น้อยใจไร้สามัคคี
โดย พ่อท่านสมณะโพธิรักษ์
เมื่อวันที่ ๙ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๓๕
ณ พุทธสถานสันติอโศก

สำนึกดีปีใหม่
วันนี้อาตมาจำเป็นที่จะต้องไขความในเรื่องของความสามัคคีกันให้สำคัญหน่อย พระพุทธเจ้า ท่านตรัสว่า สามัคคีนี้เป็นกำลัง สามัคคีเป็นความพรั่งพร้อม ที่ทำอะไรๆได้สำเร็จ อย่างจริงจัง และไม่ต้องบอกเลยว่า ความสามัคคีนั้นเป็นความสุขแน่นอน ไม่ใช่ความทุกข์ แน่นอน ความสามัคคีน่ะ

เพราะฉะนั้น ในคุณค่าของมนุษย์ คุณค่าอย่างหนึ่งของคน ก็คือ เป็นผู้ที่สามารถรักษา ความสามัคคีได้ มีคุณค่านะ ปีนี้เป็นที่ในหลวงท่านได้ตรัสไว้ด้วย จงรู้รักสามัคคีๆ โดยเฉพาะ ท่านตรัสนี่นะ อาตมาตีความขลุมเลย อาตมาตีขลุมอุ๊บมาหาอาตมาเลย จงรู้รัก

อาตมาชื่อรัก เพราะฉะนั้น ให้มารู้สามัคคีให้มารู้ที่รัก รักนี่ก็เป็นที่จะพยายามที่จะนำสามัคคี ขึ้นมาให้จริง เพราะฉะนั้น สามัคคีอย่างนี้แหละ คือเป็นสามัคคีที่ในหลวงท่านตรัส เอาไว้นี่ อาตมาบอกแล้ว อาตมาตีขลุมเอาไว้เลยว่า ท่านจะมีพระเจตนา หรือ ไม่มีพระเจตนาก็แล้วแต่ แต่อาตมา ต้องตีขลุมว่า อาตมาต้องรับแล้ว ต้องรับอย่างมาก จงรู้รักสามัคคี รักนี่คำนึงนะ รู้รัก คำว่ารักนี่ กว้างขวางนะ ความว่ารัก กินความมากทีเดียว คำว่ารัก พาให้ทุกข์ก็ได้นะ คำว่ารัก พาให้ทุกข์เก่งด้วย รักนี่พาให้ทุกข์เก่งด้วย ถ้าไม่เข้าใจในแง่เชิงรักที่มีคุณค่า มีประโยชน์ ถ้าไปรัก อย่างไม่มีคุณค่า ไม่มีประโยชน์ หรือรักอย่างโง่ๆ รักอย่างอวิชชา รักอย่างผู้ไม่มีปัญญา ที่แท้ โดยเฉพาะโลกุตรปัญญาของพระพุทธเจ้า ถ้าไปรักแบบอวิชชา หรือไม่มีปัญญา อย่างพระพุทธเจ้า ที่ท่านนำพาสอนไว้ จะทุกข์ๆ เอามากๆด้วย ไอ้โรครักนี่ อาตมาเห็น มานักแล้วจริงๆ โรครักนี่น่ะ เห็นมานักแล้ว ทุกข์กันมาหลากหลาย

อาตมาก็เคยเจอมาเองด้วยนะ ไม่ใช่ไม่เคย โรครักนี่มีทุกข์ เพราะฉะนั้น รักที่จะเป็นสุขๆ จะต้องมีปัญญา มีความเข้าใจอย่างดีเลยว่า ลักษณะอาการอย่างไร ที่จะรัก ความรักที่หมายนี้ ที่ในหลวงตรัสเอาไว้ รู้รักสามัคคี เราจะต้องรู้เลยว่า สามัคคีนี่ เราจะต้องมีรักนี่หมายความว่า ความปรารถนาดี แต่รักในความหมายในแง่ วิชชานั้น เป็นรัก ี่เห็นแก่ตัว ความรักที่อวิชชานั้น เป็นความรักที่เห็นแก่ตัว และเป็นทุกข์ อามากๆ มันเป็นของตัวของตน มันยึดมันหวงมันแหน อะไรก็แล้วแต่เถอะ รักต้องการครอบครอง ต้องการจะได้เอามาสมใจตน เป็นเจ้าข้าว เป็นเจ้าของ เจ้าอะไร ก็รักอย่างนั้น มันรักอย่างนั้น มันรักอวิชชา รักอย่างนั้น มันเป็นทุกข์ รักอย่างนั้นน่ะ ตรงกันข้ามที่พระพุทธเจ้าพาให้คนเลิก ละเลิกด้วย มันตรงกันข้ามกับที่ พระพุทธเจ้าท่านส่งเสริม รักอย่างนั้น รักอย่างที่ต้องหวงแหน เป็นเจ้าข้าวเจ้าของ จุกๆจิกๆ จู้ๆจี้ๆ อะไร ต่างๆนานา รักอย่างราคะ รักอย่างเป็นปรารถนามาให้ตน บำเรอตนให้ตน

แต่ถ้าเป็นความรักที่จะเสียสละ รักเพื่อที่จะปรารถนาดีที่จะให้อยู่เย็นเป็นสุข ปรารถนาดี ที่จะให้เจริญจริงๆกัน ให้เจริญ มีภาวะเจริญนี่ต้องรู้นะ ต้องเจริญอย่างมีความหมาย อย่างสัมมาทิฏฐิ เราลึกซึ้ง พวกเรานี่ ธรรมะเราเรียนกันมาลึกซึ้ง

พวกเรา เจริญๆขึ้นนี่ มีสิ่งซับซ้อนอยู่ อาตมาจะยกตัวอย่าง อย่างหนึ่ง ถ้าในระดับหนึ่ง เราเจริญ หมายความว่า เรามีสัมมากัมมันตะ เรามีอาชีพ ทำงานทำการแล้วนี่นะ เรามีรายได้ดีขึ้น พอสมควร แต่การมีรายได้ดีขึ้นแล้ว เราก็หลงรายได้ หลงเงินหลงทอง สิ่งที่เราได้มา หวงแหน ขี้เหนียว หรือ เอาไปบำเรอตน เอาไปผลาญพร่า มอมเมาตัวเอง ให้กิเลสหนาขึ้น ให้เชื้อโรค เข้าตัวให้เป็นพิษ เป็นภัยแก่ตัวนั่นเอง ถ้าเผื่อว่าเราเอง เราร่ำรวยแล้ว เราก็เอาไปสะสมกอบโกย มีไว้มากๆ แล้วเอามาบำเรอตน แล้วมาทำให้ตนเองเป็นพิษเป็นภัย ดังที่กล่าวแล้วอย่างนั้น ความร่ำรวยอย่างนั้น เป็นความร่ำรวยที่ผิด เป็นความร่ำรวยที่ไม่เจริญ

แต่คนในโลก ที่เป็น ปุถุชนนั้น เขาจะร่ำรวยแบบนี้ นั่นคือ ความไม่เจริญ มันซ้อนๆอยู่ ฟังดีๆนะ เป็นความร่ำรวยที่ผิด ที่ไม่เจริญ สะสมกอบโกย และใช้อำนาจกำลังเงิน หรือเอาเงินไปใช้ ตามสังคม ไปต่อทอด ไปหาทางหว่าน เอารัดเอาเปรียบอะไรก็แล้วแต่ อย่าว่าแต่เอาไปเล่น การพนัน เอาไปเล่นหุ้นเลย มันเป็นบาป หรือแม้จะฝากธนาคาร กินดอกเบี้ย อาตมาก็เคยพูด ทุกวันนี้พูดหนัก กินดอกเบี้ยนี่ ไม่ได้บุญอะไรเลย เป็นบาปเหมือนกัน เพราะมันต่อทอด ไปสู่ตามระบบของทุนนิยม ไปขูดรีดไปเอาเปรียบเอารัด ง่ายๆก็คือมีระบบฉ้อฉล ที่เอาเปรียบ เอารัด อยู่ในกลไกล หรือวิธีการ ของการธนาคาร การเงินนั้นๆอยู่ ซึ่งมันเป็นส่วนบาปอยู่จริงๆ เพราะฉะนั้น ศาสนาอิสลาม ถึงไม่ให้เอาดอกเบี้ยโดยวิธีใดๆ อย่าว่าแต่ธนาคารเลย ไม่เอาดอกเบี้ย เพราะว่าเป็นบาปโดยแท้ อย่างนี้เป็นต้น ซึ่งเรื่องนี้ลึกซึ้งนะ

