560816_รายการเรียนอิสระ(ตามสำนึก) โดยพ่อครู และอ.กฤษฎา
เรื่อง เก็บอัตตาใส่เซฟก่อนได้ไหมประเทศไทยทุกข์แย่แล้ว

        อ.กฤษฎาเริ่มรายการที่สวนลุมฯ ...
วันนี้เป็นรายการพิเศษ เป็นครั้งแรก ที่มาจัดนอกสถานที่ มาจัดที่สวนลุมพินี

          วันนี้อ.กฤษฎาให้ประเด็นว่า ถอดรหัสธรรม อ.กฤษฎาว่า เมื่อกองทัพธรรม มาอยู่นั้น ก็มีวิถีชีวิต ที่แปลกแต่ดี ซึ่งก็เกิดจากการปฏิบัติธรรมนั่นเอง ต้องกราบนิมนต์ พ่อครู ถอดรหัสธรรมว่า อยู่อย่างไร

          พ่อครูว่า...ที่ถามนี้ เน้นไปทางธรรมะ พระพุทธเจ้า ท่านชัดเจนที่สุดเลย ในสุริยเปยยาลสูตร มีว่าไว้ถึงแสงอรุณ ที่จะมาก่อนพระอาทิตย์ ฉันใด ธรรมะ ๗ อย่าง ของพระพุทธเจ้า จะต้องเข้าใจก่อน และเป็นได้ก่อน เข้าถึงก่อน คือสัมปทา (การเข้าถึง การบรรลุ) พระอาทิตย์คือ มรรคองค์ ๘ คือจะต้องมี แสงอรุณ ก่อนที่จะเจอพระอาทิตย์ ซึ่ง แสงอรุณมี ๗ อย่างคือ

[๑๒๙] มิตรดี เป็นนิมิตแห่งอริยมรรค มิตรคือผู้ที่สนิท กอดคอตายได้ พึ่งเกิดแก่เจ็บตาย ได้เลย สหายคือ ผู้ร่วมประโยชน์ ส่วนกัลยาณสัมปวังโก คือองค์รวม ของทั้งหมด พ่อครู ก็แปลว่า สังคมสิ่งแวดล้อมดี อย่างที่มาชุมนุมนี่ จะเป็นเรื่องที่ มากันเอง เต็มใจมา รวมตัวกัน เป็นกลุ่มหมู่ ตามธรรมะ ที่ได้บำเพ็ญ ปฏิบัติ แล้วเกิดผล จึงเกิดการรวมตัว เป็นมวลหมู่ และมาชุมนุมกัน ประชุมกันอยู่ เมื่อรวมตัว เป็นหมู่กลุ่ม เราจะไป ทำงานอะไร เราก็ทำด้วยกัน จึงเป็นหมู่กลุ่ม ที่มาร่วมกันทำ แล้วเราก็ทำ อย่างมีเป้าหมาย ไม่ได้ทำ อย่างเละเทะ พระพุทธเจ้าไม่ได้สอน ให้เราเป็นผู้ไร้ปัญญา ท่านสอนให้เรา สร้างปัญญา แก่ใจเราจริง มีภูมิปัญญา ที่จะขับเคลื่อนชีวิตเรา เราจึงมีหมู่กลุ่ม ที่เกิดผลผลิต ตามที่ พระพุทธเจ้าพาทำ เมื่อเราทำได้แล้ว แล้วมีเหตุการณ์ของสังคม เราก็มารวมกัน ตามเหตุการณ์

[๑๓๑] สีลสัมปทา เป็นนิมิตแห่งอริยมรรค
[๑๓๒] ฉันทสัมปทา เป็นนิมิตแห่งอริยมรรค
[๑๓๓] อัตตสัมปทา เป็นนิมิตแห่งอริยมรรค
[๑๓๔] ทิฐิสัมปทา เป็นนิมิตแห่งอริยมรรค
[๑๓๕] อัปปมาทสัมปทา เป็นนิมิตแห่งอริยมรรค
[๑๓๖] โยนิโสมนสิการสัมปทา เป็นนิมิตแห่งอริยมรรค

     ทำไมหมู่กลุ่มอโศก เป็นนักธรรมะ ทำไมต้องออกมาชุมนุม พ่อครูก็ตอบว่า ทำเพราะเห็นว่า ควรทำ ทำตามสมควร เห็นควรว่าถูกธรรม ที่เห็นว่าควรทำ เพราะเรา ใช้ปัญญาตัดสิน ทุกคนโง่เท่าที่ ตนเองฉลาด และทุกคนฉลาด เท่าที่ตนเองโง่ เมื่อเราไตร่ตรอง วินิจฉัยว่าควรทำ เราก็ออกมา

     แล้วตัดสินอย่างไร เราก็ใช้หลักมหาปเทส ๔ คือ
๑.สิ่งใดที่เราไม่ได้ห้ามไว้ว่า สิ่งนี้ไม่ควร หากสิ่งนั้น เข้ากับสิ่งที่ไม่ควร ขัดกับสิ่งที่ควร สิ่งนั้น ไม่ควรแก่เธอทั้งหลาย
๒. สิ่งที่เราไม่ได้ห้ามไว้ว่า สิ่งนี้ไม่ควร หากสิ่งนั้นเข้ากับสิ่งที่ควร ขัดกับสิ่งที่ไม่ควร สิ่งนั้น ควรแก่เธอทั้งหลาย
๓. สิ่งใดที่เราไม่ได้อนุญาตไว้ว่า สิ่งนี้ควร หากสิ่งนั้นเข้ากับสิ่งที่ไม่ควร ขัดกับสิ่งที่ควร สิ่งนั้น ไม่ควรแก่เธอทั้งหลาย
๔. สิ่งใดที่เราไม่ได้อนุญาตไว้ว่า สิ่งนี้ควร หากสิ่งนั้นเข้ากับสิ่งที่ควร ขัดกับสิ่งที่ไม่ควร สิ่งนั้น ควรแก่เธอทั้งหลาย. (พระไตรฯ ล.๕ ข.๙๒)

