การฟังธรรม เป็นการย้ำทวน

เมื่อวันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๓๕
โดย พ่อท่าน สมณะโพธิรักษ์


การฟังธรรม ก็เป็นการย้ำ เป็นการทวน การย้ำ การทวน ในสิ่งที่จะย้ำจะทวนนั้น เป็นสิ่งที่แก้ ความไม่เที่ยง ธรรมดาอะไรๆ มันก็เป็นของไม่เที่ยง อะไรๆก็เป็นอนิจจัง เพราะฉะนั้น สิ่งใด ที่เราต้องการที่จะให้เกิดผลดี และก็จะต้องได้อาศัย เพราะว่าในชีวิตของคนนี้ ซึ่งยังมีรูปนาม ขันธ์ ๕ จะต้องมีเครื่องอาศัย จะต้องมีพิธีกรรมอาศัย เป็นพิธีกรรมที่ดี ซึ่งจะเกิดประโยชน์ที่จะ เกิดคุณค่า ในการมีพิธีกรรมนั้นๆ

จะต้องมีกิจกรรมที่จะอาศัย เป็นกิจกรรมที่ดีหรือเป็นกิจการที่ดี เป็นงานที่มนุษย์จะต้องทำ เพราะว่า มนุษย์จะต้องมีงาน มนุษย์ไม่มีงานไม่ได้ จนกระทั่งที่สุด จะต้องมีพฤติกรรม ต้องเป็น พฤติกรรมที่ดี เป็นเครื่องเป็นอยู่ เป็นเครื่องอาศัยอยู่ เป็นไป แล้วเราจะมีกายกรรมออกไป อย่างไรดี เราก็ต้องคอยระมัดระวัง อบรมรู้ตัว กระทำบทบาทลีลานั้น ท่าทางนั้น เป็นกายกรรม ที่ดี ฝึกให้ย้ำ ให้ซ้ำให้ทวน อบรมตนให้เป็นอย่างนั้นๆ ไล่ไปเรื่อยๆ แก้ไปเรื่อยๆ ต้องแก้ไข ต้องปรับปรุง ต้องทำ อันไหนดีแล้ว ก็ย้ำอยู่ ทำอยู่ จนกระทั่งเป็นอัตโนมัติ ให้มันมีท่าที ให้มันมีลีลานั้น ท่าทีนั้น บทอิริยาบถนั้น พฤติกรรมอย่างนั้น ให้มันเป็นอยู่ ทรงอยู่อย่างดี ไปนาน เท่านาน จนกว่าเราจะมีเป็นอัตโนมัติ ไม่ต้องไปประคอง ไม่ต้องไปพยายาม ไม่ต้องระมัดระวัง มันก็เกิด ก็เป็นอยู่ในตัวเราเองได้เลย เรียกว่า เป็นอัตโนมัติเลย เป็นเอง เป็นตถตา มันเป็น เช่นนั้นๆ เองได้เลย เป็นเช่นนั้นอยู่ มันเกิดเป็นธรรมดาสามัญ เราต้องย้ำ ต้องทวนอย่างนี้ เพราะฉะนั้น พฤติกรรมของเรา ไม่ว่ากายกรรมก็ตาม วจีกรรมก็ตามที่เราเอง เราเคยไปทำ ที่มันไม่ดี เราก็ต้องมาเรียนรู้ว่า พฤติกรรมเป็นกายก็ดี ทางวจีกรรมก็ดี เราก็แก้ไขปรับปรุง จนกระทั่ง เป็นอยู่ เราเรียกอีกภาษาหนึ่งว่า วาสนา วาสนานี่ แปลว่า เป็นอยู่ หรือที่อยู่ วาสนานี่ เราเรียกว่า วาสนา เพราะฉะนั้น ถ้าเราไม่แก้ ถ้าเราไม่อบรม จนกระทั่ง มันเป็นอยู่เอง มันอยู่อย่างนั้นแหละ เกิดอย่างนั้น ดำเนินไปอย่างนั้น เพราะเราจะต้องมีอิริยาบถ เป็นคน จะต้องมีอิริยา มีพฤติ มีบทบาทการอยู่ทั้งกายกรรม ทั้งวจีกรรม มันต้องมีจริงๆ ซึ่งฝึกได้ ก็เกิดจาก จิตวิญญาณ เราจะต้องเข้าใจ เห็นว่ามันดี เราจึงอบรมตัว พยายามประคองตัว ให้มีกิริยา อิริยา ให้มี อย่างที่เรามุ่งหมาย ไม่ว่าจะยืน จะเดิน จะนั่ง จะนอน จะเอี้ยวแขน จะไกวขา จะมีพฤติใดๆ จะมีอิริยาหรือกิริยานี่ จะมีกิริยาอย่างไร เราก็จะต้องมีสติ มีจิตมีใจ ที่จะต้องเป็นตัวประธาน และก็กำหนด มีอิริยานั้น ให้มีพฤตินั้นๆออกไป ทำซ้ำ ทำทวน ทำจริงๆ ซ้ำทวนเป็นชาติๆ

จะแก้วาสนา บางทีนี่วาสนาของคนที่มันติด ที่มันแก้ไขได้ยาก มันเป็นมา ไม่รู้ว่า กี่ร้อย กี่พันชาติ กว่าจะแก้ได้ กว่าจะเปลี่ยนแปลงได้นี่ มันหลายชาติๆด้วย เพราะฉะนั้น การทำซ้ำ ทำทวน ทำย้ำ ทำเสมอๆ ต้องมีสติแก้ไข ต้องทำให้ได้อย่างนั้นๆ จึงเป็น การประพฤติ ปฏิบัติโดยแท้เลย เป็นการปฏิบัติโดยแท้ ต้องทำให้มาก พระพุทธเจ้า ท่านตรัส ใช้คำว่า พหุลีกัมมัง อันใดที่เรา เห็นแจ้งด้วยทิฐิ ความเข้าใจด้วยปัญญาที่ดีแล้ว ว่ามันดีแล้วละ ว่าเราจะต้อง ทำอิริยาอย่างนี้ ให้มีกิริยาอย่างนี้ ให้มีบทบาทอย่างนี้ อย่างนี้อย่างใด เราเห็นด้วยปัญญาของเราว่า ดีแล้ว เราจะต้องให้เป็นอย่างนี้ เราก็ต้องทำให้มาก ซ้ำซาก ยังไง ก็ต้องทำว่า พหุลีกัมมัง ทำซ้ำทำซาก ทำย้ำ ทำให้ได้โดยกฎนั้น พฤตินั่น กายกรรมนั้น วจีกรรมนั้น ทำจริงๆนะ

