FMTV
560405_รายการเรียนอิสระ(ตามสำนึก) โดยพ่อครูและส.ฟ้าไท
เรื่อง
แสงอรุณไม่มาอนัตตาไม่มี

           ส.ฟ้าไทดำเนินรายการที่บ้านราชฯ

เราจะมีงานปลุกเสกฯในวันพรุ่งนี้ แล้วจะมีงานตลาดอาริยะต่ออีก ยินดีต้อนรับ ผู้ที่จะมาร่วมงาน เรามีข้าวโพดฝักโต ไว้ต้อนรับ อยากให้คนมาเยอะๆ ส.ฟ้าไท เอารูปที่เรามีผลผลิต ริมมูลไปให้คนดู ในอินเทอร์เน็ต ก็มีคนอยากจะมากันหลายคน ซึ่งทุกวันนี้ เป็นสิ่งที่โลกขาดแคลน โลกทุกวันนี้มันร้อน แค่มีน้ำตกเล็กๆ ริมมูล คนก็มาเล่นกันมากมาย

        สิ่งที่พ่อครูอธิบายเมื่อวานเราได้รู้เรื่องตัวตน หมายถึงภาวะทั้งรูปและนาม ที่มีในตน เราต้องตามเห็นตัวตนให้ได้ อัตตานุทิฏฐิ เราจะเห็น ความรักตัวตน อัตตกาม เราจะเห็น การทรมานตน เห็นภาวะที่เป็นของตน การได้ตัวตน เห็นความเป็นตัวตน และจะเข้าใจ การยึดได้แค่คำพูด ว่าเป็นตัวตน คืออัตตวาทุปาทาน คืออย่าเข้าใจผิดว่า อัตตวาทุปาทาน คือความยึดตัวตน แท้จริงคือ ความยึดได้แค่คำพูด ยังไม่ลึกถึงภาวะ ความเป็นตัวตน ด้วยซ้ำไป ซึ่งเราก็ต้องมาเรียนรู้ ความเป็นตัวตนของเรา ที่เป็นสภาวะ แล้วเราจะลดละ ตัวตนได้อย่างไร จนสิ้นอนุสัย ไม่เอียงไปทางมีตัวตน หรือไม่มีตัวตน ต้องไม่โต่งไป ทั้งสองข้าง

        พ่อครูก็ขอให้ข่าวคราว ว่าวันพรุ่งนี้ก็เป็นวัน ปลุกเสกพระแท้ๆ ของพุทธ ครั้งที่ ๓๗ เป็นปีที่ ๓๗ ด้วย ครั้งนี้ พ่อครูตั้งใจไว้ว่า จะตอบสด โดยจะให้อ่าน หนังสือ ธรรมที่เป็นพุทธ ใครอ่านแล้ว จับประเด็น มาถามกันสดๆเลย เอาประเด็น มาใส่กล่องเลย ทั้ง ๗ วันที่เรามาปลุกเสกฯ ให้ชื่อรายการว่า "ตอบกันด้วยวิญญาณพุทธ"

ซึ่งคุณ 0850556xxx ฆ่าไก่ใยใช้มีดฆ่าโค แค่อ่านโผพท. ให้ญาติโยมฟัง ให้ดช. ดูดี ก็อ่านได้

        เขามีเจตนาจะถล่มทลายพ่อครู เขาก็รู้ว่า ที่อ่านนี้ เป็นโผที่พ่อครู เรียบเรียง เป็นความคิดความรู้ ของพ่อครูเอง แต่เจตนาจะถล่มทลายกัน ก็ไม่ว่ากัน ให้มีช่องบอกกันมา

0850556xxx   แม่มูลตรงบ้านราชตื๊นตื้น น้ำดูดด้วย ใครหลงเข้าไป จะถูกดูด ลงบาดาลทันที

0888705xxx   พธร.คือตัวเอี้ยอิ๊บอ๋าย เป็นกากเดนศาสนา สืบเชื้อสาย DNA มาจากเดียถีเทวทัต

0888705xxx   พธร.กลัวแพ้เลยไม่กล้าเอาSMSของเรามาอ่าน เพราะเหตุผลของเรา ชัดเจนกว่ามาก

0888705xxx   พุทธเจ้าสอนโลกีอันเหมาะแก่ฆราวาส และสอนโลกุตระ เฉพาะแก่นักบวช แต่พวกเดียถียาจารย์ ทั้งหลาย เช่นยันดะ พธร. พวกนี้ ต้องการจะโอ้อวด ว่าตนเป็น อรหันต์ เลยชอบโม้ แต่โลกุตระ! โดยลืมไปว่า พุทธเจ้าให้อรหันต์ ไปสอนชาวบ้านอยู่ 3 ข้อ คือละชั่ว ทำดี ทำจิตให้ผ่องใส ซึ่งขนาดพุทธเจ้า ยังต้องสั่งอรหันต์ ไว้เช่นนี้เลย! แต่พวกเดียถี ที่บวชเป็นสมณะ ปลอมเป็นพุทธทั้งหลาย ชอบให้มีคน นับถือมากๆ จึงเน้นแต่โลกุตระ ทั้งๆที่พธร. เอี้ยอิ๊บอ๋าย!

