ศิลปะพาสำนึก
โดย พ่อท่านสมณะโพธิรักษ์
ณ พุทธสถานปฐมอโศก
เมื่อวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ.๒๕๓๕

ปีใหม่ สำนึกดีปีใหม่กัน เริ่มต้นปีใหม่แล้ววันนี้วันที่ ๑ แล้ว แล้วเราก็ได้สำนึกดี ก่อนเพื่อนเลย น่ะนี่ อาตมาได้สำนึกดีปีใหม่กับ คนเยอะแยะก่อนเพื่อนเลยวันนี้ ก็ยังไม่สว่างด้วย เราก็ได้สำนึกดี ปีใหม่กัน คำว่า สำนึกดีปีใหม่นี้ อาตมาเจตนาจริงๆนะ เจตนาอยากจะให้ใช้ ใครใช้ไม่ได้ พวกเราชาวอโศกนี่ใช้กันให้ได้เลย แทนสวัสดี ลาวเขาใช้คำว่า เขาทักกัน สบายดี เขาทักกัน พวกลาวนี่ วัฒนธรรมลาว ชาติลาวทักกันก็สบายดี ทักกันก็ ตู่เลยว่า สบายดี สบายไม่สบายไม่รู้ สบายดี ชาติลาวคนลาว คำทักทายเขา เอาก็ดี โมเมไปเลย สบายดีก็แล้วกัน มันสบาย หรือไม่สบายก็ไม่รู้

ทีนี้คนไทยก็มาใช้คำว่าสวัสดี ทักทายกัน สวัสดีก็หมายความว่าปลอดภัย ก็คล้ายๆกับ สบายเหมือนกัน สบายก็คงปลอดภัยน่ะนะ มันก็ปลอดภัยแล้ว มันก็สบาย มันก็ปลอดภัยน่ะ ไม่เป็นทุกข์มันสบายดี มันไม่เป็นทุกข์ ส่วนของคนไทยน่ะ สวัสดี ปลอดภัย สวัสดีนี่ เจริญมาถึงอำนวยกันเลย สวัสดีนี่มาจาก ภาษาบาลีที่ว่า โสตถิ มาเป็นสวัสดี นี่ภาษาไทย สวัสดี ก็เอ้าขอให้เจริญๆ น่ะ ปลอดภัยดีนะ ขอให้ไปดีก็แล้วกัน ขอให้ดีก็แล้วกัน คือเป็นการ เพื่อผู้อื่น ให้ปลอดภัย ให้เจริญๆกัน เหมือนอวยพรกัน ฝรั่งก็ถามกันว่า เอ้า เป็นอย่างไร สบายดีหรือ อ้า ฝรั่งพอเจอกัน ทักกันก็ เอ้า เป็นอย่างไร สบายดีหรือ ไม่เหมือนลาว ลาวนั่น เอาเลย สบายดี เป็นลาวน่ะว่าเลย สบายดี ยืนคำสบายดี โยนตูมทันทีเลย แต่ฝรั่งนั่น ไม่แน่ใจ อ้า สบายดีหรือ How do you do ? แหม สบายดีหรือ ก็ว่าอย่างนั้น ฝรั่ง ส่วนฝ่ายจีนก็บอก กินข้าวหรือยัง เจอกัน แหม หนัก อันนี้หนัก เจอหน้ากัน พวกจีนนี่ พอเจอหน้ากัน ทักทายกันนะ เจี๊ยะฮ้อ เจี๊ยะบ่วย เจอหน้ากัน แทนที่จะทักอะไรกัน เรื่องกิน เออ จีนนี่เรื่องกิน เจอหน้ากัน แทนที่จะทักอะไรกัน เรื่องกินนี่ กินยัง กินแล้วยัง ถ้ายังไม่ได้กินก็ไปกินซะ คงจะอย่างนั้น หรือไม่ก็ไม่รู้น่ะนา ถ้ายังไม่ได้กิน ก็ไปหากินซะ หรืออย่างไร ถ้ายังไม่ได้กินก็ไปๆกินด้วยกัน เอ้า...เชิญๆๆหรือเปล่า ก็แล้วแต่เถอะนะ ก็มีวัฒนธรรมต่างๆกันไป คนละอัน คนละอย่าง

อาตมาก็มาคิดนึกว่า เอ๊ ไอ้คำทักทายกันนี่ ก็เป็นประโยชน์เหมือนกันนะ อย่างน้อยมันก็ เหมือนกับ ไม่เด๋อด๋า เจอกันแล้วก็มีคำทัก มีคำทักกันเป็น อะไรๆกัน ก็เป็นธรรมเนียม หรือ วัฒนธรรม มันก็มีมันเองน่ะนะ ชาติอื่นๆอะไรอื่นๆอาจจะมีน่ะนะ อาตมาก็ไม่ค่อย รู้มากรู้มาย รู้กันแค่นี้ ก็เอามาพูดกันแค่นี้ เจ้าอื่นเขาจะทักกันว่าอย่างไร ชาตินั้นชาตินี้ อันโน้นอันนี้ เขาจะว่าอย่างไร ก็ยังนึกไม่ออก มันนึกออกแต่แค่นี้

ทีนี่ชาวอโศกเราจะพูดกับเขาก็พูดมาแล้ว เราเป็นคนไทย เราก็สวัสดี กันมามากแล้วนะ เรามาทักว่า เจริญธรรม มันก็คล้ายๆกันว่า สวัสดี สวัสดี ก็บอกแล้วว่าให้เจริญ สวัสดี จงเจริญ เจริญน่ะ สวัสดีปลอดภัยนะ หรือว่า เจริญๆไป ว่าอย่างนั้นน่ะนะ เราก็ได้ทักแล้ว เราก็ได้ใช้ ภาษาไทย มารวมกับภาษาบาลีบ้างว่า เจริญธรรม มาทักกันว่าเจริญธรรม มันก็เหมือนกับว่า สวัสดี เสร็จแล้วอาตมาก็มาเห็นว่า เจริญธรรม มันก็เหมือนกับว่าสวัสดี มันก็ถูก

ทีนี้สวัสดีนี่ มันก็มีสำเนียง สำนึกดี กับ สวัสดี มันใกล้กัน ก็เลยเอาคำ สำนึกดี คิดคำสำนึกดี ขึ้นมาใช้ว่า มันใกล้กับสวัสดี แต่มันมีความหมาย มากเลยนะ มันมีความหมายถึง การพัฒนา การเตือนคน การให้เรามีสำนึก คำว่าสำนึก คำนี้นี่ลึกซึ้งมาก ลึกซึ้งนะ ภาษาไทยเราบอกว่า พูดว่า คนไม่มี สำนึกเท่านั้นแหละ เราก็ถูกด่าแล้ว ไอ้นี่ไม่มีสำนึกซะเลย นี่มันถูกด่าแล้ว ถูกด่า เพราะฉะนั้น ทักกัน เจอกัน แล้วก็เตือนกันเสมอว่า ยังมีสำนึกกันอยู่หรือเปล่า อาตมาเห็น อย่างนี้ รู้สึกอย่างนี้ คนเราถ้าเผื่อว่ามีสติ เราก็สอนกัน แต่สำนึกไม่ค่อยสอนกัน มีสติจะสอนกัน สอน ศาสนาก็สอนอยู่มากสติ แต่สำนึกนี่มันก็สำคัญนะ ความหมายของสำนึกในภาษาไทย เราก็คงนึก ก็คงรู้น่ะ เราจะต้องค้นคิด สำนึกนี้ ค้นคิด ตรวจตัว สำนึกนี่หมายความว่า ค้นคิด แล้วก็ตรวจตัวเอง ระลึกว่า เรากำลังเป็นอย่างไรสำนึกนี่ หรือสิ่งใดชั่ว ความหมายลึกเข้าไปอีก คนทีมี ความสำนึก หรือว่าคนนี้สำนึกแล้ว ก็หมายความว่าเราผิด หรือเราชั่วนี่ เราแก้ตัว เรากลับตัว นี่หมายความว่า "สำนึก" ใช่ไหม คนสำนึกคือ ผู้ที่รับผิด ยอมรับผิด แล้วก็แก้ไข เป็นคนสำนึก

ถ้าผู้ใดมีสำนึกโดยความหมายที่อาตมาขยายมา หลายๆความหมายที่ว่าเมื่อกี้นี้ จะต้อง ระลึกรู้ตัว แล้วก็สำนึกอยู่เสมอ ระลึกตัวอยู่เสมอ แล้วก็รู้ว่าเราเองเป็นอะไร? ทำอะไร? จนกระทั่งถึงว่า เรามีอะไรผิด? แล้วเราได้แก้แล้วหรือยัง ถ้าเรายังไม่ได้แก้ ยังไม่สมบูรณ์ ด้วยความสำนึกนะ ถ้าเรายังไม่ได้รู้สึกตัว แล้วก็ไม่ได้รู้ตัวเอง ปรับตัวเอง ยอมรับตัวเอง ว่าตัวเอง ไม่ดีอะไร แล้วเราจะแก้ไขอันนั้น เราจะปรับปรุงอันนั้น แล้วก็ลงมือทำไปเรื่อยๆ เพราะฉะนั้น ผู้ที่สำนึก แต่แค่ระลึก สำนึก ระลึก สำนึกเอาแต่เพียงความคิด มันก็ไม่เจริญ ไม่พอ สำนึกของเรา จะต้องลงมือแก้ไขกระทำ ทั้งกาย วาจา ใจ ลงมือแก้ไขเลยทั้ง กาย วาจา ใจ ให้สำนึกนั้นดีให้ครบ คำว่าสำนึกดีของพวกเรา ขอให้เข้าใจด้วยนัยอย่างนี้ สำนึก มันหมายความว่า ระลึกด้วย รู้ตัวเสมอด้วย แล้วก็รู้ว่า อะไรดี อะไรชั่ว เรามีอะไรชั่ว เรามีอะไรไม่ดี เราจะแก้ไข เราจะยอมรับ แล้วก็ลงมือแก้ไขกระทำเดี๋ยวนี้ เราไม่ได้กระทำ เรารู้ว่า เราผิดอะไร ไม่ดีอะไร แต่เรายังไม่ได้กระทำ นั่นยังไม่ได้สำนึก ต้องรวมกันถึงการกระทำ ด้วยนะ นั่นเรายังไม่ได้สำนึกดี อาจจะสำนึกแต่แค่คิด รู้แล้วน่าๆ แต่ยังไม่ดี ยังไม่ได้กระทำ ยังไม่ได้ลงมือ ให้มันสมบูรณ์ กระทำให้สำเร็จ กระทำให้จบ

