ศรัทธา กับสัทธรรม
โดย พ่อท่าน สมณะโพธิรักษ์
เมื่อวันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๓๔

สารของไทยคดีนั้น ก็ทำให้เราได้รับซับทราบผลสะท้อน หรือว่าการรับทราบ การรับรู้ หรือ การรู้จักอโศก ของแหล่งหนึ่งแหล่งไทยคดี เราก็ถือว่า เป็นแหล่งของนักวิชาการ หรือ เป็นแหล่งของ วิญญูชน เป็นแหล่งของปัญญาชนแหล่งหนึ่ง ที่เขาทำอะไรขึ้นมา เขาก็ได้เห็น ผลกระทบ แล้วเขาก็เรียนรู้ อ่านเอา จากผลกระทบองค์ประกอบที่มันเกิด ประกอบกับองค์ประกอบอื่นๆ ที่เขาพึงมีข้อมูลอยู่รวมกันเข้าก็ แล้วก็ผู้ที่รับรู้นี่ ก็เขียนออกมา บรรยายออกมา มันก็มีความจริงนะ อาตมาว่า เขาเขียนความจริงออกมาทั้งนั้นแหละในนั้น เขียนความจริงออกมาทั้งนั้น ถูกหมด อาตมาว่าเขียนถูกหมด เป็นแต่เพียงว่า ในแนวลึกเท่านั้นน่ะ ในแนวลึก ที่เขายังเข้าใจ ความว่าศรัทธา ในบทความที่เขาเขียนทั้งหมดนั้น อาตมาอ่านดูแล้ว มีแนวลึก อยู่จุดเดียวน่ะ จุดคำว่าศรัทธา ที่เขาเองเขาหมายเอาว่า เป็นกระแสทาง แห่งศรัทธา นี่เขาบอกว่า พุทธศาสนา กลุ่มต่างๆเกิดขึ้น มีกลุ่มใหม่ๆเกิดขึ้นมากมาย แตกต่างกันตรงจุดเน้น และ การปฏิบัติธรรม และวิธีจัดองค์กร เพื่อดึงดูด สมาชิก ตลอดจนเผยแพร่หลักธรรม ที่แต่ละสำนัก ได้อรรถาอธิบายตามแนวของตน

ทีนี้ของเรานี่ เขาก็บอกว่า เป็นแนวที่มีจุดเน้นที่การปฏิบัติศีลอย่างเคร่งครัด ขบวนการนี้ สร้างสายสัมพันธ์ ด้วยศรัทธาสูงสุดของเหล่าสมาชิกกลุ่มญาติธรรม ที่มีต่อพ่อท่านโพธิรักษ์ นี่ อาตมาก็สะดุดตรงนี้ เออ ! เขาเห็นว่าขบวนการนี้ สร้างสายสัมพันธ์ด้วยศรัทธาสูงสุด ของเหล่าสมาชิก กลุ่มญาติธรรมที่มีต่อพ่อท่านโพธิรักษ์ มันก็น่าให้เขาเข้าใจ แล้วมันก็จริง ตามที่เขาเข้าใจ แล้วทำให้อาตมานี่วัดย้อนไปถึง ความเข้าใจของเขาได้ว่า เขาเข้าใจศรัทธานั้น อย่างไร คือ เขาเข้าใจศรัทธานั้น ตามที่อาตมาวัดย้อนไปตามกระแสภาษาของเขาออกมานี่ว่า อาตมาเข้าใจว่า ความหมายของศรัทธาของเขานี่ คือความหมายของศรัทธา ธรรมดาๆ ศรัทธาง่ายๆ ศรัทธาที่ประเภทศรัทธาจะมีปัญญา หรือไม่มีปัญญาไม่เกี่ยว เลย เป็นตัวศรัทธาอย่างนั้น ศรัทธาที่มีปัญญา หรือไม่มีปัญญาไม่เกี่ยว คือศรัทธา แล้วแล้วส่วนมากไม่มีปัญญาเลย จะงมงาย แล้วจะเป็นศรัทธา ที่ติดตัวบุคคล จะเป็นศรัทธาที่มีอะไรต่ออะไรต่างๆนานา ที่แสดงออก อย่างจัดจ้าน อย่างไรๆก็ได้ เป็นศรัทธาที่ไม่ลึกซึ้ง อาตมาว่าอย่างนั้น ซึ่งมันก็มีอยู่ในพวกเราด้วย คำว่ามีอยู่ ในพวกเรานี้ ไม่ได้หมายความว่า พวกเราศรัทธาอย่างไม่มีปัญญา หรือศรัทธาอย่าง งมงาย แต่ว่าในลักษณะของอาการของการศรัทธาที่ศรัทธาอาตมานี่ เมื่อศรัทธาอาตมาแล้ว ก็มีอาการที่ศรัทธาอย่างลึกซึ้ง หรือศรัทธาอย่างเหนียวแน่น หรือว่า ศรัทธาอย่าง จนกระทั่งติด เขาเห็นว่าเป็นการ แหม ! ศรัทธาสูงสุด ศรัทธาแรง เป็นศรัทธาจัดอย่างนี้ ในพวกเรามี

ฟังดีๆนะ อาตมาจะขยายคำว่าศรัทธาให้ฟัง ส่วนอื่นๆไม่ต้องอธิบายหรอก เขาพูดตามที่เขา เอาความจริง เข้ามาขยายความ ก็ถูกทั้งนั้นแหละ ทีนี้ อาตมาอยากจะให้ความรู้ แก่พวกเรา คำว่าศรัทธา อย่างพวกเรานี่ คนที่ศรัทธา อาตมาที่มีจริต เมื่อศรัทธาแล้ว ก็แสดงออก อยู่ในรูป ที่พอใจจะแสดงออก บางคนแสดงออกในการเคารพนบนอบ มีคารวะ มีลักษณะของ การคารวะ ที่มากเอาการเลยนะ อย่างคราวที่แล้ว คุณสามแก้ว ชื่อเดิมเขาชื่อศิริชัย คุณสามแก้ว ที่ไปบุรีรัมย์ ออกมากราบนอบน้อม เลยกราบ เอาหัวจดเท้า เอามือแตะเท้า เพราะว่าพวกเรากราบ ที่หัวจะจดลงไปด้วยใช่ไหม ก็จดเท้าลงไป ต่อหน้าธารกำนัล แล้วก็เป็นเจตนา อยากจะทำให้คน เห็นด้วยนะ อยากจะทำให้คนเห็นว่า เรานี่เคารพ บูชายกย่อง นอกจากเคารพ บูชาแล้ว ก็แสดงอาการยกย่องเชิดชูให้เป็นสูงน่ะ ที่เอาหัวที่สูงของตน ลดต่ำลงไปหาเท้าที่ต่ำ ของอาตมา ให้เห็นว่ายกย่องเชิดชู เป็นการแสดงด้วยรูปธรรม รูปแบบ อะไรอย่างนี้เป็นต้น ก็มีในพวกเรา ไม่แสดงถึงขนาดนี้ ไม่แสดงอาการคารวะถึงขนาดนี้ โดยรูปนอกก็มี แต่ในใจก็เคารพ คารวะยกย่อง เชิดชูเหมือนกัน แต่จริตของเขา ลักษณะของคน แต่ละคนนะ เขาก็ไม่ได้แสดงออกอย่างนี้ ไม่กล้าแสดงออกถึงอย่างนี้ ในรูปนอกที่จะแสดงออก ไม่กล้าก็มี แต่ใจลึกๆ เท่านั้นก็มี

