FMTV
560404_รายการสงครามสังคมธรรมะการเมือง โดยพ่อครู
เรื่อง
ตัวตนอวิชชาต้องละตัวตนอรหัตตาต้องอาศัย

      วันนี้พ่อครูว่า ต้องขออนุญาต บรรยายธรรมะ ซึ่งขณะนี้บรรยายธรรม ขั้นลึกซึ้งถึงปรมัตถ์ สมณะ สิกขมาตุ ก็เอาที่พ่อครูเทศนา มาทบทวน ขยายความ ทำความเข้าใจย้ำซ้ำ ก็ดูดี ชัดเจนขึ้น มีลูกต่อ เหมือนนร.ในชั้นเรียน มาซ้ำขยายความ ให้ชัดลงไปอีก สมณะ-สิกขมาตุ ก็ขยายความ ผู้ฟังก็ฟังดี ขยายความชัดเจน

      ประเด็นที่พ่อครูได้ย้ำคือ ธรรมะที่เป็นระดับของพระพุทธเจ้านี้ ลาดลุ่มงาม เรียบราบวิเศษ ยิ่งกว่าฝั่งทะเล
     ผู้ที่ “ไม่มีความรู้” (อวิชชา) นั้นหมายถึง ไม่มีความรู้ธรรมะ ที่พระพุทธจ้าตรัสรู้
     ซึ่งเป็นความรู้ของพุทธโดยเฉพาะเท่านั้น จึงจะเรียกว่าเป็นผู้ “อวิชชา”
     ไม่ใช่ ไม่มี“ความรู้” ที่เป็นความรู้สารพัดอื่นต่างๆใดๆ ทั่วไปในโลก

      คำว่า “อวิชชา” ก็ดี “วิชชา” ก็ดี หรือ “วิชชา ๘” ก็ดี หรือแม้แต่คำว่า “อวิชชา ๘” หรือ “อวิชชา” ต่างๆใดๆ ที่ใช้ภาษาคำนี้ ต้องอยู่ในบริบทแห่ง “พุทธธรรม” ที่สัมมาทิฏฐิ ของพระพุทธเจ้าเท่านั้น ซึ่งเป็น “ความรู้” (วิชชา)หรือ “ความไม่รู้” (อวิชชา)ที่ “พระพุทธเจ้านั้น เป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ” (สัมมาสัมพุทโธ) พระองค์รู้เอง ของพระองค์เอง ที่มีเอง (สยัมภู) ซึ่งไม่มีปราชญ์ใด ในมหาจักรวาล จะสามารถค้นพบ พุทธธรรม ที่เป็นความรู้เฉพาะ ของพุทธเองนี้เองได้ นอกจากพุทธแท้เอง

      ถ้าแม้นไม่มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้า, พระปัจเจกสัมมาสัมพุทธเจ้า, พระโพธิสัตว์ทั้งหลาย, พระอเสขบุคคล, พระเสขบุคคล ซึ่งล้วนเป็นผู้มี “สัมมาทิฏฐิ” ในพุทธธรรม มาแล้วจากพระพุทธเจ้า องค์ก่อนๆ สืบทอดกันมา ในส่วนที่ “สัมมาทิฏฐิ” ของแต่ละท่าน แล้วได้เปิดเผยพุทธธรรม นั้นขึ้นแก่โลก ก็จะไม่มี “พุทธธรรม” นั้นเกิดขึ้นในโลกได้ ไม่ว่าจะมีปราชญ์ หรือศาสดาอื่นใด ในมหาจักรวาล ก็ไม่มีท่านใด จะสามารถ “รู้” พุทธธรรม นี้ได้เองเลย

      ดังนั้น ผู้ “สัมมาทิฏฐิ” จริงเท่านั้น จึงจะพูด “ธรรมะที่เป็นพุทธ” ถูกต้องได้แท้
     เพราะมี “ญาณ” (ปัญญาพิเศษ) สามารถรู้จักรู้แจ้งรู้จริง ในความเป็น “อัตตา” ต่างๆ
     จึงจะเป็นผู้มีความสามารถ รู้จักรู้แจ้งรู้จริง “ความเห็นว่าเป็นตัวตน” (อัตตทิฏฐิ)
     รู้จักรู้แจ้งรู้จริง “ความถึงพร้อมด้วยตัวตน” (อัตตสัมปทา)

     จึงมีภาวะ “ตามเห็นตัวตน” (อัตตานุทิฏฐิ) จึงเห็น“ความรักตัวตน” (อัตตกาม) เห็น“การทรมานตน, การทำตนให้ลำบาก” (อัตตกิลมถะ) เห็น“ภาวะที่เป็นของตน” (อัตตนีย) เห็น“การมีตัวตน, การได้ตัวตน” (อัตตปฏิลาภ) เห็น“ความเป็นตัวตน” (อัตตภาพ) โดยเฉพาะจะเข้าใจ“การยึดได้แค่’คำพูด’ว่าเป็นตัวตน” (อัตตวาทุปาทาน)

