570206_พ่อครูที่ป้อมมหากาฬ

 

เรื่อง ประชาชนปฏิวัติจะชนะไฉน?


        พ่อครูว่า.... ถึงวาระของอาตมา ใครที่ยังไม่ได้มาก็มา ได้เวลาฟังธรรมแล้ว ก่อนจะได้เทศน์บรรยาย เรื่องต่างๆ ก็ขอแจ้งให้ทราบ ถึงเรื่องสำคัญ วันที่ ๙ ถึง ๑๕ ก.พ. ๕๗ เป็นวันตามกำหนด ประเพณีของชาวอโศกเรา คือเป็นวันงานสำคัญคือ งานพุทธาภิเษกฯ ครั้งนี้เป็นครั้งที่ ๓๘ แล้ว เราเคยจัดทุกปี แม้แต่จัดบนถนนราชดำเนิน ข้างทำเนียบรัฐบาล เราก็เคยจัดมาแล้ว ตอนที่เราไปชุมนุมประท้วงกันที่นั่น เราเป็นคนที่เลี้ยงง่าย บำรุงง่าย สามารถจัดได้ แต่บางอย่าง ก็จัดไม่ได้ เช่นงาน ว.บบบ. เราก็ไม่ได้จัด

        ปีนี้งานวันที่ ๙ ถึง ๑๕ เราเอามาฆบูชา เป็นวันหลัก ปีนี้วันมาฆบูชา ตรงกับวันวาเลนไทน์เลย เราก็ตีกินเลย ให้คนตื่นตัวเป็น มาฆบูชาเลย เดี๋ยวนี้วันวาเลนไทน์ คนไปหลงกันมากแล้ว ปีนี้ก็ตรงกันพอดี

        เป็นงานภายในเรา ชาวอโศก เมื่อเรามาอยู่ภายนอก คนสนใจเป็นคนภายนอก ก็มาร่วมได้ ถ้าสนใจ ร่วมได้หลายระดับ มาดู มาร่วมเล็กน้อย หรือร่วมอย่างเคร่งเลยก็ได้ แต่อโศกเรา จะตั้งใจเคร่งครัด หลักใหญ่ เราก็มาปฏิบัติธรรม ถือศีล ๘ ตีสามครึ่ง ก็ตื่นทำวัตรเช้า หกโมงเช้า ก็บิณฑบาต จากนั้น เก้าโมงเช้า มีเทศน์ก่อนฉัน ไปถึง ๑๐ ถึง ๑๑  โมง ก็ฉันอาหารกัน รับประทานอาหารกัน ซึ่งก็จะรับประทานอาหาร เป็นระเบียบ เข้าแถวกัน สงบเรียบร้อยมีวินัย หลังฉันไปพักผ่อน แล้วแยกย้ายไป มีพระเกจิ (ที่ไม่ได้ปลุกเสกฯพระเครื่อง แต่ปลุกเสกฯคน คือไปพูดคุย สนทนาธรรม) หรือบางเกจิ ก็จะไปจัดรายการธรรมะ ให้ซักถามได้ จนถึงบ่ายสองโมง เป็นรายการภาคบ่าย มีหลากหลาย ถ้ามีงานนี้ เป็นงานการเมือง ถ้าไม่ธรรมะ ก็เป็นการเมือง ผสมผสานกันไป

        ส่วนภาคเย็น เป็นการสัมภาษณ์ ผู้มาปฏิบัติธรรม แล้วได้มรรคผลอย่างไร มีการเกิด ปรากฎการณ์อย่างไร เรานำมายืนยัน ชี้ให้เห็น เป็นคนเก่า หรือคนใหม่ก็ตาม มีหลายรุ่น มีสิ่งพิเศษ ประสพการณ์ ได้ทำแบบนี้แล้ว ผลเป็นอย่างไร เอามาเล่าขยาย สู่กันฟัง ในภาคเย็น จบสองทุ่มก็หมด แต่ในงานนี้ มีข้อจำกัด พอถึงจบแต่ละวัน รายการเราจบประมาณ สองทุ่ม ทุกวัน นอกจาก วันมาฆบูชาก็จะมีเทศน์พิเศษ ส่วนรายการทั่วไป ในภาคค่ำ ก็เป็นการสัมภาษณ์ ปฏิบัติกร ส่วนวันมาฆบูชา ก็เป็นเทศน์พิเศษ วันมาฆบูชา

        ทั้งหมด ๗ วัน ๖ คืน แต่วันแรก จะไม่มีทำวัตรเช้า แต่เริ่มตอนเก้าโมง มีการเปิดงาน ปฏิญาณศีล ๘ จนถึงวันสุดท้าย วันที่ ๑๕ หลังทำวัตรเช้า ก็รับประทานอาหาร จบก็เสร็จ พากันกลับ เลิกแล้ว ก็จะไม่ครบ ๗ วันดีเท่าไหร่ แต่ ๖ คืนแน่

