FMTV โทรทัศน์เพื่อมนุษยชาติ
|560318_รายการเรียนอิสระ(ตามสำนึก) โดยพ่อครู และอ.กฤษฎา
เรื่อง ปรับปวาทะของผู้ถึงอมตะนิพพาน

อ.กฤษฎา เปิดรายการโดยการสไกป์จากสันติอโศก...

ตอนนี้พ่อครูอยู่ที่บ้านราชฯ ก็ต้องอาศัยการสไกป์ จัดรายการไปก่อน ตอนนี้เราระดม สรรพกำลัง ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ไปที่บ้านราชกัน ประเด็นในวันนี้ คงจะต้องต่อประเด็น ที่คุณ 8705 ได้ส่งประเด็น มาค้านแย้ง พ่อครูก็ต้องทำการ ปรับปวาทะ (คือวาทะที่เป็นอื่นไปจาก ที่พระพุทธเจ้าสอน)

พ่อครูว่า การปรับปวาทะ คือปรับวาทะที่ผิดเพี้ยน ให้มาสู่ความถูกต้อง ท่านใช้สำนวนว่า แสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ และข่มขี่ปรับปวาทะ ให้เรียบร้อยโดยสหธรรม คือพระพุทธเจ้า ทรงสอนเป็นพุทธพจน์ เป็นอนุสาสนีย์ต่างๆ เป็นคำจริง ที่จะไม่เป็นอื่นไปจากนั้น คนที่สืบทอด ก็ได้พูดผิดเพี้ยน ออกนอกศาสนา พระพุทธเจ้าไปเรื่อยๆ จึงเรียกว่า วาทะที่เป็นอื่น ปร คือไม่ หรืออื่น ดังนั้นคำพูดใด ที่นอกไปจากความจริง ที่พระพุทธเจ้าตรัส จึงเป็นหน้าที่ แม้แต่พระพุทธเจ้า ท่านก็พูดกับมารไว้เลย ตอนมารจะมาอาราธนา พระพุทธเจ้า ให้ปรินิพพาน พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า ...หากภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ผู้เป็นสาวกและสาวิกาของเรา จักยังไม่เฉียบแหลม ยังไม่ได้รับคำแนะนำ ไม่แกล้วกล้า ไม่เป็นพหูสูต ไม่ทรงธรรม ยังปฏิบัติธรรม ไม่สมควรแก่ธรรม ไม่ปฏิบัติชอบ ไม่ประพฤติตามธรรม ที่เรียนกับอาจารย์ของตนแล้ว ยังบอกแสดงบัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก กระทำให้ง่ายไม่ได้ ยังแสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ และข่มขี่ปรับปวาทะ ที่บังเกิดขึ้น ให้เรียบร้อยโดยสหธรรมไม่ได้เพียงใด เราจักยังไม่ปรินิพพาน เพียงนั้น ฯลฯ . (มหาปรินิพพานสูตร พตปฎ.เล่ม ๑๐ ข้อ ๑๐๒)

ท่านยืนยันว่า ท่านจะยังไม่ตาย ต้องทำงานก่อน มันเป็นมโนสัญเจตนา ที่จะต้องสร้างศาสนา ดังนั้นประเด็นที่เราเอามาพูดกันคือ แสดงธรรม มีปาฏิหาริย์ ผู้ที่จะแสดงปรับปวาทะ จะต้องมีปาฏิหาริย์ โดยช่วยกันทุกคน โดยสหธรรม ทั้งตัวบุคคลและหมู่กลุ่ม ที่มีพฤติกรรมรวมกัน เช่น พฤติกรรม แสดงความไม่โลภโกรธหลง เช่น ชาวอโศก มีพฤติกรรม ตรงตามกถาวัตถุ ๑๐ ธรรมวินัย ๙ สาราณียธรรม ๖ เป็นต้น

อ.กฤษฎา ว่าเคยมีย่าที่ไปวัดไปวา ทำบุญสร้างศาสนวัตถุ แต่เรื่องของ ทักขิเนยบุคคล เหมือนมีอะไร ที่เขาก้าวข้ามไม่พ้น มีป้ายบอกบุญ อะไรอย่างนี้ มิติพวกนี้ เป็นสิ่งที่บอกว่า นั้นคือพุทธแท้หรือไม่ มันจะต้องมาปรับปวาทะกันไหม ก็นิมนต์พ่อครู ปรับปวาทะ ให้เข้าใจกันด้วยครับ

พ่อครู เทศน์ทุกวันนี้ดูเหมือนจะโอหัง มีมมังการ มันอวดดี คล้ายๆอย่างนั้น แต่ก็จำนนที่ต้องแสดง อย่างที่ 8705 ว่าถ้าพระทั้งหลายในอดีต ตีความเพี้ยน อย่างโพธิรักษ์ พุทธศาสนา ย่อมเจ๊งไปเสียแล้ว

ที่จริงถ้าพระทั้งหลายในอดีต ไปตีความธรรมะเพี้ยน เขาเข้าใจว่า ของพ่อครูเพี้ยน ศาสนาเจ๊งแล้วก็ใช่ แต่จริงๆมันซับซ้อน พระทั้งหลายตีความมาอย่างนั้น ปฏิบัติตามกันมา ก็เหมือนกับ กลองอานกะ ที่พระพุทธเจ้า ทรงพยากรณ์ไว้ว่า ศาสนาพุทธ ที่ท่านประกาศ จะผิดเพี้ยนไป เหมือนกับกลองอานกะ ที่มีชื่อว่า กลองอานกะ เหมือนเดิม แต่ว่าคน ได้แต่งเนื้อกลอง ตัวกลองเป็นอื่น ไปหมดแล้ว แต่ก็ชื่อเดิม เช่นเดียวกับ ศาสนาพุทธในปัจจุบัน และก็จริง คือพระในอดีตตีความเพี้ยน ไม่เหมือนโพธิรักษ์ พุทธศาสนานั้น ตอนนี้เจ๊งไปแล้ว แต่คุณก็คงเข้าใจไม่ได้ มันเหลือแต่โลกียธรรม ที่เต็มไปด้วย เดรัจฉานวิชา

อาณิสูตร (กลองอานกะ)
[๖๗๒] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่าน อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ... พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ตะโพนชื่ออานกะของพวกกษัตริย์ ผู้มีพระนามว่าทสารหะได้มีแล้ว เมื่อตะโพนแตก พวกทสารหะ ได้ตอกลิ่มอื่นลงไป สมัยต่อมา โครงเก่าของตะโพน ชื่ออานกะ ก็หายไป ยังเหลือแต่โครงลิ่ม แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุในอนาคตกาล เมื่อเขากล่าว พระสูตร ที่ตถาคตกล่าวแล้วอันลึก มีอรรถอันลึก เป็นโลกุตตระ ประกอบด้วย สุญญตธรรมอยู่ จักไม่ปรารถนาฟัง จักไม่เข้าไปตั้งจิตเพื่อรู้ และจักไม่สำคัญ ธรรมเหล่านั้น ว่าควรเล่าเรียน ควรศึกษา แต่ว่าเมื่อเขากล่าวพระสูตร อันนักปราชญ์รจนาไว้ อันนักปราชญ์ ร้อยกรองไว้ มีอักษรอันวิจิตร มีพยัญชนะอันวิจิตร เป็นของภายนอก เป็นสาวกภาษิตอยู่ จักปรารถนาฟังด้วยดี จักเงี่ยโสตลงสดับ จักเข้าไปตั้งไว้ซึ่งจิตเพื่อรู้ และจักสำคัญ ธรรมเหล่านั้น ว่าควรเรียน ควรศึกษา ฯ

