570303_พ่อครูและอ.กฤษฎา
เรื่อง อำนาจในการปกครองประเทศ

 

                อ.กฤษฎาว่า... ประเด็นสำคัญ ในบ้านเมืองตอนนี้ มีกระบวนการ ที่มาช่วยปกป้องบ้านเมือง ร่วมกับ มวลมหา ประชาชน ที่ได้ต่อสู้กับ คนโง่และหน้าด้าน วันที่ผ่านมา พ่อครูได้พูดถึงกติกา ในการปกครองบ้านเมือง โดยเฉพาะม. ๖๙  ที่พ่อครู มีความลึกซึ้ง ในการตีความ มาตรานี้

                พ่อครูว่า... วันนี้จะต้องพูดถึง ม.๖๙ อาจจะซ้ำ แต่ว่าเป็นเรื่องจำเป็น เพราะเราเป็นชาวไทย ต้องอยู่ภายใต้รธน.นี้ ซึ่งม.๖๙ นี้ได้ข่าวว่า อ.บวรศักดิ์ ได้นำไปใส่ไว้ ในรธน.นี้ ดูแล้ว เป็นบทบัญญัติ ที่ลึกซึ้งซับซ้อน ในเรื่องประชาธิปไตย มีความเป็น อิสรเสรีภาพ เสมอภาค ซึ่งคำความ ไม่ยาวนัก แต่กินความหมายของ มวลมนุษยชาติ ไว้เยอะเลย อาตมาสัมผัส ตามภูมินะ

                เหตุการณ์ที่เกิด ในขณะนี้ นี่แหละเป็นตัวแท้ มีปรากฎการณ์ ที่เป็นพฤติกรรม ของชาวไทยเลย มันเป็นไปไม่ได้ ง่ายๆนะ อาตมาพยายาม หาเหตุผล ความหมายต่างๆ
               
                   กติกาประชาธิปไตย

             อำนาจในการปกครองประเทศ        
        
         บทบัญญัติ รัฐธรรมนูญ มาตรา ๖๙  มีว่า
         "บุคคลย่อมมีสิทธิต่อต้านโดยสันติวิธี
         ซึ่งการกระทำใดๆ ที่เป็นไปเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศ
         โดยวิธีการ ซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้"

         เราต้องพิจารณาดูว่า อำนาจที่ได้มา โดย"การกระทำของบุคคล หรือของกลุ่มหมู่บุคคล"ใด ที่เป็นไป เพื่อให้ได้มา ซึ่งอำนาจ ในการปกครอง ประเทศนั้น ว่า ถูกต้องตามนิติรัฐ และหรือดีงาม ตามนิติธรรม ดีพร้อมด้วย คุณธรรม จริยธรรม ถูกสัจธรรม  
         ซึ่งจะมีได้ทั้งที่ มีบัญญัติไว้ ในรัฐธรรมนูญนี้
         หรือมิได้บัญญัติไว้ ในรัฐธรรมนูญนี้
         ว่า "การกระทำของบุคคล หรือของกลุ่มหมู่บุคคล"นั้น ที่จะต้องยกให้เป็น ผู้ได้อำนาจ ในการปกครอง ประเทศไป
         การพิจารณา ก็พิจารณาและตัดสิน ได้จากประเด็นต่างๆ ดังนี้
         (๑) อำนาจฯที่ได้มาตามบทบัญญัติ ในรัฐธรรมนูญนี้
         (๒) อำนาจฯที่ได้มาไม่ตามบทบัญญัติ ในรัฐธรรมนูญนี้
         (๓) อำนาจฯที่ใช้วิธีการตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญนี้
และเป็นไป ตามวิถีทางที่บัญญัติ ในรัฐธรรมนูญนี้
         (๔) อำนาจฯที่ใช้วิธีการตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญนี้
แต่ไม่เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัต ิในรัฐธรรมนูญนี้
         (๕) อำนาจฯที่ไม่ใช้วิธีการตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญนี้
แต่เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติ ในรัฐธรรมนูญนี้
         (๖) อำนาจฯที่ไม่ใช้วิธีการตามบทบัญญัติ ในรัฐธรรมนูญนี้ และไม่เป็นไป ตามวิถีทางที่บัญญัติ ในรัฐธรรมนูญนี้
         (๗) อำนาจที่ใช้วิธีการตามบทบัญญัติ ในรัฐธรรมนูญนี้ แต่ไม่เป็นไป ตามสัจธรรม ไม่มีคุณธรรม ไม่ดีงาม ไม่สงบ ใช้อาวุธ รุนแรง ไม่สันติวิธี
         (๘) อำนาจที่ไม่ใช้วิธีการตามบทบัญญัติ ในรัฐธรรมนูญนี้ แต่เป็นไปตามสัจธรรม มีคุณธรรม ดีงาม สงบ ไม่ใช้อาวุธ ไม่รุนแรง สันติวิธี
         (๙) อำนาจที่ใช้วิธีการตามบทบัญญัติ ในรัฐธรรมนูญนี้ และเป็นไป ตามสัจธรรม มีคุณธรรม ดีงาม สงบ ไม่ใช้อาวุธ ไม่รุนแรง สันติวิธี
         (๑๐) อำนาจที่ได้มาตามบทบัญญัติ ในรัฐธรรมนูญนี้แล้ว เป็นผู้กระทำ ไม่เที่ยงตรง กระทำขัดกับ รัฐธรรมนูญนี้ กระทำผิด รัฐธรรมนูญนี้ ผิดจริยธรรม กบฏ จึงไม่สมควร มีอำนาจแล้ว
         (๑๑) อำนาจที่ได้มาไม่ตามบทบัญญัติ ในรัฐธรรมนูญนี้ และ เป็นผู้กระทำ ไม่เที่ยงตรง กระทำขัดกับ รัฐธรรมนูญนี้ กระทำผิด รัฐธรรมนูญนี้ ผิดจริยธรรม กบฏ จึงไม่สมควรมีอำนาจเลย
         (๑๒)  อำนาจที่ได้มาโดยไม่มีบทบัญญัติ ในรัฐธรรมนูญนี้ แต่ เป็นผู้กระทำ ที่เที่ยงตรง กระทำไม่ขัดกับ รัฐธรรมนูญนี้ เป็นแต่เพียง รัฐธรรมนูญนี้ ไม่ได้บัญญัติไว้ ไม่ผิดจริยธรรม ไม่กบฏ จึงสมควรมีอำนาจ
         (๑๓) ผู้นั้นหรือกลุ่มบุคคลนั้น ควรเป็นผู้มีสิทธิ ในอำนาจ การปกครองประเทศได้แล้ว เพราะถูกต้อง ดีงาม บริบูรณ์สัมบูรณ์