        หนังสือที่จะใช้ในงานนี้คือ หนังสือ “รู้คน ขังสุข รู้คุก ขังสัตว์” ให้นำมาด้วย

        มาเข้าเรื่องของธรรมะ วันนี้ตั้งใจจะอธิบาย รัฐศาสตร์การเมือง ชาตินี้อาตมา ไม่ได้เรียนเศรษฐศาสตร์ ได้ปริญญาเลย แต่ก็รู้รัฐศาสตร์การเมือง จากการเรียนพุทธธรรม ซึ่งพุทธศาสตร์นี่แหละขอยืนยันว่า เป็นเศรษฐศาสตร์แท้ เป็นการเมืองแท้ เป็นรัฐศาสตร์แท้ รู้ได้ทั้งประชาธิปไตย และ คอมมิวนิสต์ เหนือชั้น ยอดเยี่ยมกว่า คอมมิวนิสต์ ที่เขาทำ แม้ประชาธิปไตย ก็สุดยอด มีคุณธรรมด้วย แม้เผด็จการ ก็อย่างวิเศษเลย เป็นความรู้สามารถ ที่มีพลังอำนาจ ระดับสูงสุด ระดับ Supreme เลย เป็น Authority power เป็น sovereign power

        เรามาทำงานประท้วง เป็นปฏิวัติ ต่อเนื่องกัน หลายเดือนแล้ว โดยเฉพาะ กปท. ตั้งแต่ ๔ สิงหาคม ๕๖ แล้ว วันนี้ก็ปาเข้าไป หกเดือนกับสองวันแล้ว นับเป็น ๑๘๖ วันแล้ว ใกล้ ๑๙๓  วันแล้ว อีกกี่วัน อีก ๗ วันก็ไม่น่าเสร็จนะ ถ้าไปอีก ๘ วัน ก็ทำลายสถิติเดิมเลย เป็น ๑๙๔ วันเลย แล้วจะเลยไปอีกเท่าไหร่ ก็ไม่รู้ จะลงเอยอย่างไร

        การปฏิวัติของไทย ณ ลมหายใจเฮือกนี้
.จะลงเอยอย่างไร ?
.ใครจะชนะ?
.เครื่องตัดสินว่าใครจะชนะ ที่เป็นสัจจะแท้คืออะไร?
.อย่างไรจึงจะชื่อว่าประเทศไทยชนะ?

        ถ้าจะให้รัฐบาลเก่าชนะ แล้วมาบริหารแบบเก่าๆ มาแดงทั้งแผ่นดิน บริหารมา ๘๑ ปีแล้ว อย่างนี้จึงชื่อว่า ประเทศไทยชนะ หรือว่าจะให้คณะประชาชน ที่มาปฏิวัติ มาทำการเมืองใหม่ขึ้นมา เพราะประชาชนที่ตื่นรู้ เป็นมวลมหาประชาชน สามัคคีทุกสีทุกเหล่า ออกมากว่า ๑๐ ล้านคน ประชาชน ที่ยังไม่ออกมา ก็มีอีก มาปฏิเสธการเมืองเก่า ที่เน่าเฟะ นี่ก็อีกคณะหนึ่ง แล้วจะให้คณะประชาชน หรือให้คณะรัฐบาลเก่า แบบน้ำเน่า ที่แสนเละเทะชนะ แบบไหนถึงชื่อว่า “ประเทศไทยชนะ?”

        ควรให้รัฐบาลเก่าหรือให้คณะประชาชนพวกเราชนะ? ….

        ก็กำลังแข่งขันกันว่า ใครจะตั้งรัฐบาลใหม่ได้สำเร็จ? ระหว่าง มหาประชาชน กับรัฐบาล

.จะลงเอยอย่างไร ?
        ตอนนี้ผลลงเอยจะเป็นอย่างไร ...ก็อาจเป็น....
        จะลงเอยได้สองอย่าง?
        ๑.รุนแรง เขาลุแก่อำนาจบาตรใหญ่ จะมีล้มตาย สูญเสียยับเยินเลย ซึ่งคิดว่า ไม่มีใครอยากให้เกิดแน่
        ๒.จะลงเอยด้วยการจำนน ฝ่ายโน้นก็ต้องจำนน ต่อความดีงาม สงบ ไม่รุนแรง
        คำตอบคือ จะลงเอาด้วย ฉิบหายวายป่วง หรือลงเอยด้วย ชนะอย่างสวยงาม สง่าผ่าเผย เท่านั้นเอง
       
.ใครจะชนะ?...
        มันก็อยู่ที่ว่า ใครจะตั้งรัฐบาลใหม่ได้สำเร็จ ตอนนี้รัฐบาลเก่า ก็ไม่ลาออก แต่ยุบสภาฯ ความเป็นรัฐบาลเก่าหมดแล้ว แต่รักษาการอยู่ ครม.ก็รักษาหน้าที่ เป็นการถือหัวโขนอยู่ แต่รำไม่ได้ เป็นยักษ์ก็รำไม่ได้ เป็นพระเป็นนาง ก็รำไม่ได้ แต่ละเมิด ทำรำ ออกท่าทางด้วย ทั้งที่ไม่มีอำนาจ นี่ล่ะจะได้ชำระกัน

        ตอนนี้ก็แย่งกัน ใครจะตั้งรัฐบาลใหม่ได้ จะเป็นรัฐบาลเก่า หรือประชาชน ที่มาปฏิวัติ จะตั้งรัฐบาลได้ ก็ตรงนี้แหละ?

