ยาวิเศษ แด่นักรบ-นักหลบ
โดย พ่อท่าน สมณะโพธิรักษ์
เมื่อ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๕
ณ พุทธสถานปฐมอโศก

ที่อาตมาพยายามแก้ไขสัมมาทิฏฐิ แก้ไขให้จากมิจฉาทิฏฐิ ให้เป็นสัมมาทิฏฐิ ในพวกเรา ชาวอโศกนี่มาก แก้ไขมาจนกระทั่ง วันนี้ก็ยังยากอยู่เลยที่จะแก้ไข คือ เลือดฤาษีนี่ แก้ไม่ตก แก้ยังไง ก็ยังยากอยู่เลย อาตมาก็ขอพูดซ้ำซาก แล้วก็ขอให้ตั้งใจฟังดีๆ ถ้าไม่ฟังดีๆ จะจมไปตลอด มันเป็นเรื่องลึกซึ้งละเอียดมากมายเลย

พวกฤาษีนี่ จะมองคนขวนขวายในการงานว่า เป็นผู้ที่ปฏิบัติผิด อาตมาขอยืนยันว่า คนขวนขวาย การงานนี่นะ ไปออกทางมหายานนี่ เป็นพวกมีบุญ พวกที่ขวนขวายการงาน แม้จะตกร่วง ก็เป็นผู้มีบุญ พวกขวนขวายการงานนี่ อย่างมหายานนี่ ออกนอกลู่นอกทางของ ศาสนาพุทธไปไกล แต่เขามีบุญ เพราะเขาสร้างประโยชน์ เขาสร้างคุณค่าเป็นบุญ เหมือนพวกศาสนาคริสต์ ศาสนาฤาษีกรุง ฤาษีมีสองอย่าง ฤาษีกรุง กับฤาษีป่า

ฤาษีป่านี่ จะเป็นเถรวาท จะเป็นพวกที่ติดภพ ภวตัณหา กามตัณหาไม่ค่อยจัดจ้านหรอก พวกฤาษีภพ กามตัณหาไม่จัดจ้าน แต่เป็นภวตัณหา แล้วพวกนี้ ตกนรกลึก พวกภวตัณหานี่ เพราะว่านรกของภวตัณหา นี่เป็นอัตตา เป็นภพ เป็นชาติ แล้วไม่ค่อยหยาบ ละเอียด มันเป็นนามธรรม ลึก ตกนรก ที่เป็นนรกล่อด้วย นรกล่อ ก็คือ นรกที่สงบ นรกพวกนั้นนะ แล้วมันก็ได้หยุด หยุด หยุด นิ่งเบา ว่าง ง่าย ไม่รับรู้โลก ไม่เอาโลก มันก็เหมือนกับพ้นโลกน่ะ ไม่เอาโลก อันที่จริงจมโลก จมโลกภวตัณหานั่นเอง โลกมันมีสองด้าน โลกของกามตัณหา ที่จะต้องผัสสะด้วย ตา หู จมูก ลิ้น กาย รับรู้ในกามภพทั้งหมด มีลาภ มียศ มีสรรเสริญ มีอะไรต่ออะไร ต่างๆ ที่เรียกว่าโลกียะธรรมดาธรรมชาติ แต่พวกนี้จะหนี ไม่เหนือน่ะ ไม่ใช่โลกุตระ นะ หนีเข้าไปสู่อีกโลกหนึ่ง คือโลกแห่งภวตัณหา โลกภพ แล้วจมดิ่ง ไม่ค่อยมีปัญญา เพราะว่า ได้แต่ทิ้ง ได้แต่ลืม ได้แต่ไม่รับรู้ จมนาน พวกนี้ หลายมหาแสนกัปป์ กัลป์ กว่าจะได้ผุดหรือกว่าจะได้เข้ามาปฏิบัติธรรม ช้านานแล้ว ก็รู้ยาก ไม่ค่อยเจริญ ทางปัญญาด้วย ซึมเซื่อง เซ่อ โง่ ไม่ค่อยรู้เท่ารู้ทันอะไรทั้งนั้น แล้วไม่ละเอียดลออ รู้แต่ของหยาบ คือรู้กามภพที่มันของหยาบ แล้วก็กลัว แล้วก็หนี แล้วไม่กล้าสู้ อ่อนแอ ป้อแป้ ฤาษีอย่างนี้ มีมาก ในอินเดียและ สอนง่าย เข้าใจง่าย เพราะมันตื้น มันง่าย สอนง่าย คนรู้ได้ง่าย คนไม่ฉลาดก็รู้ได้ คนโง่ๆก็รู้ได้ เรียนได้ไว และรู้กันเยอะ

ทีนี้พระพุทธเจ้าท่านมาแก้ มาแก้ปมเรื่องนี้ มาแก้จริงๆเลย มีมรรคองค์ ๘ มรรคองค์ ๘ นี่ทำงาน ขอยืนยัน ว่าทำงาน ต้องคิด ต้องนึก ต้องมีพหูสูต ต้องโลกวิทู ต้องรู้โลก มีผัสสะเป็นปัจจัย จะพ้นมิจฉาทิฏฐิ ก็ต้องมีผัสสะเป็นปัจจัย ด้วยทวารทั้งหกเลย คนมีมิจฉาทิฏฐิ นี่ พ้นสักกายะทิฏฐิ ก็ต้องมีผัสสะเป็นปัจจัย มีในมิจฉาทิฏฐิสูตร สักกายทิฏฐิสูตร อัตตานุทิฏฐิสูตร อาตมาก็เอามายืนยันให้ฟังแล้ว แต่ผู้ที่ไม่ค่อยมีปัญญานี่ก็ฟัง ก็ยาก อาตมาก็อธิบาย แต่จริตนิสัย ทิฏฐิ ความเห็น ความต้องการของตัวเองมันเยอะ มันจมดิ่งไป ในทางพวกนี้ มันเป็นโลกอัตตา เป็นโลกสองอย่างโลกอัตตา ความเอาแต่ใจตัว ความเอาแต่ ความเห็นของตัว ความยึดติดผิด ความคิด ความเห็น ความเข้าใจของตัวเอง นั้นอันหนึ่ง อีกอันหนึ่ง ก็คือ โรคของความขี้เกียจ สองโรคนี้ เป็นโรคใหญ่ของพวกฤาษี

เพราะฉะนั้น มาเรียนมรรคองค์ ๘ นี่ยากมันก็เข้าใจยาก แล้วจะไปเพ่งโทษคนขยัน เพ่งโทษคน ขวนขวายการงาน เพ่งโทษว่านี่ทำอย่างนี้ แล้วก็ตกร่วง อาตมาพูดเมื่อกี้แล้วว่า คนตกร่วง ที่ขยันหมั่นเพียร นี่ ยังนรกตื้น นรกง่าย และโดยเฉพาะยิ่ง มาเรียนกับอโศกนี่ ผู้ที่จมดิ่งอยู่ในภพ อยู่ในพวกเรานี่นะ เป็นนรกลึกกว่าพวกที่ตกร่วงนี่ไปเยอะ ขอบอกให้ทราบน่ะ ทีนี้พวกเรา นี่เป็น พวกภวตัณหา ตกอยู่ในนรกลึก ไม่ได้ออกไปจากหมู่นี้หรอก อยู่ในหมู่นี่แหละ แต่เลี่ยงๆ หลบๆ อยู่ในนี้ พวกนี้จมดิ่งอยู่ในภวตัณหานี่ นรกต่ำ หรือนรกลึกกว่าพวกตกร่วงออกไป จากชาวอโศก ไปในโลกกาม ไปในโลก จะเห็นบางที บางคน เข้าไป มีอบายมุขด้วยซ้ำ แต่พวกนี้ตื้น พวกนี้หยาบ พวกนี้น่ะ ให้สังเกตอย่างนี้ พวกที่ตกออกจากอโศก ตกร่วงจากอโศกไปแล้ว แม้จะไปเสพอบายมุข ไปดื่มเหล้าบ้าง ไปสูบบุหรี่ ไปกินเนื้อสัตว์ ไปแต่งงาน อะไรก็ตาม พวกนี้นี่ถามเขาดู ว่าชาวอโศกนี่ต่ำไหม ชาวอโศกนี่ ผิดหรือเปล่า ถ้าเขายังตอบว่า ชาวอโศกถูกดี มาก เขายังศรัทธาเลื่อมใสชาวอโศก คนพวกนี้ นรกตื้นกว่าพวกที่อยู่ในอโศก ไม่ออกไปจากอโศก แต่ใจบางครั้ง บางคราว นี่จะอึดอัด อยากจะออกจากอโศก แต่พออกไปแล้ว มันก็สู้อยู่ ในอโศกไม่ได้ เพราะอโศกนี้ มีหลุมหลบภัยเยอะ กินก็มีกิน อยู่ก็มีอยู่ เพราะพวกขยันเขาทำ เขาสร้าง เพราะฉะนั้น มีกิน มีอยู่ เจ้าพวกนรกนี่ มีทั้งบาป มีทั้งหนี้ เป็นหนี้ เพราะกินของเขา ตัวเองหลบๆเลี่ยงๆ ไม่ค่อยคุ้ม ได้ทั้งบาป ได้ทั้งหนี้ แล้วก็นรกลึก แล้วก็ไม่ค่อยออก เพราะออกไปยาก ไปก็ไปสู้กับเขาไม่ไหว ไปที่อื่น ก็จะไปในภพเดียวกันไปได้ ไปกับ ไอ้ลัทธิอื่นๆ น่ะ แต่ก็ได้ยินได้ฟังที่นี่พูดว่า เอ้อ! ลัทธิอื่นๆ หรือว่าสำนักอื่นๆ อะไร มันก็จะพอมีปัญญาบ้าง พอมีปัญญา มีสามัญนี่ พอเข้าใจว่า มันก็สู้ที่นี่ไม่ได้ ก็เลยหลบอยู่ที่นี่ไปเรื่อยๆ เพราะฉะนั้น บาปและหนี้ จะมากกว่าพวกที่ตกร่วง พวกตกร่วงนี้ออกไป ถ้าอย่างที่อาตมาบอกแล้วว่า ถ้าถามเขาว่า เขาศรัทธา แต่ว่าเขาเอง เขาแพ้กิเลสเขามาก เขาสู้ไม่ได้ คนพวกนี้รู้แล้ว ว่าอโศกทำอะไร คืออะไร อบายมุขเขาก็ยอมรับ เรื่องชั่ว เรื่องต่ำ ขนาดนั้น ขนาดนี้ ที่เขาเป็น เขาก็ยอมรับ สักวันหนึ่ง เขาจะโดนแตะกลับเข้ามาในอโศก และจะพ้นทุกข์ และ จะเจริญ ก่อนผู้ที่จะจมดิ่งอยู่ในนรกลึก นรกภวตัณหา ฟังดีๆ อาตมาพูดเหตุผล อาตมาไม่ได้ว่าใคร แต่ใครเป็นก็โดน อาตมาไม่ได้ว่าใคร แต่ใครเป็นอย่างนั้น ก็โดน

เพราะฉะนั้น คนที่ขวนขวาย คนที่ขยันหมั่นเพียร มันจะตกร่วงไป นั้นอย่างหนึ่ง อีกอย่างหนึ่ง ก็จะป่วย ป่วยเพราะอะไร ป่วยเพราะมัชฌิมาของตัวเองไม่ได้อย่างนี้ อีกอย่างหนึ่ง ก็คือมีโรค มีโรคจิต มีโรคทางจิต โรคทางจิตมีมากมายในพวกเรา อาตมาก็พูดซ้ำ พูดซาก มีมากในพวกเรา เพราะอะไร เพราะอาตมาเคี่ยวเข็น และตัวเองก็ขี้เกียจ พออาตมาเคี่ยวเข็ญ ตัวเองขี้เกียจ ขี้เกียจจะออกไปทางจากอโศก ก็ไม่กล้าออก เพราะฉะนั้น ทางออกคืออะไร ป่วยซะรู้แล้วรู้แรด ฟังให้ดีนะ นี่คือ สภาพของโรคทางจิตที่ชัดเจน ทั้งๆที่มันไม่ได้เป็นโรคอะไรเลย ไปให้หมอตรวจ เถอะ หมอตรวจไปหาเหตุไม่เจอสมุฏฐานโรคหรอก แต่ปวดจริงๆ เจ็บจริงๆนะ โรคทางจิต นี่ไม่ใช่ว่า ไม่ปวดจริง เจ็บจริงน่ะ ปวดจริง เจ็บจริงน่ะ แล้วก็ปวดมันจนได้แหละ เพราะจิตเป็นเหตุ แล้วก็ทำให้ตัวเองปวด ปวดหัว ปวดหู ปวดท้อง ปวดนั่น ปวดนี่ ปวดไป แล้วแต่มันจะปวด ไปหาหมอฮ้อ หมออะไร อยู่ไม่ได้หยุดน่ะ แต่ขอยืนยัน หมอฮ้อ รักษาให้ตาย ก็ไม่หาย เพราะมันไม่มีเหตุ เหตุมันมาจากจิต มันไม่ได้ไปดับที่เหตุ ใครรักษาก็ไม่หาย อาจจะบรรเทาเล็กๆน้อยๆ จิตมันลึกกว่าเราแต่รักษา แต่ประเดี๋ยว ไอ้โรคจิต จะมายืนอย่างเก่า มันมาอย่างเก่า ปวดอีก ดีไม่ดีปวดหนักกว่าเก่า ฟังให้ชัดน่ะ ฟังดีๆ เพราะมันเป็นจุดที่จะหลบ อาตมาไม่หยุดเร่งรัดพัฒนา ไม่หยุดจี้ อาตมาเตือนให้ขยัน ให้ขยันอยู่เรื่อย ใช่ไหม ไม่เคยได้ให้ขี้เกียจ ไม่เคยได้ให้ดูดาย ให้ขยัน

