น้ำใจของผู้กอบกู้สังคม
โดย พ่อท่านโพธิรักษ์
เมื่อวันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๓๔
ณ พุทธสถาน ปฐมอโศก
หน้า ๑
 

เราก็จะต้องสำนึกถึงเรื่องน้ำใจน่ะ สำนึกกันถึงเรื่องน้ำใจนี่ อยากให้พวกเราได้สังวร ฝึกฝนอบรม ในเรื่องน้ำใจนี้กันให้มากขึ้น คนพวกเรา มันจะมากขึ้น ถ้าข้างในของเรา ประสานกันไม่ดี มีน้ำใจกันไม่ดี ยังมีระแหงๆ แตกๆ แยกๆ ขัดๆอะไรกันอยู่ หรือแม้แต่เฉย ใครเฉย มันไม่มี น้ำหนักรวมหรอก จิตวิญญาณ มันเป็นตัวจริงนะ จิตวิญญาณนี่ ฝึกให้มันซื่อมะลื่อทื่อ มันก็ทื่อ เป็นท่อนไม้อยู่อย่างนั้นละ ไม่ร้อน ไม่หนาว อย่าลืมว่า ไอ้ไม่ร้อนไม่หนาวแบบนั้น ไม่ใช่นิพพาน มะลื่อทื่อไม่รู้เรื่องะไร เหมือนคนทึ่ม เหมือนก้อนหินก้อนดิน อันนั้นไม่ใช่จิตวิญญาณ จิตวิญญาณ คือธาตุรู้ ยิ่งรู้ยิ่งแววไว ยิ่งมีอภิญญา ยิ่งมีวิชชา นั่นคือจิตวิญญาณเจริญ เป็นแต่เพียงว่า กิเลสมันไม่มี ต้องชัดเจนตรงนี้ กิเลสไม่มี ไอ้ ซื่อบื้อนั่นมันเป็นอัตตา เป็นอัตตา ตีแตกยากเลย แล้วซับซ้อนกันมามาก ตีแตกยาก มันจะชินชา...แล้วมันก็ซื่อบื้อ มันโง่ ในอินเดีย เยอะ ลัทธิอินเดีย มีแนวโน้มอย่างนี้ทั้งนั้น อินเดียเป็นตัวอย่างที่เห็นชัดเจนเลย มันไม่เจริญ ทุกข์ร้อน ยากจน ค่นแค้น ทรมานอยู่อย่างนั้นแหละ ลำบาก เป็นไปด้วยลำบาก ไม่อุดมสมบูรณ์ ไม่อยู่กันอย่างอะไรๆ ก็ได้สัดได้ส่วน

การจะพัฒนาให้เป็นกลุ่มสังคม เรารู้แล้วว่า จุดบอดของมันก็คือ ความเห็นแก่ตัว ความมีกิเลส โลภ โกรธ หลง นี่แหละเป็นหลัก แล้วมันก็โลภ มันก็เห็นแก่ตัว แล้วมันก็โทสะ ไอ้โทสะไม่ใช่ ตัวเบิกบาน แล้วก็ไม่ใช่ตัวประสาน โทสะคือตัวตัด ตัดคนอื่น ตัดคนนั้น ตัดคนนี้ ตัดใคร ตัดใครหมด โทสะคือตัวตัด แล้วแถมไม่ใช่ตัดกิเลสเสียด้วย ไอ้โทสะนี่ ไอ้ตัวตัด ก็จริงอยู่ ลักษณะตัดก็จริงอยู่ แต่มันผ่าไม่ใช่ตัดกิเลสเสียอีก โทสะนี่น่ะ ซึ่งมันไม่ได้มีประโยชน์อะไร อาตมาถึงบอกว่า เวลาเรียนรู้ ไอ้ตัวสายโทสมูล ต้องเรียนรู้ให้ชัดเลย ไม่มีคุณค่าอะไรทั้งสิ้นเลย โทสมูลนี่ แม้แต่ความไม่ชอบใจ ความมะลึ่มทึ่ม เฉย เด๋อ สูง สูงขึ้นไปกว่านั้น ความมะลึ่มทึ่ม หากไม่ชอบใจแล้ว เราก็รู้ชัดอยู่ พอเข้าใจ แม้แต่เฉยเด๋อนี่ก็ไม่เอา

ต้องมีความแววไว ต้องมี ปฏิภาณ ต้องเป็นธาตุรู้ ที่รู้โลกวิทู พหูสูตเข้าไปโน่นแหละ ยิ่งลึกซึ้ง ยิ่งโยนิโส ยิ่งได้ ถ่องแท้ แยบคาย ยิ่งเป็นจิตที่วิเศษ เป็นจิตที่ประเสริฐ เพราะฉะนั้น อย่าไปเข้าใจผิด ในขั้นตื้นๆ จริง ในบทฝึกหัดตื้นๆ บทฝึกหัดแรกๆ นั้น เราก็ต้องปล่อยวาง ประเภทที่เรียกว่า ใช้สมถภาวนา คือ ตัดตัวเองออกมาเสียก่อน ยังไงๆ ก็ตัดตัวเอง ออกมาก่อน ไม่อย่างนั้น เราไปใกล้เคียง เราไม่มีน้ำหนักเลย เราไม่มีฤทธิ์มีแรงพอจริงๆ มันเข้าไปแล้ว มันก็หมดฤทธิ์หมดแรง ถูกอำนาจของสิ่งเหล่านั้นกลบกลืน เราก็กลายเป็นเหยื่อ เป็นทาส ก็ให้ห่าง เหมือนพรากไม้ที่ชุ่มด้วยยางออกจากน้ำ หรือว่า เราจะต้องห่าง ต้องพราก เสียก่อน เข้าไปเกี่ยวข้อง เราไม่มีฤทธิ์ ไม่มีอำนาจ ในตัวเองจริงๆ นั่นก็ฐานะหนึ่ง

ทีนี้ ฐานะสูงขึ้นไปแล้ว ไม่ใช่ว่า เราจะไม่คลุกคลีเกี่ยวข้อง เรากลับจะต้องไปคลุกคลีเกี่ยวข้อง ลักษณะ สภาพพวกนี้ เราเรียกว่า ปฏินิสสัคคะ กลับไป กลับมา สลัดคืนกลับไปกลับมา ย้อนไป ย้อนมา ตอนแรกก็ออกก่อน ออกเพราะเราอยู่ร่วมไม่ได้ เราไม่มีฤทธิ์แรง พอมีฤทธิ์แรง มีกำลัง วังชา เราก็ไปร่วมอีกทีหนึ่ง เพื่อพิสูจน์ เพื่อยืนยัน เพื่ออยู่เหนือได้ เป็นโลกุตรจิต อยู่เหนือก็คือ ไม่เกิดกิเลส สิ่งเหล่านี้ไม่มีฤทธิ์ เรามีฤทธิ์เหนือ ตัวเรามีฤทธิ์เหนือ เหนือกิเลส เหนือเหตุปัจจัย ที่จะเป็นกิเลส เหล่านั้น อย่างจริงๆเลย

ในหมู่พวกเรานี่ อาตมาย้ำในเรื่องสามัคคี เรื่องน้ำใจ เรื่องข้างใน เรื่องอัตตามานะ ถือดี แล้วก็ ไม่อภัยกัน ไม่พยายามที่จะยอมอนุโลมปฏิโลมกัน หรือเล่นลูกดื้อ สมถะ ตัดปล่อยเลย ช่างหัวแก ข้าก็อยู่ของข้า มันก็เข้าภพของตน เป็นอัตตาเข้าภพของตน คือว่าตนเอง ก็ตัวกู นี่แหละ คนอื่นวางเลย วางคนอื่น วางชนิดซื่อบื้อ วางชนิดไม่มีปัญญา วางชนิดไม่รับรู้ วางชนิด ไม่เอาด้วย นั่นเป็นการผลักชนิดหนึ่ง เข้ามาอยู่ในภพ เหมือนกับกำแพงหุ้มตัวเองเลย

