ที่พึ่งอันวิเศษของมนุษย์ ตอน ๑

เมื่อวันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๓๕
โดย พ่อท่าน สมณะโพธิรักษ์
ณ พุทธสถาน ปฐมอโศก


ขณะนี้ รุ่นเยาว์ รุ่นเยาวชนก็มาฟังธรรมด้วยนะ อาตมาได้สาธยายธรรมมาเรื่อยๆ เอาพระไตรปิฎก มาไล่เลียงสาธยายไปเรื่อยๆ เราจะได้เห็นว่า ความลึกซึ้งๆ ของธรรมะที่เราเอง เราเรียนตั้งแต่หยาบ จนกระทั่งถึงละเอียดๆ เข้าไปถึงปรมัตถ์ เข้าไปถึงจิตใจ สภาวะของจิตใจ มีอาการอย่างไร มีอารมณ์อย่างไร แล้วมันซับซ้อนยังไง หลักเกณฑ์ต่างๆที่พระพุทธเจ้าท่าน ตรัสไว้ ได้ฟังได้ใช้ปฏิภาณที่เรามีแต่ละคนๆ นี่ ฟังไปดูดีๆแล้วจะเห็นได้ว่า หลักเกณฑ์อะไร ต่างๆนานา ที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสไว้ มันจะสอดคล้องกัน มันจะเป็นเหตุเป็นผล เป็นเหตุ เป็นปัจจัย ในการที่จะขัดเกลา ถ้าเราปฏิบัติจริง ปฏิบัติแล้วก็รู้เห็น มีเกิดจริง เป็นจริง ความเป็นจริง จะเกิดขึ้นอย่างแท้จริงได้

ชีวิตของคนเรา ก็กี่ชาติๆนะ ก็ถ้าเผื่อว่าคุณเห็นจริง ไม่ใช่เดาโดยปฏิภาณ โดยปัญญา ด้วยความรู้ อย่างคนๆธรรมดานี่ เมื่อมาปฏิบัติพอสมควร ได้มีสภาพที่ลดๆ ละๆลงไปแล้ว จะเห็นได้ว่า ชีวิตของคนเรา มันก็เกิดมาเดินทางไปสู่หลุมฝังศพ เกิดมาก็เดินทางไปสู่ความตาย แล้วเรา ก็ไม่เข้าใจว่าโลกหลอกเราอยู่ เป็นโลกียะ เป็นโลกๆหลอกเรา เพื่อให้เราได้มาเที่ยว ได้นั่งหลงใหลได้ปลื้ม อยู่กับลาภ ยศ สรรเสริญ หรือโลกียสุข ที่มันหลงรสสุขของโลกียะ นี่แหละ

ถ้าไม่มีพระพุทธเจ้ามาตรัสรู้อย่างชัดแจ้งชัดเจนเลยนะ ถึงโลกุตระนี่นะ ก็จะไม่มีทางออกหรอก ก็จะอยู่ในโลกอย่างที่เรียกว่า ก็รู้เหมือนกันนะ เป็นบาป เป็นภัย เป็นเรื่องที่หนักหนา สากรรจ์ ก็แย่งลาภ แย่งยศ ก็มีหลายศาสนา มีหลายอาจารย์ มีหลายศาสดา ที่รู้ ที่ลึกซึ้ง ขึ้นไปบ้าง ก็พยายามที่จะไม่ติดไม่ยึด พยายามที่จะปลดปล่อยตัวเองออกจากโลก ออกจากสิ่งที่ มันยั่วยวน ให้หลงใหล ให้ติดให้ยึด ให้ผูกพันอยู่ไม่รู้แล้ว ไม่ว่าจะเป็นกาม ไม่ว่าจะเป็นสภาพ ของลาภ ยศ สรรเสริญ อะไรแบบโลกๆ เขาก็เข้าใจเหมือนกัน เขาก็พยายามที่จะเลิกจะออก และก็พยายาม ที่จะไม่เป็นทาสสิ่งเหล่านี้เหมือนกัน เสียสละเหมือนกัน สร้างสรรเสียสละ เหมือนกัน

หลายศาสดาก็พยายามๆ ให้สร้างสรร เสียสละ ช่วยเหลือเฟือฟาย เกื้อกูลกัน มีศาสดาต่างๆ ที่มีผู้รู้ แล้วมีการนำพากันเป็นคนดี เป็นคนเสียสละ เป็นคนดี ช่วยเหลือเฟือฟายโลกบ้าง เหมือนกัน แต่ในเรื่องของจิตวิญญาณ นี่มันลึกซึ้งซับซ้อนมากมาย ถ้าไม่รู้แจ้ง รู้จริง แล้วก็ไม่ได้ เรียน ไม่ได้ปฏิบัติให้มันไล่ขั้นไล่ตอน เกิดความละลดปลดปล่อย หยั่งรู้เข้าไปถึงสัจจะ ความจริง ของสภาพที่พระพุทธเจ้าท่านเรียกว่า สัตว์เลยนะ เป็นจิตวิญญาณนี่ ท่านเรียกว่าเป็นสัตว์ อีกชนิดหนึ่ง ซึ่งมันซ้อนอยู่ อาศัยอยู่ในร่างมนุษย์นี่แหละ เป็นสัตว์อีกชนิดหนึ่ง เป็นโอปปาติก สัตว์ ที่มีฐานะของมันด้วยฐานะชั้นต่ำ ชั้นกลาง ชั้นสูง ที่ต้องเป็นจริงด้วย เกิดจริงเป็นจริง มีการเกิด จริงๆ ท่านถึงเรียกว่าผุดเกิดโอปปาติกะ เป็นการเกิดมีรอบของการเกิด ทำอย่าง ไร ให้มันเกิด ทำอย่างไร ให้มันตาย จนกระทั่งตายสนิท ไม่เกิดอีก