แม้แต่การงาน แม้แต่พฤติกรรมเท่านั้น กิจกรรมก็เหมือนกัน การงาน ทำไมเราต้องทำซ้ำทำซาก ในเรื่องการงาน ทำไมถึงต้องทำซ้ำทำทวน เพราะว่า สิ่งใดที่เป็นเนื้อหาสาระ จะเป็นการงาน ก็ตาม จะเป็นผลงาน ในด้านไหนๆ ยิ่งผลงาน ที่มันมีความละเอียด ลึกซึ้ง เป็นผลงานที่มี ความประณีต เราจำเป็นที่เราจะต้องทวน ตรวจแล้ว ตรวจเล่า แล้วก็จะพบข้อบกพร่อง จะพบ ข้อที่ยังไม่สมบูรณ์ จะเห็นส่วนที่จะต้องได้ปรับปรุง แก้ไขขึ้นไปดีๆ ให้ดี

คนที่มีนิสัย ที่ทวน ที่ย้ำ ที่ทวนแล้วก็พินิจพิจารณาตรวจสอบ คนนั้นจะมีสิ่งที่ถึงที่สุดได้ คนไหน ที่ไม่มีนิสัยย้ำ ไม่มีนิสัยทวน ไม่มีนิสัยตรวจสอบ คนนั้นจะได้ ในแนวระนาบ จะได้ในแนวกว้าง จะได้ในแนวหยาบ หยาบๆ ใหญ่ๆ ไป แล้วก็ไม่มีวันที่จะถึงที่สุด ที่เป็นแนวดิ่ง แนวลึก แนวสูง สลับซับซ้อน ที่เรียกว่า สูงสลับซับซ้อน หมายความว่า มันจะเจริญขึ้นๆ อย่างชนิดที่เราเดาไม่ได้ มันมีเหลี่ยม มีลับ มีซับมีซ้อนนะ เหมือนเงาซ้อนเงา นี่นะ เราต้องตรวจเงาซ้อนเงา มันถึงจะ ลึกซึ้ง เป็นกระจกเงาซ้อนกระจกเงา จะมีเงาซ้อนกระจกเงา ลึกๆ ไกลไปได้ เราจะต้องเห็น อย่างกระจกเงา ซ้อนกระจกเงา เพราะเราได้ตรวจเงาที่ซ้อนเงา เราตรวจเงาซ้อนเงา ก็จะ ซ้อนเงาลึกๆ ลับๆ เสร็จแล้วเราจะไม่รู้ว่า มีเงาที่อยู่ในเงาอีก ถ้าเผื่อว่าเราไม่ตรวจ ถ้าเราตรวจ เราจะเห็นเงาซ้อนอยู่ในเงา แล้วเราจะเกิดปัญญาญาณ เหมือนกระจกเงาที่ฉายแสงซ้อน ภาพซ้อนภาพ จะลึกจะซ้อนไปไกล และยิ่งกระจก นั่นได้ทำยิ่งได้ขัด ยิ่งได้กระทำให้ดี มันก็ยิ่งจะเป็นกระจก ที่ฉายแสงได้ซ้อนลึกๆๆๆ ไปไกล และเป็นภาพที่ชัด ที่ไม่แปร ไม่เปลี่ยน เป็นภาพที่ไม่เบี้ยว ไม่พราง ไม่ลวง จะเป็นภาพที่คม ที่ชัด ที่ไกล ที่ลึก

เพราะว่าในรายละเอียดของความสูงลึก ความสูงสุด สูงลึก สูงลับนี่ มันเป็นความละเอียด มันเป็นความประณีต ชนิดที่เราเดา ยิ่งเป็นนามธรรมแล้ว จะเดาเอาอย่างตื้นๆ ที่คนตื้นๆ ชอบเดาไม่ได้ เพราะว่าการซับซ้อน มีปฏินิสสัคคะ สลับไปสลับมา ปฏินิสสัคคะนี่ สลับไป สลับมา มันไม่ได้สลับที่ได้ง่ายๆ เหมือนรูปธรรมตื้นๆ ในเรื่องของนามธรรม นี่ สลับซับซ้อน จนกระทั่ง เหมือนกับถูกย้อนกันเหมือนกะอย่าง ตรงกันข้ามกัน ด้วยภาษาสมมุติในโลก เหมือนกับ หลายครั้งหลายครา ที่อาตมาอธิบายปฏินิสสัคคะ ความย้อนกลับ การย้อนคืน และ มันมีสภาวะนามธรรม ที่ใช้ภาษามาย้อนกันแล้ว ใช้ภาษาว่าไม่ แต่ว่ามี เป็นแต่ว่าไม่เป็น อะไรอย่างนี้ เป็นต้น มีอยู่ แต่ว่าไม่มีอยู่ เป็นอยู่ แต่ว่าไม่เป็นอยู่ อะไรอย่างนี้ ที่เคยพูด เคยอธิบาย สภาวธรรมลึกๆๆซึ้งๆ ขึ้นไป ภาษามันไม่มีพูดแล้ว พูดยังไง ฟังแล้ว เหมือนพูด กลับไป กลับมา พูดเหมือนไม่มีตัวแล้ว แต่ว่าผู้ที่มีสภาวะรองรับแล้ว จะรู้สึกว่า มีสภาวะนั้น มีตัว มีสภาพที่ตัวเราเอง มีสภาพที่หยั่งถึงได้ รู้ได้

เพราะฉะนั้น ในสภาวะที่เป็นนามธรรมของกิเลสก็ดี ของกิเลสนั่นแหละ เมื่อกิเลสที่ลึกซึ้งขึ้นไป จนถึงอนุสัยกิเลส เราจะต้องทบทวน เราจะต้องทำ ทำย้ำ ทำซ้ำ ทำทวน จะเป็นงานที่จะแสดง ออกก็ตาม เป็นงานพูด เป็นงานกระทำท่าทางท่าที ลีลากายกรรม วจีกรรม เป็นงานที่ประกอบ กับงานที่เป็น การผลิต การสร้าง การกระทำใดๆก็ตาม ถ้าเราตรวจสอบทบทวน ดูแล ต้องอาศัย เวลาด้วย บางทีเวลาจะทำให้มันเปลี่ยนแปลงไป เวลามันจะมีองค์ประกอบอื่นๆเข้าไป กระทำสิ่งนั้น ให้เปลี่ยนแปลง มันยิ่งเป็นรูปธรรม วัตถุธรรม ยิ่งเห็นชัด มันเปลี่ยนแปลงได้ง่าย มันไม่เที่ยง เพราะฉะนั้น บางอย่าง บางอัน จะทนทาน เปลี่ยนแปลงได้ยาก ถ้าเราปล่อยปละ ละเลย เราก็จะแน่ใจว่าเป็นไปได้ แล้วในเวลาเท่านั้น ความจริงแล้ว เวลาได้เลยไปจากนั่นอีก มันก็จะเปลี่ยนแปลงได้ หรือมันจะต้องไปทำปฏิกิริยากับอย่างอื่น ที่เราไม่รู้ด้วยสิ่งที่ละเอียด ลึกซึ้ง ปฏิกิริยาขององค์ประกอบของมันที่มันทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เราไม่รู้ได้ง่าย เพราะฉะนั้น อย่าประมาทในการทบทวน ในการย้ำ ในการซ้ำ ในการกระทำอะไร ย้อนย้ำ อีกทีหนึ่ง คนเราส่วนมาก ถ้าไม่เข้าใจ หรือว่าไม่เห็นไม่รู้ในความเปลี่ยนแปลง อนิจจัง ... พวกนี้จะประมาท แต่ส่วนมากจะประมาทนะ คิดว่า มันได้แล้ว คิดว่ามันดีแล้ว คิดว่า มันสมบูรณ์แล้ว เร็วไป เพราะฉะนั้น เราจะต้องทบทวนตรวจไปแล้วๆ เล่าๆ

