อานิสงส์ของศีล (จาก กิมัตถิยสูตร) หน้า ๒ ต่อจากหน้า ๑
อบรมทำวัตรเช้า วันที่ ๑๓ มีนาคม พ.ศ.๒๕๓๕
ณ พุทธสถานสันติอโศก
โดย สมณะโพธิรักขิโต


เขาไม่ได้ศึกษาธรรมะนี่ ไม่มีทางเลย กิเลสจะไม่หนาขึ้น เขาไม่ศึกษาจริงๆ อย่างที่เราพูดกัน อย่างที่เราสังวรระวังกัน อย่างที่เราพากันให้ลดจริงๆ อย่างนี้นะ เขาไม่ได้ศึกษาใช่ไหม คุณนึกถึง ตัวเองซิ แต่ก่อนนี้ คุณศึกษาอย่างนี้ไหม นี่แต่ก่อนนี้ อยู่ทางโลก นี่คุณศึกษา อย่างนี้ไหม ไม่ปล่อยตัวไปสมใจ ให้กิเลสมันหนาขึ้น คุณนึกออกไหมว่า ปุถุนี่คือกิเลสมันหนาขึ้น มันคือ อย่างไร นึกออกไหม กิเลสหนาขึ้นๆๆจริง แล้วเราไม่รู้ตัวนะว่า มันหนาขึ้นตลอดเวลา แล้วคนในโลกนี้ เขาไม่ได้ปฏิบัติธรรมนั่นกิเลสหนาขึ้นตลอดเวลา เขารู้ตัวที่ไหน ขนาดเรา รู้ตัวแล้ว เราปฏิบัติอยู่ทุกวันๆนี้ มันยังเอาออกยากเลย ไอ้หนาๆ จะให้มันบางลงๆ มันยังไม่ง่ายเลย ใช่ไหม ที่เรามีมาแล้ว นี่เราพยายามสังวร ละล้างมันอยู่นี่ มันยังไม่ง่ายเลย แล้วปล่อยปละละเลยอย่างนั้น เห็นไหมเล่า คนปฏิบัติธรรมกี่คนในสังคม แล้วปฏิบัติถูกทาง อย่างที่รู้จริง รู้ตัว แหม รู้สภาวะ รู้อย่างที่เราพูดกันนี่ อาตมาว่า ที่กำลังพูดกันนี่ชัดนะ หรือ ใครยังไม่ชัด ใครง่วง หยิกตัวเองขึ้นมาซิ ไม่ได้ฟังเลย ไม่ค่อยรู้เรื่องงงๆอยู่นี่ ฟังดีๆ ตั้งใจฟังดีๆ นี่อาตมาว่า เอาสภาวธรรมนี่จริงๆ เข้ามาฉีกชี้ เข้ามาขยายเหมือนกับ หยิบอันนั้น มาค่อยละเอียด บี้ให้ดูทีละชิ้น อาตมาว่าอย่างนั้นน่ะ

อาตมามีลักษณะแม่ ต้องอธิบายอย่างแม่ แม่จู้จี้ จุกจิก อย่างโน้นอย่างนี้ เหลี่ยมโน้น เหลี่ยมนี้ ซ้ำไป ชี้ไป ซ้ำมานี่อย่างแม่ ถ้าอย่างพ่อล่ะ ตบพั๊วะเดียวล่ะ โน่นให้รู้เรื่อง ไม่รู้เรื่อง ก็ช่างหัว มันเลย ถ้าพ่อล่ะ บางทีก็ใช้ลีลาพ่อเหมือนกัน พั๊วะๆก็ใช้อยู่ ลีลาก็ให้รู้ว่า ลีลาแม่ ลีลาพ่อ นี่คือแม่ คือพ่อของจริง แล้วให้เกิดอะไร เกิดทางโอปปาติกะ เกิดทางวิญญาณ นี่กำลังทำคลอด นี่กำลังสร้างนี่ พวกเรานี่เหมือนอยู่ในครรภ์ อยู่ในห้องอบรม อยู่ในห้องฝึกฝน อยู่ในห้อง ที่เหมือนกับอยู่ ในหลอดแก้วที่กำลังจะสังเคราะห์ ในหลอดแก้ว ในคันธัพโพ เรียกว่าห้อง เรียกว่าหลอดแก้ว เรียกว่ามดลูก เรียกว่าสิ่งที่กำลังจะฟูมฟักให้เกิด ให้เกิด ทางวิญญาณ นี่ ที่อธิบายนี่คือหน้าที่ ที่อาตมากำลังทำงานเหมือนกับไอ้ตัวเซล ตัวอะไร กำลังทำงาน ก่อให้เกิดสรีระ ของมนุษย์ในครรภ์ ในมดลูกนี่ กำลังทำงาน อาตมาก็คือ เหมือนเซลตัวนั้นน่ะ กำลังจะก่อสร้างให้พวกเรานี่ ให้เกิด โอปปาติกโยนิ ให้เกิดทาง จิตวิญญาณ ให้เปลี่ยนแปลง ทางจิตวิญญาณ ให้ครบสมบูรณ์ขึ้นมาให้ได้ ตามที่อาตมามีหน้าที่ แล้วก็มีความรู้ ที่จะทำ ให้เป็นอย่างไร ให้เป็น โอปปาติกกะ อย่างไร ให้เป็นจิตวิญญาณอย่างไร ให้เป็นจิตวิญญาณ พระอรหันต์ โน่นแหละ กำลังทำไปอยู่เรื่อยๆ นี่ตามลำดับ ขัดข้อง ตรงไหนไม่ได้ พวกคุณขัดเอง มันก็ไม่เป็นไปตามที่อาตมาจะจับให้เป็น พวกคุณไม่ขัดช่วยด้วย มีแรงหนุน ส่งเสริม ให้ตัวเองด้วย เข้าใจให้ดี แล้วปฏิบัติให้ตรงด้วย มันก็จะไว

เพราะฉะนั้น เมื่อเวลาเราปฏิบัติให้เกิดถูกทาง เป็นกุศลที่ถูกทาง เมื่อศีลขัดเกลาโลภ ขัดเกลา ความโกรธ ความโลภลงมาจริงๆ จิตมันก็เป็นจิต เจริญ เกิดปัสสัทธิ เกิดความสงบระงับ จากกิเลส ไม่ใช่กิเลสหนาขึ้น เพราะไม่ ได้เสพสม มีแต่เรียนรู้ว่าเสพสมนั้น มันเป็นการบำเรอ มันเป็น การทำให้หนาขึ้น มันทำให้ย่ามใจขึ้น ทำให้ติดใจมากขึ้น ยึดติดมากขึ้น เพราะฉะนั้น เราไม่แล้วนี่ เรามาตั้งศีลที่ว่า นี่ เอ้า หัดจาง หัดคลาย หัดละ หัดเลิก กิเลสมันเกิดมา หั่นกิเลส หั่นกิเลส กิเลสมันอ่อนแรงจริง มันก็เกิดความสบายๆ ไม่ใช่สบายแบบสมใจ ไม่ใช่ สบาย ไม่ใช่ปราโมทย์ ไม่ใช่ปีติแบบสมใจ แต่ปราโมทย์ปีติแบบที่มันเห็นเลยว่า เออ มันเบา มันว่าง มันง่าย มันคลาย มันจาง ว่าง ง่าย คลาย จางจริงๆ จน กระทั่ง มันหมดแรงลงๆๆๆ สงบลงๆ เป็นปัสสัทธิ เรียกในภาษาว่า คือฌาน ได้ เพ่ง ได้เผา เพ่งเผามาๆ

