ตาปูตรึงใจอย่างไรแน่นนัก
บรรยายธรรมจากพระสูตร (ขีลสูตร)
โดย พ่อท่าน สมณะโพธิรักษ์
ณ พุทธสถานปฐมอโศก ทำวัตรเช้า เมื่อ ๑ พ.ค.๒๕๓๕

วันนี้ จะมาถึงขีลสูตร สูตรขีละนี่แปลว่า ตาปูตรึงใจ ซึ่งเราก็เคยนำขึ้นมา บรรยายกัน มาอธิบาย กันให้ฟัง ซึ่งมันเกิดจริงเป็นจริงในคนธรรมดาๆ ที่ยังลดละความถือสา ที่เป็นอัตตามานะ นี่อาตมากำลังเน้น เรื่องอัตตามานะ ตอนนี้แหละ ยิ่งสำคัญแหละ เรื่องอัตตามานะ เรื่องขีลสูตร เรื่องที่เกี่ยวกับการถือสา ...เพราะว่ายึด เพราะว่าติดอัตตา ก็คือ ยึดถือ ความเห็นของตน ยึดถือดีน่ะ ถือดี ถือตัว ... เสร็จแล้ว มันก็ทำให้เกิดการไม่สม ใจ ไม่ดังใจตัว ไม่สมใจตัว... มันก็ผลัก ก็เกิดการไม่ยอม ... ถือสา ไม่ปล่อย ก็มีการประชดประชัน มีการจะต้องเอาชนะ คะคาน มีอะไรต่ออะไร เกิดไปได้สารพัดเลย มีอย่างมากก็ได้ มีอย่างน้อยๆ ก็ได้ ซึ่งล้วนแล้วแต่ เป็นเรื่องที่จะต้องรู้จริงๆเลยในตัวเรา แล้วต้องฝึกละล้าง ลดออก ต้องฝึกจริงๆ ต้องทำจริงๆ ทั้งนอกทั้งใน การปฏิบัติธรรม เราจะทำแต่เฉพาะใจเฉยๆ มันไม่มีแรงพอหรอก มันต้องทำ ทั้งกาย ทั้งวาจา ปฏิบัติจริงๆเลย แล้วมันถึงจะแข็งแรง มันถึงจะมีน้ำหนัก มันถึงจะนำพา ให้เราลดๆ ละๆ ปละปล่อยได้น่ะ เอ้า ลองฟังดูนะ เล่ม ๒๔ ข้อ ๑๔

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตาปูตรึงใจ ๕ ประการ อันบุคคลผู้ใดผู้หนึ่ง เป็นภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม ยังละไม่ได้แล้ว เครื่องผูกพันใจ ๕ ประการ อันบุคคลผู้ใดผู้หนึ่ง เป็นภิกษุ หรือภิกษุณีก็ตาม ยังตัดไม่ขาดแล้ว กลางคืนหรือกลางวันที่ผ่านมา ถึงบุคคลนั้น บุคคลนั้นพึงหวังความเสื่อม อย่างเดียว ในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่มีความเจริญเลย ตาปูตรึงใจ ๕ ประการที่บุคคลนั้น ยังละไม่ได้แล้วเป็นไฉน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใส ในศาสดา จิตของภิกษุนั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อการกระทำ ติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร ตาปูตรึงใจประการ ที่ ๑ นี้ อันภิกษุผู้มีจิตไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร ยังละไม่ได้แล้ว ด้วยประการฉะนี้ ฯ

อันที่ ๑ นี่ ก็พระศาสดา หรืออาจารย์น่ะ อันที่ ๒ ต่อมา อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเคลือบแคลง สงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในพระธรรม อันที่ ๒ นี่ พระธรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของ ภิกษุนั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร ตาปูตรึงใจประการ ที่ ๒ นี้ อันภิกษุผู้มีจิตไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อบำเพ็ญเพียร ยังละไม่ได้แล้วด้วยประการฉะนี้ ฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใส ในพระสงฆ์ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุนั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำ ติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร ตาปูตรึงใจประการที่ ๓ นี้ อันภิกษุ ผู้มีจิตไม่น้อมไป เพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร ยังละไม่ได้แล้ว ด้วยประการฉะนี้ ฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใส ในสิกขา ในการศึกษา ไม่เอาใจใส่ในการประพฤติปฏิบัตินั่นแหละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุนั้น ย่อมไม่น้อมไป เพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร ตาปูตรึงใจประการที่ ๔ นี้ อันภิกษุผู้มีจิตไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร ยังละไม่ได้แล้ว ด้วยประการฉะนี้ ฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมโกรธ ไม่พอใจ มีจิตอันโทสะประทุษร้าย มีจิตกระด้างในเพื่อนพรหม จรรย์ทั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุนั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบ เนืองๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร ตาปูตรึงใจประการที่ ๕ นี้ อันภิกษุผู้มีจิตไม่น้อมไป เพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร ยังละไม่ได้แล้ว ด้วยประการอย่างนี้ ตาปูตรึงใจ ๕ ประการนี้ อันบุคคลนั้น ยังละไม่ได้แล้ว ฯ เครื่องผูกพันใจ ๕ ประการ อันบุคคลนั้น ยังตัดไม่ขาด แล้วเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ไม่ปราศจากความพอใจ ไม่ปราศจากความรัก ไม่ปราศจาก ความกระหาย ไม่ปราศจากความเร่าร้อน ไม่ปราศจากความอยากในกามทั้งหลาย จิตของภิกษุนั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร เพื่อผูกพันใจประการที่ ๑ นี้ อันภิกษุผู้มีจิตไม่น้อมไป เพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร ยังตัดไม่ขาดแล้ว ด้วยประการอย่างนี้ ฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ไม่ปราศจากความพอใจ ไม่ปราศจาก ความรัก ไม่ปราศจากความกระหาย ไม่ปราศจากความเร่าร้อน ไม่ปราศจากความอยากในกาย อันที่ ๑ ในกาม อันที่ ๒ ในกาย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุนั้นย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำ ติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร เครื่องผูกใจประการที่ ๒ นี้ อันภิกษุผู้มีจิตไม่น้อมไป เพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร ยังตัดไม่ขาดแล้ว ด้วยประการอย่างนี้ ฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุยังเป็นผู้ไม่ปราศจากความกำหนัด ไม่ปราศจาก ความพอใจ ไม่ปราศจาก ความรัก ไปปราศจากความกระหาย ไม่ปราศจากความเร่าร้อน ไม่ปราศจากความอยากในรูป จิตของภิกษุนั้น ย่อมไม่น้อมไป เพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร เครื่องผูกพันใจประการที่ ๓ นี้ อันภิกษุผู้มีจิตไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร ยังตัดไม่ขาดแล้ว ด้วยประการอย่างนี้ ฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุฉันอาหารเต็มท้อง ตามต้องการแล้ว ย่อมประกอบความสุขในการนอน ความสุขในการเอน ความสุขในการหลับอยู่ จิตของภิกษุนั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร เพื่อผูกพันใจประการที่ ๔ นี้ อันภิกษุ ผู้มีจิตไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร ยังตัดไม่ขาดแล้ว ด้วยประการอย่างนี้ ฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุประพฤติพรหมจรรย์ ด้วยความปรารถนา เป็นเทพนิกายหมู่ใดหมู่หนึ่งว่า เราจะเป็นเทพเจ้า หรือเป็นเทพองค์ใดองค์หนึ่งด้วยศีล พรต ตบะ หรือพรหมจรรย์นี้ จิตของ ภิกษุนั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร เครื่องผูกพันใจประการที่ ๕ นี้ อันภิกษุผู้มีจิตไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร ยังตัดไม่ขาดแล้ว ด้วยประการอย่างนี้ เครื่องผูกพันใจ ๕ ประการนี้ อันบุคคลนั้น ยังตัดไม่ขาดแล้ว ฯ

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ตะปูตรึงใจ ๕ ประการนี้ อันบุคคลผู้ใดผู้หนึ่ง เป็นภิกษุ หรือเป็นภิกษุณี ก็ตาม ยังละไม่ได้แล้ว เครื่องผูกพันใจ ๕ ประการนี้ อันบุคคลผู้ใดผู้หนึ่ง เป็นภิกษุ หรือภิกษุณี ก็ตาม ยังตัดไม่ขาดแล้ว กลางคืนหรือกลางวันที่ผ่านมาถึงบุคคลนั้น บุคคลนั้นพึงหวังความเสื่อ มอย่างเดียว ในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่มีความเจริญเลย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนกลางคืน หรือกลางวันที่ผ่านมา ถึงพระจันทร์ในกาฬปักษ์ พระจันทร์นั้น ย่อมเสื่อมไปจากสี ย่อมเสื่อมจากมณฑล ย่อมเสื่อมจากแสงสว่าง ย่อมเสื่อมจาก ความยาว และความกว้าง แม้ฉันใด ตาปูตรึงใจ ๕ ประการนี้ อันบุคคลผู้ใดผู้หนึ่ง เป็นภิกษุ หรือภิกษุณีก็ตาม ยังละไม่ได้แล้ว เครื่องผูกพันใจ ๕ ประการนี้ อันบุคคลผู้ใดผู้หนึ่ง เป็นภิกษุ หรือภิกษุณีก็ตาม ยังตัดไม่ขาดแล้ว กลางคืน หรือกลางวันที่ผ่านมาถึงบุคคลนั้น บุคคลนั้น พึงหวัง ความเสื่อมอย่างเดียวในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่มีความเจริญเลย ฉันนั้นเหมือนกันแล ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตาปูตรึงใจ ๕ ประการ อันบุคคลผู้ใดผู้หนึ่ง ภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม ละได้แล้ว เครื่องผูกพันใจ ๕ ประการ อันบุคคลผู้ใดผู้หนึ่ง เป็นภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม ตัดขาดได้แล้ว กลางคืน หรือกลางวันที่ผ่านมาถึงบุคคลนั้น บุคคลนั้นพึงหวังความเจริญ อย่างเดียว ในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่มีความเสื่อมเลย ฯ

