สัจจะ-สัญญา
ทำวัตรเช้า เสาร์ที่ ๒๓ ตุลาคม ๒๕๓๖
โดย สมณะโพธิรักษ์
ณ พุทธสถานสันติอโศก

ผู้ใดมาฟังธรรมะวันนี้ ขอบอกให้ทราบว่าเป็นวันที่จะเปิดโลกเทวดาสูงสุด ผู้มาฟังธรรมะวันนี้ เป็นผู้ที่โชคดีที่สุด หรืออาจจะโชคร้ายก็ได้ โชคร้ายก็คือมิจฉาทิฐิ หรือขี้โกง เพราะสัจจะ ที่จะพูดต่อไปนี้ เป็นสัจจะที่สุดยอด เท่าที่อาตมารู้สึกว่าจะเป็นสัจจะที่สุดยอด ยังไม่เคยเปิดเผย อย่างกระจะกระจ่าง วันนี้ตั้งใจจะอธิบาย กระจะกระจ่างให้ฟัง เป็นตัวสุดยอดที่สุด ถึงขั้นจะทำลายความรู้สึกได้ว่า ในโลกนี้ ไม่มีสัจจะ

เพราะฉะนั้น คนขี้โกงจะรู้สึกว่าในโลกนี้ไม่มีสัจจะ ก็ตีกินหมดเลย คนนั้นแน่นอนบาป และ ตกนรกหมกไหม้แน่นอน เพราะกุศลก็เป็นสัจจะ อกุศลก็เป็นสัจจะ แต่ว่าคนเรารู้แล้วว่า กุศลกับอกุศลเป็นสัจจะ ควรจะมีกุศลหรืออกุศลละ ควรสั่งสมกุศลหรืออกุศล ก็ตอบได้ว่า ควรสะสมกุศล ยังกุศลให้ถึงพร้อม อกุศลไม่ทำเลย เป็นสัจจะ เพราะฉะนั้น คนไม่มีสัจจะ ที่เกิดมา ก็มีแต่นรกหมกไหม้ มีแต่ทุกข์ร้อนเท่านั้นเอง พระพุทธเจ้ายังตรัสเลยว่า ความจริงไม่มี สัจจะไม่มีในโลกหรอก เดี๋ยวจะได้ฟังนะ เป็นเรื่องที่สุดยอด

ก่อนจะได้ฟังสัจจะ อสัจจะ อาตมาก็มีคำถาม ตอนนั้นเขียนมายังไม่ได้ตอบ ก็คือถามถึงเรื่อง ของคำว่า สัจจะกับยุติธรรม อาตมาก็เลยเห็นว่ามันไม่พอหรอก สัจจะกับยุติธรรม จะอธิบายนั่นน่ะไม่พอ อาตมาก็ต้องอธิบายสัจจะกับสัญญา และยุติธรรมกับสุจริตให้ฟัง

ก่อนจะพูดถึงสัจจะกับสัญญา ก็ขออธิบายยุติธรรมกับสุจริตให้ฟังก่อนนะ ในหนังสือแสงสูญ ได้อธิบายถึงสัจจะและยุติธรรมมาบ้างก่อนๆนี้ ตอนนี้ก็มีเพิ่มเติมขึ้นมาอีก อยู่ในนี้ สัจจะกับยุติธรรมนั้น ได้อธิบายมาตอนไหน อาตมาก็ตามไม่ถึงแล้ว พอเขียนไปอะไรไปแล้ว ก็ยังไม่รู้ว่าตรงไหน ไปบรรยายไว้อยู่ตรงไหน แต่ใครที่อ่านผ่านมาแล้ว ก็ทำความเข้าใจ ศึกษาไปเรื่อยๆเถอะ ว่ายุติธรรมกับสุจริตที่อธิบายมาแล้ว ยุติธรรมกับสุจริตนี่ มีความหมายอะไรต่ออะไรอย่างไรบ้าง

ในแสงสูญหน้า ๑๗๐ ของเล่มใหม่นี้ แสงสูญ ๕๓ เล่มใหม่นี้นะ ในหน้า ๑๗๐ อาตมาจะอ่านตรงนี้ ให้ฟังก่อน ที่อธิบายนี่อธิบายถึงเรื่องของความฉลาดของคน ฉลาดโกงกับฉลาดจริง ฉลาดที่ไม่โกงคือฉลาดอย่างปัญญา กับฉลาดอย่างเฉโก ทีนี้ผู้ฉลาดที่มีปัญญาก็คือ ผู้รู้ความจริงตามความเป็นจริง ฟังความนี้ให้ชัด มีสิ่งรองรับ ไม่ใช่ตรรกะ ไม่ใช่การนึกคิดด้นเดา เพราะฉะนั้น การนึกคิด ด้นเดานี่แหละ เป็นคนที่จะได้บาปกรรมที่สุด เพราะมันไม่แน่นอน การนึกคิดด้นเดานี่ ไม่แน่นอน เพราะฉะนั้น ต้องมีสภาวะรองรับ มันจึงจะมีอะไรอีกอันหนึ่ง เป็นที่ยืนยัน คุณจะเข้าใจผิด แล้วก็มีอุปาทานอย่างไรก็ตาม อุปาทานนั้นเป็นสิ่งที่เป็นสภาวะ ที่คุณได้รองรับบ้างเหมือนกัน แม้คุณจะติดในอุปาทาน แล้วก็มีอุปาทานของคุณ ก็ยังเป็น สภาวะที่รองรับจากตรรกะ ตรรกะเฉยๆนี่เข้าใจง่าย เหตุผลนี่เข้าใจง่าย ส่วนมีสภาวะรองรับ เป็นอุปาทาน อุปาทานก็เกิดยาก ไม่ใช่เกิดง่ายๆ ยิ่งอุปาทานที่ลึกๆ เช่น เห็นรูปกลับกัน จากมีไม่มี เห็นรูปคนเป็นรูปช้าง เห็นรูปคนเป็นรูปผี อะไรก็แล้วแต่เถอะ เป็นอุปาทานทั้งนั้นน่ะ

หรือแม้แต่เห็นสิ่งที่มันไม่มีอะไรหรอก ก็เห็นว่ามันเป็นรสอร่อย ก็เรียกว่าอุปาทาน มันจริงๆเลยนะ คนที่มีอุปาทานนั้นจริงก็มีจริง เพราะฉะนั้น ล้างอุปาทานจริงๆเลย ล้างหมดแล้ว จึงจะแน่ชัดว่า อ๊อ! มันไม่มี รสอร่อยมันไม่มีหรอก ความจริงนี่มันไม่มี เราจึงจะรู้ ว่า ความไม่มีนั้น คือ ไม่มีด้วยปัญญา แต่ตรรกะด้วยเหตุผล ความรอบรู้ เฉลีย;ฉลาดเฉโกนี่มีเยอะ