ลักษณะอย่างนี้ มีลักษณะที่ยังไม่หมด ไม่ใช่ว่าครองความบริสุทธิ์ มันยังเป็นอัตตาชนิดหนึ่ง ศึกษาดีๆ เราศึกษาดีๆ เพราะฉะนั้น จะต้องฝึกออก ฝึกฝนอบรม เรารู้นี่นะ กิริยา กาย วาจา นี่มัน เราก็พอรู้อยู่ว่า เออ จะสัมพันธ์ จะยอมตน หรืออัตตา มันไม่ชอบหรอกอย่างนี้ เราเอง มันมีลักษณะ ไม่ใช่เป็นคน ประจี๋ประจ๋ออยู่แล้ว เป็นแต่เพียงเวลาเราโน้มน้อมสัมพันธ์นี่ มันไม่ดูน่าเกลียดหรอก มันไม่ดูเกินหรอก มันไม่ดู แหม ปะลิ้มประเหลาะ ทำเป็นกะลิ้มกะเหลี่ย ประจบประแจง มันไม่ถึงหรอก ยังไง มันก็ไม่ถึงขั้นนั้นได้ง่ายๆหรอก เพราะเราไม่มีนิสัย ที่จะไปทำ เรากับพวกเรานี่ ไม่มีนิสัยแบบนั้นอยู่แล้ว ทางโลกเขาประจี๋ประจ๋อ ฉอเลาะอะไรกัน ประจบประแจง ดูแล้วน่าเกลียด ทางโลกเขา ใช่ เขาหวังอะไรตอบแทน ของเราไม่ได้หวังอะไร ตอบแทน ขี้มักจะมานะอัตตา ไม่ค่อยง้อ

เพราะฉะนั้น ลักษณะจะไปง้อนี่แหละ เป็นการตีกลับ เป็นปฏินิสสัคคะ อีกชนิดหนึ่ง เราจะต้อง อ่อนน้อมถ่อมตน อปจายนมัย เข้าไปง้อนี่แหละ คืออ่อนน้อมถ่อมตน เข้าไปง้อ แต่ก็ไม่ถึงขนาด ง้อแบบโลกๆเขา ใช่ไหม ไม่ถึงขนาดนั้น เข้าไปง้อ ก็คือเข้าไปยอม อ่อนน้อมถ่อมตนลงไป เข้าไปเกี่ยวข้อง เข้าไปคลุกคลี เข้าไปประสาน เข้าไปทำอย่างไร เราจะสมานสามัคคีกันได้ เป็น สมานัตตตา จะทำอย่างไร เป็นสมานัตตตา ประสานสามัคคีกันได้ เราต้องเข้าไปทำจริงๆ ฝึกจริงๆ มันไม่ใช่คำบอก บอกกันไม่ได้หรอก อาตมาไม่สามารถบอกได้

จริตของแต่ละคน แต่ละคน มีจริตต่างๆ ที่ละเอียดลออ เราบอกว่า จริตมี ๖ จริต ก็เป็นแต่เพียง ภาษาหลักๆ จริตโลภจริต โทสจริต โมหจริตอะไรต่างๆนานา พวกนี้มันก็เป็นแต่เพียงภาษา ความจริง มันมีรายละเอียดที่ต่างกัน แต่ละคนๆไม่ใช่มีแต่จริตเดียวเมื่อไหร่ มีแต่จริตโลภะ มีแต่จริต โทสะ ก็เปล่า มันมีมากมายผสมผเสอยู่ อันนั้นมั่ง อันนี้มั่ง รวมๆกันอยู่ เสร็จแล้ว มันก็ออกลีลา กว่าจะเข้ากันได้ กว่าจะประสานกันได้ กว่าจะลงตัวได้ มันไม่ใช่ง่ายๆน่ะ

ฉะนั้น ยิ่งไม่เอาถ่านเลย ยิ่งไม่ฝึกไม่ปรือ ไม่ลองดูกัน ทำยังไงเราจะสัมพันธ์กันได้ยังไง มันไม่อยากจะพูด ก็ลองพูดกันบ้าง คุยกันมั่ง มันไม่อยากจะเข้าใกล้ ก็เข้าใกล้กันดูบ้าง มันไม่เกื้อกูล ก็ลองเกื้อกูลกันบ้าง เราเกื้อกูลมากไป คนนี้จะหมั่นไส้ไหม เกื้อกูลน้อยไป คนนี้จะรู้สึก ไม่พอไหม อะไรต่างๆ ก็ลองดู ฝึกไป แล้วมันก็จะรู้ว่า อ๋อ คนนี้เราทำขนาดนี้นะ ต้องทำลีลาอย่างนี้ คนนี้ทำขนาดนี้ มันจึงจะเข้ากัน สมานัตตตา จึงจะสมานอัตตา หรือ การเสมอสมานกันได้อย่างดีเลย จะให้อะไรเท่ากันทั้งหมด อาตมาก็เคยพูดมา มากมายแล้วว่า มันไม่มีหรอก จะให้มันเท่ากันทั้งหมด มันไม่มีน่ะ ยังไงๆ มันก็ต้องมีส่วนที่ต่างกันอยู่อย่าง นั้นแหละ ยิ่งจิตวิญญาณ ยิ่งละเอียดกว่ารูปร่างด้วยซ้ำไป

แต่ว่าเราพยายามที่จะให้ มันสมานกันได้ โดยความพยายาม โดยความตั้งอกตั้งใจ เจตนา เพราะฉะนั้น การสมานได้ดีเท่าไหร่ การสมานกันขึ้นเป็น สมานัตตตาได้ดีเท่าใดๆ ก็เป็นการ ประสบผลสำเร็จ ของความเจริญแห่งชีวิต จริงๆ เราจะมีกำลังสามัคคีนี่ เป็นกำลังจริงๆ จะเป็นกำลัง เป็นกำลังทั้งการสร้างสรร ทั้งเป็นกำลังที่จะอยู่กันอย่างเหนียวแน่น อยู่กันอย่าง ใครตีไม่แตก เหมือนอย่างพระพุทธเจ้า ท่านตรัสเอาไว้ใน อปริหานิยธรรม ว่าอย่างพวกอะไรนะ พระเจ้าลิจฉวี แล้วก็มีชาววัชชี นั่นแหละกลุ่มนี้ ที่พระพุทธเจ้าตรัส ในอปริหานิยธรรมว่า ถ้าหมั่นประชุม พรั่งพร้อมกันประชุม อย่างนี้แล้ว แล้วก็มีหลักทั้งหมดนั่นแหละ หลักของ อปริหานิยธรรม ครบครันอย่างนั้น ไม่มีใครสามารถจะตีแตก ท่านว่าอย่างนั้น ไม่มีใครสามารถ จะตีกลุ่มนี้แตกได้ ถ้าทำกันอย่างนี้อยู่เนืองๆ กันจริงๆ แล้วทำให้ถูกคุณลักษณะ ของมันด้วยนะ

การประชุมก็เหมือนกัน ทุกวันนี้ เราก็ยังประชุมกันไม่เป็น เข้ามาประชุมก็ตัวใครตัวมัน นั่งเด๋อ ทึ่มอยู่ภพใครภพมัน อย่างนั้นแหละ มาประชุมกันทำไมอย่างนั้น มาประชุมก็เพื่อที่จะให้เปิด ให้มาประสานกัน ใครมีอะไรก็เอาออกมาแผ่ เอาออกมาเปิดเผย เอาออกมาตกลงกันซิ อย่างนี้ มันดีไหม ไม่ดีอะไร ก็ปรับกันไป จะประสานกันได้จุดไหน อะไรสมควรจะเพิ่ม อะไรสมควร จะลด อะไรก็ว่ากันไป ใครดี ใครไม่ดี ก็ต่างคนต่างช่วยกันพิจารณา ช่วยกันคิด ช่วยกันแนะนำ ช่วยกันฟัง รับรู้กันว่า อย่างนี้มันไม่ดีนะ อย่างนี้ลดเถอะ เลิกเถอะ อะไรก็ว่ากันไป ด้วยกรรมวิธี อย่างไร ก็แล้วแต่ เพราะฉะนั้น การประชุมก็เข้ามารวมกันเฉยๆ เอาแต่หุ่นมานั่งรวมกัน เสร็จแล้วหมดเวลา หุ่นก็ ต่างหุ่น ก็แยกย้ายไป มันจะไปประชุมให้เสียเวลาทำไมอย่างนั้น

