได้ ก็ไม่เสียหาย

นี่ผมก็รู้ตัวอยู่ ในส่วนที่ไม่สมควรจะบกพร่อง และที่นี้เป็นสถานที่ ที่ของอำเภอ ที่นี้ของศาลากลางเขา เขาก็ถือว่าของเขา เขาจึงโทรไปบอก เจ้าหน้าที่ทางฝ่ายพระ ให้มาเช็ค เขาก็มาแล้ว มาจดแล้ว ก็ดีน่ะ เจ้าหน้าที่ เขามาจดไปแล้ว วันโน้นเป็นเลขานุการของ เจ้าคณะจังหวัด แล้วก็ยังไม่แล้ว เมื่อวานนี้ เขาก็มาอีก ตอนนี้เจ้าคณะจังหวัด มาเองเลย เอาเลขามาพร้อมกัน ๒ คน จดใหญ่ เมื่อเปรยถึงวันโน้นว่า เลขาเขามาขอจดไปแล้วนี่ ท่านเจ้าคณะจังหวัดบอกว่า ไม่ได้เป็นทางการ นั่นเขามาเอง ผมไม่รู้เรื่อง ไม่รับ ไม่ยอมรับ เอ้า ! ก็เลยกลายเป็น ขายหน้าลูกน้องตัวเองไป ก็ไม่ว่าน่ะ ก็ไม่ว่ากระไร จดใหม่ก็จด เพราะว่า ท่านเอง ท่านต้องเอาตามที่ท่านว่า ท่านสั่งท่านอะไร ตามเรื่องของท่าน ก็จด สอบสวนไป ก็ดีน่ะ ก็ดี ก็เห็นชอบด้วย ในเมื่อท่านเอง ท่านอยู่ในสมมุติโลก ว่าท่านเป็นเจ้าคณะจังหวัด ท่านจะทำงานสอดส่อง ดูแลศาสนา จะทำงานของศาสนา ถ้ามีพระปลอมมา ทำไม่ดีอะไร ก็ควรจะได้สอดส่อง ก็ดีแล้วนี่ ก็เป็นประโยชน์แก่ศาสนานี้จริง ๆ ท่านจะทำหน้าที่นี้ เพราะท่านถือว่า ท่านมีอันนี้เป็นอาวุธ หรือว่า ท่านมีความถนัดในแง่นี้ งานนี้ หน้าที่นี้ ท่านก็จะทำอันนี้ เป็นตำรวจของพระน่ะ ก็ทำเป็นตำรวจไป เป็นผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ หรือ สันติธรรม ก็ตามใจ เป็นผู้พิทักษ์สันติธรรม ท่านก็จะพิทักษ์ โดยท่าน จะเอาแต่ แค่ดูว่า เป็นพระที่มานี่ แล้วก็พระไม่ถูก ท่านจะเอาแง่นี้เป็นใหญ่ ท่านจะตรวจก็ดีแล้ว เมื่อเรามีความบริสุทธิ์ใจ มีความสบายใจ เราก็ไม่ต้อง ไปเดือดร้อนอะไร

..ฯลฯ...

 

++++++

 

เมื่อเราได้รวมตัวกัน ได้กระทำบทบาท หรือได้กระทำงาน อะไรต่ออะไรขึ้นมานี้ ทุกคนก็ขอให้แน่ใจว่า เราเดินทางมา ในทางพุทธ แล้วจะกระทำตน ให้เป็นผู้เสียสละ หมดตนหมดตัว ไม่เห็นแก่ตัว จนปลอด ทุกอย่าง ปราศจากทุกอย่างจริง ๆ เบา ว่าง ง่าย และเห็นทางชีวิตก็เท่านั้น เลี้ยงมันไว้ด้วย กวฬิงการาหาร มันก็ดิ้นด๊อกแด๊กไปได้นะ เลี้ยงไว้ด้วยข้าว ด้วยน้ำ ข้าวสุก ขนมสด หรือผัก พืช ผลไม้ ที่เราใช้กิน อยู่ทุกวันนี้ พอเลี้ยงขันธ์ไปได้ ก็เลี้ยงไป แล้วเราก็อยู่เหมือนเครื่องจักร เครื่องกล ทำงาน แต่มันดีกว่าเครื่องกล เพราะมันมีตัวรู้ มีตัวที่จะวิเคราะห์ ที่จะกรอง กรองเอาสิ่งที่ดีมาใช้เสมอ แล้วก็ทำให้เครื่องจักร เครื่องกลอันนี้ มีประสิทธิภาพ ผลิตแต่ของดีของงาม ออกมาให้แก่โลก เราก็จะเป็นตัวเครื่องกล ที่ผลิตของดี ของงาม ทิ้งไว้ให้แก่โลกนี้ อยู่ตลอดไป จนกว่าจะถึงบทบาท ในการสูญสลาย ตายดับเน่า เท่านั้นเอง เราจะทำอย่างนั้นจริง ๆ

แล้วตัวเราเอง เราต้องมีความสุข หรือมีความสบาย มีความไม่ติดยึด ถ้ายังติดแม้แต่อาหาร แม้แต่รส ติดแม้แต่วัตถุอยู่ เราก็ลำบากใจ อึดอัดใจ ถ้าตัดไม่ขาด เห็นได้ด้วยสัจจะไม่ได้ มองได้ด้วยจริงไม่ออก ว่าสิ่งเหล่านั้น เป็นสักแต่ว่า วัตถุโลก เป็นของในโลก ที่เขาหลงกัน สมมุติกัน ว่านั่นควรรัก นั่นควรชอบ หรือนี่ควรชัง ควรไม่ชอบ เขาสมมุติกัน มันไม่มีอะไรจะต้อง ไปรักไปชอบ หรือไปชังอะไรมันในโลก มันเป็นวัตถุที่ประกอบ อยู่ในโลก แล้วเขาก็สร้างขึ้นมามาก ประกอบประดิษฐ์ ตบแต่งเป็น วิภูสนัฏฐานา เป็นสังขาร ปรุงกัน ขึ้นมามากๆๆๆ แล้ว เขาก็ไปติดกัน เพราะฉะนั้น สิ่งใหม่ที่เขาก่อออกมาใหม่ ในขณะที่เราเป็นผู้บรรลุแล้ว รู้เท่าทันโลกแล้ว เราจะไม่ติดยึดมัน เราเคยติดยึด สิ่งที่เราเคยติดยึดมาก่อน เท่านั้นเอง แล้วเราก็มาล้าง สิ่งที่เราเคยติดนั้นให้หมด เมื่อหมดแล้ว ไอ้ที่เกิดใหม่ มันไม่มีฤทธิ์กับเราหรอก เพราะฉะนั้น เดี๋ยวนี้เขาจะสร้าง แฟชั่นใหม่ ถ้าใครตัดขาดแล้ว เขาจะสร้างสิ่งก่อสร้างใหม่ เขาจะสร้างนี่ ขึ้นมาใหม่ เราก็จะไม่ยินดี ยินร้ายเลย เมื่อเราได้รู้เท่าทันแล้ว

แต่ถ้าคนใด ยังไม่รู้เท่าทัน ยังมีเศษส่วน หรือยังมีเศษในจิต ที่ยังเหลือเชื้อ ราคะอยู่ เป็นรูปราคะ อรูปราคะ ก็ตาม ก็อาจจะไปชอบ แม้แต่สิ่งก่อสร้าง ไปชอบแม้แต่แฟชั่น ไปชอบแม้แต่สิ่งอะไร ที่เขาสร้างขึ้น ใหม่ขึ้น แปลก ที่โลกเขาประดิษฐ์ขึ้นไป อย่างไม่หยุดยั้ง โลกนี่มีแต่ประดิษฐ์ขึ้นเป็น วิภูสนัฏฐานา เป็นฐานะแห่งการตบแต่ง เป็นฐานะแห่ง การประดิดประดอย เป็นฐานะแห่งการก่อสร้าง ให้แปลก ให้ใหม่ ให้แหวก ให้พิลึกกึกกือ ให้ยั่วคน ยวนคน ให้คนเห็นดีเห็นชอบ ให้คนรัก เพื่อประโยชน์ จริงบ้างก็ตาม อันไหนที่เป็นประโยชน์จริง เหมาะสม ตามกาลเทศะก็ดี บางอันเฟ้อออกไปก็ตาม ถ้ายิ่งอันไหนเฟ้อแล้ว ยิ่งอย่าไปติดมันเลย ถ้าเห็นดีเห็นงามด้วย กับอันที่เขาก่อ เขาสร้างขึ้นมาใหม่ ให้ได้รับประโยชน์สูง ประหยัดสุด หรือได้รับใช้พลังงาน หรือได้รับใช้ปวงชน รับใช้ให้มันเกิดผลงาน ได้มากที่สุด ก็ดี อย่างเขา คิดถึง แทร็กเตอร์ขึ้นมา เขาคิดถึงเครื่องขนย้าย เป็นกำลังงาน เป็นเครื่องบิน เป็นรถที่จะทำ ประสิทธิภาพ หรือเป็นเครื่องอุตสาหกรรม เครื่องผ่อนแรง ที่จะทำประโยชน์สร้างสรร ประกอบอะไร ดีนี่ ก็เออ ! อนุโมทนา สาธุ เป็นการประดิษฐ์ประดอย ที่จะส่งผลย้อนมาให้แก่ชีวิตจริง ก็เอา แต่เอาไป ประดิษฐ์ประดอย ไปทำเฟ้อขึ้นไป หรือไปเอาทำลายเกินไป เราก็ไม่สนับสนุน เราก็ไม่เห็นด้วย ก็ต้องรู้ ด้วยความจริง ตามความเป็นจริง มีความฉลาดเพียงพอ แล้วเราก็ส่งเสริม สิ่งที่มันดีจริง น่ะ

เราจะมีชีวิตอยู่ด้วยรู้อย่างนั้น แล้วก็ไม่หลงตัว ตัวมีแต่โอฬาริกอัตตา คือตัวกาย ซึ่งมีมโนมยอัตตา อยู่ข้างใน ซึ่งสำเร็จลงด้วยจิต จิตที่รู้เท่ารู้ทัน แม้แต่อรูปมยอัตตา สิ่งที่เป็นอรูปก็รู้ เรารู้แม้แต่สิ่งที่เป็นอรูป เพราะฉะนั้น จิตของเราที่รู้ด้วยตัว เป็นจิตแท้ เป็นมโน เกิดมโนมยอัตตา อัตตาตัวนั้น ก็เป็นอรหัตตาด้วย เป็นอรหัตผลด้วย เป็นผลที่รู้ความเหมาะสม ที่ถูกต้องที่สุด เราก็พอใจ แล้วเราก็อยู่กับ มโนมยอัตตา กับ โอฬาริกอัตตา ที่เลี้ยงมันด้วยข้าวสุก ขนมสด แล้วก็มี มโนมยอัตตา ที่มันสำเร็จลงด้วยจิต จิตอันเป็น วสวัตตี จิตอันเป็นที่ผู้ที่รู้ความจริง ความถูกต้อง มีญาณทัศนะ มีมโนมยิทธิ ไม่มีกามกิเลส ตัณหา ไม่มีราคะอะไร เราจะมีมโนมยอัตตานั้น เป็นอรหัตตะ เป็นอรหัตตา อยู่ตลอดไป แล้วเราก็มีการหยั่งรู้ ถึง อรูปมยอัตตา ซึ่งเป็นตัวตนของอรูป ที่เราจะเอามาปรุง ให้แก่โลกเขาไป เหยาะให้แก่โลกเขาไป โดยอย่าให้เขารู้สึก อย่าให้เขากระเทือน เท่านั้นเอง

อรูปเหล่านั้น หรือ absolute หรือตัว a ตัวนี้ จึงสำคัญน่ะ ตัว immaterial หรือ imcomporial ตัวนี้สำคัญ ที่เราจะต้อง พยายามเรียนรู้เพิ่มเติม ลึกซึ้ง สุขุม ประณีต แล้วเราก็จะอยู่กับโลกของเรานี้ ไปจนกว่ามันจะตาย เพราะมันหลงเกิดมา นานับชาติแล้ว ผู้ใดบรรลุหลุดพ้นแล้ว ผู้ใดรู้เท่า รู้ทันแล้ว ก็จะรังสรรค์ หรือ ทำสิ่งที่ดีนี้ ต่อไปในโลกอยู่ เท่านั้นเอง จนกว่าจะถึงหลุมฝังศพ แล้วเราก็ไม่เดือดร้อนอะไร ใครจะว่าเราดี ใครจะว่าเราต่ำ เขาก็ว่าไป เราไม่อะไรน่ะ


...ฯลฯ...