เพราะฉะนั้น จริตของคนที่กล้าแสดงออกในรูปลักษณะอย่างนั้น กับ จริตของคนที่ไม่กล้า แต่มีความเคารพ ยกย่องเชิดชูเท่าๆกันได้ แต่การแสดงออก โดยรูปนอก ข้างนอก กิริยาข้างนอกนี้ ไม่เท่ากันก็มี ในหมู่พวกเรานี่มี และอาตมาเชื่ออีกอย่างหนึ่งอีกด้วยนะว่า ในหมู่พวกเรานี่ ถ้าพวกคุณไม่ศรัทธา เลื่อมใสอาตมาจริงๆแล้วละก็ พวกคุณจะเสแสร้ง กระทำการยกย่องเชิดชู เคารพต่อหน้าธารกำนัล หรือทำอย่างนั้น อาตมาว่าไม่มี ไม่มี ฟังทันนะ คือคนที่จิตใจไม่ได้ เคารพยกย่อง เชิดชูมากมาย แต่ไปแสดงกิริยาทางกาย ทางรูปนอกออกมาอย่าง เชิดชูยกย่องสูง ต่างกันกับจิตใจ ที่ตัวเองยกย่องเชิดชูนั้น อาตมาว่าในพวกเราไม่มีๆ ไม่เหมือนโลก โลกๆเขามีไหม มีไหม มีเป็นธรรมดา ใจไม่ได้เคารพเชิดชูศรัทธา เลื่อมใสยกย่องอะไรอย่างนี้หรอก ใจไม่มี แต่แสดงได้ ทางกายแสดง แหม! เพื่อลาภ ยศ สรรเสริญ โลกียสุข อามิส มันจะเป็นอย่างนั้น โลกียะมันจะเป็นอย่างนั้น มันทำได้เพื่อสิ่งที่เขาต้องการ แต่ของพวกเรานั้นน่ะ แสดงออก ไม่ได้ต้องการอะไร ไม่ต้องการอามิส ไม่ต้องการลาภ ยศ สรรเสริญ โลกียสุขอะไร ไม่ต้องการ

เพราะฉะนั้น เมื่อไม่ต้องการ มันก็จะแสดงออกแต่สิ่งที่จริงเท่านั้น ขนาดจริงยังไม่กล้าแสดง รูปนี้ออกมา รูปนอกออกมาก็ยังมี ยังมี เพราะฉะนั้น มันจะต่างกันกับโลกียะเขา ต่างกับโลกียะ ทีนี้โลกียะเขาแสดงออกอย่างนั้นแหละ คนส่วนมาก เขาก็เห็นแต่โลกียะ แล้วเขาก็รู้ อย่างที่เราพูดกัน เขาก็รู้ว่า มันไม่จริงหรอก มันแสดงเสแสร้ง ทำเป็นเคารพนบนอบเชิดชูยกย่อง ทำเป็นอย่างนั้น ๆ น่ะ แต่ใจจริง มันไม่เป็นอย่างนั้น เขาก็รู้ แล้วเขาก็มีกันอย่างนั้นๆ กันดื่นไป

เพราะฉะนั้น ความเชื่อมั่นอันนี้ ในคนข้างนอกนี่ ไม่มีเหมือนอย่างพวกเรามีกัน ความเชื่อ มันเป็นศรัทธาอย่างนั้นน่ะ เขาไม่รู้ แล้วเขาก็จะไม่เข้าใจ อย่างที่อาตมากำลังพูดสู่พวกเราฟัง เขาจะไม่เข้าใจอย่างนี้ คนข้างนอกบอกว่า พวกเรานี่ศรัทธาได้แล้วก็ทำได้ถึงขนาดนี้ กับพวกเรา ที่ศรัทธาได้แล้วยังไม่ทำให้เขาเห็นถึงขนาดนี้ ไม่ได้ทำให้เขาเห็นอย่างที่ว่า ไม่กล้าแสดงออกอย่างนั้น ก็มีอยู่เยอะ เพราะฉะนั้น ในสิ่งที่แสดงออกนี่ คนที่เขารับได้ว่า แสดงอย่างที่เชิดชูนี่ เขารับได้ก็มี รับได้ว่า แหม ! นี่ ต้องเคารพนบนอบเชิดชูกัน ยกย่องกันจริงๆอย่างสนิทใจ เขาเชื่อด้วย เขาเห็นด้วยว่า เออ ! เคารพจริงๆ ไม่ได้เสแสร้งก็มี แล้วพวกเราแสดงนี่ มันจะจริงจัง แล้วคนจะเห็น ได้ง่ายขึ้นกว่า นอกจากคนที่มีอคติในใจก็บอกว่า ไอ้พวกนี้มันแกล้งมาทำทีเชิดชูกัน มายกย่องกัน อย่างที่เขาก็มีๆกัน มันก็ทำเหมือนกูทำล่ะว้า เหมือนกับคุณเฉลิม อยู่บำรุง เขาว่า พวกเราน่ะ ไอ้นี่จ้างมา จ้างมากราบ แต่ก่อนผมก็เคยทำ ไอ้จ้างๆมาทำอย่างนี้น่ะ ผมจ้างมานักแล้ว ผมก็เคยทำ เหมือนกับคุณเฉลิม อยู่บำรุง เขาเคยพูดใช่ไหม นั่นน่ะ เขาก็เข้าใจอย่างนั้นน่ะ เขาว่าเขาเคยเป็น เขาก็เคยทำ แล้วตัวเขาก็เคยทำมาแล้ว คนอย่างนี้ก็มี

ทีนี้ คำว่าศรัทธานี่นะ อาตมาจะขยายต่อเป็นความรู้ไปในตัว จะไม่พูดมาก วันนี้วันพุธ ที่จริงมีไอ้นี่ต่อ ก็เลยพูดไปอีกหน่อย คำว่าศรัทธา มีท่านสีลวัณโณ มาถามอาตมา พูดถึงศรัทธา อ่านหนังสือพิมพ์ ท่านก็ข้องใจเรื่องศรัทธานี่ หลายทีแล้ว พออ่านให้ฟังเมื่อวานนี้ ก็เลยติดใจ เรื่องศรัทธา เอ๊ ! ทำไมผมไม่มีศรัทธาเหมือนคนอื่นนะ คนอื่นเขาศรัทธาๆ มีสัมมาคารวะ มีอ่อนน้อม มีอะไรต่ออะไร ทำไมผมมันรู้สึกกระด้างๆ ท่านก็เลยรู้สึกติดใจ และน้อยใจได้นะ เราไม่มี ท่าทีลีลา อย่างนี้ ไอ้เราทำมันก็ไม่ถนัด มันเป็นจริต อาตมาก็รู้ว่า มันเป็นจริตของท่าน อาตมาก็ย้ำกับท่าน แล้วว่า ดีแล้วล่ะ คุณมีจริตอย่างนี้ก็ดีแล้วล่ะ อาตมาก็ได้ย้ำกับท่าน แล้วบอกว่า ไม่ต้องไปเสียใจ หรือไม่ต้องไปน้อยใจ หรือไม่ต้องไปตกใจ ไม่ต้องไปกลัวอะไรหรอก ว่าเราไม่มีท่าทีอย่างนี้ แล้วคนเขาจะว่า เพราะว่า ไปเทียบกับท่านติกขวีโร บางทีท่านติกขวีโรยังมีเลย ผมรู้สึกนะ ว่าท่านติกขวีโรยังมี ผมมันไม่มี ว่าอย่างนั้น แล้วมันก็เลยรู้สึกจะไปเป็น เลยกลายเป็นเกรงๆว่า เอ๊! เราไม่มี เดี๋ยวใครพวกญาติธรรมใครๆจะบอกว่า ปัจฉาอะไรไม่นอบน้อม ไม่มีท่าที ลีลาสัมมาคารวะ ที่น่าประทับใจ ว่าอย่างนั้นน่ะ อาจจะเป็นอย่างนั้นก็ได้