ทีนี้อาตมาได้อธิบายถึงปรโลก ภูมิใหม่ ภูมิที่มันสูงยิ่งๆขึ้นไปแล้วจน กระทั่งมาเปรียบเทียบ ให้ฟังว่า คนที่จะเกิดปรโลกนั้น ก็เป็นความจริงของเขา ความฉลาดในโลกก็มีอีก ที่เรียกว่า ฉลาดอย่างเฉโก แล้วเขาก็ยึดโลกของเขา เป็นความจริงเหมือนกัน แม้แต่การตกต่ำจากภูมิเดิม ตกต่ำจากภูมิที่มันสูงอยู่แล้ว แล้วมันตกต่ำลงไป เปลี่ยนไปเป็นภูมิอบาย หรือภูมินรก ในร่างกายนี้ ชาตินี้แหละ ในร่างกายที่เราเป็นนี่ ชาตินี้แหละ ตกต่ำไปอยู่ในภูมินรก ซึ่งเขาตกต่ำเอง จริงๆ เขาประพฤติปฏิบัติของเขา เขาก็สั่งสมเป็นภูมินรกของเขาลงไป ซึ่งมัน ย่อมไม่เป็นศีล คนที่มีภูมิต่ำลงไปเป็นภูมินรกแล้วนี่ ซึ่งมันย่อมไม่เป็นศีล ไม่เป็นจาคะ มันมีแต่เห็นแก่ตัวเข้าไปละภูมิที่เป็นนรกนี่ ไม่เป็นศีล ไม่เป็นจาคะ ไม่เป็นปัญญา นี่อาตมาอธิบาย ในเรื่องของทรัพย์ของมนุษย์ ทรัพย์มนุษย์มีศรัทธา ศีล จาคะ ปัญญา เพราะฉะนั้น ถ้าผู้ใดเชื่อว่าอันนี้จริง แม้เป็นภูมินรก แม้เป็นภูมิสวรรค์ก็ตาม ภูมิที่ตกต่ำ นี่เขานึกว่าอร่อย เขาหลงผิดนะว่าเป็นอร่อย แต่แท้จริงเป็นภูมินรก นรกปหาสะ เป็นต้น คือนรกที่รื่นเริงเบิกบาน สนุกสนาน ปหาสะคือพวกนรกรื่นเริงเบิกบาน พวกที่ติดความสนุกสนาน เหมือนติด ไมเคิล แจ๊คสัน นี่แหละ ปหาสะที่หยาบมาก อย่างไมเคิล แจ๊คสันนี่ นรกที่มันรื่นเริง หยาบ จัดจ้านมากด้วยกาม ด้วยรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส แล้วเขาก็ติด นรก อย่างนั้นน่ะ คนที่ศรัทธา คนที่เชื่อว่าจริง แต่แน่นอนย่อมไม่เป็นศีล ไม่เป็นจาคะ คือไม่ได้สละออก มันก็ติดอยู่ นั่นแหละ ไม่เป็นศีล อันนี้ไม่เป็นศีล เอาศีลไปจับนี่ ผิด ศีลแค่เบื้องต้น ไปเต้นร้องเต้นรำ นี่เบื้องต้นแค่นั้นเอง มันก็ผิดแล้ว ไม่เป็นศีล ไม่เป็นจาคะ ไม่เป็นปัญญา อันนี้ไม่ใช่เป็นปัญญาหรอก เป็นความรู้ ความฉลาดของคนเฉโก เป็นความฉลาดชนิดหนึ่ง คนที่รู้ได้เหมือนกัน อันนั้นเป็นอย่างนั้น เขาก็รู้ได้ ซึ่งมันย่อมไม่เป็นศีล ไม่เป็นจาคะ ไม่เป็นปัญญา นั้นแน่ๆอยู่แล้ว แต่จะฉลาดก็ฉลาดได้ ฉลาดมากๆ จนหลงเอาคำว่าปราชญ์ คำว่าอัจฉริยะ นี่เขาก็บอกนะว่า ไมเคิล แจ๊คสันเป็นอัจฉริยะเลยนะ เคยได้ยินไหม เขายกให้เป็น อัจฉริยะนะ อัจฉริยะในการเป็นนักร้อง เขายกย่องเหมือนกัน ในโลกเขาต้อง ตั้งกันเป็นปราชญ์ เยอะ เป็นอัจฉริยะก็เยอะ ฉลาดมากๆจนหลงเอาคำว่าปราชญ์ คำว่าอัจฉริยะไปตรา ไปตั้งให้กันเสียด้วย ก็ยังได้ ทว่าเป็นความฉลาดที่ภาษาบาลี เรียกว่าเฉกะ หรือเฉโก ความฉลาดเฉกะชนิดนี้ปุถุชนมี และใช้กันอยู่ทั่วไป ฝึกฝนร่ำเรียนกันให้ยิ่งๆเป็นปกติธรรมดา ได้แก่ ๑.ฉลาดโกง ฉลาดทุจริต ฉลาดโลภ ฉลาดหาทางหาวิธีเอาเปรียบได้เก่งกาจ เห็นไหม เห็นคนฉลาด อย่างนี้ไหมในโลก เห็นไหม คุณยังสู้เขาไม่ได้เลย ฉลาดในการหาทาง หาวิธี เอาเปรียบได้เก่งกาจ จนคนต้องจำนน ต้องยอม ต้องถือว่ายุติธรรม ต้องหลงเชื่อตามว่าสุจริต นั่นเทียว ฟังความว่ายุติธรรมกับสุจริตมาแล้วนะ ต้องยอม ต้องถือว่ายุติธรรม ต้องหลงเชื่อตาม ว่าสุจริตนั่นเทียว เป็นต้นว่า ได้เปรียบในเรื่อง อัตราเงินเดือน หรืออัตราของส่วนได้ ส่วนได้จะเป็นเงินเดือน หรือเป็นส่วนได้อะไรก็แล้วแต่ เป็นอัตราที่ตั้งให้ได้เปรียบ ในเรื่อง อัตราเงินเดือน หรืออัตราของส่วนได้ ไม่ว่าจะเป็นของข้าราชการ หรือของกิจการเอกชน ต่างก็กำหนดตั้ง ให้แก่ตนเองกัน ชนิดที่ยิ่งใหญ่ ยิ่งได้เปรียบ หรือยิ่งใหญ่ยิ่งเอาเปรียบทั้งนั้น เพราะผู้ทำหน้าที่กำหนดนั้นก็คือ ข้าเอง หรือไม่ก็ผู้ใหญ่เอง หรือกลุ่มผู้ใหญ่นั่นเอง จึงกำหนด เพื่อตัวเอง เพื่อผู้ใหญ่ หรือเพื่อผู้กำลังจะใหญ่นั่นแหละทั้งสิ้น แล้วก็ต้องจำนนกัน ต้องยอมรับเป็นยุติธรรม ทั้งๆที่มันไม่สุจริตจริง พอฟังมาถึงตรงนี้ แล้วจะได้ความขึ้นมาว่า เอ๊ะ! ถ้าอย่างนั้น ยุติธรรมก็มีความไม่สุจริตซิ ยุติธรรมก็มีความไม่สุจริตซิ ใช่ ในความยุติธรรม ในโลกนี้ ยังมีความไม่สุจริต หรือมีความทุจริตอยู่อีกมาก เพราะฉะนั้น ในยุติธรรมนั้น เดี๋ยวจะได้ยินความหมาย เดี๋ยว เอาฟังไว้ก่อนนะ

ในความยุติธรรมนั้นไม่ได้หมายความว่าสุจริตทีเดียว แต่ยุติธรรมได้ หรือแม้การเอาเปรียบกัน ในเรื่องกดขี่ ข่มเบ่ง ตั้งค่าของอำนาจขึ้นมา ตั้งค่าของอำนาจขึ้นมา ในโลกนี้มีการตั้งค่า ของอำนาจ ให้เกียรติให้ยศ ให้สิทธิพิเศษ ให้อำนาจ อย่างที่ในโลกนี้มีทั้งนั้นแหละ ให้อำนาจแก่นายร้อย ให้อำนาจแก่นายพัน ทั้งๆที่นายร้อยบางทีนี่นะ สู้สิบตรียังไม่ได้เลย บางทีบางคนนี่ สู้ไม่ได้จริงๆ ชกกันก็ยังสู้ไม่ได้เลย อย่าว่าแต่ความรู้เลย ความรู้สู้ไม่ได้จริงๆนะ ความรู้ความชำนาญ สิบตรีบางคนเก่งกว่านายร้อย แต่ต้องยอม อำนาจต้องให้นายร้อย ใหญ่กว่าสิบตรี อย่างนี้เป็นต้น ตั้งค่าของอำนาจขึ้นมากำหนดใช้ในสังคม จนเป็นการได้เปรียบ แล้วก็ต้องจำนนกัน ต้องยอมรับเป็นยุติธรรม