         การได้มาซึ่งอำนาจในการบริหารประเทศ ของไทยเป็น ประชาธิปไตยสองขา คือมี พระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข
          อำนาจประชาชนปฏิวัติโดยชอบธรรม
         เรามาแยก คำความดูชัดๆ ว่า มาตรา ๖๙ นี้มีว่าอย่างไร
         ๑) ในเมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่รัฐธรรมนูญนี้
         ๒) บังคับแกกรณีใด
         ๓) ให้วินิจฉัยกรณีนั้นไป
         ๔) ตามประเพณีการปกครอง
         ๕) ระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข
         ทีนี้ ใน มาตรา ๒ ก็มีชัดๆว่า ประเทศไทย มีการปกครอง ระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข
         ซึ่งหมายความตาม มาตรา ๓ ที่ทั้งแปลคำว่า "ประชาธิปไตย"ไว้ชัดเจนว่า
         อำนาจอธิปไตย เป็นของประชาชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ ผู้ทรงเป็นประมุข ทรงใช้อำนาจนั้น (ซึ่งเป็น "อธิปไตย ที่เป็นของ ประชาชนชาวไทย") ทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติ แห่งรัฐธรรมนูญนี้

         การได้มาซึ่งอำนาจ ในการบริหารประเทศนั้น ของไทยมี ๕ แบบ
         ๑. อำนาจเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
         ๒. อำนาจรัฐบาลที่ได้มาจากการเลือกตั้ง
         ๓. อำนาจคณะรัฐประหารที่ได้มาจากการเลือกตั้ง
         ๔. อำนาจประชาชนที่ปฏิวัติอย่างไม่สงบ มีอาวุธ รุนแรง
         ๕. อำนาจประชาชนที่ปฏิวัติอย่างสงบ ไม่มีอาวุธ ไม่รุนแรง
        
         อำนาจที่จะวินิจฉัย กรณีใด ไปตามประเพณีการปกครอง ระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข ประชาชน จึงต้องช่วยกันทำ อย่างยุติธรรม ที่สุด ดีงามที่สุด เสียก่อน แล้วจึงนำขึ้น กราบถวายบังคมทูล จะได้ไม่ระคาย พระยุคลบาท

         เพราะอำนาจของประชาชน ทุกคนย่อมมีสิทธิต่อต้านโดยสันติวิธี ตามบทบัญญัติไว้ใน รัฐธรรมนูญนี้ มาตรา๖๙ และมาตราอื่นๆ อีกมาก ที่สนับสนุน สอดคล้อง สมคล้อย ที่ต้องวินิจฉัย แล้วตัดสินกัน ให้สัมบูรณ์

         ดังนั้น ในปรากฏการณ์ของประเทศไทย ที่กำลังเกิด และดำเนินอยู่ ณ ปัจจุบันนี้ มีสิ่งที่ต้องวินิจฉัย ในกรณี “อำนาจประชาชนที่ปฏิวัติ อย่างสงบ ไม่มีอาวุธ ไม่รุนแรง” ตามธรรมเนียมที่ได้กระทำกันมา ว่า จะเป็น “อำนาจประชาชนปฏิวัติ โดยชอบธรรม” หรือไม่

         จากมาตรา ๗ ของรัฐธรรมนูญฯ ๒๕๕๐ มีว่า

         ๑.ในเมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้
         ๒.บังคับแก่กรณีใด
         ๓.ให้วินิจฉัยกรณีนั้นไปตาม
         ๔.ประเพณีการปกครอง
         ๕.ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข
        
         มาตรา ๒  ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข

         ซึ่งหมายความตาม มาตรา๓ ที่ทั้งแปลคำว่า “ประชาธิปไตย” ไว้ชัดเจนว่า

         อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ ผู้ทรงเป็นประมุข ทรงใช้อำนาจ ซึ่งเป็น “อธิปไตย” ที่เป็นของ ประชาชนชาวไทย” นั้น ทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติ แห่งรัฐธรรมนูญนี้

         และวรรค ๒ ของมาตรา๓ ก็กำกับบัญญัติ ไว้ชัดเจนว่า การปฏิบัติหน้าที่ ของรัฐสภา คณะรัฐมนตรีและศาล รวมทั้งองค์กร ตามรัฐธรรมนูญ และหน่วยงานของรัฐ ต้องเป็นไป ตามหลักนิติธรรม

         นั่นคือ ๓ สถาบันหรืออื่นๆตามระบุไว้นั้น คือผู้มีหน้าที่ทำงาน ตามหลักนิติ ให้เป็นธรรม

         มีหน้าที่ทำได้ตาม หลักนิติ หรือ กฎหมาย กำหนดไว้ ถ้าไม่ทำก็ผิด ทำเกินก็ผิด ทำไม่เป็นธรรม ไม่ชอบธรรม นั่นเอง ก็ผิด

         สรุปชัดๆ คือ ผู้อาสาเข้าไปทำหน้าที่ โดยรับจ้างมีรายได้ รับรายได้ตอบแทนบ้าง ไม่ได้รับบ้าง

         แต่คือผู้สมัครใจทำงานนี้ เพื่อผู้อื่น ไม่ใช่เพื่อตัวเอง เพื่อประชาชนแท้ๆ เรียกว่า งานการเมือง

         ถ้างานการเมือง ก็ต้องเพื่อผู้อื่น เพื่อประชาชน ไม่ใช่งานเพื่อตัวเอง หรือเพื่อครอบครัว เพื่อพรรคพวกแน่ๆ

         ยิ่ง ผู้ใดทำงานเพื่อผู้อื่น เพื่อประชาชน ด้วยใจจริง สมัครใจเอง ไม่รับค่าตอบแทนเลย นั่นแหละคือ นักการเมืองแท้ๆตรงๆ

 

         มาตรา ๔
         ๑.ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
         ๒.สิทธิ
         ๓.เสรีภาพ
         ๔.และความเสมอภาคของบุคคล
         ๕.ย่อมได้รับการคุ้มครอง
         เมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ บังคับแก่กรณีใด ตาม มาตรา ๗

         เช่น บทบัญญัติ ว่า ให้ “ประชาชนปฏิวัติ” ก็ดี ยึดอำนาจจากรัฐบาล ก็ดี หรือ

         การกระทำใดๆ ที่เป็นไปเพื่อให้ได้มา ซึ่งอำนาจในการปกครอง โดยวิธีการซึ่งมิได้ เป็นไปตามวิถีทาง ที่บัญญัติไว้ ในรัฐธรรมนูญนี้