ปัสสัทธิ มีอะไรเป็นผล มีความสุขสุขอันนี้ อาตมาเขียนหนังสือ คั้นมาจากศีลก็ดี ยังวงเล็บ เอาไว้ว่า ไม่ใช่สุขโลกียะ ไม่ใช่สุขขัลลิกะ แต่เป็นวูปสโมสุข ตัวนี้ วงเล็บเลยว่า วูปสโมสุข หรือว่า อุปสโมสุข สุขสงบรำงับนะ สุข ปัสสัทธิ สุข เพราะเกิดความระงับกิเลสลง สุขไม่ใช่ว่าอยาก แล้วสมอยากบำเรอใจ ไม่ใช่ สุข เพราะว่ามันไม่ต้องดิ้น ไม่ต้องรน ไม่ต้องเป็นทาส ไม่ต้องบำเรอ ไม่ต้องมีโลกียสุข สุข สุขอย่างไม่มีโลกียสุข ไม่ใช่สุขัลลกิกะ สุขตอแหล สุขหลอกลวง อย่างโลกน่ะ เคยเสพกันมานัก เสพหลอกลวง มันกลายเป็นวูปสโมสุข สุขเพราะ ระงับจริงๆ สุขพิเศษ มันจะเกิดความสุข แบบฌานนี่ ฌานที่เผาเพ่งกิเลสออกไป แล้ว นี่มันก็เกิดความสุขสงบระงับอันนี้นี่ มันจะเป็นอย่างไร ผู้ปฏิบัติจริง จะรู้ ตน จะรู้ว่า รส วูปสโมสุข มันเป็นอย่างไร รสโลกียสุข หรือสุขขัลลิก คุณรู้กันทุกคน เคยเสพมาทุกคน รสสุขสมใจแบบนั้นน่ะ แบบอยากได้อะไรก็ได้รสสมใจ ได้รูปสมใจ ได้กลิ่นสมใจ ได้ลาภสมใจ ได้อะไรสมใจ คุณได้บำเรอความสุขอย่างนั้น คุณมีทุกคน คุณรู้ทุกคน แต่วูปสโมสุข ถ้าปฏิบัติไม่ถูก ไม่ตรง โดยเฉพาะปฏิบัติ อย่างพระพุทธเจ้า ปฏิบัติตามหลักมรรคองค์ ๘ ปฏิบัติไป สังวร เราตั้งศีลแล้วก็ไป สังวร การนึกคิด ดำริ อย่าดำริเป็นกาม อย่าดำริเป็นพยาบาท อย่าดำริสาย ๒ สายนั่นแหละโทสมูล โลภมูลนั่นแหละ ราคมูลนั่นแหละ อย่าไปดำริ อย่าให้มันจิต เกิดอย่างนั้น พยายามเรียนรู้ว่าจิตมันเกิดอย่างนี้ไม่ดีหรอก กิเลส จิตมันเกิดไป กามวิตก มันก็กิเลส พยาบาทวิตก มันก็กิเลส หรือไปเบียดเบียน เบียดเบียนตน เบียดเบียนท่าน เบียนเบียนตนก็คือ เรายังอยากอยู่ บำเรอตนอยู่ นั่น เบียดเบียนตนนะ บำเรออยู่ ไม่ใช่ให้ โลกียะสุข หรือว่าให้สุขขัลลิกะแก่ตน นั่นคือ การเจริญ ไม่ใช่ นั่นเบียดเบียนตนแท้ๆเลย

เพราะฉะนั้น เราลดลงจริงๆ ปัสสัทธิ แข็งแรงขึ้น ฌานนี่ เพ่งเผาขึ้นเรื่อยๆ จะมีวูปสโมสุข เป็นผล เมื่อวูปสโมสุข เราเคยเรียนมาว่า เมื่อได้สมาธิแล้วก็จะได้สุขใช่ไหม พอพระพุทธเจ้า ท่านอธิบายมา สุขมีอะไรเป็นผล มีสมาธิเป็นผล ทำไมปฏิบัติสมาธิเล่า จะได้สุขเป็นผล เราเรียนมาว่า ถ้าเผื่อว่า ปฏิบัติสมาธิ ทำสมาธิแล้วเราจะได้สุขเป็นผล นี่กลับเป็นว่า สุขเป็นผล ให้เกิดสมาธิ สมาธิเป็นประโยชน์ของสุข สุขมีสมาธิเป็นผล มีสมาธิเป็นอานิสงส์ งงไหมๆ อธิบายปรมัตถ์ เข้ามาหาภาษา อธิบายภาษาว่า ทำสมาธิ ก็คือเป็นคำ รวม วิธีการทำสมาธิ อย่างไร

วิธีการทำสมาธิของพุทธ ก็คือ สัมมาสมาธิ ก็คือปฏิบัติหลัก ๗ ขององค์มรรค ก็คือ ปฏิบัติ ขัดเกลาๆ มาเป็นสัมมาสมาธิ มันก็คือมีสุขในตัวของมัน นั่นแหละ เมื่อมีสุขในตัวของมัน แล้วก็มาเรียกชื่อว่า สัมมาสมาธิ เป็นผลสัมมา สมาธิเกิดจากองค์ ๗ ถ้าคุณปฏิบัติสังกัปปะ วาจา กัมมันตะ อาชีวะ ปฏิบัติให้ เกิด มีสัมมาสติ มีสัมมาวายามะ ห้อมล้อมจากหิริ ความเห็น ที่คุณเข้าใจ ก็ไปปฏิบัติ ลดละๆ เกิดอานิสงส์ พวกนี้ขึ้นมา มีศีลสมาธิ มีศีลนั่นแหละ ขัดเกลา ให้เป็นอธิจิต แล้วมันก็มีปัญญาซ้อนเหมือนขัดมือด้วยมือ เหมือนขัดเท้าด้วยเท้า ปัญญาก็ จะขัดเกลาให้ศีลกระจ่างขึ้น ศีลก็สูงขึ้น อธิจิต กาย วาจา ใจ อธิจิตก็สูงขึ้น เจริญขึ้น เป็นอธิจิตขึ้น ปัญญาที่จะไปล้าง จะไปขัดเกลา จะไปลึกซึ้ง จะไปซอกแซก รวมอยู่ในศีล อยู่ในอธิจิต ปัญญาจะรู้ศีล จะรู้จิต จะรู้ศีล จะรู้จิต จะรู้ศีล จะรู้ จิต จะรู้ว่ากิเลสมันออกจากจิต จะรู้ว่ามันระงับ จะรู้ว่ามันสบาย มันปราโมทย์ มันปีติ มันปัสสัทธิ โอ๊ มันสงบสุขดี มันวูปสโมสุขดี มันก็จะรู้ด้วยปัญญา ปัญญาจะ เห็นแจ้ง ไม่ใช่งมงาย ไม่ใช่เดาเอา เกิดการขัดเกลา กิเลสมันลดลงๆจริงๆนะ การนึกคิดสังกัปปะ การดำริอะไรเราก็ดำริ หมดกามวิตก หมดพยาบาทวิตก หมดเบียดเบียน หมดวิหิงสาวิตกอะไรไปเรื่อยๆๆ วาจา ก็ระงับดี กัมมันตะก็ดี ไม่เบียดเบียน ไม่ปาณาติบาต ไม่อทินนาทาน ไม่กาเมสุมิจฉาจาร อะไรลงไปเรื่อยๆ จริง อาชีพก็ดีขึ้นๆ เจริญขึ้น ไม่โลภโมโทสัน ไม่แลกลาภอะไร มีแต่เจริญขึ้น ไปสอดร้อย ขึ้นไปเรื่อยๆ มันก็เกิดสุขที่รวมเรียกว่าสมาธิ คืออธิทั้ง ๓ ที่อาตมาใช้ ภาษาเรียก

