570409_ทวช.งานปลุกเสกฯครั้งที่ ๓๘ โดยพ่อครูสมณะโพธิรักษ์
เรื่อง สัจจะที่ปรากฏ ตอนที่ ๓

     วันที่ ๔ ของงานปลุกเสกฯ แล้ว คนก็มาเพิ่มขึ้น เป็นความเจริญ เรามาต่อเรื่อง สัจจะที่ปรากฏ

     เหตุการณ์ที่เรามาประท้วง ชุมนุมเราก็มาสัมผัส ทางทวาร ๖ ซึ่งมีการร่วมปรุงแต่ง แม้ต้นเสา มันก็มาร่วมอยู่ ในการปรุงแต่ง แต่มันไม่รู้เรื่อง มันก็ไม่มีกายสังขาร คำว่ากาย ไม่ได้หมายถึง ดินน้ำไฟลม เช่นเต๊นท์ มันไม่ใช่กาย

     คำว่า กาย ในความเข้าใจของคนไทยคือ โครงร่างภายนอก เมื่อพูดถึง กายในกาย ของสติปัฏฐาน ๔ ก็ยังนึกถึง รูปนอก เช่นคำว่า กายในกาย ก็เข้าใจไปแค่ ภายนอก

     ทั้งที่บอกว่า กาย คำเดียวกัน ก็เข้าใจไปคนละอย่าง สัญญาต่างกัน กำหนดหมาย ต่างกัน เมื่อเข้าใจ แค่ว่ากาย คือโครงร่างนอก ก็จะไปอ่าน ความเป็นสัตว์ ต่างกันไป

     เช่นสัตว์นรก หากยังไม่เห็นรูปร่าง ก็คือเรียกว่า นิรมานกาย แปลว่า กายที่สร้างขึ้น กายที่ว่านี้ จริงๆหมายเอา นามธรรมเป็นหลัก หากมีแต่รูป หรือโครงร่าง ดินน้ำไฟลม หากไม่มี นามธรรม ก็ไม่เรียกว่า กาย

     นาม คือ ธาตุรู้ที่เป็นชีวะ ในระดับ จิตนิยามด้วย ไม่ใช่แค่ พีชะ
     คำว่า กาย ที่เป็นนามธรรม เช่น ในสัตตาวาส ๙

     กายนอกกาย ก็คือยังเนื่องอยู่กับรูปนอก แล้วถ้าเป็น กายในกาย ก็เลื่อนเข้ามาภายใน มีทั้ง เวลาปฏิบัติ จึงไม่จำเป็นต้อง กระทบรูป หลับตาเสีย แล้วก็พิจารณา ธาตุ ความนึกคิดข้างใน ก็พิจารณา สัญญา แต่ถ้าลืมตา ก็รับรู้สัมผัส ทุกเวลาที่มันเปลี่ยนแปลง เคลื่อนไหว ก็พิจารณา อาการ สภาพทุกอย่าง ของมันได้ พร้อมกันนั้น คุณก็เลื่อนเข้าไปอ่านใน คือ กายในกาย ได้ เลื่อนเข้าไปเป็น เวทนาในเวทนา ในขณะสัมผัส เลื่อนเป็น จิตในจิต เป็นธรรมในธรรมได้

     คุณมีจิตเป็นอย่างไร ก็ทรงไว้เช่นนั้น เช่นจิตอรหันต์ คือทรงไว้ ซึ่งจิตบริสุทธิ์ คือสะอาด คือกุศลธรรม ธรรมะตายไป ก็ไปด้วย ถ้าไม่ตาย จิตทรงไว้ก็เอาไปด้วย ไม่ว่าจะไปไหน ทำอะไร มันก็ทรงไว้ เท่าที่คุณมี