        พ่อครูว่า เอี้ยอิ๊บอ๋าย! สำเนียงส่อภาษา กิริยาส่อสกุล จริงๆโอวาทปาติโมกข์ ๓ ท่านแปลว่า การละชั่ว ประพฤติดี นั้นที่จริง ท่านแปลว่า ไม่ทำบาปเลย พระพุทธเจ้า ท่านให้ละบาปเลย แต่เขายังเข้าใจไม่ได้ ต้องอนุโลมไปตามภาษา พระพุทธเจ้า ท่านไม่ให้ทำบาป แล้วทำแต่กุศล (อปุญญาภิสังขาร) ซึ่งเขาก็ว่า เราเน้นแต่โลกุตระ เราก็ไม่มีปัญหา คนที่เป็นอาริยะ จะไม่รังเกียจโลกุตระธรรม ถ้าเป็นความจริง ก็ควรชื่นชม ยกย่อง แต่คนที่ไม่ชื่นชม ก็คือยังไม่มี จิตโลกุตระ นั่นเอง ถ้าคนเป็นโลกุตระ จะชื่นชม ไม่ว่าคุณจะมี มากหรือน้อย ในสิ่งนั้น แต่คุณจะรู้ค่าเลยว่า มันดีจริง มันจะมีจิตริษยา คนไหนที่ริษยา คือคนไม่รู้จักสมบัติ อันมีค่านี้ เป็นสมบัติ อันยอด แม้คนมีน้อย ก็ชื่นชมคนมีมาก แต่เขาว่าธรรมะของพ่อครู ไม่ใช่โลกุตระ แต่คนที่โลกุตระ จะไม่ว่าคนอื่นว่า เอี้ยอิ๊บอ๋าย! หรอก แสดงพื้นฐาน ของจิตมา

        ในวันที่ ๗ เวลา ๗.๗๗ น. จะมีการแจกเข็มตราพระธรรม แก่นิสิต ว.บบบ. ที่ได้รับเข็มที่สอง

        ต่อจากงานปลุกเสกฯ ก็มีตลาดอาริยะ คืนชีวิตแม่มูน ในแม่น้ำ จะมีเรือใหญ่-เล็ก เรือพาย เรือเครื่อง วิ่งกันเต็มแม่น้ำ เราก็เร่งทำเรือกันเต็มที่ แทบไม่หลับไม่นอน ถ้างานไม่จุกตูด ก็ไม่เร่งกันทำ

        แม่น้ำมูนจะมีชีวิตชีวาขึ้นมา ใครมีเรือ จะมาช่วยส่งเสริม บรรยากาศก็มา จะมาขายสินค้าก็เชิญ จะมีสินค้าใส่เรือมาก็ดี แต่ถ้าใส่รถมา ไม่อนุญาต ถ้าใส่เรือมา ก็ยินดี จะขายราคาทุน ก็ไม่ว่ากัน

        มาเข้าเรื่องธรรมะ วันนี้ก็ยังคงมาศึกษาเรื่อง อัตตา และอนัตตา

        ซึ่งอนัตตาเป็นขั้นปลาย ไม่ใช่ขั้นต้น แต่ว่าทิฏฐิ ก็เข้าใจกันได้ เข้าใจว่า "ทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่ใช่ตัวตน" ใครก็เข้าใจได้ แต่ว่าความรู้ ที่จะบ่งชี้ภาวะนั้น อนัตตาคือที่สุด เป็นขั้น อรหัตตผลเลย ว่าทุกสิ่ง ล้วนไม่ใช่ตัวตน

การเข้าใจว่า “ทุกสรรพสิ่งไม่ใช่ตัวตน” ตามบาลีที่ว่า  “สัพเพธัมมา อนัตตา” นั้น เข้าใจได้ ไม่ใช่เรื่องยาก ใครๆที่พอมีปัญญาพอสมควร ก็เข้าใจได้ทั้งนั้น

        ความรู้ที่ชี้บ่ง “ภาวะสุดท้ายแห่งการบรรลุธรรม ถึงที่สุด อรหัตตผล”ว่า
      “ ทุกสรรพสิ่ง ล้วนไม่ใช่ตัวตน”นั้น จะเกิดจริงเป็นจริงเป็น “ภาวธรรมที่เกิดใน ผู้ปฏิบัติที่ได้รู้จักรู้แจ้งรู้จริง ขั้นท้ายปลายสุด ของธรรมะที่กำจัด “ตัวตน” (อัตตา) ได้หมดสิ้น จริงๆเสียก่อน” จึงจะเห็น “ความไม่ใช่ตัวตน” ที่ได้ “ถูกต้องวิโมกข์ ๘ ด้วยกาย สำเร็จอิริยาบถอยู่ ทั้งอาสวะของผู้นั้น ก็หมดสิ้นแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา” ซึ่งอาตมาได้อธิบาย และอ้างอิงหลักฐาน มามากต่อมากแล้ว

        “อัตตวาทุปาทาน”นี้มีความหมายว่า “ความยึดมั่นวาทะว่าตน” ก็คือ ยึดได้แค่ "คำพูด" ว่าเป็นอัตตา, อาตมัน, ปรมาตมัน

       “ ความยึด” (อุปาทาน) ข้อนี้ มีทั้งในชาว “เทวนิยม” อันหมายถึงศาสนา ที่ยึดพระเจ้า” ทั้งหลาย และมีทั้งในชาว “อเทวนิยม”ซึ่งหมายถึง ชาวพุทธทั้งหลายนี่เอง ชาว “เทวนิยม” ตั้งแต่โบราณมา เขาล้วนมีความนับถือ ยึดถืออัตตา, อาตมัน, ปรมาตมัน ซึ่ง “ความเป็น อัตตา, อาตมัน, ปรมาตมัน” เขาก็ได้แค่ “คำพูด” แล้วก็เชื่อตามที่พูด กันมาตลอด แม้ปัจจุบันนี้ เขาไม่เคย “เข้าถึงหรือได้สัมผัสสภาวะจริงของ อัตตา, อาตมัน, ปรมาตมัน” เลย จึงล้วนเป็น “ลัทธิ” เทวนิยมแบบนี้ มาตลอดกาลนาน

