เราคิดอะไร.

เวทีความคิด - เสฏฐชน -

รวยดีหรือจนดี

ได้ยินนโยบายการปกครองของรัฐบาลยุคนี้กล่าวยืนยันว่า รัฐบาลนี้จะเข้ามาบริหาร เพื่อประโยชน์ ของประชาชน ให้ประชาชนคนไทย อยู่ดีกินดี "กำจัดความยากจน" ให้หมดไป เป็นคำสัญญา โฆษณา หาเสียง คราวเลือกตั้ง แม้เข้ามาเป็นรัฐบาลแล้ วก็ยังได้ยินอยู่

นโยบายที่ออกจากปากผู้นำ เสมือนคำศักดิ์สิทธิ์ มี ฤทธิ์แรงทำให้กระแส คะแนนเสียง ของรัฐบาล พุ่งกระฉูด ในเมื่อความจนใครๆ ก็มักไม่ต้องการ มิฉะนั้น คนร่ำรวย ก็คงไม่ได้ รับความนิยม ความเคารพ นบนอบ ความสรรเสริญเยินยอ ความคลั่งไคล้ เอามาเป็น แบบอย่าง ดำเนินรอยตามๆ กัน

"ดูแต่นายสมบัตินั่นสิ ก่อนนี้ไม่มีอะไรเลย เป็นลูกจ้างเขาจ๋องๆ แม้แต่ข้าวราดแกง ยังต้อง รอทีหลัง เดี๋ยวนี้ เขามีกิจการพันล้านเชียวนะ" "นายมโหฬารนั่น ก็อีกคน เป็นกุลีแบกข้าวสาร อยู่สาธรก่อนโน้น โรงแรมระดับ ห้าดาว เขาเป็นเจ้าของอยู่ตั้ง ๒-๓ แห่งแน่ะ"

"นางเพริศพริ้งนั่นไง เป็นคนรับใช้บ้านหลังใหญ่ สมัยฉันยังเด็กๆ เห็นแกมักมาซื้อปลา ซื้อผัก ในตลาด ข้างบ้านบ่อยๆ ตอนนี้ขี่เบนซ์ รุ่นใหม่เอี่ยม เชียวนะแก" ...ฯลฯ

นานาสารพัดที่จะนำขึ้นมาเกริ่นเล่าขานถึงความนิยมชมชื่น ในความสามารถ ของคน ที่เคย จนยาก แต่ไต่ระดับขึ้นไป เป็นคนมีเงิน แล้วความมีหน้ามีตา ก็ติดตามมา เป็นกระพรวน บอกสู่กันฟัง ปากต่อปาก กระตุ้นให้ อยากมั่งอยากมีดีชะงัด

จนกระทั่งแม้หนังสือ รายการ "สู้แล้วรวย" ก็ยังฮิต ติดอันดับ คนสนใจติดตาม เพื่อจะหา เคล็ดลับ วิธีการ แบบอย่าง เผื่อจะได้เป็นเศรษฐ ีมั่งมีเงินทอง อย่างเขาบ้าง

แม้อาชีพที่สังคมรู้อยู่ว่าไม่สมควรไปเกี่ยวข้องกับเรื่องเงินทองแล้ว ก็ยังได้รับการนิยม ชมชื่น เช่น ภิกษุผู้ร่ำรวย ด้วยเงินทอง บริจาคสร้างโน่น สร้างนี่ จนกระทั่ง นำมาซึ่งตำแหน่ง สมณศักดิ์ ลาภ ยศ ความยำเกรง พินอบพิเทา จากผู้มั่งคั่ง ทั้งหลาย ไม่ต่างไปจาก ระบบ "เงินต่อเงิน-อำนาจต่ออำนาจ" เท่าใด

