580220- พุทธชีวศิลป์ (๒๙)
เรื่อง จิตวิเคราะห์ในธาตุความเพียรทั้ง ๗

พ่อครูว่า.... วันนี้วันที่ ๒๐ ก.พ. ๕๘ แล้ว เรื่องราวทุกวันนี้ ก็มีสิ่งที่เข้มข้น มากขึ้น และก็มีสิ่งที่ น่าสลดใจ มากด้วย เราก็จะมาศึกษา สัจธรรมกันให้ดีๆ นี่มีข่าวคราวออกมา ไม่ล่าสุดวันนี้ เรียบร้อย ล่าสุด ทุกอย่าง ไม่มีอะไรเกิดขึ้น ก็ผ่านไปก่อน คืออาตมารู้ เข้าใจดี ว่าสังคมสงฆ์ หมู่ใหญ่ ทำอะไร ขึ้นดีได้ยากแล้ว มันก็เป็นไป ตามสัจจะที่เป็น เราก็ไปพูดมาก ก็ไม่ดี มันเป็นระดับประเทศ ก็ไม่รู้จะทำอย่างไร มันกลืนไม่เข้า คายไม่ออก เราก็เอาส่วนที่ เราทำให้ดีไปเถอะ จริงๆก็น่าเห็นใจ ว่าเป็นโครงสร้าง ที่ผุพังมาก พยายามประคอง บูรณะกัน ก็คงยาก ก็คงได้แต่เห็นใจกัน ก็ไม่รู้จะทำอย่างไรก็ได้ แต่ว่าที่เรา ตั้งหลักกันได้แล้ว เราก็มาสร้างสรรสิ่งดี เรานานาสังวาสกัน

ยิ่งเราเห็นว่า เสาเรือนใหญ่พังลง เราก็จำเป็นจะต้อง มีสิ่งเข้าไปทดแทน เข้าไปช่วยค้ำจุน ให้ประเทศไทย สังคมไทย สังคมมนุษยชาติอยู่ได้ พวกเราก็พากเพียร ก็แล้วกัน สัจธรรมพระพุทธเจ้า เป็นอุภยัตถะ เป็นประโยชน์สองส่วน (ตน-ท่าน)

บอกข่าวอีกอย่าง พรุ่งนี้จะมีครู ที่จะมาสอนทางวิทยาศาสตร์ จะมาสอนเด็กนร.  ๐๘.๓๐-๑๖.๐๐ น. ก็จะสอนเรื่อง การวิจัยทางห้องปฏิบัติการ เอาเครื่องไม้ เครื่องมือ มาด้วยนะ ก็อยากให้ทาง ว.นบ. เราไปร่วมเรียนด้วย เป็นกรณีพิเศษ

วันนี้อาตมาก็ตั้งใจ เอาสิ่งที่ได้รับมาจาก สมณะพอจริง สัจจาสโภ ผู้ที่ก็ตั้งใจศึกษา เป็นครูเก่า รู้จักการทำวิจัย ทำอะไรได้ดี ก็เลยฟังธรรมาถึงวันนี้ ก็เลยเอามา เรียบเรียงดู ให้หายสงสัย ที่จริง ท่านเข้าใจดีแล้ว ท่านเอง ท่านไม่มั่นใจ ก็เลยถามมา ก็ลองตั้งใจฟังดีๆ

580218_ประเด็นธรรมะ จาก ส.พอจริง สัจจาสโภ

พ่อครูเทศน์ที่ สีมาอโศก เมื่อคราวสัญจร หลังงาน ว.บบบ. ความตอนหนึ่ง สรุปได้ว่า

“ตากระทบรูป” เกิดวิญญาณ ครบ รูปนาม เป็น ๓ เส้า เรียกว่า โลก เป็นรอบที่ ๑ เป็นระบบทำงานแล้ว ๑ วงจร อยู่ในตัว เป็นอัตภาพของตัวเอง ยังไม่ออกไปเกี่ยวข้อง กับใครเลย เป็นอารัพภธาตุ อารัมภธาตุ นิกกมธาตุ

พอเกิดมีอันอื่น เป็นจุดที่ ๔ เป็น ปรักกมธาตุ ก็จะเริ่มต้นแตกตัว จากอัตตา ของตนเอง แตกตัวเป็น ๔ ๕ ๖ และ ๗ ๘ ๙

ถ้าจบไปหา ๐ ถ้าเกิดไปหา ๑๐
ทิศทางไปหา ๐ เรียกว่า โลกุตระ (พ่อครูว่า ก็เรียกลำลองได้) เป็นอันเริ่มต้น
ทิศทางไปหา ๑๐ เรียกว่า โลกียะ

เรื่อง ธาตุความเพียร ๗ นี้ ได้ฟังมาหลายครั้ง ก็ยังสับสน ยังไม่รู้-เข้าใจ  แจ่มชัดอะไร จึงอยากจะเรียนถาม จากกรณีตัวอย่าง ดังต่อไปนี้

“นาย ก. มองเห็น นาย ข. ทำงานไม่เรียบร้อย เกิดอาการไม่ชอบใจ อึดอัดขัดเคือง โกรธขึ้นมาทันที (กิเลสโทสมูล-อรติ-ปฏิฆะ-โกธะ) คิดอยากจะด่า...”

จากกรณีตัวอย่าง
โคจรรูป = นาย ข.
ปสาทรูป = ตา นาย ก. มองเห็น
วิญญาณ = นาย ก. รู้พฤติกรรม การทำงานของ นาย ข. เป็นจักขุวิญญาณ
อายตนะ = มองเห็น เป็นการทำงานร่วมกัน ระหว่าง โคจรรูป (อยตนะภายนอก) กับ ปสาทรูป (อายตนะภายใน)
องค์ประกอบทั้งหมดนี้ เรียกว่า กาย
ในขณะเดียวกัน มันก็เป็น ผัสสะ เรียกว่า จักขุสัมผัส ด้วย

ความต่าง ของ กาย และจักขุสัมผัส นั้น อยู่ที่ สภาวะ

สภาวะของ กาย คือ การจัดองค์ประกอบ ได้ครบ ๓ เส้า เรียกว่า โลก เป็นระบบ ขึ้นมาแล้ว ๑ วงจร
นั่นคือ นาย ก. มองเห็น นาย ข. ทำงานไม่เรียบร้อย ก็รู้ว่า พฤติกรรม การทำงานของ นาย ข. นั้น ไม่เรียบร้อย ก็รู้ว่า พฤติกรรม การทำงานของ นาย ข. นั้น ไม่เรียบร้อย เพียงแค่นี้ โลกของ นาย ก. ได้เกิดขึ้นแล้ว แต่เป็น โลกส่วนตัว (อัตภาพ)  ยังไม่เกี่ยวข้องกับ นาย ข.

