560811_ขอบุญโฮมศีรษะอโศก โดยพ่อครูสมณะโพธิรักษ์
เรื่อง  องค์รวมของรูปอย่างพิศดาร

        พ่อครูออกเดินทาง จากราชธานีอโศก วันที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๕๖ ตอน ๐๖.๓๐ น. มาถึงศีรษะอโศก ตอนประมาณ ๐๗.๓๐ น.

        วันนี้ได้รับนิมนต์มา เนื่องในวันแม่แห่งชาติ ซึ่งในวันพรุ่งนี้ ก็จะเป็นวันแม่แห่งชาติ ชาวศีรษะอโศก จึงจัดงานวันแม่แห่งชาติขึ้น ในวันอาทิตย์ จะมีตลาดอาริยะด้วย ในวันแม่ แต่ทางที่กลุ่มใหญ่เรา ก็จะมีดำริ จัดตลาดอาริยะใหญ่ ที่สวนลุมพินีวัน มันก็สัมพันธ์กันหมด ทั้งพฤติกรรม ตลาดอาริยะ ที่ยิ่งใหญ่ ถ้าโลกนี้ เป็นตลาดอาริยะ หมดเลย จะประเสริฐมาก อาริยะคือฉลาด อย่างถูกต้อง ยอดเยี่ยม คือผู้ฉลาด จะค้าขาย อย่างขาดทุน พ่อของแผ่นดิน ตรัสไว้แล้วว่า our loss is our gain สอดคล้องของพ่อ ของมหาจักรวาล คือสมเด็จ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านตรัสว่า ธรรมใดวินัยใด เป็นไปเพื่อ ความมักน้อย ธรรมนั้นวินัยนั้น เป็นของเราตถาคต

        มีทั้งเศรษฐกิจ การเมือง สังคม อยู่ในนั้น คนดีมาร่วมกันทำสิ่งดี ครบพร้อมเลย จะเป็นสถานที่อันเหมาะ คือที่ประสูติคือที่เกิด วันนี้เราจะมาพูดถึง ความเกิด ภาษาบาลี คือ “ชาติ”

        ถ้าการเกิดนี้ เป็นอกุศล มีสิ่งไม่มีดีปรุงแต่งจัดแจง จนมีบทบาทลีลา เป็นแรงงาน จนเป็นแรงร้ายแรงดี เป็นพลังดี พลังไม่ดีก็เกิดจริง เกิดจากมนุษย์เป็นแรง ซึ่งพลังของ ดินน้ำลมไฟ ก็เคลื่อนตัว มีเหตุปัจจัย มีฤทธิ์แรงเกิดมันช้า แต่มนุษย์นี้ มีจิตแววไวมาก เป็นจิตเป็นตัวประธานให้เกิดสภาพเร็วไว ทั้งความคิด และเปลี่ยนแปลงตัว เรียกว่า “มุทุ” คือ อ่อนไวเร็ว เรียกว่า เป็นปัญญา และเจโต ก็เร็วแตกตัวไว เช่น ตัวเรามีพฤติกรรมชั่ว เราก็เปลี่ยนเป็นดีเร็วไว มีปัญญารู้ได้เร็วไวว่า ตนชั่ว แล้วเปลี่ยนได้เร็ว เป็นมุทุภูตธาตุ เป็นจิตหัวอ่อน แปรสภาพได้ไว

        นี่คือ สัจจะทางนามธรรม คือ มโนบุพพังคมา ธัมมา มโนเสฏฐา มโนมยา พลังงานจิต ละเอียดกว่า นิวเคลียส ที่จะระเบิดเป็นนิวเคลียร์ แต่พลังทางจิต มีสภาพ ยิ่งใหญ่กว่ามาก

        เราจะมาขยายความ เรื่องการเกิด
        ทุกวันนี้พฤติกรรมสังคม เกิดเสื่อมเกิดเสื่อม มาถึงวันนี้ มีผู้ทำนายว่า....
16 อาเพศในเพลงยาว ทำนายแผ่นดินอยุธยา …..ว่า

