ที่พึ่งอันวิเศษของมนุษย์ ตอน ๓
โดย พ่อท่าน สมณะโพธิรักษ์
เมื่อวันที่ ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๓๕
ณ พุทธสถานปฐมอโศก

เรามาฟังธรรมกันต่อ อาตมาได้เอาพระไตรปิฎก เล่ม ๒๔ ทสกนิบาต คือพระไตรปิฎก หมวด ๑๐ ได้เอามาอธิบาย จนกระทั่งถึงข้อ ๑๗ แล้ว ตอนนี้ก็ข้อ ๑๘ ซึ่งยังเป็นนาถสูตร คือนาถสูตรที่ ๒ นาถก็คือ ที่พึ่ง ธรรมะอันเป็นที่พึ่ง นาถ กรณธรรมที่ท่านเอาไปใช้เรียกในหนังสือนวโกวาท เรียกนาถกรณธรรม ธรรมกระทำที่พึ่ง

เมื่อผู้ใดได้กระทำตามที่พระพุทธเจ้าท่านตรัส ท่านบัญญติเอาไว้ เราได้ทำจริง ตามที่ท่านตรัส เราก็จะเกิดที่พึ่งจริง เกิดที่พึ่งให้แก่ตน ตนได้พึ่งธรรมะอันนั้นที่เราปฏิบัติแล้วจะเกิดมรรค เกิดผล เกิดความเป็น เกิดความเกิดใหม่จริงๆ

เกิดทางโอปปาติกะ เกิดทางจิตวิญญาณ กายกรรม วจีกรรม ก็จะเปลี่ยนไปด้วย พัฒนาไปด้วย โดยจิตเป็นประธาน โดยจิตวิญญาณ จิตใจเราจะเป็นประธาน แล้วที่พึ่ง ๑๐ ประการ ที่พระพุทธเจ้า ท่านตรัสเอาไว้ในนาถสูตร นี้ก็ทบทวนหน่อยในสูตรที่ ๑ อธิบายแล้ว สูตรที่ ๒ นี่ก็ไม่ต่างกัน แต่มีความขยายเท่านั้น มีความหยาบเป็นสภาพที่เน้น แล้วก็ชี้ให้เห็นว่า มันหมายถึง อะไรนะ อาตมาจะอ่านให้ฟังก่อน

ธรรมะเป็นที่พึ่ง ๑๐ ประการ ข้อที่ ๑๘
๑.ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มีที่พึ่งอยู่เถิด อย่าเป็นผู้ไม่มีที่พึ่งอยู่เลย (เพราะว่า) บุคคลผู้ไม่มีที่พึ่ง ย่อมอยู่เป็นทุกข์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมะอันกระทำที่พึ่ง ๑๐ ประการนี้ ๑๐ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีลๆ ฯลฯ
นี่ก็ซ้ำกับสูตรแรก ที่ยังมีเนื้อความ ต่อไปอีกนะ เป็นผู้มีศีล สำรวมในปาฏิโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วยอาจาระ และโคจร มีปกติเห็นภัย ในโทษมีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย

ภิกษุผู้เป็นเถระก็ดี เป็นมัชฌิมะก็ดี เป็นนวกะก็ดี ย่อมสำคัญภิกษุนั้นว่า ภิกษุนี้เป็นผู้มีศีลฯลฯ สำรวมในพระปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษ มีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย หนอ ตอนนี้เติมลงไปอีกดังนี้ว่า :-

เป็นผู้พึงว่ากล่าวสั่งสอนภิกษุนั้น อันภิกษุผู้เป็นเถระ ผู้เป็นมัชฌิมะ ผู้เป็นนวกะ อนุเคราะห์แล้ว พึงหวังความเจริญในกุศลธรรมทั้งหลายอย่างเดียว ไม่พึงหวังความเสื่อมเลย นี้เป็นธรรม กระทำที่พึ่งฯ