วันนี้ปีใหม่ ๒๕๓๕ ทุกๆคนจงพยายามให้ตัวสำนึกมันประจำอยู่ที่ตัว เพราะฉะนั้น ถ้าเจอกัน แล้วก็เตือนกัน ทักทายกัน ให้รู้ตัวกัน เสมอว่า สำนึกดีกันอยู่หรือเปล่า ทักทายกันด้วยคำ สำนึกดี ให้ยิ่งขึ้น ตอนแรกๆ อาตมาจำได้ว่า พอใช้คำนี้ขึ้นมา ก็หัวเราะกันน่ะ เหนียม มาทักสำนึกดีมัน เหนียมๆน่ะ คำอย่างนี้มันใหม่นะ สวัสดีก็เคยใช้กันว่า สวัสดี หรือมาเจริญธรรม ก็ชินไปแล้ว ทักกันว่าเจริญธรรม ก็ชินไปแล้วก็พอได้ พอบอกสำนึกดี แหม มันอย่างไรไม่รู้ มันไม่ค่อยคล่อง มันชักเหนียมๆ แต่ว่าพอใช้ไปอาตมาก็เห็นว่า ใช้กันได้ดี ใช้กันจนชินแล้ว มันไม่ใช่เรื่องเสียหาย บางคน บางทีเขาไปมองว่า สำนึกดีนี่เหมือนกันกับ ไปตู่เขาว่าลื้อสำนึกดีหรือเปล่า คล้ายๆ อย่างนี้ ไปว่ากัน ว่านี่ตัวเองสำนึกดีหรือเปล่า เราก็สำนึกของเรา ใครได้ยินก็สำนึกอันนั้น มันเป็นการกล่าวขึ้น เป็นการได้ยินขึ้น เป็นการเตือนสติ เตือนสัมปชัญญะ ปัญญาขึ้น ว่าเราในขณะนี้ เรามีสำนึกหรือไม่ อาตมาว่ามันมีความหมายดีมาก

เพราะฉะนั้น ชาวอโศกเราแล้ว วัฒนธรรมพวกเรา ถ้าจะใช้สวัสดีแล้วก็อาตมาว่า เราใช้สำนึกดี แทนไปได้เลย เรามีคำทักกันหลายคำ เราร่ำรวยภาษาเรา อาตมาว่าอาตมาเป็นนักอักษรศาสตร์ พอสมควรนะ แต่ว่าไม่ได้ผ่าน มหาวิทยาลัยอักษรศาสตร์ ทางบาลีเขาก็ว่าอยู่นะ แต่อาตมา ไม่ได้เรียนแผนกบาลี โดยตรงนี้ จะว่าอาตมาบ้าง อาตมาก็ไม่ได้ว่าอะไรหรอก อาตมาก็ต้องยอม รับน่ะว่า ไม่ได้ไปศึกษามาโดยตรง อาตมาศึกษาภาษาไทยน่ะ อาตมาว่าเรื่อง ภาษาไทย อาตมาว่า อาตมาไม่ด้อยกว่าใคร

ที่อาตมาทำงานศาสนามาได้นี่ อาตมาว่าอาตมาทำงานมากับพวกคุณได้ผล เพราะอาตมา รู้ภาษาไทย อาตมาใช้ภาษาไทยได้มีสมรรถภาพ มีประสิทธิภาพ สื่อ พูด อธิบายด้วยภาษาไทย ให้พวกคุณเข้าใจได้ถึงสภาวะ แม้นามธรรม แม้แต่ในสภาวธรรมที่ลึกๆ ละเอียดๆ อาตมาก็ใช้ ภาษาไทย สื่อให้พวกคุณเข้าใจกันได้ เมื่อเข้าใจแล้ว เราก็เอาไปปฏิบัติ ประพฤติเอาไปกระทำ ได้สำเร็จ เป็นเรื่องยากนะ เป็นเรื่องยาก แต่ก็ได้ ได้เพราะภาษานี่แหละสื่อเป็นหลัก แล้วอาตมาก็ เรียกว่า ฝึกหัดในเรื่องใช้ภาษา หรือว่ายินดีในภาษามาตั้งแต่ไหนๆแล้ว เรียนรู้ก็ รู้สึกว่าเรียนดี อาตมาเรียนภาษาไทยนี่นะ ก็ได้ท็อปมาตลอด แต่เป็นคนที่ขยันน้อย ไม่เคยอ่านหนังสือเรียน จบสักเล่ม หนังสือเรียนภาษาไทยนี่ ไม่เคยอ่านจบสักเล่ม ตั้งแต่เรียนตั้งแต่ชั้นประถม มัธยม แต่ท็อป มาทุกทีแหละ ท็อปนะ แต่อ่านไม่จบสักเล่มนะ เป็นคนที่อย่างไรไม่รู้ เสร็จแล้ว ก็รู้ตัวว่า เรานี่ มีจิตพยายามสื่อ หรือ เข้าใจในเรื่องของภาษานี่ให้ลึก ให้แหลม แม้แต่ความแตกต่าง แม้แต่สภาวะที่ ควรใช้คำอย่างนั้นอย่างนี้ คำคล้าย คำเหมือน คำที่ใกล้เคียงกัน และ มีความหมาย ต่างกันมากหรือน้อย ให้ค่าที่ต่างกันอย่างไร เช่น ยกตัวอย่างง่ายๆ เราจะเขียน บทความ จะเขียนหนังสือ เขียนคำบรรยาย เขียนคำอะไรก็แล้วแต่ เขียนคำเรียงอะไรพวกนี้ ร้อยกรอง ร้อยแก้ว ก็ตาม ก็รู้สึกว่าตัวเองนี่พิถีพิถัน ในคำความ คำไทยนี่ พวกเราจะรู้สึก อยู่กับอาตมานี่ อาตมาแต่งร้อยกรองนี่ จะเอามาแต่ละคำนี่ บางที ถามพวกเราอยู่เสมอ นั่นแหละอาตมามีนิสัยอย่างนั้นแหละ ตัวเองทำมาก่อนแล้วนะ ยังมาถามพวกคุณอีก ให้มาช่วยคิด ที่จริงก็ฝึกพวกคุณด้วย ให้เรียนรู้ ให้เข้าใจพวกนี้ว่า มันมีความหมายต่างกัน ใช้คำนี้กับใช้คำนี้ เป็นอย่างไร

เช่น ยกตัวอย่างง่ายๆนี่อาตมายังจำได้สนิทเลยทุกวันนี้นะ เรียนอยู่ ม.๗ ม.๘ เขียนบทความ เขียนแต่งเรียงความนี่แหละ อาจารย์สอนตอนนั้น อาจารย์หลวงสมเด็จวรรณกิจ สอนภาษาไทย ใครเป็นลูกศิษย์ หลวงสมเด็จวรรณกิจบ้าง ยกมือขึ้น ไม่มีเลย หลวงสมเด็จวรรณกิจ เป็นอาจารย์ ภาษาไทย จบ ป.ม.แค่นั้นหละ หลวงสมเด็จวรรณกิจนี่ จบ ป.ม. แต่เป็นอาจารย์ ครุศาสตร์ อักษรศาสตร์เยอะ ป.ม.ไม่ต้องพูด อาจารย์ของครู ป.ม.ไม่ต้องพูด อาจารย์สอน พวกอักษรศาสตร์บัณฑิต ครุศาสตร์บัณฑิตนี่เยอะ เพราะว่าเป็นจารย์ภาษาไทย ที่เฮี้ยบมาก เวลาเข้าห้องเรียนนี่ อย่ากระดิกนะ อาตมามองไปข้างล่างโน่นยังไม่เจอ ไม่รู้ว่ามีใครเป็น ลูกศิษย์บ้าง เอ้ ไม่มีเลย แปลก รุ่นอายุมากๆหน่อยก็น่าจะมี ขนาดอาตมาก็น่าจะมี แต่ไม่เห็นมีเลย สอนหมดแหละจุฬาฯ ธรรมศาสตร์อะไร ก็สอน โดยเฉพาะวิทยาลัยครูนี่สอนมา สอนเยอะ เพราะว่ามาทางครูโดยตรง แล้วก็ได้รับเชิญไปสอนมหาวิทยาลัยมากมาย ดุมากๆ อาจารย์หลวงสมเด็จวรรณกิจนี่ เสียไปแล้วเสียไปหลายปีแล้ว อายุก็แก่ สอนอาตมาก็แก่แล้ว อาตมาเรียน ม.๗ ม.๘ นี่เรียนภาษาไทย อาจารย์หลวงสมเด็จนี่สอน พอเข้าห้องแล้วอย่า ใครพูด ไม่ได้น่ะ พูดไล่ออกจากห้องเลย ต้องนั่งเงียบ แล้วต้องนั่งตัวตรงด้วย นั่งไม่มองหน้าไม่ได้ด้วย ถ้านั่งแล้ว หันหน้าไปทางอื่นนะโดนลงโทษ ไม่อะไรก็อะไร อันหนึ่ง ดีไม่ดีก็ไล่ออกจากห้องไปเลย ดุจริงๆ ทางภาษาไทย ดุจริงๆ แล้ว สอนมีหลักดีมากเลยนะ สอนมีหลักดี