อาตมาเอง อาตมาฟังคำตรัสของพระพุทธเจ้า ที่ท่านตรัสว่า มันไม่ใช่ตัวตน จิตวิญญาณ มันไม่ใช่ตัวตน จิตวิญญาณนี่มันสูญได้ เมื่อเราทำจิตวิญญาณของเรา ให้เกิดเป็นจิตวิญญาณ บริสุทธิ์ สิ่งแฝง สิ่งที่ไม่จริง มันหลอกอยู่ คือ กิเลส นี่ ทำลายกิเลส หรือฆ่ากิเลสให้เห็นจริง เลยว่า กิเลสมันตายจริงๆ จนกระทั่งมันตาย หมดจากจิตวิญญาณ เหมือนกะสำรอก หรือว่าล้าง ชำแหละๆ จิตวิญญาณนี่ชำแหละ ส่วนที่มันไม่ใช่จิต มันเป็นกิเลส มันเป็นตัวการ ตัวเจ้าเรือน ที่มาเกาะที่มาติด ที่มาทำให้หลงใหลวนเวียนอยู่ในสังสารวัฏนี้ และก็มีคุณภาพที่ลึกซึ้งละเอียด ขึ้นไปเรื่อยๆ ถ้าเราได้ล้างออกไปจริงๆ แล้วเราจะเกิดญาณ เกิดการเห็นจริงเลยว่า พระพุทธเจ้า ท่านเป็นยอดบุรุษจริงๆ ที่เมื่อพิสูจน์จิตแล้ว ถึงได้เห็นว่าจิตนี้ไม่ใช่ตัวตน จิตนี้สูญได้ เรื่องนี้ เป็นเรื่องที่เดาไม่ได้เด็ดขาดเลย

ที่คิดว่าเดาไม่ได้เด็ดขาด เพราะไม่มีใครเห็นว่าจิตวิญญาณ เป็นธาตุที่ไม่ใช่ตัวตน อนัตตา เรื่องอนัตตานี่ ไม่ใช่ศาสนาไหนค้นพบ ศาสนาที่บอกว่ามีคุณงามความดี รู้จักจิตวิญญาณว่า จิตวิญญาณ มีความซื่อสัตย์ สุจริตได้ จิตวิญญาณมีความเสียสละได้ มีเมตตาเกื้อกูลอะไรได้ มีศาสนามากศาสนาที่รู้ และก็นำมาใช้ ศาสนาบางศาสนานี่ไม่เอาถ่านในเรื่องเมตตา เกื้อกูล ไม่เกี่ยวอะไรทั้งนั้นแหละ เอาตัวเองไปนั่งหลับหูหลับตา สะกดจิตเอา หยุดเลิกในโลก ไม่ไปแย่ง ไปชิงโลกเขาละ ลาภ ยศ สรรเสริญ โลกียสุขอะไรไม่เอา สะกดจิตให้ดับไป ดิ่งไปเลย แล้วก็นั่ง เฉยอยู่ อยู่ป่า อยู่เขา อยู่ถ้ำ หนีไปห่างๆไกลๆ ไม่ไยดีอะไร จืดๆ ชืดๆไปหมดเลย ไม่เบิกบาน ร่าเริงอะไร เหมือนกะอย่างพุทธ ที่บอกว่า รับรู้โลก รู้สมมุติสัจจะ รู้ปรมัตถ์ แต่เสร็จแล้ว ไม่ติดใจ ไม่หลงใหล ในสิ่งที่สูงที่ส่งที่ดีที่วิเศษที่สุด จิตวิญญาณที่สะอาดบริสุทธิ์ได้ ทำได้นี่ เป็นความ สามารถของมนุษย์ที่เลิศยอดที่สุด และเป็นสมบัติที่มหาศาล เป็นสมบัติที่วิเศษที่สุด ศาสนาที่ เขาพยายามให้จิตวิญญาณมีเมตตาเกื้อกูล ช่วยเหลืออะไร ต่ออะไรได้ ก็ดีขึ้นมากว่า ศาสนาที่ ให้คนไปนั่งดับจิต สะกดจิต แล้วก็ไม่รู้โลก ไม่มีประโยชน์ อะไรมากมาย เมตตาเกื้อกูล ขยัน หมั่นเพียรไม่มี มันก็ไร้คุณค่าไปชีวิตๆหนึ่ง เสร็จแล้ว เป็นหนี้ด้วย ไม่ได้จบจริง ไม่ได้ดับจริง

เมื่อเรามาเรียนรู้จริงๆ เราถึงจะเห็นว่าไม่ดับจริง ไม่ใช่ว่าเราไปเดาเขานะ เรารู้ว่าวิธีการทำ อย่างนั้น แล้วกิเลสมันไม่ดับอย่างไร กิเลสมันไม่ได้หมดไปอย่างไร หรือแม้แต่เป็นอัตตา ปรมาตมัน ทำดีเพื่อพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงๆความคิดคนเรานี่ ควรจะต้องเสียสละ สร้างสรร อะไร ศาสนาบางศาสนา หลายศาสนา เขาก็มาช่วยเหลือเฟือฟาย เกื้อกูลมนุษยชาติ ไม่เห็นแก่ตัว ลงไปได้มาก แต่สุดท้ายก็ยังเหลือตัว จิตวิญญาณก็ยังเป็นอัตตา ไม่เป็นอนัตตา ไม่มีวิธีการ ที่จะชำแรกล้างกิเลสให้จิตสะอาดบริสุทธิ์ จนกระทั่งไม่เหลือตัว ไม่เหลือตน ไม่ยึด ไม่ติดอะไรเลย จนกระทั่งเห็นความจริงว่า จิตไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่เราไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่สิ่งที่จะอยู่ นิรันดร ไม่ใช่สิ่งที่จะหลงใหล วิธีไม่หลงใหล วิธีไม่ติดไม่ยึดทำอย่างไร