แล้วพวกเรายังประชุมกันไม่เป็น การประชุมก็ยังไม่เป็น แม้แต่ในเรื่องที่อาตมามากำชับกำชา นักหนาว่า ต้อง รู้จักใช้มติการประชุม มาแล้วก็ทำ มีมติ มีวิธีการอยู่นะ โหวตตกลงมตินั้น มตินี้ โหวตกันแทบเป็นแทบตาย บางที พอออกไปแล้ว โหวตมีมติเสร็จสรรพแล้วนะ เปล่า ตัวใครตัวมัน อีกอย่างเก่า เอาอย่างกู อย่างเก่า อัตตาขึ้นมาเต็มที่อย่างเก่า ไม่เคยนึกถึงเลยว่า อุตส่าห์ลงทุนลงแรง ประชุมกัน โหวตกัน แทบเป็นแทบตาย อภิปรายกันแทบตาย ตัดสิน ออกมาแล้ว แทนที่จะวางใจ เปล่า กูไม่เห็นด้วย ไอ้ที่โหวตออกมา ถ้าเห็นด้วยก็เอาหรอก นอกจากเอาแล้ว ยังไม่พอนะ แต่ก็น่า ให้เขาว่าหรอก คือ คนที่โหวต พอเขาโหวตเสร็จแล้ว คนที่มีความเห็นตรงกับตัวเอง ออกเสียง ว่าอย่างนี้ แล้วก็เป็นฝ่ายชนะ ตกลงมตินั้น ตรงกับ แนวคิดของตน ตรงกับความเห็นของตน พอออกไป ก็ยิ่งมีอัตตามานะเพิ่มว่า นี่ ฉันชนะโหวต แล้วนะ ฉันเป็นเจ้าของมติ ฉันเป็นเจ้าของ สิ่งชนะนี้มา ก็เลยกลายเป็นแข็งไปกระด้างไป อะไรต่ออะไรอีก ก็เลยไปกันใหญ่

ส่วนคนที่ไม่ยอมวางอัตตา เอ็งโหวต ก็โหวตไป เอ็งมีมติ... มติไป ข้าก็คือข้า เอ็งตกลงของเอ็ง เอ็งก็ทำของเอ็ง ข้าไม่ทำด้วย ข้าไม่ประสาน ข้าไม่ขัดข้อง ข้าไม่ขัดขวางก็บุญแล้ว ดีไม่ดี ก็ขัดขวางในที ...มีลีลาขัดขวางในที อย่างชาญฉลาด ไม่เอาด้วย แล้วก็ขัดขวางเป็นลักษณะ อย่างโน้นอย่างนี้ ซ้อนเชิงอยู่ พวกนี้ มันมีจริงนะ กิเลสมันยอด เจ้าเล่ห์ เจ้ากลจริงๆ กิเลสนี่ มันไม่เข้าเรื่องน่ะ

เพราะฉะนั้น ๑.เวลาประชุมก็เปิดใจกัน มีเรื่องราวอะไร ก็ต่างคนต่างเตรียมตัว ไม่ใช่เข้ามา ประชุม แล้วก็ต่างคนต่างไม่มีเรื่องอะไรเลย ไม่รู้เรื่องอะไร ไม่ใช่ไม่มี เรื่องมันมี แต่ไม่รู้อะไร ไม่คิดหาอะไรเลย เข้ามาก็เด๋อๆ มานั่งฟังไปอย่างนั้นเอง

การประชุม เขาจะเตรียมตัว เขาจะรู้ว่า เข้าประชุมจะมีเรื่องอะไรเสนอ จะมีเรื่องอะไร ที่จะปรึกษา หารือกัน ตอนนี้มารวมกันแล้วนะ เราจะเอาอะไร เข้ามาปรึกษา ก็ต่างคน ต่างมีมา เวลาสมาชิกมีอะไร เขาก็เปิดโอกาสอยู่ เวลาประธานมีอะไร ก็เปิดโอกาสอยู่ ถ้าการประชุม ที่สมบูรณ์ ก็จะเป็นอย่างนั้น แต่การประชุมที่ไม่สมบูรณ์ ก็จะให้แต่ประธานพูด เปิดโอกาส แต่ประธาน สมาชิกไม่มีสิทธิ์ จะมีอะไรก็ต้องหุบปากอยู่อย่างนั้นแหละ มันก็ไม่ถูก ประชุมอย่างนั้น มีอะไรใครก็เสนอ มีโอกาสก็เสนอขึ้นมา มีอะไรจะว่ายังไง ก็ว่ากันไป พิจารณา กันเข้าไป

นี่ละ การกระทำที่ประชุมเป็น นี่อย่างหนึ่ง เปิดเผย

๒. มตินี่ก็ย้ำแล้วย้ำอีก เมื่อประชุมกันแล้ว ตัดสินมติ ต้องทำตามมติ แล้วจะเร็ว คุณภาพ ก็จะมาก

เอาละ เรื่องประชุม หรือเรื่องอะไรก็ว่าไป

ทีนี้ เรื่องน้ำใจนี่ เรื่องมีน้ำใจ เรื่องพยายามที่จะสร้างน้ำใจ การเกื้อกูล การประสานเข้ากันให้ได้ เป็นปึกแผ่น เป็นหนึ่งเดียวจะชังกันมา จะโกรธกันมา กี่ปีกี่ชาติ จะโกรธกันมากี่ ... หนักหนา สากรรจ์ ยังไงก็ตามเถอะ ก็พูดกันด้วยเหตุผล ก็รู้อยู่แล้ว จะไปโกรธกันอยู่ทำไมล่ะ เรามาละ ความโลภ ความโกรธ ความพยาบาท อาฆาตมาดร้าย มีแต่จะปรารถนาดีต่อกัน ใครจะเป็นศัตรู ใครจะมานึกว่า ข้านี่แหละ เป็นศัตรู ข้านี่แหล จะเป็นตัวขวาง ข้านี่แหละ จะเป็นคนที่ ไม่เห็นด้วย แข็งกระด้าง กระด้างอะไรอยู่นั่นน่ะ เลิกเสียทีเถอะ มันเป็นความชั่ว

อาตมาพูดอื่นไม่ได้ มันเป็นความชั่วความเลวที่เรานั่นแหละ เที่ยวได้ไปก่อพยาบาทอยู่ในหัวใจ มีพยาปาทวิตกอยู่ คือ จิตมันก็ยังไม่หมด แล้วมันก็ตรึก ขึ้นมาทีใด ก็ยังมีลีลาของพยาบาท ดำริ หรือว่า เกิดในความคิดขึ้นมาทีไร ก็มีกิเลส ลีลาของกิเลส ผสมส่วนออกมากับ ความนึกคิด ทั้งนั้น เรียกว่า พยาปาทวิตก มีอะไรมา ก็มีพยาบาทนี่แหละ ส่วนน้อย ส่วนมาก ส่วนหยาบ อะไรก็ตามใจเถอะ มีส่วนออกมาผสม อยู่ในความคิด อยู่ในสังขารธรรม ทุกเรื่องทุกราว มันไม่หมดไปจากสังขาร เราเองเราไม่ให้มันสังขารนี่ก็ยากอยู่แล้ว เพราะฉะนั้น จะให้มันดี ก็ต้องล้างมันเลย อย่าให้มันมีพยาบาท อย่าให้มันมีตัวโกรธ ตัวเคืองพวกนี้ ต้องฝึกฝนนะ ไม่ฝึกฝนก็คือ ไม่ได้ฝึกล้าง ต้องฝึกฝน รู้อาการมันจริงๆ ยิ่งกับใครก็ตาม ที่เรามีโกรธ มีเคือง มีพยาบาท ชิงชัง ริษยา อะไรอยู่ เราจะต้องรู้จริงๆเลยว่า เรามี เมื่อเรามีแล้ว เราก็จะต้อง พยายาม กระทำการประสาน สมานอย่างไร เป็นแบบฝึกหัดที่จริง ยิ่งห่าง ยิ่งเหินกัน ยิ่งไม่เอาด้วยเลย ยิ่งไม่พบหน้ากัน ยิ่งไปกันใหญ่เลย ยิ่งอะไร เฮ้อ... แล้วอีกนานัปกัปกาล