      พ่อครูยกตัวอย่าง "ข้าวโพดของฉัน" ยกข้าวโพดที่วางบนโต๊ะ ฝักโตเท่าแขน ปลูกที่หาดแนมตะเว็น เรายึดเป็นของตน (อัตตนียา) ของข้าใครอย่าแตะ สมมุติว่าเป็นทองคำ "ก็ทองของข้า" ทองเท่าหนวดกุ้งนอนสะดุ้งจนเรือนไหว เป็นต้น

      ซึ่งคำว่า “อัตต” หรือ “ตัวตน” ทั้งหลายที่ยกอ้างมา พอเป็นตัวอย่าง ยืนยันแค่นี้เท่านั้น ก็ล้วนแสดงถึง “ความเป็นตัวตนหรืออัตตา” หรือ “ความมีอัตตา” อยู่ทั้งสิ้น ชัดๆ โต้งๆอยู่แท้ๆ ที่ผู้ปฏิบัติ จะต้องศึกษาฝึกฝน ให้รู้ให้เห็นภาวะ “ความมีตัวตน

      หรือความเป็น“อัตตา” ที่เป็นจริงมีจริงในตน แล้วจึงจะรู้ว่า “มันใช่ตัวตน” จริงหรือไม่ และยังมีคำอื่นๆ อีกมากมาย ที่ไม่ได้ใช้คำว่า “อัตตหรืออัตตา” ตรงๆ แต่ก็ล้วนมี “ความเป็นอัตตาหรือมีตัวตน” ที่เจ้าตัวจะต้องเรียนรู้ ว่า “ตัวตน” หรือ “อัตตา” ตัวใด ที่จะต้องกำจัด ให้หมดสิ้นไปในตน ให้สนิท “ตัวตน” อย่างใด ที่จะต้อง มีไว้อาศัย

      เช่น “อวิชชา” ก็ดี “อนุสัย” ก็ดี คำพูดภาษาพยัญชนะ “ไม่ใช่คำว่าอัตตา หรือไม่ใช่คำว่าตัวตน” สักหน่อย แต่นี้แหละคือ “ตัวตน” แห่งผีร้ายของตน ที่ตัวเองรู้ตัวตน ของตัวเอง ได้ยากยิ่งที่สุด อย่างนี้แหละ เป็นต้น ที่เป็น “ภาวะ” ต้องกำจัดด้วย “วิธีดับที่วิเศษ” ให้สิ้นภาวะที่ “เป็น” ที่ “มี” ในผู้ที่ “อวิชชา” ซึ่งยัง “อุปาทาน” อยู่ทั้งสิ้น

      สรุปง่ายๆคือ “ความยึดมั่นถือมั่นใด ที่ยังมีอยู่ในจิตใจ จะหยาบ, กลาง, ละเอียดแค่ไหน” ก็ล้วนเป็น “ตัวตน” ที่จะต้อง “กำจัดตัวตน” นี้ให้หมดไปจากจิตใจ ให้เกลี้ยงทั้งสิ้น จะอยู่ในชื่อใดก็ตาม

      คำว่า “อุปาทาน” แท้ๆนี่แหละ “ตัวตน” แท้ๆ
     เพราะฉะนั้น “อกุศลจิต” ทั้งหลายทั้งปวง ที่ยังมีอยู่ในจิตใจ ขั้นละเอียดสุด ที่ละเอียดสุดปานใด ชื่อว่า “อัตตา” ที่จะต้องกำจัดทั้งสิ้น

      ส่วน “กุศลจิต” ใดที่ไม่ต้องกำจัด แต่“มี” ไว้เพื่ออาศัยทำประโยชน์ อยู่ในโลก เพราะไร้โทษแท้จริง ซึ่งบริบูรณ์ตาม “โอวาทปาฏิโมกข์ ๓” แล้ว ได้แก่ “ไม่ทำบาปทั้งปวง ทำกุศลให้ถึงพร้อม และทำจิตใจให้ผ่องใส” สำเร็จเสร็จจบ

      ท่านผู้นี้ก็จะมี “อรหัตตา” อาศัยไป จนกว่าจะตายกายแตก (กายัสสะ เภทา) คราสุดท้ายของตน แล้วตนก็ทำภาวะ “นิพพานชนิดที่ ไม่ทำความปรารถนา จะมีอัตตา ต่อไปอีกแล้ว” (อัปปณิหิตนิพพาน) เป็น “ปรินิพพาน” ขั้นปริโยสาน (การดับรอบ ที่จบอย่างสัมบูรณ์ หรือที่สุดโดยรอบ)