ถ้าเผื่อว่าเราเอง เราเป็นคนขยันหมั่นเพียร มีความสามารถแล้วได้รายได้มามาก ประตูแรกนี่ เจริญเหมือนกัน แต่ในแนวลึกแล้ว บอกแล้วว่าได้สะสมกอบโกยแล้ว หรือเอาไปบำเรอตน มอมเมาตนเองแล้ว เกิดพิษเกิดภัยน่ะ มันไม่เป็นความเจริญแล้ว เพราะฉะนั้น ถ้าผู้ใด ได้รายได้มามาก แล้วก็รู้จักสะพัดสิ่งที่ได้ รายได้ที่ได้ ใช้รายได้ที่ได้นั้น ออกไปได้ประโยชน์ คุณค่า มากได้เท่าไหร่ๆ แล้วตัวเองก็อยู่ได้ๆ โดยแม้เราได้มามาก เราก็สะพัดออกไปได้มาก จนกระทั่ง ตัวเองไม่ต้องมีตกค้างกักตุนอยู่ในตนเองเลย ไม่กักตุนเลยถึงศูนย์บาทได้ ยิ่งเป็น ผู้เจริญที่สุด ถูกต้องตามหลักเศรษฐศาสตร์ของโลกด้วย ถูกต้องตามหลักเศรษศาสตร์ ของสากลด้วย นั่นคือผู้เจริญที่สุด ไม่ขัดแย้งทั้งทางโลกที่เป็นหลักวิชา หรือหลักเกณฑ์ที่ถูกต้อง ไม่ยิ่งขัดแย้งเลย

ในทางพุทธธรรม อาตมาขอใช้คำว่าพุทธธรรม ไม่ขัดแย้งทางพุทธธรรมด้วย เรื่องนี้ลึกซึ้ง ซับซ้อน อย่างที่อาตมาบอกแต่ต้นแล้วว่า อย่างนี้เป็นต้น เราจะต้องศึกษาไปให้ดี ให้ลึกซึ้ง ให้ได้รู้ว่าความเจริญนี่ ไม่ใช่ภาษาตื้นๆ ความเจริญต้องมีนัยหลายอย่าง เอาง่ายๆ อีกอันหนึ่ง อย่างคนทุกวันนี้ เจริญคำนี้หมายความว่า อุดมสมบูรณ์หรือเจริญ นั่นแหละ

ทีนี้ เอารูปธรรม คนทุกวันนี้ โหวงเฮ้งของจีนด้วยซ้ำ คนนี่ ถ้ามีร่างกายสุขภาพอ้วน ค่อนข้าง จะท้วม อ้วน หน้าตาอูม คอคางอะไร เต่งตึง มีไขมัน มีอะไรอูมขึ้นเยอะ ร่างกายไม่อยู่ ในลักษณะผอม เขาว่าคนนี้แหละ โหงวเฮ้งดี เป็นผู้เจริญ เป็นผู้ที่จะต้องมีความสุข จะต้องอุดม สมบูรณ์ด้วยอะไรนานาประการ ด้วยอะไรหลายๆอย่าง ก็วิเคราะห์ไป ยิ่งอาจจะกินได้มาก ได้นอนมาก และร่างกายมันก็เลยอ้วน มีไขมันเยอะ แต่ในลักษณะที่แท้จริงแล้ว แม้แต่ในวิชา การแพทย์ ไม่เจริญๆ เป็นคนเสื่อมไม่ใช่คนเจริญ นี่เอาง่ายๆ เพราะคนจีน เขาถืออย่างนั้นเลยนะ

เอาอีกอันหนึ่ง หน้าตา สีหน้า มันมีสีแดงสีเหลือง สีเขียวสีคล้ำ คนที่ทางโหงวเฮ้งจีนจะบอกว่า ถ้าหน้าเลือด มีสีชมพูเป็นเลือด ขึ้นที่หน้ามากๆ อูมๆมีสีเลื่อเยอะ นั่นเขาถือว่าเจริญ ทางพุทธธรรมถือว่า เป็นความเสื่อม ถ้าเผื่อว่าหน้ามีเลือดมากๆ แสดงว่าผู้นั้น มีกิเลสมาก มีการสูบฉีดโลหิตแรง หรือ อุณหภูมิอะไรก็แล้วแต่ ใบหน้าจะมีสีชมพู มีสีเลือดขึ้นเยอะๆ เพราะฉะนั้น ถ้าหน้าเหลืองๆซีดๆลง นั่นแหละ เจริญทางธรรม แต่ไม่ใช่หน้าเหลืองๆซีดๆ อย่าง ประเภทที่ ซ้อนอีก อย่างสุขภาพเสีย หรือมีโรคภัยไข้เจ็บนะ คือหน้าจะผ่องใสเหมือนกัน แต่ว่า จะไม่ใช่สีชมพู ไม่ใช่สีแดง ไม่ใช่สีอะไรขึ้นน่ะ อาจจะเป็นสีซีดขาว หรือว่าเป็นสีซีดๆ ลงไป สีทองๆ ซีดๆ แต่จะมีความผ่องเหมือนกัน นี่มันก็มีนัยลึกซึ้ง ละเอียอลออ หรือหน้าอาจดำ หรือ หน้าอาจจะคล้ำ เพราะทำงานมากๆ ผู้นี้เจริญนะ ไม่ใช่ซีดแล้วไม่ใช่เขียว และไม่ใช่แดง แต่หน้าจะคล้ำๆ แต่อาจหมกหมุ่นตากแดดตากลม หรืออะไรก็แล้วแต่ พวกนี้มากขึ้น ก็เป็นความเจริญ ชนิดหนึ่งเหมือนกัน

ส่วนทางผู้ดีหรือว่าทางโหงวเฮ้งนั่นว่า หน้าไม่ต้องถูกแดด ไม่ต้องถูกลม ไม่ต้องอะไร เหมือนไข่ปอก อะไรต่ออะไรเข้ามานี่นะ ไม่ต้องมีหยาบ ไม่ต้องมีกร้านอะไร โอ๋ นี่แหละคือ ผู้ดีตีนแดง ตะแคงตีนเดิน นี่แหละ เป็นผู้เจริญ มีอยู่มีกิน มีอยู่เหมือนไข่ในหิน ไม่ต้องมีอะไร มากระทบ ลำบากลำบนอะไรเลย ถือว่าเจริญ ในแง่ของโลกีย์ มันไปอย่างนั้น

แต่ทางธรรมนั่นนะเสื่อมแล้ว เป็นพวกที่ไร้ค่าไร้คุณ เบียดเบียนอยู่บนเอาเปรียบเอารัด เป็นผู้ ได้เปรียบผู้อื่นเขา เป็นผู้ที่สูญเปล่า เป็นผู้เป็นหนี้เสื่อมต่ำ อย่างนี้เป็นต้น นี่เอาลักษณะ ของรูปธรรม มาอธิบายสู่ฟัง เพราะฉะนั้นคำว่า ความเจริญนั่นกับความเสื่อมนี่ ยังมีนัยที่ลึกซึ้ง ที่หลายหลาก หลายเยอะแยะมุมนะ

เอาละทีนี้ อาตมาจะเข้าหาความสามัคคี ให้สำคัญหน่อย คำว่า สามัคคีนี่ หลักแกนใหญ่ที่สุด ก็คือ จิตวิญญาณๆที่มีปัญญา และมีเจโตที่แข็งแรงอดทนได้ มีปัญญาหมายความว่า รู้ชัด รู้เจนดี ในความหมายหรือเหตุผลที่ถูกต้อง เป็นต้นว่า เราอยู่รวมกัน จะต้องมีการกระทบ กระเทียบ อะไรกัน มีสัมผัสแตะต้องกัน จริตต่างกันบ้าง อุปาทานหรือความยึดถือต่างกันบ้าง มันก็จะต้องขัดแย้งกัน หรือมีการกระทบสัมผัสกัน ก็จะต้องไม่ลงรอยกันอยู่บ้าง ทีนี้ ถ้าผู้ที่มีปัญญาดีว่า อันนี้คือธรรมดาธรรมชาติ ไม่ว่าใครทั้งนั้น ต่อให้เป็นคู่แฝดกันด้วย ถ้าลงไม่ใช่ตัวเราแล้วละก็ อีกคนหนึ่ง จากเราไปแล้ว มันจะไม่มีอะไรเหมือนกัน ทั้งหมดเลย ไม่ว่าจะเป็นอุปาทาน หรือไม่ว่าจะเป็นจริต จริตนิสัยอะไรก็แล้วแต่ มันจะไม่ตรงกัน เพราะฉะนั้น มันจะสัมผัสกันขึ้นมาแล้ว หรือว่าแสดงความเห็นออกมากันแล้วอะไรก็ตาม มันจะต้องมีที่ ไม่ตรงกัน ขัดแย้งกัน