เหตุการณ์ เมื่อวานนี้ ก็ขอสรุปลงเลยดีกว่า รวมลงดีกว่า

ว่าเรื่องได้เกิดขึ้นมาเรื่อย ๆ ซึ่งเราจะได้รับ อันนี้เราต้องรู้ว่า มันจะต้องเกิด ไม่วันนี้ก็วันหนึ่ง ในวันข้างหน้า วันไหนก็จะต้องเกิด เกิดจริงๆ แล้วมันก็จะต้องเป็นไป เพราะฉะนั้น ก็ค่อยๆผ่านไป ค่อยๆทำให้ดี ให้งาม มันจะต้องเกิด จริงๆ นะ วันนี้เกิดขนาดนี้ก็ดีแล้ว แล้วก็ขอบอกพวกคุณ อย่าไปตกใจ อย่าไปลำบากใจ อย่าไปท้อแท้ใจ หรือว่า อย่าไปเดือดร้อนใจอะไรเลย สิ่งใดที่จะเห็นชัด ว่ามันไปตามเหตุ ตามปัจจัยจริง มันจะต้องเป็นชัดๆ อย่างนั้น อะไรต้องเกิด มันจะต้องเกิด อะไรที่มันไม่เกิด มันก็ไม่เกิด เราจะร้ายแรง ถึงขั้นพระเยซู ที่ต่อสู้ กับพระเก่าหรือไม่ จนกระทั่ง ผมจะต้องถูกแขวนคอ ถูกตอกตรึงกางเขน หรือไม่นั้น ผมไม่พยายาม ที่จะให้เกิดอย่างนั้น เพราะอย่างนั้น มันแรงไป แล้วมันไม่งาม ถ้าผมทำได้ ถึงอย่างของพระพุทธเจ้า แม้แต่วันตาย ก็กำหนดเอง เผยแพร่ศาสนาไปได้ ผมก็จะทำ แต่ผมเชื่อว่า ผมทำไม่ได้อย่างพระพุทธเจ้าแน่ แต่ถึงเชื่อว่า จะทำไม่ได้ เพราะความเห็น เข้าใจอยู่ว่า เราไม่อาจถึงขนาดนั้น เพราะผมยังรู้ความบกพร่อง ของผมอยู่ก็ตาม ผมก็จะพยายาม แม้จะไม่ได้อย่างนั้น ผมก็จะพยายาม ตั้งจิต และใช้ความพยายามสุดที่ ที่ผมมี ให้ได้เท่าพระพุทธเจ้าให้ได้ ขอพูดด้วยภาษาที่องอาจ อวดกล้าอย่างมาก แต่แท้จริง ไม่อาจเอื้อมหรอก แต่พูดอย่างมีเป้าหมาย เราจะเอาเป้าหมาย ให้ได้อย่าง พระพุทธเจ้า ให้ดี ให้งามพร้อม ไม่ให้เป็นไปด้วยความรุนแรง ไม่ให้เป็นไปด้วยความแตกหัก แต่ให้เป็นไป ด้วยความเย็น สบาย นิ่มนวล เป็นไปเพื่อความขัด แต่แค่ขัดเกลา เป็นแค่สัลเลขะ หรือ สัลเลโข ไม่ให้มันรุนแรง ถึงขั้นแตกหัก ให้แค่ผ่าตัด หรือขัดเกลาให้ได้แค่นั้น ต้องมีอย่างนั้นเสมอ เป็นอรูป ที่ใช้ ให้พอเกาๆ คันๆ น่ะ เพราะฉะนั้น ผู้ที่ได้รับเกาๆ คันๆบ้าง ก็จะได้รับความรู้สึก จะได้รับประโยชน์

ถ้าไม่ให้เขารู้สึกเลย ไม่รู้สึกว่าอะไรเกา เหมือนสำลีตก ก็รู้สึกเฉยๆ เขาก็ไม่ได้รับประโยชน์อะไร ว่าเขาได้รับผัสสะอะไร หรือเขาได้รับอะไรแล้วบ้าง ตกต้องตัวเขา ไม่มี มันก็ไม่มีประโยชน์ แค่เหมือนสำลีตกต้องเฉย ๆ มันก็เบาไป ไม่ได้รับอะไร พอให้ตกต้อง แล้วให้รู้สึกขัดๆ เกลาๆ หรือ เกา ๆ คัน ๆ ให้พอมีผลบ้าง พอเขารับว่า เออ ! พอมีอะไรน้อยๆ น้อยๆ ผมรู้อย่างนี้ แล้วผมเห็นอย่างนี้ แล้วผมทำอย่างนี้อยู่เสมอ เพราะฉะนั้น บางที่จะเห็นว่า แร้งแรง ถ้ามวลหมู่คนมาก ๆ จะเห็นว่า บางคนนี่แรง บางคนรับไม่ได้เลย ก็จริงอยู่ แต่ที่รับได้ ประมาณตามหมู่ ปริสัญญุตาแล้ว คุณจะเห็นได้ว่า ผมก็พยายามรักษาให้มันได้ ตามหมู่นี่แหละ และส่วนที่จะตัดทิ้งนั้น ก็แน่นอน เศษมันเท่ากะปิ๋ว

ก็พระพุทธเจ้าเอง ยังสอนหมู่สาวก หรือว่าผู้ฟังธรรมนั้น ๖๐ คน อาเจียนเป็นเลือดตาย, ๖๐ คน ลาสิกขาบท ทนไม่ได้, ๖๐ คน บรรลุเป็นอรหันต์ ก็พระพุทธเจ้า ยังทำได้แค่นี้ ท่านยอมให้ รากเลือดตาย ให้อาเจียนเป็นโลหิตตาย ท่านก็ยังยอมน่ะ คนที่ยอมให้ต้องสึกไปก่อน ลาสิกขาบทไปก่อน เพราะทนไม่ได้ ต่อการปฏิบัตินี้ ต่อธรรมะอันนี้ หนักเหลือเกิน ท่านก็ยังยอม แต่คนได้ผลมา อรหันต์ ๖๐ ท่านยังต้องการ ๑ ส่วน ๓ เท่านั้นเอง ท่านยังทำได้แค่ ๑ ส่วน ๓ ผมทำ จะได้แค่ไหนกัน แต่ก็พยายาม ที่จะให้ได้เกินกว่า ๑ ส่วน ๒ ขึ้นไปเสมอ โดยหลักการ แต่จะได้แค่ใด ก็จะต้องทำ แล้วพยายาม อย่าให้น้อยกว่า ๑ ส่วน ๒ ถึงแม้ว่า เราจะยกตัวอย่างอันนี้ ก็ไม่ได้หมายความว่า เอาตัวอย่างอันนี้ มาทำลาย สิ่งที่มันเป็นจริง ก็ไม่ใช่ แต่ว่าผู้ที่ลาสิกขาบทไป ก็เป็นส่วนที่ ไม่ได้หมายความว่าไม่ได้ ได้ แต่คนที่เสียจริง ๆ ก็คือ ๖๐ คน ที่อาเจียนตายไปนั่นน่ะ ๖๐ เสียจริง ๆ ที่จริงก็ได้ไว้ หนึ่ง ได้ยอด, สอง ได้ประมาณปานกลาง, ก็คือพวกที่ลาสิกขาบท, ได้ยอดไป ๖๐, ได้ประมาณปานกลางอีก ๖๐, มันจะได้เป็นเนื้อหนังธรรม อย่างนี้ส่วนใหญ่น่ะ เพราะฉะนั้น เราก็กระทำ จะกระทำ ด้วยการประมาณ ด้วยการกระทำอย่างนี้ แต่ถ้าไม่พังเลยได้ยิ่งดี ไม่มีการตกหลุดเลย ไม่มีการอาเจียน เป็นโลหิตตายเลย ก็ยิ่งดีใหญ่ซิน่ะ อย่างนี้ก็ต้องพยายามกัน อย่ารู้บกพร่อง อย่าคิดว่า จะเป็นอย่างนี้ ต้องรู้เป้าหมายนะ เพราะฉะนั้น เราก็ต้องให้เข้มข้นขึ้นมาหน่อย ให้มันขัดมันเกลา อย่าให้มันแค่สำลีตกต้องเฉย ๆ มันไม่มีความรู้สึก แล้วมันไม่มีผลอะไร ให้ขัดเกลาพอนิดๆ นิดๆ พอสมควร แล้วก็อย่าหลงระเริงไปกับ ที่เราขัดเขาได้ เกลาเขาได้ มันกลายเป็นว่า เราเองหลงระเริง แล้วก็เสียหาย

นี่เมื่อเหตุการณ์มันเกิดขึ้นอย่างนี้ ผมก็อยากจะเตือนพวกคุณ ให้ตั้งใจรับว่า สงครามมันเริ่มเกิด ไปเรื่อย ๆ แต่เป็นสงคราม เป็นธรรมะนะ เป็นธรรมมรณะ กลายมาเป็นธรรมสงคราม เป็นการต่อสู้ ในทางธรรม มันจะเกิดไปตามธรรม ซึ่งจะมีบทบาทมาเรื่อย ๆ จะหนักขึ้น สูงขึ้น จะแรงขึ้น แล้วเราก็จะ ไม่ต้องไปหวาดหวั่น ไม่ต้องไปหวั่นไหวอะไร เพราะสิ่งนี้ มันจะต้องเกิด ต้องมี ต้องเป็น สิ่งที่เคยมีมาแล้ว ก็มีมาแล้ว ไม่ใช่ว่าเราไม่รู้ ว่ามันเคยมีมาแล้ว เป็นตัวอย่างก็มี เพราะฉะนั้น ตัวอย่างอันใดงาม เราจะเอาอันงามที่สุด อันใดยังไม่งาม ตามฐานะ ผมในฐานะโพธิสัตว์ แต่พระเยซูก็พระโพธิสัตว์ ถ้าผมจะทำ ได้งามเท่าพระเยซู ... ผมก็จะพึงทำ ไม่ใช่ผมยกตนขึ้นเท่า พระเยซู แต่ผมอธิบาย ให้พวกคุณฟังเท่านั้น แล้วคุณก็อย่าไปพูดข้างนอก สิ่งใดที่ควรพูด ก็ควรพูด อันไหนไม่ควรพูด ก็อย่าเอาไปพูดน่ะ อธิบายให้ฟัง เพื่อจะได้เข้าใจสาระ มีสิ่งประกอบเท่านั้นเอง แล้วก็ไม่ได้ไป ยกตนข่มใคร ไม่ได้ยกตนเท่าเทียมใคร ไม่ได้ดูหมิ่น ถิ่นแคลนใคร ผู้ที่เปิดเผยชื่อชัดได้ ก็จะได้เร็วขึ้น ก็พูดเท่านั้นเอง แต่ไม่ได้ให้คุณไปดูถูกใคร ไม่ให้คุณไปคิดว่า ผมเหนือใคร แต่คุณจะรู้เหนือจริง ไม่รู้เหนือจริง คุณต้องพิสูจน์ ว่าผมเหนือจริง หรือไม่จริง อย่าไปหลงเข้าใจตาม ภาษาพูดผมง่าย ๆ

