ฉบับที่ 181 ปักษ์หลัง 16-30 มีนาคม 2545

[01] บทนำข่าวอโศก: คัดเลือกผู้ใหญ่
[02] ธรรมะพ่อท่าน: "ท่องไปกับพ่อฯ ตอน ๒"
[03] บันทึกปัจฉาสมณะ:
[04] จับกระแส ตอ.
[05] กสิกรรมธรรมชาติ
[06] สกู๊ปพิเศษ:เ
[07] สัมภาษณ์พิเศษ:จ
[08] ศูนย์สุขภาพ:ศ
[09] ข่าวพรรคเพื่อฟ้าดิน:ช
[10] หน้าปัดชาวหินฟ้า:ห
[11] ข่าว:เ
[12] นานาสาระ:เ
[13] บทกวีวิถีธรรม:เ
[14] ข่าวสั้นทันอโศก:เ
[15] :เ



คัดเลือกผู้ใหญ่

ช่วงนี้ชุมชนบุญนิยมหลายแห่งได้จัดงานอบรมยุวพุทธทายาท และเปิดรับนักเรียนสัมมาสิกขา เพื่อพัฒนาเยาวชน ให้เป็นคนสร้างชาติ มิใช่ทำลายอย่างวัยรุ่น ในทุกวันนี้ ที่ส่วนใหญ่ ตกเป็นทาสบริโภคนิยม ที่มาจากต่างประเทศ ในแถบตะวันตก

โดยเฉพาะผู้ใหญ่ส่วนใหญ่ก็ยังหลงค่าบริโภคนิยม คือ มุ่งแสวงหาเงินทอง ความสะดวกสบาย จนกลายเป็น พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ หรือพระเจ้าของชีวิต ไปด้วยความเข้าใจผิด จึงกลายเป็นตัวอย่างเลวๆ ให้กับเยาวชน ไปโดยปริยาย แม้ผู้ใหญ่ที่ทำตัวไม่ดีนั้นๆ จะมีความรู้สูงส่ง มากมายปานใด แต่ความประพฤติ บอกได้เลยว่า ยังแย่! น้อมนำมาเป็น แบบอย่างไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม

ดังนั้นผู้ใหญ่หรือพี่เลี้ยงที่จะมาอยู่ดูแลความประพฤติของเด็ก จึงควรมีการคัดเลือก ให้เหมาะสม โดยเฉพาะ คุณสมบัติ ๓ ประการคือ ๑.มีศีลเด่น ๒.พร้อมที่จะให้เวลา ๓.พร้อมที่จะให้ความเข้าใจเด็กๆและผู้อื่น.

[จบข่าว...กลับไปหัวข้อข่าว]


ผ่านสายตาไปแล้วสำหรับ `ท่องไปกับพ่อฯ ตอนที่ ๑ ก็หวังว่าท่านญาติธรรมคงได้ประโยชน์ จากการนำเสนอ เหตุการณ์ ที่ผู้เขียน (ปัจฉาฯเฉพาะกิจ) บันทึกคราวติดตามพ่อท่านและคณะไปกิจธุระ ฉบับนี้เข้าสู่ตอนที่ ๒ แล้ว ทีมข่าวพิเศษก็ขอเชิญท่านทั้งหลายค้นหาธรรมะจากพ่อท่านได้ตามสมควรแก่ธรรม ดังนี้

ท่องไปกับพ่อฯ ตอน ๒

วันพฤหัสบดีที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๕

ทำวัตรเช้า พ่อท่านแสดงธรรมแก่ผู้เข้าอบรม ธ.ก.ส. สรุปว่า คนเราเกิดมาเพราะความไม่รู้ จึงหลงล่าลาภ-ยศ-สรรเสริญ-โลกียสุข ทรัพย์แท้คือ กรรม การเอากำไรเป็นบาป เพราะไปเอาเปรียบเขามา เป็นทุนนิยม ซึ่งจะไปไม่รอด เรามาทำ ระบบบุญนิยม สังคมจะเกิดเศรษฐกิจที่ดี ความเป็นอยู่จะดีขึ้น เพราะมีการแบ่งแจกแบ่งปันกัน