สูตรในนาถสูตร ที่ ๑ นั่น ท่านก็ตรัสเอาไว้เฉพาะว่า มีศีลสำรวมในพระปาติโมกข์ พร้อมด้วย อาจาระและโคจร มีปกติเห็นภัยมีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ท่านก็ตรัส แค่นี้นะ ตรัสแค่มีศีล แล้วก็สำรวม แล้วก็ถึงพร้อมด้วยการประพฤติ และโคจร ก็คือดำเนินไป มีปกติเห็นภัยในโทษมีประมาณน้อย แล้วก็เป็นผู้ศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ของศีลนี่แหละ สิกขาบทหรือคำสอนทั้งหลาย จะเป็นสิกขาในสิกขาบท ในสิกขาไหนๆ ทั้งหมด ที่เป็นบทศึกษาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสมาธิ ไม่ว่าจะเป็นปัญญา ก็ได้ใช้ศึกษาตรวจสอบ จนกระทั่ง ได้มรรค ได้ผล นี่เป็นข้อที่ ๑ นาถกรณธรรมข้อที่ ๑ เป็นผู้มีศีล

แล้วก็ในสูตรที่ ๒ ท่านเน้นว่า ภิกษุอันนี้ มีภิกษุเสริมมา ภิกษุเป็นผู้เถระก็ดี ภิกษุผู้เป็นมัชฌิมะ ก็ดี ภิกษุผู้เป็นนวกะก็ดี ย่อมสำคัญภิกษุนั้นว่า ภิกษุนี้เป็นผู้มีศีล แม้ภิกษุก็ตาม ก็ปฏิบัติมา ที่จะมีธรรมอันเป็นที่พึ่ง ก็เหมือนกันแหละ เป็นผู้มีศีล มีนาถกรณธรรม ๑๐ ประการนี้เหมือนกัน จึงจะชื่อว่า เป็นภิกษุ ในภิกษุนี้จะเป็นยังไง เสร็จแล้วก็จะต้อง ย่อมสำคัญภิกษุนั้นว่า เป็นภิกษุ ผู้มีศีล และจะมีข้ออื่นๆเข้าไปอีก ๑๐ ข้อไปรวมอีก ๑๐ ข้อนะ สำคัญว่าเป็นผู้มีศีล เสร็จแล้ว ก็เราก็เห็นว่า ท่านมีศีลยังงี้หนอ สมาทานศึกษาอยู่สิกขาบททั้งหลาย มีศีลแล้วก็ศึกษาอยู่หนอ ว่าเป็นผู้ว่ากล่าวสั่งสอน คือมีภิกษุเป็นผู้ว่ากล่าวสั่งสอนเรา หมายความว่า ภิกษุที่มาบวช แล้ว จะต้องเห็น หรือจะต้องเข้าใจว่าในสังคมจะมีภิกษุผู้เป็นเถระก็ดี หรือผู้มัชฌิมะ ผู้เถระก็คือ ผู้ใหญ่ผู้เป็นเถระ ผู้มัชฌิมะก็คือผู้ที่เป็นภิกษุที่เป็นรองลงมา ประมาณปานกลาง และก็ภิกษุ ผู้เป็นนวกะ เป็นผู้เยาว์ ผู้ใหม่ เป็นผู้บวชใหม่ มีทุกระดับ มีขั้นต้น ขั้นกลาง ขั้นปลาย มีภิกษุ ที่ป็นพี่ต้น เป็นพี่กลาง เป็นพี่รองอะไรก็แล้วแต่ ว่าเป็นผู้ศึกษาอยู่ในนี้แหละ มีนาถกรณธรรม มีที่พึ่งกระทำที่พึ่งให้แก่ตนอยู่ คือเป็นผู้มีศีลอยู่อย่างนี้แหละนะ และก็ศึกษา และก็เห็นว่า ผู้ไหนจะมีศีลจริง เห็นท่านเป็นผู้มีศีลจริงๆ จะต้องมีผู้คนรองรับ ผู้คนรองรับที่จะเป็นผู้รับ สิ่งที่ พระพุทธเจ้าที่ท่านถ่ายทอดไว้ ท่านฝากไว้ก็คือคนนี่แหละ