         บุคคลย่อมมีสิทธิต่อต้านโดยสันติวิธี ตามบทบัญญัติไว้ ในรัฐธรรมนูญ มาตรา ๖๙       

         ส่วนวิธีการ ซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ ในรัฐธรรมนูญนี้

         บุคคลจะใช้สิทธิ์ และเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ เพื่อล้มล้างการปกครอง ระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข ตามรัฐธรรมนูญนี้ เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจ ในการปกครองประเทศ นั่นต่างหาก ทำไม่ได้

         มาตรา ๖๘ บัญญัติไว้ว่า จะทำมิไม่ได้

         แต่มาตรา ๖๙ บัญญัติไว้ชัดว่า ทำได้ ถ้าทำโดย สันติวิธี ย่อมมีสิทธิ์ ทุกบุคคล

         ยิ่งเมื่อสิทธิ ของมวลมหาประชาชน ร่วมกันเป็นส่วนรวม นั่นแหละคือ พลังของอธิปไตย แท้ๆ ที่ชนชาวไทย จะต้องทำหน้าที่ตาม มาตรา ๗๐ ที่ว่า บุคคลมีหน้าที่ พิทักษ์รักษาไว้ซึ่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครอง ในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข  

         มาตรา ๗๑ ยิ่งเป็นหน้าที่ของชนชาวไทยกันทีเดียว ที่จะต้องช่วยกัน ทำหน้าที่ คือ บุคคลมีหน้าที่ ป้องกันประเทศ รักษาผลประโยชน์ชาติ และปฏิบัติตามกฎหมาย

         มาตรา ๖๓ บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบ และปราศจากอาวุธ

         โดยสงบ ก็คือ วิธีการที่ไม่รุนแรง หรือสันติวิธี ตามบทบัญญัติ ที่มีในรัฐธรรมนูญนี้ การจำกัดเสรีภาพ ตามวรรคหนึ่ง (ของมาตรา ๖๓) จะกระทำมิได้

         แต่ก็มียกเว้น ในกรณีการชุมนุมสาธารณะ นั้น ทำได้ เพราะยกเว้น เป็นต้น

         ซึ่งก็มีข้อยกเว้นอื่นอีก เช่น

         เพื่อคุ้มครองความสะดวกของประชาชน ที่จะใช้ที่สาธารณะ ก็ทำได้

         หรือ เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อย ในระหว่างเวลาที่ประเทศ อยู่ในภาวะสงคราม ก็ทำได้

         หรือในระหว่างเวลาที่ประเทศ อยู่ในภาวะสงคราม ก็ทำได้

         หรือในระหว่างเวลาที่มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือประกาศ ในกฎอัยการศึก ก็ทำได้

         ซึ่งมาตรา  ๖๒ นั้น บุคคล ย่อมมีสิทธิ์ติดตาม และร้องขอ ให้มีการตรวจสอบ การปฏิบัติหน้าที่ ของผู้ดำรงตำแหน่ง ทางการเมือง หน่วยงานของรัฐ และเจ้าหน้าที่ของรัฐ

         และบุคคล ซึ่งให้ข้อมูล โดยสุจริต แก่องค์กรตรวจสอบ การใช้อำนาจรัฐ หรือหน่วยงานของรัฐ เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ ของผู้ดำรงตำแหน่ง ทางการเมือง หน่วยงานของรัฐ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ย่อมได้รับการคุ้มครอง

         โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มาตรา ๕๘ บัญญัติ ไว้ถึงสิทธิของบุคคลชัดๆว่า บุคคลย่อมมีสิทธิ์ มีส่วนร่วม ในกระบวนการพิจารณา ของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ในการปฏิบัติ ราชการทางปกครอง อันมีผล หรืออาจมีผลกระทบ ต่อสิทธิและเสรีภาพของตน และมาตรา ๕๙ รัฐธรรมนูญ ให้สิทธิแก่บุคคล ย่อมีสิทธิเสนอเรื่องราว ร้องทุกข์ และได้รับแจ้งผล การพิจารณา ภายในเวลาอันรวดเร็ว อีกด้วย

         แถมมาตรา ๖๐-๖๑-๖๒ ก็ยิ่งให้สิทธิ์แก่บุคคล อย่างบริบูรณ์ ที่จะฟ้ององค์กร ทุกองค์กร ที่เป็นของรัฐ ตามนิตินัย

         ที่จะพิทักษ์รักษาสิทธิ์
         ที่จะได้รับการคุ้มครอง
         ดังนั้น เมื่อไม่มีบทบัญญัติ แห่งรัฐธรรมนูญนี้ บังคับแก่กรณีใด ตาม มาตรา ๗
         ก็ให้ วินิจฉัยกรณีนั้นไปตามประเพณีการปกครอง ระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข
         เช่น ไม่มีบทบัญญัติ ว่า ให้ประชาชนปฏิวัติ หรือ ยึดอำนาจรัฐ
         แต่ อำนาจประท้วง ต่อต้าน เปลี่ยนแปลง หรือปฏิรูป ให้มีคณะบริหาร และคณะสภาใหม่ นั้น มีในรัฐธรรมนูญนี้

         ซึ่งประเพณี การปกครอง ขนบธรรมเนียม ที่เคยเกิด เคยทำมาแล้ว ก็เคยมีประเพณี การปฏิวัติ ด้วยอำนาจ ที่ต้องใช้คำว่า อำนาจที่เป็น Force ของคณะทหาร เป็นต้น หรือเมืองไทยเคยมี คณะราษฏร์ ที่ฝรั่งเรียกว่า coup d' Etat หรือรัฐประหาร ก็เคยมี  คณะผสมผสานกัน ก็เคยมากมาย หลายครั้ง ที่ปฏิวัติยึดอำนาจ เปลี่ยนอำนาจ กันมาเป็นประเพณี ซึ่งได้ใช้ “สิทธิอันไม่ชอบธรรม” แท้ๆด้วย ที่จริงนั้น ละเมิดสิทธิ อันชอบธรรม ไม่ใช่ได้สิทธิ

         ทั้งๆที่ การยึดอำนาจ เพื่อเปลี่ยนแปลง หรือปฏิรูป คณะบริหาร และคณะรัฐสภาใหม่ ที่เคยยึดอำนาจ มาด้วยอำนาจ Force อันเป็นอำนาจรุนแรง บังคับข่มขี่ นั้น ผิดกฎหมาย