๐๖.๑๗ น.เดินทางออกจากสีมาอโศก แวะเยี่ยม ชมร.โคราช ก่อนออกเดินทางต่อ มีผู้ถามว่า ขาดอะไรมั๊ย (เช่น น้ำดื่ม) พ่อท่าน ก็ตอบกลับไปว่า "ขาดคนมาปฏิบัติธรรม" สิ้นเสียงก็มีผู้ขอต่อว่า "พ่อท่านช่วยหามาให้ด้วยค่ะ"

เวลา ๐๖.๔๕ น.ล้อหมุนถึงร้อยเอ็ดอโศกเวลา ๑๐.๐๕ น. พ่อท่านแสดงธรรม แก่ญาติธรรมและชาวบ้าน ที่มาต้อนรับ สรุปว่า ศาสนาพุทธสอนให้คนมาลดละ มักน้อย เป็นคนจนที่อุดมสมบูรณ์ มีการแบ่งแจก เอื้อเฟื้อเกื้อกูล ไม่แย่งชิง

ขากลับออกมา ร่วมถ่ายรูปกันที่สี่แยกในหมู่บ้าน ที่มีป้ายต่อต้านชาวอโศกทั้งป้ายเล็ก ป้ายใหญ่นับสิบป้าย (เดิมมี ๒ ป้าย)

๑๔.๐๐ น.เดินทางต่อถึงสวนส่างฝัน จ.อำนาจเจริญ เวลา ๑๖.๐๐ น. มีผู้เข้าอบรมลูกหนี้ ธ.ก.ส. รุ่น ๖ เป็นวันแรก พ่อท่านให้โอกาสลูกๆเข้าคารวะ พูดคุยพอประมาณ จึงเดินดูสถานที่ที่มีการเพาะปลูกพืชผักผลไม้ อากาศสดชื่นดี มีลมชายทุ่งพัดเอื่อยๆ อบอุ่น มีคลองชลประทานผ่าน ผู้ดูแลบอกว่า ถ้ามาหลังออกพรรษา บริเวณรอบๆ จะสวยงาม

พ่อท่านและทีมปัจฉาฯสรงน้าในสระ ทำให้ได้ยืดเส้นยืดสายผ่อนคลายความเมื่อยขบที่ต้องนั่งรถนานๆ

เวลาประมาณ ๑ ทุ่ม พ่อท่านเอื้อไออุ่นลูกๆ มีตัวแทนกลุ่มแก่นอโศก ถวายชื่อที่พากันขอเปลี่ยนชื่อใหม่ โดยมีคำนำหน้าชื่อว่า "แก่น" รวม ๒๖ คน ให้พ่อท่านตรวจดู ผลมีซ้ำกัน ๘ คน นอกนั้นผ่าน

ต่อจากนั้น ญาติธรรมกลุ่มบุญค้ำบุญคูณและเด็กๆ หลายคนเข้ามาขอชื่อใหม่จากพ่อท่าน โดยบอกชื่อเดิม จริตนิสัยและชื่อใหม่นั้น ชอบแนวไหน เช่น แนวธรรมชาติบวกธรรมะ เช่น ป่าบุญ บางคู่สามี-ภรรยาก็ตั้งคู่กัน เช่น สร้างทำ-สร้างทาน

มีเด็กชายคนหนึ่ง อายุ ๔ ขวบ ขึ้นชื่อเรื่องความดื้อความซน พ่อท่านก็เลยให้ชื่อใหม่ว่า "ฝากพระ" ได้ยินบางท่านพูดว่า คงจะหายดื้อ คราวนี้แหละ!

