หน้าแรก >[09] การสื่อสาร > การเผยแพร่ธรรมะ >เราคิดอะไร

กติกาเมือง ประคอง เตกฉัตร ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลประจำสำนักงานศาลยุติธรรม ช่วยทำงานในตำแหน่ง ผู้พิพากษา หัวหน้าศาลจังหวัด นครศรีธรรมราช


อาชญากรรมการค้าหญิงและค้าเด็ก

การค้าประเวณีปัจจุบันมีอยู่ ๒ รูปแบบ คือการค้าประเวณีด้วยความสมัครใจนับวันจะมีมากขึ้นและแอบแฝงอ ยู่ในอาชีพต่างๆ ยากแก่การควบคุม และสำรวจและการค้าประเวณี ด้วยความไม่สมัครใจ เพราะถูกบังคับ ขู่เข็ญ หลอกลวง หรือการชักพามา ด้วยประการใด ตราบใดที่มีหญิงจำนวนมาก ที่ต้องการขายเรือนร่างของตน เพื่อจะยังชีพ เพราะการหลีกเลี่ยงงานหนักก็ดี ต้องการเงินทองจำนวนมาก ในระยะเวลา อันสั้นก็ดี ความไม่รู้จักพอก็ดี และมีผู้ชาย อีกจำนวนมาก ที่ยอมจ่ายเงินซื้อ บริการความสุขทางเพศ และปัจจุบันผู้หญิง ก็เริ่มหันมาใช้ บริการทางเพศ จากโสเภณีชาย และเด็กชายมากขึ้น การค้าประเวณี ย่อมไม่สามารถ ปราบปราม ให้เสร็จสิ้นได้ ปัญหาโสเภณี คงเป็นปัญหาหนัก และเป็นปัญหาสำคัญ ที่ทุกฝ่าย ควรจะให้ ความสนใจ ปรึกษา และหาทางแก้ไข โดยเฉพาะ การค้าประเวณีเด็ก ขณะนี้รัฐบาล ประกาศห้ามอย่างเด็ดขาด และ จะดำเนินคดี อย่างเด็ดขาด เพราะเด็กนั้น เป็นความมุ่งหวัง ของประเทศชาติ เป็นอนาคตของแผ่นดิน ถ้าปล่อยให้มี การค้าประเวณีเด็กแล้ว ในอนาคต ประเทศชาติ คงหมดความหวัง และเสื่อมทรุดลง ในที่สุด และคงสิ้นหวัง กับผู้ใหญ่ ในอนาคต

ปัจจุบันนี้การค้าประเวณีมีการสลับซับซ้อน ลำดับเป็นทวีคูณ ในรูปแบบขององค์กรอาชญากรรมมากขึ้น บางครั้ง องค์กรดังกล่าว ยังเป็นเครือข่าย โยงใยระดับประเทศ และระดับภูมิภาค จนถึงระดับโลก อันเป็นการกระทำ ที่ท้าทายอำนาจรัฐ และกฎหมาย เป็นอย่างยิ่ง ตัวบทกฎหมาย ที่มีอยู่ ถ้าไม่สามารถพัฒนาให้ทัน หรือปรับปรุง แก้ไขให้ถูกต้อง ตามความเป็นจริงแล้ว ไม่สามารถ ที่จะดำเนินการ ปราบปราม การค้าประเวณีได้ กฎหมายปัจจุบันนี้ กำหนดโทษ ไม่ว่าผู้ที่ค้าประเวณีเอง พ่อเล้า แมงดา เจ้าของกิจการ หรือผู้ที่ไปเที่ยว ในการค้าประเวณีเด็ก แต่ในความเป็นจริงแล้ว การดำเนินคดีกับบุคคลอื่น นอกจากหญิง ซึ่งค้าประเวณีนั้น มีน้อยมาก เพราะทุกครั้ง ที่ถูกจับกุมดำเนินคดี จะไม่สามารถจับกุม ผู้ที่อยู่เบื้องหลัง ตัวการ พ่อเล้า เจ้าของกิจการได้ แม้จะได้ดำเนินคดีบ้าง ก็เป็นเพียงตัวแทน หรือพนักงาน ในลำดับต่ำ หรือผู้ซึ่งไม่ใช่ต้นตอ ของปัญหา หรือผู้ที่มีอำนาจบทบาท ในการ ดำเนินการ