มี sms มาว่าถ้าพระทั้งหลาย ตีความแบบพ่อครู ป่านนี้ศาสนาพุทธ ในเมืองไทยไปโลด ศาสนาพุทธในไทย เป็นเนื้อของศาสนาพราหมณ์ ไปมากแล้ว

อ.กฤษฎาว่า พระพุทธเจ้าเห็นไตรลักษณ์ ที่เป็นสามัญลักษณ์ แล้วพระองค์ ก็ค้นหาไตรลักษณ์ ที่เป็นปัจจัตลักษณ์ ทรงออกจากวัง ไปแสวงหา ความหลุดพ้น เป็นปัจจัตลักษณ์

พ่อครูว่า ปัตจัตตลักษณ์ เป็นของเฉพาะตนของพระพุทธเจ้า ที่มีมาเดิม เป็นสยัมภู แล้วคำว่า ภู คือความยิ่งใหญ่ ที่ตนได้บำเพ็ญตรัสรู้มา ด้วยพุทธการกธรรม บำเพ็ญมาไม่รู้กี่ล้านปีแล้ว ท่านเป็นเจ้าชายสิทธัทถะ ท่านไม่ได้ปฏิบัติธรรมเลย ท่านปฏิบัติตามค่านิยมของโลก เขาพาออกป่า ทรมานตน ทุกรกิริยา ท่านก็ทำได้ยิ่งกว่าเขาด้วย แต่ไม่ได้ปฏิบัติ พุทธรรมเลย ก็น่าเห็นใจพวกที่ไปทำ อย่างพระพุทธเจ้า แบบที่พระองค์ ทำทุกรกิริยา ถ้าทำแบบนั้น ลงเหวเลย มีหลักฐานยืนยันในพระไตรฯ เราเป็นผู้ชื่อว่า โชติปาละ ได้เคยกล่าวกับพระสุคต พระนามว่า กัสสปะ ว่า "การตรัสรู้เป็นของได้โดยยาก ท่านจะได้จากโพธิมณฑลที่ไหน โพธิญาณท่านได้ยากอย่างยิ่ง” ด้วยผลแห่งกรรมนั้น เราได้บำเพ็ญ ทุกกรกิริยา เป็นอันมาก สิ้นเวลา ๖ ปี เราถูกบุรพกรรม ตักเตือนแล้ว (ปุพพกัมเมนะ โจทิโต) จึงแสวงหาโพธิญาณ โดยทางผิด เรามิได้บรรลุ การตรัสรู้โดยทางนั้น ต่อจากนั้น จึงได้บรรลุการตรัสรู้ ไม่มีโศก ฯลฯ (ล.๓๒ ข.๓๙๒)

พระพุทธเจ้าท่านบรรลุเป็นพระพุทธเจ้า ด้วยการระลึกชาติ ท่านเกิดมาได้พบ พระพุทธเจ้ามาแล้ว ห้าแสนกว่าพระองค์ จนกระทั่งมี พุทธการกธรรม มีบารมีเต็มแล้ว ที่ท่านบำเพ็ญมาแล้ว กี่ล้านๆๆชาติ สั่งสมมาแล้วเป็นบารมี เป็นเรื่องที่เข้าใจไม่ง่าย ธรรมดาวิบากกรรม คนธรรมดาก็เข้าใจไม่ง่าย ยิ่งเป็นพุทธวิบาก ยิ่งจะเข้าใจได้ยากยิ่ง แต่คนก็เอาแบบ ที่ท่านไปทำผิด มาทำต่ออีก แต่พ่อครูนำเอาคำตรัส มาสอน และไม่เอาที่พระพุทธเจ้าว่า เป็นทางผิด มาสอนให้พวกเราทำ

พระพุทธเจ้าว่าศาสนาจะเสื่อม เพราะไปแสวงหาอาจารย์ในป่า ต้องขออภัย ไม่ได้เจตนา จะลบหลู่ใคร แต่ก็ต้องพูด อาจมีลักษณะข่มเขา ดูใหญ่โต แต่ด้วยความจริงใจ เป็นความจำนน ที่ต้องพูด

เราอย่าไปถกเถียงเลย อย่างที่คุณ 8705 แย้งมา ก็เห็นว่ามีเนื้อหาที่เขาเข้าใจ มาปรับปวาทะ คือมีการเป็นอื่นไปจาก วาทะของพระพุทธเจ้า เอามาแสดงธรรม มีปาฏิหาริย์ ต้องทำให้เรียบร้อย ตรงทางเดิมของ พระพุทธเจ้า โดยสหธรรม ทั้งพ่อครูและพวกเรา ช่วยกันพูด ช่วยกันแสดง เป็นพฤติพุทธ ดำเนินชีวิตอย่างนี้สอดคล้องกับหลักธรรม พระพุทธเจ้าหรือไม่ หลักธรรมวินัย กถาวัตถุ วรรณะ ๗ สาราณียธรรม พุทธพจน์ พลัง ๔ พ้นภัย ๕ เท่าที่มีความรู้ ก็หยิบมายืนยัน ก็สอดคล้อง ตามหลักพระพุทธเจ้า ใครจะเชื่อ หรือไม่เชื่อ ก็เรื่องของเขา ถ้า

อ.กฤษฎา ว่าที่ตั้งคำถามพ่อครู เพื่อให้ตนเข้าใจในปัจจัตลักษณ์ ในบทสวดก็มี ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติ การเข้าใจตัวตน ของแต่ละคน ด้วยตนเอง ต้องปรากฏความ เป็นปัจจัตลักษณ์ ด้วยตนเอง

พ่อครูก็ทวนย้ำว่า ไตรลักษณ์ มีสองแบบ (การเกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไป)

ในสามัญ ทุกคนก็เข้าใจได้ไม่ยาก ในไตรลักษณ์ ส่วนไตรลักษณ์ที่ มีคุณสมบัติพิเศษ ผู้เห็น "ไตรลักษณ์" ที่ครบทั้งเห็นแจ้ง "ความไม่เที่ยง" (อนิจจัง) เห็นแจ้งความเป็นทุกข์ (ทุกขัง) อีกทั้งตามหา "ตัวเหตุแห่งทุกข์" พบแล้วกำจัดตัวเหตุอริยสัจ นี้ได้จริง ความเป็น"อนัตตา" (ความไม่มีตัวตน) จึงปรากฏให้เจ้าตัวผู้ปฏิบัติ ถึงขั้นบรรลุผล "อนัตตา" ริงอย่างเห็นแจ้งๆ (สัจฉิ) โต้งๆ ชัดๆสัมผัสอยู่ๆ