        ขออภัยอย่างมาก ที่ต้องพูดความจริงของสัจธรรม กันชัดๆอย่างนี้

        ซึ่งการจะ “บรรลุเข้าถึงหรือสัมผัสความเป็น อัตตา, อาตมัน, ปรมาตมัน” นี้เป็นเรื่องของ วิทยาศาสตร์ทางจิต เป็น “ปรมัตถธรรม”จริงๆ

        เพราะผู้เข้าถึงความจริงต้องมี อุตตริมนุสธรรม มีคุณวิเศษ อย่างแท้จริง ที่จะสามารถ “สัมผัส” รูปธรรม-นามธรรมนั้นๆ ไม่ว่า “อัตตาหรือตัวตน” ทั้งหลาย

        ระดับไหน จนกระทั่งถึงระดับขั้น “อนัตตาหรือไม่ใช่ตัวตน” ด้วย “การถูกต้อง(ผุสิต =การสัมผัส) วิโมกข์ ๘ ด้วยกาย สำเร็จอิริยาบถอยู่ ทั้งอาสวะของผู้นั้น ก็หมดสิ้นแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา” ตามทฤษฎีของ พระพุทธเจ้า ที่ตรัสรู้ ได้พิเศษเฉพาะ ดังใน

           วิโมกข์ ๘ ข้อ ๑-๒
๑. ผู้มีรูป(รูปฌาน) ย่อมเห็นรูปทั้งหลาย (รูปี รูปานิ ปัสสติ) จิตจะต้องรู้จักรูป (รูปคือสิ่งที่ถูกรู้)
๒. ผู้ไม่มีความสำคัญในรูปภายใน (๑๐/๖๖) ย่อมเห็นรูปทั้งหลาย ในภายนอก (อัชฌัตตัง อรูปสัญญี  เอโก พหิทธา รูปานิ ปัสสติ)  (พ่อครูแปลว่า มีสัญญาใส่ใจ ในอรูป คือ รู้ทั้งรูปภายนอก ไปจนถึงรูปภายใน ต้องเห็นทุกเวลา แม้ขั้นอรูป ก็ต้องใส่ใจกำหนด)

        ส่วนชาวพุทธ ถ้าผู้ใดยังมี “มิจฉาทิฏฐิ”อยู่ ก็ดังที่อาตมาได้อธิบายมาแล้ว

        ก็ขอยกอ้างจากพระไตรปิฎก เล่ม ๑๔ ตั้งแต่ข้อ ๑๒๐-๑๒๙ ที่มีนัยสำคัญ เช่นเดียวกันกับ คนผู้หลงผิดใน “ความเป็นอนัตตา” ก็คล้ายกับผู้หลงผิด ที่ท้วงอาตมา นี่แหละ ผู้ท้วงอาตมา เขาแน่ใจว่า ที่อาตมาเห็น “ความมีตัวตนในตน” ที่จะต้อง “กำจัดให้หมดตัวตน ไปจากจิตใจเรา” นี้ผิด ต้อง “พบอนัตตา” ก่อน แล้วจึงจะปฏิบัติ

        แตกต่างกับอาตมา คือ เขาเห็นว่า  “เขาพบอนัตตา” โดยเขาเชื่อว่า เขาบรรลุธรรม ด้วยการเกิดปัญญาใน “อนัตตา”ว่า “ทุกสรรพสิ่ง ไม่ใช่ตัวตน” แล้วจึงจะปฏิบัติ

        จาก “ทิฏฐิ”เช่นนี้เอง ที่ทำให้ เขาผู้เห็นแตกต่างกับอาตมา เข้าใจธรรมะ กันไปคนละด้าน ซึ่งอาตมาเข้าใจเขา เพราะธรรมะแบบนั้น อาตมาก็บรรลุมาแล้ว ซึ่งแน่นอนว่า เขาก็ต้องเชื่อว่า แบบของเขา “สัมมาทิฏฐิ” และเชื่อว่า อาตมามิจฉาทิฏฐิ

        อาตมาก็เชื่อว่า แบบของเขา เขาเข้าใจอย่างนั้นจริงๆ ซึ่งอาตมาก็เห็นว่า มันขัดกับ คำสอนของพระพุทธเจ้า เขาก็เห็นว่า แบบอาตมาเองนี่แหละ มิจฉาทิฏฐิ

        เขาเห็นอย่างนั้นจริงๆ แล้วก็ยืนยันว่า ถ้าขืนเข้าใจอย่างอาตมานี่ ไม่มีวัน บรรลุธรรม ได้หรอก อาตมาก็เชื่อของอาตมาว่า อาตมาบรรลุธรรม ได้จริงนะ

        ต่างคนก็ต่าง “เห็น”(ทิฏฐิ) ไปคนละอย่าง ก็เป็นธรรมดา เขาก็อธิบาย ของเขาไป

        ส่วนอาตมาก็ขออธิบาย ตามที่อาตมาเชื่อมั่นว่า นี่คือ พุทธธรรม ที่สัมมาทิฏฐิ

        อาตมาไม่เถียงหรอก แต่อาตมาก็ต้องอธิบาย ไปอย่างอาตมา มันก็ต้องขัดแย้ง และแน่นอน อาตมาก็จำเป็นต้อง "ชี้ผิด ว่าผิด และชี้ถูกว่าถูก ตำหนิสิ่งที่ควรตำหนิ ยกสิ่งที่ควรยก" ไม่มีทางห้ามกั้น ได้เลยจริงๆ