จริงๆแล้ว มันต้องชวนกันตรวจตรา แล้วทบทวนกันเป็นชาติๆ ถ้าว่ากันถึงขั้นปรมัตถสัจจะ แล้ว ตรวจกันเป็นชาติๆ เลย ต้องทดต้องสอบอยู่ในตัวในที เพราะฉะนั้น ผู้ใดที่มี การขวนขวายๆ นี่คือ เวยยาวัจจมัย มีการขวนขวาย มีการอุตสาหะ ไม่แช่ไม่นิ่ง

ลักษณะที่หยุด ที่นิ่งแบบฤาษีนี่นะ เป็นการซ้ำย้ำๆอะไรย้ำย้ำหยุดหยุด ที่ไม่มีกิริยา ที่ไม่มีพฤติ ไม่มีความสัมผัส แตะต้อง มันหยุดง่าย และมันก็เบาง่าย เป็นตัวกลับกันกับพุทธ เป็นแบบฤาษี มันจะหยุดๆ ในโลกของคนโลกีย์นี่ หยุดไม่เป็น

พื้นฐานแรก เขาจึงมาให้หยุด เขาก็เลยหยุดย้ำซ้ำทวนๆๆ ในชนิดของแบบนั้น แบบหยุดนั้น เลยเป็นสภาพเดียว สภาพตื้น กว้าง ไกล แล้วเขาก็ติดหยุด โดยที่เรียกว่า ไม่ทวน ว่าหยุดจริงๆ นั่นน่ะ มันไม่ได้หยุดกิเลส มันหยุดอิริยาบถ หยุดกายกรรม วจีกรรม หยุดมโนกรรม ซึ่งเป็น ระนาบเดียว หยุดกาย วาจา ใจ จบ หยุดระนาบเดียว ไม่ได้ซับซ้อน ไม่ได้ลึกซึ้งอะไรเลย ตื้นอยู่ตรงนั้นแหละ แล้วง่าย ใครก็รู้ง่าย พูดเมื่อไหร่ก็ง่าย สิ่งที่ง่ายๆ พวกนี้ สอนกันไป อีกกี่ร้อย กี่พัน กี่หมื่น กี่แสน กี่ล้านชาติก็ง่าย มันจะง่ายอยู่อย่างนั้น ตลอดกาลนาน ง่าย แล้วก็ง่ายๆ ไม่สลับซับซ้อน ไม่ลึกซึ้งอะไรเลย ไม่ทวนกระแส ไม่ย้อนออกมาเลย จึงเป็นการหยุดที่โด่เด่ เท่านั้นเอง

ส่วนของพระพุทธเจ้านั้น เป็นการหยุดที่ไม่หยุด เห็นไหมซับซ้อนขึ้นมาแล้ว เป็นการหยุดที่ยิ่งวิ่ง ไม่มีภาษาแล้วนะ เป็นการหยุดที่ยิ่งคล่องแคล่ว เป็นการเย็นที่จะเรียกว่า ยิ่งร้อนก็ได้ เป็นการเย็น ที่ยิ่งร้อน เป็นโลกุตระ หรือเป็นความอยู่เหนือโลกียะ เป็นโลกียะยิ่งกว่าโลกียะ คำว่า "ยิ่ง" นี่ เป็นความสูงลึก สูงลับ คนธรรมดาไม่เห็น คนธรรมดาไม่แจ้ง คนธรรมดารู้ไม่ได้ เพราะเป็น ความสูงลับ เป็นความสูงลึก สูงอะไร จิตสูง จิตลึกซึ้ง จิตไปไกล คนธรรมดาจะอ่านไม่ออก มองไม่ออก ยิ่งเร็วได้ก็ยิ่งเย็นได้ ยิ่งคล่องตัวได้เท่าไหร่ ยิ่งสนิทเนียน ยิ่งสงบ ยิ่งมั่นคง ยิ่งแข็งแรง เท่านั้น และเป็นเครื่องพิสูจน์ด้วย พิสูจน์เพราะว่า ยิ่งโยกยิ่งคลอนๆ อย่างเร็ว อย่างแรงเท่าไหร่ มันยิ่งไม่โยกไม่คลอน นั่นแสดงว่า มันแน่นอน มันมั่นคง ฟังภาษาดู ไปตามที่อาตมาพูดนี่ก็ได้

เพราะฉะนั้น การฝึกปรือในการที่จะต้องมาสัมผัสแตะต้อง จะต้องมีอิริยาบถมากขึ้น จึงเป็น การแก้กลับ อย่างฤาษี ตรงกันข้าม คนละเรื่องกันเลย แก้กลับกันไปคนละเรื่องกันเลย เสร็จแล้ว เราก็จะติดอยู่แค่ คนเราที่ติด ที่ประมาทนี่ จะไม่ได้แค่นั้นก็สบาย ได้ระนาบเดียว เขาก็สบาย ฤาษี หยุดกาย วาจา ใจ หยุดเท่านั้นนะ เขาก็หยุดจริงๆเลย มีหยุดในมันโดยทิศเดียว ไม่ได้ทวน ย้อนอะไรเลย คำว่าทวนนี่ หมายความว่า กลับด้วยนะ ย้ำกลับไปกลับมาด้วย ย้ำการกลับไป กลับไปกลับมา ไม่ใช่ว่าย้ำแช่เดี่ยวๆ ดิ่งๆ เป็นฤาษี เป็นเอกังสวาที เป็นลักษณะ หนึ่งทิศทาง ไม่มีการรู้รอบอะไร รู้เที่ยวปักเดียวอันเดียว ถ้าอย่างนั้นแล้ว ก็ไม่ลึก ไม่รู้โลก ครบรอบ ไม่มีโลกวิทู ไม่มีพหูสูต ไม่ครบ เป็นโลกแบนๆ เป็นโลกทิศเดียว เป็นโลกตื้นๆ แล้วง่ายๆ บอกแล้วว่าง่าย สอนเมื่อไหร่ก็ง่าย สอนไปอีกกี่ยุค กี่ปางก็ง่าย และคนก็รู้ง่าย ติดง่าย ทำง่ายด้วยๆ ทำได้ แต่ของ พระพุทธเจ้านี่ทำยาก ยิ่งลึก ยิ่งยาก ยิ่งลึกซับซ้อนๆ ยิ่งยาก และยิ่งยาก นี่แหละ ยิ่งเข้าถึง ยิ่งทำได้ ยิ่งวิเศษ ยิ่งพิสูจน์สัจจะอันนี้ โลกจะมีคุณประโยชน์ โลกจะได้รับการช่วยเหลือ ก็เพราะ คนที่ยิ่งแข็งแรง ก็บอกแล้วว่า ยิ่งแข็งแรง ก็ยิ่งคือยิ่งถูกโลกคลอนเท่าไหร่ ก็ยิ่งไม่เปลี่ยนแปลง ไม่สั่นสะเทือน ไม่หวั่นไหว