ถ้าเผื่อว่า เรียนรู้ของศาสนาพุทธแล้ว พยายามพิสูจน์จริงๆ แล้วจึงจะเห็นจริงว่า มันไม่ติด ไม่ยึด อย่างนี้เองว่า ปลดปล่อยจนสะอาด จนเห็นว่าจิตไม่ได้เป็นนิรันดร์ จิตไม่ได้เป็นธาตุที่จะต้อง วนเวียนอยู่ ไม่รู้แล้ว ให้ทำดีอย่างไร ก็ไปอยู่กับพระเจ้าเป็นปรมาตมัน เป็นจิตสะอาด บริสุทธิ์ อยู่ในสรวงสวรรค์ สุดท้าย มันเป็นสัจจะนะ แม้แต่สวรรค์ แม้แต่นรก เป็นสมมุติสัจจะเท่านั้นน่ะ ซึ่งคนเขาอยู่กับ สมมุติสัจจะ มันเป็นความมีจริง เป็นจริงสำหรับคนที่ยังติดยังยึด ยังไม่ได้ล้าง ยังไม่ได้ทำสภาวะจริงนั่น จนกระทั่งหลุดหล่อนจนไม่ติดจริงๆ มันก็ยังเป็นยังมีอยู่ คนฟัง ไม่รู้เรื่อง มาเรียนรู้ธรรมของพระพุทธเจ้าแล้ว จิตเป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน นึกว่าตัวเอง ก็เป็นทันที นึกว่าตัวเองมีจิตวิญญาณ เอ้า ก็ท่านบอกว่า จิตวิญญาณไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน อะไรๆ ก็ไม่ใช่ตัวเรา ของเราอะไรทั้งนั้น ก็ต่อเมื่อเราพิสูจน์ได้ เราทำให้มันเป็นอย่างนั้นได้ มันก็เป็น อย่างที่กล่าว จิตจะไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนก็ต่อเมื่อตัวคุณเอง คุณล้างตัวตนออกไปหมดแล้ว

ถ้าไม่ทำลายตัวตนออกไป ไม่ล้างตัวตนออกไปหมด คุณเข้าใจเอาเองว่า จิตไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน แล้วคุณก็ ทำยังกับคนไม่รู้จักบาปจักบุญ มันก็ยิ่งสั่งสมตัวตนโดยไม่รู้ตัว เพราะฉะนั้น ศาสนาตรรกะ ศาสนาพุทธนี่แหละ แต่ไปหลงใหลแต่เพียงบัญญัติ ตรรกะภาษา ความหมาย ความเข้าใจ แล้วก็ไปเอาตัวความเข้าใจยอดๆนั่นมา แล้วก็มานึกว่า เป็นแล้ว ทั้งๆที่ตัวเอง ยังไม่ได้ละ ไม่ได้ล้างอะไรเลย จิตตัวเองมีตัวตนอย่างกะอะไรดี ตัวผีด้วย เป็นตัวตนที่มันมีฤทธิ์ เป็นผี มันยังหลง ยังใหลเสพโน่น เอานี่ ยังมีโลภ มีโกรธ ยังมีเอา มีผลัก ยังมีชอบ ไม่ชอบ อะไรอยู่ตั้งเยอะแยะ และก็หลงตัวว่า มันไม่ใช่ตัวตน อย่างนี้ ก็น่าสมเพชเวทนา มันน่าสงสาร นะ คนที่คิดเข้าใจอย่างนี้ มีจริงๆแล้วไม่รู้ตัว ก็ทำตัวเองกะยังเป็นผู้ไม่มีตัวตน เพราะมันไปทำ เอาไม่ได้ ไปเข้าใจเอาเดาๆ เอาไม่ได้ หลงตัวหลงตนไม่ได้ ต้องรู้จริงๆ โอ๋ มันยังมีเหลือน้อย เหลือมาก อะไรก็ต้องล้างละลดไปจริงๆ

อย่าประมาท พระพุทธเจ้าท่านเตือนแล้ว สุดยอดแห่งกุศลธรรม นั่นก็คือ ความไม่ประมาท ประมาทไม่ได้ ต้องเรียนรู้ให้แหลม รู้ให้จริง ให้เกิดจริงเป็นจริงเห็นจริง พากเพียรลดละจริงๆเลย จะเห็นได้ว่ามันไม่ใช่เรื่องง่ายๆ แต่ไม่ง่าย มันก็เป็นไปได้ เมื่อเรารู้ความเป็นไปได้นี่แหละ เราก็พากเพียรทำ อย่าชะลอ อย่าผัดวันประกันพรุ่ง แม้เราจะมีฐานพัก สามารถทำให้ดีขึ้น สบายเบาขึ้นมามาก ได้เท่าไหร่เราได้พึ่งมัน ก็พยายามทำความเจริญ เป็นที่พึ่งให้ได้ตลอด ให้สุดยอด ถอนอาสวะอนุสัย เป็นพระอรหันต์ให้ได้ๆแล้ว คุณจะอยากอยู่ ่ไม่มีปัญหาอะไร หรอกน่า ไม่มีปัญหา จะอยู่ไปแค่ติดแหง็ก ติดขั้นเป็นเทพนิกายใดนิกายหนึ่ง อยู่ได้ อธิบาย ให้ฟังแล้ว ไม่ได้เรื่องหรอก มันไม่เจริญงอกงาม เรามีเวลา เรามีมิตรดี สหายดี มีเพื่อนฝูงดี มีผู้แนะนำดี มีผู้ที่พยายามให้โอกาสเรา พยายามที่จะแนะนำเรา ก็ควรจะต้องขวนขวาย ควรจะต้องใส่ใจ มีพระผู้เถระ ผู้รู้ มีพระพหูสูต ที่จะแนะนำเราได้ เราก็จะต้องเป็นผู้ศึกษา ขวนขวาย ฟังเอาบ้าง อันใดที่ข้องใจติดใจ เข้าไปไต่ถาม แก้ข้อปัญหา แก้ข้อสงสัย แล้วก็ปฏิบัติ ประพฤติ พิสูจน์ให้มันถึงที่สุดให้ได้ อย่าชะลอ

ลองฟัง นาถสูตร อยู่ในพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔ อยู่ในหมวด นาถกรณธรรม คือวรรคที่ทำที่พึ่ง ให้แก่ตนเองเหมือนเดิม นาถสูตรก็คือที่พึ่งนี่แหละ สูตรว่าเป็นที่พึ่งนะ สูตรมันมี ๒ สูตร นาถสูตร สองสูตร สูตรที่ละเอียดสูตรหนึ่ง และสูตรที่ยังไม่ละเอียดนักอีกสูตรหนึ่ง จะอ่านสูตร ที่ยังไม่ละเอียดก่อน นาถสูตร ที่ ๑ นะ ในข้อ๑๗