      ถ้าเรายัง“ยึดอยู่” ก็“ยึดอย่างสมาทาน” ซึ่งไม่ได้ “ยึดอย่างอุปาทาน” จึงชื่อว่า “อัตต” หรือ “อัตตา” (ตัวตน) ที่เป็น “อรหะ” (ไม่ลึกลับ) ซึ่งภาษาที่บัญญัติ รู้ดีทั่วไปก็คือ “อรหัตต” หรือ “อรหันต” นั่นเอง ซึ่งหมายถึง ผู้“ไม่มีตัวตนที่ลึกลับ สำหรับตนแล้ว เป็นที่สุด” ซึ่งคำว่า “อรหัตต” นี้ผู้รู้ทั้งหลาย จะแปลกันว่าอย่างไร ก็มีอีกมากสำนวน

       “ยึดอย่างสมาทาน” ยึดอย่างไร?
      “ยึด” ชนิดที่ “ไม่หลง - ไม่ลึกลับ - ไม่มีความสุข ความทุกข์ในตนแล้ว” จึงเท่ากับ “ไม่มีตัวตน ที่เป็นแบบโลกีย์กันอีกแล้ว” ซึ่ง “ภาวะ” เหล่านี้ไม่ลึกลับ เรารู้จักรู้แจ้งรู้จริง “ตัวตน” นี้จริงแล้ว และยอม “มีตัวตน” นี้อยู่อย่างอาศัย เท่านั้น โดยตน “พ้นความเป็นภาวะ แห่งโลกีย์ในใจตนแล้ว” ทุกภาวะ

      คำว่า “อัตตาและอนัตตา” นี้จึงเป็นบัญญัติภาษา ที่ต้องทำความเข้าใจ และศึกษาปฏิบัติ ให้เข้าถึง “ของจริง-ภาวะจริง” ทั้ง ๒ ภาวะ จึงจะรู้จักรู้แจ้งรู้จริง ความเป็น “อัตตา” หรือ “ตัวตน” อย่างแท้จริงได้ ซึ่งขอยืนยันอีกทีว่า “อัตตา” หรือภาษาไทยว่า “ตัวตน” นี้ หมายถึง“ภาวะ” ทุก“ภาวะ” ไม่ว่า “รูปธรรม หรือ นามธรรม” ที่ยังมีในตน

      ผู้บรรลุ “อรหัตตผล” เองจริง จึงจะ “มีความรู้จริงในภาวะจริง ความรู้จริง ในภาวะจริง ที่ลึกซึ้งชัดเจน ถึงความจริง” ว่า เราทั้งไม่ผลัก ทั้งไม่ดูด หรือ ไม่โต่งไปทางใด ในภาวะทั้ง ๒ นั้นแล้ว คือ อัตตาและอนัตตา

      จึงจะเป็นผู้เห็นแจ้งเห็นจริงๆว่า ภาวะของ “อนัตตาหรือ ความไม่ใช่ตัวตน – ความไม่มีตัวตน - ความไม่เป็นตัวตน” นั้น คืออย่างไรแท้ๆ

      ต้องถึงปานฉะนี้ จึงจะเป็นผู้ถึงซึ่ง “ตรงกลาง” (มัชฌิมะ) คือ ผู้บรรลุธรรมถึง “ความเป็นกลาง” ซึ่งชื่อว่า ผู้มี“มัชฌัตตตา” (ความเป็นกลาง, ความไม่เข้าข้างฝ่ายใด) อันเป็น “ผลธรรม” ขั้นปลายสุด ที่เรียกได้ว่า “อรหัตตผล”

      มิใช่เป็นแค่ “ทางสายกลาง” ที่ภาษาบาลี คือ “มัชฌิมาปฏิปทา” (ทางปฏิบัติ เพื่อบรรลุ ความเป็นกลาง) อยู่เท่านั้น เพราะนั่น มันเป็นเพียงแค่ “มรรคธรรม” เท่านั้น อาจจะแค่ “เพิ่งเข้าใจ ความเป็นกลางขั้นต้น” ก็ได้ แต่ยังไม่ได้ปฏิบัติ “เข้าถึงภาวะแห่ง ความเป็นกลาง” เลย แม้แค่ขั้น “อบายภูมิ”

      ก็จะไม่สามารถรู้จักรู้แจ้งรู้จริง ภาวะแห่งจิตใจตน ที่ไม่โต่งไปทั้งข้าง “อัตตา” และ ไม่โต่งไปทั้งข้าง “อนัตตา” อันเป็น “ภาวะแห่งผลธรรม” แท้