ดีไม่ดีไม่ต้องแสดงความเห็นหรอก ผู้นี้ไปเอาข้อมูล ต่างๆนานา อะไร เอาไว้มากมาย ที่มันขัดแย้ง ไม่ได้พูดเดี๋ยวนี้เก็บไว้นะ กักเก็บไว้ จนกระทั่ง ได้เหตุปัจจัย เล็กๆ น้อยๆ เท่านั้นก็ตาม โพล่งออกมา ตวาดดุว่าด่ากัน ด้วยความที่ไม่ตรงกัน และ ก็กักเก็บเอาไว้ สะสมเอาไว้ จนกระทั่ง มาเจอเท่านี้นิดเดียวเท่านั้นนะ ไอ้ เก่าๆ ที่มันผ่าน ไม่พอใจไม่ชอบใจ หลายอย่างเอาไว้นี่นะ มันรวมกันเข้าเป็นอำนาจ เป็นแรง เหตุปัจจัย ในตอนนี้แหละ พูดไม่ถูก ขัดแย้งนิดเดียว อ่อนๆเท่านั้นนะ แต่เอาของเก่า ผสมบวกเข้าไปปุ๊บ เปรี้ยงๆเลย ดีไม่ดี พัวะๆ คือ น้ำหยดสุดท้าย ที่มันจะเต็มขัน หรือเต็มกะละมัง หรือคล้ายๆนี่

อาตมาพยายามอธิบาย ในลักษณะอะไรหลายๆอย่าง ก็คงพอเข้าใจนะว่า หมายถึงอะไร มียกตัวอย่าง มาเปรียบเทียบ ก็คงรู้เรื่อง อย่างนี้เป็นต้นก็ตาม สิ่งเหล่านี้ เป็นเรื่องที่เรา ไม่มีปัญญา นอกจากไม่มีปัญญาคือโง่แล้ว จิตของเรานี่สะสม เหตุปัจจัยอันนี้เอาไว้ เป็นเชื้อ และทำให้พวกเรา เกิดความทะเลาะวิวาท แตกแยกบาดหมาง ไม่พอใจได้ สิ่งนี้ ไม่ใช่จะรู้ได้ ง่ายๆ ทีนี้เมื่อมาฟังอาตมาพูดแล้ว เราต้องไปฝึกอีก เพราะฉะนั้น เราจะไปกระทบสัมผัส อะไรใคร พยายามวางใจ ทำใจ ให้เป็นตัวเองกลางๆ

อาตมาเคยบอก ไม่รู้กี่ครั้งกี่ครา ในเรื่องของจิตของเรา ถ้ามันมีอารมณ์ไม่ชอบใจ จะไม่ชอบใจ นิดหน่อย ขนาดไหน ถ้าเรารู้อาการของมัน มันต้องเรียนรู้อาการของกิเลส อาการที่ไม่ชอบใจ อาการโกรธ อาการเคือง อาการไม่ชอบใจนานาชนิด ซึ่งมีความหมาย หรือว่ามีคำเรียกมันอีก ละเอียดลออหลายระดับ ฟังลักษณะมันไปก็แล้วกัน แล้วคุณก็ไปศึกษาเอาเอง อ่านอาการ มันมีเครื่องหมายบอก ให้เรารู้ในจิตเรา แต่จิตเราไม่มีตนหรอก ไม่รู้มันจะอยู่ที่หัว หรือ มันจะอยู่ที่เท้า หรืออยู่ที่หน้าอก หรืออยู่ที่ท้อง หรืออยู่ที่แขน อยู่ที่ขาที่ไหน เราก็ไม่รู้หรอก จิตมันพอสัมผัส ก็รู้สึกใช่ไหม บางที สัมผัสแตะต้องทางกาย ข้างหลังก็ได้ ก็รู้สึก รู้สึกได้ว่า เป็นใคร หรือว่าเป็นเรื่องอะไร หรือว่าร้อน หรือว่าหนาว หรือว่าแข็ง หรือว่าอ่อน หรือว่าแรง หรือว่าเบา อะไรก็ตามใจ เสร็จแล้วก็เกิดความรู้สึก จิตก็จะเกิดสังขาร กิเลสปรุงขึ้นปุ๊ดๆ ขึ้นมาในจิต นั่นแหละ บอกแล้ว จิตมันอยู่ที่ไหนก็ไม่รู้ละ ถ้าจิตมันปรุง มันชอบใจ หรือสาย โทสมูลขึ้นมานี่ ไม่ว่าจะหยาบ กลาง ละเอียด อย่างไร รู้ตัวแล้ว ไม่ต้องหาเหตุผลแล้ว มันควรเอาไว้ไหม เพราะในสายโทสมูล ไม่มีประโยชน์อะไรสักอย่าง เลยเอาออก ปรับออกไป อาการหยาบ กลาง ละเอียดขนาดไหน ที่คุณมีปัญญารู้มัน ทำให้มันเป็นจิตปราศจาก โทสมูล ตั้งแต่ อย่างยักษ์ อย่างใหญ่ อย่างหยาบ อย่างกลาง อย่างละเอียด อย่างบรรจุซอง อย่างธุลีละออง ทั้งหลาย เอาออกให้หมด อย่าให้มันมีอาการเหล่านั้นอยู่เลย ฝึกไปเถอะ ไม่มีเงื่อนไขอื่นเลย

ส่วนจิตที่มีความปรารถนาหรืออยากได้หรือเป็นโลภะหรือไปในเชิงโลภมูล หรือโลภมูล ปรารถนา มาเป็นความปรารถนาอยู่ อันนี้ยังมีประโยชน์ ปรารถนาต้องการอยาก แต่ไม่ใช่อยากทำ อยากสร้าง อยากได้มาเพื่อคุณค่าเพื่ออะไร ซึ่งไม่ใช่เพื่อตัว เงื่อนไขหลักที่สุด ที่สำคัญก็คือว่า ถ้าเราอยากได้อะไรมาเพื่อตัว บำเรอตัวอย่างจริงๆเลย เกินพอเหมาะ พอดีๆ คำนี้จะต้องควบ คำว่า มักน้อย สันโดษด้วย เพราะว่าคนเรา มันไม่มักน้อยสันโดษ มันยังไม่พอ ถ้าจะพอดีก็ เปลืองๆ ผลาญๆมากๆ เพราะฉะนั้น จึงต้องฝึกให้น้อยๆลงๆ คำว่า อัปปิจฉะ สันตุฏฐิ หรือ มักน้อยสันโดษของพระพุทธเจ้า ยิ่งสำคัญมาก หัดน้อยลงมาๆๆ จนกระทั่ง เราพอ สันโดษคือ พอๆแล้ว พอดีแล้ว พอแล้ว สันโดษนี่พอ มันพอมันพอใช้ มันสมดุล มันพอ มันสมดุลแล้ว มันลงตัวแล้ว มันจะมีสภาพคุณภาพที่สมดุลสมบูรณ์เลยเรียกว่า พอ และต้องฝึกลงมาเรื่อยๆ จะเอาทีเดียวน้อยก็ให้ได้ทันที มันไม่ได้หรอก เป็นขั้นๆ เพราะฉะนั้น ฐานะแต่ละบุคคลนี่

ยกตัวอย่างง่ายๆ คนที่มีนิสัย มือเติบ รายได้เดือนหนึ่ง สามหมื่น ใช้ไม่พอ ก็หัดลงมาให้พอ ให้มันพอจริงๆ ให้มันพอจนอยู่ได้อย่างง่ายดาย จนดีจนมันพอ เหลือด้วย ก็ดูตัวเองว่า จะตัดอะไร ออกได้อีก จะเจียนลงไป จะลดอะไรลงไปได้อีกอย่างไร ก็ลดลง เดือนหนึ่ง สองหมื่นให้มันได้ เดือนหนึ่งหมื่นหนึ่งให้มันได้ ลักษณะนี้แหละ น้อยลงๆ เดือนหนึ่ง ห้าพันให้ได้ เดือนหนึ่งสามพันให้ได้ เดือนหนึ่งพันเดียวให้ได้ เดือนหนึ่งไม่ต้องใช้ สักบาทเลย พอให้ได้ ผู้ใดทำได้ ผู้นั้นแหละสันโดษๆ และลงตัวสบายจริงๆไม่เดือดร้อนจริงๆ ไม่ต้องใช้ สักบาทหนึ่งเลย ในเดือนหนึ่งไม่ต้องใช้เงิน แต่ของอื่นก็มีนะนี่ ต้องกินต้องใช้อะไรนี้ ก็มีๆบทบาท มีองค์ประกอบของมัน มีวงจักรที่เราอยู่เป็นอยู่กันในสิ่งแวดล้อม ที่เราอยู่ได้ โดยไม่ต้องมีเงิน เอาเงินมาใช้ เป็นส่วนตัวสักบาทเลยได้ อะไรอย่างนี้ เป็นต้น นี่นัยมันลึกซึ้ง ซับซ้อน ขึ้นมาเรื่อยๆ หรือยกตัวอย่างอีกตัวอย่างหนึ่ง

เรากิน เรากินข้าวนี่นะไม่เคยเรียน ปากไม่มีวินัย กินทุกอย่างที่ขวางหน้า คือกินแหลก ถ้าเห็นว่า มันชอบ มันได้เปรียบนะ คนเรากินบางทีมันชอบ มันอิ่มแล้วก็ยังพยายามใส่เข้าไป ภาษาไทย คำหนึ่ง เขาเรียกว่า ยัดนะ เพราะว่ามันอิ่มแล้ว ทีจริงนั่นนะ อิ่มแล้ว แต่มันยังอยาก มันยังอร่อย มันชอบน่า ก็เลยพยายามใส่เข้าไปอีก อั้ยนี่มันเหลือเกินแล้วนี่ ตะกละตะกลามเหลือเกิน โอ ขนาด มันอิ่มแล้วพอแล้ว มันยังอุตส่าห์พยายามใส่เข้าไปอีก ฯลฯ..