คือเดือนดาวดินฟ้าจะอาเพศ อุบัติเหตุเกิดทั่วทุกทิศาน 
มหาเมฆจะลุกเป็นเพลิงกาฬ   เกิดนิมิตพิศดารทุกบ้านเมือง 
พระคงคาจะแดงเดือดดั่งเลือดนก  อกแผ่นดินเป็นบ้าฟ้าจะเหลือง 
ผีป่าก็จะวิ่งเข้าสิงเมือง  ผีเมืองนั้นจะออกไปอยู่ไพร  
พระเสื้อเมืองจะเอาตัวหนี   พระกาฬกุลีจะเข้ามาเป็นไส้ 
พระธรณีจะตีอกไห้  อกพระกาฬจะไหม้อยู่เกรียมกรม 
ในลักษณ์ทำนายไว้บ่ห่อนผิด  เมื่อวินิศพิศดูก็เห็นสม 
มิใช่เทศกาลร้อนก็ร้อนระงม  มิใช่เทศกาลลมลมก็พัด 
มิใช่เทศกาลหนาวก็หนาวพ้น  มิใช่เทศกาลฝนฝนก็อุบัติ 
ทุกต้นไม้หย่อมหญ้าสาระพัด  เกิดวิบัตินานาทั่วสากล 
เทวดาซึ่งรักษาพระศาสนา จะรักษาแต่คนฝ่ายอกุศล
สัปบุรุษจะแพ้แก่ทรชน  มิตรตนจะฆ่าซึ่งความรัก 
ภรรยาจะฆ่าซึ่งคุณผัว  คนชั่วจะมล้างผู้มีศักดิ์ 
ลูกศิษย์จะสู้ครูพัก  จะหาญหักผู้ใหญ่ให้เป็นน้อย 
ผู้มีศีลจะเสียซึ่งอำนาจ นักปราชญ์จะตกต่ำต้อย 
กระเบื้องจะเฟื่องฟูลอย  น้ำเต้าอันลอยนั้นจะถอยจม 
ผู้มีตระกูลจะสูญเผ่า  เพราะจันฑาลมันเข้ามาเสพสม 
ผู้มีศีลนั้นจะเสียซึ่งอารมณ์  เพราะสมัครสมาคมด้วยมารยา 
พระมหากระษัตริย์จะเสื่อมสิงหนาท ประเทศราชจะเสื่อมซึ่งยศถา 
อาสัตย์จะเลื่องลือชา  พระธรรมาจะตกลึกลับ
ผู้กล้าจะเสื่อมใจหาญ  จะสาบสูญวิชาการทั้งปวงสรรพ 
ผู้มีสินจะถอยจากทรัพย์ สัปบุรุษจะอับซึ่งน้ำใจ 
ทั้งอายุศม์จะถอยเคลื่อนจากเดือนปี  ประเวณีจะแปรปรวนตามวิสัย 
ทั้งพืชแผ่นดินจะผ่อนไป  ผลหมากรากไม้จะถอยรส 
ทั้งแพทยพรรณว่านยาก็อาเพศ  เคยเป็นคุณวิเศษก็เสื่อมหมด 
จวงจันทน์พรรณไม้อันหอมรส  จะถอยถดไปตามประเพณี 
ทั้งข้าวก็จะยากหมากจะแพง  สาระพันจะแห้งแล้งเป็นถ้วนถี่ 
จะบังเกีดทรพิษมิคสัญญี  ฝูงผีจะวิ่งเข้าปลอมคน 
กรุงประเทศราชธานี  จะเกิดการกุลีทุกแห่งหน 
จะอ้างว้างอกใจทั้งไพร่พล  จะสาละวนทั่วโลกทั้งหญิงชาย 
จะร้อนอกสมณาประชาราช  จะเกิดเข็ญเป็นอุบาทว์นั้นมากหลาย 
จะรบราฆ่าฟันกันวุ่นวาย  ฝูงคนจะล้มตายลงเป็นเบือ
ทางน้ำก็จะแห้งเป็นทางบก เวียงวังก็จะรกเป็นป่าเสือ
แต่สิงห์สารสัตว์เนื้อเบื้อ นั้นจะหลงหลอเหลือในแผ่นดิน 
ทั้งผู้คนสาระพัดสัตว์ทั้งหลาย  จะสาบสูญล้มตายเสียหมดสิ้น 
ด้วยพระกาฬจะมาผลาญแผ่นดิน  จะสูญสิ้นการณรงค์สงคราม 
กรุงศรีอยุธยาจะสูญแล้ว  จะลับรัศมีแก้วเจ้าทั้งสาม 
ไปจนคำรบปีเดือนคืนยาม  นสิ้นนามศักราชห้าพัน
กรุงศรีอยุธยาเขษมสุข แสนสนุกยิ่งล้ำเมืองสวรรค์
จะเป็นเมืองแพศยาอาธรรม์ นับวันจะเสื่อมสูญเอยฯ

        ทุกอย่างเป็นวัฏฏะ วน เกิดขึ้น-ตั้งอยู่-ดับไป และในช่วงที่ตั้งอยู่นี่แหละ อยู่อย่าง สงบสุข หรืออยู่กลางๆ หรือทุกข์มากกว่าสุข ซึ่งทุกวันนี้ ตั้งอยู่ในเขต ทุกข์มากกว่าสุข แต่มันก็จะ เกิดและดับ ตามเหตุปัจจัย ไม่มีใครห้ามได้ แต่ตัวจิตวิญญาณนั้น เหนือกว่า ธรรมชาติ แต่ถ้าได้ระดับธรรมชาติ ก็ยังดี แต่ว่า ถ้าระดับ ต่ำกว่าธรรมชาติ ก็เหลวไหล ร้ายแรง เป็นธรรมชาติที่โง่เง่า ใครรู้แล้ว ก็ลดธรรมชาติ ให้อยู่ระดับพอดี เข้าไปหา ๐ ซึ่งผู้จบ ๐ คือหมดธรรมชาติ มีหรือไม่มีก็ได้ “มีก็ไม่มี ไม่มีก็ไม่มี” จะเห็นได้ว่า ความต่อระหว่าง ความมีกับไม่มี และความไม่มีกับไม่มี ซึ่งความมีคือเกิด ความไม่มีคือดับ

        ความต่อคือ continuum เป็นความต่อเนื่อง จาก connection relation continuum ทุกวันนี้ สังคมไทย เป็นธรรมาธรรมสงคราม คือ อธรรมกับธรรมะ มาทำสงครามกัน พ่อครู ก็ยังเห็นว่า ไทยเรายังเห็น ความสำคัญของพุทธ ขณะนี้เกิด กองทัพประชาชนขึ้น และจะไปไม่รอด กองทัพธรรม จึงมาร่วม และเราเห็นว่า กองทัพเป็นเชิงรบรา ก็เลยเอา กองทัพออก ก็ให้เป็น ปรองดอง ประชาชน ส่วนเพื่ออะไร ขอหมกเม็ดไว้ และ ก็มาทำงาน เราพยายามกำจัด ชำระสิ่งไม่ดี ให้ออกไป ให้สิ้นไปจาก มหาจักรวาลนี้เลย เอาสิ่งที่ดีไว้ เท่าที่เราจะทำได้ เรากำลังจะทำสิ่งหนึ่ง ให้ดับไป สิ่งหนึ่งให้เกิดมาก เราไม่เอา ชนะหรือแพ้ เราทำสุดที่ จะแพ้ก็แพ้ชะตาทราม ดวงใจทรงความมั่นคง เกิดมาอีก ก็ทำอีก