สมาธิ นี่คืออธิทั้ง ๓ อธิศีลก็แจ้งชัด อธิจิตก็แจ้งชัด อธิปัญญาก็แจ้งชัด

ทีนี้ต่อไป สมาธิมียถาภูตญาณเป็นผล ตัวนี้แหละ ชัดเจน ยถาภูตญาณก็ คือเกิดญาณ เห็นความจริง ที่มันเกิดตามที่มันเป็นยถาภูต ภูตก็คือ จิตวิญญาณ ยถาก็คือ ตามที่มันเป็น มันเป็นไปตามที่มันได้ ตามที่มันเป็น เป็นด้วยเหตุ ด้วยปัจจัย จะเหตุปัจจัยไหนๆ ทุกอย่าง เกิดมาแต่เหตุทั้งนั้น ยถา ที่เรียกว่า ยถากรรม กรรมที่เกิดมาตามยถา ก็คือที่เกิดตามปัจจัย ยถาภูต ก็คือจิตวิญญาณที่ เกิดไปตามเหตุ ตามปัจจัย ญาณทัสสนะ ยถาภูตญาณทัสสนะ ก็คือปัญญา คืออธิปัญญา ที่เห็นการเกิดทางจิต ทางภูต ทางวิญญาณ เห็นการเกิด การดับ เห็นกิเลสดับ เห็นความเจริญของจิต เกิดเห็นความสุข เกิดเห็นปัสสัทธิเกิด เห็นปีติเกิด เห็นปราโมทย์เกิด เห็นอวิปฏิสารเกิด ญาณทัสสนะ เห็นเกิดอธิต่างๆ นี่แหละ สมาธิ นี่ก็คือ อธิต่างๆ ที่ปัญญา หรือญาณสอดแทรกซ้อน บอกแล้วว่า ตามรู้ศีล ตามรู้อธิศีล ตามรู้จิต ตามรู้อธิจิต ตามรู้มาเรื่อยๆ จนกระทั่ง อธิศีล อธิจิต เจริญอย่างไร ก็คือ อธิปัญญา เจริญอย่างนั้น ยถาภูตญาณ นี่คือ อธิปัญญา คืออธิปัญญาที่รู้ตามจริง ตามจริงๆ อย่างนั้น อ้อ สมาธิ คือความแข็งแรง คือ ความตั้งมั่นของอธิทั้งหลาย อธิศีลแข็งแรง อธิจิตแข็งแรง ปัญญาก็แข็งแรง

ศรัทธินทรีย์ก็เกิด ศรัทธาพละก็เกิด ความเชื่อที่ว่า โอ้ มันจริงนะ ความเชื่อในใจเรา มันเกิดจริงๆ มันเกิดศรัทธา ศรัทธินทรีย์ เกิดอินทรีย์ ๕ พละ ๕ เพราะปฏิบัติโพธิปักขิยธรรม ถูกทาง ตามหลักมรรคองค์ ๘ ที่ว่า สังวรประหารไปเรื่อยๆ มีสติปัฏฐาน มีสังวรปธาน มีอิทธิบาท สั่งสมลงเป็นอินทรีย์ ๕ เป็นพละ ๕ โดยหลักโพชฌงค์ ๗ โดยหลักมรรค ๘ นี่แหละ รวมแล้ว ไม่ไปไหนเลย อยู่ในนี้ มันก็ขัดเกลาจริง แล้วก็เห็นจริงผลจริงๆ เกิดเป็น ยถาภูตญาณทัสสนะ เป็น ยอดอธิปัญญานั่นเอง เห็นความจริงทางจิต ปฏิบัติศีลให้เกิดญาณ อย่างนี้น่ะ ไม่ใช่ญาณ ไปนั่งหลับตา เป็นสมาธิแล้วเกิดญาณด้นเดา เกิดการรู้ตามจริง มาตามลำดับ ปฏิบัติได้ แม้ขณะนี้ จะเอี้ยวแขน ไกวขา จะกะพริบตา มีสัมผัสโน่น สัมผัสนี่ ปฏิบัติศีลนั้นอยู่หรือไม่ ปฏิบัตินะ นี่เราลด ก่อทางรูป ก็เกิดกาม เอ้า เราไม่เอา เราไม่ดำริกาม เราไม่ให้มันดำริ ไม่ให้มันเกิด ไม่ให้มันคิด ไม่ให้มันเริ่มขึ้น ระงับมัน กามวิตกระงับ พยาบาทวิตกก็ระงับ ความไม่ดี ไม่งาม ทางโกรธ ทางโลภระงับๆ เบียดเบียนตน เบียดเบียนท่าน ยิ่งมีภูมิธรรม เป็นอธิ สูงเท่าไหร่ คุณก็ทำตามสักกายะของคุณ อัตตาของคุณ ตัวตนของคุณ ทำแล้วก็ลดๆจริงๆ เท่าไหร่ๆ อธิทั้งหลาย สมาธิทั้งหลาย ก็ยิ่งเกิด คุณก็มีญาณ ยถาภูตญาณ ที่จะมีญาณปัญญา ดูความเกิด ความเจริญเป็นกุศลของจิต ความเจริญของศีล ความเจริญของปัญญา ได้รู้ความเจริญ ของจิตที่จริง ได้รู้ความเจริญ ของศีลที่จริง ที่คุณทำได้ สงบได้ ระงับได้ ลดได้ จางคลายได้ ยิ่งยถาภูตญาณ เกิดเท่าไหร่ๆ ผลของยถาภูตญาณ คือนิพพิทาวิราคะ เบื่อหน่าย

แต่ก่อนนี้ เราก็ไปติดมัน ไม่เบื่อ ไม่หน่าย ไม่คลาย ไม่ปล่อยสักทีหนึ่ง จะวนจะเวียน เป็นสังสารวัฏ อยู่อย่างนั้นแหละ ประเดี๋ยวก็อยาก ประเดี๋ยวก็เสพ ได้สมเสพก็สุข ไม่ได้สมเสพ ก็ทุกข์ ก็อยากดิ้นรน จนมันได้ ไม่ได้ก็พักยกไว้ก่อน อาฆาตไว้ก่อน งวดหน้า ข้าต้องเอาให้ได้ มันยอมปล่อย ยอมวางที่ไหน ข้ามเป็นชาติๆโน่นแน่ ชาตินี้ ได้รักไม่สมหวัง ขอชาติหน้านะน้อง ชาตินี้ยังไงก็สู้เขาไม่ไหว ก็ชาติหน้านะน้อง อาฆาตกันข้ามชาติ ชาตินี้ฆ่าแกไม่ได้ ชาติหน้า ข้าจะฆ่าแกให้ได้ มันไม่บอกอย่างนี้หรอก แต่ว่ามันก็เป็น อย่างนี้แหละ ในจิต

เพราะฉะนั้น มันก็ไม่มีนิพพิทาสักที มันไม่มีปล่อยวางสักที มันไม่มีการเลิกล้าง ไม่เลิก อะไรหรอก เลิกการโกรธ กับการโลภ นี่แหละ เลิกราคะกับโทสะ นี่เท่านั้นแหละ ฟาดฟัน กันอยู่ตรงนี้ วนเวียนอยู่ตรงนี้ ชาติแล้วชาติเล่า นี่มันก็ ไอ้แค่นี้