ยืนยันความ นิยมเรื่องนี้ได้จาก เมื่อลูกสาวจะบวชตลอดชีวิต พ่อแม่จะไม่สนับสนุน บางคน เตือนสติว่า "บวชไปทำไม? เป็นผู้หญิง บวชจนตาย ก็ไม่ได้ตำแหน่ง เจ้าอาวาส ไม่ได้ตำแหน่ง เจ้าคุณ" เพราะผู้ชาย แม้มาจากครอบครัวยากจน บวชๆ ไปสัก ๑๐-๒๐ ปี ก็ได้เป็นสมภาร เป็นสมเด็จ เจ้าคุณ มีเงินฝากธนาคาร มากมาย สร้างโน่นสร้างนี่ มิหนำซ้ำ อาจเป็นเจ้าหนี้ ฆราวาส ญาติโยมเสียอีก มีฤทธิ์เดช บันดาล ให้ญาติโยม สมปรารถนา ด้านลาภ ยศ นานา ประการ ไม่ว่าจะฝากเด็ก เข้าโรงเรียน ติดต่อให้เข้าทำงาน ในบริษัท กำกับ เบื้องหลัง นักการเมือง ฯลฯ เพราะมีเงิน มีทางได้เงิน มีสมบัติ มีทางได้สมบัติ วัตถุ สมบัติอื่นๆ ตามมา

ผู้ใดที่ทำงานไม่ได้เงิน อาจถูกมองว่าโง่เง่า ผู้ใดที่ไม่ใช้เงินเป็นเครื่องปูทาง อาจถูกมองว่า ไม่มีปัญญา ผู้ใดที่ ไม่ยุ่งเกี่ยวกับเงิน อาจถูกมองว่าไม่เก่ง

เพราะเงินคืออุปกรณ์ เสมือนเครื่องจักรที่หมุนทำงานให้เศรษฐกิจ เคลื่อนไหว อยู่ได้ การเล่นหุ้น เงินตรา เล่นแชร์เงินสด เล่นเงินฟอกเงิน อีกหลายรูปแบบ จึงเป็นอาชีพ ที่ทำรายได้ ให้เงินไหลมาเทมา สำหรับผู้ประกอบ การนั้น

คนยากจนในความหมายของคนยุคเงินตรา คือคนไม่มีกรรมสิทธิ์ ไม่มีโอกาส ใช้เงินไปซื้อ แลกเปลี่ยน สิ่งของ เชื่อมโยงสัมพันธ์กับใครๆ ด้วยอัตราตัวเลข ที่กำหนดไว้ บนแผ่นกระดาษ เหล่านั้น สังคมคน จึงต้อง ประดิษฐ์ พิมพ์ หลอม รูปเงินตรา เป็นเหรียญ ธนบัตร ออกมา ให้ถือกรรมสิทธิ์

เงินจึงไม่ใช่ "แร่ธาตุเงิน" แท้ๆ เหมือนกับสมัยก่อนโบราณ ที่เขาจะใช้ "แร่ธาตุเงิน-ทอง" เป็นก้อนๆ เป็น แท่งๆ ออกมาวางซื้อกันตรงๆ ดังจะเห็นจาก หนังจีน กำลังภายในบ่อยๆ ที่ต้องล้วงออกมา จากถุง จากย่าม เพื่อนำออกแลกเปลี่ยน หยิบยื่น ให้กันและกัน

ปัจจุบันปี ๒๕๔๖ ธนบัตร เหรียญ ยิ่งถูกเปลี่ยนรูปแปรเป็น "บัตร-การ์ด-ใบเครดิต" ทดแทน จนคน สามัญ ธรรมดาเดินดิน ไม่ได้รับการศึกษา จากโรงเรียน มหาวิทยาลัย หรือ แม้ศึกษา หาความรู้ จากข่าวสาร ต่างๆ ไม่รู้จักว่านี่แหละ ยิ่งกว่าเงิน ยิ่งกว่าธนบัตร เสียอีก แผ่นเล็กๆ บางๆ ที่พกสะดวก หยิบออกจ่าย ง่ายกว่าเป็นไหนๆ แถมยังมีราคา ยิ่งกว่าเงินสด เป็นฟ่อนๆ ใส่หีบชัดๆ ตรงๆ