        ที่จริงแล้ว พอฟังแล้ว คนก็คงพอรู้ ถ้าเผื่อว่าทำงานอยู่ ดูกระแสที่เป็นอยู่ ก็คงพอรู้ แต่เจาะลงไปที่ประเด็นที่ ๓

.เครื่องตัดสินว่าใครจะชนะ ที่เป็นสัจจะแท้คืออะไร?

       
        ผู้ใดทำได้ถูกต้อง สงบเรียบร้อย ดีงามกว่า ก็คือผู้ชนะ ทั้งสองฝ่าย ก็พยายาม ทำให้ถูกรธน. ตามธรรมะ ชอบธรรม พยายามให้มนุษมนาเขารู้ แต่เป็นการปฏิบัติ ที่เล่นเล่ห์แฝงอะไร ดีไม่ดี ทำละเมิดโต้งๆ พวกนี้จะเป็นผู้ตัดสิน ยุคนี้มีเครื่องไม้เครื่องมือ ไว้บันทึกเยอะ ดังนั้น ผู้ถูกต้อง ชอบธรรมกว่า ก็คือผู้ชนะ แต่จะเป็นไปได้ อย่างถูกต้อง ชอบธรรม สวยงามหรือไม่?
       
.อย่างไรจึงจะชื่อว่าประเทศไทยชนะ?

        อย่างไรก็ตองประชาชนชนะ ถึงชื่อว่าประเทศไทยชนะ จะให้รัฐบาล แดงทั้งแผ่นดิน แล้วไม่เอาพระเจ้าแผ่นดินชนะ จึงจะชื่อว่า ประเทศไทยชนะ อย่างนั้นหรือ? ...อาตมาว่า ไม่อยากเอาชื่อ ประเทศไทย มาเรียกเลย มันควรเป็นอย่างไร จึงจะชื่อว่าประเทสไทยชนะ มวลประชาชนคนไทย ก็ช่วยกันตัดสิน ก็แล้วกันว่า อะไรควร อะไรไม่ควร
       
        คณะรัฐบาลที่ยุบสภาไปแล้ว มีแต่หัวโขน รำไม่ได้ ขืนรำก็ผิด แล้วพวกที่คบค้า ก็เป็นพวกข้าราชการประจำ ที่เป็นลิ่วล้อ หน้ามืด ช่วยกันรำอยู่ เขาก็เก่งจริงๆ พวกลิ่วล้อ เป็นพวกหัวแถวๆ ก็มีอำนาจ ทางราชการช่วย เขาเก่งที่ซื้อหา มาเป็นบริวารลิ่วล้อ ก็ทำอยู่

        เป็นเรื่องยืนยันว่า ไทยจะเป็นประเทศที่ ล้มเหลวหรือเจริญ ล้มเหลวคือ พวกที่ผิด พวกไม่ควรไม่ชอบธรรม มาเป็นผู้ชนะ นั่นคือ ความล้มเหลว ของประเทศไทย แต่ถ้าความถูกต้อง ชอบธรรม เป็นผู้ชนะ นี่คือความเจริญ ของประเทศไทย

        คนไม่ฉลาดก็จะรู้ว่า ที่พูดนี้ถูกต้อง เถียงไม่ได้ แต่ว่าความถูกต้อง ชอบธรรมนี้ ต่างคนต่างยึดว่าฝ่ายตน ถูกต้องชอบธรรม ก็ต้องมาไขความกัน เรื่องสัจจะธรรมะ
       
        แล้วความชอบธรรม ที่ต่างคนต่างว่า ตนชอบธรรม ก็ต้องว่ากันตรง พฤติกรรมจริง

        การเลือกตั้งครั้งนี้ แล้วมีการประพฤติกัน มีองค์ประกอบ เป็นกรณีว่า ผู้ที่เอาการเลือกตั้งให้ได้ เพื่อจะได้แต้ม เขาถือว่า ถ้าได้เลือกตั้งนี้ได้แต้ม ส่วนพวกเรา ไม่เอาการเลือกตั้ง  เพราะการเลือกตั้ง ที่ได้เกิดนี้ เป็นโครงสร้างเก่า เป็นค่ายกลขี้โกง ทางการเมือง ที่เขาได้สร้าง มานานแล้ว เหมือนหนังจีน ที่ใครเดินเข้าไป ในค่ายกลนี้ตาย มีพิษภัยมากมาย มีหอก หลาวแหลน หลุม สมัยใหม่ มีกับประเบิด

        เขาว่างไว้หมด เขาจะชนะแน่ ถ้าเลือกกี่ครั้งก็ตาม แต่เรามาประท้วง ไม่ให้ทำแบบเก่าอีก ไม่เอาค่ายกลนี้ เราจะยอมให้เป็นแบบนี้ไม่ได้ มันเกิดมา ๘๑ ปีผ่านมาแล้ว ไม่เรียกวิวัฒน์พัฒนา แต่นี่ปรุงแต่งให้เลวร้ายเพิ่มขึ้น ประชาชนออกมา พิสูจน์ให้รู้ มามากเท่าไหร่ๆ ก็ไม่เคยมีอย่างนี้

        ออกมาแสดงตัว ตั้งแต่ ๒๔ พ.ย.๕๖ มาเป็น ๙ ธ.ค. ๕๖ จนมาเป็น ๒๒ ธ.ค. ๕๖ แล้วก็มา Shut Down BKK วันที่ ๑๓ ม.ค. ๕๗ ก็พิสูจน์มาแล้ว