        จึงเลี่ยงไม่ได้เลย ที่ส่วนถูก อาตมาก็ต้องชี้ มาทางด้านอาตมา ส่วนที่ผิด ก็ต้องชี้บ่ง ไปอีกฝ่ายหนึ่ง ดังนั้นฝ่ายโน้นก็ต้อง “ตู่”ว่าอาตมา “ว่าเขา” หรือส่อเสียดเขา หรือโจมตีเขา หรืออะไรต่างๆนานา ที่จะถล่มอาตมาว่า ทำผิด เป็นเดียรถี ถึงขั้น ชั่วเลว โง่เง่า ถึงขั้นโง่บัดซบ ปานนั้นทีเดียว

        อาตมาเข้าใจความจริงนี้ว่า ต้องเป็นเช่นนี้ จึงไม่ได้แปลกใจอะไร และเข้าใจดีว่า  “นี่คือความถูกต้องแล้ว ตามสัจธรรม”

        ถ้าไม่เป็นเช่นนี้ อาตมาก็ต้องไม่ใช่ของจริง!
       ก็ต้องเป็นไปตามสัจจะ มันต้องเป็น (ความจริง) เช่นนั้นเอง (ตถตา)
       เอาล่ะ อาตมาขออธิบายต่อล่ะนะ

        ในพระไตรปิฎก เล่ม ๑๔ ข้อ ๑๒๑ พระพุทธเจ้า ตรัสตอบภิกษุ ที่ทูลถามว่า
      “ อุปาทานขันธ์” คือ รูปูปาทานขันธ์ - เวทนูปาทานขันธ์ - สัญญูปาทานขันธ์ - สังขารูปาทานขันธ์ - วิญญาณูปาทานขันธ์ “อุปาทานขันธ์” นั้นมี ๕ เท่านี้หรือ?

        พระพุทธเจ้าทรงยืนยันว่า “อุปาทานขันธ์” มี ๕ ประการเท่านี้
       ภิกษุที่ทูลถามต่อว่า “อุปาทานขันธ์ ๕” มีอะไรเป็นมูล ?
       พระพุทธเจ้าตรัสไว้ชัดว่า อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ นั้นมี “ฉันทะ”เป็นมูล

        [ผู้ศึกษาพึงศึกษาต่อใน “มูลสูตร ๑๐” มีหลักฐานว่า  “ฉันทะ”เป็นมูล แห่งสิ่งทั้งหลาย และสิ่งทั้งหลายมี “มูล”คือเริ่มแรก หรือต้นฐาน ต่อจากนั้น ก็เป็นการ “เกิดเหตุ - เกิดปัจจัย” ต่อเนื่องกันไป เป็นปัจจยาการ  และใน “อิทธิบาท ๔” ก็มี “ฉันทะ”เป็นข้อต้น หรือเป็น “มูล” ต่อจากนั้น ก็เป็นการเกิดต่อเนื่องกันไป เช่นกัน ]

        แล้วภิกษุก็ทูลถามต่อไปอีกว่า อุปาทานกับอุปาทานขันธ์ ๕ นั้นอย่างเดียวหรือ หรือว่า อุปาทานอื่นจากอุปาทานขันธ์ ๕

        และประเด็นอื่นๆอีก ได้แก่
-ความต่างแห่งความกำหนัด พอใจในอุปาทานขันธ์ ๕ พึงมีหรือ
-ขันธ์ทั้งหลายมีชื่อ เรียกว่าขันธ์ ได้ด้วยเหตุเท่าไร
-อะไรหนอแล เป็นเหตุ เป็นปัจจัยแห่งการบัญญัติ รูปขันธ์, เวทนาขันธ์, สัญญาขันธ์, สังขารขันธ์, วิญญาณขันธ์
-สักกายทิฐิ จะมีได้อย่างไร
-สักกายทิฐิ จะไม่มีได้อย่างไร
-อะไรหนอแลเป็นคุณเป็นโทษ เป็นทางสลัดออก ในรูป, ในเวทนา, ในสัญญา, ในสังขาร, ในวิญญาณ
-ก็เมื่อรู้ เมื่อเห็นอย่างไร จึงไม่มีอนุสัย คือ ความถือตัวว่า เป็นเรา ว่าของเรา ใน “กายอันมีวิญญาณ”นี้ และในนิมิตทั้งหมดในภายนอก”

        ข้อสังเกตสำคัญ คือ “อนุสัย”นี้ เห็นไหมว่า เมื่อถึงที่สุดคือ “ไม่มี”นั้นต้องไม่มีใน “กายอันมีวิญญาณ” และ ในนิมิตทั้งหมดในภายนอก”

        ที่สุดเห็นไหมว่า เมื่อ “ดับเหตุ”คือ  “ไม่มีอนุสัย” นั่นก็จบเรื่องคือ ไม่มีความถือตัวว่า “เป็นเรา-เป็นของเรา” นี้แหละคือ “อัตตา” แม้ในพุทธพจน์นี้ ก็ยืนยันชัดเจนใน “ความมีอัตตา” เช่นในข้อ ๑๒๕-๑๒๖ เป็นต้น ระบุชัดว่า มี “อัตตา” 

        และที่แสดงให้เห็นชัดเจนอีก ก็คือ “กาย” นั้นหมายถึง  “กายอันมีวิญญาณ” พร้อมทั้งหมด (วิญญาณ ๖) ซึ่งมีสิ่งบ่งบอกทั้ง “ในนิมิตทั้งหมด ในภายนอกด้วย”