          แล้วการชุมนุมนี้ ควรออกมาร่วมกัน ให้มากไหม? ก็ควรออกมา แล้วกลุ่มที่มา ชุมนุมนี่ ดีไหม เป็นไปเพื่อ มนุษยชาติไหม ก็ใช่นี่ ก็ควรนี่ ดูแล้วก็ไม่ขัด กับสิ่งที่ควร และ ควรกับสิ่งที่ควร เพราะเรา มาทำนี่ ไม่ได้ทำเพื่อ ประโยชน์ส่วนตน เราทำเพื่อ คนส่วนใหญ่ เพื่อปวงประชาชน เห็นว่าสิ่งนี้ ท่านไม่ได้อนุญาต แต่เป็นสิ่งที่ควร เราก็ยกทัพ โยธามา เราออกมาทำ พฤติกรรม ที่เรามี เราเป็นจริงมาทำ สิ่งที่ทำ จึงเป็น เรื่องจริง ของชาวอโศก มีความจริง ด้วยประการฉะนี้ ก็ให้ผู้รู้ มีวิจารณญาณ กันเองว่า เราหวังดี หรือหวังร้าย ต่อสังคม เรามั่นใจว่า ล้านเปอร์เซ็นต์

          อ.กฤษฎาว่า สภาพที่ผมไปเห็น ความเป็นอยู่ของอโศก หลายสถานที่ มีคำพูด ที่อโศก ทำอยู่คือ สาธารณโภคี และที่สวนลุมฯ เป็นที่สาธารณะ อยากให้พ่อครูอธิบาย สาธารณโภคี

          พ่อครูว่า... การชุมนุมนี่ เราอโศกมีการชุมนุม โดยหลักเกณฑ์ ที่เราประกาศ ชัดเลยว่า ของเรา เป็นการชุมนุม ประท้วง Neo protest คือการชุมนุม ประท้วงแนวใหม่ ที่เขาทำ ก็รู้สึกว่า มีสิ่งอิงแอบอยู่ แต่ของเรา ไม่มีสิ่งอิงแอบ ซ่อนแฝงอยู่ เราก็เลยตั้งชื่อ ของเราว่า นีโอโพรเทส Neo protest คือมาจากคำว่า นิว หรือ New คือใหม่ ส่วน Neo เป็นภาษาเก่า แปลว่าใหม่เช่นกัน เราก็ทำแผ่นพับ ออกมาว่า เรามีเป้าหมาย มียุทธวิธี อย่างไร เราก็พากเพียร ทำตามเจตนารมณ์ คำถามว่า เป้าหมายของ การชุมนุม ข้อหนึ่ง คือ เราเอาวิถีชีวิต สาธารณโภคี มาแสดง

     ยุทธวิธีการชุมนุม (Strategies)
    ๑. สุภาพ สงบ และเรียบร้อย
    ๒. ไม่มีความรุนแรง
    ๓. เสนอ ความรู้ และความจริง
    ๔. ไม่หยาบ ไม่ผิด กล่าวคำแรง เสียงดัง เท่าใดก็ได้
    เป้าหมายของการชุมนุม (Goals)
    ๑. ไม่มุ่งหาปริมาณเป็นเอก แต่ มีปริมาณการแสดงออกเป็นประชาธิปไตย
    ๒. แสดงคุณภาพของความเป็น ประชาธิปไตย (จิตที่มีธรรมะ)
    ๓. เพื่อมาแสดงสิทธิ์ร่วมชุมนุม ยืนยันอำนาจอธิปไตยของมวลประชาชน
    ๔. ไม่มุ่งหมายชนะหรือแพ้ ให้ความรู้ความจริงเป็นตัวตัดสิน
    ๕. เอาวิถีชีวิตความเป็นสาธารณโภคีมาแสดง (มีทรัพย์สินเป็นของส่วนกลาง ให้ทุกคน ต่างร่วมกิน ร่วมใช้ได้)

          พระพุทธเจ้าท่านว่า...ภิกษุทั้งหลาย ! พรหมจรรย์เราประพฤติ มิใช่เพื่อ... หลอกลวงคน ให้มาเคารพ นับถือ (น ชนกุหนัตถัง) มิใช่เพื่อเรียกคน มาเป็นบริวาร (น อิติ มัง ชโน) มิใช่เพื่อ อานิสงส์ เป็นลาภสักการะ และเพื่อเสียงสรรเสริญ มิใช่เพื่อ จะได้เป็น เจ้าลัทธิ หรือ ค้านลัทธิอื่นใด ให้ล้มไป มิใช่เพื่อให้มหาชน เข้าใจว่า.. เราได้เป็น ผู้วิเศษอย่างนั้น ก็หามิได้
     ภิกษุทั้งหลาย ! ที่แท้ พรหมจรรย์นี้ เราประพฤติเพื่อสำรวม เพื่อละ, เพื่อคลายกำหนัด, เพื่อดับทุกข์สนิท ฯ (พรหมจริยสูตร พตปฎ.เล่ม ๒๑ ข้อ ๒๕)