ทีนี้ มาอยู่ที่นี่แล้ว โอ้โฮ จะว่าแต่อาตมาคนเดียวเลย คนอื่นรับช่วงด้วย องค์นี้ไปช่วยตีต่อ ผมจะช่วยตีต่อ ฆราวาสก็จะตีต่อ เน้นกันให้ขยันอยู่ทั้งนั้นเลย แต่ละคนๆ รับอาวุธใส่มือ ต่อไปได้เรื่อยๆ เสร็จแล้ว โรคขี้เกียจนี่ มันก็แหม ! ออกไปข้างนอก ก็รู้อยู่แล้วว่า มันไม่ดีกว่า อยู่ที่นี่ มันเหมาะกับคนขี้เกียจน่ะ อยู่ที่นี่ เพราะคนขยันมี มันก็มีอยู่ มีกินน่ะนา แล้วเราก็ไม่ติดโลกๆ โลกียะ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสอะไรมากมาย นี้ หรือไม่ติด ไม่ต้องไป หวือหวา ไปเอา รสแสบ ทางโลกมากนัก มันพอได้ พออยู่ได้ มันก็ไม่อยากออก ไม่อยากออก ก็ไม่มีทางเลือกแล้ว ป่วยมันซะให้รู้แล้วรู้แรดไปเลย นี่แหละ คืออาการทางจิต ทำให้เป็นเหตุ เกิดโรคเจ็บปวด ป่วยอะไรก็แล้วแต่ ระวังเป็นมะเร็งน่ะ จริงๆ โรคอย่างนี้แหละ ระวังเป็นมะเร็ง

เพราะฉะนั้น ก็เลยเป็นทางพาเป็นเจ็บเป็นป่วยกัน ก็เลยเห็นว่า นี่แหละเพราะไปขยันการงาน เอาการงาน แท้จริงคนที่ว่านี้ ไม่ขยันการงานหรอก ไปทำ เสร็จแล้วก็หลบเลี่ยง คือว่า จะหลบเลี่ยง โดยการหนีโดยตรงไม่ได้ นอกจากหาทางออกว่า ต้องป่วย เพราะฉะนั้น เมื่อหายป่วย หรือว่าเมื่อไม่ป่วย ก็ต้องเข้าไปทำงาน กลายเป็นคนต้องขวนขวาย ต้องขยัน เพราะถ้าไม่ขวนขวาย ไม่ขยัน เอาอะไรแก้ตัวละ ถ้าไม่ป่วย เพราะฉะนั้น ตอนไหนไม่ป่วย ก็ต้องไปขยัน คนก็เลยเห็นว่า คนนี้ทำงาน คนนี้ขยันขวนขวาย นี่มันมีภาวะซับซ้อน ปะทะกัน ซ้อนกัน ที่อยู่ในใจเยอะแยะ

ทีนี้ ผู้ที่มีทิฐิ ความเห็นว่า คนทำงาน หรือ ขวนขวายนี่ ผิดทาง ผิดทาง มันจะต้องอยู่อย่าง ยถาสุขัง คือ อยู่อย่างไม่ได้ขวนขวาย อย่าไปลำบาก อย่าไปลำบากอะไร มันทุกข์ อยู่เบาๆ อยู่ง่ายๆ ไม่ต้องไปทำอะไรมากหรอก ทำอะไรเล็กๆ น้อยๆ ก็พอแล้ว มันได้บำเรอ ความขี้เกียจ ของตัวเอง มันก็สบายใจ มันก็เป็นสุข ขยันมันไม่ได้ ขยันมันขี้เกียจ มันก็ไม่ได้ มันยาก มันทรมาน มันลำบาก มันทุกข์ ไปขยัน ไปขวนขวาย น่ะ ทั้งๆที่รู้ว่า ขยันน่ะดี แต่เข้าใจผิด พอไปขยันแล้ว มันผิดทางปฏิบัติ ไปขวนขวายผิดทาง ปฏิบัติ ไปเอาภาระรับหน้าที่ไอ้โน่น ไอ้นี่ไป พยายามช่วยเหลือ เฟือฟายมาก ประเดี๋ยวมันจะตกร่วง ประเดี๋ยวมันจะเจ็บป่วยโอเวอร์ ทำงานมากไป มันมักจะถูกโรคขี้เกียจทั้งนั้นแหละ เป็นตัวหลัก ตัวใหญ่ ตัวเห็นแก่ตัว เพราะมันไปยินดี ในความอยู่นิ่งๆ เป็นภวตัณหา ยินดีในความอยู่ง่ายๆ เป็นสุข ดี มันเบา มันง่าย มันว่าง มันไม่ต้องไปทะเลาะกับใคร ไม่ต้องไปขัดแย้งกับใคร ไม่ทำอะไร ก็ไม่ต้อง ไปขัดแย้งกับใคร มันอยู่เฉยๆ ไม่ต้องไปออกความเห็นอะไร ทำอะไรไป จะผิด จะถูกอะไร ก็ไม่ได้ทำ ไม่ทำก็ไม่มีใครมาติมาท้วง อัตตาไม่ต้องไปถูกกระทบ มานะไม่ต้องถูกใครมาว่า มาติ มาเตียน มันก็ง่าย มันก็ชอบ เบา สบาย วันๆ อยู่ไปกินๆ นอนๆ อะไรต่ออะไรไปเสร็จแล้ว ก็ไม่รู้จักสัจจะ ความจริง ไม่เห็นกิเลสของตัว มีแต่จะปกจะปิดแล้วบำเรอ ไม่รู้ว่าง่ายนะ บำเรออารมณ์ที่ตัวชอบน่ะ ไม่รู้ง่ายๆ มันเป็นภพที่ติดว่าตัวชอบอย่างนี้ มันก็เป็นสุขน่ะซี มันได้ บำเรอกิเลส มันก็เป็นสุข

พระอรหันต์เจ้า ท่านพูดไว้ชัดเจน ว่าทุกข์เท่านั้นที่เกิดขึ้น ทุกข์เท่านั้นตั้งอยู่ ทุกข์เท่านั้นแหละ ดับไป มันไม่มีสุขหรอก เพราะฉะนั้น คนไหนที่มีสุข คนนั้นเสพแล้ว ฟังให้ดีนะ พระอรหันต์พูดนะ ทุกข์เท่านั้นแหละเกิดขึ้น ทุกข์เท่านั้นแหละ ตั้งอยู่ ทุกข์เท่านั้นแหละ ดับไป เพราะฉะนั้น พระอรหันต์ ท่านอยู่กับทุกข์ แต่ท่านยังทุกข์ เพราะท่านรู้อยู่ว่า เมื่อมีชีวิต มีอาหารปริเยฏฐิทุกข์ ก็เป็นการงาน คนเราต้องอยู่กับกรรม อยู่กับการงาน ยังกุศลให้ถึงพร้อม ยังกุศล กรรมก็ทำงานที่เป็นกุศล กุศลเท่าไร ท่านก็ไม่สันโดษน่ะ พระอรหันต์ และ พระพุทธเจ้า ไม่เคยสันโดษในกุศล แล้วก็ตั้งตนอยู่ในความลำบาก ก็รู้ว่ามันลำบาก ก็รู้ว่ามันทุกข์ เพราะทำงาน มันก็ต้องลำบาก ทำงานมันก็ต้องทุกข์ แต่เป็นทุกข์ ที่รู้อย่างชัดเจนว่า มันเป็นทุกข์ที่ตั้งอยู่ มันเป็นทุกข์ที่ยังไม่หมดจากชีวิต แม้แต่ขันธ์มีรูปนาม ขันธ์ ๕ มันก็ยังทุกข์ แบกรูปนามขันธ์ ๕ นั่งอยู่เฉยๆ มันก็ยังทุกข์เลย สภาวทุกข์ เดี๋ยวก็แก่ เดี๋ยวก็ปวด เดี๋ยวก็เจ็บ เดี๋ยวก็ป่วย มันก็ทุกข์ ยิ่งไปทำงาน ทำไมมันจะยิ่งไม่ทุกข์เล่า ทุกข์อันนี้เป็นทุกข์ที่เลี่ยงไม่ได้ เป็นทุกข์ที่เรารู้ดี พระอริยเจ้า พระอรหันต์เจ้ารู้ดี ว่าเป็นทุกข์ ตราบที่ยังไม่หมด รูปนามขันธ์ ๕ ยังไม่ปรินิพพาน ไม่ตายสูญไปเลย ยังมีรูปร่างตัวตน ยังมีร่างกาย ยังมีรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มีเท่าไหร่ ก็ยังทุกข์อยู่เท่านั้นแหละ แต่ทุกข์นี้ ไม่ต้องไปทำอะไร ทุกข์นี้ เราก็ตั้งตน อยู่บนทุกข์นี้ ก็คือตั้งตนอยู่บนความลำบาก คั่นทุกขายะ ภาษาบาลี ก็ตัวเดียวกัน ทุกขะ นี่แหละ ทุกขายะ ตั้งตนอยู่กับทุกข์นี่แหละ "ทุกขายะ อัตตานัง" ตั้งตนอยู่กับทุกข์ ไม่ต้องไปแปลทุกข์ว่า ตั้งตนอยู่บนความลำบาก แปลว่า ตั้งตนอยู่กับทุกข์ ก็ตรงตัว บาลีตัวเดียวกันเลย ทุกขายะ อัตตานัง อัตตานัง ก็คือตน ปทหะ แปลว่าตั้ง ปทหะ นี่แปลว่า ตั้ง ตน อยู่บนความลำบาก หรือตั้งตนอยู่บนทุกข์ กุศลกรรมเจริญยิ่ง เพราะฉะนั้น พระอรหันต์ ท่านยังกุศลให้ถึงพร้อม อยู่ทุกวาระเวลา พยายามที่สุด นอกจากเวลาพักท่านก็พัก เวลาเพียร ท่านก็เพียรกับทุกข์นี่แหละ ให้มันก่อเกิด สิ่งที่เป็นคุณค่าไป

ผู้ที่ปฏิบัติธรรม โดยไม่มีสัมมาทิฏฐิ นี้ จะเห็นได้ว่า ไปขวนขวาย การไปขยันหมั่นเพียรนั้น ตัวเองสู้ไม่ได้ ตัวเองจะสู้ไม่ได้ ก็ไม่ทำ ตัวเองจะไม่เบา จะไม่ว่าง จะลำบาก ก็ไม่สู้ เพราะฉะนั้น คนเหล่านี้ เป็นคนไม่มีทมะ ไม่มีขันติ ไม่มีความอดทน ไม่มีความข่มฝืน ไม่มีการต่อสู้ คนนี้จมอยู่ในนรก ก่อนที่จะได้ก้าวหน้าเหมือนนักรบ นักรบนี่ เมื่อไปรบ ก็คือการปฏิบัติธรรม ที่มีผัสสะเป็นปัจจัย ผู้ที่มีผัสสะเป็นปัจจัย ตามฐานะของเรา แล้วเราก็ตั้งศีล ที่สมาทานเอาไว้ อันไหน มันเกินเอาไว้ก่อน เกินฐานะ เรายังไม่สู้ เราแพ้มันไว้ก่อนเลย แล้วเราหลบไปก่อน แต่ต้องมี บทปฏิบัติ ต้องมีข้าศึกที่เราจะต้องต่อสู้ ไม่ใช่หนีข้าศึกไปหลบมุม ศาสนาพระพุทธเจ้า ไม่ใช่หนีข้าศึกไปหลบมุม ต้องสู้ ต้องเป็นนักรบ เข้าไปสู้ เข้าไปรบ ในขณะที่รบนี่นอนเลย นักรบนี่ จะต้องมีชนะ จะต้องมีแพ้ จะต้องมีตาย ตายถือว่า คนตกร่วง แพ้ถือว่าคนที่รบแพ้ เดี๋ยวเอาใหม่ สู้ใหม่ คนชนะก็ถือว่า คนชนะ แน่นอน ศาสนาพระพุทธเจ้า เป็นนักรบ มีชนะ มีแพ้ มีตาย แต่คนที่ไม่ใช่ปฏิบัติธรรมมรรคองค์ ๘ นั้น ไม่ใช่ปฏิบัติ ธรรมของพระพุทธเจ้านั้น ไม่ใช่นักรบ นักหลบ แพ้ตั้งแต่ยังไม่ได้เป็นนักรบ ไม่ได้เข้าสาย พระพุทธเจ้าเลย แพ้แล้ว ตายแล้ว ลงนรกแล้ว อยู่ในนรกตัวเองนั่นแล้ว อยู่ในภพ ภวตัณหานั่นแล้ว ฟังดีๆน่ะ ฟังดีๆ