     เมื่อเป็นจิต ก็คือองค์รวมของธาตุรู้ทั้งหมด พิจารณาจิตในจิต ในเจโตปริยญาณ ๑๖

     สราคาจิต ก็คือจิตมีราคะ ก็รู้ เมื่อคุณปฏิบัติ กดข่มไว้ ก็กดข่ม หรือไม่กดข่ม ก็พิจารณา ความไม่เที่ยง เช่นเพ่งดู ก็ดูราคะจิต มันแรงขึ้น ยิ่งกระทบ ก็ยิ่งอยากสัมผัส ก็อ่านอาการไม่เที่ยง มันเพิ่ม หรือลดลง มันลดก็อ่านมันได้ เห็นอนิจจัง เห็นจิตไม่คงที่ โดยเฉพาะอาการราคะ อยากได้มาสัมผัส

     หลับตาแล้วก็ไม่มีสัมผัส ราคะนั้นก็ไม่จริง ไม่เป็นราคะแท้ ที่สัมผัสสดๆ องค์ประชุม ของกาย ทั้งรูปกาย เหลือแต่สัญญาความจำ ความเป็นกายจึงไม่ครบ วิโมกข์ ๘ จึงไม่ครบ พระพุทธเจ้าว่า ผู้จะบรรลุอรหันต์ จะต้องครบสัมผัส มี กาย มีแต่นามกาย แต่ก็ต้องสัมผัส ด้วยกาย ความหมายนี้ จึงต้องการให้ครบองค์ประชุม

     อนาคามี ก็ต้องกระทบสัมผัส แล้วก็รู้ราคะของเรา มีรูปราคะ นั้นบางเบา ไม่ต้องการ สัมผัสภายนอกก็ได้ สัมผัสข้างนอกก็เฉย ไม่แรงกว่านั้น แต่ถ้าเผื่อว่า คุณยังมีแต่แค่ข้างใน จะไม่รู้ครบ เงื่อนไขหลัก ของพระพุทธเจ้า ผู้ปฏิบัติธรรมถึงเป็น กายสักขี เข้าใจไปว่า จิตของเรา สะอาด บริสุทธิ์แล้ว อย่างสายหลับตา ไม่เข้าใจกาย อย่างที่อาตมาพูด

     เข้าใจแค่ว่า กายเมื่อหลับตา ก็ไม่รู้แล้ว ที่จริงมันมีอยู่ แม้แต่ลืมตา แต่ก็คุณก็คิดว่า มีแต่ภายใน เท่านั้น รู้แต่ว่ากายคือ ภายในจิต เป็นนามธรรม ภายนอกไม่รู้เรื่อง ไม่สัมผัส หรือ สัมผัสอยู่ แต่ไม่รับรู้ มีแต่ในจิต คุณก็มีสิ่งเป็นสักขี เห็นจิตสะอาด แต่จิตคุณไม่ครบด้วยกาย ไม่สัมผัสพร้อมด้วยกาย

     การปฏิบัติที่มี วิโมกข์ ๘ เมื่อไม่ครบพร้อม ๖ ทวาร แล้วก็รับรู้ว่า จิตเราสะอาดอยู่ แม้กระทบอยู่ ทุกเวลาเลย เมื่อไรกระทบ ก็อ่านจิตว่า ไม่มีกิเลส ก็ได้พิจารณา ทุกปัจจุบัน ก็ไม่ได้ฝึก เพราะเอาแต่นั่งหลับตา แบบนี้พระพุทธเจ้า ไม่ยอมรับว่า เป็นอรหันต์ นี่คือ ความหมายของ กายสักขี ถ้าไม่สัมผัสวิโมกข์ ๘ ด้วยกาย แล้วเห็นด้วยปัญญาอันยิ่ง คือสัมผัส ผัสสะ ที่ทำให้เราเกิด กิเลส ๕. กายสักขี ผู้เป็นพยานด้วยนามกาย หรือผู้ประจักษ์กับตัว คือ ท่านที่ได้สัมผัส วิโมกข์๘ ด้วยกาย อาสวะบางส่วน ก็สิ้นไป เพราะเห็นด้วยปัญญา หมายเอา พระอริยบุคคล ผู้บรรลุโสดาปัตติผล แล้วขึ้นไป จนถึงเป็นผู้ปฏิบัติ เพื่ออรหัต ที่มีสมาธินทรีย์ แก่กล้า ในการปฏิบัติ