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มีที่พึ่งอยู่เถิด อย่าเป็นผู้ไม่มีที่พึ่งอยู่เลย (เพราะว่า) บุคคลผู้ไม่มีที่พึ่ง ย่อมอยู่เป็นทุกข์
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันกระทำที่พึ่ง ๑๐ ประการนี้ ๑๐ ประการเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล สำรวมในปาฏิโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วย อาจาระ และโคจร มีปรกติเห็นภัยในโทษมีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบท ทั้งหลาย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุเป็นผู้มีศีล ฯลฯ
ก็ย้อนทวนนั่นแหละ สำนวนในพระปาฏิโมกข์ มาถึงขั้นสุดท้าย นี่เหมือนกันจนถึง สมาทานอยู่ในสิกขาบททั้งหลายๆ นี้เป็นธรรมกระทำที่พึ่ง ฯ

นี่ข้อที่ ๑สรุปง่ายๆ ก็คือ เป็นผู้มีศีล แล้วก็นอกจากมีแล้วก็ต้องปฏิบัติสำรวม มีการสำรวม สังวร ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร

อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ เป็นผู้สดับมาก ทรงจำไว้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดี ด้วยทิฐิ ซึ่งธรรมอันงาม ในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุเป็นพหูสูต ฯลฯ แทงตลอดด้วยดี ด้วยทิฐิ นี้เป็นธรรมกระทำที่พึ่ง ฯ ข้อที่๒ เพราะฉะนั้น ผู้ใดกระทำที่พึ่ง โดยมีสภาพเป็นลำดับๆ ไปนี้ เป็นผู้มีศีล แล้วก็เพิ่มพหูสูต

อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี นี่เขาแปลในพระไตรปิฎก เขาแปลตัวนี้ ว่า เพื่อนดี ที่เราก็เรียนมา มิตรดี สหายดี กัลยาณมิตโต มิตรดี สหายดี กัลยาณสหาโย มีเพื่อนดี เขาแปลว่าเพื่อนดี กัลยาณสัมปวังโก ซึ่งเราแปลว่า มีสังคมสิ่งแวดล้อมดี เราไม่ได้แปลว่า แต่แค่ มีเพื่อนดี แต่ถ้าแปลว่า แค่เพื่อนดี ก็แค่มิตร นั่นแหละ เพราะมิตรในภาษาที่เอามาจาก บาลี ก็คือ เพื่อน มันก็มาแปลมาจากมิตรๆ แล้วก็มาเพื่อน ไม่ได้ไปแปลอะไรเลย เพราะฉะนั้น คำว่า สัมปวังโก ไม่ได้แปลว่า มิตรก็มิตร มันก็บอกอยู่แล้วว่า แปลว่าเพื่อน มิตรดี เพื่อนดี หรือ สหายดี สัมปวังโก มันไม่ได้มีแคบๆแค่นั้น มันเป็นความกว้างกว่านั้น อาตมาก็เลยใช้คำว่า สังคมสิ่งแวดล้อมดี รวมหมดแหละ ถ้าจะรวม ก็รวมทั้งหมด นี่น่ะ หมู่มวลทั้งหมดนี่ หมู่มวล เหมือนกับชาวชุมนุมปฐมอโศก มีทั้งเสนาสนะ มีทั้งบุคคล มีทั้งอาหาร มีทั้งธรรมะเป็นสัปปายะ อย่างนี้ กัลยาณะ ก็คือ ดี สัมปายะนี่ ก็คือดี คือเจริญ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุ เป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี นี้เป็นธรรมกระทำที่พึ่ง ฯ นะ ข้อ ๓ นี่ เราก็ได้ผ่านหูมาแล้วนะ คือเป็นผู้มีมิตรดี สหายดี สังคมสิ่งแวดล้อมดี

อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ว่าง่าย คือ ประกอบด้วยธรรมเครื่องกระทำความเป็นผู้ว่าง่าย เป็นผู้ อดทน รับอนุสาสนีโดยเคารพ [อนุสาสนีย์ก็คือ คำสอน รับคำสอนโดยเคารพ]

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ว่าง่าย คือ เป็นผู้ประกอบไปด้วยธรรมเครื่องกระทำ ความเป็น ผู้ว่าง่าย เป็นผู้อดทน รับอนุสาสนีย์โดยเคารพ นี้เป็น ธรรมะกระทำที่พึ่ง ฯ

อีกประการหนึ่ง ข้อที่ ๕ ภิกษุเป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้านในกิจที่ควรทำอย่างไร ทั้งสูงทั้งต่ำ ของเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา อันเป็นอุบายในกิจนั้น อาจทำ อาจจัดได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้านในกิจที่ควรทำอย่างไร ทั้งสูงทั้งต่ำ ของเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ฯลฯ อาจทำ อาจจัดได้ นี้เป็นธรรมกระทำที่พึ่งฯ

อีกประการหนึ่ง ข้อที่ ๖ ภิกษุเป็นผู้ใคร่ในธรรม ธัมมกาโม ผู้ใคร่ในธรรม เป็นผู้ฟังและแสดงธรรม อันเป็นที่รัก มีความปราโมทย์อย่างยิ่งในธรรมอันยิ่ง ในวินัยอันยิ่ง พวกนี้ก็คือธรรมะอันยิ่ง ก็คืออริยธรรมอริยวินัย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ใคร่ในธรรม เป็นผู้ฟังและแสดงธรรม อันเป็นที่รัก มีความปราโมทย์อย่างยิ่งในธรรมอันยิ่ง ในวินัยอันยิ่ง นี้ เป็นธรรมกระทำที่พึ่งฯ ข้อ ๖ นี่เป็นผู้ใคร่ในธรรม

อีกประการหนึ่ง ข้อที่ ๗ ภิกษุผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรมทั้งหลาย เพื่อความถึงพร้อม แห่งกุศลธรรมทั้งหลาย เป็นผู้มีกำลัง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระ ในกุศลธรรมทั้งหลาย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรมทั้งหลาย เพื่อความถึง พร้อมแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย เป็นผู้มีกำลัง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรม ทั้งหลาย นี้เป็นธรรมกระทำที่พึ่งฯ