อย่าลืมนะว่ากิเลสอยู่ในตัวคน เราจะปล่อยไปไว้กับใครก็ตาม มันก็คือกิเลส แล้วก็กิเลส ลักษณะนั้นแหละ จะเป็นโลภ ก็คือโลภ จะเป็นโกรธ ก็คือโกรธ ถ้าเราเห็นว่า ยิ่งตัวนี้ยิ่งชัด แลัวเรายิ่งลดได้เลยนะ เรายิ่งเห็นว่า นี่ คนนี้ยิ่งจัดนะ ยิ่งแรง เราก็ลด ลดลงไปได้จริงๆนะ โอ๊! มันยิ่งวิเศษ มันยิ่งรู้แจ้งรู้ชัด เพราะว่าหยาบมันใหญ่ มันแรง แล้วเราทำได้ ก็ยิ่งดี มันก็ยิ่ง ลดกำลัง ของความเลวทราม ลดกำลังของความเป็นตัวร้ายออกไปจากตัวเรา มันก็ยิ่งดี

พวกเรา ถ้าเผื่อว่าสามารถที่จะประสาน สามารถที่จะสร้างน้ำใจ สร้างสามัคคีได้มากกว่านี้ เราต้องการแรง แม้แต่จะเสริมหนุนให้เกิดแรงงาน ในการสร้างสรรก็เกิด ในความเป็นปึกแผ่น ก็เกิดจริงๆ อย่างที่กล่าวแล้ว ไม่มีใครตีแตกได้ง่ายๆ และลีลาสภาพการประสานด้วยน้ำใจ ด้วยความเอื้ออาทร ความเมตตาปรานีเกื้อกูลกันอยู่นี่นะ ลีลาของพฤติกรรมสิ่งนี้ ก็คือคน ใช่ไหม คน ลีลาของคน มันน่าเอ็นดู สวยงามนะ สังคมนี้มีความเกื้อกูล มีความเมตตา มีความประสาน ช่วยเหลือเฟือฟาย มีน้ำใจกันอยู่นี่

คุณนึกซี เดาก็ได้ ใครโง่ที่สุด ลองเดาๆดูเอา เอ้า ใครโง่ๆ คนฉลาด ไม่ต้องเดา มันก็มีปฏิภาณ พอนึกออกแล้ว พอรับรู้รับฟังก็เข้าใจแล้ว ใช่ไหม แล้วลองนึกดูซิ แล้วเราทำ ทำให้จริงนะ ทำให้จริงเลย ในเรื่องน้ำใจ ในเรื่องจิตวิญญาณ ที่จะประสาน สมานัตตตาตัวนี้ พยายามฝึกฝน ให้มันมาก มันล้างอัตตา ล้างมานะ โดยตรง อาตมากำลังเร่ง เร่งเครื่องไอ้ตัวล้างอัตตามานะ ในพวกเรา เรื่องกาม เรื่องอะไร อาตมาก็เห็นว่า พวกเราก็ยังไม่ระบาด โรคระบาดไม่มาก โรคระบาด เรื่องของกามไม่มากเท่าไหร่ในพวกเรา เพราะว่าเราฝึกผ่านขั้นตอนฐานนี้ กันมาแล้ว เยอะน่ะ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส มันก็ซับซ้อนอยู่หรอก แต่ว่ามันก็ไม่จัดจ้านอะไรนัก

แต่อัตตานี่ มันยังระบาดอยู่เยอะ ฉะนั้น ถ้าเราลดสัดส่วนอันนี้ไปได้อีก เราก็จะได้ล้างกาม ที่ละเอียดขึ้นไปอีก เพราะอัตตามานะ ลดกามที่ละเอียด ก็จะชัดเจนขึ้นอีก เราจะเกิด ญาณปัญญา ที่จะรู้กามละเอียดขึ้นอีก ที่จริงกามกับพยาบาท หรือว่าโลภะ ราคะกับโทสะ มันก็เนื่องกัน เรามีความรัก เสร็จแล้ว ไม่ได้สมรัก แค้น โกรธ เห็นไหมว่า เป็นเหตุมาจากรัก หรือราคะ เสร็จแล้วไม่สมราคะ ก็โทสะขึ้นได้ มันเนื่องกันนะ มันเนื่องกัน นี่ หยาบๆ ก็พูดออกมา อย่างนี้ ก็ชัดแจ้ง ในรายละเอียด ก็เหมือนกัน มันเนื่องกันอยู่เหมือนกัน

ถ้าเราประมาท เราไม่ทำให้อย่างหยาบออกไปเรื่อยๆ ตัวละเอียด มันยังไม่ได้หรอก มันยังซ้อน ซับซ้อนอยู่ เพราะฉะนั้น เราจะได้รายละเอียดเพิ่มขึ้น ก็ต่อเมื่อเราจะต้องทำให้เป็นขั้น เป็นตอน เป็นลำดับๆๆ ไปจริงๆ ต้องเรียนรู้สลับไปสลับมา ลดราคะได้ ลดโลภะได้ ก็ทำให้ลดโทสะได้ ลดโทสะลงไป มากๆๆๆ ก็ทำให้เรารู้ราคะ โลภะที่ละเอียดขึ้นอีก ก็ลดราคะ ราคะโลภะ ที่ละเอียด ก็ทำให้เราลดตัวโทสมูลที่ละเอียด พยาบาทที่ละเอียด ความไม่ชอบที่ละเอียด ละเอียดขึ้นไปอีก ได้จากลดความไม่ชอบลงไปอีก ก็จะไปสู่สภาพราคะ รูปราคะ อรูปราคะ ที่ไม่ใช่ ภพของกามแล้ว แต่ก็เป็นราคะ ในสายจิตข้างในราคะ ราคะก็คือความดูด โทสะ ก็คือความผลัก มันมีแรงดูด แรงผลักอยู่อย่างนั้นแหละ๒ ทิศ ธรรมดาราคะ แม้พระอนาคามี ถึงขั้น ระดับ รูปราคะ อรูปราคะ ก็ใช่ว่ามันจะหมดราคะง่ายๆ เห็นไหม แต่ในระดับพระอนาคามี โทสะจะไม่มีแล้ว ปฏิฆะก็ไม่มี จะมีความไม่ชอบใจอยู่น้อยๆ อรติ ความไม่ชอบใจ ที่เบาบาง ซึ่งอยู่ที่ ผู้ที่ฉลาด แหลมลึก ถ้ารู้ฉลาดแหลมลึก มีญาณที่ละเอียด ก็จะรู้ตัวได้ไว

ถึงแม้แสดงออก มันก็ไม่ค่อยหยาบน่ะ แต่ลึกๆ มันมีราคะ มันมีตัวผนึก มันมีตัวดูด มันมีตัวที่ ไม่ยอมปล่อย มันยังเป็นตัวตน มันยังเป็นอัตตา ตัวเกาะ ตัวยึดอยู่ ลึกซึ้ง เพราะฉะนั้น สภาพที่ ความลึกซึ้งของกิเลส ดังกล่าว ที่กำลังวิจัยให้ฟังอยู่นี้นี่ มันเป็นภาษา เป็นหลักการ ไม่ใช่สภาพ ของความรู้ ที่จะรู้กันได้ง่ายๆ แล้วมันจะรู้ได้จริง ก็ต่อเมื่อมีฐานจริง มีระดับ ระดับจริงเข้าไป ยิ่งสิ่งละเอียดนี่ เราเดาไม่ออก เพราะมันสภาพปฏินิสสัคคะ มันเยอะ มันย้อนไป ย้อนมา มันเยอะ