         แต่ถ้าคนธรรมดาก็ว่า อยากได้ไหม ถ้าได้คนมาก ก็อยากได้ แต่สำหรับตัวเรา ต้องตั้งใจ ฝึกเลยว่า อย่าอยาก ใครเห็นว่าดีก็มา นับถือได้ เราไม่มีกิเลส ถ้าได้ก็ได้ ไม่ได้ก็ไม่ได้ จบ เราต้องอ่านตัวเองออก

          อ.กฤษฎาว่า คนมาปราศรัย ก็ไม่ใช่เพื่อให้โด่งดัง มีชื่อเสียง มีโลกธรรม

          พ่อครูว่า มีคน sms มาว่าพ่อครู อย่างคุณ ๘๗๐๕ เราก็เอามาพิจารณาว่า มันจริง หรือไม่ เราต้องไม่ลำเอียง ด้วยอคติ ๔ เราตรวจจริง แล้วเราก็ไม่มี อย่างเขาว่า ก็รู้ว่า เขามองไม่ออก เราไม่ถือสาอะไร

          พ่อครูว่าต่อ... เราไม่กระเหี้ยนกระหือรือ ให้คนมา แต่มามากก็ดี มาน้อย ก็ไม่เป็นไร ต้องโทษว่า เราไม่มีความรู้ ความสามารถ หรือเราสื่อสิ่งไม่ดี แต่ถ้ามี การก้าวหน้าอยู่ ก็ทำไป

          เชื่อว่าผู้มาที่นี่ มีปัญญา เราไม่ปะเล้าประโลม เราไม่บังคับ เราไม่ใช่สิ่ง ไม่ซื่อสัตย์ทุจริต เราเจตนาทำตรงๆ ถ้าคนจะมา ก็มาด้วยใจ ด้วยปัญญา คนอยาก สนับสนุน ก็มา ผู้ใดพยายาม พากเพียรมา ก็เป็นเรื่องจริงของเขา คนออกมา นี่คือ ๑ คน ๑ เสียง ในระบอบประชาธิปไตย

        นี่คือการชุมนุมประท้วง รวบรวมบุคคลสดๆ เรามีเวลาถ่ายทอด ตั้งแต่พรุ่งนี้ เป็นต้นไป เราตั้งใจ จะถ่ายทอด ตั้งแต่ ๑๖.๐๐ น.เป็นต้นไป จากเดิม เริ่มตอน ๑๗.๐๐ น. ใครจะมาช่วย ก็มากัน ศิษย์เก่า ก็ควรมากัน

         เรามาทำเพื่อพิสูจน์ว่า คนไทยรู้จักสิทธิหน้าที่ ประชาธิปไตย แล้วออกมาแสดง คะแนนเสียง ออกมาแสดงตัว แสดงอำนาจอธิปไตย ขั้นที่ ๑ ในอธิปไตย ๘ ขั้น ที่พ่อครู คิดขึ้นมา โดยมี อ.ปราโมท นาครทรรพ รับรอง

          เพื่อให้เกิดความจริงด้วยว่า ประชาชนจะปฏิบัติไหม เราไม่รีบร้อน แต่ได้เร็วๆก็ดี มันเป็นโอกาส เวียนมาสนับสนุน ถ้าอัตราการก้าวหน้าดี ก็มองเห็นว่า ไทยเรา จะเป็น ประชาธิปไตย ที่แท้จริง ไม่ใช่ทำแบบ ที่เขามาหามวล เรียกร้องจัดตั้ง ไม่ใช่ประชาธิปไตย มาหามวล มาสร้างอำนาจ ให้แก่ตนเอง เท่านั่น อย่างหลายประเทศ ที่เป็นอยู่ มั่นใจว่า คนไทยเราศึกษาได้ ช้าหน่อยไม่เป็นไร

          นีโอโพรเทส คือประชาธิปไตยแท้ คือออกมาประท้วง มาใช้สิทธิ์ สดๆ ไม่ใช่ของแห้ง เป็นอธิปไตย ลำดับที่ ๑ เลย

          และเราไม่มุ่งหมาย ชนะหรือแพ้ เรามาเอาความจริงมาประกาศ แล้วมัน จะเป็นไปเอง ถ้าคุณจะยอมเรา ก็ไม่ถือว่าคุณแพ้ เพราะคุณรู้ว่า ควรเลิกทำ สิ่งไม่ดี ก็เลิกก็จบ เราไม่ถือว่า เราชนะ ไปหยามหยันเขาอีก อย่างนั้นไม่จบ เป็นเรื่อง ไม่สูงส่ง พ่อครูเป็น ลูกพระพุทธเจ้า จึงมาแนะนำ ให้ทำอย่างนี้

         อ.กฤษฎาว่า ที่พ่อครูพูดนี้ ตรงกันคำว่า “ยาวให้เป็น เย็นเรื่อยๆ ไขความจริง กันออกมา ให้มากๆหมดๆ”

          พ่อครูว่า ใช้สูตรนี้คือ “ดูไป” Go on and See out คือค่อยๆทำไปตามจริง แล้วทำไป ให้ถึงผลสำเร็จ สูงสุดยอดเลย พ่อครูทำงาน ใช้ภาษาที่เรียกว่าชนะ หรือได้ผล เราไม่ใช้ คำว่าชนะ ก็ได้ แต่เราได้ผลรายทาง ซึ่งผลที่ได้ อาจมีไม่ดีก็ได้ ถ้าผลเสียมาก เราก็ไม่ดันทุรัง เลิกดีกว่า

     แล้วเอาวิถีชีวิตสาธารณโภคีมาแสดง
    ซึ่งชาวอโศกเราทำได้ ….
    สาธารณะคือส่วนกลาง ส่วน โภคี คือร่วมกินร่วมใช้อาศัยส่วนกลาง ของกลางนี้ ไม่ใช่ของใคร แต่คือของแต่ละคน คนละนิดละหน่อย เอามาร่วมกัน เราทำได้ เป็นชุมชน ทุกชุมชนอโศก อยู่ในระบบสาธารณโภคี ที่มีอยู่หลายสิบชุมชน แต่ไม่ถึงร้อยชุมชน ทั่วประเทศ กระจายอยู่

