_  560701_รายการเรียนอิสระ(ตามสำนึก) โดยพ่อครูและอ.กฤษฎา
เรื่อง นามกายที่ต้องรู้จักกายให้จนถึงนิโรธ


                อ.กฤษฎาดำเนินรายการที่ห้องกันเกราสันติฯ..

รายการนี้พยายามเอาสำนึก มาเป็นการเล่าเรียนกับพ่อครู วันนี้เอากันให้ชัดๆ เฟรมต่อเฟรม กันเลย... เพื่อความเข้าใจ –เข้าถึง -พัฒนาให้ได้ ถ้าแยกแยะไม่ได้ในเรื่อง กายและสัญญา ก็เข้าถึงวิโมกข์ ๘ ไม่ได้
                อ.กฤษฎานำเอาอุปกรณ์ มาเรียนด้วย เอาวิทยุมาเปิด ให้ได้ยินเสียง..... แล้วเอาป้าย มาเรียง ให้คนดูช้าๆว่า เสียง คือรูป เดินทางไปสู่หูคน ที่เป็นทวารรับรู้ได้ แต่บางคน ที่อยู่ไกล ก็ไม่ได้ยินเสียง คือมันคืออรูป (เสียงมันน้อยมาก เข้มน้อยมาก จนไม่ได้ยินด้วยหู)

                พ่อครูว่า สามอันนี้คือ เสียง หู และ เวทนา  สัญญา สังขาร อันนี้คือกาย ที่เรียกว่า นามกาย หรือรูปกาย ที่เรียกว่ารูปกาย เพราะยังเนื่องอยู่กับ มหาภูตรูป แต่ถ้าผ่านเข้ามาข้างใน โดยตัดมหาภูตรูปออก ก็จะมาเป็นนามกาย ถ้าเราไปสัมผัสรู้ มันอีก ก็จะเรียกว่า นามรูป
                พระพุทธเจ้าว่าโสตทิพย์ คือสามารถรู้ได้ไกล เสียงแม้จะน้อยมากเป็นอรูป แต่คนที่สามารถมี ทิพยโสต ก็จะได้ยิน แม้จะเดินทางมาไกล ก็สามารถได้ยิน และ ยังสามารถแยกได้อีกว่า นี่เสียงเปิงมาง นี่เสียงกลอง นี่เสียงตะโพนนะ เสียงมันต่างกันนะ เขารู้รูปและนามที่สูงขึ้น

                อ.กฤษฎาเปิดเสียงเพลง ในขณะที่เราฟังเพลง เพลงมีความต่อเนื่อง ของมันเอง เมื่อเราสัมผัสเสียง (คือรูปนอก) พอเรารับรู้ด้วยหู มันก็จะรับรู้เข้าไปสู่ภายใน เป็นรูปกาย ที่รับรู้สู่ภายใน แต่ถ้าเราเกิดความชอบใจ ไม่ชอบใจ ก็คือมันปรุงแต่งแล้ว

                อ.กฤษฎา เอาไฟฉายมาให้ดู เมื่อเปิดไฟฉาย ให้พ่อครูดู แสงก็เป็นรูป สำหรับพ่อครู และ อ.กฤษฎา ที่เห็น แต่ว่าแสงก็เป็นอรูป สำหรับคนอื่น ที่มองไม่เห็น คือไม่ใช่ว่า แสงไม่มี