ถ้าเผื่อว่าเราไม่มีฐานจริง ฐานจริงที่เข้าไปใกล้สิ่งละเอียดพวกนี้แล้ว เดายังไง ก็เดาไม่แม่น เดาไม่ถูก แล้วยิ่งนึกไม่ออกเลย เพราะเราเอง เราไม่ได้ปฏิบัติเลย แม้แต่เหตุผล ความหมาย ก็ยังไม่รู้เรื่อง ยิ่งจะใหญ่เลย ยิ่งมะลึ่มทึ่มเป็นคนเฉยเมย มะลื่อทื่อ ไม่รู้เหนือไม่รู้ใต้ แล้วก็หลงว่า นี่คือ สภาพนิพพาน สภาพจิตหยุด จิตนิ่ง จิตสงบ มะลื่อทื่อตื้อๆ ไม่รู้ อะไรก็ไม่รู้ ไม่ชี้ ไม่รู้เรื่อง เหตุผลอะไรก็ไม่รู้ สภาวะยังไงก็ไม่รู้ลีลา สภาพความเป็นอยู่ของ ไอ้โน่นไอ้นี่ อะไรยังไงๆ ต่างๆนานา ความสูงความต่ำอะไรไม่รู้กับเขา รู้เหมือนกัน รู้บ้างตามภูมิ แต่ว่ามันไม่ละเอียด ไม่ลึกซึ้ง ไม่ชาญฉลาด

ศาสนาพระพุทธเจ้า ทำให้คนฉลาดเฉลียว ฉลาดขึ้นเรื่อยๆ ไม่หยุดยั้งหรอก ไม่หยุดยั้ง ไม่หยุดยั้ง ฉลาดขั้นเรื่อยๆ ฉลาดแล้วก็เป็นโลกวิทู เป็นพหูสูตขึ้น จริงๆน่ะ ไม่ใช่มะลึ่มทึ่ม อยู่อย่างนั้นน่ะ คือผู้หลุดพ้น ฉันไม่มีบวก ไม่มีลบแล้ว ฉันก็ทื่อๆ ฉันก็ไม่บวก ไม่ลบ ดูโก้นะ ดูเหมือนนิพพาน แต่มันไม่ใช่นะ มันไม่ใช่ เพราะฉะนั้น การที่เป็นตัวเองอยู่กับหมู่กลุ่ม เป็นคนที่ อยู่ในหมู่กลุ่มก็จริง แต่ตัวเอง ไม่ได้ประสาน สนิทกับหมู่กลุ่ม ประสานกัน อย่างละเอียดเลยนะ มีความประสานสมาน ในจิตวิญญาณ เมื่อประสานด้วยจิตวิญญาณได้ดี การงาน พฤติกรรม กาย วาจา ก็ดีด้วย แล้วจะมีท่าทีลีลา ต่างๆนานา ที่จะดูดี ดูเป็นพฤติกรรม เป็นจารีตประเพณี วัฒนธรรม เป็นวัฒนธรรมของมนุษย์ มนุษย์พวกไหนก็แล้วแต่ ที่จะมีวัฒนธรรม หรือว่า มีหลักเกณฑ์ ของสังคม อย่างนั้นอย่างนี้ ท่าที

ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่นว่า ชาวญี่ปุ่นโค้งเก่ง วัฒนธรรมชาวญี่ปุ่น โค้งเก่ง เด็กเล็กๆ เกิดมา มันก็โค้ง เป็นไปตามสัญชาตญาณ มันก็โค้ง พวกคน ไทย ไม่เคยไปโค้ง อาตมาก็เคยแอ๊ค จะหัดจะฝึก มันหัดไม่ไป โอ้ย มันจะไปโค้ง มันเด๋อๆด๋าๆ กระดาก กระเดื่อง เหนียมๆอยู่นะ โค้งเหมือนญี่ปุ่น โอย มันโค้งไม่ค่อยลง มันเอวก็แข็ง ท่าทีลีลา จิตวิญญาณ มันก็ไม่ค่อย ยอมใครเคย ลองดูบ้างก็จะรู้ พยายามนะ มันไม่ได้ง่ายๆ แค่ไม่มากนะนี่ เราวัฒนธรรมแค่นี้ แค่กิริยา โค้งกัน อะไรแค่นี้ อ่อนน้อม เป็นกิริยาท่าทีอย่างนี้ มันยังไม่ง่ายเลย คิดดูซิ อาตมายกตัวอย่างหยาบๆ นะ ลีลาพวกนี้

ถ้าเผื่อว่า ผู้ใดรู้ว่า กิริยาอย่างนี้ กิริยาเอื้อเฟื้อเกื้อกูล ช่วยเหลือ ซึ่งมันยิ่งกิริยา แค่โค้ง กิริยา ที่จะต้องทำเป็นกิจกรรมเลยนะ จะช่วยกันแสดงอาการกายกรรม วจีกรรมอย่างไร ได้แต่ดูท่าที แนบเนียน ไม่ดูเหมือน ออเซาะ แล้วก็ไม่ดูเหมือนประชด ไม่ดูเหมือนกระด้าง ขนาดไหน มันพอดี ประสานกันได้อย่างพอดี แล้วมีประโยชน์แก่กันและกัน เรามีกรรมกิริยา กรรมกิริยา ของคน เราจะทำกับใครก็แล้วแต่ แต่ละคนๆ เราทำไม่ค่อยเหมือนกันหรอก ผู้ฉลาด นะ ส่วนผู้ไม่ฉลาด ก็ทำได้ลูกเดียว คือ กับใครกูก็ท่านี้ กับใครกูก็ท่านี้ ไม่มีการประมาณ ไม่มีการรู้ว่า เราควรจะมีกายกรรมอย่างไร วจีกรรมอย่างไรกับคนนี้ เป็น action เป็นการแสดงออก มันจึงจะมี ผลตอบรับ หรือมีผลประสาน reaction ตอบรับออกมา ก็จะเกิดการประสาน ถ้าอย่างนี้ ไม่ดีแฮะ reaction ออกมา มันจะแรง หรือว่ามันจะไม่ประสาน แล้วมันจะบาดเสียด หรือ มันจะทำลาย ถ้าอย่างนี้ ไม่ทำลาย แต่ถ้าอย่างนี้ดีเหมือนกันแหละ ถ้ากิริยาขนาดนี้นะ ทำลาย แต่ทำลายกิเลสนะ มันจะทำลายกิเลสเชียว อะไรอย่างนี้เป็นต้น

จะเกิดญาณปัญญา จะเกิดความรู้ จากของจริงเป็นแบบฝึกหัดเหล่านี้ ไม่ใช่มานั่งด้นเดาเอา คิดเพ้อพก อะไรไป ไม่ใช่ มันมากนะ มันมาก มันมากเกิดจากสังกัปปะ วาจา กัมมันตะ อาชีวะ เกิดมัชฌิมา สัมมา สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ เกิดจาก กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม การงานนี่แหละ

นี่แหละทางเอก ทางเดียว มรรคองค์ ๘ ทางเอกทางเดียว ทางปฏิบัติไปสู่ความเจริญสูงสุด นี่แหละ ถ้ามันเกิดจริงๆ มันจะดีงามไปพร้อมกัน ทั้งกรรมกิริยาของมนุษย์ ต่อกับใครก็แล้วแต่ แล้วจะเกิดปัญญา จะเกิดเจโตปริยญาณ จะเกิดโสตทิพย์ จะเกิดรู้ รู้เรารู้เขา จะมีอภิญญา รู้เรารู้เขาได้ดี มีปริสัญญุตา มีปุคคลปโรปรัญญุตา จะรู้บุคคล คนอื่นๆ คนใดๆ คนนั้นคนนี้ มีอย่างนั้น อย่างนี้ เรียกว่า ปุคคลปโรปรัญญุตา จะรู้จักหมู่กลุ่ม บริษัทดี เป็นสัตบุรุษ เป็นผู้ประเสริฐแท้