เอ้า อีก อีกหน้ากว่า อ่านให้จบเลยก็แล้วกัน จะได้อธิบายรวดเดียวเลย

ตะปูตรึงใจ ๕ ประการ ที่บุคคลนั้นละได้แล้ว เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมไม่เคลือบแคลงสงสัย ย่อมน้อมใจเชื่อ เลื่อมใสในพระศาสดา จิตของภิกษุนั้น ย่อมน้อมไป เพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อ กระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร ตาปูตรึงใจประการที่ ๑ นี้ อันภิกษุผู้มีจิตน้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร ละได้แล้ว ด้วยประการอย่างนี้ ฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมไม่เคลือบแคลงไม่สงสัย ย่อมน้อมใจเชื่อย่อมเลื่อมใสในพระธรรม ฯลฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมไม่เคลือบแคลงไม่สงสัย ย่อมน้อมใจเชื่อ ย่อมเลื่อมใสในพระสงฆ์ ฯลฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมไม่เคลือบแคลง ไม่สงสัย ย่อมน้อมใจเชื่อ ย่อมเลื่อมใสในสิกขา ฯลฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมไม่โกรธ พอใจ มีจิตอันโทสะไม่ประทุษร้าย มีจิตไม่กระด้าง ในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย จิตของภิกษุนั้น ย่อมน้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร ตาปูตรึงใจ ๕ ประการนี้ อันภิกษุมีจิตน้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร ละได้แล้ว ด้วยประการอย่างนี้ ตะปูตรึงใจ ๕ ประการนี้ อันบุคคลนั้นละได้แล้ว ฯ

เครื่องผูกพันใจ ๕ ประการ อันบุคคลนั้นตัดได้ขาดแล้วเป็นไฉน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปราศจากความกำหนัด ปราศจากความพอใจ ปราศจากความรัก ปราศจากความกระหาย ปราศจากความเร่าร้อน ปราศจากความอยาก ในกามทั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุนั้น ย่อมน้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบ เนืองๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร เครื่องผูกพันใจประการที่ ๑ นี้ อันภิกษุผู้มีจิตน้อมไป เพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร ตัดได้ขาดแล้ว ด้วยประการฉะนี้ ฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ปราศจากความกำหนัด ปราศจากความพอใจ ปราศจากความรัก ปราศจากความกระหาย ปราศจากความเร่าร้อน ปราศจากความอยากในกาย ฯลฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้ปราศจากความกำหนัด ปราศจากความพอใจ ปราศจากความรัก ปราศจากความกระหาย ปราศจากความเร่าร้อน ปราศจากความอยากในรูป ฯลฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุฉันอาหารเต็มท้องตามต้องการแล้ว ไม่ประกอบความสุขในการนอน ความสุขในการเอน ความสุขในการหลับอยู่ ฯลฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุไม่ประพฤติพรหมจรรย์ ด้วยความปรารถนาเป็นเทพนิกายหมู่ใดหมู่หนึ่ง ว่าเราจักเป็นเทพเจ้า หรือว่าเทพองค์ใดองค์หนึ่ง ด้วยศีลพรต ตบะ หรือ พรหมจรรย์นี้ จิตของ ภิกษุนั้น ย่อมน้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร เครื่องผูกพันใจ ประการที่ ๕ นี้ อันภิกษุผู้มีจิตน้อมไป เพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร ตัดได้ขาดแล้ว ด้วยประการอย่างนี้ เครื่องผูกพันใจ ๕ ประการนี้ อันบุคคลนั้น ตัดได้ขาดแล้ว ฯ

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ตาปูตรึงใจ ๕ ประการนี้ อันบุคคลผู้ใดผู้หนึ่ง เป็นภิกษุ หรือเป็นภิกษุณี ก็ตาม ละได้แล้ว เครื่องผูกพันใจ ๕ ประการนี้ อันบุคคลผู้ใด ผู้หนึ่ง เป็นภิกษุ หรือภิกษุณีก็ตาม ตัดได้ขาดแล้ว กลางคืนหรือกลางวัน ที่ผ่านมาถึงบุคคลนั้น บุคคลนั้น พึงหวังความเจริญ อย่างเดียว ในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่มีความเสื่อมเลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนกลางคืน หรือกลางวัน ที่ผ่านมา ถึงพระจันทร์ในชุณหปักษ์ พระจันทร์นั้น ย่อมเจริญด้วยสี ย่อมเจริญด้วย มณฑล ย่อมเจริญด้วยแสงสว่าง ย่อมเจริญด้วยส่วนยาวและส่วนกว้าง แม้ฉันใด

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ตาปูตรึงใจ ๕ ประการนี้ อันบุคคลผู้ใดผู้หนึ่ง เป็นภิกษุ หรือเป็นภิกษุณี ก็ตาม ละได้แล้ว เครื่องผูกพันใจ ๕ ประการนี้ อันบุคคลผู้ใดผู้หนึ่ง เป็นภิกษุ หรือภิกษุณีก็ตาม ตัดขาดได้แล้ว กลางคืนหรือกลางวันที่ผ่านมาถึงบุคคลนั้น บุคคลนั้น พึงหวังความเจริญ อย่างเดียว ในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่มีความเสื่อมเลย ฉันนั้นเหมือนกันแล ฯ

สรุปแล้ว ก็มี ๒ ทิศ ๑.เครื่องผูกพันใจ ๒.ตาปูตรึงใจ เครื่องผูกพันใจ ๕ ประการ ตาปูตรึงใจ ๕ ประการ ท่านขยายความจาก ...ขยายความในสภาพที่มันติด มันตรึงใจ มันปักใจ แล้วทำให้เกิด ลักษณะไปในสายโทสะ น่ะไปในสายที่ไม่ชอบใจ...เป็นโทสะ เป็นสภาพที่โกรธเคือง ...ย่อมโกรธ ย่อมไม่พอใจ มีจิตอันประทุษร้าย มีจิตกระด้าง...ในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ...อีกอันหนึ่ง ก็ในสายดูด ในสายผูกพันใจ...เป็นเครื่องผูกพันใจ เป็นความกำหนัด ความพอใจ ความรัก ความกระหาย ความเร่าร้อน ความอยากในกาม ในกาย ในรูป หรือไม่ก็เอาแต่การนอน กินอิ่มเต็มท้อง แล้วก็นอน...หาแต่นอน แต่เอน อีกอันหนึ่ง อันสุดท้าย ก็มิจฉาทิฏฐิอยู่ มาปฏิบัติธรรม จะถือศีล ถือพรต หรือตบะอะไร ก็เพื่อที่จะทำตนให้เป็นคน.. ท่านใช้ศัพท์ สำนวนว่า เป็นเทพ เป็นเทพเจ้า หรือ เทพองค์ใดองค์หนึ่ง ...ถ้าเผื่อว่า ไม่เข้าใจสภาวะของ จิตวิญญาณแล้วล่ะก็ เราจะเข้าใจว่า มาบำเพ็ญ เพื่อเกิดความเป็นเทพเจ้า หรือ... เทวดา องค์ใดองค์ หนึ่งหรือเทพองค์ใดองค์หนึ่ง นี่ คืออะไร ถ้าไม่เข้าใจจิตวิญญาณ หรือยิ่งเข้าใจ เป็นแบบ พวกเดรัจฉานวิชา พวกไสยศาสตร์ กลายเป็นว่า บำเพ็ญแล้ว เพื่อจะได้ตายไปแล้ว ก็จะได้ไปเป็นเทพเจ้า อยู่บนสวรรค์ อะไรไปโน่น มันก็เลยยิ่งไม่รู้เรื่อง ไม่เข้าใจน่ะ

แต่เราได้อธิบายกันมามากแล้ว...ได้อธิบาย ถึงเรื่องจิตวิญญาณที่เป็นเทวดาสมมุติก็ได้ เป็นเทวดา อย่างจิตจริงอุบัติจริงก็ได้ แล้วเราก็ติดยึดอยู่ในฐานในภูมิของเทพ เทพองค์ใด องค์หนึ่ง ก็หมายความว่า เราติดอยู่ในความเป็นเทพใดเทพหนึ่ง ติดหยุดอยู่ในจุดใดจุดหนึ่ง เสร็จแล้ว เราก็ไม่ถอดไม่ถอน ไม่เคลื่อนย้าย ไม่เปลี่ยนแปลงเหมือนเจ้าติดศาล องค์ใดองค์หนึ่ง ก็หมายความว่า เป็นเทพในระดับใด ระดับหนึ่ง เป็นเทพเจ้าองค์ เขาก็มีชื่อกัน เรียกเป็นขั้นๆ ชั้นๆ ล่ะนะ แล้วเป็นเทพไหน แล้วเราว่าได้ดี หรือเราได้อย่างที่ต้องการอย่างนั้นๆ เสร็จแล้ว ก็จมอยู่ตรงนั้นแหละ อย่างนี้ เราก็ไม่เอา เพราะพระพุทธเจ้าไม่ส่งเสริมอย่างนั้น เราจะต้อง บำเพ็ญเพียร เพื่อที่จะทำให้ติดต่อ ทำให้เจริญขึ้นไป จนถึงที่สุดนั่นแหละ