        ไม่ใช่แค่ “รู้” (ชานาติ)แค่ “เห็น” (ปัสสติ) “อนุสัย”ที่อยู่ใน “ภวังค์” อันมีแค่ ในภายในเท่านั้น ซึ่ง “รู้”อย่างไม่มี “สัมผัส” แต่เนรมิตขึ้นมา “เห็น”ได้แบบ ผู้วิเศษ หรือนักเล่นกล เสกปุ๊บ เกิดปั๊บ ก็มีขึ้นมาเลย เห็นไหมว่า แตกต่างกันอยู่ชัดๆว่า

        ไม่มี “อิทัปปัจจยตา” ไม่มี “เหตุ”ที่มา ไม่มีหลักฐานของที่ไปที่มา จึง “ลึกลับ”

           อย่างไสบาบา นั้นเสกนาฬิกาโรเล็กซ์มาได้ ก็เป็นของปลอมมา ถ้าไม่ปลอม ก็ต้องไปขโมยเขามา เขาอาจเสกโรเลกซ์ได้จริงๆ แต่ไม่อยู่ในครรลอง คลองธรรม เพราะไปปลอม โรเล็กซ์เขามา ซึ่งโรเล็กซ์เขาผลิตมา แต่ละเครื่อง มีเลขประจำเครื่อง พ่อครูไม่ไปดูถูก ว่าเขาทำไม่ได้ แต่ว่ามันทำไม่ถูก ครรลองคลองธรรม เขาเสกเก่ง น่าจะเสกทอง ให้ประชาชนอินเดีย ที่เขายากจน น่าจะเสก วันละหลายตันนะ ก็ขออภัย ที่ต้องพาดพิง ขอบคุณที่ให้อธิบายในสัจธรรม

        แต่ของพระพุทธเจ้านั้น ต้องมีการ “สัมผัสรู้-สัมผัสเห็น” จากภายนอก ตัวรู้ตัวเห็น ก็คือ ธาตุจิตภายใน เป็นผู้รู้ผู้เห็น และต้องมี “เหตุ” มีปัจจัย มีที่ไปที่มาสัมบูรณ์ เป็นอิทัปปัจจยตา แจ้งชัดครบครัน โปร่งใส สว่างแจ้ง ไม่มีอะไรหลงเหลือ

     ซึ่งชัดเจนมาก อาตมาก็ได้อธิบาย และยืนยันเช่นนี้มาตลอด

       “ ปฏิจจสมุปบาท” เป็นหลักธรรมสำคัญ ของศาสนาพุทธ เป็นทฤษฎีพิเศษ หนึ่งเดียวในโลก ในมหาจักรวาล ที่มี “อิทัปปัจจยตา” หรือปัจจยาการ ได้แก่  “ความเป็นเหตุ มาก่อน แล้วจึงเกิดเป็นผล แล้วก็เป็นเหตุเป็นปัจจัย ให้เกิดสิ่งต่อไปอีก” ต่อและต่อกันไป อย่างต่อเนื่อง ที่ชัดเจนมาก ในความตรัสรู้ แล้วมาตรัสประกาศแก่โลก ในที่นี้มีครบ ตั้งแต่ต้น ระบุเหตุหลักสำคัญที่เป็น “ตัวการ” ของคนทุกคน

        ซึ่งได้แก่เจ้าตัว “อุปาทาน” (ความยึดมั่นถือมั่น) นี่แหละ ต้นตอตัวร้าย ที่เจ้าตัวต้อง “รู้จักรู้แจ้งรู้จริงชัดเจน” เจ้าตัวนี้ของตนเอง แล้วก็กำจัดด้วยตนเอง

        ฉะนี้คือ “ตัวอัตตา” ภาวะ “อัตตา” ตัวสำคัญมันคือ “อุปาทาน” ที่ร้ายสำคัญนัก

        ผู้ปฏิบัติ “ต้องรู้แจ้งเห็นจริง”ว่า  “ตนมีตัวนี้ในตนหรือไม่?” ซึ่งผู้มี “อวิชชา”อยู่ ยังไม่หมดสิ้น จนเกลี้ยง “อวิชชาสวะ”สะอาดจริง ยัง “มีตัวตน” แน่ที่สุด

        และใน “ส่วน” (ขันธ์)ที่เป็น “อุปาทาน”ทั้งหลาย ในจิตใจคนนั้น ก็มี ๕ ประการ เท่านั้น ได้แก่  “อุปาทาน” ที่มีใน “รูปขันธ์ - เวทนาขันธ์ – สัญญาขันธ์ – สังขารขันธ์ - วิญญาณขันธ์” มี ๕ ประการเท่านี้

        คำตรัสตอบของพระพุทธเจ้า คือ
      “ บุคคลเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริง ดังนี้ว่า “รูป” อย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาตคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็นไปในภายใน หรือมีในภายนอก ก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกล หรือใกล้ก็ตาม ทั้งหมดนั่น ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา

        และต่อมาก็.. “เวทนา”อย่างใดอย่างหนึ่ง...(เนื้อความซ้ำกับความเป็น “รูป”)
        “สัญญา”อย่างใดอย่างหนึ่ง...(เนื้อความซ้ำกับความเป็น “รูป”)
         “สังขาร”อย่างใดอย่างหนึ่ง...(เนื้อความซ้ำกับความเป็น “รูป”)
         “วิญญาณ”อย่างใดอย่างหนึ่ง...(เนื้อความซ้ำกับความเป็น “รูป”)

        เมื่อรู้ เมื่อเห็นอย่างนี้แล จึงไม่มีอนุสัย คือความถือตัว ว่าของเรา ในกายอันมี วิญญาณนี้ และในนิมิตทั้งหมด ในภายนอก”