เพราะฉะนั้น ในภาวะภาคปฏิบัติ ภาคภาวะปฏิบัตินี่ คนนั้นก็ทำงาน คนนั้นก็มีผัสสะ คนนั้นต้องรบ แน่นอน คนที่รู้จักเลยว่าผัสสะเหล่านี้แล้วนี่ เอาคำภาวนา ภาวนาต่างๆ คือ มีสมถภาวนา และวิปัสสนาภาวนา นั่นเอง เราสู้ได้ไหม สู้ได้เราก็รู้ของเรา แพ้เราก็รู้ของเรา ชนะเราก็รู้ของเรา รู้ให้จริง แล้วก็ประมาณไปเรื่อยๆ เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา ข้อเสียของนักรบ มันอยู่ที่ว่า อวดดี ทำเกินตัว ทำเกินตัวก็แพ้ตะพึด แพ้อยู่เรื่อย ก็แน่นอน สักวันหนึ่งก็ตาย ตกร่วง จะเจ็บป่วยก็ตาม มันโอเวอร์โลด มันทำงานขวนขวาย เรียกว่าเอาภาระเกินไปก็หนัก ไม่หนักก็เจ็บป่วย เพราะฉะนั้น มัชฌิมาเขาประมาณตัวเองได้พอดี แล้วและตัวเอง ก็อ่านตัวเองว่า เป็นนักรบ ชนะหรือแพ้ คนอื่นไม่สามารถรู้ด้วยได้

แต่นักหลบ ไม่ใช่นักรบนี่น่ะ จะคำนวณเขาผิดมาก คำนวณเขาผิดเสมอ เพราะอะไร เพราะตัวเอง ไม่รู้เลยว่า นักรบที่เขามั่นแล้ว มีวรยุทธ์เท่าไหร่ๆ เขาไปรบนี่ เขาจะได้เก่งนี่ซี มีฝีมือจัดจ้านได้ ไอ้คนที่ไม่ใช่เป็นนักรบนี่ ประมาณ ขนาดเขาเก่งใช่ไหม เขานักรบ ที่จะรบเก่ง ขึ้นไปเรื่อยๆ คนที่ไม่ได้ไปรบกับเขาเลยนี่ก็บอก อู๋ย ไอ้นี่มันรบมากไปแล้ว รบมากไปแล้ว ก็นอนอยู่ ไม่ไปรบกับเขา คนนักหลบ มันจะคำนวณผิดเสมอเลย จะเห็นว่า พวกนี้ทำมากไป พวกนี้ขวนขวายมากไป โอเวอร์มากไป ก็ไปว่าเท่านั้น เป็นหลักฐาน ถ้าผู้ใดป่วย ก็เอาหลักฐาน ข้อมูล มาให้แก่ตัวเอง อ้างว่านั่นเห็นไหมล่ะ ฉันเอง ฉันไม่ป่วย ฉันอยู่สบาย ฉันไม่ป่วย เพราะฉันไม่ทำงาน ที่จริงป่วยชนิดหนึ่ง น่ะ ไม่ทำงานนี่ คืออ่อนแอ คนไม่ทำงานนี่อ่อนแอ ป่วยชนิดหนึ่ง คนไม่ทำงาน ไม่ได้ป่วยเพราะประเภทที่ว่า คนป่วยที่โอเวอร์ ทำงานเกินการ เกินตัวเอง บางทีก็ไปป่วยแน่นอน ป่วยอย่างนั้น ป่วยอย่างหนึ่ง ไอ้ป่วยไม่ทำงานนี้ ก็ป่วยอย่างหนึ่ง คือ อ่อนแอๆ และตายไว จริงๆแล้ว จะป่วยง่ายกว่าด้วย คนที่ไม่ค่อยทำงาน ถ้ามีโรคระบาด อะไรต่ออะไรขึ้นมานี่ รับรองเข้าไวกว่า ก็เข้าไวกว่า ภูมิคุ้มกันต่ำกว่า

ทีนี้ คนที่ท่านมองคนนักหลบนี่ จะเข้าไปมองเขาว่า อยู่ที่นั่น ตกร่วงไปแล้ว นี่ป่วยแล้ว มาให้คะแนนตัวเอง อาตมาขอถามหน่อยว่า ชาวอโศกนี่ นักหลบก็มีพอสมควร คนขยัน ก็มีพอสมควร สมมติอาตมายังไม่ได้สำรวจสถิติ ที่แน่นอนน่ะ นักหลบ ของชาวอโศก กับนักขยัน นี่ สมมติให้เท่ากัน สมมติอย่างโก้เลยน่ะ สมมติอย่างโก้เลย แต่อาตมาไม่ชัดเหมือนกัน ไม่แน่ใจเหมือนกันว่านักหลบ ว่านักหลบที่จริงๆ มันไม่ค่อยจะมีเท่าไหร่ มันมี แต่นักหลบ ที่มันพรางๆไว้ แล้วก็กลายเป็นพวกที่ เป็นโรคทางจิตน่ะ เยอะใช่ไหม กับนักขยันจริงๆ แล้วก็ป่วยนี่ ก็เลยไม่รู้ว่า นักหลบแล้ว ก็เป็นโรคจิตแล้ว ก็ป่วย กับนักขยันที่เกินแล้วก็ป่วย ว่าตัวไหนเป็นตัวไหนแน่ แต่พวกคุณแต่ละคน บอกตัวเองได้ อาตมาขอถามหน่อยซิ ทำงานขยันเกิน แล้วป่วย มีกี่คน เอ้า ! ยกมือ ที่ตัวเองว่า โอ้โฮ ! เราทำงานเกินเลยนี่ แล้ว จนป่วยนี่ มีกี่คนยกมือซิ ทำงานมากเกินไป จริงๆก็ป่วย เจ้าตัวก็ต้องถามเจ้าตัว ไม่ใช่คนอื่นรู้แทน อันนี้ก็จะรู้เลยว่า ตัวเองมีกำลัง หรือว่าหลบในตัว หรือว่าตัวเอง มีกำลังพอที่จะทำได้อยู่ต่อไป ไม่ได้เกินหรอก

ไม่ๆๆๆ อย่าไปตอบแทน ตอบแทนไม่ได้ คนอื่นตอบไม่ถูกหรอก ตัวเอง จะรู้ตัวเองเลยว่า ตัวเองหลบ ตัวเองขี้เกียจ แล้วตัวเองก็ป่วย จะเป็นโรคป่วย เพราะหลบมากกว่าขยันเกิน ถ้าคนที่ เขาไม่มีโรค ทางจิตนี่น่ะ เขาขยัน อาตมายังไม่เห็นเลยว่า เขาจะต้องป่วยง่ายๆ พรพิชัย ขยันไหม ขยันไหม และป่วยเพราะการขยันเกินไหม แล้วพวกคุณขยันเท่าพรพิชัยไหม เท่าหรือ แล้วมันจะไปป่วย ได้อย่างไร ก็ขยันขนาดพรพิชัย เขายังไม่ป่วยเลย อายุยังน้อย เอาละ เอาอายุเท่าๆกันก็ได้ พวกอายุเท่าๆกัน ก็ได้ คนแก่หน่อย มีทางเลี่ยง แก้ตัวว่า อายุมากแล้ว เอาถามคนอายุเท่าๆกัน ก็ได้ ขยันเท่าพรพิชัยเขาไหมล่ะ ไม่เท่า แล้วมันจะไปป่วยได้อย่างไร โอเวอร์โลด ได้อย่างไร เพราะฉะนั้น คือ โรคจิตถ้าป่วย อีกอันหนึ่ง ที่จะรู้ว่า โรคจิตหรือไม่ โรคจิต ก็คือ ไปหาหมอตรวจ อย่าไปหาหมอฮ้อนา ไปหาหมอสากล ตรวจเลย สมุฏฐานที่แท้จริง หมอสากลตรวจ ไม่เอาน่ะ หมอแมะ หมอสวด หมอเดาสวดอะไรพวกนี้ ไม่เอา ให้หมอเขาตรวจ ทางวิทยาศาสตร์นี้เลย ตรวจ ให้เช็ค เมื่อเขาบอกว่า ไม่มีอะไร ก็เห็นเป็นอะไร ไอ้คุณจะปวดนั่น ปวดนี่ จะไอ้โน่น ไอ้นี่ ก็ตามแต่เถอะ มันปวดจริงๆ ด้วยน่ะ คนก็คือโรคจิตนั่นแหละ ชัดเลย นี่ก็ประเด็นสำคัญ

ทีนี้ ขอถามอีก ชาวอโศกนี่ น่ะ ตกร่วงปฏิบัติของชาวอโศก แล้วก็ ขยันๆๆๆ แล้วก็ตกร่วงออกไป ฟังดีๆ ตรงนี้น่ะ แต่ชาวอโศกที่หลบๆ เสี่ยง ไม่ขยัน ขี้เกียจหลบๆ เลี่ยงๆนี่ จำนวนคนหลบๆ เลี่ยงๆนี่ กับชาวอโศกที่ขยัน จนตกร่วงไป นี่จำนวนไหนมากกว่ากัน ตอบ ! จะอะไร ว่าอะไรกันแน่ บอกว่า แน่ะ พวกนั้น ยังไม่ทันตกร่วง แต่ตัวเองก็ตกร่วง นรกลึกด้วย นกเอี้ยง นี่ก็บอกแล้ว พวกตกนรก พวกนกเอี้ยงนี่ตกร่วงเหมือนกัน แล้วพวกนี้นานด้วย นานช้ากว่าด้วย ฟังดีน่ะ วันนี้อาตมาว่า อาตมาได้ได้มีผลมากสุด มากสุดส่วนนี้ มากสุดส่วนนี้ ก็เลยกระจ่างขึ้น อีกเยอะ มีบัญญัติ มีภาษาที่จะเอามาอธิบายตัวสภาวะพวกนี้ ออกมาได้อีกเยอะเลย

วันนี้ แหม! มันชัดเจน แล้วมันมีอะไรขึ้นมาเยอะ นานแล้วน่ะ อาตมาว่า เอ! จะทำอย่างไรจะทำ ที่จริง มันเรื่องเก่าทั้งนั้นแหละ คุณฟังใช่ไหม เรื่องเก่าทั้งนั้นแหละ เรื่องอัตตา มานะ เรื่องขี้เกียจ เรื่องภพ ภวตัณหา กามตัณหานี่ แต่วันนี้ชัด อาตมาว่า มีปฏิภาณขึ้นมา หยิบผัสสะพวกนี้มาพูด สู่กันฟังนี่ ได้มากทีเดียว