ผู้บรรลุผลเอง เห็นภาวะนั้นๆเอง ในตนเอง ของตนเอง เช่นนี้แลที่ชื่อว่า เป็นผู้เห็น "ไตรลักษณ์" ชนิดที่เรียกว่า "ปัจจัตตลักษณ์" คือ เห็นอย่างสูงส่ง ละเอียดไปถึง ปรมัตถธรรมขั้น อนิจจัง-ทุกขัง-อนัตตา จึงสำเร็จขั้นมี ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ คือ เห็นด้วยความรู้ยิ่งเห็นจริง อย่างรู้จัก(ตัวตน) ชนิดที่รู้แจ้งรู้จริงในของจริง สภาวะจริง "เฉพาะตน" (ปัจจัตตัง,ปัจเจก) ในปรมัตถ์ของตนเอง ไม่ต้องเชื่อใคร เชื่อความจริง ของจริงนั้นๆเอง ของตนเอง ที่ปฏิบัติได้เอง ในตนเอง โดยตนเอง (เอโก)

จึงไม่ใช่เพียงแค่เห็น "ความเกิดขึ้น-ตั้งอยู่-ดับไป" อย่างต้นๆตื้นๆ ง่ายๆ หลวมๆ เป็นตรรกะ หรือเห็นแค่ จินตามยปัญญา ที่ไม่มีภาวะของ "ภาวนามัย" ไม่มีความสำเร็จ ขั้นเกิดผลธรรม มาให้เห็นแจ้ง ก็ไม่ถึงขั้นมี "ภาวนามยปัญญา" การเห็น "ไตรลักษณ์" แค่ขั้นเห็น "ความเกิดขึ้น-ตั้งอยู่-ดับไป" ในลักษณะนี้ ก็เป็นเพียง ผู้เห็นไตรลักษณ์ ที่เป็น "สามัญลักษณ์" ซึ่งเป็น"ลักษณะเกิดขึ้น-ตั้งอยู่-ดับไป" ที่ยังไม่ถึงขั้นผู้ปฏิบัติ หยั่งรู้แจ้งใน "ปรมัตถธรรม" นั่นคือ ไม่เข้าถึงการสัมผัส สภาวะจริงของ จิต-เจตสิก-รูป จนกระทั่ง เห็นอนิจจัง เห็นทุกขัง เห็นอนัตตา และที่สุดสัมผัส ภาวะของ"นิพพาน" ปรากฏให้เห็นได้เอง อยู่เป็น "ตถตา"

การเห็นได้รู้ได้ อย่าง "สามัญลักษณ์"นั้น มันเป็นความเข้าใจทั่วไป ที่ปุถุชน ก็เข้าใจได้ทั้งนั้น จึงเรียกว่า "สามัญลักษณ์" ซึ่งเป็นแค่ "ตรรกะ" เป็นเพียง ความรู้ความเห็นทั่วไป ที่ร่วมรู้กันได้ เป็น "สามานยนาม" ใครๆก็เข้าใจกัน เป็นสาธารณะของปุถุชน ที่ทุกคนสามารถเข้าใจได้

แต่ไม่ใช่ "วิสามานยนาม" ที่เฉพาะเจาะจง มีการระบุ "ตัวตน"ได้ ในขณะที่มี "ธาตุรู้ของเรา สัมผัสภาวะนั้นๆหลัดๆ รู้จักรู้แจ้งรู้จริง ตัวตนนั้นอยู่ทีเดียว" ซึ่งเป็นการรู้ขั้น "ญาณหรือปัญญา"ที่เป็นอาริยะ เป็นโลกุตระ "ไม่สาธารณะกับพวกปุถุชน" (อสาธารณํ ปุถุชฺชเนหิ) หรือ "ไม่ทั่วไปกับพวกปุถุชน" (อสาธารณํ ปุถุชฺชเนหิ) เป็น "ญาณข้อที่ ๑ ใน ๗" ของพระโสดาบัน ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ ในพระไตรปิฎก เล่ม ๑๒ ข้อ ๕๔๓

การรู้หรือมีความรู้ว่า "ทุกสรรพสิ่งล้วนไม่ใช่ตัวตน"นั้น เป็น "สาธารณะกับปุถุชน" ปุถุชนทั่วไปพอรู้ได้ รู้อย่างซาบซึ้งก็ได้

แต่ "การรู้หรือมีความรู้" ว่า "ทุกสรรพสิ่งล้วนไม่ใช่ตัวตน" อย่างเป็นอาริยะ เป็นโลกุตระนี้ "ไม่สาธารณะกับพวกปุถุชน" (อสาธารณํ ปุถุชฺชเนหิ) หรือ "ไม่ทั่วไปกับพวกปุถุชน" (อสาธารณํ ปุถุชฺชเนหิ) ซึ่งมีนัยสำคัญ ที่ผู้มีจริง จะรู้แจ้งเห็นจริงเอง "ปัจจัตตัง"

การสามารถสัมผัสรู้จัก "ตัวตน"ของกิเลส แล้วเราก็กำจัด ซึ่งเป็น การจัดแจง(สังขาร) เป็นการทำใจในใจ(มนสิการ) ของตนโดยตน เป็นการรวมการกระทำ หรือเป็น การจัดแจง ที่เรียกว่า "สังขาร" ของพระโยคาวจร ที่มีภูมิเข้าขั้น อาริยบุคคล

"สสังขาริกะ" คือต้องมีผู้ชักนำชักชวน (ท่านพรหมคุณาภรณ์ คือผู้ชักนำโดยภายนอก ภายนอกคือ ทางทวารทั้ง๕) จึงจะบรรลุ เมื่อบรรลุจบแล้วก็เป็น "อสังขาริกะ"

อาริยบุคคล จึงจะทำ "สังขาร" ขั้น "อภิ" ที่เป็น "บุญ"ได้

ดังนั้น "สังขาร ๓" ที่เป็น "ปุญญาภิสังขาร –อปุญญาภิสังขาร -อเนญชาภิสังขาร" นั้น จึงเป็น "อภิสังขาร" ขั้นโลกุตระ มิใช่ "สังขารธรรม" ที่เป็นการกล่าวถึง "สังขาร ๓" ทั่วไป ซึ่งแค่ สามานยนาม เป็นคำนาม ที่กำหนดกันกลางๆทั่วไป เช่น กายสังขาร วจีสังขาร จิตสังขาร ซึ่งเป็น "สังขาร" สามานยนามเท่านั้น

ผู้ปฏิบัติที่มีภูมิเข้าขั้นโลกุตระ เป็นอาริยะเท่านั้น จึงจะสามารถ มี"อภิสังขาร" ๓นี้ได้ เพราะผู้จะสามารถปฏิบัติ "สัมมามรรคองค์ ๘" ถึงขั้นทำ "วจีสังขาร" เป็น"อภิสังขาร" มีผลเป็น"บุญ" ขั้นอาริยะ ขั้นโลกุตระ ไปตามลำดับๆนั้น ต้องเป็นอาริยบุคคลจริง