นี่ของพระพุทธเจ้าเป็นอย่างนี้ ของพระพุทธเจ้าไม่ใช่ซื่อบื้อ ตัวใครตัวมัน อะไรก็ปล่อย อะไรก็ตัด ตัดๆๆๆ ซื่อบื้อลูกเดียว ไม่ใช่ มันมีปฏินิสสัคคะ มันมีการประสาน มันมีสมานัตตตา มันมีความเกื้อกูลเอื้ออารี ช่วยเหลือเฟือฟาย อาตมาว่า ศาสนาพุทธนี่ ยอดคุณภาพ สมบูรณ์สูงสุด มีคุณธรรมที่สมบูรณ์สูงสุด สังคมที่ทำได้ ปฏิบัติได้ลงตัว ตามที่พระพุทธเจ้า ท่านสอนไว้ ทุกแง่ทุกมุม โอ๊ มันวิเศษจริงๆ เป็นสังคมที่สันติสุขจริงๆ เป็นสังคมที่วิเศษจริงๆ เป็นสงคมอิสรเสรีภาพ ที่มีภราดรภาพ มีภราดรภาพเพราะเราได้อบรมฝึกฝนกัน แล้วก็เกิด ความจริง ที่มันประสานกันโดยสภาพจริง เราก็ชำนาญ ฝึกไป ทำไป ก็เกิดจริงเป็นจริง ชำนาญ ประสานกันได ้ด้วยปัญญาญาณ รู้แคล่วคล่อง

ยิ่งมีละเอียดลออ ยิ่งมีรูปลักษณะ มีจารีตประเพณีวัฒนธรรม มีสภาพที่เกิดจริง กายกรรม วจีกรรม เกิดเป็นลีลาท่าทีอยู่ในสังคม มันก็เป็นการถ่ายทอด เป็นตัวอย่างรุ่นหลัง หรือผู้ที่จะเห็น อย่างไหนดี แล้วเราก็ยอมรับกัน อาจจะยกย่องน่ะ เป็น ปคฺคเณฺห ปคฺคหารหํ ยกสิ่งที่ควรยก ชมเชย เราก็จะรู้ อ้อ กิริยาแบบนี้ ลักษณะแบบนี้ เราควรยกย่อง ชมเชย ชูเชิด เป็นตัวอย่างอันดี ที่ควรจะต้องสั่งสม สร้างสรรต่อไป ให้มี ให้เป็น เราก็จะรู้ อ้อ อย่างนี้ดี อย่างไหนไม่ดีทำลาย อย่างไหนไม่ดี ลดละ ลดลงยังไงๆ มันก็จะเป็นการเรียนรู้สั่งสมไปในตัว เป็นประโยชน์ตน แล้วก็ยังเป็น ประโยชน์ต่อหมู่กลุ่ม เป็นประโยชน์ต่อสังคมนี้ สืบทอดๆ ปลูกฝังไปเรื่อยๆๆๆ รุ่นเด็ก รุ่นเล็ก รุ่นโต หรือคนที่ยังทำไม่ได้ ทำตาม เด็กเกิดมาใหม่ ก็ได้สัมผัสทันที เรียนรู้ไปในตัว ทันที เป็นธรรมชาติ รับสืบทอดเป็นสัญชาตญาณไปเลย มันก็ยิ่งเกิดการเจริญ ในสิ่งที่ถูกต้อง ในสิ่งที่ดีงาม ยิ่งมีคนเป็นตัวอย่าง มีคนมีท่าทีลีลาอันเป็นกุศล ท่าทีลีลา อันเป็นสุจริตธรรม มีกายกรรม วจีกรรม ซึ่งมาจากมโนนั่นแหละ ตัวปัญญา ตัวจิตวิญญาณ นั่นแหละ เป็นตัวประธาน แล้วทำให้เราก่อกายกรรม วจีกรรมอย่างนั้น อย่างนี้ มันยิ่งมีองค์ประกอบ มีเหตุปัจจัย เหตุปัจจัย ที่ทำให้เกิดความเจริญ มากๆๆ ขึ้นเรื่อยๆๆๆ

อาตมาก็อยากจะให้พวกเราสำนึกสังวรในจุดนี้ให้มากๆ ในเรื่องของน้ำใจ การฝึกอบรม การสร้าง น้ำใจกันให้ขึ้นมา เราทุกวันนี้ กว้างขึ้น เด็กก็มากขึ้น เด็กๆเขาอยู่จะอบอุ่น ก็เพราะ พวกเรา เป็นคนมีน้ำใจ แต่ไม่ใช่ไปทำให้เขาเสียนะ ไปทำให้เขาเกิดได้ใจ หรือว่าเกิด spoilt, spoilt มันแปลว่าอะไร ได้ ได้ใจ อาตมาแปลว่า ภาษาไทย เด็กได้ ใครก็แล้วแต่ spoilt คือ โอ๋กันจนได้ใจ ได้ใจ หรือจะเรียกว่าอะไรดี เฉยๆ ไม่พอ spoilt น่ะ ตามใจจนคนนั้น เกิดอัตตา มานะ ได้ใจ ถือตัวถือดี เอาตามใจตัว จนคนนั้นผู้นั้นเอาตามใจตัว ก็เพราะเราไปทำ ให้เขาเกิดสภาพ จนเป็นคนเสีย เป็นคนที่จะยึดติด ยังไงก็เอาแต่ใจของตัวเอง spoilt นี่ คือเอาแต่ใจตัวเอง เอา spoilt แต่ใจตัวเอง เอาแต่ใจตัวเอง spoilt ใช่เอาแต่ใจตัวเอง ไม่ใช่อย่าง นั้นน่ะ ไม่ใช่ว่า เราไปตามใจ จนกระทั่ง เขาเอาแต่ใจตัวเอง ไม่ใช่ว่าเราไปปล่อยปละละเลย การเอื้อเฟื้อเกื้อกูล การจะมีน้ำใจ การจะช่วยเหลือ การสมัครสมาน จะสมานัตตตา อะไรกัน ก็ไม่ใช่ จะหมายความว่า ไปตามใจเขา ไปโอ๋ เอาใจเขา จนเขากลายเป็นคนได้ใจ หรือ กลายเป็นคน เอาแต่ใจตัวเอง ไม่ใช่อย่างนั้นนะ นี่ ต้องระวังน่ะ มันมีทิศทาง ที่จะเสีย เลยเถิดไปก็มี แต่ทิศทางที่เขาจะเจริญงอกงาม สมานอันดีงามก็จะมี

อาตมาพูดนี่ ใครรู้สึกไหมว่า อาตมาพูดนี่ว่าจริง ว่าเรายังมีจุดบกพร่อง จุดขาดอันนี้ อาตมาว่า อาตมาไม่ได้ใส่ความ ไม่ได้หาเรื่อง อาตมาว่า พวกเรา จุดนี้ยังบกพร่อง จุดที่ควรแก้ อันนี้น่ะ เราทุกคน ถ้าเผื่อว่า ได้สำเหนียกสำนึก แล้วพยายามฝึกฝน สร้างจริงๆนะ บอกแล้ว ต้องฝึกฝน อบรมตน ไม่ฝึกฝนอบรมตน มันเกิดจริงไม่ได้หรอก มันเกิดเองไม่ได้ เราต้องทำเอา เราต้อง สังวรเอา เราต้องฝึกฝนเอา แล้วมันจะเกิด ถ้าเกิดแล้ว มันจะดีขนาดไหน พวกเรามีทั้งเด็ก มีทั้งผู้ใหญ่ มีทั้งคนแก่ แล้วตอนนี้ คนนั้นคนนี้ก็ไป