สภาวะของ จักขุสัมผัส คือ อาการที่ใจ ถูกกระทบ สิ่งที่มากระทบใจ คือ ข้อมูลใหม่ ที่เป็นองค์ประกอบของ กาย นั่นเอง ส่วนใจที่ถูกกระทบ นั่นคือ ข้อมูลเก่า ที่ใจ ยึดเป็นอุปาทาน หรือ สมาทาน นั่นเอง

นั่นคือ นาย ก. ตกลงกับ นาย ข. ว่า งานนั้น ทำอย่างนี้ “ข้อตกลง” นี่แหละที่ นาย ก. ยึด อยู่ที่ว่า ยึด แบบใด

ถ้านาย ก. ยึดแบบ เอาเป็นเอาตาย ไม่มีข้ออนุโลมเลย ไม่ดูความรู้ ความสามารถของ นาย ข. เลย ต้องได้ตามสเปคนี้ เท่านั้น การยึดแบบนี้เรียกว่า อุปาทาน

ถ้า นาย ก. ยึดแบบ มีบทอนุโลม และดูทั้งความรู้ ความสามารถ พร้อมด้วย เหตุปัจจัยอื่น ทำให้รู้จัก และเข้าใจ นาย ข. ด้วย จึงพร้อมที่จะปรับ เปลี่ยน ไปตามเหตุปัจจัยได้ ยึดแบบนี้เรียกว่า สมาทาน

ทันทีที่นาย ก. มองเห็น และรู้ดังกล่าว ก็สะดุดใจ ตรงนั้น ตรงนี้ นี่แหละ ใจ มันถูกกระทบ แล้ว เป็นจักขุสัมผัส
เมื่อ ใจ ถูกกระทบ ก็มี ปฏิกิริยา ไม่ปกติ หวั่นไหว ตรงนี้เรียกว่า สังขาร เป็น กายสังขาร เพราะปฏิกิริยา ที่เกิดขึ้น เป็นการผสมส่วน ของข้อมูลเก่า ( ข้อตกลง – ทิฏฐุปาทาน - อุปาทาน) กับ ข้อมูลใหม่ (ตา+รูป+จักขุวิญญาณ) ด้วยการ คิด เปรียบเทียบ

เกิดเป็น อาการ ไม่ชอบใจ อึดอัดขัดเคือง โกรธขึ้นมา นี่คือ
กิเลส สายโทสมูล ตั้งแต่ อรติ ปฏิฆะ และ โกธะ
ก็คิด อยากจะ ด่า นาย ข. ตรงนี้คือ ตัณหา
เป็นอันว่า กิเลส ตัณหา อุปาทาน ได้เกิดขึ้น ครบพร้อมแล้ว โดยมี
อุปาทาน เกิดก่อน
กิเลส เกิดตามมา
ตัณหา ก็เกิดตามมาอีก

ปัญหา อยู่ที่ว่า อารัพภธาตุ อารัมภธาตุ นิกกมธาตุ มันอยู่ตรงไหน?
โดยหลักการ พ่อท่านก็เทศน์ไว้แล้ว ดังกล่าวข้างต้น
หากจะ วินิจฉัย ชี้เฉพาะลงไปเป็น “ตัวชี้วัด” ของธาตุทั้ง ๓ ก็จะได้ ดังนี้

. อารัพธาตุ คือ ส่วนที่เป็น จักขุวิญญาณ จักขุสัมผัส และ กายสังขาร (คิด ปรุงแต่ง เปรียบเทียบ)
. อารัมภธาตุ คือ ส่วนที่เป็น กิเลสโทสมูล (อรติ ปฏิฆะ โกธะ)
. นิกกมธาตุ คือส่วนที่เป็นพลังงาน ของกิเลสโทสมูล (อรติ ปฏิฆะ โกธะ) ที่มีความพร้อม ที่จะปะทุออกมา

กิเลส โทสมูล (อรติ ปฏิฆะ โกธะ) นี้แหละ คือ ตัวตนที่แท้จริง ของ นาย ก. ที่เรียกว่า อัตตา ยังเป็นโลกส่วนตัวอยู่ ไม่มีใครรู้ด้วยเลย

รอบของวงจรแรก ๑ ๒ ๓ จบที่กิเลส โทสมูลนี้ ยังไม่ถึงตัณหา องค์รวมทั้งหมดนี้แหละ คือ สภาวะ ตักกะ ที่แปลว่า เริ่มคิด
หากจะเขียน แผนภูมิ เพื่อจะเรียนรู้ ได้ง่ายขึ้น จะเป็นดังนี้

ตักกะ


ตักกะ

รูป

นาม

_โคจรรูป

_วิญญาณ

_ปสาทรูป

_กาย

_ภาวรูป

_ผัสสะ (จักขุสัมผัส)

_หทยรูป

_สังขาร (กายสังขาร)

_ชีวิตรูป

_อุปาทาน (ทิฏฐุปาทาน)

_อาหารรูป

_กิเลส (โทสมูล)

 

_อารัพธาตุ (จุดที่ ๑)

 

_อารัมธาตุ (จุดที่ ๒)

 

_นิกกมธาตุ (จุดที่ ๓

 

เริ่มคิด ๑ ครั้ง มีองค์ประกอบของ รูปนาม ดังแผนภูมินี้ วงจรของโลกส่วนตัว (อัตตา) ได้เกิดขึ้นมา ๑ รอบแล้ว ( ๑ ๒ ๓ ) วงจรที่ ๑ จบแค่นี้