     ซึ่งสำคัญตรงที่ หากไม่ได้สัมผัส วิโมกข์ ๘ ด้วยกาย ก็ไม่ถึงอรหันต์ โดยเฉพาะในวิโมกข์ ๘ ข้อที่ ๒ คือต้องครบทั้ง กายนอกและกายใน อัชฌัตตัง อรูปสัญญี เอโก พหิทธา รูปานิ ปัสสติ
ในวิโมกข์ ๘ ข้อที่ ๒
๑. ผู้มีรูป(รูปฌาน) ย่อมเห็นรูปทั้งหลาย (รูปี รูปานิ ปัสสติ) จิตจะต้องรู้จักรูป (รูปคือ สิ่งที่ถูกรู้)
๒. ผู้ไม่มีความสำคัญในรูปภายใน (๑๐/๖๖) ย่อมเห็นรูปทั้งหลาย ในภายนอก (อัชฌัตตัง อรูปสัญญี เอโก พหิทธา รูปานิ ปัสสติ) . (พ่อครูแปลว่า มีสัญญาใส่ใจในอรูป คือรู้ทั้ง รูปภายนอก ไปจนถึง รูปภายใน ต้องเห็นทุกเวลา แม้ขั้นอรูป ก็ต้องใส่ใจกำหนด)

     สัมผัสวิโมกข์ ๘ ด้วยกาย ประกอบด้วย สัมมัปปัญญาอันยิ่ง คือบัญญัติภาษา ที่พระพุทธเจ้า ให้เราได้เรียนรู้ ความหมาย อันลึกซึ้งยิ่ง ในปรมัตถ์ ถ้าไม่เรียนและทำ อย่างสัมมาทิฏฐิ ไม่มีทาง ได้บรรลุ อรหันต์ แม้อาสวะบางอย่างสิ้น ก็ไม่มีทางได้เป็น อรหันต์

     ถ้าไม่ได้ยินภาษาอย่างนี้ ไม่เข้าใจความหมาย ที่อาตมาอธิบายนี้ ปฏิบัติเอาเอง ก็ไม่มีทางได้ บรรลุธรรม เป็นอรหันต์ ปฏิบัติให้ตาย อีกกี่ล้านชาติ ไม่มีทาง

     ผู้อธิบายได้คือผู้มี สยังอภิญญา หรืออย่างน้อย ก็ต้องมีสิ่งที่ ตนเองได้แล้ว เป็นแล้ว ปัจจัตตัง ได้ปฏิบัติมีผลเป็น สัมมาทิฏฐิ ตามที่พระพุทธเจ้าสอน รู้แจ้งของตนได้ จิตสะอาด จากอบาย สะอาดจาก สิ่งหยาบ ได้ เวลาจิตมันหมด มันจางคลาย มีนิโรธ ก็จะรู้ มีปหาน ๕ อย่างไร

     จะข่มไว้ด้วย วิกขัมภนปหาน หรือจะทำได้ชั่วคราวเป็น ตทังคปหาน เช่นอยากได้ เสพสัมผัส ได้ยินเสียงนี้ ก็อยากได้เสพ ถ้าได้โอกาส ก็จะคว้ามาเป็นของเรา แต่มันเป็นของเขา เราจะไป เอามาไม่ได้ ก็เป็นการข่มไว้ก่อน ทั่วไปทำโดยอัตโนมัติ ข่มเป็นทุกคน เป็นมารยาทสังคม คุณก็ต้อง ระมัดระวัง ข่มใจเป็นทุกคน เข้าใจง่ายเป็น วิขัมเภนปหาน

    ตทังคปหานเป็นวิปัสสนาวิธี สัมผัสรู้อยู่ แต่ทำให้กิเลสลดลง อย่างมีปัญญารู้ว่า กิเลสไม่เที่ยง อยากได้นี่ เป็นเหตุแห่งทุกข์ คุณอ่านรู้เข้าใจ อยากก็ไม่เที่ยง ไปอยาก เพราะคุณไปติดมัน แต่ถ้าไม่ติด เราก็ไม่ต้องอยาก สัมผัสก็ไม่อยากในจิตเลย เราเคยมีทุกคน มันพักยกได้ ไม่อยากสัมผัส ก็เฉยๆ เป็นธรรมชาติ ที่เกิดได้เป็น เคหสิตอุเบกขา