อาตมาก็ว่า ไม่ต้องไปกลัวไปเกรง ไม่ต้องไปหวั่นไหว ไม่ต้องไปเที่ยวได้หวาดระแวงอะไรหรอก ดีแล้วล่ะ อาตมากลับเห็นว่า ดีตรงที่ว่า ท่านสีลวัณโณทำได้ก็ดีอยู่ ก็ดีตามจริตของท่าน ก็ไม่ได้เสียหาย ไม่ได้ดูแข็งกระด้าง ใครรู้สึกว่าท่านสีลวัณโณแข็งกระด้างบ้าง ใครรู้สึกบ้าง กระด้างๆบ้าง ที่ปฏิบัติต่อท่าทีลีลาของท่าน ปฏิบัติต่ออาตมา ใครรู้สึกว่าท่านแข็งบ้าง ไม่มีลักษณะ ศรัทธาอะไร ที่จะโน้มน้อมลงมา กิริยา ไม่มีหรอก ดีแล้ว ไม่มีใครรู้สึกหรอก สบายใจได้ แหม ! ไม่ต้องไปเกรง ไปกลัวอะไรหรอก แล้วอาตมาก็ขยายความให้ฟังแล้วว่า เรื่องกริยาหรือจริตพวกนี้ มันเป็นการฝึกน่ะ อย่างที่ว่า คนมันไม่ศรัทธาอะไรสักหน่อยหนึ่ง มันก็ยังไปเสแสร้งทำกิริยา แหม! อย่างกะดูดดื่ม เชิดชูยกย่องอะไรกันนักกันหนา ก็มีเต็มประเทศ เต็มมนุษยชาติไป มันน่าเกลียด เสแสร้งทำน่ะ มีออกมากมายด้วยซ้ำไป อย่าไปตื่นเต้นตกใจอะไรกับมันทำไม มันไม่ประหลาด อะไรหรอก

เพราะฉะนั้น เรามีขนาดอย่างนี้ก็ดีแล้ว แล้วเป็นความจริงใจ อาตมาก็เห็นว่า คนที่จะศรัทธา ในพวกเรา เราไม่ได้ไปเน้นท่าทีลีลาอะไรพวกนี้ แล้วบอกตรงๆนะว่า อาตมาเอง อาตมาไม่ประสงค์ อยากจะให้ทำอะไรกันนักกันหนาหรอก อย่างนั้นน่ะ แหม ! เข้ามาก็ต้องกราบเท้า กราบตีน อะไรต่ออะไรนี่ อาตมาก็ถกเท้า หรือถอยๆ อยู่บ่อยไป ซึ่งไม่อยากจะให้ทำหรอก มันเกินๆไป แต่ เอาละ แต่ในบางครั้งบางคราว แต่ดูมันจะเก้อเขิน หรือบางครั้งบางคราว มันไม่ทัน ก็ เอ้า ! แล้วๆไป จะมีบ้าง หรือบางทีบางคนก็บอก แหม! ผมขอกราบๆ ผมขอกราบอะไรอย่างนี้น่ะ ก็มากราบให้ที่เท้า นี่จนได้ อะไรอย่างนี้ก็เอาเถอะ ก็แล้วๆไป โดยใจจริงๆแล้ว ไม่ได้ประสงค์ ไม่เห็นว่า มันจะเป็นสิ่งที่ จะต้องกระทำอย่างนี้ เพื่อความเด่น ความโก้ ความหรูอะไร มันมากไป กราบธรรมดา นี่ก็พอแล้ว

ทุกวันนี้ อย่าว่าแต่ธรรมดาเลย เราไปกราบกันตามพื้น อย่างที่กราบกันนี่ ไปศาลก็กราบมันลง กับพื้นนั่นแหละ คนอยู่บันไดก็กราบบันได คนอยู่กับ ถนนก็กราบกับถนน คนอยู่บนชาน ก็กราบบนชาน อะไรอย่างนี้ ขนาดนี้มากที่สุดแล้ว อาตมาว่านะ แบบนี้คนเขาก็ทึ่งนักหนาแล้ว ถ้าจะบอกว่า เป็นรูปแบบที่มีอิทธิพลอันใดอันหนึ่ง ในการโน้มน้อมคน หรือว่าในการแสดงออก ให้คนได้รับรู้ อะไรบางสิ่งบางอย่าง ที่ควรจะรู้ มันก็พอเพียง อาตมาว่าพอเพียงมาก ไม่ได้ด้อย ไม่ได้น้อยเลย อาตมาว่าไม่ต้องถึงขนาด แหม ! แล้วมีแต่ก่อนนี้ จะหาทางขอให้เอาผ้าเช็ดหน้า มาปู แล้วท่านกรุณาเดินเหยียบไปบนผ้าเช็ดหน้านี้ด้วย แหม ! อยากจะได้ไปบูชา ไปอะไรต่ออะไรเอาไว้ อาตมว่าเกิน แล้วอาตมาไม่เคยเหยียบผ้าเช็ดหน้า ให้ใครสักคนเดียว มีแต่ดุแรงๆ กันทุกทีไป เอาผ้าเช็ดหน้า เอาผ้าอะไรมา เดี๋ยวนี้ไม่ค่อยมีแล้ว แต่ก่อนนี้ยังมีอะไร ก็เดี๋ยวนี้ก็แต่มันก็ยังมีจรๆ มาเหมือนกันนะ เดี๋ยวนี้ยังมี มาจากขุมไหน ไม่ค่อยเข้าใจก็โผล่มาบ้างเหมือนกัน มีเหมือนกัน เอามา จะเอาผาเช็ดหน้า เอามาให้อาตมาเหยียบ แล้วก็จะได้เอาไปบูชาเคารพ อะไรนี่ก็ยังมีอยู่นะ นานๆ จะมีจรแว้บมาสักทีหนึ่ง เรียกว่าหลงน่ะ เรียกว่าหลง มีลูกหลงมาเหมือนกัน แต่ก่อนนี้ ก็เคยมีมาแล้ว ก็ห้ามปราม แล้วก็พยายามไม่ให้ทำ แล้ว มันมากไป แล้วบางทีเราก็ไม่ใช่เท้าสะอาดๆ เหมือนอย่าง กับที่ล้าง ขึ้นมาอย่างนี้ ก็เดินอยู่ข้างถนนนั่นล่ะ เลอะๆ เทอะๆนั่นน่ะ จะเอาผ้าเช็ดหน้า ใหม่ๆ อ่องอะไรมาให้เหยียบ มันก็เลอะเท่านั้นเอง มันจะไปมีอะไรเล่า มันจะไปมีท่าอะไร มันก็เปื้อนขี้ฝุ่น ดีไม่ดีเอาเชื้อโรคไปด้วยบ้างนะดีไหม ไม่ได้เรื่องอะไรหรอกน่ะ แต่ก็เข้าใจละ ไอ้เรื่องกิริยา หรือรูปแบบ หรืออะไรๆพวกนี้ ของเขามีกัน แล้วเขาก็ทำอยู่กันเยอะ ที่แยะ เขาก็ทำ เอาเถอะ ใครเขาคิดว่า เป็นความพอดีของเขา คนอื่นเขาเห็นว่าความพอดีก็เป็นเรื่องของเขานะ เขาทำกัน เอ้า! ก็เป็นเรื่องของเขาทำ เขาว่าพอดีนะ ทำอย่างนี้พอดี เขาว่าน่าจะมีรูปแบบอย่างนี้ รูปร่างอย่างนี้ แต่อาตมาว่าไม่พอดีละ มันมากไป อาตมาก็ไม่เอา แล้วอาตมาก็กำหนด เอาเท่าที่พอเป็นไป เพราะฉะนั้น จะมีการเข้ามากราบเท้าบ้าง เป็นครั้งคราว อย่างที่มันเป็นไป มันก็เอา เท่าที่มันเป็นไป มันสุดวิสัย ในบางครั้งบางคราวก็แล้วไป อะไรอย่างนี้เป็นต้น