ถ้าเผื่อว่า เราไม่ทำอย่างนี้ มันจะไม่เกิดการเจริญ ความเจริญนี้ พระพุทธเจ้าท่านขยายความ ในเนื้อความนี้ ลองมาฟังความเจริญดู ถ้ามันไม่เจริญ มันจะเป็นยังไง ที่จริงมันก็รวมไปหมด นั่นแหละ มันจะเกิดจิตไม่ดี...ในสายของตาปูตรึงใจ มันจะเกิดความเคลือบแคลงสงสัย อันแรกนะ ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในพระศาสดา เมื่อจิตของภิกษุนั้น ไม่น้อมไปเพื่อ ความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร ...นี่ฟังดูดีๆ มันมีภาษา ที่ละเอียดๆอยู่ เรามาปฏิบัติธรรมนี่ เพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อความบำเพ็ญเพียร ที่จริงแล้ว ภาษาบาลีเขามีภาษาไทยไม่รู้จะแปลว่าอะไรกันแล้วน่ะ ถ้าเผื่อว่า เกิดความเคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในศาสดา ศาสดานี่ ตอนแรก เราก็นึกถึง พระพุทธเจ้าก่อน

ถ้าผู้ใด ยังสงสัยในพระพุทธเจ้า ไม่เชื่อ ไม่เลื่อมใสในพระศาสดาจริงๆ ในพระพุทธเจ้าจริงๆ แล้วละก็ ก็หมดหวังล่ะนะ เพราะจะปฏิบัติมีกำลังอะไรล่ะ สงสัยว่า เอ๊ พระพุทธเจ้ามีจริง หรือเปล่า ดีอย่างนี้จริงหรือ ไม่เชื่อ มีด้วยหรือ คนที่จะเป็นอย่างนี้ได้ ไม่เชื่อ ถ้าอย่างนี้ ก็หมดหวังแน่ นี่เป็นตัวต้นเลย ถ้าใครถึงขั้นนี้แล้วละก็ เอวัง ก็มีด้วยประการฉะนี้ ไม่มีทาง เราจะไปมีความเพียร เพื่อที่จะมาปฏิบัติประพฤติ เพราะว่าเรารู้ดีอยู่ว่า เรามาปฏิบัติประพฤติ กันอยู่นี่ เราเพียรขนาดนี้ มันยังขนาดนี้เลย เพียรไป ๆ ประเดี๋ยวก็พักไปซะ พักไปมาก มากด้วยซ้ำ ทั้งๆที่ในจิตใจของเรา ยังเชื่อมั่นในพระศาสดานะ ยังไม่เคลือบแคลงสงสัย ไม่ระแวง อะไรหรอก แม้อาตมาว่าระแวง แม้นิดหนึ่งก็ไม่ได้แล้ว ว่าพระพุทธเจ้านี่จริงหรือ นี่นะ อาตมาว่า แม้ระแวงนิดหนึ่ง อาตมาก็ว่าไม่เข้าเรื่องแล้ว ไม่ได้เจริญหรอก ไม่เจริญในกุศลธรรม ขนาดพระศาสดานะ

ทีนี้นอกจากไม่ใชพระศาสดาแล้ว อาจารย์ ครูบาอาจารย์ ที่เรานับถือ ที่มันเป็นขั้นๆ ตอนๆ พระศาสดาก็พระศาสดาล่ะ ผู้ที่จะเกื้อกูล ผู้ที่จะมีภูมิธรรม มีสิ่งจริง มีสัจธรรม ถ้ามันไม่มีแล้ว มันก็คนเราจะเชื่อถือ ศรัทธายังไงๆ มันก็อ่อน เพราะฉะนั้น ในทุกวันนี้ก็ตามยังมีนะ ยังมีผู้ที่ เคารพนับถือ อาจารย์ แล้วก็เชื่อมั่นในศาสดา เชื่อมั่นในพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าเป็นอย่างไร ไม่รู้เรื่องหรอก ผู้ที่ยังไม่มีปัญญาล่ะนะ จะมารู้เรื่องก็จากอาจารย์ อาจารย์นี่ เป็นผู้ที่ถือว่า เป็นผู้ที่ถ่ายทอด มีสัจธรรมตามพระศาสดา ทีนี้อาจารย์เป็นอย่างไหนล่ะ อาจารย์เป็นอย่างไหน ก็เป็นอย่างนั้น...เป็นอย่างนั้น อาจารย์ อาจจะมิจฉาทิฏฐิ ไปนอกลู่นอกทางอย่างไร ก็ตามใจเถอะ ทีนี้ ผู้นั้นนั่นน่ะ เลื่อมใส น้อมใจเชื่อในอาจารย์ ก็ยังจะนำพากันไปได้ นำพากัน ไปเจริญ ตามที่อาจารย์จะนำพา จิตลึกๆ สูงๆ ก็ว่านี่แหละเป็นลูกศิษย์อาจารย์ เป็นลูกศิษย์ พระพุทธเจ้า เราก็ยังเชื่อในพระศาสดา ในพระพุทธเจ้าอยู่

ทีนี้ อาจารย์นี่ ก็มาเป็นตัวแทน มาเป็นผู้ที่มีคุณธรรม มีคุณภาพ มีสัจธรรม มีของที่ตาม พระพุทธเจ้าพาเป็น ก็เชื่อ เชื่อว่าจะเป็นอย่างนั้นๆ ในสำนักต่างๆ ก็มีอาจารย์อย่างนี้อยู่อย่างนี้ เสมอน่ะ ในสำนักต่างๆ ถ้าจะว่าความเจริญแล้ว มันก็ต้องเจริญตามอาจารย์ อาจารย์เห็น อย่างไรล่ะ อาจารย์มีความคิดอย่างไร อาจารย์เข้าใจอย่างไร เราก็ศรัทธา เลื่อมใสอยู่กับอาจารย์ ถ้าเราลดเมื่อไหร่ เราก็ไม่ไปกับอาจารย์แล้ว...เดินทาง ไม่เจริญแล้ว กุศลธรรมก็ไม่เจริญ จะอยู่ ที่นั่น ต่อไปยังไงๆนะ ไม่เลื่อมใสในอาจารย์ ไม่ต้องถึงขนาดบอกแล้วว่ายกไว้ ต่อให้เลื่อมใส พระพุทธเจ้าอยู่ยังไงก็ตาม เลื่อมใสพระพุทธเจ้าอยู่อย่างไม่ถอดถอน ไม่เปลี่ยนแปลงหรอก

ซึ่งอาตมาคิดว่าชาวพุทธที่ใส่ใจแสวงหา ประพฤติ ปฏิบัตินี่นะ ก็ย่อมไม่ลดละในการนับถือ พระพุทธเจ้า เชื่อมั่นในพระพุทธเจ้านี่ ยังมีอยู่ทั้งนั้นแหละ แต่ผู้นั้น แม้แต่อาจารย์นี่แหละ อาจารย์ที่ตัวเองอยู่ด้วยนี่ ถ้าเกิดไม่เลื่อมใสในอาจารย์แล้ว ผู้นั้นจะต้องแน่นอนเลย ย่อมไม่ น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร แน่นอน ไม่ทำ ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เขาว่าน้อมนี่ นมะ นมติ นมะ นี่ แปลว่าน้อม น้อม นอบน้อมนี่ นมติ อาตัปปายะ เพื่อความเพียร และตัวหลังอีก เพื่อบำเพ็ญเพียร ภาษาบาลีว่า ปธานายะ ป.ปลา ธ.ธง สระอา น.หนู สระอา ย.ยักษ์ ปธานายะ มันคนละตัวเลย อาตัปปายะ กับ ปธานายะ แต่ว่าแปลแล้ว คล้ายๆกันว่าความเพียร ปธานายะ แปลว่าบำเพ็ญเพียร คือไม่มี ภาษาไทยจะแปลแล้วล่ะนะ เขาก็แปลกันน่ะ ตัวที่จริงแล้ว น้อมใจไปเพื่อความมุ่งมั่น เพื่อความมุ่งหมาย เพื่อความเอาจริงเอาจังน่ะ นี่ เป็นการขยายความ การปฏิบัติยังมุมานะอยู่ เพื่อบำเพ็ญเพียร ก็หมายความว่า ที่เขาบอกว่า ปธานายะ ก็หมายความว่า ปฏิบัติเพื่อให้เกิด ตัวที่ตั้งขึ้น หยั่งลง ถ้าว่าแล้ว น้อมใจไปเพื่อความเพียรมันมีนะ นมติ มันมีภาษาบาลี อีกตัวหนึ่ง กำกับว่า น้อมไป หมายความว่า ใจนอบน้อม ใจนี่เอาจริงเอาจัง ใจนี่ ยอมรับนับถือด้วย แล้วก็จะปฏิบัติตนอย่างพากเพียร เอาใจใส่ส่วนตัวปธานายะ นั่นมันก็ขยายความ ไปเรื่อยๆล่ะ ไม่ประกอบติดต่อ ไม่ประกอบอย่างเนืองๆ ไม่กระทำ มันมีหยุด มันมีขาด มันมีวรรค