        เราจะทำการดับชาติให้ได้ เราจะอยู่ เท่าที่ชีวิตเรา จะอยู่ได้ ประเทศไทย ก็ควรอยู่ต่อ เป็นชาติ เราเป็นพลเมืองไทย เราจะให้เกิดต่อ ตั้งอยู่อย่างดี อย่างเจริญ คือรู้ว่าอะไร ที่สูงสุด รู้ว่าอะไรที่หมดสุดสูงสุด ที่ควรมี ควรให้เกลี้ยง ของตนเอง เรียก อมตบุคคล คำว่า มยหรือมยัง คือความสำเร็จ อันเป็นเรา ดังนั้น มยังที่เป็นมโนมยะ คือใจนี่แหละ ทำให้สำเร็จ ใจเรานี่แหละ เป็นตัวพลังงาน ความสามารถกระทำ ให้สำเร็จได้      

        เราเข้าใจองค์รวม ที่ประชุมกัน เรียกว่า “กาย” คือองค์ประชุมของ รูปและนาม ผู้ศึกษา ปรมัตถ์ ก็สามารถ เข้าใจเรื่องรูป รูปรูปัง ซึ่งรูปคือ ของหยาบอยู่นอก สัมผัสได้ ด้วยทวารนอก สิ่งที่สัมผัสได้เรียกว่า “รูปกาย” คือมีนามเข้าไปรับรู้ รู้ว่านี่คือ สิ่งที่ถูกรู้ คนมีนามธรรม มีจิตวิญญาณรู้ว่า ตนคือคนในชาติไหน ประเทศไหน ไม่ใช่ว่าไม่รู้ คุณจะมาเกิดในชาตินี้ ประเทศนี้ทำไม คุณก็ต้องไปเกิด ในชาติอื่นประเทศอื่น

        คำว่า “กาย” ลึกซึ้งกว่าคำว่า “ร่าง” กายนี้เป็นกายแห่งธรรมะ ที่ลึกซึ้งมาก คนไม่เข้าใจกายแห่งธรรมะ จะไประลึกรู้ อย่างเป็นรูปเป็นร่าง เป็นเรื่องโลกมอมเมา ยั่วย้อม จนเลี่ยนหมดเลย มันเกินเลย มากจัด อัตตาก็มาก กามก็มาก โดยไม่เข้าใจ กามและอัตตา พวกนี้จมอยู่ในความมืด อยู่ในหลุมลึกของอวกาศ คือ เทหวัตถุแท่งทึบ     

        ใน space คือจักรภพ ถ้าใครไม่มี จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ก็จะตกในหลุมดำ Black hole เป็นสัตว์ในความมืด ถูกดูดเข้าไป เป็นเทหวัตถุแท่งทึบ มันก็เคลื่อนตัว ไปในอวกาศ โดยไม่รู้ว่า คืออะไร เป็นดวงดาว เป็นอุกาบาต เป็นสารพัด ส่วนผู้มีดวงตา จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง จะเห็นหมดเลย รู้หมดเลย และรู้อะไรมีคุณ มีโทษ ก็จัดการสิ่งมีโทษ ในจักรวาลเล็ก ของเราได้ จัดการเอาออก สิ่งไม่ดี ทั้งรูปและนาม เราก็อยู่กับ รูปและนามที่ดี สังเคราะห์กัน อยู่อย่างเจริญ ซึ่งไอสไตน์ คิดเรื่อง space and time of continuum แต่ไม่มีวิธีควบคุมการใช้ คนเอาไปทำระเบิดปรมาณู เป็นบาดแผล และพ่อครู รู้บาดแผลนี้ และไม่พยายามให้เกิด

        พุทธศาสนาเมืองไทยนั้น ขาเป๋ พ่อครูต้องมาต่อขา เชื่อมขาให้เดินได้ จะทำได้แค่ไหน ก็แล้วแต่

        เรื่องชาตินี้ พระพุทธเจ้า ท่านแจกไว้ ๕ คำ
1. ชาติ  แปลว่า ความเกิด
2. สัญชาติ คือความบังเกิด
3. โอกกันติ คือ เขาแปลว่า ความหยั่งลง พ่อครูแปลว่า ความเกิดที่ต่อเนื่อง ตรงข้ามกับคำว่า ขณิกะ(คือขณะ) แต่ถ้ามันต่อเนื่องไม่มีขาด คือผู้บรรลุสูงสุด ไม่มีตัวอกุศลมาคั่น จะมีแต่กุศลต่อเนื่อง ไม่ขาดสาย
4. นิพพัตติ คือ ใกล้กับคำว่า นิพพาน คือการเกิด อย่างลดกิเลสได้ อันหนึ่งตาย อีกอันหนึ่งเกิด อกุศลจิตตาย กุศลจิต ก็เจริญขึ้น นักวิทยาศาสตร์ เขาเถียงกันว่า แสงเป็น ควันตัม กับ แสงเป็นโฟตอน ซึ่งทั้งไม่ขาด และไม่เป็นก้อน แต่ต่อเนื่องกันไป นิพพัตติ คือการเกิดในจิต ที่เรียกว่า “โอปปาติกโยนิ”
5. อภินิพพัตติ ท่านแปลว่า เกิดจำเพาะ แต่พ่อครูแปลว่า “เกิดสูงสุด” คือมันเกิด อย่างแข็งแรง ถาวร อภิคืออย่างยิ่ง อย่างยอดเยี่ยม เราจะเห็นอาการ เหล่านี้เกิด ถ้ารู้สภาวะ ก็จะอ่านรู้ได้