          ทุกคนทำงาน แล้วร่วมกิน ร่วมใช้ส่วนกลาง แม้ชาวอโศกข้างนอก มาทำงาน ในอโศก ก็ทำงานฟรี กินใช้ส่วนกลาง พอกลับออกไปก็เลิก แต่คนที่อยู่ประจำเลย นี่เสียภาษี ๑๐๐ % ทำงานฟรี กินใช้สวัสดิการส่วนกลาง เต็มตัวเลย เป็นเรื่องที่ คอมมิวนิสต์ เขาอยากได้ ส่วนทุนนิยม ก็อยู่กัน อย่างไม่ยุติธรรม คนที่ควรเสียสละ กลับไม่ค่อย ได้เสียสละ กลับไปรีดนาทาเร้น คนยากจน

          สมัยพระพุทธเจ้า ท่านทำสาธารณโภคี ในหมู่สงฆ์ได้ มีศีลที่เป็นข้อควรทำ อย่างอิสระ แล้วปฏิบัติศีล เพื่อขัดเกลากิเลสไป แม้จิตคุณไม่บรรลุ คุณมาสมาทานศีล นี้ก็ได้แล้ว ศีลของพระพุทธเจ้าคือ จุลศีล ๒๖ มัชฌิมศีล ๑๐ ข้อ มหาศีลอีก ๗ ข้อ เป็นธรรมนูญ ของพุทธ ท่านไปไหน ก็ประกาศอันนี้ ไม่ว่าไปแคว้นไหนๆ ซึ่งท่านไป ในรัฐไหนๆ คนของรัฐนั้นแคว้นนั้น ก็มาสมัครเข้าในรีตของท่าน เมื่อมาบวชแล้ว พระเจ้าแผ่นดิน ก็ยกคนของท่านให้ แม้เป็นยุคที่ไม่รู้จัก สิทธิมนุษยชน เป็นยุค สมบูรณายาสิทธิราชเต็มๆ ทั่วทั้งหมด แต่พระพุทธเจ้า ท่านก็ทันสมัย ปลดแอก ความเป็นทาส ความเป็นวรรณะ ใครมาอยู่ในลัทธิท่าน ก็เสมอกันหมด หมดความเป็นทาส ความเป็นวรรณะไปเลย แม้เป็นลูกเจ้าลูกนาย มาบวชแล้ว ก็เท่ากับ คนอื่น แม้ลูกชาวนา มาบวชก่อน เจ้าชายมาบวชทีหลัง ก็ต้องกราบภิกษุชาวนา ผู้บวชก่อน พระพุทธเจ้าทำได้ ในสมัยนั้น

     เสร็จแล้ว สงฆ์อโศก ก็เท่ากันหมด คือ ๑.ญาติปริวัฏฏัง ปหายะ ๒.โภคักขันธัง ปหายะ คือทุกคน สลายญาติ ทุกคนมาเป็นญาติกัน ในกลุ่มหมด แม้ญาติข้างนอก เขาปฏิบัติ อย่างเรา ก็บอกว่า เราต้องมาอยู่ ในหมู่กลุ่มนี้ มาเป็นญาติธรรม แต่ถ้าญาติ ทางสายเลือด เขาไม่อนุญาต ก็ทำไม่ได้นะ คำว่า ญาติปริวัฏฏัง จึงลึกซึ้ง คือเป็น ญาติธรรม พึ่งเกิด พึ่งแก่ พึ่งเจ็บ พึ่งตายกันได้ นั่นเอง
    จะพูดให้ชัดคือ ตัดญาติข้างนอก มาเป็นญาติธรรม

          ส่วนโภคทรัพย์ ถ้ามาเป็นญาติธรรมแล้ว โภคทรัพย์ทุกอย่าง เป็นของส่วนกลาง ทุกคน ไม่ยึดถือ เป็นของส่วนตัว กินใช้ร่วมกันหมด ยุคพระพุทธเจ้า ไม่ทำถึงฆราวาส แต่ทำในสงฆ์ ไปที่ไหน ก็สำเร็จหมด พระพุทธเจ้า ไปรัฐไหนๆ ก็สำเร็จหมด ไปแคว้นไหนๆ ทุกแห่ง ยอมหมดเลย แล้วเป็นสาธารณโภคี ไม่มีใครสะสม เป็นส่วนตัว

          อ.กฤษฎาว่า ไปที่โรงบุญ มังสวิรัติ ทุกคนไปทำบุญ คือชำระกิเลส ผู้มากิน ก็ชำระ กิเลสด้วย ไปเห็นวัฒนธรรม การเข้าแถว ญาติธรรมมาเสียสละ มาฝึกปฏิบัติธรรม มาก่อน เลิกทีหลัง ลองสังเกตดู

