561229_พ่อครูสมณะโพธิรักษ์ ที่มัฆวานฯ
เรื่อง แก่นแท้ของพุทธศาสนา


        ช่วงนี้ก็อะไรก็คงไม่ดีไปกว่า การได้ฟังธรรมะ สำหรับการเมือง เป็นโครงสร้างใหญ่ ของประเทศ มีองค์ประกอบซับซ้อน หยาบภายนอก แต่ธรรมะ เป็นคุณธรรมภายใน เป็นตัวประธาน คือจิตวิญญาณ ​เมื่อจิตวิญญาณ หรือตัวประธานของชีวิต พระพุทธเจ้า ตรัสว่า มโนบุพพังคมา ธัมมา จิตวิญญาณ เป็นประธานของสิ่งทั้งปวง

        ธรรมะแปลว่า ทรงไว้ สิ่งทรงไว้คือคุณธรรม ที่จิตวิญญาณ ถ้าไม่ใช่ธรรมะ ก็มีอธรรม ในจิตวิญญาณ ​เพราะฉะนั้น ในจิตวิญญาณ ควรจะมี สิ่งประเสริฐ คือธรรมะ ถ้าเป็นธรรมะที่แท้ ที่ประเสริฐ บริบูรณ์เท่าใด ในแก่นแกนของจิต ก็เป็นสิ่งยอดสุด ในการเกิดมาเป็น มนุษยชาติ พระพุทธเจ้าค้นพบ แก่นแกนนี้ แล้วท่านก็มีสูตรสำเร็จ ที่สามารถ เข้าถึงธรรมะได้

        สูตรสำเร็จนั้น อธิบายง่ายๆ เหมือนต้นไม้ที่มีใบ มีดอก มีผล คนจะเห็นใบ เห็นดอก เห็นผล เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งนอกจากนั้น ก็จะมีต้น และนอกต้นก็จะมี สะเก็ดไม้ ซึ่งรวมภายนอก ที่เห็นเป็น ใบดอกผล เรียกว่า โลกธรรม ส่วนสะเก็ด ที่ออกมาแล้ว ร่วงหายไป เป็นของขจัดทิ้ง จากต้นไป แล้วก็จะเข้าไปถึง เปลือกหุ้ม จากเปลือก ก็เป็นกระพี้ อยู่ข้างในอีก และที่อยู่ในสุด ก็คือแก่น

        คนจะเห็นภายนอกได้ง่าย คือ ดอก ผล ใบ เป็นโลกธรรม ที่คนจะไปหลง ตรงนั้น ไม่เข้าใจแก่น เห็นแต่เปลือก หลงติดอยู่กับ สิ่งภายนอก

        พระพุทธเจ้า เทียบสูตรสำเร็จของท่านว่า ตัวใบ ดอกผล กิ่งก้านสาขา ที่งอกงาม คือโลกธรรม คนเกิดมา ก็แย่งสิ่งเหล่านี้  แต่พระพุทธเจ้าว่า คนเรานั้น อยู่กับทุกข์ทรมาน วนเวียน ทุกข์สุขกันไป พระพุทธเจ้า ระบุไว้ว่า สุขเป็นของเท็จ อัลลิกะ แล้วคนก็ หลงติดสุข แต่เพราะคน หลงติดสุขนี่แหละ จึงเป็นทุกข์ และคนเรา วนเวียน ในวัฏฏะ เพราะติดยึด ในของหลอก

        ท่านก็รู้สูตร ให้หมดความติดยึด ในของหลอกได้ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา แล้วท่าน ก็เทียบว่า
จูฬสาโรปมสูตร ๑๒/๓๗๔
              ๑. ลาภสักการะชื่อเสียง เปรียบเหมือนกิ่งไม้ใบไม้
              ๒. เปรียบเหมือนสะเก็ดไม้
              ๓. สมาธิ เปรียบเหมือนเปลือกไม้
              ๔. ญาณทัสสนะ หรือปัญญา เปรียบเหมือนกะพี้ไม้
              ๕. ความหลุดพ้นแห่งใจ อันไม่กลับกำเริบ ซึ่งใช้คำภาษาบาลี "อกุปฺปา เจโตวิมุตฺติ" เปรียบเหมือนแก่นไม้

        พระพุทธเจ้าท่านก็อยู่ในโลก ท่านก็ได้รับการยกย่อง สรรเสริญ แต่ท่าน ไม่ได้ติดยึด อยู่อย่าง เหนือโลกธรรม