ก่อนจบรายการพ่อท่านสรุปว่า ตัวท่านเองเข้าใจศาสนาพุทธแท้ๆ จึงเอามาบอกกัน มาสร้างสาธารณโภคี รุ่นเราทำไว้ รุ่นหลังตามมาอีก ๒-๓ รุ่น คนเขาจะเข้าใจ ทำไปเราจะมีจารีตประเพณี เป็นกลุ่มแก่น สร้างขึ้นมา เป็นหลักฐาน ลึกกว้างไปเรื่อยๆ หลายคนอบรม เขาก็คิดเข้าหาตัวเอง อบรมเขาถ้าเราไม่ดี มันไม่ได้ ไม่งั้นมันเสียทั้งตัวเองเสียทั้งผล เขาจะเห็นว่ามาหลอกเขา ตัวเองทำไม่ได้ไปสอนเขา ก็จะขมีขมันตัวเอง จบรายการเวลา ๒๑.๑๖ น.

จากการได้เดินทางติดตามพ่อท่านทำให้ได้เห็นว่า แม้การเดินทางจะเหนื่อยอยู่แล้ว แต่พ่อท่านยังเอื้อลูกๆ ไม่แสดงให้เห็นเลยว่า เหนื่อย เพลีย ในสถานการณ์ใดๆท่านก็ยังสดชื่น เบิกบานอยู่เสมอ.

ปัจฉาฯเฉพาะกิจ

ท่องไปกับพ่อฯ ตอน 3

วันศุกร์ที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๕

ไม่ได้ลุกทำวัตรเช้ากับผู้เข้าอบรม จะได้ให้พ่อท่านพักเต็มที่

บิณฑบาต ผู้คนใส่บาตรมาก วันนี้มีสมณะ ๗ รูป ปกติมีแค่ ๒ รูป ชาวอีสานกระตือรือร้นขวนขวายใส่บาตรดี เดินนานร่วม ๒ ช.ม. อากาศเย็นๆ เพราะลมพัดแรง

ก่อนฉันพ่อท่านแสดงธรรมเรื่อง ความฮัก ๑๐ มิติ ภาคภาษาอีสาน อ่านหนังสือมาแล้ว ทั้งเล่มเก่าและที่เขียนใหม่ มาฟังอีก ก็ยิ่งเป็นการซ้ำ ให้ชัดยิ่งขึ้น

สรุปคือ ความรักต้องไม่เห็นแก่ตัว รักแล้วเป็นประโยชน์คุณค่าแก่คนที่เรารัก

ทรัพย์แท้ๆ คือ กรรม
คนมารวย ไม่เก่งเท่าคนมาจน
พระพุทธเจ้าเป็นคนจน
คนเราดีที่สุด สุดยอดของคนคือ ไม่เอาอะไร
ทุกวินาทีเป็นกรรม กรรมเป็นสมบัติ
ทรัพย์แท้อยู่ที่สมรรถนะและขยัน

ราวๆ บ่ายโมงออกจากสวนส่างฝันถึงศีรษะอโศก เวลา ๑๕.๑๕ น. เด็กๆเห็นพ่อท่านต่างดีใจกันใหญ่ ใครๆเห็นพ่อท่าน ก็จะชวนคุนใกล้ๆมากราบ

ค่ำนี้ผู้เข้าอบรมฯธ.ก.ส.รุ่นที่ ๑๑ ของศีรษะอโศกแสดงละครของแต่ละกลุ่ม พ่อท่านได้ไปเยี่ยมให้กำลังใจ กระทั่งเวลา ๒๐.๑๒ น.พ่อท่านก็เปิดโอกาสให้ทีมนกกระจอกเทศ ซึ่งเป็นคณะทำงานอบรมฯเข้าพบ ขอกำลังใจจากพ่อท่าน

พ่อท่านบอกว่า งานอบรมทำให้พวกเรารวมตัวกัน และพูดถึงการอบรมที่สวนส่างฝันว่า มีศิลปะประกอบดี ส่วนที่สีมาอโศกยังแข็งๆอยู่พูดถึงความขัดแย้งว่าตัวการก็คือ อรูปอัตตา โดยเฉพาะการเอาแต่ใจตัว