        สัตว์โลกทุกตัว ก็มีการเกิด ตามสัญชาติญาณ แต่เราจะทำอย่าง โอกกันติ ทำที่ไม่ให้ มันเกิดสำเร็จได้ เราเกิด เราทำอกุศลจิตตายได้ เราก็เกิดเป็นเทวดา เป็นอุบัติเทพ เป็นวิญญาณ ที่ถูกสำรอกกิเลสออก มีการเกิดการตาย อย่างมีปัญญา เรียก โอกกันติ จนเป็น นิพพัตติ สุดท้าย หมดเกลี้ยงเป็น อภินิพพัตติ

        concept คือตีกรอบ เท่าที่เราจะรับรู้ได้ทั้งหมด เป็นองค์รวม ซึ่งในนั้นมี content and context
        เรามาตัดกรอบ เอาเป็นปริเฉท อย่างหยาบ คือเราเอาตั้งแต่ประเทศ การเกิดอย่างแรก คือ การเกิดของประเทศ
        ๑.ประเทศประกอบด้วยอะไร ประกอบด้วยแผ่นดิน ขอบเขตของแผ่นดิน มีมนุษย์ เป็นเจ้าของประเทศ อยู่กันอย่าง มีหลักเกณฑ์พฤติกรรม วัฒนธรรมในประเทศ
        ๒.การเกิดของคนสัตว์พืช รวมถึงมหาภูตรูป ทุกอย่าง รวมทั้งการเคลื่อนไหว คือ พลังงาน ดินน้ำลมไฟ ทำงานประชุมรวมกัน เรียกว่า “สังขาร” มีทั้งรูปธรรม และ นามธรรม ซึ่งคำว่ารูปนี้ ขาดดินน้ำไฟลม ที่สัมพันธ์กันไม่ได้ ต้องรับผิดชอบร่วมกัน เป็นสิ่งแวดล้อมครบ คุณจะไม่ดูดี ดินน้ำไฟลมเน่า ทะเลเน่า ข้าวเน่า คนตีกันตายก็เน่า เราจะไม่รับรู้เอาภาระเลยไม่ได้ ต้องเกี่ยวข้องด้วย มากหรือน้อยก็แล้วแต่
        ในรูปกายของประเทศ มีดินน้ำไฟลม มีชีวิตินทรีย์ ซึ่งยุคนี้ สัตว์โลก ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ไม่ใช่ไดโนเสาร์ ที่เอาแต่กินๆๆๆ กินพืช กินสัตว์ด้วยกันเอง หนักเข้า สัตว์กินสัตว์ จนหมด เหลือไดโนเสาร์ตัวสุดท้าย แล้วก็กินขี้ กินเยี่ยวตนเอง จนกิน แขนขาตนเอง จนกิน หัวใจตนเอง สิ้นเกลี้ยง ในยุคไดโนเสาร์ ยุคจูราสสิค จบไป มายุคนี้ ก็เจริญกว่าเก่า จนกว่าจะจบ พูดแค่บริบท โลกใบนี้นะ ไม่เอาโลกอื่นๆอีก
        ถึงยุคนี้ มนุษย์ฉลาดกว่าไดโนเสาร์ ร้ายกาจกว่ามาก และก็ดีกว่ามากด้วย ดังนั้น คนดี ก็มาทำสิ่งดีมาก ยุคนี้คนเลวจะมาก เหมือนอย่างกวี ที่ว่าไว้ พ่อครู ไม่ประหลาดใจว่า อโศกมีน้อย ถูกแล้ว ในยุคพระพุทธเจ้า คนดีก็น้อยแล้ว มายุคนี้ ยิ่งน้อยกว่าอีก
        คนน้อย แต่เกื้อกูลคน นี่สิประเสริฐ แต่คนใหญ่ แล้วทำร้ายคน นี่ทั้งโง่และเลวอีก เราน้อยแต่เราทำ เท่าที่เราทำได้ ขอให้ชัดว่า ดีหรือกุศล คืออะไร เราก็ยังกุศล ให้ถึงพร้อม เท่านั้น จะตายอีกกี่ชาติ ก็ทำเช่นนี้

        มาสู่การเกิดการตายขอ งรูปกับนาม ซึ่งตัวจบจริงๆ ของรูปและนาม นั้นตัวจบจริงๆ คือ นามธรรม แต่เราไม่ทิ้งรูป เราเกี่ยวกับรูป ที่อยู่เกี่ยวเนื่องกับเรา ไม่ต้องไปเกี่ยวกับ สิ่งไกลมาก เช่นอวกาศ เอาแค่ตัวเล่น ที่มีอยู่ในนี้ ก็พอแล้ว เอา content เท่านี้ หรือ สารบัญแค่นี้ เอาแค่ในกระดานนี้ ก็เล่นให้ดี แค่นี้ เขาเรียกว่า สารบัญ คือรวบรวม หมวดหมู่ เอาไว้ ในตัวเล่น มีตั้งแต่หยาบ ไปจนถึงนิพพาน แต่ละบทนี่เรียกว่า รวมไปหมดเลย คือ context หรือบริบท และในบริบท ก็มีแยกเป็น ปริเฉท มีหลาย ปริเฉท จากหยาบไปจน ปริเฉทของความว่าง ความหมด เราต้องทำ อย่างรู้แจ้งชัด เป็นวิทยาศาตร์
        เริ่มต้นตามรูป คือสิ่งที่ถูกรู้ พระพุทธเจ้าสอนให้รู้  รูป ๒๘ ซึ่งก่อนจะพูดถึงรูป ก็พูดถึงชาติ ว่ามี ๕ แบบ ชาติคือประเทศ มีองค์รวมของ รูปและนาม เป็นตัวถูกรู้ ทั้งหมด ประเทศเอง ไม่รู้ตัวเอง แต่ในประเทศ คือคนต้องรู้จักประเทศ รู้แต่ละหน่วย บริบทในนั้น ในประเทศนั้น แล้วมาศึกษา แต่ละหน่วย คือปริเฉท ให้ครบบริบท context
        รูป ๒๘ นี่แบ่งเป็น มหาภูตรูป ๔ คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม ซึ่งต่อเนื่อง มีความสัมพันธ์ และ มีสันตติ มีอายตนะ ต่อเนื่องทั้งรูปและนาม ไม่ขาดกัน เกี่ยวเนื่องกันหมด และ ต่อไปยัง อุปาทายรูป ๒๔ (คืออะไรที่ทวาร ๕ สัมผัสแล้ว ก็ต่อเนื่องมาเป็น วิญญาณเกิด นี่แหละคือ สิ่งที่เราจะมา จัดการเรียนรู้ได้)
[40] อุปาทารูป หรือ อุปาทายรูป 24 (derivative materiality)
ก. ปสาทรูป 5 (รูปที่เป็นประสาท สำหรับรับอารมณ์: sensitive material qualities)
1. จักขุ (ตา - the eye)
2. โสต (หู - the ear)
3. ฆาน (จมูก - the nose)
4. ชิวหา (ลิ้น - the tongue)
5. กาย (กาย - the body)