        แต่โลกนี้ เขาหลงใหลติดยึด ไปกับโลกธรรม ลาภ สักการะ ชื่อเสียง ขึ้นสวรรค์ ลงนรก อยู่อย่างนั้น ไม่หลุดพ้นได้ หรือบางคน ก็ไปแสวงหา ความสงบ แบบที่ ไปนั่งหลับตา สะกดจิต หนีผัสสะ หรือไปอยู่ในภวังค์ ซึ่งต่างจากพุทธ ที่สอน ให้กำจัดกิเลสได้ ในชีวิตประจำวัน เมื่อเจอผัสสะ แล้วจิตจะสงบ จากกิเลส เมื่อกิเลสลด จิตก็จะสงบลง เมื่อหมดกิเลส ก็สงบได้ที่สุด แต่ไม่ได้ปฏิบัติ อย่างหนีโลก ไปอยู่ป่าเขาถ้ำ แต่ปฏิบัติอยู่กับโลก แม้มีลาภยศ สรรเสริญ เราก็ไม่ได้ไปติดยึด เอาศัยเป็นสิ่งให้ชีวิต ดำเนินไป อย่างไม่สะสม สบายมากเลย

        เมื่อจิตมีวิมุต ก็ไม่สุขไม่ทุกข์ ไม่บันเทิงเริงรมย์ ไปกับโลก อย่างที่เคยๆ อาตมา ก็เคยผ่านมาก่อน จนกว่า จะมาเรียนรู้ คำสอนพระพุทธเจ้า แล้วมาลดละกิเลส คนก็เดาว่า ไม่ได้สนุกสนาน รื่นเริงเลย มันก็จืดหมดสิ แต่ที่จริงไม่ใช่ ไม่ต้องบันเทิงแบบนั้น จิตก็เบาสบายได้ เป็นจิตร่าเริงเบิกบาน มีปโมทยังจิตตัง  เราก็เห็นคน หลงใหลสิ่งนี้ แต่เราก็ไม่ติด เหมือนเขา เราก็สงสาร ที่เขาหลงวนเวียน แย่งชิงกัน เสียใจดีใจ สุขทุกข์ วนเวียน เราเห็นเขา ก็สงสารเขา จิตที่บรรลุ จะเห็นเช่นนั้น เห็นคนตกอยู่ ในห้วงสงสาร ยังไม่รู้จักเวทนา ไม่ได้เคยแก้ไข เหตุที่มันพาสุขทุกข์

        ซึ่งเป็นกิเลสแท้ เป็นสมุทัยพาสุขทุกข์ เราก็กำจัด ฆ่าสมุทัยได้ เราก็ไม่เกิด สุขทุกข์ เหมือนแต่ก่อน เรียกว่า ตายตั้งแต่เป็นๆ เป็นนิพพาน จิตก็รู้ไปกับโลกเขาด้วยดี แต่ตัวผู้บรรลุ ไม่มีอาการสุขทุกข์กับเขา ไม่เกิดด้วย จึงเรียกว่า ไม่เกิด หรือดับชาติ มีอารมณ์ไหม ก็มี แต่เป็นอุเบกขา เป็นอทุกขมสุข เป็นกลางๆ ได้แต่สงสารเวทนาเขา จึงมีอัชฌาสัย ทนไม่ได้ ต่อความกรุณา คือจะต้องช่วยเขา อยากช่วยเขา ด้วยเมตตา กรุณา มุฑิตา อุเบกจา

        เมตตา คืออยากให้เขา มีสุขหรือพ้นทุกข์  กรุณาก็ลงมือช่วย (กรณะคือ การกระทำ)  เมื่อช่วยได้สำเร็จ ก็มุฑิตา คือยินดีด้วย กับที่เขาเป็นสุข สงบจากกิเลสแล้ว ไม่ใช่สงบ แบบหนี ไม่มีความแววไวเร็วไว ไม่มีน้ำหนัก ไม่ใช่ แต่กลับมีน้ำหนัก มีความแววไว มีความเหมาะควร แก่การงาน วิมุติของพระพุทธเจ้า มีความมีพลัง เป็นเครื่องแสดง
.     มีอายุหะ คือ  มีอิทธิบาท              เป็นเครื่องแสดง
๒.     มีวรรณะ  คือ  มีศีลผุดผ่อง                     ”
๓.     มีสุขะ  คือ  มีฌาน ๔                          ”
๔.     มีโภคะ  คือ  มีพรหมวิหาร ๔                 ”
๕.     มีพละ  คือ  มีวิมุติหลุดพ้น              เป็นพลังแสดง #