      ดังนั้น คำว่า “อัตตา” ก็ดี คำว่า “อนัตตา” ก็ดี จะต้องชัดเจนว่า ต้องมี “ความถึงพร้อมด้วยตัวตน” คือ “อัตตสัมปทา” ด้วยการปฏิบัติ ให้บรรลุ “ก่อน” ตามที่พระพุทธเจ้า ตรัสว่าเป็น “แสงอรุณ” ที่ต้องมาก่อนพระอาทิตย์ จึงจะปฏิบัติด้วย มรรคอันมีองค์ ๘” ที่พระพุทธเจ้าหมายถึง “พระอาทิตย์” ต่อไปจนกว่าจะ “ดับตัวตนหมดสิ้น - ไม่มีตัวตน” คือ “อนัตตา”

      สุริยเปยยาลสูตร (เล่ม ๑๙ ข.๑๒๙ - ๑๓๖)
[๑๒๙] มิตรดี เป็นนิมิตแห่งอริยมรรค
[
๑๓๑] สีลสัมปทา เป็นนิมิตแห่งอริยมรรค .
[๑๓๒] ฉันทสัมปทา เป็นนิมิตแห่งอริยมรรค .
[
๑๓๓] อัตตสัมปทา เป็นนิมิตแห่งอริยมรรค .
[๑๓๔] ทิฐิสัมปทา เป็นนิมิตแห่งอริยมรรค . .
[
๑๓๕] อัปปมาทสัมปทา เป็นนิมิตแห่งอริยมรรค
[๑๓๖] โยนิโสมนสิการสัมปทา เป็นนิมิตแห่งอริยมรรค

      ตัวตนตัวแรก ที่จะต้องกำจัด คือ "สักกายะทิฏฐิ" เป็นสังโยชน์ ข้อแรกเลย ในสังโยชน์ ๓ ที่พระโสดาบันต้องพ้น
        ๑. พ้นสักกายทิฏฐิ (มีญาณรู้เห็นตัวกิเลสหยาบ ว่าไม่ใช่เรา) .
        ๒. พ้นวิจิกิจฉา (พ้นความสงสัยในตัวตน สักกายะกิเลส ) .
        ๓. พ้นสีลัพพตปรามาส (ไม่ปฏิบัติย่อหย่อนในศีลพรต แบบลูบๆ คลำๆ ทำเหยาะๆ แหยะๆ ไม่เอาจริง ยังอสุรกายอยู่). 

      ทุกสรรพสิ่งแห่งรูปธรรม และนามธรรม ทั้งหลาย ถ้าเรา “ถือเอา” (อาทาติ) หรือ “ยึด” รูปใดนามใด (อาทาติ) ทุก“ภาวะ” ที่“ยึด” นั้นล้วนคือ“ตัวตน” ทั้งสิ้น เพียงแต่ไม่ได้บัญญัติว่า “ตัวตน” (อัตตา) ลงไปเท่านั้น

      ซึ่งตนเองเท่านั้น จะต้องรู้ทุก “ภาวะ” หรือ “ตัวตน” ไหนของตน ที่จะต้องกำจัด ให้มัน “ดับ” สิ้นสนิท “ภาวะ” หรือ “ตัวตน” ไหนของตน ที่มันคือ “ความมีอยู่” อาศัย

     นัยที่สุดสำคัญมาก สำหรับศาสนาพุทธ คือ แม้จะ“สามารถมีญาณจับตัวตน ของอัตตาได้แล้ว” ก็ต้องมี“วิธีดับที่วิเศษสำคัญ” อีกด้วย ถ้ายังไม่มีแม้แค่ “วิธีดับที่วิเศษ” ก็ยังไม่สามารถ “ดับตัวตนที่เป็นเหตุ” ให้หมดเกลี้ยงสิ้นสนิท จนกระทั่งดับ “ตัวตน” ของเหตุหมดสิ้น อย่างละเอียดสัมบูรณ์ได้ มีก่อน-หลัง ไปตามลำดับ อย่างลาดลุ่ม เรียบราบ เหมือนฝั่งทะเล

     ด้วยประการฉะนี้เอง คำตรัสที่ว่า อัตตสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยตัวตน) ที่พระพุทธเจ้าทรง เปรียบเหมือน แสงอรุณซึ่งต้องมา“ก่อน” อาทิตย์ขึ้น อาทิตย์ขึ้นนั้น หมายถึง การปฏิบัติมรรค อันมีองค์ ๘ (พระไตรปิฎก เล่ม ๑๙ ข้อ ๑๒๙-๑๓๖)

     เห็นชัดเจนอยู่แล้วว่า จะต้องมีภาวะ “อัตตสัมปทา” มาก่อน จึงจะมีอาทิตย์

     ดังนั้น แสงอรุณ คือ “ความถึงพร้อมด้วยตัวตน” (อัตตสัมปทา) ซึ่งต้องเผชิญกับ“ความมีตัวตน” นั่นแหละ ต้องเป็นลำดับก่อน ใช่ไหม ตามที่พระพุทธเจ้า ตรัสอยู่ชัดๆ จึงจะถึงพร้อม “สัมมามรรค อันมีองค์ ๘” ได้ ซึ่งเป็น “วิธีปฏิบัติอันเอก” ตามมา

