ลึกล้ำย้ำสำคัญเรื่องเสนาสนะ ตอน ๒

โดย พ่อท่าน สมณะโพธิรักษ์
เมื่อ ๒๘ เมษายน ๒๕๓๕
แสดงธรรมก่อนฉัน ณ พุทธสถาน ปฐมอโศก


เรื่องเทศนาก็จะเทศน์ต่อเมื่อเช้านี้แหละนะ

อาตมาเอาเรื่องของเสนาสนะมาเป็นหัวเรื่อง เมื่อเช้านี้ตั้งชื่อเรื่องเอาไว้ว่า ลึกย้ำสำคัญเรื่อง เสนาสนะ ที่จริงน่าจะมี ล้ำลึกล้ำย้ำสำคัญเรื่องเสนานะ

ในวิวิตตสูตร ที่อาตมาเอามาสองสูตร เอามาขยายความให้มันสัมพันธ์ เห็นว่ามันเกี่ยวพันกัน ด้วย ขยายกัน สังเคราะห์กันอย่างไร ก็พูดให้ฟังอยู่นะ

ในวิวิตตสูตรนี่ หมายถึงความสงัด หมายถึงจิตวิญญาณที่สงัดเป็นผล เพราะฉะนั้น สงัดคือ สงัดจากกิเลสเพราะจีวร สงัดจากกิเลสเพราะบิณฑบาต สงัดจากกิเลสเพราะเสนาสนะ

นี่เราก็เอาคำว่าเสนาสนะอันที่สาม มาเน้นอีกทีหนึ่งว่า และการสงัดจากกิเลส ฟังให้ดีนะ สงัดจากกิเลส ไม่ใช่สงัดจากเสนาสนะ หรือว่าสงัดด้วยเสนาสนะ เข้าไปอยู่เสนาสนะ

ถ้าเดียรถีย์ อัญเดียรถีย์ นอกรีต หรือพวกที่เข้าใจไม่ได้ถูกต้อง เป็นมิจฉาทิฏฐิแล้วละก็ จะเข้าใจ ตื้นๆ ง่ายๆเลยว่า เราไปอยู่ในเสนาสนะอันสงัด เราก็มีจิตสงัดแล้ว อันนั้นไม่ใช่ๆ พระพุทธเจ้า ถึงบอกว่า เดียรถีย์ เขาจะบัญญัติอย่างนี้ บัญญัติความสงัดจากกิเลสไว้เพราะแค่ว่า สงัด จากกิเลส เพราะเสนาสนะนั้น พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชก บัญญัติไว้อย่างนี้ คือป่า คือโคนไม้ คือป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง โรงลานอย่างนี้ เขาไปหมายเอาความเป็นป่าช้า หมายเอา เป็นป่าชัฏ หมายเอาความเป็นที่แจ้งลอมฟาง โรงลานอะไรยังงี้เป็นต้นเท่านั้น

ส่วนพระพุทธเจ้าท่านบัญญัติอย่างไร

เล่ม ๒๐ ข้อ ๕๓๓ ..ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนความสงัดจากกิเลสของภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๓ อย่าง

เอาละ อาตมารวมไปหมดเลย แม้จีวร แม้บิณฑบาต แม้เสนาสนะ ท่านก็บอกว่าไม่ไปพาซื่อ อยู่แค่ วัตถุ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ จีวรก็หมายถึงนุ่งห่ม บิณฑบาต ท่านหมายถึงอาหาร การกิน การเครื่องบริโภค เสนาสนะก็หมายถึงสถานที่อยู่อาศัย ไม่ได้หมายเอาตื้นแค่นั้น ท่านหมายเอาว่า

เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้

๑.เป็นผู้มีศีลละความเป็นผู้ทุศีล และเป็นผู้สงัดจากกิเลส เพราะศีลนั้นด้วย หมายความว่า ต้องเอาละ ความหมายของแค่จีวร บิณฑบาต แค่ เสนาสนะ สถานที่อยู่ เท่านั้นไม่พอ ต้องหมายถึงว่า ถ้าของพระพุทธเจ้าแล้ว ต้องคำนึงถึงศีล ปฏิบัติศีลในเสนาสนะ ปฏิบัติศีล ในเครื่องนุ่งห่ม ปฏิบัติศีลในเรื่องอาหารเครื่องอุปโภคบริโภค ไปติดตื้นอยู่แค่นั้นไม่ได้ๆ ต้องปฏิบัติศีล เป็นผู้มีศีล ละความเป็นผู้ทุศีล เป็นผู้สงัดจากกิเลส เพราะศีลนั้นด้วย

๒.เป็นผู้มีความเห็นชอบ ละความเห็นผิด และเป็นผู้สงัดจากกิเลส เพราะความเห็นชอบนั้นด้วย คือ สัมมาทิฐินั่นเอง แปลไทยเป็นบาลี ความเห็นชอบก็คือสัมมาทิฐิ เป็นผู้สงัดจากกิเลส เพราะความเห็นชอบนั้นด้วย มีคำว่า นั้นด้วย นะ เพราะฉะนั้น แค่ไปบอกแค่พิจารณาแค่อาศัย เป็นเพียงแค่จีวร แค่บิณฑบาต แค่เสนาสนะ ยังไม่พอ ต้องปฏิบัติศีล ต้องมีสัมมาทิฐิ ละความเห็นผิด มีความเห็นชอบ ละความเห็นผิด เมื่อละความเห็นผิด เป็นตัวต้นของ มรรค องค์แปดแล้ว ก็ดำเนินการปฏิบัติให้ศีลนั้น ให้หลักเกณฑ์นั้นขัดเกลากาย วาจา ใจ พิจารณา สังกัปปะ วาจา กัมมันตะ อาชีพ การงาน จนสงัดจากกิเลส เพราะมีสัมมาทิฐิอย่างนี้แหละด้วย

๓.เป็นพระขีณาสพ แหม ตอนนี้ เหมือนกับบังคับเลยนะ โอ้โฮ แหม ต้องเป็นพระขีณาสพ ละอาสวะทั้งหลาย และเป็นผู้สงัดจากอาสวะทั้งหลายเหล่านั้นด้วย

