กติกาเมือง - ประคอง เตกฉัตร -
ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดยะลา

การเมืองไทย

ผู้เขียนกราบขออภัยอย่างยิ่ง เพราะในช่วงระยะเวลา ๒ เดือนที่ผ่านมาไม่สามารถ ส่งต้นฉบับ ได้ทัน เพราะต้องเข้าอบรมในหลักสูตร ผู้พิพากษาผู้บริหารศาลชั้นต้น และต้องเดินทาง ไปดูงาน ในต่างประเทศ ขณะที่เดินทางไปต่างประเทศนั้น ก็เป็นช่วงระยะ เวลาเดียวกับ ที่ประเทศไทย จัดให้มีการเลือกตั้ง สมาชิกองค์การบริหาร ส่วนจังหวัด และนายกองค์การ บริหารส่วนจังหวัดขึ้น เรียกได้ว่า เกือบทั่วประเทศ มีเพียง ๑ จังหวัด คือจังหวัดบุรีรัมย์ และกรุงเทพมหานคร ซึ่งไม่มีองค์การบริหาร ส่วนจังหวัดเท่านั้น ทำให้มีการหาเสียงเลือกตั้ง และมีการสมัครรับเลือกตั้ง เกิดขึ้นทั่วประเทศ ซึ่งการเลือกตั้ง ดังกล่าวนั้น กฎหมายไม่ได้ให้ สังกัดพรรคการเมือง แต่ปรากฏว่า นักการเมืองระดับชาติ จำนวนมาก ได้เข้าไปสนับสนุน ผู้สมัครรับเลือกตั้ง บางคนสามารถลงสมัคร ในนามพรรคการเมือง ไม่ว่าโดยนิตินัย หรือพฤตินัย บางครั้งพรรคการเมืองพรรคเดียวกันนั้น ก็ส่งผู้สมัคร หลายคน ในเขตเลือกตั้งเดียวกัน แม้ว่าโดยนิตินัยจะไม่ต้องสังกัดพรรคการเมือง แต่โดยพฤตินัย เป็นที่ทราบทั่วกันว่า ผู้สมัคร คนดังกล่าวนั้น เป็นสมาชิกของ พรรคการเมืองใด และเคยสนับสนุน พรรคการเมืองใด และ ผู้ที่ได้มาสนับสนุน การเลือกตั้งครั้งนี้นั้น คือบุคคลของพรรคการเมืองใด

เหตุที่เป็นเช่นนี้จะโทษพรรคการเมืองหรือนักการเมืองระดับชาติคงไม่ได้ เพราะโครงสร้าง การเมือง ไทยนั้นมีระบบเช่นนี้ ผู้ที่เป็นนักการเมืองระดับชาติ ก็ต้องการการได้รับ การสนับสนุน จากนักการเมืองส่วนท้องถิ่น ไม่ว่าในระดับจังหวัด หรือระดับเทศบาล หรือระดับ องค์การบริหาร ส่วนตำบล เพราะถ้าไม่ลงมาสนับสนุน หรือจัดทีมงานของตนเองไว้ โอกาสที่จะแพ้การเลือกตั้ง ในระดับชาติ ย่อมเป็นไปได้สูง

รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันนี้มุ่งส่งเสริมพรรคการเมืองให้มีขนาดใหญ่ขึ้นและไม่ให้ความสำคัญ ต่อพรรคการเมืองเล็กๆ อีกทั้งโครงสร้างที่เป็นเหตุจูงใจส่งเสริมให้พรรคการเมืองเล็กๆ เติบโต จากภายนอก ก็ไม่ปรากฏในรัฐธรรมนูญ ผลที่เกิดขึ้นก็คือพรรคการเมืองในประเทศนี้ จะเหลือ อยู่เพียง ๒ ถึง ๓ พรรคเท่านั้นในอนาคต อำนาจการกระจุกตัว ของนักการเมือง ที่ไปรวมกัน ย่อมมีมากขึ้น การเกิดความขัดแย้งกันในแต่ละพรรคการเมืองย่อมมีมากขึ้น แต่อยู่ในกรอบ ที่ไม่สามารถ ที่จะขยายความ ออกจากกรอบนั้นได้ เพราะมิฉะนั้น ถ้าถูกไล่ออก จะไม่มีพรรค การเมืองสังกัด พรรคการเมืองขนาดใหญ่มีอำนาจผูกขาดมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง ในทางการเมืองก็ก่อให้เกิดผลกระทบตามลำดับหลายประการ

