FMTV รายการ สงครามสังคมธรรมะการเมือง โดยพ่อครู สมณะโพธิรักษ์
 560416_ เรื่อง มีอาริยะเป็นทุนพ้นบุญพ้นบาป

เราหยุดรายการนี้ไปหลายครั้ง เนื่องจากติดงานปลุกเสกฯ ๗ วัน งานตลาดอาริยะอีก ๓ วัน ติดต่อกัน สื่อสารมวลชนเป็นสิ่งที่จะสื่อสาระ เรามีโทรทัศน์เพื่อสื่อสาร ไม่ได้มี เพื่อหาเงินทอง ไม่ได้มีแม้แต่ เพื่อโฆษณาตัวเอง เราไม่ได้มีจิตลามก อยากอวดโอ่ตนเอง (สาเฐยะจิต) คนจะเข้าใจตรงนี้ได้ยาก

พรหมจรรย์นี้ ภิกษุทั้งหลาย ! พรหมจรรย์เราประพฤติ มิใช่เพื่อ... หลอกลวงคน ให้มาเคารพนับถือ (น ชนกุหนัตถัง) มิใช่เพื่อเรียกคน มาเป็นบริวาร (น อิติ มัง ชโน) มิใช่เพื่ออานิสงส์ เป็นลาภสักการะ และเพื่อเสียงสรรเสริญ มิใช่เพื่อจะได้เป็น เจ้าลัทธิ หรือ ค้านลัทธิอื่นใด ให้ล้มไป มิใช่เพื่อให้มหาชนเข้าใจว่า.. เราได้เป็นผู้วิเศษ อย่างนั้น ก็หามิได้
ภิกษุทั้งหลาย ! ที่แท้ พรหมจรรย์นี้ เราประพฤติเพื่อสำรวม เพื่อละ, เพื่อคลายกำหนัด, เพื่อดับทุกข์สนิท ฯ

คำว่าเราไม่ได้คิดอยากอวด ไม่ได้มีอกุศลเจตสิก อยากอวด ต้องอ่านใจเป็น อ่านอาการ ลิงค นิมิต อุเทศ แล้วแสดงกรรมกิริยาอยู่ ซึ่งทุกวันนี้ พ่อครูแสดงธรรม ด้วยความเมตตา ซึ่งพูดแล้ว เหมือนคุยตัวเอง ยกตัวเองใหญ่ เหมือนอวดตัวตน แต่เป็นสัจจะ ที่เลี่ยงไม่ออก แต่ทำด้วยเมตตาจริงๆ

พ่อครูมีปณิธานในชีวิต มาหลายชาติแล้ว ว่าเป็นผู้ปฏิบัติธรรม พระพุทธเจ้าแล้ว ก็มาช่วยเหลือ รื้อขนสัตว์ ซึ่งในยุคนี้ เหน็ดเหนื่อยหนัก เพราะคนลบหลู่ ดูถูกธรรมะ โลกุตระ เมื่อไม่เข้าใจ ก็ต่อต้าน ดีไม่ดี ก็จะล้มล้างด้วย ก็เข้าใจว่า ยุคนี้เป็นอย่างนี้ ก็เลยยาก ในการนำสู่สัจธรรม แม้ยากแต่ก็เข้าใจ เต็มใจทำ อุตสาหะทำ

เมื่อทำมา ก็มีคนที่แสวงหา คนตั้งใจศึกษา รับรู้ได้ นำไปปฏิบัติ จนมีมรรคผลของตน จนบัดนี้ ยิ่งมีเครื่องยืนยัน คือมวลมนุษย์ คือผู้คนทั้งหลาย ที่ได้มาฟังมาเข้าใจ ปฏิบัติแล้ว มารวมกันเป็นกลุ่ม มาทำตามแนวทางที่พ่อครูพาทำ

งานตลาดอาริยะครั้งนี้ เป็นงานที่เหน็ดเหนื่อย หนักหนา ทุกปีก็มีตลาดอาริยะ แต่ปีนี้ ว่าเราก็น่าจะขยายผล ไปสู่ข้างนอกอีกก้าว ก็เปรยกับพวกเรา ก็เห็นพวกเรา เห็นด้วย บางคน ไม่เห็นด้วย แต่ก็เอากับหมู่ บางคนเห็น เป็นเรื่องท้าทายด้วย ก็เลยทำ ได้ขยายพื้นที่สู่สังคม

สังคมก็เป็นผู้รู้มาก ที่รู้มากนั้น เป็นภัยต่อโลกุตระ เพราะรู้มากทางโลกีย์ หลงใหล ได้ปลื้มกับโลกีย์ พอพ่อครูพูดถึงโลกุตระ ที่ทวนกระแส สัจจะของพระพุทธเจ้า จะทวนกระแส เมื่อแสดงธรรม ก็สวนกระแส มันก็ต้านกัน เขาก็เลยยิ่งเห็นว่า เราเป็นไอ้เข้ ขวางคลอง ขวางโลก แต่ก็มีผู้ที่รู้ ที่เข้าใจ มาร่วมตลาดอาริยะมาก

ตลาดอาริยะ เราจัดมาตั้งแต่ปี ๒๕๒๓ ปีนี้เป็นปีที่ ๓๔ ทุกทีเราจัด อยู่ต่างจังหวัด อยู่ในอำเภอ ตำบล หมู่บ้าน ซึ่งตั้งแต่แรกๆ เราจัดอยู่ในเมืองที่สันติฯ ต่อมาไปจัดที่ ปฐมอโศก และกว่าจะลงตัว มาจัดอยู่ที่ บ้านราชฯ ก็หลายปี เพราะจัดกับคนเมือง จะมีเล่ห์เหลี่ยมมาก เราก็ทำเอง เพื่อให้เราได้ เสียสละเต็มที่ ปลูกฝังพวกเรา ให้เสียสละ มากขึ้น เราก็ทำเฉพาะ ชาวอโศก เราขายสินค้า-อาหาร ราคาต่ำกว่าทุนจริงๆ ไปตรวจสอบได้เลย