นี่คือ เสนาสนะ หรือจีวร หรือบิณฑบาต เราจะเน้นเสนาสนะก็ตาม เพราะฉะนั้น สถานที่ เราไปปฏิบัติธรรม จะไปยึดแต่แค่สถานที่ไม่พอ ต้องมีองค์ประกอบร่วม มีพฤติกรรมร่วม มีความเห็น ความเข้าใจ มีปัญญา ปฏิบัติจนลดละออกจากกิเลส จากจิต จนถอนอาสวะ เป็นพระขีณาสพด้วย เสนาสนะเป็นอย่างนี้ พระพุทธเจ้าขยายความต่อไปว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น ภิกษุนี้ จึงเรียกว่าเป็นผู้บรรลุส่วนอันเลิศ บรรลุส่วนที่เป็น แก่นสาร เป็นผู้บริสุทธิ์ ตั้งอยู่ในธรรมที่เป็นสาระ จะเรียกว่าเป็นธรรมะที่เป็นสาระ ไม่เช่นนั้นก็แค่ ธรรมะที่ไม่เป็นสาระ ตื้นๆ อยู่แค่เปลือกๆ ผิวๆ อยู่นั่นแหละ พูดกันก็ไม่รู้เรื่อง อาตมาไม่มีปัญหา ไปออกป่า ออกเขา ออกถ้ำ จะเคร่งครัดในบิณฑบาตอย่างไร จะใช้ผ้าบังสุกุล จะใช้ผ้าน้อยชิ้น จะใช้ผ้าขาด ผ้าขยะ ผ้าเปื้อนฝุ่นที่เรียกว่าผ้าบังสุกุล อย่างไรก็ไม่มีปัญหา แต่ต้องปฏิบัติ ให้ครบ จนถึงที่สุด พระพุทธเจ้าเน้น

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนคฤหบดีชาวนา หมายความว่า ชาวนาที่ร่ำรวย คฤหบดีไม่ใช่ คนจนนะ พึงใช้คนให้รีบเร่งเก็บเกี่ยวข้าวสาลีในนาของเขา ซึ่งถึงพร้อมแล้ว อาตมาตั้งข้อสังเกตให้ฟังแล้ว เมื่อเช้านี้ ไม่ใช่ว่าไปเริ่มต้นปลูก ไม่ใช่ชาวนากระจอกนะ มีแล้วนะ มีทรัพย์ศฤงคารเหมือนพวกเรา มีบุญ มีทรัพย์พอสมควรแล้ว ได้อริยทรัพย์บ้างแล้ว ไม่เป็นคฤหบดีใหญ่ ก็เป็นคหบดีน้อยๆนะ มีทรัพย์ มีอริยทรัพย์พอสมควร มีศรัทธา มีศีล มีจาคะ ได้สละอบายมุข ได้สละกามในเบื้องต้น ได้สละโลกธรรม ลาภ ยศ สรรเสริญ โลกียสุข เบื้องต้น มาพอสมควร ไม่ได้หมายความว่า คนกระจอกนะ คนมีทรัพย์นะ มีอริยทรัพย์ด้วยนะ มาระดับหนึ่งแล้ว

นี่ อาตมาตั้งข้อสังเกตให้ฟัง นี่พระพุทธเจ้า ไม่ได้ตรัสหมายถึงชาวนาที่ยากจน ที่กำลังลงมือ โอ้โห ดำนา ต้องคราดต้องไถ ต้องหลังสู้ฟ้าหน้าสู้ดิน รวยขนาดนั้น ไม่ใช่ นี่หมายความว่า มีข้าวแล้ว จึงใช้คนให้รีบเร่งเก็บเกี่ยวข้าว สาลีในนาของเขา ซึ่งถึงพร้อมแล้ว เมื่อข้าวสุกแล้ว ต้องรีบเร่งทำ

ครั้นแล้ว ครั้นแล้วนี่ เป็นตัวที่เตือนใจเรามากเลย ครั้นแล้ว พึงใช้คนให้รีบเร่งรวบรวมเข้าไว้ ครั้นแล้ว พึงใช้คนให้รีบเร่งขนเอาไปเข้าลาน ครั้นแล้วพึงใช้คนให้รีบเร่งลอมไว้ ครั้นแล้ว พึงใช้คนให้รีบเร่งนวดเสีย ครั้นแล้วพึงรีบใช้คนให้รุ เอาฟางออกเสีย ครั้นแล้วพึงใช้คนให้รวม ข้าวเปลือกเป็นกองเข้าไว้ ครั้นแล้วพึงใช้คนให้รีบเร่งฝัดข้าว ครั้นแล้วพึงใช้คนให้รีบเร่งขนเอาไป ครั้นแล้วพึงใช้คนให้รีบเร่งซ้อม ครั้นแล้วพึงใช้ให้คนเร่งรีบเอาแกลบ ออกเสีย ขนาดซ้อมแล้ว ต้องมาเลือกแกลบอีก มาเลือกส่วน ที่มันยังเป็นแกลบ เป็นข้าวเปลือกอยู่อีกนะ แล้วจะเหลือ อะไรทีนี้ พอซ้อมข้าวแล้ว ฝัดดี เหลือเก็บแกลบ เก็บส่วนกากมันแล้ว เป็นไง หุงเท่านั้นแหละทีนี้ ครั้นแล้วต้องหุง ครั้นแล้วต้องกิน ครั้นแล้วต้องเคี้ยว ครั้นแล้วต้องบอกให้เคี้ยว ปานนั้นเชียว เหรอ ไม่ต้องปานนั้น ก็ได้แล้วหนอ ครั้นเก็บแกลบแล้ว ท่านก็จบตรงนี้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเป็นเช่นนี้ ข้าวเปลือกเหล่านั้น ของคฤหบดีชาวนานั้น พึงเป็นของส่วน อันเลิศ ถึงส่วนเป็นแก่นสารสะอาดหมดจดตั้งอยู่ ความเป็นของมีแก่นสาร ฉันใด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีศีล ละความเป็นผู้ทุศีล และสงัดจาก กิเลสแล้วเพราะศีลนั้น ด้วย เป็นผู้มีความเห็นชอบ ละความเห็นอบ และสงัดจากกิเลสแล้วเพราะความเห็นชอบนั้นด้วย เป็นพระขีณาสพ ละอาสวะทั้งหลาย และ สงัดจากอาสวะทั้งหลายนั้นด้วย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเช่นนี้เรียกว่า เป็นผู้บรรลุส่วนอันเลิศ บรรลุส่วนที่เป็นแก่นสาร เป็นผู้ หมดจด ตั้งอยู่ในธรรมที่เป็นแก่นสาร ฉันนั้นเหมือนกันแล ฯ

