page: 1/2
close
บทที่ 1 โลกานุวัตร กำเนิดทุนนิยม

ทุน
คือ หัวใจของระบบทุนนิยม ทุนเป็นที่มาของการปฏิวัติอุตสาหกรรม การปฏิวัติพลังการผลิต และการปฏิวัติ ทางสังคม ก่อให้เกิด พันธมิตรสงคราม การค้าอาวุธ และลัทธิชาตินิยม ทำให้เกิด การแข่งขัน การรวมกลุ่ม เป็นประชาคม ในระดับภูมิภาค ไปจนถึง ระดับโลก ทุนจึงเป็นทรัพยากรโลก เพียงชนิดเดียว ที่มีอิทธิพล เหนือสังคม มนุษย์โลก ประวัติศาสตร์โลก ดำเนินไป เพราะการเปลี่ยนแปลง วิถีทาง ในการส ะสมทุน และขยายทุนนั่นเอง มนุษย์เกิดขึ้นมา ในโลก พร้อมกับ การมีกิเลส และเกิดมา เพื่อสะสมกิเลส ให้กับตัวเอง เมื่อมาอยู่รวมกัน เป็นสังคม ก็จะจัดระเบียบ ทางสังคม เศรษฐกิจ ขึ้นตามอำนาจกิเลส ที่ตนมี ผู้ที่แข็งแรงกว่า ย่อมได้เปรียบ ผู้ที่อ่อนแอกว่า ผู้ที่ แข็งแรงและฉลาด จะได้เป็นผู้นำ เป็นเจ้าของ ทรัพย์สิน และเป็น เจ้าของอำนาจ จึงสร้างระบบ การเมืองขึ้นมา ควบคุม และ เอาเปรียบมนุษย์ ด้วยกันเอง บทเรียนแรก แห่งการเข้าสู่ กระแสโลกานุวัตร คือการกำเนิดขึ้นของ ระบบศักดินา และ สมบูรณาญาสิทธิราช (ศตวรรษที่ 15 - 16) โดยที่เจ้าศักดินาเอง จะเป็น ผู้กำหนด นโยบาย การผลิต และการค้า ด้วยตนเอง เพื่อให้ได้มา ซึ่งสินค้า วัตถุดิบ เงินทอง อำนาจ และศักดิ์ศรี นำไปสู่การบริโภค และ การเผาผลาญ ทรัพยากร ของโลก อย่างฟุ่มเฟือย ในอนาคต เมื่อวัตถุดิบ ซึ่งถือว่า เป็นปัจจัยสำคัญ ในการผลิต หมดไปพร้อม จึงทำให้ระบบ ทุนนิยม ดำเนินมาถึง จุดจบ และจะเกิดการปฏิวัติ ทางเศรษฐกิจ ทุนนินยม ครั้งใหญ่ อีกรอบหนึ่ง ภายใน ปี ค.ศ. 2000 จะเป็นการปฏิวัติ พลังการผลิต ท่ามกลางกองขยะ และมลพิษ ที่กำลัง ท่วมท้นโลก เศรษกิจสังคมโลก จะอยู่ในภาวะ วิกฤติ ตลอดเวลา เกิดสภาพ ไร้ระเบียบ (disorder) ไม่แน่นอน เป็นยุคกาลของ ระบบทุนนิยม ที่พัฒนาไปสู่ การล่มสลาย จะเรียกยุคนี้ว่า มิคคสัญญี ก็คงไม่ผิด ยุคโลกานุวัตร
เริ่มนับตั้งแต่ ศตวรรษที่ 15 มาจนถึง สิ้นสงครามโลก ได้เกิดเหตุการณ์ต่าง ๆ ต่อไปนี้

1. การปฏิวัติอุตสาหกรรมในอังกฤษ ในศตวรรณที่ 18 และฝรั่งเศส โดยนายทุนศักดินา ผู้เป็นเจ้าของ ปัจจัยการผลิต คือ ที่ดิน ทาส แรงงาน และเป็นเจ้าของชีวิตคน มีการคิดค้น เครื่องจักรไอน้ำ แทนแรงงานคน ทำให้เกิด ความต้องการ วัตถุดิบ และแรงงาน มากขึ้น