ผมไม่ได้มายกตัวยกตน เพื่อที่จะให้คุณ มาบูชาผม ด้วยภาษาพูด แต่เพื่อที่จะแสดงธรรม ให้คุณเอาไปพิสูจน์ แล้วคุณจะเข้าใจเอง แล้วคุณก็จะรู้เอง ว่าผมมีธรรมะ ให้คุณเอาไปปฏิบัติได้ไหม ผมมีมรรค ให้คุณเอาไปปฏิบัติได้ ปรากฏผลไหม ถ้าคุณเอาไปปฏิบัติ แล้วได้ผล ก็เป็นประโยชน์ ของคุณเอง เป็นสิ่งที่ คุณพิสูจน์เองว่าจริง ว่าผมพอสอนคุณได้ ผมพอให้มรรค แล้วให้คุณเอาธรรม ไปก่อเป็นผล เกิดแก่ตัวคุณได้ คุณก็จะเป็นประโยชน์ แก่ตัวคุณเอง ไม่ใช่สิ่งร้าย ไม่ใช่สิ่งเลวอะไรน่ะ แล้วไม่ได้เป็นการ มาโอ้อวดอะไร ไม่ใช่สโถ แต่เป็นอสโถ ไม่ใช่สิ่งที่โอ้อวด ไม่ใช่มายา เป็นอมายา ไม่ใช่มายาวี แต่เป็น อมายาวี ไม่ใช่เป็น มารยา แต่เป็นสิ่งที่ไม่ได้ถือตัว ถือตนอะไร ไม่ได้เป็นสิ่งหลอกลวงอะไร ไม่ได้หลอกลวงคุณ เพื่อให้คุณมาหลง ไม่ได้หลอกเอาลาภ เอายศ เอาสรรเสริญเลย แต่คุณจะสรรเสริญ ยกย่อง นับถือ เป็นเรื่องของคุณเอง เมื่อคุณเห็นว่า ผมมีสิ่งดีนั้น หรือว่าสามารถ ให้สิ่งดีนั้น แก่คุณได้ คุณนับถือสิ่งนั้น คุณนับถือสิ่งที่ผมมี และสิ่งที่ผมให้คุณได้เท่านั้น คุณไม่ได้นับถือ ตัวตนของผม คุณไม่ได้นับถือ พระโพธิรักษ์ คุณไม่ได้นับถือตัวนี้ ร่างนี้

แต่คุณนับถือ เพราะคุณรับเอาสิ่งที่ผมให้ แล้วคุณก็เอาไปรับ เอาไปถือ เอาไปปฏิบัติ เอาไปทำ ให้เป็นตัวของคุณ คุณไม่ได้มารับนับถือผม แต่มันอยู่ในตัวผม มันแยกกันไม่ออกเท่านั้น แต่คุณต้องแยกให้ออก ในสิ่งที่แยกไม่ออก เมื่อแยกไม่ออก คุณจะเคารพ คุณก็ไม่ได้เคารพตัวผม แต่คุณก็ต้อง เคารพตัวผม เมื่อคุณเห็นว่าผมมี คุณไม่ได้นับถือผม แต่คุณก็ต้องนับถือผม เมื่อคุณแยกผมไม่ออก ในฐานะที่ผม ยังไม่ไปไหน ธรรมะอยู่ที่ตัวผม มันก็จะต้องอยู่ที่ตัวผม ฉันใดกับคุณ กราบพระพุทธเจ้า ถ้าพระพุทธเจ้ามา ทรงประทับนั่งอยู่ที่นี่ เรากราบพระพุทธเจ้าที่นี่ เราไม่ได้ไปกราบ เจ้าชายสิทธัตถะ เราไม่ได้กราบเนื้อหนัง เจ้าชายสิทธัตถะ แต่เรากราบเจ้าชายสิทธัตถะ นั่นแหละ เรากราบเนื้อหนัง เจ้าชายสิทธัตถะ นั้นแหละ ฟังให้เป็น ฟังให้ออกน่ะ เพราะว่าสิ่งนั้น มันอยู่ในสิ่งนั้น แต่สิ่งนั้น ก็มีความแยก อยู่ในสิ่งนั้น มันปนอยู่ในสิ่งนั้น แต่มันก็มีแยกอยู่ในสิ่งนั้น แยกนั้น เป็นปรมัตถ์ ปนนั้น เรียกว่า แยกไม่ออก อพยากฤต เป็นของ ถ้าโมหะ ถ้าแยกไม่ออกเลย ก็เรียกว่า ไม่ใช่เป็นธรรมะนะ ยังเรียกว่า สิ่งที่ยังปนๆ ยังคนๆ ยังสังขาร ยังเกาะกลุ่มกันอยู่ โดยเราแตกแยก ชัดเจนไม่ออก ก็ไม่ใช่เป็นปรมัตถ์ เป็นสมมุติ

สิ่งที่เป็นปรมัตถ์นั้น แม้อยู่ใน อพยากฤตธรรมนั้น ที่มันยังไม่แยกออก แต่เราก็แยกเป็นดี เป็นชั่ว เป็นดำ เป็นขาว เป็นส่วน ๒ ส่วนได้ เป็นสมมุติสัจจะ เป็นปรมัตถ์สัจจะ ได้อยู่ในตัว เรารู้ของเราเอง เห็นเอง เป็นปัจจัตตัง อยู่ในจิตของเรา เป็นเวทิตัพโพ วิญญูหิ เป็นสิ่งที่ เราเป็นเอง อยู่ในนี้ รู้ว่าฉลาด รู้ว่าเข้าใจ แล้วก็พูดก็ได้ ไม่พูดก็ได้ เรารู้ว่าควรพูดก็พูด ไม่ควรพูดเราก็ไม่พูด คนอื่นเขาจะเข้าใจว่า เรารู้หรือไม่รู้ ก็ตามใจเขา ด้วยซ้ำไป เราไม่เสียใจ ไม่ดีใจ ไม่อิจฉา ไม่อยากจะดี ไม่อยากจะเด่น แม้เราจะไม่ได้พูด ไม่ได้แสดงความเด่นอันนี้ แสดงความรู้อันนี้ ก็เฉย ๆ เขาจะบอกว่า เราไม่รู้เลย ก็ตามใจเขา เพราะฉะนั้น สิ่งที่รู้ ก็รู้จริง ถ้าควรพูดก็พูด ไม่ควรพูดก็เฉย ๆ ไว้ เราจะเป็นอย่างนั้นจริง ๆ ต้องเข้าใจ ให้ได้น่ะ ที่เราจะกระทำอย่างนั้น


 

ก็มีสิ่งที่จะอ่านให้ฟัง นี่คุณสมหวัง ซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติธรรมของเรา ได้เขียนรายงานขึ้น อยู่ในพวกเรานี่ มีการเขียน บันทึกรายงาน บันทึกอะไรต่ออะไรไว้บ้าง ก็เป็นประโยชน์ตน ประโยชน์ท่านอันควร แล้วกะ เผื่อแผ่ แก่ผู้นั้นผู้นี้ โดยการที่จะเขียน ส่งไปเป็นจดหมาย เป็นการรายงานบ้าง มีท่านกุสโล เป็นต้น นี่สมหวัง เขาจะเขียนรายงาน เป็นการรายงานอีกอย่างหนึ่ง เพราะว่า ถ้าจะเขียนอย่างท่านกุสโล คุณสมหวังเขียนคำนำ บอกไว้แล้ว บอกว่า เข้าใจ ท่านกุสโลเขียนรายงาน ประสบการณ์ ส่วนใหญ่ แล้วมีอะไร รายงานเป็นจริงไปเฉย ๆ ให้ทางผู้ที่ได้รู้ ส่งไปทางแดนอโศก ก็ดีแล้วล่ะ ตามฐานะ น่ะ ทีนี้คุณสมหวัง ก็เลยบอกว่า ถ้าจะเขียนอย่างนี้บ้าง ก็เลยจะช้ำกัน ก็เลยไม่เขียน แต่จะเขียน เป็นอีกอันหนึ่ง ให้เกิดประโยชน์สักนิดหนึ่ง ว่าจะเป็นประโยชน์ตัวเองด้วย ตัวเองมอง แล้วตัวเองก็เขียน ซึ่งก็เป็นการดี ช่วยฟังดูน่ะ หลายๆอย่างดี แล้วก็ชัดเจน เป็นสิ่งที่ติงเตือนกันขึ้นมา เพราะฉะนั้น ท่านกุสโลเขียนนั้น ผมไม่ได้เอามาอ่านสู่เราฟัง เพราะพวกเรา เป็นตัวประสบการณ์เอง แต่อันนั้น ท่านกุสโลเขียน เพื่อที่จะส่งข่าว ไปให้หมู่เพื่อน เป็นเมตตาธรรม อันหนึ่ง ที่จะช่วยให้หมู่เพื่อน ที่ไม่ได้มีประสบการณ์นี้ ได้รับรู้ อันนั้นผมก็เลยไม่ได้เอามาอ่าน สำหรับของท่านกุสโล แต่ท่านกุสโลก็คงได้อ่าน สู่พวกเราฟังกันบ้างแล้ว ก็ไม่เป็นไรนะ อันนั้นก็ดี

แต่อันนี้ ในฐานะที่ผมจะอธิกรณ์ หรือทำกิจจาธิกรณ์อันนี้ เพื่อที่จะได้รับประโยชน์เพิ่มขึ้น ในหมู่เรา ผมก็เลยจะเอาอันนี้ มาอ่านสู่ฟัง แต่อย่าไปคิดว่า อันนี้ผมเอา เห็นว่าเด่นกว่าอันโน้น อะไรนี่ ท่านกุสโล ก็อย่าไปคิดอย่างนั้นนะ ไม่ใช่ ทำไมไม่เอาอันโน้นมาใช้ เอาอันนี้มาใช้ ประเดี๋ยวจะไปคิด มันจะไม่ดี ก็ดีเป็นเมตตาธรรมทุกอย่าง นี่คุณสมหวัง ก็ได้พยายามแล้ว ก็บอกออกตัวอยู่แล้วว่า ไม่ได้คิดอะไรหรอก เป็นแต่เพียงว่า จะมองในมุมหนึ่ง แล้วก็คิดให้ดี คุณสมหวังเป็นปะ เท่านั้น ไม่ได้คิดว่า คุณสมหวัง นี่จะมาสอนพวกเรา ไม่สอน แต่ชี้ขุมทรัพย์นั่นก็ดี ผมเห็นว่าดีด้วย แต่ก็คุณสมหวัง จะมาหลงละ เหลิงละ ลอยล่ะ ว่าอาตมาเอามายกย่อง แต่อย่าเหลิงลอย เหลิงลม เป็นอันขาดน่ะ สิ่งใดดี ก็เอามาแก้ไข สิ่งใด หลงตัวหลงตน นั้นเป็นของเสีย

คุณสมหวังตั้งชื่อเรื่องนี้ว่า ขัดอโศก ซึ่งตัดย่อมาจากคำว่า ขัดเกลา หรือ สัลเลโข นั่นแหละ ขัดอโศกน่ะ ไม่ได้เขียนประสบการณ์ธรรมดา แต่เอาสิ่งที่ มันบกพร่องของเรามา ในฐานะ คุณสมหวัง เดินตามท้ายหลังเพื่อน เป็นผู้ที่เห็นสมมุติ เห็นรูป เห็นอะไรชัด