นี่แสดงถึงสภาพที่เมื่อเกิดจิตที่ไม่ค่อยดี สะดุดเมื่อไหร่... คนเรานี่ จิตใจไม่เต็มด้วยอิทธิบาท ๔ เมื่อมันสะดุด แล้วจิตใจไม่เต็มด้วยอิทธิบาท ๔ มันไม่ยินดี เมื่อไม่ยินดี วิริยะก็ขาดตอน ความเพียรนี่ ตัวความเพียร วิริยะนี่ แปลว่า ความเพียรโดยตรง ความเพียร ความที่จะเร่งเครื่อง เหมือนกับเครื่อง มันเดินติดต่ออยู่นี่นะ เหมือนรถยนต์นี่ เครื่องมันเดินต่อเนื่องอยู่ มันจะสะดุดละ สะดุด เดี๋ยว ดีไม่ดี เดี๋ยวดับ เดี๋ยวดับ ดับเมื่อไหร่ก็สวย ดับเมื่อไหร่ ก็ไม่ได้เดินแล้ว ถอยหลัง ดีไม่ดี ถอยหลังตกใต้ถุนลงไปเลย นี่ลองเปรียบเทียบอะไรพวกนี้ ฟังดูดีๆ เพราะฉะนั้น การปฏิบัติธรรมนี่ สำคัญมากเลย ในเรื่องที่เรียกว่า เราเองจะเกิด ตาปูตรึงใจ แม้ข้อแรกนี่ว่า เราไม่เลื่อมใสอาจารย์ บอกแล้วว่า ลึกๆศาสดาก็คือพระพุทธเจ้า

แต่อาตมาเชื่อว่า เลื่อมใสในพระพุทธเจ้านี่ ไม่ถดถอยกันหรอกพวกเรา เพราะฉะนั้น จะไม่มีผล เท่าไหร่ ว่า เราจะไม่เลื่อมใสพระพุทธเจ้านี่ มันก็ยากน่ะ เพราะฉะนั้น ตาปูตรึงใจพวกนี้ มันจะไม่มีผล ไปถึงขนาดนั้น ตาปูตรึงใจตัว อย่าว่าแต่พระพุทธเจ้าเลย แม้แต่อาจารย์ อย่างที่ว่านี่แหละ นี่แหละมันจะเห็นผลน่ะ เอ๊ ไม่ค่อยมั่นใจในอาจารย์ แล้วมีสะดุดเหมือนกับ รถเดินเครื่อง ไม่ค่อยจะติดแล้ว กึกกักๆแล้ว จะเป็นเพราะอะไร ก็แล้วแต่เถอะ ขาดๆ ตอนๆ แล้วไม่เจริญ เกิดการปฏิบัติ ก็ไม่ติดต่อ ไม่ประกอบเนืองๆ ไม่เอาใจใส่ ความเพียรลดหย่อนแน่ ไอ้ความน้อมใจ นะมะติ ความน้อมใจ หรือว่าความที่จะตั้งใจยินดี มันก็ลดลง เมื่อลดลงแล้ว ไอ้ตัวที่จะปฏิบัติ ประพฤติ เพื่อให้เกิดปธานายะ เพื่อตัวที่จะบำเพ็ญ ตัวประพฤติ ตัวปฏิบัติ ตัวอบรม ปธานายะนี่ มันก็อ่อนแอแล้วแรง เป็นแรงเพียร การสั่งสม ตัวเพียรขึ้นมาเป็นแรง เรียกว่าปธานายะ นี่ ไม่รู้จะแปลภาษาไทยว่ายังไงก็ว่า เพื่อบำเพ็ญเพียร ตัวปธานายะ มันจะมี ตัวกลุ่ม ที่เมื่อเริ่มต้น เหมือนเราเหยียบคันเร่ง เหมือนเราขับรถนี่นะ น้อมใจเพื่อความเพียร ก็หมายความว่า เรากำลังทำการค่อยๆเหยียบคันเร่งลงไป อื้ด พอเหยียบ คันเร่งลงไปได้ที่ มันก็เป็นปธานายะ ทำ แล้วเราเหยียบลงไปเรื่อยๆ มันก็จะต่อเดินเครื่องไป แล้วมันจะเกิดพลัง ขึ้นมา เกิดพลังเพียร เกิดกำลังของความเอาจริง เอาจังขึ้นมา

ถ้าถึงปธานายะ หมายความว่า โอ ตอนนี้บำเพ็ญเลย ตอนนี้กระทำเลย ตอนนี้มีแรงของ ความเพียร วิริยะเต็มที่ เพราะเราน้อมไปเพื่อความเพียร เริ่มต้นตั้งแต่ เหยียบคันเร่งลงไปอย่างนี้ แล้วก็ต้องให้มีติดต่อไป ไม่ใช่ยึกยักๆ อย่างนี้นะ ไม่ใช่ยึกยักอย่างนี้นะ ก็เพราะฉะนั้น ต้องให้เนืองๆ ให้เป็นไปอย่างนั้น แล้วก็ให้ติดต่อไปเรื่อยๆ นี่เห็นพอฟังอาตมาอธิบาย ทำมือ ทำไม้ ทำโน่นทำนี่ สภาพที่เหยียบคันเร่ง เราก็เหยียบเข้าไปให้ดู มันก็จะเป็นกำลัง ถ้าเผื่อว่า สะดุดเมื่อไหร่ ก็เหมือนกับถอนคันเร่งอย่างที่ว่า เหมือนกับถอนฉึกฉัก ฉึกฉัก ไม่ต่อเนื่อง ไม่ทำ ให้ติดต่อ ไม่ทำเนืองๆ ไม่ทำอยู่สม่ำเสมอ มันจะขาดจังหวะ

ซึ่งเป็นทุกคนล่ะ เป็นมาก เป็นน้อย ถ้าเผื่อว่าเกิดสะดุด เกิดอย่างโน้นอย่างนี้ เพราะว่าจิตใจ ยังไม่มั่นคง จิตใจยัง ไม่มีศรัทธา ที่สมบูรณ์ ไม่บริบูรณ์ ศรัทธายังไม่แก่ ไม่กล้า ยังไม่เต็ม ยังไม่ดี และหรือปัญญา ความเข้าใจนี่ มีจุดจุดหนึ่ง ที่อาตมาเอง อาตมาเห็นคนโง่นี่มีมาก คือ มาศรัทธา ครูบาอาจารย์ ก็ศรัทธาแล้วนะ ปฏิบัติไป ก็ได้ผลดีแล้วนะ ได้ผลดี ได้ประโยชน์ จากการที่ปฏิบัติไปแล้ว เสร็จแล้วไปคือตัวเอง ตัวติดยึดเป็นอัตตานี่ จุด จุดใดจุดหนึ่ง เรื่องใด เรื่องหนึ่งก็ตาม เรื่องเดียวก็ได้ ยิ่งหลายเรื่อง ก็ยิ่งแน่นอน แล้วมันก็ยิ่งประสมประเสเข้าไป มีน้ำหนักถ่วง เสร็จแล้ว เราก็ไม่ชอบใจ อันนี้ล่ะนะ ถือสาอันนี้ เป็นอัตตาของตัวเองอันนี้ ถือสา อาจารย์เกิด ปฏิบัติจุดนี้ ไม่ค่อยสอดคล้องกับใจเราต้องการนี่นะ เกิดสะดุดเลย ลดศรัทธา ไม่ประกอบเนืองๆ ไม่กระทำติดต่อ ไม่น้อมใจเพื่อความเพียร

อันนี้ อาตมาถือว่าโง่ ทั้งๆ ที่มาปฏิบัติแล้ว ได้ดีไปก็ไม่ใช่น้อยแล้ว ปฏิบัติตามมาได้อะไรๆแล้ว แล้วมาเจอเอาไอ้เหตุ หรือว่าเรื่อง ซึ่งตัวเองถือตัวเองจริงๆ ตัวเองยังไม่รู้ว่าตัวเองถือ ตัวเองติด ตัวนั้น จะเป็นความเข้าใจ จะเป็นความเชื่อมั่น เป็นอะไรก็แล้วแต่ ที่ตัวเองเข้าใจอยู่ ถืออยู่ว่า อันนี้แหละดี แต่อาจารย์เกิดขัด เกิดขัดแย้ง ไม่ถูกกับตัวเองยึด ตัวเองถือ

อาตมาเคยใช้ภาษาว่า อย่าเอาขี้หมาไปแลกทองคำ เอาขี้หมาไปแลกทองคำ เกิดสะดุดนิดหนึ่ง เอาแล้วง่องแง่ง ไม่ติดต่อ ดีไม่ดี ถอยฉาก ดีไม่ดี เลิก ลาหนีไปเลย แหม อาตมาว่า คนๆนี้ คนอย่างนี้ มันมีได้เหมือนกัน มีได้จริงๆนะ มันทำไมมันถึงได้ตื้นๆ อย่างนั้นนะ ไม่ระลึกถึง ไม่ระลึกรอบ ไม่ระลึกถึงอะไรๆ ต่างๆนานา