2. ลัทธิพาณิชนิยม (Mercantilism) โดยนายทุนศักดินา เป็นการก้าวเข้าสู่ ระบบการค้า ระหว่างประเทศ ที่ต้องผลิตสินค้า ออกขาย ให้มากที่สุด เป็นการสะสมทุน ความมั่งคั่ง เงิน และทองคำ ให้แก่ ประเทศของตน พร้อมกับ การสร้างกองทัพ สู่การล่าอาณานิคม และการค้าทาส เพื่อนำวัตถุดิบ และทาส ไปใช้ใน การอุตสาหกรรม ในประเทศ ของตน

3. ลัทธิเสรีนิยม (Liberallism) เกิดขึ้น จากนายทุน ปัจเจกชน ในระดับล่าง ที่มิใช่ศักดินา ลัทธินี้ เชื่อว่า มนุษย์ มีความเท่าเทียมกัน มีสิทธิเสรีภาพ เสมอกันได้ แต่เพราะอำนาจของรัฐ มากดขี่ไว้ มิให้ประชาชนคิด พูด หรือกระทำ ตามปราถนาได้ โดยเฉพาะการผลิต และการค้า รัฐจะต้อง เปิดอย่างเสรี ปรากฏการณ์ ที่แสดงถึง ความเฟื่องฟู ของลัทธิ เสรีนิยม คือ

3.1 เสรีภาพทางการเมือง ที่จะคิด พูดเขียน รับรู้ข่าวสาร มีความเท่าเทียมกัน ในการใช้อำนาจ ทางการเมือง ด้วยการจำกัด หรือลดอำนาจ ของรัฐลง จัดให้มีการเลือกตั้ง ตัวแทนเข้าไป บริหารประเทศ

3.2 เสรีภาพทางเศรษฐกิจ ในการมีกรรมสิทธิ์ ในทรัพย์สินส่วนบุคคล เสรีภาพ ในการลงทุน สะสมทุน การแสวงหา กำไร ความมั่งคั่ง และการบริโภค (ก้าวเข้าสู่ยุค Mass production) และ Mass comsumption) การเปิดตลาด แบบเสรี ทำให้เกิด การแข่งขัน ทางด้านการผลิต และการค้า ผู้ที่มีอำนาจกว่า ย่อมได้เปรียบ

ผู้ด้อยอำนาจย่อมเสียเปรียบ ปราศจากการควบคุมจากรัฐ

การให้โอกาส ในการประกอบธุรกิจ แบบเสรีนี้ จะต้องอาศัย ระบอบการปกครอง ที่เอื้อต่อ นักลงทุน นั่นคือ ระบอบ ประชาธิปไตย เพราะระบอบประชาธิปไตย จะไม่ใช้ความรุนแรง และเปิด ให้ประชาชน มีส่วนร่วม ในการปกครองได้ แต่ข้อเท็จจริงแล้ว อำนาจ มักจะตกอยู่แก่ พ่อค้านายทุน นับเป็นวิถีทาง ในการปกครอง ที่เหมือนดูดี เหมือนมี ความชอบธรรม แต่แฝงไปด้วย การฉ้อฉล และเอารัดเอาเปรียบ อย่างเลือดเย็น จนยากที่ประชาชน จะรู้ทัน ดังนั้น วิถีทาง ประชาธิปไตย น่าจะจัดเข้าเป็น "ลัทธิล่าอาณานิคมใหม่" ของนายทุน ต่างชาติ คือการเข้า แทรกแซง ทางการเมือง และการค้า ด้วยการซื้อพ่อค้า และนักการเมืองไทย หรือแม้กระทั่ง ซื้อรัฐบาล เพื่อตนจะได้ เข้าไปตักตวง เงินทอง ทรัพยากร และความร่ำรวย แล้วขนเอาไปที่ เมืองแม่ของตน โดยประชาชน ในประเทศเหล่านั้น ต้องตกอยู่ ในภาวะ ยอมจำนน เนื่องจาก ประชาชนเอง ก็ถูกหลอก ให้พึ่งพา อำนาจของเงิน และตกเป็นทาส ของลัทธิการบริโภค อย่างฟุ่มเฟือย (Mass consumption) สร้างค่านิยม ในด้านการกินอยู่ อย่างหรูหรา ฟุ่มเฟือย ตามลัทธิเสรีภาพ แบบอเมริกา (Pax americana)