ตามพ่อท่านครั้งนี้จะได้ยิน ๒ คำนี้บ่อย ไปที่ไหนก็พูดก็เน้น อีกข้อความหนึ่งก็คือ "เหตุผลคือความบ้า อัตตาคือความจริง"

ฟังแล้วได้ทบทวนตรวจสอบตัวเองไปด้วย ตรวจสอบความบ้าและความจริงของตัวเอง จบด้วยฝากท้ายจากพ่อท่านว่า "เอาให้ดี เอาให้ได้ ได้ให้ดี"

ภันเตผืนฟ้า อนุตตโร บอกว่า ให้นำไปเป็นโศลกงานปลุกเสกฯปีนี้ แต่พ่อท่านไม่ทันได้ยิน

ก่อนกลับที่พัก หลังจากพ่อท่านเตรียมจำวัด โดยกราบสามครั้งแล้ว จะกราบลาพ่อท่าน ขอบพระคุณที่ท่านเปิดโอกาสให้ได้ปรนนิบัติรับใช้และกราบขอขมาในสิ่งที่ผิดพลาดบกพร่อง.

วันเสาร์ที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๕

เช้ากราบพ่อท่าน เป็นการขอโอกาสรับใช้และแสดงสัมมาคารวะต่ออาจารย์

พ่อท่านนำบิณฑบาตในชุมชน คุณขวัญดิน สิงห์คำ นำดูจุดสำคัญๆ เช่น โรงเก็บกระเทียม โรงปุ๋ย โรงทำอ้อยทราย และโฆษณาประชาสัมพันธ์เก่งเหมือนเดิม

ประทับใจเด็กนกกระจาบ ตอนเช้าๆ พากันมากวาดถนนโดยไม่ต้องมีผู้ใหญ่มาควบคุม ไปแต่ละที่ จะมีนักเรียนทำงานกัน อย่างตั้งอกตั้งใจ ไม่มีการเล่นระหว่างทำงาน สมกับเป็นหมู่บ้านเด็กจริงๆ ไปทางไหนก็มีเด็กอยู่เป็นหลัก

ที่นี่สอนกันได้อย่างไร ทำไมถึงเข้าถึงจิตวิญญาณเด็กได้ขนาดนี้ เทียบกับปฐมโศกยังห่างกัน ๑ ขั้น เด็กปฐมฯถ้าเล่นน้อยลงจะดี ถ้าเพิ่มการเอาใจใส่ให้วิญญาณได้จะดี

ความเข้าใจส่วนตัวคิดว่า สมณะ คุรุ พื้นฐานของคนชุมชนนี้แหละรวมกันเป็นเบ้าหลอม ผู้ให้มีค่ารวมเช่นใด เด็กก็มีคุณธรรม คุณภาพ ตามค่าเฉลี่ยนั้นๆ เปรียบเทียบสามฐานะของผู้ใหญ่ทั้งสองที่แล้ว ต่างกันจริงๆ

ก่อนฉันพ่อท่านแสดงธรรมและตอบปัญหาผู้เข้าอบรมฯธ.ก.ส. โดยสรุปคือ ให้เรามาเป็นคนจน จนอย่างสมบูรณ์ จนอย่างประเสริฐ เอื้อเฟื้อ เสียสละ เป็นคนจนที่มีประโยชน์ต่อโลก เป็นคนสร้างสรรแจกจ่ายเจือจาน บุญนิยมจะไม่รวย ใครสะสมให้ตัวเองรวย เป็นคนเลว

ทุนนิยม คือ กอบโกยให้ตัวเองมากๆ ให้พวกพ้อง ใครฉลาดมากก็เอาเปรียบได้มาก ลัทธิทุนนิยมเลวร้าย ทำให้สังคมไปไม่รอด โทรทัศน์ หลอกทุกวัน ดูมากก็โง่มาก หาได้เท่าไรก็ไม่พอกินพอใช้ เพราะถูกหลอกเอาไปหมด