เพราะฉะนั้น นิพพิทาวิราคะก็เห็นญาณปัญญา ยถาภูตญาณก็เห็นชัดเจน ว่า โอ้โฮ มันน่าเบื่อ น่าหน่าย มันน่าคลายหนอ ไม่รู้แล้ว วนเวียนอยู่นี่ รักกันอยู่ได้ ไม่รู้จักเลิก แก้แค้นกันอยู่ได้ ไม่รู้จักเลิก มันโง่ไม่เสร็จ จริงๆ มันอวิชชา มหาอวิชา อภิบรมมหาอวิชชา จริงๆเลย มันโง่จริงๆ เลย มันจะเห็นว่า เรานี่โง่ มันจะยอมรับว่า เรานี่โง่หนอ โง่มาหลายชาติ ชาตินี้ เกิดยถาภูตญาณ ก็คือความเฉลียวฉลาด ฉลาดแล้วอาการของความเบื่อหน่าย คลายจาง เกิดโน้มไปซิ โน้มน้อมไป โอ้ มันน่าเบื่อจริงๆหนอ เห็นจริงๆเลย มันคุณก็ยิ่งซ้อน ยิ่งซ้ำ ยิ่งเห็นว่า น่าเบื่อ น่าหน่าย น่าคลาย พิจารณาปฏิบัติไป แล้ว มันก็ขัดเกลาไป มันเป็นทุกข์ เป็นร้อน มันก็วนเวียน มันก็วุ่นวาย มันไม่เลิก มันไม่จบสักที อยู่นั่นแหละ ไม่รู้ว่าจะอำนาจโลภ อำนาจราคะ หรือ อำนาจโทสะจองเวร จองกรรมกันอยู่นั่นแหละ จองเวรจองกรรมทางราคะ ทางโลภก็ตาม จองเวร จองกรรม ทางสายโทสะ พยาบาทก็ตาม มันก็แค่นี้แหละ เราหลงมัน เราไม่รู้มันโมหะ ตอนนี้เราไม่หลงแล้ว มีอะไรชัดๆแล้ว มันก็จะชัดเจน นิพพิทาวิราคะ ก็จะเบื่อจริงๆ นี่เป็นผล ถ้าเผื่อว่า ทำตรงจริง มันจะเบื่อ จะหน่าย จะคลาย จะปล่อย จะวางไป เมื่อนิพพิทาวิราคะ จะมีอะไร เป็นผลล่ะตอนนี้ มันก็จบเท่านั้นเอง มันก็มีวิมุติเท่านั้นเอง เบื่อหน่าย แล้วก็หลุด ก็พัน มาสักที มันเบื่อ มันหน่าย มันเกิดจริงๆ เลยนะ มันเกิดเลย มันอาการของคุณธรรม อาการของธรรมะ ที่เป็นคุณประโยชน์ที่แท้ มันเกิดนิพพิทา ไม่ใช่ว่า จับเหวี่ยงเล่น ไม่ใช่ว่าพรากเล่นเฉยๆ แต่ว่ามันจะพราก จะจาง จะคลายออกจากจิตเลย นิพพิทา วิราคะ จางคลาย มันจะเบื่อ จะหน่าย แล้วมันก็จะจาง จะคลาย โดยคุณลักษณะนี้ มันเกิดจริง เป็นจริงในใจ

ถ้าปฏิบัติถูกทางถูกต้องแล้ว สภาวะมันจะเป็นอย่างนี้ไปเรื่อยๆ โอ้ มันจะไม่ยินดี ที่จะเสพสม สุขสม แต่ก็ไม่ใช่เป็นคนตาบอด ไม่ใช่คนงมงาย ไม่รู้จักสมมุติสัจจะในโลก มันจะมี ความเห็นแจ้ง เลยว่า โอ้โลกนี้ เราก็ตกอยู่ในทุกข์อย่างนี้ มันจะยิ่งเห็นว่าน่าสงสาร ถ้าเรายิ่ง มีญาณทัสสนะ เห็นว่า เออ เราก็ยิ่งนิพพิทาวิราคะ จางคลายมา จางคลาย จนกระทั่ง มาถึงนิโรธ ตามเห็นเลย มาตามอนุปัสสี นี่แปลว่า ตามเห็น ปัสสะ แปลว่า เห็น อนิจจานุปัสสี วิราคานุปัสสี นิโรธานุปัสสี ปฏินิสสัคคานุปัสสี การปฏิบัติธรรมขึ้นมาแล้ว มันจะตามเห็น เป็นฌานนะ เป็นฌาน ที่ปฏิบัติแล้ว มันจะเห็นๆ เห็นความไม่เที่ยง ที่อาตมาอธิบาย อนิจจัง ไม่เที่ยง ไม่เหมือนที่เขาคิดนึกว่า อะไรๆ มันก็ไม่เที่ยง จริง อะไรมันก็ไม่เที่ยง เป็นกำปั้นทุบดิน ศาสนาอื่นก็รู้ แต่ศาสนาพุทธ เป็นปรมัตถสัจจะที่จะต้องเห็นอนิจจัง ที่กิเลสมันไม่เที่ยง อย่างที่อธิบายแล้ว อธิบายอีก มันไม่เที่ยง เราทำให้จางคลายได้ ก็เห็นวิราคานุปัสสี เห็นมัน จางคลาย ได้จริงๆ มันลดไปได้จริงๆ มันไม่เที่ยง แต่ก่อน มันร้อยหน่วย เดี๋ยวนี้ มันลดลงเหลือ ๙๐ ลดลง ๘๐ แต่ก่อน มันก็ไม่เที่ยง แต่มันหนาขึ้น มันก็เป็นปุถุ ร้อยหน่วย โอ้ มันขึ้นเป็น ๑๐๕ แล้ว หรือขึ้น ๑๑๐ แล้ว แหม ถ้าคุณมีญาณเห็นอย่างนั้น ตาเห็นอย่างนั้น มันก็เป็นญาณ ชนิดหนึ่ง เหมือนกันนะ แต่คุณเอง คุณไม่ปฏิบัติให้มันลดเท่านั้นเอง คุณก็เห็นว่า เออ เราเป็นปุถุ เจริญขึ้นแฮะ งอกงามไพบูลย์ เป็นปุถุชนงามขึ้น มันไม่เที่ยง เห็นความไม่เที่ยง