เราทำงานคราวนี้ ทำให้เห็นว่า พวกเรา มีทรัพย์ พวกเรามุ่งมาจน และมาเป็น คนจนจริง อย่างไม่หลอกสังคม มุ่งมาจน เต็มใจจนจริงๆ ไม่มีข้าวของ เงินทองมาก แต่เราก็มีทรัพย์ มีทุน มีบทความของ ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ ปัจจุบัน ดำรงตำแหน่ง เลขาธิการมูลนิธิ พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ระหว่างประเทศ จึงได้รวบรวมแนวคิด ด้านการพัฒนา ทรัพยากรมนุษย์ จากประสบการณ์ชีวิต ของท่านมาไว้ ในหนังสือ “8K’s+5K’s : ทุนมนุษย์คนไทย รองรับประชาคมอาเซียน (Ks หมายถึง Keywords) ซึ่งเสนอมุมมอง การพัฒนา คุณภาพของคน ให้สามารถ นำมาปรับใช้ ในการเตรียม ความพร้อม ให้แก่ คนไทย เพื่อให้สามารถ ก้าวไปสู่ การเป็นพลเมือง อาเซียน (ASEAN Citizen) ได้อย่างยั่นยืน

ทฤษฎีทุน ๘ ประการ (8K’s) เป็นทุนพื้นฐาน ในการพัฒนา ทรัพยากรมนุษย์ ประกอบด้วย

  • Human Capital ทุนมนุษย์ คือ ทุนเริ่มต้น ของคนแต่ละคน ที่เกิดมา มีร่างกาย รูปร่างหน้าตา สติปัญญาที่แตกต่างกัน
  • Intellectual Capital ทุนทางปัญญา คือ ทุนที่เกิดจาก การศึกษาเรียนรู้ ที่ทำให้คน คิดเป็น วิเคราะห์เป็น และสามารถ นำความรู้ที่มี ไปใช้ ให้เป็นประโยชน์ได้
  • Ethical Capital ทุนทางจริยธรรม คือ ทุนภายในส่วนลึก หรือสามัญสำนึก ของจิตใจคน ซึ่งจะส่งผล ต่อทุนทางปัญญา ที่จะคิดวิเคราะห์ ด้วยความดี มีศีลธรรม มุ่งประโยชน์ส่วนรวม เป็นหลัก
  • Happiness Capital ทุนแห่งความสุข คือ ทุนที่อยู่ภายในจิตใจของคน ในการลงมือทำ สิ่งใดสิ่งหนึ่ง จากแรงบันดาลใจ ที่จะส่งผล ให้เกิดความสุข ความอิ่มเอมใจ ในการกระทำ สิ่งเหล่านั้น เป็นแรงผลักดัน ให้การทำงาน มีเป้าหมาย ที่ชัดเจน
  • Social Capital ทุนทางสังคม คือ ทุนที่ได้รับอิทธิพล จากสภาพแวดล้อม รอบตัว ไม่ว่าจะเป็น ครอบครัว หรือสังคมภายนอก ในการหล่อหลอม ตัวตนของ แต่ละบุคคล ให้เป็นไป ในทางดี หรือทางเสื่อม ขึ้นอยู่กับทุนทาง จริยธรรม ของแต่ละบุคคล ที่จะมุ่งสร้าง คุณงามความดี หรือจะกระทำ ความเดือดร้อน ให้แก่คนรอบข้าง และสังคม
  • Sustainability Capital ทุนแห่งความยั่งยืน คือทุนที่เกิดจาก การกระทำของ คนที่มุ่งหวังผล ในระยะยาว โดยเริ่มต้นจาก การกระทำ ความดีต่างๆ อยู่ตลอดเวลา
  • Digital Capital ทุนทางไอที คือ ทุนความรู้เกี่ยวกับ เทคโนโลยี สารสนเทศ ที่สามารถ นำเครื่องมือ เครื่องใช้ ด้านไอทีต่างๆ มาใช้ให้เกิดประโยชน์ ต่อตนเอง และสังคม โดยรวมได้
  • Talented Capital ทุนทางความสามารถพิเศษ คือ ทุนที่ได้จากการสั่งสม ประสบการณ์ ทักษะความรู้ บ่มเพาะ จนเป็นผู้เชี่ยวชาญ มีความชำนาญ ในด้านต่างๆ ตามแต่ความถนัด และทัศนคติ ของแต่ละบุคคล

ทฤษฏีทุนใหม่ ๕ ประการ (5K’s new)
เป็นทุนที่สำคัญ สำหรับทรัพยากรมนุษย์ ในยุคโลกาภิวัตน์ ประกอบด้วย

  • Knowledge Capital ทุนทางความรู้ คือ ทุนในการแสวงหา ความรู้เพิ่มเติม เจาะลึกความรู้ทั่วไป ภายใต้มิติเดียว ไปสู่การรอบรู้ อย่างลึกซึ้ง ในหลากหลายมิติ
  • Creativity Capital ทุนทางความคิดสร้างสรรค์ คือ ทุนในการคิดดัดแปลง คิดประยุกต์ใช้ คิดขึ้นใหม่ และคิดพัฒนา โดยมุ่งให้เกิดความเจริญ ในทางบวก
  • Innovation Capital ทุนทางนวัตกรรม คือ ทุนในการพัฒนา ต่อยอดจากของเดิม ไปสู่สิ่งใหม่ สร้างมูลค่าเพิ่ม ให้เกิดขึ้น
  • Cultural Capital ทุนทางวัฒนธรรม คือ ทุนในการเรียนรู้ ค่านิยม แนวคิด หรือความเชื่อ ของคนที่เราติดต่อสัมพันธ์ด้วย เพื่อให้เข้าใจ และเข้าถึง ความคิดของ บุคคลนั้นๆ ได้อย่างถูกต้อง
  • Emotional Capital ทุนทางอารมณ์ คือ การบริหารจัดการ EQ ซึ่งจะส่งผล ถึงทุนในด้านต่างๆ ให้พัฒนาไปอย่างยั่งยืน
  • หมายเหตุ : Kapital ภาษาเยอรมัน แปลว่า “ทุน”