ผุฏฐัสสะ แปลว่า กระทบสัมผัส หรือผัสสะ นี่แหละ ผุสดี ผุสฐะ ผุสอะไรนี่ แปลว่าผัสสะ ต้องมีผัสสะ ผุฏฐัสสะ โลกะธัมเมหิ ต้องสัมผัสกับโลกธรรม โลกะธัมเม โลกธรรมนั่นแหละ ต้องสัมผัสกับโลกจริงเลย ต้องพยายาม ไม่พยายามมันไม่ออกหรอก มันก็จะทำตามที่เราชอบ มันไม่พยายามที่จะรู้ จะขวนขวาย มันไม่พยายามที่จะมีสัมมาวายามะ เพราะถ้าสัมมาทิฐิ ไม่สมบูรณ์ สัมมายาวามะก็ไม่สมบูรณ์ สัมมาทิฐิจะต้องรู้ว่า เราจะต้องพยายามทำซ้ำ ทำซ้อน ทำกลับ ทำย้ำ กลับไปกลับมาๆๆ ไม่ใช่แช่นิ่ง ถ้าแช่นิ่ง จะไม่ใช่ สภาพของศาสนาพุทธ ศาสนาพุทธ ไม่ใช่สภาพที่แช่นิ่ง การจบของพระพุทธเจ้า คือ การจบสมบูรณ์ ด้วยการรู้ สภาวะสองในโลก ผู้ที่ยังไม่ตายนี่เป็นสภาวะสองในโลก เป็นพระอรหันต์ก็ตาม จบอรหัตผล เป็นพระอรหันต์แล้ว ก็มีสองเสมอ มีสองอยู่ตามสมมุติ และ ปรมัตถ์ แต่ในสองนั้น มีตัวจบ คือ มีตัวที่สมบูรณ์ ในการไม่หวั่นไหว ไม่มีกิเลสนิพพาน หรือ ดับสงบ ดับสนิทนี่ จะไม่เกิดกิเลส รู้ตัวกิเลส ไม่เกิดจริงๆน่ะ เป็นตัวสมบูรณ์สุด แต่ยิ่งไม่เกิดกิเลส ยิ่งเป็นคนที่มีการเกิด มีการสร้าง เป็นพระเจ้า เป็นพระผู้สร้าง พระผู้ให้ เป็นผู้มีคุณค่าอยู่ในโลก เป็นผู้สร้างอย่างสำคัญ สร้างอย่างมีฝีมือ สร้างอย่างมีประสิทธิภาพ สร้างอย่างชำนาญ แคล่วคล่องเร็ว ยิ่งเร็วขึ้น ไม่ใช่ยิ่งช้า ยิ่งเฉื่อย ยิ่งเซื่อง ยิ่งไม่ได้เรื่อง

ยิ่งมีประสิทธิภาพมาก ยิ่งมีฝีมือมาก ยิ่งมีความสามารถมาก มีสมรรถภาพมาก มันจะเห็น กลับกันกับโลกเลย มันจะเห็นจริงๆเลยว่า ยิ่งหยุดยิ่งเก่ง ยิ่งหยุดยิ่งคล่อง นี่อาตมา ไม่มีภาษา ที่จะพูดแล้วนะ ฟังให้ดี ยิ่งหยุดยิ่งคล่อง ยิ่งหยุดยิ่งชำนาญ ยิ่งหยุดยิ่งจะมีสมรรถนะ มีความสามารถ อย่างเห็นเด่นชัดเลย เพราะฉะนั้น สูงสุดคืนสู่สามัญ ที่ว่านี้ ยิ่งเหมือนคนโลกๆ เลย แต่จิตยิ่งลึก บอกแล้ว มันยิ่งลึก มันยิ่งลับ บอกแล้วมันยิ่งซับ มันยิ่งซ้อน มันยิ่งสูงลึก มันยิ่งคนยิ่งไม่รู้จัก เพราะฉะนั้น คนจะรู้จัก พระอรหันต์นี่ยากมาก ของพระพุทธเจ้านี่ เพราะมัน ย้อนแย้งซับซ้อนกันมากมายเลย เราดูอรหันต์จี้กง แล้วเราจะประหลาดใจ พระอรหันต์จี้กง อะไรไม่เคยหยุดเลย ยังกับลิง ซึ่งจะเห็นว่า มันไม่ใช่เรื่องจริง ยังงี้นั่นแหละ จึงเข้าใจได้ยาก เพราะว่ายิ่งลึก ยิ่งซับซ้อน มันเป็นยังงั้น ถ้าเข้าใจสภาพ อัปปนา พยัปปนา เจตโส อภินิโรปนา, ตักกะ วิตักกะ สังกัปปะ อันนี้พูดแกนของจิตนะ แกนของสังกัปปะ แกนของการตริตรึกนึกคิด ไม่ใช่แกนของวาจา ไม่ใช่แกนของ กัมมันตะ แกนสังกัปปะ แกนจิต

จิตยิ่งตรึก ยิ่งตริ ยิ่งตรอง ยิ่งไตร่ ยิ่งพิจารณา ยิ่งลึกซึ้ง ยิ่งซ้ำ ยิ่งซ้อน ยิ่งทวนไป ทวนมา ก็ยิ่ง ละเอียดลออ ก็ยิ่งเร็ว ยิ่งคล่อง เป็นวจีสังขารา สังขารยิ่งเก่ง เป็นอิทธา พระพุทธเจ้า ถึงใช้คำว่า อิทธาภิสังขาร วิสังขารของพระพุทธเจ้า คืออิทธาภิสังขาร ถ้าไม่มีกิเลสแล้ว วินี่ ไม่ แต่สังขาร อย่างยิ่งนะ วิ สังขารไม่มีภาษาแล้ว วิ แปลว่าไม่ แปลว่ายิ่งก็ได้ สุดยอดเลย สุด ขั้วเหนือ แต่คนเข้าใจเป็นต่ำ ถ้าคนไม่เห็นแล้ว จะมองเป็นเรื่องต่ำ ในสภาพสองนี่ คนที่เห็นว่า ผู้นี้ต่ำสุด อาตมาไม่ตกใจ คนข้างนอก เขามองเห็นอาตมาว่า ยิ่งต่ำลงทุกวันๆ และอาตมา จะต้องเข้าใจ ตัวเองว่า เราสูงขึ้นทุกวันหรือไม่ ในสภาพที่คนเขามอง คนตื้นนี่มองไม่ออก แล้วจะเห็นว่า ต่ำลงทุกวันๆ แย่ลงทุกวัน แต่เราเอง เราดีขึ้นทุกวันหรือเปล่า โดยเฉพาะ การตรวจตรา ในจิตในใจของตนเอง จะรู้ว่า อัปปนา พยัปปนา ที่เป็นฐานของสมาธิ ฐานของ ฌาน อัปปนา แนบแน่น แน่วแน่ ปักมั่น และเรามีสังขารที่ดียิ่งขึ้นไหม อยู่เหนือสังขาร เราไม่มีสังขาร ก็คือ หมายความว่า กิเลส ก็เข้าไปปรุงในจิตใจ จึงเรียกว่า ไม่มีสังขาร ไม่มีกิเลส เข้าไปปรุงในจิตใจ แต่มีตัวที่เป็นความสามารถ เป็นความรู้ เป็นความวิจิตรของจิต ที่ปรุงได้เก่งเยี่ยม ทั้งรอบรู้ เป็นโลกวิทู เป็นพหูสูต