เพราะฉะนั้น พวกมิจฉาทิฏฐิ อาตมาขอให้มาพยายาม ศึกษาอ่าน มาอ่านมันให้ดีๆ ว่า มันเป็นกิเลส มันเป็นมิจฉาทิฏฐิ ขอยืนยันอีกว่า ศาสนาพระพุทธเจ้านั้น ต้องขวนขวาย ต้องขยันทำงาน ถ้าไม่ขวนขวาย ไม่ขยันทำงานแล้วผู้นั้นไม่ลำบาก เมื่อไม่ลำบาก ก็เป็น ยถาสุขัง เป็นพวกที่ปล่อยตัวตามสบาย ปล่อยตัวตามยถา ไม่ใช่ยถากรรมน่ะ ยถากิเลส แล้วก็ไปอย่างนี้ ไม่ค่อยขวนขวายน่ะ ไม่กระตือรือร้น ไม่อะไร ทำอะไร นั่นแหละ อกุศลเจริญยิ่งแล้ว พระพุทธเจ้า ท่านก็ตรัสไว้ว่า อกุศลเจริญยิ่งแล้ว ไม่ใช่สุขาปฏิปทาน่ะ อาตมาเคยอธิบาย ไม่ใช่สุขาปฏิปทาน่ะ คนอธิบายสุขาปฏิปทา กับอธิบาย ทุกขาปฏิปทา ก็อธิบายผิดๆ เพี้ยนกับตัว ทุกขายะ อัตตานัง กับตัว ยถาสุขัง นี่ อธิบายผิดๆ เพี้ยนๆกัน ตลอดมา การขวนขวาย ขยันทำงาน เราก็รู้ว่าลำบาก เราก็รู้ว่าหนัก เราก็รู้ว่า ต้องต่อสู้ ต้องแบกหาม ถ้าคนนั้นมีสัมมาทิฏฐิแล้ว เช่น เมื่อขยันหมั่นเพียร ก็ได้สร้างสรร มีบุญ มีกุศล คนนั้นก็เกิดปีติ รู้ว่าลำบากน่ะ อย่างอาตมานี่แสนรู้ว่า ตัวเองลำบาก โอย! ต้องพากเพียร ต้องอุตสาหะ เอานั่น เอานี่ จุกๆจิกๆ ก็ ประเดี๋ยวต้องดูแล ไอ้โน่น เจ้ากระทรวง การทุกอย่างเลย ไม่รู้กระทรวงอะไร บ้างนี่ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงครัว กระทรวงช่าง กระทรวงนั่น กระทรวงนี่อะไร ต้องไปรับรู้กับเขาไปหมด ต้องไปบริหารไปหมด กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการค้า กระทรวงทุกอย่างเลย กระทรวงยุติธรรม ยิ่งย่ำยิ่งแย่ กระทรวงยุติธรรม ยิ่งเมื่อย จะตายอยู่แล้ว กระทรวงยุติธรรมด้วย ทุกกระทรวง อาตมาก็ลำบาก อาตมาก็เหนื่อย แต่อาตมา ก็ไม่มีอุปกิเลสเท่าไหร่ เหมือนกับพวกเรา จะว่ามีก็แล้วแต่เถอะ ใครจะว่ามี แต่อาตมาก็ว่าไม่มี จะบอกว่า ไม่มีเสียเลย ประเดี๋ยวจะอวดอุตริมากไป

คนที่ขยันหมั่นเพียร ลำบากก็รู้ว่า ตัวลำบาก แต่รู้ว่าผลดี เป็นคุณค่าเป็นประโยชน์ เป็นบุญ แล้วเขาก็มีอุปกิเลส ยินดีภาคภูมิปีติกับผลงาน ยินดีกับงานนั้น เป็นสุขไหม เป็นสุข จะลำบากไหม นี่คือสภาพของ ทุกขายะ อัตตานัง ไหม ยิ่งอ่านใจตัวเองออกว่า ฉันกำลังปีติ ยินดีเป็นอุปกิเลส แล้วลดลงไปอีก ยิ่งทำให้ฌานนั้นสูงขึ้นก็ยิ่งเป็น แต่ถ้าคุณไม่รู้กิเลสตัวนี้ ไม่รู้ปีติตัวนี้ เป็นอุปกิเลสตัวนี้ คุณจะอาศัยตัวนี้เป็นกำลังอาศัยตัวนี้เป็นตัวสร้างสรร แล้วจะสบายใจ สุข มันลำบากรู้ลำบาก แต่มันเป็นสุขนะ ฟังให้ดีน่ะ มันสุขน่ะ นี่แหละ สุขาปฏิปทา ในทุกขายะ อัตตานัง ฟังออกไหม สุขาปฏิปทานี่ สุขาปฏิปทาอยู่ใน ทุกขายะ อัตตานัง แต่คนที่ปล่อยตัวตามสบาย ยถาสุขัง ปล่อยตัวตามสบาย นั้นน่ะ ส่วนมากจะไม่มี ทุกขายะ อัตตานัง จริงๆ เพราะมันคนละตัวอยู่แล้ว ตัวเอง จะเป็นทุกขาปฏิปทา ด้วยก็ยังได้เลย อะไรนิดก็ทุกข์ ทำอะไรหน่อยก็ทุกข์ ไม่ได้ขยันอะไรเลย ทำอะไรหน่อยก็ทุกข์ ใครมาพูดนี่ ทำงานหน่อยซี ทุกข์แล้ว มีวิภวทุกข์ แล้ว พวกนี้พวกทุกข์ที่สุดเลย

เพราะฉะนั้น ถ้าเผื่อว่ายิ่งมิจฉาทิฏฐิแบบนี้นะ เลี่ยงแบบนี้นะ ยิ่งจม ฟังออกไหมว่ายิ่งจม ยิ่งนรกลึก ยิ่งช้า ยิ่งไม่มีทางเห็นเดือน เห็นตะวัน เห็นฝั่ง เห็นฝาเลย ยิ่งเป็นฤาษีที่บำเรอตัว ชอบอยู่หยุด ตัวขี้เกียจ ตัวไม่เอาถ่าน ตัวไม่เอาโลก ไม่รับรู้อะไร ไม่มีปรโตโฆสะ ไม่มีการงาน ไม่มีอะไรเลย ฤาษีแบบนี้อีกนานับกัปกาล จะอยู่อย่างจม จะจมกับจม ไม่มีฟู ไม่มีลอย จมอยู่กับ บาปกับหนี้ แล้วอยู่ในนี้ เป็นหนี้เขา เพราะว่ากิน เพราะว่าใช้ ไม่ขยัน ไม่ทำงาน ไม่สร้างสรร ไม่มีบุญ ไม่มีประโยชน์ ไม่มีคุณค่า ไม่มีการงานคุ้ม ยิ่งเป็นหนี้ เป็นทั้งหนี้ ทั้งตกนรก เป็นทั้งบาป อกุศลเจริญยิ่ง เพราะยถาสุขัง สุขาปฏิปทากับเขาก็ไมได้ ได้เป็นสุขัลลิกะ บำเรอภพของตัว ไม่ใช่กามนะ บำเรอภพ สมใจในตัวที่ตัวเองหลงว่าดี แล้วก็ได้ดี คือได้หยุด ได้อยู่เฉยๆ ได้ไม่เหนื่อย ได้เบา ได้ว่าง ได้ไม่รับรู้ แล้วหลงว่าเป็นสงบ สงบนั่นคือกิเลสมันตาย มันหยุดบทบาท มันไม่มีแรงแล้ว มันจึงสงบ หยุดดิ้นแล้ว กิเลสหยุดดิ้นนั่นคือสงบ นี่ไม่รู้ว่า กิเลสเป็นอย่างไร ยังไม่รู้เรื่องเลย กิเลสไม่ถูกกวนเลย มันก็นิ่งๆ มันเป็นอนุสัยก็ได้ แล้วยิ่งไปกด ไปข่ม ไปลืม ไปทิ้ง ไปวาง ไปไม่เอาถ่านกับมันด้วย แล้วก็ไม่มีเหตุปัจจัย ไม่มีอะไรจะไปยั่วยุด้วย มันก็เหมือนกับมันนิ่ง มันก็เหมือนกับไม่เกิด พระพุทธจึงไม่ยอมรับฤาษี แม้แต่โสดาบัน ฤาษีที่กดข่มเก่งๆ มากๆ มีมักน้อยสันโดษมากๆ โอ้โฮ แก้ผ้าโทงๆ งานการไม่ทำ นั่งพัดนั่งวี อย่างกับไอ้ เดี๋ยวอูย มักน้อยแล้ว สันโดษแล้ว เมตตา เดี๋ยวก็เชื้อโรค ปาด โอ ก็เอาไอ้นี่มาค่อยๆ ปาด อย่าปาดแรงน่ะ เดี๋ยวถูกตัวเล็กตัวน้อยปาด พวกฤาษีนิครนถ์นาฏบุตร น่ะ นี่ จมอยู่อย่างนั้น ในนรกลึก

เสร็จแล้ว จะไปมองเพ่งคนที่ทำงานเก่ง ไปมองอย่างไร มองว่าพวกนี้ นี่ ที่จริงแล้วคนทำงานเก่ง เขาจะทำงานมาก ทำงานมากก็จะถูกเพ่ง คนขยันถูก เป็นคนเก่ง เป็นทำงานมาก ก็ถูกเพ่งไปใน มิจฉาที่พูดแล้ว นี่มากไป ขยันไป คนทำงานมากก็จะมีข้อถูกตำหนิมาก มีข้อถูกตำหนิมาก เขาบอกเห็มไหมน่ะ ถูกตำหนิ ถูกเตือน ถูกตำหนิแล้ว มีความผิด ก็จะไปเพ่งว่า มีความผิด คนทำงานมากไปเพ่ง คนทำงานมากว่ามีผิด ตัวเองไม่ได้ทำอะไร มันก็ไม่ผิดอะไร แทนที่จะผิด ว่าไม่ทำอะไร ตัวเองไม่ทำอะไร ก็ไม่มีข้อบกพร่อง ไม่มีข้อผิดพลาด ก็เอาแง่เชิงของ คนที่ทำงานมาก ว่ามีข้อผิดมาเพ่ง ว่าเขาขยันเกินไป ที่จริงไม่ใช่ เขายังขยันอีก ด้วยซ้ำ คนขยันนั้นน่ะ บอกแล้วว่าฐานะของคนเจริญ เขาจะขยันไปจากคนที่ยังไม่เจริญ จะประมาณผิดคนเลยว่า เขาขยันเกินไป ความจริงไม่ใช่ ตัวขี้เกียจมากไป ตัวผู้มองเขาน่ะ ขี้เกียจมากไป จะมองผิดทางว่า คนขยันนั้นเขาขยันเกิน โดยไปจุดเริ่มต้น อยู่ที่ความขี้เกียจ ของตนเอง แล้วก็วัดความยาวไปหาขยันของคนที่ เขาขยัน ก็รู้สึกว่า เขาขยันมาก ความจริงไม่ใช่ ถ้าวัดที่จุดของเขาซีว่า เขาขยันได้อีกด้วยซ้ำไป คนขยันน่ะ เขายังขยันได้อีกด้วยซ้ำ วัดจุด เริ่มต้นที่ว่า ตัวขยันของเขา มาหาคนที่ขี้เกียจนี่ซิ จะได้เห็นคนเกียจ ยิ่งขี้เกียจมาก เพราะจุดต่าง ระหว่างคนขยัน มาหาคนขี้เกียจ คนที่ขี้เกียจ มองคนที่ขยันว่า เขาขยันมากเกินไปมากเท่าใด คนขยัน ก็มองมาหาคนขี้เกียจได้ว่า เขาขี้เกียจมากเท่านั้นได้เหมือนกัน เหมือนกัน

เอาละ สมมติว่า ต่างคนต่างขี้เกียจ บอกว่าคนขยัน ขยันมากไป คนขยันก็เห็นว่า คนขี้เกียจ ขี้เกียจมากไป สมมติว่า มันเท่ากัน ลบออก ถามว่า ขี้เกียจกับขยัน อะไรดี ขี้เกียจกับขยัน อะไรดี ก็แม้มันจะมาก มันจะมากไปเท่ากัน ทั้งคู่ ขี้เกียจมันก็สู้ขยันไม่ได้ ขยันมันดีกว่า เอาความขยัน ของคน ยังดีกว่าความขี้เกียจอยู่นั่นเอง ต่อให้มองกันมองกันมาว่าใครมาก ใครน้อยก็ตาม สมมติให้มันเท่ากัน โดยความเป็นจริงแล้ว คนขี้เกียจนี่ มองคนขยันนิดหนึ่ง นี่ ก็จะรู้สึกว่า มันมาก คนขี้เกียจ มองอย่างนั้นจริง ส่วนคนขยันนั้นน่ะ เขาจะรู้โลก เขาจะรู้ค่าของขี้เกียจดีเลย