                พ่อครูว่า ...ที่จะเน้นคือรูปและนาม ที่อยู่ในบริบทของ ปฏิจจสมุปบาท
                พระพุทธเจ้าว่า ชาติมี ๕ (ชาติ สัญชาติ โอกกันติ นิพพัตติ อภินิพพัตติ) ,ภพ มี ๓ (กามภพ รูปภพ อรูปภพ) ,อุปาทานมี ๔ (กามุปาทาน ทิฏฐุปาทาน ศีลพตุปาทาน อัตตาวาทุปาทาน) , ตัณหามี ๖ ,
                ตัณหาที่เกิดทางทวาร ๖ ซึ่งก็จะทำให้มีเวทนา ๖ เกิดตามมา เป็นผัสสะ ๖ อายตนะ ๖ วิญญาณ ๖
                ดั้งนั้น การปฏิบัติธรรมของพระพุทธเจ้า ต้องทำผ่านทาง ทวาร ๖ แม้แต่อ านาปานสติ ก็ไม่ใช่มานั่งหลับตา
                สติปัฎฐาน ๔ ก็มีอานาปานสติอยู่ในนั้น ซึ่งในมหาสติปัฏฐาน จะขยาย อานาปานสติ ไม่มาก แต่ถ้ามหาสติปัฏฐานสูตร ก็จะเน้นเรื่อง อานาปานสติ มากหน่อย แต่ไม่ได้ทิ้ง สติปัฏฐาน ๔
                ในตัณหา ๓ ก็ต้องเข้าใจ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา
                เวทนาก็ต้องมาเรียนรู้ เวทนา ๑๐๘
                คำว่า นามรูป ในปฏิจจสมุปบาท ซึ่งตั้งข้อสังเกตว่า ไม่ใช่คำว่า รูปนาม และในอภิธรรม ท่านกล่าวถึง จิต เจตสิก รูป นิพพาน ซึ่งคำว่ารูปนี้ ไม่ใช่หมายถึง รูปนอก เพราะท่านเอาคำว่ารูป ไปไว้ข้างในนะ

                [๑๔] ก็นามรูปเป็นไฉน เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ นี้เรียกว่านาม มหาภูตรูป และรูปที่อาศัย มหาภูตรูป นี้เรียกว่ารูป นามและรูป ดังพรรณนามาฉะนี้ เรียกว่า นามรูป

                พ่อครูจะเน้นว่า เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ ทำงานอย่างไร คือเน้นเรื่อง นาม
                ผู้ที่ศึกษาจะต้องเรียนรู้ รูป และ นาม ซึ่งจะเรียนรู้ได้ ก็ต้องอาศัย นาม เพราะลำพังรูป อย่างเดียว มันไม่มีนาม เป็นสังขาร ที่ไม่มีวิญญาณครอง ไม่มีกรรมครอง เป็นอนุปาทินกสังขาร  เป็นพีชะนิยาม หรืออุตุนิยาม
                องค์รวมของนาม เรียกว่า นามกาย และนามทั้ง ๕ (เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ ) ก็คือองค์รวม และรู้ได้ด้วย อาการ ลิงค นิมิต อุเทศ แม้จะเป็นรูปนอก ก็ต้องกำหนดรู้ เช่นนี่กระท้อน นี่คือดอกพุดพิชยา
                นามรูป ก็คือรูปที่ถูกรู้ด้วยนาม ถ้าคุณกระทบรูปภายนอก มันก็เป็นองค์ประชุม ของนามรูป แต่ถ้าไม่มีนาม มันก็ไม่เกิดนามรูปได้
                นามคือต้องอยู่ในธาตุรู้ คืออุปาทินกสังขาร สังขารที่มีวิญญาณครอง ต้องระดับ จิตนิยาม ขึ้นไปเท่านั้น

                อ.กฤษฎาว่า เด็กที่อยู่ในครรภ์มารดา เขาก็มีชีวิต มีจิตนิยาม ที่รับรู้ได้ ในสิ่งแวดล้อม ของเขาเท่านั้น จนกว่าจะออกมาลืมตาดูโลกก็จะรับรู้ไดครบ

                พ่อครูว่า ส่วนข้างใน คือนามรูป ถ้าเกี่ยวข้องกับรูปรูป และถ้าคำว่ากาย เกิดขึ้นเมื่อไหร่ ก็คือหมายถึง รูปและนาม มีการกระทบสัมผัส ถ้ากระทบสัมผัสกับ รูปรูปัง ก็เรียกว่านามรูป แต่ถ้าตัดเฉพาะนาม ไม่เกี่ยวกับรูปรูปัง ก็คือ นาม มี ๕ อย่าง (เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ )

                และนามภายใน แม้เราจะไม่ได้สัมผัสภายนอก เราก็สามารถระลึกได้ ปั้นขึ้นได้ เนรมิตได้ ยิ่งกว่าพวกกองปราบ ที่สเก็ตภาพโจรผู้ร้าย เป็นกายในกายได้ บางครั้ง เราต้องจำ มาจากข้างนอก แต่ถ้าเราไม่จำ มาจากข้างนอก คุณก็นิรมิตเองเลย เป็นนิรมานกาย ได้เลย ซึ่งมันอาจไม่มีในโลกเลยก็ได้

                อ.กฤษฎาว่า เวลาคนร้องเพลง หรือแต่งเพลง เขาก็ร้องอยู่ภายในใจ เป็นท่วงทำนองได้

                พ่อครูว่า ถ้าเราไม่ไปกำหนดรู้ มันก็สร้างได้โดยอวิชชา วาดฝันไป เนรมิตไป ไม่เคยมี ก็เนรมิตมาใหม่ ที่มีอยู่เก่า ก็ระลึกไป ทั้ง รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส แต่มันก็ถูกเรารู้ได้ จึงเรียกสิ่งนั้นว่า นามรูป

                อ.กฤษฎาว่า ถ้าผมพูดคุยกับพระอินทร์ มีพระอินทร์เป็นเพื่อน ซึ่งก็จะไม่เหมือนคนอื่น

                พ่อครูว่า มันเป็นของตน ไม่เกี่ยวกับใคร

                อ.กฤษฎาว่า มันไม่ใช่ของจริง อย่างคนบอกว่า ไปเจอพระพุทธเจ้า ก็คือกระบวนการ ที่ปั้นเอง เป็นรูปที่กำหนดเอง

                พ่อครูว่า คนอื่นก็อาจกำหนดมาได้คล้ายกัน แต่รูปที่สำเร็จด้วยจิต ก็ของใคร ของใคร จะมาพูดว่า มีลักษณะใดๆ ตามที่กำหนด แต่เวลาไปสร้าง ของแต่ละคน ก็คนละกาย คนละองค์ประชุม นี่คือ สัตตาวาส ข้อที่ ๑ ถ้าไม่กำหนดรู้ ก็ไปปั้นกันเละ ปั้นคนละนรก คนละสวรรค์ เป็นกายคนละกาย (นานัตกาโย) จะปั้นเหมือนกัน ขนาดไหน ก็คนละอัน เอกจรัง ไม่เกี่ยวกับใคร
                พ่อครูว่า พระพุทธเจ้ากำหนดแล้วว่า คุณจะต้องรู้นาม และคุณต้องรู้รูป ซึ่งคุณเป็นนาม ที่จะสามารถ ไปกำหนดรู้รูปได้ ดังนั้น นามจะต้องมีผัสสะ ที่เป็นรูปนอก พหิทธา รูปานิ ปัสสติ (ในวิโมกข์ ๘ ข้อที่ ๒) คือ (อัฏฐ วิโมกฺเข กาเยน ผุสิตฺวา วิหรติ ปัญญาย จัสส ทิสฺวา อาสวา ปริกฺขีณา โหนฺติ)
                ถ้าคุณผัสสะอยู่ ในปัจจุบัน แล้วคุณระลึกรู้รูป ในภายใน ก็เนื่องจาก รูปภายนอก ที่ติดมา แต่ถ้าคุณละจาก สัมผัสนอกแล้ว คุณก็มีนามกาย ที่คุณระลึกรู้ ดังนั้น ความจริง ที่คุณเจอปัจจุบัน อย่างสำเร็จอิริยาบทอยู่ กับความจำที่ระลึกมา มันมีนัย ต่างกันอยู่

                อ.กฤษฎา เอาแผ่นเรียนรู้ มาให้ดู ว่ามีการผัสสะเกิด มีการสัมผัสระหว่าง อายตนะ นอกและใน  ซึ่งอายตนะที่ ๖ คือใจ ปรากฏว่า ทฤษฏีบอกว่า ใจเองก็ต้อง มีผัสสะ นั่นคือผัสสะ ที่อยู่ภายใน เป็นอายตนะใน

