หน้าแรก >[09] การสื่อสาร > การเผยแพร่ธรรมะ >เราคิดอะไร

ชีวิตนี้มีปัญหา ๒ ฉบับที่ ๑๕๓ สมณะโพธิรักษ์


หนักเข้าถึงวันนี้ก็มีสิ่งไร้สาระเป็นกิจกรรมกิจการก็เกิด ขึ้นล้นเหลือสารพัด ที่คนยึดเป็นงานเป็นอาชีพ ซึ่งคน คิดค้นปรุงแต่งสร้างกันขึ้นมา มอมเมากันและกัน ใน โลกเต็มสังคม ทำให้คนเลวร้ายเสียหายผลา พล่า ทำลายคนกันเอง ทำลายสังคม สูญเสียเวลา สูญเสียแรงงาน สูญเสียทุนรอน เสื่อมเสียความเป็นคน!
[มีต่อฉบับหน้า]
(เราคิดอะไรฉบับที่ ๑๕๒ มีนาคม ๒๕๔๖)


(ต่อจากฉบับที่ ๑๕๒)
ดังนั้น คนจึงต้องมาเรียนรู้"อาชีพ"(อาชีวะ) มาเรียนรู้"กิจกรรมการงาน"(กัมมันตะ) ที่เราหลงติดหลงยึด ซึ่งควรเลิกควรทิ้ง มาเป็นลำดับๆ แล้วเราก็จะได้ "เวลา" ได้ "แรงงานทางกายทางสมอง" ได้ "ทุนรอน" ที่เคยไปเสียให้กับ "อาชีพ-กิจกรรมการงาน" ที่ไร้สาระ หรือที่ไม่เป็นสารสัจจะ อันดีอันควร คืนมา เอามาโถม ให้กับ "อาชีพกิจกรรมการงาน" ที่มีสารสัจจะ เราก็จะมี"สัมมากัมมันตะ-สัมมาอาชีวะ"สูงส่งขึ้นไปจริง

พระพุทธเจ้าตรัสเรื่อง "มิจฉาอาชีวะ" ไว้ในพระไตรปิฎก เล่ม ๑๔ ข้อ ๒๗๕ ว่า "ก็มิจฉาอาชีวะเป็นไฉน
คือ การโกง (กุหนา) การล่อลวง (ลปนา) การตลบตะแล (เนมิตตกตา) การยอมมอบตนในทางผิด (นิปเปสิกตา) การเอาลาภต่อลาภ (ลาเภน ลาภัง นิชิคิงสนตา) นี้มิจฉาอาชีวะ" มิจฉาอาชีพ ๕ ระดับ ตามที่ พระพุทธองค์ตรัสนั้น รายละเอียดเป็นอย่างไร และ "สัมมาอาชีพ" เป็นอย่างไร ก็ได้อธิบาย ผ่านมาแล้ว ทั้งนั้น

เพราะฉะนั้น การดำริ นึกคิด (สังกัปปะ) ก็ดี การพูดการจา (วาจา ) ก็ดี การกระทำกิริยาอาการทั้งสิ้น
(กัมมันตะ) ก็ดี อาชีพการงาน (อาชีวะ) ก็ดี หากประพฤติปฏิบัติให้เป็น"สัมมา" (ถูกถ้วนตามพุทธพจน์) ได้สำเร็จถ้วนทั่ว ก็แน่นอนว่า ย่อมก่อให้เกิด "กิจกรรมกิจการ" ที่เป็นคุณค่าประโยชน์ต่อตน ต่อสังคม ต่อโลกบริบูรณ์

สมดัง ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ชัดว่า การปฏิบัติพุทธธรรม ของพระองค์ ย่อมมีจุดมุ่ง.."เพื่อประโยชน์ เกื้อกูลแก่ มวลมนุษยชาติทั้งหลาย" (พหุชนหิตายะ) "เพื่อความสุขแก่มวลมนุษยชาติทั้งหลาย" (พหุชนสุขายะ) "เพื่อเอื้อเอ็นดูอนุเคราะห์โลก" (โลกานุกัมปายะ) โดยแท้

ถ้าแม้นชาวชน คนที่นับถือศาสนาพุทธ ทั้งหลายสามารถประพฤติปฏิบัติธรรมจนมี "สัมมาอาริยผล"
กันพร้อมพรั่ง ในสังคม พ้นมิจฉาสังกัปปะ-มิจฉาวาจา-มิจฉากัมมันตะ-มิจฉาอาชีวะ ตามพระพุทธพจน์ได้ เป็นส่วนมาก ในสังคม อย่างแท้จริงแล้ว "อาการที่น่าเลื่อมใส" ของคนผู้มี "สัมมาอาริยผล" ย่อมจะปรากฏ เป็นที่ประจักษ์ สุดจะน่าชื่นชม กับสุขสันติภาพแน่แท้

[มีต่อฉบับหน้า]

(เราคิดอะไร ฉบับที่ ๑๕๔ พฤษภาคม ๒๕๔๖)