         ไม่มีสิทธิจะทำ

         แต่คณะที่ปฏิวัติด้วยอำนาจ บังคับข่มขี่ ซึ่งผิดกฎหมาย และไม่มีบทบัญญัติ อนุญาต ให้ยึดอำนาจ หรือขออำนาจ จากคณะรัฐบาลเลย แต่ก็ทำกันได้ และยอมรับกันมาแล้ว เป็นตัวอย่าง เป็นขนบประเพณีที่จำยอม เคยยอมกันมาแล้ว ใช้ “สิทธิ” อันไม่ชอบธรรม นั้นมาหลายครั้งได้ เป็นประเพณี

         ประเพณี แปลตาม พจนานุกรม ราชบัณฑิตยสถานว่า สิ่งที่นิยม ถือประพฤติปฏิบัติ สืบๆกันมา จนเป็นแบบแผน ขนบธรรมเนียม หรือ จารีตประเพณี

         ซึ่งไม่น่านิยม แต่ก็กลายเป็นนิยมไปแล้ว คือ มันเป็นการ “ประพฤติ” มันเป็นการกระทำ ที่รับรู้ทั่วกันแล้ว แน่นอน หรือยอมรับนับถือ ถึงขั้นชื่นชมยินดี ในบางครั้ง บางเรื่อง ไปแล้วด้วย

         เป็นแบบ เป็นอย่าง ขึ้นมาในโลกแล้ว นั่นเอง

         ทีนี้ การประพฤติของมวลมหาประชาชน คราครั้งนี้ ในพ.ศ.นี้ ประชาชนเอง ที่รวมตัวกันเป็น หมู่มวลมหา ประชาชน ออกมา “ยึดอำนาจ”  ขอเปลี่ยนแปลง คณะรัฐบาล คณะรัฐสภา ใหม่บ้าง

         อย่างถูกกฎหมาย ไม่ผิดกฎหมาย

         เพราะมวลมหาประชาชน ขอยึดด้วย อำนาจอันชอบธรรม ด้วยอำนาจ Authority ซึ่งเป็น Sovereign power ซึ่งเป็น Supreme แล้ว เพราะเป็นสุดยอด แห่งรัฐาธิปัตย์ ตาม มาตรา ๒ และมาตรา ๓ แท้ๆที่มีบัญญัติไว้ ในรัฐธรรมนูญนี้

         มวลมหาประชาชน รวมตัวกันออกมาแสดงความประสงค์ เปิดเผย ซื่อตรง ไม่มีอะไรซ่อนเร้น อะไรผิด อะไรถูก ก็แฉกันตรงๆ ขอเปลี่ยนแปลง ให้คณะเก่าออกไป จะปฏิรูปกันใหม่ โดยใช้สิทธิ อันมีอยู่แท้ ของมวลประชาชน และไม่ผิดกฎหมาย เลยด้วย

         แสดงปริมาณ ก็มีมากมายทำลายสถิติ ที่เคยมีมาในประเทศด้วย

         แสดงเชิงคุณธรรม ก็มีคุณภาพที่สงบ สันติ ถูกธรรม ยืนยันฝ่ายผิด และยืนยันฝ่ายถูก ชัดเจน ว่า ประชาชน มีส่วนถูก รัฐบาลมีส่วนผิด มากพอจริง  

         สมบูรณ์ได้คะแนนป่านนี้แล้ว

         ทำไมจะไม่มีสิทธิ ? เสมอภาคเท่า คณะปฏิวัติ ด้วยอำนาจ บังคับข่มขี่ ด้วยอาวุธ ยุทธภัณฑ์

         ที่อำนาจบาตรใหญ่ ที่ทำผิด ของคณะปฏิวัติ Force อันเป็นอำนาจรุนแรง coup d' Etatรัฐประหาร กดขี่บังคับนั้น ไม่ชอบธรรม เท่าอำนาจ ของมวลมหาประชาชน ที่ทำกันในครั้งนี้

         พลังอำนาจทั้งทางปริมาณ และคุณภาพคุณธรรม ของมวลมหาประชาชน ในคราครั้งนี้ ดีกว่า ถูกต้องกว่า ตามสากลกว่า อำนาจกดขี่ บังคับ ที่เคยทำกันมาก ซึ่งปฏิวัติด้วยอำนาจ Authority ที่ Supreme เป็นSovereign right power

         ทำไมไม่ให้ “สิทธิ”

         ทำไม“สิทธิ”? แท้ๆของประชาชนที่มีเต็มๆ และแม้ใน รัฐธรรมนูญ ก็ถูกต้อง ตามนิติธรรมด้วย จึงถูกห้าม ถูกต้านกั้น ไม่ให้ทำได้บ้าง

         เป็นความไม่เสมอภาค ใช่มั้ย?

         ไม่ได้รับความคุ้มครองอย่างยิ่งกว่า คณะ Force คณะ coup d' Etat รัฐประหาร ที่ใช้อำนาจผิดๆ ดังที่เคยทำกันมา? ใช่มั้ย?

         ศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ของมวลมหาประชาชน และความเสมอภาค ทำไม ไม่ได้รับการคุ้มครอง ตามมาตรา ๔

         ในเมื่อไม่มี “บทบัญญัติ” แห่งการปฏิวัติเหมือนกัน แต่อำนาจของคณะปฏิวัติ ที่ใช้อาวุธไม่สงบ ที่ผิดกฎหมาย กลับต้องจำยอม ให้มี “สิทธิ” ทำได้มาแล้ว ไม่รู้กี่ครั้ง จนเป็นประเพณี ที่ไม่น่านิยม ก็มีบ้างในบางครั้ง ที่เป็นที่น่านิยม ของมวลประชาชน

         ส่วนอำนาจของคณะปฏิวัติที่ไม่ใช้อาวุธ สงบ ไม่ผิดกฎหมาย “มีสิทธิ” ทำได้ตาม รัฐธรรมนูญ มาตรา ๖๓-๖๔-๖๕ และ มาตรา ๗๐

         สร้างเจตนารมณ์ทางการเมืองของประชาชนตาม มาตรา ๖๕ ย่อมมีเสรีภาพทำได้

         การกำจัดเสรีภาพจะกระทำมิได้ตาม มาตรา  ๖๔

         แม้ มาตรา  ๖๖-๖๗ ก็ย่อมมีความหมายสมคล้อย ที่สิทธิเสรีภาพ ของมวลมหาประชาชน ที่รวมกันชุมนุม รักษาผลประโยชน์ ของประเทศ

         แม้แต่ มาตรา ๖๘ สิทธิ และเสรีภาพ ตามรัฐธรรมนูญ ก็เป็นวิธีการ ที่เป็นไปตามวิถีทาง ที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้