     ต้องลึกคมแม่นชัดนะ ว่า “อัตตสัมปทา” คือ “บรรลุความมีตัวตน” ก่อน ไม่ใช่ “อนัตตสัมปทา” คือ “บรรลุความไม่ใช่ตัวตน” ก่อนดอกนะ

     เห็นชัด เข้าใจชัด ไหม ว่า มันต้องมี “ความถึงพร้อมด้วยตัวตน” ก่อนอยู่โต้งๆ แล้วยังจะต้องปฏิบัติ “มรรคอันมีองค์ ๘” ต่อไปอีก จนกว่าจะหมด สิ้นเกลี้ยงตัวตน

     ดังนั้น ถ้าใครไปหลงเพียงติดแค่ “คำพูด” ว่า “ทุกสรรพสิ่งไม่ใช่ตัวตน” แล้วก็หลงผิด ว่า ตนได้

      บรรลุ“อนัตตา” ไม่ต้องปฏิบัติให้“ถึงพร้อมตัวตน” ให้ได้ก่อน มันก็ปฏิบัติ “มรรคอันมีองค์ ๘” ไม่ได้ หนะซี!

       เพราะไม่มี“ภาวะแห่งตัวตน” นั้นๆ ที่เป็น “ภาวะแห่งตัวตนของทุกข์” ก็ดี “ภาวะแห่งตัวตนของสมุทัย” ก็ดี ที่จะต้องปหาน” (การละ, การจากไป) หรือ “ปหาตัพพ” (พึงสละ, พึงละ, ควรละ) ให้ได้ ตามหลัก “อริยสัจ ๔” เลย ดังนั้น ผู้หลงผิดเช่นนี้ ก็เป็นอัน “มิจฉาทิฏฐิ” แน่นอน

       ความจริงนั้น “ความไม่ใช่ตัวตน” หรือ “อนัตตา” นั้น เป็น “ผล” ขั้นปลายแห่ง “การหมดสิ้นตัวตน” ต้องบรรลุ “ความหมดตัวตน” สำเร็จแล้วจริง ผู้ปฏิบัติมีสภาวะ” นั้นๆจริงแล้ว จึงจะ “เห็นจริง” ว่า “ตัวตนใดๆ มันก็ไม่ใช่ตัวตน”

       ไม่ใช่หลงแค่ “ความเข้าใจ” พอได้ “ความเข้าใจ” เท่านั้น แล้วก็หลงผิดว่า “เราได้ภาวะ“อนัตตา” เราได้“ความไม่ใช่ตัวตน” แล้ว นั่นมันได้แค่ “คำพูด” ที่ตนเองมี ความเข้าใจในคำพูดนั้น มาไตร่ตรอง ขบคิดจนกระทั่ง เข้าใจได้เท่านั้น

       ผู้นี้ยังไม่ได้มีภาวะ “ถึงพร้อมตัวตนหรือเข้าถึงตัวตน” ก่อน (อัตตสัมปทา) ตามที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ ในเรื่อง “แสงอรุณ” ใน “สุริยเปยยาลสูตร” อยู่ชัดๆ

       เพราะยังไม่ใช่ “ได้สภาวะแห่งความหมดตัวตนแล้ว” แล้วผู้ปฏิบัติจึงจะมี “ญาณทัสสนวิเศษ” สัมผัสเห็น “ความไม่มีตัวตน” ที่ตนบรรลุผลแล้วนั้น ผู้นั้นจึงจะเห็นแจ้งได้ว่า “อ๋อ..ความเป็นตัวตน มันไม่ใช่ตัวตน” มันเป็นเช่นนี้เอง (คือตถตา)

       พ่อครูถามพวกเราที่ฟังอยู่ว่า อยากได้ตถตาอย่างนี้ไหม ? ผู้ชมตอบว่า ได้  พ่อครูจึงถามต่อว่า แล้วมีบ้างไหม? ผู้ชมตอบว่า มีบ้าง พ่อครูว่า บรรยายธรรมไม่อ้างว้าง และมี คน sms มาอีกว่า