        เราจะมาพิสูจน์ความถูกต้อง
        ๑.เป็นเรื่องของประชาชน เป็นประชาภิวัฒน์ …
        ๒.ประชาภิวัฒน์
        ๓.กรรมาภิวัฒน์ ... ให้รู้ว่ากรรมกุศล ที่ถูกต้องดีงาม เป็นอย่างไร ก็ชอบธรรม ส่วนใครทำอกุศล ก็ไม่ชอบธรรม

        การเลือกตั้ง ก็มีผลออกมา ระดับหนึ่ง วัดค่าแล้ว ยืนยันความจริงหลายอย่าง? สรุปแล้ว คำตอบคือ ค่านิยมของ พรรคการเมืองเก่า ทรุดลงเลย หลายแง่หลายเชิง แล้วเขาพยายาม หยิบประเด็น มาหลอกคนปัญญาน้อย ให้หลงเชื่อถือ คนก็หลงดีใจว่า เพื่อไทย ยังเจริญรุ่งเรืองอยู่ เช่น รวมครั้งนี้ พรรคเพื่อไทย ได้ ที่ ๑ ได้มาตั้ง ๓๐๐ กว่าที่นั่ง ก็แน่สิ เพราะว่า มีแต่พวกเอ็งไปลง.... แต่เขาก็แยก ให้รู้ว่า คนไม่ไปลงตั้ง ๗๕ % แต่ที่ไปลงคะแนน ไปเลือกตั้งไม่กี่%

        มันส่อสื่อให้เห็น ความล้มเหลวย่อยยับ ของรัฐบาลเก่า อาตมายังนึกว่า เลือกตั้งครั้งนี้ ถ้า...อาตมาพูดนี่ ไม่ใช่พวกปชป.นะ แต่ที่พูดนี้ พูดด้วยเนื้อผ้า... ถ้าพรรคปชป.ไม่บอยคอต ไปลงเลือกตั้ง ไม่แน่นะ ปชป. อาจชนะก็ได้ เพราะความเสื่อมของพรรคนี้ ลดลงมากเลย คิดดูสิว่า บัตรเสียมากเลย เขียนด่ามากมาย มันส่ออะไร ยับเยินเลย เป็นการพ่ายแพ้ ที่ไม่เคยเกิดในประวัติศาสตร์

        คนที่ไม่มีหิริโอตตัปปะเลย ทำไมดื้อดึงดัน ไม่ละอายเลย แต่นี่ไม่มีเลย นิดหนึ่งก็ไม่เลย ที่จะพาเขาลาออก ยังดันทุรังไปหน้าเฉย ไม่มีอะไร แต่หนีจุดตูดเลย หาคนมาป้องกัน เต็มเลย ทั้งที่เราบอกว่าไม่ทำอะไร เราไม่รุนแรง
        มันมีความซับซ้อนให้เห็นว่า... มันแพ้ยับเยิน แต่ก็ยังไม่ยอมแพ้ …. แพ้อย่างไม่มีอะไรบ่งบอกว่า จะมีความชนะได้เลย แต่เขาก็ไม่ยอม แต่จะลงเอยที่ เขาอาจทำชั่ว ทำรุนแรงได้ เพราะคนชั่ว ทำชั่วได้ เมื่อเลือดเข้าตา ก็ลุแก่อำนาจบาตรใหญ่ พวกเราก็ไม่ไป ตอบโต้ทำร้าย ก็ไม่แน่ว่า ถ้าจะเกิดความรุนแรง ในคนที่จะทำร้าย แล้วจะมีผู้ที่มีอาวุธ พลังอำนาจพอ จะห้ามกั้น ก็ไม่อยากพูด จึงไม่ตั้งประเด็นนี้ขึ้น เอาแต่ว่าคนทำรุนแรง ไม่ว่าใครก็ผิด พวกเราทำก็ผิด นี่คืออย่างที่ ๑

        อย่างที่ ๒ คือไม่รุนแรงเลย ใช้ความถูกต้อง สัจจะความจริง หลักฐาน มายืนยันกัน ทั้งกฎหมาย ทั้งจารีต ประเพณีสังคม คนที่จะทำ สิ่งถูกต้องดีงามได้ ต้องเกิดจาก จิตวิญญาณ เป็นประธาน เป็นอำนาจใหญ่ของชีวิต กาย วาจา มาจากมโน มโนบุพพังคมา ธัมมา มโนเสฏฐา มโนมยา

        มโนจะมีกำลังอำนาจ ต้องศึกษาฝึกฝน สร้างให้มีคุณธรรม ไปซื้อหา ตามแผงลอยไม่ได้ ไปตามศูนย์การค้า ที่ใหญ่โตอย่างไร ก็ซื้อหาไม่ได้ ซื้อความสงบ รำงับไม่รุนแรง ทำไม่ได้