วงจรที่ ๑  (๔ ๕ ๖)
สภาวะ วิตักกะ ที่แปลว่า คิดยิ่งขึ้น นี้
เกิด จุดที่ ๔ คือ ปรักกมธาตุ ขึ้น ธาตุนี้ จะเริ่มแตกตัว จาก อัตตา (กิเลส โทสมูล –อรติ –ปฏิฆะ -โกธะ) ที่เป็นโลกส่วนตัว ไปสู่อันอื่น มีทิศทางที่แน่นอน เป็น มโนสัญเจตนา ในนี้จะมี “ตัณหา” คือ อยากแสดง บทบาท ต่อ นาย ข. เป็น ๒ ทาง คือ
๑. อยากด่า นาย ข. เป็นทิศทางโลกียะ
๒. อยากปรับความเข้าใจ กับ นาย ข. เป็นทิศทางโลกุตระ

จุดที่ ๕ คือ ถามธาตุ เป็นธาตุที่มี กำลังขับเคลื่อน ไปตามทิศทาง ที่ตั้งไว้

๑. ทิศทางโลกียะ เมื่อ อยากด่า เกิดขึ้น พลังตัณหาตัวนี้ ที่ได้รับแรงหนุนจาก กิเลสโทสมูล (อรติ ปฏิฆธ โกธะ) และอุปาทาน (ทิฏฐุปาทาน) ก็จะทวีมากขึ้น เป็นรอบๆ เรียกว่า สังกัปปะ

๒. ทิศทางโลกุตระ เมื่ออยากด่า ก็รู้ว่า บาปได้เกิดขึ้นแล้ว จะต้องกำจัดบาป ตัวนี้เสีย เพื่อจะได้ บุญ เกิดขึ้นแทนที่ด้วย สมถะ หรือ วิปัสสนา ก็ได้

_สมถะ หรือ วิกขัมภนปหาน ได้แก่ กดข่ม ทำลืมๆ ฯลฯ พลังตัณหา ก็จะหยุดพักยก ไม่ทำงาน สักระยะหนึ่ง
_วิปัสสนา ได้แก่ การพิจารณา เห็นภัย และโทษของ อาการอยากด่า (ตัณหา) ว่า มันน่ากลัว มันเป็นภัย นำโทษมาให้ ก็จะเกิดอาการเบื่อหน่าย หน่ายแหนง ต่อ อาการอยากด่า จึงปล่อยวาง ตามลำดับ จาก ฌาน ๑ ๒ ๓ และ ฌาน ๔ ในที่สุด

พลังตัณหา (อยากด่า) ที่ได้รับแรงหนุนจาก กิเลส (โทสมูล -อรติ ปฏิฆะ โกธะ) และอุปาทาน (ทิฏฐุปาทาน -ยึดเอาเป็นเอาตาย) ก็จางคลายลง จนอาการอยากด่า หมดไป อาการอยากปรับความเข้าใจ ก็เกิดขึ้นมาแทนที่ เป็นพลัง ทวีขึ้นเป็นรอบๆ เรียกว่า สังกัปปะ

สภาวะ สังกัปปะ จึงเป็นผลสรุปของ วิตักกะ

จุดที่ ๒ ฐีติธาตุ เป็นจุดที่สะสม ความแข็งแรง ลงเป็นฐานตั้ง ตั้งแต่ อัปปนา พยัปปนา เจตโสอภินิโรปนา ตามทิศทาง ที่ได้ปฏิบัติมา

๑. ทิศทางโลกียะ เมื่อ พลังของ ตัณหา ที่ได้รับ แรงหนุนจาก กิเลสโทสมูล (อรติ ปฏิฆะ โกธะ) และ อุปาทาน (ทิฏฐุปาทาน) ก็จะสะสม ลงไปที่ อัปปนา

ที่อัปปนา ก็จะตรวจสอบว่า อยากด่า แน่นะ เมื่อแน่ใจว่า อยากด่า จริงๆ พลังของตัณหา (อยากด่า) ก็จะถูกสะสม ลงไปใน อัปปนา ทันที

จากนั้น ก็จะควบแน่น เป็นพฤติของอาการ อยากด่า พลังของตัณหา (อยากด่า) ก็เพิ่มขึ้นๆๆ ด่าแน่ๆ เรียกว่า พยัปปนา

และแล้วก็จะปักมั่น ลงไปเลยว่า ยังไงๆ ก็ต้องด่า เรียกว่า เจตโส อภินิโรปนา เป็นฐานตั้ง ที่แข็งแกร่ง เป็น พลังอันสูงสุด ของตัณหา (อยากด่า)

๒. ทิศทางโลกุตระ เมื่อกำจัด อาการอยากด่า ได้แล้ว จะด้วย สมถะ หรือวิปัสสนา ก็ตาม ได้ผลสรุปเป็น สังกัปปะ ว่า ไม่อยากด่า แต่อยากปรับครามเข้าใจกับ นาย ก.

เมื่อ ปรับจิตได้แล้ว จิตก็จะแข็งแรงขึ้น เข้มแข็งขึ้น จากนั้น ก็จะไปสะสมที่ อัปปนา
ที่อัปปนา ก็จะมีการตรวจสอบว่า อยากปรับความเข้าใจ กับนาย ข. จริงหรือเปล่า ไม่มีนัยอื่นแฝงอยู่นะ

บางที บางครั้ง ผู้ปฏิบัติอาจสังเกตเห็นว่า รู้ภัย รู้โทษ มีหลักฐาน ความจริง ยังไม่ถูกจุด ตรงประเด็น ได้ชัดเจน เพียงพอ อาจเป็นเพียง องค์รวม เท่านั้น ไม่ใช่ตัวตัณหา ที่แท้จริงได้ ขอให้สังเกตดูดีๆ

ผู้ปฏิบัติจะต้อง ย้อนกลับไปตรวจสอบดู ขั้นตอนการปหาน ด้วยสมถะหรือ วิปัสสนา อีกครั้ง ย้ำไปย้ำมา อยู่นั่นแหละ เมื่อแง่มุมปรับไป ถูกเหลี่ยม ลงล็อคเข้า แรงยึดก็จะคลายลง ตามฐานะของฌาน

ฌาน ๑ ได้ ขณิกสมาธิ หมายความว่า อยากปรับ ความเข้าใจ กับ นาย ข. อยู่สักระยะหนึ่ง แล้วก็กลับไป อยากด่าอีก ก็ปรับไปปรับมา อยู่อย่างนี้ เป็นช่วงๆ เป็นขณะๆไป เป็น ตทังคปหาน