          พ่อครูว่า ชาวอโศกมาทำงาน เป็นการปฏิบัติธรรม ผู้ปฏิบัติได้ ก็มีกรรม กาย วาจา เสียสละ สร้างสรร ส่วนใจมีกิเลส ก็สอนให้อ่านให้ออก แล้วล้างกิเลสตนเอง ผู้ที่ล้างได้ ก็สบาย แล้วทำงาน เพื่อประโยชน์ประชาชน ผลที่ได้ ก็เป็นพลัง หรือพละอินทรีย์ ในการสร้างสรรจริง บรรลุแล้ว เราจะมีพลัง ๔ คือ
    ๑.ปัญญาพละ
    ๒.วิริยะพละ อย่างไม่ต้องฝืนเป็นปกติ ถ้าบรรลุจริง เมื่อยก็พัก ไม่เมื่อยก็เพียร
    ๓.อนวัชชะ คือการงานอันปราชญ์หรือผู้รู้ ไม่ติเตียนหรอก ถูกตาม มหาปเทศ และ สัปปุริสธรรม ส่วนผู้ไม่รู้จะติเตียน
    ๔.สังคหพละ คือการสงเคราะห์ เกื้อกูลกัน อย่างมี
    สาราณียธรรม ๖ ทำให้เกิดพุทธพจน์ ๗
๑.  สาราณียะ (รู้จักระลึกถึงกัน คำนึงถึงคนที่ควรเอื้อ)
๒.  ปิยกรณะ (รักกันสัมพันธ์ดี-ปรารถนาดีต่อกัน) ไม่ใช่ความรัก อย่างโลกๆโลกีย์
๓.  ครุกรณะ (เคารพกัน รู้จักฐานะ รู้จักคุณวุฒิ)
๔.  สังคหะ (สงเคราะห์เกื้อกูลช่วยเหลือกัน) มีใจเกื้อกูล ช่วยเหลือเฟือฟายกันจริงๆ
๕. อวิวาทะ (ไม่วิวาทแตกแยกกัน) เป็นจิตที่ไม่ก่อวิวาท ไม่สร้างไม่ทำจริงเลย แน่แท้เลย ผู้ใดทำได้ ก็สมบูรณ์ยอดเยี่ยม
๖. สามัคคียะ (พร้อมเพรียงกัน มีพลังรวมยิ่งใหญ่)
๗.  เอกีภาวะ (เป็นปึกแผ่น มีน้ำหนึ่งใจเดียวกัน) เป็นความเป็นเอกภาพ เนียนสนิท ควรแน่นผนึก ทั้งกาย วาจา ใจ เห็นได้ชัด (โกสัมพีสูตร พตปฎ. ล.๒๒ ข.๒๘๒-๒๘๓)

          อ.กฤษฎาว่า จะเห็นได้ชัดว่า กองทัพธรรมไปชุมนุม จะมีระบบระเบียบ เป็นนามธรรม ๗ หลักนี้ เป็นจริงใน พุทธพจน์ ๗ ข้อนี้ แล้วจะเห็นถึง
    สาราณียธรรม ๖ คือ
๑.  เข้าไปตั้งกายกรรมประกอบด้วยเมตตา ทั้งลับ-แจ้ง .
๒.  เข้าไปตั้งวจีกรรมประกอบด้วยเมตตา ทั้งลับ-แจ้ง
๓.  เข้าไปตั้งมโนกรรมประกอบด้วยเมตตา ทั้งลับ-แจ้ง
๔.  แบ่งปันลาภผลให้กับเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย (ลาภธัมมิกา – มีลาภตามธรรม แห่งสาธารณโภคี) เกิดโดยความซื่อสัตย์ สุจริต เป็นของส่วนรวม เป็นของสาธารณโภคี
๕.  มีศีลเสมอสมานกันกับ เพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย (สีลสามัญญตา)
๖.  มีความเห็นเสมอสมานกันกับ เพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย (ทิฏฐิสามัญญตา)
(พตปฎ. เล่ม ๒๒ ข้อ ๒๘๒-๒๘๓)

          อ.กฤษฎาว่า สาธารณโภคีที่ชัดเจน คือ โรงบุญมังสวิรัติ ทุกอย่างเอามารวมกัน จึงเป็นของสาธารณะ แล้วเปิดให้คนภายนอก มาใช้ของกลาง ของอโศกได้

         พ่อครูว่า เรามาชุมนุม จะเอาวิถีชีวิตสาธารณโภคีมาแสดง เราก็ทำไปเรื่อยๆ เราทำมา หลายทีแล้ว เราทำอย่าง Go on and see out 

          หลักเกณฑ์อโศกมี ๓ ข้อ ใครเข้ามาก็จะทำ คือ ๑.ไม่มีอบายมุข ๒.ไม่กินเนื้อสัตว์ ๓.ศีล ๕ เป็นพื้น อบายมุข เช่น สุรา คือขั้นกล้า ส่วน เมรยะ คือ ขั้นกลาง ส่วนมัชฌะ คือขั้นปลาย คุณมาอย่างเอาระดับ สุระหรือสุรา แต่จะมีความเมาระดับ เมรยะหรือมัชฌะ ก็มาลดเลิก ถ้าลดละเลิกได้หมด ก็เป็นอรหันต์ นั่นเอง

          เราเอาของพระพุทธเจ้า มาเปิดเผยว่า อกาลิโก ไม่จำกัดกาล เอหิปัสสิโก คือพิสูจน์ได้ แม้เป็นสิ่งที่ยากก็ตาม เราจะทำในสิ่งที่ ทำได้ยาก เราจะอดทน ในสิ่งที่ อดทนได้ยาก

          อโศกเรามีอุดมการณ์ ถ้าไม่แต่งงานได้มีศีล ๘ ได้ก็ดี พระพุทธเจ้า ท่านสรรเสริญ คนโสด คนโสดท่านว่าเป็นบัณฑิต คนโง่ฝักใฝ่ในเมถุน ย่อมเศร้าหมอง

          อ.กฤษฎาว่า ลองมองดูสายตาญาติธรรม แม้อายุมาก แต่สายตา ไม่เหนื่อยล้าเลย มีพลังทำงานดีตลอด ลองสังเกตดูว่า พ่อครูจะพาทำอย่างไร