ตอนนี้ก็ขยายความยุติธรรมนิดหนึ่ง ยุติธรรมหมายความว่า ยุติ สงบ หยุด แค่นี้แหละ ถือว่าพอแล้ว หยุดเถียงกันได้แล้ว จบ เพราะฉะนั้น ศาลจะเป็นผู้ตัดสินความยุติธรรม ให้จบ ให้หยุด ในโลกนี้จึงใช้ศาลเป็นตัวตัดสินสูงสุด มันจะเป็นยังไงก็แล้วแต่ ศาลจะสุจริต หรือทุจริตไม่รู้ แต่ถ้าศาลตัดสินแล้วถือว่ายุติธรรม ยุติธรรมจึงแปลว่าหยุด คำว่ายุติก็คือ หยุดนั่นแหละ หยุด เงียบ สงบ เอาแค่นี้แหละไป ตัดสินแล้วเอาแค่นี้ จะผิดถูกอย่างไร จบ ยุติธรรม นี่คือคำว่า ยุติธรรมนะ ทั้งๆที่ไม่มันไม่สุจริตจริง ไม่ใช่อิสรเสรีภาพจริง ยังเป็นการกดขี่ ข่มเบ่งกันอยู่แท้ๆ แต่ต้องยอมจำนนเพราะผู้กดขี่ นั้นมีอำนาจตามที่ตั้งกันขึ้น ให้ยอมรับในสังคม อันนี้อาตมาเขียน แก้เติมไปอีกตอนท้ายนี่ แต่ในหนังสือไม่มี ต่อ จาก...ตั้งแต่ พอว่าไม่ใช่อิสรภาพ ไม่ใช่อิสรเสรีภาพจริง หนังสือมีเท่านี้ แต่ อาตมาเขียนเติมอีก พอมาอ่านทวนแล้ว มันต้องขยายความอีก ก็เลยเขียนเติม ยังเป็นการกดขี่ ข่มเบ่งกันอยู่แท้ๆ แต่ต้องยอมจำนน เพราะมี "อำนาจ" ตามที่ตั้งกันขึ้นให้ยอมรับในสังคม เพราะว่าผู้กดขี่นั้น มีอำนาจตามที่ตั้งกันขึ้น ให้ยอมรับในสังคม นะ

สรุปก็คือ ฉลาดทำให้คนเห็นการกระทำที่ทุจริต กลายเป็นต้องเชื่อว่า สุจริตไปจนได้ เห็นการกระทำ ที่ได้เปรียบ กลายเป็นต้องเชื่อว่าเสียสละ สุดท้าย ต้องยอมรับกันทั่วไปว่ายุติธรรม คือต้องยอมหยุดตามนั้น นี่ก็เป็น ความฉลาด (เฉกะ) ที่ทำงานอยู่กับความโลภ นี่ก็คือ ความฉลาดที่ทำงานอยู่กับความโลภ คนฉลาดแบบนี้มีในสังคมไหม ก็นึกหาเอาเอง นี่จบคำอธิบายประโยคนี้ หรือว่า เรื่องๆจุดนี้เท่านั้น นี่อธิบายถึงความยุติธรรมกับสุจริตในอันนี้ ที่อาตมาตามมา เอามาอ่านสู่ฟัง แล้วก็หยิบมาเป็นต้นเค้าในการอธิบายนี้เท่านี้

อ่านให้ฟังนี่ก็คงจะได้เข้าใจคร่าวๆขึ้นไปแล้วว่า คำว่า ยุติธรรม นั้น มันหมายความว่า เป็นข้อตัดสินของสังคมให้หยุด แล้วก็ถือกันตามนั้น หยุดตามนั้น เอาแค่นั้น ว่านี่สมดุลแล้ว สมบูรณ์แล้ว ถูกต้องแล้ว แม้แต่แปลว่าถูกต้องยุติ ธรรม ถูกต้องแล้ว พอแล้ว อย่าทะเลาะอีก ไม่ว่ากันอีก อยู่กันอย่างนี้ไปตามนี้แหละ เอาข้อนี้แหละเป็นข้อกำหนด เอาอย่างนี้แหละ เป็นตัวที่จะถือกันไปตามนี้ ก็ล้วนแล้วแต่เป็นสัจจะที่ถือว่า สมมุติสัจจะทั้งสิ้น เพราะฉะนั้น ในสมมุติสัจจะนั้น มันจะลึกขึ้นไปถึงปรมัตถสัจจะ คำว่าสัจจะมีเป็นสัจจะในโลก แม้แต่กุศล อกุศลก็มีจริงในโลก แล้วคนก็ต้องอาศัยสิ่งเหล่านั้นทั้งนั้น อาศัยกุศล อาศัยอกุศล ผู้ใดมีอกุศล ก็มีทุกข์มากละ ผู้ใดมีกุศลก็ทุกข์น้อย วิบากน้อย นรกน้อย ยังจะเป็นทุนรอนที่ดีไปอีกถ้าเป็นกุศล ถ้าเป็นอกุศลก็เป็นทุนรอนที่ไม่ดี ชีวิตช่วงนี้อาจจะใช้อกุศลไปข่มขี่ ไปขี้โกง ไปเอาเปรียบเอารัด เหมือนกับตัวเองได้เปรียบ ได้สุขใจ แต่แท้จริง ไปสร้างบาปซ้ำซ้อน ถ้าเป็นทุจริตนะ ถ้ามันเป็นความที่ไม่ถูกต้อง เป็นอกุศลแท้ แล้วตัวเองก็ใช้อกุศลนี้ ใช้ทุจริตนี้ แล้วก็สร้างสรรได้ เหมือนกับตัวเอง สบายใจ พอใจ ชอบใจ ก็ยิ่งสั่งสมบาป สั่งสมเวร สั่งสมวิบากนั้น ซ้ำซ้อนเข้า ไปอีก หนา ยากเข้าไปอีก เพราะฉะนั้น ความที่ยังไม่จบในวัฏสงสาร ก็ยังจะมี ผลซับซ้อน ที่จะเกิดตามสัจจะ จะต้องมีจริงเป็นจริงไปอีก ทำให้ตัวเองได้รับบาป รับภัย ต้องใช้หนี้ ใช้เวร แน่นอนที่สุด จนกว่าจะเห็นสัจจะที่เป็นปรมัตถ์ ที่เข้าใจ เชื่อมั่นในกุศลอกุศลว่ามีจริง เป็นสัจจะ เป็นสมมุติเรียกว่า สมมุติสัจจะ คือคนรู้ทั่ว รู้กันได้ ร่วมกันรู้เยอะ ส่วนปรมัตถสัจจะนั้น เป็นสัจจะ ที่คนรู้ได้ยาก บรมสัจจะ บรมอรรถะ เป็นเรื่องแก่นสาร เป็นเรื่องสาระที่สูงยิ่งๆๆขึ้นไป เป็นสัจจะ ที่ต้องชั้นสูง ถึงจะรู้จักสัจจะนั้นไล่เรียงขึ้นไป เพราะฉะนั้น คำว่า ยุติธรรมนั้น จึงเป็นการจบ ในสังคมที่เขาใช้กันในโลก