4. ลัทธิสังคมนิยม (Socialism) ผลของความเฟื่องฟู จากลัทธิ เสรีนิยม ทำให้เกิด การเอารัด เอาเปรียบ ระหว่าง นายทุน กับกรรมกร รัฐจึงจำเป็นต้อง เข้ามามีบทบาท ในการจัดระบบ ทางเศรษฐกิจ และการเมืองใหม่ ด้วยการ จำกัดเสรีภาพ ในการแข่งขัน และการเอารัดเอาเปรียบ ของนายทุน รัฐเป็นผู้กำหนด ทิศทาง การพัฒนา เศรษฐกิจ และยึดปัจจัย การผลิตทั้งหมด มาเป็นของรัฐ แม้แต่กรรมกร ก็เป็นสมบัติของรัฐ ซึ่งต้องปฏิบัติ ตามคำสั่ง และ แนวนโยบายของรัฐ แต่จะได้รับ การเลี้ยงดูจากรัฐ ไปชั่วชีวิต เป็นการตอบแทน นี่คือการจัดตั้ง เป็นรัฐสวัสดิการ แบบสังคมนิยม

5. ลัทธิคอมมิวนิสต์ (Communism) จัดเข้าเป็นลักษณะหนึ่ง ของเศรษฐกิจทุนนิยม ก็เพราะว่า มีการสะสมทุน มีระบบการจัดการ ในการผลิต แบบทุนนิยม เพียงแต่รัฐ เป็นเจ้าของ ปัจจัยการผลิต แทนที่จะเป็น เอกชน ดังที่ประเทศ ในค่ายโลกเสรี เขากระทำกัน การจัดการด้านการผลิต และการบริการ นั้นก็ใช้หลักการ เดียวกับ หลักเศรษฐศาสตร์ ทุนนิยม เพียงแต่โลกทัศน์ ของคนในประเทศ ค่ายคอมมิวนิสต์ ถูกจำกัด ให้ไม่ต้องคิด ไม่ต้องดิ้นรน ที่จะเสพ เพราะทุกคน มีความเสมอภาคกัน ลัทธิคอมมิวนิสต์ จะใช้นโยบาย ทางเศรษฐกิจ เป็นตัว กำหนดทิศทาง ของการเมือง ดังจะเห็นได้จาก ตัวอย่าง ต่อไปนี้

5.1 นายทุนเป็นเจ้าของ ปัจจัยการผลิต กรรมกร เป็นผู้ใช้แรงงาน ทำให้นายทุน ร่วมกันผูกขาด การสะสมทุน และกำไร สร้างความร่ำรวย ให้แก่กลุ่มของตน ในขณะที่กรรมกร กลับถูกเอารัดเอาเปรียบ และยากจนลง อันเป็นเงื่อนไข ทำให้เกิดการปฏิวัติ ทางชนชั้นขึ้น

5.2 พรรมคอมมิวนิสต์ จะเป็นผู้กุมอำนาจ เด็ดขาด ทางการเมือง และทางเศรษฐกิจ

5.3 ทรัพยสิน และปัจจัยการผลิต ตกเป็นของรัฐ

6. สงครามโลกครั้งที่ 1 (ค.ศ. 1914 - 1818) มีสาเหตุมาจาก การต่อสู้ ระหว่าง กระแสชาตินิยม กับกระแส จักรวรรดินิยม -ทุนนิยม การค้าอาวุธสงคราม และการประลอง พลังทางอาวุธ

7. สงครามโลกครั้งที่ 2 (ค.ศ. 1918 - 1945) มีสาเหตุมาจาก การช่วงชิง เขตตลาดการค้า วัตถุดิบ และดินแดน ที่สูญเสียไปนั้น กลับคืนมา ต้องการแข่งขันกัน ทางด้านอาวุธ และการแผ่ขยาย ลัทธิชาตินิยม หลังสงครมโลก ครั้งที่ 1 ได้ เกิดลัทธิเผด็จการ ฟาสซิสต์ (อิตาลี) นาซี (เยอรมันนี) และ จักรวรรดินิยมญี่ปุ่น ซึ่งมีเป้าหมาย เพื่อต้องการ ครอบครองโลก แต่เพียงกลุ่มเดียว ต้องการล้มล้าง ลัทธิเสรีนิยม และลัทธิ คอมมิวนิสต์