ข. โคจรรูป หรือ วิสัยรูป 5 (รูปที่เป็นอารมณ์ หรือแดนรับรู้ ของอินทรีย์ : material qualities of sense-fields)
6. รูปะ (รูป - form)
7. สัททะ (เสียง - sound)
8. คันธะ (กลิ่น - smell)
9. รสะ (รส - taste)
0. โผฏฐัพพะ (สัมผัสทางกาย - tangible objects) ข้อนี้ไม่นับ เพราะเป็นอันเดียวกับ มหาภูต 3 คือ ปฐวี เตโช และ วาโย ที่กล่าวแล้วในมหาภูต

ค. ภาวรูป 2 (รูปที่เป็นภาวะแห่งเพศ - material qualities of sex)
10. อิตถัตตะ, อิตถินทรีย์ (ความเป็นหญิง – femininity) คือยังไม่หยุดไม่จบ ไม่รู้แล้ว ยังไม่เป็นหนึ่ง  ยังมี โศก ปริเทว ทกข โทมนัส อุปายาสะ ซึ่ง ตัดเขตกลางที่ ทุกข์  แต่ตัวหยาบ คือ โศกปริเทว ในศานาพุทธ อย่ามาหา ความเท่าเทียมกัน กระดูกของ เพศหญิง จะเล็กกว่าผู้ชาย ทุกชิ้น ยกเว้นชิ้นเดียว ที่ใหญ่กว่าผู้ชาย คือ กระดูก Pelvis ในศาสนาคริสต์ กระดูกของอีฟ ก็เอามาจากซี่โครงของ อดัม 
11. ปุริสัตตะ, ปุริสินทรีย์ (ความเป็นชาย – masculinity) ความจบสมบูรณ์ เป็นหนึ่งเดียว

ง. หทยรูป 1 (รูปคือหทัย - physical basis of mind) (แปลตามทั่วไป ตามพจนานุกรม ประมวลศัพท์ฯ)
12. หทัยวัตถุ* (ทั่วไปเขาแปลว่า ที่ตั้งแห่งใจ, หัวใจ – heart-base คำแปลนี้ ไม่ถูกต้อง ถ้าจะว่าที่หัวใจแล้ว ที่สมองยังใช้งานมากว่าอีก) ไม่ใช่อยู่ที่วัตถุ แต่อยู่ที่สัญญา สัญญาย นิจจานิ ตรงนั้นแหละ คือ หทยรูป ไม่มีแดนเกิด ไม่มีถิ่นที่เกิด มีแต่นามธรรม เกิดแล้ว หายวับ อาศัยใช้งาน เท่านั้น

จ. ชีวิตรูป 1 (รูปที่เป็นชีวิต - material qualities of life)
13. ชีวิตินทรีย์ (อินทรีย์คือชีวิต การอ่านว่า กิเลสมันยังมีชีวิต อยู่หรือไม่?) คุณมีชีวะ ของคน ให้ดำเนินไปได้ สิ่งสำคัญคือ “อาหาร” คนไม่ได้อาศัยเฉพาะอาหาร ที่ไปเลี้ยงร่าง แต่ว่ามีทั้ง ผัสสาหาร มโนสัญเจตนาหาร และวิญญาณาหาร สรุป ชีวิตคือ สิ่งที่ยังดำเนินไป มีสังขารอยู่ ชีวะคือชีวิต ก็คือชาติ เมื่อดับชีวะ ก็หมดชาติ

ฉ. อาหารรูป 1 (รูปคืออาหาร - material quality of nutrition)
14. กวฬิงการาหาร (อาหารคือคำข้าว, อาหารที่กิน : edible food; nutriment) ขยายไปถึง อาหาร ๔ (กวฬิงการาหาร ผัสสาหาร มโนสัญเจตนาหาร และวิญญาณาหาร)

ช. ปริจเฉทรูป 1 (รูปที่กำหนดเทศะ : material quality of delimitation) คือ context คือ สารบัญ ปริเฉท คืออย่าละโมบโลภมาก เอาทั้งหมด ต้องเอาทีละ ปรเฉท เช่น เรียนศีล ๕ ก่อน ค่อยศีล ๘ ค่อยไป ศีล ๑๐ ต่อไป ตัดรอบไปจนละเอียดถึง อากาศธาตุ 
        ปริเฉท คือตัดส่วนให้ละเอียด จบแต่ละรอบ คือให้แต่ละรอบถึง ลหุตา (บางเบา) มุทุตา (เร็วไว อ่อนไว) เป็นกัมมัญญุตา ในแต่ละส่วนๆ
15. อากาสธาตุ (สภาวะคือช่องว่าง : space-element)