เพราะฉะนั้น เขาจะขี้เกียจจิ๊ดหนึ่ง เขาก็จะรู้ตัวแล้ว เขาก็จะไม่ขี้เกียจ แล้วจะฝึกตน จะขยันขึ้น ได้เรื่อยๆ ฉะนั้น เขาก็จะเป็นคนก้าวหน้า ส่วนคนขี้เกียจนั้น ขยันนิดหนึ่ง ก็ขยันไม่ออก คนนี้ ก็ยิ่งจะถอยหลัง หรือไม่เจริญเท่าใดมาก ส่วนคนขยันนั้น จะเจริญได้อย่างเก่ง เพราะบอก ความขี้เกียจออก แล้วรู้ตัวขี้เกียจ แล้วเขาก็จะต้องวิ่งขึ้นหนีจากความขี้เกียจ เขาจึงจะชนะ เพิ่มขึ้นๆ เรื่อยๆ แล้วเขาจะยินดีกับความขยัน เพราะมันเป็นความดีเขายิ่งเห็น ยิ่งเกิดญาณ คนขี้เกียจ จึงยิ่งมืดๆ ยิ่งโง่ ยิ่งไม่มีญาณ

เพราะฉะนั้น ความซับซ้อนที่อาตมาอธิบายมาหลายๆแล้วนี่ จะเห็นได้ว่า โทษภัยของ ความขี้เกียจ หรืออัตตามานะนี่ มันร้ายแรง โดยเฉพาะ ตั้งแต่ทิศทางของมิจฉาทิฏฐิ ความเห็นผิด

ในโลกของทางฤาษี ในทางพระเจ้านี่น่ะ ฤาษีป่าเป็นฤาษีที่ไม่เห็นดีในการทำงาน เป็นฤาษีขี้เกียจ ฤาษีบ้าน ฤาษีบ้านนี่จะยินดีในกามเพิ่มเติมขึ้น ส่วนฤาษีขี้เกียจ จะไม่ยินดีในกาม จะรู้ว่ากามนี่เราหนีดีแล้วจะหนีกาม ส่วนฤาษีบ้านนี่ เขาก็จะรู้เหมือนกันว่า กามก็ไม่ดี เขาก็จะลดไปตามฐานะของเขา แต่จะอย่างไรก็ตาม เขาก็จะคลุกคลีกับพวกกาม เพราะฉะนั้น จะขาหักขาเป๋ จะเสียท่าให้พวกกามอยู่บ้าง ทีนี้พวกฤาษีทางกามนี่ ฤาษีทาง โลกธรรมนี่ ก็จะมีสภาพที่ว่า ถูกกามมันทำให้เสียท่าบ้าง ถูกโลกธรรม มันทำให้เสียท่าบ้าง ก็จริงอยู่ แต่เขาจะขยัน เมื่อขยันเขาก็จะมีบุญ เขาก็จะสร้างสรร ความขยัน ยิ่งได้สร้างสรร มันก็มีบุญอยู่ในโลก มีคุณค่าอยู่ในโลก มีประโยชน์อยู่ในโลก เมื่อมันมีสิ่งเหล่านี้อยู่ ในโลก มันก็ดีกว่าฤาษีขี้เกียจ การสร้างประโยชน์คุณค่าเป็นบุญ

เพราะฉะนั้น ฤาษีที่ขยัน แม้จะมีกาม แม้จะมีโลกธรรม ซึ่งเป็นส่วนตัวของเขา ที่เป็นกิเลส ส่วนตัวของเขา แต่เขาก็สร้างคุณค่า สร้างประโยชน์ สร้างบุญอยู่ในโลก จึงเป็นฤาษี ที่ยังมีความกำไร ส่วนฤาษีขี้เกียจนั้น กิเลสของตัวเองก็ไม่รู้จัก บอกแล้วว่า เป็นนรกลึก มีแต่หมกแต่หมัก เมื่อหมกเมื่อหมักก็ไม่รู้ กิเลสตัวเอง แตกตัวขึ้นไปอีกเท่าไหร่ ได้แต่กด ได้แต่ข่ม เสร็จแล้ว บุญก็ไม่มี กุศลก็ไม่มี

ทางฤาษีขยันนี่ หรือฤาษีทางศาสนาที่มีการพัฒนาขยัน หมั่นเพียร สร้างสรร สร้างบุญ แบบมหายาน หรือแบบของฤาษีที่พระเจ้า ทำงานทำการขยัน แล้ว มันก็ไม่เลว ถึงจิตวิญญาณ ก็ไม่เลวถึงอุปกิเลส ที่จะต้องมีปีติ ยินดีแล้วต้องล้างความดี ไม่ใช่ล้างความดีหรอก แต่อย่ายึดติดความดี ว่าเป็นของตัวของตน อย่างพวกเราชาวพุทธ เขาความดีเป็นของตัว ของตนเลย ไปอยู่กับพระเจ้า มีความดีมากๆเลย พวกนี้จึงสร้างศาสนา ที่พัฒนาสังคมได้ ฤาษีขี้เกียจ จึงไม่พัฒนาสังคม มีแต่ยากจนค่นแค้น มีแต่โง่ เซื่อง เซ่อ จะเห็นได้ลัทธิอย่างนี้ ทางด้าน อินเดียเยอะ ส่วนทางฤาษีขยัน ทางด้านจีนเยอะ แล้วเขาก็ยังพอเป็นไป หรือทาง ด้านตะวันตก พวกพระเจ้านั่น เขาก็ไปติดฤาษีแบบอินเดีย แบบหยุด แบบหลบ แบบลี้ เขาก็ขยัน

เพราะฉะนั้น ศาสนาอย่างคริสต์ พระเจ้า หรือมหายาน เป็นโพธิสัตวภูมิ แบบหลงผิดน่ะ ขยันเป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น ขวนขวาย ผู้ช่วยรื้อขนสัตว์ ช่วยทำประโยชน์คนอื่น ตัวเอง ไม่ต้องมองตน หรือมองไม่ออก มองปรมัตถไม่เป็น อ่านปรมัตถ์ไม่เป็น ก็ได้แต่ประโยชน์คนอื่น แต่มันก็ยังเป็นประโยชน์คุณค่า เป็นบุญของเขา ยังเป็นบุญของเขา เขายังมีบุญ ในส่วนที่เป็นบุญ นี่อาตมาวิเคราะห์วิจัย ให้เห็นโทษภัยของฤาษี หรือว่าโรคอัตตา โรคขี้เกียจ นี่ให้เห็นชัดขึ้น

ทีนี้พวกขยันนี่นา พวกขยันแล้วป่วย เพราะว่าขยันเกินนี่นา พวกนี้จะหายไว พวกขยันป่วย เอ้ย พวกขยันเกินแล้วก็ป่วยนี่ เพราะมันเป็นความจริง มันไม่มีตัวจิต ไม่มีโรคทางจิต มันหายไว เพราะมันขยันเกิน พักผ่อนหน่อยเดียว มันก็หายแล้ว พักนิดหน่อย พักพอสมควร มันก็หายแล้ว มันไม่รักษาอะไรยากนัก แล้วพวกนี้ บอกแล้วว่า มีน้อย เมื่อกี้ก็ถามแล้ว พวกที่ขยันเกิน จนป่วยนี่ มันมีน้อย

แต่พวกที่ขี้เกียจนี่ ป่วย บอกให้ดีนะ ว่าป่วยทางจิต เป็นโรคทางจิตนะ ถูกขัดแย้ง แล้วก็ป่วย แล้วก็ปวด แล้วก็เจ็บจริงๆ พวกนี้นี่ หายช้า มีมาก จมอยู่กับมิจฉาทิฏฐิด้วย ฟังดูให้ดีๆ เอาให้ชัด เอาให้ชัดน่ะ พวกขี้เกียจ หรือ พวกอัตตาบำเรอตนนี่ ไม่อยากจะขวนขวาย ไม่อยากจะขยัน ไม่อยากจะทำงาน ไม่ค่อยสู้งาน ไม่ค่อยมีผัสสะ ไม่ค่อยอยากจะเอาผัสสะ พวกนี้มีภาวะต่อต้าน เพราะบอกแล้วว่า เหตุอยู่ที่พวกเราเร่งรัด อาตมานี่แหละเป็นตัวเอก ดุนให้ขยันอยู่เรื่อย ไม่ให้หยุด ไม่ให้อยู่นี่ แล้วมันก็ปะทะ แหม ไม่อย่างนั้น ก็จะอยู่นี่แหละ นี่ก็จะถูกปลุกเร้าให้ขยัน เพราะฉะนั้น จะไม่ขยัน ก็ไม่มีทางออกแล้ว ป่วยมันซะเถอะวะ นี่โรคจิต มันก็ออกมาทางนี้ แล้วมันก็เป็นจริงเลยน่ะ คุณไม่ได้รู้ตัวก็ได้ คุณไม่รู้ตัวหรอก แต่จิตใต้สำนึก มันเป็นอย่างนั้น ให้มันป่วยเถอะ นี่เป็นโรคทางจิตจริงๆ จิตใต้สำนึกมันให้ป่วย ไม่ใช่จิตสำนึกหรอก แล้วคุณก็ป่วยจริง แล้วคนพวกนี้แหละ ป่วยนาน หายช้ากว่าพวกขยันที่ทำงานเกิน พวกขยันทำงานเกิน นี่พักผ่อนอะไรนิดหน่อยก็หายแล้ว เรียกว่ารักษา ทำงานเกินมากไป กล้ามเนื้อก็ชัก จะร่อยหรออะไร ก็บำรุงกล้ามเนื้อไอ้โน่นไอ้นี่ เดี๋ยวก็หาย เดี๋ยวหาสมุฏฐาน เจอง่าย พวกป่วยขยันนี่ แล้วมีน้อยคน มีน้อย ส่วนพวกขี้เกียจนี่ หรือพวกบำเรออัตตานี่ หายช้า แล้วมีมาก และจมกับมิจฉาทิฏฐิด้วย จมอยู่กับมิจฉาทิฏฐิไปอีก ไม่รู้นับเป็นชาติก็ได้ ถ้าฟังธรรมะ ที่อาตมาเทศน์วันนี้ไม่เป็น ฟังไม่ออก ยังรู้เห็นอย่างเดิม เห็นอย่างเดิม อาตมาว่า คิดว่า คงช่วยคนอย่างนั้นได้ยากมาก จริงๆน่ะ

วันนี้ คิดว่าได้พูดชัดขึ้นมากทีเดียว คนที่โง่ๆ ก็คงฟังรู้เรื่องนะนี่ ไม่ต้องเอาคนฉลาดหรอก จริงๆ อาตมาคิดว่า วันนี้อาตมานี่ แหม! มันมีอะไรดีๆ ขึ้นมาขยายความ ให้ดีมากทีเดียว ไอ้นั่น มันซับซ้อนอีกอันหนึ่ง ตัวเองป่วยจริง เขาให้พัก ไม่พัก ไปขยันมันก็ทำให้โรคเรื้อรังน่ะซี มันก็หายช้าน่ะซี จะไปยกเว้น อย่างไร แม้ว่าคุณป่วยด้วยโรคจิต เราก็ไม่เคยไปว่า เราก็ไม่เคย ไปบังคับอะไร ทีนี้ คนไหนจะบอกว่า ป่วยเอาจริงๆ คุณป่วยก็ไม่เคยไปว่าอะไร ว่าแต่ที่โวหาร อาตมาว่านี่เท่านั้น ก็ไม่เคยไปบังคับว่า ไม่เอา ไม่ป่วย แล้วนี่ก็ป่วยจริงๆ แม้จะป่วยด้วยโรคจิต แล้วก็ทำให้ตัวเอง ป่วยทางกาย ปวดนั่น ปวดนี่ ก็ยังทำให้พักน่ะ เราไม่ได้ไปทรมานนี่