ประชาชนมีเสรีภาพในการเลือกน้อยลง พรรคการเมืองที่มีให้เลือกก็มีน้อยลง ทำให้นโยบาย ต่างๆ ที่เสนอมีเพียง ๒ หรือ ๓ ทางเลือกตามแนวของพรรคการเมืองที่เหลือเท่านั้น นักการเมือง ก็จะมีให้เลือกน้อยลง เพราะถ้าไม่สังกัดพรรคการเมืองที่คงอยู่ ๒ ถึง ๓ ทาง ก็ไม่สามารถ ที่สมัคร รับเลือกตั้ง เป็นนักการเมือง ระดับชาติได้ การบังคับให้ถูกสมัคร รับเลือกตั้ง เป็นสมาชิก สภาผู้แทนราษฎรสังกัดพรรคการเมืองนั้น บางคน ยังคิดว่า เป็นการลิดรอน สิทธิเสรีภาพ ในการเลือกใช้สิทธิเลือกตั้ง เนื่องจากรัฐธรรมนูญ กำหนดให้ใช้ สิทธิเลือกตั้ง เป็นหน้าที่ แต่อย่างไรก็ตาม ต้องคำนึงถึง ประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา เมื่อครั้งเรามี รัฐธรรมนูญ ที่ไม่ได้กำหนดให้ ผู้สมัครรับเลือก เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สังกัดพรรคการเมือง ทำให้ ผู้สมัครอิสระหลายคนหรือแม้ผู้ที่สังกัดพรรคขาดคนบางกลุ่ม ที่ได้รับการเลือกตั้ง เข้าไปนั้น ไม่มีนโยบายที่ชัดเจน เปลี่ยนแปลงไปตามสภาวะการณ์ และโดยสภาวะ ที่เรียกว่า ซื้อตัวขึ้น และมีการย้ายพรรคเป็นว่าเล่น บางครั้ง ไปสนับสนุน กลุ่มหนึ่ง แต่เมื่อมีผลประโยชน์ เข้ามา เกี่ยวข้อง ก็เปลี่ยนไปสนับสนุน อีกกลุ่มหนึ่ง ทำให้ระบบการเมือง ในประเทศไทยนั้น ไม่มั่นคง ถาวรรัฐธรรมนูญฉบับนี้ จึงต้องการแก้ไข ในจุดดังกล่าวนี้ แต่ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น ก็เกิดความ เสียหาย ดังที่วิเคราะห์มาแล้วข้างต้น ส่วนประชาชนชาวไทย ในอนาคตจะเลือก เอาระบบใด นั้น ก็สุดแล้วแต่ลองเปรียบเทียบกันดู

คนยากจนที่จะเขยิบฐานะขึ้นสู่ชนชั้นนำทางอำนาจต้องเผชิญกับขบวนการคัดเลือกบุคคล ของพรรคการเมือง ด้วยเหตุดังกล่าวนี้ สมาชิกรัฐสภา ซึ่งมีภูมิหลังมาจาก ครอบครัวที่ยากจน หรือบุคคลชั้นต่ำ หรือผู้ด้อยโอกาส ย่อมมีน้อยลงเรื่อยๆ และโอกาสที่นักการเมืองระดับเล็กๆ จะไต่เต้าขึ้นเป็น นักการเมือง ระดับชาติ ย่อมมีน้อยลงตามลำดับ เว้นแต่มีฐานะ ทางการเงิน มากพอ