ญ. วิญญัติรูป 2 (รูปคือการเคลื่อนไหวให้รู้ความหมาย : material intimation; gesture)
16. กายวิญญัติ (องค์ประกอบของการแสดงออก ที่ครบทั้ง นัจจะ คีตะ วาทิตะ) ที่มาจากมโน เป็นตัวสังขาริกะ เป็นตัวชักนำ ให้เกิดท่าทางภาษา สุ้มเสียง สำเนียง ครบ
17. วจีวิญญัติ (องค์ประกอบของ การแสดงออก ที่ครบทั้ง คีตะ วาทิตะ)

ฏ. วิการรูป 5 (รูปคืออาการที่ดัดแปลง ทำให้แปลก ให้พิเศษได้ : material quality of plasticity or alterability) อาการใดที่ดี เอาไว้ อาการที่ไม่ดี เอาออก คือ “วิ” คือ ทำให้ยิ่ง คือ ได้วิตกวิจาร มาหมดแล้ว เราจะประมาณ ขนาดไหนก็ได้ ดัดได้ ปรับได้
18. ลหุตา (ความบางเบา) แม้เบาแต่แรง อย่างเหมาะสม
19. มุทุตา (อ่อนไหว ยืนหยุ่น elasticity เร็วไว จิตหัวอ่อน ปรับได้ไว ทั้งเจโต และปัญญา) คือ ไม่ติดไม่ยึด เป็นเจโต ที่ปรับได้ง่าย และมีปัญญา ที่รู้ได้เร็วไว
20. กัมมัญญตา (การกระทำที่กำกับด้วยปัญญา อันประเสริฐยิ่ง)

ฏ. ลักขณรูป 4 (รูปคือลักษณะ หรืออาการ เป็นเครื่องกำหนด)
21. อุปจย (ความเคลื่อน เจริญขึ้น) อุปจยะคือการเกิด แต่เกิด คือไม่สะสม คือ เกิดอย่างเจริญ คือการตาย เป็นอปจยะ คุณมีองค์ประชุมใหญ่ได้ เป็นสาธารณโภคี ไม่ได้ยึดว่า เป็นเราเป็นของเรา  ดังนั้น อุปจยะ คือการเกิดของ ความไม่สะสม (อปจยะ) คือ เกิดอย่างไม่ยึด มีอย่างเร็วไว ใช้แล้วจบเลิก เหมือนกับ ที่เราจะไปชุมนุม สวนลุมฯ อาจจะไป ๕๐๐ วันแล้วจบเลิก อาจไม่ถึงก็ได้ เราทำตามเหตุปัจจัย ที่พร้อมที่สุด เป็นอตัมยตา องค์ประชุมทั้งหมด จะมีก็ได้ ไม่มีก็ได้ มีตัวใหญ่เบ้อเริ่ม แต่หายวับ อย่างรวดเร็ว มีพลังด้วย เป็นเทวดา เป็นพรหม สวยงาม ออกมาช่วยโลก เป็นเทพเจ้า
22. สันตติ (ความเชื่อมอยู่)
23. ชรตา (ความพาเคลื่อนไปเสื่อม)
24. อนิจจตา (ความเคลื่อนพาไปเสื่อม หรือเจริญก็ได้)

        เอากวฬิงการาหาร มาอธิบายเหตุปัจจัย ...เมื่อคุณสัมผัสอาหาร ที่คุณติด คุณชอบ พอได้รับ ตามอยาก ได้สัมผัส ได้กิน ก็เกิดรส มันมีสองรสแฮะ คือ
        ๑.รสของจริงตามธรรมชาติ เช่นสัมผัสน้ำตาล มันหวาน เป็นรสจริง
        ๒.รสที่ซ้อนคือ ชอบว่ะ นี่คือรสผี คนที่หลงได้รสผี ชอบใจ มันแปลงเป็น เทวดานามธรรม เป็นอุปปาติกะ เป็นเทวดเก๊ มันจะมีรส เมื่อผัสสะ อย่างหวานมากๆเลย แซบหลาย ชื่นใจ คุณก็มีสวรรค์ลวง เมื่อน้ำตาล มันละลาย หายไปแล้ว คุณเหลือแต่ ความจำ คุณนึกว่า ความจำคือความจริง ความจริงไม่ใช่ความจำ ความจริงคือ น้ำตาล ละลายหายหมดแล้ว แต่คุณก็ไปหลง จำเอาเวทนาไว้  ยึดมั่นเป็นเรา เป็นของเรา จำว่า มันอร่อย มันชื่อนี้ แม้ไม่ได้สัมผัส ก็ยังเอามาเสพ นึกระลึกอีกว่า ชื่นใจ เสียเวลาแรงงาน สมอง ความจริง มันอยู่ที่ตรงผัสสะ เล็กกว่าปลายเข็ม หมดตรงปลายเข็ม แล้วก็ไม่มีผัสสะ หรือผัสสะดับ ไม่ก็ไม่มีความจริงแล้ว แล้วผัสสะ มันมีสองอย่าง คือสุขกับทุกข์ แต่ถ้าคุณ ผัสสะแล้วคุณเฉยๆ กลางๆ ว่างๆ อุเบกขา คุณเห็นความดับ ในขณะคุณเป็นๆ คุณมีหรือไม่มี คุณเห็นความมี หรือไม่มีอยู่ไหม

        ถ้านิโรธฤาษี ดับอย่างไม่รู้ผัสสะ คุณดับทวารแล้ว อ่านไม่รู้ว่า รสหวาน รสชอบชื่น อยู่ตรงไหน คุณปฏิบัติ ก็ฝันเพ้อเอาเท่านั้น ไม่จริง นิโรธหลับตา ดับผัสสะ จึงไม่มีความจริง