        ต้องรู้ว่า ความถูกต้องดีงาม คืออย่างไร แล้วทำอย่างไร โดยจิตเป็นตัวเป็นเอง เป็นการสั่งเองเป็นตถตา จิตเป็นเช่นนั้นเอง กาย วาจา ก็ออกมาจากจิต ส่วนอกุศลนั้น เราล้างเชื้อออกจากจิต พระพุทธเจ้า ค้นพบ แล้วสร้างจิตเช่นนี้ได้ พุทธทำได้ จะเกิดคุณงามความดีที่จริง แม้ความยอมตาย เพื่อสร้างสิ่งดีงาม ก็เป็นไปได้ เพราะเป็นผู้ที่เกิดจิต มีพลัง ๔ สมบูรณ์

        มีปัญญารู้ว่า ทำกรรมชนิดนี้ มีปัญญารู้ก็ทำ จนเป็นกำลังของ ความขยัน พากเพียร ทำมาจนขยันเป็นเช่นนั้นเอง เป็นตถตา ส่วนความชั่วก็รู้ เคยทำมา แต่ตอนนี้ไม่ทำ เพราะพลังชั่ว ไม่มีแล้ว มีปัญญาและมีวิริยะ ทีเป็นตถตา มีความวิริยะ ที่เป็นเอง โดยอัตโนมัติ มันทำจริงๆ จึงมี อนวัชชะ คืองานที่ดี ที่ควรทำ ดังนั้น การทำงานใดต้องดี ต้องชอบและควร มีพลังปัญญาที่ถูกต้อง ฉลาดแท้ลึกซึ้ง ไม่ฉลาดขี้โกง โดยแยกสำคัญ ตรงที่รู้ว่า นี่ฉลาด เห็นแก่ตนเพื่อตน หรือรู้ว่า นี่ฉลาด เพื่อผู้อื่น เพื่อคนหมู่มาก

        นี่คือหลักตัดสิน สำคัญว่า นี่เพื่อตัวเอง หรือ เพื่อส่วนรวมหมู่มาก ถ้าเพื่อส่วนรวม ย่อมถูกต้องมากกว่าส่วนตน จึงเป็นความจริง ที่ทรงไว้ ผู้ใดสั่งสม สิ่งจริงนี้ในจิต จึงมีกรรมจริง

        ผู้ใดศึกษา แล้วทำสั่งสม เป็นวิบากแก่ตน เป็นอริยทรัพย์ เกิดจากกรรม การกระทำฝึกฝน อบรมแล้วสั่งสม ตกผลึกเป็นของผู้นั้นๆ เรียก กัมมสกตา (กรรมเป็นของๆตน) ตนได้อาศัย กัมมปฏิสรโณ กรรมพาเกิด กัมมโยนิ

        คนฝึกมาโดยตรง ก็ได้ตรง แต่คนฝึกโดยอ้อม ก็ได้ผลสำหรับ คนมีบารมี คนที่มารวมกัน จึงมีกรรม เป็นอันหนึ่งเดียวกัน เช่น เป็นคนเสียสละ เห็นแก่ส่วนรวม จริงใจ สำคัญที่จิต ล้างความหลงติดในลาภแก่ตน หลงติดใน ยศ ในสรรเสริญ หรือ เสพสุขเพราะกาม เพราะอัตตา เมื่อรู้แล้วก็ลดละ มาเป็นคนจริง

        ที่หลงในโลกธรรม กามและอัตตา คนที่หลงอยู่ก็คือ พวกตน ในอำนาจ โลกธรรม ผู้ใดมาเรียนรู้จริง พุทธนี่ชัดเจน เหตุที่ไปหลงใน กามและอัตตา ก็ดับเหตุ หาเหตุมันได้เลย สามารถอ่านได้รู้ได้ โดยสติปัฏฐาน ๔

        ประชุมเป็นกาย  ตากระทบรูป เกิดวิญญาณ ​แล้วเกิดอาการในกาย เป็นหทยรูป กายนี่คือ หทยรูป เป็นองค์ประชุม ที่พร้อมด้วย ผัสสะ ๓ ทั้งทางทวารทั้ง ๕ แต่ละทวาร เป็นผัสสะ ๓ แม้ในใจก็เป็นผัสสะ ๓ แต่ท่านไม่เรียกผัสสะ เพราะมันอยู่ด้วยกัน เรียกธรรมารมณ์ มันทรงอยู่แล้ว อารมณ์นั้น ไม่ต้องไปทำอไร เมื่อไหร่ก็เมื่อนั้น ไม่ต้องหาสิ่งอื่น มาสัมผัส มันอยู่ด้วยกันแล้ว มนายตนะ กับ ธัมมายตนะ

        แต่ถ้าข้างนอก ต้องสัมผัส แต่ถ้าใจไม่ไปรับรู้ แม้กระทบทางตา ก็ไม่รู้จักรูปนี้ ถ้าเอาใจมารับ มันก็เห็น ทั้งกลิ่นเสียง สัมผัสก็เช่นกัน ถ้าไม่เอาจิตมารับรู้ ก็ไม่เกิดวิญญาณ

        ถ้ารู้จัก เวทนา สัญญา สังขาร ก็จะสามารถปฏิบัติธรรม ให้บรรลุได้ รู้องค์ประชุมคือ กาโย มีข้างนอก มากระทบทวาร

        รูปคือ สิ่งที่ถูกรู้ ส่วน นาม คือตัวรู้

        พุทธเรียนคำว่า กายผิด ไปเข้าใจว่า กายคือร่างภายนอก แต่ที่จริง  กายนั้นมีทั้ง โครงร่างและจิต และกายนี้ เน้นไปที่จิตด้วย