         โดยเฉพาะ มาตรา ๖๙ บุคคลย่อมมีสิทธิ ต่อต้าน โดยสันติวิธี ซึ่งการกระทำใดๆ ที่เป็นไปเพื่อให้ได้มา ซึ่งอำนาจ ในการปกครองประเทส โดยวิธีการซึ่ง มิได้เป็นไป ตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ ในรัฐธรรมนูญนี้

         นั่นคือ “การปฏิวัติโดยประชาชน” ซึ่งเป็นการกระทำ ที่เป็นไป หรือมี “วิถีทาง” เพื่อให้ได้มา ซึ่งอำนาจ ในการปกครองประเทศ โดย “วิธีการ” ซึ่งมิได้เป็นไปตาม“วิถีทาง” ที่บัญญัติไว้ ในรัฐธรรมนูญนี้

         บุคคลย่อม มีสิทธิต่อต้าน โดยสันติวิธี

         นี่คือ เป็นไปตาม “รัฐธรรมนูญนี้” ตามหลักนิติรัฐ นิติธรรม

         บัญญัติไว้ใน มาตรา ๖๙ ชัดๆ ยืนยันอยู่โต้งๆ โทนโท่ เห็นไหม?

         แถม มาตรา  ๗๐-๗๑ เป็นหน้าที่ของชนชาวไทย อีกด้วย

         เห็นไหมว่า เป็นหน้าที่ของชนชาวไทย ตามกฎหมาย ตามรัฐธรรมนูญนี้

         ประชาชนชาวไทย จึงออกมาทำหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ ออกมาใช้สิทธิต่อต้าน โดยสันติวิธี

         ในเมื่อ ไม่มีบทบัญญัติ แห่งรัฐธรรมนูญนี้ บังคับแก่กรณีใด

         ก็หมายความว่า มิได้ เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ ในรัฐธรรมนูญนี้

         รัฐธรรมนูญไม่ได้บัญญัติวิถีทาง ว่า ปฏิวัติ ยึดอำนาจ ต้องทำอย่างนี้ ต้องปฏิบัติตามทางนี้ ตามวิถีนี้ นั่นคือ บัญญัติ ไม่มีชัดเจน ในรัฐธรรมนูญนี้

         ดังนั้นจึงเท่ากับ บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ ไม่มี

         การบังคับในกรณีนี้ จึงไม่มี

         เมื่อไม่มี ก็ให้วินิจฉัยกรณีของ กปปส. ที่ประพฤติ กระทำอยู่นี้ ให้เป็นไปตาม ประเพณีการปกครอง ระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข

         ทีนี้ ประเพณี ซึ่งหมายถึง สิ่งที่นิยม ถือประพฤติปฏิบัติ สืบๆกันมา จนเป็นแบบแผน ขนบธรรมเนียม หรือ จารีตประเพณี

         อันไม่น่านิยม คือ  การยึดอำนาจ ด้วยอำนาจ Force หรืออำนาจของ คณะปฏิวัติ คณะรัฐประหาร coup d' Etat ที่ได้ทำกันมา จนเกิดธรรมเนียม การเปลี่ยนแปลง คณะบริหารกันมาแล้ว ตลอดมา

         ไม่ถูกกฎหมาย ด้วยซ้ำ แต่ประเทศไทยก็ยอม ต่อ “อธิปไตย” หรืออำนาจ ที่ไม่ชอบธรรมนั้น

         วันนี้ ขณะนี้ ประชาชนรวมตัวกัน เป็นพลังประชาธิปไตย ออกมาปฏิวัติ ตามกฎหมาย ชอบธรรมด้วย จึงควรเป็น “ขนบ” ที่ดีงาม

         ตาม มาตรา ๖๙ ทั้ง ๒ นัย

         คือ นัยที่ ๑ ถ้า...การกระทำใด ๆ ที่เป็นไปเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจ ในการปกครองประเทศ โดย...

         มีผู้ใช้ วิธีการซึ่งมิได้เป็น ไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ ในรัฐธรรมนูญนี้

         บุคคลย่อมมีสิทธิต่อต้านโดยสันติวิธี นี่เป็นนัยที่ ๑ ตาม มาตรา ๖๙  เราก็ทำอยู่แล้ว

         ทีนี้ นัยที่ ๒ นี่แหละที่ลึกซึ้งซับซ้อนหน่อย

         กล่าวคือ ตามนัยที่ ๑ นั้น คณะรัฐบาลปัจจุบันนี้ ก็ทำผิดแล้ว มิได้เป็นไป ตามวิถีทาง ที่บัญญัติไว้ใน รัฐธรรมนูญนี้ แล้ว มวลมหาประชาชน ก็ออกมาต่อต้าน ด้วยสันติวิธีอยู่แล้ว.... นัยนี้ก็ถูกต้อง ชอบธรรมแล้ว ตามรัฐธรรมนูญนี้

         ส่วนประเด็นที่ว่า การกระทำใดๆ ที่เป็นไปเพื่อให้ได้มา ซึ่งอำนาจ ในการปกครองประเทศ โดยวิธีการ ซึ่งมิได้เป็นไป ตามวิถีทาง ที่บัญญัติไว้ ในรัฐธรรมนูญนี้ นั้น เรากำลังปฏิวัติ เพื่อให้ได้มา ซึ่งอำนาจจริง

         พวกเราชาวคณะ กปปส.กับมวลมหาประชาชน กำลังต่อต้าน เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจ ในการปกครองประเทศ โดยวิธีการ “ปฏิวัติ” ของเราชาว มวลมหาประชาชน มิได้เป็นไป ตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ ในรัฐธรรมนูญนี้ แต่เรา “ประชาชนปฏิวัติ” เองโดยรัฐธรรมนูญ ไม่ได้บัญญัติวิถีทางไว้ ซึ่ง เป็นการต่อต้าน โดยสันติวิธี

         เราก็จะจัดการให้เกิดระบบการปกครองใหม่ขึ้นมาให้ดี อย่างบริสุทธิ์ ที่สุด ดีที่สุด เท่าที่จะทำได้ จนกว่า จะได้คณะปกครองบริหาร หรือ สภานิติบัญญัติ ที่ดีเรียบร้อย แล้วคณะเราประชาชน ที่จัดการนี้ ก็จะหยุด... วางมือทันที

         แล้วให้คณะบริหาร คณะนิติบัญญัติ และคณะตุลาการ ที่เป็นคณะใหม่ อันได้ปฏิรูป เรียบร้อยแล้ว ให้ทำงานอย่างสัมบูรณ์

         เพราะคณะสภาประชาชน ที่ก่อการอยู่นี้ เหมือนคณะก่อการ ตั้งบริษัทจำกัด เมื่อตั้งบริษัทเสร็จ มีคณะกรรมการถาวร มีคณะทำงาน สมบูรณ์เรียบร้อย “คณะก่อการ” ก็สลายเลิกล้มไป