ฌาน ๒, ๓ ได้ อุปจารสมาธิ หมายความว่า อยากปรับความเข้าใจ กับนาย ข. ตั้งมั่น ได้ยาวนานขึ้นเรื่อยๆ หลายช่วง หลายขณะ มากขึ้นเรื่อยๆ อาการอยากด่า ก็เบาบางจางคลาย ลงไปมากขึ้นๆ จนเข้าเขต วางเฉย ได้บ้างแล้ว เป็น ตทังคปหาน ที่มีประสิทธิภาพชั้นสูง

ฌาน ๔ ได้ อัปปนาสมาธิ หมายความว่า ตัดรอบ ปล่อยวาง อาการอยากด่า ได้เด็ดขาด เป็นสมุจเฉทปหาน นับเป็น จิตที่เข้าสู่ การตั้งมั่น ได้ถาวรแล้ว

ที่อัปปนา ก็จะตรวจสอบว่า อยากด่าหมดแน่นะ ไม่มีแอบแฝงแน่นะ อยากปรับความเข้าใจกับ นาย ข. จริงๆนะ เมื่อแน่ใจแล้ว ก็จะสะสมลงไปใน อัปปนา ทันที

จากนั้น ก็จะทำทวน ทำซ้ำ ทำย้ำ ลงไปอีก เกิดผล สงบ จากอาการอยากด่าอีก (ปัสสัทธิ) ทำบ่อยๆมากๆ (อาเสวนา ภาวนา พหุลีกัมมัง) เป็น ปฏิปัสสัทธิปหาน ก็จะได้พยัปปนา ปรับความเข้าใจกับ นาย ข. แน่ๆ ซึ่งย้ำความแข็งแกร่ง ตั้งมั่นให้ อัปปนาสมาธิอีก

เมื่อสลัดตัดเด็ดขาด ได้โดยไม่มีเยื่อใย ของตัณหา (อยากด่า) ได้อย่างรวดเร็ว ไม่ถึงพาอาศัยกันแล้ว สลัดออก เป็น นิสสรณปหาน ก็จะได้ เจตโส อภินิโรปนา ปักมั่นลงไปเลยว่า ยังไงๆ ก็ต้องปรับ ความเข้าใจกับ นาย ข. ก็ยิ่งย้ำความแข็งแกร่งให้ อัปปนาสมาธิ ตั้งมั่นยิ่งๆขึ้น จนถึงที่สุด

พอถึงจุดนี้ ตัณหา ได้ปรับขั้วมาเป็น วิภวตัณหา ได้สมบูรณ์แล้ว จาก อยากด่า มาเป็น อยากปรับ ความเข้าใจกับ นาย ข. ได้สมบูรณ์แล้ว

ที่จุด อัปปนา  พยัปปนา เจตโส อภินิโรปนา จึงเป็นจุดสะสม การปรับจิต ของ เจโต ให้เข้มแข็ง  โดยการทำงาน ของ ปัญญา ตั้งแต่ ตักกะ วิตักกะ และสังกัปปะ นับเป็นประสิทธิภาพของจิต พัฒนาของ มุทุภูตธาตุ (รู้เร็ว-ปรับได้ไว)

วงจรที่ ๒ จุดที่ ๔ ๕ ๖ ได้เกิดขึ้นมาอีกแล้ว

จุดที่ ๗ อุปักกมธาตุ เป็นจุดเกิดที่สมบูรณ์ สิ่งที่เกิดขึ้นที่ จุดที่ ๗ นี่คือ วจีสังขาร

วจีสังขาร  คือ ภาษาที่จะพูดเกิดขึ้นในใจ หรือ ใจ คิดจะพูดคำนั้น คำนี้ แต่ยังไม่ได้พูดออกมา

ภาษาที่จะพูดนั้น เป็นถ้อยคำ ตามฐานะของ ผู้ปฏิบัติแต่ละคน รวมทั้ง น้ำหนักของเสียง แรง-เบา แค่ไหน และสำเนียง อ่อน-แข็ง ปานใด ทั้ง ๓ อย่าง (ภาษา+เสียง+สำเนียง) รวมกันเป็นคำพูด

ดังนั้น จึงสรุปง่ายๆว่า วจีสังขาร คือ คำพูดที่อยู่ในใจ นั่นเอง
วจีสังขาร นี้ จะเป็นไปตามทิศทาง ที่ได้ปฏิบัติมา
๑. ทิศทางโลกียะ ก็จะมีคำด่าว่า ...ไอ้...
๒. ทิศทางโลกุตระ ก็จะมีคำที่เชื่อมโยงไปถึง นาย ก. ปรากฏขึ้น เช่น คำทักทายว่า … ต่อมา ก็เป็นคำ ที่ใช้ปรับ ความเข้าใจกันว่า...  เป็นต้น  บางคนก็คิดแล้วคิดอีก จึงพูด บางคนคิดปั๊บ พูดปั๊บ แล้วแต่กรณี

เป็นอันว่า  สังกัปปะ ๗ ได้เกิดขึ้น พร้อมกับ ธาตุความเพียร ๗ และองค์ธรรมอื่นๆ อีกดังกล่าวแล้ว เป็นการทำงานของ กายในกาย ที่ไม่ทิ้งกาย

นั่นคือ มี กาย อยู่ องค์ประกอบ มีครบพร้อมอยู่ (นาย ก. มองเห็น พฤติกรรม การทำงาน ของ นาย ข. ก็รู้อยู่ ในปัจจุบัน นั้น) เป็นเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นอยู่

จากนั้น กายในกาย ก็ทำงาน ตามกระบวนการของ สังกัปปะ ๗ มีธาตุความเพียร ๗ และองค์รวมอื่นๆร่วมด้วย

ดังนั้น กายในกาย จึงเริ่มนับจาก วิญญาณ – (จักขุวิญญาณ นาย ก. รู้พฤติกรรม การทำงานของ นาย ข.) เป็นต้นไป
วิญญาณ จึงเป็นทั้ง องค์ประกอบของ กาย และจุดเริ่มต้นของ กายในกาย
ที่วิญญาณ นี่เอง จึงเป็นจุดที่สำคัญมาก เพราะเป็นจุดที่เชื่อมต่อ ระหว่าง กาย กับ กายในกาย และ กายในกายทั้งหมด ก็คือ จิต-เจตสิก ทั้งสิ้น จึงอาจเรียก อีกอย่างหนึ่งว่า วิญญาณ เป็นจุดเชื่อมต่อ ระหว่าง กาย กับ จิต ก็ได้ แล้วก็จะได้เรียนเรื่อง จิตสังขาร ต่อไป ถึง วจีสังขาร อีก
ถึงตรงนี้ ประเด็นคำถาม ก็เกิดขึ้นมากมาย ซึ่งจะได้ถามต่อไป
ตรงนี้ ขอสรุป ความสัมพันธ์ ระหว่าง สังกัปปะ ๗ และ ธาตุความเพียร ออกมา เป็นแผนภูมิ เพื่อการเรียนรู้ จะได้ง่ายขึ้นดังนี้