ทีนี้ คำว่าศรัทธา มันเป็นความเชื่อที่อาตมาพยายามอธิบายให้พวกเราฟัง เป็นคำภาษา ศาสนาที่สำคัญ ในโลกนี้ถ้าไม่เกิดศรัทธาแล้ว มันไม่ได้ มีแต่ ปัญญาไร้ศรัทธา ตัวศาสนา มันถึงไม่เกิดสภาพอะไร สัทธ ตัวนี้นี่นะ สัทธรรม เคยได้ยินใช่ไหม ก็ตัวเดียวกัน สัทธรรมนี่ ธรรมะอันแท้จริงนะ สัท นี่แปลว่า ตัวแท้ตัวจริงเลยนะ เจโต หรือว่าศรัทธา หรือว่าตัวแท้นี่นะ เป็นตัวจิตที่เป็นจริง มีจริง ได้จริงเลย ปัญญาเป็นความรู้ เป็นตัวรู้ความจริง ที่ว่ามันได้จริง หรือว่า มันยังไม่ได้จริง ถ้าได้จริง แล้วก็เป็นสัทธรรม เป็นธรรมะที่แท้จริง เป็นสัทธรรม เป็นธรรมะ ที่ถูกต้องด้วย แท้จริงด้วย นั่นแหละเป็นตัวรากเหง้าศรัทธาเลยนะ รากเหง้าศรัทธาเลย เป็นตัวสำคัญมาก แล้วพวกเรา มาปฏิบัติธรรมนี่ ถ้าเราใช้คำว่าศรัทธา แปลว่าความเชื่อ ก็เป็นเพียงความเชื่อ นำศรัทธาตัวแรก ก็แค่ทิฐิ ฟังดีๆนะ ศรัทธาเอาไปขยายความ ตัวเป็นปัญญาแล้ว ทิฐินี่เป็นสายปัญญา ทิฐินี่เป็นความเห็น เป็นความเข้าใจ เป็นลักษณะปัญญา

ทีนี้ศรัทธาตัวแรก เป็นแค่สุตมยปัญญา เป็นแค่ปัญญาที่ได้ฟัง แล้วก็ เออ! เชื่อถือแฮะ เห็นด้วยๆ เชื่อถือ เป็นความเห็นด้วย เป็นความเข้าใจ เป็นความเห็นดี เห็นด้วย เข้าใจเป็นสุตมยปัญญา เป็นปัญญา เป็นความเห็น เห็นทิฐิ เข้าใจเท่านั้น ก็เป็นลักษณะหนึ่งที่เกิดศรัทธา มีจริงแล้วแต่ว่าผิวเผิน ศรัทธา ผิวเผินศรัทธาเข้าใจ มีตัวขยายความ มีตัวเหตุผล มีตัวหลักฐาน มีตัวหลักการอะไร ก็แล้วแต่ เออ! ดีๆ ดีเข้าใจเห็นด้วย ที่จริงทฤษฏีกับทิฐิอันเดียวกันนั่นแหละ ภาษาบาลีว่าทิฐิ ภาษาสันสกฤตว่าทฤษฏี ตัวเดียวกันนั่นแหละ ทฤษฏีกับทิฐิ เป็นความเห็น เป็นความเข้าใจ เป็นหลักการ เป็นหลักสูตร เห็นแบบ เป็นระบบ หรือ ว่าเป็นหลักเกณฑ์อะไร ก็แล้วแต่พวกนี้ เออ ! อย่างนี้เข้าท่า อย่างนี้แบบนี้ๆ ลักษณะอย่างนี้ เออ! เข้าท่า เห็นด้วย เห็นดี นี่เป็นความเชื่อในเบื้องต้น พื้นฐาน เป็นเบื้องต้นระดับแรก ก็ได้มีลักษณะเชื่อ หรือ ความเห็น ความเชื่ออันนั้น เท่านั้นๆๆเอง เสร็จแล้ว เมื่อเราเอามาปฏิบัติตามความเชื่อนั้น หรือ มีแรงแห่งปัญญา เป็นจินตามยปัญญา ไปคิดทบทวน หรือว่าได้ใกล้ชิดความเชื่อถือนี้ เห็นมีข้อมูล เติมเสริมเข้ามาเรื่อยๆ ความเชื่อนี้มากขึ้น จนกระทั่งเกิดอินทรีย์ เกิดกำลัง อินทรีย์นี่แปลว่ากำลัง เกิดกำลังในความเชื่อ ศรัทธาพละนี่กำลัง แต่ว่าเป็นกำลังเพิ่มเติมขึ้นมาเรื่อยๆ เป็นอินทรีย์ เพิ่มขึ้นมาในตน เพิ่มขึ้นๆ มันก็ถึงขั้นว่า เอ๊ มันต้องทำตามแล้ว มันต้องลองดูแล้ว เชื่อฟัง ที่อาตมาใช้ภาษาไทยว่าเชื่อฟัง จาก ศรัทธาเชื่อถือ แล้วก็มาเชื่อฟัง พอถึงขั้นเชื่อฟัง เราก็ลงมือ ทำตาม ทำตามหลักการ หรือตามความเห็น ตามทฤษฏีที่ได้นี้แหละ ทำตาม เมื่อทำตามแล้ว จึงจะเกิดผล ปฏิบัติถูกต้องแล้ว มีผลขึ้นมา สั่งสมผลขึ้นมา มากขึ้นๆๆๆๆ กำลังของศรัทธาก็มากขึ้น กำลังของความเชื่อก็เพิ่มพูนขึ้นๆๆๆๆๆ จนถึงรอบสมบูรณ์ เห็นด้วยปัญญา ประกอบด้วย เห็นเป็นญาณ เป็นปัญญาที่เห็นของจริง เห็นสิ่งที่ได้ สิ่งที่เป็น หรือสิ่งที่ดี ๆ ที่เราเกิดในตัวเรา เราเลิกชึ่ว เราละชั่ว แล้วเราก็ดีขึ้น เลิกตั้งแต่กายกรรม เลิกตั้งแต่ วจีกรรม เลิกในจิต ลดละล้างออก จากจิตที่เป็นสิ่งไม่ดี กิเลสตัณหาอุปาทาน ความยึดถือ ความที่มีในจิต เรียกว่า มีฤทธิ์มีแรง ล้างมันออก ลดมันออก ทำให้มันอ่อนแรงลง ทำให้มันตายไป กิเลสหรือว่าตัวไม่ดี ตัวชั่วตัวบาป ตาย ไปๆๆๆๆๆๆๆๆ ตายไปเรื่อยๆ จากจิต จนคุณเห็นว่า ตัวบาปตายจริงๆ กิเลสจริง นี่คุณ เห็นด้วยญาณนะ คุณเห็นด้วยทัสสนะวิเศษ เป็นการเห็น อย่างตาทิพย์ คุณยิ่งเห็น ด้วยปัญญา หรือตัวญาณ เห็นความจริง คุณก็ยิ่งเชื่อความจริง การเชื่อความจริง ของตนเอง ที่ตนเองได้ ตนเองมี ตนเองเป็นนั้น เป็นความเชื่อ ไม่ได้เชื่อถืออาตมา ไม่ได้เชื่ออาตมา แต่เชื่อสัจจะความจริงที่เราได้ เราเป็น เรามี นี่แหละ เรียกว่า ตัวศรัทธาแท้ๆ