คำว่าทุนนั้น พ่อครูจะใช้คำว่า ทรัพย์ ทั้งวัตถุและพฤติกรรมมนุษย์ ส่อแสดงถึง คุณลักษณะ ที่มนุษย์พึงได้ พึงมีพึงเป็น พ่อครูเห็นว่า ชาวอโศก เป็นผู้มีทุน หรือมีทรัพย์ อย่างที่บทความข้างต้น เขียนไว้เลย

ทุนทางปัญญา (Intellectual capitalism) เป็นปัญญาที่เข้าใจ ชีวิตมนุษย์ ว่าควรไป ทิศทางไหน ทิศทางที่จะไปล่าโลกธรรม หรือมาเป็น ผู้ที่เอาจิต ที่ไปติดยึด เสพโลกีย์ ออกไป อย่างพระพุทธเจ้าพาทำ ปัญญาอันนี้ ชาวอโศกมี ออกมาได้ จนมีหมู่กลุ่ม เป็นรูปธรรม ทำงานให้สังคมเห็น ออกทาง FMTV ก็มีให้ดูว่า มนุษย์อย่างนี้ มีในโลก ไม่ประหลาดด้วย เป็นคนที่ เดินตามรอย พระพุทธเจ้า เป็นอาริยะ คือผู้เจริญ ผู้ฉลาด ที่ตรงกันข้ามกับ การฉลาดทางโลก ที่ไปล่า เอาโลกธรรม แก่งแย่ง แข่งขัน หรือ พรั่งพร้อมด้วย เบญจกามคุณ

พูดไปแล้วก็เกรงใจ เพราะมันค้านแย้งกับ กระแสหลัก ที่เขาไม่ได้สอน ให้เลิกละลด จากโลกีย์ เขาสอนกันน้อย ส่วนใหญ่ไม่สอน มีแต่เผยแพร่อีกอย่าง ส่วนผู้ที่พยายาม เลิกละออก แม้จะมิจฉาทิฏฐิ ทำตามทฤษฏี ที่พระพุทธเจ้า เคยทำผิดมาก่อน เป็นอัตตกิลมถะ ไม่มีเบื้องต้น ท่ามกลาง บั้นปลาย อย่างได้ระดับ ราบลุ่ม เหมือนฝั่งทะเล แต่เขาก็เข้าใจว่า มักน้อยสันโดษ ก็หลีกหนีจากสังคม ซึ่งศาสนา อย่างนั้น มีประจำโลก ส่วนศาสนาพุทธ ไม่ได้มีประจำโลก มีเป็นครั้งคราว สัตว์ที่จะศึกษา ศาสนาพุทธ ต้องมี ความฉลาดพอ มี Intellectual พอ เป็นเวไนยสัตว์

ศาสนาหลักๆ เขาก็มีมักน้อยสันโดษ หนีสังคม แต่ศาสนาพุทธ อยู่กับสังคม มีหลักธรรม ที่จะอยู่กับสังคม รู้จิต เจตสิก รูป นิพพาน รู้อริยสัจ ๔ มีวิธีที่ ทั้งสมถะ และวิปัสสนา อย่างถูกตัวตนเลย ต้องเข้าใจ อัตตทิฏฐิ สามารถตามเห็น อาการ ที่เรามีตัวตน ของสมุทัย คือกิเลส เป็นจิตเจตสิก ที่เราต้องกำจัด เมื่อทำได้สำเร็จจริง จิตอกุศล ถูกกำจัด อย่างแท้จริง ดับหมด อย่างชัดเจน ยืนยัน ถึงอนุตตรจิต (จิตสุดยอดแล้ว ไม่มีจิตอะไร ดีกว่านี้อีกแล้ว)

ผู้ปฏิบัติ จะรู้เอง ว่าจิตเราดีแล้ว แต่ยังไม่สุดยอด ก็ให้ทำทวนแล้ว ทวนอีก (อาเสวนา ภาวนา พหุลีกัมมัง) ทำจนมันเที่ยงแท้ มั่นคง ยืนหยัด ยืนยัน ไม่มีเปลี่ยนแปลง แปรปรวน (อวิปริณาธัมมัง ) ไม่มีกลับกำเริบ (อสังกุปปัง)

นี่คือ ศาสนาวิทยาศาสตร์ รู้แจ้งเห็นจริง มีหลักฐานพิสูจน์ได้ เชื้อเชิญมาดูได้ (เอหิปัสสิโก) และมาทำเอง ก็จะได้ เป็นของตนเอง เป็นปัจจัตตัง

ถ้าหมู่ใหญ่กระแสหลัก ได้พาออกนอกพุทธ อย่างที่พระพุทธเจ้า ท่านพยากรณ์ไว้ เปรียบกับ กลองอานกะ ว่าในอนาคต ศาสนาพุทธ จะเหมือนกลอง อานกะ ที่ในภายหลัง มีชื่อว่า กลองอานกะ เช่นเดิม แต่เนื้อกลอง ถูกเปลี่ยนไปจากเดิม หมดแล้ว เช่นเดียวกับ ศาสนาพุทธ ที่มีชื่อว่าศาสนาพุทธ แต่เนื้อแท้นั้น เพี้ยนไปแล้ว

เราทำให้คืนมา จนเป็นสังคมที่มี พฤติพุทธ เอาธรรมะพระพุทธเจ้า มาตรวจสอบ มาจับดู ก็ให้ท้าทาย เชื้อเชิญให้มาพิสูจน์ได้ (เอหิปัสสิโก) แม้ยุคนี้ (อกาลิโก) ไม่จำกัด ยุคสมัย ถ้ามีผู้ปฏิบัติดี ปฎิบัติชอบ โลกไม่ว่างจาก พระอรหันต์ แต่เงื่อนไขว่า ต้องมี สัมมาทิฏฐิ ต้องรู้ว่าศีล -สมาธิ -ปัญญา เป็นอย่างนี้