ในแผนภูมิ จะเห็นภาพการทำงานได้ชัดขึ้น
เมื่อ สังกัปปะ ๗ เสร็จสิ้นภารกิจแล้ว
ต่อไป ก็เป็นหน้าที่ของ วาจา กัมมันตะ อาชีวะ
ที่จะดำเนินไปตามองค์มรรค ตามวิถี ที่กำหนด อยู่ที่ว่า ทิศทางนั้นจะสัมมา (โลกุตระ) หรือมิจฉา (โลกียะ)  เท่านั้นเอง ….จบ

คำถาม
๑. การขยายความ จากโครงสร้าง ที่พ่อท่านเทศน์ สั้นๆนี้ พอจะเข้าข่าย สัมมาทิฏฐิ บ้างหรือไม่?  มีส่วนใดบ้าง ที่ไม่ถูก จะต้องปรับอย่างไร จึงจะถูก โปรดตรวจสอบให้ด้วย เพราะเรื่องนี้ ยิ่งฟัง ยิ่งสับสน จึงเรียนถามมา เพื่อความชัดเจน เมื่อชัดเจนแล้ว จะไม่ต้องกังวล ในการเดินเส้นทางนี้

พ่อครูว่า .... ตอบได้ว่า เข้าข่ายสัมมาทิฏฐิแน่ ฉายหนังได้ละเอียด ๑๕๐ เฟรมต่อวินาทีเลย และไม่สับสนหรอก ดีมากที่เรียบเรียงมา แต่ที่คุณเองรู้สึกสับสนเอง ก็คือ มันได้รู้ความรู้นี้แล้ว เขียนออกมา ก็เป็นความรู้ของตน มันได้รู้อันนี้แล้ว จะมีปฏิภาณไหวพริบ ที่จะรู้เพิ่มเข้าไปอีก ตัวที่จะรู้เพิ่ม จะเข้ามากวน สิ่งที่เรารู้นี้แล้ว เพราะยังไม่แน่ใจว่า ที่รู้นี้ถูกต้องหรือไม่ สับสน หรือกังวลตรงนี้ ก็ตอบให้ว่า ถูกต้องแล้ว ที่บอกว่าจะได้วิจัยต่อไป นี่คือตัวไม่จบ แสดงว่า คุณมีภูมิธรรมรู้ต่ออีก คำตอบที่ทำมาให้นี้ดีแล้ว ถูกแล้ว

๒. จากรณีตัวอย่าง ที่ยกมานั้น อยู่ในระดับ จิตสำนึก (conscious) เป็น วีติกมกิเลส ใน กามภพ ใช่หรือไม่ ถ้าใช่ แสดงว่า วีติกมกิเลส เป็น กิเลสที่แสดงออก ครบพร้อมทั้ง กาย วาจา ใจ (สังกัปปะ วาจา กัมมันตะ อาชีวะ ที่เป็นมิจฉา ทั้งหมด) อย่างนั้นดอกหรือ?
เมื่อประสบกับเหตุการณ์ เฉพาะหน้า จะแยกว่า
เมื่อไร เป็น วีติกมกิเลส
เมื่อไร เป็น ปริยุฏฐานกิเลส
เมื่อไร เป็น อนุสัยกิเลส
ได้อย่างไร?

ตอบว่า... เมื่อได้ทำให้กิเลส ลดลงได้แล้วนี่คือ วีติกมกิเลส (แปลว่า ล่วงพ้นได้แล้ว) ส่วน กิเลส ตัวที่กำลังเผชิญ นี่ก็คือ ปริยุฏฐานกิเลส เป็นข้อแรก ของญาณ ๗ พระโสดาบันเลย เป็นปัญญา ที่รู้แล้วว่า ตนเองได้ทำสำเร็จมา ก็กำลังเผชิญกิเลส ตัวต่อมา ส่วนเมื่อทำลาย ปริยุฏฐานกิเลสให้ผ่านไปได้เป็น วีติกมกิเลสได้อีก ก็จะเหลืออนุสัย ตัวปลาย ตัวเล็กละเอียดได้ ถ้าเข้าใจที่ อาตมาอธิบายว่า ของพุทธเอาอนุสัย มาล้างได้จริง เพราะเอาอบาย เอากาม ที่เป็นตัวแรกๆ ออกได้จริง กิเลสชั้นลึกๆ ก็จะขึ้นมาปรากฏ โดยมีเหตุปัจจัย กระทบกระแทกกระทุ้ง อะไรทำได้แล้ว ก็เฉย ก็จะมีตัวต่อไปให้ฆ่า ก็จัดการอีก จนกว่า จะถึงตัวปลาย ก็ฆ่าอีก จนกว่าจะหมด แล้วจะรู้ว่า ยังเหลืออะไรอีก มีอนุสัยตัวต่อๆไปอีก ถ้าใครปฏิบัติถูก ก็จะรู้ว่ามีอีก

๓. ความจริง กับ ความจำ
จากรณีตัวอย่าง นาย ก. มองเห็น นาย ข. ทำงานอยู่ก็รู้ แล้วกิเลสไม่ชอบใจก็เกิดขึ้น กิเลส ไม่ชอบใจ (อรติ) ที่เกิดขึ้น ขณะนี้ คือ ความจริง
ถ้าเวลาผ่านไปแล้ว นาย ก. ก็ระลึกย้อน ว่า เคยไม่ชอบใจ (อรติ) เคยไม่ชอบใจ คือ ความจำ แค่รู้เรื่องที่ผ่านมา
ถ้ารู้เรื่องที่ผ่านมาแล้ว ก็ยังเกิด อาการไม่ชอบใจ (อรติ) ขึ้นมาอีก ในขณะที่ระลึกถึง เรื่องที่ผ่านมานั้น  อันนี้เป็น จริง หรือ จำ ?