นั่นคือ ต้องเป็นผู้ที่สามารถทำใจในใจ เป็น"สัมมาปฏิบัติ"ได้แล้ว จึงสามารถทำ การจัดแจง หรือ การรวมการกระทำ ขั้น"อภิสังขาร" ที่ "ปรุงแต่ง" สังกัปปะ ๗ ในการปฏิบัติ "สัมมามรรค" จนกระทั่งทำให้ "วจีสังขาร" เกิดความเจริญเป็น "สัมมาอริยผล" ไปตามลำดับ จาก"ปุญญาภิสังขาร" คือ ปรุงเป็น"บุญ" ที่หมายถึง การชำระจิตสันดาน เจริญขึ้นๆ จนถึงผล"อปุญญาภิสังขาร" คือ จัดแจงปรุงแต่งสำเร็จได้ ถึงขั้น "ไม่ต้องชำระกิเลสในใจอีกแล้ว" เพราะ"ชำระกิเลสจากจิตสันดาน" ได้หมดแล้ว "ดับสนิทไม่เกิดอีกแล้ว" ซึ่ง "ไม่เกิดอีกชนิด" ที่ กระทบสัมผัส โลกธรรมใด ในใจก็ไม่เกิด แม้แต่แค่ "การหวั่นไหว"อย่างใดก็ไม่มี (ผุฏฐัสสะ โลกธัมเมหิ จิตตัง ยัสส น กัมปติ) จึงเรียกว่า "อเนญชาภิสังขาร" (สภาพปรุงแต่งภพอันมั่นคง ไม่หวั่นไหว) ได้บริบูรณ์สัมบูรณ์เป็นที่สุด

คุณสมบัติของจิตใจ ณ บัดนี้ "ได้ปุญญาภิสังขาร" มาจนสัมบูรณ์แล้ว นั่นคือ ได้ทำใจในใจ (มนสิกโรติ) ด้วยการสังขาร (การปรุงแต่ง) ที่สัมมาปฏิบัติ จนกระทั่ง มีผลธรรม ครบบริบูรณ์แล้ว เต็มแล้วด้วยบุญ คือบุญเต็มแล้ว ได้ทำบุญครบแล้ว กำจัดบาปหมดแล้ว ชำระบาป สิ้นเกลี้ยงแล้ว จบแล้ว เพราะได้ปุญญาภิสังขาร เสร็จสัมบูรณ์บริบูรณ์แล้ว

ต่อจากนี้ไป จึงอปุญญกันแล้ว คือไม่ชำระบาปอีกแล้ว ไม่ต้องทำบุญอีกแล้ว ไม่ต้องล้างบาปใดๆอีกแล้ว บาปของตน ไม่มีให้ชำระอีกแล้ว เพราะปุญญ (ชำระจิตสันดาน) เสร็จจบหมดแล้ว จึงมีแต่อปุญญ

ชีวิตคนผู้นี้ จึงอยู่จบพรหมจรรย์ จึงหมดสิ้นความโต่ง ไปทั้งข้าง "ไม่มี" คือไม่มี"บาป" สนิทจบแล้ว และ หมดสิ้นความโต่ง ไปทั้งข้างมี คือมี"บุญ" (ชำระจิตสันดาน) จบสนิทแล้วเช่นกัน ยังเหลือก็แต่เพียง ยังมีชีวิตอยู่ ยังไม่ตาย และยังมีกำลังแห่ง การขยันหมั่นเพียร (วิริยพละ) ด้วยนะ เมื่อมีชีวิตอยู่ ก็มีกรรม มีการงาน การกระทำ จึงมีแต่การกระทำ การงานที่เป็นกุศล เท่านั้น ด้วยพลัง ๔ (ปัญญา –วิริยะ –อนวัชชะ -สังคหะ) แต่ท่านไม่ยึดมั่นถือมั่นในกุศล หรือไม่สำคัญมั่นหมายว่า กุศลนั้นเป็นตน เป็นของตนแล้ว

เพราะท่านไม่มี"อุปาทาน" ทั้งปวงสนิทแล้วจริง "อวิชชาสวะ" ได้หมดสิ้นไปแล้ว "อวิชชาสังโยชน์" ก็หลุดพ้นสัมบูรณ์ จึงหมดสิ้นความยึดถือใดๆ อย่างไม่เป็น"อวิชชา" ยังเป็นอยู่แต่"วิชชา"เท่านั้น ที่เป็นกิริยา เป็นกรรม เป็นการกระทำการงาน ทั้งหลายอยู่ ด้วย"พลัง ๔"

ชีวิตจึงมีแต่ ไม่ทำ"บาป"ทั้งปวง (สัพพปาปัสสะ อกรณัง) ทำกุศลให้ถึงพร้อม (กุสลัสสูปสัมปทา) เพราะชีวิตนี้ ได้"ทำจิตให้สะอาด ปราศจากกิเลส" (สจิตตปริโยทปนัง) สำเร็จเสร็จจบแล้ว "จิตใจ" ได้เข้าถึง "อมตนิพพาน"แล้ว

ในคุณสมบัติของจิตที่ถึงที่สุด"อมตนิพพาน"นี้ เป็นความสงบ"สังขาร"ทั้งปวง ซึ่ง"การจะมีกิเลส เข้ามาปรุงแต่งจิต ของคนผู้นิพพานแล้วอีกนั้น" เป็นไปไม่ได้ พระพุทธเจ้าตรัสไว้ ในพระไตรปิฎก เล่ม ๓๐ ข้อ ๖๕๙ ว่า "อมตนิพพาน" ความสงบสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความคลายกำหนัด ความดับ ความออกจากตัณหา เป็นเครื่องร้อยรัด ท่านกล่าวว่า นิพพาน อันอะไรๆนำไปไม่ได้ ในอุเทศ ว่า อสังหิรัง อสังกุปปัง ดังนี้ ฯ

ความเกิดขึ้นแห่งนิพพานใด ย่อมปรากฏ ความเสื่อมแห่งนิพพานนั้น มิได้มี ย่อมปรากฏอยู่โดยแท้ นิพพานเป็นคุณชาติเที่ยง(นิจจัง) ยั่งยืน(ธุวัง) มั่นคง(สัสสตัง) มิได้มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา (อวิปริณามธัมมัง) เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อันอะไรๆ นำไปไม่ได้ (อสังหิรัง) ไม่กำเริบ

หลักฐานนี้ชัดเจนอย่างยิ่ง คำว่า อสังหิรัง ที่แปลว่า อันอะไรๆนำไปไม่ได้ หรือ อันอะไรๆ ก็มาหักล้างไม่ได้ นี้ เป็นคำยืนยันของพระพุทธเจ้าว่า ราคะ โทสะ โมหะ หรือ อุปกิเลส ๑๖ กิเลสทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง ความกระวนกระวายทั้งปวง ความเร่าร้อนทั้งปวง คือ อกุสลาภิสังขารทั้งปวง นำไปไม่ได้ นั่นคือ
"อกุศลทั้งปวง" จะปรุงแต่ง จะจัดแจงแรงร้ายอย่างไร ก็หักล้างไม่ได้