ส่วนอย่างที่คุณยกตัวอย่าง ท่านพุทธชาโต น่ะ ป่วยจริง ป่วยกายน่ะ แล้วเขาให้พัก ก็ไม่พัก ไปทรมานตัวเอง ไปทำให้ตัวเองเรื้อรัง ไม่รู้จักรักษาตามกาลเวลาวาระ แล้วจะให้ไปทำอย่างไรล่ะ จะให้อาตมาไปทำอย่างไร คนอยางนี้ไม่ใช่ยกเว้น ต้องรู้ตัวเองซี มันก็ยกอยู่แล้ว เราก็ไม่ใหั มาทำอะไรอยู่แล้ว สมภารก็บอกแล้วว่า อย่ามานั่งอวดดี รู้ป่วยก็ต้องพัก ก็พูดกันเท่าไหร่ แล้ว แม้จะป่วยทางจิต ก็บอกให้พักเหมือนกัน แล้วก็ให้ศึกษา เทศน์มานี่ ที่สันติอโศก ก็เทศน์ แล้วจะทำอย่างไร ให้ศึกษาความจริง ศึกษาให้ดีเลย ให้ประเด็น ไปให้หมอสากลตรวจ ทางวิทยาศาสตร์ตรวจ ถ้าไม่มีเหตุตรวจแล้วตัวเอง เป็นโรคจิตแน่ เมื่อเป็นโรคจิตแล้ว ก็ให้พิจารณา ไม่ใช่มาบังคับว่าไม่ใช่โรคจริง ว่าใช่โรคจิตแล้ว ไม่ใช่มาฝืนอะไรมากเกินไป ก็ไม่ได้น่ะ ต้องศึกษาให้เกิดความยอมรับของตนเอง เออ!ใช่แล้ว เราป่วยโรคทางจิต มันถึง เป็นเหตุอันนี้ๆ อันนี้ แล้วคุณจะคลาย ถ้าคุณเห็นจริงๆ ด้วยญาณของคุณเกิดจริงๆ ถ้าโรคจิตนี่น่ะ คุณปวดอู้ย ปวดนั่น เดี๋ยวนี้ก็ปวด นั่งก็ไม่สบาย ถ้าคุณเข้าใจ ปั๊บเดียว นี้ก็จะหาย เหมือนปาฏิหาริย์ เดี๋ยวนี้เลย เหมือนปาฏิหาริย์เลยจริงๆ ขอยืนยัน เหมือนอย่างคนที่ป่วย เป็นโรคอัมพาต ทางโรคจิตน่ะ เสร็จแล้วพอมารักษาหมอรักษาปั๊บ เดินโย่งๆ ๆ เดินดีๆ แหละ วิ่งได้เลย มีจริงๆ เคยได้ยินมาบ้างไหม หรือเคยเห็นไหม ใครเคยเห็น จริงๆเลยน่ะ แม้เป็นอัมพาต ขาแขนยกไม่ได้เลย โอย ปวด แต่โรคจิตน่ะ เป็นจริงๆน่ะ ชาร่อยเลย ไม่มีแรงเลยน่ะ ไอ้โรคไม่มีแรงนั่นแหละ โรคจิตอย่างมหาวินาศเลย โรคไม่มีแรง มันจะไปไหน ไม่ไปไหนหรอก มันเป็นจิตธรรมดา ๆ อยู่ดีๆ โรคไม่มีแรง ไม่มีแรง แล้วมัน เมื่อยจริงๆ ไม่มีแรงจริงๆ จนกระทั่ง มันมากกว่านั้น ก็คือมันชา แล้วมันก็ขาแข้ง กล้ามเนื้อ ยกไม่ขึ้นเลย นั่นคือ จิตเป็นเหตุ แล้วก็เหมือนกับไปทำตัวเองเป็นอัมพาต พอไปได้รับการรักษา ทางจิต ที่เป็นศรัทธาก็ตาม คนศรัทธานี่เหมือนกับเขาได้ใช้เวทย์มนต์ วืบ เขาใช้จิตจริงๆเลย หาย ลุกขึ้นเดินเดี๋ยวนี้แหละ ถ้ากล้ามเนื้อมันไม่ดีจริงๆแล้วน่ะ ไม่มีทาง คุณไม่มีทาง จะลุกขึ้นมาเดินได้ ไม่มีทาง กล้ามเนื้อ มันไม่ดีจริงๆ จะเอาใครเสกเป่าเข้าจริงๆ ไม่มีทาง จะลุกได้ แต่ลุกได้นี่ เพราะจิตของตัวเองนั่นเอง ปลดปล่อย เลิก เดินเลย เป็นปาฏิหาริย์เลย

เพราะฉะนั้น ให้ไปศึกษา ไปศึกษาของตัวเองแต่ละคน อาตมาไม่ได้มาบังคับ ที่พูดนี่ ไม่ได้มาบังคับ จะว่าว่า ก็ว่าบ้าง ว่าก็มันไม่ดี มันก็ต้องถูกว่าบ้างละหนอ จะเป็นใครก็แล้วแต่ ก็ถูกว่าบ้าง ไอ้ว่าน่ะ ว่าจริงๆ ว่าส่วนไม่ดี ว่าตัวไม่ดีหนอ คนที่ไม่ดี เพราะมีความไม่ดี แต่อาตมา ก็ไม่ได้ไปถล่มทุกคนไป แม้คนที่มีความไม่ดีนั้น ก็ไม่ได้ไปถล่มคน ถล่มความไม่ดีของคนนั้น คุณอยากมีความไม่ดี อยู่ในตัวคุณทำไม ก็โดนถล่มน่ะซี เพราะฉะนั้น คุณอยากจะไม่ให้ถล่ม คุณก็เอาความไม่ดี ออกจากตัวคุณไปซี จะได้เหลือตัวคนที่มีความไม่ดี กลายเป็นมีความดี ไม่ถูกถล่มแล้ว ฟังทันไหมนี่ อาตมาว่าพูดชัดแล้วน่ะ ไม่ได้เร็วเกินไป คงจะฟังทันมั้ง อาตมาไม่ได้ถล่มคนไม่ดี อาตมาถล่มความไม่ดี ซึ่งมีในคนไหน ถูกถล่มทุกคน

เพราะฉะนั้น เมื่อเราไม่อยากถูกถล่ม เราก็กำจัดความไม่ดีในตัวเรา ออกไปให้ได้ เมื่อกำจัด ออกไปได้แล้ว คุณก็เป็นคนดี ความไม่ดี ก็ไม่มีในตัวคุณ ก็ไม่ได้ไปถูกถล่ม ตัวคุณก็ไม่มี ความไม่ดีนั่นแล้ว ไม่มีแล้ว ความไม่ดีนั่นออกไปหมดแล้ว เป็นความดีแล้ว คุณก็เป็นคนดี ก็ไม่ถูกถล่มเลย เพราะความไม่ดีก็ไม่มี แล้ว ก็กลายเป็นคนดีแล้วด้วย ก็ไม่ถูกถล่ม ไม่ถูกว่า แต่นี่มันก็ต้องมีความถูกว่ากัน การถูกว่าบ้างแหละ เพราะคุณยังเหลือความไม่ดี มีมากหรือน้อย ใครมีมากก็โดนว่ามาก ใครมีน้อยก็โดนว่าน้อย แต่อาตมาก็ขอยืนยันว่า อาตมาไม่ได้ว่าคุณ สักคน อาตมาว่าความไม่ดีในคน แหม! อาตมานี่ พูดเก่งจริงๆน่ะ พูดเก่งจริงๆน่ะ แล้วอาตมา พูดผิดไหม ผิดไหม ไม่ผิด อาตมายืนยัน อาตมาไม่พูดผิด อาตมาไม่ได้เล่นลิ้นด้วย ถ้าคุณเข้าใจความหมาย ที่อาตมาพูดทั้งหมด อาตมาไม่ได้เล่นลิ้นด้วย เพราะเรา ไปตรวจตัวเรา แล้วเรามี ความไม่ดี หรือความผิด หรือมันไม่อะไรเท่าไหร่ จริงๆ เพราะฉะนั้น การแก้ไขคืออะไร ต้องไปตรวจตัวเราเอง มากหรือน้อย ต้องตรวจให้ชัด แล้วก็จัดการแก้ความไม่ดี หรือความผิด ความไม่ถูกต้อง ความบกพร่องอันนั้นของตนเอง ให้ออกไปจริงๆ

ถ้าอาตมารัก รักทุกคนแหละ แม้แต่ศัตรู อาตมาก็จะรัก ถ้าเขามาให้รักน่ะ แต่เขาไม่ค่อยมา ให้รักหรอก เขาอยู่ห่าง แล้วอาตมารักไม่ถึงเขา อาตมาส่งรักไปไม่ถึงเขา เพราะว่า เขาไม่ให้ มาให้รัก แต่อาตมาก็จะรัก แม้แต่คนไม่ดี หรือศัตรู อาตมาก็จะรัก ถ้าเขามาให้อาตมารัก ทีนี้ อาตมาก็รักแต่พวกคุณ มาให้รัก ก็รักทุกคนนั่นแหละ เพราะรักถึงต้องถล่ม อ้าว! ก็ถล่ม ถึงรัก สมมติว่า อาตมามีเครื่องใช้อันหนึ่ง แต่อาตมารัก เครื่องใช้อันนี้ โอ้โฮ! เครื่องใช้อันนี้อาตมารัก แต่เสร็จแล้ว เครื่องใช้อันนี้ พอหยิบขึ้นมา เจ้าประคุณเอ๋ย ทั้งขี้สนิม ทั้งขี้กลาก ขี้คราก ขี้เขลอะ อะไร มากับอันนี้ อาตมาจะทำอย่างไรล่ะ อาตมาก็ต้องมาขัด อาตมาก็ต้องมาถู อาตมาก็ต้อง มาชะล้าง ถ้าถึงต้องกระทืบย่ำๆๆ ให้มันออก ก็ต้องกระทืบ ย่ำๆๆๆ ให้มันออก ตบ ตบ เคาะๆ ต้องให้มันออก เพราะอาตมา รักอันนี้แล้ว อาตมาต้องการอันนี้ อาตมาต้องการเอาเขลอะๆ ขึ้นมา กับอันนี้ให้อาตมา ทำอย่างไร โอย รักมันเอามาหมด ทั้งขี้เลย เอามากอด มาดม มาหอม อย่างนั้น หรือ ฮือ! ไม่เอาล่ะ ใครจะเอา ก็เอาเถอะ อาตมาไม่เอาด้วยหรอกอย่างนี้ อาตมาพูดผิด ตรงไหนล่ะ อ้าว! มีคนท้วงมาว่า

อย่างไรก็ตาม เวลามีคนป่วย ไม่อยากให้พวกเราชาวฆราวาส ไปวิเคราะห์ว่า ป่วยทางจิต ควรเป็นหน้าที่ ของสมณะ การพูดเช่นนั้น ป่วยทางจิต จะทำให้ป่วยมากขึ้นอีก อาตมาไม่เห็นด้วย ที่ไม่เห็นด้วย เพราะอะไร เพราะว่าสมณะ ก็ไม่ได้อยู่ใกล้ชิด กับพวกคุณ ตลอดไป โดยเฉพาะ พวกผู้หญิง อย่างนี้ยิ่งจะช้า อย่างนี้ยิ่งจะโอ๋ ยิ่งจะเอาใจ แทนที่จะเป็นอย่างนี้ ทุกคนเป็นลูกศิษย์อาตมา ควรจะต้องตั้งใจให้แข็งแรง ยอมรับ เขาว่าป่วยโรคจิต แล้วเราก็มองความจริง อย่างที่พูดไปเมื่อกี้แล้ว มาอ่านความจริงให้ออกว่า เอ๊! เราเป็นจริง อย่างที่เขาว่าหรือไม่ อ่านความจริง ไม่มีทางเลือกอื่นที่ดีกว่านี้หรอก เขาว่า ก็ว่า ไปเถอะ จะว่ากี่คนก็ตาม ยิ่งหลายคน หลายหู หลายตา เขาช่วยสอดส่อง มันยิ่งดี ไหมล่ะ จะไปละเว้นทำไม ให้มันช้า ให้มันเนิ่นนาน แล้วไปโอ๋ตัวเองเอาไว้ ทำไม อย่ามาแตะฉันนะ อย่ามาแตะฉันนะ ตกลงเลยไม่มีพี่ให้มีแต่พ่อ คือสมณะ ส่วนพี่ๆ เลี้ยงดูกันไม่ได้ แตะต้องกันไม่ได้ ไม่ละเว้น การขอมานี้ ไม่อนุญาต ไม่ให้ แต่ให้ทำความตั้งใจให้ดีว่า ต้องตั้งใจรับ ใครจะติเตียนเรา ใครจะว่าเรา เป็นโรคทางจิต ก็พยายามฟัง พยายามรับ ถามกัน พูดกัน ถ้าเราเป็น เราก็บอกว่า เขาว่าเป็นโรคทางจิต มันอะไรล่ะ มันแสดงว่าทางจิตอย่างไรบ้าง เออ! ให้เขาบอกมาซี่ ถ้าเขาบอกมา รายงานมา เออ เข้าท่าแฮะ จริงโว้ย! อันนี้ตรงเลย ใช่แล้ว อย่างที่พูด ที่เรายังมองไม่เห็นน่ะ ใช่ ขอบคุณ หรือเราพยายามฟังเขาแล้ว เอามาพิจารณา ตรวจสอบตัวเองว่า ไม่จริงอย่างที่เขาว่านะ มันไม่จริง ก็แล้วไป แล้วไปเถอะ เขาเดา เขาไม่รู้ความจริง เขารู้ผิด เขามาว่า มันก็ผิด เพราะเขารู้มาผิดๆ เขาปัญญาไม่ตรง ไม่ถึงผิด ก็ไม่เป็นไร เราก็วางซี ใครจะติเตียนเราก็วาง เราจะได้ซ้อมอัตตามานะของเรา เราจะได้ถล่ม อัตตาของเรา ว่ามันถือดีนัก ใครว่าก็ไม่ได้ ใครติก็ไม่ได้