อาตมาก็มีอยู่คราวหนึ่งก็แต่งเรียงความนี่ ขึ้นต้นย่อหน้าบรรทัดใหม่ "เหมือนกับว่า" ใช้คำว่า "เหมือนกับว่า" อาจารย์หลวงสมเด็จบอก มันมีความอะไร อาตมาจำไม่ได้แล้ว เนื้อความนี่ ใช้คำว่า เหมือนกับว่า นี้ขึ้นเป็นวลีนำต้นเรื่อง นำภาษานี่ไปแล้ว ก็มีความสอด อาจารย์เห็น บอกว่า ใช้ไม่ได้ ต้องใช้ "ราวกับว่า" จึงจะถูกต้องและดี อาตมาก็มาดู โอ ถูกจริงๆนะ จริงเลย แต่คำว่า "เหมือน" กับ "ราว" เท่านั้นแหละ ราวกับว่าก็เหมือนกับ ราวกับ เท่านั้นแหละ อื้อฮือ ต่างกันลิบ

เอาละ อาตมาไม่ขยายภาษาไทยละน่ะ ประเดี๋ยวจะจบ เทศน์กันด้วยภาษาไทย อย่างไรๆไม่ไหว อย่างนี้เป็นต้น ยกตัวอย่าง เฮี้ยบเลยนะหลายอันหลายอย่างในภาษานี่ อาตมาก็มีความคิด อย่างนี้อยู่แล้ว คำ เลือกคำที่จะเหมาะ จะอะไรนี่ มันก็เลือกอยู่แล้ว ยิ่งร้อยกรอง ร้อยกรองนี่แต่ง ฉันท์ กาพย์ กลอน อะไรนี่ โอย ต้องเลือกคำเยอะ แล้วไม่ใช่คำจะเลือกไพเราะเท่านั้น จะต้องเลือกคำ ที่ได้ความหมาย ภาษาไทยมีความหมายของมัน ต่างกันเยอะ มันต่าง มันให้ความหมายเยอะ อาตมาไม่รู้นะ คนลาวนี้มีความรู้สึกอย่างไร คนอีสานนี้จะมีความรู้สึก อย่างไร กับภาษานี่นะ อาตมาเคยเอามาพูด ภาษาอีสานนี่ละเอียด รู้ไหมว่า คำว่า "โคโล" กับ "คอลอ" นี่ต่างกัน "จ๊องป๊อง" กับ "แจ๊งแป๊ง" นี่ต่างกัน ให้ความหมายต่างกัน "จ๊องป๊อง" นี่ รูโตหน่อย ถ้า "แจ๊งแป๊ง" นี่เล็กลงไปอีก ถ้า "จิ๊งปิ๊ง" เล็กลงไปอีกน่ะ "แคแล" กับ "โคโล" นี่ก็ต่างกัน "คอลอ" นี่ก็ต่างกัน "แคแล" นี่หมายความว่าทิ้งอยู่ ไม่มีใครดูแล อย่างนั้นๆ ทิ้งไว้แคแล "คอลอ" หมายความว่า มันทิ้งไว้ มีลักษณะเล็กๆ "โคโล" หมายความว่า มันทิ้งไว้มีลักษณะเล็กๆ "โคโล" นี่ใหญ่ ทิ้งไว้ก็ แหม ทิ้งไว้แต่ใหญ่หน่อย แม่นบ่ เข้าใจบ่ เข้าใจอยู่ นี่ภาษาอีสาน ละเอียดมาก ไม่ใช่เท่านี้นะ ไม่ใช่คอลอ แคแล โคโล ยังมีอีกนะ จ๊องป๊อง แจ๊งแป๊ง จิ้งปิ้ง อะไรนี่มีอีก เยอะแยะเลย มากมายนะ ภาษาอีสานนี่ ภาษาภาคกลางนี่ อย่าไปเทียบเลย ภาษาอีสานนี่มาก ละเอียดลออ และคำใกล้ๆ กัน หรือคำไม่ใกล้กัน ก็ตามแต่ ต่างกันตรงนี้ ภาษาที่อาตมาพูดนำนี่ ก็เพื่อให้พวกเราได้ระลึกรู้ บัญญัติภาษา ได้ศึกษาด้วย ไม่เช่นนั้น พวกเรา ก็พูดผิดพูดถูก พูดไปพูดมา พูดชักศึกเข้าบ้านด้วย เพราะไอ้ปากไม่ดีนี่ พูดไม่รู้จัก ภาษาน่ะ ได้แต่พูดไป ตามอยาก พูดอะไรก็พูดส่งๆ ระวังเถอะ พูดส่งๆแต่มันมีอะไร จะกลับมา เหมือนกัน อะไรเขาส่งกลับมาอีงวดนี้ แล้วมันไม่ค่อยสนุกนะ เพราะฉะนั้น ต้องระวัง

มีคนติงมานิดหนึ่งว่าเด็กหรือผู้น้อยจะใช้คำว่า สำนึกดี กับผู้ใหญ่ จะเหมาะสมหรือไม่ อาตมา ขอยืนยันว่า เหมาะสม ผู้ใหญ่นั่นแหละตัวดีนัก ไม่ค่อยสำนึก เพราะฉะนั้น ให้เด็ก มันเตือน เสียบ้าง พูดกับสมณะก็ไม่ต้องสำนึกดีกับสมณะหรอก ก็มีนมัสการอยู่แล้ว กราบนมัสการ อยู่แล้วสมณะ แม้แต่เขียนจดหมาย ก็ยังมีคำขึ้นต้น ต่างกันอยู่แล้ว กับสมณะ อย่าไปใช้ เหมือนกันเลย สมณะไม่ต้องใช้สำนึกดี นอกจากข้างนอกเขามา ยังไม่รู้อะไรก็ เจริญธรรมสมณะ อะไรอย่างนี้ เราก็ใช้ สมณะซึ่งก็เราก็รู้อยู่ว่า เราไม่ใช่นะ อะไรนะ อ้อ เอาเถอะ คุณจะเอาให้สนุก ไปถึงอย่างนั้น ก็ได้ไม่เป็นไร ทักกัน ยังทนทุกข์ดีอยู่หรือ นี่สำนวนของพระพุทธเจ้า ที่ท่านทักสงฆ์ ท่านทักสาวก อย่างไร ยังทนทุกข์ดีอยู่หรือ ท่านก็ทักก็เอาเถอะ ก็ไม่ว่าอะไร นั่นก็ลึกซึ้ง เข้าไปอีก ก็ดีเหมือนกัน ให้ท่านทักเสียบ้าง ก็ดีเหมือนกัน แต่ว่ามันก็คงจะไม่ค่อยไหว ข้างนอกก็ไปถาม เขาว่า ยังทนทุกข์ดีอยู่หรือ นี่ก็คนข้างนอก เขาก็บอกว่า ไอ้พวกนี้ มันพวกทุกข์นิยมเหลือเกิน โอ้โฮ ไปไหน มันก็จะเอาแต่ทุกข์ มันทุกข์นิยมมากไปหน่อยหรือเปล่า มันจะไปกันใหญ่ ถามมาว่า เด็กจะใช้กับผู้ใหญ่ จะดีหรือ? ดี อาตมาว่า เป็นวัฒนธรรมของพวกเรา ผู้ใหญ่ก็ต้องยอมรับว่า คำนี้เป็นคำธรรมดา เหมือนกับคำว่า สวัสดี เหมือนกับจีนไปทักกัน เจอหน้ากันก็เจี๊ยะบ๊วยๆ มันตะกละจังน่ะนา เขาก็ยังไม่ถือกัน มันเป็นเขา แม้แต่จะทักกันว่า เจอหน้ากันก็กินหรือยัง อยู่นั่นแหละ ไปไหนก็เจอแต่กินหรือยัง ทักกันว่า กินหรือยัง เขาก็ยังไม่ถือสาอะไรกัน เพราะฉะนั้น ถ้าเราใช้เป็นวัฒนธรรมแล้ว มันไม่คิดหรอก ถือเสียว่า เป็นความปรารถนาดีกันนะ อันนี้เป็นจุดที่หนึ่ง ที่พูดกันในวันนี้ตอนเช้า วันที่ ๑ ของปี ๒๕๓๕ แน่ะเลข ๒๕๓๕ นี่ดีเหมือนกัน สองกับสาม รวมกันเป็นห้าเสียอีก สองห้าสามห้า สองกับสามรวมกันเป็นห้าเลย มีห้าสามตัว รวมกันก็เป็น ห้าสามตัว ถ้าเล่นเลขนะ นี่ไม่ได้ หมายความ บอกเลขหวย ตั้งแต่ต้นปีเลยนะ ซึ่งไม่ดีหรอก เลิก เราเลิกอบายมุข มาเลิกอะไร กันแล้วนะ

ทีนี้อาตมาอยากจะพูดถึงเนื้อหาเสียก่อน แล้วจะมีอะไรต่ออะไร ที่จะขยายออกไป แล้วก็จะอธิบาย ถึงว่า เราเดินทางมาถึงไหนแล้ว แล้วเราก็จะต้องเตรียมตัวอะไรกันบ้าง และจะต้อง ระวังอะไร หลักธรรมะของเราก็คือ มรรคองค์ ๘ มรรคองค์ ๘ ที่เราได้ปฏิบัติ กันมาอยู่ แล้วอาตมา ก็พยายามอธิบายๆ แล้วจะต้องอธิบายไปอีกหลายชาติ ไม่ใช่อธิบายไป ต้องสิ้นชาตินี้ เท่านั้นแน่ะ อีกหลายชาติ ในเมื่อไรก็อธิบายมรรคองค์ ๘ เกิดมากี่ชาติ ก็อธิบาย มรรคองค์ ๘ เป็นทฤษฎีที่อภิมหาบรมยิ่งใหญ่ ๆ ซึ่งอาตมาขอยืนยันว่า พวกเราก็ยังเข้าใจได้ เท่าที่พวก คุณเข้าใจแต่ละคนนั่นแหละ ยังไม่ได้ลึกซึ้ง อาตมาก็ยังขยายไม่ได้หมด ยังขยาย ไม่ได้หมด เพราะหลายอย่างที่เรายังทำไม่ถึง ยังไม่มีเหตุปัจจัยที่จะนำมา เป็นองค์ประกอบ ในการบรรยายได้