เอาทีนี้ ไม่เหลือเกินแหละนะ เรากินนี้ พยายามปฏิบัติธรรมแล้วนี่ ต้องการอาหาร หรือ ต้องการอะไร เข้าไปสักเท่าไหร่ ไม่เคยคำนวณ ไม่เคยกำหนด ไม่เคยประมาณ ไม่เคยศึกษา ตนเอง กินแหลก อย่างนี้ก็ไม่ได้ปฏิบัติธรรมอะไร โดยเฉพาะเรื่องการกินนี้ เป็นเรื่องที่หนึ่ง เป็นเรื่อง โภชเนมัตตัญญุตา มัตตัญญุตา จ ภัตตัสมิง หรือว่าอาหารนี่ เป็นหนึ่งในโลกอะไร พระพุทธเจ้า ท่านสอนมามาก แต่คนทุกวันนี้ปฏิบัติธรรม เที่ยวนั่งแต่หลับตากัน ทำสมาธิ ไม่ปฏิบัติธรรม ทำตามอปัณณกธรรมของพระพุทธเจ้านะ เรื่องพวกนี้ ไม่ปฏิบัติกัน มันก็เลย ออกนอกรีต นอกรอย นอกแนวหมด

ทีนี้ใครมาปฏิบัติอย่างพวกเราๆ จะเห็นได้ว่า โอ มันละกิเลสได้จริงๆ นะเรื่องกินนี่ เพราะเรา มาดูแล้ว ของที่เราชอบ หัดลดมั่งแน่ มาฝึกแล้ว ที่เราติดที่เราชอบนะ เนื้อสัตว์นี่ มันชอบ มากกว่าพืช กว่าผัก เพราะมันติดจริงๆ มันติดมานานแล้วนะ กินสัตว์มา ไม่รู้ว่ามากี่ชาติ ไม่รู้ว่าแต่ปางไหน อาตมา ไม่รู้คนมันหลงกินเนื้อสัตว์มานี่ อย่างนี้เป็นต้น หรือไม่ต้องสัตว์หรอก อาหารที่ชอบ ขนมบ้าง ไอ้โน่นบ้าง เราไม่กินเสียบ้าง ลดสาบ้างอื่นๆ กินอย่างอื่น ที่มันมีคุณค่า ทางอาหาร เหมือนๆกัน หรือคล้ายๆกัน หรือทดแทนกันได้แทน อย่าไปกินเลย อย่างนั้น มันชอบจะปรุงมาในรูปนั้น ชื่อนี้ อย่างนั้นอย่างนี้ อันไหนก็แล้วแต่เถอะ อย่างนี้เป็นต้น

เราก็หัดฝึก หรือกินจุกจิกกินหลายมื้อ กำหนดเสียบ้าง เรียกว่า วิกาลโภชนา กำหนดครั้ง กำหนดคราวเสียบ้าง กำหนดมื้อเสียบ้าง กินจุบจิบ ก็เลิกกินจุบจิบ เราจะกินเอาละ เราจะตั้งใจ ไม่นอกมื้อ จะไม่กินเล่นกินหัวอะไร อาหารนี่จะไม่เอาเข้าปากเข้าไป ไม่ว่าจะเป็นน้ำ อย่างใส่ ชงนั่นชงนี้ หรือเป็นน้ำเปรี้ยว น้ำหวานอะไร จะกินข้าว จะกินก็เป็นมื้อ เป็นคราว นั่งในที่นั่ง ศัพท์ของทางศาสนาเรียกว่า นั่งในที่นั่ง จะกินก็กินเป็นกิจจะลักษณะ ที่นั่งนี่กิน คุณจะกินอะไร ที่คุณยังจะต้องจะกินอยู่ จะเป็นอาหารจะเป็นของหวาน จะเป็นน้ำชง จะเป็นอะไร ก็แล้วแต่ น้ำปานะ อะไรโน่นนี่ก็แล้วแต่ นั่งกินมันที่นี่แหละ เอา กำหนด ๓ มื้อ มันมากมายแล้ว ๓ มื้อนี่กิน นอกกว่า ๓ มื้อ เวลามื้อนั่งนี่ นั่งลุกจากที่นั่งแห่งนี่ ๓ ที่นั่ง พระพุทธเจ้า ใช้คำว่า ลุกจากที่นั่ง ๓ ที่นั่ง ท่านไม่เคยว่านะ ท่านเคยสอนแต่ว่า ลุกจากที่ที่เดียว พอกิน ลุกจากที่นั่ง ที่เดียว คือกินมื้อเดียวนั่นเอง แล้วก็นอกนั้นไม่กินอีก เอาละ ปฏิบัติมา เป็นลำดับ อย่าเพิ่งมา ทีเดียวมื้อเลย มันหนัก ๓ มื้อให้ได้เด็ดขาด จุบจิบจู้จี้ นอกเหนือมื้อนี้แล้ว ก็คุณไป สังวรซิ เราก็จะลดน้อยลง ลดน้อยลง แล้วก็จะเห็นว่า ความลงตัว หรือความเป็นไปได้ ละลดกิเลสไปจริงๆ แล้วคุณจะเห็นเกิดปัญญาญาณ

๓ มื้อได้แล้ว ก็มาลด มักน้อยลงมาอีก เหลือ ๒ มื้อ อย่างนี้ก็เรียกว่า พยายามมักน้อย แล้วทำให้เกิดสันโดษขึ้นมาได้เหมือนกัน คนนี้ ๒ มื้อสันโดษ จนกระทั่ง คนนี้มื้อเดียวสันโดษ มื้อเดียวพอแล้ว อย่างอาตมานี่ ขอยืนยันเลยว่า อาตมากินอาหารมื้อเดียว วันละมื้อนี่ สันโดษๆ อย่างสมบูรณ์ คือกินมากกว่ามื้อหนึ่งนี่ แม้เขาให้กินยา เวลาไม่สบาย ต้องกินยา ต้องกิน อาหารเสริม มันไม่ค่อยจะเข้าท่าเลย ยิ่งบางที ต้องกินเช้า กินเย็นด้วย และ อาหารของเรา ก็กินอาหารอันนี้ และยังมี ก่อนกินยาเช้า ยาเย็น นี่มันจะต้องรองท้อง แหม เหมือนกับกิน ๓ มื้อ โอย ไม่คอยสนุก ทั้งๆที่ ไม่มีอะไรมากหรอกนะ เขาชงมาใส่แก้วมาบ้าง ใส่อะไรมาสักครึ่งแก้ว อะไรก็ตาม มันอย่างไรไม่รู้ มันไม่สบาย มันไม่ปกตินะ จะบอกว่าไม่สบาย ก็ไม่ชังหรอกนะ

อาตมาก็ไม่ได้ชังหรอก แต่มันอย่างไร แต่มันมีปฏิกิริยา มันไม่เป็นเวลาของมันก็ไม่รู้ สงสัยโรงงานในท้อง มันเคยชินเวลาแล้ว เอาอันนี้ เป็นเหมือนกันนะ อย่างที่เราเคยพูด คนเคยเป็น โรคกระเพาะอาหาร กินข้าวไม่เป็นเวลา นี่ มันเป็นได้นะ เซลล์ประสาทลีลาพวกนี้ มันก็เป็นอะไรๆที่มันเป็นของมัน เป็นจังหวะ เป็นเวลาได้เหมือนกัน มันเป็นด้วย เพราะฉะนั้น ท้องจะรวน มันจะไม่ปกติ มันจะมีอะไรเข้าไปผิดเวลา ผิดประหลาด พวกนั้นมันก็จะต้อง ทำงานเพิ่มขึ้นไปอะไร จิตนั่นไม่ต้องพูด อาตมานั่น สบายแล้วพอ มื้อเดียวนี่พอจริงๆ สันโดษ น้อยแค่มื้อหนึ่ง อาตมาก็ว่าดีแล้ว แต่ถ้าว่าหัดน้อยกว่านี้นะ สองวันกินที สามวันกินมื้อ อะไรอย่างนี้ เราก็เคยหัดมา ให้มันน้อยยิ่งกว่านั่น มันก็ยังพอๆไปได้นะ แต่มันไม่สะดวก ด้วยหลายประการ มันก็รู้สึกจะเอาละ มันไม่สมดุลดีนัก ก็วันละมื้อนี่ก็ดีแล้วละ กินมาก กินน้อย มันมากก็กินน้อย ถ้ามันไม่มากก็กินพอดีๆ กินมากไปมันก็ไม่ดี อยู่ทั้งนั้นแหละ นี่เป็นวิธีที่เรา จะต้องฝึก ความมักน้อยสันโดษ ยกตัวอย่างให้ฟังง่ายๆ อย่างนี้เป็นต้น