0888705xxx  โพธิรักมาจากพระโปธิละคัมภีร์เปล่า.. เดียรถีก็สืบสันดานมาจาก เดียรัจฉาน!
0888705xxx  พตปฎ บอกอยู่แล้วว่า ไม่มีตัวตนเป็นมิจฉาทิฐิ.. แต่พธร. ยังยึดไม่มีตัวตนอีก!
0888705xxx  เจตนาพธร. หวังกล่อมให้ชาวอโศก เป็นทาสใช้แรงงานฟรี เพราะควาย ชอบกินแต่หญ้า
0888705xxx  พธร.กำลังตกนรกอยู่ ยังไม่รู้ตัวเลย! กลับไปมองสังคมอื่น ว่าต่ำกว่าตนเอง!
0888705xxx  ตุ๊เจ้าตาบอดจูงโยมตาบอด.. ก็คืออรหันต์เก๊ พธร.เดินนำชาวอโศก นั่นเอง!
0888705xxx  อวิชาเป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร3 พธร.ก็คือตัวอวิชา เพราะยังบูชา สังขาร3อยู่
0888705xxx  พธรคืออรหันของหมู่เดียถี จะพูดผิดพูดถูกยังไง เดียถีทั้งหลายก็ OKอยู่แล้ว
0888705xxx  พธร.คือสัตว์นรกมาเกิด เพื่อทำลายพุทธศาสนา! ตายเมื่อไร คงได้ลงนรกซ้ำอีก!
0888705xxx  พธร.เหมือนสัตว์นรกไม่มีผิดเพี้ยน.. เพราะจิตวิญญาน แสดงออก บนใบหน้าชัดเจน!

        ผู้ยังไม่มี “ภาวะแห่งความหมดตัวตนในตน” แล้ว แต่ไปหลงตน แค่ได้เข้าใจ อย่างชัดเจน แจ่มแจ้งว่า “ความไม่ใช่ตัวตน” นั้นคืออย่างไร ก่อนที่จะกำจัด “ตัวตนที่มีให้หมดสิ้นไป” จริง ผู้นี้คือ ผู้มี “ความยึดได้แค่คำพูด ว่าเป็นตัวตน” ตรงตาม “อุปาทานข้อที่ ๔” ฉะนี้เองแล ผู้มี “อัตตวาทุปาทาน” ตัวแท้ๆ

       อย่าไปเข้าใจผิดตื้นๆในคำว่า “อัตตวาทุปาทาน” อยู่แค่ว่า “ความยึดตัวตน” เป็นอันขาด เพราะที่แท้นั้น “อุปาทาน” ข้อนี้ ยังไม่ถึง “ความยึดตัวตน” แท้ๆแล้ว เป็นได้แค่ “ความยึดคำพูด” คือ “วาทะ” เท่านั้น ว่า “เป็นตัวตน” ยังไม่ลึกเข้าไปถึงภาวะ หรือ เข้าไปถึงความจริงของ “ความเป็นตัวตน” แต่อย่างใดเลย

       การเข้าใจว่า “ทุกสรรพสิ่งไม่ใช่ตัวตน” ตามบาลีที่ว่า “สัพเพธัมมา อนัตตา” นั้น เข้าใจได้ ไม่ใช่เรื่องยาก ใครๆที่พอมีปัญญาพอสมควร ก็เข้าใจได้ทั้งนั้น

       แต่ความรู้ที่ชี้บ่ง “ภาวะสุดท้ายแห่งการบรรลุธรรม ถึงที่สุดอรหัตตผล” ว่า
       “ทุกสรรพสิ่ง ล้วนไม่ใช่ตัวตน” นั้น จะเกิดจริงเป็นจริง เป็น “ภาวธรรมที่เกิดใน ผู้ปฏิบัติที่ได้ รู้จักรู้แจ้งรู้จริง ขั้นท้ายปลายสุด ของธรรมะที่กำจัด “ตัวตน” (อัตตา) ได้หมดสิ้น จริงๆเสียก่อน” จึงจะเห็น “ความไม่ใช่ตัวตน” ที่ได้ “ถูกต้องวิโมกข์ ๘ ด้วยกาย สำเร็จอิริยาบถอยู่ ทั้งอาสวะของผู้นั้น ก็หมดสิ้นแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา”  ซึ่งอาตมาได้อธิบาย และอ้างอิงหลักฐาน มามากต่อมากแล้ว

       “พ่อครูถามว่า ใครฟังแล้วไม่รู้เรื่องยกมือขึ้น (อย่าอาย) ปรากฏว่า ไม่มีใคร ยกมือเลย ... คนดูว่า เข้าใจมากน้อยต่างกัน ส่วนใหญ่เข้าใจซาบซึ้งดีด้วย

 

           ต่อไปเป็นการตอบประเด็น

ตอนนี้จาน IPM ดู FMTV ไม่ได้แล้ว ...