เรามีหลายอย่างเป็นเหตุปัจจัยที่มีสภาวะแล้ว มีตัวตนขึ้นมาแล้ว มีสภาพขึ้นมาแล้ว แล้วอาตมา ก็อธิบายขึ้นมา พูดขึ้นมา พวกคุณก็รู้ได้เลย เข้าใจได้เลย ถึงรู้ไม่ได้ อาตมาบางที ก็หยิบขึ้นมา กล่าวถึงเลย มาบอก มาพูดประกอบการอธิบาย คุณก็เข้าใจได้ หลายอย่างต้องอาศัย สิ่งประกอบ พวกนี้นะ เรียกว่าต้องใช้องค์ประกอบของมัน ผู้รู้ในการสื่อนี่นะ ผู้มีศิลปะในการสื่อ จะมีความรู้ ในการจัดองค์ประกอบ ท่านเรียกว่าคอมโพสิชั่น (composition) ภาษาอังกฤษเรียกว่า composition เป็นองค์ประกอบของงานศิลปะนั้นๆ องค์ประกอบงานศิลปะในการพูด องค์ประกอบ ในงานศิลปะในภาษา คำพูด หรือองค์ประกอบในภาษาคำ เป็นเพลง เป็นกลอน องค์ประกอบ ในท่าทางลีลา ที่จะรำ ที่จะยกแขน ขยับขา ขยับโน่นนี่อะไรก็แล้วแต่ องค์ประกอบในท่า นาฏกรรม องค์ประกอบในภาพที่จะเขียน จะใช้องค์ประกอบมีเส้น มีสี มีแสง มีขนาด มีมุม มีนั่น มีนี่ อะไรก็แล้วแต่ องค์ประกอบที่จะปั้นรูป องค์ประกอบที่จะทำตึกราม สถานที่อาศัย องค์ประกอบ ที่จะประกอบอะไรขึ้นมา เพื่อที่จะให้ได้ประโยชน์ที่สุด ให้ดีที่สุด ให้คนรู้ได้ด้วย โดยเฉพาะ เริ่มต้นให้คนรู้ พอสัมผัสแล้วก็รู้สึกเลย บ้านหลังนี้สัมผัสแล้วน่าอยู่ รูปปั้น รูปนี้ สัมผัสแล้วให้ความรู้ เกิดการพัฒนาตนเอง พอสัมผัสแล้วให้ความรู้ ในด้านใดก็แล้วแต่ หรือให้ความสุข สัมผัสแล้วให้ความสุข รูปเขียนรูปนี้สัมผัสแล้วให้ความรู้ สัมผัสแล้ว ให้ความสุข ยกตัวอย่างง่ายๆนะ อาตมาให้ความหมายง่ายๆ คุณฟังๆ หน่อยก็แล้วกัน มันมีมาก แต่ว่าอาตมา ขยายมากไม่ไหวละ ต้องขยายแค่ยกตัวอย่างนี่นะ ท่าทางร่ายรำนั้น หรือท่าทาง ไม่ใช่ร่ายรำอย่างเดียวละ ท่าทาง นาฏกรรม ท่าทางที่จะมีท่า ยกไม้ยกมือ แสดงธรรมมีมือ มีไม้โน่น มีนี่ด้วย นั่นเป็น ท่าธรรมท่าที สัมผัสแล้วเห็นแล้ว สื่อให้เราได้รับความสุข สื่อให้เรา ได้รับความรู้ มันอาจจะได้รับความรู้สึกอื่นอีกนะ อาตมาบอกแค่นี้นะ ไม่ใช่มีแต่ความรู้สึกแต่ ความสุขเท่านั้น มีอื่นอีกก็ได้ ดีไม่ดีปลุกเร้าให้ไปชกเขาก็ได้นา พอสัมผัสแล้ว แหม มันอยากชก อะไรอย่างนี้ สัมผัสแล้วเมตตาอะไรอย่างนี้ ขยายเพิ่มเติมหน่อย นอกจากความรู้กับความสุข ที่อาตมากล่าวไปแล้ว

เพราะฉะนั้นอะไรก็แล้วแต่ คนที่เป็นศิลปินนี่จะทำงานอะไรออกมา แม้แต่จะยกมือ ยกแขน ยกขา จะกล่าวจะพูด จะใช้สีหน้าสีตา อย่างศิลปินนักแสดงใช้ สีหน้าสีตา ก็ประกอบออกมา ทั้งนั้น คอมโพส (compose) ออกมาทั้งนั้น เป็น คอมโพสิชั่น (composition) เป็นองค์ประกอบศิลปะ ให้คนได้รับสัมผัสเข้าไปแล้ว สื่อให้ได้รับรู้ ได้รับความรู้สึก เกิดความสุข เกิดความรู้ เกิดความเมตตา เกิดความบันดาลใจอะไรก็ตามใจเถอะ ขึ้นมาได้ นั่นคืองานศิลปะ อาตมาไม่สงสัย แต่ก่อนสงสัยว่า เอ๊ ทำไม่เราต้องมาดันเรียนศิลปะชาตินี้ ทำไมเราไม่ไป เรียนวิชา ที่มันเจ๋งๆ แหม เรียนมาแล้ว ได้ แหม เป็นใหญ่เป็นโตขึ้นมาแล้วจะได้ ไม่ต้องมาหงอๆ อยู่ทุกวันนี้ แล้วเขาข่มทุกอย่าง ไม่ได้ แต่แค่จะเรียนศิลปะยังไม่ได้ ปริญญากับเขาเลย คิดดูเถอะ เรียนศิลปะ มันยังไม่ได้ปริญญากับเขาเลยนะ มันตลกดีนะ อาตมาจะพูดเรื่อง ที่มันเป็นจุดด้อย ของอาตมาอันหนึ่งให้ฟัง มันแปลกน่ะ อาตมานี่สนใจศิลปะ เรียนศิลปะ เข้าเพาะช่างไม่ต้องสอบ จบ ม.๘ กะว่าเรียนจบ มันสอบ ม.๘ ไม่ได้สักที สอบสองปี สามปี ก็ไม่ได้ กะว่าจบ ม.๘ แล้วจะไปเรียนศิลปากร มหาวิทยาลัยน่ะ ศิลปากรนี่เป็นมหาวิทยาลัย เรียนมหาวิทยาลัย มันก็เขื่องน่ะนา ไป เทียวไปอยู่น่ะ เทียวไปมหาวิทยาลัย รู้จักคนเยอะน่ะ นักศึกษา รู้จักอาจารย์มหาวิทยาลัย ทำสนิทกะเขา ไปคุยว่าเราอยากจะเรียน เราชอบศิลปะ รู้ก่อนเลยนะ เสร็จแล้วก็ไม่ได้เรียนอย่างที่กล่าว วิถีชีวิตไปจบ ม.๗ แล้ว ไม่ใช่จบ ม.๗ ม.๗ สอบได้ แต่ ม.๘ มันตก จน ม.๘ ครั้งสุดท้าย โรงเรียนเขาก็เลิก ม.๘ แล้ว แหม ประกาศผล มันก็ตกอีก บ๊ะ จะไปหาโรงเรียนเรียนใหม่ก็ยุ่ง