อีกประการหนึ่ง ข้อที่ ๘ ภิกษุเป็นผู้สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และเภสัชบริขาร อันเป็นปัจจัยของคนไข้ เป็นผู้สันโดษ ในปัจจัย ๔ ตามมีตามได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุ เป็นผู้สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และเภสัชบริขาร อันเป็นปัจจัยของคนไข้ ตามมีตามได้ นี้เป็นธรรมกระทำที่พึ่ง ฯ

อีกประการหนึ่ง ข้อที่ ๙ ภิกษุเป็นผู้มีสติ คือประกอบด้วยสติ เป็นเครื่องรักษาตนอย่างยิ่ง ระลึกได้ ตามระลึกได้ซึ่งสิ่งที่ทำ คำที่พูดแล้วแม้นานได้

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุเป็นผู้มีสติ คือ ประกอบด้วยสติ เป็นเครื่องรักษาตนอย่างยิ่ง ระลึกได้ ตามระลึกได้ ซึ่งสิ่งที่ทำ คำที่พูดแล้ว แม้นานได้ นี้เป็นธรรมกระทำที่พึ่งฯ

ข้อที่ ๑๐ อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญา อันเห็นความเกิด ความดับ เป็นอริยะ ชำแรกกิเลสให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุเป็นผู้มีปัญญา คือประกอบด้วยปัญญา อันเห็นความเกิด ความดับ เป็นอริยะ ชำแรกกิเลสให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ นี้เป็นธรรมกระทำที่พึ่งฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มีที่พึ่งอยู่เถิด อย่าเป็นผู้ไม่มี ที่พึ่งอยู่เลย (เพราะว่า) บุคคลผู้ไม่มีที่พึ่ง ย่อมอยู่เป็นทุกข์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันกระทำที่พึ่ง ๑๐ ประการ นี้แลฯ

นี่นาถสูตรที่ ๑ เอาทีนี้ เรามาดูรายละเอียด เรามาฟังดู เราจะเห็นรายละเอียด เมื่อฟังที่อาตมา จะวิเคราะห์วิจัยสู่ฟัง แล้วบางทีเราฟังภาษาธรรมะของพระพุทธเจ้านี่สั้นๆ แล้วมันไม่ค่อย ซาบซึ้งอะไร เพราะเราเองเราฟังภาษาแล้ว มันก็ตื้อๆ ไม่รู้ลึก ไม่รู้ละเอียด มันเกี่ยวข้องกับชีวิต อะไรนักหนา อย่างที่อาตมาได้อธิบยมาหลายสูตรบ่อยๆแล้ว มันจะเห็นได้ว่ามันเกี่ยวข้อง แล้วเรา ก็จะต้องหยั่งรู้ลงไป เมื่ออาตมาแนะหรือชี้ให้เห็นลึกๆ เข้าไปแล้วจะเห็นว่า ชีวิตคนเรานี่ มันเผินอยู่กับโลกียะ แล้วไม่เคยนึก เคยคิดเป็นชีวิตไม่ประมาท เป็นชีวิตที่ระเริงหลงอยู่ ในสิ่งหลอก สิ่งล่อในโลกอยู่ตลอดกาลนาน

อันที่ ๑ เป็นผู้มีศีล ฯลฯ นี่ ท่านตรัสสอนพระภิกษุ เพราะฉะนั้น ภิกษุท่านก็ต้องว่าไปให้ตลอด สำรวมในพระปาฏิโมกข์สังวร ก็หมายความว่า ศีลของพระ ศีลของภิกษุนั่นแหละนะ ถึงพร้อม ด้วยอาจาระและโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษมีเพียงประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบท ทั้งหลาย ไม่ใช่ภิกษุก็ตาม ก็ต้องเป็นผู้มีศีล แล้วก็พยายามสำรวมในศีล สังวรในศีล ปฏิบัติตนเอง ให้มันเกิดผลอาจาระและโคจร ให้ดำเนินไป ให้เป็นไป ให้เกิดพฤติกรรม อาจาระ ให้เกิดพฤติกรรม ให้เกิดความเปลี่ยนแปลง ของพฤติกรรมของตน และดำเนินต่อไป โคจร ดำเนินต่อไป ดำเนินอย่างไร ก็ดำเนินไป เจริญขึ้นๆ ถ้าผู้ใดรู้ว่าอาจาระก็ดี โคจร โคจระก็ดี โคจรคือดำเนินไป ถ้าแปลง่ายๆ โคจร ก็แปลว่าในที่ๆ จะต้องไป ถ้าแปลเป็นนามธรรม แปลเป็น คำนาม คำนามก็คือโคจร ที่โคจร คือที่เราเดินไป ถ้าแปลเป็นกิริยา ก็คือการดำเนินไป การเดินไป โคจรการไป การเที่ยวไป แปลเป็นภาษารูปธรรมก็ว่า การเที่ยวไป เราก็เอาตัวเราเดินไป จะแปลเป็น ลักษณะของนามธรรม การโคจรก็คือ ให้บทบาทของพฤติกรรม ให้บทบาทของ จิตวิญญาณ ให้บทบาทของสิ่งที่เจริญสิ่งที่เป็นนามธรรม ที่มันดำเนินไป และให้ดำเนิน ไปดี หรือดำเนินไปชั่วล่ะ ดำเนินไปสูง หรือดำเนินไปต่ำล่ะ ไม่ต้องตอบ เดี๋ยว สอบตก ไม่ต้องตอบ ออกมาหรอก ตอบในใจก็ได้ ใครก็ต้องรู้ดีว่า ก็ต้องดำเนินไปสูง ให้ดำเนินไปสู่ที่เจริญ ดำเนินไป สู่ที่ดี ต้องให้ดำเนินไปอย่างนั้น ทีนี้ให้ดำเนินไป เราก็จะต้องเป็นผู้นำพาตัวเราเอง เราจะต้อง เป็นผู้ที่กระทำให้เราเองนี่ ดำเนินไป ไม่ใช่ว่าดำเนินไปโดยไม่กระทำ ไม่มีอะไร มาบันดาล ให้เราดำเนินไปดีได้ ไม่มีอะไรบันดาล เรานี่แหละ เป็นผู้บันดาล