ปัญญาจะเห็นทวนกระแส ไม่ต้องไปแย่งชิง เป็นคู่แข่งกับโลกีย์ เราก็มาลดละ ของเราเอง ไม่ต้องไปหนีเข้าป่าด้วย ทำตามฐานะ ตามศีล แล้วปฏิบัติให้ได้ว่า ศีลทำให้เกิด อธิจิตสิกขา เกิดฌาน เกิดวิมุติ ที่แท้จริง ทำได้ก็จะมี (Ethical Capital) คือ ทุนทางจริยธรรม ซึ่งของ อ.จีระว่า คือสามัญสำนึกของคน แต่พ่อครูว่า มันลึกกว่า สามัญ ลึกถึง (subconscious) คือจิตใต้สำนึก (อยู่ในรูปาวจร) และจิตไร้สำนึก (Unconscious) (อยู่ในอรูปาวจร)

คุณธรรมเหล่านี้คือ อุตริมนุสธรรม คือธรรม หรือ คุณธรรมเหนือปุถุชน จึงมี Happiness Capital ทุนแห่งความสุข คือ ทุนที่อยู่ภายใน จิตใจของคน ในการลงมือทำ สิ่งใดสิ่งหนึ่ง จากแรง บันดาลใจ ที่จะส่งผลให้เกิด ความสุข ความอิ่มเอมใจ ในการกระทำ สิ่งเหล่านั้น แต่ของพุทธนั้น มีสุขอย่าง นิพพานัง ปรมัง สุขัง เป็นสุข ระดับนิพพาน คนละเรื่องกับ สุขโลกีย์ ที่เขาได้เสพ รสโลกีย์ เป็นรสอร่อยของโลก เป็นอัสสาทะ ได้เสพกามคุณ เป็นต้น แต่ของพระพุทธเจ้า คือสุขสงบจากโลกีย์ ได้โลกธรรม ก็ไม่ดีใจ ก็รู้ว่าดี เราลงมือ ทำอันนี้ ได้ลาภโดยธรรม เพราะเราขยัน เราก็ไม่ดีใจ เขาจะเพิ่ม ยศชั้นให้เรา เพราะเรา มีความรู้ ความสามารถ เขาก็ให้เราทำ สิ่งที่มาก ที่ยากขึ้น ก็เป็นความเจริญ ก้าวหน้า ของชีวิต เราก็เข้าใจ ไม่ต้องฟูใจ ไม่ต้องวูบวาบ แม้แต่กามารมณ์ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ก็ไม่ได้เพลิดเพลิน สนุกสนาน ไปกับเขา เราเรียนรู้ แล้วก็ลด รสเหล่านี้ เรียกว่า สุขสงบจากโลกียรส เป็นอุเบกขา ว่างจากรส สุขทุกข์โลกีย์ ที่คนหลง เป็นสุขขัลลิกะ คือสุขเท็จ

ผู้ประเสริฐแล้ว จะเข้าใจว่า เสพรสอย่างนี้ เป็นทุกข์ ท่านบอกว่า ยากเหมือนยิงธนู ๑๐ ดอก ไปเสียบกุญแจให้หมด หรือ จักเส้นผมเป็น ๑๐๐ แฉก และแต่ละแฉก เท่ากันหมด ท่านว่าเห็นทุกข์นั้น ยากกว่านั้นอีก ฟังแล้วจะรู้ว่า เห็นทุกข์นั้นเห็นยาก แทบเป็นไปไม่ได้ แต่เราก็ฝึกฝน จนเห็นเหตุแห่งสุข แห่งทุกข์ ถ้าเราให้มัน มันก็สุข ไม่ให้มันก็ทุกข์ สุขทุกข์เกิดจาก เหตุตัวเดียวกัน พอดับเหตุแล้ว ก็ไม่สุขไม่ทุกข์ ผู้ทำออกปลดสุข ปลดทุกข์อย่างนี้ เรียกว่า "เนกขัมมะ" คือทำออกจาก ความใคร่อยาก ในกาม พอดับเหตุได้ อารมณ์สุขก็หาย ทุกข์ก็ไม่มี

พ่อครูไม่เห็นว่า สำนักไหน จะสอนเลย ที่บอกว่า หมดสุข แล้วจะหมดทุกข์ สุขเป็นเท็จ และหาว่า พ่อครู แปลบาลีผิดอีก อย่างสุขขัลลิกะ เขาไม่ได้แปลอย่างนี้ ในบาลี ท่านแปล อปุญญา ว่าบาป ท่านก็วนเวียน อยู่กับบาป บุญก็ไปแปลว่า ได้สิ่งดี แต่ในภาคปฏิบัติ ต้องทำออก บุญคือ การชำระจิตสันดาน ให้หมดจด มีบาลีกำกับ ในพจนานุกรมบาลี ฉบับภูมิพล ถ้าลำพังพูดแต่พ่อครู คนไม่เชื่อถือแน่ ต้องอ้างอิง บุญ หรือปุญญะ คือ การชำระจิตสันดานให้หมดจด ตรงสภาวะของพ่อครูมี ดังนั้น อปุญญะ คือไม่ต้อง ชำระกิเลส

ในอวิชชา คือความไม่รู้ นั้นไม่รู้ว่า อวิชชา มีนิวรณ์ ๕ เป็นเครื่องอาศัย ไม่ใช่ว่า ไม่รู้ศาสตร์ต่างๆ ที่เป็นโลกียะศาสตร์ ไม่ใช่ แต่อวิชชานั้นคือ ความไม่รู้ใน พุทธธรรม ซึ่งพระพุทธเจ้า ท่านตรัสว่า ศาสนาใด ว่างจากมรรคองค์ ๘ ศาสนานั้น ไม่มีสมณะที่ ๑-๔ (คือไม่มีพระโสดาฯ -สกิทาฯ -อนาคาฯ -อรหันต์) ในธรรมวินัยใด มีอริยมรรค มีองค์ ๘ จึงจะมีสมณะ ๔ เหล่า