เพราะฉะนั้น จะบอกว่ามีศรัทธาสูง มีศรัทธาพละ สมมุติว่าแหม ! เป็นความเชื่อมั่นเต็มเลย ครบรอบ เราได้สิ่งดี สิ่งประเสริฐ สิ่งวิเศษอันนี้ หรือ เป็นคุณค่า คุณงามความดี อะไรก็ตามใจ เราได้แล้วจริง เป็นจริงแล้วนี่ แล้วเราก็เชื่อมั่น ในสิ่งที่ได้นั้น จึงเรียกว่า ศรัทธาที่เต็ม เป็นศรัทธาที่สูงสุด แล้วคุณได้ธรรมะ คุณศรัทธาในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ หรือธรรมะที่ได้นั้น ธรรมะที่ พระพุทธเจ้า ท่านสอน แล้วอาตมาก็เอามาให้คุณรู้ คุณรู้แล้วคุณก็เอาไปทำ จนคุณได้ แล้วคุณก็เชื่อในสิ่งนั้น คุณได้สิ่งนั้น มันก็จะตรงกับอาตมาเคยได้ แล้วอาตมาก็เอามาบอก คุณทำเอาซิ อาตมาได้แล้ว อาตมาก็บอกคุณทำอย่างนี้ คุณจะได้เหมือนกัน คุณก็เชื่อเหมือนกัน คุณก็เห็นเหมือนกัน มันจะเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน มันจะตรงกัน

เพราะฉะนั้น คุณศรัทธาในธรรมะอันนั้น เชื่อถือหรือศรัทธาในธรรมอันนั้น ก็เท่ากับคุณศรัทธา เชื่อถือในธรรมะ อันที่อาตมามีอยู่ในตัวอาตมาเหมือนกัน ทีนี้มันจะเป็นแต่เพียงว่า ถ้าเผื่อว่า คุณจะศรัทธาอาตมา ก็ตรงที่เคารพนับถือว่า อาตมานำมาบอกคุณ คุณทำเอง คุณได้ของคุณเอง นำมาแนะนำกับคุณเท่านั้น หรืออาจจะแถมหน่อยก็ตรงที่เคี่ยวเข็ญคุณบ้าง คุณก็เลยได้ไป เพราะคุณโดนเคี่ยวเข็ญ นี่ทวงบุญคุณหน่อยหนึ่ง ทวงบุญคุณจากคุณหน่อยหนึ่ง ว่าได้เพราะถูก เคี่ยวเข็ญ แต่ไอ้คนที่เคี่ยวเข็ญแล้ว ก็ยังไม่ได้นี่ ขอทวงบุญคุณซ้ำ เข้าไปอีกว่า ทำให้อาตมาเมื่อย เข้าไปใหญ่เลยนะ แหม! แล้วก็ไม่ทำ อุตส่าห์เคี่ยว อุตส่าห์เข็ญเหนื่อยเหน็ด แต่เสร็จแล้วก็ไม่ทำ แหม ! แล้วบุญก็ไม่ได้ คุณก็ไม่มี ทวง ทวง ก็ยังไม่มีบุญ ไม่มีคุณ เพราะคุณยังไม่ได้น่ะ คุณยังไม่ได้บุญอันนั้น คุณยังไม่ได้คุณอันนั้นเลย ทวง แต่ไอ้ที่สอนไปฟรีๆน่ะ สอนไปเปล่าๆ เมื่อยเปล่าๆ นั้นน่ะ เป็นหนี้อยู่นะ ระวังนะ ไปทวงว่าเอามาใช้หนี้ ประเดี๋ยวมันจะเจ๊า ไม่เอา ประเดี๋ยวทวงมากๆ ประเดี๋ยวจะเจ๊ง อาตมาเคยพูดว่า ทวงบุญคุณนี่มันเจ๊านะ ทวงมากเข้าเจ๊ง ถ้าอย่างนั้นไม่เอา พอ ไม่ทวงบุญต่อ ไม่ทวงคุณต่อ

เพราะฉะนั้น ศรัทธา หรือศรัทธินทรีย์ ศรัทธาพละที่อาตมาพยายาม เจาะลงไปให้ฟังเมื่อกี้นี้ จริงๆแล้ว มันเกิดได้แต่ในบุคคลที่มีจริง เป็นจริง แล้วเราเชื่อนะ ศรัทธาที่เขากล่าวศรัทธาอย่างโลกๆ อย่างศรัทธานั่นก็อีกอย่างหนึ่ง เชื่อมั่นอย่างหนึ่ง ทีนี้มาศรัทธาอย่างนี้นี่แหละ ที่มันสูงกว่า ศรัทธาข้างนอก ตรงที่อาตมาอธิบายตั้งแต่ต้นแล้วว่า ถึงขั้นมีกราบ มีการแสดงออก ทางกายกรรม เคารพนับถืออย่างนั้นก็มี หรือไม่แสดงออกทางกาย ไม่กล้า มันเป็นจริตของผู้นั้น ผู้นั้นไม่กล้า แสดงออกอย่างนั้น เหมือนคนไม่กล้า ทั้งที่มีภูมิธรรม มีอะไรต่ออะไรอยู่ในตัวนะ แต่ไม่กล้า แสดงออก มันก็คล้ายกันน่ะ ไม่กล้าพูด ไม่กล้าอธิบาย แต่มีนะ ในตัวมีเยอะด้วยซ้ำ บางคน มีน้อยเดียว แต่แหม! กล้าจังเลย แสดงจังเลย ฉอดๆๆๆ มีนิดเดียว บางคนเขามีเยอะ แต่เขาไม่กล้า เขาไม่ถนัด ไม่ชำนาญ มันไม่ชิน มันก็เป็นได้ มันเป็นจริตที่ได้เคยสั่งสมมา คนที่กล้าแสดงออกก็ตาม ไม่กล้าแสดงออกก็ตาม แต่ถ้าเขามีศรัทธา ศรันธินทรีย์ ศรัทธาผล อันที่เขามี ดั่งที่อาตมา อธิบายไปแล้วนั้น ตัวนั้นน่ะ เป็นตัวศรัทธาแท้ๆ จะว่าสูงหรือว่าต่ำ อยู่ที่นั่น