เราอยากเป็นผู้ถึงที่ความหมดจด บรรลุส่วนอันเลิศ ส่วนอันเป็นแก่นสารหรือไม่ ใครตอบว่าไม่ ยกมือขึ้น ก็คงไม่มีใครเมาถึงขนาดนั้นหรอกหนอ พอถามอะไรก็บอก ไม่ อุตส่าห์มาทิศนี้แล้ว บอกว่าไม่ ใครอยากเป็นอย่างช้าๆ ได้อย่างช้าๆ ก็ไม่มีอีก ก็อยากได้เร็ว เร็วได้มากก็ยิ่งดี แต่ถ้าเร็ว โดยผิดสัดผิดส่วน พอกกิเลสมาก ก็จะเร็วๆ ลวกๆ ไม่หมดเกลี้ยงดีหรอก เพราะฉะนั้น ก็ต้องไป ตามลำดับ ไปตามลำดับที่มันมีมาก ก็พยายามช่วยเหลือกัน ยิ่งมีมากยิ่งต้องพยายามมาก ประมาทไม่ได้แล้วนะ เพราะฉะนั้น พวกเราเข้าใจความสงัดจากกิเลส ที่เรียกว่า แม้แต่หัวข้อ ธรรมะ เสนาสนะ เพราะรู้ว่ามีเสนาสนะอย่างเดียว ไปอยู่ในเสนาสนะที่บอกว่า เป็นเสนาสนะสงัด เป็นสถานที่อยู่ อันสงัด

แต่เสร็จแล้ว เราก็ปฏิบัติธรรมพาซื่อไม่รู้ ศีลก็ไม่รู้ศีล ปฏิบัติศีลเพื่อให้ขัดเกลากิเลส ให้หลุดพ้น ออกจากกิเลสอย่างแท้จริง อย่างไรก็ไม่รู้ วิธีการของศาสนาพุทธ ปฏิบัติศีลนี่ ให้ขัดเกลากิเลส ก็ปฏิบัติ อย่างมรรคองค์ ๘ โพชฌงค์ ๗ โพธิปักขิยธรรม มีสติปัฏฐาน ๔ มีสัมมัปปธาน ๔ มีอิทธิบาท ๔ มีกาย มีสติสัมโพชฌงค์อย่างที่อาตมาพูดมา บรรยายมาอย่างมากมาย และ ที่อาตมา ตั้งข้อสังเกตเมื่อเช้านี้ว่า ท่านไม่ให้อยู่อย่างประมาท ให้ครั้นแล้วรีบทำ ต่อๆรีบต่อ ครั้นแล้ว ก็ทำเป็นขั้นตอน อันไหนๆ ให้เป็นลำดับๆให้เร็วอย่ารอช้า เพราะฉะนั้น พอมาถึงสูตร เสนาสนะสูตรนี้ ที่อาตมาเอามาอ่านต่ออีก นะ บอกว่า

เมื่อผู้ใดเสพอยู่ ภาษาบาลี เสวมาโน คบอยู่ ภาษาบาลีว่า ภชมาโน เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เสพอยู่ คบอยู่ ซึ่งเสนาสนะอันประกอบด้วยองค์ ๕ นี่นะ จะกล่าวต่อไป ว่าองค์ ๕ มีอะไรบ้าง ไม่นานนักใครอยากได้บ้าง หรืออยากได้อย่างนานนัก ใคร อยากได้อย่างนานนัก ยกมือขึ้น ก็ไม่มี ทุกคนก็อยากได้อย่างไม่นานนักทั้งนั้น เพราะฉะนั้น ปฏิบัติให้ตรง ถ้าอยากได้อย่างไม่นานนัก ก็ต้องปฏิบัติให้ตรงนะ ซึ่งเสนาสนะ อันประกอบด้วย องค์ ๕ ไม่นานนัก พึงทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะ ทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบันเข้าถึงอยู่

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ อย่างไร ตอนนี้มาไล่ดู องค์ ๕ อย่างนั้นก็มี ๑.ทวนเมื่อเช้านี้ ไม่อ่านต่อแล้ว มันจะซ้ำซากเมื่อเช้านี้ จะต่อ เมื่อเช้านี้นะ

๑.เป็นผู้มีศรัทธา ศรัทธาอะไร ศรัทธาในทิศทางนี้แหละ ทิศทางที่มีพระพุทธเจ้า เป็นด้านเค้า ของศาสนานี่ ของธรรมวินัยนี้ ของคุณค่า ศรัทธาในพระพุทธเจ้านี่เป็นองค์แรก เป็นองค์ที่ตรัสรู้ สุดยอดของอันนี้ รู้รอบ รู้แจ้งถ้วน แล้วนำมาสอนพวกเรา พวกเราก็จะมาศึกษาตาม เชื่อมั่นว่า จริง เชื่อมั่นว่าประเสริฐ เชื่อมั่นว่าสุดยอด เชื่อมั่นว่าดีแท้ๆ ใครไม่ศรัทธาพระพุทธเจ้า ยกมือขึ้น ก็ไม่มีอีก แล้วศรัทธา ไม่ใช่ศรัทธาพาซื่อเหมือนเสนาสนะอย่างที่ว่านี่ อย่างเดียรถีย์ อัญเดียรถีย์น่ะ พอเห็นแต่แค่ป่าชัฏ ก็นั่งจมอยู่แต่ป่าชัฏ ไม่มีปัญญาต่อ ก็ไม่เอา

ศรัทธาพระพุทธเจ้า นี่ ศรัทธาอย่างไร ก็เกิดศรัทธา เสริมศรัทธา ให้เป็นศรัทธินทรีย์ ศรัทธาพละ ด้วย ศรัทธานั้นจะต้องทำกรรม ทำวิบากเราศรัทธาแล้ว เราต้องดำเนินกรรม ดำเนินวิบาก ดำเนินอย่างไร ดำเนินเริ่มต้น มีศีลมาปฏิบัติ ประพฤติ เพราะฉะนั้น ถ้ามีศีลมาปฏิบัติ มาประพฤติ ต้องรู้ว่าศีลปฏิบัติอย่างไร เราจึงจะบริบูรณ์ศรัทธาด้วยองค์นั้น