        สันตติต้องรู้จัก ความตายความเกิด เมื่อคุณยังมีอิตถีภาวะอยู่ ยังไม่นิ่ง ไม่กลาง ไม่เฉยแน่ คุณดับสุดจบเลย สะอาดสนิท นี่คือปุริสสภาวะ นี่คือ คุณเห็นความดับ ความจบ ความไม่มี แล้วคุณเห็นเทวดา พระพรหมเกิด คุณก็ยังมีอยู่ ความไม่มีก็ไม่มี แต่ความมีนั้น ไม่มีความมี

        รสน้ำตาล คือความจริงตามธรรมชาติ คุณต้องสัมผัส เอามาแตะลิ้น จึงเกิดรู้รสได้ มันหวาน ก็เรียกตามภาษา ของตนเอง พยัญชนะสื่อสภาวะนั้นๆ นี่คือหนึ่งเดียวกัน ตรงกันหมดทั้งโลก ส่วนสภาวะที่สองนั้น กิเลสใครกิเลสมัน ถ้าคุณจบ ไม่มีกิเลส กลางเลยก็คือ ปุริสภาวะ ถ้ายังไม่กลาง ก็มีอิตถีภาวะ คุณจะรู้ ชีวิตรูปยังมีอยู่ แต่ถ้าหมดกลางแล้ว ก็ไม่มีชีวิตของกิเลสแล้ว

        นี่คือ สันตติของ ความเกิดและความตาย ของที่เรามีตัวตน รูปร่าง แล้วสัมผัส แล้วจิตเรา ไม่มีกระดิกเลย นั่นแหละปุริสภาวะ เรียนได้ทั้ง คนผู้ชายและผู้หญิง แม้สัมผัสอยู่ อย่างทนโท่ จิตเราก็ไม่กระดิก ทำได้ถาวรด้วย นี่คือสันตติ ต่อเนื่อง ระหว่าง การเกิดและตาย เราตายอันไหน และเกิดอันไหน ไม่มีรสดูดผลัก ไม่มีทั้งอิฏฐารมณ์ และ อนิฏฐารมณ์ แต่เรายังไม่ตาย ก็ยังมีผัสสะอยู่ แม้จะแรงแค่ไหนเราก็ ๐ ได้ คุณมีโลกุตรจิต แน่นอน

        เมื่อคุณสามารถ รู้จักอุปจยะ และรู้สันตติ คุณก็อยู่กับมันที่มี ชรตา คือเสื่อมไป ถ้าคุณ ยังเกิดต่อเนื่อง ใช้มันอยู่ คุณก็อุบัติอยู่ แต่ถ้าคุณไม่ใช้ มันก็เสื่อม หรือคุณจะจำไว้ เพื่อใช้งาน แต่อย่าแอบเสพนะ เหมือนหมัดพวกเล็น แทรกไปหร็อยเสพ เมียท้าวพรหมฑัต แอบเสพทีเผลอ ลักลอบ ระวังเถอะ พวกคนธรรพ์ เราต้องหมด ดับแม้แต่ เป็นคนธรรพ์

        ตอนนี้ มีพวกที่โง่ เสพอยู่กับพรหมฑัตอยู่ แม้พรหมฑัต ตอนนี้ยังไม่ตาย แต่นึกว่า พรหมฑัต จะอยู่ไปล้านปี หมัดนึกว่า พรหมฑัตจะตายทีหลัง แต่เราเห็นว่า พรหมฑัต กำลังจะตาย แล้วหมัด มันจะกระโดดออก หรือไม่นะ?

        ทุกอย่างไม่เที่ยง อนิจจตา อะไรเราพออาศัยได้ ก็เอา แต่อย่าไปยึดเป็นเรา เป็นของเรา อันไหนเป็นพิษก็เลิก ทุกอย่างไม่เที่ยง เผลอก็กินตัวเลย ตัวที่มาแทรก มาทำร้าย เร็วไวมาก ขนาดพ่อครู ทุกวันนี้ไปไหน ตำรวจก็ตามตัว เขาไม่ไว้ใจ แต่ที่จริง พ่อครู ไม่ไปทำร้ายใครหรอก แต่เขาก็ทำตาม นายสั่ง เขาจะเห็นเองว่า เราไม่ทำร้ายใคร เราเผยแพร่สิ่งที่ดี

        แม้แต่ลักขณะ รูป ๔ ที่เป็นอุปจยะ คือสิ่งที่เรา ใช้อาศัยเกิด แต่ไม่สะสม รู้ว่าเจริญ คืออย่างไร แล้วไม่ยึดมั่นถือมั่น ใช้แล้วจบ ไม่ปริเทวนาการ ไม่เหลือเสพอะไรอีก อะไรที่หมดขีด ที่เจริญแล้ว ก็เสื่อมลงไป เป็นธรรมดา

        การเกิดพร้อมมีปัญญา จะทำเกิดไม่เกิน จะทำพอดีสมดุล นี่คือความจบ ถ้าสิ่งใด มีอยู่ ก็อยู่กับสมดุล ถ้าเกินต้องรู้ overload หรือ overlap ไม่เอาอย่าง overload แต่ถ้ามี overlap อยู่ก็ต้องรู้ นิดหน่อยอย่างไร หรือมากอย่างไร ก็คือ อันตา คือปลายข้าง ยังไม่กลาง ถ้าหมดแล้ว ไม่มีอะไรแลบออกไปเลย แม้แต่แสงแวบหนึ่ง ก็ไม่มีแวบ คือ สุดยอดเลย นิ่งสว่าง อยู่ตรงกลาง เป็นพลังนิวเคลียร์ รัศมี กัมมันตภาพรังสีมาก
        สัสตะ คือยึดถืออยู่ตลอดไป ไม่เปลี่ยนแปลงเลย คือคุณสมบัติสุดยอด ตายแล้ว ตายเลย คุณสมบัติ นี้แหละที่ นัตถิ อุปมา ไม่มีอะไรเปรียบ เป็นภาวะที่เป็น ๐ ถ้ามีอะไร มาเทียบ ก็ไม่ ๐ แล้ว คือเริ่มมี .๐๐๐๑ เป็นต้น แล้วก็ดำเนินไปหา ๑๐ แล้วไป ๐ อีก วนเวียน อีก
        ถ้ารู้การเกิด ที่พอเหมาะได้ ใช้งานเสร็จแล้วทิ้งทันที เป็นจิตระดับ มุทุภูตธาตุ เป็น อตมยตา เป็นอมตบุคคล เป็นสุดยอด ปริโยสาน คือปรินิพพาน คือถึงที่สุด แห่งความไม่มีแล้ว ก็จะ “มี” ไม่ได้ ถ้ามีก็ไม่ ๐ แล้ว แต่ในฐานะ ที่คุณยังมีขันธ์ สร้างสรรต่อ ก็ทำไป อย่างพระอวโลกิเตศวร ก็จะอยู่ไป จนมนุษย์คนสุดท้าย ปรินิพพานแล้ว ตนจึงปรินิพพาน ก็คือ ปรินิพพานสุดยอด