        ก็อย่างที่ได้ยืนยันมาตลอดแล้วว่า ต้อง “เห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริง” (เอวเมตํ ยถาภูตํ สัมมัปปัญญาย ปัสสติ) ในทุกขันธ์แต่ละขันธ์ คือ “รูป -เวทนา -สัญญา -สังขาร -วิญญาณ” ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาตคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็นไปในภายใน หรือมีในภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกล หรือใกล้ก็ตาม ทั้งหมด นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา (เนตํ มม เนโสหมัสมิ น เมโส อัตตาติ)

        พอทรงอธิบายเสร็จ ก็มีภิกษุรูปหนึ่ง เกิดปริวิตกในคำตรัส

        “ลำดับนั้นแล มีภิกษุรูปหนึ่ง เกิดความปริวิตกแห่งใจขึ้น อย่างนี้ว่า จำเริญละ เท่าที่ว่ามานี้ เป็นอันว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นอนัตตา กรรมที่อนัตตาทำแล้ว จักถูกตนได้อย่างไร (อนัตตกตานิ กัมมานิ กมัตตานัง ผุสิสฺสันตีติ)”

        ซึ่งเป็นตัวอย่างให้เห็นได้ว่า แม้ในพุทธกาล ฟังจากพระโอษฐ์แท้ๆ ก็ไม่ใช่จะเข้าใจ ในคำว่า  “อนัตตา” นี้ได้ง่ายๆ

        ประเด็นก็อยู่ที่ว่า  “อนัตตา”นี้ คืออะไร? ที่สำคัญคือ เกิดขึ้นตอนไหน

        คำว่า “อนัตตา”ที่ในพระไตรปิฎก ท่านทับศัพท์มานี้ ว่า  “กรรมที่อนัตตาทำแล้ว จักถูกตนได้อย่างไร” ถ้าจะเอาความหมาย “อนัตตา” ตามแบบที่ท่าน ผู้ยึดมั่นว่า ต้องแปลว่า  “ไม่ใช่ตัวตน” แปลอย่างอื่นผิด เอาอย่างนั้นก็ได้ ก็ลองฟังดู

        เมื่อ “ขันธ์ ๕”ไม่ใช่ตัวตน คำว่า จัก “ถูกตน” หรือแตะต้องตัวตน ได้อย่างไร?

        ก็หมายความว่า “ขันธ์ ๕” เมื่อ “ไม่ใช่ตัวตน” แล้ว แล้วจะ “ถูกตัวตน หรือ แตะต้องตัวตน หรือสัมผัสตัวตน” กันเข้าไปได้อย่างไร? ในเมื่อมัน “ไม่ใช่ตัวตนแล้ว”อ่ะ!

        ซึ่งสรุปสั้นๆ ก็คือ ภิกษุรูปนี้ เชื่อว่า เมื่อ “ตัวตนไม่ใช่ตัวตน” แล้ว “กรรมที่ทำ กับขันธ์ ๕ ที่ ไม่ใช่ตัวตน” ก็ “ไม่เป็นอันทำ” ใช่ไหม เพราะ “ตัวตนไม่ใช่ตัวตน” แล้วนี่ ฉะนี้แหละ คือ มิจฉาทิฏฐิ ชนิด “อุจเฉททิฏฐิ” แบบหนึ่ง

        ก็ในเมื่อ ทุกสรรพสิ่งเป็นอนัตตา หรือ “ขันธ์ ๕” ล้วนเป็น “อนัตตา” เสียแล้ว
       แล้วจะยังมาหลงงม เพ้อพกอยู่ได้ยังไง ว่า  “อัตตาหรือตัวตนมี”

        นั่นก็คือ ภิกษุรูปนี้ ปริวิตกว่า ถ้า “ขันธ์ ๕”นั้นเป็น “อนัตตา” แล้วกรรมหรือ การกระทำ ทั้งหลายของคน ที่ “อนัตตา” หรือ “ไม่ใช่ตัวตน” นั่นแล้ว ทำกรรมใด แล้ว มันจะถูก 'ตัวตน' ได้อย่างไร? ในเมื่ออะไรมันก็ “ไม่ใช่ตัวตน” เสียแล้ว..!!!!!!

        พระพุทธเจ้าทรงเห็นดังนั้น จึงรีบทรงแก้ข้อปริวิตกนี้ทันที
       ซึ่งในสูตรนี้ พระพุทธเจ้าได้ทรงอธิบาย ให้เข้าใจชัดว่า “ทุกอย่างมีลำดับ”

        ผู้สนใจไปหาอ่าน แล้วพึงไตร่ตรองตามให้ดี จะเข้าใจว่า พุทธธรรมนั้น มี “ขั้นต้น -ขั้นกลาง -ขั้นปลาย” หรือมี “อิทัปปัจจยตา” มีเหตุปัจจัยต่อเนื่องกัน ทั้งนั้น จากต้น ไล่ลำดับไปหาปลาย อย่างเป็นลำดับ ลาดลุ่มเหมือนฝั่งทะเล

        จนถึงที่สุดขั้นปลาย จึงจะ “เบื่อหน่าย แล้วปล่อยวาง” หรือ “ไม่ยึด” (ไม่มีอุปาทาน) ในรูป-เวทนา-สัญญา-สังขาร-วิญญาณ ทั้งในอดีต-อนาคต-ปัจจุบัน ทั้งเป็นไป ในภายใน หรือ มีในภายนอก หยาบ หรือละเอียด เลวหรือประณีต อยู่ในที่ไกล หรือในที่ใกล้ ทั้งหมดนั้น ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ “อัตตา”ของเรา