และโดยเฉพาะเป็นภิกษุนี้แหละ จะรับถ่ายทอด หรือถ่ายทอดอันที่พระพุทธเจ้านี่ท่านหมายว่า เป็นที่พึ่งอันสูงสุด หรือเป็นที่พึ่งอันประเสริฐ เป็นที่พึ่งอันดียิ่ง เป็นที่พึ่งอันเกษม ก็จะมีภิกษุ นี่แหละ ที่ได้รับถ่ายทอดไว้ และเราก็ต้องพึงไปรู้ไปเห็น อ้อ องค์นี้แหละ ภิกษุรูปนี้แหละ มีศีล เป็นผู้มีศีลนะ แล้วก็สำคัญในองค์นี้ สำคัญในภิกษุนี้แหละ ภิกษุนี้ท่านมีศีลอันเป็นสัมมาทิฏฐิ นะ มีศีลทรงศีล เป็นศีลบุคคล เป็นผู้ที่ปฏิบัติศีล ไม่ใช่แค่สีลัพพตุปาทาน ไม่ใช่แค่ สีลัพพตปรามาส เท่านั้นหรอกนะ ท่านพ้นเชียวนะ พ้นสีลัพพตุปาทาน พ้นสีลัพพตปรามาส ทีเดียว แล้วก็ทรงศีล มีศีลนั่นทรงศีลๆนั้น เป็นอริยกันตศีลๆ นั่นเป็นปาริสุทธิศีล ศีลนั้นเป็น อเสขะศีลทีเดียวนะ เพราะจะต้องสำคัญ หรือจะต้องพยายามเห็นให้ได้ เออ อันนี้เป็นที่สำคัญ ที่จะต้องแสวงหา หรือ จะต้องเห็น จะต้องเป็น จะต้องสัมมาทิฏฐิ ๑๐ ในข้อที่ ๑๐ จะต้องรู้จัก สมณพราหมณา สัมมัคคตา สัมมาปฏิปันนา เย อิมัญจ โลกัง ปรัญจ โลกัง สยัง อภิญญา สัจฉิกัตวา ปเวเทนตีติ ฯ

นั่นแหละ จะต้องเห็น ถึงจะเป็นสัมมาทิฏฐิ ถึงจะเป็นทิฏฐิที่ถือว่าดี ถือว่าถูกต้อง ถ้ายังไม่เห็น ถ้ายังไม่รู้ ถ้ายังไม่มี ถ้ายังไม่เป็นเลย ไม่มีผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ไม่มีผู้ที่ดำเนินไปดี ไม่มีผู้ที่จะมา ว่ากล่าวสั่งสอนเราได้ อธิบายให้เราได้ ผู้นั้นก็ไม่พ้นมิจฉาทิฏฐิ ข้อที่ ๑๐ ผู้นั้นก็ไม่มีภิกษุผู้ที่ สำคัญ ที่เราจะนับถือเป็น ๑ ในรัตนตรัย สงฆ์สาวกสังโฆ ซึ่งเป็น อริยะ ๔ หรือ ๘ เป็นพระภิกษุ สงฆ์ ใน ๔ หรือ ๘ ในสมณะ ๔ หรือเป็นสมณะ ๘ ตั้งแต่โสดาปัตติ มรรค ถึงอรหัตผลนั่นแหละ ต้องเป็นผู้ทรงสภาพ ผู้มีมรรค มีผล มีสิ่งที่ดีงาม ที่เราจะได้เนื้อหา สาระแก่นสารนั้น เราต้อง สำคัญจริงๆ เราต้องเห็นจริงๆ และเราก็จะต้องได้พึ่ง นี่มันซ้อนกัน ได้พึ่งผู้นั้นถ่ายทอด พึ่งท่าน ผู้เป็นภิกษุ ที่เป็นเถระก็ตาม ที่เป็นมัชฌิมะก็ตาม หรือเป็นนวกะ ก็ตาม เป็นนวกะหรือเป็นผู้น้อย ก็อาจจะเป็นผู้ทรงศีล เป็นผู้ที่ได้กระทำศีลเป็นที่พึ่งให้แต่ตนได้ ไม่ใช่มีสีลัพพตุปาทาน อยู่เท่านั้น ก็ได้พึ่งนะคนเรา