ตอบ..ให้โทรไปหาช่างเทคนิคของ FMTV

ขอโอกาสแจ้งว่า แฟน FMTV ที่มีจานส้ม วิธีที่จะดูได้คือ ๑.ซื้อกล่องรับสัญญาณอื่นมาเปลี่ยน ยี่ห้อใดก็ได้ ที่ไม่ใช่กล่อง IPM ก็รับได้แล้ว ๒.สำหรับท่านที่จะดู จากจาน IPM ให้ปรึกษาช่างเทคนิค ที่เบอร์โทร 086-5580234 หรือ 080-4574844

การที่เรายังมีกิเลสแล้วพยายามลดละจนจางลงเรื่อยๆ นรกตอนตาย จะจางลงใช่ไหม? ตอบ.. ใช่เลย

ช่วยอธิบายทิฏฐธรรมิกัตถประโยชน์

ตอบ.. มี ๔ อย่างคือ เขาแปลอย่างโลกียะว่า คาถาเศรษฐี มีย่อว่า อุ-อา-กะ-สะ หนักเข้าไป ท่องแล้ว จะได้เป็นเศรษฐี กลายเป็นเรื่องเทวนิยม เดรัจฉานวิชชาไปเสีย แต่ที่จริงคือ

๑. อุฏฐานสัมมปทาคือ ขยัน
๒. อารักขสัมปทา คือรักษา ไม่ใช่แปลว่า ไม่เอาออกหรือสะสม ถ้าไปรักษาแผลเอาไว้ จะไม่ดีหรอก ที่จริงต้องแปลว่า ทำให้ดีให้เจริญขึ้น
๓. กัลยาณมิตตา คือมิตรดี ที่เขาแปลกันอย่างผิดๆ เช่นว่า มีวันนี้เพราะพี่ให้ อย่างนี้ไม่ถูกต้อง มิตรดีต้องพากันเจริญในธรรม
๔. สมชีวิตา เขาแปลว่า การเลี้ยงชีพชอบ ทั้งรวยทั้งโกง เบ่งขี้แตกทุกวัน หรือคนหากิน อบายมุขเฟื่อง กลับรวย มีเกียรติยศมากเลย อย่างนี้เป็นการเลี้ยงชีพที่ผิดๆ

ทิฏฐธัมมิกัตถะประโยชน์ คือ ประโยชน์ในปัจจุบัน
๑. ต้องพากเพียรขยัน
. ต้องรักษา อนุรักขนาปทาน คือตามรักษาสิ่งที่ดี คงอยู่ต่อเนื่องไป ให้มีมาก มีแน่นกว่าเดิมก็ได้ อารักขะ ไม่ใช่แปลว่า สะสมกอบโกย
๓. ต้องมีมิตรดีที่พาไปมีศีล เข้าถึงการเข้าสู่ ศรัทธาสัมปทา ศีลสัมปทา จาคะสัมปทา ปัญญาสัมปทา คือพาไปสู่ สัมปรายิกกัตถะประโยชน์
๔. สมชีวิตา

ท่านพ่อครูบอกว่า ความมี ที่ไม่มีนั้น ในรูปธรรมคือ "มีจิตเป็นผู้ให้ ผู้เสียสละ มีความอ่อนน้อมถ่อมตน ไม่เอาชนะคะคาน" เรียกว่า ความมีที่ไม่มีได้ไหม?

ตอบ.. ความมีที่ไม่มีในรูป ในเสียง กลิ่น รส สัมผัสกาย แม้ในใจ สิ่งที่ถูกรู้ หรือสัมผัสรู้ คือรูป หูกระทบเสียง เสียงก็ถูกรู้ เป็นต้น และการเป็นผู้เสียสละ อ่อนน้อม เป็นกุศล เป็นสิ่งดีไว้อาศัย ก็เป็นความดี พ่อครูก็ย้ำ แต่ไม่ย้ำอยู่คำหนึ่ง คือคำว่า กตัญญูกตเวที ที่ไม่ย้ำเพราะ ไม่อยากให้เขาเข้าใจผิด ว่าพ่อครูทวงบุญคุณ ให้เห็นเองรู้เอง ในเรื่องนี้ ถ้าพูดเอง มันไม่เข้าท่า ใครจะกตัญญู ก็แล้วแต่เขา ได้เท่าไหร่ก็เท่านั้น ไม่ได้ไปโทษเขานะ ถ้ามาช่วยก็ดี

พ่อครูครับ ผู้ใช้กล่องและจาน IPM ไม่ต้องไปซื้อกล่องเพิ่ม ให้ติดต่อฝ่ายเทคนิค ที่เบอร์ 086-5580234 กับ 089-7872942 ผมเองปวดหัวไปสองวัน ปวดหัวเลย แต่ตอนนี้ ดูพ่อครูได้แล้วครับ

ผมเอาลูกสาวมาฝากเรียน ม.๑ เพราะอยากให้ลูก เป็นคนดี มีศีล ผมตั้งใจอยู่ ๔ วัน แต่ว่าตอนนี้ ขออยู่เพิ่มเป็น ๒๐ วัน เพราะชาวอโศกใจดี และมีงานที่มีกุศลให้ทำ
ตอบ.. พ่อครูว่าอนุมัติ อยู่เพิ่มอีก ๒๐ วันก็ได้