ปัญหาอันเกิดจากโสเภณีนั้นเป็นปัญหาทางสังคมที่มีความสำคัญ ไม่ใช่เฉพาะประเทศไทยเท่านั้น แต่มีไปทั่วโลก สำหรับ ประเทศไทย ถึงแม้ก่อนบังคับใช้ พระราชบัญญัติ ป้องกันและปราบปราม การค้าประเวณี พ.ศ. ๒๕๓๙ รัฐบาลเพียงมีนโยบาย ในการปราม การค้าประเวณี มิได้ห้าม การค้าประเวณี แต่เนื่องจาก ลักษณะอาชญากรรม ประเภทมีรูปแบบ เป็นองค์กร อาชญากรรมมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เป็นกระบวนการที่มีเงิน และรายได้ จำนวน มหาศาล เข้ามาเกี่ยวข้อง ดังนั้น จึงมีทำให้ผู้ที่เข้ามาเกี่ยวข้อง สามารถแสวงหา ผลประโยชน์ หรือรายได้ จากกระบวน การค้าประเวณีมาก และ มีอาชญากรรม ประเภทนี้พัฒนา ในรูปแบบขององค์กรอาชญากรรม และเครือข่ายต่างๆ ยิ่งผสมรวมกับอาชญากรรมประเภทอื่น หรือ เครือข่ายอื่นแล้ว นับว่าเป็นองค์กรอาชญากรรม ที่แข็งแกร่งอย่างยิ่ง การปราบปราม ยิ่งทำได้ลำบากยิ่งขึ้น เพราะปกติ จะไม่สามารถสาวไปถึง ผู้บงการ หรือ ตัวการใหญ่ ที่อยู่เบื้องหลังได้ นอกจากนี้ สมาชิกขององค์กรบางคน เป็นระดับผู้นำ ไม่ว่าในระดับ ตำบล หมู่บ้าน อำเภอหรือจังหวัด แม้แต่ระดับประเทศ นอกจากนี้สมาชิก ขององค์กร คนใดถูกจับกุม หรือ ถูกดำเนินคดี ก็จะมี บุคคลใหม่ เข้ามาแทนที่ และได้รับการปกป้องคุ้มครอง และ ได้รับการช่วยเหลือ จากสมาชิกในองค์กร

ดังนั้นนโยบายการบังคับใช้กฎหมายกับความผิดโสเภณีในปัจจุบันต้องเปลี่ยนแปลงและล้มเลิกในการปราบ หรือ การดำเนินการ แบบเก่าๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในส่วนที่เกี่ยวกับขบวนการค้าหญิงและเด็ก ในต่างประเทศ หรือในโลก ซึ่งเป็นความผิดสากล และทุกประเทศ มีนโยบายจะปราบปรามอย่างเด็ดขาด ความผิดเกี่ยวกับโสเภณี อันนำไปสู่ อาชญากรรมค้าเด็ก ค้าหญิง เป็นอาชญากรรม ที่ทำรายได้ จำนวนมหาศาล จึงนำไปสู่การสร้างอิทธิพล ของผู้กระทำ ความผิด ไม่ว่าในรูปแบบของ อิทธิพล เหนือข้าราชการประจำ เช่นการติดสินบน การอยู่เบื้องหลัง การให้คุณให้โทษ การโยกย้าย หรือ การเข้าสู่ตำแหน่ง รวมทั้งอิทธิพล เหนือนักการเมือง ไม่ว่าในรูปของ การจัดหาคะแนน จัดตั้งมวลชน ค่าใช้จ่าย หรือการขัดขวางคู่ต่อสู้ หรือคู่แข่ง ในทางการเมือง ทุนจำนวนมหาศาลดังกล่าวนี้ สามารถที่จะนำไปใช้ ในการกระทำ ความผิดครั้งต่อๆ ไป และไม่อาจ ปฏิเสธได้ว่า อาชญากรรมบางประเภท ที่ต้องใช้เงิน เป็นเครื่องมือ ในการประกอบอาชญากรรม ก็ได้ประสาน เป็นเครือข่าย กับอาชญากรรม การค้าหญิงและเด็ก เช่นอาชญากรรม การค้ายาเสพติด อาชญากรรมการค้า อาวุธสงคราม เมื่อเป็นเช่นนี้ ส่วนหนึ่งของเงินที่ได้มา ก็จะถูกนำไปใช้ เป็นต้นทุน ในการกระทำความผิดใหม่ ขึ้นอีกเป็นวัฏจักร วนเวียนในสังคม ไม่มีที่สิ้นสุด นับแต่จะรุนแรง และขยาย เครือข่ายต่อๆ ไป เมื่อรายได้จำนวนมหาศาลของธุรกิจ อาชญากรรม ที่ทำในรูปขององค์กร อาชญากรรม เป็นอุปสรรค ในการบังคับ ใช้กฎหมาย มาตรการต่างๆ จึงได้ออกมา เช่น มาตรการในการริบทรัพย์สิน จึงได้ถูกนำมาใช้ เพื่อขจัด ไม่ให้ทรัพย์สิน ดังกล่าวนั้น เป็นประโยชน์ต่อธุรกิจ ดังกล่าวอีกต่อไป