ถ้าไม่เคยได้อะไร หรือว่าไม่ได้ดีอะไร ไม่ได้เชื่ออะไรมาเลย หรือว่าเพิ่งเริ่มเชื่อ ยังไม่ได้อะไร มากมาย มาสะดุด ไอ้จุดนิดจุดหนี่งน่ะ แล้วยังไม่แน่ด้วยนะไอ้จุดนั้นน่ะ ตัวเองถูกหรือผิด เอ้า ต่อให้อาจารย์ผิดด้วย แล้วมันควรหรือ จุดนิดจุดหนึ่ง จุดใดจุดนั้นก็แล้วแต่ ไม่ยิ่งใหญ่ อะไรหรอก แล้วก็ถือ เลิก หยุดไปไม่เอาแล้ว ถอยไปแล้ว แหม คุณคิดดู คนอย่างนี้ล่ะนะ เอาทองคำไปแลกขี้หมา ไม่ใช่เอาขี้หมาไปแลกทองคำ ใช้ทองคำไปแลกขี้หมาแท้ๆเลย น่ะ เอาทองคำ ไปแลกขี้หมา มันน่าไหม มันน่า คนอย่างนี้ มีเหมือนกัน เพราะฉะนั้น อย่าตื้น อย่าตื้น อย่างที่ว่านี่เป็นอันขาดเลย จะต้องคิดนึก จะต้องพยายามพิจารณาให้ดีน่ะ ยิ่งอุตสาหะวิริยะมา ก็นานแล้ว ได้มาก็มากแล้ว มันเป็นอัตตามานะ มันเป็นความถือดี ถือตัว

มันซ้อนนะ คนเรานี่ รู้สึกว่าตัวเองได้ดีขึ้นมาแล้ว พอดังแล้วก็แยกวงอะไรอย่างนี้ แหม ดังแล้ว แยกวง พอได้ดีได้อะไรต่ออะไรขึ้นมาแล้ว จุดพวกนี้ บางที มันถือดี มันถือดีเหมือนกันล่ะ เอาเป็นเหตุเลย เอาเป็นเหตุเพื่อจะแยกวงกับอาจารย์ล่ะนะ อาจารย์ไม่ดีอย่างนี้ ไม่เอาละ ไปละ ไป ได้ดีมีอะไร พอตัวไป นี่คนมีอัตตามีมานะอย่างนี้ ก็กลายเป็นความแยก กลายเป็นความแตก กลายเป็นสิ่งที่ไม่รวม แม้เราจะดีกว่า ถ้าเราเองดีกว่า ก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร ก็ปฏิบัติอยู่กับ อาจารย์ อาจารย์อาจจะมีภูมิต่ำกว่านะ เราเป็นอภิชาตบุตรว่าอย่างนั้นเถอะนะ แหม ปฏิบัติไป ปฏิบัติมา เจริญกว่าอาจารย์นี่นะ ดีกว่าอาจารย์ก็ไม่น่าจะแยกวง ก็น่าจะ เออ ฉลาด แล้วก็ปฏิบัติตน ให้เป็นคนที่ปฏิบัติ ลักษณะกตัญญูกตเวทีที่ซ้อนเชิง

นี่ต่อให้เป็นความจริงด้วยนะว่าเราเจริญกว่าอาจารย์ ก็ไม่น่าจะแยกวง ไม่น่าจะแยกไปอีก อันหนึ่ง ก็น่าจะไปด้วยกันกับอาจารย์ ก็อาจารย์พาดีมาก็ตั้งไม่ใช่น้อย เสร็จแล้ว อาจารย์เพี้ยน ปลายๆ ว่าอย่างนั้นเถอะนะ เราก็พาอาจารย์ตรงซี ด้วยกตัญญูกตเวที ด้วยฐานะที่เราเป็น ลูกศิษย์ นี่แหละ ลูกศิษย์จะนำพาอาจารย์อย่างไร เหมือนลูกที่ปฏิบัติพ่อแม่ ก็สอนมาได้ดี เสร็จแล้ว ลูกได้ดีกว่าพ่อกว่าแม่ เราก็พานำพ่อแม่ สอนพ่อแม่ให้เจริญงอกงาม ให้เดินถูกทาง ให้เดินดี เดินชอบไปสิ ต่อไปอีกสิ อย่างนี้ดีกว่าดังแล้วแยกวงใช่ไหม ดีกว่าดังแล้วแยกวง เป็นไหนๆ จริงล่ะ เราเป็นลูกศิษย์ เราจะใหญ่โต เราก็จะไม่ได้ล่ะ เราก็จะต้องมีสัมมาคารวะ เราก็จะต้องถือว่า เอ้า ก็เป็นอาจารย์มาก่อน หรือยังไงๆ เราก็จะต้องพยายามทำ

แต่ถ้าเผื่อว่าลูกศิษย์นี้ดี ลูกศิษย์นี้เก่งจริงก็แน่นอน ย่อมทำให้อาจารย์ยอมรับว่าลูกศิษย์แน่กว่า อาจารย์ก็ต้องนับถือลูกศิษย์ ยกย่องลูกศิษย์ เมื่อเข้าสัมมาทิฏฐิแล้ว มันไม่ผิดหรอก ถ้าเข้าสัมมา ทิฏฐิแล้ว เราต้องรับความจริงว่า ก็ลูกศิษย์เจริญกว่า ลูกศิษย์ใหญ่กว่า อาจารย์ก็มอบหมาย ให้ลูกศิษย์ดูแลปกครอง หรือว่านำพา ก็ยกฐานะ ถึงแม้ว่าวัยวุฒิเป็นอาจารย์นี่ มีวัยกว่า ใช่ไหม เป็นผู้ที่เป็นภันเตกว่า ยังไงก็ตาม ลักษณะพวกนี้ มันมีธรรมดา เป็นธรรมดา อยู่ในสังคม ไม่ต้องแยกวง ก็จะอยู่กันอย่างมีลักษณะเคารพกันในที ในสภาพที่ผู้นี้ย่อมเหนือกว่า ในคุณวุฒิ แต่อ่อนกว่าในวัยวุฒิ ก็ไม่เป็นไร ก็เคารพกันในที มีคุณวุฒิดี วัยวุฒิ แม้จะผู้ที่มีคุณวุฒิน้อยกว่า แต่มีวัยวุฒิมากกว่า ก็เคารพกันในที มันเป็นลักษณะธรรมดา ของสังคมที่จะต้องมี ไม่ถึงขนาด อย่างที่อาตมากล่าวนี้ ก็มีอยู่

ในธรรมดาผู้มาก่อน ถือเป็นผู้ภันเต หรือผู้มีอายุมากโผล่มา มาถึงที่นี่ ก็มีผู้อายุน้อย แต่ผู้อายุน้อย เขามีคุณวุฒิมากกว่า เราจะทำตัวอย่างไร แล้วผู้ที่อายุน้อยกว่านั่นแหละ แม้จะมีคุณความดี แม้จะมีภูมิธรรมอะไรสูงกว่าก็ตาม เราก็ต้องรู้ว่าวัยวุฒิเขา เขาเป็นคน อายุมากกว่าเรานะ เราก็ต้องเคารพ หรือว่าให้สัมมาคารวะกันในส่วนเหล่านี้ ซึ่งเป็นลักษณะ ที่จะต้องรับกันอย่างไรๆ อาตมาอธิบายไม่ได้ วัฒนธรรมไทยเรานี่ มันมีซับซ้อน ในเรื่องของ เคารพกันในวัย เคารพกันในคุณวุฒิ มันมีจริงๆ หรือแม้แต่ชาติวุฒิ ชาติวุฒินี่ หมายความว่า ศักดิ์ศรี คนที่เป็นลูกเจ้า คนนี้เป็นลูกนาย คนนี้มาจากครอบครัวสูงครอบครัวร่ำรวย ตระกูลดีเก่า มันมีศักดินาพวกนี้ ติดมาด้วยเหมือนกัน ซึ่งเราจะไม่ถือกัน แต่มันก็ต้องถือกันอยู่นั่นแหละ ไม่ว่าที่ไหนๆ เลย ประเทศไหนๆ สังคมไหนๆ ในโลก บอกว่าเสมอภาค ๆ อย่างประเทศอเมริกา นี่ ถือว่าประเทศอิสรเสรีภาพอย่างนั้นก็ตาม เพราะเขาไม่มีกษัตริย์เลย ไม่มีศักดินา แบบถือ มันก็ถือสูง ถือใหญ่ ถือยศ ถือคุณวุฒิ ถือความแก่ ความโต ผู้ใหญ่ เป็นพ่อ เป็นแม่ เป็นพี่ เป็นน้อง หรือแม้ว่ามีความสามารถมาก มีคุณวุฒิมาก มันก็มีขั้นตอนอย่างนั้นมา เหมือนกัน นั่นแหละ