         ขณะนี้คล้ายๆกับเรากำลัง ร่าง บริคณห์สนธิ ในการก่อตั้งบริษัท เมื่อได้สภาประชาชน เราก็ได้ คณะกรรมการก่อการ เมื่อคณะก่อการ จัดการทุกอย่าง เรียบร้อย เลือกตั้งกรรมการถาวร มีคณะกรรมการ ทำการบริษัท อันสมบูรณ์ ก็มอบหมายให้ คณะบริหารถาวร คือคณะรัฐบาลใหม่ต่อไป คณะกรรมการก่อการ ก็วางมือจบ

         ฉันใดก็ฉันนั้น

         เรื่องใหม่มากคือ คณะ กปปส. นี้เป็นสภาประชาชน ที่ยังไม่เคยเกิดมาก่อน จึงยังไม่เคยมี ประเพณี ที่ยึดอำนาจ ด้วยมือเปล่า ด้วยความสงบ สันติวิธี แบบนี้เป็น “ขนบ” ธรรมเนียม ประเพณีให้เป็น

         แต่คราวนี้ ครั้งนี้แหละ กำลังจะมีเป็นครั้งแรก ที่ทำได้ ปฏิบัติได้ อย่างวิเศษ วิสุทธิ์ วิศิฏฐ์ ขนาดนี้ เห็นแล้ว ปรากฏแล้ว

         ซึ่งมหัศจรรย์ที่สุด จนคนไม่เชื่อว่าจะจริง จะบริสุทธิ์จริง จะทำได้จริง

         ทั้งๆที่ คณะกปปส.นี้ ได้ต่อต้าน ต่อสู้มาอย่างอุตสาหะ เรียบร้อย เป็นไปได้ ใช้เวลานาน มาถึงครึ่งปีกว่า คือกว่า ๒๐๐ กว่าวันแล้ว เรียบร้อยมาตลอด ชอบธรรมมาตลอด

         ส่วนที่เกิดความเสียหาย ล้มตายบาดเจ็บนั้น มันไม่ใช่เกิดจากเรา กปปส. แต่เกิดจาก ฝ่ายรัฐบาล และผู้ช่วยรัฐบาล หรือ ผู้ไม่ใช่ฝ่าย กปปส. แท้ๆตรงๆ เป็นผู้ทำให้เกิด ความเสียหาย เหล่านั้น

         ดังนั้น กปปส. จึงเป็นคณะประชาชน ที่ประพฤติต่อต้าน โดยสันติวิธี ที่มี วิธีการ ซึ่งมิได้เป็นไปตาม “วิถีทาง” ที่บัญญัติไว้ ในรัฐธรรมนูญนี้ นั่นคือ ทำการยึดอำนาจ มาจัดการเอง ที่ไม่เหมือนคณะทหาร ใช้อาวุธปฏิวัติ ซึ่งทหารปฏิวัตินั้น ไม่ชอบธรรม แต่คณะกปปส. ปฏิวัติโดยชอบธรรม ส่วนคณะทหาร ที่ใช้อาวุธปฏิวัตินั้น ผิดอำนาจอธิปไตย ผิดกฎหมาย เป็นกบฎ

         หากใครจะมองไปเป็นว่า คณะ กปปส. ปฏิวัติเพราะใช้ “อำนาจ” ยึด...ก็ถูกต้อง เพราะไม่ผิดกฎหมาย ไม่เหมือน คณะปฏิวัติ ที่ใช้อาวุธ ใช้อำนาจ Force หรืออำนาจ coup d' Etat (คู เดทา) รัฐประหาร ที่ไม่สันติวิธี

         คณะ กปปส. ใช้ “อำนาจที่ชอบธรรม” จึง วิเศษ วิสุทธิ์ วิศิฏฐ์ เพราะใช้ “อำนาจ” ยึดอย่าง ถูกต้อง สวยงาม ดีจริง เป็น Authority ที่ Sovereign right power =  supreme ยิ่งแล้ว

         จึงควร จะเกิดเป็น “ขนบ” ประเพณี อันสวยงาม แม้จะเป็นครั้งแรก ก็ควร จะเกิดขึ้น ใช่มั้ย?

         เพราะเป็นการแสดงออก ซึ่ง “อำนาจ” ที่เป็น “อธิปไตยของชนชาวไทย” ตรงตาม มาตรา  ๓ +มาตราอื่นๆ อีกมาก และ มาตรา ๖๙ อย่างลึกซึ้ง ด้วยประการฉะนี้

         จึงใช้มาตรา ๗ ได้อย่างเต็มที่ โดยมีมาตราอื่นๆ ประกอบสมบูรณ์ เช่น ม.๔-๖ ก็ต้องใช้ / มาตรา ๒๖-๔๐ ก็ต้องใช้ / มาตรา ๖๓-๗๔ ก็ต้องใช้ เป็นต้น

         จึงควรเป็น “ประเพณี” อัน วิเศษ วิสุทธิ์ วิศิฏฐ์  อย่างไม่เคยมีมาก่อน แม้ครั้งแรกนี้ จะบกพร่องบ้าง ไม่สวยสดงดงาม สะอาดบริสุทธิ์ กว่านี้

         ก็หวังว่า จะเป็นการเริ่มต้น เกิด “อำนาจเป็นของ ปวงชนชาวไทย” ตาม มาตรา ๓ ที่จะเกิด “ประเพณีการปกครอง” ที่เป็นระบอบ ประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข สืบไป

         ที่ไม่ระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาทเลย

         คณะ กปปส. ซึ่งเป็นประชาชนคณะแรก ที่เป็นกลุ่มชนได้ใช้ “อำนาจ” อธิปไตย เป็นของประชาชน เพื่อประชาชน โดยประชาชนจริงๆ

         แม้ไม่มีในบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ แต่พฤติปฏิบัติ ก็ชอบธรรม และสารสัจจะ แสนรู้ยาก ทำได้ยาก

         แม้ว่าจะไม่มีบทบัญญัติ แห่งรัฐธรรมนูญนี้ เป็นคำความภาษา ระบุตรงๆ ประชาชนในประเทศ ก็ได้ช่วยกัน วินิจฉัย

         ทั้งตาม “ประเพณี” ที่เคยมีมาก่อน อันยังไม่ถูกต้องนัก ในการปฏิวัติ หรืออำนาจ coup d' Etat รัฐประหาร อันรุนแรง ไม่ใช่สันติวิธี เพราะยังเป็นอำนาจ Force