เพราะบัตร-การ์ดเครดิตนี้ มีเกียรติยศ มีตำแหน่ง มีความยิ่งใหญ่ แฝงติดอยู่ด้วย เป็นอำนาจ ครบถ้วน ทั้งตัว บุคคล ฐานะ การงาน ชื่อเสียง อาจไล่ไปถึงโคตรตระกูล ด้วยก็มี ไม่ต่างจาก "ใบค้ำประกัน ความมั่นคง ทางเศรษฐกิจ" ที่คนยุคนี้ เชื่อถือ ยอมรับ นำมาเป็นมาตรฐาน วัดค่า ความร่ำรวย

เลยยุคของลุงเชย เศรษฐี ปากน้ำโพ สมัยหนังสือพล นิกร กิมหงวน ทั้งเลยยุคเช็ค ที่ต้องถือ เป็นเล่มๆ ที่ พลอยทำให้ปากกาปลอกทอง มีราคายอดนิยม ขึ้นไปอีก เพราะเศรษฐี ต้องใช้ ปากกา เซ็นชื่อในเช็ค สื่อให้เห็น ความมั่งคั่งของตน โดยปริยาย โฆษณาการใช้บัตร การ์ดเครดิต จึงเป็นสินค้าตัวหนึ่ง ที่ทำรายได้แพง ในโทรทัศน์

คนรวยปัจจุบัน จึงเป็นคนที่ไม่รวยเฉพาะเงิน ทอง เพชรพลอย อัญมณี แต่จะต้องเป็นคน ที่พร้อมพรั่งด้วย วัตถุแลกเปลี่ยน วัตถุแสดงถึงความฟุ้งเฟ้อ ฟุ่มเฟือย หรูหรา วิจิตร พิสดาร ต่างๆ นานาด้วย อาจถูกมองว่า รวยจากการมีรถยี่ห้อแพงๆ ราคาตั้งแต่หลักล้าน สิบล้าน ร้อยล้าน จากการมองบ้าน จากจำนวนพื้นที่ บริเวณ จากกิจการงาน จากข่าวสังคม ซุบซิบ จากจำนวน รายได้ประจำเดือน (แม้จะเป็นลูกจ้างบริษัทใน ภาษาใหม่ ที่เรียกแล้ว ฟังดูโก้กว่า หรูกว่าว่า "ผู้อำนวยการ, ผู้จัดการ, ที่ปรึกษาการ ฯลฯ แล้วแต่จะตั้ง กันเข้า ไป) รวยชั่วครั้ง ชั่วคราว ขณะที่เขายังจ้างอยู่ ก็ทำให้อวดโอ่ ได้ตลอดชีวิต ไม่ยกเว้น แม้แต่ ออกบวช ซึ่งต้อง สละออก หมดแล้ว ซึ่งความเคยรวยใดๆ คนก็อดที่จะนำมา เป็นค่านิยม นับถือยิ่งกว่า ผู้ไม่มี สิ่งเหล่านั้น เคยใช้ เคยกิน เคยอยู่ในวงการนั้นๆ มาก่อน ก็คิดดูเถอะว่า ความมีเสน่ห์ ของความรวยนั้น เหนียวแน่นปานใด

แล้ว จะให้เป็นเรื่องง่ายๆ "เหมือนปอกกล้วยเข้าปาก" คงไม่ได้แล้ว เพราะทุกวันนี้ กล้วยก็ไม่ต้องปอก คน รวยๆ อาจซื้อกล้วย สำเร็จรูปต่างๆ ผลิตภัณฑ์ บริโภคง่ายยิ่งกว่า เป็นไหนๆ ปอกกล้วยเข้าปาก ดูยังยากอยู่ สำหรับคนสมัยนี้ก็มี ไม่เช่นนั้น ผลิตภัณฑ์บรรจุถุง ซองสวยๆ คงไม่ขายดิบขายดี แม้รัฐบาล จะพยายาม ช่วย "คนจนบ้านนอก" ด้วยการส่งเสริม ให้เกิดการ จัดงานแสดงสินค้า "หนึ่งผลิตภัณฑ์ หนึ่งตำบล" นานทีมีหน ก็สู้ "คนรวยเมืองนอก" ไม่ได้ ในเมื่อยังเห็นผู้จัดงานเอง ก็ยังใส่เสื้อ ตราต่างประเทศกันอยู่