คำว่า อกุสลาภิสังขาร นี้แหละเป็นตัวยืนยันชัดว่า สังขารทั้งหลาย ต่อให้เป็น "สังขารชั่วสังขารเลว ที่ร้ายที่แรง ยิ่งใหญ่ปานใดก็ตาม" ก็ไม่สามารถจะหักล้าง คุณสมบัติที่เป็นนิพพานนี้ หรือไม่สามารถ เปลี่ยนแปลง จิตใจเราที่เป็นจิตใจสะอาด ปราศจากกิเลสแล้วนี้ ให้สกปรก ให้เปลี่ยนแปรไปทางต่ำ ทางเสื่อมอย่างใดอีกได้ เพราะเมื่อบรรลุ "ปุญญาภิสังขาร"แล้ว ถึงขั้นสู่การเป็น "อปุญญาภิสังขาร" และ "อเนญชาภิสังขาร"นั้น คือ ผู้ผ่านการปฏิบัติ ประสพความจริง แห่งรูปนาม ของโลกธรรมทั้งหลาย จนยืนยันว่า ผุฏฐัสสะ โลกธัมเมหิ จิตตัง ยัสสะ น กัมปติ อันหมายความว่า จิตไม่หวั่นไหว แม้สัมผัสโลกธรรมอยู่

อกุสลาภิสังขาร มาจากคำ ๒ คำ อกุศล กับ อภิ กับ สังขาร
คำว่า อกุศลก็ชัดๆอยู่แล้ว แปลกันว่า ความไม่ดี ความชั่ว ไม่ฉลาด สภาวะที่ตรงกันข้ามกับกุศล

อภินี้ มีความหมายลึกซึ้ง เท่าที่ประมวลได้ ก็คือ เผชิญหน้าไปยังที่, มีอำนาจเหนือ, ทับ, ข้างบน, เพิ่มให้มากขึ้น, มากมาย, ใหญ่หลวง, เข้าครอบครอง, เป็นเจ้าของ, เป็นใหญ่, อุบัติขึ้น, งอกขึ้น

ส่วนสังขาร มีคำแปลอยู่มาก เช่นว่า การจัดแจง, การตระเตรียม, การรวมการกระทำ, การรวมเหตุ, ศักยภาพที่ประกอบกันขึ้น, สิ่งที่เกิดร่วมกันทางใจ, การประกอบขึ้น, ธาตุที่เป็นองค์ประกอบ ทางใจกับทางกายด้วย

ดังนั้น อกุสลาภิสังขารทั้งปวง นำไปไม่ได้ หรือหักล้างไม่ได้ จึงหมายถึง การจัดแจง หรือการรวมการกระทำที่มีอำนาจเหนือ หรือมีอำนาจเป็นใหญ่ ทั้งหลายทั้งปวง ซึ่งเป็นความไม่ดี ความชั่ว ไม่ฉลาด สภาวะที่ ตรงกันข้ามกับกุศล นำไปไม่ได้ หรือหักล้างไม่ได้ เด็ดขาด

อมตนิพพาน นี้ จึงเป็นคุณชาติเที่ยง(นิจจัง) ยั่งยืน(ธุวัง) มั่นคง(สัสสตัง) มีความไม่แปรปรวน เป็นธรรมดา(อวิปริณามธัมมัง) เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อันอะไรๆ นำไปไม่ได้ (อสังหิรัง) หรืออันอะไรๆ หักล้างไม่ได้ (อสังหิรัง)

นั่นก็คือ ไม่มีอะไรๆ จะสามารถหักล้าง ความเป็นอมตนิพพาน ลงไปได้ ซึ่งภาษาบาลีว่า อสังหิรัง ที่หมายถึง อันอะไรๆนำไปไม่ได้ หรือไม่มีอะไรๆ เอาชนะได้ หรือไม่มีอะไรๆ หักล้างได้ ซึ่งเป็นความคงมั่น ที่ไม่หวั่นไหว ที่แน่มั่นปักมั่น ชนิดที่เที่ยง ยั่งยืน มั่นคง มีความไม่แปรปรวน เป็นธรรมดา

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อันอะไรๆ นำไปไม่ได้ (อสังหิรัง) ไม่มีอะไรๆ เอาชนะได้ (อสังหิรัง) หรือไม่มีอะไรๆหักล้างได้ (อสังหิรัง)

พระพุทธเจ้าตรัสย้ำอีกว่า ความเกิดขึ้นแห่งนิพพานใด ย่อมปรากฏ ความเสื่อม แห่งนิพพานนั้นมิได้มี ย่อมปรากฏอยู่แท้ นิพพานเป็น คุณชาติเที่ยง ยั่งยืน มั่นคง มีความไม่แปรปรวน เป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อันอะไรๆนำไปไม่ได้ (อสังหิรัง) ไม่กำเริบ (อสังกุปปัง)

คำว่า สังขารที่สัมบูรณ์ เรียกว่า วิสังขาร
วิสังขารนี้ มีนัยสำคัญ ๒ นัย

นัยที่ ๑ แม้ตาหูจมูกลิ้นกายทวารภายนอกทั้ง ๕ ของเรา จะกระทบสัมผัส เหตุภายนอก ที่จะทำให้เราเกิดกิเลส หรือที่เคยทำให้เราเกิดกิเลส บัดนี้ จะกระทบกระแทกอย่างไร ก็ไม่หวั่นไหว "ไม่มีเกิดกิเลส ออกมาปรุงแต่งจิตเราได้อีกแล้ว อย่างเที่ยงแท้,ยั่งยืน ฯลฯ เป็นคุณสมบัติ อย่างหนึ่งของจิต ดังที่มีหลักฐาน คำตรัสของพระพุทธเจ้า ยืนยันมาแล้วนั้น"

วิตามนัยที่ ๑ นี้คือความหมายว่าไม่ เป็นจิตลักษณะตั้งมั่น, ยืนหยัด เป็นสมถะ อัปปนา, พยัปปนา, เจตโส อภินิโรปนา เป็นแกนหลัก อยู่กับที่ เป็นลักษณะไฟฟ้าบวก พลังงานศักย์ static แต่เป็น potential energy จึงจัดอยู่ในฝ่ายไม่ เช่น ไม่มี-ไม่เป็น-ไม่ใช่ -ไม่อยู่-ไม่ปรุง-ไม่ทำ -ไม่สังขาร เป็นต้น

ส่วน วิ นัยที่ ๒ แม้เราจะปรุงแต่งในจิตใจของเราเอง คือ ให้จิตใจของเราสังขาร หมายความว่า ใจเราจัดแจง, ใจเรารวมการกระทำ, ใจเรารวมเหตุ, ใจเรามีศักยภาพ ที่ประกอบกันขึ้น ถ้าผู้ใดมีญาณสัมบูรณ์ ด้วยสังขารุเปกขาญาณ และ สัจจานุโลมิกญาณจริง ก็จะปรุงเป็นอภิสังขาร ขั้นอปุญญาภิสังขาร เท่านั้น คือ จะจัดแจง, รวมการกระทำ, รวมเหตุ, ศักยภาพที่ประกอบกันขึ้น ก็ทำได้อย่างวิเศษ

วิตามนัยที่ ๒ นี้คือความหมายว่ามี เป็นจิตลักษณะเคลื่อนไหว, ใช้งาน เป็นวิปัสสนา ตักกะ, วิตักกะ, สังกัปปะ เป็นแกนวิ่ง ไม่อยู่กับที่ เป็นลักษณะไฟฟ้าลบ พลังงานจลน์ dynamic แต่เป็น kinetic energy จึงจัดอยู่ในฝ่ายมี เช่น มี-เป็น-ใช่-อยู่-ปรุง-ทำ-สังขาร เป็นต้น ซึ่งมีอย่างวิเศษ เป็นคุณวิเศษ (อุตตริมนุสสธรรม) ทีเดียว