มาตรการในการริบทรัพย์สินนั้น เดิมมีบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญาอยู่แล้ว แต่การริบทรัพย์สินดังกล่าวนั้น ไม่เพียงพอ ที่จะนำมาใช้ กับผู้กระทำความผิดได้ เพราะการริบในทางอาญานั้น เป็นโทษอย่างหนึ่งเท่านั้น ต้องมีการ พิสูจน์ความผิด และทรัพย์สิน ที่จะริบได้นั้น ก็เป็นทรัพย์ที่ได้มา หรือใช้ในการกระทำความผิด ซึ่งมีเพียงเล็กๆ น้อยๆ เท่านั้น และ สำหรับการพิสูจน์ การกระทำความผิด ในแต่ละครั้ง เป็นการยุ่งยาก กว่าจะพิสูจน์ได้ ในแต่ละครั้ง ริบได้ก็เฉพาะ การกระทำความผิด ที่ฟ้องในครั้งนั้นเท่านั้น ไม่สามารถริบทรัพย์สิน ที่ได้ในการกระทำความผิด ในครั้งก่อนๆ ได้ โดยเฉพาะ ถ้าทรัพย์สินดังกล่าวนั้น ได้แปรสภาพเป็นทรัพย์สินอย่างอื่น โดยการนำไป ดำเนินการ ที่เรียกว่า การฟอกเงิน อ้างว่าเป็นรายได้ ที่ได้มาจาก กิจการอื่นที่ถูกต้อง ไม่ว่าหุ้นเงินปันผล หรือนำไปซื้อทรัพย์สินอื่น แล้วขายทำกำไร หรือแม้แต่ขายขาดทุน ก็สามารถ จะทำให้เงินดังกล่าวที่ได้มา โดยการกระทำความผิด ดังกล่าวนั้น เป็นเงินที่ชอบ ด้วยกฎหมายขึ้นมาได้

จากข้อจำกัดดังกล่าวนี้ จึงต้องใช้มาตรการ ยึดทรัพย์สินในทางแพ่ง ติดตามมา โดยมาตรการดังกล่าวนี้ นานา ประเทศ ได้นำออกมาใช้ เพื่อปราบปราม หรือต่อสู้ กับอาชญากรรม ในรูปแบบใหม่ เช่นอาชญากรรม ทางเศรษฐกิจ องค์กร อาชญากรรม และอาชญากรรม การค้ายาเสพติด มาตรการการริบทรัพย์ ทางแพ่งนั้น เห็นได้จาก การดำเนินคดี ต่อตัวทรัพย์สินโดยตรง ฝ่ายรัฐไม่ต้องพิสูจน์ ความผิดทางอาญา ของบุคคล แต่ต้องพิสูจน์ว่า ทรัพย์สินนั้น ได้ใช้ หรือได้มาจาก การกระทำความผิด โดยฝ่ายรัฐ มีภาระเพียงแสดงเหตุ อันควรสงสัย ให้ศาลเห็น เท่านั้น ซึ่งแตกต่างกับ หลักเกณฑ์ที่ใช้ ในการริบทรัพย์สิน ในกระบวนการ ทางอาญา และเป็นมาตรการ ที่ขจัด อุปสรรค ในการริบทรัพย์สินทางอาญา ได้โดยตรง นอกจากนี้ ยังเป็นการขยายขอบเขต ของการริบทรัพย์สิน ให้กว้างขึ้น