ศาสนาพุทธเรานี่ เหมือนศาสนาที่ไปเที่ยวได้เถียงศาสนาที่เขามีพระเจ้าที่บันดาล อ้อนวอน ร้องขอ ให้ลูกได้ดี ขอให้ลูกได้อย่างโน้นได้อย่างนี้ ขอให้ลูกช้างเป็นอย่างโน้นอย่างนี้ ขอเอา แล้วก็สิ่งนั้นสิ่งนี้ จะดำเนินบันดาลให้ ความจริงแล้วมันเป็นจิตวิทยาอย่างหนึ่ง เหมือนอย่าง ที่เราพากัน ตอนนี้เราอธิษฐานจิตนี่ มันเป็นสิ่งที่นำพาและตั้งจิตขอก็ตาม จิตของเราก็จะมุ่งไป ทิศทางที่ถ้าเราขอ หรือมุ่งอะไรอยากได้อะไร มันจะเป็นจิตที่มีแรงๆ มีแรงนำให้เราไป เพราะฉะนั้น องค์ประกอบอะไรที่เราจะประพฤติปฏิบัตินี่ ถ้าเผื่อว่าเรามีจุดมุ่งหมายอยู่ว่า เราอยาก จะเดินไปถึงตรงโน้น ขอให้ไปถึงตรงโน้นอยู่ แม้ปฏิภาณของคนธรรมดา ก็เมื่อขอแล้ว มีอยากไป เมื่อมีจิตมันปรารถนาอยากจะไปถึงตรงโน้นจริงๆ มันก็ต้องทำให้ตัวเองเคลื่อนไป จะมีผู้ช่วยหรือไม่ช่วย ก็ตามใจเถอะ ตัวเราเองก็ต้องช่วยตัวเราเองอยู่ดีแหละ ที่จะเลื่อนไป ถึงตรงนั้นให้ได้ หรือไปเอาสิ่งนั้น อยากได้สิ่งอยู่ตรงนั้น มันก็ต้องเข้าไปหา มันก็ต้องทำนำพาตัว เองให้เคลื่อนอยู่ตรงนั้น เอาตรงนั้น มันเป็นจิตวิทยาอันหนึ่ง ทำให้เรามีความมุ่งมั่นดี เพราะงั้น จะขอ เราก็อย่าเข้าใจว่า ขอแล้วจะมีผู้นั้นหยิบยื่นมาให้เรา อย่าไปคิดอย่างนั้น ถึงแม้คนเขา คิดว่า สิ่งนั้นจะหยิบยื่นมาให้เรา เขาก็จะต้องดำเนินไปเหมือนกัน

ในคำสอน ในศาสนาคริสต์ ในศาสนาไหนบอกว่า พระเจ้าจะช่วยผู้ที่ช่วยตนเองก่อน คำสอนนี้ มันก็สอนชัดอยู่แล้วว่า พระเจ้าจะช่วยเหมือนกัน ถ้าผู้ใดช่วยตนเองก่อน ขอให้ช่วยตนเองก่อน พอไปถึงตรงนั้นได้ พระเจ้าช่วยเลย ถ้าตัวเองช่วยตัวเอง ไปถึงตรงนั้นเสร็จ พระเจ้าจะช่วยเลย แต่ถ้าตัวเองไม่ช่วยตัวเองเลย ไม่มีทาง มันก็ยังคลุมๆ เครือๆ เพราะพระเจ้าจะช่วยด้วย เราช่วยตัวเองซิ ช่วยตัวก่อนนะๆ แล้วพระเจ้าจะช่วยทีหลัง มันเป็นจิตวิทยาอย่างหนึ่งของพุทธ ไม่ต้องอมพะนำอะไรเลย ลื้อช่วยตัวลื้อ ของใครก็ของมัน ถ้าตัวลื้อไม่ช่วยตัวลื้อ ไม่มีทาง ไม่มีอำนาจอะไร มาช่วยเราหรอก เราต้องช่วยตัวเอง กรรมของใครกรรมของมัน เราทำของเราเอง เราจะดีจะชั่ว เราก็ต้องทำเอง เพราะฉะนั้น ศาสนาจึงไม่มีการอ้อนวอนร้องขอ ไม่มีการเดิน เวียนรอบขอ ไม่มีการขอ ศาสนาพุทธเป็นศาสนาที่หยิ่งๆนะ ไม่ต้องขอหรอก เราต้องทำ เราต้องสร้างเอง และเราก็จะต้องให้ผู้อื่นด้วยซ้ำ เป็นผู้ให้ผู้อื่นได้นั่นแหละวิเศษ

ศีล เป็นสิ่งที่จะขัดเกลาให้เราดำเนินไปให้เกิดพฤติกรรม อาจาระ ให้เกิดความประพฤติ ให้เกิด พฤติกรรม ให้ดำเนินไปดี ศีล สำรวมสังวรในปาติโมกข์ มีศีล ปฏิบัติอย่างไร เราก็สอนกันแล้ว ศีลปฏิบัติอย่างไร มีศีลมาก็เอา ศีลข้อใดข้อหนึ่งมาเอาความหมายมันว่าอย่างไร ท่านให้เว้น ท่านให้เลิก ท่านให้ขาด เราก็สังวรระวัง มีตา หู จมูก ลิ้น กาย มีกายกรรม วจีกรรม ไปสัมผัส สัมพันธ์ในสิ่งที่เราจะเลิก จะเว้นจะละอย่างไร เมื่อไร มันเกิดอาการของกิเลสขึ้นเมื่อไหร่ ก็รู้ตัว ปฏิบัติศีล ให้พ้นจากสีลัพพตปรามาส อย่าปฏิบัติอยู่แค่ศีล เป็นศีลแค่สีลัพพตุปาทาน หรือ เป็นสีลัพพตปรามาสอยู่เท่านั้น ปฏิบัติพรต ปฏิบัติสังวรในพระปาติโมกข์ต่างๆ ก็เอามาสังวร ระวัง เอามาเล่นๆหัวๆ ลูบๆคลำๆ ไม่พ้นสีลัพพตปรามาสอยู่ไม่ได้