อาตมาก็ได้บรรยายแล้ว ที่พึ่ง อย่าว่าแต่ศีลเลย ปุถุชนเขาก็พึ่งความคิดนึกของเขา ไม่มีศีลอะไร หรอก เขาก็พึ่งชีวิตของเขาเป็นอย่างนั้นๆ เขาก็พึ่งที่เขาคิดว่ามันดีนั่นแหละ ถ้าเราเห็นว่าศีลนี่ดี เราก็ศึกษาศีล พระพุทธเจ้าสอนไว้อย่างไร แล้วเราก็เอามาศึกษา เป็นปริยัติ แล้วก็ทำความ เข้าใจ จนกระทั่ง ดี ก็ปฏิบัติ จนกระทั่งเกิดมรรคเกิดผลจริง จนกระทั่ง เป็นผู้มีศีล เป็นปกติ จะได้มากได้น้อย จริงๆก็ตามความจริงที่เราได้กระทำ เราก็จะได้พึ่ง เป็นผู้ที่ มีที่พึ่งเป็นธรรมะ สมควรแก่ธรรม ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ได้ตามลำดับ ตามที่เป็นจริง มีจริงนี่นะ

เมื่อศึกษาดังนี้ว่า เป็นผู้กล่าวว่าสั่งสอนภิกษุนั้น อันภิกษุผู้เป็นเถระ ผู้เป็นมัชฌิมะ ผู้เป็นนวกะ อนุเคราะห์แล้ว ภิกษุผู้เป็นเถระก็ดี ผู้เป็นมัชฌิมะก็ดี นวกะก็ดี ที่เป็นผู้มีศีลจริงนั้น ก็ได้อนุเคราะห์ เคยได้ช่วยเหลือ ได้สั่งสอน ได้อธิบายแนะนำ เป็นหลักให้อนุเคราะห์แล้ว พึงหวังความเจริญ ในกุศลธรรมทั้งหลายอย่างเดียว เมื่อได้พบภิกษุผู้เป็นที่พึ่ง เราก็ได้ศึกษาศีล จากภิกษุนั้น ถ่ายทอดๆ ตามๆกันมา มันก็จะเกิดลำดับไปอย่างนี้ ถ่ายทอดไว้ พยายามที่จะ สืบทอด ถ่ายทอด แล้วก็ให้สืบทอดเป็นลำดับไป ฝากฝังจะยั่งยืนนาน ธรรมของพระพุทธเจ้า นี่ไม่ใช่จะฝากไว้แต่ตัวหนังสือ พระไตรปิฎกเท่านั้น ทุกวันนี้มีตัวหนังสือ สมัยพระพุทธเจ้า ไม่มีตัวหนังสือ ก็ท่องเอาจำเอา ทำเป็นสังคีติไว้ สวดเป็นสังคายนาไว้ ทบทวนแก้ไขเอาความจำ หลายๆผู้ หลายๆคน ความจำแต่ละคน มารวมกันฟัง ตรวจสอบสังคายนา ก็คือ ทำความตรง ทำความไม่เสื่อม ทำความไม่เพี้ยน ไม่บกพร่อง ไม่สูญหาย สังคายนา ทบทวน ตรวจสอบ ให้มันตรงของเก่า ตรงของเดิม ทุกคนก็เอาไปท่องไปจำไว้ จนกระทั่งเหลือมา จนมาบันทึก เป็นตัวหนังสือ ให้เราได้รับ ซึ่งเป็นบุญอย่างยิ่งเหมือนกัน ในคำสอนของพระพุทธเจ้า เสร็จแล้ว ก็มีผู้ปฏิบัติตามคำสอน ปฏิบัติตามคำสอนจนเกิดมรรคเกิดผล เกิดเป็นจริงของจริงได้พึ่ง คนนั้นๆ มีที่พึ่งที่เป็นธรรมะของพระพุทธเจ้า มีศีลเป็นที่พึ่ง