การริบทรัพย์สินทางแพ่งนี้ ได้ถูกนำมาใช้ ในพระราชบัญญัติป้องกัน และปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒ เพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพ ในการบังคับใช้กฎหมายนี้ ให้มากยิ่งขึ้น โดยบัญญัติไว้ในหมวดที่ ๖ ว่าด้วยการดำเนินการ เกี่ยวกับทรัพย์ มาตรา ๔๘ ถึงมาตรา ๕๙ สามารถนำมาใช้กับการดำเนินการต่อทรัพย์ ของอาชญากรรมค้าหญิง ค้าเด็กได้โดยตรง และเป็น มาตรการหนึ่ง ในการทำลายเงิน จำนวนมหาศาล อันเป็นทุนทางธุรกิจ อาชญากรรม ซึ่งกระทำในรูปแบบ ขององค์กร อาชญากรรม

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง กับการดำเนินการ ตามพระราชบัญญัติ ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒ นั้นคือ ความผิดเกี่ยวกับเพศ ตามประมวลกฎหมายอาญา ตามมาตรา ๒๘๒, ๒๘๓, ๓๑๗, ๓๑๘, ๓๑๙ เฉพาะที่เกี่ยวกับ การเป็นธุระ จัดหา ล่อไป หรือพาไป เพื่อการอนาจาร หญิงและเด็ก เพื่อสนองความใคร่ให้ผู้อื่น และฐานพรากเด็ก และผู้เยาว์ ความผิดตาม พระราชบัญญัติ ว่าด้วยมาตรการ ในการป้องกัน และปราบปราม การค้าหญิงและเด็ก ได้แก่ พระราชบัญญัติมาตรการ ในการป้องกัน และปราบปราม การค้าหญิงและเด็ก พ.ศ. ๒๕๔๐ คือ ความผิด เกี่ยวกับการค้าหญิงหรือเด็ก ซื้อขาย จำหน่าย พามา หรือส่งไปยังที่ใด รับ หน่วงเหนี่ยว หรือกักขัง ซึ่งหญิงหรือเด็ก หรือจัดให้หญิงหรือเด็ก กระทำการ หรือยอมกระทำการใด เพื่อสนองความใคร่ ของผู้อื่น เพื่อการอนาจาร หรือ เพื่อแสวงหา ประโยชน์อันมิควรได้ โดยชอบด้วยกฎหมาย สำหรับตนเอง หรือผู้อื่น ไม่ว่าหญิงหรือเด็กนั้น จะยินยอม หรือไม่ก็ตาม อันเป็นความผิด ตามกฎหมายอาญา

ความผิดตามกฎหมาย ว่าด้วยการป้องกัน และปราบปราม การค้าประเวณี เฉพาะที่เกี่ยวกับ การเป็นธุระจัดหา ล่อไป หรือชักพาไป เพื่อให้บุคคลนั้น กระทำการค้าประเวณี หรือความผิดเกี่ยวกับการเป็นเจ้าของ กิจการค้าประเวณี ผู้ดูแล หรือผู้จัดการ กิจการค้าประเวณี หรือสถานการค้า ประเวณี หรือผู้ควบคุม ผู้กระทำความผิดการค้าประเวณี ในสถานการ ค้าประเวณี ได้ตามมาตรา ๙ มาตรา ๑๑

เพื่อเพิ่มมาตรการ ในการปราบปรามองค์กร อาชญากรรมข้ามชาติ ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ขณะนี้อาชญากรรม ข้ามชาติ ดังกล่าว สร้างความเสียหาย ให้แก่สังคม ประเทศชาติ เป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะ เป็นการคุกคามต่อชีวิต และความสงบสุข ของประชาชน ที่ตกเป็นเหยื่อ และกระทบต่อความมั่นคง ของประเทศ ความศักดิ์สิทธิ์ ของกฎหมาย ถูกบั่นทอน และท้าทาย อย่างมาก และนำไปสู่ความล่มสลาย ของประเทศชาติ ในอนาคต เราทุกคน จึงควรร่วมมือกัน ในการบังคับใช้กฎหมาย ฉบับดังกล่าวนี้ เพื่อเพิ่มมาตรการ ในการปราบปรามองค์กร อาชญากรรม ข้ามชาติ ภายใต้การดำเนินการ ของสหประชาชาติ ที่ประเทศไทย เป็นภาคีสมาชิก

(เราคิดอะไร ฉบับที่ ๑๔๑ เมษายน ๒๕๔๕)