ยิ่งงานที่จัดแสดงสินค้า ที่เป็นสินค้าเมืองนอกกับสินค้าเมืองไทย ผู้ไปเดินชม ซื้อ จะแตกต่างกัน ลิบลับ สถานที่จัด ราคาออกร้าน ช่องว่างระหว่างต้นทุน ของงานสองประเภท ย่อมเป็นคำตอบ ตั้งแต่ต้นทาง

ดังการ จัดงานแสดงรถยนต์ของบางกอกมอเตอร์คาร์ จากผู้จัดงาน เจ้าของบริษัทรถ ผู้ดำเนินการ จัดงาน ให้สัมภาษณ์ว่า เกินคาดหมาย รายได้จริงสูงกว่า ที่ตั้งเป้าไว้ มากกว่า ที่ประมาณการ มากมาย เป็นชนวนให้ จัดงานอย่างนี้ถี่ขึ้นอีกทั้งๆ ที่คนพากันบ่นว่า เศรษฐกิจ ซบเซา หนี้สาธารณะหนัก แต่ไม่ทำให้ กระทบ กระเทือน รายได้ธุรกิจรถยนต์ อย่างที่ควรเป็น แสดงว่า "รวยเงิน" ใช่จะจนทางรวย แม้ในยุคที่บ่นๆ กันอย่าง นี้ คงไม่มีเหตุผลว่า ไปเดินชม รถราคาแพงๆ ที่อาจตลอดชาตินี้ ของคนบางคน จะได้นั่ง เป็นการแก้ ความจน ของตน ได้ทิศทาง ที่จะทำให้ยิ่งจน ความคิดที่ตรงกันข้ามว่า "จนน่ะดี" ยิ่งตีบตันเข้าๆ เสียมากกว่า

เพราะแม้แต่อาชีพพริตตี้เกิล (PRITTY GIRL) ผู้หญิงรุ่นๆที่แต่งตัววับๆ แวมๆ สั้นๆ แหวกๆ มาทำหน้าที่ เชียร์ลูกค้า ก็มีโอกาสได้เงินวันละไม่ต่ำกว่า ๕ พันบาท ถึง ๑ หมื่นบาท แล้วใครล่ะ จะอยากทำไร่ ทำนา รายได้จากการทำเกษตรกรรม กสิกรรม หัตถกรรม ถูกทิ้งไว้ ไกลสุดกู่ อุตสาหกรรม รวบหัวรวบหาง คนงานรุ่น หนุ่มๆ สาวๆ ที่กำลังมีแรง มีกำลังกาย ไปหมด ไม่เฉพาะ แต่งานในไร่ ในสวน ในนา แบบชนบท แบบพื้นบ้าน แม้ในบ้าน คนมีเงิน ก็สู้ "สาวโรงทอ หนุ่มโรงงาน" ไม่ได้ เพราะมียี่ห้อคำว่า พนักงานบริษัท ปะติด ให้โก้ กว่าคำว่า "คนรับใช้, คนขับรถ, คนทำสวน" ในคฤหาสน์เป็นไหนๆ แม้ว่างานนั้น จะเป็นงาน รับใช้นายทุน รับใช้นายหัวเหมือนกัน