จากหัวข้อเรื่องที่ว่า ขัดอโศก

ก่อนอื่น ข้าพเจ้าก็ต้องขออธิบายก่อนว่า คำว่าขัดนี้ ข้าพเจ้าเอา หรือนำมาจากคำว่า ขัดเกลา ภาษาบาลี เขาว่า สัลเลโข เปรียบได้กับ ถ้วยโถโอชาม ที่ช่างได้เจียน จนเกิดเป็นรูปเป็นร่าง ของถ้วยโถ โอชามต่าง ๆ แล้วก็ต้องนำมาล้าง นำมาขัด นำมาขัดผิว มาถูผิวที่ยังหยาบ ให้ได้รูปทรงที่สวยงาม เกิดมัน เกิดเงา ใครเห็นก็ต้องใจ และใคร่ที่จะได้ไปใช้ ถึงจะขัดให้มันให้เงาอย่างไร มันก็เป็นทัศนะของข้าพเจ้า ฉะนั้น การขัด จึงเป็นการทำให้ละเอียดขึ้น ประณีตขึ้นนั่นเอง (คุณสมหวังก็ได้ออกตัว แล้วว่า ถึงยังไง มันก็เป็น ของคนๆ เดียว ที่คุณสมหวังขัดน่ะ เป็นของคนเดียว) อีกนัยหนึ่ง คำว่า ขัด นี้มาจากคำว่า ขัดแย้ง ก็ดูจะไม่ผิด ไปจากจุดประสงค์ หรือความมุ่งหมายเสียทีเดียว เพราะข้อเขียนนี้ อาจจะไปแย้ง หรือแยง ผู้หนึ่งผู้ใดก็ได้ โดยเฉพาะตัวข้าพเจ้าเอง แต่มันก็อยู่ในภูมิ ในทัศนะของข้าพเจ้า อีกเช่นกัน (นี่ก็ออกตัว ไว้อีกว่า มันก็เป็นในภูมิ ตามภูมิ ตามความสามารถ ตามทัศนะของตัว คุณสมหวังเอง)

ข้าพเจ้ามีขอบเขตที่จะขัด ก็เพียงในระยะที่มีการเดินออกมาจาริก ครั้งนี้เท่านั้น สิ่งใดที่ข้าพเจ้า ยังขัดข้อง ไม่ยอมให้ผ่านไป ข้าพเจ้าก็จะออก จะขัดออกมา ให้ท่านเห็นเงาของมัน แต่ถ้าหากถ้วย หรือชามใด ที่เงาอยู่แล้ว ถึงจะขัดอีก ก็จะสังเกตความเงาที่เพิ่มขึ้น ถ้าเพิ่มให้เห็นนั้นยาก หรืออาจจะดูหมองลง

อโศกก็คือหลักการ หรืออุดมการณ์ ที่เป็นไปเพื่อความหยุด ความสงบ สันติภาพ และภราดรภาพ หมดความอยาก สิ้นความเสพย์ บุคคลใดก็ตาม ที่กำลังเดินสู่หลักการ หรืออุดมการณ์นี้ เราก็เรียก บุคคลนั้นว่า อโศก หรือชาวอโศก ก็ได้ ถ้าเป็นพระ เราจะเรียกพระอโศก ก็ไม่ต้องจะกลัวว่าบาป แต่ประการใด อโศก ถ้าจะแปลความหมาย ซึ่งบ่งบอกในตัวของมันเอง ดีอยู่แล้ว จึงไม่มีความจำเป็น ที่จะแปลอีก แต่ผู้ที่เป็นอโศก คือ อโศก ก็จะเป็นแต่ผู้ที่มี ความเบิกบาน แจ่มใส สะอาด สุภาพ มัธยัสถ์ เป็นผู้ที่เข้าใจ ประโยชน์สูง ประหยัดสูง รู้จักประโยชน์ตน ประโยชน์ท่าน ฉะนั้น ขัดอโศก ก็คือการขัด ต่อหลัก หรืออุดมการณ์ ตามที่ได้กล่าวแล้ว เป็นอีกนัยหนึ่งก็ได้ ตลอดระยะเวลา ของการเดินทาง ก็มีสิ่งต่าง ๆ ที่ข้าพเจ้าได้ประสบพบเห็น ซึ่งก็จะได้นำออกมาขัดกัน

การเดินจาริกครั้งนี้ เราออกมากันเป็นหมู่ใหญ่ เช่นเดียวกันกับ การจาริกครั้งก่อน ๆ ฉะนั้น การเดิน ก็เป็นแถว เป็นแนว เรียงลำดับ ตามอาวุโส โดยถือเอาพรรษามากเป็นเกณฑ์ และเรียงตามลำดับ ตามพรรษา ที่น้อยกว่า ลดหลั่นกันลงมา ตามลำดับ แม้จะเป็นปะ หรือผู้ปฏิบัติ ก็เช่นเดียวกัน ลักษณะของการเดิน ก็เป็นแถวตอนเรียงหนึ่ง ทุกคนอยู่ในท่าสงบ สำรวม กาย วาจา และใจ นำมือมาประสานกัน ระหว่างเอว หรือบริเวณท้องน้อย ตามองทอดลงต่ำ ในระยะพอสมควร ถ้าไม่จำเป็น ไม่ควรเดิน อย่างลอยหน้า ลอยตา (เชิ้บ ๆ ) การก้าวเท้า ก็ต้องให้มีความพร้อมเพรียงกัน โดยถือเอาคนหน้า เป็นหลัก

ที่ข้าพเจ้าได้แยกลักษณะท่าทาง ออกมาให้เห็นชัดๆ นั้น ก็เป็นการแยกแยะ ให้ดูเท่านั้น แต่โดยทั่วๆ ไป พวกเราก็กระทำกัน เป็นปกติวิสัยอยู่แล้ว แต่ความปกติวิสัย ถ้าเราไม่กระทำให้มันเกิดเป็นนิสัย และ ให้เลยไป จนเป็นสันดาน ก็ย่อมจะมีความเสื่อมได้ เป็นธรรมดา

จากการเดินจาริกครั้งนี้ ในระยะแรก ก็เป็นแถวเป็นแนวดี การเดินก็มีความสำรวมระวัง อยู่เสมอ แต่พอมาในระยะหลัง ๆ สิ่งเหล่านี้ ก็ได้จืดจางลงไป ระยะเวลาของการเดินทาง ด้วยเหตุด้วยปัจจัย ซึ่งจะได้ กล่าวไว้ ในลำดับต่อไป ทีนี้ เราก็ลองมาวิเคราะห์กันดูว่า เราเดินเช่นที่กล่าวกัน เพื่ออะไร ข้าพเจ้าจะขอวิเคราะห์ วิจารณ์ออกไปเป็นข้อ ๆ ไป

๑. เพื่อความพรักพร้อม และความเป็นระเบียบเรียบร้อย ไม่ว่าจะเป็นหมู่ชน หรือสังคมใดก็ตาม ถ้าขาดความเป็นระเบียบ และความพรักพร้อม หมู่ชนหรือสังคมนั้น จะมีความเจริญไปไม่ได้เลย แต่ในทางตรงกันข้าม หมู่ชนหรือสังคมนั้น ๆ จะนับวันเสื่อม และสูญสลายไปในที่สุด ถ้าหากจะเปรียบ ระเบียบ ว่าเป็นวินัย ก็คงจะไม่ผิดนัก เพราะหมู่ชน หรือสังคมใด จะเกิดความพรักพร้อม และแลดู เป็นระเบียบ เรียบร้อยได้ ชนในหมู่หรือสังคมนั้น จะต้องมีสิ่งหนึ่ง เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เป็นเนื้อเดียวกัน สิ่งนั้นก็คือ วินัย หรือกฎหมาย ซึ่งเป็นตัวกลางที่จะเชื่อม หรือสืบต่อ และจรรโลง หมู่ชนสังคม หรืออาจจะเป็น สถาบันใด ๆ ก็ตาม ให้คงอยู่ ยืนนาน เกิดพลัง มีอำนาจ และแผ่สัมพัทธภาพ ออกไปได้ กว้างไกล หากจิต หรือพลังงาน ของแต่ละบุคคลในหมู่ชน สังคม หรือสถาบันนั้น ยอมรับในหลักการ หรือวินัย โดยไม่รู้สึกฝืนใจ หรือเกิดความลำบากใจเลย ความเจริญสุดขีด ความมีพลัง ความมีอำนาจ ที่จะแผ่ สร้างสมรรถภาพ ไปทั่วทุกชุมชน ข้าพเจ้าแทบจะไม่ต้องกล่าวถึง แต่ท่านจะหาหมู่ชน สังคม หรือ สถาบัน เช่นนั้น ไม่ได้เลยในโลก นอกจาก แดนอริยชนเท่านั้น และอโศกกำลังเดินไป ไปไหนกัน ข้าพเจ้าขอยก เอาคติบทหนึ่งของทหาร มากล่าวไว้ ณ ที่นี้ เป็นอุทาหรณ์ ทหารที่ขาดวินัย ก็เปรียบเหมือน มหาโจร ในเครื่องแบบ

ข้อ ๒ เพื่อเหนี่ยวโลก โลกก็คือความวน ดิ้นรน แส่หาไม่รู้หยุด การที่เราเดินด้วยกิริยา สำรวม มีความสงบ ระงับ แสดงความหยุด ความไม่ดิ้นรนแส่หา เพื่อทวนโลก ขัดโลก เหนี่ยวโลก ให้รู้จักหยุด รู้จักพอ รู้จักความช้าลง โลกคือความเร็วที่แรง แต่ตื้น (ฟังดีๆ ตรงนี้ดี) โลกคือ ความเร็วที่แรงแต่ตื้น ส่วน ธรรมะ คือความช้าที่หนัก แต่ลึก

๓. ความเป็นอาการของสมณะ เพราะสมณะ ก็คือผู้มีความสงบ มีความสำรวมสังวรในอินทรีย์ จึงสม ที่จะเป็นนักปฏิบัติธรรม ซึ่งเป็นไปเพื่อการลด การละกิเลส ตัณหา อุปาทาน ไม่มีการเป็นไป อย่างโลก

๔. เพื่อเป็นแบบอย่างอันดีแก่อนุชนรุ่นหลัง ๆ โดยเราเท่านั้น ที่จะอนุรักษ์เอาไว้ ให้สืบต่อไป ยังรุ่นหลังๆ ต่อๆ ไป แต่นั้นแหละ ในบางกรณี สำหรับผู้ป่วย หรือเป็นผู้ที่มีพละอินทรีย์ ไม่แข็งพอ เราก็ย่อมมี การอนุโลม จะถือแถวถือแนว ให้เป็นไปด้วยดีนั้น โดยไม่มีการอนุโลมเลย ย่อมเป็นไปไม่ได้ ฉะนั้น ตามความคิดเห็น ของข้าพเจ้าแล้ว ก็จำเป็นอย่างยิ่ง สำหรับบุคคลนั้น ๆ ควรจะพยายามฝืนบ้าง แม้เล็กน้อย ไม่ควรจะปล่อยกาย ปล่อยใจ ให้เหมือนใบไม้ ที่ลอยตามกระแสน้ำ เพราะนั่นคือ โลก

การเดินไกวมือ ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่ง ซึ่งควรจะลดลง ให้ดูงามหรือไม่ไกวเลย เพียงแต่ไหวๆ ได้ ก็ยิ่งดูดี ดูเป็นอาการของ ผู้ปฏิบัติธรรมมากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นผู้มีสติสำรวม ระวัง มีการวิรัติกาย วิรัติใจอยู่เนืองๆ ไม่เป็นไปอย่างโลกๆ ที่เขาแกว่งมือแกว่งเท้า วิ่งวนเวียน อยู่ในวัฏสงสาร ในอิริยาบถต่างๆ เช่นการเดิน ยืน นั่ง และนอน ข้าพเจ้ามีความเห็นว่า การเดินเป็นการแสดงรูปธรรม ที่เด่นชัดที่สุด ที่จะให้โลกได้รับรู้ เป็นการเคลื่อนไหว ที่ตาหยาบๆ ของเรา จะสามารถมองเห็น อาการอันสงบระงับ ได้ชัดเจนกว่า อิริยาบถอื่น เปรียบเสมือนรถยนต์ ที่ทาสีใหม่ หรือรถที่เพิ่งสร้างเสร็จ ออกจากโรงงาน ใหม่เอี่ยมอ่อง ความใหม่ของรถ ก็ไม่เป็นสิ่งที่แสดงให้เราเห็น ถึงเครื่องยนต์ ว่ามีกำลัง มีประสิทธิภาพดี มีความเร็ว เป็นเยี่ยม เครื่องยนต์เดินเงียบ นิ่ม นุ่ม เบรกได้เร็วทันใจ เราจะไม่สามารถทราบสิ่งต่างๆ ซึ่งเป็น ความสามารถ ของเครื่องยนต์ ดังที่ได้กล่าวไว้แล้วได้เลย ถ้าไม่มีการลองขับ ลองวิ่ง เพื่อดูการทำงาน ของเครื่องยนต์ ฉันใด การเดินของสมณะ ก็ดุจเดียวกับรถยนต์ได้วิ่ง ฉันนั้น