จิตใจของผู้มี"นิพพาน"นี้ ในพระไตรปิฎก เล่ม ๓๐ ข้อ ๖๖๐ พระพุทธองค์ตรัสว่า "ไม่มีอุปมา นัตถิ อุปมา คือ ไม่มีข้อเปรียบเทียบ ไม่มีสิ่งเสมอ ไม่มีอะไรเปรียบ ไม่ปรากฏ ไม่ประจักษ์ จึงชื่อว่า ไม่มีอุปมา"

ซึ่งผู้ที่ยังไม่บรรลุถึงขั้นมีสภาวะจริง ก็ยากมากที่จะคิดเอาเองได้ อย่างถูกต้องจริง อาตมาก็พยายาม ทั้งขยายความ ตามสภาวะ ที่อาตมา"มี" ทั้งใช้หลักฐานอ้างอิงกัน อย่างที่ได้ทำนี้ ก็ไม่รู้ว่า คุณ ๘๗๐๕ จะพอฟังเข้าใจขึ้นบ้างไหม

ถ้ายังจะ"ปรัปปวาทะ" ไปจากพระอนุสาสนีนี้อีก ก็ไม่รู้จะว่าอย่างไรแล้ว มันก็เป็นเรื่องของ "ความเห็น -ความรู้ –ความเข้าใจ -ความฉลาด" ที่ต่างกันเท่านั้น

คุณ ๘๗๐๕ sms ว่า "คนที่ไปเป็นสาวกบริวาร ให้พธร..นั่น =ว่าพวกคุณ หนุนให้พธร. หลงผิดยิ่งขึ้น "

คุณ ๘๗๐๕ ไม่เชื่อหรอกว่า อาตมาแสดงธรรม หรือสาธยายธรรม อยู่ตลอดเวลานี้ อาตมาทำใจในใจได้ อย่างที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า ไม่ได้ทำเพื่อให้คนมานับถือ หรือไม่ได้ทำ เพื่อจะได้บริวาร ไม่ได้ทำเพื่อ โลกธรรม ๘ จะได้ลาภสักการะ เสียงสรรเสริญ ไม่ได้ทำเพื่อ จะได้เป็นลัทธิใหญ่ แล้วไปล้มล้างลัทธิอื่นๆ ไม่ได้ทำเพื่อจะได้ให้ใครๆ มาเห็นว่า เราวิเศษเก่งกล้า

ชาวอโศกที่เขามาปฏิบัติตามที่อาตมา สาธยายไป ก็เพราะเขาฟังรู้เรื่อง เขาเข้าใจซาบซึ้ง จึงได้กล้ามาปฏิบัติลดละ ทิ้งโลกธรรม มาอยู่อย่างคนจน ตามที่เป็น ที่มีอยู่นี้ เขาทั้งหลาย ไม่ได้มาหนุน ให้อาตมาหลงผิด แต่เขามา หนุนเพิ่มขึ้นมากเท่าใด ก็ยิ่งเป็นหลักฐาน ให้อาตมาเห็นจริงว่า ธรรมะที่ทวนกระแสโลก ที่โลภในลาภยศสรรเสริญสุขโลกีย์ กลับมาลดละ จนจางคลาย ถึงขั้นดับความเป็นโลก ได้กันไปตามธรรม สมควรแก่ธรรม อย่างที่เห็นได้ เป็นจริงอยู่นี้ บรรดาเขาทั้งหลาย ยิ่งมาสนับสนุนอาตมา ก็ยิ่งเป็นเครื่องแสดง เป็นหลักฐานยืนยัน ให้อาตมาเห็นความจริงว่า "ความเห็น" หรือ "ทิฏฐิ" แบบคุณ ๘๗๐๕ นี่แหละ คือ การหลงผิด จริงยิ่งๆขึ้น ต่างหากเล่าคุณ ๘๗๐๕

แม้จะได้แค่ที่ได้เท่าทุกวันนี้ มันก็เป็น"อนุสาสนีปาฏิหาริย์" น่ามหัศจรรย์ ที่ยังมี ผู้มีธุลีในดวงตาน้อย ในยุคนี้ สามารถมองเห็นพุทธธรรม เข้าถึงโลกุตระได้

อาตมาก็จะทำงานประกาศศาสนา ของพระพุทธเจ้าต่อไป อย่างมั่นใจ นี่แหละ คุณ ๘๗๐๕ ก็พยายามตามพิสูจน์นะ! อย่าเพิ่งรีบถอย ไปไหนเสียล่ะ

และที่อาตมาสาธยายธรรม อยู่ในขณะนี้ โดยเอา sms ของคุณ ๘๗๐๕ มาเป็นประเด็น ในการสาธยายนี้ ก็ไม่ใช่เป็นการถกเถียงกับคุณ ไม่ใช่เป็นการโต้แย้งกับคุณ แต่เป็นการแสดงธรรม มีปาฏิหาริย์ข่มขี่ "ปรัปปวาท" ที่บังเกิดขึ้น ให้เรียบร้อยโดยสหธรรม

หมายความว่า เมื่อมีผู้ทำคำสอน ให้คลาดเคลื่อน หรือวิปริตผิดเพี้ยน ไปเป็นอย่างอื่น (ปรัปปวาท) ก็จำเป็น ที่อาตมาจะต้องแสดงธรรม ให้มีปาฏิหาริย์ข่มขี่ "หลักการที่เป็นอย่างอื่นไป จากของพระพุทธเจ้า" (ปรัปปวาท) ให้กลับสู่ความเป็น ของพระพุทธเจ้า "อย่างเดิม" ให้เรียบร้อย โดยสหธรรม

โดยสหธรรมก็คือ "กับธรรมะ"นี่แหละ หรือ มีธรรมะนี่แหละ"พร้อม" หรือ "ธรรมะนี่แหละร่วมกัน" ทั้งรูปธรรม และนามธรรมทั้งหลาย ที่อาตมาสามารถ ทำให้เกิดขึ้นมา ก็ยืนยัน"พร้อม" ซึ่งรวมกันร่วมกัน ทั้งผู้คน ที่แสดงตัวเป็นมวล รวมกันร่วมกัน ทั้งแสดงความเป็นพฤติพุทธ รวมกันร่วมกัน ทั้งการดำเนินชีวิตไป พร้อมกับธรรมะ ที่สามารถพิสูจน์ ตามคำสอนของ พระพุทธเจ้าได้จริง

ว่า ไม่ใช่เพื่อโลกธรรม หรือไม่ใช่เพื่อให้ใคร มาเป็นบริวารสนับสนุน แต่เป็นการเกิดมวล ตามสหธรรมเอง จะเป็นการหนุน ไปในทางใด คือ หนุนกันไปในทางผิด หรือหนุนกันไป ในทางถูก ก็เป็นไปตามสัจธรรม ที่เป็นจริง ของสัจธรรมแท้ๆ ใครเป็นสัจธรรม ก็ฝ่ายนั้นแหละ อาตมาอาจจะเป็นผู้ผิด ตามที่คุณ ๘๗๐๕ ว่าก็ได้ เพราะไม่มีใคร สามารถตัดสิน สัจธรรมได้หรอก สัจธรรมเท่านั้น ที่ตัดสิน ความเป็นสัจธรรมเอง ก็พิสูจน์กันไป

