ชีวิตนี้มีปัญหา ๒ -สมณะโพธิรักษ์-

ต่อจากฉบับที่ ๑๖๙


เช่น สอนหรือทำตามๆกันมาว่า สีลสัมปทา ถึงพร้อมด้วยศีล คือ ถ้าเป็นคฤหัสถ์ก็รักษากายวาจา ให้เรียบร้อย ประพฤติอยู่ในคลองธรรม ถ้าเป็นภิกษุก็สำรวมในพระปาฏิโมกข์ มีมารยาทดีงาม เป็นต้น

สอนกันเช่นนี้มานานแล้ว โดยจำกัดความไว้ว่า การปฏิบัติ"ศีล" คือ การรักษา "กาย-วาจา" เท่านั้น ส่วนการรักษา "จิต" ให้ได้ "สมาธิ" ก็สอนว่า ให้แยกไปนั่งหลับตาทำเอาอีกต่างหาก โดยแยกกันไปคนละส่วน เป็นคนละเรื่องจากการปฏิบัติ"ศีล"

ไม่ได้สอนว่า ในขณะรักษา "กายวาจา" นั้นก็ต้องรักษา"จิต" ให้ปฏิบัติไปพร้อมๆกันด้วย ให้ต่อเนื่องกันไป นั่นคือ ต้องฝึก "จิต" ตนเองพยายามวิจัยตรวจอ่านหรือพิจารณา "กายในกาย-เวทนาในเวทนา-จิตในจิต-ธรรมในธรรม" ซึ่งก็คือ ปฏิบัติ "สติปัฏฐาน ๔" ไปด้วยพร้อมๆกับการรักษา"กาย" รักษา"วาจา" ซึ่งก็คือปฏิบัติ "ศีล" ด้วยนั่นเอง และในขณะที่มีกายกรรมมีวจีกรรมก็อ่านมโนกรรมขณะนั้นให้ทันด้วย และฝึกฝน จนสามารถ ปฏิบัติเกิด "ปริญญา ๓" (ญาต-ตีรณ-ปหาน) หรือปฏิบัติ "สัมมัปปธาน ๔" ก็เป็นเรื่องเดียวกัน

นี้คือประเด็นหลักของศาสนาพุทธ เพราะการอ่าน"ในจิต"หรือ"ทำงานในจิต,ทำใจในใจ" (มนสิการ) อย่าง "ถ่องแท้ หรือลงไปถึงที่เกิด" (โยนิโส) นี่แหละสำคัญยิ่งนัก ต้องพิจารณาจนสามารถไตร่ตรอง อ่านกิเลส ในจิตได้ ขณะที่เรามี"สติ"รู้ตัวทั่วพร้อมทั้งทวารนอกทวารใน และกิเลสหรือตัณหาก็กำลังเกิดอยู่ พร้อมกับ มีเหตุการณ์นั้นๆ อยู่จริง แล้วเราก็สามารถกำจัดละกิเลส ในจิต (ปหาน) ลงไปได้ นี่แหละคือ เรามี "สัมมัปปธาน ๔" ได้แก่ การสำรวมระวัง (สังวร) -การละการกำจัด (ปหาน) -การทำให้เกิดผล (ภาวนา) -การรักษาผล (อนุรักขนา)

-------- ต่อไป171

เมื่อสอนกันมาและได้เรียนแค่ว่า "ศีลสัมปทา" คือ รักษากายกับวาจาเท่านั้น ผู้ปฏิบัติก็ ระมัด ระวัง สำรวม แค่นั้น คือ พยายามห้ามกายวาจาแค่นั้น ที่ไม่ให้ผิดศีล ก็ได้แค่กายแค่วาจาดีขึ้น ซึ่งเป็นภายนอก ส่วนความจริงของ "กาย-เวทนา-จิต-ธรรม" อันมีพร้อมอยู่ในขณะนั้น และมันต่างก็ สังขารกันอยู่ เกิดอารมณ์ หรือเกิดเวทนา อย่างนั้นอย่างนี้อยู่ ซึ่งเป็นอกุศลธรรม หรือกุศลธรรมขั้นนั้นขั้นนี้ มีกิเลส ตัวนั้น กิเลสตัวนี้ อยู่ในจิต ปรุงกันอยู่เป็นเวทนา (อารมณ์) ก็ไม่ได้ศึกษา

(มีต่อฉบับ๑๗๒ )

ตรงนี้แหละที่เป็นบทสำคัญยิ่งของผู้ปฏิบัติที่ต้องศึกษา กล่าวคือ เมื่อมีกรอบของ "ศีล" ที่เรา กำหนด

เราคิดอะไร ฉบับที่ ๑๗๐-๑๗๑ กันยา ตุลา ๒๕๔๗