ส่วนสุจริตนั้นลึกซึ้งเข้าไปอีก คนจะรู้จักสุจริตหรือสุที่ดี กับทุจริตที่เลว ก็คือรู้จักอกุศล กุศล นั่นเอง รู้จักบาปจักบุญ รู้จักความถูกต้องความไม่ถูกต้องที่ดีกว่า ความถูกต้องที่ดีกว่าก็คือกุศล ความที่ไม่ดีกว่าก็คืออกุศล หรือความไม่ถูกต้องก็คืออกุศล อย่างที่เราได้พยายามศึกษา ความถูกต้อง จนขณะนี้ เรามีปัญญา หรือว่ามีความเฉลียวฉลาดกันลึกซึ้งขึ้นแล้วว่า เอ๊ะ! เราไปโลภโมโทสันมามากๆ มากักตุนสะสม เก็บมาไว้ให้แก่เรามากๆ มันเป็นความดีใช่ไหม ใช่ เป็นความดี ในระดับคนชั้นล่าง คนชั้นพื้นฐาน ข้อสำคัญเมื่อคุณไปโลภโมโทสันมา ด้วยหลักเกณฑ์ ของสังคมที่ตัดสินกันแล้วเป็นยุติธรรม คุณค้าขายเป็นต้น คุณไม่ได้โกงภาษี ไม่ได้โกงใคร แต่คุณเอง คุณตั้งราคานี้ เขาอยากจะมาซื้อเอง คุณจะตั้งราคาแพงเท่าไหร่ก็ตาม เอาเปรียบขูดรีดเท่าไหร่ก็ตาม แต่เขาเต็มใจมาซื้อเอง สุจริตไหม สุจริต ในโลกถือว่าสุจริต ถือว่ายุติธรรม เพราะว่าคุณยอมซื้อเอง คุณเต็มใจซื้อ จะแพงเท่าไหร่ ยอมให้ขูดรีด กางเกงปะ เขาเอาไปขาย ให้พวกหน้าโง่ พวกเศรษฐี พวกมีเงินเยอะๆ กางเกงปะเอาไปตั้งราคาไว้ ตัวนี้ หมื่นห้าพันบาท กางเกงปะ กางเกงเก่านะ ซื้อ คุณเต็มใจมาซื้อ ยุติธรรมแล้ว ยุติธรรมแล้ว ยุติธรรม ไม่โกง เขายอมยุติธรรม แต่ดูจริงๆแล้วมันก็ ยุติธรรมนะ เพราะว่าดี พวกหน้าโง่พวกนี้ จะได้ถ่ายเท เงินออกมาจากกระเป๋า แล้วก็เวียนไปให้คนพวกนี้ แต่คนพวกนี้ ถ้าเป็นคนดีนะ ก็เอาเงินพวกนี้ ไปหมุนทำประโยชน์คุณค่าได้เหมือนกัน เพราะฉะนั้น มันถึงเกิดสภาพ ของโรบินฮู้ด โรบินฮูดปล้นเงินของคนรวย ผิดตามสัจจะของโลก ที่เขาถือกันว่าไม่ยุติธรรม แต่ถูกในสัจจะที่ลึกๆ เพราะโรบินฮู้ดจริงใจ โรบินฮูดปล้นเงินของคนรวย เอาไปแจกจ่ายคนจน เป็นการกระทำดีไหม ปล้นเงินของคนรวย ไปแจกจ่ายคนจน เป็นการกระทำดีไหม โดยสัจจะลึกๆก็ดี อย่างนี้เป็นต้น

แต่ตามหลักของสมมุติสัจจะโลกๆ ยุติธรรม สุจริต เขาถือว่าไม่สุจริต ตรงที่ว่าหลักเกณฑ์ เขาตั้งไว้ว่า ปล้นเขาไม่ได้ แย่งชิงเขาไม่ได้ ก็จริง อีกแหละ ในโลกนี้ ถ้าปล่อยให้แย่งชิงกัน ก็...แหม! ฉิบหายวายป่วงกันใหญ่ เพราะฉะนั้น ต้องตั้งหลักเกณฑ์นี้ไว้ อย่าไปแย่งชิงกัน แต่ถ้าเขายอมจำนน ควักกระเป๋าไปซื้อ อย่างหน้าโง่ ที่ยกตัวอย่างนั้น อีกเรื่องหนึ่ง ถือว่ายุติธรรมแล้ว ถือว่าสุจริตแล้วตามหลักของโลก ไม่มีผู้เสียหายเดือดร้อน แต่เขาเสียละ โง่ละ ก็เอาสตางค์ไปจ่ายตั้งเยอะแน่ะ อะไรก็แล้วแต่เถอะ

ทีนี้คำว่าสุจริต ทุจริตนี่มันลึกเข้าไปอีก ยุติธรรมก็คงรู้แล้วน่ะว่าตัดสินกัน ด้วยพื้นๆในโลกสังคม พอสมควร จะเข้าใจสัจจะลึกแค่ไหน เอาสัจจะนั้นมาใช้แค่ไหนก็แล้วแต่ ถ้าอาตมาเป็น ผู้พิพากษา อาตมาจะตัดสินใครให้ถูกให้ผิดได้หมดน่ะ ก็เอาสัจจะลึกๆ มายืนยันอ้างอิง สัจจะลึกๆ มันจะลึกเข้าไปถึงปรมัตถ์ เพราะฉะนั้น ยิ่งปรมัตถ์แล้ว โอ้โห! ยิ่งลึกที่สุด สัจจะในปรมัตถ์ สัจจะในปรมัตถ์ ยิ่งลึก อันนี้แหละจะเป็นตัวสุดยอด ต้องตั้งใจฟังให้ดี ถึงสัจจะอันนี้ เพราะฉะนั้น สุจริตก็คือสิ่งที่ดี

เพราะฉะนั้นในดีก็เป็นสัจจะ ในชั่วก็เป็นสัจจะ แต่คนย่อมรู้แล้วว่าดี ทรงไว้ซึ่งดี ให้ดีเป็นอัตโนมัติในตน นั่นแหละมนุษย์ที่จะต้องกระทำ เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าถึงให้คน ฝึกฝนเอาสิ่งที่ดีไว้ในตน จะอนุโลมปฏิโลมอะไรลงมา ก็จะต้อง รู้กาลเทศะฐานะ เพราะฉะนั้น คนที่ทำดีได้สนิทเนียน ได้สูงส่ง ดีที่ยากๆก็ทำได้แล้ว ดีที่ยากขนาดไหนก็ทำได้อย่างแข็งแรง คนนั้น จะอนุโลมทำดีที่ต่ำลงมาๆ ถ้ายิ่งดีที่ต่ำลงมาๆ มันก็คือชั่วนั่นเอง ต่ำมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งทำยาก ดีที่ต่ำลงมา แต่ถ้าดีที่สูงขึ้นๆๆ ก็ยิ่งทำได้ง่ายๆๆๆ ทำดีที่ยอดๆได้ง่ายขึ้น ชำนาญขึ้น เพราะเราฝึกดีที่สูงขึ้นไปตามลำดับ เช่น เรามาหัดจน จนกระทั่งเราหัดจนนี่ ง่ายไม่ยากไม่เย็น ไม่ฝืน เดี๋ยวนี้ยังมีผู้ฝืนอยู่ จนยังไม่ลงอยู่หลายคน อยู่เยอะอยู่เหมือนกัน ในอโศกเรานะ ยังไม่ยอมจน หรือจนยังไม่ลง ก็มันยังฝืนอยู่ ก็เป็นธรรมดา แต่คนที่ได้แล้ว รู้มั่นใจ มั่นใจในตัวเรานี่ เราไม่ต้องไปมีเงินสักบาทเลยก็สบาย ยังอยู่รอด ยังไงก็อยู่รอด คนนั้นก็ยิ่ง สั่งสมคุณค่า ยิ่งจะต้องหาทาง เพื่อที่จะมีชีวิตอยู่