"ลูกน้อง" คงจะทำให้เกิดความรู้สึกด้อยกว่า "ลูกจ้าง" แม้ไม่ได้เป็น"ลูกตัว" ของเจ้าของ บริษัทจริงๆ ก็ยัง พลอยรู้สึกเบ้ง ได้เหมือนกัน ไม่ว่าบริษัทนั้น จะค้าขายสินค้า ประเภทไหน ขอให้ได้ เงินเดือนเยอะๆ เพิ่มขึ้นมากๆ ก็แล้วกัน บางบริษัท ค้าชีวิตสัตว์ ข้ามประเทศ วันหนึ่ง เป็นแสนล้านตัว รายได้มากมาย บางบริษัท ค้าสินค้า ลักลอบหนีภาษี วันหนึ่งเป็นสิบล้าน ร้อยล้านบาท ลองประเมิน ความเห็นแก่ตัว เอาเปรียบประชาชน คนไทยด้วยกัน สิว่าแค่ไหน? บางธุรกิจ ทำลายความเป็นปึกแผ่น ของครอบครัวชนบท เป็นเอเย่นต์ ผู้คุ้มครองการค้า ที่ทำผิด ประเวณี ที่ต้องปกปิด ลูกๆ ของตน ไม่ให้รับรู้เบื้องหลังอาชีพ ที่ตัวทำวันหนึ่งๆ เท่าไหร่?

ครู อาจารย์ ศาสตราจารย์ คณบดี อธิการบดี ฯลฯ อันเป็นคำนำหน้า บอกคุณวุฒิ ทางการศึกษา ตามสถาบัน ระดับมหาวิทยาลัย ยังต้องเจอกับปัญหา ขายข้อสอบ ติวเตอร์ เรียกค่าตอบแทน จากลูกศิษย์ ที่เรียนอยู่ในห้องเรียนพิเศษ เป็นหมื่น เป็นแสน เพื่อลูกศิษย์ จะสอบผ่าน ได้ปริญญาบัตร ด้วยอาศัยอำนาจ หน้าที่ของผู้สอนคนนั้น จะเนรมิตให้ได้ ข่าวเรื่อง การคอรัปชั่น ในวงการศึกษา รั่วไหลออกมา ให้ประชาชน ล่วงรู้อีกทางหนึ่ง

แม้วงการเมือง พ่อค้าก็ตำหนินักการเมือง นักการเมืองก็ตำหนิพ่อค้า ภายหลัง ที่พ่อค้า ได้ทำหน้าที่ กระเป๋า อยู่เบื้องหลังนักการเมือง มานมนาน ต้องเปลี่ยนบทบาท มาแสดงเป็น นักการเมืองเสียเอง จนเกิด ข้อถกเถียงกัน ระหว่างนักการเมืองรุ่นใหม่ กับนักการเมืองรุ่นเก่า ว่าเป็นเซียน ชนิดการเมืองธุรกิจ หรือ การเมือง เล่นการเมือง

เหตุการณ์หลากหลายรูปแบบเหล่านี้ ล้วนส่อถึงความเป็น "คนจนดี" ด้วยกันทั้งนั้น เพราะความดี ไม่อาจ ตีราคาได้ เพราะเกินจะประมาณค่าได้ นั่นเอง ยิ่งเงินตราแล้ว ยิ่งซื้อ "คนรวยดี" ไม่ได้เลย เพราะ

"คนรวยดี" ไม่ง้อเงินตรา
คนรวยดีไม่ทำงานอะไรๆ เพื่อเงินตรา
คนรวยดีไม่ต้องการเงินตรา


ต่างจากคนรวยที่แสนจนในโลกวัตถุนิยม เงินตรานิยม แม้จะรวยเงิน รวยวัตถุ รวยข้าวของ รวยแม้คำสอ พลอเยินยอ แต่เขาก็ยังคือคนที่ "จน" อยู่ดี