ต้องปฏิบัติ ให้มีมรรคมีผลแจ้งจริง เกิดญาณที่รู้ปรมัตถ์ รู้จิต เจตสิก รู้นามธรรม รู้สิ่งที่เป็นอรูป มีวิชชา เกิดฌาณ เกิดวิปัสสนาญาณ หรือเกิดญาณทัสสนะ เกิดญาณนั่นแหละ เกิดตาทิพย์ นั่นแหละ เกิดมโนมยิทธิ เป็นวิชชา หรือว่าเป็นญาณชั้นนักปฏิบัติธรรมของพุทธ ต้องมีสิ่งเหล่านี้ ต้องมีฌานๆ ฌานของพุทธ นะ ฌานที่มันเพ่งรู้ แล้วก็เผาได้ เพ่งรู้ เพ่งอ่านนามธรรมนั้นออก แล้วก็มีวิธีการกระทำ และก็มีภาวนา สมถะภาวนา วิปัสสนาภาวนา ทำให้กิเลสลดจางคลาย ตามรู้ ตามเห็นได้นะ อนิจจานุปัสสี วิราคานุปัสสี นิโรธานุปัสสี ปฏินิสสัคคานุปัสสี ตามเห็น จริงๆ ให้ได้ มีญาณ ถ้าใครปฏิบัติธรรมไม่เกิดตาทิพย์ อ่านอาการของจิต อาการ ลิงคะ นิมิต ของจิต ของกิเลสของนามธรรมในใจจริงๆ นี่ไม่เห็น คนนั้นไม่เกิดวิชา ตั้งแต่ระดับแรกเลย

อาตมาเรียกว่าวิชชา ๙ ไม่เรียกวิชชา ๘ เท่านั้น ตั้งแต่เป็นฌาน ฌานอยู่ที่ใดปัญญาอยู่ที่นั่น หรือ มีฌานอยู่ที่นั่น มีฌานอ่านรู้เลยว่ามันเป็นยังไง อาการมันเป็นยังไง นิมิตนี่ มันเป็นโลภะ เป็นโทสะ สภาพที่เราติดเรายึดเป็นอุปาทาน อาการยังไง เรียกว่าอุปาทาน อาการยังไงเรียกว่า ตัณหา อาการยังไงเรียกว่ากิเลส รู้อาการรู้ความแตกต่าง ลิงคะ นี่ความแตกต่าง เห็นจริงๆ

เมื่อคุณมีวิปัสสนาญาณ มีฌานแล้ว มีปัญญาแล้ว และก็วิปัสสนาญาณ หรือมีญาณทัสสน วิเศษ ที่สูงขึ้นๆเรื่อย เป็นวิชชาที่ ๒ มีตัวสภาพที่เรารู้ว่า เราเกิดแล้ว เรามีญาณทัสสนวิเศษ หรือ เรามีวิปัสสนาญาณขึ้นมา แล้วเราก็ทำให้จิตของเราลดละได้นี่ เราเรียกว่ามโนมยิทธิ จิตของเรา เก่ง มีฤทธิ์ มโนมยิทธิ จิตของเรามีฤทธิ์ ไม่ใช่ไปเที่ยวเหาะเหินเดินน้ำดำดินอะไรหรอก ฤทธิ์ที่สามารถ ทำให้กิเลสลดได้จริงๆ กิเลสลดจริงๆนั่น เป็นฤทธิ์ และก็มีฤทธิ์นี่มากขึ้นๆ วิธี มีฤทธิ์ต่างๆ เป็นอิทธิวิธี มีอิทธิวิธี ก็คือฤทธิ์นั่นแหละ มีวิธีในฤทธิ์ต่างๆ สามารถทำให้มันลด มันละ จากกิเลสมากมายมาเป็นหนึ่งเดียว หรือว่ามาเป็นสูญ มาอยู่ในฐานวิเศษ ในฐานสมบูรณ์ เป็นจิตหนึ่งเดียว เป็นจิตเอกัคคตารมณ์ หรือเป็นจิตอุเบกขา เป็นจิตที่สะอาด บริสุทธิ์ขึ้นได้ ทำจากน้อย ก็ไปหามากได้อะไรอย่างนี้ เป็นต้น จนกระทั่ง ต้องใช้ภาษาๆ ของอิทธิวิธี นี่เป็น ภาษารูปธรรม แต่มันมีนามธรรม ที่อาตมาก็ได้อธิบายไปมากมาย จากหนึ่งเดียวเป็นหลาย หลายเป็นหนึ่งเดียว ไปจนกระทั่งถึงสุดท้ายไปลูบคลำพระอาทิตย์พระจันทร์ ไปได้ตลอดพรหม เมืองพรหม คือเป็นภาษารูปธรรมทั้งนั้น อาตมาก็อธิบาย เคยอธิบายเป็นภาษานามธรรมที่ ปฏิบัติได้ เข้าใจได้มาตลอดแล้ว เพราะว่าเป็นภาษาขั้นวิชชาที่เป็นอภิญญา ที่เป็นวิชชาวิเศษ ของศาสนาพุทธเท่านั้น ที่ท่านอธิบายไว้