พรรคการเมืองซึ่งมีอำนาจมากขึ้นพฤติกรรมที่เรียกว่าการผูกขาดหรือไม่ว่าในตัวนักการเมือง ที่นำเสนอต่อประชาชน หรือนโยบายเพื่อเสนอแก่ประชาชน การคัดเลือกบุคคล เพื่อสมัคร รับเลือกตั้ง การกำหนดตัวบุคคล เพื่อดำรงตำแหน่ง ทางการเมือง และการบริหาร ราชการแผ่นดิน มิใช่โอกาส ของประชาชน ผู้เลือกอีกต่อไป แต่เป็นโอกาส ของพรรคการเมือง ผู้มีอำนาจผูกขาด ในแต่ละพรรคการเมือง หรือผู้มีอำนาจ ในแต่ละพรรคการเมืองมีน้อยลง ผู้มีอำนาจ ในแต่ละพรรคการเมือง ก็มีอำนาจผูกขาด ในทางจัดสรรบุคคล ที่จะเสนอ ประชาชน คัดเลือก ท้ายที่สุด อำนาจผูกขาด ของพรรคการเมืองขนาดใหญ่ ก็ย่อมมีผล กระทบ ต่อข้าราชการ ทั่วไปด้วย หากพรรคการเมือง ขนาดใหญ่ สามารถคุมอำนาจ การบริหารราชการ แผ่นดิน ย่อมสามารถคุมอำนาจในแต่งตั้ง เลื่อนตำแหน่ง ในระบบราชการ หากอำนาจ ในการบริหาร ราชการแผ่นดินเป็นอำนาจ อำนาจในการแต่งตั้ง หรือ เลื่อนตำแหน่ง ในระบบ ข้าราชการย่อมต้องผูกขาดตามไปด้วย

ฉะนั้นการที่เราเห็นสมาชิกสภาจังหวัดหรือนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดที่มีการเลือกตั้ง อยู่ในขณะนี้ ไม่สังกัดพรรคการเมือง หรือสังกัดพรรคการเมืองบ้าง หรือได้รับการสนับสนุน จากพรรคการเมืองบ้าง ดูจะเป็นการวุ่นวายนั้น ขอให้ทุกคนทำใจ และพยายามเปรียบเทียบ ระบบการเมืองท้องถิ่น จากระบอบ การเมืองระดับชาติ ว่าระบบไหน น่าจะเกื้อกูล ต่อประชาชน ส่วนใหญ่ ของประเทศมากกว่า และระบบไหน จะเป็นประโยชน์ ต่อประชาชน มากกว่า ซึ่งถ้าสิ่งไหน ที่เป็นประโยชน์มากกว่า เราควรจะแก้ไข อีกขบวนการหนึ่ง ให้เป็นไปในทาง ที่เป็นประโยชน์ ต่อประเทศชาติส่วนรวม แต่อย่าลืมว่า การบริหาร ในระดับจังหวัดขณะนี้ เป็นการเลือกตั้งโดยตรงแล้ว ฉะนั้นการเปลี่ยนพวก เปลี่ยนกลุ่ม ย่อมไม่สามารถ สั่นคลอน ฝ่ายบริหารได้อีกต่อไป การอุ้มการกักตัว การหักหลัง ไม่ผ่านงบประมาณ ย่อมไม่อาจเกิดขึ้นได้ การแก้ไขรัฐธรรมนูญก็ดี การแก้ไขกฎหมายก็ดี แม้จะดูว่า บางอย่าง ยุ่งยากหรือเกินอำนาจ ของประชาชนทั่วไป แต่ถ้าประชาชนทั้งหมด มีความเห็นตรงกันสังคม ประเทศชาติทั้งหมด ก็อย่าให้เป็นไป ย่อมไม่เหนือบ่ากว่าแรง ที่เราจะดำเนินการแก้ไข ให้เป็นไปเพื่อประโยชน์สุข ของประชาชนร่วมกันได้

- เราคิดอะไร ฉบับที่ ๑๖๖ พฤษภาคม ๒๕๔๗ -