     แต่อุเบกขา ที่ออกจากกิเลส เมื่อเราทำได้ แม้สัมผัสอยู่ ก็รับรู้ตามประสาทสัมผัส รับรู้ ตามสมมุติ แต่อ่านซ้อนว่า อาการกิเลสตัณหาไม่มี ซึ่งมันไม่มีรูปร่าง เส้นแสงสี แต่เราต้อง ใช้ใจเราอ่านว่า อย่างนี้คือผลัก คือดูด คือราคะโทสะ เข้าใจเอง คนอื่นมาเกี่ยวกับเราไม่ได้

     สิ่งเหล่านี้ หากเอาไปปฏิบัติ จะเกิด สัจจะที่ปรากฎ ชัดเจนในตนเอง

     ที่คุณได้รับรู้ ได้เพิ่มขึ้นก็เพราะ มีมิตรดี อาตมาเป็นมิตรดีของคุณ ได้ฟังแล้ว ก็ได้รับรู้เพิ่ม หากไม่ได้ฟัง สิ่งดีนี้ ก็ยังไม่เจอมิตร หรือเจอมิตรที่ ไม่ได้ให้ของดีแก่เรา หรือมีดีอย่างอื่น แต่มาพบคนนี้ มีของดีอย่างนี้ให้เรา คนอื่นไม่ได้ให้เราอย่างนี้ พระพุทธเจ้าจึงว่า เรานี่แหละ เป็นมิตรดีของเธอ
    
     คุณมาร่วมชุมนุม ก็ได้เจอมิตรดี ในรายการภาคเย็น ก็พบมิตรดี เมื่อวานได้ฟัง ในปางฝันพูด เรื่องทำส้วม อุจจาระ ถ้าเป็นบางคน ไม่ฟังหรอกพูดเรื่องขี้ แต่ว่าเราได้ฟัง เขาพูดแล้ว ก็จะรู้ว่า เป็นเรื่องปฏิบัติธรรม ยินดีได้ เราก็น่าจะได้ศึกษา สิ่งเหล่านี้ คนมีภูมิธรรม เห็นว่า สิ่งนี้น่ายินดี ในการปฏิบัติตาม  มันเป็นฐานะของ บุคคลที่เจริญ แต่ถ้าคนรังเกียจ ว่าเป็นสิ่ง ไร้สาระ แต่ไปคิดว่า จะไปแต่ไฮโซ คุณก็ต้อง อยู่ในฐานะอย่างนั้น คนอย่างนี้ ยกชั้นตนเอง ไม่มีวัน ที่จะเรียนรู้อุจจาระ ไม่เรียนรู้ ความรังเกียจในตน แล้วคนอย่างนี้ จะไปอรหันต์ ได้อย่างไร

     อุจจาระก็เป็นสังขาร ปรุงแต่ง มันอยู่กับเรา เราอยู่กับมันจนตาย แม้บางคน ขณะตาย ก็ขี้แตก ทันทีเลยก็มี อุจจาระ เกี่ยวกับคนตลอด หากรังเกียจอุจจาระ แม้ของตน ก็รังเกียจ จะไปอรหันต์ ได้อย่างไร ถ้าแม้อุจจาระคนอื่น คุณก็ไม่รังเกียจแล้ว แตะก็ได้ จิตคุณนี่ จะสูงเลยนะ อาตมา ก็ฝึกหัด หากคนล้างก้นด้วยมือ ก็จับขี้ทุกวัน แต่ไม่ได้พิจารณา

     คุณเวลาจับขี้ตอนอื่นก็รังเกียจ แต่เวลาล้างก้นก็แตะขี้ แต่ไม่ได้รับรู้พิจารณา ก็ไม่รังเกียจเลย