แม้แต่ในอเมริกาเองเขาก็ต้องให้ความเคารพนับถือกัน ในชั้นเชิงพวกนี้ซ้อนๆ อยู่ในสังคม เหมือนกัน อาจจะไม่จัดจ้าน ไม่มาก ไม่แรงเหมือนกับบางประเทศที่เขามีศักดินา มีเจ้ามีนาย มีทาส มีบ่าว มีอะไรต่ออะไร เพราะว่าในอเมริกา เขามีทาสเหมือนกัน แม้จะไม่มีสภาพของ พระเจ้าแผ่นดิน ผู้ใหญ่ ผู้ยิ่ง เป็นเชื้อสายตระกูลพระเจ้าแผ่นดิน คืออเมริกา ไม่เคยมีมาเลย แต่ต้น พอตั้งประเทศก็เป็นประธานาธิบดีเลย ก็เปลี่ยนกันไป เปลี่ยนกันมา ในระดับใหญ่ที่สุด ในประเทศน่ะ ของเขาไม่มีตระกูล ไม่มีเชื้อสาย ประธานาธิบดี แล้วก็เอาลูกประธานาธิบดี ขึ้นมาเป็นศักดินาอะไรต่ออะไร มันไม่มีมาแต่ต้น

แต่เขาก็มีทาส มีนายมาตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ เหมือนกัน มาเลิกทาสเอาต่อเมื่อประธานาธิบดี ลินคอล์น โน่นแน่ะ มันก็จะมีศักดินาอยู่เหมือนกัน เพราะฉะนั้น ทุกประเทศในโลก ทุกสังคม ในโลก ย่อมมีเรื่องของศักดินาอยู่บ้างแน่นอน เพราะฉะนั้น เวลาอยู่ในสังคม จึงจะต้อง มีการปรับ ปรับท่าทีของการเคารพยอมรับกันบ้าง ในอย่าว่าแต่วัยวุฒิหมายถึงอายุ คุณวุฒิ หมายถึงความสามารถ คุณธรรม ชาติวุฒิ ชาติกำเนิด การเกิดมาในตระกูลเจริญ ตระกูลไม่เจริญ อย่างไรก็ตาม มันจะต้องมีในทีบ้างๆเหมือนกันน่ะ มี เพราะฉะนั้น การรับตอบกัน การสัมพันธ์กัน เพื่อที่จะปรับเข้ากันอย่างไรได้ ยอมรับกัน

ผู้นี้มาใหม่ แต่อายุมากนะนี่ เราเองจะเป็นผู้ที่มีคุณวุฒิมากก็ตาม จะท่าทีที่จะยอมรับ ซึ่งกันและกัน ในฐานะเขาวัยวุฒิมาก เขามีวัยแก่กว่าสูงกว่า เราเองแม้จะเป็นคนที่มีคุณวุฒิ มีคุณค่า มีความรู้ มีความสามารถ มีคุณธรรมอะไรดีก็ตาม ก็ต้องรู้ว่าในท่าที ถ้อยทีที่จะ อ่อนน้อม ถ่อมตน กับผู้ที่มีอายุมากกว่านั้น อย่างไรถึงจะพอเหมาะพอดี บอกตายตัวไม่ได้เลย อาตมาพยายามอธิบายนี่ บอกตายตัวไม่ได้ มันจะมีท่าที ถ้อยที ลักษณะตอบรับกัน หรือว่า เป็นไปด้วยการประสานกัน อย่างเคารพกันในที มีสัมมาคารวะกันได้สัดส่วน ที่พอเหมาะ อยู่เสมอ สังคมที่เข้าใจในรายละเอียดพวกนี้ดี ก็จะดูงาม มีวัฒนธรรมน่าดู มีวัฒนธรรมสมบูรณ์ สมควร ซึ่งเป็นเรื่องที่ยาก เพราะฉะนั้น การปฏิบัติธรรม เมื่อเราเอง เกิดอัตตามานะ ตาปูตรึงใจ นี้คือ อัตตามานะ

โดยเฉพาะ อาตมาเน้นตัวที่ไม่ชอบใจกัน ตัวความผูกพัน ซึ่งจะเป็นลักษณะของความกำหนัด ความพอใจ ความรัก ความกระหาย ความเร่าร้อน ความอยากต่างๆ นี้ มันก็เป็นตาปูตรึงใจ เหมือนกันนั่นแหละ แต่ว่า มันไม่ได้หมายความว่า เหมือนลักษณะที่เทียบเคียงนี่ มันเจ็บ มันปวด ตาปูตรึงใจนี่ มันเจ็บมันปวดนะ ที่จริงความรักก็ทำให้เจ็บปวด ความกระหายเร่าร้อน ก็ทำให้เจ็บปวด แต่พวกเรามองจะมองเผินๆ ผ่านๆ ว่า เอ๊ย ผู้มีความรัก ถ้ามันสมใจ มันไม่ ไม่หรอก แต่ตาปูตรึงใจนี่ มันไม่ค่อยสมใจเท่าไหร่หรอก มันจะเจ็บปวดอยู่นั่นแหละ เสียบอยู่นั่นแหละ มันเป็นสายโทสะ สายโทสะนี่ มันทุกข์

อาตมาถึงบอกว่า ใครมีอะไร ในเรื่องของสายโทสะนี่ แม้แต่ความไม่ชอบใจจิ๊ด มหาจิ๊ดนะ จิ๊ดอย่างยิ่ง ใช้ภาษาไม่รู้จะใช้ภาษาอะไรแล้วนะ เล็กอย่างขนาดเล็กที่สุด เล็กอย่างใหญ่ แหม เล็กอย่างใหญ่ มันเป็นยังไง มหาจิ๊ดน่ะ ให้น้อยเท่าไหร่ๆ ให้ธุลีละอองขนาดไหนก็ตาม ควรล้าง ปรับออก อย่าให้มีเลย มันเป็นตาปูเสียบอก จริงๆ มันไม่ดีหรอก ตาปูเล็กขนาดไหน ก็ตามแต่ เถอะ ตาปูนิดหนึ่งก็ตาม มันก็เคืองๆ อยู่นั่นแหละ มันจะเป็นธุลีเส้นเล็ก เสียบอยู่ที่ใจนิดๆ ขนาดไหน มันก็เคือง มันไม่มีสุขหรอก ถอนออกให้หมด ล้างออกให้หมด อย่ามีเลย ในสิ่งที่ ไม่สบายใจ ไม่ชอบใจ อึดอัดอะไรพวกนี้ ในสายโทสะ อาตมาก็เน้นมาอธิบาย มาไม่รู้ตั้งเท่าไหร่ ควรล้างละออกให้ได้ ที่จริงภาษามันง่ายนะ เอาไว้ทำไม สายโทสะนี่ เอาไว้ทำไม ถือสา พยาบาท โกรธเคือง อาฆาต ไม่ชอบใจ ไม่ชอบอยู่ทำไม เอาไว้ทำพันธุ์หรือ กลัวมันจะสูญพันธุ์ ไม่ต้องกลัวหรอก พวกที่โง่ๆเง่าๆ แบกพันธุ์พวกนี้ไว้อยู่นี่ เยอะไป เราไม่ต้องไปแบกหรอก

ทำไมไม่ฉลาด ก็พวกที่ยังแบกอยู่นี่มีเยอะ ยังไม่เอาออก ยังไม่ได้ศึกษา นี่ก็มากมาย เราศึกษาแล้ว รู้แล้ว บอกแล้วว่า มันง่ายนะ มันเถียงไม่ได้ มันแย้งไม่ได้นะ มันไม่สบายหรอก มันทุกข์แน่นอน ทำไมไม่รู้ทุกข์อย่างนี้ ทุกข์ในสายโทสะโดยตรงนี่ มันไม่ควร ไม่ชอบใจกันอยู่ เคืองกันอยู่ จะอาฆาตมาดร้าย จะมีอาการอย่างไร ก็ล้างมันออกซะจริงๆ เรารู้อาการเมื่อไหร่ ไม่มีเหตุผลมาต้องมาพิจารณาให้มากเลย วิปัสสนาง่ายที่สุด เพราะมันเห็นว่าเป็นทุกข์แน่นอน เพราะฉะนั้น รู้อาการมันเมื่อไหร่ นี่แหละมันตัวเหตุ เอามันออก อาการนี้จากใจ เปลี่ยนทางกาย วาจา ฝืนเลย ฝืนกาย วาจานี่แหละ ให้มันแข็งๆ แรงๆ มันไม่อยากเข้าใกล้ มันไม่อยาก โอภาปราศรัย มันไม่มีความสัมพันธ์ เอามันเลย ไปพูดด้วย ไปกราบเขาเลย อะไรก็แล้วแต่ เอามันให้ได้ หักโค่น มันจริงๆเลย ทั้งกาย วาจาและใจ ทำทั้งใจ ทำทั้งกาย ทั้งวาจา แล้วมันจะ ช่วยได้มากน่ะ มันจะช่วยได้มาก แล้วก็ระวังท่าที ถ้าเกิดทั้งคู่ ตาปูตรึงใจทั้งคู่ พอไปทำเข้า ประเดี๋ยว จะหาว่าประชดกันอีก แรงเข้าไปอีก ทะเลาะกันอีกยิ่งหนักกันใหญ่ ก็ระวังหน่อย ก็แล้วกัน