มีสัปปุริสธรรม ๗ ประการ รู้ชั้น รู้ธรรมะ รู้เหตุผล รู้ธัมมัญญุตา รู้เชิง รู้ชั้น รู้ซับ รู้ซ้อน รู้อัตถัญญุตา อัตถัญญุตาคือแก่นสารเนื้อแท้ สภาวะของมัชฌิมาต่างๆ ขององค์ประกอบต่างๆ ที่เป็นความสมบูรณ์ อัตถัญญุตา รู้จักตนเอง ประมาณตนเองฐานะตนเอง ว่าเราเอง จะทำอย่างนี้ ประมาณยังงี้ จะแรงจะเบาอะไรแค่ไหน จะทำได้มากได้น้อยแค่ไหน เขาศรัทธา เลื่อมใสเราแค่ไหน เราจะทำได้แค่ไหน จะรู้ตัวเอง อัตตัญญุตา มัตตัญญุตา ประมาณได้ถูก ได้แม่น ประมาณได้พอเหมาะพอดี ได้สัดส่วน ที่มีฤทธิ์มีแรงสูงสุด มีประโยชน์สูงสุด แล้วก็ จะรู้กาลเทศะ โอกาส ดูอัตตัญญุตา คือรู้ฐานะ รู้ฐานะตนเอง อัตตัญญุตา ปริสัญญุตา นี่คือ ฐานะของคน ของกลุ่มหมู่ ของที่ประชุมของสังคม ตั้งแต่เล็กน้อยไป จนกระทั่งถึงกว้างขวาง ยิ่งมีญาณปัญญามาก ยิ่งจะรู้ปริสัญญุตา วงสังคมที่กว้างออกไป ประเมินประมาณ คำนวณ มีความรู้จริงๆ มีสิ่งที่ลึก ยิ่งรู้ยิ่งลึก ยิ่งแหลม ยิ่งกว้าง ยิ่งไกล

อย่างพระพุทธเจ้า มีพระปัญญาคุณ ญาณทัสสนะวิเสส ที่กว้าง ที่ลึก ที่เกินที่เราจะคาดได้เลย หยั่งรู้ไปในที่ละเอียด ลึกซึ้ง ลึกลับๆ มันสูง ลับ หยั่งรู้ดิน ฟ้า อากาศ นี่ใช้ภาษานี่ฟังง่ายๆ จะเกินที่จะเชื่อถือได้ ก็เพราะว่า มันเป็นความจริงของเครื่องมือ ก็คือจิตวิญญาณ หยั่งรู้ได้ ไม่ใช่เดานะ มีเหตุผล มีเหตุปัจจัย มีธัมมัญญุตา มีรู้อะไรทุกๆอย่าง ธรรมะนี่ทุกสิ่งทุกอย่าง หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างได้มีเชิงชั้น มีเหตุ มีผล มีความเป็นจริงของมัน ไม่ใช่เรื่อง ท่านไม่ลับ พระพุทธเจ้า หรือ พระอริยเจ้า ที่ท่านมีอภิญญามากๆนี่ ท่านไม่ลึก ท่านไม่ลับ คนอื่นลึก คนอื่นลับ แต่ท่านยิ่งลึก ก็ยิ่งลึกของท่านนั่นแหละ แล้วท่านก็ยิ่งแจ้ง ก็ท่านยิ่งไม่พราง และท่าน ก็ยิ่งไม่มีการบัง ไม่มีการพราง มีแต่สิ่งที่จะยิ่งรู้ยิ่งแจ้ง ยิ่งชัดนะ ปริสัญญุตา

แม้แต่ปุคคลปโรปรัญญุตา รู้ในบุคคล รู้ฐานะของหมู่ กลุ่ม รู้ฐานะของบุคคล รู้เขารู้เรา อัตตัญญุตา รู้ตน รู้ฐานะของตน ปริสัญญุตา รู้ฐานะของสังคม ปุคคลปโรปรัญญุตา รู้ฐานะของแต่ละบุคคลได้มาก รู้ได้มาก ปุคคลปโรปรัญญุตา บุคคลอื่นต่างๆ มากมาย หลายๆอื่น ปุคคลปโรปรัญญุตา บางที ก็เรียกแค่ ปุคคลัญญุตา บุคคลรู้จักบุคคลเฉยๆ

แต่จริงๆแล้วมันปุคคลปโรปรัญญุตา คนอื่นๆ ใดๆ หลายอื่น เฉพาะแต่ละคนๆ แต่ค่ารวม ของกลุ่ม ก็เรียกว่า ปริสัญญุตา บริษัท รู้จริงๆ หยั่งรู้ เข้าใจลึก ได้ ประเมินประมาณค่า จะบวก ลบ คูณ หารอะไรออกมานี่ ตัวมัชฌิมา ตัวความพอเหมาะพอดีของกายกรรมก็ดี ของวจีกรรมก็ดี ของการกระทำอะไรๆ ก็แล้วแต่ ก็จะทำประมาณออกมาพอเหมาะ เพราะฉะนั้น วาจาก็ดี กัมมันตะก็ดี กระทำออกมาเหมาะหมด จากต้นทางของสังกัปปะ จากการ ตักกะ วิตักกะ สังกัปปะ สังขาร ปรุง ดำริ ไตร่ตรอง ตรวจตรา บวก ลบ คูณ หาร ยิ่งกว่า คอมพิวเตอร์ บวก ลบ คูณ หาร ทั้งได้เร็วได้แรง เร็ว แรง แค่เร็วมันก็รู้แล้วว่า มันเร็วมาก มันก็จะเหวี่ยงมากๆ