ถ้าใครที่รับคนอื่นว่าได้ รับคนอื่น ติได้มากๆๆๆ ไม่ใช่อย่างหน้าด้านน่ะ รับเขาติ รับเขาว่าแล้ว เอามาพิจารณาจริงๆ แล้วก็มีใจ เมตตา เกื้อกูล แล้วมีใจยอมรับจริงๆ ไม่ใช่ว่า เขาว่าอย่างหน้าด้าน เขาว่ากู ชั่งมัน ชั่งมัน กูไม่รู้ กูไม่รับ ไอ้ประเภทหน้าด้านน่ะนา ถึงแม้ว่า รับๆๆๆ แต่ไม่เคยเอาไปพิจารณาจริงๆเลย ใครจะว่าอย่างไร ก็ทนได้ รับ เออ ใช่ละๆๆๆ แล้วก็ไม่พิจารณาจริงเลย ไอ้หน้าด้าน ไอ้แบบนั้นก็ไม่เอา โดยที่เรียกว่า ไม่จริง ถ้าจริงแล้ว ต้องยอมรับ ด้วยความนอบน้อม ยอมรับด้วย ความเอามาตรวจจริงๆ แม้มันจะเสียเวลา ในการตรวจสอบตนเอง คุณก็ต้องทำ เพราะนี่เป็นหน้าที่ ในนักปฏิบัติธรรม ใครว่าเราไม่ดี อย่างไร ก็ต้องรับมาตรวจสอบ เป็นหน้าที่โดยตรง คุณจะปฏิเสธไม่ได้ ปฏิเสธก็โง่ ปฏิเสธก็ไม่เร็ว ปฏิเสธก็ไม่มีใครช่วยเหลือเรา เราจะต้องยอมรับ นี่คือปรโตโฆสะ อันนี้ ที่กำลังพูดนี่ ปรโตโฆสะ คือ ต้องรับเสียงอื่น ต้องรับคำ ติเตียนของผู้อื่น ต้องรับรู้ว่า ผู้อื่นเขาเห็นอย่างไร ผู้อื่นเขาเข้าใจอย่างไร แม้แต่เขาไม่ว่าเราก็ตาม ไม่มีคำตำหนิก็ตาม ยิ่งเขาตำหนินั่นแหละ ยิ่งต้องรับ ปรโตโฆสะ ไม่ใช่แตะไม่ได้ ไม่ใช่ต้องไม่ได้ ว่าเราไม่ได้ ไม่ใช่ ต้องรับ คนประเภทขี้เกียจ แล้วป่วย เพราะไม่ยอมทน ไม่ยอมสู้ พอตัวเอง ถูกออกมา ทำงานหน่อย ก็ทำได้หน่อยเดียว เดี๋ยวก็มีปัญญาคิดหาวิธีที่ตัวเอง จะได้หยุดทำ นี่เห็นไหม ฉลาดไหม ว่าตัวเองทำไม่ไหวแล้ว ทำมากกว่านี้ไม่ได้แล้ว ต้องหยุด คือคนประเภทนี้ จะมีปัญญา เข้าข้างตัวเองมาก เพื่อตัวเองจะได้ไม่ต้องทำงาน แม้แต่ไม้กวาด ก็ไม่ยอมจับ ยอมกวาดเลย เอาแต่เดิน เพื่อให้ร่างกายตัวเองสบาย ใครเป็นก็ใครเป็นไป ใครเป็นก็ใครชั่วไป ก็แล้วกัน ที่พูดมานี่ นี่ช่วยมองมีลักษณะซับซ้อน มีลักษณะละเอียดลออ มากกว่าที่ว่ามานี่อีก นี่ก็เป็น ประเด็นอย่างหนึ่ง ลักษณะอย่างหนึ่ง ของที่พูดเมื่อกี้นี้ ก็มี มีอยู่จริง พอไปทำงาน หน่อยๆ เสร็จแล้วก็ใช้ความฉลาด หาทางเลี่ยงๆ ไม่กระทำไปแล้ว อะไรอย่างนี้ อย่างยกตัวอย่าง มานี่ แล้วตัวเองก็เลี่ยงๆ อยู่อย่างนั้นแหละ ไอ้อย่างนี้ มันไม่เข้าใจจริง มันไปเอาใจกิเลส ตัวเองมากเกินไป ไม่ทนต่อความลำบาก ไม่มีความอดทน ไม่มีความข่มฝืน ไม่มีการต่อสู้

พระพุทธเจ้ามีคนถามว่า ศาสนาพระพุทธเจ้า นี่ย่นย่อลงไปจนที่สุดแล้ว ย่นย่อได้อะไร ในภาคปฏิบัติ มีอยู่หลายสูตร มีอยู่หลายอัน

๑. ที่นึกได้ อย่าประมาท หรือไม่ประมาท ย่นย่อเข้าหาความไม่ประมาท นี่เป็นสุดยอดธรรมะ ของพระพุทธเจ้า

๒. ความอดทน ย่นย่อเข้ามาศาสนาพระพุทธเจ้า มีอะไรเป็นยอด แห่งการปฏิบัติ อดทน อดทน

เพราะฉะนั้น ที่ถามมานี้ เหยาะแหยะ คนเหยาะแหยะ คนนี้ ช้า ยากที่จะเจริญ ยากที่จะบรรลุ ถ้าไม่มีความอดทน ตัวอดทน นี่เป็นตัวพิเศษ และ เป็นตัววิเศษจริงๆ อดทนนี่ แต่ไม่ใช่อดทน อย่างโง่ อดทนอย่างไม่รู้เรื่อง ไม่รู้ตัวเอง ว่าตัวเองเกินไปแล้ว อัตตกิลมถานุโยคแล้วก็ไม่รู้ตัว อดทนอย่างเสื่อมๆ อย่างนั้นก็ใช้ไม่ได้

ขอถามจริงๆเถอะ พวกเรานี้ได้อด และได้ทนกันเต็มที่แล้วหรือยัง หา โอ๊ ตอบ ทุกคนเลย ไม่ทุกคน ใครคิดว่าตัวเองได้อดได้ทนเต็มที่แล้ว สุดขีด ที่เราอยู่ทุกวันนี้ ยกมือขึ้น อดนี่คือมักน้อย ทนนี่คือสู้ กระทำบุกบั่นอุตสาหะอดทน อดนี่คือ มักน้อย ใครได้อด และได้ทน สุดที่แล้วทุกวันนี้ โอ้โหย! จะขาดผึงอยู่แล้วนี่ แต่ละวันๆนี่ ใครเป็นอย่างนั้น อย่างนั้นอยู่บ้าง ทุกวันนี้

ปีหนึ่งสักหนหนึ่งมั่ง สักเรื่องหนึ่งละกระมัง อันนี้โอ้โฮ อดสุดอดแล้ว นี่น่ะ มักน้อย สุดมักน้อยแล้วละนี่ ทนโอ้โฮ ทนจะทนไม่ไหวแล้วนี่ๆ ทนจนทนไม่ไหวจริงๆ น่ะหรือ โอ้โฮ! อาตมามอง จะเห็นเลยว่า โอ้โฮ มันยิ่งจะอดได้ยิ่งกว่านี้ จะทนได้อีกกว่านี้จริงๆ จริงๆ แต่เราไม่รู้ เราไม่ค่อยจะอดมันเลยว่ะ แค่นี้ ก็ดีแล้ว ไม่ได้อดมาตั้งเยอะแล้วนี่ ไม่ต้องอดกว่านี้ โธ่ นี่ก็ได้ปฏิบัติแล้ว อดขนาดนี้ ก็ได้ปฏิบัติแล้ว ทนแค่นี้ก็ได้ทนแล้ว ได้ปฏิบัติแล้ว ทนอะไรกัน มากกว่านี้วะ ใช่ไหม จี้ใจดำไปหรือเปล่า จี้ใจแดงๆ เลย โอ้ อย่าไปพูดให้มันเหม็นขี้ฟันหน่อยเลย เพราะฉะนั้น ตัวอดทนนี่ ไม่ใช่ตัวตื้นเขินนะ ตัวลึกซึ้ง อาตมาพูดอย่างนี้เข้าใจ เชื่อว่า พวกคุณเข้าใจดี แล้วอ่านภาวะอารมณ์ของตัวเองออก อารมณ์อด อารมณ์ทนนี้ใช่ไหม นี่เราเอง เราไม่ได้เคยอดทน ให้มันเต็มที่ ให้มันมาก ไม่ต้องถึงขนาดจะขาดผึงหรอก แต่ละวันๆ นี่ก็พยายามเถอะน่า หัดให้เป็นไปได้ แต่ถึงอย่างไรก็ตาม นะ พระพุทธเจ้าท่านก็ให้ประมาณตน จะอดจะทน มักน้อยขนาดนี้ นี่ ในขนาดนี้ เราก็ฝืนดีแล้วล่ะ อดขนาดนี้แล้ว ฝืนพอเป็นไป อย่าให้มันทรมาน จนเกินไป เดี๋ยวก็จะขาดแคลน จะเป็นอาหารก็ตาม จะเป็นเครื่องนุ่งห่มก็ตาม จะเป็นการทำงาน ก็ตาม

ที่จริง การทำงาน นี่ไม่ใช่มักน้อยนะ การทำงานนี่ ต้องมากขึ้นหน่อย อดนี่หมายความว่า บอกแล้วว่า มันเป็นสิ่งที่จะต้องมักน้อยลง หรือว่าต้องประหยัด แต่ว่าการทำงานนี่ มันกลับกัน ทำงานมากกว่านี้หน่อย ก็แล้วกัน อดก็ทำงานมากกว่านี้หน่อย อดใจ อดเรียกว่า ระงับกิเลส ให้มันทำมากกว่านี้หน่อยซี แล้วทนให้ได้ นานๆ อุตสาหะ อุตสาหะลำบากขึ้นไปให้มาก ตั้งตนอยู่บนความลำบากให้ดีๆ ไม่ต้องถึงขนาดฝืนว่า เราจะเสียสุขภาพ หรือว่าทำงานเกิน เรื่องที่เราทำไม่ได้ ทำไม่เป็น มันก็จะเสียหาย เสียสุขภาพด้วย หรือไปเสียหายงาน เสียหาย ไอ้โน่น เขาก็อย่าไปฝืน ไปเสียหายงานเขา หรือเสียสุขภาพของตัวเอง หรือไปพาลพาให้ คนอื่นเสีย พาลพาให้คนอื่นเสีย ถ้าเราไม่ไปทำงานนั้น หรือไปทำอะไรแล้ว ไม่พาให้คนอื่นเสีย ไม่ให้เขาเสีย ไม่ให้งานเสีย ไม่ให้ตัวเองเสีย เสียหาย มันก็ใช้ได้ แล้วพยายามอด พยายามทน ไม่ใช่เรื่องที่จะต้องตัดหรอก

สรุปแล้ว ทุกขายะ อัตตานัง ปทหติ ตั้งตนอยู่บนความลำบาก กุศลธรรมเจริญยิ่ง มันเป็นเรื่อง ลึกซึ้ง มันเป็นเรื่องที่อาตมาขยายความมาทั้งหมดนี่ ขยายความนี้อย่างชัดเลย เพราะทุกคนในนี้ อยู่กับทุกข์ ทุกข์นี่คือความลำบาก ทุกคน อยู่กับสิ่งที่เรียกว่า ความลำบาก ทุกข์ ทุกข์เท่านั้น เกิดขึ้น ทุกข์เท่านั้นตั้งอยู่ ทุกข์เท่านั้นดับไป จริงๆ พระอรหันต์ จึงเห็นชัด

เพราะฉะนั้น พวกคุณแม้ไม่เป็นพระอรหันต์ พยายามอ่าน พยายามเห็นหน่อยเถอะ เอ๊ ตอนนี้ เราตั้งอยู่กับทุกข์หรือเปล่า เปล่า เรากำลังสุข ยถาสุขัง เสียด้วยซ้ำไป โอ ! สบาย แหม! บำเรอตน บันเทิง ระเริงสุขจริงหนอ สุขจริงหนอ อะไรก็แล้วแต่ จะเป็นสุข ทางกามตัณหา หรือภวตัณหา โดยเฉพาะ ภวตัณหา ระวังให้ดี ในพวกเรานี่ ทางกาม เราก็รู้ง่าย เพราะมันหยาบ ทางภวตัณหา นี่รู้ยาก เพราะมันนามธรรม มันละเอียด มันในภพ รู้ยาก เพราะฉะนั้น ไปบำเรอตนในอัตตา มานะในตัวภพ ในตัวสิ่งสมมุติ สมมุติในภพนี่ สมมุติเป็นอย่างไร ก็แล้วแต่ ในทางที่มันไม่เกิด คุณค่าประโยชน์อะไร จิตสงบ อยู่สงบ อย่างฤาษีก็ตาม ถ้าคุณจะใช้ประโยชน์มัน อยู่กับความสงบนี่