ย้อนกลับไปถึงกิมัตถิยสูตร ฟังให้ดีนะ อาตมาอธิบายพิสดารมา ให้สัมพันธ์กัน สอดร้อยให้ดี ถ้าไม่เช่นนั้น มันก็ไม่สมบูรณ์ เอ้า ย้อนมากิมัตถิยสูตร ย้อนมาที่ศรัทธาก่อน ศรัทธาสูตร ศรัทธาสูตรบอกว่า ผู้มีศรัทธาแต่ไม่มีศีล ก็ชื่อว่าเป็นผู้ไม่บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น องค์ศรัทธานั่น ศรัทธาอะไรก็ได้ ศรัทธาว่าเล่นไพ่ดี ศรัทธาว่าไปเที่ยวได้ปล้นไปจี้คนมาดี ศรัทธาว่าไปฆ่าสัตว์ ตัดชีวิตดี ได้ขโมยของเขา ขโมยขโจรดี ศรัทธาว่าไประเริงในกามดี ผิดผัวเขาเมียใครก็ได้ ผิดลูก เขาเมียใครก็ได้ หรือว่ามากไปด้วยกามอะไรก็แล้วแต่ พูดปดดี เมาอยู่ในอะไร เมาดี ศรัทธาอย่างนี้ คนมีศรัทธานะ เชื่อนะ เชื่อว่าดี เขาบอกว่าเหล้านี่แหละดี เขาก็ไปเมาเหล้า มีผัวสอง เมียสองดี มันดี อร่อย เขาก็ไปมีเสีย พูดปดนี่แหละดี พูดปดนี่บางทีได้เงินด้วย พูดปดแล้ว บางทีนี่รวยนะ เขาก็ปดเอา ปดเอาเพื่อที่จะได้รวย ปดเอาเพื่อที่จะได้ลาภ ได้ยศ ปดเพื่อจะได้สรรเสริญ ดี เขาก็ทำ ศรัทธาว่า เราเองเราทุจริตอย่างอื่นๆ ใดๆ จะฆ่าสัตว์ตัดชีวิต เบียดเบียนเขา หรือแม้แต่ เอาของที่เขาไม่ได้ให้ ไปเบียดเบียนน้ำใจของรักของหวง ของคนอื่น เขาเชื่อ อย่างนี้ เขาก็เอา เขาบอกว่าเขาได้นี่ เขาก็ทำ

แต่เราเชื่อว่ามันไม่ดี มันไม่ถูกละ เราก็ไม่ทำ ใจมันยังอยากทำอยู่ ละเมิดทุจริต ละเมิดกรรม ที่ไม่เข้าท่าอย่างนี้ เราก็ไม่ละเมิดกรรมอย่างนี้ ไม่ทำ ถ้าเราทำได้ ศรัทธาที่มีศีลปฏิบัติถูกต้อง ลงตัวตามศีล จนไม่ต้องฝืนใจ เป็นปกติ ศีลนั้นก็บริบูรณ์ เราก็เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยศรัทธา ที่มีองค์ ศีล เป็นเครื่องประกอบบริบูรณ์ ด้วยองค์หนึ่งเท่านั้น มี ๑๐ องค์นะ ถึงจะเรียกว่า เต็มศรัทธา แค่มีศีลตัวนี้ โอย แค่บริบูรณ์ด้วยองค์หนึ่งเท่านั้น เพราะฉะนั้น ผู้ที่บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น เธอนั้น พึงบำเพ็ญองค์นั้นให้บริบูรณ์ คิดว่าไฉนหนอ เราถึงจะเป็นผู้มีศรัทธาและศีล พอมี ศรัทธา และ มีศีล ผู้นั้นก็บำเพ็ญศีล

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา และศีล เมื่อนั้นเธอ ชื่อว่าเป็นผู้บริบูรณ์ ด้วยองค์นั้น เริ่มต้นบริบูรณ์ขึ้นมานิดหนึ่งแล้วมีศีล

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีศรัทธา มีศีล แต่ไม่เป็นพหูสูต นี่ไม่รู้เพิ่ม ไม่เรียนรู้ ไม่มีปรโตโฆสะ ไม่ฟังธรรม ไม่ศึกษาต่อ ได้แค่ไหนก็จุ๊ดจู๋อยู่แค่นั้น แบบ นี่ก็ศรัทธาจู๋ จะมีศีลก็แค่มีศีล มีศรัทธา มีศีลจู๋ เพราะฉะนั้น จะต้องศึกษาต่อ ต้องเป็นพหูสูต เป็นโลกวิทู อาตมาก็เสริมๆ ซ้อนๆให้ ให้โลกวิทูอย่างง่ายด้วยนี่ เอาโลกทั้งโลกมาย่อให้ดูเป็นจอนี่ บางอย่างก็ฉายจากของจริง เป็นสารคดี ไม่ค่อยจะดูเสียด้วยสารคดี ชอบดูเรื่องสร้าง เอาเรื่องสร้างก็เอา ก็ให้บ้าง เป็นนิยายบ้าง เป็นเรื่องราวบ้างก็เอา สารคดีก็เอา แต่ก็ไม่ค่อยชอบดู เอา ชอบดูแค่นั้นก็เอา บันเทิงก็ให้บ้าง มีรสมีเรื่องบ้างก็ให้ ยกโลกทั้งโลกมาให้นี่ ถ้าคุณได้ แต่ปิดหูปิดตานะ เป็นคนที่ ไม่มีปรโตโฆสะ ไม่ศึกษาเพิ่ม ไม่ศึกษาต่อ ศรัทธาก็จู๋อยู่ กะลาครอบ ของใครของมัน มันจะไปรู้ ได้ยังไง ตนมีเท่าไหร่ ก็มีแต่แค่ของตน เราจะกว้างจะลึกไปได้ยังไง ลึกได้ๆของตนเอง ออกไปอีก ก็ได้เหมือนกัน ลึกของตนเองก็ทำอยู่แล้ว เราต้องชอนไชความลึกซึ้งของตนเอง ขึ้นไปเรื่อยๆ