เดินมาหาเพื่อนที่เพาะช่าง มันเรียน ป.ม.แล้ว หนอย เรายังไม่ทันไปไหนเลย คือแต่ก่อนจบ ม.๖ แล้วเรียน ม.๗ ม.๘ หรือว่าพอเรียน ม.๖ จบ เขาก็สอบเข้าเพาะช่าง อาตมาก็เรียนไป เพื่อนมัน ก็เทียบไป ป.ม.แล้ว ไปคุยกับเขา เขาก็บอกว่า เอ้ย เพาะช่างมันเปิดแผนกวิจิตรศิลป์ (Fine Arts) มันยังไม่ครบหรอกนักเรียนน่ะ ยังเข้าได้อีกอยู่ อาจารย์จิตต์ บัวบุศย์ตอนนั้น ยังให้เข้าได้ รับอยู่ บอกอย่างนั้น ไม่ต้องสอบ เราก็เคว้งๆอยู่นา สอบ ม.๘ ก็ตก อะไรมันก็ยัง ไม่เข้าท่า เอา เข้าก็เข้าวะ เราก็ยังดูถูกโรงเรียนเพาะช่างนะว่า มันไม่ใช่มหาวิทยาลัย มันก็เรียน แค่อาชีวะ หรือแค่ระดับนั่นน่ะ แต่ก็เอาเข้าก็เข้า ไปขอใบสุทธิจากโรงเรียนเก่า โรงเรียนที่ตก ม.๘ นั่นแหละ โรงเรียนสีตบุตรบำรุง ขอใบสุทธิ ม.๗ มารับรอง เพราะเราสอบ ม.๗ ได้แล้วนี่หนอ ม.๗ เชียวนะ มาเข้าเพาะช่าง ที่จริงเขาจบ ม.๖ เท่านั้นแหละมาเข้า เราเอา ม.๗ มาเข้า เอามาเข้า โรงเรียนเพาะช่าง เขาเรียนเพาะช่างไป ถ้าจบปี ๓ ก็เท่ากับเรียน ม.๘ นั่นแหละ มาเทียบเท่าได้ จบปี ๓ กับจบ ม.๘ อาตมาก็เอา ก็มีเทียบเท่า ม.๘ แล้ว มีสิทธิไปสอบเข้า มหาวิทยาลัย ก็ไปสมัครเข้าศิลปากร อาตมาไม่ได้เคยไปสอบเข้ามหาวิทยาลัยไหนเลย ในประเทศไทย ไม่เคยไปสอบเข้ามหาวิทยาลัยไหนเลย ไปเข้าธรรมศาสตร์ก็เข้าฟรี ไม่ต้อง ไปสอบหรอก ธรรมศาสตร์น่ะ มันเป็นมหาวิทยาลัยเปิด ตอนนั้น แต่อาตมาตอนนั้น นักเรียน มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์เหมือนกัน ไปสมัครเข้าเหมือนกัน แต่ไม่ได้ไปเรียน ไปสมัครสอบ เข้าศิลปกร แล้วก็ไปสอบเข้าศิลปากรสอบตก สอบเข้าไม่ได้หรอก ในขณะที่อาตมาเรียน อยู่ที่เพาะช่างนี่ ผู้ที่ไปเรียนด้วยกันนี่ในห้องนี่นา อาตมาชนะเขาหมดน่ะ อาตมาท็อปน่ะ ได้ที่หนึ่งน่ะ แต่อาตมา ไปสอบเข้าศิลปากรนี่ อาตมาเข้าไม่ได้หรอก แต่พวกที่ในชั้น เขาสอบเข้าได้ เขาได้เข้าน่ะ หลายคน แต่อาตมาตก เอ็นทรานซ์ไม่ได้ เข้าไม่ได้ เข้าศิลปากรเข้าไม่ได้ ไม่ได้ก็เรียนเพาะช่างต่อ ปี ๔ ปี ๕ ต่อจนจบ จบแล้วก็ไม่คิดจะเรียน ต่ออะไรอีก ไม่ใช่ไม่คิดหรอก ก็ทำงานน่ะ ชีวิตมันจะต้องทำงาน เพราะส่งน้องนุ่ง ต้องเลี้ยงต้องอะไร ต่ออะไร ก็ต้องทำงาน จะเรียนต่อ เหมือนกัน จุฬาฯก็จะเข้า เขามีทไวไลท์จุฬาฯ ก็จะไปเรียน ครุศาสตร์เปิดตอนนั้น ยังไม่เปิดแผนก วิทย์กับแผนกศิลป์ ไปสมัครนะ เอาอะไรต่อะไรไป แหม ทำทีทำท่า จะรับอาตมาเหมือนกัน เสร็จแล้วก็ไม่รับ แหม อาจารย์อำไพ สุจริตกุลนี่แหละ เป็น คณบดีอยู่ ตอนนั้น แหม ไม่รับ เราก็นึกว่าจะรับก็ไม่รับ นิเทศศาสตร์ก็จะไปเรียน นิเทศศาสตร์ อาตมา ก็เรียนได้ เอ้า ก็จะไปสมัคร สมัครแต่ไม่มีเวลาไปเรียน เพราะว่ามันตรงกับ เวลาทำงานของเรา เลยไม่ได้เรียนกันพอดี ถ้าเรียนก็รุ่นแรกนิเทศศาสตร์จุฬาฯนี่

เอ้าละ พูดไปก็ยาวน่ะเรื่องประวัติ เพราะฉะนั้น อาตมาทำงานศิลปะ อย่างยิ่งโดยเฉพาะ เรื่องภาษาและท่าทาง อาตมาใช้พวกคุณนี่เป็นเหยื่อ เป็นเครื่องมือศิลปะของอาตมา วันนี้เปิดเผยอะไรบ้าง หลายๆคนนี่ไม่รู้ตัวหรอกว่า อาตมาจับเป็นหุ่นเชิดให้เป็นตัวองค์ประกอบ ในศิลปะของอาตมา เพื่อที่จะประกอบงาน งานศิลป์ของอาตมา ถ้าเป็นภาพเขียน ก็เป็นภาพเขียน ที่ใหญ่มาก ไม่ใช่เป็นภาพเขียนที่อยู่ในวงแคบ เป็นภาพเขียนที่ใหญ่ ถ้าเป็นประติมากรรม เป็นภาพปั้น ก็เป็นรูปปั้นที่ใหญ่มาก และไดนามิกด้วย ภาพปั้นของอาตมา เคลื่อนไหว แม้แต่ภาพเขียนของอาตมาก็เคลื่อนไหว เพราะฉะนั้น ตัวพวกคุณนี่เป็นเหมือนสี ที่อาตมา เอาไปเขียน เหมือนว่าพวกคุณเป็นก้อนดินที่อาตมาเอามาปั้น ใส่งานปั้นของอาตมา เสร็จแล้วก็ ทำออกมาแล้ว ก็เป็นอยู่ในประเทศนี่แหละ อยู่ในสังคมเรานี่แหละ พวกคุณ ก็แต่ละคนๆ อาตมาสื่อ อาตมาบอก อาตมาให้ทำ ยกตัวอย่างง่ายๆนะ สมัยแรกอาตมาทำ การสุขุม สำรวม เดินมีท่า มีอะไรต่ออะไร พวกสมณะก็ตาม พวกฆราวาสก็ตามทำ ทำตาม ทำไป แพร่ไปทั่วเลยนะ โอโฮ้ แล้วได้ผลไหม? ได้ไหม?

นั่นแหละอาตมาหยิบมายืนยันให้ฟัง โอ สนใจแล้วนี่ แต่มันก็ไปเต๊ะท่าเลย เป็น dramatic ชนิดหนึ่ง เป็นนาฏกรรมชนิดหนึ่ง เป็นศิลปะ ทางด้านนาฏกรรมท่าทาง ประกอบไปด้วย ภาษาลีลาที่อาตมาก็ใช้ แล้วพวกเราก็เรียนตาม สมณะก็เรียนตาม ฆราวาสก็เรียนตาม แม้แต่ภาษาที่ใช้ มาทักทายกัน เจริญธรรม ญาติธรรม ไอ้โน่นไอ้นี่ สารสัจจะ ไอ้โน่นไอ้นี่ อาตมาใช้มา พวกเราก็ใช้เป็นสื่อกันมาใช้ประกอบ ถึงแม้แต่ภาษา บ่อยที่เป็นภาษาไทยแท้ๆ เอามาขยายความ อธิบายโน่นนี โน่นนี่ไป ในวิปัสสนาก็ขยายความ สมถะก็ขยายความ สมาธิอะไรก็พูดกันไป ขยายความเป็นภาษาไทยที่แล้วแต่ แต่ละคนจะไปซอย ขอให้เข้าใจ ที่อาตมาสื่อกับพวกคุณรู้เรื่องแล้ว รู้มีความหมายแล้ว คุณก็ไปใช้ต่อๆๆๆ มันก็เป็นผลสะท้อน เป็นฤทธิ์แรงของแสงสี ฤทธิ์แรงของรูปโฉม ฤทธิ์แรงของ เงาแสงอะไรต่างๆนานา ก็แล้วแต่ศิลปะ ออกไปกระจาย ออกไปขยายให้แก่ใคร ต่อใครต่อ

ผู้ที่มีความเข้าใจ มีปฏิภาณรับก็รับจากการกระทบ บางคนก็ฟังจากคุณ บางคนก็เห็น จากใครต่อใคร บางทีก็เห็นจากสภาพรวม สภาพรวม จากพวกเราอยู่เป็นกลุ่มเป็นหมู่ มีบทบาท มีการงาน มีลีลา มีอะไรก็แล้วแต่ ซ้อนๆๆๆอยู่ในนี้ ซึ่งอาตมาเอง อาตมารู้อยู่เสมอว่า อาตมา ทำอะไร กับพวกเรานี่ ทำเป็นเรื่องราว ทำเป็นวิธีการ ทำเป็นรูปแบบอะไรต่ออะไรออกมานี่ อาตมาต้องตรวจ ต้องสำนึกอยู่เสมอนะว่า อาตมาทำออกไปนี่ มันมีผลเป็นแอ๊คชั่น (action) เสร็จแล้ว ไปกระทบ เมื่อกระทบแล้วคนรับเขาจะได้อะไร เมื่อได้แล้วมันจะมีคำตอบคือ รีแอ็คชั่น (reaction) ออกมาให้อาตมาทราบ แล้วอาตมาก็จะเห็นว่า มันได้ผลตามที่เราหมายหรือไม่? เสร็จแล้ว ถ้ามันไม่ดีก็แก้ ถ้ามันดีก็ใช้ต่อไป ได้ผลสูง ได้ผลไม่สูง ทำอย่างนี้แหละเรื่อยมา

อาตมาถือว่าเป็นศิลปะ เป็นศิลปะที่เกิดกับคนอย่างจริงจัง ส่วนเรื่องภาพเขียนนั้น อาตมา ไม่ต้องเขียน อาตมาหยิบของใครๆมา แล้วก็มาใช้ประกอบ โดยสื่อ รูปปั้นของใครปั้นไว้ ไม่เป็นไร อาตมาหยิบมาประกอบ อันไหนต้องใช้ ก็เอามาแค่นั้นก็พอ แต่เพลงมันไม่ค่อยมี ไอ้ที่มี พวกเรา ก็หยิบมาแล้ว อาตมาก็อนุญาต อนุโลม บอกว่า เอ้า ได้ เพลงพวกนี้ใช้ได้ พวกนี้ไม่ค่อยดี ก็บอกแล้ว แม้แต่จะเป็นกาพย์ เป็นกลอน เป็นฉันทลักษณ์ เป็นภาษา เป็นบทความ เป็นอะไร เป็นวรรณกรรม เป็นกฎหมาย เป็นสถาปัตยกรรม เป็นปฏิมากรรม เป็นจิตรกรรม ที่จริงศิลปะ มันมีอยู่ ๕ แขนงเท่านั้นแหละ มีจิตรกรรม ปฏิมากรรม สถาปัตยกรรม วรรณกรรม แล้วก็นาฏกรรม และดนตรี Music and Drama นาฏกรรมและดนตรี มี ๕ เท่านั้นแหละ เรียกว่า Fine Arts เรียกว่า ศิลปะบริสุทธิ์ ศิลปะที่แท้