ผีจริงอยู่ในคน คือ จิตวิญญาณโง่ จอโทรทัศน์คือ เวทีให้ผีมาเต้นหลอก ช่วงโทรทัศน์แต่ละช่วงคือ โรงผี

ขณะฉันภัตตาหาร พ่อท่านเปิดโอกาสให้นักเรียน ม.๖ ที่ผ่านขบวนการกลุ่มที่ภูผาฯ มาแล้วเข้าพบและแต่ละคน เปิดใจถึงความรู้สึก จบบงด้วยการร้องเพลงที่พวกเขาแต่งขึ้นมา เนื้อหาคือ "เราจะรวมกันให้ได้"

ตามด้วย มวช.เปิดใจ แถมท้ายด้วย มวช.ที่ถือศีล ๘ ไม่ได้ ๑ คู่ มาคืนเข็มให้พ่อท่าน พ่อท่านรับคืนโดยไม่ถามอะไรสักคำ พ่อท่าน มาเปิดเผยทีหลังว่า เห็นตั้งแต่ที่สวนส่างฝันแล้วว่าคู่นี้แปลกๆ และบอกชื่อทั้งคู่

การจำชื่อลูกๆได้ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่น่าทึ่งในความจำของพ่อท่าน ท่านจำได้ขนาดว่าใครมาขอเปลี่ยนบ่อยๆ ทั้งๆที่นานๆพบกัน ขนาดผมทำงานกับนักเรียนเจอกัน พอนานวันเข้าก็ลืมชื่อแล้วก็มี ต้องแง้มสมุดดูอีกครั้ง

อำลาศีรษะอโศกตอนบ่ายโมง คุณจ้อย มรฐ.และอโศกน้องชาย พาไปดูหินทรายที่ อ.น้ำยืน ใกล้ๆไร่ผลไม้ที่อโศกทำอยู่ เผื่อว่าพ่อท่านจะสนใจและคิดนำไปใช้ประโยชน์ จากลานหินบ่ายสองตรง มุ่งสู่ราชธานีอโศก ถึงตอน ๑๕.๔๕ น. เก็บของเข้าที่พ่อท่านก็นำสำรวจตรวจตราจุดต่างๆ ก่อนจะเข้าที่ทำงาน

เมื่อลืมตาพ่อท่านอยู่กับงานตลอดเวลา ขนาดเวลานั่งรถเดินทางแทนที่จะงีบจะหลับพักเอาแรง แต่พ่อท่านใช้เวลานั้นอ่านหนังสือพิมพ์ แม้เทปในรถหมดรอบจนวนมาเริ่มต้นใหม่ ยังรู้และบอกคนคุมเครื่องให้เปลี่ยนม้วนใหม่

ขณะที่ลูกศิษย์ที่ติดตามก็หลับๆตื่นๆไปตามๆกัน

ความอุตสาหะพากเพียรของพ่อท่านเป็นสิ่งที่เป็นแบบอย่างอันดี เป็นผู้ที่บริโภคอย่างเป็นเจ้าของที่แท้จริง.

วันอาทิตย์ที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๕

เมื่อคืนภันเตแน่วแน่ สีลวัณโณ บอกว่าพรุ่งนี้เช้าปลุกพ่อท่าน ตีสามสิบห้า จึงเข้านอนตั้งแต่สามทุ่ม นอนเพลินจนภันเตมาเรียก เพราะได้เวลาแล้ว

พ่อท่านนำทำวัตรและเทศน์ทำวัตรเช้า เนื้อหาก็พูดถึงอัตตา ๓ โดยเน้นที่อรูปอัตตา ให้ลดละ โดยพูดคำเดิมที่ว่า "เหตุผลคือความบ้า อัตตาคือความจริง"

มีคุณหินอ่อนคอยพูดแทรกเป็นระยะๆ ถามสามเณรกระบี่ฟ้าว่า สมณะรูปอื่นเทศน์แล้วเป็นแบบนี้มั๊ย ก็ได้คำว่า ไม่เป็น มีแต่กับพ่อท่าน เพราะพ่อท่านมีเมตตามาก