พิจารณา เตวิชโชเข้าไปมากๆ ชาตินี้ชาติโน้น เรื่องนั่นเรื่องนี่ หยั่งสัญญาลงไป สัญญา ก็ที่จริง มันก็ไม่ใช่จะลบเลือนลงไปไม่มีเสียทีเดียวหรอก สูญหายไปทีเดียว มันยังจำได้ อยู่เก่งๆเลย ด้วยสัญญาของคนนี่ เพราะฉะนั้น ใครจะสามารถจะหยั่งสัญญาลงไปได้มากๆ มายๆนี่ มัน มีได้ ก็พยายามระลึกเอา ลึกในสัญญาหรือจะต้องรู้เพิ่ม เป็นของใหม่ ก็รู้เพิ่ม ทั้งลึก ทั้งกว้าง ทั้งใหม่ ทั้งเก่า เพราะมีพหูสูต ก็คือ นัยอย่างนี้ ให้ศึกษาเพิ่มเติม อย่าทำเป็นคนปฏิเสธไอ้โน่น ไอ้นี่ แต่ก็ระวังเหมือนกัน ถ้าเผื่อว่า เราเองทำเป็น อวดดิบอวดดี จะศึกษากว้างไป มากๆไป เสร็จแล้ว เราก็ระเริง เสร็จแล้วเราก็ไม่มีอินทรีย์พละเพียงพอ แหม จะเอาให้หมด จะเอาให้มาก จะเอาให้กว้าง เยินเลย สู้ไม่ได้ โลกโลกียใหม่ๆ สังขารใหม่ๆ ดึงฉุดเราไป เราเอง รู้ไม่เท่าไม่ทัน รสชาติ ของสังขารน้ำหนัก รสสังขารที่มันจัดมันจ้าน มันดึงเราไป ก็ระวัง สังวรระวังทุกเหลี่ยม เลยนะ เป็นพหูสูต แต่ไม่เป็นพระธรรมกถึก ไม่ต้องพูดย้อนนะว่า ถ้าจะว่ากันครบแล้ว จะต้อง ซ้ำซาก แต่ไม่เป็นพหูสูต

ข้อสุดท้าย ว่าเป็นพหูสูต มีศรัทธา มีศีล มีพหูสูต แต่ไม่เป็นพระธรรมกถึก พระธรรมกถึก นี่ก็หมายความว่า เป็นพระผู้แสดงธรรม เป็นผู้ต้องแสดงธรรม เพราะฉะนั้น ถ้าเป็นพระผู้มี คุณอันสมควรแล้ว สั่งสอนผู้อื่น หรือแสดงธรรม เผื่อแผ่แก่ผู้อื่น ตอนนี้มีทรัพย์ ตอนนี้เอาทรัพย์ ออกเผยแพร่ เอาทรัพย์ออกจำแนก แจกจ่ายนั่นเอง ต้องทำ ถ้าไม่ทำไม่ใช่ลัทธิพุทธ จะสอนน้อย ก็ต้องเริ่มหัดสอน ในแวดวงบริษัทน้อยๆ บริษัทเล็กๆ ผู้ที่ใกล้ชิดหรือผู้เราพอทำได้ พอฝึกปรือได้ แต่ต้องเพิ่มฝึกปรือ สอนไปในบริษัทใกล้ ที่เราคิดว่า เราไม่หวั่นไหว เราไม่ปอด เราไม่ทำให้อะไร เรื่องราวเสีย เราก็ฝึกไปนะ เพราะฉะนั้น จะต้องเป็นพระธรรมกถึก นี่หลักการของพระพุทธเจ้า เลย

ไม่เป็นพระนักสอนไม่ได้ ไม่เผื่อแผ่ ได้แต่ของตัวเองแล้วไม่แจกใคร ไม่ได้ ลัทธิทุนนิยม ไม่เอา หรือ แจกก็แจกแต่น้อย เอาเหลือไว้มากๆ ก็ไม่เอา แจกให้ได้มากๆ ซิ แจกเก่งๆ เถอะ ระวัง จะแจกของปลอม ระวังจะแจกของไม่จริงก็แล้วกัน หรือแจกของผิดๆไป ระวัง มันนอกเหนือกว่า ที่เรามี มันไม่จริง ไม่มีในตน หรือระวังอย่าให้ผิดๆ ตรวจสอบ ตรวจทานสภาวะที่ของจริง ที่เรามี เมื่อของจริงที่เรามี อธิบายบรรยายออกไป เทศน์ก็คือบรรยายที่เรามีที่เราเป็นนี่แหละ ทั้งบัญญัติ ทั้งของจริง ที่เราเรียกมันว่าอย่างไร ก็นำมาบอกคนอื่น บอกของเรามี อ่านของจริงที่เรามี บอกแก่ คนอื่น พยายามอ่านบอกให้ดี อย่าให้ผิด ขนาดอาตมายังบอกผิดๆ เพี้ยนๆเลย ไปบ้างเลย แหม นึกว่า ภาษามันตรงแล้วนะ ดีไม่ดี ไปจับเอาภาษาพระบาลีของเขาเอามาใส่ผิดหัวผิดหางเขา ท้วงมันเสีย ท้วงยังโง้นบ้าง ท้วงยังงี้บ้าง มันไม่ค่อยลงตัว หัวมันอย่างหนึ่ง หางมันอย่างหนึ่ง กลับกัน

ยกตัวอย่างง่ายๆ อาตมาบอกว่า โดยอรรถ โดยพยัญชนะ นี่นะ อาตมาบอกกับพวกทางบาลี เขานี่ เข้าใจกันไปคนละอย่างนะ อรรถเขาก็เข้าใจไปอย่างหนึ่ง โดยพยัญชนะก็เข้าใจอย่าง คนละกลับกันเลย ก็ยอมผิด ถ้าไม่ตรงกับเขา แต่มันก็มีนัยทำให้เข้าใจได้ เพราะฉะนั้น ผู้เข้าใจได้ ก็ไม่ถือสา เป็นแต่ เอาคำว่า อรรถใส่คำนั้น พยัญชนะเอามาใส่อันนี้เท่านั้นเอง ก็จบแล้ว มันสับกันนิดหน่อยเท่านั้นเอง และไม่ได้เจตนาเพื่อที่จะไปล้มล้างอะไรไม่ใช่หรอก ยังงี้ก็เป็นได้นะ หรืออย่างอื่น ก็ตามเถอะ