เพราะฉะนั้น ถ้าเผื่อว่า ไม่ปฏิบัติอย่างโลกนี่ อย่างที่อาตมาชี้ตั้งแต่ต้นแล้ว ปุถุชน เขาไม่รู้เรื่องหรอก กิเลสมันก็บานขึ้นทุกวัน มันไม่เที่ยงสักวันน่ะ มันเจริญขึ้น โดยเขาไม่รู้ตัว เขาไม่ได้ปฏิบัติ ขนาดเรามาปฏิบัติ นี่จะให้กิเลสมันเท่าเก่าก็ยังยากเลย จะให้มันลดนี่ ยิ่งยาก ลดได้ก็คือ ไม่อยู่เท่าเก่า ไม่เที่ยงนั่นเอง ไม่อยู่คงที่ ไม่ CONSTANT คงที่ ลดลงได้แล้ว นั่นแหละ คือ ความไม่เที่ยง ตามเห็นความไม่เที่ยง นี่คืออนิจจานุปัสสี นี่ตามเห็นความไม่เที่ยง อย่างนี้ ไม่ใช่มันเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป โดยภาษาหลวมๆ อย่างนั้น จริง มันเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วมันก็ดับไป ตามอารมณ์ที่ประเดี๋ยวมันก็เกิดใหม่ เกิดใหม่ ดีไม่ดี ก็ยิ่งเสริม ความย่ามใจ ก็ยิ่งหนักกว่าเก่า อาการอยากแรงกว่าเก่า มีอะไรปรุงแต่งเพิ่มเติมขึ้นมาใหม่ เอ๊ มีไอ้นี่หน่อย คงจะดีนะ แค่นี้ยังไม่พอ อลังการ ปรุงแต่งขึ้นมาอีกหน่อยนะ ดีกว่าเก่า รสจะดีกว่าเก่า สุขกว่าเก่า มันก็ไปอย่างนั้นน่ะโลกๆ แต่นี่ไม่ละจางคลายลง เห็นอนิจจานุปัสสี เห็นอาการของ ความจริงเลยว่า มันลด มันเปลี่ยนอนิจจา อนิจจัง ไม่เที่ยง นี้คือ กิเลสไม่เที่ยง กิเลสเราทำโดยฝีมือ โดยความสามารถ ให้มันลดลง มาสู่ทิศทาง วิราคะ จางคลาย เห็นความจางคลาย จนถึงนิโรธานุปัสสี จนดับ ตามเห็นความดับ รู้จักความดับ ด้วยยถาภูตญาณทัสสนะ จนถึงวิมุตติญาณทัสสนะ จนมันดับสนิท วิมุติ จนมันหลุดพ้น ออกมาจากโลกียะ ที่มันเคยมีฤทธิ์กับเรา เราก็ลูบหัวโลกียะได้ โลกียะมันสัมผัสเรา เราสัมผัสโลกียะ เรารู้เท่าทัน มันหมดฤทธิ์ เรามีฤทธิ์ มีมโนมยิทธิ มีฤทธิ์ทางใจ ที่จะอยู่เหนือมัน มีอิทธิวิธี มีโสตทิพย์ มีเจโตปริยญาณสมบูรณ์ เจโตปริยญาณ ๑๖ นั่นแหละสมบูรณ์เลย เห็นชัดเจนเลย อาตมาไม่อธิบาย เจโตปริยญาณ ๑๖ ซ้อนละ จนเป็นวิมุตินั่นแหละ เจโตปริยญาณ ๑๖ ก็คือตัววิมุติ อวิมุติ วิมุติจริงๆ น่ะ วิมุติเป็นอย่างไร อาการสภาพ มันเป็นอย่างไร สภาวะของวิมุติเป็นอย่างไร คุณต้องรู้ ต้องเห็นเอง ไม่ใช่งมงาย ปฏิบัติไป อะไรเป็นอะไร ก็ไม่รู้เรื่อง ปรมัตถสัจจะเป็นอย่างไร แม้จะอธิบายอภิธรรม เป็นดวงๆ กี่ดวง ภาษา เลอะเทอๆะ อะไรนี่ก็ตาม มันก็จริง ให้คุณรู้สภาวะพวกนั้นเถอะ ว่า มันจางคลายยังไง อภิธรรมนั่นก็จริง ภาษานั่นก็จริง แต่เขาไม่มีสภาวะกันเท่านั้นแหละ แต่มันเยอะเหลือเกิน อาตมาเอง อาตมาอยากจะมีเวลา อยากจะมีนักเรียน เข้า COURSE นี้เหมือนกันน่ะ เอาอภิธรรม มาอธิบาย เป็นตัวๆ ของละเอียดลออ น่าดูเลย จะสนุกไม่น้อยเลย ดีไม่ดี ประเดี๋ยวหนักเข้า ก็สนุกเข้า แต่ตัวหนังสือ แล้วก็เลยเอาแต่ตัวหนังสือไปคุยโวกัน เอาให้มีสภาวะรองรับก่อน แล้วก็จะสนุก ภาษามะลึกกึกกื่อ อะไรต่างๆ นานา บาลี โอ้โฮ ยิ่งเรียกเจตสิกลึกๆ มันซ้อน ต่อตัวกันยาวๆ เหยียดๆนี่ อภิธรรมนี่ เดี๋ยวเราให้ไปเรียนบาลีกันมา เดี๋ยวให้รินธรรม เรียนปริญญาโทมา เดี๋ยวงัดเอาพระอภิธรรม มาขยายความกัน อาตมาจะขออาศัย ที่ไปเรียนรู้มา พวกนี้นี่ จะได้ประโยชน์มากจริงๆ ในอนาคต

ตอนนี้ อาตมา ก็พาทำอะไรเป็นฐานเป็นอะไรไป มีสัมมาอาชีพ เป็นโน่นเป็นนี่ ไปเป็นลำดับก่อน ให้มันมีวงจักร ให้มันเป็นสังคม ที่มันมีอะไรต่ออะไร สมบูรณ์กันเสียก่อน แล้วเราก็จะได้มีหมู่ชน มีบทบาท มีลีลา มีการศึกษาปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธที่สูงขึ้น

ทุกวันนี้ ไม่ใช่ว่าเราไม่มีอภิธรรม เรามีอภิธรรม เรามีธรรมะขั้นปรมัตถ์ มีธรรมะขั้นจิต เจตสิก แม้จะยัง ไม่ละเอียดลออในภาษา แต่สภาวะพวกนั้น คุณแม้ไม่รู้ภาษา เรียกตัวมันก็ตาม ตามจับมันให้ถูกตัว ภาษา หลักใหญ่ๆ หัวข้อใหญ่ๆ พวกนี้แค่ ยถาภูตญาณทัสสนะ เป็นอย่างไร ตัว วิมุตติญาณทัสสนะ เป็นอย่างไร

เอ้า ก็ไล่มาแล้วไง แต่ว่าขยายซ้อนให้ฟังเท่านั้น ตัวสุดท้าย วิมุติ อย่างไร แล้วก็เกิดปัญญา เห็นวิมุตติญาณทัสสนะ อ๋อ ก็ทำไมมันจะไม่เข้าใจ ให้พาทำมาแต่ละเรื่อยๆ แต่ละข้อ เหมือนกันหมด นั่นแหละท่าน ดังนั้น บอกว่าอยากจะให้อธิบายอานิสงส์ ๑๐ ข้อนี้ ไล่มา แต่ละเรื่อง สมมุติว่า บุหรี่เรื่องเดียว ที่เราเลิก มันก็เหมือนกันนั่นแหละ เราไม่กินเนื้อสัตว์ นี่ก็มันอยู่ในข้อ อธิศีลว่า เราไม่ฆ่าสัตว์ เราไม่กินเนื้อสัตว์ เพราะเราไม่ฆ่าสัตว์ เมื่อไม่ฆ่าสัตว์ เราไม่กินเนื้อสัตว์ ก็มาละลด ความลึกซึ้งของทางจิตนี่เหมือนกันนั่นแหละ พอเราปฏิบัติศีล นี่เสร็จก็จะเกิด แต่ก่อนนี้ เรากินเนื้อสัตว์ มันก็ยังอยาก ยังอยากมันก็มี วิปปฏิสารอย่างนั่นแหละ มันก็เดือดร้อน มันก็รนราน มันก็ไม่สงบ มันก็วุ่นวาย อยากมาก มันก็วิปปฏิสารมาก แต่ถ้าปฏิบัติถูกแล้ว เราก็อ่าน เราก็เห็นว่านี่นะกิเลสมันดิ้น กิเลสมันติด กิเลสมันยึด มันไปหลงใหลได้ปลื้ม มันไปชอบใจ หนักเข้าๆ เข้าพิจารณาว่า จะไปติด ไปยึดทำไม กินของอื่นดี มันไม่เป็นบาป มันไม่เป็นเวรอะไร ของอื่นบริสุทธิ์ผุดผ่องกว่า ไม่บาป แล้วก็ไม่เป็นเวร เป็นภัย แล้วก็ไม่ต้องไปติด ไปยึด ธาตุมันก็มาจากพืช ผักอะไรนี่ก็ได้ กินแทนเข้าไป กินใช้ประกอบเข้าไป