คำว่าโยนิโสมนสิการ เขาแปลว่า พิจารณาโดยแยบคายถ่องแท้ ก็แปลไม่ผิด แต่ว่าพิจารณาอะไร ตรงสัมมาทิฏฐิ ๑๐ หรือไม่
๑. ทานที่ให้แล้ว มีผล (ให้กิเลสลด) (อัตถิ ทินนัง) แต่เขาทานกันทั่วไป ก็ท่อง บนแต่ ขอให้ร่ำรวย ให้เลื่อนยศ ให้อยู่เย็นเป็นสุข ขอให้ได้แฟนสวยๆ หล่อๆ ถ้าขอให้ได้บ้าน ได้เมือง ก็ขอ ก็มีแต่โลภ ทั้งๆที่ทาน คือลดความโลภ นี่คือ สัมมาทิฏฐิ ๑๐ ข้อแรก ถ้าไม่เข้าใจ สัมมาทิฏฐิ ไม่มีทางบรรลุอรหันต์ ไม่มีส่วนแห่งบุญ (คือส่วนที่ ชำระกิเลส) มีผลแก่ขันธ์ (อุปธิเวปักกา)
๒. ยัญพิธี (พิธีการปฏิบัติ) ที่บูชาแล้ว มีผล (อัตถิ ยิฏฐัง) ทำใจไม่เข้าร่อง เข้ารอย อ่านจิตไม่ออก อ่านอาการ ลิงค นิมิตไม่ออก มันมีรูปร่าง แต่มันมีอาการ และ ความต่างกัน (ลิงค) และเราต้อง กำหนดหมาย เป็นนิมิตของเรา ทำในปัจจุบัน หรือทบทวนเรา หรือศีลพรต เราได้ลดกิเลสหรือไม่
๓. สังเวย (เสวย) ที่บวงสรวงแล้ว มีผล (อัตถิ หุตัง) คือที่เราทำแล้ว มันได้ผลหรือไม่ ถ้าแปลว่า สังเวยที่บวงสรวง ก็จะไม่ค่อยเข้าใจ ไม่รู้เรื่อง แต่ต้องแปลตามสภาวะ คือได้ผลลดกิเลสหรือไม่ ในบุญกิริยาวัตถุ ทำทานแล้ว เกิดผลหรือไม่ ใจเราได้ ลดกิเลสไหม กิเลสจางคลายหรือไม่ เสวยผลหรือไม่ ได้สังเวยใจตนเอง ที่ได้ปฏิบัติ ศีลพรต จิตได้เสวยผล ลดกิเลสหรือไม่ ต้องรู้อย่าง อนุปัสสี ๔ (เห็นความไม่เที่ยง -ความจางคลาย -ความดับของกิเลส -แล้วทำซ้ำทำทวน จนแน่ใจ ไม่กลับกำเริบ) ตามเห็น อนิจจานุปัสสี คือเห็น ความไม่เที่ยง (แค่เห็นว่าไม่เที่ยง ยังไม่จางคลาย ก็พ้นมิจฉาทิฏฐิแล้ว)

สรุปไว้ตรงนี้ก่อนว่า ถ้าเราไม่สามารถอ่าน จิตเจตสิกรูปได้ ก็ไม่รู้ปรมัตถ์ ไม่รู้ทิศทาง ว่ามันไม่เที่ยงใน ขบวนการละ ทิฏฐิ ๓

๑. บุคคลรู้เห็นอายตนะ๑๒ รู้เห็นวิญญาณ ๖ รู้เห็นสัมผัส ๖ รู้เห็นเวทนาที่เกิดขึ้น เพราะสัมผัสทั้ง ๖ เป็นปัจจัย รู้โดย ความเป็นของไม่เที่ยง (อนิจจโต) จึงละมิจฉาทิฏฐิได้ เราต้องรู้ว่าไม่เที่ยง อย่างกิเลสหนาเพิ่มอ้วน ก็คือปุถุชน หรือไม่เที่ยง อย่างมีทิศทาง ลดลง แต่ยังไม่พ้น สักกายะทิฏฐิ

๒. บุคคลรู้เห็นอายตนะ๑๒ รู้เห็นวิญญาณ ๖ รู้เห็นสัมผัส ๖ รู้เห็นเวทนา ที่เกิดขึ้น เพราะสัมผัสทั้ง ๖ เป็นปัจจัย รู้โดย ความเป็นทุกข์ (ทุกขโต) จึงละสักกายทิฏฐิได้ เห็นตัวตนกิเลส อย่างพ้นวิจิกิจฉา ก็จะทำศีลพรต อย่างไม่ลูบๆ คลำๆ ต้องกำจัด กิเลสได้ จึงพ้นศีลพตปรามาส จึงเข้าข่ายอาริยะ เป็นโสดาบัน

๓. บุคคลรู้เห็นอายตนะ ๑๒ รู้เห็นวิญญาณ ๖ รู้เห็นสัมผัส ๖ รู้เห็นเวทนา ที่เกิดขึ้น เพราะสัมผัสทั้ง ๖ เป็นปัจจัย รู้โดย ความเป็นของ ไม่ใช่ตัวตน (อนัตตโต) จึงละอัตตานุทิฏฐิได้

(พตปฎ. ล.๑๘ ข.๒๕๔ – ๒๕๖)

โสดาบัน จึงต้องมีญาณ ๗ ข้อ ที่จะเข้าไปรู้ จิตเจตสิกรูป ต้องทำอย่างพ้น วิจิกิจฉา จึงจะไม่กลับกำเริบ (อสังกุปปัง)