เราจะต้องศึกษาทั้งบัญญัติสมมุติ สมมุติสัจจะ แล้วก็มาตรวจสอบสภาวะ การสอนผู้อื่น มีประโยชน์ตน บรรลุธรรมได้ด้วย เท่ากับเราทบทวน เท่ากับเราเดินบทเตวิชโช เท่ากับตัวได้ ระลึกย้อน ระลึกของเก่าออกทบทวน อันนี้เกิดจริง อันนี้เป็นจริงหรือยัง เป็นอย่างไร ให้คนอื่น ได้ประโยชน์ เราก็ได้ทบทวนของเรา แน่หรือไม่แน่ มีหรือไม่มี ไอ้นี่อย่านะ เรายังไม่มีในตน อย่าไป อวดดิบอวดดี อย่าไปอวดอุตริมนุสธรรม นี่เป็นธรรมะสำคัญๆ สูงๆ หรือแม้ว่าเราจะบอกว่า อันนี้เป็นอย่างนี้ ซึ่งเป็นธรรมะที่เรายังไม่มี เราก็จะต้องรีบ พยายาม อย่าให้เขาเข้าใจผิดว่า ไอ้นี่ไม่ใช่ของอาตมานะ อันนี่ไม่ใช่ของผมนะ ผมยังไม่เป็นนะ อันนี้ยังทำไม่ได้หรอก อันนี้ อาจารย์ท่านว่าน่ะ ดังได้สดับมา เหมือนพระอานนท์แหละนะ ดังได้สดับมาอย่างนี้ จากพระพุทธเจ้า ก็ว่าไป ว่าเป็นของอาจารย์ ก็ว่าไป ไม่ใช่ของตน อย่าให้เขาเข้าใจผิด ถ้าระมัดระวัง อย่างนี้แล้วละก็ไม่เลอะเทอะ ไม่เพี้ยน ตัวเองก็ปลอดภัย ซื่อสัตย์สุจริต

แล้วก็พยายามอ่านให้จริงเถอะ มันจะได้ตรวจว่า เออ อันนี้ จริงๆ ยังไม่มี อย่าอยากใหญ่ อย่าอยากอวด อย่าอวดโอ่ ถึงเป็นของสูงก็จริงอยู่ พอเราจะพูดของสูงที่ตนเองไม่มีเสียด้วย แล้วไม่กำกับ ไม่กำชับให้เขารู้ว่า เรายังไม่มีคุณวิเศษอันนี้หรอกนะ เรายังไม่ถึงขั้นนี้หรอก อันนี้ เป็นตำราหลักการเรียนมา นะ เขาก็จะได้รู้ว่า เออ อันนี้ไม่ใช่ อวดอุตริมนุสธรรม

แต่ถ้าอันใดที่เป็นของตนจริง พูดไปเลย และของคุณหรือเปล่า เป็นหรือยัง เป็นแล้ว ไม่บาป ไม่ผิด อวดอุตริมนุสธรรมที่มีในตน ดูกิเลสของตัวเองก็แล้วกันว่า พอได้อวดไหม มีจริง นะ เป็นสาเถยยจิต เป็นจิตลามกๆอย่างไร พออวดไปแล้ว เขาจะได้เอาลาภมาให้ อวดไปเลย เขาจะได้มาตั้งยศ ตั้งตำแหน่งให้ อวดไปแล้วเขาจะได้มาชื่นชมยินดี จะได้ยกย่อง สรรเสริญ ยกยอปอปั้น มีกิเลสอย่างนี้หรือไม่ อ่านใจเราจะละเอียด เราก็จะได้ฝึกซ้อมญาณปัญญา ของเราจริงๆว่า กิเลสในโลกธรรม มันก็เป็นอย่างนี้แหละ เรามีอาการอย่างนี้ ส่ออยากได้ลาภ มาแลกเปลี่ยนเป็นการอวดนะ การแสดงการบอกกล่าวนะ อย่างนี้มันอยากได้ยศ อย่างนี้มัน อยากได้สรรเสริญ อย่างนี้มันอยากได้ตามที่ต้องการหมดทั้งนั้นเลย ทั้งลาภ ทั้งยศ ทั้งสรรเสริญ ทั้งหมดเลย ต้องรู้เขาให้จริง

ถ้ามีกิเลสยังอยากอย่างนี้ อย่าเป็นอันขาด จิตสาเถยย จิตลามก จิตไม่เข้าเรื่องแน่นอน อยากแสดงออก ต้องระมัดระวัง เพราะฉะนั้น เมื่อจะแสดงธรรม เมื่อตรวจแล้ว เราไม่มีเจตนา ที่เราอยากจะได้ลาภแลกเปลี่ยน ตรวจจริงๆ ระมัดระวังซ้ำๆซ้อนๆ หมั่นฝึกปรือเข้า ก็จะมุทุภูเต จิตของเรา ก็จะเกิดความแววไว การดัดการปรับไม่ให้มันแสดงออก หรือว่าจะให้มันแสดงออก พอประมาณ มันก็จะเกิดมัตตัญญุตา จะเกิดการประมาณอย่างได้สัดส่วน ซักซ้อมความ เป็นสัตบุรุษ ซักซ้อมสัปปุริสธรรม ๗ ประการ