ในสายตาของข้าพเจ้า เห็นว่าการเดินสำรวม แบบที่เราได้กระทำกันอยู่ เป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่ง ของชาวอโศก แต่ก็ไม่ใช่ของอโศก ที่นำเอามาหวงแหน แต่กลับเป็นสิ่งที่ ควรอนุรักษ์ แล้วประกาศ เผยแพร่ ออกไป ให้กว้างไกล เท่าที่จะเป็นไปได้ การเวิกผ้าขึ้นมา ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่ง ที่ควรจะมีการสำรวม ระวังให้มาก เราจะต้อง ปิดกายด้วยดี นุ่งห่มให้เรียบร้อย ให้สมกับกาละของเรา (กาละ ในความหมาย ของข้าพเจ้า ก็คือความเป็นสมณะ) ตามสมมุติทางโลกแล้ว ผู้ชายนั่น ไม่เท่าไหร่นัก แต่ผู้หญิงสิ โลกๆ เห็น เขาก็จะฮือฮากัน ยิ่งเป็นนักบวชด้วยแล้ว ที่เป็นผู้หญิงนะ นักบวชผู้หญิง ที่จะให้โลก ฮือฮาน้อยลง ก็ยิ่งจะไม่สมควร ด้วยประการใด ๆ ท่านลองมองภาพพจน์ ที่ข้าพเจ้ายกขึ้นมานี้ ก็แล้วกันว่า จะเป็นอย่างไร ถ้าหากมี สมณะรูปหนึ่งนั่งอยู่ ไม่ว่าจะแสดงธรรมอยู่ หรือไม่ก็ตาม แล้วก็มีผู้หญิงคนหนึ่ง นั่งห่างจากสมณะรูปนั้น ทางเบื้องหน้า ในระยะที่พองาม แต่กิริยาที่เธอนั่งนั้น เวิกผ้าขึ้นมาถึงเข่า แถมนั่งชันเข่า เข้าไปอีก กำลังพูดคุยอยู่กับสมณะรูปนั้น ท่านก็ลองนึกดูว่า มันเป็นภาพพจน์ที่ดีหรือไม่ ยิ่งเป็นนักบวชหญิง ด้วยแล้ว ไม่ว่าจะอยู่ในรูปใดก็ตาม ก็ยิ่งจะไม่ต้องพูดถึงว่า มันจะออกไปในรูปใด

(นี่คุณสมหวังได้อธิบาย เป็นสภาพหมุนรอบเชิงซ้อน เพราะว่า ถ้าผู้หญิงธรรมดา เขาไม่รู้ ก็ช่างเขา ถ้ายิ่งผู้หญิง ที่เป็นนักบวชด้วยแล้ว จะเป็นไปในรูปใด นี่อธิบายสภาพของเชิงซ้อนเข้าไปอีก นะ ก็พยายาม สังวรให้ดี)

การพูดคุย หรือสนทนา ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ที่หมู่ของเรา มีข้อบกพร่อง บางอย่าง ซึ่งข้าพเจ้าได้ประสบ ในการเดินจาริกครั้งนี้ เช่นการพูดหรือคุยเสียงดัง ถ้าเป็นธรรมะ ซึ่งเป็นไปเพื่อให้ละ หน่าย คลาย ก็ไม่ดูกระไรนัก แต่ถ้าเป็นไปอย่างโลก ๆ ทำให้ผู้ไม่รู้ เกิดความไม่เข้าใจ ในหมู่เรา หรือทำให้ผู้อื่น เกิดการติดการยึด เกิดความกำหนัดยินดี ก็ย่อมเป็นผลเสียขึ้นได้ ผลร้ายก็อาจจะเกิดขึ้นอยู่กับเรา (ก็ดีนะ เรื่องภาษาหรือคำพูด พยายามระมัดระวังน่ะ) ขณะที่พ่อท่าน หรือคนใดคนหนึ่ง ในหมู่เรา กำลังแสดงธรรม ให้แก่ญาติโยมฟัง บางครั้ง ก็มีเสียงสอดแทรกเข้ามา ซึ่งไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง กับการแสดงธรรมนั้น ๆ เลย เช่นตะโกนว่า ผ้าอยู่ไหน ว่าไง ว่าไง อะไรทำนองนี้ หรือจะมีส่วนเกี่ยวข้อง ในเนื้อธรรม ที่ผู้อื่นกำลังแสดงอยู่ ก็ไม่บังควร เพราะมันทำให้ญาติโยม ผู้มาฟัง เกิดเสียสมาธิ ในการฟังได้ และบางที ก็อาจจะเกิด การดูหมิ่นดูแคลน ทำให้ศรัทธาเสื่อมลง การพูดจาที่ห้วนๆ ไม่มีหางเสียง หรือพูดจาอ่อน จนมีสำเนียงกระเดียดไปแบบ ออเซาะ ฉอเลาะ ก็ยังเป็นสำเนียงที่เกินไป ไม่ได้มาตรฐาน ทั้ง ๒ สำเนียง (น่ะ ดีน่ะ สำเนียงที่ไม่มีหางเสียง ห้วน แข็งกระด้างเกินไปก็ไม่ดี สำเนียง สำนวนที่ออเซาะ ฉอเลาะ แล้วมันดูยวบเยียบ ยวบเยียบ มันไอ้นั่นเกินไป ก็ไม่ดีน่ะ)

ข้าพเจ้าจึงมีความเห็นว่า ควรที่จะมีการปรับปรุงแก้ไข ให้ได้มาตรฐาน หรือเทียบเท่า ประการสุดท้าย ก็คือ คำพูด ที่มีความถี่ของคลื่นอื่น เข้ามาสอดแทรก คือพูดไปด้วย กลั้วหัวเราะไปด้วย จนถึงขนาด ฟังจับเอาความ ไม่ค่อยได้ มันก็ยังเป็น กามสุขัลลิกนุโยค ซึ่งควรจะมีการปรับความถี่ ของคลื่นนั้น ให้น้อยลง แต่ก็ไม่ถึงกับบึ้งตึง หรือซีเรียส จนเป็น อัตกิลมถานุโยค มันจะทำให้ดูเหมือน เพชฌฆาต จนเกินไป เป็นที่น่าหวาดเสียว ต่อผู้ที่พบเห็น และเข้าใกล้

(น่ะ คุณสมหวังนี่ จะเป็นนักเขียนที่ดีน่ะ บรรยายภาพพจน์ และความละเอียด ซับซ้อนดีทีเดียว แล้วก็มีเชิง ฮิวเมอร์ มีเชิงอะไรบ้าง ดีน่ะ)

ต่อไปนี้ข้าพเจ้าขอยกเอา มารยาททางสังคม ซึ่งพวกเราบางคน ได้มองข้ามไป เพราะอาจจะยังไม่รู้ หรือเห็นว่า เป็นสิ่งเล็กน้อย แต่โดยทัศนะของข้าพเจ้าแล้ว ก็เห็นว่า เราไม่ควรจะมองข้าม สิ่งเหล่านี้ไป แต่ควรที่จะได้ มีการเรียนรู้ และทำความเข้าใจ เพราะมันแสดงถึง การเป็นผู้มีวัฒนธรรม เป็นผู้ที่ได้รับการอบรม มีการศึกษา แล้วยังเป็นตัวอย่าง อันดีต่อสังคม และประเทศชาติ

ข้าพเจ้าจะขอยกเอาจาก สิ่งที่ได้เกิดขึ้นแล้วนั้น มากล่าวไว้ ณ ที่นี้ เพื่อจะได้มีการขัด ให้เห็นถึงข้อบกพร่อง ที่จะนำมาปรับปรุงแก้ไขกันดังนี้

๑. การทิ้งสิ่งปฏิกูล หรือเศษขยะต่าง ๆ นอกภาชนะที่เขาจัดไว้ ให้ทิ้งโดยเฉพาะ รวมถึงการบ้วนน้ำลาย และ สั่งน้ำมูก ลงในสถานที่ ที่ไม่เหมาะสม เช่น ตามถนนหนทาง แม่น้ำ ลำคลอง ตามสถานที่ ที่มีบุคคล อาศัยอยู่ หรือผ่านไปผ่านมา โดยเฉพาะต่อหน้าสาธารณชน หรือที่ประชุมชน ก็ยิ่งจะไม่เป็นการสมควร อย่างยิ่ง เพราะผู้กระทำเช่นนี้ ทางโลกเขาก็เดียดฉันท์กันว่า เป็นคนมักง่าย ขาดความรับผิดชอบ ไม่มีระเบียบ ซึ่งถ้าเขา (ปุถุชน) ว่าหรือตำหนิพวกเราแล้ว เราจะปฏิเสธเขาไม่ได้เลย เพราะงานของเรา คือ การช่วยเขา และประเทศชาติ แต่เพียงแค่การช่วย รักษาความสะอาด เล็กๆน้อย ๆ ไม่เหลือบ่า กว่าแรงอะไร ซึ่งเด็กๆ เล็กๆ ก็ยังทำได้ เราก็ยังทำไม่ได้ แล้วเราจะไปช่วยเขา ในสิ่งที่ยาก และหนักกว่านี้ ได้อย่างไร

๒. การใช้เสียงดังเกินควร ในที่ที่ต้องการความเงียบสงบ เช่นในห้องสมุด ในแถวขณะเดินจาริก

๓. การหยิบใช้ของ หรือเครื่องใช้ต่าง ๆ ในบริเวณที่เราพักอาศัย ไม่ว่าจะเป็นสถานที่ของ ทางราชการ หรือ เอกชน ควรจะได้รับการอนุญาต จากเจ้าของ หรือผู้ดูแลรักษาของนั้น ๆ ก่อน ถ้าแม้ว่าเขาจะอนุญาต ก็ตาม เราก็ควรมีการใคร่ครวญ หรือไตร่ตรองว่า ของที่จะใช้นั้นๆ สมควรแก่ฐานะหรือไม่ แล้วจะเป็น การเบียดเบียนเขา เกินไปหรือเปล่า เช่น ไฟฟ้า พัดลม เป็นต้น

๔. การใช้ของที่เขาถวาย ได้แก่เครื่องอุปโภคบริโภค ให้สุรุ่ยสุร่าย ฟุ่มเฟือย เฟ้อ เกินพอดี เช่น การใช้น้ำ โดยเฉพาะในถิ่นแดน ที่ขาดแคลนน้ำ ซึ่งน้ำแต่ละหยด มีค่าแก่เขา เมื่อเขานำมาถวาย ให้เราได้ดื่มกิน เราก็ควรที่จะใช้น้ำ ให้ตรงกับเจตนาของเขา หรือจะใช้ไปในทางอื่น ก็ควรแสดงให้เห็นว่า เราได้ใช้น้ำ อย่างรู้ค่า ตามความรู้สึก ของชนแถบถิ่น แถบกันดารน้ำนั้น ๆ (ดีน่ะ ได้เตือนติงกัน) เหตุการณ์ที่ข้าพเจ้า ได้นำขึ้นมาขัดมาเกลานี้ มันเป็นสิ่งที่ข้าพเจ้าเห็นว่า ยังมีความบกพร่อง อยู่ในสายตา ตามภูมิของข้าพเจ้า