พ่อท่านนำบิณฑบาตในเมือง มีกระแสว่า หลังปีใหม่แล้ว คนใส่บาตรมากขึ้น พ่อท่านพูดว่า "บิณฑบาตมื่อนี่หมาน" หมายถึง บิณฑบาตวันนี้ ได้ของเยอะ ไม่ได้ไปไหนหลังฉันประจำการที่กุฏิ มีภันเตฟ้าไทแวะคุยด้วย คุยกับภันเตทีไรได้ความรู้เพิ่มทุกที เสียดายภันเตก็งานมาก เวลาจะคุยกันจึงน้อย

เด็กๆสมุนพระรามพากันนำสำรับมาถวายพ่อท่าน เป็นภาพที่ประทับใจเวลาเล่นจะเล่นกันเป็นกลุ่ม สนุกสนานเฮฮา เสียงเจี๊ยวจ๊าวของเด็กๆ เป็นสีสันของบรรยากาศสำหรับชุมชนที่กำลังก่อร่างสร้างตัว แม้แต่คุณน้อย(ร้อยแจ้ง)ก็พาเด็กๆเล่น พาเด็กสนุกสนาน เฮฮากัน ส่งเสียงลั่นด้วยความเบิกบานใจ

ภันเตหินมั่น สีลาปากาโร อยู่ที่บ้านราชฯ และที่ไม่คิดว่าจะได้พบกันที่บ้านราชฯ คือ ภันเตธรรมทาบฟ้าและสมณะถักบุญ อาจิตปุญโญ พี่น้องเคยอยู่ด้วยกัน เจอกันรู้สึกอบอุ่นใจ จากกันหลายวันเจอกันความเป็นพี่เป็นน้องยังคงเดิม

เกือบสี่ทุ่มพ่อท่านจึงมาพัก งานเขียนของพ่อท่านมีมาก และเดือนนี้มีเวลาทำงานเพียง ๒๒ วัน เพราะต้องไปงานพุทธาฯ พ่อท่านเปรย เมื่อหลายวันก่อน

พอหันมองดูตัวเองแล้วรู้สึกว่ายังมีหลายอย่างที่ทำเพื่อสนองกิเลสอัตตา บำเรอตนเอง ให้สมใจตนเอง ยังเห็นแก่ตัว ช่างห่างไกลลิบลับกับพ่อท่านผู้ทำงานทุกอย่าง โดยไม่หวังจะได้อะไรกลับคืนมาให้ตัวเอง ท่านจึงยิ่งใหญ่ เพราะท่านเป็นผู้ให้ที่แท้จริง.

วันจันทร์ที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๕

ช่วงบิณฑบาต ภันเตหินกลั่น นมวังโส ถามว่าเป็นอย่างไรบ้าง ขบวนการกลุ่มไปถึงไหนแล้ว ไม่คิดว่าภันเตท่านจะสนใจเรื่องนี้ จึงตอบว่า ยังไม่ถึงไหนเลยครับ การทำงานกับคนนี่ยากมาก กับนักเรียนนี่ไม่เท่าไหร่ แต่กับครูนี่ยากมาก ถ้าเปรียบกับการก่อสร้าง ตอนนี้ก็อยู่ในขั้น เทพื้นเท่านั้นเอง ยังไม่มีรูปธรรมที่ชัดเจนวันนี้ลองคิดว่าระหว่างการทำงานกับแวดวงนักเรียนกับการติดตามพ่อท่าน จะเลือกอันไหนดี! คิดว่าการติดตามพ่อท่านก็มีส่วนช่วยนักเรียนทางอ้อม เพราะสิ่งที่พ่อท่านทำอยู่ส่วนหนึ่งก็เพื่อเด็กๆอยู่แล้ว การอยู่ใกล้พ่อท่านก็เหมือนการได้คบบัณฑิตผู้มีปัญญา มีความรอบรู้ ท่านเป็นแบบอย่างของผู้ขยัน เบิกบาน ทำงานไม่รู้ว่า เหนื่อยหรือไม่เหนื่อย อยู่ใกล้ท่านได้รู้ได้ฟังในหลายสิ่งที่ไม่เคยฟัง ทำให้มีไฟมีพลังที่จะปฏิบัติธรรมลดละกิเลสให้ยิ่งๆขึ้น