ทุกวันนี้มันมีอะไรต่ออะไรก็ไม่รู้ มันแยกแขนงกันไป มันมีทั้งศิลปะ โฆษณา ศิลปะภาพประกอบ ศิลปะอะไรของมัน ศิลปะการค้า ศิลปะอะไรของมันเยอะแยะ มันแยกแขนงไป ซึ่งมันไม่ใช่ Fine Art มันไม่ใช่ Pure Art หลักแท้ๆมันมีอยู่ ๕ เท่านั้นแหละ ถามที่เรียนศิลปะมารู้กันแทบทั้งนั้นแหละ แล้ว เราเอามาใช้ เอามาใช้ ใช้แล้วจึงเกิดผล เพราะฉะนั้น ผู้ที่มีศิลปะ พระพุทธเจ้า ถึงบอกว่า ศิลปะเป็นมงคลอันอุดม อุดมนี่แปลว่าสูงนะ อุดมนี่แปลว่าสูง เลิศยอดไป อุดม เจริญ สูง ศิลปะที่เขาสื่อทุกวันนี้ อาตมาถือว่า ศิลปะไม่เป็นมงคล อัปมงคล ทุกวันนี้ศิลปะอัปมงคลเยอะ โดยเฉพาะที่ว่า เป็นศิลปะที่เขาว่าเป็นศิลปะการค้า มันมอมเมา แล้วมันทำให้คนทุกข์ มันทำให้คนไม่เป็นสุข เป็นสุขหลอก หลอกๆชั่วคราว เป็นโลกียสุขหลอกชั่วคราว แล้วฉาบ ฉวยมาก นอกจากฉาบฉวยแล้ว เดือดร้อนต่อไม่ช้าไม่นานด้วย ซึ่งไม่เป็นงานศิลป์ที่แท้ เพราะฉะนั้น จะไปเข้าข่ายที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า ศิลปะต้องเป็นมงคล ต้องเป็น ความประเสริฐ อันอุดม

อาตมายกตัวอย่างง่ายๆให้พวกนักศิลปะเขาฟัง อาตมาไม่อยากพูดกับพวกนี้ พวกนี้เขาก็มีอัตตา พวกนักศิลปะ เขาถือว่าเรียนสูงกว่า อาตมาไม่จบปริญญาเลยน่ะ เขาไม่ฟังหรอก พวกศิลปะ ศิลปิน เขาจบปริญญาตรี โท เอก อะไรเขาเยอะแยะ เขาไม่ฟังอาตมาหรอก อาตมาก็ไม่อยาก พูดกับเขา อาตมาทำงานดีกว่า อาตมาเชื่อว่า อาตมาใช้งานศิลปะอยู่ทุกวัน อย่างภาพเขียนนี่ เขาตัดสินไม่ได้ ว่าอะไรเป็นภาพอนาจาร อะไรเป็นภาพศิลปะ อาตมาก็บอกความหมาย ให้เขาฟังว่า ภาพใดถ้าคนรับกระทบแล้วเกิดกิเลส ภาพนั้นเป็นอนาจาร ภาพใดคนรับสัมผัสแล้ว เกิดประโยชน์ ลดกิเลส อันนั้นแหละเป็นภาพศิลปะ เช่น เขียนภาพคนโป๊ ภาพเปลือย อย่างนี้ เป็นต้น เป็นภาพคนโป๊ พอใครไปเห็นภาพคนโป๊แล้ว โอ้โฮ หมดราคะ ลดราคะ เออ อันนั้น เป็นศิลปะ ถ้าใครไปเขียนภาพคนโป๊ ให้คนดูปั๊บแล้วก็พอยิ่งดูแล้วก็ยิ่งกิเลสเกิด ราคะเกิด นั่นภาพ อนาจาร นี่แหละภาพอนาจาร นี่แหละเป็นจุดตัดสิน แล้วมันมีภาพที่เป็น ศิลปะ กี่ภาพกันเล่า

อาตมาเคยยกภาพของ ปิคัสโซ่มาใช้ ภาพนางงาม ซึ่งฉีกปากไปข้างหนึ่ง ฉีกขาไปข้างหนึ่ง ฉีกลูกกะตาไปข้างหนึ่ง ดูแล้วก็ มันก็ แหม นี่มันศพนี่หนา ดูแล้วมันก็ไม่ได้นึก แล้วก็เขาสื่อ ออกมานี่ เขาบอกนี่ภาพนางงาม ภาพสาวงาม แต่เสร็จแล้ว ดูแล้วน่ะมัน แหม ถ้าสาวงาม แบบนี้ มันเจ๊ยะบ่โละน่ะนา อย่างนี้เป็นภาพศิลปะ แล้วเขาก็ไม่ค่อยเข้าใจกันน่ะ คือคนไม่ค่อย เข้าใจหรอก ไปติดรูปแบบ ติด cubism ไปเสีย แล้วก็เลยไป แหม cubism ทีนี้ไม่มีปัญญา เขียนตาม cubism ไปเหมือน ปิคัสโซ่ แต่เสร็จแล้วก็ปิคัดชุ่ยไปหมด มันไม่ได้ เข้าใจ ศิลปะของเขา อย่างนี้ เป็นต้น เอาอะไรมาเขียนเบี้ยวๆบอๆหมดเลยนะ ปากเบี้ยว อะไรเบี้ยว อะไรเลย แล้วถือว่า เป็นภาพสมัยใหม่ ไม่เข้าใจศิลปะน่ะ เอ้า พูดไปพูดมา จะเป็นศิลปะ ไปเยอะไปนะ อาตมาว่า จะพูดแวะนิดเดียว

มีคนมาถามบอกว่า ทำบุญอย่างไรจะได้บุญ แล้วคนใหม่มามาก ไม่พูด เวลาสำคัญนี้ไม่พูด คนใหม่เรียนรู้ตามคนเก่า คุณนั่นแหละไปพูด คนบอกมาให้ อาตมาพูดไปอธิบาย ไม่ใช่อาตมา อาตมาจะอธิบายสิ่งใหม่ คนเก่าเราจะต้องเจริญต่อ ไม่ใช่อาตมา ให้อาตมาอธิบายไอ้เรื่องตื้น เรื่องง่าย เรื่องเก่าอยู่ คุณก็รู้อยู่แล้ว จะมาให้อาตมาอธิบาย มันไม่ทันหรอก อาตมาเดินหน้า ไม่ไปไหนแล้ว พอดี ไม่ได้ อันนี้จะต้องพวกคุณช่วยกัน คุณก็รู้แล้ว เข้าใจแล้ว คุณอธิบายกัน ต่อไป ช่วยกันขยาย เรื่องแค่ทำบุญอย่างไรจะได้บุญกรวดน้ำได้บุญไหม จะไปเอา ไม่ใช่เวลานี้

นี่อาตมาพูดถึงเรื่องที่คุณๆยังไม่ได้ฟัง อะไรพวกนี้มันกว้างขึ้น มันลึกขึ้น แล้วอาตมาก็เจาะลึก อะไรให้ฟังแล้ว พวกเราจะได้เป็นผู้ที่ใช้สิ่งเหล่านี้ด้วย แม้ไม่ได้เรียนศิลปะมา เราก็มีศิลปะ พวกเรามีศิลปะในตัวพอสมควร แล้วพวกคุณก็กลายเป็น อย่างน้อยก็เป็นคน ร่วมมือศิลปิน อย่างน้อยก็ทำตามศิลปินผู้ใหญ่ อะไรอย่างนี้เป็นต้น อาตมาเป็นศิลปินผู้ใหญ่ทำอย่างนี้ คุณก็ทำตาม คุณก็เป็นศิลปินผู้น้อย ทำตามไปด้วยโดยปริยาย โดยที่เรียกว่า ไม่รู้ตัวก็ได้ เพราะฉะนั้น คุณก็ทำประกอบอย่างน้อย อย่างที่ยกตัวอย่างน่ะ

อาตมาเดินสำรวม แต่ก่อนนี้ คุณก็ทำตาม คุณก็เป็นศิลปินตามน่ะ คนอื่นได้รับสัมผัส เขาก็ได้รับผลต่อมา อย่างน้อย ศรัทธาเลื่อมใสอะไรอย่างนี้เป็นต้น ซึ่งมันได้ นี่แหละ เป็นการก้าว โดยวิธีการใช้ นาฏกรรม ท่าที ท่าทาง การประกอบ ท่าที ท่าทาง เราเรียกว่า นาฏกรรม ศิลปะทางด้านนาฏกรรม เป็น Dramatic เราประกอบท่าทาง ลีลา ฯลฯ...