ถ้าผู้ใดได้ฝึกแล้ว จิตใจจะแข็งแรง จิตใจจะดี เจโตดี ปัญญาดี ต้องฝึกให้เจโตสมบูรณ์ด้วย เจโตก็คือเป็นไปได้ จิตมีกำลัง มีอำนาจทำได้ ไม่ต้องฝืน ไม่ต้องอด ไม่ต้องทน ไม่ต้องข่ม เจโตนี่ ไม่ต้องเลย สบาย เป็นไปได้ตามธรรมดา และปัญญาก็ชัดเจนว่า เรามักน้อยอย่างนี้ เรามีแค่นี้ เป็นอย่างนี้ เราก็พอ เพราะเหตุอะไร และเราจะไม่แย่ง อย่างอาตมา ไม่ไปแย่งใครหรอก ตัวเองในชีวิตนี้ มั่นใจว่าไม่มีเงินส่วนตัวเลยสักบาท ไปตลอดตาย อาตมามั่นใจที่สุด อาตมาอยู่ได้ และแน่ใจว่าตัวเองไม่ได้ตกต่ำ ตัวเองไม่ได้เสื่อม ตัวเองไม่ได้ด้อยอะไรเลย ถ้าจะไม่มีเงินสักบาทเลย ไปจนตลอดตาย

ฟังไว้นะ ท่านทั้งหลาย ประกาศอวดดี เหมือนกันนะนี่ จริงๆ มันเข้าใจๆ แล้วพอใจที่จะเป็น อย่างนี้ด้วย พอใจที่จะเป็นอย่างนี้ ไม่ได้เคยเคย แต่ว่าเดี๋ยวนี้ๆ คนมีเงินมากๆ มายๆ จะวิเสวิโส อะไรเลย ทุกวันนี้ สงสารด้วยซ้ำไปว่า ที่ไปมีมากๆ มากไปเอามากๆ แล้วก็ไปสั่งยึดทรัพย์ถึง ๕๐๐ ล้าน อย่างนี้ เป็นต้น โอ้โฮ สงสารแสนสงสาร บาปเห็นเขาบาปอยู่ๆ โอ่ เอาไปกักตุน แค่กักตุน ก็บาปแล้ว โดยหลักเศรษฐศาสตร์น่ะ ไม่สะพัดออกไปเพื่อที่จะให้ทั่วถึงกัน เพราะคน ยังขาดแคลน คนไม่มีเงิน ขาดแคลนเงิน จะยังชีวิตอยู่นี่ มีเยอะใช่ไหม แล้วก็กักตุนอยู่ได้ตั้ง ๕๐๐ ล้าน พันล้าน แสนล้านเป็นของกู ไม่เกิดประโยชน์อะไร นอกจากไม่เกิดประโยชน์ ยังไปเอาวางไว้ แล้วดูดมาให้แก่กูอีก โธ่เอ๋ย แค่ ๕๐๐ ล้านนี่ ใช้จ่ายไปวันนี้ ในปีนี้ ก็ยังไม่หมดเลย คิดดูซิ แล้วดูดมาอีก โอ้โฮ มหาอภิมหายอดเขมือบ มันโลภมหาโลภขนาดไหน คิดดูซิ เห็นแก่ตัวขนาดไหน แล้วคนในโลกนี้ ที่จะต้องช่วยเหลือ เกื้อกูลกัน เขาไม่มีใช้ ไม่มีหมุนเวียน เขาเดือดร้อน ขาดแคลนนะ หาทางทำบุญหรือแจกจ่ายๆ หรือเสียสละ ให้เขาไปบ้าง ได้ไหม แค่ stop ไม่ต้องดูดมาอีกได้ไหม กิน ๕๐๐ ล้าน กินไปใช้ไปนี่ มันใช้ฟุ่มเฟือย บำเรอตนขนาดไหน มันถึงจะหมด ๕๐๐ ล้านในชีวิตนี่นะ หมดหรือ กินอย่างไร ใช้อย่างไร บำเรออย่างไร กินจะไปผลาญเล่นๆ ขนาดหนักๆ อีหนูมาเอา อีหนูคืนหนึ่งฉันให้ ๕๐ ล้าน เออ ถ้ามือหนักขนาดนั้น มันก็ไม่พอละขนาดนั้น แต่ถ้าธรรมดาสามัญที่ตัวเอง ขี้เหนียว อยู่แล้วนี่นะ มันไม่หมดหรอก นี่แหละคือความโลภ เป็นภัยต่อโลกต่อสังคมมากมายนะ มันเป็นอย่างนี้นะ เพราะฉะนั้น ถ้าเผื่อว่า ผู้ใดเข้าใจสันโดษ ความพอของตนนี่ จะเห็นจริง ด้วยปัญญาแล้ว ไม่มีการเปลี่ยนแปลง และเราก็เป็นสุขด้วยนะ เป็นสุข

เอาละทีนี้ จบมุมนี้ ความสามัคคีของคนจะสามัคคีได้ เพราะความโลภมันลด เพราะความโกรธ ที่พูดไปแล้ว ประเด็นแรก แม้แต่ความไม่ชอบใจเล็กน้อยก็เอาออก ความโลภนี่ ด้วยหมด ลดลงไปๆ และปัญญา เจโตจะต้องเป็นการลดลงไป และสมบูรณ์ที่สุดนั่นแหละ พระอรหันต์ แม้ยังไม่สมบูรณ์ด้วยเจโต ปัญญารู้แล้วว่าลดดี ไม่มีโลภไม่มีโกรธมาให้แก่ตัวนี่ดี ก็มาฝึก พอฝึกแล้ว ด้วยปัญญารู้แล้ว แต่เราก็ยังไม่ฉลาด ไม่มีปฏิภาณอยู่กับหมู่กับฝูง ก็กระทบกันนิด กันหน่อยก็ แหม โกรธแล้วไม่สบายใจ และความสบายใจอย่างโง่ๆ ชนิดหนึ่ง

ที่อาตมาเห็นกันอยู่มากนี่ ผู้หญิงนี่ชอบเป็น คือ น้อยใจ ผู้ใดน้อยใจคือ โง่ไม่เสร็จทุกคน ผู้ใด ที่ยังมีอาการน้อยใจให้แก่ตัวเอง คือ โง่ไม่เสร็จทุกคน น้อยใจนี้ มันก็ทุกข์น่ะ แต่ก็โง่ให้มันทุกข์ อยู่นั่นแหละ ไปน้อยใจทำไม มันไปมีความจริง คือมันมีอาการชนิดหนึ่ง ที่เราเรียกว่า เป็นภาษาไทยว่า น้อยใจ ไม่รู้ภาษาฝรั่งเขาเรียกว่าอะไร ภาษาจีนเขาเรียกว่าอะไร คนจีนน้อยใจ เรียกว่าอะไร อะไรซิม เอาละเสียเวลา พูดไปก็อย่างนั้นแหละ บัญญัติภาษาของชาติไหน ก็แล้วแต่ เขาจะสื่อภาษาเป็นอย่างไร แต่อาการนั่น เราต้องรู้อาการอย่างนั้น จะเป็นเจ็ก แขก ฝรั่ง ไทย อะไรก็ช่างเถอะ ถ้าอาการมันเป็นอย่างนั้น ภาษาไทย เรียกว่า น้อยใจ ภาษาจีน ภาษาฝรั่ง จะเรียกว่าอะไร อาการนั่นตรงกันก็แล้วกัน ภาษาจะเรียกแปลกไปอย่างไร ก็ตามแต่ ไม่มีปัญหาเรื่องภาษา แต่อาการนั่นตรงกันก็แล้วกัน คุณรู้ให้ชัดก็แล้วกันว่า อย่างนี้เรียกน้อยใจ อาการอย่างนี้ เครื่องหมายว่าให้รู้ อาการอย่างนี้ เรียกว่าน้อยใจ ใครเรียนรู้แล้วก็เอาออก อย่าให้เกิดในใจ ทำให้ได้ตลอดไป ใครทำได้ผู้นั้นๆเป็นสุข ฉลาด เสร็จแล้ว เรื่องความโง่ อย่าโง่ไม่เสร็จอยู่ ไม่รู้แล้วนะ เพราะฉะนั้นพยายามเรียนรู้ นี่ก็เรื่องความไม่สามัคคีอันหนึ่ง น้อยใจนี่ เป็นภัยอันหนึ่งในสังคม เป็นภัยอันหนึ่งในหมู่กลุ่ม ถ้าน้อยใจแล้ว ประเดี๋ยว เรื่องตามแล้ว น้อยใจไม่เอา ไม่ช่วยแล้ว น้อยใจไม่ประสานแล้ว น้อยใจแล้ว ดีไม่ดี หาเรื่องแกล้ง หาเรื่องประชดอีก อะไรต่างๆนานา ได้สารพัด งอกเงยไปไม่เข้าท่า อย่างน้อย ก็ไม่ร่วมมือแล้ว หรือร่วมมือ ก็ร่วมอย่างฝืน น้อยใจนา