ส่วนการอยู่กับนักเรียนก็เหมือนการเลี้ยงลูกอ่อน มีเรื่องราว มีปัญหา มีผัสสะมากมาย เป็นตัวสะท้อนให้รู้จักอัตตามานะ ราคะ โมหะของตัวเอง ได้รู้ ได้เห็นตัวตนของตนและพยายามปฏิบัติลดละกิเลสลงไป การได้ช่วยเด็กก็เป็นประโยชน์เขา ได้ลดละกิเลสในตัวเรา ก็เป็นประโยชน์ตน ถามตัวเองตอบตัวเองว่า มีโอกาสติดตามพ่อท่านก็เหมือนมาประจุไฟให้แรงขึ้น แล้วเอาแรงเอาพลังนั้น ไปทำงานต่อ

ข้อบกพร่องของตนเองเห็นได้ชัดในเวลาที่ผ่านมา คือ ยังนิ่งไม่พอ ยังสงบไม่พอ เย็นไม่พอ เมตตาไม่พอ ที่จะทำงานได้ดี ตั้งใจว่า กลับไปครั้งนี้เป็นการไปเริ่มต้นใหม่ ฝึกจิตใจให้นิ่ง-สงบ-เย็น-เมตตา-อุเบกขา ให้มากพอที่จะทำงานกับคน คนที่ดิ้น-ซัดส่าย-เร่าร้อน-เอาแต่ใจ-ฝึกตัวเราจากเขาให้ได้ และช่วยเขาให้ดี.


[จบข่าว...กลับไปหัวข้อข่าว]


หัวข้อข่าว

เนื้อข่าว

[จบข่าว...กลับไปหัวข้อข่าว]


หัวข้อข่าว

เนื้อข่าว

[จบข่าว...กลับไปหัวข้อข่าว]


หัวข้อข่าว

เนื้อข่าว

[จบข่าว...กลับไปหัวข้อข่าว]


หัวข้อข่าว

เนื้อข่าว

[จบข่าว...กลับไปหัวข้อข่าว]


หัวข้อข่าว

เนื้อข่าว

[จบข่าว...กลับไปหัวข้อข่าว]


หัวข้อข่าว

เนื้อข่าว

[จบข่าว...กลับไปหัวข้อข่าว]


หัวข้อข่าว

เนื้อข่าว

[จบข่าว...กลับไปหัวข้อข่าว]

หัวข้อข่าว

เนื้อข่าว

[จบข่าว...กลับไปหัวข้อข่าว]


หัวข้อข่าว

เนื้อข่าว

[จบข่าว...กลับไปหัวข้อข่าว]


หัวข้อข่าว

เนื้อข่าว

[จบข่าว...กลับไปหัวข้อข่าว]


หัวข้อข่าว

เนื้อข่าว

[จบข่าว...กลับไปหัวข้อข่าว]


หัวข้อข่าว

เนื้อข่าว

[จบข่าว...กลับไปหัวข้อข่าว]

หัวข้อข่าว

เนื้อข่าว

[จบข่าว...กลับไปหัวข้อข่าว]

 

เจ้าของ มูลนิธิธรรมสันติ สำนักงานและพิมพ์ที่ โรงพิมพ์มูลนิธิธรรมสันติ
67/1 ซ.ประสาทสิน ถ.นวมินทร์ บึงกุ่ม กทม. 10240 โทร.02-3745230 ผู้พิมพ์ผู้โฆษณา นายประสิทธิ์ พินิจพงษ์
จำนวนพิมพ์ 1,300 ฉบับ

[กลับหน้าสารบัญข่าว]