สมมุติว่าคุณมาอยู่ในวัดนี่นะ ไม่สมมุติหรอก หลายคนก็ฝึกอยู่ คุณตั้งใจเลยว่า คุณจะไม่สะสมเงิน ไม่รับเงินใครมา ก็ใช้ๆไปหมดแล้วก็เหลือเท่าไหร่ ก็เอาไปคืนคนนั้นคนนี้เขา แล้วเราจะเป็นคนไม่มีเงิน เป็นผู้ถือศีลสิบจริง อย่างนี้เป็นต้น อนาคาริกะ เป็นผู้ถือศีลสิบ แล้วคุณฝึก คุณจะรู้เลยว่า คุณเอง คุณจะมี เป็นอยู่อย่างไร ในฐานะที่คุณไม่มีเงิน เพื่อที่จะแลกเปลี่ยนอะไรมา เราเดือดร้อน อันนี้ขึ้นมา จะทำยังไง ไม่มีเงินนี่ จะไปไหนมาไหน จะทำยังไง คุณต้องทำตัวเอง เป็นคนมีคุณค่า จนคนนั้นบอก จะไปไหน มีคนคอยอุปถัมภ์เลย บอกจะไปนี่เหรอ อ๋อ! ไปเลยคนนี้ ถ้าไปก็มีประโยชน์ คนนี้จะไม่ไปเสียประโยชน์ คนนี้จะเป็นโน่น เป็นนี่ คนนี้จะทำงานนั่นนี่อะไรนี่ เขาจะอุปถัมภ์ง่ายๆเลย ถ้าเขาเชื่อมั่นในตัวคุณมากเท่าใด เพราะฉะนั้น คุณจะต้องปฏิบัติตน ให้เป็นคนที่เขาจะเชื่อมั่นในหมู่ในกลุ่ม ในใครๆก็แล้วแต่ เชื่อมั่น แล้วคนที่อุปถัมภ์จะเต็มใจอุปถัมภ์จริงๆ แล้วคุณจะต้อง ปฏิบัติตน จนกระทั่งว่า เราจะไม่เบียดเบียนเขา จะไม่หาเลศหาเล่ห์ มาหลอกล่อเขา แล้วก็ไม่อยากจะเบียดเบียนเขา ใครจะอุปถัมภ์ ก็จะต้องต้านปฏิเสธเอาไว้ แล้วจะเลือกผู้อุปถัมภ์ด้วย ผู้ใดที่ฉลาด ผู้ใดที่จริงใจ ผู้ใดที่สมควรจะอุปถัมภ์ ให้ผู้นั้นอุปถัมภ์ จะมีผู้อุปถัมภ์ถึงขั้นเลือกผู้อุปถัมภ์ได้ เชื่อไหม อาตมามี ประสบผล แล้ว โอ้! คนนี้ก็จะอุปถัมภ์ คนนี้จะอุปถัมภ์ เลือกผู้อุปถัมภ์ด้วย จะไปนั่นมานี่ จะอยากได้นั่นได้นี่อะไรนี่ ได้ เท่าที่เรามีบุญบารมี ถ้าอาตมาอยากได้บ้านได้ เมืองยังไม่ได้หรอกตอนนี้ เพราะไม่มีบุญถึงขนาดนั้น แค่อยากจะได้อะไรบางอย่าง บางสิ่ง ที่แพงๆหน่อย คนยังบอกว่ายังๆๆ ยังไม่มีใครสามารถที่จะอุปถัมภ์ได้ ยังไม่มีใครที่จะ support ใช่ไหม ไม่มีใครจะอุปถัมภ์หรอก ยัง อาตมาก็มีบารมีเท่านั้น แต่ขนาดหนึ่งๆได้ขนาดนี้ ในระดับแสน ยังพอได้เลย ทุกวันนี้ ถ้าอาตมาเห็นว่าสำคัญ อยากจะได้บ้าง ระดับแสนนี่ เขายัง support ได้นะ สำหรับอาตมา แต่ระดับล้านนี่ยังยาก แต่ในแต่ละคนนี่ที่มาฝึกแล้วนี่จะรู้สึก

เพราะฉะนั้น สัจจะอันหนึ่งก็คือคุณต้องสร้างกุศล ยังกุศลให้ถึงพร้อมให้มากพอ แล้วคนจะรู้ คนจะเห็น คนจะนับถือ คนจะเคารพ คนจะยกย่องบูชา เชิดชู คนจะมั่นใจในตัวเรา แล้วเขา ก็จะอุปัฏฐาก อุปถัมภ์ อย่างนี้เป็นต้น เพราะฉะนั้น คนที่ยิ่งฝึกตนเองไม่มี ไม่มี แล้วก็เอา คุณความดี เอากุศลเป็นทรัพย์ เอากุศลนี่เป็นที่ตั้ง กุศลก็เป็นสัจจะ และก็เป็นสัจจะมาแต่ไหนๆ นิรันดร์ อกุศลก็เป็นสัจจะ แต่คุณจะทุกข์ คุณจะเดือดร้อน คุณจะไม่มีใครอุปัฏฐากอุปถัมภ์ อกุศลน่ะ แต่มันมีซับซ้อนนะ มีอกุศลแล้วคนจะต้องอุปัฏฐาก เพราะว่าเขากลัวบารมี อย่างเจ้าพ่อนี่บอก เฮ้ย!เอามา ไปชี้เอามา เจ้าพ่อ นี่ เบ่งใหญ่ๆ จนกระทั่งเขากลัวลานเลยนะ เอามาให้ข้าเดี๋ยวนี้สองแสน ต้องควักให้เขานะ ไม่ให้มันจะฆ่าเอา อย่างนี้ก็ได้ อกุศลอย่างนี้ ก็ได้เหมือนกัน อุปัฏฐากอุปถัมภ์อย่างนี้ก็มีเหมือนกัน แต่อุปัฏฐากอุปถัมภ์แบบนี้ไม่จริงหรอก ไม่สุจริตจริงหรอก ทุจริตใช่ไหม อย่างนี้ซับซ้อนนะ

เพราะฉะนั้น ถ้าจริงแล้วละก็ กุศลแล้วเขาจะเต็มใจ ไม่ถูกเบียดเบียนบังคับ แล้วจะดีใจด้วยซ้ำ ที่ได้อุปัฏฐากอุปถัมภ์ ได้ช่วยเหลือเกื้อกูล อันนี้ฟังแล้วคุณก็ต้องรู้นะ เข้าใจ ผู้ที่มีบุญบารมี เราได้อุปัฏฐากอุปถัมภ์ผู้มีบุญบารมีเท่าใดๆ มันก็ยิ่งน่าชื่นใจ และก็เป็นสัจจะที่เป็นบุญเป็นกุศล เกี่ยวเนื่องซับซ้อนเกื้อกูล ค่าของบุญก็แพงขึ้น เหมือนพระพุทธเจ้าท่านว่า ให้ข้าวโสดาบัน กินหนึ่งครั้ง ดีกว่าไปทำนิจทาน ให้อนาคาหนึ่งครั้งได้ค่าเท่ากับให้สกิทาร้อยครั้ง อะไรอย่างนี้ เป็นต้น ไล่ไปตามลำดับ ค่าของบุญมันก็แพงขึ้นจริง เป็นสัจจะที่เราจะต้องเข้าใจ และเกิด ญาณปัญญาเห็นจริงเลย ไม่ใช่พูดเล่น ไม่ใช่เอามาขู่ ไม่ใช่ตั้งมาตรการ เข้ามาลวงคน ไม่ใช่ เป็นสัจจะ