ปฏิจจสมุปบาทกับอิทัปปัจจยตา อันเดียวกันไหม
ตอบ.. โดยสภาวะเป็นอันเดียวกัน อิทัปปัจยตา จะเรียกว่า ปัจจยาการก็ได้ คือ เป็นเหตุปัจจัย ต่อเนื่องกัน อวิชชาจึงมีสังขาร -นามรูป -อายตะ -ผัสสะ -เวทนา -ตัณหา -อุปาทาน -ภพ -ชาติ -ชรามรณะ -โศกปริเทว ทุกขโทมนัส อุปายาสะ ผู้ศึกษาสัมมาทิฏฐิ ก็จะเรียนรู้ ตั้งแต่ชาติ ซึ่งมีความหมายหลายอย่าง จากชาติก็ไปเรียนภพ ไล่ไปหา อุปาทาน มี ๔ ต่อมา ถึงตัณหาที่มี ๖ (แทนที่จะมี ๓) ซึ่งเป็นแง่คิดสะดุดว่า ในปฏิจจสมุปบาท พระพุทธเจ้า ท่านให้รู้ตัณหา ๖ -เวทนา ๖ -ผัสสะ ๖ -อายตนะ ๖ -วิญญาณ ๖ -นามรูปมี ๒ ธรรมะพระพุทธเจ้า จึงชัดเจนว่า ต้องมี เรื่อง ๖ อย่าง ปฏิสัมพัทธ์กัน พระพุทธเจ้าท่านเกิด Relative theory ก่อน ไอสไตน์เสียอีก

สติปัฏฐาน ๔ ในการพิจารณาเวทนา
ตอบ.. ต้องหัดอ่านความรู้สึก ไม่ได้ฝึกก็ไม่รู้ จะเข้าถึงได้ ต้องฝึกอ่าน โดย อาการ ลิงค นิมิต อ่านรู้ว่า อย่างนี้คือเวทนา สุขหรือทุกข์ แล้วอ่านเหตุแห่งเวทนา ศึกษาไป

ปทปรมะแปลว่า รู้หมดอดไม่ได้ ใช่ไหมคะ
ตอบ.. ก็จริงเอาง่ายๆ สรุปแล้ว ปทปรมะคือ อยู่ตรงที่ ไม่บรรลุธรรมนั่นเอง แม้รู้มาก

อาบน้ำถูสบู่เป็นกิเลสไหมคะ ถ้าไม่ได้ถูสบู่ ก็รู้สึกว่าไม่สะอาด
ตอบ.. พ่อครูไม่ได้ใช้สบู่มา ๔๐ ปีแล้ว ทุกคนมีมันมีเมือก บนผิวทั้งนั้น อาบน้ำพ่อครูใช้ผ้า ในการขัดถูตัว อย่าให้ผ้าหยาบเกินไป ผ้าฝ้ายก็ใช้ได้ ก็ใช้ผ้า ๑ ผืนถูตัว ทุกวันนี้ พ่อครูอาบน้ำอุ่น แล้วพ่อครูจะสปา ด้วยปัสสาวะ แล้วนำน้ำอุ่นมาล้าง ด้วยมือที่ถูไปทั่วตัว แล้วก็ใช้ผ้า ชุบน้ำอุ่นถู เสร็จแล้วก็ซักผ้า ด้วยน้ำร้อน แล้วก็อาบน้ำ ด้วยน้ำเย็นต่อ แล้วบิดผ้าให้แห้ง ใช้ซับน้ำที่ตัว ก็จบ ใช้ผ้าผืนเดียวจบ ใช้ผ้าจนผ้าขาด ปะแล้วปะอีก มีคนเก็บผ้า ไปไว้ในพิพิธภัณฑ์ ลองหัดดู อาบน้ำไม่ใช้สบู่ ซึ่งสบู่มีโซดาไฟ เป็นหลัก มีฤทธิ์กัดกร่อน คุณก็เลยรู้สึกว่า มีอะไรกัดฟอก พอไม่มีอะไรกัด ก็รู้สึกไม่สะอาด เป็นอุปาทาน ถ้าไม่สะอาด พ่อครูก็ตัวเน่ามา ๔๐ ปีแล้ว มีพวกเรา ก็ไม่ใช้สบู่กันหลายคน

ผู้ที่ใช้เครื่อง IPM ดูที่ช่อง ๑๑๘ ไม่ได้ ให้ทดลองสแกน เพิ่มช่องใหม่ โดยใช้ความถี่ ๓๕๕๑ ซิมโบลเรต ๑๓๓๓๓ แล้วเลือกแนวนอน H พอหลังสแกน จะมีช่องเพิ่ม FMTV จะอยู่ที่ช่อง ๓๑๐ และ ๓๐๔ ก็ลองดู ใครทำได้อย่างไร แจ้งผลกลับ หากจูนแล้วดูไม่ได้ คือซื้อกล่องรับ ยี่ห้อใหม่

...จบ