(ดี ก็พยายามพูด หรือว่ามองออกไปแล้ว ก็ไม่ลืมที่จะมองเข้ามา หาตัวเองเสมอ นี่เป็นความสังวร ที่ดีน่ะ ควรระมัดระวัง และควรให้มีได้ทุกคน มองไปออกข้างนอก แล้วก็เทียบเคียง แล้วก็เข้ามาหาตัวเรา ว่าเรานี่ หลงดีหรือเปล่า แล้วเราทำได้หรือยัง ถ้าเราทำยังไม่ได้ ก็ควรทำเพิ่ม ถ้าเราทำได้แล้ว ก็ควรรู้ว่า เราทำได้ แล้วอย่าหลงตน น่ะ นี่เป็นการมองออกข้างนอก แล้วมองเข้าหาข้างใน เราจะต้องมารู้ที่ตน มีอัตตัญญุตา เสมอ)

นี่ตามภูมิของข้าพเจ้า เพราะสิ่งเหล่านี้ น่าที่จะทำให้เกิด เป็นการปลูกฝัง เป็นค่านิยมที่ดี ต่อตนเอง และผู้อื่น เป็นสิ่งที่ช่วยสร้าง ให้เกิดความเลื่อมใส ศรัทธา ต่อผู้ได้พบเห็น ได้สัมผัส ซึ่งจะเป็นเครื่อง ที่ช่วยโน้มน้าว ให้เขาเหล่านั้น เข้าสู่ธรรม เป็นสิ่งแรก ให้เขาได้พบ ได้สัมผัส กับสิ่งที่เขาไม่เคยเห็น ก็ได้เห็น ไม่ได้รู้ก็ได้รู้ ไม่มีความเข้าใจ ก็ได้เกิดความเข้าใจ ไม่ได้รับสิ่งที่ชีวิตนี้ เขาควรจะได้รับ เขาก็จะได้รับ เป็นการหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด ชี้ทางให้แก่คนตาบอด ส่องประทีป ในที่มืดให้แก่เขา มันเป็นความอยาก (ตัณหา) ของข้าพเจ้าอย่างหนึ่ง ที่อยากจะให้ ทุกอณูของอโศก มีความเป็นอันหนึ่ง อันเดียวกัน เป็นเนื้อเดียวกัน ลงเป็นเอโกธัมโม เป็นตัวนายอโศก ที่แข็งแรง และสง่างาม เท่าที่จะเป็นไปได้ ไม่ใช่นายอโศก ที่อ่อนแอ และขี้โรค

(น่ะ รวมทั้งผมก็มีความเห็น และความต้องการอันนี้ และรวมทั้งทุก ๆ คน ก็คง อยากจะให้เป็น อย่างนี้ด้วย ผมเชื่อแน่อย่างนั้น)

จดหมาย หรือที่จริงรายงาน ดูจะตรงกว่า ข้าพเจ้าได้เขียนขึ้นมา ตั้งแต่ขณะที่คณะ ได้พักอยู่ที่บ้าน คลองไผ่ และต่อจากนั้น ก็เขียนบ้าง ไม่เขียนบ้าง จนมารีบจบเอา ในเมืองโคราช ที่คณะของเรา ได้เดินเท้ามา จนมาจบที่เมืองโคราช ใกล้กับศาลากลางจังหวัด ในคืนวันเสาร์ ของวันที่ ๑๒ ของเดือน เมษายน ๒๕๑๘ เรื่องที่ข้าพเจ้าได้ประสบผ่านมา ในการจาริก จนได้มาถึง เมืองโคราชนี้ ก็คงจะมีเรื่อง ที่ต้องขัดกัน เพียงเท่านี้ก่อน ขากลับแดนอโศก ก็อาจจะมีเรื่อง ที่จะนำมาขัดกันใหม่ได้อีก แต่ถ้าไม่มีเลย ข้าพเจ้าก็อาจจะเปลี่ยน เขียนเป็นเรื่องอื่น ซึ่งเบาสมองกว่านี้ ซึ่งเรื่องนี้ มันเป็นเรื่องชัดๆ ข้าพเจ้าก็ออก จะฝืดๆ ในการเขียนอยู่เหมือนกัน (ก็ดีเหมือนกันนะ ขนาดฝืด ๆ ก็ยังพอมีให้ได้ประโยชน์)

ก่อนที่จะจบชัดอโศก ตอนที่ ๑ ลง ข้าพเจ้าขอย้ำอีกครั้งหนึ่งว่า สิ่งที่ข้าพเจ้าได้เขียน วิเคราะห์ วิพากษ์ วิจารณ์ขึ้นนั้น มันเป็นเพียง ทัศนะหนึ่งของข้าพเจ้า เพียงคนเดียวเท่านั้น

(นี่เป็นการสังวรตนมาก ดีมากนะ ขอยก ชมเชยอันนี้ คือถึงยังไง ก็เป็นความคิดของตน ไม่พยายามหลงตน ไม่พยายามที่คิดว่า นี่เป็น ความเห็นที่ว่า คนอื่นจะต้องเอาอย่างนี้น่ะ จะต้องเป็นอย่างนี้ให้ได้ ตลอดไปนะ ก็อาจ นี่เรียกว่า ยกให้คนอื่นว่า เป็นความคิดของผม เป็นความคิดของข้าพเจ้าคนเดียว คนอื่น อาจจะเห็น ไม่เหมือน อย่างนี้ ทีเดียวก็ได้น่ะ นี่เป็นการปล่อยสิทธิ์ ให้คนอื่นเห็นด้วย)

ฉะนั้น ถ้าจะเกิดการขัดผิดขัดถูกอย่างไร มันก็เป็นของข้าพเจ้า ขอรับไว้แต่ผู้เดียว ในบางสิ่ง บางเรื่อง ที่ข้าพเจ้าได้ยกขึ้นมา เพื่อขัดนั้น บางเรื่องพ่อท่านก็ได้ติง ได้ขัดไว้แล้ว ในการอบรมหมู่ ซึ่งบางเรื่อง ก็ได้มีการแก้ไข ขัดเกลาแล้ว บางเรื่องก็กำลังแก้ไข ขัดเกลาอยู่ และบางเรื่องก็ดูเหมือน ยังไม่มีการแก้ไข ขัดเกลา (ก็จริง อันที่ตกหล่นก็มีอยู่ แม้ผมเอง ผมก็เคย อย่างรู้ อย่างบางอันนี่ นี่กว่าจะเอามาพูด แต่ก็ลืม จนกระทั่งเดี๋ยวนี้ ก็ยังลืมไปเลย แล้วก็ยังนึกไม่ออก นี่ก็มีอยู่นะ ก็ช่วย ๆ กันอย่างนี้ ก็เป็นการดี นี่ก็เบาแรงลงเยอะ ไม่ต้องใช้หัวเลย สบาย เอาแต่อ่านน่ะ)

สุดท้ายนี้ ข้าพเจ้าขอฝากคำเตือน คำติง ในการให้โอวาทของพ่อท่าน แก่พวกเราที่ว่า หน้าต่างมีหู ประตูมีตา ขอให้พวกเรา จงมีความสำรวม ระมัดระวัง ไม่ว่าจะเป็นในที่ลับ หรือที่แจ้ง ให้มีสติ ตั้งตน อยู่ในความไม่ประมาท

(ดี สรุปลงก็ดีนะ หน้าต่างมีหู ประตูมีตา ขอให้พวกเรา จงมีความสำรวม ระมัดระวัง ไม่ว่าจะเป็นในที่ลับ หรือที่แจ้ง ให้มีสติ ตั้งตนอยู่ในความไม่ประมาท)

และข้าพเจ้าขอยกเอาพุทธพจน์มาตบท้าย ก่อนจะจบรายงาน ฉบับนี้ว่า มโนปุพพังคมา ธัมมา มโนเสฏฐา มโนมยา จิตเป็นเหง้า จิตมาก่อน จิตเป็นประธาน จึงโตจึงสร้างเป็นตัวเรา

ฉะนั้นสิ่งใดที่เรายังไม่งาม ก็ไม่พึงประมาทในสิ่งนั้น
ด้วยความเคารพอย่างสูง
สมหวัง ฟังเจริญจิตต์

 

เอ้า ! นี่ คุณสมหวังเขาบอกว่า ก็เลยเขียนบทความอีกบทหนึ่ง เนื่องจากกระดาษมี เวลามีไหม เอ้า ! เวลายังพอมี ยังเหลืออีก ๒ หน้า ผมก็อ่านบทความอันนี้แล้ว ของคุณสมหวัง ชื่อว่า เบิร์ดแลนด์ แดนแห่งสัจจะ มันมีความยาวได้แค่นี้ ๒ หน้าแค่นี้เองน่ะ ก็อ่านสู่กันฟัง เห็นว่ามีประโยชน์บ้างเหมือนกัน

เบิร์ดแลนด์ คือชื่อของไร่ไร่หนึ่ง อยู่ในเขต..

(นี่เป็นลักษณะของการเขียนบทความนะ ซึ่งคุณสมหวัง เขียนก็ดี ผึกหัดกันทำ แล้วเราจะใช้ประโยชน์ ในการเผยแพร่ หรือการทำงานในต่อไป ผู้ใดยังไม่เคยหัด ฝึกหัดเขียน จะเขียนอย่างฝึกหัดบันทึก ก็บันทึกได้ ไม่ว่าอะไร ท่านกุสโลก็ดี ขออนุโมทนา ในการที่ฝึกหัด แล้วก็กระทำอย่างนี้ ดี แล้วก็เป็นประโยชน์ ผมก็ยังขอบคุณ ที่ได้ช่วยเหลือเฟือฟาย เมตตาเพื่อนฝูง แล้วก็ทำงาน แทนเพื่อนอีกหลายอย่าง ท่านกุสโลก็ดี ยังงี้ละ ก็คนใช้กัน คนละนิด คนละหน่อย คนละแง่ คนละมุม ก็ดีน่ะ)

เบิร์ดแลนด์ คือชื่อของไร่ไร่หนึ่ง อยู่ในอำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี มีเนื้อที่เป็นอาณาบริเวณ กว้างขวาง ตั้งอยู่ท่ามกลาง ดงเขาและทิวไม้ เหนือเบิร์ดแลนด์ขึ้นไปบนเขา มีสำนักปฏิบัติธรรม ชื่อว่า ผาเสด็จ มีอุดมการณ์ แห่งสัจจะโลกุตระ ณ สำนักแห่งนี้ มีสัจจะเป็นที่ตั้ง ให้ยึดมั่นอยู่ ๙ ข้อ มึผู้ปฏิบัติ แต่งกาย เป็นพระ ประมาณ ๔๐ รูป รวมทั้งชี ประมาณ ๓ รูป มีอาจารย์ชื่อ แพง เป็นหัวหน้าสำนัก สำนักนี้ เป็นสาขาหนึ่ง ของวัดถ้ำกระบอก ไม่ถือศีล ถือวินัยเป็นหลัก เป็นในการประพฤติ เพียงอย่างเดียว

คณะของเราได้เดินจาริกออกจากสระบุรี ผ่านแก่งคอย และได้เข้าพัก ที่ไร่เบิร์ดแลนด์ ข้าพเจ้ามีความรู้สึก อยู่อย่างหนึ่ง เมื่อถึงไร่แห่งนี้ จะว่าเป็นปีติ ก็คงจะได้ ที่จะได้พบกับเพื่อน ร่วมอุดมการณ์เดียวกัน ปฏิปทา ที่เด่น ๆ ที่ข้าพเจ้าได้ทราบมา ก่อนหน้าที่จะมานัก ก็มีฉันมื้อเดียว ไม่ใช้เงิน ไม่ขึ้นรถ ซึ่งสำนักเขาถือเป็น สัจจะตลอดไป ในตอนดึกของคืนวันหนึ่ง ข้าพเจ้าได้มีโอกาสคุย สนทนากับพระ สำนักธรรมผาเสด็จ ซึ่งท่านบอกว่า ท่านเพิ่งเสร็จ จากงานประจำวัน (งานเกี่ยวกับ พวกบูรณะ สร้างก่อวัตถุ เช่น ผสมหิน ผสมทราย สร้างถนนหนทาง ขุดดิน ปลูกต้นไม้ โดยเฉพาะ มะละกอ มีมากเป็นพิเศษ ซึ่งปลูกไว้เต็มเขา)