ถ้าเผื่อว่ามันนิ่งมาก ถ้าเผื่อว่ามันไม่มีอะไรซับซ้อน ไม่มีอะไรที่จะทำ ให้ผิดเส้นทาง ถ้าเส้นทาง ที่เรียบราบรื่น จะสนิท ฟังดูความหมาย แต่แค่เรานึกถึงสภาพวิ่ง ธรรมดานี่ ยิ่งเรียบราบเท่าไหร่ มันยิ่งสนิท ไม่มีขัดสี ไม่มีอะไรร้อน ไม่มีอะไรที่จะทำให้เกิดแกว่ง นั่นคือ ความแน่น อัปปนา พยัปปนา เจตโส อภินิโรปนา ความแน่วแน่ ความแนบแน่น ความปักมั่น ความแข็งแรง มันยิ่งเกิดจริง เพราะฉะนั้น ฐานอาศัยของตัวอัปปนา ที่เป็นเจโตอันไม่กลับกำเริบ อกุปปา เจโตวิมุติ ก็จะไม่กลับกำเริบ ด้วยความสามารถที่แข็งแกร่ง ที่มี อัปปนา พยัปปนา เจตโส อภินิโรปนา เพราะเราฝึกถูกทาง ฝึกสังกัปปะ ให้เป็นสัมมาสังกัปปะ ด้วยการเกิดองค์ธรรม ของตักกะ วิตักกะ ไม่ใช่หยุดคิด ไม่ใช่หยุดไตร่ตรอง ไม่ใช่หยุดสังขาร สังกัปปะนี่ คิดนึกดำริ คิดนึก เป็นคำเต็มนะ ตรินึกคิดไตร่ตรอง เสร็จแล้วออกมายิ่งไตร่ตรองได้เร็ว ยิ่งไตร่ตรองได้ลึก ได้แหลม ได้มาก ยิ่งมีเหตุปัจจัย เป็นองค์ประกอบขององค์ประชุมกาโยข้างนอกได้มาก ข้างในก็เข้าไป ลึกอีก มันจะได้ทั้งนอก มันจะได้ทั้งในๆ เมื่อปฏิบัติถูกของสัมมาอริยมรรค องค์ ๘ แล้ว มันจะมี เหตุปัจจัย เป็นตัวแบบฝึกหัดที่สมบูรณ์

ถ้าทำแบบฝึกหัดไม่สมบูรณ์ ไม่มีอิริยาบถ ไม่มีขวนขวาย ไม่มีการเข้าสู่บริษัท ไม่มีพหูสูต เสริมซ้อนเข้าจริงๆ มันก็ไม่มีศรัทธา ศรัทธาก็คือตัวดิ่ง ตัวปัก คือตัวแน่น ศรัทธา หรือ เจโตนี่ ส่วนปัญญา ก็คือตัววิ่ง คนเราจะมี ๒ ฐาน เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ นี่มันจะวิมุติที่สุด เพราะว่า ศรัทธามั่น เป็นอินทรีย์ เป็นสัทธินทรีย์ เป็นศรัทธาพละ และมีปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ เป็น ๒ ขั้วของอินทรีย์ ศรัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ ตัวเพียร ความเพียรจะเห็นชัดเด่นเลยว่า มีความเพียร ก็จะเห็น ยิ่งเจริญก็จะเห็นว่า คนนี้ขยัน คนนี้เพียร คนนี้มีบทบาทอิริยา คนนี้มีกิริยา คนนี้มีกรรมการงาน คนนี้กระทำ แม้แต่รูปนอกก็เห็นชัด รูปในก็คล่องแคล่วสูง เร็วเท่าไร สติก็ทัน จะไม่เชื่องช้า เพราะได้ฝึกได้ปรือสตินทรีย์ สติพละ สมาธินทรีย์ มีความตั้งมั่น มีความเจริญ ของอธิศีล ของอธิจิต อธิปัญญา ศีลก็ยิ่งละเอียดลออสูงส่งขึ้น ละเอียดลออ กลับไป กลับมา เหมือนกับพระอรหันต์จี้กง ศีลอะไรกินเหล้ากินยา เหมือนกับคนบ้า เหมือนกับ คนอะไร แต่ศีลอธิศีลอันนั้น นั่นเป็นศีลที่กล่าวไม่ได้แล้ว เป็นศีลที่ซับซ้อน เป็นศีลที่ คนธรรมดา ดูไม่ออก เป็นคนไม่มีศีลนี่หว่า แต่แท้จริงของท่านมีความเป็นปกติ มีความแข็งแรงปกติ มีความมั่นคงปกติ มีความแคล่วคล่องปกติ มีเมตตาอันสมบูรณ์ปกติ มีสุญญตาของท่านปกติ เป็นธรรมดาแล้ว

เพราะฉะนั้น สมมุติของท่าน ไม่เอาสมมุติ ท่านไม่ติดสมมุติกัน ยิ่งกว่าอะไรๆ หมด จะเห็นได้ชัดว่า ท่านไม่ติดสมมุติเลย ซึ่งไม่ได้ ที่จริงก็ไม่ได้ อันนั้นก็เป็นตัวอย่าง ในด้านหนึ่ง เท่านั้นเอง พระอรหันต์จี้กง นี่เป็นตัวอย่างด้านหนึ่ง ความจริงแล้ว ก็เราจะไม่ทำให้คนอื่น เขาสงสัย คนอื่นเขาระแวง จนไม่เกิดศรัทธา มันจะต้องให้เป็นไปตามขั้นตามตอน มีสภาพ ซับซ้อนอีกเหมือนกัน ซึ่งถ้าอยู่ คบคุ้นด้วยกันแล้วจะรู้ เพราะฉะนั้น เจตนาที่ท่านจะทำ สิ่งที่จะต้องไปทำกัน หนังที่ฉายออกมา ก็ไปเอาอิริยาบถที่ท่านเจตนาจะปรุง พระอรหันต์จี้กง จะปรุงๆ เพื่อคนนั้นคนนี้ แต่โดยธรรมชาติของท่าน จะไม่เป็นอย่างนั้นอีก ปกติของท่าน ก็สบาย สงบ เป็นคนที่คล่องแคล่ว เป็นคนที่เรียบร้อย แต่เวลาไปปรุงอะไรออกมา กับเรื่องคนนั้นคนนี้ ท่านก็ทำงานกับเขาเท่านั้นเอง ทำงานกับเขาเท่านั้น ท่านไม่มีอิริยาบถปรื๊ดปร๊าด หวือหวาอะไร ต่างๆนานา

เพราะเรามีปัญญาเข้าใจ มีความมั่นคงแข็งแรง สมาธินทรีย์ สมาธิพละ และก็มีความมั่นคง ของสติ สติไว สติยิ่งคล่อง สตินทรีย์ สติพละ ยิ่งเร็ว ไม่เชื่อง ไม่ช้า ไม่อืด ไม่เฉื่อย เร็ว ไว มันจะเป็นอย่างนั้น ยิ่งนิ่งยิ่งเร็ว ยิ่งหยุดยิ่งเร็ว มันไม่มีภาษาจะพูดแล้ว ไม่มีภาษา