        ไม่ใช่ว่าวิมุตินั้นไม่ทำอะไร คิดไม่เป็น คิดไม่ออก แต่ว่าที่จริง วิมุตินั้น ยิ่งแววไว มีพลัง พากเพียร มีพลังในการทำงาน อันไม่มีโทษ ช่วยโลก ทั้งหมดเป็นสัจจะ ถ้าเข้าใจ บรรลุแล้ว จะไม่ยาก  เป็นสภาวธรรมหมด

        ผู้ใดสามารถแก้ ตัวที่ทรงไว้ในจิต หรือธรรมะ ให้เป็นโลกุตรธรรม เป็นอาริยธรรม จะมีพลัง ๔ พ้นภัย ๕

                กำลัง ๔
๑.     ปัญญาพลัง  (กำลังคือ ปัญญา) .  .  .
๒.     วิริยพลัง  (กำลังคือ ความเพียร ขยัน) .  .
๓.     อนวัชชพลัง  (กำลังคือ การงานที่ปราชญ์ไม่ติ) . ,
๔.     สังคหพลัง  (กำลังคือ  การสงเคราะห์ช่วยผู้อื่น)  #

​                พ้นภัย ๕
๑.     อาชีวิตภัย (ภัยอันเนื่องด้วยชีวิต ไม่กลัวแม้ศ.ก.จะแย่)
๒.     อสิโลกภัย (ภัย คือ  การติเตียนจากคนโลกๆ)
๓.     ปริสสารัชภัย (ภัยคือ  การสะทกสะท้านต่อสังคม)  .
๔.     มรณภัย (ภัยคือ  ความตาย)
๕.     ทุคติภัย (ภัยคือ ทุคติ  เช่น อบายภูมิ  นรก เดรัจฉาน  ฯ)
       
        เป็นผู้มีศรัทธา ๑๐
๑.     ศรัทธา  (เชื่อถือเลื่อมใสในอริยสัจเป็นต้น)
๒.     ศีล (ในบริบทที่สูงไปสู่สีลสัมปทา แห่ง จรณะ๑๕)
๓.     พหูสูต / พาหุสัจจะ (รู้สัจจะบรรลุจริง จนรู้มากขึ้น) .
๔.     เป็นพระธรรมกถิกะ (อธิบายสัจธรรม สอนความจริง)
๕.     เข้าสู่บริษัท (สู่หมู่กลุ่มอื่น) .
๖.     แกล้วกล้าแสดงธรรมแก่บริษัท
๗.     ทรงวินัย
๘.     อยู่ป่าเป็นวัตร  ยินดีในเสนาสนะอันสงัด (คืออุเบกขา)  มีป่าอยู่ในหัวใจ ยินดีในเรือนว่าง (จิตว่างจากกิเลส)
๙.     ได้ตามความปรารถนาโดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ 
๑๐.    ได้ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ-ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้
        ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล  ย่อมเป็นผู้ก่อให้เกิด ความเลื่อมใส โดยรอบ และเป็นผู้บริบูรณ์ ด้วยอาการทั้งปวง
(สัทธา ๑๐  จาก สัทธาสูตร พตปฎ. เล่ม ๒๔  ข้อ ๘)#

        ที่อาตมาสาธยายมานี้ ต้องสั่งสม เป็นชาติแต่ละชาติ ที่เกิดมา มีอาการครบ ๓๒ พวกเรา ที่มาชุมนุม ก็อย่าทิ้งธรรม อย่าเป็นโมฆะบุรุษ เกิดมาตายเปล่า ประเทศอื่น ที่ไม่รู้ ในศานาพุทธ ก็แล้วไป แต่ผู้รู้ศาสนาพุทธ ควรทำ อย่าเสียชาติเกิด ถ้าได้แล้ว เป็นหลักประกัน คุณก็อยู่กับโลกเขานี่แหละ แต่ไม่เสียดาย ในโลกธรรม ในสุขที่เป็นเท็จ

        มาลองปฏิบัติดูได้ เช่นอบายมุข เป็นสิ่งชั่วร้าย ที่คนหลงติดยึด มัวเมา อย่างหยาบ อย่างแรงเลย แต่ก็หน้าด้าน หน้าทนจน โด้ จน ง่าน ติดอยู่ได้ ทั้งที่เสื่อมทราม ขนาดนั้น ...

จบ 

 
๒๙ ธันวาคม ๒๕๕๖ ที่ เวทีสะพานมัฆวานรังสรรค์ กทม.