     เราจะหน่าย จะคลาย ความชังความชอบ ในสิ่งที่ควรไม่ควร ขนาดไหน จะต้องสัมผัสจริง

     คุณต้องฝึกจริง จะได้สัมผัสจริงว่าใจคุณ วางจริงไหม อาตมาพิจารณาสัมผัส จนกระทั่ง ลองกิน ก็กินดู แต่ไม่ได้แนะนำ ให้คุณกินนะ ให้พิสูจน์ดู เราก็พยายามอ่านจิต คุณเอ๋ย มันกินง่าย ขนาดไหน กว่าจะเห็นได้ แต่ถ้าไปลองดู ก็ระวังมีเชื้อโรค แต่ว่ามันก็เชื้อคุณเอง ไม่เป็นไร

     ที่พูดนี้ให้รู้สึก ลึกซึ้งจริงจัง ปฏิบัตล้างส้วม เป็นประโยชน์ เราก็หัดวาง แต่เราก็ต้อง มีปัญญารู้ว่า นี่มีเชื้อโรค ต้องมีวิธีจัดการ นี่คือสัจจะที่ปรากฎ เพราะเหตุ คุณมีมิตรดี คุณต้องปฏิบัติ ปานฉะนี้หรือ ก็ต้องทำ

     พระอานนท์ อุทานกับ พระพุทธเจ้าว่า มิตดี สหายดี เป็นตั้งครึ่งหนึ่ง ของพรหมจรรย์ เชียวนะ พระเจ้าข้า...

     แต่พระพุทธเจ้าว่า คือทั้งหมดทั้งสิ้น ของพรหมจรรย์ เชียวนะ
     ผู้จะให้ประโยชน์แก่กัน จนได้ละกิเลส จากจิตได้ คือ กัลยาณมิตโต

     คำว่า สหาย คือร่วมประโยชน์ กัลยาณสหาโย คือเราทำงานนี่ ก็ร่วมประโยชน์ ร่วมศึกษา ทางจิต  จึงเรียกว่ามิตร

     คำว่ากัลยาณมิตร คือมิตรดีที่พาพบศีล จนมีการสละออก ไม่ใช่มิตรที่พา ไปได้โลกธรรมมาก อัตตามาก โตขึ้น นี่คือมิตรชั่ว มิตรที่พาไปเจริญในกาม ในอัตตา นี่เป็นมิตรชั่ว พาเราไปทรมาน อีกนาน ตราบนาน มิตรดีจะพาเราออกจาก การติดยึด ในกาม ในอัตตา ในโลกธรรม นี่คือ กัลยาณมิตโต เราจะเชื่อรู้ศรัทธา อย่างมีนัยสำคัญ ว่าควรเอาออกนะ ไม่ใช่เอาเข้า

     มิตรที่พาเราออก เราทาน ไม่ใช่ว่า ให้เรามีความติดยึด ในกามในอัตตา มากขึ้น จะทับถมตน ให้หยาบ หนา แรงขึ้น นี่ลึกซึ้ง

     ผู้รู้อย่างสัมมาทิฏฐิ จะร่วมอาศัยประโยชน์ อย่างไม่ติดยึด อาศัยร่วมกัน ไม่ได้อาศัย สิ่งภายนอก ที่จะหอบหวง มาเป็นของเราหมด อย่างนี้เห็นแก่ตัว

     สัปวังโก คือ สิ่งแวดล้อมทั้งหมด อย่างบางคน ก็จะยึดเอาทั้งประเทศ เป็นของเรา ก็จะเป็น พระเจ้าแผ่นดิน เป็นสมบูรณายาสิทธิราช มีคนคิดจะทำเหมือนกันนะ ใครก็ตาม ฉันสั่งได้หมด ฆ่าแกงได้หมด มีคนคิดบ้าๆอย่างนั้นก็มี ทุกวันนี้

     เราไม่รู้จักว่า เราจะเอาเข้า หรือเอาออก แม้สัมผัสอยู่ เราก็สนิทนิ่งอยู่ สงบ เป็นเนญชา ไม่หวั่นไหวเลยจิตเรา เราอ่านออกรู้ จึงเรียกว่า อยู่เหนือ มีฤทธิ์แรงโลกีย์อย่างไร เราก็ไม่หวั่นไหว แล้วก็ร่วมปรุงแต่ง โดยจิตไม่ผลักหรือดูด แม้น่ารังเกียจขนาดไหน ก็ไม่ผลัก น่ารักขนาดไหน ก็ไม่ดูด จิตเป็นกลาง เป็นเรื่องยืนยัน เป็นของจริง