ตอบ...เป็นความจำ สภาพที่เราระลึกขึ้นมานี่ จะเรียกว่า ความเคลื่อนไหว ขึ้นมาดูใจในใจ ไม่ใช่วิญญัติ ของกาย วาจา ที่เป็นองค์รวมทั้งหมด ถ้าคนอวิชชา ระลึกขึ้นมา จะเป็นภวตัณหา ที่ระลึกขึ้นมาเอง เราก็ไม่รู้ตัว ดีไม่ดี ระลึกมาแล้ว ก็แค้นเพิ่มอีก แต่พวกเราศึกษาแล้ว ก็สังวร ระลึกมาแล้วจะรู้ว่าไม่น่าทำ จะเป็นราคะ หรือโทสะ เราจะพิจารณาอีกว่า เราไม่น่ามีอีกเลย เราไม่น่าโง่ ไปมีอีกเลย ทำให้มัน อ่อนแรง หรือลดลงได้ แต่คนอวิชชา ก็ไม่ระลึกเช่นนี้ ดีไม่ดี เสริมแรงกิเลสเพิ่มอีก ก็ซวยเพิ่ม

๔. ภาษา กับ สภาวะ
สภาวะ = คือ “ขณะที่รู้ตัวว่า กำลังโกรธ”
ภาษา = มันเป็น สติ สัมปชัญญะ สัญญา ญาณ หรือปัญญา หรือว่ามันเป็นองค์รวม แยกกันทำหน้าที่ แต่ละอย่าง ถ้าเป็นเช่นนั้น พอจะบอกได้ไหมว่า สภาวะตอนใด เรียก ภาษาว่าอะไร?

ตอบ....คำว่า สภาวะคือ มี  ส. ที่คือการประกอบ มาเติม กับคำว่า ภาวะ ที่คือความปรากฏ ภาษาก็ใช้เรียก ความปรากฏนั้นๆ เช่นลูกนี้ เราไปเห็น ก็ถ้าไม่มีภาษา ก็สื่อไม่ได้ แต่ว่าถ้าเรียกว่า แตงโม คนก็รู้จัก ส่วนสิ่งจริง ที่ปรากฏก็คือ สภาวะ ส่วนภาษา ก็ใช้เรียกสภาวะ ถามว่า สภาวะที่รู้ตัวว่าโกรธ ก็คือ ความปรากฏนั้น ก็เป็นภาวะ ตรงกับ ภาษาบัญญัติคำนั้น แต่คุณไม่รู้ภาษาเลย ก็เรียกมันไม่ถูก เท่านั้น อย่างเราไม่เคยเห็น ลูกนี้เลย พอเห็นก็คิดว่า ลูกอะไร? ไม่มีภาษาบัญญัติ มันก็เป็นความปรากฏ กับภาษาบัญญัติ ที่ปรากฏเท่านั้น

๕. คำว่า “เวทนา” แปลว่า “ความรู้สึก” หมายความว่า สุข ทุกข์ อทุกขมสุข 
โสมนัส โทมนัส อุเบกขา
แล้วคำว่า “รู้สึกว่า” ชอบ
แล้วคำว่า “รู้สึกว่า” สวย
แล้วคำว่า “รู้สึกว่า” จะคิดไม่ดี
แล้วคำว่า “รู้สึกว่า” มันกระแทกใจกันเกินไป
แล้วคำว่า “รู้สึกว่า” รับรู้อยู่นะ
แล้วคำว่า “รู้สึกว่า” เจ็บมือ ปวดฟัน
แล้วคำว่า “รู้สึกว่า” ได้ยินอยู่นะ
และรู้สึกอะไรต่อมิอะไรอีกมากมาย
รู้สึกเหล่านั้น จัดอยู่ใน เวทนา ด้วยหรือเปล่า?
เมื่อฟังพ่อท่านเทศน์ว่า เวทนา จะหมายเอา ตัวไหน จึงจะถูก?
ถ้าได้ยินคำว่า เวทนา ก็หมายเล็งเอาที่ สุข ทุกข์ อทุกขมสุข , โสมนัส โทมนัส อุเบกขา เป็นหลัก นอกนั้น ก็เป็นองค์ประกอบ ที่นับเนื่องในกลุ่มเวทนา โดยอนุโลม ทำอย่างนี้ได้หรือไม่?

ตอบ... มันก็คือ อาการของเวทนา เจตสิก นั่นแหละ หลากหลาย ที่จริงมันมีความรู้สึกทั้งนั้น มีเวทนา สัญญา สังขาร และสังขารคือ องค์รวม ท่านก็ให้พิจารณา ตัวเวทนา ที่เกิดจาก การกระทบสัมผัส แล้วมันก็ปรุง ถ้ามันปรุงชอบ ไม่ชอบ เฉยๆ ก็คือสังขาร เราก็แยกแยะ ว่าเหตุอะไรมันปรุงกัน แล้วเกิดเวทนาเช่นนั้น คนอวิชชา ก็เกิดเวทนาทันที แต่ว่าคนมีวิชชา ก็พยายาม ไม่ให้มันปรุง จนมันคลาย มันเลิก คนที่ศึกษา จึงจะทำได้ ขนาดศึกษารู้ชัดแล้ว ก็ยังปฏิบัติได้ยากเลย แม้ปฏิบัติได้ แต่ไม่มีภาษาเรียก ก็เหมือนอาตี๋ ซ่อมรถได้ แต่ก็ไม่รู้ จะบอกอย่างไร แต่ถ้าปฏิบัติได้แล้ว รู้ภาษาบัญญัติด้วย ก็จะยิ่งดี

มันก็เป็น ความรับรู้ ทางจิตทั้งนั้น ถ้าเรียนปริยัติ จากเวทนา ก็มาหาจิต ตัวเวทนา ที่สุข ทุกข์ มันก็มีเหตุ ที่คือจิตที่มี ราคะ โทสะ โมหะ เราก็จับอ่านอาการจริงเลย มันอยาก ก็ไม่ให้มัน มันก็ดิ้น ถ้าให้มัน ก็บำเรอกิเลส เราก็จัดการมัน พอจัดการได้ ก็ไม่มีเวทนา สุข ทุกข์ มันก็เบาลงๆ ดับเหตุทุกข์ก็ดับ สุขก็ไม่มี ถ้าคุณดับเหตุ ได้แล้วจริง พอมันสัมผัสแล้ว ตอนนี้มันก็ยังรู้สึกว่าอร่อย มันก็เหลือเศษ มันก็เป็นความจำ หรือ คุณยังล้างไม่หมด เหลือเศษ