สำหรับพวกเรามีศีลเป็นที่พึ่ง เราก็คงจะรู้จักดีนะ เราก็คงจะเข้าใจดี ศีลเป็นที่พึ่ง เป็นที่พึ่งศีล อย่างไร ปฏิบัติศีลมาจนกระทั่งเรามีปฏิบัติศีล เป็นมรรคเป็นผล ศีลนั้นเป็นปกติ ศีลนั้นเป็น ธรรมดาในตัวเรา เป็นชีวิตที่ไม่ฆ่าสัตว์ ทรงธรรมขึ้นมาเป็นเมตตาปฏิบัติศีลเพื่อเกิดเมตตาธรรม เป็นคนมีจิตเมตตาจริงๆ ปฏิบัติจนจิตเกิดโอปปาติกโยนิเกิดทางจิต จิตเป็น สัตตาโอปปาติกา เกิดเป็นเทวดา หรือเกิดเป็นอริยะ เกิดเป็นความเจริญทางจิต เกิดใหม่ เปลี่ยนแปลงใหม่ มีความเป็นไปที่เกิดจริง เป็นจริงมั่นคงในศีล ทรงสภาพเป็นปกติธรรมดา อย่างนั้น ไม่ได้ยาก ไม่ได้ลำบากอะไรที่เราเองจะมีชีวิตมีธรรม มีเมตตา หรือว่าไม่มีอำมหิต โหดร้าย ไม่มีโทสะ เป็นคนที่ได้ขัดเกลาจิตๆ ขัดเกลาจริงๆ เป็นที่พึ่ง เราจะเชื่อถือเอง มีเมตตา เป็นที่พึ่งนี่ดีนะ

อย่างศีลข้อที่ ๑ นี่ปฏิบัติแล้ว จะเกิดเมตตาธรรม ทรงไว้ซึ่งความเมตตา คนมีความเมตตา แล้วมีความมั่นใจ ได้พึ่งพาความเมตตาของตนๆ จะรู้แจ้งเห็นจริง จะซาบซึ้งในสิ่งนี้ เราเป็นคน มีความโกรธ คนในโลกนี้เขาก็โกรธ ที่เขาไม่ได้ปฏิบัตธรรม เขาก็พึ่งความโกรธนะ ความโกรธ เท่านี้ มันก็ช่วยตัวเขาได้ในขณะที่ในฐานะคนนั่น มีความโกรธเท่าใดๆ ก็พึ่งของเขา เขาก็เห็นดี เห็นควร เขาจะโกรธบางทีนี่ เราเคยได้ยินได้ฟัง ดูหนังอย่างนี้ไม่โกรธมันก็ผิดไปละ ยังงี้ไม่โกรธ มันก็ไม่ใช่คนละ มันก็จริงเหมือนกัน เป็นคนต้องโกรธ ถ้าไม่โกรธมันก็ไม่ใช่คน ไม่ใช่คนจริงๆนะ เป็นเทวดา คนไม่โกรธนี่เป็นเทวดา คนไม่โกรธนี่เป็นพระอริยะซึ่งเป็นอริยบุคคลนะ นี่ไม่ได้หลอก ไม่ได้ล่อนะ เป็นให้จริงเถอะ เราไม่มีเลย จนกระทั่ง จิตมันเป็นธรรมดาเลย มันไม่โกรธเลย มันจะเป็นยังไงนะ