          พ่อครูว่า ไม่มุ่งหมายแพ้ชนะ แต่เรามาทำสิ่งดีให้เกิดได้ ถ้าก้าวหน้าได้ ก็ทำต่อ ถ้าไม่ก้าวหน้า ก็เลิก

          อ.กฤษฎาว่า พวกเราไปรับประทานอาหารฟรีกัน แล้วเขาอยู่กันได้อย่างไร ก็ฟังพ่อครู อธิบายได้ ระบบสาธารณโภคี จะอยู่ได้ แล้วเราควรสร้าง กองทัพประชาชน ในรูปแบบ นีโอโพรเทศ แล้วธรรมะย่อมชนะอธรรม

          พ่อครูว่าเป็นสัจจะ แย้งไม่ได้ ธรรมะชนะอธรรม
          พ่อครูว่า..สิ่งที่เราพากันทำ เราเรียกว่าการเมือง หรือธรรมะหรือไม่
          ธรรมะแปลว่า สิ่งที่ทรงไว้ ตั้งแต่ดินน้ำไฟลม ที่เป็นรูปธรรม ที่สามารถเห็นรู้ได้ มันทรงอยู่ อย่างพอดี เหมาะสมไหม ไม่เบียดเบียนตน หรือใครหรือไม่ ?

          ถ้าผู้ใดที่มีธรรมะ คือทรงไว้ซึ่งความอุดมสมบูรณ์ ความมีสิ่งประเสริฐ สิ่งดีงาม เรียกว่า ธรรมะทั้งนั้น จากตนเอง ตั้งแต่ในจิต ในวาจา ในกัมมันตะ คือการกระทำทั้งกาย รวมหมด ออกไปเป็นองค์รวม เรียก กายวิญญัติ เป็นองค์ประชุมของกาย วาจาใจ ใครรู้อันนี้ เห็นอันนี้ เรียกว่ารู้จัก กายวิญญัติ ก็จะรู้ว่า อย่างอโศก และคนที่มา ร่วมกันทำ ก็จะเกิด รูปแบบองค์รวม ผู้มีดวงตาปัญญาจะเห็น แล้วรู้ว่า เป็นสิ่งพาเจริญ ไม่ใช่สิ่ง พาเสื่อมทำลาย แต่เป็นความเจริญ ทั้งรูปธรรม และนามธรรม ผู้มีปัญญาจะเห็นได้ แต่ถ้าในหมู่คนโง่ แยกธรรมะ หรืออธรรมไม่ได้ เขาเห็น ก็ขวางหูขวางตา เขาก็ทำลาย แต่ถ้าในสังคม ที่มีปัญญา จะเห็นว่า สิ่งนี้ไม่น่าทำลาย ไม่น่าต้าน ควรส่งเสริม จะเกิด ตามสัจธรรม เขาจะไม่ต่อต้าน จะรู้ว่า มาทำนี่ เพื่อมนุษยชาติ ทำสิ่งดี เขาจะไม่ต้าน และส่งเสริม

          อ.กฤษฎาว่า เห็นหน้ากากขาวมาด้วย

          พ่อครูว่า การใส่หน้ากากขาว ก็เพื่อให้คนไม่รู้ว่า เรามาทำสิ่งนี้ ส่วนผู้ที่ออกมา แต่ไม่อยาก ให้ใครรู้ ไม่ว่าจะเป็นศัตรูหรือส่วนตัว ไม่อยากเปิดเผย ก็ใช้หน้ากากออกมา ก็เป็นสิ่งที่ ใช้โอกาสออกมา ส่วนผู้ไม่มีสิ่งซับซ้อน ก็เปิดเผยมา เช่นพล.อ.ปรีชา เป็นต้น เราไม่ได้ทำ สิ่งเลวทราม เราจะปิดบังทำไม เราไม่กลัวเสียโลกธรรม เราไม่มีหน้ากาก ก็ได้ แต่เราก็เห็นใจ ข้อจำกัดของคน ที่ต้องใส่หน้ากาก ก็ทำสิ่งดีแล้ว

          อ.กฤษฎาว่า อยากให้การชุมนุมครั้งนี้ เป็นการชุมนุม เพื่อสลายอัตตา

          พ่อครูว่า ...หน้าปกของหนังสือพิมพ์เราคิดอะไร เป็นบทกวีเรื่อง “เห็นแก่ตัวหรือที่แท้เห็นแก่ใคร”
     ซึ่งอัตตาแบ่งเป็นสามอย่าง
๑.โอฬาริกอัตตา คืออัตตาหยาบใหญ่ เช่น ยึดว่านี่คือที่ดิน คือบ้านของกู คือยศตำแหน่ง ของกู เอาไปเบ่งข่มคน นี่คือหยาบๆ ลาภ ยศ สรรเสริญ โลกียสุข จิตเรายังยึดถือ มีเงิน แล้วจ้างคน ไปทำชั่วแทนตน ทั้งที่ตน เป็นต้นตอคิดชั่ว แล้วเอาเงินจ้างเขาทำ มีอำนาจด้วย คนถูกจ้าง ก็เป็นทาสเขา
๒.มโนมยอัตตา คือสำเร็จด้วยจิต คือยึดอยู่ แม้ไม่ยึดข้างนอก ก็ยึดข้างใน เราต้องล้างต่อ จนเหลือน้อยเป็นขั้น
๓.อรูปอัตตา คือขั้นไม่มีรูปแล้ว และถ้าเราหมด ก็หมดอัตตา คือหมดเห็นแก่ตัว ก็เป็นอรหันต์ แต่ต้องทำ ตามลำดับขั้นไป