พูดเรื่องทุนยังไม่ครบ ไว้ค่อยขยายความต่อ ซึ่งพวกทุนนิยม คือพวกหลงโลกีย์ ไปแย่งชิง แต่มีอีกทิศทางคือ "บุญนิยม" เป็นความหมายที่ ไม่มีในภาษาอังกฤษ ในภาษาไทย ก็ทับศัพท์ จากบาลี แต่ว่าภาษา ที่จะเรียก สภาวะแท้ ของบุญนั้นไม่มี เป็นธรรม ขั้นอาริยะ สูงส่งพิเศษ เฉพาะพระพุทธเจ้า เท่านั้น ดังนั้น จึงต้องทับศัพท์ว่า "บุญนิยม" หรือ Boonniyom เป็นภาษาอังกฤษ ทับศัพท์


ต่อไปเป็นการตอบปัญหาและประเด็น

ตายแล้วเกิดทันที แล้วเวลาตกนรกจะไปมีเวลาไปตกนรกที่ไหน

ตอบ ก็อยู่กับนรก เช่นตอนมีชีวิต มีนรกอยู่แล้ว ตอนตาย ก็ยิ่งตกนรก ยิ่งกว่าอีก เช่น เขาสอนว่า ตกนรกกระทะทองแดง ในตอนเป็น พอตายไป ก็ตกนรก กระทะทองแดง เป็นมโนมยอัตตา จริงของเขา อันเดียวกับ คนเชื่อคำโกหก เขาก็คิดว่า โกหก เป็นเรื่องจริง เราก็ต้องมาละล้าง แล้วรู้ว่า เป็นสิ่งโกหก ก่อนตาย จะระลึก สิ่งดีงาม ที่เราทำ เขาก็ระลึกได้ แต่ว่า มันไม่เป็นหรอก เพราะมันต้องไป ตามวิบาก เช่น จิตคุณ ติดอะไรอยู่ เวลาตาย มันไม่รู้ว่า ตนเองตาย แม้ขณะนอนหลับ คุณยังไม่รู้เลย ว่าคุณหลับ ตอนตายคุณไม่รู้หรอก พ่อครูมีภูมิ พอจะบอกได้ว่า มันไม่รู้ แต่คุณไม่เชื่อ ตายแล้ว เราไม่รู้ว่าตาย เราก็ดิ้น จะเอาตามอยาก เหมือนตอนเป็นๆ มันอยู่ในตัวของจิต และ จิตมันก็ เอกจรัง และก็อยู่ คูหาสยัง (ที่ไม่มีกายนอก) เป็นคูหาสยังในภพ และ จิตวิญญาณ ละเอียดกว่าแสง แสงยังทะลุบางอย่างไม่ได้ แต่วิญญาณ ทะลุทะลวง ไปได้หมด ซึ่งตอนฝัน เราไปพบ คนนั้นคนนี้ แต่ไม่ได้พบจริง ก็เพ้อพกอยู่คนเดียว ตอนตาย ก็เป็นอย่างนั้น เพ้ออยู่คนเดียว แต่ตอนตาย มีแต่ใจเดี่ยวๆ ออกมาทางกายไม่ได้ เพราะคุณ จะไม่ยอม ยังอยากได้ ตามกิเลสคุณ ก็ดิ้นอยู่อย่างนั้น เพราะไม่มีทวาร ตา หู จมูก ลิ้น กาย ให้ได้เสพ และไม่มีคน ไปเตือนคุณได้ นานเท่านาน เท่าที่คุณหลับใหล ไม่มีอะไรฉุดรั้ง จนกว่า จะหมดวิบาก ใครยึดมั่น ถือมั่น พยาบาท เท่าไหร่ ก็จมอยู่อย่างนั้น นานเท่านาน ทรมานมาก

คนเราตายแล้ว จะมาเกิดอีก ได้กายขันธ์อีก นั้นนานมาก เพราะฉะนั้น จึงลืมชาติที่แล้ว นานจนลืม นั่นแหละ นานมาก จนเราลืม นรกนั้นจะนาน ส่วนสวรรค์จะเร็ว เพราะสวรรค์ เกิดจากสัมผัส ทางทวารนอก แต่นรกนั้น อยู่กับเราอีกนาน ชั่วนาตาปี สวรรค์เป็นของหลอก ของเท็จ ที่ได้เสพทวาร ๕ นอกจาก นั่งฝันเพ้อไปนั้น มันไม่ได้นานหรอก แม้คุณตั้งใจฝันเพ้อ ก็อยู่ได้ไม่นาน

คุณไปตกนรก ก่อนที่จะมาเกิด เข้าท้องแม่หรอก ตกนรกทันทีเลย เมื่อตายไป คุณเป็นๆ ก็มีนรกสวรรค์ ให้ตก ให้เสพ อยู่ทุกวัน อยู่แล้ว นอกจากว่า คุณจะไปมี อารมณ์ว่างๆ อยู่ก็ได้บ้าง หัดเลี้ยงใจ ทำใจ ให้อยู่กับความว่าง ก็ไม่ใช่วิธีการ อริยสัจ ๔

ถ้าเรารู้ว่า อ่านจิตของผู้ชาย ที่มักมากในกามราคะ แล้วจิตของผู้หญิง เป็นจิตขั้นไหน เป็นจิตใต้สำนึก หรือไร้สำนึก

ตอบ... เป็นจิตเดาสำนึก คุณไม่รู้จริงหรอก พระพุทธเจ้าไม่สอน ให้อ่านจิตคนอื่น พระพุทธเจ้า ให้อ่านจิตตน ว่ามีกิเลสไหม นอกจากมีภูมิพิเศษ ซึ่งไม่จำเป็นที่ต้องมี แม้เป็นโพธิสัตว์ ก็ไม่อยากจะไปรู้ จิตคนอื่น มันจะเป็นไปเอง ตามธรรม