                พ่อครูว่า พยายามเน้นว่า เมื่อยังไม่ขาดจาก การสัมผัสนอก มันก็เป็นกายในกาย ที่เป็นองค์รวม สมบูรณ์ครบสด แต่ถ้าคุณละจากสายตา หรือละจากเสียง มันก็จะเหลือ เพียงความทรงจำ เท่านั้น ซึ่งมันไม่สดแล้ว มันไม่ใช่ผัสสะจริง พระพุทธเจ้าว่า ให้เรียนรู้ ผัสสะ แต่ท่านให้เรียนรู้ ต่อเนื่องเข้าไปสู่ อุปาทายรูป
                เมื่อมีผัสสะ ก็จะมีเวทนา ก็รู้สึกได้ ซึ่งในนามนี้ ท่านไม่มีคำว่า สังขาร แล้วเวทนานี้ คุณก็มี สุข ทุกข์หรือเฉยๆ  และมันจะเป็นได้ อย่างใดอย่างหนึ่ง คุณก็ต้อง กำหนดรู้ว่า อาการอย่างนี้คือสุข หรือทุกข์หรือเฉยๆ ก็ต้องกำหนดรู้ความจริง ตามความเป็นจริง คุณก็รู้ความจริงได้ เป็นเวทนา แล้วเวทนานี้สุข มันสุขเพราะอะไร แล้วทำไม มันต่างจากทุกข์ หรือเฉย
                ซึ่งมันก็ต้องมีเหตุ แสดงว่า อาการสุขหรือทุกข์ มันไม่เหมือนกัน และมันต้อง มีการปรุง หรือสังขารมาก่อน มันถึงรู้สึกต่างกัน และสองคน สัมผัสอย่างเดียวกัน แต่ก็เกิดเวทนา ไม่เหมือนกัน บางคนชอบ บางคนไม่ชอบ เราต้องเรียนรู้เหตุ
                ถ้าจิตของคุณไม่มีสมาธิเลย คุณก็กำหนดรู้อะไร ไม่ได้หรอก คุณต้องศึกษา เรียนรู้ ให้มีกำลังพอที่จะเรียนรู้จิต กำหนดรู้จิตได้ แต่บางคนก็ต้อง ไปนั่งสมาธิ เพื่อกำหนดรู้ได้ แต่บางคน ก็ไม่ต้องไปนั่งก็ได้ ก็อ่านรู้ได้ว่า อาการนี้ ต่างกันอย่างไร แล้วมันมีเหตุ จากอะไร เรียนรู้จนหาเหตุ และมีอุบายเครื่องออกได้
                ถ้าคนสัมผัสแล้วทุกข์ ก็จะเห็นเหตุแห่งทุกข์ง่าย แต่ถ้าสุข จะไม่ค่อยรู้ เหตุแห่งสุขทุกข์
                ในปฏิจจสมุปบาท เขตระหว่าง เวทนากับสังขาร เป็นกลุ่มหนึ่ง หลังจากนั้น จะเป็นตัณหา ภพ ชาติ ชรา ก็จะหายไป ถ้าเราปฏิบัติไป แต่เวทนากับสังขาร จะยังอยู่ ในผู้บรรลุ ก็มีเวทนาเป็นอุเบกขา  สังขารก็เป็นอภิสังขารได้
            เหตุแห่งเวทนานั้นคือ ตัณหาอุปาทาน หรือเรียกว่าสเปค เมื่อคุณสามารถ กำจัดตัณหาได้ ก็คือ กำจัดอุปาทานได้ จะกำจัดอุปาทานได้ ก็กำจัดตัณหาได้ เพราะมันตัวเดียวกัน แต่คนละสถานะ
                เมื่อคุณสามารถรู้เวทนาได้ และสามารถรู้เหตุ แต่ถ้าเราไม่สามารถรู้เหตุได้ พระพุทธเจ้า ก็มีอุบายเครื่องออก ว่าการที่ได้ของมาสัมผัสเสพ คุณต้องเว้น เว้นขาด อย่าไปเอามาเสวยผล สุขทุกข์ แม้ตากระทบรูปได้ แต่คุณต้องอ่านจิต ถ้ามันทนไม่ได้ ก็ต้องเว้นขาด อย่าดู คุณก็จะเห็น มันดิ้นแล้ว หรือกลิ่น คุณสู้ไม่ได้ก็หนี
                แต่ถ้าคุณสัมผัสตา คุณก็สามารถอ่านได้ว่า เหตุที่มันชอบ หรือไม่ชอบ เพราะมัน ตั้งเค้าไว้ในจิต มีสเปคเลย มันจะมีอาการอย่างนั้นเลย มันก็ตัวเราเอง ไปตั้งว่า ต้องได้อย่างนี้