อย่างท่าน....นี่ แหม ท่านี้ (ทำท่า) งามน่ะ อื้อฮือ ท่าประกอบนี่ ท่านี้งามน่ะ งาม อาตมาเห็นว่า งามท่านี้ของท่านนี่ แหม มีพวกเราเคยอยากจะทำตามนะ อาตมาว่า อย่าไปทำตามท่านเลย ให้ท่านเป็นของเด่นของท่านเถอะ อาตมาก็เลยไม่ให้พวกเรา มีพวกเรา อยากจะทำตาม เหมือนกันน่ะ เวลารับไหว้ ฆราวาสนี่ เอาแค่นี้ดีไหม แล้วมันก็ดีน่ะที่จริง อาตมาว่า เอาน่ะ ให้เป็นของท่าน.....เถอะ อาตมาเลยไม่ให้ทำกัน ไม่อยากจะ... แต่งาม อาตมาเห็นว่า ดี ท่าทีลีลาดีมาก บอกแล้วว่าอาตมาเป็นนักศิลปะ อาตมารู้ ท่าทาง ท่าทีลีลา ดีไม่ดีอะไรนี่ อาตมารู้จะประกอบท่าทาง อาตมาออกอากาศหากิน เต๊ะท่ามา หากินมา อาตมารู้นะ ไอ้เรื่องพวกนี้ แล้วคนก็หาว่า อาตมาท่าไม่งาม ไม่จริงน่ะ อาตมาใช้ท่างามมาด้วย ในเวลานี้ อาตมาก็ใช้ท่างาม ใช้ท่างามขึ้นไปอีกใน ประเภทระดับ advance แล้ว ในระดับ ก้าวหน้าแล้ว ในระดับล้ำยุคแล้ว ไม่ใช่ระดับมะงุมมะงาหรา เพิ่งจะเริ่มต้นใหม่ๆ ไม่ใช่ มันก็เดินทางไป

เพราะฉะนั้น การพัฒนาหรือว่าการรังสรรค์สร้างสรรนี่ มันต้องใช้ความสามารถ ใช้ความรู้ ทั้งเรา และเขา โดยเฉพาะเรานี่ จะสร้างอะไร จะทำอะไร แม้แต่เราจะพูด แม้แต่เราจะทำกายกรรม มาจากจิตวิญญาณ มีปัญญา มีการกำหนด มีการรู้ประมาณ มัตตัญญุตา ประมาณกายกรรม ประมาณวจีกรรม เสร็จแล้วเราก็ทำออกไป เมื่อทำออกไปแล้ว คนอื่นก็รับสื่อ เป็นสื่อ ทางวาจา ก็จะได้รู้ วาจาก็มีเยอะทั้งภาษาสำนวนสำเนียง น้ำเสียงต่างๆนานาพวกนี้ ออกมาประกอบ จะเบา จะหนัก จะหวาน จะแรง จะอะไรต่ออะไร เหมาะสมกับกาละอย่างไร อย่างโน้น อย่างนี้ หรือกับบุคคล กับหมู่กลุ่มบริษัท เรียกว่า ปริสัญญุตา ปุคคลปโรปรัญญุตา อย่างไรหรือไม่ กาลอย่างไร เยอะแยะมากมาย ที่เราจะต้องกระทำ

เพราะฉะนั้นโดยการรู้กาย วาจา ใจ นี่จะอยู่ในมรรคองค์ ๘ ทั้งหมด สังกัปปะ วาจา กัมมันตะ อยู่ในมรรคองค์ ๘ ทั้งหมด เพราะฉะนั้น การเรียนรู้สำนึกสัมมา มิจฉานี่ จะเป็นสัมมาสังกัปปะ ก็ต้องมีปัญญา และจะต้องเข้าใจจากความเห็น ความเข้าใจก่อน จุดแรก เราจะต้อง ทำความเห็นให้ถูก ความเห็นหรือความเข้าใจให้ได้ มันต้องอาศัยสื่อ อาศัยทั้งกาย และ วาจาใจสื่อ สื่อประกอบภาพ ตัวเราเอง ก็จะเป็นตัวเริ่มต้น เป็นตัวศิลปะแท้ เราจะประกอบภาพ ทางท่าทีอะไร เราจะพูด จะใช้ท่าทีภาษา เราจะใช้คำสำนวน สำเนียงลีลาอะไรต่ออะไร ออกมา อย่างไรๆๆๆ เราจะต้องรู้ก่อน แล้วเราก็จะต้องเป็นเจ้าแห่งการสื่อออก จะต้องมีสติ ต้องมีการกำหนด ไม่ใช่ชุ่ย จะพูดก็มีนิสัยอย่างไร เคยอย่างไร จะไปตามปาก เคยตัวอย่างไร ก็พ่นเรื่อยไป กายกรรมอย่างไรที่เคยถนัด เคยชิน อย่างไรก็ใส่เรื่อยไป กายกรรมอย่างเดิม ไม่ใช่อย่างนั้น ตัวเราเองก็ไม่ได้แก้ไข การสื่อให้ผู้อื่นก็ไม่สำเร็จ เพราะมันก็จะเป็น อย่างคุณเก่า นั่นแหละ คุณก็ไม่ได้มีศิลปะชิ้นใหม่ มีแต่ศิลปะชิ้นเก่า แล้วศิลปะชิ้นของคุณ มันให้ความเจริญ ให้ความรู้ ให้ความสุขเขาหรือเปล่า เปล่า ให้แต่ความซวย ให้แต่ความเสื่อม แล้วศิลปะชิ้นนี้ จะมาใช้ทำไมเล่า มันไม่มีศิลปะอันอุดมแล้ว ไม่ใช่ศิลปะ ไม่ใช่มงคล อันอุดมแล้ว มันไม่มีศิลปะ มันเป็นงานก้อนขี้หมา สรุปด้วยภาษาง่ายๆ ในตัวเรานี่แหละ เรียกว่า ก้อนขี้หมา ที่จะออกลีลา กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม อะไรออกไปก็แล้วแต่ มันก็ไม่เข้าท่า

เพราะฉะนั้น เราจะต้องสำรวม ในภาษาของพระพุทธเจ้านี่ สำรวมก็คือ ระมัดระวัง สังวรตนเอง ที่จะแสดง กายกรรมออกไปอย่างไร แสดงวจีกรรมออกไปอย่างไร มาจากจิตวิญญาณมโน มโนของเรานี่ เป็นตัวประธาน เมื่อมโนเป็นประธาน มีทั้งรู้ มีทั้งปัญญา และมีทั้งแรงของเจโต มันก็จะเป็นแรงที่ จะให้กายเป็นอย่างนี้ ให้วจีเป็นอย่างนี้ บางคนรู้ มีปัญญารู้ว่า คนพูด อย่างนี้ แต่เจโตมันไม่มีพอ มันพูดไม่ออกหรอก มันพูดไม่ออก

เพราะฉะนั้น ผู้ใดมีเจโตแต่ไม่มีปัญญา มันก็ออกมาแต่อย่างที่มันออกมา ตามแรงที่มันมี นั่นแหละ แล้วมันเป็นอย่างไร มันไม่มีปัญญา มันก็ชุ่ยออกมาเรื่อยๆไป เพราะฉะนั้น เราต้องมี ทั้งปัญญาและเจโต เข้าไปกำกับเสมอ แล้วเราก็จะส่งกายกรรม ส่งวจีกรรมออกมา ตามจิตวิญญาณ ที่มีเจโตและปัญญาที่เราเจริญ เจริญเท่าไหร่ แล้วเรามีสติสัมปชัญญะ มีการฝึกปรือว่า เราจะสื่อกายกรรม วจีกรรม ออกมาอย่างไร เป็นประโยชน์ตนประโยชน์ท่าน เราก็ไม่เสีย ผู้รับก็ได้ประโยชน์ ได้คุณค่า เพราะฉะนั้น มรรคองค์ ๘ นี่ จะฝึกตัวเราให้เจริญ แล้วก็ฝึก ฝึกแล้วก็ทำให้ผู้อื่นได้รับประกอบ เป็นส่วนดีขึ้นไปเสมอเลย จนกระทั่ง ไปสร้างสรร ไปทำอะไรต่ออะไร มีความเป็นอยู่ มีอาชีพ มีอาชีพ มีสัมมาอาชีวะ อาตมาก็พูดมาตั้งปีนี้ มาตลอดว่า ปีนี้เป็นปีที่อาชีพเราเกิดมาก อาชีพเราเกิดมาก แล้วพวกเราก็เริ่มเข้าใจคำว่า อาชีพกันขึ้น แต่ก่อนพวกเราเคยเข้าใจศาสนาว่า ปฏิบัติธรรมคือหยุดอาชีพ หนักเข้าก็หยุดพูด หยุดทำอะไรทั้งนั้นแหละ นั่งมันเฉยเลย เหมือนอย่างกับ ดร.แกรนท์พูดเมื่อวานนี้ ว่าต่อไป สมถะก็หนัก นั่งเอาแต่หลับตา เข้าใจอย่างนั้นมาเป็นส่วนมากเลย ศาสนาพุทธก็ว่าอย่างนั้น ในเมืองไทยนี่แหละ ศาสนาพุทาธในเมืองไทย ปฏิบัติธรรมก็คือมานั่งสมาธิ มาหยุด งานการ ก็เสียหมด มันไม่เป็นสัมมาอาชีพไปได้ แล้วมันก็ไม่มีสัมมาอาชีพได้ไง เอา ยกตัวอย่างง่ายๆ เมืองไทย เจริญด้วยศาสนาพุทธ ว่าอย่างนั้นนะ ศาสนาพุทธเป็นอย่างไร ศาสนาพุทธเคร่งสมาธิ ว่าอย่างนั้นน่ะ สมาธิเป็นอย่างไรก็นั่งหลับตาน่ะซี ตกลงเมืองไทยก็นั่งหลับตากัน ไม่ต้องเอา ถึงหมดเมืองหรอก เอาแค่ครึ่งเดียวเท่านั้นแหละ เอ้า คนทำงานก็ครึ่งหนึ่ง ไอ้คนนั่งหลับตาไป ก็ครึ่งหนึ่ง ก็ต้องเลี้ยงไว้น่ะนา ใช่ไหม คนปฏิบัติธรรม ก็ต้องเลี้ยงไว้ใช่ไหม คนที่ทำงาน ก็ครึ่งเมือง ครึ่งประเทศ คนที่นั่งหลับตาเป็นนักธรรมะทั้งนั้นแหละ แต่ครึ่งประเทศนะ รอดไหมล่ะ อยู่รอดไหมล่ะ แกลบก็ไม่มีกิน กินขี้ดิน แกลบก็ไม่มีให้กิน อย่าว่าแต่กินแกลบเลย ไอ้ข้าวน่ะ ไม่ต้องพูดนะ ข้าวไม่ต้องพูดหรอก เพราะไม่มีข้าว ก็ไม่มีแกลบให้กินแล้ว กินขี้ดิน เพราะขี้จะกิน ก็คงไม่มีให้กินเหมือนกันแหละ เพราะมันจะน้อย ไม่มีอะไรกินเข้าไปในท้อง มันจะไปมีขี้ได้ไง อดตายกันพอดี อดตายกันพอดี ไปไม่รอดหรอก นี่สมมุติให้ฟังง่ายๆ ซึ่งจริงๆ มันก็คงไม่เป็นไป ถึงขั้นนั้นหรอกนะ