คุณอ่านจริงๆ คุณจะเห็นว่า เออ ได้ เข้าใจได้ คลายใจ ความเดือดร้อน น้อยลงเป็น อวิปปฏิสาร น้อยลงๆ เสร็จแล้ว คุณก็เกิดปราโมทย์ เกิดปีติ สบายใจขึ้น สบายใจลึกซึ้งขึ้น ยิ่งทำได้มาก เออ เรา ก็กินได้ดีนะ แต่ก่อนนี้ กินก็ไม่ค่อยลง เดี๋ยวนี้ ก็กินดีแล้ว กินง่ายขึ้นแล้ว ไอ้ เนื้อสัตว์ ก็จางคลายไปจริงๆ สงบลงไปแล้ว ไม่ค่อยดิ้นรนอะไรแล้ว ปัสสัทธิมา มีปราโมทย์ มีปีติ มีปัสสัทธิ ลงมาเรื่อยๆ สงบลงไป จิตไม่ค่อยจะโหยหาอาวรณ์ ไม่อยากจะไปกินเนื้อสัตว์ ไม่อยากจะไปดูดยา ไม่อยากจะไปทาลิปสติก ไม่อยากจะไปหาลาภ หายศอะไรมาบำเรอตน มากขึ้นแล้ว เรื่องใด เหตุปัจจัยใด ก็เหมือนกัน มันก็จะเห็นว่า ความสงบระงับ ปัสสัทธิเกิด เมื่อปัสสัทธิ ทำมากๆๆ ขึ้น ก็ดีนี่ ก็วูปสโมสุข สุขอย่างระงับ มันก็สงบระงับดีแล้ว เราก็จะมีเวลา มีแรงงาน ไม่ต้องไปกังวล ไม่ต้องไปนึกคิด ไม่ต้องไปปรุง เรื่อง เมื่อไหร่ จะได้กินเนื้อสัตว์ เมื่อไหร่จะได้สูบยา เมื่อไหร่จะได้ไอ้โน่น ไอ้นี่อะไร มากระทบสัมผัส เมื่อไหร่ เราก็ตัดปล่อย ได้มากขึ้น เพื่อนเขาสูบก็สูบไป เพื่อนเขากินเหล้าก็กินไป เราก็วาง ก็ปล่อยเรื่อยๆๆ มันก็สงบ ระงับลงมาเรื่อย มันก็สุข สุขที่มันสงบ สุขที่ เขาจะปรุงแต่ง เขาจะเป็นอย่างโน้น อย่างนี้ เราก็เฉย อุเบกขา จิตก็เข้าไปหา อุเบกขาเป็นฌาน วูปสโมสุข ก็คือสงบ ระงับ เข้าไปหาฌาน มันก็ไม่ต้องไป กระดี๊กระด๊าอะไร เขากินเนื้อสัตว์ก็เฉยวาง อาการอารมณ์ เราก็อ่านด้วยปัญญา ตลอดสายนี่ ปัญญา

จะต้องตรวจดูปรมัตถ์ทั้งนั้น อาการปราโมทย์ เป็นอย่างไร อาการปิติเป็นอย่างไร คุณจะพยายาม รู้สภาวะ นี่ อาตมาใช้ภาษาไทยอธิบายให้ฟังแล้วว่า มันสบายใจลึกขึ้นเป็นปีติ นอกจากปีติ ไปแล้ว ก็เป็นปัสสัทธิ มันก็เห็นอาการสอดคล้องกันน่ะ มันไม่ดิ้นรนแล้วความสงบ มันสุข เข้าไปหาสุข ที่เป็นสงบ เข้าไปสุขที่กิเลสมันตายลงๆ มันไม่ดิ้นรน ศีลนี้มันมีอานิสงส์ ศีลนี้ มันมีผล ศีลนี้มันเป็นกุศล ศีลนี้มันดีนะ มันขัดเกลา เราถูกทาง ถูกอะไร เราละเว้นขาด อาการของจิต ก็เจริญเป็น ปรมัตถ์สูงขึ้น เป็นปัสสัทธิสูงขึ้น เป็นวูปสโมสุขสูงขึ้น ตั้งมั่น แข็งแรง เป็นสมาธิ อธิศีลก็แข็งแรง อธิจิตก็แข็งแรง อธิปัญญาก็สอดซ้อนลงไปแข็งแรง เป็นสมาธิ จากสมาธิ ก็เห็นสภาพ ที่มีปัญญาสอดซ้อนๆ ก็หน่าย ก็คลาย ก็จาง เห็นว่า อ้อ นี่เราหน่าย เราคลาย เราจาง เราปลด เราปล่อย เราวางมา นิพพิทาวิราคะ ไม่ใช่จะไปจางคลาย หรือ หน่ายคลาย เบื่อเอาอีตรงที่ มันถึงนิพพิทา ที่จริงมันปล่อยมาเรื่อยๆ มันวางมาเรื่อยๆ มันจางคลายมาเรื่อยๆ มันวิราคะมา ตลอดตั้งแต่เริ่มต้น เริ่มต้นปราโมทย์ อวิปปฏิสาร ปราโมทย์ มันก็เริ่มจางแล้ว เริ่มจางมาเรื่อยๆ วิราคะ จะสอดร้อยมาเรื่อยๆด้วย อาการที่มันจางคลายมา มันง่ายขึ้น สบายขึ้น ปล่อยได้ ไม่ติด ไม่ยึดขึ้น จางคลายนั่นเอง กิเลสนั่นเอง ตายลงๆ วิราคะ ก็ตลอดสายมา

พอถึงสมาธิ สมาธิแล้วก็มีสภาพปัญญา ยถาภูตญาณ เข้าไปสอดชัด ชัดขึ้นก็จะเห็นว่า อ๋อ เรานี่จางคลายวิราคะ

นิพพิทา เบื่อมา ไม่เอา เบื่อก็คือไม่เอา เบื่อก็คือวาง เบื่อก็คือปล่อย เบื่อไม่ใช่ว่า มันทุกข์ อีกอย่างหนึ่งนะ ภาษาโลกว่าเบื่อนี่ เห็นแล้ว โอ้โฮ อึดอัดขัดเคือง ไม่ ไม่อึดอัดขัดเคืองหรอก รู้ทัน แต่ก่อนนี้ เราเป็นทาสมัน แต่ก่อนนี้ เราสยบกับมัน เดี๋ยวนี้ เราเห็นแล้ว ก็เป็นเรื่องของโลก จะมีบุหรี่ก็บุหรี่ของโลกน่ะ มันปรุงขึ้นมา แล้วมันก็มอมเมากัน ถ้ามันไม่มีได้ก็ดี ไม่ต้องไปอึดอัด ขัดเคืองอะไร นิพพิทาไม่ใช่ว่าเบื่อ ก็ชังๆ ไม่ต้องถึงชัง ไม่ต้องถึงผลัก ถ้ามันจะผลักก่อน ในฐานะที่เราเอง เรายังมีอารมณ์แรง มันชัง มันเบื่อ แต่ก่อนนี้ ไม่เบื่อเลย แต่ก่อนนี้ กระโดดใส่ เดี๋ยวนี้ เบื่อแล้วก็ชัง ชังก็เลยไปเที่ยวผลักอันนั้นแรง ก็ต้องมาลดด้วย นิพพิทาก็คือ การวาง นั่นเอง นิพพิทา การวาง การไม่ดูด ไม่ซึม ไม่ดูด ไม่ผลัก นิพพิทา ก็คือ ไม่ดูดไม่ผลัก