มีญาณต่อๆ ไป มีญาณ มีโสตทิพย์ มีเจโตปริยญาณ มีบุพเพนิวาสานุสติญาณ มีจุตูปปาต ญาณ มีอาสวักขยญาณ รู้จักรู้แจ้งจนกระทั่งกิเลสหยาบ กิเลสกลาง กิเลสละเอียด ถึงขั้น อาสวะ วิติกกมกิเลส ปริยุฏฐานกิเลส หรือว่าอนุสัยกิเลส อาสวะกิเลส รู้อาการว่า ขนาดนี้ เป็นอนุสัยแล้ว เป็นอาสวะแล้ว ขนาดนี้เป็นสักกายะ ขนาดนี้เป็นอัตตา ขนาดนี้ตัวตนมันใหญ่ อยู่นะ ลดลงไปได้ จนขนาดอัตตาลดลงไปได้ จนกระทั่งเหลืออาสวะ ล้างถอนอาสวะ สิ้นเกลี้ยง ไม่เหลือ ไม่มีตัวไม่มีตน แจ้งในอนิจจัง อย่างมีสภาวะทุกขังอย่างมีสภาวะทุกข์ลดลง จนกระทั่ง ทุกข์ไม่มี จนกระทั่งเบาบาง จนกระทั่งทุกข์น้อยเพราะฆ่าอัตตาของกิเลส หรือสักกายะของ กิเลส ลดลงจนถึงอัตตา จนเหลือน้อยเบาบาง กิเลสก็น้อยทุกข์ก็น้อย จนไม่มีทุกข์เลยสิ้น ถอนอาสวะ ถอนอนุสัย ตัวตนสุดท้าย เป็นอนัตตา มีสภาพที่มันไม่มีตัวตนของกิเลสเหลือเลย โดยมีสัมผัสเป็นปัจจัย ตา หู จมูก ลิ้น กาย ยังสัมผัส ยังเห็นมีตา มีหู มีจมูก มีลิ้น มีกาย มีใจ มีตาสัมผัส มีหูสัมผัส มีจมูกสัมผัส มีลิ้นสัมผัส มีกายสัมผัส มีใจสัมผัส

มีผัสสะทางพวกนี้ เกิดเวทนาอย่างไร รู้เวทนา สุขอย่างไร ทุกข์อย่างไร อทุกขสุข จนกระทั่ง มันไม่ทุกข์ ไม่สุข จนกระทั่งอุเบกขา เป็นฐานกลาง เห็นรู้อ่านออก เข้าใจด้วยญาณของเรา จริงเลย ไม่ใช่เดา มีสภาวะรองรับ ซึ่งมันเห็นได้ยากรู้ได้ยาก ตามที่พระพุทธเจ้าท่านว่า ลึกซึ้ง คัมภีรา ทุททสา ทุรนุโพธา เห็นตามได้ยาก รู้ตามได้ยาก ฐานะที่ด้นเดาเอา มันสงบประณีต จริงๆ นะ มันละเอียดลออจริงๆ นะ สันตา ปณีตา จริงๆ ที่พูดไปแล้ว ไม่ใช่ไปเอาภาษามาท่อง มาบ่น มาสาธยาย มาข่มพวกคุณ หรือว่า ให้พวกคุณท่องจำภาษาบาลีไปเฉยๆ ไม่ใช่

มันจะสอดคล้องในคำสอนพระพุทธเจ้า นี่ปฏิบัติแล้วลดละอย่างไร อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไม่ใช่ด้นเดา ไม่ใช่มีแต่ภาษา ไม่ใช่อย่างตักกะด้วย เป็นอย่างที่มีสภาวะรองรับ อนิจจังอย่างไร ทุกขังอย่างไร อนัตตาอย่างไร แจ้งอนัตตาชัดเจนเลยว่า โอ๋ สภาวะอนัตตาเป็นอย่างนี้ เป็นตถตา เป็นอย่างนี้เอง เห็นอย่างนี้เอง มันเป็นอย่างนี้เองแหละหนอ เป็นถึงขั้นสัจจะ หรือ ตถตา ขั้นสูงสุด ระดับจากอนัตตา ก็แจ้งชัดในอนัตตา คุณถึงจะรู้ว่าไม่มีตัวตน ไม่มีตัวตนของกิเลส ถึงจะรู้ว่า จิตวิญญาณมันอยู่อย่างไร ตั้งแต่หยาบๆ ตั้งแต่คุณเลิกละเหตุปัจจัยหนึ่งได้ ตั้งแต่ เหตุปัจจัยของอบายมุขบางอย่าง เราเลิกละมาได้แล้ว และมองดูที่จิตใจของเราซิ สัมผัสทางตา หู จมูก ลิ้น กาย สิ่งนี้อยู่ก็ เออ จิตวิญญาณนี่มันรู้แจ้งชัดเจน

เราอยู่เหนือมัน เป็นโลกุตรจิตๆที่เหนือมัน มันเฉย มันว่าง มันอะไร และมันก็ไม่ดูด ไม่มีผลัก มีแต่ธาตุรู้ เพราะฉะนั้น จิตบริสุทธิ์นั่น มันรู้ และอยู่เหนือมันด้วย ถ้าปฏินิสสัคคะ สลัดคืนได้ จะลองปรุงกะเขาอีกก็ยังได้เลย ถ้ามันเที่ยงแท้แล้วน่ะ จิตมันเป็นการสร้างสรรจนแข็งแรง แล้วจนกระทั่ง จิตอยู่เหนือมัน เป็นโลกุตรจิตที่สมบูรณ์แล้ว จะลองปรุงกะเขาก็ได้ ถ้ามีสัญญา มีสังขาร คุณจะลองสังขาร คุณมีสัญญาจำได้ว่า ปรุงเป็นยังไง เกิดเวทนาอย่างที่เคยเกิด เออ เป็นสุขเวทนาอย่างนี้ เป็นทุกขเวทนาอย่างนี้ ชนิดสมมุติให้เกิดตามก็เป็นสัจจะอย่างหนึ่ง ว่าเออ เป็นสมมุติสัจจะจริงๆนะ เพื่อจิตของเราเป็นปรมัตถสัจจะ ถึงขั้นปฏินิสสัคคะสลัดคืน เอาไปเป็น อย่างโลกเขาเป็นดูซิ สูงสุดคืนสู่สามัญดูบ้าง ถ้าจิตที่มันจริงแล้ว เพราะมันละ มันล้าง มันเห็นด้วยปัญญาอันยิ่ง มีวิมุตติญาณทัสสนะ สลัดล้าง จริงจัง ชัดเจนแล้วว่า มันเป็นทุกข์ มันเป็นเหตุแห่งทุกข์ มันวุ่นวาย มันต้องเป็นสังสารวัฏ วนเวียนไม่รู้จบ

คุณจะทบทวนมันมามีปฏินิสสัคคะ ให้เกิดเวทนา ให้เกิดเอาสัญญา มากำหนดสัญญา

อ่านต่อหน้าถัดไป

:2462A.TAP