     ศรัทธ ศีล จาคะ ปัญญา จึงเป็น เทวธรรม จะพาเราเจริญ เป็นเทวธรรม
     คำว่ามิตรดี อยู่ในสุริยเปยยาล
[๑๒๙] มิตรดี เป็นนิมิตแห่งอริยมรรค . . ดูรายละเอียดมิตรดี -> .
[๑๓๑] สีลสัมปทา เป็นนิมิตแห่งอริยมรรค .
[๑๓๒] ฉันทสัมปทา เป็นนิมิตแห่งอริยมรรค .
[๑๓๓] อัตตสัมปทา เป็นนิมิตแห่งอริยมรรค .
[๑๓๔] ทิฐิสัมปทา เป็นนิมิตแห่งอริยมรรค . .
[๑๓๕] อัปปมาทสัมปทา เป็นนิมิตแห่งอริยมรรค
[๑๓๖] โยนิโสมนสิการสัมปทา เป็นนิมิตแห่งอริยมรรค
     พระอาทิตย์เป็น มรรคองค์ ๘ ก่อนจะเห็น พระอาทิตย์ จะต้องมีแสงอรุณก่อน

     ถ้ามีมิตรดีเป็นสยังอภิญญา เป็นผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ

     ผู้ที่มีของจริงรู้จริง อธิบายสัจจะภาวะจริง คุณก็จะรู้ได้ตาม ผู้จะอธิบายประกาศได้ ต้องเป็นคนที่ สมณพราหมณ์ทั้งหลาย เป็นผู้ดำเนินชอบ-ปฏิบัติชอบ ซึ่งประกาศโลกนี้-โลกหน้า ให้แจ่มแจ้ง เพราะรู้ยิ่งด้วย ตนเอง ในโลกนี้ มีอยู่ (อัตถิ โลเก สมณพราหมณา สัมมัคคตา สัมมาปฏิปันนา เย อิมัญ จ โลกัง ปรัญ จ โลกัง สยัง อภิญญา สัจฉิกัตวา ปเวเทนตีติ)

     จะต้องปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ รู้โลกนี้โลกหน้า ที่เป็นโลกปรมัตถ์ ไม่ใช่ไปนั่งจรวด ออกนอกโลก ที่ไปได้ไม่กี่คน แต่ว่าอาตมา จะพาคุณออกนอกโลกได้ เข้าใจว่าโลกเป็นอย่างไร

     อาตมาเป็นนักบินอวกาศ พาออกนอกโลก แต่ว่านอกโลก อย่างนี้วิเศษ การออกนอกโลก แบบที่เขาเป็นกันนั้น ไม่วิเศษหรอก หรือเอากระดูก ไปลอยออกนอกโลก อย่างนั้นเป็นเรื่อง ไม่วิเศษเท่าหรอก

     มิตรดีคือผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ หากไปคิดว่า ไม่มีหรอก ก็ผิดจากคำสอน พระพุทธเจ้า ในสัมมาทิฏฐิ ๑๐

     คนไปหลงแต่กาม อัตตา โลกธรรม ทั้งเป็นพุทธศาสนิกชน ก็ไม่เคยเงี่ยโสตสดับ ฟังธรรม อันพาไปสู่ ความหลุดพ้นจากสงสารเลย ไม่สนใจ ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ดำเนินชอบเลย

     ใครก็ตาม ในมหาจักรวาล จะบรรลุเอง โดยไม่ได้มาจากเหตุ คือมีมิตรดี ไม่มีทาง ต้องได้ฟัง จากสัตบุรุษ จะเป็นเอง โดยไม่ได้มาจาก ผู้รู้จริงเป็นจริง แม้ตนไม่บรรลุ แต่ภาษา การสื่อถูกต้อง ก็ยังได้ แต่ก็ไม่แน่ใจว่า จะบรรยายถูกต้อง แต่ถ้าคนมีของจริงในตน นี่แน่ยิ่งกว่า เมื่อคุณได้ฟัง เป็นสาวก ได้ฟังจากผู้รู้ ถ่ายทอดมา จึงจะได้ ไม่ว่าพระพุทธเจ้าองค์ไหน ก็ได้จาก พระพุทธเจ้า องค์ก่อน ทั้งนั้น หรือสืบทอดมา โดยเป็นเอง เป็นปัจเจก