        แล้วพระองค์จึงตรัสว่า อริยสาวกผู้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ [เห็นอยู่อย่างนี้นะ (เอวํ ปสฺสํ ภิกฺขเว สุตวา อริยสาวโก) ไม่ใช่แค่เข้าใจแจ่มแจ้ง เท่านั้น] แล้วจึงเบื่อหน่าย ในรูป -เวทนา -สัญญา -สังขาร -วิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้น ย่อมมีญาณรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่น เพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มี ฯ ท่านผู้นี้จึงจะ “เห็น” (ปัสสํ) ความเป็น “อนัตตา” จริง ว่า ไม่ใช่ตัวตน

        เห็นชัดไหมว่า ล้วนยืนยันถึงอาการของจิต ที่ได้ปฏิบัติมาตามลำดับ โดยมีเหตุมีปัจจัย เพราะสิ่งนี้ จึงเป็นสิ่งนั้น เพราะสิ่งนั้น จึงเป็นสิ่งโน้น มาตลอด  กว่าจะถึง ขั้นปลายสุด จนกว่าจะ “ไม่ยึด” แล้ว “เห็นด้วยปัญญาอันยิ่ง หรือญาณ” ซึ่งเห็น “การปล่อยวาง.. ความเป็นเรา .. เป็นของเรา”

        พ่อครูก็ไล่มา ตั้งแต่แสงอรุณ ต้องเข้าถึงตัวตน คือมีอัตตสัมปทา จึงเริ่มต้นปฏิบัติได้ ตาม มรรคองค์ ๘

สุริยเปยยาลสูตร มีดังนี้
[๑๒๙]  มิตรดี เป็นนิมิตแห่งอริยมรรค
[๑๓๑]  สีลสัมปทา เป็นนิมิตแห่งอริยมรรค
[๑๓๒]  ฉันทสัมปทา เป็นนิมิตแห่งอริยมรรค
[๑๓๓]  อัตตสัมปทา เป็นนิมิตแห่งอริยมรรค
[๑๓๔]  ทิฐิสัมปทา เป็นนิมิตแห่งอริยมรรค
[๑๓๕]  อัปปมาทสัมปทา เป็นนิมิตแห่งอริยมรรค
[๑๓๖]  โยนิโสมนสิการสัมปทา เป็นนิมิตแห่งอริยมรรค

        จะโยนิโสมนสิการบริบูรณ์ ต้องคบสัตบุรุษได้บริบูรณ์ ซึ่งในสัมมาทิฏฐิ ๑๐ ข้อที่ ๑๐ ต้องพบสมณะพราหมณ์ฯ และในอวิชชาสูตร ก็ไล่ไปตั้งแต่
"อวิชชาสูตร" (พระไตรปิฏกเล่ม ๒๔ ข้อ ๖๑) ว่าด้วยอาหารสู่โพชฌงค์นั้น เริ่มต้นด้วย
๑. การคบสัตบุรุษที่บริบูรณ์ ย่อมทำให้การฟังสัทธรรมที่บริบูรณ์  
๒. การฟังสัทธรรมบริบูรณ์ ย่อมทำศรัทธาให้บริบูรณ์ 
๓. ศรัทธาที่บริบูรณ์ ย่อมทำมนสิการ โดยแยบคายให้บริบูรณ์
๔. การมนสิการโดยแยบคายที่บริบูรณ์ ย่อมทำให้ สติสัมปชัญญะบริบูรณ์
๕. สติสัมปชัญญะที่บริบูรณ์ ย่อมทำให้ความสำรวมอินทรีย์บริบูรณ์
๖. ความสำรวมอินทรีย์ที่บริบูรณ์ ย่อมทำให้สุจริต ๓ บริบูรณ์
๗. สุจริต ๓ ที่บริบูรณ์ ย่อมทำให้สติปัฏฐาน ๔ บริบูรณ์
๘. สติปัฏฐาน ๔ ที่บริบูรณ์ ย่อมทำให้โพชฌงค์ ๗ บริบูรณ์
๙. โพชฌงค์ ๗ ที่บริบูรณ์ ย่อมทำให้วิชชาและวิมุติ บริบูรณ์   

        โยนิโสมนสิการ คือการต้องเข้าใจ จิตในจิต หรือมีญาณเข้าไปหยั่งรู้ มโน หรือใจ ต้องทำใจในใจให้เป็น หรืออย่างโยนิโส ไม่ใช่แปลว่า แค่พิจารณา แต่ก็ต้องพิจารณา อย่างถ่องแท้ เห็นจริงจัง แต่ต้องพิจารณา การกระทำ แล้วต้องที่ใจ มันกระทำด้วย ใจมันกระทำ เป็นมโนกรรม ต้องเข้าใจว่า มันมีอกุศลเหตุหรือไม่ ในการกระทำใจ และเมื่อมันมี อกุศลเหตุ หรืออกุศลจิต ต้องโยนิโส หรือถ่องแท้ ในการจับอกุศลธรรม นี่คือ บทบาทของ โยนิโสมนสิการ

        ถ้าทำไม่เข้าหลักเกณฑ์ ก็ไม่มีแสงอรุณ ต้องฟังมาอย่างบริบูรณ์ จนเกิดศรัทธา ที่บริบูรณ์ ให้มีโยนิโสมนสิการที่บริบูรณ์ ก็จะมีสิตสัมปชัญญะที่บริบูรณ์ ที่จะมีการ สำรวมอินทรีย์ ที่บริบูรณ์ แล้วจะมีสุจริตกรรม ๓ มีสติปัฏฐาน ๔ บริบูรณ์ จึงมี โพชฌงค์ ๗ บริบูรณ์ จึงมีวิชชาและวิมุติที่บริบูรณ์