         กระทั่งที่สุด ประชาชนได้ปฏิวัติ อย่างถูกต้อง ชอบธรรมจริงๆ เป็นอำนาจ Authority ชนิดสันติวิธี ที่ไม่เคยทำได้มาก่อน 

         ถ้าทำสำเร็จ ได้ครานี้ ก็เป็นความมหัศจรรย์ อัน วิเศษ วิสุทธิ์ วิศิฏฐ์  แท้แน่แล
        
         สรุปเอาเนื้อหา มาตรา ๖๙ นี้ ก็คือ

- คณะ กปปส. ย่อมมีสิทธิต่อต้าน โดยสันติวิธี และทำได้ถูกต้อง ตามรัฐธรรมนูญนี้ ยิ่งกว่า คณะอื่นๆ ที่เคยมีขนบ ทำการต่อต้าน ที่เป็นไป เพื่อให้ได้มา ซึ่งอำนาจ หรือ ยึดอำนาจ ในการปกครองประเทศ

-ส่วนคณะรัฐบาล และคณะนิติบัญญัติหรือรัฐสภา นั้น โมฆะ ไปแล้ว ตาม มาตรา ๖๘ เป็นต้น และมาตราอื่น ต่างกรรม ต่างวาระ

จึงไม่ชอบธรรม ที่จะอยู่ในอำนาจ ในการปกครองประเทศ ต่อไปอีกแล้ว

            เพราะฉะนั้น “สิทธิ” ของมวลมหาชน ที่รวมตัวกัน เป็นคณะ กปปส. ต่อต้านโดยสันติวิธี จึงเป็นการกระทำ ที่เป็นไป เพื่อให้ได้มา ซึ่งอำนาจ ในการปกครองประเทศ

            ที่ชอบธรรมที่สุด กว่า การกระทำใดๆ ของคณะใดๆ
 แม้คณะรัฐบาล และคณะรัฐสภา จะมาด้วยการเลือกตั้ง ตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ ในรัฐธรรมนูญนี้ แต่ก็ โมฆะแล้ว เพราะได้ทำ ความไม่ชอบธรรม มามากเกินไปแล้ว
        
         ส่วนคณะมวลมหาประชาชน กปปส. คือผู้ดำเนินการกระทำ ที่เป็นไปเพื่อให้ได้มา ซึ่งอำนาจ ในการปกครอง (ใหม่) โดยวิธีการ ซึ่งมิได้เป็นไป ตามวิถีทาง ที่บัญญัติไว้ ในรัฐธรรมนูญนี้

         แต่ก็ต่อต้านด้วยสันติวิธี อันเป็น Supreme ที่สุดกว่าคณะใด

         เป็น Supreme right power สูงสุดกว่าคณะใดๆ แล้ว

         เท่าที่มีการกระทำอันเป็นขนบประเพณีที่เคยมีมา

         จึงเป็นคณะผู้เป็นเจ้าของอำนาจ ตาม มาตรา ๓ ย่อมมีสิทธิต่อต้าน โดยชอบธรรม ตามมาตรา ๖๙ เพราะกระทำ ถูกต้องตาม มาตรา ๖๓ มาตรา ๗๐

         ที่มีวิธีการอัน สันติ อหิงสา ได้ดีที่สุด กว่าที่เคยมีการกระทำ ของคณะใดๆ เป็นปฐมฤกษ์ อันเป็นวิถีทาง ที่จะเป็นขนบประเพณี ในการปฏิบัติ

         แม้ไม่ได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้

         เช่นบัญญัติให้ประชาชนปฏิวัติได้ เป็นต้น คณะกปปส. ก็ได้กระทำดีที่สุด ชอบธรรมที่สุดแล้ว

         เท่าที่ได้อุตสาหะพยายามกระทำมาถึงวินาทีนี้

         ซึ่งเป็นการกระทำของมวลมหาประชาชนคนไทย ที่ วิเศษ วิสุทธิ์ วิศิฏฐ์ ยิ่งแล้วเท่าที่เคยมีมา

         จงพากันภาคภูมิใจในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข โดยถ้วนหน้าเทอญ.

 

แล้วจะจบอย่างไร จะสำเร็จได้ก็คือ

.ประชาชนออกมามากพอ แม้นายกฯไม่ออก แต่ข้าราชการ ออกมารวมกับเรา ทั้งทหาร ตำรวจด้วย ก็จบแน่นอน ซึ่งก็นึกกันได้ แต่ยังไม่เคยมี ออกมาเฉยๆ ไม่รับใช้คุณ คุณโมฆะแล้ว ดิ้นเป็นอึ่งอ่าง พองลมแล้ว กิเลสดิ้น สุดฤทธิ์เลย

.เขาลาออก หรือเขาจำนน ยอมให้เกิดสุญญากาศ ยกอำนาจให้ กปปส.​ ซึ่งถ้าเขาทำ ก็จะเท่นะ เหมือนศาล ที่บอกว่า ถ้าจำเลย สารภาพ ก็ลดหย่อนโทษ เป็นทางออก ที่ดีมากเลย

.ไม่บ้าก็ฆ่าตัวตาย

         ประเด็นที่อาตมาว่า จะเป็นไปได้มากก็คือ ประชาชนออกมา ร่วมมือกันให้มาก นี่แหละ ตอนนี้ก็มีมา เริ่มมา หลายหน่วยงานแล้ว ซึ่งลาภยศสรรเสริญ เป็นอันตราย อันแสบเผ็ด แม้พระอรหันต์

         พระพุทธเจ้าท่านเอง สรรเสริญคนที่รู้ผิดตนเอง แล้วแก้กลับ ทำคืน อันนั้นเป็นความเจริญ ดีที่สุด ส่วนลาภ สักการะ สรรเสริญ พวกนี้ เป็นอันตราย อันแสบเผ็ด แม้พระอรหันต์ คือ มันไม่แสบเผ็ด กับใจอรหันต์ แต่เป็นความแสบเผ็ด ทางภายนอก อรหันต์ก็มีทุกข์ ที่เลี่ยงไม่ได้ อรหันต์ของพุทธ ไม่หนีสังคม ยกตัวอย่าง พระพุทธเจ้า หรือพระโมคคัลลานะ ก็ถูกฆ่าตาย ในสนามรบ เพื่อสร้างศาสนา ฉันเดียวกับประเทศ พระเจ้าอยู่หัวทุกพระองค์ เอาเลือดเนื้อ สร้างประเทศ ทั้งนั้นเลย