สรุปแล้วสัจจะนี่ขึ้นกับสุจริตยิ่งขึ้น หรือขึ้นกับกุศลยิ่งขึ้น เพราะฉะนั้น จะยุติธรรมนั้น ยุติธรรม อยู่ในแวดวง แม้แต่ในแวดวงของโจร แวดวงของวงการเจ้าพ่อก็ต้องยุติธรรม ตามหลักของ เจ้าพ่อ เจ้าพ่อเป็นใหญ่ เจ้าพ่อสั่งอะไร ยุติธรรมหมด หยุด แกต้องหยุด ไม่หยุดถูกเตะ ดีไม่ดี ถ้าถึงขนาดเจ้าพ่อเก็บได้ ถึงขั้นเก็บก็ได้เหมือนกัน อย่างนี้เป็นต้น ยุติธรรม เพราะฉะนั้น ยุติธรรมนี่ จึงเป็นระดับต่ำอยู่ สุจริตระดับสูงกว่า ในสุจริตก็ยังมีสัจจะที่ต่างกันอีก ดังที่อธิบายไป ย่อยๆ แล้วนะ

สัจจะ-สัญญา
ทีนี้มาขยายสัจจะ พอแล้วสำหรับยุติธรรมกับสุจริตไว้ก่อน แล้วค่อยๆ ศึกษาไป มาสัจจะกับสัญญา ฟังความนี้ก่อน สัจจะกับสัญญา ตอนนี้ลึกซึ้งขึ้นมาแล้ว สัจจะก็ความจริง คนเราไม่ถือสัจจะไม่ได้ แต่อาตมาเคยไขความว่า สัจจะกับสัญญานั้น ระวังให้ดี มีคดีขึ้นมาที่นี่ นักเรียนมาเรียนที่นี่ แล้วสัญญาเขาว่าจะสองปี ให้จบ แต่เสร็จแล้วก็ไม่เอาล่ะ มาแก้สัญญา ไม่เอา ต้องให้สามปีจบ เด็กก็ถือสัจจะว่า เอ้า! ก็ครูพูดไปแล้วว่าสองปีให้จบ แล้วทำไมมาปีนี้ มาบอกสามปี อาตมาต้องไปแก้คดีอันนี้ แหม! ต้องเป็นผู้พิพากษา ต้องอธิบายให้เด็กฟัง บอกว่า มันเป็นอย่างนี้ จริง ตอนนั้นได้บอกเอาไว้ จะถือเป็นสัจจะก็เป็นสัจจะว่าสองปี สองปีนี่เขาก็ถือกัน มาว่าเรียน กศน. สองปีแล้วก็สอบได้ก็ไปเลย แต่นี่สอบได้แล้วน่ะสองปีทำไมไม่ให้จบ จะต้องให้อยู่ตั้งเป็นสามปี แบบนี้ไม่มีสัจจะนี่ แหม! เด็กถือใหญ่ อาตมาก็ต้องมาเคลียร์ปัญหาว่า เป็นอย่างนี้ สัจจะกับสัญญานี่ต่างกันนะ เพราะฉะนั้น ใครจะไปยึดตั้งอะไรเอาไว้ เป็นสัจจะ แล้วก็กำหนดว่า ฉันจะเอาอย่างนี้ เอาเป็นเอาตายนะ สัจจะนี่ไปยังไง ก็แก้ไขไม่ได้ คนนั้นบื้อนะ ซื่อบื้อนะ เพราะฉะนั้น เรามาดูสัญญานี่แปลว่า การตกลงกัน แปลว่าการกำหนด แต่ก่อนนี้ เราสัญญากันไว้ว่าสองปีนะจะจบ ให้จบ สองปีให้จบ เราสัญญากันไว้เท่านั้นนะ มันไม่ใช่สัจจะ ทีเดียวหรอก แต่พอดีเรา ผ่านปีมา เรามีประสบการณ์มา สองปีแล้ว มาถึงปีนี้ขึ้นมา เอ๊! เห็นว่ายังไม่ดี นะเด็กนี่เรียนสองปีแล้วก็ยังไม่ดี สอบได้แล้วก็ตาม ก็รู้สึกว่ายังไม่ดี ตั้งใจจะสอน ให้อีกสักปีหนึ่ง อาตมาก็ถามว่าครูเหล่านี้สอนให้เธอเพิ่มเติมขึ้นอีกปีหนึ่ง เก็บเงินเดือน เก็บรายได้ เก็บค่าสอนหรือเปล่า เปล่า เสียสละหรือเปล่า เสีย ปรารถนาดีต่อเรา ที่จะสอนเพิ่มเติม ขึ้นอีกปีหนึ่งหรือเปล่า ใช่ ครูเหน็ดเหนื่อยเพิ่มเติมใช่ไหม ใช่ แล้วพวกเธอ จะได้อะไรเพิ่มเติมขึ้น อีกปีหนึ่งใช่ไหม ใช่ แล้ว ดีกว่าไหม ดีกว่า นั่นเป็นสัจจะกว่าสัญญา ที่ให้ไว้สองปี สองปีที่ให้ไว้น่ะ จริง เป็นสัจจะที่ว่าให้ไว้ตามสัญญา แต่พอผ่านปีผ่านเดือนมา มาถึงวันนี้ เห็นข้อมูลเห็นหลักฐานในประสบการณ์ว่ามันไม่ดีเท่า สามปีดีกว่า ก็เลยแก้สัญญาซะ มาตั้งสัจจะใหม่ ว่าสามปีจบนะเธอ

สัญญานั้นแก้ได้ไหม ได้ สัญญานั้นแก้ได้ เพราะสัจจะมันคือกุศล มันดีกว่านะ เขาไม่ได้เอาเปรียบหรอก ไม่ใช่ว่าหลอกเธออยู่นะ จะไดัเงินค่าเล่าเรียนเธอหรือเปล่า แหม! ถ้าเป็นที่อื่น พูดไม่ออกนะ ถ้าเป็นโรงเรียนที่เก็บเงินทองพูดไม่ออก เห็นไหมว่าทางโลกตันแล้ว ทางโลกไปไม่รอดเลยเห็นไหม ตัน ไปไม่ได้เลย สัจจะนั้นแก้ไม่ได้ สัญญาก็แก้ไม่ได้ ใช่ไหม ทางโลกตัน แต่ทางธรรมเห็นไหมว่า สัจจะมันสูงยิ่งขึ้นตามลำดับ เห็นไหม สัจจะมันสูงได้ตาม ลำดับ เพราะฉะนั้น แต่แค่สัญญา ไม่ใช่สัจจะนะเธอ เออ! เด็กค่อยยังชั่วนิดหนึ่ง