๑.สภาวะจิตที่รู้สึกว่า พ่อครูมา ก็ไม่ดีใจ พ่อครูไป ก็ไม่เสียใจ แต่พ่อครูมา ก็รู้สึกยินดี อย่างนี้เป็นอย่างไร

ตอบ ก็เป็นสภาวะจิต ที่ไม่ยึดมาก ก็ดีแล้ว

๒.การกำหนดหมาย บางทีทำให้ลืม หรือคลาดเคลื่อน หรือไม่กำหนด ให้ควบแน่นพอ จะเรียกว่า คนขี้ลืมได้ไหม

ตอบ.. ก็ไม่ได้ฝึกสัญญา ที่มีหน้าที่ ๑.กำหนดรู้ ๒.จดจำ ถ้าเราแค่กำหนดรู้ แล้วประทับใจ ก็จำได้มาก แต่ถ้ากำหนดรู้ แล้วไม่จดจำก็ได้ ไม่ประทับใจ ดังนั้น ถ้าลืมก็คือ ไม่ได้ฝึก

๓.บาปน่าจะคู่กับกัลยาณะ ได้หรือไม่ ในเมื่อบาป แปลว่าชั่ว

ตอบ... จริงๆแล้ว บาปคือกิเลส ไม่ใช่ ชั่ว คำว่าชั่วคืออกุศล ดีคือกุศล แต่บาป เป็นตัวหนักกว่า แต่ในคำว่า กุศลอกุศล ก็รวมบาปและบุญ ไปด้วยแล้ว ส่วนกัลยาณะ คือโลกีย์ บาปนั้นคู่กับบุญ

ชาวอโศกที่ชอบใส่สายเดี่ยว มีมากไหม คือชอบยึดอะไรๆแบบโดดเดี่ยวๆ ปักมั่น ถ้ามี จะละสายเดี่ยว ได้อย่างไร

ตอบ... ก็รู้ตัวเองว่าสายเดี่ยว มันอ้างว้าง ต้องมารวมกับหมู่

คำว่าทุนใช้คำว่าทรัพยากร จะชัดขึ้นหรือไม่

ตอบ... คำว่าทรัพยากร เป็นคำกลางๆ แต่ถ้าใช้คำว่าทรัพย์ คือของใครที่จะไปยึด เอามาได้ มันเหมือนกับ ใครเป็นเจ้าของได้ ถ้าว่าเรามีทรัพยากร มันไม่ค่อยคือ เท่าไหร่นะ

ภูมิธรรมที่เรามี ตายแล้วจะหายไปหรือไม่

ตอบ... ไม่หาย โดยเฉพาะโลกุตรธรรม ถ้าทำได้โสดาบัน ถึงขั้นอนิยตะ (ตั้งแต่ ๕๐ %) เป็นต้นไป จะเที่ยงแท้ ส่วนโลกียะนั้น เหลว ไม่เที่ยงแท้แน่นอน แต่ไม่หายไป ถ้าเป็นวิบาก ก็จะมาเล่นงาน

อินทรีย์กับพละต่างกันอย่างไร?

ตอบ... อินทรีย์แปลว่า กำลัง ส่วนพละก็แปลว่า กำลังฤทธิ์แรงต่างๆ ท่านใช้คำว่า พละ นั้นเหนือกว่า อินทรีย์ พละเป็นส่วนผล ส่วนอินทรีย์ เป็นส่วนมรรค

ทำไมในอโศกไม่ให้เด็กสัมมาสิกขาไว้ผมยาว

ตอบ ก็ให้ฝึกหัด อย่าไปหลงใหลผมยาว นายกปูมาว่าอย่างนั้น ให้นร.ไว้ผมได้ เราไม่เอา ถ้าใครเห็นว่า อยู่สัมมาสิกขา ไว้ผมยาวไม่ได้ ไม่อยู่ ก็อย่ามาเรียนเลย สัมมาสิกขา รักผมมาก ก็ไม่ต้องมาเรียน สัมมาสิกขา ที่นี่เราสอน ให้ลดละ แค่นี้ลดไม่ได้ ก็มาไม่ได้หรอก

ผมอยู่บ้าน ต้องทำอาหารเนื้อสัตว์ ให้คนอื่นกิน

ตอบ เราไม่ได้มีเจตนา ถ้าเราไปซื้อ ก็มีส่วนวิบาก ถ้าเราฆ่าเอง ก็มีวิบากมากกว่าอีก แต่ถ้าเราไม่ได้ เอามาเอง เราไม่ได้ฆ่า ก็วิบากน้อยกว่า ซึ่งไม่ครบองค์ ๕ ของปาณาติบาต ( รู้ว่าสัตว์มีชีวิต -สัตว์มีชีวิต -มีจิตเจตนาฆ่า -ลงมือพยายามฆ่า -สัตว์ตายไป) แต่คุณทำ ไม่ครบองค์ ๕ ก็ลดวิบากลง สุดวิสัย มันมีวิบาก ก็ทำไป หาทางเลี่ยงได้ ก็ทำ

วันหนึ่งผมอยู่ที่ห้องสมุดสีมาฯ มีชายคนหนึ่ง มาถามว่า ไปชุมนุมไหม ถามว่า ไปทำไม ผมตอบว่า ไปเรียนประชาธิปไตย ในปัจจุบัน แต่เขาว่า ประชาธิปไตย ต้องเรียนในห้อง ผมเลยตอบว่า เรียนแบบบูรณาการ เขาก็ถามอีกว่า ไปแจกอาหารด้วยใช่ไหม เธอไม่รู้หรอก ว่าเขาใช้เธอ เป็นเครื่องมือ ทางการเมือง ผมตอบว่า ไม่ เขาเลยบอกว่า เด็กสัมมาสิกขา ไร้เดียงสา โง่ต่อไปๆ