๑.เราก็ฝึกเพื่อเรียนรู้ เอาก็ฝึกไปในทางสมถะ ทำเจโตสมถะ เพื่อฝึกเรียนรู้

๒.ถ้าคุณจะใช้เพื่อพักผ่อน สมควรจะพักน่ะ เจโตสมถะ นี่พักผ่อนดีนะ ก็ทำ

๓. ใช้เป็นบุพเพนิวาสานุสติ ให้เกิดญาณบ้าง คือนั่งว่างๆแล้วก็พิจารณา ระลึกย้อนตรวจทาน ตรวจทาน สิ่งที่ผ่านไปแล้ว สิ่งที่ผ่านมาแล้ว ของเก่า หยิบมาพิจารณาจริงๆ ศึกษาทำ บุพเพนิวาสานุสติ ให้เกิดญาณ ก็ทำเถอะ ถ้าคุณจะหยุดระงับ เป็นแบบสงบระงับนั่น

๑. มันต้องพักผ่อน ก็พักผ่อน อย่างน้อยที่สุด คนเรานอนหลับ นอนหลับ นี่คือทำเจโตสมถะ จะทำได้เก่งมาก เก่งน้อยอย่างไรก็ตาม ก็คุณทำเจโตสมถะชนิดหนึ่ง ยิ่งคุณมานั่งบำเพ็ญกสิณ บำเพ็ญลมหายใจ เข้าออก อานาปาณสติ หรือบำเพ็ญอะไรก็แล้วแต่ แล้วคุณก็ได้สงบระงับ อย่างนั้น ก็เป็นการพัก เป็นการพักผ่อนได้ นั้นแง่หนึ่ง

รู้การฝึกเพื่อเรียนรู้ แง่ที่หนึ่งน่ะ เราจะทำเจโตสมถะ อย่างที่พวกเรา พากันนั่งเจโตสมถะ จะทำเจโตสมถะ โดยไม่ได้ต้องการพักผ่อนหรอก แล้วก็ไม่ได้ทำถึงขั้น บุพเพนิวาสานุสติญาณอะไร เป็นการฝึกเรียนรู้วิธีทำเจโตสมถะ นี่จะพานั่งเจโตสมถะกันนี่ เพื่อฝึกเรียนรู้ ก็เอาเถอะ จะทำเจโตสมถะ จะทำสมถะอย่างนั้นก็หนึ่ง

๒.เพื่อพักผ่อน บอกแล้ว พักผ่อน แม้แต่นอนหลับ นี่ไม่ใช่วิธีการอย่างถูกต้องๆ และได้มากอะไร ก็เป็นเจโตสมถะชนิดธรรมชาติ ถ้ายิ่งทำเจโตสมถะ เป็นแล้ว นะคุณจะนอนหลับ ก็ทำเจโตสมถะไปก่อน แล้วหลับไปกับเจโตสมถะ ก็ได้พักผ่อนที่ดี พักผ่อนได้มากด้วย หรือจะเจโตสมถะ ชนิดที่จะบุพเพนิวาสานุสติ ก็จงทำ สามอย่างนี้ง่ายๆ เจโตสมถะ เป็นการศึกษา เป็นการพักผ่อน และ เป็นการสร้างญาณ เป็นการตรวจสอบ สร้างญาณ บุพเพนิวาสานุสติญาณ ก็ได้ ไม่ใช่เป็นผู้อุปการะ จะหยุด จะระงับอย่างนี้ ก็ไม่ใช่ไม่มีอุปการะ อย่างนี้ มี จริงๆ สร้างญาณยังได้เลย บุพเพนิวาสานุสติญาณอย่างว่า สร้างญาณยังได้เลย บรรลุด้วยนั่งเจโตสมถะ ก็ยังได้ พระพุทธเจ้าก็ใช้ บุพเพนิวาสานุสติญาณ นั่งอยู่ใต้ต้นโพธิ์ แล้วก็ตรวจสอบทบทวน จนกระทั่ง ท่านงบดุลของท่านน่ะ อาตมาใช้คำว่า งบดุล ตรวจบุญ บุญบาป สมรรถภาพ ตรวจสิ่งที่ท่านทำ ทำผ่านสะสมบารมีมาได้ โอ้! สมควรแล้ว ครบที่เรา ควรจะเป็นพระพุทธเจ้าได้แล้ว ตรวจโลก โลกต่างๆด้วย ตรวจจริงๆ เลย แล้วบอก โอ้!โลกนี้ ควรที่จะต้องช่วยเขา ท่านก็ปฏิญาณตน เป็นพระพุทธเจ้าเลย เมื่อท่านเอง ท่านมีของจริง พวกนั้น เป็นญาณต่างๆ อะไรครบ ที่เรียกว่า ตถาคตญาณ ทศพลญาณ เวสารัชญาณ ญาณอะไรต่างๆ นานา ที่จะต้องมีในพระพุทธเจ้า ท่านก็ตรวจของท่านจนครบ จบมีครบแล้ว ท่านจะเป็นพระพุทธเจ้า ควรหรือยัง ท่านสมเหมาะในกาละเทศะ สมเหมาะสมควร ท่านก็ต้องตรัสรู้ และอีกอย่างหนึ่ง มันจะมีญาณที่จะรู้ว่า นี่ตอนนี้ เราจะต้องทำงานช่วยโลก จะต้องสร้างศาสนา มันเป็นหน้าที่ของท่าน เป็นบารมีของท่าน อย่างอาตมานี่รู้ดีเลย ว่าไม่ใช่หน้าที่ของอาตมา อาตมาไม่มีบารมีพอ และไม่ใช่ยุคกาลที่จะทำรู้ดี พูดให้ตายอย่างไร อาตมาก็ชัดเจน ไม่ได้พูดเล่นลิ้น ไม่ได้หลง ไม่ใช่อาตมาไม่ใช่พระพุทธเจ้า ยังไม่ถึงคราวเป็น พระพุทธเจ้า ไม่มีคุณภาพพอ พระพุทธเจ้า แล้วไม่ใช่ยุคกาลที่พระพุทธเจ้า จะยังมาเกิดด้วย อาตมาแน่ใจ ถึงขนาดนั้น ว่าไม่ใช่ยุคกาลที่พระพุทธเจ้า จะมาเกิดในยุคนี้ ด้วย เกิดไม่เหมาะ ไม่เหมาะต่างๆ พวกนี้นี่ มันจะต้องมีญาณ ขนาดอาตมายังมีญาณเหล่านี้ แล้วพระพุทธเจ้า จะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า จะไม่มีญาณเหล่านี้ได้อย่างไร ท่านรู้ยิ่งกว่าอาตมารู้อีก

เพราะฉะนั้น หลายอย่างพวกคุณเดาไม่ออกหรอก แม้แต่ขนาดอาตมารู้นี่ พวกคุณลองเดา ที่อาตมารู้นี้ ยังไม่ค่อยออกเลย เพราะฉะนั้น จะไปเดาของพระพุทธเจ้าเป็น ยิ่งไปกันใหญ่ จะไปเดาอะไรได้ เดาไม่ออกหรอก อาตมานี่ พอจะมีไรๆ ในเรื่องความรู้อย่างพระพุทธเจ้า ที่อาตมานี้ พูดไปให้ฟัง ไม่ใช่ว่าเดาอย่างเดียว บางอย่างก็คะเนบ้าง แต่หลายอย่างนี้ มีความรู้นั้นอยู่ ไรๆแล้ว เพราะอาตมาบำเพ็ญมา เรียนไปเรื่อยๆ ก็มีความรู้ไปเรื่อยๆ อาตมา ฝึกฝนมา ศึกษามา บำเพ็ญมา สั่งสมบารมีมา มันก็มีสิ่งนั้น ก็พูดให้คุณฟัง ไม่ใช่ดูถูกพวกคุณ

เพราะฉะนั้น ในทิศทางของมรรคองค์ ๘ ทิศทางของศาสนาพุทธนี้ จึงไม่ใช่เรื่องตื้นเขิน ไม่ใช่เรื่องง่ายดาย สัมมาทิฏฐิ ที่เพียงแค่จะเข้าใจมา เป็นฤาษี หรือไม่เป็นฤาษี จึงยากมากเลย ยากจนกระทั่ง ศาสนาพุทธนี่ เกิดในเมืองอินเดียเอง แต่คนอินเดีย เอาศาสนาพุทธไว้ไม่ได้ เพราะคนอินเดียนั้น เป็นฤาษีแต่ดึกดำบรรพ์ เป็นฐานของฤาษีแท้ เพราะฉะนั้น เอาศาสนาพุทธ ที่ไม่ใช่ เป็นฤาษีนี่ ไปยัดให้อย่างไรๆ ก็ไม่ค่อยออก ไปได้โน่น จีนเอาไป ญี่ปุ่นเอาไปเยอะเลย ไปได้ประโยชน์อยู่ที่จีน อยู่ที่ญี่ปุ่นเสียเยอะ เยอะจริงๆ ได้ ประโยชน์ทางพุทธศาสนา ทางโน้นได้มากกว่า หรือแม้แต่เมืองไทย คนอินเดียเอง เป็นจับกัง สร้างให้แบกให้ แต่ตัวเอง ได้รับผลน้อย ได้รับประโยชน์ จากศาสนาพุทธน้อย รับไว้ไม่ได้ เอาไว้ไม่อยู่ เพราะเลือดฤาษี มันแรง ทิฏฐิมันเป็นอย่างนั้น จริงๆน่ะ สัจจะมันเป็นอย่างนั้นจริงๆ

เพราะฉะนั้น ชาวอโศก ถ้ามีเลือดๆ ฤาษีแรงๆอย่างนี้ เอาไว้ไม่อยู่เหมือนกัน จะเอาพุทธศาสนา มาสถาปนาไว้ไม่ได้เหมือนกัน จะไปไม่รอดเหมือนกันนะ นี่อาตมาพูดอย่างนี้ ก็ไม่ได้หมายความว่า บังคับ ขอให้พวกเราไปไตร่ตรอง ศึกษาฟังดีๆ

เท็ปม้วนนี้ อย่างไรๆ ก็ฟังทวนก็ได้ ฟังทวนหลายเที่ยวก็ได้ เพราะว่าหลายๆ อันรู้สึกว่า มันยาก แม้แต่ภาษา ก็ยากที่จะต้องฟังดีๆ เข้าใจดีๆ

เอาละ อาตมาคิดว่าได้พูด ได้สาธยายอะไรมามากพอสมควร วันนี้นี่ มันมีเหตุการณ์ดี หลายๆอย่าง ที่ทำให้เกิดการบรรยายพัฒนาสิ่งเหล่านี้ขึ้นมา ให้พวกเราได้เกิดการเรียนรู้นะ เท็ปม้วนนี้ แม้แต่ในสันติอโศก ก็น่าจะเปิดฟังหลายๆเที่ยว เพราะว่าไม่ได้ฟังต่อปาก ต่อหน้า ต่อตาอาตมาด้วย ที่ฟังเท็ปนี่ มันไม่ค่อยชัด ไม่ค่อยจะได้ผลเท่าๆ การฟังสดๆ ต่อหน้าต่อตา เท่าไหร่หรอก เพราะฉะนั้น มันต้องฟังมากๆ ตั้งอกตั้งใจฟังดีๆ ขนาดตั้งอย่างไร ก็ยังตั้งไข่ล้ม ต้มไข่กิน อยู่เรื่อยเลย ไม่ค่อยจะตั้งอยู่เท่าไหร่ ใช่ไหม ฟังเท็ปน่ะ ไม่เหมือนกับฟังสดๆ

เอ้า เอาละ สำหรับวันนี้ พอ



ถอด โดย นายจอม ศรีสวัสดิ์
ตรวจทาน ๑ โดย สม.ปราณี ๙ มี.ค.๒๕๓๕
พิมพ์ โดย สม.นัยนา ๑๐ มี.ค.๒๕๓๕
ตรวจทาน ๒ โดย โครงงานถอดเท็ป ๑๑ มี.ค.๒๕๓๕
FILE:2274.TAP