                พ่อครูแยกว่า ถ้าอยากได้มาเสพรส เสพอารมณ์ ก็เป็นราคะ ถ้าสมใจ ในการเอามา เป็นของเรา ของกู ก็เป็นโลภะ
                ถ้าคุณสามารถรู้เหตุได้ และเหตุนี้แหละคือ มโนสัญเจตนา มีสามอย่าง (มีกามตัณหา ภวตัณหา  วิภวตัณหา)
            และตัณหา ๓ นี่ พ่อครูอธิบาย คำว่าวิภวตัณหา คือตัณหาที่ไม่มีภพ และ กามตัณหา คือความต้องการ ทางภายนอก ส่วนภวตัณหา เป็นความต้องการ ภายในใจ แต่เมื่อคุณ ได้ฝึกจิต ให้อยู่เหนือภพ คุณก็สัมผัสอยู่นี่แหละ แต่คุณไม่สุขไม่ทุกข์ กับภพนั้นแล้ว
                คุณก็อยู่ในกามาวจร คุณก็ไม่ได้ปิดทวาร แต่กิเลสคุณไม่มี มันไม่มีโดยจริง ไม่ต้องฝืนกดข่ม อดทน สบายได้ โดยมีฌาน ๔ เป็นอุเบกขาแล้ว มีเหลือแต่รูปราคะ อรูปราคะ ในขณะกระทบ แต่ไม่แสดงออก ที่จะเอามาเป็นของเรา หรือมาเสพรสแล้ว ไม่มีโทษภัย กับใครแล้ว ไม่มีทั้งชอบชัง ผลักหรือดูด
                คนเป็นอนาคามีภูมิ มันก็จะเกิดดำเนินบทบาท หรืออวจรอยู่ คนไหนก็ไม่รู้คุณ เพราะไม่แสดง กิริยาภายนอก เราเฉยๆแล้ว มันก็มีไปของธรรมชาติ ไม่ผลักดูด ถ้าจำเป็นต้อง รับมาเป็นของเรา ก็ใช้แค่พอดี ไม่เกินไป ไม่เวอร์เกินไป คุณไม่ปรุงแต่ง เป็นรสชาติแล้ว ก็อาศัยตามเหมาะควร แม้มีมาก ก็แบ่งแจก มีมากไปทำไม ต้องมีภาระ ดูแลรักษาอีก
                เมื่อมีเจตนา เราต้องรู้เจตนา หรือมโนสัญเจตนา ถ้าเราทำกามตัณหาหมด ก็เหลือ รูปราคะ คือมันยังระริกระรี้ในรส ไม่มีใครรู้ด้วย แต่มันหยาบกว่า อรูปราคะ ซึ่งอรูปราคะนี้ มันแทบจะไม่รู้ว่ามีแล้ว แต่มันยังมีอาการ เช่น เราก็ว่า เราไม่มีรูปอะไรแล้ว แต่เราทำไม ยังไม่นิ่ง ไม่สงบสนิท แต่มันไม่เป็นพิษภัย กับคนอื่น มันเป็นขั้น อากิญจัญฯ แล้ว มันมีนิดหนึ่งน้อยหนึ่ง เราต้องไม่ให้มี จะละเอียดเท่าใด ก็เท่าที่คุณจะรู้ได้
                อธิบายให้รู้ว่า มันยังไม่ขาดผัสสะ ไม่ขาดเจตนา แต่กามตัณหาหมดแล้ว แล้วทำต่ออีก คุณก็ทำรูปราคะ อรูปราคะหมดไปตามลำดับ ก็หมด ก็ต้องทำ มานะ อุทธัจจะ ก็คืออากิญจัญญาฯ กับเนวสัญญาฯ ซึ่งเนวสัญญาฯ ก็คืออุทธัจจะสังโยชน์ กับอวิชชาสังโยชน์ ต้องรู้ให้ครบ
                ตั้งแต่อากาสาฯ วิญญานัญจาฯ ไปสู่อากิญจัญญฯ  แล้วจึงสู่เนวสัญญาฯ จะไม่รู้ไม่ได้ รู้ อโสกะ (ธุลีหมอง) หมด วิรชะ (ธุลีเริง) เกษม เขมัง จนกำหนดรู้หมด ไม่รู้ไม่มี ผ่านพ้น (สมติกกม) สู่สัญญาเวทยิตนิโรธ สิ้นอวิชชาสวะ เป็นนิโรธสูงสุด อย่างลืมตา มีจักษุ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง

                อ.กฤษฎาว่า เวลาทำบุญทุกครั้ง เขาให้ศีล ให้มีเวรมณี คือให้งดเว้นเสีย แต่อยู่ในชีวิตประจำวัน เอามาเป็นอุบายเครื่องออก

                พ่อครูว่า ศีลคือการกำหนดตามฐานะ อย่างหยาบๆคือศีล ๕ ต้องกำหนดรู้ สภาวะ อย่างแรก ศีลข้อ ๑ ต้องกำหนดรู้ ในความสำคัญของชีวิต ไม่ทำร้ายชีวิต เป็นโทสะ ส่วนของคือศีลข้อ๒ เป็นโลภะ ส่วนศีลข้อ ๓ เป็นรสเป็นราคะ อย่าไปละเมิด ในสิ่งที่มีเจ้าของ ก็ทำสิ่งง่าย สิ่งหยาบก่อน และอย่าไปพูดปด ยิ่งศีลข้อ ๕ คืออย่าไป เมามาย ในสิ่งหยาบ เช่นสุรา คือสุระ(แข็งกล้า)
                ส่วนศีล ๘ คือลดละสิ่งใหญ่ สิ่งหรูหรา ขั้นต่อไป เป็นสกิทาคามี แล้วค่อยว่ากัน เอาโสดาบันก่อน ให้ปฏิบัติศีล ๕ ก่อน ให้รู้ใจที่มีสักกายะ แล้วกำจัดกิเลส ให้พ้นศีลพตปรามาส แม้จะลดไม่ได้หมด ก็ถือว่า ถูกตัวตนสภาวะ มีของจริง เราเรียกรวมว่าอัตตา แต่ว่าเฉพาะตนที่รู้ เรียกสักกายะ เราต้องเห็นมันไม่เที่ยง มันจางคลาย จนมันหมด สิ้นเกลี้ยง ก็เห็นอนัตตา เกิดจากการศึกษาจิต ของเราเอง อย่างสัมมาทิฏฐิ และละเอียด จะไม่สัญญาวิปลาส แม้อาสวะก็กำหนดแม่น ดับอาสวะสิ้น ก็เห็นความไม่มีตัวตน ตั้งแต่สักกายะ มาถึงกิเลสระดับกลาง ระดับละเอียด ก็กำหนดรู้ได้ อย่างผุสิตวา
                จนมีนิโรธหรือวิมุติ หรือนิพพาน ก็เห็นอยู่หลัดๆ รู้ๆ ไม่ใช่แบบดับทั้งดุ้น ไม่รู้ว่าดับไปแล้ว ขั้นไหน อย่างไร เขาทำแบบดับทั้งก้อน ดับเวทนา สัญญาหมดเลย ซึ่งสัญญาอย่างหนึ่ง ดับเพราะธรรมชาติ และสัญญาอย่างหนึ่ง ดับเพราะการศึกษา ถ้าศึกษาผิด ก็ไปดับทั้งดุ้นอีก เราต้องดับให้ถูกจุด ถูกเหตุ
                และต้องกำหนดรู้ ให้ทุกขั้นตอน ให้ละเอียด ไม่ได้ดับสัญญา

                อ.กฤษฎาว่า สัญญาเดิมเราถูกพัฒนา มาเป็นสัญญาตัวใหม่ ที่สว่างไสว

                พ่อครูว่า เป็นคุณภาพของสัญญา ที่สว่างแจ้ง เป็นจักขุมา ปรินิพพุโพติ คือนิพพาน อย่างลืมตา มีปัญญารู้แจ้ง

                พ่อครูได้เรียบเรียบ เรื่องนิโรธ มาแสดง......