     “เห็นแก่ตัวหรือที่แท้เห็นแก่ใคร”
                    () "ตัว" ที่เห็นแก่นั้น         คือใด
                    เห็นแก่ "ตัว" คือใคร            ที่แท้
                    เห็น "ตัว" จากใดไฉน         จึ่งประจักษ์ "ตัว" นา
                    คนชั่วแก้ตัวแม้                    ผิดก้อหลอกตน
                    () คือคนที่ไม่รู้                  "อัตตา ๓"
                    ต้องหยั่งรู้ "รูป-นาม"         "อัตตะ" แท้
                    ตัณหาแรกคือกาม                 โอฬาริกะ อัตตาเฮย
                    มโนมยอัตตาแล้                   อรูปด้วย "อัตตา ๓"    
                    () รูปนาม "๓ อัตตะ" นี้     คือ "ตัว- การ" เลย
                    ใครยึดตีนยันหัว                   "อัตตะ" แท้
                    เลวต่ำหยาบบ่กลัว                 นรกสัก กายใด
                    เห็นแก่ "ตัว" นั่นแล้             บ่งชี้ "ตัว" กู    
                    () ไม่ต้องดูอื่นให้                ยาวความ
                 แรกเริ่ม "กู" เกิดกาม               "อัตตะ" ร้าย
                    เห็นทุกขณะตาม                   ทันเกิด เถิดเทอญ
                    "ตัว" สัตว์อุบัติคล้าย           เทพล้วนหลอก "กู"
                    () ไม่รู้ "กู" จึ่งได้              โง่เอง
                    เห็นแก่ "กู" บ่เกรง              หยาบกร้าน
                    พรางซ่อนแอบลวงละเลง    เสียบใส่ กันแล
                    หลอกอยู่นอกแต่บ่ต้าน       หลอกร้าย "ตัว" เป็น   
                    () "เห็นแก่ตัว" นั่นแท้      "กู" เอง    
                    หลงโลกจึงหลงเสง(แข่ง)    ดิ่งสู้
                    โทษใครก็ถูกเผง                 บ่โทษ ตนเลย
                    กิเลสง่ำจนไม่รู้                   มืดด้วยอวิชชา
                    () ฆ่าคนอื่นที่แท้              ฆ่า "ตน"
                    ได้แก่ "ตัว" ใช่คน               อื่นได้
                    ชื่นชอบลาภยศผล              ก็กิเลส อ้วนแฮ
                    แต่ไป่รู้ "ชาติ" ใกล้             เกิดแล้วอัตตา "กู"

                             "สไมย์ จำปาแพง"                
             ๙ ส.ค. ๒๕๕๖
[นัยปก "เราคิดอะไร" ฉบับ ๒๗๘ ประจำเดือน กันยายน ๒๕๕๖]

                                                  
          ก็มีแต่สร้างกิเลสให้แก่ตนเอง โดยไม่รู้ว่า กิเลสนั่นร้าย และขณะนี้ การชุมนุม ในประชาชน คนไทยนั้น มีปัญญารู้ว่า อะไรคืออะไร สิ่งควรขจัดคืออะไร แล้วผู้ที่ มีใจต่อ ประเทศชาติ มีอยู่หลายคน ผู้ที่มีบทบาทสูงต่อสังคม รู้ตรงกันหมดว่า อะไรควรกำจัด แต่มารวมตัวกันไม่ได้ เพราะ “อัตตา” คำเดียว

          ทำอย่างไร จะลดได้ คุณเก่งแล้วก็อย่ายึด ฉันลดตัวไม่ได้ คุณต้องยอมฉัน อะไร ต่างๆ พวกนี้ มันมีอยู่ตลอด รวมกันไม่ได้ ส่วนผู้รวมตัวได้ เพราะอำนาจเงิน อำนาจทุจริต บังคับด้วยยศชั้น ปูนบำเน็จ ใครไม่ทำตามย้าย ปลด เสียโลกธรรม เป็นอำนาจ ให้ตกเป็นทาส น่าสงสาร บางทีก็ไม่น่าสงสาร เพราะมันหลงโลกธรรม มากเกินไป แทนที่จะเห็นแก่ ประเทศชาติ แต่กลับเห็นแก่ ลาภยศสรรเสริญ มากเกินไป สงสาร ที่หลงโลกธรรม แต่ไม่น่าสงสารที่ ทำไมไม่เลิก ถ้าเห็นแก่ประเทศชาติเพิ่มขึ้น สลายอัตตากัน

          เพราะอัตตาตัวนี้แหละ ไปตรวจดูให้ดี เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า พูดไป สองไพเบี้ย นิ่งเสียประเทศไทย ที่นิ่งคือกลัวเสียโลกธรรม ยึดอัตตาตัวตนจัด โดยไม่เห็นแก่ ความเดือดร้อนส่วนรวม พ่อครูว่า ค่าเฉลี่ยความเดือดร้อน มากขนาดนี้ แต่เขาจำนน เขาพูดไป สองไพเบี้ย แต่ถ้านิ่ง เสียประเทศไทยนะ ไม่ใช่เสียตำลึงทอง ก็พูดเถอะ ถ้าพูดไปแต่เสียสองไพเบี้ย แต่นิ่งเสียประเทศไทย ที่ไม่กล้าพูด เพราะกลัวเสีย ลาภ ยศ สรรเสริญ โลกธรรม และอัตตา