ท่านได้เริ่มสนทนากับข้าพเจ้า และได้สอบถามเกี่ยวกับ ประวัติส่วนตัว ว่าไปมาอย่างไร จึงคิดที่จะมาบวช ข้าพเจ้าก็ได้ตอบ ให้ท่านฟังว่า ที่ข้าพเจ้ามีความตั้งใจ ที่จะเข้ามาบวชเป็นพระนี้ ก็เพราะข้าพเจ้า ได้พิจารณา ดูแล้ว ก็ไม่เห็นว่า งานใดๆ ในทางโลก จะมีความเจริญ ความสูง และความสบาย เท่างานของพระ ซึ่งทำงานเป็นครู สอนวิธีปลดทุกข์ ให้แก่โลก เป็นผู้ที่มีความเสียสละ ทิ้งการ ทิ้งงาน บ้านช่อง เรือนชาน รวมทั้งญาติสนิท มิตรสหายออกมา เพื่อสามารถที่จะทุ่มเทชีวิตนี้ ทั้งชีวิต ให้กับงานนี้ได้ อย่างเต็มความสามารถ โดยถือว่า ทุกคนในโลก เป็นญาติพี่น้องกันหมด หยุดการแก่งแย่ง ชิงดี กดขี่ ข่มเหง เบียดเบียน ซึ่งกันและกัน เหมือนกับงานทางโลก ๆ ซึ่งมีแต่ความเห็นแก่ตัว เพียงเพื่อก่อลาภ สร้างยศ เอาสรรเสริญ และสุข ซึ่งเป็นของหลอกๆ เพียงเท่านั้น ฉะนั้น พระจึงเป็นผู้มาทำลาย ความเห็นแก่ตัว มาทำงาน ที่เป็นความเสียสละ เพียงอย่างเดียว เป็นตัวอย่าง หรือเป็นแบบอย่างที่ดี ให้แก่โลก และท่านยังได้ถามข้าพเจ้า ต่อไปอีกว่า กลับจากการจาริก ครั้งนี้แล้ว ข้าพเจ้าก็คงจะบวชใช่ไหม ข้าพเจ้าก็ได้ตอบว่า ข้าพเจ้ากลับจาก จาริกครั้งนี้ ก็คงจะครบกำหนดบวช แต่ข้าพเจ้าก็ยังตอบไม่ได้ว่า เมื่อครบกำหนดบวชแล้ว ข้าพเจ้าจะบวช ข้าพเจ้าต้องดูจิตดูใจ ของข้าพเจ้าก่อน ว่าตัวเอง เป็นผู้ควร จะบวชเป็นพระ หรือยัง ได้รับความสุข ความสบาย จากการปฏิบัติ ตามหลักพุทธศาสนาหรือเปล่า หรือ ยังมีจิตที่ยินดี ในทางโลกอยู่ แม้น้อยหรือเปล่า ถ้าข้าพเจ้าไม่ได้รับความสุข ความสบาย จากที่ได้ปฏิบัติ ยังไม่เห็นจริง ทำให้จิตยังมีความยินดี ในทางโลกอยู่ ข้าพเจ้าก็จะไม่ขอบวชเป็นพระ เพราะการบวช ไม่ใช่ของง่าย ๆ ที่ทำกันเล่นๆ สนุกๆ เหมือนลิเก ละคร ที่แสดงเป็นขุนศึก มา ก็เอาชุด ของขุนศึกมาแต่ง แสดงเป็น พระเจ้าแผ่นดิน เป็นกษัตริย์ ก็หยิบเอาชุดเอาเครื่อง ของพระเจ้าแผ่นดิน หรือกษัตริย์ มาสวม มาใส่ คืออยากถอดก็ถอด อยากใส่ก็ใส่ กลายเป็นตัวตลกไป ทำให้พุทธศาสนาเกิดราคี หม่นหมองลง และเสื่อม

ฉะนั้นข้าพเจ้าต้องตรวจตนตรวจใจ ให้แน่ก่อน เพราะข้าพเจ้า ไม่อยากเป็นผู้หนึ่ง ที่ทำลายศาสนา และ แม้พ่อท่านเอง ก็ได้พยายามย้ำ ให้พวกเราฟังเสมอว่า ให้พวกเราใช้ปัญญา อย่ามาถูกท่านหลอก อย่าหลงเชื่อท่าน ในสิ่งต่างๆ ที่ท่านได้กล่าวบอก หรือที่ได้แนะนำ สั่งสอนพวกเรา ให้พวกเราใช้ปัญญา พิจารณา ถึงเหตุถึงผล ที่พ่อท่านได้แนะนำ อบรมสั่งสอน ว่าควรเชื่อได้หรือไม่ ถ้าแน่ใจในเหตุผล ว่ามีทาง เป็นไปได้จริง มีความถูกต้อง ก็ให้นำไปประพฤติปฏิบัติ เพื่อจะให้เกิด ความแน่ใจแท้ ที่ตัวเอง ตัวเราเอง แต่ถ้าใครก็ตาม ต้องมาฝืนมาทนด้วยไม่รู้ ก็ขอให้กลับไปทางโลกก่อน ให้ปฏิบัติ มาตามลำดับขั้น ให้เกิดความแน่ใจก่อน เพราะท่านไม่อยากให้ใคร มากูกท่านหลอก ให้มันต้องทนทุกข์ ทนลำบาก

ฉะนั้น อาจจะเป็น ๑ ปี ๒ ปี ถึง ๕ ปี ก็ได้ ข้าพเจ้าจึงจะเป็น ผู้เหมาะสมที่จะบวช ซึ่งก็ไม่แน่นอน

(นี้ก็ขอแทรก ดี เป็นความตั้งใจที่ดี และเป็นความเข้าใจ ที่โน้มเน้น ไปในทางที่ถูกต้อง ทิศที่ถูก แต่จงดู มัชฌิมา การบวชไม่ได้หมายความว่า บวชปุ๊บ เป็นพระอรหัสต์ปั๊บ การบวชนั้น เป็นพระโสดาบัน ก็ได้แล้ว เป็นความที่แน่ใจแล้ว และเป็นไปด้วยดีแล้ว จะหันทิศไปในทางที่ถูก เป็นโสดาบัน หรือเป็นสกิทา หรือ เป็นอนาคา เป็นอรหันต์ก็ได้ ไม่ได้หมายความว่า เราจะปฏิบัติ เป็นผู้ปฏิบัติ จนกระทั่ง จะเป็น พระอรหันต์แล้ว เราถึงจะบวช ไม่มีทุกข์เลย แม้แต่น้อยในจิตเลย เรื่องอะไร เราก็หมดสิ้นเกลี้ยงเลย ไม่ใช่นะ ขอเตือนไว้หน่อย ติงไว้หน่อย แต่ก็เป็นความคิด ที่มีเป้าหมายที่ดี ไม่เสียหายอะไร ดีมาก แต่ก็ขอบอกมัชฌิมา อย่าไปคิดไกลเกินเขต ถ้าเห็นสมควร ว่าเราควรจะบวช อยู่ในฐานะอันควรได้แล้ว ก็มาน่ะ ก็ตัดสินบวชได้ ให้พอเหมาะสมควร เพราะการบวชนี้ บอกแล้วว่า ไม่ใช่มาบวชแล้วเป็น พระอรหันต์เลย ถ้าอย่างเคร่งที่สุด ก็ให้ตนเป็น พระอนาคามี แล้วก็เป็นพระอรหันต์นั่นได้ ดีแล้ว หมายความว่า เราละเลิกวัตถุได้เด็ดขาดแล้ว แน่นอน กามราคะหมด ไม่เดือดร้อนในกามราคะ สักกายะแล้ว เหลือแต่รูปจิต อรูปจิต ยังมีโกรธ มีเคือง ยังมีอับเฉา อึดอัด แน่นใจอยู่บ้าง ในฐานะของ ถือมานะทิฐิเท่านั้น ก็ควรจะบวชได้แล้ว อย่ารั้งรอ อย่ารั้งรอ ไม่ควรรั้งรอ ในขนาดอนาคามิจิต ในขนาด พระอรหันต์ ในขนาดอนาคามิจิตขึ้นไปนี่ ควรบวชได้แล้ว อย่ารอ แต่ถ้าเป็นได้แค่โสดาบัน ก็บวชได้ เหมาะสมแล้วล่ะ ดีแล้วล่ะ ได้ช่วยกัน จรรโลงโลก เดี๋ยวก็หายากเต็มที น่ะ ไม่เป็นไรหรอก ก็ขอให้คิด ให้มัชฌิมาดี ๆ อย่าไปหลงผิด หลงเอาเลยเถิดไป จนกระทั่ง จะเอาเป็นพระอรหันต์ ถึงค่อยบวชนะ มันจะไม่ไหวนะ ไม่ไหวนะ ผมจะมานั่งสอนทีเดียว พวกคุณเอาประโยชน์ตน ประโยชน์ท่าน ไปพร้อมๆ กันด้วย มานั่งเอาทีเดียว ต้องคัดเอา พระอรหันต์อย่างเดียว ผมไม่ไหวนะ ผมไม่ทำด้วย ทำไม่ไหวนะ แล้วอาตมา ก็ไม่ไหวด้วย ไม่มีเวลาพอ นี่ก็ขอเตือน แต่ดี ตั้งใจไว้อย่างนี้ ก็ดีแล้ว อย่าให้เลยเถิดก็แล้วกัน นี่มันเลยเถิด ไปนิดหนึ่ง ขอติงไว้หน่อย)

แล้วได้มีพระองค์หนึ่ง ได้แนะนำข้าพเจ้าว่า ให้ใช้สัจจะซิ ตั้งจิตของเราว่า จะบวชตลอดชีวิต ข้าพเจ้าก็บอกท่านว่า ข้าพเจ้าไม่อยากหลอกตัวเอง โดยเมื่อบวชแล้วก็ฝืนอยู่ ทนอยู่ ไม่มีความสบายใจ แล้วข้าพเจ้า จะไปสอนพวกญาติโยมได้อย่างไร ว่าทางนี้สุข ทางนี้สบาย และแนะนำให้ญาติโยม นำเอาไปปฏิบัติ

(ถ้าผู้ใดมาบวชแล้ว เป็นโสดาบัน ก็สอนฆราวาสเขา ให้พ้นจากธรรมะโสดาบัน แล้วเรารู้แล้วว่า เราได้สบายแล้ว ในเรื่องคุณสมบัติ หรือว่าธรรมะ แค่ขั้นโสดาบัน เราสบายได้แล้วนี่ มันก็สอนเขาได้แล้วล่ะ น่ะ ไม่ต้องอึดอัดขัดใจหรอก อย่าไปอวดอุตริมนุสธรรม ที่เกินตัวก็แล้วกัน อันใดที่เรายัง ขัดใจอยู่ เคืองใจอยู่ ซึ่งไม่ใช่คุณธรรมของโสดาบัน เรื่องอบายมุข อบายต่าง ๆ นี่ เรายังอึดอัด ขัดใจอยู่ เราสอนเขาไม่ได้จริง ๆ แต่ถ้าเราไม่อึดอัดแล้ว เราสอนเขา เรื่องอบายมุข ปิดอบายให้ได้ หรือเรื่อง ความต่ำที่ต่ำ ไล่ละเอียดขึ้นมา ที่เราหนีได้แล้ว พ้นได้แล้ว ไม่อึดอัดขัดใจ สบายจริง ๆ เห็นความสุข เห็นความโปร่ง เห็นความโล่งได้จริง เราก็สอนเขาได้เหมือนกัน ตามความจริง ที่เรามีคุณธรรมนั้น หรือ มีอุตริมนุสธรรม อันนั้นน่ะ ก็ขอให้เข้าใจตามฐานจริง ๆ เพราะฉะนั้น ผู้ใดถึงขึ้นอรหันต์ ก็สอนอรหันต์ ใครถึงอนาคามี ก็สอนอนาคามี ใครสกิทาก็สอนสกิทา ใครมีโสดาบันแล้ว ก็สอนโสดาบันเป็นเอก อย่าเพิ่ง ให้มันสูงเกินไป เกินตัวแล้วมันจะพลาดล่ะ หมายระวัง ดีน่ะ ให้หัดระวัง แต่อย่าให้เลยเถิดน่ะ)