เทียบโพชฌงค์ ๗ เป็นหลักใหญ่ (พ่อ) สติปัฏฐาน ๔ เป็นตัวจัดการ (แม่) ปากเปียก ปากแฉะ ช่วยกันทำงาน ให้จิตล้างนิวรณ์ แล้วสร้างจิตใหม่ให้สุจริต เมื่อ โพชฌงค์ ๗ สติปัฏฐาน ๔ ทำงาน นิวรณ์ ๕ ก็จะลดลง

        ทำอย่างเป็นปัจจุบัน อ่านของจริง ตามเห็นของจริงของสด ในปัจจุบัน เห็นอาการ ลิงค นิมิต ในปัจจุบันเลย

ส.ฟ้าไทว่า ขณะที่เราฟังธรรม เราก็สังวรศีล สำรวมอินทรีย์ได้

        การปฏิบัติที่ไม่ผิด คือ มีสำรวมอินทรีย์ คือปฏิบัติที่ ทวาร ๖ แล้วมีการประมาณ ในการบริโภค อุปโภค คือ โภชเนมัตตัญญุตา

        ต้องเริ่มที่โยนิโสมนสิการ ทำให้เป็นก่อนเลย แต่มิจฉาทิฏฐิ คือเขาไปเข้าใจว่า แค่พิจารณาในความคิด ก็คือโยนิโสมนสิการ พิจารณาว่า สัพเพธัมมา อนัตตา ทุกสรรพสิ่ง ไม่ใช่ตัวตน ก็ต้องใช้คำว่า เอวัง ก็มีด้วยประการฉะนี้ คือจบอย่างไม่เข้าท่า จบแบบไม่จบ

        ปรโตโฆษะ คุณเอง ถ้าคุณถูกต้องแล้ว คุณก็ไม่ต้องฟังคนอื่น คนอื่นต้องฟังคุณ แต่ถ้าคุณผิดแล้ว คุณก็ต้องฟังคนอื่น ถ้าไม่ฟังคนอื่น ก็ไม่มีวัน สัมมาทิฏฐิ เพราะคุณผิดแล้ว ก็ยึดอยู่ตลอดกาล จะไม่รับด้วยเข้าใจผิดหรือโง่ หรือเชื่อว่า พ่อครูผิด คำว่าปรโตโฆษะ จึงสำคัญไม่ใช่น้อย ปรโตโฆษะ แบบอาบน้ำกลัวเปียก ไม่ได้อะไร

        ในมูลสูตร มีคำว่า มนสิการ คือต้องมนสิการเป็น แม้มีฉันทะ ก็ต้องมนสิการเป็น ทำใจในใจเป็น อย่างสัมมาทิฏฐิ แม้การนั่งหลับตา เขาก็ทำใจในใจ แต่ก็ไม่เข้าหลักเกณฑ์ พระพุทธเจ้า อย่างนั้น ไม่ใช่สัมมาสมาธิ ซึ่งสัมมาสมาธิคือ ผลของ มรรค ๗ องค์ การไปนั่งหลับตา ไม่ได้ปฏิบัติมรรค ครบ ๘ องค์ ที่ไปอยู่ในภพ นั่งหลับตานั้น ปฏิบัติผิดๆ

        ที่พ่อครูพูดนั้น ไม่อยากพูดว่า เมื่อยมาก ทำไมมันยากเย็นอย่างนี้ พวกคุณ ใส่ใจ เต็มใจ ตั้งใจรับ ยังขนาดนี้ ตกหล่น ไปมากต่อมาก แล้วคนที่ไม่รับ จะขนาดไหน นอกจากไม่รับแล้ว ยังกำหมัดอีก ถือไม้เบสบอล รอไว้ตีออกเลย แล้วมันจะได้อะไร แต่พ่อครูว่า เรามาเปิดเผยความจริง ไม่ได้มาหาบริวาร เหนื่อยแต่ก็ สมัครใจมาแล้วนี่

        ส.ฟ้าไท สรุป ก็รู้ว่าไม่ใช่ง่าย และพวกเราก็ภูมิธรรมต่ำเตี้ย ค่อยกระดึ๊บ แต่ว่าเราได้มา พบสัตบุรุษ ก็เป็นโชคดีของชีวิต ท่านเกิดมาไม่เจอเรา ท่านก็ไม่เดือดร้อน แต่เราเกิดมา ไม่เจอท่าน เราจะเดือดเนื้อร้อนใจ

        เราได้เรียนรู้ว่า "อัตวาทุปาทาน" เป็นอย่างไร เราเป็นมากหรือน้อย เท่าไหร่อย่างไร เรายังมีตัวตน ในเรื่องใดบ้าง

        บุคคลเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริง ก็แม้แต่เราไม่มีอนุสัย แต่ว่า ก็ถือว่า เป็นเราเป็นของเรา ก็เป็นอัตตา เพราะมันเป็นของเราเสียแล้ว ก็เป็นอัตตา เราก็ต้อง ทำความเข้าใจ เรียนรู้ผัสสะ ในปัจจุบัน เราต้องทำใจในใจให้เป็น เมื่อจับอกุศลได้ ก็จับสักกายะตั้งศีลได้ถูก ก็จะลดละกิเลสได้ เป็นลำดับได้ ต้องฟัง ซ้ำแล้วซ้ำอีก พ่อครูอยู่ ๑๕๑ปี เราก็ต้องพยายามตามฟังต่อ แม้เราจะเป็นอรหันต์ เราก็อยากอยู่ศึกษา ความเป็นโพธิสัตว์ต่อไป ตามช่วยท่าน ทำงานต่อไป ขอขอบพระคุณ พ่อครู ที่เมตตาโปรดพวกเรา ให้บรรลุธรรม

จบ