ขอให้คุณ ๘๗๐๕ อย่าเป็นผู้หลงผิดเลย ขอให้เป็นผู้สัมมาทิฏฐิจริงเทอญ
อาตมาพูดด้วยความจริงใจนะ แต่คุณ ๘๗๐๕ คงจะรู้ความจริงใจอาตมา ได้ยากยิ่ง เพราะดูท่าทีคุณ ๘๗๐๕ จะไม่เชื่ออะไร จากธรรมะที่อาตมา แสดงออกไป เอาเสียเลย ก็ไม่เป็นไร ด้วยความปรารถนาดี ก็ขอแสดงความจริงใจไว้ กันอย่างนี้ก็แล้วกัน

อย่างน้อยเชื่อสักนิดได้ไหมว่า ที่อาตมาพูดว่า ความจริงใจนี้ เป็นความจริงใจ ที่อาตมาสามารถอ่านใจตนเองได้ จึงพูด ตามจริงนั้น?

และขอยืนยันว่า ที่อาตมาสามารถอ่านใจตนเองได้นี้ จนสามารถ นำมาประกอบ การอธิบายธรรม กันตลอดมานี้ ก็เพราะอาตมามีทิฏฐิ ที่คุณ ๘๗๐๕ เชื่อมั่นว่า อาตมามิจฉาทิฏฐินี่แหละ

อาตมาก็ไม่มีสิทธิ์จะอวยพร ว่า ขอให้คุณโชคดี เกิดสัมมาทิฏฐิเถิด อาตมาก็ทำไม่ได้ อีกแหละ เพราะอาตมาเชื่อว่า คุณ ๘๗๐๕ ฉลาดหลักแหลมอยู่แล้ว ก็ต้องรู้ว่า อวยพรด้วยปากอย่างไร มันก็เป็นไปไม่ได้ นอกจากคุณ ๘๗๐๕ เอง ตนเองต้องเรียนรู้ เชื่อเอง และสัมมาทิฏฐิเอง หรือมิจฉาทิฏฐิเอง.

ต่อไปเป็นเรื่องของสติปัฏฐาน ๔ ที่เกี่ยวเนื่องในวิโมกข์ ๘

สติปัฏฐาน คือการทำสติให้เป็นตัวหลักของชีวิต คำว่าสติ มีลักษณะอย่างไร ก็ต้องศึกษา ให้สติเจริญไปเป็นสัมมาสติ ตามมรรค ๘ และเป็น สติสัมโพชฌงค์

ในบัญญัติบุคคล ๔ มี
๑. บุคคลผู้ได้เจโตสมถะ แต่ไม่ได้โลกุตระ
๒. บุคคลผู้ได้โลกุตระ แต่ไม่ได้เจโตสมถะ .
๓. บุคคลผู้ได้เจโตสมถะ และได้ทั้งโลกุตระ
๔. บุคคลผู้ไม่ได้เจโตสมถะ และไม่ได้ทั้งโลกุตระ
พตปฎ. เล่ม ๓๖ ข้อ ๑๐, ข. ๑๓๗, ข.๕๒๕

อรรถาธิบายโดยพ่อครู

๑.บุคคลที่ทำแต่โจโตสมถะล้วนๆ คือผู้ที่เข้าใจว่า ทำฌานและสมาธิ คือการนั่งหลับตา สะกดจิตเข้าไปอยู่ในภวังค์เท่านั้น การลืมตาปฏิบัติ ไม่ใช่ฌาน ไม่ใช่สมาธิ

ในสายโต่งไปทางศรัทธา (พวกเจโตแท้ๆ) จะใช้ศรัทธานำ เป็นสายสมถะ มักเข้าป่า จะอดทนเก่ง ตอนที่พระพุทธเจ้าออกบวชไปตาม คนเขาทำกัน แล้วปฏิบัติ ไม่เอาอะไรเลย ทรมานตนสารพัด หนาวแสนหนาว ก็ไม่นุ่งผ้า อดทนเก่ง อดกลั้นเก่ง พวกนี้จะยังไม่ใช่แม้แต่ สัทธานุสารี ยังไม่ใช่ ผู้แล่นไปตามศรัทธา ที่เป็นของศาสนาพุทธ อย่างแท้จริง ยังไม่นับว่าเป็น ทักขิเนยบุคคล ๗

๒.พวกสติปัฏฐานล้วนๆ แต่ยังไม่สัมมาทิฏฐิ จะเข้าใจว่า การปฏิบัติ ต้องนั่งหลับตา ทำสมาธิ ส่วนสายที่โต่ง ไปทางปัญญาแท้ๆ จะแก่กล้าในความฉลาด จนเลยเถิด ยังไม่เข้าข่ายแม้แต่ ธัมมานุสารีเลย การทำสมาธิ คือการทำจิตให้สงบ เป็นหลัก ยังไม่เป็นฌานเลย เพราะเข้าใจว่า การทำฌาน คือการนั่งเข้าภวังค์ เป็นหลัก ตามสมมุติ ที่เข้าใจผิด ไปจากพุทธแท้ ต่อกันมา พวกนี้จะเข้าเมือง ไม่ใช่เข้าป่า แต่ลึกๆแล้ว สายนี้เชื่อว่า ผู้ปฏิบัติเอาจริงเอาจัง ต้องเข้าป่า ส่วนตัวเอง หลงศิวิไลซ์ หลงโลกธรรม ซับซ้อนไม่มีจบสิ้น ยังไม่ใช่ ผู้แล่นตามธรรม ที่เป็นศาสนาพุทธเลย เป็นผู้แล่นตามธรรมที่เขาเข้าใจ แต่ไม่ใช่พุทธ ยังไม่นับใน ทักขิเนยบุคคล ๗

๓.สายเจโตสมถะที่มีสติปัฏฐานบ้าง แต่ยังมีสัมมาทิฏฐิ ไม่สมบูรณ์ จึงปฏิบัติให้เกิด สัมมาฌาน สัมมาสมาธิไม่เป็น ไม่บริบูรณ์ เพราะยังเข้าใจ ความเป็นกายไม่ถูก ยังมีสัญญาวิปลาสอยู่ (วิปลาสคือกิริยาอาการ ที่ถือผิดไปจากพุทธจริง) เพราะยังมีทิฏฐิวิปลาส จึงมีสัญญาวิปลาส แต่ไม่ถึงจิตวิปลาส วิปลาสว่าการนั่งหลับตา สะกดจิต ไม่รับรู้ภายนอก ทำให้ไม่มีนิวรณ์ในภวังค์ คือการทำฌาน ทำสมาธิ