ระเบียบโลกใหม่ Pax Americana หรือสันติภาพ แบบอเมริกา เกิดขึ้นภายหลัง สงครามโลก เมื่อสงคราม ยุติลง ฝ่ายเผด็จการ ได้รับความสูญเสีย ทางเศรษฐกิจ มากที่สุด ตามด้วยประเทศ คู่สงครามอื่น ๆ เว้นแต่สหรัฐอเมริกา เพียงประเทศเดียว ที่ไม่ได้รับ ความสูญเสีย กลับผงาดขึ้นมา เป็นประเทศผู้นำ ในระดับโลก พร้อมกับ การหาวิถีทาง ฉกฉวยผลประโยชน์ และทรัพยากร ของประเทศอื่น โดยเฉพาะ ประเทศในโลก ที่สาม ที่ยากจน แต่มากมาย ด้วยวัตถุดิบ ด้วยสายตา อันยาวไกล ดุจพญาอินทรี อเมริกาจึงถือโอกาส ประกาศตน เป็นพี่เบิ้ม ทางเศรษฐกิจ ทุนนิยม และทำตัว เป็นตำรวจโลก ด้วยการให้ความช่วยเหลือ แก่ประเทศยากจน ทั้งหลาย ในรูปของ องค์การต่าง ๆ ตั้งแต่ การริริ่มก่อตั้ง องค์การสหประชาชาติ ไปจนถึง องค์การที่ช่วยเหลือ ทางด้านเศรษฐกิจ การศึกษ สาธารณูปโภค พร้อมกันนั้น ก็มีการฟื้นฟ ูลัทธิเสรีนิยม ขึ้นมาใหม่ เรียกว่า ประชาธิปไตย มวลชน (Mass democracy) เพื่อนำมาเป็น เครื่องมือ ในการแผ่ขยาย ลัทธิระเบียบโลกใหม่ ตามแบบ อเมริกา Pax Americana มีสาระสำคัญ ดังนี้

1. อเมริกาได้กลายเป็น ศูนย์กลางของ ระบบเศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรม ของโลก ผูกขาดการลงทุน ในทั่วภูมิภาค ของโลก โดยบรรษัทข้ามชาติ ของมหาอำนาจ ทุนนิยม

2. ฟื้นฟูเศรษฐกิจโลกใหม่ หลังสงครามโลก ในยุโรปตะวันตก (เยอรมันนี) และญี่ปุ่น ด้วยการระดมทุน ช่วยเหลือ จากอเมริกา (จ่ายก่อน ทวงคืนภายหลัง)

3. สร้างฐานทัพ และรัฐทหารขึ้น ในทุกภูมิภาคทั่วโลก โดยอยู่ในความดูแลของ อเมริกา เพื่อปกป้อง ผลประโยชน์ ของตน และกีดกัน การแผ่ขยาย ของลัทธิ สังคมนิยม คอมมิวนิสต์ ตลอดจน สะกัดกั้น สงครามปลดปล่อย ประชาชาติ ในประเทศ โลกที่สาม (1955 - 1960)

4. สร้างศูนย์อารยธรรม ทุนนิยม คือ การจัดให้มี รัฐสวัสดิการ แบบอเมริกา ประชาธิปไตย มวลชน (Mass democracy) การผลิตให้ได้ คราวละมาก ๆ (Mass production) และ การบริโภค อย่างฟุ่มเฟือย (Mass consumption) ทำให้เกิด การทำลาย ทรัพยากรของโลก ในทุกภูมิภาค อย่างมหาศาล

5. เกิดสงครามเย็น อันเป็นการรักษา ดุลอำนาจ ระหว่างประเทศ ในค่ายโลกเสรี (อเมริกา) และประเทศในค่าย สังคมนิยม (รัสเซีย) นำไปสู่การพัฒนา และการสะสม อาวุธนิวเคลียร์ ครั้งใหญ่

6. เปลี่ยนจากลัทธิ ล่าเมืองขึ้น มาเป็น "รัฐทุนนิยม" ภายใต้ข้อกำหนด และแผนพัฒนาประเทศ ที่อเมริกา นำเสนอ เพื่อให้สอดคล้องกับ ผลประโยชน์ และขบวนการ ในการสะสมทุน ขยายทุน และ การแสวงหากำไร ของมหาอำนาจ ทุนนิยม รัฐทุนนิยม จึงเป็นรัฐ ที่เปรียบเสมือน รัฐเจ้าหนี้ และรัฐลูกหนี้ ที่พึงกระทำต่อกัน เช่น

-การให้ความช่วยเหลือ ทางด้านการเงิน โดยผ่าน ธนาคารโลก (World Bank) กับกองทุนการเงิน ระหว่างประะทศ (IMF)

-การให้ความช่วยเหลือ ทางด้านการค้า ด้านการสาธารณูปโภค ด้านการศึกษา ตามแบบที่ อเมริกา กำหนด

page: 1/2
close
   Asoke Network Thailand