เพราะฉะนั้น คำว่าเบื่อ เป็นภาษาไทย ที่มันน่ากลัวเหมือนกันนะ บอกว่านิพพิทา แปลว่าเบื่อ เพราะคำว่าเบื่อ นี่ทุกข์แล้วมนุษย์น่ะ แต่ที่จริง มันไม่ทุกข์น่ะ ปัสสัทธิ มันสบายใจ มันมีสุขมา ตั้งแต่ต้นคือ วูปสโมสุขมาเสียด้วยซ้ำ เพราะฉะนั้น พอมาถึงนิพพิทา วิราคะ นี่แล้วก็กลับ มาทุกข์อีก มันไม่ใช่นะ ลึกซึ้งขึ้นนะ มันหมายถึงไม่ผลักไม่ดูด มันหายอยาก แล้วมันก็ ไม่ผลักด้วย นอกจากหายอยากแล้วก็ไม่ผลักด้วย ไม่เอาแล้วก็ไม่ใช่ว่า แล้วก็จะไปผลักออก ไม่ผลัก กลางๆ เข้ามาหาอุเบกขา กลางๆ นิพพิทา วิราคะ เห็นความจางคลาย มาตลอดสาย จนกระทั่ง นิพพิทา ว่าเออ ปล่อยแล้ว นิพพิทา นี่แปลว่า ปล่อย จะถูกกว่าเบื่อด้วยซ้ำ ปล่อยวาง นิพพิทา นี่ปล่อยวางไป เมื่อนิพพิทาวิราคะ ยิ่งเห็นนิพพิทาวิราคะ แล้วปล่อยไป จนกระทั่ง หมดๆ วิมุติ สุดสิ้น หลุดพ้น หลุดอย่างลอยตัว หลุดอย่างไม่ติด ไม่ดูด ไม่ซับ ไม่ซึม คลุกคลี กันอยู่ได้ ปฏินิสสัคคานุปัสสี ตามเห็นความสลัดคืน หมายความว่า เราจะคลุกคลี เกี่ยวข้อง เราจะปล่อยใจอีก เพิ่มใจนั้นก็แข็งแรง ใจนั้นก็ไม่เกิด ไม่ต้องระมัดระวัง ไม่ต้องสังวร ไม่ต้องไปคุมเคร่งอยู่ จิตกลับ จะคิดกับเขา จะปรุงกับเขาก็ปรุงได้ แต่ก่อนนี้ปรุงไม่ได้ ประเดี๋ยว มันแทรกตัว ประเดี๋ยวมันซึม กิเลสซึมแล้วนี่ แต่ทีนี้ เรากลับไปปรุงกับเขาก็ได้ กิเลสซึมไม่เข้า นี่เรียกว่า ปฏินิสสัคคะ แต่ก่อนนี้ ไม่ปรุง ต้องพยายามไม่ปรุง แต่ตอนนี้ปรุง นี่เรียกว่า กลับ สลัดคืน ปรุงด้วย ปรุงด้วยก็มีธาตุที่ลึกซึ้ง มีธาตุที่แข็งแรง ปรุงด้วย ก็ไม่ไปกับเขา จริงๆเลย จะอนุโลมปรุงตามเขา ก็มีแต่สมมุติโดยปรมัตถ์นั้นแข็งแรง มีตัวตั้งมั่น มีตัวแข็งแรง มีตัวได้จริง มีตัว อัปปนา พยัปปนา เจตโส อภินิโรปนา จริงๆเลย คุณจะตรรก วิตรรก สังกัปปะ คิด นึก ดำริ กับเขาอย่างไรๆ ก็แข็งแรง ปฏินิสสัคคานุปัสสี ตามเห็นความแข็งแรงพวกนี้น่ะ อย่างที่อยู่เหนือมัน

ถ้าเราไม่เห็นจิตของเราว่า เราอยู่ในโลก อยู่กับโลกนี่นะ เรารับรู้กับโลก ปรุงกับโลกเขาก็ได้ แต่จืดสนิท ไม่ไปกับเขา ไม่กลายตัว ตายแล้วตายเลย นี่ปฏิบัติปฏินิสสัคคานุปัสสี มันสลัดคืน มันย้อนยอก มันเหมือนกับเล่นลิ้น

เพราะฉะนั้น ถ้าคนไม่จริงนี่นะ เอาภาษาพวกนี้มาเล่นลิ้นได้ แต่ถ้าคนจริงแล้ว จะเห็นความจริง เลยว่า โอ้โฮ เราปรุงออกมา ยังมีโว้ย มันยังมีเกิด เพราะฉะนั้นิ ต้องเช็ควิมุติ อวิมุติ เช็ควิมุติ อวิมุติ ในเจโตปริยญาณให้ชัด

สมาหิตะ สมาธิของพระพุทธเจ้านี่ ถึงเป็นสมาธิที่เป็นประโยชน์ ปรุงกับโลก สังขารกับโลก ช่วยโลก รู้กับโลกอยู่กับโลก เสร็จแล้ว มันไม่ดูด ไม่ซึม ไม่ผลัก มันว่างสนิท จืดสนิท ลอยตัวสนิท แต่ทำงานกับโลกได้ จึงมีคุณภาพมาก จิตของพระพุทธเจ้านี่ จิตที่แข็งแรง จิตที่สูงสุดนี่ จึงมีประโยชน์มาก นี่ วิมุตติญาณทัสสนะ เช็ควิมุติในเจโตปริยญาณสมบูรณ์ ยถาภูตญาณ เช็คนิพพิทาวิราคะ จริงไหม มันวาง มันปล่อยจริงไหม วิมุติจริงไหม แล้วมีประโยชน์ คุณค่าอยู่เหนือ จริงไหม อนุตตระจริงไหม เจโตปริยญาณ สุดท้ายนี่ อนุตตรจิต สมาหิตจิต วิมุติจิต มันเป็นอนุตตรจิตหรือเป็นสอุตตรจิต สอุตตรจิต แปลว่า จิตดีแล้วละ แต่ยังไม่เหนือจริงๆ นะ จะเหนือจริงๆ ก็ต้องเช็ค สมาหิตะกับวิมุติ บอกว่าเป็น สมาธิ ที่มีประโยชน์ คุณค่าที่เกื้อกูล ที่อยู่เหนืออย่างสมบูรณ์ ไม่มีเศษอวิมุติจรใดๆ ไม่มีเศษธุลีละออง ของอวิมุติ บอกว่าวิมุติมันหลุดพ้น มันไม่ซึม มันไม่เกิด ตาย ดับสนิท ไม่มีกิเลสจริงๆ จะกระแทก กระเทือน กระทุ้ง จะยั่ว จะยวนเมถุนสังโยค ๗ มาเอาสอดซ้อน อธิบายเสริมหนุน สภาวะในเมถุนสังโยค ๗ เข้าไปอีก จนกระทั่งสมบูรณ์ ไม่มีเศษธุลีอะไร อสมาหิตะ คือสมาธิ ที่ยังไม่แข็งแรง ยังไม่เป็นประโยชน์ผู้อื่น สมาธิแบบโลกๆ หรือว่าสมาธิของเราทำ นี่ยังไม่สมบูรณ์ มันจะเป็นประโยชน์ จนกระทั่งอยู่เหนือ สามารถมีอิทธิวิธี เข้าไปลุยกิเลส กองกิเลส เท่านี้ได้ก่อน กิเลสเท่าก้อนกำปั้น กิเลสเท่ากำแพง กิเลสเท่าภูเขา เราก็เดินได้ เหมือนอย่างที่ว่า มีอิทธิวิธี ที่เก่งจะอยู่เหนือมันได้จริงๆ ลูบคลำพระอาทิตย์ได้ด้วยฝ่ามือ มีฤทธิ์ มีเดช มีมโนมยิทธิ ที่มีฤทธิ์เดช มีอิทธิวิธี อย่างนั้น จริงๆ เลย มีฤทธิ์ทางใจ ที่เหนือชั้น เหนือชั้นอย่างนั้น จริงๆ เลย

เพราะฉะนั้น สมาธิ นี่แข็งแรง ของพระพุทธเจ้า นี่เป็นสมาธิ ที่เป็นประโยชน์ บอกแล้วว่า สมาหิตะ อยู่กับโลก เป็นปฏินิคสัคคานุปัสสี ตามเห็นความสลัดคืนกลับไป จริงๆแล้ว เหมือนกับ จี้กงน่ะ ไปกินเหล้าก็ยังได้เลย แต่ไม่ได้ติดเหล้าเลยจริงๆ นั่นเป็นสัจจะ ถ้าคุณติด คุณก็ติด คุณต้องอ่านอาการพวกนี้ออก ถ้าไม่มียถาภูตญาณทัสสนะ ไม่มีญาณปัญญา อันลึกซึ้งจริง ซึ่งคุณต้องไม่โกหกตัวเอง เป็นญาณที่แหลมลึก รู้จักกิเลส รู้จักความจริง ละลดได้จริง เลิกลดได้จริง ไม่ได้จริงคุณก็ต้องยอมรับตัวเอง แล้วต้องล้างออกจริงๆ ถ้าคุณจริงอย่างนั้นนะ นั่นแหละ คุณจะไปกิน คุณเชื่อไหมว่า ผมกินเหล้าเดี๋ยวนี้ ผมก็กินได้ เชื่อไหม ผมไม่ติดหรอก ก็ธรรมดา ก็ไม่ติดอยู่แล้ว ก็เล่าให้ฟังแล้วตั้งแต่เป็นฆราวาส ตั้งแต่ ไม่ปฏิบัติธรรม ก็ปัดโถ หัดจะตาย หัดไปก็นึกว่า เราติด หรือว่าเราสนุกกับเขา เสร็จแล้ว ปัดโธ่ เอ๋ ไม่ได้เรื่อง หัดดูดยาอย่างนี้อะไร อย่างที่ว่า หัดไปเที่ยวได้เล่นโน่น เล่นนี่อบายมุขต่างๆ ที่ยกตัวอย่างหยาบๆ ให้ฟังง่ายๆ ไอ้ลึกซึ้งไป มันก็อธิบายยาก นั่นแหละ ลองมันก็ไม่ติด มันไม่ติด แล้วมันก็จะไม่ติด คุณจะต้องรู้ของตนเองจริงๆ อย่าหลอกตัวเอง ถ้าคุณหลง ก็คุณหลง แต่ไม่หลงละ ให้ชัดเจน ญาณทัสสนวิเศษ จะต้องเกิดจริง