          มาเข้าเรื่อง รูป ๒๔

         รูปคือสิ่งที่ถูกรู้ กระทำในขณะลืมตา เป็นจิตที่มีญาณปัญญารู้ ทุกอย่าง เมื่อสัมผัสข้างนอก ก็จะเกิดความรู้ใน กายวิญญัติ คำว่ากายนี้ ในสัตตาวาส ๙ คือความเป็นสัตว์ ที่มีองค์ประชุม รวมกัน คุณต้องอ่านกายเป็น

         หทยรูป นั้นไม่ใช่หมายถึง หัวใจที่กายภาพ เป็นห้องๆสี่ห้อง แต่ที่อาตมามีสภาวะนั้น จิตนั้นไม่มีที่อยู่ ให้จับต้องได้ ด้วยกาย แต่อยู่ที่ เหตุปัจจัย ที่เกิดขึ้น แล้วมีชีวิตรูป คือที่มีชีวิตอยู่ ถ้ายังเหลือความเป็นสัตว์ ก็มีสุขทุกข์อยู่ แต่ถ้าไปปฏิบัติผิด ก็เป็นอสัญญีสัตว์ ซึ่งดับแบบ ไม่มีฝันเลย เหนือกว่า วิสัญญีแพทย์ ที่ดับเหมือนกัน แต่มีฝันอยู่ ใช้กับร่างกาย ส่วนอสัญญีสัตว์นั้น เป็นสัตว์ดำมืด เขาถือว่าเป็น นิโรธมืด ส่วนเนวสัญญานาสัญญายตนสัตว์นั้น ก็ดับได้สูงสุดของฤาษี ได้แค่นี้แหละ

         ของพระพุทธเจ้านั้น นิโรธแบบรู้ทั้งรู้ สว่าง มีจักขุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง

         ผู้ปฏิบัติถูกจะรู้ว่า อสัญญีสัตว์ เป็นแบบไหน มันหมดทุกอย่าง ไม่รับรู้ทุกอย่างเลย แต่ของพุทธนั้น รู้ทุกขั้นตอน

         โดยเฉพาะคำว่า กาย นั้นสำคัญ ต้องรู้กายนี้ เน้นที่นามธรรม ว่าต่างกันอย่างไร

         รู้ว่า โลกุตระกับโลกียะนั้นต่างกันอย่างไร

         สัตตาวาสข้อ ๑ กายต่างกัน สัญญาต่างกัน ชาวโลกุตระกับชาวโลกียะ ก็กำหนดกายต่างกัน กำหนดต่างกัน บางสำนัก ก็กำหนดไม่เป็น ไม่รู้สัตว์ทางจิตวิญญาณ ไม่ชัด ไม่แม่น กำหนดกายไม่ถูกสภาวะ ก็กำหนดสัตว์นรก ล้างสัตว์นรกไม่ได้ เทวดาก็กำหนดไม่รู้

๑.       สัตว์บางพวก กายต่างกัน  สัญญาต่างกัน  เช่น พวกมนุษย์  เทพบางเหล่า พวกวินิปาติกะ บางเหล่า
๒.       สัตว์บางพวก มีกายต่างกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน   เช่น  เหล่าเทพจำพวกพรหม  ผู้เกิดในภูมิ ปฐมฌาน เป็นต้น ฌานคือไม่มีสัตว์นรก ที่เป็นนิวรณ์​๕ พวกนั่งหลับตา จะรู้แต่ ถีนมิทธะ กับอุทธัจจะ แต่ว่าจะไม่รู้ กามกับพยาบาท เพราะไม่ได้ สัมผัสจริง อาการกามเกิด ก็ไม่ได้อ่านจิต อย่างเก่ง ก็เดาเอา องค์ประชุมแบบ พุทธกับฤาษีนั้น ต่างกัน คือกายต่างกัน หรือกายของโลกุตระ กับโลกียะ ต่างกัน กายคือ องค์ประชุมของจิต
๓.       สัตว์บางพวก มีกายอย่างเดียวกัน แต่มีสัญญาต่างกัน  เช่น พวกเทพสว่าง อาภัสราพรหม  (ว่าง ใส สว่าง แผ่กว้าง) 
๔.       สัตว์บางพวก มีกายอย่างเดียวกัน  มีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่น พวกเทพมืด สุภกิณหพรหม (ได้นิโรธมืดเป็นโชค)๑ สัตว์บางพวก กายต่างกัน  สัญญาต่างกัน  เช่น พวกมนุษย์  เทพบางเหล่า พวกวินิปาติกะ บางเหล่า
๒.       สัตว์บางพวก มีกายต่างกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน   เช่น  เหล่าเทพจำพวกพรหม  ผู้เกิดในภูมิ ปฐมฌาน เป็นต้น
๓.       สัตว์บางพวก มีกายอย่างเดียวกัน แต่มีสัญญาต่างกัน  เช่น พวกเทพสว่าง อาภัสราพรหม  (ว่าง ใส สว่าง แผ่กว้าง) 
๔.       สัตว์บางพวก มีกายอย่างเดียวกัน  มีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่น พวกเทพมืด สุภกิณหพรหม (ได้นิโรธมืด เป็นโชค)
๕.       สัตว์บางพวก ไม่มีสัญญา ไม่เสวยอารมณ์  เช่น เทพจำพวก “อสัญญีสัตว์” (อุทกดาบส ทำนิโรธสมาบัติ ดับจนไม่รับรู้อะไร)
๖.       สัตว์บางพวก เข้าถึง.. อากาสานัญจายตนะ (พ้นรูปสัญญา)
๗.       สัตว์บางพวก เข้าถึงชั้น.. วิญญาณัญจายตนะ (พ้นเสพความว่าง)
๘.       สัตว์บางพวก เข้าถึงชั้น.. อากิญจัญญายตนะ (ดับดิ่งไม่มีอะไร) 
๙.       สัตว์บางพวก.เข้าถึงชั้น.. เนวสัญญานาสัญญายตนะ (ดับๆ รู้ๆ)

         ส่วนของพุทธนั้นพ้นจากเสนวสัญญาฯ เข้าสู่สัญญาเวทยิตนิโรธ... รู้ละเอียดละออ หมดจนเคล้าเคลียอารมณ์
         การจะบรรลุได้นั้นต้อง สัมผัสวิโมกข์ ๘ ด้วยกาย
         ตั้งแต่ข้อที่ ๑ ถึง ๘

         แม้คำว่า ปีติ ก็จะหลุดไป โลกียะนั้นดีใจ ที่ได้สมใจ สมกิเลส แต่โลกุตระนั้น ดีใจที่ได้ลดกิเลส แม้จางคลาย ก็รู้ อย่างนิโรธานุปัสสี ไม่มีสีสัน เส้นแสง สรีระหรอก แต่เห็นด้วย อาการ ลิงค นิมิต อุเทส

       
 

   www.asoke.info