อาตมาเองที่จริง มันก็รู้สึกตัวเองเหมือนกันว่า อาตมาเป็นตัวอย่างที่ไม่ค่อยดีนัก ในเรื่องพวกนี้ อาตมารู้สึกว่า มันทำไม่ทัน ทำไม่พอ จะแสดงน้ำใจไปช่วยเหลือเฟื่อฟาย คนนั้นคนนี้ มีอะไรนิด อะไรหน่อย ถึงทันที มีอะไรปั๊บ ก็ โอ๊ อาตมาก็นำหน้าทันที มันไม่ไหว คนมันยิ่งมากขึ้น มันยิ่งไม่ไหว มันต้องแบ่ง แล้วก็บางจุดเท่านั้น บางจุดบางคนเท่านั้น มันไปทั่วไม่ได้ จะไปแสดงน้ำใจ จะไปเอื้อเฟื้อเจือจานกันทุกผู้ทุกคน ทุกเวลาทุกโอกาส ให้ครบครัน ให้หมด มันไม่ได้ ยังไงก็ไม่ได้ คนแก่ก็เพิ่มขึ้น เด็กก็เพิ่มขึ้น จะต้องไป เอ้า ไปมีน้ำใจ กับเด็กๆ ไปประสาน สมานกับเด็กๆ ไปสัมพันธ์กับเด็กๆ ไปสัมพันธ์กับคนแก่ ไปสัมพันธ์กับคนป่วย ไปสัมพันธ์กับ คนงานที่มีงานหนักๆ ยากๆ ต้องไปหมด แค่คิดก็ไม่พอแล้ว ยังคิดไม่ครบเลย วันๆหนึ่งน่ะ ไม่ต้องไปเอาลงมือทำหรอก แค่คิดยังไม่ครบเลย มันทำไม่ได้น่ะ อันนี้ไม่ใช่ว่าแก้ตัว ไม่ใช่ว่า พูดแล้วก็แก้ตัวเอง ไม่ใช่หรอก เจตนาจริงใจแล้วก็อยากจะทำ อยากไปโน่นไปนี่ ยังนึกถึงโยมนึ้ง หลายทีว่า เอ๊อ ยังไม่ได้เคยโผล่ขึ้นไปที่...โยมนึ้งเดี๋ยวนี้ ก็ลงจากบ้านจากเรือน จากกุฏิก็ไม่ คล่องแคล่วแล้วน่ะ ได้ข่าวว่าโยมศิริ เป็นคนส่งข้าวส่งน้ำ เอ๊า แก่ส่งแก่ ดีเหมือนกันนะ เอาน้ำ เอาข้าว เอาน้ำ ถือไปตักไป ไปเผื่อกัน มันน่าเอ็นดูนะ โอ๊ เป็นพี่น้องกันมาแต่ปางไหนน่ะ รู้หรือเปล่า โอ๊ ชาติไหนไม่รู้นะ ต้องมาเลี้ยงดูกัน มาเกื้อกูลกัน เป็นพี่น้องมาแต่ชาติไหน หรือเป็นพ่อ เป็นแม่ เป็นลูก กันมาตั้งแต่ชาติไหนนะ มันน่าเอ็นดูน่ะ

จะชาติไหนก็แล้วแต่เถอะ ซึ่งเราคิดไม่ออกน่ะ แต่กรรมกิริยาที่เราเห็น แต่กรรมกิริยาที่เรามี ขณะนี้ กำลังกล่าวนี่ว่า กรรมกิริยาที่เกื้อกูล เอื้อเฟื้อกันนี่ จะเป็นพี่ เป็นน้องกัน หรือ ไม่เป็นพี่เป็นน้อง มันก็เป็นกรรมกิริยาที่เป็นกุศลกรรม เป็นตัวดีงาม เป็นคุณธรรม ที่แท้นั่นแหละ ใช่ไหม ยิ่งไม่ใช่พี่น้องกันคลานตามกันออกมา ไม่ใช่ญาติโก ทางสายโลหิต ยิ่งมาเกื้อกูลกัน แบบนี้ เลี้ยงดู เอื้อเฟื้อ ช่วยเหลือเฟือฟายกัน ปรารถนาดีต่อกัน อย่างนี้ มันยิ่งมีค่ามาก ใช่ไหม มันยิ่งดี ทำให้ได้โดยไม่จำเป็นจะต้องไปเที่ยวได้แบ่งแยกว่า ไอ้โน่นพี่กู น้องกู ไอ้นี่ญาติกู ไอ้นี่ไม่ใช่ญาติกู ไอ้นี่กูชอบ คนพวกนี้กูชอบ คนพวกนี้กูไม่ชอบ อะไรเกินการนัก ก็ไม่ต้องไปมี สิ่งเหล่านั้น หรือว่า นี่สมควรจะช่วยกันไหม สมควรจะเกื้อกูลไหม ตามกาละ และเหตุการณ์ที่ว่า สภาพความเป็นอยู่

ถ้าสภาพความเป็นอยู่แล้ว เราน่าจะช่วยแล้ว ตอนนี้ โอกาสเวลาก็ตาม ควรยิ่งโอกาสนี้ ก็ช่วยเหลือ เกื้อกูลกัน อย่าพยายามละเว้น อย่าผัด ถ้ามันยิ่งไม่อยากจะช่วยนั่นแหละ ยิ่งต้องทำ เพราะมันจะได้แก้ไข กิเลสที่ไม่อยาก ก็มัน สมควรแล้วแต่เราไม่อยากจะช่วยเลย เพราะชัง น้ำหน้า เพราะไม่ค่อยชอบ อะไรก็แล้วแต่เถอะ ปล่อยได้ยังไง ต้องฝืนเลย ต้องทวนกระแส กิเลสนั้น มันยิ่งไม่ชอบ เพราะเราชัง เพราะอะไร คืออย่าไปตามใจกิเลส มันไม่ชอบ กิเลสมันชัง อย่าไปตามใจมัน ฆ่ากิเลสมันลงไปเลย มันเรื่องอะไร มันสมควรแล้วพิจารณา ด้วยเหตุ ด้วยผล ด้วยปัญญา เราเห็นว่าสมควรจะต้องไปเกื้อกูล สมควรจะต้องไปช่วยเหลือ เสร็จแล้ว เราให้กิเลส มันมาขวางรีขวางลำ ในสิ่งที่จะทำดีทำกุศล ยังกุศลให้ถึงพร้อมนั้น ถ้าเราไปตามใจมัน กิเลส มันก็ได้คะแนน มันก็ได้ใจ อัตตามันก็โต มันก็เลยยิ่งแก้ยากเข้าไปใหญ่ หนาขึ้น ๆ กิเลสมันก็ หนาขึ้น

แต่ถ้าเราทำลายมัน ไม่ยอมให้กิเลสมันชนะ เราชนะมันให้ได้ ชนะด้วยการแข็งขืนดื้อๆ นี่เรียกว่า ลักษณะสมถะ หรือยิ่งชนะด้วยเหตุด้วยผล ชัดเจนเลยว่า อย่าโง่เง่าไปเลย ไปตามใจกิเลส เห็นดัวยปัญญาอันยิ่งว่า เรื่องนี้เลวร้ายนะ ถ้าขืนตามใจ ถ้าทำออกไปแล้ว เห็นว่าเป็นผลของ ความดีงาม ความถูกต้อง เห็นด้วยปัญญา เข้าใจอย่างดีว่า สมควรแล้วดีแล้ว ที่ต้องกระทำ จะต้องช่วยเหลือเกื้อกูล ช่วยอะไรก็แล้วแต่ แล้วลงมือ พยายามมีกรรมกิริยา เหล่านี้แหละ เป็นตัวที่จะแก้ไขกิเลส เป็นตัวที่จะรังสรรค์ เป็นตัวที่จะพัฒนาตัวเราเอง สิ่งเหล่านี้แหละ เกิดจากสังกัปปะ วาจา กัมมันตะ อาชีวะ

นี่แหละตัวปฏิบัติ ที่อาตมากำลังพูด กำลังเสริมทิฐิ ให้เกิดทิฐิความเห็น ให้ความเข้าใจ หรือ ความเห็นให้ถูกทาง ให้ถูกตรง เมื่อคุณเข้าใจดี เข้าใจแล้ว ก็รู้ดี เห็นดีในทิฐิแล้ว เป็นสัมมาทิฐิดี คุณก็ไปพากเพียร พยายาม เอาเอง มีสัมมาวายามะ มีสติ เร่งเครื่องพยายาม มีความพยายาม ขวนขวาย ให้เป็นอย่างนั้น แล้วให้มีสติรู้ตัว มีธัมมวิจัยไปเรื่อยๆว่า เราจะทำยังไง หรือมี สัมมัปปธาน ๔ มีการสังวรปธาน ปหานปธาน ให้ได้จริงๆ ตามที่เราเกิดความเห็นความรู้ ตามที่เราเกิดทิฐิ ความเข้าใจ พัฒนา ให้เกิดกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม นั่นเป็นตัวปฏิบัติ สังกัปปะ วาจา กัมมันตะ อาชีวะนี่ คือตัวปฏิบัติ รวมทั้งงานการด้วย สังกัปปะก็ตัวจิต วาจาก็ตัววาจา กัมมันตะก็ทั้งหมด นั่นแหละ