ถ้าคุณเกิดชอบ เกิดยินดีแล้ว มันสัมผัส แล้วก็ยินดี ยังชอบอยู่ แต่ถ้าไม่มีสัมผัส คุณก็ไม่เคยคิดเคย โหยหา มันเลย นั้นแหละ คุณขาดแล้ว แต่ถ้าสัมผัสแล้ว ก็ยังอาลัยอาวร ก็คือยังไม่เด็ดขาด จนกว่าจะสัมผัส แล้วก็เฉย รู้ความจริง ตามความเป็นจริง สวยก็สวย เพราะคือเพราะ อ่านละเอียด มีปัญญา อ่านเวทนา ตัวแท้ได้

๖. สงัดจากกาม และอกุศล เกิด ฌาน ๑ มี วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา แสดงว่า ฌาน คือผล (ไม่ใช่มรรค) จากการกำจัด กาม และอกุศล ไม่ใช่ ฌาน เป็นตัวกำจัดกาม และอกุศล แล้ว กาม และอกุศล ใช้อะไรกำจัด?

ตอบ... ฌานคือ เพ่งรู้เพ่งเผา  คุณทำได้แล้ว เกิดผลสำเร็จ จากฌาน แล้วฌานก็มีทั้งผล และมรรคด้วย ปฏิบัติอยู่นั่นแหละ คือกำจัดได้ ได้ผลไปเรื่อยๆ ก็คือฌาน แต่ไม่ควรไปตีขลุมว่า คือผลของฌาน แต่ตัวฌาน คือตัวปฏิบัติเต็มๆ ไม่ใช่ผล แต่คุณไปเข้าใจว่าคือผล เท่านั้นเอง

นี่คือ ข้อเขียนของ ท่านพอจริง สัจจาสโภ (คือผู้แกล้วกล้า อาจหาญ ในสัจจะ) ก็ใช้เวลาไป เกือบหมดเวลา

ต่อไปเป็นการตอบประเด็น

-มิ่งหมาย วันนี้มีคำถามว่า สภาวะเช่นนี้ ใช่หรือไม่? วันที่ ๒๔ ได้ไปที่สวนส่างฝัน ตอนท้าย ท่านฟ้าไท ได้กล่าวถึงว่า ที่สวนส่างฝัน มีคนอยู่ประจำแค่ ๒ คน ก็ทำงานได้มากมาย ท่านก็แนะนำว่า จะต้องสร้าง สปายะ ๔ (บุคคล สถานที่ อาหาร ธรรมะ) ซึ่งดิฉันว่า บ้านราชฯ มีครบพร้อม พอเข้ามา ก็จะเกิด การขัดเกลา แต่ไม่ขัดแตกขัดแยก ดิฉันไปอ่านเจอของ ดร.ยุค ประเทศไทย ก็ส่งคนไปเรียนอเมริกา ประเทศเดียว ส่วนจีน ส่งคนไปเรียน หลายประเทศ เอามาปรับใช้ กับประเทศตน ก็เกิดการเจริญพัฒนา ส่วนคนไทย มีแต่อันเดียว เหมือนคำของ พระอาตจารย์.๑ ว่า น้ำขุ่นที่ไหล ดีกว่าน้ำใสที่นิ่ง ที่บ้านราชฯ มีการเคลื่อนที่มาก ดิฉันก็ว่า ดีกว่าที่จะนิ่งๆนะ ทำให้มองเห็นตนเอง แทนที่จะโต่ง ก็เกิดความเป็นกลางขึ้นมา ใจดิฉัน ก็เป็นกลาง ได้มากขึ้น เพราะไม่ได้มาเพื่อ โลกธรรม หรือ อามิสอะไร?

ตอบ... ขยาย ที่ว่า สัปปายะ ๔
๑. เสนาสนสัปปายะ คือความพร้อมองค์รวม ที่อยู่ที่พักที่อาศัย ที่ทำมาหากิน ที่ทำงานก็พร้อม ตามประสาเรา
๒. บุคคลสัปปายะ คือมิตรดี สหายดี สังคมสิ่งแวดล้อมดี มีทั้งผู้ขัดเกลา มีครูบาอาจารย์ และผู้เพ่งโทส ครบ แล้วผู้เพ่งโทส ที่เป็นมิตรดีนี่ ก็ไม่ได้เหมือนกับ คนภายนอก แม้เพ่งโทส แต่ก็ปรารถนาดี เป็นแม่ที่ดุลูก แต่ปรารถนาดีได้ แม้วจีกรรม ที่ต่อว่ากัน ก็ใช้ได้นะ ไม่จัดจ้าน แต่ก็ดีมี สัลเลขธรรม ใช้ได้
๓. อาหารสัปปายะ แม้กวฬิงการาหาร ก็ครบพร้อมดี แม้ผัสสาหาร มโนสัญเจตนาหาร ก็รู้ตัวเองได้ พอสังเกตได้ ต้องอ่านของตน เป็นหลัก มีผัสสะให้อ่าน อาหารทางผัสสะ นี่แหละสำคัญ ถ้าเรียนผิด จะไม่รู้จักผัสสะ เพราะไปดับหมดแต่ต้นทาง แม้ผัสสะก็ดับมัน แม้แต่วิญญาณาหาร พวกเราปฏิบัติธรรม ก็มีอาหารทางวิญญาณ ของเราลดกิเลส ก็เป็นอาหารทางวิญญาณ ที่ลดกิเลส
๔. ธรรมะสัปปายะ ก็มีครบทุกอย่าง ที่เราได้ศึกษาเรียนรู้ ปฏิบัติจริง ถึงโลกุตรธรรม เราก็เรียนรู้โลกียธรรม ก็ได้ด้วย ทำ จะไม่ทำอกุศลเลย ทำแต่กุศล และทำจิตให้ผ่องใส สะอาดขาวรอบ