เพราะฉะนั้น การแสดงออกข้างนอกนั้น มันปลอมแปลงก็ได้ ไม่ปลอมก็ได้ เท่านั้นเองใช่ไหม ไอ้ที่ปลอมแปลงอย่างที่ว่า อย่างที่โลกๆเขาแสดงกัน แหม! ทำเป็นยกยอปอปั้นชูเชิด โลกๆ ก็เท่านั้นเอง บางที บางคนนี่ แหม! ทำกราบไปแล้ว แหม! ด่าในใจไปด้วยซ้ำไป ให้กูต้องกราบ ให้กูต้องมาเคารพ จำเป็นมันจำนน เขาจะต้องตกอยู่ใต้อำนาจ อะไรก็แล้วแต่ อำนาจ ลาภ ยศ สรรเสริญ โลกียสุข หรือว่าถูกบังคับอะไรก็ตาม เขาต้องทำ อาจจะกราบไปแล้ว ก็ด่าไปในใจก็ได้ คุณก็ทำไอ้อย่างนั้น มันก็เท่านั้น มันไม่ใช่ศรัทธาอะไรเลย ศรัทธาอะไร มันไม่เรียกศรัทธาอะไร แต่เขาอ่านว่าอย่างนั้นแหละ ศรัทธาอย่างนี้ศรัทธา อ่านโดยโลก เปลือกๆน่ะ อ่านเปลือกๆ มันไม่ใช่หรอก เพราะฉะนั้น อย่าไปเอาอันนั้นเป็นหลักเดียว อย่าไปเอาการแสดงออกนั้นเป็นหลัก แต่การแสดงออกนั้น ก็มีประโยชน์ การแสดงออก ต่อการเคารพนบนอบอย่างนั้น ก็มีประโยชน์ ไม่ใช่ไม่มี เป็นยัญพิธีได้ เป็นรูปแบบการคารวะ คารโวได้ เพราะฉะนั้น โลกจึงมีการคารโว ด้วยรูปแบบ มีการไหว้ มีการโค้ง มีการนอบน้อม การทำรูปไหว้ด้วยลักษณะแต่ละคน แต่ละแบบ ไหว้ด้วยศาสนาอื่น อาจจะไหว้ทำท่านี้ แค่นี้ ไหว้ประนมก็มี ไหว้ทำท่าแบๆอย่างนี้ก็มี อะไรก็แล้วแต่ ก็เขาจะทำน่ะ แล้วแต่สมมุติน่ะ สมมุติให้เขาเข้าใจว่านี่เป็นกิริยา ที่เขายกย่อง กิริยานอบน้อม กิริยาเคารพ อะไรก็ได้ แล้วแต่จะสมมุติกันแบบไหน ของลัทธิไหน ศาสนาไหนก็ทำได้ อย่างโค้ง อ่อนน้อมถ่อมตน โค้งน้อมหัวนี่ ก็คล้ายๆกันน่ะ ส่วนใหญ่โค้งน้อม

บางลัทธิ บางพวก บางหมู่ อย่างญี่ปุ่นนี่เขาโค้งกันจังเลย โค้งแล้วโค้งอีก โค้งกันจังเลย เราก็พยายาม ที่จะเอามาให้พวกเรา แต่พวกเรา สงสัยมันกระดูกสันหลังแข็งนะ หัดเท่าไหร่ก็ไม่ลง ไม่ค่อยได้ มาทำของเราก็ทำไม่ได้ แต่มันก็ดูดีนะ ถ้าทำได้ มันก็ดูดี อ่อนช้อย ดูงามดีนะ จริงนะ อาตมาเห็น ทางญี่ปุ่นเขาทำ แล้วพวกอาตมาก็คงจะรู้สึกกันไปหลายคนล่ะ เอาหนังญี่ปุ่นมาดูแล้ว โอ้ ! ชอบใจนะ คือ มันไม่ประดักประเดิดแล้ว ทำได้อย่างเรียบร้อย แล้วมันก็ดูดี ส่วนพวกเรา ทำเข้าบ้างซิ ดูมันกระเด้งกระด้างอย่างไงไม่รู้นะ มันประดักประเดิด มองดูแล้ว มันไม่ค่อย จะเข้าแก๊ปเท่าไหร่หรอก ดูแล้วมันเอ๊ ! มันดัดจริต มันดูไม่เข้าร่องเข้ารอยเท่าไหร่ มันไม่เหมือน แต่ญี่ปุ่นเขาทำแล้ว มันเข้าร่องเข้ารอยดูดี นะ ไอ้เราทำแล้ว ดู แหม! มันชอบกลๆ มันไม่ค่อย เข้าท่าเท่าไหร่ แล้วเราก็พยายามจะหัดบ้าง จะทำอะไรบ้าง มันไม่สำเร็จ ไม่ได้ ใครจะทำดูบ้าง ก็เอานะ ลองดูบ้าง โค้ง แต่โค้งก็มีทั่วไปนั่นแหละ โค้งมาก โค้งน้อยมีทั่วไป แต่ ของญี่ปุ่นเขานี่โค้ง โค้งเข้าท่าๆ คะนิชิวะ นั่นมันแล้วแต่ ใครจะมีจริตกิริยา ทางกายกรรม วจีกรรมอะไรพวกนี้ แสดงความนอบน้อมทางกาย วาจาอะไรได้ แล้วดีด้วย ไม่ใช่ไม่มีผลดี มีผลดี แต่เราอย่าไปติดยึดกัน จนเกินการ

นี่อาตมาพูดเจาะลึกถึงลักษณะศรัทธาที่แท้ว่า เนื้อปรมัตถ์ เนื้อหาสาระแท้ มันอยู่ที่ไหน แต่ในการแสดงออกข้างนอก มันก็อย่างนั้น แล้วมันก็มีประโยชน์ จะเอามาประกอบ ต้องประกอบ ต้องใช้ มันจะต้องมีการกราบไหว้ คารวะ ในสมัยพระพุทธเจ้าก็เหมือนกัน พระพุทธเจ้านี่ ถือ จะว่าท่านไม่ถือ ไม่จริงนะ ท่านถือน่ะ ท่านยึดถือนะ ท่านไม่ไหว้ใคร นี่เป็นความยึดถือชนิดหนึ่ง ท่านจะไม่ไหว้ใครก่อน คนที่จะไหว้ตอบบ้างก็จะมี สำหรับคนที่ควรไหว้ตอบ แต่คนที่จะไม่ ไหว้ตอบเลย ก็มี แล้วท่านจะไม่ไหว้ใครก่อนนี่ เป็นการถือของท่านเลย ไม่คารวะ ไม่ไหว้ใครก่อน ไม่ลุกรับใครก่อน อะไรอย่างนี้เป็นต้น ซึ่งมีอยู่ในพระไตรปิฎก ยืนยันเอาไว้ชัดหลักฐานแล้วก็จริง เป็นลักษณะหนึ่ง ซึ่งเป็นการยกธรรม ไม่ใช่ถือตัว อันนี้เป็นเรื่องลึกซึ้ง ถ้าเข้าใจไม่ลึกซึ้ง เราก็ต้อง เพ่งโทษ แต่ถ้าใครเข้าใจลึกซึ้งแล้วไม่เพ่งโทษ เป็นเรื่องที่สมควรแล้ว เป็นเรื่องจริง ที่เรายอมรัรบ คนอื่น เขาไม่รับ เขาก็ติติงเอา แต่คนที่ยอมรับ อย่างเรายอมรับ ก็ต้องยกให้เป็นยอด เลย ถูกแล้ว ดีแล้ว แล้วท่านก็ทำๆ