อันนี้ มันอยู่ในข้อหลังนะ ข้อหลัง ข้อ ๑ ในศาสดา อาตมาก็อธิบายใจ แบบที่เป็นผู้ที่ เมื่อไม่ชอบใจกันแล้วนี่ ไปถึงข้อหลังที่ว่า ภิกษุย่อมโกรธ ไม่พอใจ มีจิตอันประทุษร้าย มีจิตกระด้าง ในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย หมายความว่า พวกเราผู้ที่ปฏิบัติร่วมกัน รวมกันอยู่ ที่มีจิตไม่พอใจ มีจิตอันประทุษร้าย มีจิตกระด้าง ไม่ถึงกับขนาดจะมีอะไรหรอก จิตกระด้าง ก็หมายความว่า มันตกผนึก มันเป็นอยู่อย่างนี้ ความไม่พอใจมันจะมีอยู่ยังไงกับเรา ก็ขอให้มัน แข็งเป๊กอยู่อย่างนี้ ตีไม่แตก เปลี่ยนไม่ได้ ถอนไม่ออก ขอให้มันอยู่อย่างนี้ตลอดนิรันดร์กาล เทอญ เจ้าประคุณเอ๋ย อาตมาว่า มันก็ต้องร้องโธ่เอ๋ยไปอีกนานัปกัปกาลละเนาะคนนี้ เพราะถ้า เผื่อว่าไม่เปลี่ยนใจ ไม่พยายามปรับจริงๆนะ ไม่เจริญจริงๆ ไม่เจริญ อะไรจะดีขึ้น ก็ไม่ดีขึ้น

ทีนี้ ทางด้านสายความผูกพันใจ เป็นความกำหนัด เป็นความพอใจ เป็นความรัก เป็นความ กระหาย ความเร่าร้อน ความอยากอะไรพวกนี้ก็ตาม บอกแล้วว่าลักษณะของมัน มันรู้ว่า มันสมใจ หรือว่ามันพอได้ลิ้มอะไรต่ออะไรที่มันเป็นกิริยาตอบรับบ้างนิดหน่อยแล้ว มันจะเหลิง แล้วมันหลง มันเหลิงมันหลงว่ามันเป็นความสุข ความจริง มันก็เป็นขีละ เป็นตาปู ชนิดหนึ่ง เหมือนกัน มันผูก มันตรึง อยู่ที่จิตเหมือนกัน ในสายพวก สายผูกพันใจ นี่ก็ตาม

ถ้าเผื่อว่า เราไม่เรียนรู้จริงๆ ละล้างออกแล้ว แน่นอน เราก็จะนึก เอาละ ลองมาอธิบายตัวท้าย ที่สุด ที่บอกว่า ภิกษุประพฤติพรหมจรรย์ด้วยความปรารถนาเป็นเทพ เทพนิกายหมู่ใดหมู่หนึ่ง ว่าเราจะเป็นเทพเจ้า หรือเทพองค์ใดองค์หนึ่ง ด้วยศีล พรต ตบะ หรือพรหมจรรย์นี้ จิตของ ภิกษุนั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร เพื่อความผูกพันใจ มันก็จะกลายเป็นไม่ประกอบเนืองๆ ไม่กระทำให้ติดต่อ ไม่พยายามบำเพ็ญ เพียร ก็ย่อมไม่น้อมใจเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร ถ้าเผื่อว่าไม่เข้าใจแล้วก็ไม่ละไม่ล้างออก

ทีนี้ ลองอธิบายคำว่าเทพเจ้าองค์ใดองค์หนึ่ง ในนี้ท่านขยายความ เหมือนกันว่าด้วยศีล พรต ตบะ หรือพรหมจรรย์นี้ ที่ขยายความอย่างนี้นี่ มันเข้าหลักการประพฤติปฏิบัติแล้ว ทีนี้ลอง อธิบายอย่างลักษณะที่ไม่ประพฤติปฏิบัติดู เป็นเทพเจ้าองค์ใดองค์หนึ่งนี่ สมมุติเทพ คือเทพ ที่เอร็ดอร่อย ตามรสเสพสม แบบปุถุชน เป็นเทพเจ้าเหมือนกัน ขึ้นสวรรค์หอฮ้อเดี๋ยวก็ได้ลิ้ม รสอร่อย เสพสุขอะไร ก็ขึ้นสวรรค์ ก็เป็นเทวดาทั้งนั้นแหละ ขึ้นสวรรค์ก็เทวดาทั้งนั้นแหละ ลงนรก ก็ถือว่าผีใช่ไหม ขึ้นสวรรค์ก็ถือว่าเทวดาทั้งนั้นแหละ เพราะฉะนั้น คนเราก็ไม่รู้ตัว อยากจะเป็นเทวดาที่ยิ่งใหญ่ที่สุด

เป็นสมมุติเทพ ในระดับ เขายกตัวอย่างว่า สมมุติเทพจริงๆก็คือ พระเจ้าแผ่นดิน มีพระเจ้า แผ่นดิน ในสมัยโบราณใช่ไหม มีทุกอย่างเลย มีอำนาจกุดหัวใครก็ได้ สั่งอะไร ได้ทุกอย่าง ร่ำรวยทุกอย่าง เป็นเจ้าแผ่นดิน เป็นเจ้าข้าว เจ้าของ จะเอาคืน เอาอะไรได้หมด สมัยสมบูรณาญาสิทธิราช สมัยโบราณ อันนี้ก็เรื่องราว มันมาแต่โบราณกาลทั้งนั้นแหละ เพราะฉะนั้น เป็นเทพเจ้าที่ใหญ่ที่สุด เป็นสมมุติเทพ สมใจทุกอย่าง เป็นพระเจ้าแผ่นดิน สมัยโบราณนี่ ยิ่งใหญ่มาก ต้องการอะไรได้ หมดทุกอย่าง พรั่งพร้อม นั่นแหละเป็นเทพเจ้า องค์ใดองค์หนึ่ง เพราะฉะนั้น ถ้าเกิดมาเป็นคนแล้ว ก็ต้องการที่จะได้เสพสมสุขสมทุกอย่าง ก็เป็นเทวดาองค์ใด องค์หนึ่ง เท่าที่จะใหญ่ได้ เป็นเทพเจ้าองค์ใดองค์หนึ่ง เท่าที่จะใหญ่ได้

นี่เป็นสามัญธรรมดาของปุถุชน เราอยากจะเป็นเจ้าใหญ่ ที่จะเป็นผู้ที่เสพสมสุขสม อยากจะได้ อะไร ก็ได้หมดทุกอย่าง มีทั้งอำนาจ มีทั้งสิ่งแลกเปลี่ยนอะไรต่ออะไร จนได้มา คว้าดาว ได้ดาว คว้าเดือนได้เดือน อยากได้ดาวก็คว้าได้ อยากจะได้เดือน ก็คว้าได้ อยากจะได้อะไร ก็ได้สมใจ หมดนั่นแหละ คือผู้ที่ปรารถนาเป็นเทพนิกายหมู่ใดหมู่หนึ่ง เป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง อย่างที่ เรียกว่า ไม่มีศีล ไม่มีพรต ไม่มีตบะอะไรเลย นี่อธิบายถึงตรงนี้ก่อน เพราะฉะนั้น พวกนี้ก็มี ความใคร่ ความอยาก ความปรารถนา มีความกำหนัด มีความพอใจ ความรัก ความกระหาย ความเร่าร้อน ความอยากในกามเสริมเข้าไปอีก กามก็คือความใคร่อยาก เป็นผู้ที่มีทุกอย่าง ในนั้นแหละ ในอย่างนี้กาม ก็ถือว่ารสสัมผัสแตะต้อง พร้อมมูล ตา หู จมูก ลิ้น กาย นี่ หยาบที่สุดแล้วกามคุณ ๕

เสร็จแล้ว ต่อมาก็ในกาย ในกายก็คือ ความประชุมพร้อม เพราะฉะนั้น จะได้อะไรที่ต้องการ มาสมใจ ให้มาพร้อม ให้มันมาครบ เรียกว่ากาย กาโย ความประชุมพร้อม ลักษณะกามก็คือจิต กายก็ คือองค์ประกอบ อันที่ ๓ รูปน่ะ ในรูป ก็หมายความว่า สิ่งที่กำหนดอย่างนี้แหละ เป็นอุปาทานไปเลย ใจอยากได้อะไร ก็คือกาม คือต้องการ คือปรารถนาแรงเท่าไหร่ ก็เท่านั้น มากเท่าไหร่ ก็เท่านั้น กายก็คืออันนั้นละ เอามาประชุมรวม ให้พร้อม คำว่ากายนี่นะ มันรวมทั้ง วัตถุ และนามธรรม กายในกาย กายนอกกาย องค์ประชุมของกาย ของกายข้างในจิตเรา ก็เป็น องค์ประชุมของอาการ อาการรัก อาการชัง ที่เรากำลังพูดถึงอยู่นี้ เป็นขีละนี่ อาการความโกรธ โทสะ ที่มันตรึงใจไม่คลาย ไม่ปล่อย หรืออาการกำหนัด ใคร่อยาก ที่ผูกพันที่เกาะอยู่ ไม่ปละ ไม่ปล่อย อาการเหล่านี้ มันมีอาการหลวม หรือ อาการแน่น หรืออาการเป็นรูป มันใหญ่มาก มันมีรูปเต็ม มันมีสิ่งที่ถูกรู้ได้อย่างสมบูรณ์ หรือไม่สมบูรณ์ ถ้ามันประชุมกันอย่างหลวมๆ ประชุมกันอย่างไม่แน่น ประชุมกันอย่างบางๆ ประชุมกันอย่างไม่นิ่ง ไม่เป็นเป้า เป็นรูปที่เต็ม ก็รู้ได้ยาก พอไปประชุมกันเป็นรูป ประชุมกันเป็นเป้าที่เต็มแน่นแข็งโต เป็นตัวเป็นตนสมบูรณ์ มันก็ถูกรู้ได้ง่าย กามเกิดอาการทางจิตนี่