สายเจโตที่ใช้ปัญญาในการปฏิบัติ แม้ทำฌาน ก็ไม่ใช่ฌานพุทธ ทำแค่ให้จิตสงบ แบบทั่วไปเป็นหลัก เพราะเข้าใจว่า การทำฌานทำสมาธิ คือการนั่งหลับตา ทำสมาธิ นับเอาการเข้าภวังค์ คือการทำฌาน ยังเข้าใจวิโมกข์ ๘ แบบพุทธ ไม่สัมมาทิฏฐิ เพราะยังแยกรูป-นาม ไม่ได้ลึกซึ้ง ยังแยก กาย-เวทนา-จิต-ธรรม ไม่เป็น ก็จะไม่ชัดใน สัตตาวาส ๙ เพราะต้องแยก รูป-นามออก

ถ้าพากเพียรปฏิบัติได้ชำระในบางส่วนบ้าง ถ้าสัทธานุสารี ผู้ใดพบ สัมมามรรค ก็เริ่มนับผู้นี้ว่าเป็น ทักขิเนยบุคคล ๗ แต่แม้สัทธานุสารี จะสามารถสัมมาทิฏฐิได้บ้าง แต่ก็จะไม่สัมมาทิฏฐิสมบูรณ์ และยากด้วย เพราะว่าแม้แต่ กามุปาทาน ก็ยังยากที่จะพ้น ยังมีศีลพตุปาทาน ทิฏฐุปาทาน อัตวาทุปาทาน ที่ยังยึดถือเทวนิยมก็ยังมี ยากที่จะล้าง ให้หมดสิ้นเกลี้ยง เพราะได้ยึดถือมาก่อนแล้ว ยึดตามอาจารย์มา ถ้าจะนับก็ว่าเป็น ทักขิเนยบุคคลบ้าง ถ้ามีสัมมาทิฏฐิ อย่างที่เถรวาท ที่เห็นในเมืองไทย

๔.ฝ่ายสติปัฏฐานที่ยังไม่สัมมาทิฏฐิสมบูรณ์ แม้จะทำสติปัฏฐาน ก็ต้องทำในมรรคองค์ ๘ ถ้าไม่สัมมาทิฏฐิ ๑๐ เข้าใจไม่สมบูรณ์ แม้ทำเจโตสมถะ ก็ยังเข้าใจว่า การนั่งหลับตา เข้าภวังค์ เป็นการทำฌาน ยังมีสัญญาวิปลาสอยู่ ทำสติปัฏฐาน แต่ทำฌานพุทธไม่เป็น เข้าใจว่าทำฌาน ต้องนั่งหลับตาเข้าภวังค์

สายปัญญาจะเข้าเมือง จะหลงโลกธรรม มีความเฉโก ซับซ้อน มากมายหลากหลาย ไม่จบสิ้น อย่างที่พวกมหายาน เป็นกันส่วนใหญ่

สายเจโตสมถะก็เป็นหีนยาน เข้าป่าโต่งไปอีกด้านหนึ่ง

ถ้าสายปัญญา ผู้ใดเข้าใจสัมมาอาริยมรรค สมกับที่เป็นสายปัญญา คือเข้าใจการทำฌาน ทำสมาธิ อย่างสัมมาทิฏฐิ เข้าใจรูป-นามได้ อย่างสัมมาทิฏฐิ ก็เข้าใจวิโมกข์ ๘ ก็จะไปจบที่ สัญญาเวทยิตนิโรธ อย่างฤาษีเขาไปยึด เนวสัญญานาสัญญยตนะฌาน หรือ อสัญญีสัตว์ เป็นนิโรธ

๕.เจโตสมถะที่มีสติปัฏฐานบ้าง หลักๆทำเจโตสมถะ นั่งหลับตา แต่ก็ทำสติปัฏฐานบ้าง แต่ก็ยังเข้าใจ ความเป็นกายไม่สมบูรณ์ ยังสัญญาวิปลาสอยู่ ยังมีทิฏฐิวิปลาส ว่า การนั่งหลับตาสะกดจิต เข้าภวังค์ แล้วทำนิวรณ์ให้ไม่มี ทำฌานสมาธิ ต้องนั่งหลับตา สายเจโตที่ใช้ ศรัทธานำ ทำจิตให้สงบ แบบทั่วๆไปทำ คิดว่านี่คือ ฌานสมาธิ นับเอาการนั่งหลับตาเข้าภวังค์ คือฌาน แบบนี้จะไม่สัมมาทิฏฐิสมบูรณ์ แบบพ้นวิจิกิจฉา

ผู้สัมมาทิฏฐิที่จะพ้นวิจิกิจฉา จะทำไปก็ตรวจตนได้ ว่าพ้นวิจิกิจฉา เพราะมีวิชชา ๘ ถูกต้อง สัมมาทิฏฐิ สายเจโต ที่มีสติปัฏฐานบ้าง เป็นแกนเจโต แม้จะมีสัมมาทิฏฐิ แต่ยังแยกรูป-นาม ไม่ได้ลึกซึ้งนัก จึงไม่สามารถรู้แจ้ง สัตตาวาส ๙ ว่ากายแค่ไหน สัญญาแค่ไหน แต่ก็พยายามพากเพียร ให้สัมมาทิฏฐิบ้าง ถ้าได้บ้าง ก็ยังได้ส่วนชำระ ที่เป็นบุญ ให้ผลแก่ขันธ์

ถ้าสัทธานุสารีบรรลุสัมมาผล ก็นับว่าเป็นสัทธาวิมุติ แม้จะได้สัมมาทิฏฐิสมบูรณ์ ก็ยังไม่ง่าย ที่จะเจริญไปเป็น เพราะกามุปาทาน ก็ยังยาก ไม่ลาดลุ่มเหมือนฝั่งทะเล แม้จะพ้นศีลพตุปาทาน อัตวาทุปาทาน ทิฏฐุปาทาน ก็ยังยาก ที่ละล้างให้สิ้นเกลี้ยง เพราะไปยึดอย่างของเก่า มานานแล้ว แม้จะได้ผล ก็ยังไม่สัมผัสวิโมกข์ ๘ ด้วยกายยากมาก จะนับเข้าทักขิเนยบุคคลได้ยาก

๖.ฝ่ายสติปัฏฐาน ผู้มีสัมมาทิฏฐิบริบูรณ์ จะทำฌานทำสมาธิได้บริบูรณ์ และเข้าใจว่า เจโตสมถะ มีอุปการะ แม้จะหลับตาก็ทำเตวิชโช เป็นอุปการะ เพราะมีความเข้าใจกาย ได้สมบูรณ์ ไม่สัญญาวิปลาส

สายปัญญาจะอยู่ในเมือง เข้าใจโลกธรรม แต่รู้หลากหลาย รู้ความควร มีสัปปุริสธรรม ๗ มหาปเทส ๔ เพราะเข้าใจ การทำฌานสมาธิ อย่างสัมมาทิฏฐิ ตรงตามวิโมกข์ ๘ ผลที่สุดได้คือ สัญญาเวทยิตนิโรธ
จากทิฏฐิปัตตะ ก็จะเจริญไปสู่ปัญญาวิมุติ

อ.กฤษฎาสรุป...ช่วงท้าย พ่อครูอธิบายเรื่องของ สายปัญญากับสายเจโต การจะเข้าสู่ ทักขิเนยบุคคล จะทำได้อย่างไร จุดหมายปลายทางของเรา คือ อมตะนิพพาน ต้องเข้าสู่ สัญญาเวทยิตนิโรธ ที่มีแต่ในพุทธศาสนาเท่านั้น .....