อย่าว่าแต่น้อยใจเลย ไม่ชอบใจอะไรก็แล้วแต่ น้อยใจนี่อยู่ในสายของ โทสมูล อัตตามานะ เอาใจตัวเป็นหลัก น้อยใจไม่ได้สมใจตัว ความน้อยใจ ไม่มีอะไรอื่นเลย ความน้อยใจ นี่คือ ไม่ได้สมใจกูอยากได้ ตามที่กูอยากได้ แต่ไม่ได้ดังใจ ที่กูอยากได้ ไม่ว่าเรื่องอะไร ไม่ว่ามาก ไม่ว่าน้อย ก็แล้วแต่เถอะ แล้วก็น้อยใจ อัตตามานะกิเลส เพราะฉะนั้น เรียนรู้ดีๆ เรียนรู้ อาการแล้วอย่ามี คนเราไม่ต้องน้อยใจหรอก ใจมันมีเท่าไหร่ ก็ให้มันเต็มๆ

มันมีร้อยก็ให้มันมีร้อย อย่าให้มันไปเหลือเก้าสิบ อย่าให้มันไปเหลือแปดสิบ ไปน้อยลงไปทำไม ใจมีธาตุรู้ ใจนี่คือธาตุรู้ ให้มันรู้อย่างธรรมดา อย่างธรรมชาติของใจ ไม่ต้องไปให้กิเลส มันมาทำให้เป็นน้อย เรียกว่าเป็นอาการน้อยใจเป็นอย่างไร มันก็ทุกข์อย่างนั้น อย่าให้มันเป็น อาการอย่างนั้น ไม่ต้องทุกข์ด้วยน้อยใจ ไม่มีอาการที่จะน้อยใจ และก็รู้ใช้จิต วิญญาณเต็มที่ เขาจะว่า เขาจะทำให้สมใจเรา เราอยากมันก็อยากได้สมใจเราละ เราเชื่อว่า ควรจะเป็นเช่นนั้น เราเข้าใจว่าควรจะเป็นเช่นนี้ แต่ใครก็ตาม กระทำลงไป พฤติกรรม เราสัมผัสแล้ว มันไม่ตรง ตามที่เราเห็น มันไม่เป็นเช่นที่เราคิด เออ ควรเป็นอย่างนี้ น่าจะเป็น อย่างนี้ แต่มันไม่เป็นตาม เราก็รู้ความจริงตามความเป็นจริงซะ เท่านั้นให้ชัด

ไม่ต้องให้ใจ มันหวำ มันเว้า มันแหว่ง มันน้อยมันตกมันเสีย ภาษาไทยนี่นา เสียใจตกใจ น้อยใจ อะไรใจอีกละ อันนั้น ภาษาที่ผมพูดเองนะ ที่เว้าใจ แหว่งใจนี่ ไม่มีใครพูดหรอก ผมพูดเอง นั่นแหละ พูดมานาน มันก็มีนี่แหละ ที่ฟังโดยรู้ทั่วไป ที่รู้กันนี่นะ เสียใจ น้อยใจ เศร้านั่น มันไม่ใช่เชิงนี้ เหงาใจ เศร้าใจ มันไม่ใช่เชิงนี้ เสียใจ ไอ้ไม่เต็มนี่ เสียไปน้อยไปนี่ ก็พอแล้วนะแค่นี้ ก็เหลือกินแล้วละ

ถ้าเราเรียนรู้ปรมัตถ์ ขณะที่คุณกำลังนั่งเรียนอยู่ขณะนี้ เรียนปรมัตถธรรมนะ ขณะนี้ เรียนอภิธรรม นะนี่ อาตมาพูดจิตเจตสิก ไม่ใช่เรื่องเบาๆนะนี่ ไม่ใช่เรื่องตื้นนะ นี่จิตเจตสิกนะนี่ ปรมัตถธรรมนะ อธิบายให้ฟังโดยภาษา และคุณก็ไปอ่านของคุณเอาเองให้ได้ ไปรู้รูปนาม รูปก็หมายความว่า อาการนั้นแหละ ที่ถูกเรารู้ ญาณของเรา หรือ ปัญญาของเรารู้ อ่านออก ของเรานี่แหละ และ เราก็จะต้องพยายามเปลี่ยนแปลง อย่าให้มันเกิด ถ้าทำได้นะ ความสามัคคีก็จะดี ไม่ต้องป่วยการไปพูดหยาบๆว่าโกรธ และมันมีสามัคคีตรงไหน โกรธ ริษยา มันมีความสามัคคีตรงไหน ไม่ต้องไปพูดเลยในใหญ่ๆพวกนั้น understood ยกไว้ในฐานที่เข้าใจ คุณไปเข้าใจเอาเอง ละไว้ หยาบๆพวกนั้นไม่อธิบายแล้ว อธิบายแม้แต่แค่นี้ไว้ ตัวน้อยใจ เสียใจอะไรพวกนี้ มันคืออัตตามานะ แล้วไม่เกิดความสามัคคี ไม่เกิดพลังรวม ไม่เกิดกำลัง อย่างที่กล่าว เราต้องการกำลัง เราต้องการพลังรวม เราต้องการสามัคคี อย่าว่าแต่ชาวอโศก อย่าว่าแต่แค่ประเทศทั่วทั้งโลก ต้องการสามัคคี ความต้องการอันนี้ เป็นความต้องการที่ดีนะ เรียกว่า ปรารถนาดี หรือความต้องการที่ดี

ทีนี้ได้แต่ความต้องการ ได้แต่ความปรารถนา แต่ไม่สร้างความดีจริงพวกนี้ลงไป แม้ในจุดหนึ่ง ในคนหนึ่ง มันเกิดได้ไหมๆ เกิดไม่ได้ มันจะเกิดได้ก็เพราะเราต้องสร้างที่เรา เพราะเรา รับผิดชอบตัวเราๆ เราต้องสร้างก่อน เราต้องสร้างของเราให้ได้ และอาตมาก็มาพา พวกคุณสร้าง ทำเรื่องหยาบบอกแล้วว่า อย่ามีโกรธ อย่ามีริษยา อย่างโน้น อย่างนี้ แก้แค้นไม่เอา อภัยให้หมด แม้แต่อาการที่ไม่สบายใจ ไม่ชอบใจ หรือแม้แต่น้อยใจ เสียใจพวกนี้ อ่านใจ แล้วปรับจริงๆ ปรับย้ำอีกทีหนึ่ง ใครยังเสียใจหรือยังน้อยใจ โดยเฉพาะน้อยใจๆอยู่ ยังโง่ไม่เสร็จ ยังโง่ไม่เสร็จจริงๆ ยังอวิชชาอยู่ตลอดกาลนาน จริงๆ เป็นทุกข์ เป็นภัยต่อตนก็คือทุกข์ เป็นภัยต่อสังคม เป็นภัยต่อหมู่กลุ่มคือ ความไม่สามัคคี แล้วไม่มีการสร้างสรร ไม่มีพลัง หรือ แม้แต่เราช่วยร่วมมือ น้อยใจแล้วละ แต่จำใจๆ ที่จะต้องร่วมมือก็ฝืน ไม่เต็มที่หรอก ไม่สมบูรณ์หรอก มันไม่เกิดความเจริญที่สมบูรณ์เลย