๑.เป็นผู้กำหนัดใคร่อยากอะไรนี่ ที่ว่าเมื่อกี้นี้ กำหนัด พอใจ รัก กระหาย เร่าร้อน อยากในกาม ก็ในๆเลย ในจิตตัวเองที่จะเป็นตัวกิเลส ตัวสมุทัยโดยตรงเลยในกาม ตัวจิตกามจิตใคร่ จิตอยาก จิตปรารถนา ต้องการในกาย องค์ประชุมตามที่เรายึดติดนั่นละ ว่าจะต้องเป็นอย่างนั้น กายนั้น แน่นแน่ กายนั้นแข็งแรง กายนั้นสมบูรณ์ จนถูกรู้ได้ง่าย จึงเรียกว่ารูป ฟังให้ดีๆนะ ไม่อย่างนั้น นี่อธิบายไม่ออกเลย ยิ่งเป็นนามธรรม อย่างที่อาตมาว่าให้ฟัง คนที่ไม่เข้าใจธรรมะ ที่ดีๆแล้ว จะอธิบายไม่ออก เพราะ ๑.ในกาม ๒.ในกาย ๓.ในรูป ๔ นี่ ไม่ต้องพูดอะไรมากหรอก หยาบเลย เมื่อภิกษุ ฉันอาหารเต็มท้องแล้วย่อมประกอบความสุขในการนอน นี่เป็นเทวดา เหมือนกันแหละ ในความใคร่ ความอยาก นั่นเป็นอาการของผีนะ กามนี่

เสร็จแล้ว เมื่อใคร่อยาก ในกาย ใคร่อยากในรูปขึ้นมา ใคร่อยากในกาย ใคร่อยากในรูป ก็คือ ประสมอะไร ขึ้นมา ก็แล้วแต่เถอะ จะเป็นยิ่งประสมรวมทั้งวัตถุนอก จะต้องมีทรัพย์ศฤงคาร ให้มาก จะต้อง มีตัวตน จะต้องมีความใคร่อยาก มีความสุข สุขในเรื่องกาม เรื่องผู้หญิง ผู้ชาย เรื่องสมบัติพัสถาน เรื่องลาภ เรื่องยศ เรื่องสรรเสริญ เรื่องอาการทุกอย่าง ตัวเองก็จะให้ พรักพร้อม ประชุมให้หมด ให้สมใจ สมความต้องการ นี่แหละ เป็นเทวดาองค์ใดองค์หนึ่ง ที่จะได้อย่างนั้น พอได้เสพแล้ว เสร็จ พอเสพแล้วเสร็จ คนเราก็มีเพียรกับพัก ไอ้เพียรอย่างนั้นน่ะ คือเพียร กระทำเพียรนะ เพียรที่จะใฝ่หา คว้ามาเสพ คนที่บำเรอตนอยู่นี่นะ เป็นเจ้าใหญ่นายโต เป็นคนร่ำรวย เป็นผู้ที่มีทรัพย์ศฤงคาร มีเป็นเจ้าฮาเร็ม เป็นเจ้าแห่งทุกอย่างนี่นะ พอตื่นขึ้นมาก็ เฮ้ย หาอะไรมาเสพ ต้องการอะไรก็เอามาบำเรอตน บำเรอเสร็จแล้ว เป็นยังไง บำเรอเสร็จแล้ว ต้องพักไหม พักหลับไป ก็ต้องพัก ต้องหลับ นี่แหละอันที่ ๔

เสร็จแล้วก็อันที่ ๔ นี่ คือ พออาหารเต็มท้องตามต้องการแล้ว ย่อมประกอบความสุขในการนอน ความสุขในการเอน ความสุขในการหลับอยู่ เสร็จแล้วก็ตนนั้น เพียรเสพ มีปฏิกิริยาอย่างไร ก็แล้วแต่ ต้องการก็เอามา หามา หามาประชุมกันให้ฉันพรักพร้อม สุขสำราญเต็มที่แล้ว เมื่อย แล้ว ต้องพัก จะเอน จะหลับอยู่อะไรก็ตามใจน่ะ สรุปรวมแล้ว ลึกซึ้งมากเลย พอพักแล้ว ตื่นขึ้นมาใหม่ก็เสพอีก เป็นเทพเจ้าองค์ใดองค์หนึ่ง ถ้าแบบโลกๆ โลกีย์ อย่างที่ว่านี่ ก็เสพกาม ก็ประชุม ไอ้สิ่งที่เราสมมุติ เราต้องการเอาอย่างนี้ๆ เอาอย่างนี้อยู่ตลอดกาลนาน ความใคร่อยาก สมใจ

เอ้า ทีนี้ เป็นเทพเจ้าอย่างชนิดสมมุติเทพอย่างนี้ เข้าใจแล้วนะ ได้แล้วก็จะเพียร พอได้เสพ ก็คือการเพียรเสพ ไม่ได้มีปัญญา ไม่ได้มีความรู้อะไรจะมาสร้างสรรละลดอะไรหรอก เป็นเทวดา สมมุติแบบนี้ เสร็จแล้วก็ยิ่งตะกละตะกลาม ยิ่งบำเรอตน ยิ่งไปสร้างเวรสร้างภัย ไว้เท่าไหร่ ไม่ว่าจะเป็นทางสายราคะ สายโทสะ ก็ยิ่งมี เวรานุเวรมากมาย ตลอดไปกาลนาน ชอบใจ ติดใจก็เป็นเวรต่อไปเหมือนกัน ชังกันอาฆาตเคียดแค้น ก็เวรต่อไปเหมือนกัน เทพคนนี้ รับรอง ขึ้นสวรรค์ในช่วงนี้ ชาตินี้ แล้วตกนรกไปอีกหลายร้อยหลายพันหลายหมื่นชาติ กว่าจะได้ขึ้นมา นะ ต่อให้คุณเป็นพระเจ้าแผ่นดินยิ่งใหญ่เรียกว่าแบบอยู่เหนือกฎหมาย แบบสั่งการ บำเรอได้ อย่างไร เต็มที่ยังไง ตกนรกหมกไหม้อีกไม่รู้กี่ชาติต่อกี่ชาติ

ทีนี้ เป็นเทวดาชั้นสูงขึ้นมาไม่ใช่เทวดาสมมุติเทพ เสพสมโลกียะอย่างนั้น บำเพ็ญศีล บำเพ็ญ พรต อย่างที่ท่านว่าด้วยศีล ด้วยพรต ตบะ หรือ พรหมจรรย์นี้ หรือธรรมวินัย ธรรมวินัยอย่าง ของพุทธนี่ก็ตาม เสร็จแล้วก็ไปบำเพ็ญ แต่แค่ได้ ได้บำเพ็ญศีลได้ผล บำเพ็ญพรต บำเพ็ญตบะ บำเพ็ญธรรมวินัยนี่ ในศาสนานี้ได้ผล ได้ผลสมใจ ใคร่อยากจะได้ผล ก็ได้ผลจิ๊ดหนึ่ง เป็นโสดาปัตติมรรค แล้วก็ติดเทวดาไปได้เสพสมอยู่แค่นั้น ไม่เจริญต่อ ผูกพันอยู่ตรงนั้นแหละ อย่างโลกก็อร่อยอยู่ตรงนั้นนะ สมมุติเทพ พูดจบไปแล้ว จะอร่อยอยู่ ขนาดไหน ของคุณก็อยู่ ติดแป้นตรงนั้นละ ไม่ได้เรียนรู้อะไรสูงกว่านั้น คุณก็กลายเป็นเทพเจ้า นิกายใด นิกายหนึ่ง แค่ซี ๑ ติดอยู่ซี ๑ นั่นแหละ นิกายหนึ่ง แค่เทวดาซี ๒ ก็ติดอยู่นิกาย ซี ๒ ยังดีนะ ยังมีอุตส่าห์ สูงขึ้นมา ได้ซี ๒ กลัวจะติดซี ๑ อยู่ตลอดนิรันดร์กาล นิกายใดนิกายหนึ่ง ติดซี ๓ ก็อยู่ซี ๓ นั่นแหละ ติดซี ๔ ก็อยู่ซี ๔ นั่นแหละ อย่างนี้เป็นต้นน่ะ

ปฏิบัติให้ได้ผลตามก็ตาม มีศีล มีพรต มีตบะ เป็นเทวดาอุบัติเทพ ไม่ ใช่เทวดาสมมุติ อย่างโน้น แล้วก็ตาม

ถอด โดย ประสิทธิ์ ฝ่ายทอง
ตรวจทาน ๑ โดย สม.ปรานี ๕ มิ.ย.๓๕
พิมพ์ โดย สม.นัยนา
ตรวจทาน ๒ โดย สม.จินดา
:2444A.TAP

มีต่อตอน ๒