ฟังเข้าใจไม่ใช่ง่ายนะเรื่องจะอธิบายสู่คุณฟังนี่ คุณฟังดีๆ ถ้าไม่มีสภาวะรองรับนะ จ้างก็ยกกันไม่ออก อธิบายกันไม่ออก นี่มันมีสภาวะรองรับ ใช่ไหม มีสภาวะรองรับ เด็กก็รู้เห็นอยู่ ก็เห็นจริงอยู่ แล้วมีเหตุผล มีหลักฐานยืนยัน ว่าอย่างงี้ดีไหม เด็กก็ต้องยอมว่า เออ! ก็เขาก็จะได้ ครูก็เสียสละ แต่จะดันทุรังว่าไม่เอา ฉันจะจบสองปีนี่แหละ ก็ไม่เป็นปัญหาอะไร คุณก็ดันไป เราก็บังคับไม่ได้ เขาก็จะออกไป ก็ฉันสอบได้มีใบประกาศนียบัตรแล้วนี่ นั่นน่ะ ทางโน้นก็ให้ มาแล้ว ก็ได้ แต่เด็กแกก็เข้าใจพอสมควร แกก็วางใจว่า เออ! เอาก็ยอมเอาดีเพิ่มเติมก็แล้วกัน ท่านก็เสียสละดีให้แก่เรา มันไม่ได้มาขู่เข็ญ เอาเปรียบเอารัด ขี้โกงอย่างนั้นอย่างนี้ก็ไม่ใช่ ไม่ใช่เรื่องทุจริต เป็นเรื่องสุจริตยิ่งๆขึ้นด้วยซ้ำ เลยยุติธรรมได้ ต้องเอาตามนั้น เอาตามที่ว่านั้นได้ อย่างนี้เป็นต้น นี่สัจจะกับสัญญา เห็นไหม สัจจะกับสัญญา

สรุปแล้วเอากุศลเป็นหลัก เห็นไหมว่ากุศลกับอกุศลนี่เป็นอภิธรรมหรือเปล่า กุศลกับอกุศล เป็นอภิธรรมนะ กุสลาธัมมา อกุสลาธัมมา อัพยากตาธัมมานี่ กุศลกับอกุศลนี่เป็นหลัก ก็คือ โอวาทปาฏิโมกข์ของพระพุทธเจ้านั่นแหละ สัพพปาปัสสะ อกรณัง อกุศลหรือบาปทั้งปวง สรรพทั้งปวงทั้งหลาย อกุศลมันไม่ดี สรุปแล้วว่า มันเป็นบาป เป็นสิ่งที่ไม่ดีแล้ว เป็นไปในทางทุกข์ ทางร้อนทางวุ่นวายแล้ว อกรณัง ไม่กระทำ ไม่มีกรณะ ไม่มีบทบาทนั้น เป็นอันขาด ไม่มีบทบาทนั้น แต่นั่นแหละ ในความหมายนี้ เราเห็นว่าอันนี้โดยฐานะ เอ้า! ให้เขาทำอันนี้ อันนี้เป็นของเขา เรามีสัญญา ตอนนี้ถึงขั้นสัญญาแล้ว เรากำหนดรู้แล้วว่า ตัวนี้เหมาะสมกับฐานะของเขา สูงกว่านี้เขาไม่ได้หรอก เราให้เขาทำ หรือบางที่ เราอนุโลมทำกับเขา ด้วยซ้ำ เรากำหนดว่าเราเอง เราทำได้ดีกว่านี้ แต่เขาต้องทำได้แค่นี้ เหมือน เราเล่นขายหม้อข้าวหม้อแกงกับเด็ก เราก็เล่นกับเด็ก จริงๆเราไม่ได้เกิดรส จริงๆเราไม่ได้ติด แต่เราต้องทำกับเขาบ้าง อย่างนี้ต้องอนุโลม เรียกว่า อนุโลมด้วยความจริงใจ ใจจริงไม่ได้ติด ใจจริงไม่ได้มีรสชาติเอร็ดอร่อย สัญญากำหนดรู้ก็รู้อยู่ว่าอันนี้ดี ที่ดีกว่านี้ยังมีอีก แต่ว่าดีเท่านี้ตามฐานะของเขา อย่างนี้เป็นต้น

จึงเป็นผู้ที่อนุโลมปฏิโลมโดยสัญญากำหนดรู้ว่าอันนี้เป็นสัจจะของเขา ความจริงของเขา ฐานะนี้เขาจริงได้ขนาดนี้ จึงมีสมมุติสัจจะตามขั้นตามตอน ตามฐานะ โสดาเสมอโสดา สกิทาเสมอสกิทา อนาคาเสมออนาคา อรหันต์เสมออรหันต์ แม้แต่ในอรหันต์ ก็ยังมีสูงส่ง มีโพธิญาณต่างกัน ยังมีโพธิญาณที่ต่างระดับ เป็นโพธิสัตว์ต่างระดับ เป็นโพธิสัตว์มหาสัตว์ต่างระดับ อย่างนี้เป็นต้นนะ

มาถึงตรงนี้แล้วลองฟังสัจจะ หรือมาฟังที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสตรงนี้ ในพระไตรปิฎกเล่ม ๒๕ สุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตันตนิบาต เล่ม ๒๕ ข้อ ๔๑๙ แต่ไม่ใช่วรรคต้นๆ อาตมาจะอ่าน ตัวเฉพาะเรื่องสัจจะ มีคำถาม เป็นคำถาม ของพระพุทธนิมิต ถ้าเข้าใจเทวดาแล้ว พระพุทธเจ้า ท่านสอนเทวดา คุณรู้ไหมว่า ท่านสอนใคร ตัวเอง พระพุทธนิมิต ถ้าคุณเข้าใจแล้ว คุณก็คงไม่งง ในการอ่านพระไตรปิฎก พระพุทธนิมิตนั่นก็คือ ตรัสถามพระพุทธเจ้านะ พระพุทธนิมิต ตรัสถามพระพุทธเจ้า ว่าพระพุทธนิมิตนั่นแหละ ถ้าคุณเข้าใจแล้ว ก็คือนิมิตถาม ถามว่า สมณพราหมณ์แต่ละพวกกล่าวทิฐิใดว่าเป็นความจริงแท้ ความจริงแท้ก็คือ ใช้คำว่าสัจจะ นี่เอาพระบาลีมาเทียบด้วย เพราะว่าเราเอง เราก็ชั้นหนึ่งเหมือนกัน ย่อมไม่กล่าว โดยไม่มี พระบาลี นี่ชั้นหนึ่งใช่ไหม กัสมา นุ สัจจานิ วทันติ นานาฯ ก็แปลว่ากล่าวทิฐิ ปวาทิยาเส กุสลา วทานา พวกนี้แปลว่าคำถามทั้งนั้นน่ะ สัจจานิ สุตานิ พหูน นานา อุทาหุ เต ตักกมนุสสรันติฯ นี่เป็นคำถามของพระพุทธนิมิต แปลความก็ว่า สมณพราหมณ์แต่ละพวก กล่าวทิฐิใดว่า เป็นความจริงแท้ แม้สมณพราหมณ์พวกอื่นก็กล่าวทิฐินั้นว่าเป็นความเท็จ ไม่จริง สมณพราหมณ์ทั้งหลาย มาถือมั่น (ความจริงต่างๆกัน) สมณพราหมณ์ทั้งหลายมาถือมั่น แม้ด้วยอาการอย่างนี้แล้ว ก็วิวาทกันเพราะเหตุไร สมณพราหมณ์ทั้งหลาย จึงไม่กล่าวสัจจะ ให้เป็นหนึ่งลงไปได้ เข้าใจไหมคำถาม ฟังอีกเที่ยว เรื่องลึกซึ้งแล้ว บอกแล้วฟังวันนี้ ถ้านั่งง่วง นั่งเมา นั่งงงอะไรแล้วก็ยุ่ง นั่งตั้งใจเต็มๆ ที่ใครฉลาดก็ฟังรู้ แม้จะตั้งใจฟังจริงๆ บางคน อาจจะเข้าใจยาก