เพราะฉะนั้น สมาธินี่คือ ความแข็งแรงของจิต ความตั้งมั่นของจิต แล้วจิตที่เป็นประโยชน์ อยู่กับโลก อยู่เหนือโลก ช่วยโลก สังคมโลก เป็นพหุชนะหิตายะ ก็หิตะตัวเดียวนี่แหละ สมาหิตะ หิตะ ตัวเดียว หิตประโยชน์อันยังประโยชน์ให้เป็นไปให้พหุชนได้มากๆ เพราะฉะนั้น เราจะต้อง มีความแข็งแรงมากมั่นคง ที่จะทำประโยชน์ให้แก่สังคมได้มากๆ แล้วมันก็เป็น เครื่องพิสูจน์ ตัวเราว่า เราพ่ายแพ้ต่อโลกไหม รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ลาภ ยศ สรรเสริญ โลกียสุขของโลก นี่ขนาดไหน ก็แล้วแต่ เราก็ไม่พ่ายแพ้ เราก็อยู่เหนือโลกียะ อันสนิทที่แท้จริง โดยยืนยันว่า พิสูจน์อยู่ ไม่ได้วิ่งหนีไปไหน ถ้าคนในโลก ขนาดนี้ เขาพ่ายแพ้ คนอื่นเขาพ่ายแพ้ แต่ตัวเราไม่แพ้จริงๆ ไม่ใช่อยู่ในคนละฐาน คนหนึ่งอยู่ในป่าบอกว่า หลุดพ้นโลก อีกคนหนึ่ง อยู่ในบ้าน อยู่ในเมือง ก็ไม่พ้นโลกน่ะซิ ต้องออกไปป่าจึงจะพ้นโลก เอ้า มาอยู่ในเมือง ด้วยกันนี่แหละ แต่ คนหนึ่งไม่พ้น แต่เราพ้นนี่ซิ มายืนยันด้วยกัน CONSTANT มาอยู่ในเมือง ด้วยกันนี่ อยู่ด้วยโลกธรรมด้วยกันนี้ อยู่ด้วยรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส อยู่ด้วยลาภ ยศ สรรเสริญ โลกียสุขด้วยกันนี่ แต่เราหลุดพ้น ไม่ใช่ว่าหนีไปอยู่ป่า แล้วถึงหลุดพ้น อย่างนั้น มันไม่ได้พิสูจน์ ตรงกันนี้ อยู่ด้วยกันนี่แหละ แต่เราหลุดพ้น แต่เขาสิ ยังเป็นทาส จึงเรียกว่า โลกุตตระ หลุดจริงๆ อยู่เหนือจริงๆ แล้วเป็นวิมุติ ที่ละเอียด ไม่มีเลียบๆเลียงๆ อนุสัย อาสวะ หรือจร กระจาย อวิมุติจรยังไง ๆ ก็ไม่มีจริงๆเลย

เพราะฉะนั้น อนุตตรจิต จึงต้องมีเงื่อนไข ว่าจะต้องเป็น สมาหิตจิต จะต้องเป็นวิมุติ วิมุตติจิต อย่างแท้จริง อนุตตรจิต ตัวนี้เจโตปริยญาณ ๑๖ นี่จะชัดอันใด ยังอวิมุติอยู่ ก็ต้องให้รู้ อะไรเป็น อสมาหิตะอยู่ ก็ต้องให้รู้ คุณจะต้องมีญาณทัสสนวิเศษ ที่รู้ของอสมาหิตะเป็นอย่างไร อวิมุติเป็นอย่างไร ในจิตของตนเอง ยิ่งละเอียดลออ มันยิ่งเหลือนิดๆ หน่อยๆนะ อะไรพวกนี้

นี่ศีล มีอานิสงส์อย่างนี้ ศีลที่เป็นกุศล ย่อมถึงอรหัตหรือความเป็นอรหัตนี่แหละ โดยลำดับ ด้วยประการอย่างนี้แล เพราะฉะนั้น ปฏิบัติศีล นี่ไม่ใช่ปฏิบัติอย่างที่เขาว่า โอ้ ที่นี่ศีล สมาธิ ต้องไปโน่นธรรมกาย ปัญญาไปโน่น นั่นคือคนพูด แค่พูดแค่นั้นก็รู้แล้วว่าเขาเอง เขาเป็นคน ไม่มีความรู้ ในทางธรรมพระพุทธเจ้า ไปแยกศีล สมาธิ ปัญญาออก นั่นแหละคือคนไม่มีธรรม ของพระพุทธเจ้าแล้ว ชัดๆเลย เขามาว่าเรา ที่นี่มีแต่ศีล ก็เคร่งศีลไป มันไม่ได้อะไรหรอก แสดงว่า เขาไม่รู้จักเรา แล้วเขาก็ไม่รู้จักธรรมะของพระพุทธเจ้าด้วยว่า ศีล สมาธิ ปัญญา นี่เป็นเรื่องเดียวกัน แยกไม่ออก มรรคองค์ ๘ ต้องปฏิบัติให้ถูกต้อง

เอ้าละ วันนี้ ละเอียดลออในเรื่องนี้ ใครฟังธรรมะวันนี้ดี ก็ฟังก็คงจะได้รับความรู้อะไรไปอีกแล้ว อาตมาพา หรือว่าผมพาพวกเราทำนี่ มาทฤษฎีมรรคองค์ ๘ ทฤษฏีเอกของพระพุทธเจ้าที่บอกว่า ศาสนาพุทธ นี้มันเพียง มันออกนอกเรื่อง นอกราวกันไปจริงๆ ปฏิบัติไปเถอะ แล้วก็เรียนรู้ ไปเรื่อยๆ เถอะ แล้วคุณจะรู้ว่า ผมมาพากอบกู้ศาสนาพระพุทธเจ้า ผมเคยพูดมาแต่ต้น แต่ไหนๆ แล้วว่า ตามไปเถอะ แล้วจะรู้ว่าผมเป็นใคร ผมมาทำอะไร พูดไปมาก ประเดี๋ยว ก็จะกลายเป็น เรื่องไม่เข้าท่าไปอีกแหละ ก็เอาแค่นี้ก่อน ก็แล้วกัน เอวัง


ถอด โดย ปะดงเย็น จันทร์อินทร์ ๒๑ มี.ค.๒๕๓๕
ตรวจทาน ๑ โดย สม.ปราณี ๒๒ มี.ค.๒๕๓๔
พิมพ์ โดย สม.มาบรรจบ เถระวงศ์ อนงค์ศรี เบญโศภิษฐ์
ตรวจทาน ๒ โดย โครงงานถอดเท็ปฯ ๒๒ มีนาคม ๒๕๓๕

FILE:2310B.TAP