-ท่านเมฆิยะ เห็นป่ามะม่วง แล้วก็อยากเข้าป่า เพื่อทำความเพียร แต่ผู้เดียว ก็ทูลขอพระพุทธเจ้า ถึง ๓ ครั้ง พระพุทธเจ้า ตรัสห้ามถึง ๒ ครั้ง แล้วก็ให้ไป ในครั้งที่ ๓ ท่านเมฆิยะ ก็เลยทำความเพียร ในป่ามะม่วง แต่เพียงผู้เดียว จนเกิด กามวิตก พยาบาทวิตก และวิหิงสาวิตก ก็เสียทีกิเลสก็เลยมาหา พระพุทธเจ้า ซึ่งพระพุทธเจ้า ก็ตรัสถึงธรรมะ ที่จะทำให้ถึงเจโตวิมุติ ได้แข็งแรง ...
๑. ต้องมีมิตรดี สหายดี สังคมสิ่งแวดล้อมดี
๒.  ทำให้เราเป็นผู้มีศีล จนมีผู้เห็นโทษภัย ประมาณน้อย ก็ไม่ประมาท แล้วก็ยังมี อานิสงส์อีก ๑๐ อย่างของ กถาวัตถุ ๑๐ (อัปปิจฉะ สันตุฏฐิ ปวิเวกะ อสังสัคคะ วิริยารัมภะ ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุติ วิมุติญาณทัสนะ)

พ่อครูว่า คำว่า เกิด ดับ ที่สู่แดนธรรม พูดอันสุดท้ายนี่ มีพวกที่ใช้ปัญญาตรรกะ เหตุผล ก็นึกว่า ตนเองเห็น ความเกิด ความดับแล้ว จิตเกิดดับ ที่แท้จริง คือ กิเลสมันเกิด แล้วมันก็ดับ แต่ว่ามันก็ยังเกิดได้อีก คือมันดับ ไม่สนิท จนกว่า คุณจะดับได้สนิท ทำจิตเกิด ที่เป็นอกุศลนั้นดับ จนไม่เกิดอีก นี่คือ การเห็นจิต เกิด ดับ ที่แท้จริง ไม่ใช่แค่ว่า จิตเกิดดับ แบบที่มันเป็นธรรมชาติ ใครก็เดาได้รู้ได้ แต่ถ้ากิเลส ไม่เกิดในจิตเรา เราก็ไม่ต้อง ดับกิเลสนี้ เพราะเราดับกิเลสได้ถาวร การเห็น จิตเกิดจิตดับ คือเห็นอกุศลในจิตตน เกิดและดับ จนทำความดับ ของกิเลสได้ถาวร ต้องทำความเกิดความดับ ในตนนี้ให้ได้ และที่กรณี พระเมฆิยะ  พระพุทธเจ้า ว่าเรานี่แหละ เป็นมิตรดีของเธอ เธอเหมือนนก ติรทัสสี ที่เขาเอาใส่เรือไปด้วย หากออกจากฝั่ง แล้วหาฝั่งไม่เจอ ก็ให้ปล่อยนก ติรทัสสะไป มันจะหาฝั่งเจอ แต่ถ้านกติรทัสสี หาฝั่งไม่เจอ มันก็จะบินกลับ มาหาเรือ พระเมฆิยะ ก็เหมือน นกติรทัสสี

-การทำความเพียร คนที่เขาเข้าใจ เป็นมิจฉาทิฏฐิ คือการไปปลีก หลีกเร้นไปนั่งสมาธิ แต่ของพระพุทธเจ้านี่ ทำความเพียร คือจับวิญญาณให้ได้ เป็นกายวิญญาณ หรือกายสังขาร เมื่อมีองค์ประชุม เหตุปัจจัยของรูป และนาม แล้วเรียนรู้อันนี้ ตั้งแต่กายในกาย จนครบ โลกุตระ ๓๗ นี่แหละ ยิ่งทุกวันนี้ ยิ่งเห็นว่าศาสนาพุทธ ล่มสลาย ผิดเพี้ยนไปหมด วิญญาณฐีติ ก็ให้รู้กาย และสัญญา อ่านขณะมีวิญญาณ ที่ตั้งอยู่ ต้องมีการ กระทบสัมผัส มีสามเส้า นี่คือ การทำความเพียร ให้เอาเรื่องเดียวก่อน อย่างพระพุทธเจ้าสอน ให้เอาเรื่อง กิเลสกินก่อน กินเมื่อไหร่ พิจารณาเมื่อนั้น แต่เรื่องเกี่ยวกับ คนที่สัมผัส สัมพันธ์อยู่ ก็ทำให้ได้ เอาตั้งแต่ ศีล ๕ ข้อ ก่อนเลย ให้ลดกิเลส จับกิเลสได้ คนก็คือสัตว์ สัตว์เล็กสัตว์น้อย ก็คือสัตว์ คนนี่แหละตัวดี ทำให้เรา ไม่ชอบใจ มีโกรธ อรติ หรือปฏิฆะ เราก็เรียนรู้พวกนี้ หรือราคะ คือพูดปด พูดไม่ดี หรือสิ่งอบาย หยาบๆ ก็เป็นตัวปฏิบัติ ผู้เพ่งเพียรบำเพ็ญ ไม่ช้าไม่นาน ก็บรรลุอรหันต์ ปฏิบัติ โพธิปักขยิธรรม ๓๗ ได้ถูกต้อง มีสติ ธัมวิจัย วิริยะ ปีติ ปัสสัทธิ สมาธิ อุเบกขา อย่างถูกต้อง ทำในขณะลืมตา นี่แหละ แต่ศาสนาพุทธ ผิดเพี้ยน ฟังมหาเถรสมาคม ตัดสินแล้วนี่ คนที่ไม่ใช่พุทธ จะฟังเข้าใจไหมว่า เอาของคนอื่นไป แล้วก็เอามาคืน ถือว่าไม่ผิดนี่ คนนอกศาสนาพุทธ ยังรู้ได้เลย คืออาตมาว่า เถรสมาคม หรือ มส.นี่ยังไง?  เราก็นานาสังวาส แต่ก็สงสาร ศาสนาพุทธ แล้วคนอื่น จะเข้าใจอย่างไร ทุกวันนี้ สื่อสาร สนเทศน์ มันฟ้า บ่ กั้นแล้ว ไม่มีอะไรปิดบังได้ อาตมาก็สงสารศาสนาพุทธ ที่ต้องพูด เพราะเป็น พุทธด้วยกัน ก็อย่าเข้าข้าง คนผิดเลย แล้วผิดร้ายแรงด้วย ก็ได้แต่พูดไปนะ พวกเรา ก็ตั้งใจทำให้ดี ก็แล้วกัน...