สมณพราหมณ์แต่ละพวก กล่าวทิฐิใดว่าเป็นความจริงแท้ แม้สมณพราหมณ์ พวกอื่น ก็กล่าวทิฐินั้น ว่าเป็นความเท็จ ไม่จริง หมายความว่าสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง กล่าวทิฐิ อย่างใดอย่างหนึ่งว่าเป็นความจริง ทีนี้ก็มีสมณพราหมณ์พวกอื่นกล่าวทิฐินั้น ทิฐิอันนี้ ว่าเป็นความเท็จ ไม่จริง คือเถียงกัน สรุปง่ายๆก็คือ อันนี้แหละสมณพราหมณ์ พวกนี้ว่าไอ้นี่จริง สมณพราหมณ์อีกพวกหนึ่งก็ว่า ไอ้นี่เท็จ ไม่จริง สมณพราหมณ์ ทั้งหลายถือมั่น คือมีความจริง ต่างๆกันนี่ แม้ด้วยอาการอย่างนี้แล้วก็วิวาทกัน ก็เมื่อเป็นอย่างนี้ก็ต้องวิวาทกัน แล้วก็ยึดมั่น ถือมั่นกันแล้วนี่ ต่างคนต่างถือสัจจะ คนละสัจจะแล้ว เช่นเรากับผู้ที่ยึดมั่นถือมั่นในทางเขา เป็นต้น ยึดมั่นสัจจะแล้ว ทะเลาะวิวาท แต่ขออภัยอาตมาไม่ทะเลาะวิวาทนะ เพราะอาตมาเป็น ลูกศิษย์พระพุทธเจ้า ก็วิวาทกันเพราะเหตุไร สมณพราหมณ์ทั้งหลายจึงไม่กล่าว สัจจะ ให้เป็นหนึ่ง ลงไปได้

พุทธนิมิตก็ถามเจาะลงไปว่า แล้วมันอะไรล่ะ ทำไมเขาไม่กำหนด สัจจะลงไปหนึ่งเดียวกัน ให้ได้เล่า ทำไมเล่าไม่มีใครกำหนดเชียวเหรอ ทำไมล่ะ สมณพราหมณ์ที่ว่าแน่ๆ ต่างคน ต่างแน่แล้ว ทำไมมีสัจจะ ไม่อันเดียวกันน่ะ ยมาหุ สัจจัง ตถิวันติ เอเก ตมาหุ อัญเญปิ ตุจฉัง มุสาติ อันนี้แหละเป็นพระพุทธนิมิต ตรัสถามว่า สมณพราหมณ์แต่ละพวก กล่าวทิฐิใด ว่าเป็นความจริงแท้ แม้สมณพราหมณ์พวกอื่น ก็กล่าวทิฐินั้นว่าเป็นความเท็จ ไม่จริง สมณพราหมณ์ทั้งหลาย มาถือมั่น (ความจริงต่างๆกัน) แม้ด้วยอาการอย่างนี้ แล้วก็วิวาทกัน เพราะเหตุไร สมณพราหมณ์ทั้งหลาย จึงไม่กล่าวสัจจะให้เป็นหนึ่งลงไปได้ เอวัมปิ วิคคัยห วิวาทยันติ กัสมา น เอกัง สมณา วทันติฯ เพราะเหตุใดสมณพราหมณ์ทั้งหลาย จึงไม่กล่าวสัจจะ ให้เป็นหนึ่งลงไปได้

พระผู้มีพระภาคก็ตรัสตอบว่า สัจจะมีอย่างเดียวเท่านั้น สัจจะที่สองไม่มี ฟังนะตอนนี้บอก สัจจะนั้นมีหนึ่งเดียวเท่านั้น อันที่สองไม่มี ผู้ที่ทราบชัดมา ทราบชัดอยู่ จะต้องวิวาทกัน เพราะสัจจะอะไรเล่า หมายความว่า ก็ผู้ที่ทราบสัจจะเป็นหนึ่ง หนึ่งก็คือยอดแล้ว จะเป็นสัจจะ ระดับไหนก็แล้วแต่ สมมุติสัจจะ หรือปรมัตถสัจจะที่เป็นยอด เมื่อรู้แน่แท้ว่า อันนี้เป็นยอดแล้ว ก็จะไปวิวาทกันทำไม เพราะสัจจะก็คือสัจจะ สมณพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมกล่าวสัจจะทั้งหลาย ให้ต่างกันออกไปด้วยตนเอง สมณพราหมณ์ที่ถกเถียงกันนั่นน่ะ เขากล่าวสัจจะ กำหนดยึดเอา ของใครของมัน แล้วก็กล่าวให้ต่างกันออกไปเอง ด้วยของตนเอง ที่ไปถือสัจจะของแต่ละ คนได้แต่ละอัน แต่ละอย่างว่า มันจริงของตัวเอง เพราะเหตุนั้น สมณพราหมณ์ทั้งหลาย จึงไม่กล่าวสัจจะ ให้เป็นหนึ่งลงไปได้ เพราะฉะนั้น สมณพราหมณ์คือผู้รู้ทั้งหลาย ผู้ยึดทั้งหลาย หรือว่าแม้แต่ ศาสดาทั้งหลาย จึงไม่กล่าวสัจจะให้เป็นหนึ่งลงไปได้ เพราะฉะนั้น สัจจะจะกล่าวลงไปไม่ได้ ตราบที่เอาศาสดามาเจอกัน แม้พระพุทธเจ้า จะไปเจอกับศาสดาใด ก็จะกล่าวลงเป็นหนึ่ง ไม่ได้ง่ายๆ สุดท้ายพระพุทธเจ้าก็จะกำหนดตามของท่านนั่นแหละ สัจจะของท่าน ซึ่งท่านก็เห็นว่า อันนี้นะสูงสุด พระพุทธเจ้าก็ย่อมเห็นว่า อันนี้สูงสุด สูงสุดนี่แหละ จริงที่สุด ผู้ที่เห็นไม่ถึง ก็บอกว่าไม่จริง อากิญจัญญายตนะ นี่แหละสูงสุด รับรอง อุทกดาบสกับอาฬารดาบสนั้น ให้ไปยึดกัน ก็จะต้องบอกไม่ได้ อาฬารดาบสว่า อากิญจัญญายตนะ อุทกดาบสก็บอกว่า เนวสัญญานาสัญญายตนะ นี่แหละสูงกว่า รับรอง สองคนนี่ ตีกันตาย สัจจะคนละอย่าง พระพุทธเจ้าก็บอก สัญญาเวทยิตนิโรธ สูงกว่าไอ้นั่น สองคนนั่น ก็จะไม่ยอม ตายไปแล้ว ทีนี้ก็มีต่อมาอีก เมื่อกี้นี้ เอกัง หิ สัจจัง น ทุตียมัตถิ ยัสมิง ปชาโน วิวเท ปชานัง นานา เต สัจจานิ สยัง ถุนันติ ตัสมา น เอกัง สมณา วทันติฯ พระพุทธเจ้า ท่านบอกว่า เพราะฉะนั้น สมณพราหมณ์ทั้งหลาย จึงไม่กล่าวสัจจะให้เป็นหนึ่งลงไปได้ เพราะว่า สมณพราหมณ์ ก็มีภูมิที่จะยึดติดสมมุติที่สูงสุด ของคนแต่ละคน

เพราะฉะนั้น สัจจะก็คือการกำหนดได้ กำหนดรู้กำหนดเห็น สิ่งที่สูงสุด ที่สูงสุดของแต่ละคน

อ่านต่อหน้าถัดไป