นี่เป็นมุม เป็นประเด็นที่ อาตมานำเอา มาพูด คิดว่าพวกคุณเข้าใจแล้วรู้อยู่นะ อาตมาไม่พูด อาตมาว่าคุณรู้อยู่นะ แต่คุณไม่เฉลียว มันดึงมาไม่ออก ถ้าพูดไปแล้ว เชื่อว่าพวกคุณ เฮ้ย ไม่ได้ลึกซึ้งอะไรหรอก แต่มันบัง มันพราง อยู่ในตัวคุณเองๆ อาตมาเชื่อว่า ที่นั่งอยู่นี่ ไม่มีใครโง่ พอที่จะไม่เข้าใจที่อาตมาพูดหรอก รู้พูดออกไปแล้ว เฮ้ย อย่างนี้เราก็รู้นะ ไม่ต้องอาศัยอาตมา มาบอกก็รู้ อย่างที่อาตมาบอกนี่ จริงๆอธิบายแล้วนี่ โธ่เอ๊ยของง่ายๆ แบบนี้ นี่เหรอมาสอน แต่ไม่ง่ายนะ มันไม่เฉลียวๆ หรือ มันไม่มีสำนึกอันนี้หรอก ไม่มีสำนึกอันนี้ พอบทมันจะน้อยใจ กิเลสมันก็เข้ามาครอบงำหมดแล้ว น้อยใจแล้ว บทมันจะเสียใจก็เกิดเหตุการณ์นี่ ก็เสียใจไปแล้ว ไม่รู้เนื้อรู้ตัวอะไรหรอก แต่จริงๆ โดยความเข้าใจโดยปัญญา โดยความเฉลียวฉลาด พวกคุณ เข้าใจ อาตมาอธิบาย เชื่อว่า พวกคุณเข้าใจ และคิดว่าตัวเองก็รู้ว่า อย่างนี้ก็รู้เหมือนกัน

แม้อาตมาไม่พูดขึ้น ก็จริงๆ มันก็พอรู้ได้ดี เอาไปเขียนขายได้เลย ตั้งหลักว่า จะต้องเขียน ธรรมะดีๆ เขียนขาย อาตมาว่า คุณเขียนขายออกได้ด้วยซ้ำไป อย่างที่อาตมาพูดนี่ คุณจะเขียนได้ เพราะฉะนั้น คนที่เขียนขายอยู่ทั้งหลายทั้งแหล่นี่ตัวจริงๆแล้ว เจโต และ จิตของเขา ได้ละได้ล้างจนลงตัว เป็นคนมักน้อยสันโดษ หรือเป็นคนไม่มีกิเลสพวกนี้ได้หรือยัง ใจเขาลงตัว หรือยัง สันโดษคือความลงตัว คือความเป็นไปได้จริงที่เจโต ปัญญาเข้าใจได้ ล่วงหน้าได้ หรือ ทิฏฐิความเห็น ความเข้าใจๆ ล่วงหน้าได้ แต่มาปฏิบัติที่จิตของเราเป็น เจโตของเรา จิตของเรา มันเป็นๆอย่างที่กล่าวนี่ อย่างแข็งแรง อย่างถอนอาสวะเที่ยงแท้ ไม่แปรปรวนเป็นอื่น ถ้าถอนอาสวะแล้ว เที่ยงแท้ไม่แปรปรวนเป็นอื่น แข็งแรงเลย ไม่น้อยใจเลย จะอย่างไรๆ ก็ไม่น้อยใจ

อาตมาว่าอาตมาไม่น้อยใจ ฝึกปรือมา จนกระทั่งเห็น โอ๋ มันสบายดี ไม่ต้องไปน้อยใจหรอก ใครจะอย่างไรๆ แม้มันไม่เป็นไปตามที่เราคาดเราหมาย อย่างโน้นอย่างนี้อะไร ก็มันจะไปน้อย ทำไม เราก็รู้ความจริง เออ มันก็อย่างนั้น แล้วเข้าใจให้ได้ว่า อ๋อ เป็นคนที่ไม่น้อยใจได้แล้ว มันจะเกิดปัญญา มันจะรู้ความจริง ตามความเป็นจริง มันจะรู้ว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี่ เขาทำอย่างนี้ ไม่ตรงกับที่เราควรจะเป็น ยังที่กล่าวแล้วนี่ มันเพราะอะไร มันจะมีความ เฉลียวฉลาด ที่จะรู้เข้าไปประกอบเลย ถ้าเผื่อว่ายังมาน้อยใจ เสียใจนี่นะ มันมามุ่นอยู่ที่ตัว มันจะไม่ไปตรวจตราอะไรๆ อื่นๆหรอก มันจะมุ่นอยู่ที่ตัวที่มันน้อยใจขึ้นมา อะไรนี่ มองอะไร ไม่ค่อยออก ตาพร่าตามัว ความรู้สึกก็มัว ปัญญาก็มัว ความเฉลียวฉลาดก็มัว ไม่อ่าน หรือ อ่านไม่ออก แล้วจะไม่รู้อะไร ได้ชัดแจ้งชัดเจน นี่มันพาเราเสื่อมไปหมดเลย

ถ้าใครคิดว่า อาตมาพูดนี้ดี ไปฝึกนะ ฝึก อย่าน้อยใจ อย่าเสียใจ มันไม่ได้เป็นประโยชน์อะไร มันโง่ไม่เสร็จ อยู่อย่างนั้นจริงๆ มันทุกข์ของเราและไม่เกิดคุณค่าต่อผู้อื่น ตนก็ไม่ได้เจริญ มันก็คือ ไม่เป็นประโยชน์ตนประโยชน์ท่าน นั่นเองนะ เพราะฉะนั้น ความสามัคคีจะเกิดขึ้นได้ ตัวสำคัญมากที่สุด ก็คือ สายโทสมูล ต้องล้างให้ออกให้มากที่สุดเลย ตัวความปรารถนา หรืออยากได้ หรือโลภะนี่ หรือความต้องการอะไร สร้างหรือมี หรือให้มันรวมมาอยู่นี่ ตัวนี้ยังเกิดพลัง ให้เกิดแรงสร้างสรร ส่วนโทสะนั่น มีแต่แรงทำลายๆ ส่วนความปรารถนา หรือ อยากต้องการนี่ มันยังมีคุณค่า มันยังปรารถนาดี มันยังปรารถนาที่จะสร้างสรร สุดท้าย ไม่บำเรอตัว ไม่เพื่อตัวกูของกู ปรารถนาที่จะยืนหยัดยืนยัน อย่างนี้ไม่เรียกว่ากิเลส เพราะฉะนั้น คนจึงเข้าใจไม่ได้ว่า อยากอะไรก็เป็นกิเลสหมด ตกลง เลยพระพุทธเจ้าเลยไม่อยากทำงาน ไม่ต้องอยาก ที่จะสร้างศาสนากันให้เจริญ อย่างที่ท่านตรัสกับมาร พอท่านตรัสรู้เสร็จ ใครอ่าน พระไตรปิฎกมา คงจำได้ ได้ยินได้ฟังก็ตาม

พอพระพุทธเจ้าตรัสรู้เสร็จ มารมาแล้ว มารมาอารธนา ดีแล้ว สมณโคดม เมื่อตรัสรู้แล้ว ก็ตายซะ มารอาราธนาให้ตาย เคยได้ฟังใช่ไหม บางคนใครเคยได้ฟังแล้ว มีไหม เออ มีเยอะ หลายคนเคยได้ฟัง มันมีมาในพระไตรปิฎก มารก็มาอาราธนาให้ตาย พระพุทธเจ้าบอก ช้าก่อนมาร เรายังไม่ตาย เรายังไม่อยากตาย เรายังจะต้องอยู่ และเราจะต้องสร้างศาสนา ให้เจริญ และพุทธบริษัท ๔ ทั้งภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา จะต้ององอาจ แกล้วกล้า อาจหาญ อะไรต่ออะไร ต่างๆนานาอะไร จะต้องเป็นผู้บอก เป็นผู้จำแนก จะต้องเป็นผู้บัญญัติ เป็นผู้อธิบาย เป็นผู้ปรับปวาทะอะไร ได้อย่างเก่งก่อน เราจึงจะตาย มาร นี่เป็นความปรารถนา เป็นความต้องการ เป็นความมุ่งมาด เจตนา เจตจำนง อยากจะให้นี่เกิด จะต้องสร้าง ให้อันนี้ เกิดก่อน นี่เราเรียกโดยภาษาว่า เราต้องการจะทำอันนี้ก่อนมาร เรายังไม่หยุด เรายังไม่ตาย เราต้องการจะสร้างอันนี้ก่อน ถ้ายังไม่เสร็จ เรายังไม่ตาย มาร เหมือนกับคนดื้อด้าน นี่คือ ความต้องการ มุ่งมาด ปรารถนา เจตนาที่จะต้องเป็น มันก็คือโลภมูล นั่นเอง มีลีลาของโลภมูล แต่เราไม่เรียก ความโลภ ตรงที่ว่า เพราะว่าท่านไม่ได้ทำเพื่อตัวท่านเลย ท่านต้องเหนื่อยด้วย ท่านต้องเสียสละ ท่านต้องสร้างสรร ด้วยความลำบากลำบนด้วย