        ถ้ามีคำว่ากายไปร่วม ต้องมีนามธรรมร่วมด้วย แต่เขาเรียนกันเผินว่า กายคือรูปธรรม ไม่เอานามธรรมเลย เมื่อไปพิจารณา กายในกาย ก็นึกว่า เป็นข้างนอกอีก ไม่มีความรู้สึก เช่น วิโมกข์ ๘ ต้องด้วยกาย ทั้งหมดเลย ในองค์ประชุมทั้งหมด กายที่ว่า ต้องมีทั้งปัจจุบัน ที่มีข้างนอกด้วย

        ๑. รูปี รูปานิ ปัสสติ คือต้องสัมผัสรูปนอกและในด้วย

        ๒. อัชฌัตตัง อรูป สัญญี เอโก พหิทา รูปานิ ปัสสติ ….หมายถึง กำหนดรู้ ทั้งภายใน จนไปถึงขั้นอรูป รวมทั้งนอกและใน ทั้งสัญญาด้วย แต่เขาเข้าใจผิดไป ไม่สำคัญมั่นหมายในสัญญา ก็เลยเพี้ยนไป ส่วนเอโก เขาก็ไปแปลเป็น ตัวตน บุคคลเราเขา เป็นแค่ส่วนตน

        ๓. สุภันเตวะ อธิมุตโต โหติ ...เป็นผลที่ได้ดี จากนิโรธ เป็นโชคลาภ สิ่งที่น่าภูมิใจ เจริญแต่ต้น จนถึงที่สุด อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา เป็นอธิโมกข จนเป็นอธิมุตโต หรือ อธิวิมุติ  ยิ่งสูงขึ้นๆ แต่ท่านไปแปลว่า เจริญไปถึงที่สุดนั้น ก็ไม่ผิด ด้วยการปฏิบัติ ไตรสิกขานี่แหละ เจริญ ฌาน สมาธิ นิโรธ ไปตามลำดับ

        ก็จบในข้อ ๓ เป็นนิโรธ เป็นวิมุติ แต่ท่านไปแปลว่า จิตโน้นน้อมไปว่างาม ก็เท่ากับว่า ไปให้จิตเห็นว่า คนอื่นงาม แต่นี่ไม่ควรแปลเช่นนี้ เพราะนี่เป็นขั้น ปรมัตถุ พาหลุดพ้นเลยนะ
       
        ๔.     ผู้ล่วงพ้นรูปสัญญา  เพราะดับปฏิฆสัญญา  เพราะ(ละ)ไม่ใส่ใจถึง นานัตตสัญญา  โดยประการทั้งปวง  จึงบรรลุอากาสานัญจายตนะ   ด้วยมนสิการว่า...  อากาศหาที่สุดมิได้ (สัพพโส  รูปสัญญานัง สมติกกัมมะ ปฏิฆสัญญานัง    อัตถังคมา  นานัตตสัญญานัง  อมนสิการา  อนันโต  อากาโสติ   อากาสานัญจายตนัง  อุปสัมปัชชะ  วิหรติ)#  ถ้าเรียนรู้ผิดๆ จะไปดับหมดเลย ทั้งสัญญา ทั้งเวทนา จะไม่รู้แม้แต่ สักกาย

        สักกะ แปลว่า ตัวเราเอง ส่วน กาย คือองค์ประชุม อย่างวิโมกข์ ๘ คือ องค์ประชุมของ นามธรรม ทั้งนามทั้งรูป อยู่ในนั้นหมด ถ้าเข้าใจคำว่า กายผิด ก็ปฏิบัติผิดหมด เมื่อไปเรียน วิโมข์ ๘ ที่มีคำว่า กาย อยู่ ก็ลงทะเล ยะเยือกเย็นเลย

        สัญญเวทยิตนิโรธ นั้นคือ การเคล้าเคลียอารมณ์ ตรวจสอบในสัญญา และเวทนา ตรวจสอบด้วย อรูปฌาน
        ๕.     ผู้ที่ล่วงพ้น อากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง  จึงบรรลุ วิญญาณัญจายตนะ  ด้วยมนสิการว่า  วิญญาณ หาที่สุดมิได้   (สัพพโส อากาสานัญจายตนัง สมติกกัมมะ อนันตัง วิญญาณันติ   วิญญาณัญจายตนัง อุปสัมปัชชะ วิหรติ ฯ)

        ๖.     ผู้ที่ล่วงวิญญาณัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง จึงบรรลุ อากิญจัญญายตนะ  ด้วยมนสิการว่า ไม่มีอะไร (สัพพโส วิญญาณัญจายตนัง สมติกกัมมะ นัตถิ  กิญจีติ อากิญจัญญายตนัง  อุปสัมปัชชะ วิหรติ)