เพราะฉะนั้น การที่จะมีกิริยาทางกายกรรม วจีกรรม อะไรพวกนี้ จึงมีความสำคัญอยู่เหมือนกัน เป็นยัญพิธีหนึ่ง เป็นรูปแบบพิธีการ ในกิริยา เป็นรูปแบบพิธีการของกิริยามนุษย์ ของพฤติกรรม มนุษย์อันหนึ่ง ที่ต้องใช้ ต้องทำ ต้องประกอบ เพราะฉะนั้น ใครจะมีมาก แล้วก็มากไป ใครจะมีมาก แล้วถ้าจะลดลงบ้าง ถ้ามันมากเกินไป เราก็ลดกันอยู่ แต่ใครไม่มีเลย ไม่ได้ ต้องมีตามเหมาะ ตามควร ตามสมกับกิริยา สมกับบุคลิกของตนเอง อย่างท่านติกขฯ จะมีขนาดของท่าน ท่านก็ดูพอดี ดูพอเหมาะ พอสม เวลาท่านอยู่กับอาตมา ท่าทีของท่านปฏิบัติกับอาตมา ท่านก็ทำพอเหมาะ พอสม หรือปฏิบัติกับเพื่อนสหธรรมมิกนักบวชด้วยกัน ท่านก็ทำพอเหมาะพอสม จะไปปฏิบัติกับ พวกคุณ ท่านก็ปฏิบัติท่าทางอย่างนั้น ท่านสีลวัณโณ เมื่อวาน อธิบายบอกแล้ว เอ๊! เวลาอยู่กับท่าน เอ๊! อย่างนี้ แต่เวลาท่านอยู่กับญาติโยมนี่ ท่านก็มาด แหม! ท่านสีลวัณโณ ท่านบรรยาย ท่านก็มาดของท่าน ว่าอย่างนั้นน่ะนะ อาตมาก็เห็นก็เข้าใจ ก็เป็นมาดของท่าน ไม่ดูแข็งๆ อะไรมากเกินไปหรอกนะ

ก็อย่างท่านติกขวีโรนั่นแหละ แต่เราก็รู้ได้นั่นแหละ อธิบายเป็นภาษา เราเข้าใจกัน เพราะเราคบคุ้นกันอยู่ เรารู้กิริยาตลอดเวลา ว่ากิริยาเราปฏิบัติกันอยู่ เป็นปกติธรรมดาสามัญ เราก็รู้ว่า เออ! แล้วมันเหมาะพอดีไหมล่ะ ก็พอเหมาะพอดี ไม่ต้องเอาเราไปเปรียบเทียบกับคนนั้น เอาเราไปเปรียบเทียบกับคนนี้หรอก มันก็มีกิริยาอยู่แล้ว พอเป็นพอไป ก็ใช้ได้ ไม่มีปัญหาอะไร อย่างพวกเรานี่ พวกคุณแต่ละคนๆ ก็มี มีบ้าง คนที่กระด้างเกินไป น่าจะมีมากกว่านั้นก็มีบ้าง น้อยไปมากไปก็มีบ้าง เราก็ติงกัน ก็พยายามบอกกัน ว่ามันแข็งไป กระด้างไป มันดูไม่ดีหรอก ก็ได้ติงกันอยู่หลายคน แต่ก็แก้ไม่ได้ก็มี แก้ไม่ได้ พยายามแก้ยังไงก็แยกยาก บางคนน่ะ เป็นอยู่ ก็ไม่รู้จะทำอย่างไร หลายๆคน หลายๆความรู้สึก หลายๆตา หลายๆคนเห็น หลายๆคนรับรู้นี่ แล้วเราจะประเมินค่า เราบอกกันได้ แล้วก็ค่าของส่วนรวมนี่แหละ มันจะรู้สึก คนในโลกนี้ เราไม่ได้กำหนดเอาที่ตัวเองหรอก คนอื่นๆกำหนดให้เราทั้งนั้นแหละ ถ้าพวกคุณไม่กำหนด ให้อาตมาว่า อาตมาอย่างนี้แหละไม่น่าเกลียด อย่างนี้แหละดีแล้วละ สูงอย่างนี้ ทำท่าอย่างนี้ สูงอย่างนี้ไม่น่าเกลียด ถ้าเราสูงอย่างนี้ไปก็ไม่น่าดู ถ้าต่ำกว่านี้ไปก็ไม่ดี ไม่ยอม พวกคุณก็ไม่ยอมด้วย ต่ำกว่านี้ไปไม่ยอมไม่ดีล่ะ ขนาดนี้พวกคุณก็กำหนด ข้างนอกเขาก็กำหนด ให้อาตมาอย่างหนึ่ง ที่เขาเคารพนับถือ เขาก็กำหนดอีกอย่างหนึ่ง คุณก็กำหนดอย่างหนึ่ง เราก็ต้องรู้ระดับไว้ว่า เรานี่จะทำได้ แค่ไหน

เพราะฉะนั้น แต่ละคนๆ ต้องรู้ตัวว่า ใครให้เราได้แค่ไหน ถ้าอาตมาจะแอ๊คเต๊ะท่ากว่านี้ พวกคุณก็เห็นว่าเกินไป แล้วอาตมาก็เต๊ะท่าอย่างนี้ เกินที่พวกเรา แม้แต่พวกเราก็เห็นว่า มันมากเกินไป แบบนี้ก็อยู่ไม่ได้ แต่ฉันเห็นว่าอย่างนี้ใหญ่ล่ะ ฉันเห็นว่า ฉันต้องทำถึงขนาดนี้แหละ มันก็ไปไม่รอด แม้แต่พวก เราก็ยังเห็นว่า มันมากไป ยังไม่ยอมรับ แล้วคนอื่นยิ่งไม่รับใหญ่ คนนั้นหลงตัวเอง อยู่อย่างนั้น หลงตัวเอง เพราะฉะนั้น จะต้องมีการติติงกันบอกว่า ลดลงมาเถอะ ก็ลดลงมาให้ได้ เพราะว่าเรากำหนดไม่ถูกต้อง อะไรในโลกนี้ เรากำหนดเองไม่ถูกต้อง ไม่ถูกต้อง ถ้าจะอย่างอนุโลม หรือว่าอย่างที่เป็นสามัญที่สุดก็ ถ้าเรากำหนดแล้วว่าถูกต้องขนาดนี้ แล้วหมู่ฝูง ก็เห็นด้วยว่า เออ ! ใช่แล้ว ขนาดนี้ถูกต้อง เช่นพระพุทธเจ้าท่านกำหนดของท่านว่า ไม่ไหว้ใครก่อน พระพุทธเจ้าท่าน กำหนดของท่าน เรายอมรับเลยว่า ต้องให้พระพุทธเจ้าไม่ไหว้ใครก่อน เราต้องให้อย่างนี้ เอ้า! อย่างนี้ถูก อย่างนี้ใช่แล้ว ใช่แล้ว เพราะว่าไม่มีใครก่อนไปกำหนด ให้พระพุทธเจ้าไหว้ใคร ท่านกำหนดของท่านเอง แต่เดิมเลย ท่านไม่ไหว้ใครก่อน อย่างนี้เป็นต้น เอ้า! ใช่ หรือแม้แต่ในเมืองไทย พระสงฆ์ของไทย ไม่ไหว้นักบวชลัทธิอื่น เขาจะไหว้ก็ไม่ยกมือไหว้รับนะ แต่นักบวชลัทธิอื่นเขาไหว้รับนะ นักบวชลัทธิอื่นเขาไหว้รับกัน แต่พระของเมืองไทยนี่ ไม่ต้อง เมืองจีนนะ ไหว้ฆราวาสด้วย นี่ไม่ต้องพูด พระเมืองจีนน่ะ ไหว้แม้แต่ฆราวาส พระเมืองไทยนี่ ไม่ไหว้แม้แต่นักบวชไหนเลย อย่าว่าแต่ไหว้ฆราวาส ไม่ไหว้นักบวชไหน ไม่ยกมือไหว้นักบวชอื่น นอกจากนักบวช ในลัทธิของตน หรือแม้แต่นักบวช ในลัทธิของตน ที่จะไม่รับไหว้บางรูป พระพุทธเจ้า ก็อนุญาตอยู่แล้ว ในนานาสังวาส ที่เราเห็นว่า เป็นอธรรมวาที เราไม่ไหว้ หรือ ไม่ไหว้ตอบก็ได้