เพราะฉะนั้น เราทำอยู่เรื่อยๆ แสดงธรรม เราก็ปฏิบัติตน ฝึกตน เป็นสัตบุรุษ ปฏิบัติตน แสดงธรรม ก็ได้ซักซ้อมมุทุภูตธาตุ สร้างฌาน สร้างวิมุติ มุทุภูเต กัมมนิเย ในขณะนี้ การงาน สอนหนังสือนี่ เป็นการงานสอนคนอื่น นี่เป็นการงาน นะ เป็นการงานชนิดหนึ่ง เป็นหน้าที่ของ สมณพราหมณ์ โดยตรงด้วย สอนซี่ สอนเป็นพระธรรมกถึก สอนแล้วเราได้ทบทวน เราได้ปฏิบัติ ธรรมไปในตัว ฉะนั้นจึงปฏิบัติธรรมบรรลุธรรมไปได้ด้วย เพราะฉะนั้น เราได้อ่านๆ บางคนนี่ บรรลุแล้วไม่รู้ตัว พอเราสอนคนอื่นก็ชักสภาวะมาอ่านด้วย อ้าว เราหมดสภาวะแล้วนี่ โถ จบ ตั้งนานแล้ว หมดกิจตั้งนานแล้ว อาสวะก็ไม่เหลือเพิ่งจะรู้ตัว มันมีเจโตวิมุติอยู่แล้ว แต่ยังไม่เกิด ปัญญาวิมุติ มันก็เกิดปัญญาวิมุติในตอนที่เตวิชโชเกิดในการชักมาสอนคนอื่นนี่แหละ แสดงธรรมคนอื่น เป็นพระธรรมกถึกนี่แหละ พุทโธ่ เราจบกิจแล้ว เราก็เกิดอุภโตภาควิมุติ ไม่รู้ตัว ยังงี้เป็นต้น หรือแม้คุณยังไม่เจโตวิมุติบริบูรณ์ ปัญญามี แต่ในขณะแสดงธรรมไป นี่ เกิดหิริ เกิดโอตตัปปะ เกิดคุณธรรม เกิดกำลัง อินทรีย์พละในขณะนี้เลย พากเพียรปฏิบัติ บรรลุตรงนี้ เหลือไม่มากไม่มาย มันเหลือนิดหน่อย มันก็ตัดจิตตัดใจได้ตอนนี้เหมือนกันได้ด้วย นะ

การแสดงธรรม ที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า ผู้แสดงธรรมก็บรรลุธรรม ฟังธรรมก็บรรลุธรรม ผู้สาธยายธรรมก็บรรลุธรรม พิจารณาธรรมก็บรรลุธรรม แล้วอะไรอีก ๕ ประการ ทำสมาธิ ก็บรรลุธรรม ทำสมาธินี่รวมหมดเลยทุกอย่าง ถ้าเข้าใจอธิ ๓ อย่าง คืออธิ ๓ อย่าง ศีล สมาธิ ปัญญา แล้วละก็ เกม จบ เพราะฉะนั้น รวมสรุปคำสุดท้าย ทำสมาธิก็สามารถบรรลุธรรมได้ ก็แน่นอน เป็นสัมมาสมาธิที่ดีด้วย เพราะฉะนั้น จะสาธยายธรรม จะพิจารณาธรรม หรือ จะแสดงธรรม หรือจะฟังธรรม อานิสงส์ ๕ ประการ ในการบรรลุธรรมเกิดได้จริงๆ น่า นี่อาตมา ก็เอาธรรมะหมวดอื่นมาสอดซ้อนๆ ลงไปอีกแล้ว เป็นธรรมกถึก ต้องเป็น ถ้าไม่เป็น คุณก็ต้อง ค่อยๆ พากเพียร เพราะฉะนั้น ศรัทธา ทำไมคุณจะไม่มั่นใจนะ มันมั่นใจนะ

เราได้แสดงธรรมออกไป ยิ่งเราเห็นอุภโตภาควิมุติ อย่างที่ว่านี่ คุณจะไม่มั่นใจหรือ โอ๋ มันเห็น ชัดเจน เกิดญาณรอบถ้วน ไม่ชักออกมาสักที มันไม่ตรวจตราของตนเอง เหมือนไม่ลงบัญชี ไม่ตรวจเช็คสต็อก ไม่เช็คสต็อกของ ไม่ลงบัญชีของ ไม่ตรวจของ แล้วมันจะไปรู้ได้ยังไงว่า เรามี เราเป็นหรือไม่ เราเช็คสต๊อคด้วย เราตรวจบัญชีด้วย โอ ไม่ผิดไม่พลาด ตรวจตำราด้วย ตรวจ หลักฐานด้วยนะ ถูกต้องทุกอย่าง เป็นของจริงด้วย มันก็เป็นปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ รู้เอง มันบรรลุเอง เข้าใจเอง มีปัญญาเอง มีญาณเอง และของจริงด้วย มันมีผลดีอย่างนี้นะ เพราะฉะนั้น ต้องเป็นพระธรรมกถึก จึงจะถือว่าศรัทธา แล้วคุณจะศรัทธา คุณจะเชื่อมั่น ก็มันเห็น ของบรรลุผลสุดยอด มันไม่เชื่อมั่นได้อย่างไร อินทรีย์ด้วย ศรัทธาพละขึ้นด้วยได้เลย เป็นความเชื่อมั่น นี่มันเกิดศรัทธาที่สูงขึ้น นี่อาตมาอธิบายทะลุไป จนกระทั่งถึงตัว วิมุติแล้วนะ ปัญญาวิมุติแล้วนะ

เอาละ ทีนี้ซอยต่อ อาตมาอธิบายเลยเถิดไปจนถึงเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ แม้แต่เป็นพระธรรม กถึก ก็ต้องแถมอีก ถ้าเผื่อว่าแค่เป็นพระธรรมกถึกเล็กๆ มันก็จะไม่เกิดพหูสูตมากขึ้น โลกวิทู ก็ไม่เจริญขึ้น และก็ไม่ได้พิสูจน์ชัดเจนขึ้นด้วย ไม่พิสูจน์อะไร เพราะว่า ไม่กล้าเข้าสู่บริษัท ก็แสดงว่า อยู่กับคนสองคน ก๊องแก๊งๆ เข้าสู่บริษัทๆ ของเราเอง เป็นหมู่กลุ่มโตขึ้น ว่าไม่แข็งแรง ไม่กล้า ไม่อาจหาญ เข้าสู่บริษัท ไม่ใช่ให้หนี ไม่ใช่ปฏิบัติแล้ว ยิ่งหนีหมู่ หนีบริษัท หนีผู้ หนีคน ไม่ใช่ ให้วิ่งเข้าหาคน เพื่อพิสูจน์เป็นภาคปฏิบัติ มีจริงเข้าสัมผัสเป็นปัจจัย เข้าหาบริษัท มีสัมผัส เป็นปัจจัย หนีบริษัทเป็นยังไง หนีผัสสะเป็นปัจจัย เห็นไหมว่า มันย้อนแย้งเหมือนกันหมดแหละ แต่ถ้าเข้าสู่บริษัท มันสอดคล้องกันกับมีสัมผัสเป็นปัจจัย อย่าผลีผลามก็แล้วกัน พรวดพราด ไม่ได้ ไปเอาเลยสนามหลวงประชุมพล จะผัสสะเป็นแสนๆ ช้าๆๆ ก่อนเถอะ เก่งได้ยังไง ถึงขนาดนั้น มันต้องเป็นไป ตามขั้นตามลำดับ