อาตมาพูดอย่างนี้ คุณคงเชื่อและคุณต้องเชื่อละ สำหรับพุทธศาสนิกชนแท้ๆ ว่าพระพุทธเจ้า ไม่ได้อยากเพื่อตัว เพื่อตนใช่ไหม ไม่ได้มีกิเลส เราถือว่าไม่มีกิเลส เพราะฉะนั้น คำว่า กิเลส จึงไม่ใช่มาอยากอะไร ก็เป็นกิเลสหมด ไม่ใช่ ปรารถนาอะไร ต้องการเจตนาอย่างนี้ๆ เป็นกิเลสหมด ไม่ใช่ เห็นไหมตรงนี้ คนเผินๆชอบขี้ตู่ ชอบว่าเขาเรื่อยง่ายๆ แสดงลีลาอะไร มีปรารถนา ความต้องการอะไรขึ้นมา และมันเพื่อตน หรือไม่เพื่อตนก็ไม่รู้ ก็ตีขลุมว่า กิเลสไปหมด ก็เลยกลายเป็นคนเด๋อๆ ร่อยๆ อยากไหม อยากไม่ได้เดี๋ยวมันบาป เดี๋ยวมันจะเป็น กิเลส และไม่อยากแล้วอย่างไร เออ อาการจิตอย่าให้มันมีการอยาก อย่าให้มีเจตนา อย่าให้ ปรารถนาอะไร คนนี่อีกไม่นานตายแน่ ๆ เลยตาย และไม่มีคุณค่าอะไรเลยในโลก อยู่ไม่นานตาย มันเป็นไปไม่ได้ด้วย โดยความจริง คนที่มีจิตวิญญาณแล้ว ก็มีความสำนึกรู้สึก เป็นไปไม่ได้ด้วย ต่อให้ไปเป็นฤาษีโน่น มันก็มีความปรารถนาอยู่นั่นแหละ ปรารถนานิดน้อยอะไรก็ตามแต่ ดีไม่ดี ปรารถนาบำเรอตัวด้วยซ้ำ อย่างฤาษีและเข้าใจ ปรารถนา บำเรอตัวด้วย ยกตัวอย่างง่ายๆ ก็ได้ ปรารถนาที่จะนั่งอยู่เฉยๆ อยากอยู่เฉย แต่ยังไม่อยากตาย เดี๋ยวก็กิน เพราะขืนไม่กิน เดี๋ยวตายใช่ไหม อย่างนี้เป็นต้น นี่มันก็ขัดแย้งแล้วก็ยัง มันอย่างนี้ ซับซ้อนอยู่นะ

เอาละสรุปแล้วก็คือ สิ่งที่จะทำให้เกิดความไม่สามัคคีนั้น คือสายโทสมูลเป็นหลัก สายโลภมูล ยังเป็นประโยชน์บ้าง โลภมูลจะไม่ทำให้เกิดความไม่สามัคคีไปได้ทั้งหมด แต่โทสมูลทำให้เกิด ความไม่สามัคคีได้เลย เพราะฉะนั้น อันนี้เป็นจุดสำคัญ ที่เราจะต้องฝึกกันเอาไว้ให้มาก

อาตมาอธิบายมาแล้ว แม้แต่เรื่องเราไม่ทำให้สามัคคีกัน นี่ก็เพราะ อัตตามานะ โดยเฉพาะ ความไม่รู้ตัวเอง เราน้อยใจ เราเสียใจ มีประเด็นที่อาตมาอยากจะบอกพวกเรา อยู่อย่างหนึ่ง พวกเรานี่ เป็นนักติ ไม่ใช่นักชม เพราะฉะนั้น อัตตามานะมันถือตัว ใครมาว่าบ้าง ยิ่งไม่สนิท สนมกัน หรือใครไม่ศรัทธาเลื่อมใส ไม่ยกให้ ขนาดยกให้ ขนาดอาตมานี่ยังว่า บางทียังถือเลย อารมณ์ผี มันเข้านี่ อาตมาว่า มากไป น้อยไป ก็แล้วแต่บางครั้งบางคราว แงะแล้ว แหม อาตมา อยากจะถือกระบอง นี่จะเอาดี หรือไม่เอาดีกันแน่ จะเชื่อหรือไม่เชื่อก็ตามเถอะ ว่าอาตมาไม่เคย ดุด่าใคร อย่างหวังร้ายหรอก จะเชื่อหรือไม่เชื่อก็ตาม เอาไปคิดดีๆเถอะ อาตมาจะดุจะด่า จะว่า อะไรบ้าง จะติจะเตียนอะไร ไม่เคยหวังร้ายจริงๆ ไม่คิดว่าตัวเอง จะหวังร้ายจริงๆ มีเหตุผล อย่างน้อยอย่างมาก อยู่ในตัว เสมอทุกที ทุกอันจะเร็ว หรือบางทีก็ว่าเร็วๆ ด่าแรงๆ เร็วๆ อะไรก็ตาม ไม่ได้มีเจตนาเชื่อว่า ตัวมีปรารถนาร้ายอะไรกับใคร แล้ว

อาตมาที่กล้าพูดอย่างนี้ ก็เพราะว่า อาตมามั่นใจอยู่ อาตมาอภัยศัตรูได้ อาตมาไม่ถือสา หรือ ไม่โกรธเคืองใครๆ เพราะฉะนั้น พวกเรายิ่งมาเรียนด้วย มาเป็นลูกศิษย์ลูกหา มาเป็นลูก อะไรอย่างนี้ และ อาตมาจะไปโกรธทำไม ศัตรูอาตมายังอภัยได้ อาตมาแน่ใจว่า อาตมาแน่ใจได้ ไม่เคยโกรธศัตรู จริง จะเชื่อหรือไม่เชื่อ อาตมาบังคับใครไม่ได้หรอก แต่มันอวดนะ อวดมาก พูดอย่างนี้ อวดตัวมากทีเดียว ดีไม่ดี ไม่เข้าใจลึกๆ ประกาศอุตริมนุสธรรมด้วยนะ จริงๆ อาตมาอภัย ไม่โกรธหรอก เพราะฉะนั้น ไอ้เรื่องพวกเรานี่เหรอ ไม่ใช่ศัตรูอะไรนักหนาด้วยซ้ำไป ถือว่าเป็นลูกศิษย์ ที่จะต้องช่วยเหลือ เกื้อกูลด้วย และเรื่องอะไร อาตมาจะไปปรารถนาร้าย ไม่มีนะ

ก็สรุปง่ายๆ ว่าวันนี้จะพูดถึงเรื่องสามัคคี แล้วก็จะเจาะลงไปถึงในตัวที่กำลังวุ่นวาย เดือดร้อน อยู่นี่ โดยเฉพาะพวกในเรา โดยเฉพาะคนในวัดด้วย น้อยใจ เสียใจ และก็ไม่เข้าใจในแง่ ในเชิงพวกนี้ มันโง่ไม่เสร็จ ต้องเรียนรู้แล้วก็ลดลง มันจะได้ไม่เป็นทุกข์ แล้วมันก็ไม่เสียหาย ต่อหมู่ เสียเวลาโดย ไม่เข้าเรื่องตัวเองๆ ก็พลอยเสียตามๆไปด้วยกัน คุณค่าประโยชน์ก็ลด อะไรก็ลด ไม่เข้าเรื่องนะ มีไม่ใช่น้อยเลย เดี๋ยวนี้

โดยเฉพาะผู้หญิงนี่ มันมีเป็นจริตของผู้หญิง เป็นอิตถีภาวะ มันเป็นลักษณะของอิตถีภาวะ น้อยใจเสียใจ ผู้ชายเขาไม่ค่อยเท่าไหร่หรอก แต่มีเหมือนกันนะ ผู้ชายมีอิตถีภาวะ พวกนี้ ก็มีเหมือนกัน เดี๋ยวจะว่าไม่มีไม่ได้ แต่ค่อนข้างจะน้อยกว่า ผู้หญิงนี่เยอะกว่าจริงๆ เพราะฉะนั้น เรียนรู้จริงๆ พยายามลดละเถอะ มันไม่ได้เกิดประโยชน์ทั้งตนและท่านอะไรเลย

อาตมาขอจบ ในการเทศนาที่จะเน้นเรื่องสามัคคีนะ

สาธุ


ถอดโดย ยงยุทธ ใจคุณ ๔ ก.พ.๒๕๓๕
ตรวจทาน ๑ โดย สม.ปราณี ๘ ก.พ.๒๕๓๕
พิมพ์โดย อนงค์ศรี ๑๘ ก.พ.๒๕๓๕
ตรวจทาน ๒ โดย โครงงานถอดเท็ป ๑๙ ก.พ.๒๕๓๕
FILE:2204.TAP