ทีนี้ในเมืองไทยเรากำหนดอย่างนี้ว่า พระสงฆ์ของไทยนี่ไม่ไหว้ ไม่ยกมือไหว้รับ แม้นักบวชอื่นจะไหว้ เราก็ไม่ยกมือรับนี่ ก็เป็นการกำหนดของสงฆ์ทั่วไป ในพวกเราแล้ว พระพุทธศาสนิกชนในพวกเรา จำนวนมาก เข้าใจอย่างนี้ กำหนดอย่างนี้มานาน เพราะฉะนั้น ลัทธิอื่นที่เข้ามาอยากได้เหมือนกัน อยากได้ให้สงฆ์ไทยนี่ไหว้ตอบก็ไม่ได้ แล้วก็ขัดเคืองไม่ได้ เขาอาจจะขัดเคืองส่วนตัวบ้าง ก็ช่างเขาเถอะนะ แต่เขาก็ทำไม่ได้ เพราะเขาให้ คนในประเทศนี่ให้ ยอมรับ ว่าอย่างนี้ถูกแล้ว ไม่ต้องไปรับไหว้ อย่างนี้ถูกแล้ว เขาให้น่ะ ทุกๆคนยอมรับอันนี้กัน

นี่ เป็นการกำหนดสมมุติสัจจะ สมมุติสัจจะจะกำหนดกันอย่างนี้อยู่เรื่อยไป นี่อาตมาก็พยายามพูด สิ่งที่ซ้อนๆอยู่นี่ ให้ฟังบ้าง ในโลกนี้ก็มีอย่างนั้นถือว่าสำคัญเหมือนกัน เป็นของสำคัญเหมือนกัน แล้วก็อาศัยสิ่งเหล่านี้ เป็นวัฒนธรรมของสังคม มนุษยชาติ แต่ละหมู่ แต่ละลัทธิ แต่ละกลุ่ม แล้วก็มีผล ยัญพิธีอันนี้ อยากจะเรียกว่ายัญพิธี ซึ่งมีผลต่อการพัฒนา มีผลต่อการสังคม มีผลอันลึกซึ้ง อาตมาคงจะต้องอธิบายให้ฟัง ในเรื่องของยัญพิธีอะไรนี่ คิดว่าจะอธิบายในพรุ่งนี้ เช้าก็แล้วกัน พรุ่งนี้เช้า อาตมาลงเทศน์ จะอธิบายยัญพิธี หรือจะอธิบายสัมมาทิฐิ มิจฉาทิฐิ ๑๐ และมันสัมพันธ์กันอย่างไร เพราะอาตมากำลัง จะเน้นยัญพิธี จะเน้นพิธีกรรม พฤติกรรม กิจกรรม อาตมาจะต้องเน้น พิธีกรรม เพราะทุกวันนี้ พวกเรายังไม่เข้าใจกระจ่าง ยังสับสนกิจกรรม บางคนก็ เห็นหลงกิจกรรมมากกว่า เป็นนักกัมมรามตา ไม่เข้าใจยัญพิธี เป็นกิเลสชนิดหนึ่ง ทำให้เสื่อมโทรม สงฆ์ก็เสื่อม ฆราวาสก็เสื่อม ก็คือสงฆ์นั่นแหละ ก็คือ ผู้ปฏิบัติธรรมนั่นแหละเสื่อม ไม่เจริญขึ้น เสื่อม พระพุทธเจ้าตรัสไว้นะ ไม่ใช่ว่าอาตมาพูด เป็นกิเลสชนิดหนึ่ง

เพราะฉะนั้น หลงกัมมรามตาหรือว่าไม่เข้าใจกรรม จนไม่เข้าใจการกระทำ หรือการงาน จนกระทั่ง ไม่เข้าใจพิธีกรรม แล้วก็ลบหลู่พิธีกรรม นั่นแหละ เรียกว่า หลงกรรม หลงการงาน หลงกัมมรามตา จนกระทั่ง พระพุทธเจ้าตรัสว่า ยัญพิธีมีผล เสร็จแล้วเราก็ไม่เห็นยัญพิธีมีผล อาตมาจะได้สาธยาย ให้ฟังพรุ่งนี้เช้า ให้เห็นว่า พวกเราเองนี่ลบหลู่ แล้วก็มันก็ไม่มีผลอะไรอย่างไร ๆ มันจะสัมพันธ์ กันกับทิฐิ ๑๐ แล้วจะเข้าใจได้ มันลึกซึ้ง จะเข้าใจได้ว่า มันมีผลไม่ให้เราสูงขึ้น เมื่อไม่มีสภาวะ ที่รับทุกๆอย่าง หรือว่าต้องฝึกฝน เราจะต้องมีการกระทบสัมผัสให้รอบถ้วน ให้ทั่วถึง เหมือนอาตมา เคยยืนยันว่า ปฏิบัติธรรมนี่ ให้ปฏิบัติให้เก่ง ให้ตายยังไง ถ้าไม่มาบวชอยู่ในวินัย ทั้งหมด ไม่ถือว่า เป็นพระอรหันต์ เพราะฉะนั้น จะต้องมาอยู่ในกรอบของวินัยของ พระพุทธเจ้าทั้งหมด จึงจะเรียกว่า เป็นผู้ที่สมบูรณ์ เป็นผู้อยู่จบพรหมจรรย์ คือเป็นผู้อยู่จบ ธรรมวินัยนี้ ธรรมวินัย ไม่ใช่มีกึ่งเดียว เพียงแค่ธรรมะ ไม่ใช่มีกึ่งเดียวแค่วินัย ต้องมีทั้งธรรมะและวินัย ต้องยืนยัน พิสูจน์ให้ได้ ว่าวินัยของ พระพุทธเจ้า นี่อยู่เหนือทั้งหมด เพราะฉะนั้น ยัญพิธีของพระพุทธเจ้า หรือยัญพิธีของหมู่ ที่เรายอมรับ เราต้องพิสูจน์ตัวเราว่า เราอยู่ได้จริงๆแล้ว แล้วเราก็ไม่มีการติดยึด ไม่มีอัตตาในสิ่งนี้

เพราะฉะนั้น ในข้อเชิงความเห็นลบหลู่อยู่ในยัญพิธีที่เรารับนี่นะ แค่นั้น มันก็เป็นอัตตาแล้ว แล้วมันจะสูงไปได้อย่างไร เอาไว้พรุ่งนี้ค่อยสาธยายละเอียดๆ ซ้อนๆเชิงให้ฟัง วันนี้ก็นำร่องไว้ก่อน นิดๆหน่อยๆ ก็อาจจะไม่พูดอะไรมาก ปาเข้าไปสิบโมงเกือบห้าหกนาทีแล้ว เอ้า เอวัง ก็มีด้วยประการฉะนี้

สาธุ


ถอดโดย อารามิก ดงเย็น จันทร์ อินทร์ ๕ เม.ย.๒๕๓๔
ตรวจทาน ๑ โดย อุทัยวรรณ ตั้งมั่นสกุล ๑๑ พ.ค.๒๕๓๔
พิมพ์โดย สม.นัยนา
FILE:1518.TAP