เพราะฉะนั้น การปฏิบัติธรรม มรรคองค์ ๘ ของพระพุทธเจ้านี่ต้องมี สัมมาอาชีพ นี่เป็นตัว ที่จะต้อง ทำความเข้าใจใหม่ในศาสนาพุทธเลย แล้วสัมมาอาชีพ มันเป็นอย่างไร อาตมา พยายาม ที่จะอธิบายหรือว่าพยายามที่จะให้พวกเราประกอบกรรม เป็นอาชีพอย่าง บุญนิยม เป็นอาชีพอย่างบุญนิยม เป็นอาชีพที่เป็นบุญ เป็นอาชีพที่หนึ่ง บุญ แปลว่าชำระกิเลส บุญมาจากปุญของภาษาบาลีนี่น่ะ แปลว่าชำระกิเลส ในความหมายนั้นตรงสำหรับ ประโยชน์ตน บุญนั้นแปลว่าให้ผู้อื่น ทาน บุญนั้นแปลว่าเสียสละ จะเกื้อกูลผู้อื่น พวกเราก็เข้าใจ ใช่ไหม บุญก็คือทำบุญ ก็คือได้ช่วยเหลือเฟือฟายผู้อื่น ได้เกื้อกูลผู้อื่น ได้ให้ ได้เสียสละ บุญนี่ความหมายก็คือ ละความโลภของตัวเอง และให้ผู้อื่นเขาช่วยละความโลภของตัวเอง ให้บริสุทธิ์ใจที่สุด

เพราะฉะนั้น บุญในนัยประโยชน์ตนก็คือชำระกิเลสของตน ในนัย ประโยชน์ท่านก็คือ ผู้อื่น ได้รับประโยชน์จากเรา ที่ได้เกื้อกูลไป จากที่เราได้เสียสละ ได้ให้ นี่เป็นประโยชน์ อันตรงเดียว หนึ่งเลย หนึ่งเดียวเป็นหนึ่งเดียว รวมเป็นหนึ่งเดียว ประโยชน์และท่าน เป็นหนึ่งเดียว อยู่อย่างนี้ นี่คือบุญนิยมก็คืออย่างนี้ อาตมาจึงพยายามพาคุณทำงาน ให้เสียสละ เราทำตลาดอริยะ หรือ ตลาดอารยะ ตลาดทวนกระแส ตลาดบุญ ให้มาทำบุญ เพราะฉะนั้น คนที่จะมาขาย เราจึงพยายามให้พวกเรานี่แหละขาย เราจะไปให้คนอื่น มาขายได้อย่างไร บังคับเขาก็ยาก จะต้องสัมพันธ์กันบ้าง เพราะฉะนั้น คนที่อยู่ข้างๆ พวกนี้เขาก็ไม่เอากับเราหรอก ไม่ใช่นักบุญ เขาก็มาขาย ก็จะต้องเอาเปรียบ กำไร กำไรภาษา โลกน่ะนะ ได้เปรียบได้เงินมามากเท่าไหร่ เขาก็จะเอา เขาไม่หยุดยั้งหรอก แบบทุนนิยม แบบโลกๆ แต่ของเราจะพยายามทำอาชีพ ให้เขาเห็น ให้เป็นจริงให้ได้ว่า ปีหนึ่งๆ เรามีการมาเสียสละกันอย่างนี้ ที่พูดกันมาแต่ต้นแล้ว เราก็ทำมาหลายปีแล้ว ตลาดอริยะ คนที่เขาใจดีก็ตั้งใจทำ มีตัวร้านค้าหลักๆอยู่หลายร้าน แล้วก็พวกเราเอง บางร้าน แม้ปีนึ้ ก็ยังมีสอดไส้ แฝงซ่อน ไปซื้อของโละๆเละๆ อะไรมาก็ไม่รู้ มาขาย แล้วซึ่งไม่น่าจะขาย ในราคาอย่างนั้นด้วย บางอย่าง อาตมาเห็นแล้วบางราย ของพวกเราเอง ก็เอามา ซื้อมา เป็นหลักฐาน ให้อาตมาดูน่ะ ทำไมพวกเรากระไร ถึงเป็น ถึงปานฉะนั้น ของนี้ให้ อาตมายังคิดดูก่อนว่าจะเอาไม่เอา พุทโธ่ ของมันเก่าแล้วน่ะ แล้วของ ก็ไม่ได้ความอะไรหรอก แล้วยังมาขายได้ ๑๐ บาท ๒๐ บาท ๓๐ บาท ให้ฟรียังต้องคิดเลย ไปให้ร้านทึ่ง ยังต้องขายบาทหนึ่ง ออกหรือเปล่ายังไม่รู้เลย แล้วก็เอามาวางขายกัน ไปเทมา จากไหนก็ไม่รู้ ที่นี่ไม่ได้มาเป็นที่ ที่โละของเก่านะ ตลาดอริยะนี่ ขอบอกเป้าหมายหลักซะ ไม่ใช่นะ ไม่ใช่ที่โละของรุสต๊อค โละของเก่า พวกนี้มันจะแฝงอยู่เหมือนกัน พอบอกว่า ขายต่ำกว่าทุน เออ เราก็เอาของที่เรา ผู้มีประกอบ ร้านค้า ทำตัดเสื้อ ตัดผ้าบ้าง หรือ ประกอบ ไอ้โน้นบ้าง ฮึ ของพวกเรามันมีตำหนิ นะ ของมันโละไม่ออก เอามาเถอะ มันก็ขายโละกัน ขนาดนี้ก็คงขายคืนยาก มันต่ำกว่านี่หน่อย ก็ช่างมันเถอะ ได้โละของ ไอ้อย่างนี้ มันก็ยัง ไม่ตรงเป้าเท่าไหร่ เอาของดีๆเลย คุณมีเพชร ราคาล้านหนึ่ง มาขายห้าสลึง มา ของที่นี่ ไม่มีตำหนิเท่าไหร่ยิ่งดีน่ะ เราต้องการให้มันชัด อย่างนี้จะๆ ของดีราคาต่ำกว่าทุน เสียสละ อย่างบริสุทธิ์ใจ มันยิ่งได้บุญมาก บุญหนักด้วย มันคือ การกล้าชำระกิเลส เรากล้าเสียไหมเล่า ไอ้คนกล้าเสียนี่แหละ คือคนได้บุญ กล้าสละ นี่แหละ คนได้บุญ อาตมาพูดผิดไหม ถูกมากหรือ มากที่สุดหรือยัง ถูกมากที่สุด เถียงไม่ได้หรอก มันเป็นเรื่องจริง แต่กิเลสของเรามันพราง มันต้าน มันนั่นแหละ มันเล่นท่า เล่นที พูดอย่างนี้รู้นะ อาตมารู้นะว่าใครที่ทำนี่โดนนะ เจ็บ ที่ทำนี่ มางานนี้ก็ตาม หรือทำมา งานก่อนก็ตาม เจ็บ ก็มาทำทำไม อาตมาสอนหรือ ให้ทำอย่างนั้น

นี่เป็นอาชีพนะ อาตมาจะทำอาชีพ จะสอนอาชีพพาณิชย์ พวกเราหลายนัย การพาณิชย์ หลายนัย การพาณิชย์ระดับที่มาขายต่ำกว่าทุน นี่เป็นเป้าหมายหลักที่สุด ซึ่งอาตมา พยายาม ให้พวกเราทำอยู่ว่า ผลิตด้วย แล้วก็ทำไปขายนี่แหละ แล้วเราทำก็ไปขายต่ำกว่าทุนได้นี่ มันจะมีวิธีการ แม้แต่จะมีกองบุญนิยม ที่จะให้พวกเราได้บริจาคเข้ามา แล้วก็เป็นเงินกองบุญ ที่จะหนุนกิจการนี้ ซึ่งเป็นวิธีการ ของบุญนิยม ในการพาณิชย์ก็ตาม การสร้างสรรอะไรก็ตาม การสร้างสรรให้ สร้างโดยตรงอย่างวัดวานี้นา เรี่ยไรเงินหรือเอาเงินมาสร้างโดยตรงเลย เสร็จแล้ว ก็ผลประโยชน์ที่พวกเราจะมารับประโยชน์ได้ เอามาสร้างศาลา เอามาสร้างอะไร ต่ออะไรนี้ขึ้นมา มันก็จะได้ นี่มันก็โดยตรงโดยเห็นได้นะ แล้วพวกนี้ การสร้างพวกนี้ ก็เข้าใจกันอยู่ ที่อื่นๆเขาก็เรี่ยไรกันจัด เราก็ไม่เรี่ยไรกัน แล้วเราก็ไม่เอาเงินคนนอกอะไรกัน เงินคนนอกไม่เอาน่ะ แต่ตอนนี้มันมีอยู่ พวกเรานี่ทำแล้วก็ไปรับของข้างนอก คนนอกเสริมๆ ซ้อนๆอยู่ แต่อาตมาถือว่า มันเป็นส่วนบุคคลออกไปนอกวัด

อ่านต่อหน้าถัดไป