            นิโรธแบบฤาษีนั้น ไปนั่งหลับดับไปหมด ความหมายของคำว่า กาย และสัญญา นั้นจะต่างกัน พอไปถึงขั้นนิโรธแล้ว ก็จะยากที่จะอธิบาย
                อธิบายตั้งแต่ วิญญาณฐีติ ข้อ ๓ หรือสัตตาวาส ข้อ ๓ ซึ่งอย่างไหนเป็นพุทธ หรือไม่ใช่พุทธ......
                อย่างหนึ่งคือ สัญญาของเรา ที่เรากำหนดว่านิโรธ คือการนั่งสมาธิหลับตา พอถึงฌาน ๔ ก็ไม่มีนิวรณ์แล้ว อุเบกขา แต่มันยังไม่ดับ แต่นิโรธแปลว่าดับ ก็เลยสัญญาว่า ต้องดับ ให้ไม่คิดไม่นึก อะไรเลย

                อีกฝ่ายหนึ่งว่า ไม่ต้องดับหรอก ไปทำให้สว่าง ซึ่งไม่มีนิวรณ์เหมือนกัน แต่ก็เอาแต่ว่าง สว่าง อนันโต เป็นการเสวยภพภูมิว่าง แต่ยังไม่รู้ว่า เป็นตัวเรา เหมือนเราฝัน บางทีก็ไม่รู้ตัว ซึ่งขณะที่อยู่ในภาวะว่าง แต่ก็ไม่รู้ตัว ก็คือภพ อากาสาฯ แต่ถ้าเรารู้ตัวว่า เราอยู่ในภพนี้ ก็เป็นวิญญานัญจายตนฯ เราก็ทั้งรู้จักความว่าง และรู้ว่า เรากำลังเสพ ความว่างอยู่นะ
            หรือบางคน ก็กำหนดที่ความใส สว่างไปตลอดไปเลย ไม่ต้องไปดับ เขาจะไม่เรียก นิโรธ เขาเรียกว่า อายตนนิพพาน เป็นโลกแห่งความใส โสดาฯ ก็ใสระดับหนึ่ง สกิทาฯ อนาคาฯ อรหันต์ ก็ใสขึ้นๆเรื่อยๆ กำหนดเอง จนเป็น พระพุทธเจ้า ก็ใสสุดแล้ว คุณปั้นกายของคุณเอง นี่คือกายต่างกัน

                อยู่ในวิญญาณฐีติข้อที่ ๓ กายอย่างเดียวกัน สัญญาต่างกัน เป็นอาภัสสรา คนที่ปั้น ใสสว่าง เขาก็สว่างใส ไม่เหมือนกัน กายก็ไม่เหมือนกัน เวลาเขาสร้าง ก็กำหนด องค์ใสต่างกัน ก็เลยเกิดเหตุการณ์ มีกายใสเหมือนกัน แต่สัญญากำหนดต่างกัน เคยได้ยิน เขาทะเลาะกันไหมว่า เจ้าหนึ่งเห็นพระพุทธเจ้าหัวปุ้ม อีกเจ้าหนึ่ง เห็นพระพุทธเจ้า หัวแหลม ก็เลยทะเลาะกันแยกวง ก็เลยมีกายของธรรมะต่างกัน เลยเกิดธรรมกาย สองวง นี่คือ กายอย่างเดียวกัน สัญญาต่างกัน เมื่อเรียนรู้กายไม่ชัด สัญญาไม่ชัด ก็มาทะเลาะกัน

                พระอรหันต์องค์หนึ่ง ท่านอยู่ในถ้ำ ไม่ได้รับแสงสว่าง ไม่มีกิเลส ท่านก็ใจ สว่างใส ไม่มีกิเลสเหมือนกัน องค์หนึ่งอยู่กับโลกธรรมดา อยู่ที่สว่าง ก็มีใจใสสว่าง ไม่มีกิเลสเหมือนกัน มีนามกายเหมือนกัน คือว่างจากกิเลส เหมือนกัน นี่คือ กายอย่างเดียวกัน สัญญาอย่างเดียวกัน