แม้เข้าสู่บริษัทแล้ว ขั้นแรก ยังไม่ถึงแสดงธรรมเท่าไหร่หรอก ลองเข้าหาบริษัทดู บางทีเขา ก็ซัก จะถาม ไม่ตั้งใจจะไปอาจหาญแสดงธรรมทีเดียวก็ได้ เป็นพระธรรมกถึก ที่พอใครมาถามมาไถ่ เมื่อเข้าสู่บริษัท ก็จะมีคนอยากรู้อยากเห็น จะไถ่บ้าง จะถามบ้าง เมื่อเขารู้ว่าเขาได้สัมผัสแล้ว เขาก็จะไถ่ถามบ้าง ก็ตอบได้พอสมควร หรือเขาไถ่ถามแล้ว เราเกิดไม่กังวล ไม่หวั่นไหว ไม่สั่น อาจหาญ แกล้วกล้า ข้อนี้เป็นข้อต่อไป แล้วแกล้วกล้าแสดงธรรมกับบริษัท เข้าสู่บริษัท ก็เป็น จังหวะหนึ่ง เข้าสู่บริษัทแล้วยังแถมเก่งกาจสูงขึ้นไปกว่านั้น แกล้วกล้าแสดงธรรม แก่บริษัท ได้อีก มันก็ยิ่งเป็นศรัทธาที่มีอินทรีย์พละสูงขึ้น จะเชื่อมั่นจริงๆ เราจะเชื่อมั่น

แต่ระวัง อย่าอวดดีก็แล้วกัน ระวังจะอยากใหญ่ เป็นการแสดงตัวอวดตัวโอ่อ่าอะไร ไม่เข้าเรื่อง ก็แล้วกัน ยิ่งบริษัทมากๆ ยิ่งมีนานาสารพัด ที่เขาจะซักไซ้ไล่เลียง สอบภูมิอะไรต่างๆ นานา ระวังเถอะ อัตตามานะ นี่เวลาเขาสอบภูมินี่ เอ ไม่ได้หรอกพวกนี้ เดี๋ยวเสียศักดิ์ศรี ลุยเลย อวดดีเลย ผิดๆก็ได้ โกหกก็ได้ ทุจริตก็ได้ ไม่จริงก็ได้ เป็นจริงตามความคิดเห็นของตน ด้นเดา สภาวะไม่มี ตรวจสอบแล้ว พูดภาษาปากเปล่า แล้วดีไม่ดี คิดเดี๋ยวนี้ สังขารเดี๋ยวนี้ เดาเดี๋ยวนี้ ด้นเดาเดี๋ยวนี้ ปึบๆ ตอบไปเลย ระวังเถอะ ไอ้ยังงี้น่ะ พังง่าย ตรวจสอบสภาวะ ไม่ต้องกลัว ขนาดพระสารีบุตร โดนปริพาชกถาม ตอบไม่ได้ ต้องบอกช้าก่อน อันนี้เรายังไม่รู้ พระสารีบุตร ยังไม่ยอมเสียหน้า หรือจะเรียกว่ายอมเสียหน้าก็ได้ ยังไม่ยอมอวดดี ยังไม่ยอมอวดใหญ่น่ะ ปริพาชกถาม ถ้าเราไม่ตอบหรือตอบไม่ได้ นี่ แน่นอนใช่ไหม เหมือนกะคนเสียหน้า พระสารีบุตร ท่านไม่เสียหน้าอะไร อันนี้ เรายังไม่รู้ เราขอผัดเอาไว้ก่อน เรายังตอบไม่ได้ เราไม่รู้ละ ยอมรับว่า เรายังไม่รู้ มันไม่เห็นตายตรงไหนเลย มันเป็นความจริงที่ดีด้วยซ้ำ เพราะฉะนั้น อย่าไปอวดดี มีมานะ อยากใหญ่ ถ้าเราบอกว่าไม่รู้นี่ เสียเหลี่ยมนะ เสียหน้านะ

พอพระพุทธเจ้าอธิบายให้เสร็จเรียบร้อย อ้อ ยังงี้เหรอ มีสภาวะด้วย เราอ่านสภาวะตัวเอง ไม่ออกได้ จิตลึกๆ ซึ้งๆ ไม่ใช่เรื่องเล่นนะ ลึกๆซึ้งๆ บางที เราอ่านสภาวะไม่ออก เป็นภาษา ไม่ออก พูดไม่ออก บอกใครไม่ได้ ถามผู้รู้ ผู้รู้ยิ่งกว่า ให้มีถามให้ได้ ดีออกจะตายไป ถ้าไม่มี ผู้รู้ให้ถามนี่ซิ มันจะอั้นตู้ อาตมาเอง อาตมายังไม่รู้ ก็ยังไม่รู้จะไปถามใครเลย อั้นตู้อยู่นี่ จะไปถามใคร ก็ยังไม่ได้ถามใคร ก็ดูยังไม่หมดภูมิเท่าไหร่ ก็พอได้นะ แต่ก็มีเหมือนกัน อันไหน ที่อาตมา ตอบยังไม่ได้ อาตมาก็รับว่ายังตอบไม่ได้

เราจะต้องเป็นผู้ที่แกล้วกล้าแสดงธรรม แต่ไม่ทรงวินัย อีกแหละ ก็ยังไม่บริบูรณ์ ด้วยองค์ต่อๆ มานี่ ศรัทธาองค์ ๑ ศีลองค์ ๒ ปัญญาองค์ ๓ พหูสูตองค์ ๔ พระธรรมกถึกองค์ ๕ เข้าสู่บริษัท แกล้วกล้าแสดงธรรมองค์ ๖, องค์ที่ ๗ ทรงวินัย ต้องทรงวินัย

อาตมาบอกแล้ว วินัยคำนี้ ไม่ได้หมายถึงแค่วินัยแค่นั้นด้วย แต่วินัยที่ให้สมณะให้ภิกษุนี้ ต้อง

อ่านต่อหน้าถัดไป

:2435C.