ตอบ ก็ใช้ปัญญา ว่าอย่างไหนควรไม่ควร เราไม่ได้ครอบงำความคิด

๑.พ่อครูจัดงานที่บ้านราชฯ ประทับใจมาก ๒.ที่เชียงใหม่มีการติดป้ายว่า เชียงใหม่มหานคร เขตจัดการตนเอง มีการติดประกาศ และแจกเสื้อ ดิฉันหวั่นไหว ว่าจะกระทบกับอโศกหรือไม่

ตอบ พ่อครูไม่รู้ ว่าเขาหมายอะไร ชาวอโศกเรา พึ่งตนเองรอด อาศัยหมู่ แต่สัมพันธ์ กับสังคม ตามแบบแผนสังคม เราไม่ละเมิดกฎหมาย หรือระเบียบสังคม สรุปแล้ว อโศกนี่มีลักษณะของ เฉพาะอโศก แล้วก็พึ่งตนเอง แต่อยู่กับสังคมได้ ในสภาพที่ ไม่กระเทือนสังคม เรายังช่วยสังคมด้วย เราพยายามตัดวงจร โดยเฉพาะ วงจรเศรษฐกิจ เราพยายามสร้าง ปัจจัยยังชีพ ปัจจัย ๔ นอกนั้น บริขารสำคัญ เราก็พยายาม พึ่งตนเอง เงินทอง อโศกเรา พึ่งตนเอง ได้มากเลย โดยไม่กู้ยืมธนาคาร หรือคนนอก เรายืมเฉพาะ คนใน ยืมเฉพาะ ส่วนกลาง ยืมบุคคลนั้น เราไม่ส่งเสริม นอกจาก จะเกื้อกูลกัน ภายใน ถ้าเศรษฐกิจทางโลก เขาล้มเหลว เราไม่เกี่ยวกับ วงจรเขา เราจะไม่กระเทือนเราเลย เราไม่ไปเล่นธุรกิจ ทางโลกเขา เราไม่เล่นหุ้น อย่างฟองสบู่แตก คนมีอำนาจ ก็หาทาง ชักดาบ คนเล็กคนน้อย ก็ถูกเอาเปรียบ แต่เราไม่กระทบกระเทือนเลย เราตัดประเด็น ที่จะต้องพึ่งพา โลกีย์ได้ เราก็เป็นผู้หลุดพ้น นี่คือสุดวิเศษ ของสังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์

คาถาอาคม มีจริงหรือไม่

ตอบ คาถาอาคมมีจริง แต่มันไม่จริง พ่อครูก็เล่นมาเยอะ เล่นได้เฉพาะ ผู้มีอุปาทาน ด้วยกัน ผู้ไม่มีอุปาทาน ก็เล่นไม่ขึ้น มันเกี่ยวกับ จิตของคน คนที่เป็นโรคจิต คิดว่า ตนเป็นไข้ ก็มีไข้ได้ หาสาเหตุไม่เจอ ภายนอก อาเจียนเป็นเลือด ได้จริง ดังนั้น หนังเหนียว เดินลุยไฟได้ เป็นได้ทั้งนั้น จะว่าคาถาอาคม ไม่จริงไม่ได้ แต่มันจริง เฉพาะคนยึดถือ

อยากให้พ่อครูวิเคราะห์ กรณีเขาพระวิหาร ทำให้ไทย ไม่เสียดินแดน ได้หรือไม่

ตอบ เมื่อมันเกินวิสัย เราก็ได้ช่วยเต็มที่แล้ว ทำจนเราเดือดร้อน และเราก็ทำ อย่างตามฐานะ ไม่ดูดาย ใจดำ ซึ่งกำลังของคนชั่ว มันหนักหนา สาหัส เขาช่วยกัน เพื่อให้ดินแดนเสียไป เป็นกำลังของ ระดับบริหารสูง มันตกที่นั่ง ร้ายแรงมาก พ่อครูก็พูดไป ตามที่ใจเห็น ก็ดูกันไป ต้านทุกอย่างแล้ว ก็ขอบคุณ คนที่ช่วยกันทำ พากเพียร แต่พวกเรา บางทีก็ไปสมบุกสมบัน อย่างนั้นไม่ได้ เพราะเราไม่มี พลังโลกีย์มาก เรามีแต่ พลังโลกุตระ คือวิมุติ ก็เห็นว่า คนที่ดิ้น จะตกนรก เราพยายามช่วย แต่เขาก็ดิ้นไปนรก ก็แล้วแต่วิบากเขา

อยากแนะนำให้อ่านแนวทางท่านพุทธทาสบ้าง เพื่อความเหมาะสม และอยากส่ง หนังสือ ท่านพุทธทาส ให้ศึกษา

ตอบ พ่อครูก็เคารพท่านพุทธทาส ก็ไม่ได้ดูถูกดูแคลน คุณจะศึกษาท่านพุทธทาส ก็ดีแล้ว ถ้าจะศึกษาพ่อครูบ้าง ก็ดี

สำหรับสังคม ที่พ่อครูเอาเรื่องของทุนมาพูด ก็สมควรที่จะอธิบายเรื่องนี้ให้ฟัง แต่ละทุน มีความหมาย ที่ดีมาก ชาวอโศก มีความยั่งยืน ที่เกิดจากสภาวะ ของสัจจธรรม เกิดจากจิต ที่มีปัญญา และเจโต ทั้งสองด้าน แม้แต่ 5Ks คือทุน ในการสร้างสรร ทุนในทางความรู้ ทุนทางนวัตกรรม ทางอโศกเรา มีนวัตกรรม เก่าเอี่ยม โบราณนวทัศน์ ของเก่าแต่ใหม่ นำหน้าเขา เขาอยากปรองดอง แต่อโศก ปรองดองมาก่อน อย่างจริงใจ ไม่บังคับ สุดยอดนวัตกรรม สุดยอดของ แปลกใหม่ ทำตามได้ยาก แม้ที่สุด ในทางวัฒนธรรม อโศกก็มี วัฒนธรรมอโศก............

จบ