        พ่อครูว่า ทำงานกับมนุษย์ มาหลายชาติ ไม่เบื่อก็บุญแล้ว คือคนที่หมดแล้ว ไม่มีอะไรยึดแล้ว จะอยู่ไปทำไม? แต่ว่าพ่อครู กตัญญูต่อศาสนา จึงทำงานต่อไป จนเป็น พระพุทธเจ้า องค์ใดองค์หนึ่งบ้างแล้วก็จบ

        จบที่อนิจจตา มันไม่เที่ยง แต่มันเที่ยงเพราะ คุณกำหนดเอง เป็น สัญญาย นิจจานิ ถ้าคุณ กำหนดให้ไม่มี ก็อนิจจตา กำหนดให้มี ก็นิจตา แต่กำหนด ให้มีอย่างไร มันก็ไม่เที่ยง

        คุณจะทำความมีอย่างไร ไม่มีอย่างไร ทำอกุศลให้หมดไป แต่อันตราย คือลาภ สักการะ และเสียงสรรเสริญ เป็นอันตรายอันแสบเผ็ด แม้พระอรหันต์ และมานะนี่ จะทำให้เกิดอันตราย ในโลกธรรม คือประมาณไม่พอ ก็มีวิบากได้ ความผิดพลาด ของพระอรหันต์นั้น แสบเผ็ดนะ ผิดนิดผิดหน่อย ก็ร้ายแรง ด่างพร้อยไม่ได้นะ แต่พระอรหันต์ ต้องทำงาน ผู้ใดจะไม่ทำงาน ก็ปรินิพพาน ผู้จะทำงานคือผู้จะต้อง มีประโยชน์ต่อโลก ให้มากที่สุด ศึกษาต่อ เป็นความก้าวหน้า เป็นสัมมาสัมโพธิญาณ ไปเรื่อยๆ ไม่ใช่สัมมาสัมโพธิเจโต (คือไม่เกิดแล้ว) เกิดจากความรู้ ความฉลาด ความเข้าใจ เป็นสัตบุรุษ รู้จักจัดสัดส่วน ประมาณ ในทุกกาละเวลา โอกาส ตามมหาปเทส ไม่แน่นอน ตามเหตุปัจจัย เช่นพ่อครู สร้างสาธารณโภคี ในระดับนี้ แต่สมัยพระพุทธเจ้า สร้างได้ ในระดับหนึ่ง แต่ท่านมีรัฐอิสระ ของพ่อครู ไม่อิสระ เท่าไหร่ เพราะเขาไม่รู้ เราจะไปโกรธเสือหรือหมา ที่มากัด ก็ไม่ใช่ เราก็หลบเลี่ยงเอา ไม่ต้องไปทำร้ายมัน หมาดีไม่กัดหรอก หมาดีมาช่วยเราด้วยซ้ำ เสือก็ช่วยได้แต่ยาก ช้างก็ช่วยได้มาก สัตว์ที่พระโพธิสัตว์ จะไปเกิดก็มีหลายอย่าง แต่จะไม่เกิดเป็นเสือ เป็นต้น

        สรุป...รูปทั้ง ๒๘ ต้องมีภาวะจริง สัมผัสได้ และจัดสรรให้ดี ไม่ว่าจะมีทวาร ๕ ไปกระทบสัมผัส แล้วเกิด อุปาทายรูป ตามปสาทรูป แล้วรูปใด เป็นอิตถินทรีย์ ก็ต้องรู้ แล้วคุณก็ทำให้เป็น ปุริสสินทรีย์ได้ ไม่เกี่ยงว่า หญิงหรือชาย คุณไปทำร่างกาย ให้เท่ากับชาย ไม่ได้หรอก ผู้ชายถูกสร้างมา สมบูรณ์กว่าหญิง เช่น ผมผู้ชาย มีน้ำเลี้ยง มากว่า ไม่ต้องไปไว้ผม แข่งกับผู้หญิงหรอก

        ในรูป ๒๘ นี้เอามาใช้ได้ ให้รู้ถึงนามธรรม ให้ปรับมโน ให้เป็นลหุตา มุทุตา ให้เป็นกัมมัญญตา เราก็อยู่กับ ชรตา คือ สันตติ (ความเชื่อมอยู่) ชรตา (ความพาเคลื่อนไปเสื่อม) อนิจจตา (ความเคลื่อนพาไปเสื่อม หรือเจริญก็ได้) คือ ทุกข์เท่านั้น ที่เกิดขึ้น - ทุกข์เท่านั้นที่ตั้งอยู่ - ทุกข์เท่านั้นที่ดับไป...

จบ

 
อาทิตย์ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๕๖ ที่ ศีรษะอโศก