                มาถึงข้อที่ ๔ กายอย่างเดียวกัน สัญญาอย่างเดียวกัน แต่ต่างทิฏฐิ อย่างอรหันต์ปลอม ไปได้นิโรธดับฤาษี ไปดับสัญญา ดับเวทนา ได้ความมืด เป็นกิณหะ (โชคของเราแล้วหนอ) เป็นเทวดาสุภกิณหา เขาก็สัญญาว่า นิโรธคืออย่างนี้ๆ
                ส่วนศาสนาพุทธ ก็มีนิโรธ แต่ไม่เหมือนกัน กายคือดับเหมือนกัน แต่ของ ฤาษีไม่มี (อย่างมืด) ซึ่งภาวะมืดคือความไม่มี เพราะขั้นสว่างนี้ เขาไม่เรียกว่านิโรธ เพราะยังเป็น ความมี จึงต้องมาสู่ขั้นสูงกว่า คือขั้นดับ
                คนที่ทิฏฐิบอกว่า ดับหมด ทั้งสัญญาทั้งเวทนา ก็ได้โชคของเขา ขณะที่ดับ เขาก็ดับ ไม่มีกิเลส เช่นกัน
                แต่ผู้ที่ดับเหตุคือโลกสมุทัย ก็ดับได้ ดับกิเลสได้ แต่ดับอย่างมีจักษุ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง  
                ซึ่งนิโรธแบบฤาษี ต้องเข้าต้องออก ต้องไปนั่งเข้านิโรธ เพราะตื่นมา ก็เจอความสว่าง ไม่ดับอีก แต่ของพุทธนี้ จะออกนั้นก็คือ การหลุดพ้นจากชั้นต่ำ สู่ชั้นสูง ไม่ต้องเวียนกลับอีก ไม่ต้องเข้าต้องออกอีก ของพระพุทธเจ้าดับก็คือ ดับสนิท ไม่เกิดอีก ถาวรยั่งยืน นี่คือลักษณะที่ต่างกัน

                อ.กฤษฎาว่า แบบฤาษีนั้น ไม่ได้ตัดวงจร ปฏิจจสมุปบาท อย่างที่เคย เห็นข่าวว่า พระท่านนั้นท่านนี้ เข้านิโรธดับ ซึ่งก็ไม่ถึงนิพพาน ไม่ได้ตัดกระบวนการ ปฏิจจสมุปบาท

                พ่อครูว่า เขาไม่เข้าใจสภาวะ การเกิดนิโรธ อย่างเขา เป็นการสร้างภพ แต่ของพุทธ เป็นการพ้นข้ามหรือ หลุดพ้นจากภพไป ไม่ใช่เข้าไปจมดิ่งกับภพนั้น เขาไม่ได้ล้างภพ เขาสร้างภพ สุดท้าย รูปฌานก็คือรูปภพ อรูปฌานก็คืออรูปภพ
                การดับหรือนิโรธ ไม่ใช่ดับทั้งดุ้น ของเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ทั้งสี่กองนี้ ถ้าดับตัวไหน ก็คือมืดทั้งหมด เป็นการสร้างภพ แต่ของพระพุทธเจ้าคือ ดับอกุศลเจตสิก ไม่ให้มีปฏิกิริยาภายใน จิตไม่มีกิเลสนั้นๆแล้ว สิ้นอาสวะตลอดไป ส่วนฝ่ายไม่ใช่พุทธ สิ้นปฏิกิริยา ในขณะที่เข้า นิโรธสมาบัติ แต่แล้วก็ต้องออกมาสู่ การมีปฏิกิริยาใหม่อีก

                อ.กฤษฎาสรุป... วันนี้จะเห็นความชัดเจนของชีวิต ที่มีขันธ์ ๕ มีกระบวนการ รับรู้ ที่เกี่ยวเนื่อง ในปฏิจจสมุปบาท โดยเฉพาะเรื่อง รูปและนาม มีความต่อเนื่องอย่างไร

 ...จบ  

 
๑ กรกฎาคม ๒๕๕๖ ที่ พุทธสถานสันติอโศก