     ปัจเจกของพุทธ ที่ว่าไม่เคยได้ยินได้ฟัง จากใครเลย แล้วบรรลุเอง นั้นไม่มี ผู้ตรัสรู้เอง โดยไม่ได้สืบต่อจาก ผู้มีโลกุตรธรรมไม่ได้

     ยกตัวอย่าง คุณอยู่ในประเทศตะวันตก แล้วจะมารู้พุทธธรรมเลย เป็นไปไม่ได้ ทุกอย่าง มาแต่เหตุ คุณจะมีพุทธธรรม โลกุตรธรรม คุณต้องมีผู้ที่มีมาก่อน มาถ่ายทอดให้ เป็นสาวก

     ผู้มีเอง เช่นในชาตินี้ อาตมาไม่ได้ฟัง หรือ ได้รับจากใครเลย อาตมาได้อ่าน พระไตรปิฎก บางอย่าง ก็เป็นเรื่องที่คนรุ่นหลัง เติมเข้ามา อาตมาก็ต้องรู้เองว่า อันไหนของ พระพุทธเจ้าแท้

     สีลสัมปทา คุณตั้งศีลแล้วปฏิบัติ ก็จะเป็นไปตาม อานิสงค์ ๑๐ ของศีล หากปฏิบัติ ได้ถูกต้อง 
๑. อวิปฏิสาร (ความไม่เดือดร้อนใจ) .
๒. ปามุชชะ - ปราโมทย์ (มีความยินดี)
๓. ปีติ (ความอิ่มเอมใจ) .
๔. ปัสสัทธิ (สงบระงับจากกิเลส)
๕. สุข (แบบไม่บำเรอตน คือ วูปสมสุข)
๖. สมาธิ (จิตมั่นคง)
๗. ยถาภูตญาณทัสสนะ (ความรู้ยิ่งในความจริง) . .
๘. นิพพิทา (เบื่อหน่าย) .
๙. วิราคะ (คลายกิเลส)
๑๐.วิมุติญาณทัสสนะ (ปัญญารู้แจ้งเห็นจริงในนิพพาน)
(กิมัตถิยสูตร พตฎ. เล่ม ๒๔ ข้อ ๑ , ๒๐๘)

     ไม่ใช่แค่ว่าปฏิบัติศีล แค่กายกับวาจา แต่ศีลมีอานิสงส์ถึง วิมุติญาณทัสสะเลย

     คำว่า โยนิโสมนสิการ ไม่ใช่แค่คิด ปรุงแต่ง เพราะเหตุผลความรู้เท่านั้น ศาสนา เลยเหลือเท่านี้ โยนิโสมนสิการไม่ลงถึงที่เกิด เป็นสัมภวะ ต้องมีญาณอ่านรู้ ต้องอ่านจิตรู้ ทำจิตเป็น

     แม้ในสีลสัมปทา ในสุริยเปยยาล ก็ไปปฏิบัติได้แค่ กายกับวาจา ไม่ขัดเกลาถึงจิต อย่างใน กิมัตถิยสูตร มีสอนไว้อย่างสำคัญ ว่าปฏิบัติได้ถึงจิตเลย

     การถือศีล เขาถือกันแค่ ศีลพตุปาทาน ศีลพตปรามาศ

     อัตตา เขาก็ไม่เรียนรู้อัตตา ๓ บางที่คนไปปฏิบัติว่า ทุกอย่างไม่มีอัตตา ก็เป็นแค่ นักตรรกศาสตร์ ไม่รู้เห็นจริง เป็นสัจจะที่ปรากฏ

     ต้องชัดเจน รู้แต่โอฬาริกอัตตา มโนมยอัตตา จนถึงอรูปอัตตา ต้องรู้ร่วมกันไป จากหยาบ ไปละเอียด

   www.asoke.info