เราจะต้องทบทวน เราจะต้องพยายามฝึกหัดปฏิบัติ อย่าไปหลงง่ายๆ ว่าเราจบ อย่าไปหลงง่ายๆ ว่าเราหยุดแล้วสมบูรณ์แล้ว ไม่ง่าย ทบทวนไปเป็นชาติๆนะ ซ้ำซ้อนกัน เป็นชาติๆ

อาตมากล่าวเมื่อกี้ กล่าวถึงสภาพของอินทรีย์ ๕ พละ ๕ นี่ซับซ้อน นี่มันจะเกิดบทบาทของ ความเพียร จะเกิดบทบาทของความขวนขวาย จะเกิดบทบาทของความคล่องตัว ของอิริยาบถ ผู้ที่ยิ่งปฏิบัติธรรม ก็ยิ่งประเสริฐ จะยิ่งมีความสามารถ จะยิ่งมีคุณค่า แกนหลักยิ่งแน่น ตัววิ่งยิ่งเร็ว เหมือนกับโปรตอนกับอีเล็กตรอน โปรตอนเป็นตัวที่อยู่กับที่ อีเล็กตรอน เป็นตัว วิ่งรอบ อีเล็กตรอนจะวิ่งเร็วเท่าไหร่ๆๆ ตัวโปรตอนจะแข็งแรงเท่านั้นๆ จะถูกเหวี่ยงไม่ได้ ต้องแน่นเข้าไว้ ยิ่งเร็วยิ่งมีแรงเหวี่ยงเยอะ ยิ่งแรงเหวี่ยงเยอะเท่าไหร่ ถ้าโปรตอนไม่แน่น ต้องเปลี่ยนแปลงนะ เปลี่ยนแปลงแล้ว เกิดสภาพผิดเพี้ยน ไม่เกิดสภาพของไฟฟ้าที่เกิด ไฟฟ้าแล้ว กลายเป็นไฟเฟอะแล้ว ไม่รู้จะใช้ภาษาอะไรแล้วละ เปลี่ยนแปลงแล้ว ไม่ได้คุณภาพ อย่างนั้น เพราะฉะนั้น คุณภาพยิ่งลึก ยิ่งสูง เพราะฉะนั้น คนที่ใช้แสง ใช้ไฟฟ้า ใช้อะไรต่ออะไร ที่ใช้พลังงาน ชนิดที่แบบไฟฟ้านี่ ยิ่งสูงขึ้นไป ก็เพราะว่าเขาสามารถที่จะดูผลแกนกลางของมัน ตัวกลาง ตัวในของมัน ยิ่งแก่นและยิ่งร้อน มีตัวที่จะได้พลังงานที่เร็วเท่านั้น เข้าไปหาแก่น ยิ่งแน่น ยิ่งลึกละเอียดเท่าไร ยิ่งได้ตัวยิ่งวิ่งเร็วเท่านั้นมาใช้ นี่ก็คือ การหาปรมาณู อาตมาก็ไม่รู้ จะใช้ภาษาคนง่ายๆยังไง อาตมาก็ไม่มีภาษาราชการด้วยนะ มันได้ยังงั้นไปเรื่อยๆ ทุกวันนี้ได้ขั้น ปรมาณู มันจะมีขั้นตอนกว่านั้นอีก เพราะตัว ยิ่งแน่นยิ่งสูญ ยิ่งไม่มียิ่งว่าง ยิ่งเล็กยิ่งละเอียด ก็ยิ่งมีสภาพข้างนอก ยิ่งละเอียดเหมือนกัน ยิ่งเร็วยิ่งแรง ยิ่งร้อนยิ่งมีพลังสูง

นี่เป็นเรื่องของสัจจะ เป็นเรื่องของธรรมดา มันจะเป็นอย่างนั้น เพราะฉะนั้น เราจะไปถึงสภาพ ที่ลึก ที่ไกลได้ คือผู้ที่รู้จักทิศทางเดินต่อไป มีแต่ก้าวหน้า มีแต่ความแข็งแรง มีแต่ความ คล่องแคล่ว มีแต่ความสามารถ มีแต่ความมีประโยชน์คุณค่า บอกแล้วว่า คนยังไม่ตายนี่ มีสภาพ สมบูรณ์อยู่ ๒ ด้าน แต่จุดจบ ที่เป็นอัตถะ ที่เรียกว่าตัวสงบ นิ่งนั้นน่ะ มันนิ่งจริงๆ สำหรับตน และมันวิ่งจริงๆ สำหรับท่าน มันจะมี ๒ ด้านอยู่อย่างนี้ตลอดเวลา พระอรหันต์ของ พระพุทธเจ้า ถึงประหลาด ไม่เหมือนฤาษีเลย ฤาษีดูง่าย ตื้นๆ หยุดหมดเลย กิริยา วาจา เขาก็บอกแล้ว แม้แต่จิต ถึงจิตจะดับตายไป เขาก็เอาวิธีซื้อบื้อ ประเภทอสัญญีสัตว์ ไม่กำหนด อะไร ไม่มีเวทนา ไม่มีสัญญาออกไป แต่ของพระพุทธเจ้านั่น สัญญายิ่งคล่อง สัญญายิ่ง กำหนดหมายได้ละเอียด ได้แม่น แล้วก็จะรู้จักตัวนิจจังด้วย ตัวหยุดตัวแน่แท้ ตัวเที่ยงๆ ไม่มีเปลี่ยนแปลง ไม่ได้กลับกลอก มั่นคง ยืนนาน ยืนหยัด แข็งแรง

เพราะลักษณะของพระพุทธเจ้า ลักษณะของคนที่พระพุทธเจ้าท่านให้พาฝึกฝนอยู่นี่ จึงเป็นคนที่ ไม่หยุดนิ่ง ขวนขวาย เป็นบุญกิริยาวัตถุ ถ้าไม่ขวนขวาย จะไม่เกิดปัตติทานมัย จะสละออกไม่ได้ลึกซึ้ง ปัตติทานมัย ก็คือทาน ปัตติทานมัย เข้าถึงทาน ทานที่สูงลึกเข้าไปอีก คือการสละออก สละอัตตา สละกิเลสระดับลึก เสียสละได้มากนั่นเอง เพราะฉะนั้น บทบาท ของการงาน ก็คือการสร้างบทบาทของการกระทำด้วยฝีมือ ความรู้ ด้วยอะไร ก็แล้วแต่เถอะ

