เรื่องของธุรกิจน้ำเมา ถูก...ผิด ต้องใช้ปัญญาตัดสิน

อันว่าสุรา เหล้า น้ำเมา หรือแอลกอฮอล์ (ตามแต่จะเรียก) นั้น มันมีอยู่คู่กับสังคมมนุษย์ มาตั้งแต่ ดึกดำบรรพ์แล้วล่ะ แต่เพราะเป็นเครื่องดื่มที่เมื่อดื่มแล้วทำให้คนขาดสติ เกิดอาการเมา ประพฤติในสิ่งที่ ไม่เหมาะสม และไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพ พระบรมศาสดาจึงได้บัญญัติเป็นข้อห้าม สำหรับผู้ที่นับถือ ศาสนาพุทธ แต่หากใครจะดื่ม ก็เป็นสิทธิ์ของบุคคลนั้นๆ ไม่มีใครบังคับกันได้หรอก แต่คนที่ฉลาด ย่อมเลือก ที่จะเชื่อและปฏิบัติตามนักปราชญ์ หรือศาสดาของตัวเอง

การที่คนกลุ่มหนึ่งในสังคมมองว่า ในเมื่อเหล้าเป็นสิ่งที่ซื้อขายกันถูกต้องตามกฎหมาย แล้วทำไมต้อง ออกมาคัดค้านมาต่อต้าน ถ้าพูดกันตามความเป็นจริงแล้ว กฎหมายเป็นเรื่องของมุษนย์ (ที่ยังมีกิเลส) ที่คิดและบัญญัติกันขึ้นมาเองตามความเห็นของคนส่วนใหญ่ แต่ไม่ได้หมายความว่าดีและถูกต้องเสมอไป

แต่ก่อนแต่ไร การดื่มน้ำเมาจำกัดอยู่ในวงแคบๆ เฉพาะพวกผู้ใหญ่เท่านั้น มาวันนี้เด็กๆ ที่ยังเป็นวัยรุ่น ยังเรียนหนังสือ ก็ดื่มน้ำเมากันเต็มบ้านเต็มเมือง และมีแนวโน้มว่าจะมากขึ้นเรื่อยๆ ตามแรงชักจูงของ โฆษณา ต่างๆ แต่เดิมคนทั่วไปก็แค่ดื่มกันตามเทศกาลนานๆ ครั้ง แต่เดี๋ยวนี้บริษัทน้ำเมา พยายามชักจูง ให้คนดื่มกันบ่อยๆ ดื่มกันทุกวันแบบไม่มีกาลเทศะ

ภาษี (บาป) ที่ได้จากพ่อค้าเหล้า แม้จะมาก (แต่เมื่อเทียบกับเงินที่รัฐต้องจ่ายไปเพื่อแก้ปัญหา อันเนื่อง มาจาก การดื่มเหล้า ปีหนึ่งนับแสนล้านบาท ต้องบอกว่าได้ไม่คุ้มเสีย งานนี้คนที่ได้ประโยชน์มากที่สุดคือ ผู้ผลิต ที่รวยขึ้นๆ และไม่เคยใส่ใจ เลยว่า เมื่อคนมาซื้อเหล้าไปดื่มและเขาจะเป็นจะตาย อย่างไรบ้าง แถมยัง พยายาม สร้างค่านิยมให้สินค้าที่ผิดศีลธรรมเหล่านี้แพร่หลายไปสู่คนทุกกลุ่ม

ก็แน่นอนว่าพ่อแม่พี่น้อง ที่เขารักลูกหลานของตนเอง ก็ต้องออกมาแสดงความคิดเห็นกันบ้าง เป็นเรื่อง ธรรมดา แต่กลุ่มคนที่เสียผลประโยชน์กลับมองว่าคนที่พยายามทำในสิ่งที่ถูกต้อง เป็นพวกขวางโลก อยากดัง ... ก็นี่แหละ ค่านิยมที่กำลังจะเปลี่ยนไป
(จากจดหมายข่าว เครือข่ายองค์กรงดเหล้า ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๑ มกราคม - กุมภาพันธ์ ๒๕๔๘)

- หนังสือ ดอกหญ้า อันดับที่ ๑๑๘ มีนา - เมษา ๒๕๔๘ -