ข้าพเจ้าก็กลายเป็นพระที่ศีลไม่บริสุทธิ์ (นี่หมายก็จริงนะ ศีลบริสุทธิ์ตามลำดับนะ) ต้องโกหก มุสา ชาวบ้านไปเรื่อย ซึ่งข้าพเจ้าทำไม่ลง (ก็ดีนะนี่ ระมัดระวังดีทีเดียว แต่ก็ต้องเข้าใจฐานะ ตามลำดับ)

พระองค์นั้นก็ได้พูดเสริมเลยว่า คณะของท่าน (อยู่ที่ผาเสด็จ) ดีกว่าคณะของเราก็ตรงนี้ คือท่านมีสัจจะ จะบวชกี่ปี ก็ตั้งสัจจะลงไป หนักแน่น แข็งแรงมั่นคงกว่าเรา

(ท่านเห็นว่าท่านดี ก็เอา ก็จริง ก็ดีเหมือนกัน ถ้าเราจะตั้งสัจจะ ว่าจะเอาเท่านั้นปี เท่านี้ปี ก็เอา แล้วก็ทำให้ได้ ก็ดีเหมือนกันนะ แต่บางทีมันก็ไม่ดี ตรงที่ตั้งสัจจะไว้ แต่อินทรีย์พละเรา ชักหย่อนยาน แล้วเราทำ อะไรเละเทะแล้ว แต่ยังไม่ถึงเวลา ที่เราตั้งสัจจะไว้ ขืนอยู่ไปก็คือ อยู่อย่างทำลาย ก็เสียเหมือนกันนะ เพราะฉะนั้นก็ดี ได้ตามที่ว่า ใครมีสัจจะ มันก็ดีน่ะ)

ข้าพเจ้าจึงหยุด และเกิดความเข้าใจขึ้นว่า ท่านมีแต่สัจจะ แต่ไม่เข้าใจในสัจจะว่า ท่านตั้งแล้ว จะได้รับประโยชน์ และผลอะไร ที่จะเกิดการตั้งสัจจะนั้น มีพระบางองค์ตั้งสัจจะ ทำงานปลูกต้นไม้ทั้งวัน พักผ่อน หลับนอน ก็เพียง ๓ - ๔ ชั่วโมงเท่านั้น ซึ่งก็น่าชมเชยท่าน ที่มีความเพียรอย่างยิ่ง และต้นไม้ ทำเพาะปลูก จนออกลูก ออกผลนั้น ท่านก็ไม่ยึดเป็นของท่าน ใครจะเก็บไปขายไปกิน อย่างไรก็ได้ ตามสบาย เพราะท่าน ไม่ได้ทำเอาลูกเอาผลของต้นไม้ แต่ท่านทำเอาโลกุตระน่ะ ซึ่งก็เป็นสมมุติสัจจะ ที่เห็นดี

(ชัด แม้แค่เราทำปลูกต้นไม้นี่ เราปลูกให้คนอื่น คนอื่นกิน นี่สำนวนนี้ มันเหมือนของท่านพุทธทาส บรรยาย ซึ่งถูกและดี เราทำนี่ เราไม่ได้ทำให้เรา ตัวเราเอง ก็เราก็ไม่มีตัวเราแล้ว ก็ทำอะไร ก็ให้คนอื่น รับผลไป เราจะใช้บ้าง ก็เรามีสิทธิเพราะเราทำเอง แต่คนอื่นจะเอาไปใช้ ก็เอาไปเถอะ ไม่เป็นไร นี่เรียกว่า โลกุตระ ไม่มีความหวงแหน ไม่มีตัว ไม่มีตน ไม่มีของตัวของตนน่ะ)

ในเวลาของคืนที่กล่าวถึงนี้ ไปเย็น ศิษย์ของหลวงพ่อแพง ท่านหนึ่ง ได้บอกแก่ข้าพเจ้าว่า หลวงพ่อแพง เป็นพระอรหันต์ ซึ่งคุณดำรัส ก็ได้อยู่ฟังด้วย คุณดำรัสจึงได้ถามพระองค์นั้นว่า ท่านมีอะไรเป็นเหตุผล ที่รู้ว่าหลวงพ่อแพง บรรลุเป็นพระอรหันต์ ท่านก็เอิ๊กๆ อ๊ากๆ (เอิ๊ก ๆ อ๊าก ๆ หรือ อึก ๆ อัก ๆ) ท่านก็เอิ๊กๆ อ๊ากๆ ตอบ ก็ดูภูเขาแถวนี้สิ แต่ก่อนนั้น ไม่มีต้นไม้ ที่เป็นประโยชน์เลย พอหลวงพ่อแพงมาอยู่ ตั้งเป็นสำนัก ก็ถากถางปลูกต้นไม้ ที่มีผลมีลูก ได้ประโยชน์อย่างไม่น่าเชื่อ แล้วท่านก็ได้ชี้ให้เห็น ถึงความอุดมสมบูรณ์ ซึ่งข้าพเจ้าก็เห็นจริง แต่ ...

(นี่คุณสมหวังจบด้วยสวย นี่เป็นบทจบนะ บทจบบทความอันนี้น่ะ จบด้วยเรื่องตีท้าย บอกว่า เอาเรื่องสำคัญด้วย คือ เรื่องอรหันต์มาจบ แล้วก็เอาเรื่องบอกว่า ก็ดูซิ ภูเขานี่

ถูกถากถาง ปลูกต้นไม้ ที่มีผลมีลูก ได้ประโยชน์อย่างไม่น่าเชื่อ แล้วท่านก็ได้ชี้ให้เห็น ถึงความอุดม สมบูรณ์ ซึ่งข้าพเจ้าก็เห็นจริง)

แต่ก็นึกถามท่านอยู่ในใจว่า ถ้าเช่นนั้น ยอร์ช วอชิงตัน ผู้บุกเบิกอเมริกา ให้ความสมบูรณ์ ยิ่งกว่าที่ท่าน ชี้ให้ดูนี้ อีกตั้งหลายเท่า ก็คงจะบรรลุอรหันต์เหมือนกัน แล้วข้าพเจ้าก็เก็บมันไว้เงียบ ๆ ในใจ แล้วก็ขยี้มัน ทิ้งลง ณ บัดนั้น


เป็นนักประพันธ์ที่ดีทีเดียว จบด้วย twist ending จบด้วย twist ending ที่ดี แล้วก็มีอะไรที่ดีแน่น ๆ ๆ ๆ ๆ ลงไป ปึ๊บ ๆ จะตีให้อยู่เลยนะ แต่ยังดิ้น เออ ! นะ เป็นบทความที่ดีทีเดียวน่ะ เป็นบทความที่จะเป็น นักประพันธ์ ถ้าผมเป็นบรรณาธิการ จะลงให้ทันทีน่ะ ใช้ได้ เป็นบทความที่สมบูรณ์น่ะ มีทั้งเนื้อหาสาระ เริ่มต้นก็ดี แล้วก็บรรยายเนื้อความ เกี่ยวพันมาสั้น ๆ แต่อยู่ในรูปลักษณะ ของการเป็นนักเขียน คือผมเองนี่ หัดเป็นนักเขียนมา แล้วก็ทำงานหากิน ทางนักเขียนมาบ้าง ถึงแม้จะไม่มีชื่อเสียงก็ตาม แต่ก็ได้ทำ เชื่อว่า เราได้ฝึกหัดฝึกปรือ แล้วมีความเข้าใจพอสมควร ตามภูมิ ดี จบด้วย ก็มีบทสรุป แล้วก็มีเรื่องสำคัญ ที่ตีหัว แล้วก็รู้จักต้น กลาง ปลาย แล้วก็จบด้วย ลักษณะที่ดี อย่างนี้ ลักษณะอย่างนี้ เขาเรียกว่า twist ending คือจบด้วยลักษณะที่เรียกว่า มันมีอะไรที่เกิดผลอยู่ ไม่ใช่ว่าจบแล้ว เงียบหายไปเลย แล้วก็ปล่อยโล่งไปเลย อย่างนั้นเขาเรียกว่า happy ending เมื่อจบแล้วสุขไปเลย หรือว่าจะทุกข์ ก็ตามแต่ มันมีบทเหมือนกัน แต่ทุกข์นั่นไม่ใช่ happy ending มันเป็น twist ending เหมือนกัน แต่ว่าจบอย่างที่ว่า มันไม่ประเมิน มันไม่ได้ผล แต่นี่มันรู้สึกว่ามี happy ending อยู่ในตัว แล้วก็เป็น twist ending คือจบลง อย่างมีอะไร ให้เตือนให้ติงให้คิด มีประโยชน์อยู่น่ะ ก็เข้าที

ที่เอาบทความ หรือว่าเอาเรื่อง ของคุณ สมหวัง ที่เขียนไว้นี่ มาร้อยกรองไว้แล้ว มาอ่านสู่กันฟัง ก็ผมก็เห็นว่า เป็นประโยชน์ที่ทำไว้ แล้วก็ผม ฉวยโอกาสด้วย ผมไม่ได้ทำอันนี้ แล้วก็อันนี้ คุณสมหวัง ทำไว้ดีแล้ว ก็เลยเอามาใช้ประโยชน์ แล้วมันเร็ว ไม่ต้องใช้ ไม่อย่างนั้น ผมพูดช้ากว่านี้ นี่พูดได้เร็ว แล้วอ่านไปเลย มันก็สบาย เร็วด้วย และได้รับประโยชน์ด้วย หลายอย่าง ที่มันยังขาดตก บกพร่อง ที่ตัวผม บกพร่องอยู่ คุณสมหวังช่วยเก็บ ก็ดีแล้วล่ะนะ ก็ได้รับผล พวกเราก็คิดว่า อันนี้เป็นการช่วยกัน แล้วก็เป็น กิจจาธิกรณ์อันหนึ่ง คือสิ่งที่จะทำ ให้สูงขึ้น ยิ่งขึ้น เป็นงาน กิจแปลว่างาน อธิกรณ์คือ การสูงขึ้น อธิกรณะ เป็นสิ่งที่จะทำให้เราสูงขึ้นจริง ก็ดี

ก็ขอบรรยาย หรือว่าขอสรุปธรรมะที่เราได้ ลงแค่นี้


เดินจาริกจากแดนอโศกไปนครราชสีมา แล้วเดินกลับเส้นทางเดิม

จัดทำโดย โครงงานถอดเทปธรรมะฯ
ถอดโดย ประสิทธิ์ ฝ่ายทอง ๑๐ มกราคม ๒๕๓๒
ตรวจทาน ๑ โดย สม.ปราณี ๑๑ มกราคม ๒๕๓๒
พิมพ์-ตรวจทาน ๒ โดย วนิดา วงศ์พิวัฒน์ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๒
บันทึกข้อมูลโดย ทีมงานคุณกัญญา พุ่มรัตนา มีนาคม ๒๕๔๗
เข้าปกโดย สมณะพรหมจริโย
เขียนปกโดย พุทธศิลป์

อบรมทำวัตรเช้าช่วงจาริก ๑๕ เม.ย.๒๕๑๘
หมายเหตุ ในการนำขึ้นเว็บไซต์ ได้มีการตัดข้อความบางส่วนออกไปบ้าง