เพราะต่อให้รวยแค่ไหน มีเงินล้นฟ้าปานใด ก็ยังไม่มีใครซื้อ "ความดี" จากไหนๆ จากใครๆ ได้ ในเมื่อความ ดีนั้นเป็น "คุณสมบัติ" เป็น "นามธรรม"ที่คนคนนั้นๆ เท่านั้น จะต้องสร้าง ทำ ก่อ ฝึกหัดอบรมตนขึ้นมา ด้วยตนเอง

ความดีไม่ได้สืบต่อแม้โดยเนื้อหนัง ยีน เลือด สายพันธุ์ทางร่างกาย วัตถุ แต่เป็นจิตวิญญาณ ที่คนผู้ยังมี ร่างกาย มีความเป็นคนที่สอนได้ อบรมตนได้ ฝึกหัดขัดเกลาตนเอง ได้เท่านั้น จะมีโอกาส เป็นเจ้าของ

ฉะนั้นแม้คน"รวยเงิน" เมื่อขาดคุณงามความดี ก็ยังต้องผจญกับความ "จนใจ" ต้องไป ปรึกษา หารือ "คนจนที่ดี" ผู้ที่เขาปฏิบัติธรรม เข้าถึงธรรม ไม่มีตัณหาอยากรวย ไม่มีตัณหา รังเกียจ ความจน (เงิน, ทอง, ข้าวของ, เกียรติยศ) เพื่อถาม เรียนวิธีมาแก้ความจนใจ จนทาง เหล่านั้น ไม่ต้องไป ฆ่าตัวตาย หรือถูกฆ่า ตายเพราะเงิน เป็นเหตุ

คนจนที่ไม่มีเงินไม่มีทอง ไม่มียศตำแหน่ง ฝึกเป็นคน "รวยดี" ได้ เพราะถ้าใคร ที่เข้ามาอยู่ ในฐานะนี้ แล้ว ทำตัวเป็น "คนจนดี" ความหวังที่จะมีชีวิตอยู่อย่างสงบสุข มีประโยชน์ ต่อสังคม เป็นที่พึ่งของคน ด้วยกันคงยาก ตราบใดที่โลก ยังลุกเป็นไฟ อยู่เนืองนิตย์ ตราบใด ที่โลกยังพร่อง อยู่เสมอ ตราบใด ที่โลกยังวุ่นวาย อยู่ปกติ ตราบใด ที่โลกยังร้ายแล้ง อยู่เป็นประจำ อันเนื่องมาแต่คนมีอุปาทาน ยึดถือ ความรวย เป็นใหญ่ คำเปล่ง ประณามว่า "พุทธัง สรณัง คัจฉามิ ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ สังฆัง สรณัง คัจฉามิ" ก็คงต้องแปร่งไป เป็น "สตังค์ สรณัง คัจฉามิ" เมื่อนั้นแหละ คือสัญญาณ ของความวิบัติ ได้แสดงขึ้นแล้ว

เราจึงขานรับนโยบาย"รวยดี" มากกว่า "จนดี" ที่ชาวพุทธไม่น่าจะ "จนปัญญา" ในการหา หนทางสนับ สนุน ช่วยเผยแพร่ความคิดดีๆ อย่างนี้ออกไป รวมถึงการอุทิศตนเอง มาเป็น ตัวอย่าง ที่ได้ฝึก เป็นคน "รวยดี" มาแล้ว อย่าล่าช้า รอเวลาให้หายนภัย วิบัติภัย ที่ตกอยู่ ภายใต้ สามัญลักษณะ อันมี ความแปรปรวน เป็นอื่น เป็นธรรมดา มาถึงก่อนที่เราจะ "จนตัว" ยิ่งกว่านี้ นั่นคือ วาระที่ตาย เพราะกายแตก หมดสิ้นลมหายใจ ที่เราเอง ก็ไม่รู้ว่าวันไหน

ธรรมะที่พระพุทธองค์ตรัสว่าเลิศสุด คือ
"ความไม่ประมาท" นะจะบอกให

(เราคิดอะไร ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๑๕๒ เดือน มีนาคม ๒๕๔๖)