          พ่อครูมีคนด่า แต่ว่า ด่าแล้วไม่ถูกพ่อครูเลย เพราะเป็นคนหายตัว - เป็นคนตัวหาย เป็นคนไม่มีอัตตา เป็น invisible man ใครพูดด่ามา ก็เอามาพิจารณา เขาด่าถูก ก็ขอบคุณเขา แต่ถ้าเขาด่าไม่ถูก ตรวจแล้วไม่จริง เราไม่เป็นอย่างนั้น เขาไม่รู้ เขาไม่มี ข้อมูลพอ เขาก็เข้าใจผิด เราตรวจตัวเรา ไม่ใช่เป็นอย่างที่ว่า เช่นยกตัวอย่าง เขาว่าพ่อครู เป็นสัตว์นรก พ่อครูก็ศึกษา สัตว์นรก แม้เทวดา ปลอมเป็นสมมุติเทพ พ่อครูศึกษา แล้วก็ไม่เอา แต่มาเป็น อุบัติเทพดีกว่า แล้วก็มาเป็น คนโลกใหม่ ปโร โลโก แล้วเราก็รู้ว่า อยัง โลโก คือคนโลกเก่า ของเราเป็นอย่างไร แล้วเราล้างอัตตา ตัวตนได้ ล้างหมด ก็เป็นอรหันต์ เราก็ไม่มีตัวตน เราก็รู้จริงว่า เราไม่มีตัวตน เราไม่ได้ไปปดคนอื่น เราพิสูจน์ ด้วยตัวเอง เอาตัวมาพิสูจน์ได้ แม้ในกาลนี้ มาพิสูจน์ตน ตราบในโลก มีผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ตราบนั้น โลกไม่ว่างจากอรหันต์       

          พ่อครูไม่มีตัวตน แต่มีปัญญา ใช้ปัญญาทำงาน ตลอดเวลา สรุปว่า... เรื่องของคน ที่ยึดอัตตา แล้วไม่ล้างอัตตา นี่แหละสำคัญ แน่นอนว่า ล้างไม่ได้ง่ายๆหรอก แต่กาละนี้ เก็บอัตตาไว้ก่อน ได้ไหม เข้ามาร่วมทำงานกันก่อน ทำตามเป้าหมาย เรามีเป้าหมาย ร่วมกัน รู้กันว่า เจตนาจะขจัดอะไร มี interest point ชัดแล้ว เป้าสำคัญนั้น ชัดแล้ว มาร่วมมือกันก่อน อัตตาตนเอง ใครจะบอกว่า สำคัญไม่สำคัญ อย่างไรก็มา ไม่สำคัญก็มา ถ้าสำคัญยิ่งใหญ่ยิ่งดี มาร่วมกัน ทำเป้าหมาย ให้สำเร็จ ลุล่วงก่อนได้ไหม

          ใครฟังแล้ว ก็เอาไปไตร่ตรองกัน เราจะมารวมตัวกัน ทำงานใหญ่ เพราะสังคม ไทยเรา ทุกข์หนักมากแล้ว ถ้าพ่อครู ไม่มีจิตเห็นทุกข์ใหญ่ ของประชาชนแล้ว พ่อครู จะไปนั่ง ปักกลดที่ไหน ก็ได้แล้ว ใช่ไหม พ่อครูไม่เดือดร้อน เพราะ ๑.ไม่เป็นหนี้ ๒.พึ่งตนรอด ๓.ทำกินใช้เหลือเฟือ มีสิ่งเหลือ ๔.มีเหลือ ก็เอามาบรรเทา ทุกข์ประเทศ ใครไม่เห็นว่า สังคม ประเทศชาติไม่ทุกข์ ก็แล้วแต่ แต่พ่อครูว่า พ่อครูไม่ทุกข์นะ เชื่อไหม? ไม่เดือดร้อนจริงๆ แต่มาทำ เพราะเห็นทุกข์ ของสังคม เห็นทุกข์ของคนไทย พ่อครูผิดหรือ ใครจะด่าว่า ย่ำยีก็ตาม ว่าไม่สงบ เป็นพระไม่สำรวมอยู่กับที่ พ่อครูก็ว่า ทำอย่าง สมควรแล้ว ยิ่งมีคนไม่เข้าใจ ยิ่งต้องออกมาทำ ทำไมต้องเป็นเรา ทำไมวะ จะต้องเป็นกูวะ

          พ่อครูออกมาทำ ด้วยความมั่นใจ ไม่มีอะไรซับซ้อน สังคมไทยเดือดร้อน เขาเดินหน้า ปู้ยี้ปู้ยำประเทศ ไม่หยุดเลย ทำอย่างหน้าด้าน หน้าทนเลย พ่อครูถึงบอกว่า ออกมา ร่วมมือกันเถอะ เก็บอัตตาใส่เซพ ราคาแพงไปเถอะ แล้วออกมาทำงาน เพื่อช่วยเหลือ ประเทศชาติ

          อ.กฤษฎาสรุป... วันนี้คงเข้าใจ ในประเด็น ที่ชัดเจนแล้วว่า ถอดรหัสธรรม การชุมนุม เพื่อการปฏิบัติธรรม คำตอบที่ชัดแจ้งที่สุด คงได้รับฟังจาก พ่อครูแล้ว สิ่งสำคัญคือ การออกมา ของอโศก ไม่ได้ทำเพื่อ ลาภยศสรรเสริญ โดยทำตาม มหาปเทส แล้วทำ สิ่งควรทำ เพราะทุกข์ของ สังคมประเทศนั้น มากพอแล้ว พ่อครูและ กองทัพธรรม อยู่ได้รอดแล้ว เป็นคนจน ที่รวยที่สุด ... พี่น้องมาช่วยกัน ถ้าพูดไป สองไปเบี้ย นิ่งเสียประเทศไทย...

จบ

 
๑๖ สิงหาคม ๒๕๕๖ ที่สวนลุมพินี กทม.