อาตมาเคยอธิบายแล้วว่า กัมมันตะไม่ใช่แต่เฉพาะกาย วาจาด้วย มโนด้วย แล้วก็รวมทั้ง การงาน คือ อาชีวะ หรืออาชีพ การงานด้วย อยู่ในการงานนี่แหละ ทั้งหมดเลย มีตัวปฏิบัติ ปฏิบัติได้เท่าไหร่ ก็สั่งสมลง ตั้งมั่นลงไปในเป็นสัมมาสมาธิ เป็นความแข็งแรง เป็นความคงทน เป็นความลงตัว เป็นความมีปึกแผ่น เป็นตัวมีน้ำหนัก มีเนื้อแท้ ก็ยิ่งแข็งแรง ก็ยิ่งสมบูรณ์ แล้วยิ่ง จะซ้อนให้เราเกิด สัมมาญาณ สัมมาวิมุติ สัมมาญาณ สัมมาวิมุติเรื่อยไปน่ะ ถ้าเผื่อว่า พวกเรา เจริญด้วยเมตตา เจริญด้วยน้ำใจ เจริญด้วยวัฒนธรรมแบบนี้ขึ้นมาแล้วละก็ มันยิ่งจะสุข ยิ่งกว่านี้เลย ยิ่งจะเจริญอุดม สมบูรณ์ยิ่งกว่านี้ด้วย อบอุ่นด้วย เจริญสมบูรณ์ จะสร้าง จะสรรอะไร ก็เจริญงอกงาม แรงรวมของเราจะเป็นพลังงานที่มีฤทธิ์ มีแรงมากเลย

ที่จริงชาวอโศกทุกวันนี้ เรามีไม่มาก แต่เราอยู่กับสังคมเขา เป็นกลุ่มสังคม เป็นกลุ่มมนุษย์ ที่รังสรรค์ สร้างสรรอยู่ในสังคมมนุษย์นี่ จนเขาทึ่ง จนเขาทึ่งว่า เอ๊ พวกนี้ มันมีทุนหนุนหลัง มันร่ำรวย พวกคุณรู้จริงๆเลยนี่ บัญชีของปฐมอโศกก็ตาม เอามาแฉกันแต่ละเดือนๆ งบดุล ทำบัญชีแฉกัน เรามีเท่าไหร่ เราก็มีแต่หมุนเวียนอยู่อย่างนี้ สันติอโศกก็เหมือนกัน ปฐมอโศก ก็เหมือนกัน ที่ไหนก็เหมือนกันแหละ เราไม่ได้ไปร่ำรวยอะไรเลย ไม่ร่ำรวย แล้วเราก็เป็น นักเศรษฐศาสตร์ ที่จะต้องสะพัดให้ดี การกักตุน เป็นการผิดหลักเศรษฐศาสตร์อยู่แล้ว การกักตุน กักตุนไม่ให้สิ่งใด ที่มันออกไปสะพัดตามหน้าที่ของมัน สิ่งนั้นหมดค่าอยู่ในตัว ของมันเอง ตลอดเวลา เราจะต้องให้มันสะพัด เดินหน้าที่ ทำบทบาท ตัวฤทธิ์ตัวเดชของมัน เป็นยังไง ให้มันออกไปออกฤทธิ์ออกเดชของมันน่ะ นอกจากจำเป็นว่ามันเกินมันมาก เมื่อมันเกินมันมาก เราจะรักษาไว้ให้มันดี เพราะว่าตอนนี้ มันเกิน มันมาก แล้วออกไป มันก็จะกิด เป็นการทำลายสูญเสีย เพราะมันเกิน มันไม่ดี จะเก็บไว้ ก็เก็บไว้ รักษาให้ดีๆ เก็บไว้เพราะจำเป็น ถ้ามีทางระบายออกไป ให้มันได้บทบาท ให้มันได้เอื้อเฟื้อ เจือจาน ให้มันได้มีคุณค่าของมันเมื่อไหร่ ระบายทันที เก็บต่อไปก็ไม่ได้ระบายทันที นอกจากมันจำนน ระบายออกไปยังไม่ได้ ถ้าขืนระบายออกไปแล้ว เฟ้อเกินแน่ ก็จำเป็น เท่านั้นแหละน่ะ

ทุกวันนี้ ของพวกเรานี่ มีสัมมาอาชีพเพิ่มขึ้น สัมมาอาชีพที่เราจะแน่ใจเลยว่า เป็นสัมมาอาชีพ เพราะอาชีพพวกนี้ของเรา ยิ่งเอาหลักของพระพุทธเจ้ามาจับแล้ว เป็นอาชีพถึงขนาด ลาเภนะ ลาภัง นิชิคิงสนตา ในระดับที่ว่า ทำอาชีพนี้ก็ไม่มีลาภแลกลาภ อะไรด้วยซ้ำ และเราก็ไม่ได้ มอบตนในทางผิด เพราะว่าสิ่งที่ทำ เราก็เป็นสิ่งที่เป็นงานการ เป็นอาชีพที่รังสรรค์ เป็นอาชีพที่ดี ได้เอาไว้ใช้สังคม ประโยชน์ตน ประโยชน์ท่าน ได้อย่างถูกสัดถูกส่วน ไม่ใช่มลพิษ ไม่ใช่มลภาวะ อะไร ไม่ใช่สิ่งที่เลวร้ายอะไรน่ะ มันยิ่งดีใหญ่เลย

แล้วเราก็ทำในชนิดที่เรียกว่า ไม่มอบตนในทางผิด แล้วก็ไม่ไปตลบตะแลง ตลบตะแลง ขี้โกง หลอกลวงอะไร ยิ่งไม่มีใหญ่เลย ซื่อสัตย์ สุจริต จริงใจ งานการใดๆ ที่เป็นกิจกรรม กิจการต่อไป มีเหมือนอย่างเขามี การค้า การขายก็มี การผลิตไอ้โน่นไอ้นี่อะไรก็มี การศึกษาก็มี สาธารณสุข อะไรก็มี อะไรต่างๆนานาเข้าไป อีกหน่อยมีหมดละ วิศวะ วิทยาศาสตร์อะไร มีสิ่งไหน ที่มันสมควร พอเหมาะพอเป็นไป สิ่งไหนที่เลว สิ่งไหนที่เรารู้แล้วว่า กิจกรรม อย่างที่อย่างนี้ สร้างขึ้นมา ทำลายสังคม เราไม่สร้าง จะให้เราไปเปิดโรงเหล้าโรงสุราไม่เปิด ไปเปิดโรงบุหรี่ ไม่เปิด อย่าว่าแต่โรงบุหรี่เลย ไปเปิดโรง ร้านที่จะไปทำเครื่องสำอางอย่างนี้ เป็นต้น ไม่เอาละ หรือแม้แต่ จะไปเปิดโรงเจียระไนเพชร ไม่เอา ไม่เปิดละ นั่นมันเสียแรงงาน เพชร ก็ให้มันอยู่ กับเพชร เถอะ เพราะว่า คนเขาทำทางโลก เขาก็ทำกันเยอะแยะอยู่แล้ว เราจะไปทำ ทำไม เฟ้อไม่จำเป็น เพราะว่าแรงงานเหล่านั้น เอาแรงงาน เอาเวลา เอาทุนรอนอะไร มาทำอื่น ที่มันจะต้องรังสรรค์ จำเป็นสำคัญยิ่งกว่า เราจะต้องรู้ค่าของอุปสงค์ ที่จริงสิ่งเหล่านี้ ไม่ใช่อุปสงค์ โดยจริงเลยนะ มันซ้อนเชิง

ทุนนิยม นี่ มองอย่างที่จะต้องได้เงินมา ทุนนิยมนี่ อะไรที่คนมันนิยม อะไรที่คนมันจะได้หมุนดุล

อ่านต่อหน้าถัดไป