#      แม้กระทบผัสสะอยู่ มีการปรุงแต่งอยู่ เป็นสสังขาริกัง หรือ อสังขาริกัง มีตัวกิเลส ไปจูงนำหรือไม่ ก็ต้องอ่าน แจกรู้ในสังขาร เรารู้ว่า สังขารเรา ไม่มีกิเลสเกิด วิญญาณเราสะอาด มันสังขารอยู่ แต่สังขาร ตามธรรมชาติ เห็นแดงก็แดง เขียวก็เขียว เห็นเงินก็รู้ว่า กี่เท่าไหร่ นี่คือ งบประมาณ ที่เสียไปกับเรื่องน้ำ เรื่องข้าว หลายแสนล้านแล้ว แล้วจะมากู้อีก ๒.๒ล้านๆ ประชาชน เขาจะไว้ใจให้ทำ ก็บ้าแล้ว ยิ่งเต็มใจให้ทำ ยิ่งบ้าแล้ว ใครจะไปไว้ใจให้ทำ

        เราจะทำกับงบ ๒.๒ล้านๆ เรารู้ว่า ใจเรามีกิเลส มาปรุงร่วมไหม นิดหนึ่งน้อยหนึ่ง มีไหม อากิญจัญา หรือ แม้นิดหนึ่งน้อยหนึ่งก็ไม่มี ให้รู้หมด ไม่ใช่ไม่รู้บ้างไม่รู้บ้าง ไม่ใช่ ต้องพ้น เนวสัญญานาสัญญายตนะ ไม่ใช่หนูไม่รู้ ต้องรู้หมด แม้นิดแม้น้อย พ้นเนวสัญญานาสัญญายตนะ ก็พ้นอาสวะ พ้นอวิชชา แม้เศษธุลี น้อยนิดเท่าไหร่ ก็ไม่เหลือ แม้ มานสังโยชน์ อุทธัจจสังโยชน์ หรือ อากิญจัญญายตนะ(รูปธรรม) หรือ เนวสัญญานาสัญญายตนะ (นามธรรม) ต้องพ้น ผู้พ้นเนวสัญญาฯ ก็คือผู้พ้นอนุสัย พ้นอวิชชาสังโยชน์​ เป็นตัวสัญญาเวทนยิตนิโรธ คือ ตัวรู้อย่างที่สุด ไม่ใช่ว่าไม่รู้

        ถ้าจะบอกว่า ดับสัญญา หรือ ดับเวทนา ก็มีส่วน ในพระไตรฯล.๒๔ ข้อ ๗  พระสารีบุตร พูดไว้ว่า...
        สัญญาอย่างหนึ่งย่อมดับไป สัญญาอย่างหนึ่งย่อมเกิดขึ้น นี่แหละคือ สภาวะของนิพพาน
        คนไม่เชื่อ ก็ไปทูลถามพระพุทธเจ้าว่า ที่พระสารีบุตรพูดถูกไหม? พระพุทธเจ้าก็ว่า ถูกต้อง...

         สาริปุตตสูตร
     
        [๗] ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ ได้เข้าไปหา ท่านพระสารีบุตร ถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับ
ท่านพระสารีบุตร ครั้นผ่านการปราศรัย พอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้น
แล้ว ได้ถามท่านพระสารีบุตรว่า ดูกรท่านสารีบุตร ผู้มีอายุ ตนไม่พึงมีความสำคัญ ในปฐวีธาตุ ว่าเป็น
ปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญ ในอาโปธาตุ ว่าเป็นอาโปธาตุเป็นอารมณ์ ... ไม่พึงมีความ
สำคัญ ในโลกหน้า ว่าเป็นโลกหน้าเป็นอารมณ์ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา การได้สมาธิเห็นปานนั้น
 พึงมีแก่ภิกษุหรือหนอ ฯ
    
        ท่านพระสารีบุตร กล่าวว่า ดูกรท่านอานนท์ ตนไม่พึงมีความสำคัญ ในปฐวีธาตุ ว่าเป็น
ปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ฯลฯ ไม่พึงมีความสำคัญ ในโลกหน้า ว่าเป็นโลกหน้าเป็นอารมณ์ ก็แต่ว่า
พึงเป็นผู้มีสัญญา การได้สมาธิเห็นปานนั้น พึงมีแก่ภิกษุ ฯ
    
        อา. ดูกรท่านสารีบุตร ตนไม่พึงมีความสำคัญ ในปฐวีธาตุ ว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ฯลฯ
ไม่พึงมีความสำคัญ ในโลกหน้า ว่าเป็นโลกหน้าเป็นอารมณ์ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ก็การได้
สมาธิเห็นปานนั้น พึงมีแก่ภิกษุได้อย่างไร ฯ
    
        สา. ดูกรท่านอานนท์ สมัยหนึ่ง ผมอยู่ ณ ป่าอันธวัน ใกล้พระนครสาวัตถี นี้แหละ
ณ ที่นั้น ผมเข้าสมาธิ โดยประการที่ ผมมิได้มีความสำคัญ ในปฐวีธาตุ ว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์
เลย มิได้มีความสำคัญ ในอาโปธาตุ ว่าเป็นอาโปธาตุเป็นอารมณ์ มิได้มีความสำคัญ ในเตโชธาตุ ว่า
เป็นเตโชธาตุเป็นอารมณ์ มิได้มีความสำคัญ ในวาโยธาตุ ว่าเป็นวาโยธาตุเป็นอารมณ์ มิได้มีความ
สำคัญ ในอากาสานัญจายตนฌาน ว่าเป็นอากาสานัญจายตนฌานเป็นอารมณ์ มิได้มีความสำคัญ ใน
วิญญาณัญจายตนฌาน ว่าเป็นวิญญาณัญจายตนฌานเป็นอารมณ์ มิได้มีความสำคัญ ในอากิญจัญ
ญายตนฌาน ว่าเป็นอากิญจัญญายตนฌานเป็นอารมณ์ มิได้มีความสำคัญ ในเนวสัญญานาสัญญาย
ตนฌาน ว่าเป็นเนวสัญญานาสัญญายตนฌานเป็นอารมณ์ มิได้มีความสำคัญ ในโลกนี้ ว่าเป็นโลกนี้
เป็นอารมณ์ มิได้มีความสำคัญใ นโลกหน้า ว่าเป็นโลกหน้าเป็นอารมณ์ ก็แต่ว่าผมเป็นผู้มีสัญญา ฯ
     