ยิ่งถ้าเผื่อว่า เราไม่ทำ ไม่จริง เราก็จะไม่เชื่อ เราจะเกิดศรัทธา จะเกิดศรัทธินทรีย์ ศรัทธาพละ เชื่อจนกระทั่งถึง เชื่อมั่น ไม่ใช่เชื่อมั่นในระนาบเดียว มันจะเชื่อมั่น เข้าไปมากๆ เพราะฉะนั้น องค์ธรรมของพระพุทธเจ้า จะต้องพิสูจน์ตัวเรา ว่าเป็นคนที่ตรง ว่าศรัทธาที่สมบูรณ์ด้วยองค์นั้น มี ๑๐ ข้อ และจะต้องประกอบไปด้วย รูปนอก รูปในซ้อนๆๆ ศรัทธาถ้าไม่มีศีล ก็ไม่บริบูรณ์ ด้วยองค์นั้น ศรัทธาจะต้องปฏิบัติ ไปตามหลักของพระพุทธเจ้า ศีลอะไรที่เป็นบาปสมาจาร ต้องเลิก ต้องละ ต้องหยุด ก็ต้องเลิกให้ได้ ก็ต้องละ ให้ได้ จริงๆนะ เป็นศีลหยาบ จนกระทั่ง ถึงศีลละเอียด ที่กลับไป กลับมานะ อย่างเราไม่ดูหนัง นั่นก็ตื้นๆ ไม่ดู พาซื่อไม่ดูหนังไปเลยนะ ไม่ดูหนัง อย่างฤาษีก็ไม่ดูหนัง และ สัมผัสละเอียดก็ไม่มาก การที่จะรู้กว้าง จะรู้อะไร ก็ไม่มีเวลาขึ้นทุกวัน นี่ไม่มีเวลา นี่ไม่มีแรงงาน ไม่มีโอกาสที่จะไปรู้รอบ เห็นโลกได้มาก แต่สิ่งเหล่านี้ รู้รอบในโลก ถ้าดูหนัง ดูโทรทัศน์ ดูอะไรนี่ มันมาส่ง มาให้เรารู้ ในทางดาวเทียม เดี๋ยวนี้อเมริกาเป็นอะไร เราก็รู้ ยิ่งรู้เร็วเท่าไหร่ มีข้อมูลมากกว่านั่นใช่ไหม ส่งมาจากดาวเทียม ส่งมาจากทั่วโลก เดี๋ยวนี้ รู้ได้หมด

อันนี้เป็นเรื่องของยุคกาล สมัยพระพุทธเจ้า ไม่ต้องมาได้เที่ยวมาดูหนัง ดูละคร ใช่ เพราะหนัง ละครแค่ตัวแสดง แค่ตัวอยู่แค่นี้ หรือดูแต่เผื่อว่าเวลาเก่งแล้ว ก็ดู ที่จริง พระสารีบุตร กับ พระโมคคัลลานะ บรรลุธรรม ด้วยการดูละคร พระสารีบุตรกับพระโมคคัลลานะ ไปด้วยกัน ไปดูละคร เอ้า ดูละคร เลยบรรลุธรรมเลย และก็เลยพากันออกไปบวช พากันออกไป แสวงหา อาจารย์ พระสารีบุตร กับ พระโมคคัลลานะ เป็นอุปติสสะกับโกลิตะ ด้วยกันสองคน บรรลุธรรม ด้วยการไปดูละคร เพราะฉะนั้น ฐานดูละคร ที่เป็นตัวนำ ที่เป็นตัวที่ได้เกิดการมีผล มันก็พากัน บรรลุได้ เพราะฉะนั้น ฐานของคนบางคนนี่ จะต้องดูละคร จะต้องหนัง จะต้ององค์ประกอบ ของโลก โลกียะ แต่ระวัง บางคน ดูหนัง ดูละคร แล้วก็ไม่เกิดคุณค่า เพราะว่าคนสร้างหนัง สร้างละคร เขาไม่ได้ลึกซึ้งเท่าไหร่ อาตมาถึงพยายามคัดเลือกตามกาละ ตามเวลา ตามขั้น ตามตอน ออกมาให้ว่า จะมีพลิกแพลง อะไรต่ออะไรมากอยู่ ตามที่อาตมาคิดว่า มันอธิบายไม่ไหว มันละเอียดนะ

อาตมาเอามาพูด ก็ไม่รู้จะพูดว่ายังไง บางอย่างก็พูดไม่ได้ เป็นจิตวิทยานะ เป็นจิตวิทยา นำมาเปิดเผยก็ไม่ได้ คนรู้ไต๋แล้วก็ระวังได้ คุณก็กันได้ ก็ไม่แหย่ให้กิเลส เกิดมาได้ คุณรู้ตัวก่อน เรื่องอะไรเราจะไปปล่อยมันหลายสิ่ง หลาย มันเป็นจิตวิทยา เพราะฉะนั้น มันก็ไม่ได้ ยังงี้เป็นต้น มันเหมือนผิดศีล นะ แต่มันไม่ได้ผิดศีล มันกลับเป็นคุณค่า ที่ซ้อนลึก ย้ำทวน โลกวิทู สมัยนี้ที่เราจะรู้โลก รู้ทันโลก รู้รอบ รู้โลก หรือรู้พหูสูต จะมีความรู้ ที่รอบด้าน พหูสูต ลึกซึ้งขึ้นนี่ เราไปวิ่งศึกษารอบโลกนี่ไม่ทันหรอก เดินไปศึกษาไม่ทัน ต่อให้นั่งเครื่องบิน วิ่งรอบโลก ยังไม่ทัน เดี๋ยวนี้เขาส่งมาให้เองเสร็จ สิริรวมหมด มาหมด สื่อสาร ก็คือสื่อสาร เนื้อหานั่นเอง สื่อสารก็คือ สื่อสาระนั่นเอง สื่อเนื้อหา มาให้เยอะแยะไปหมด เพราะฉะนั้น เราก็ต้องรู้ตัวเรา ประมาณตัวเรา เรามีธัมมัญญุตา มีอัตถัญญุตา มีอัตตัญญุตา เราอย่าหลง ตัวเรา เป็นอันขาด เรารับรู้นี้คือ ของที่ได้เป็นเพียงความรู้เปลือกนอก ยังไม่ได้ปฏิบัติ ประพฤติ จนเข้าถึงแก่นสาระสมบูรณ์

ต้องรู้ตัวเอง อย่าลวงตัวเอง อย่าหลอกตัวเอง อย่าเผลอ ไม่ใช่รู้อะไรมากๆ นึกว่าเราเป็นที่รู้ ไม่ใช่เป็นที่เป็นนั่นนี่มีรู้ ไอ้ที่รู้เฉยๆนั่น ยังไม่เป็น ไอ้ที่เป็นนั่นแล้ว นั่นมีรู้อยู่ในนั่นแล้ว มันต้องรู้แล้วให้เป็น ถ้าเป็นได้แล้ว ก็ต้องเป็น

จนกระทั่ง มีรู้ซ้อนอีกว่า เราเป็น รู้แล้ว เป็นก็รู้ว่าเราเป็น ถ้ารู้ให้จริง ก็คือรู้ว่าเราเป็น

อ่านต่อหน้าถัดไป
FILE:2358A.TAP