        อา. ก็ในสมัยนั้น ท่านพระสารีบุตร เป็นผู้มีสัญญาอย่างไร ฯ
    
        สา. ดูกรท่านผู้มีอายุ สัญญาอย่างหนึ่ง ย่อมเกิดขึ้นแก่ผมว่า การดับภพเป็นนิพพาน
การดับภพเป็นนิพพาน ดังนี้แล สัญญาอย่างหนึ่งย่อมดับไป ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อไฟมีเชื้อ กำลังไหม้อยู่เปลวอย่างหนึ่ง ย่อมเกิดขึ้น เปลวอย่างหนึ่งย่อมดับไป แม้ฉันใด ดูกรท่านผู้มีอายุ
สัญญาอย่างหนึ่ง ย่อมเกิดขึ้นแก่ผมว่า การดับภพเป็นนิพพาน การดับภพเป็นนิพพาน ดังนี้ สัญญา
อย่างหนึ่ง ย่อมดับไป ฉันนั้นเหมือนกันแล ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็แลในสมัยนั้น ผมได้มีสัญญาว่า
การดับภพ เป็นนิพพาน ดังนี้ ฯ
                          จบสูตรที่ ๗
       
        พ่อครูว่า... สัญญาคือการกำหนดรู้ ให้ดับภพเป็นนิพพาน ก็คือ สัญญาอย่างหนึ่ง ที่ดับไป

        อากาสาฯ คือหลุดพ้นจากสภาพที่ว่างโล่ง เหมือนอากาศ ก็มาตรวจสอบที่ วิญญาณ คือตัวรู้ว่าตนมีอะไร ไม่สะอาดอีกไหม?.... แล้วก็ต้องตรวจสอบอีก แม้สิ่งเล็กสิ่งน้อย นิดหนึ่งน้อยหนึ่ง ก็ไม่ให้มี เป็นอากิญจัญฯ.... นี่คือ เข้าไปใช้งานสัญญา ขั้นสุดท้าย โดยกำชัดว่า เนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา คือต้องให้สัญญา กำหนดรู้ให้หมด ที่ไม่รู้ต้องไม่ให้มี โดยตรวจสอบ เคล้าเคลียสัญญาให้หมด หมดความไม่รู้ เหมือนอย่างหมอชีวกะ อาจารย์ให้ไปในป่า แล้วไปหาต้นไม้ ที่ไม่ใช่ยา ที่สุดก็หา ต้นไม้ใดๆในป่า ที่ไม่ใช่ยา หมอชีวกะหาไม่ได้ ทุกต้น เป็นยาหมด

        สัญญาเวทยิตนิโรธ คือ นิโรธอย่างสัญญาทำงาน เคล้าเคลียอารมณ์ พ้นจากความไม่รู้ พ้นเนวสัญญาฯ ไปสู่สัญญาที่ บริสุทธิ์สะอาด ทำงานเต็มที่เลย ตรงกันข้ามกับ ที่ให้ดับสัญญาไปหมด อย่างกับก้นเหว กับท้องฟ้าเลย

        พูดแล้วนึกถึงคุณไสว แก้วสม เขาว่าไฟกำลังไหม้ แล้วเมื่อไฟกำลังไหม้ เปลวไฟอย่างหนึ่งดับ เปลวอีกอย่างหนึ่งก็เกิด แกเอามาเถียง ตอนนั้น อาตมาไม่รู้พยัญชนะอันนี้ เขาว่าต้องดับ ก็ถกกันน่าดู

        สรุปแล้ว เวทนาเป็นตัวที่ต้องกำหนดรู้ สัญญาต้องอ่าน เวทนา ๑๐๘ รู้จิตในจิต คือเวทนา ๑๖ ว่ามี สราคะ สโทสะ สโมหะ แล้วทำให้จางคลาย เป็น วีตราคะ วีตโทสะ วีตโมหะ

        ผู้ปฏิบัติธรรมจะรู้จิตว่า ตนมีราคะ โทสะ โมหะไหม แล้วทำให้มันลด เมื่อลดได้ ก็เป็นฌาน ๑ ทำให้กิเลสไม่มีได้ แต่ยังยาก ยังเคร่งคุม มีวิตก วิจาร ปีติ สุข เป็นเอกัคคตา เหมือนขี่จักรยาน เป็นใหม่ๆ มีปีติดีใจ ล้มแล้วล้มอีก ถ้าเก่งก็ไปได้.... จบไว้ก่อนแค่นี้...


๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ ที่ เวทีสะพานผ่านฟ้าลีลาศ กทม.