อาตมาว่าเคยพูดเรื่องนี้ เป็นคนไม่โกรธนี่มันสบาย เป็นที่พึ่งอันเกษม เป็นที่พึ่งที่สุข ไม่ต้องโกรธ ใครเลย อาการโกรธมันซ้อนนะ มันซ้อน เมื่อมันลามมันลึกซึ้ง ไอ้โกรธหยาบๆนั่น มันโกรธวูบวาบ วู่วาม ร้อนจี๋ คนไหนที่ยังมีความโกรธ ก็ยังโกรธอยู่ ถือสาติดยึดยังถือ อย่างนี้จะต้องโกรธ จะต้องเคือง เป็นอัตตามานะ โกรธนี่สายอัตตามานะ โลภนี่สายราคะสายกาม สายกามภพ โกรธนี่สายภวภพ สายอัตตามานะ พอได้รับสัมผัสไม่สมใจ หรือไม่ได้ดังใจโกรธ มันเป็นยังไง ถ้าเรามีอาการโกรธนั้นมันยังโตอยู่ มีมากอยู่ เราจะรู้สึกว่า อาการมันโกรธร้อนๆเร่าๆดิ้นๆ ที่เขาใช้ ภาษาว่า มันเดือดปุดๆ อาการอย่างนั้น เราจับอาการได้ ถ้าเผื่อว่า เรียนดีๆ ปฏิบัติธรรมของ พระพุทธเจ้า ตามที่อาตมาพยายามแนะนำ พระพุทธเจ้าสอนให้ดูอาการ ดูลิงคะ ดูนิมิตของมัน ดูเครื่องหมาย แบ่งการโกรธ ยังงี้ เป็นอาการโกรธ เป็นเครื่องหมายให้เรารู้ว่า ยังงี้แหละกิเลส อาการกิเลสมันออกบทบาท อย่างนี้ๆก็อ่านมันเป็นนามธรรมจริงๆ แต่สัมผัสได้ จับรู้ได้ และก็ เรียนรู้ทุกข์ ทำให้มันลดตัวลดตน อ่อนแรงด้วยดี สมถภาวนาได้จริงๆ ด้วยวิปัสสนาภาวนา ได้จริงๆ จับให้มั่นคั้นให้ตาย แล้วปฏิบัติพากเพียรอบรมฝึกฝน กระทำแก้กลับ อย่าปล่อยปละ ละเลยมัน รู้ตัวเมื่อไหร่ มีสติ สัมปชัญญะ ปัญญา จัดการกับมันทีเดียวนะ เอามันให้ฝ่อ เอามันให้เล็ก เอามันให้จาง เอามันคลาย เอามันให้ตาย ตายดับ ตายไม่ฟื้น ตายสนิท ดับสนิท ให้ได้

ถ้าเราพิสูจน์ได้จริง เห็นจริงๆแล้วนะ ถ้าตรงตามคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว มันตายสนิท มันตายอย่างเที่ยงแท้ ตายอย่างแน่นอน ตายอย่างไม่เกิดอีก จะโกรธด้วยเหตุปัจจัยย่อยลงไปอีก เหตุนี้ ปัจจัยนี้นี่ เราโกรธ เรายึด เราถืออยู่เหตุอย่างนี้ ปัจจัยอย่างนี้ เราดับสนิทได้แล้ว เราจะได้มรรค ได้ผลอย่างนี้จริงๆ ในตัวบุคคลนะ นี้ยกตัวอย่างศีลข้อ ๑ เกิดธรรมเมตตา เมื่อปฏิบัติ เกิดจริง เป็นจริง นี่อย่างนี้แหละ มันก็ซ้อนลงมาถึงสภาวธรรม ปฏิบัติศีลแล้ว เกิดมรรคเกิดผลอย่างไร แม้แต่ในศีลข้อ ๑ ว่าหลักใหญ่ๆว่า คือ ที่ทำลายความโกรธ โกรธในเรื่องอะไร เหตุปัจจัยอะไรอีก อย่างไรอีก ยึดถือติดอยู่ อย่างนั้น อย่างนี้อะไร และ เราก็ฝึกปรือไปเรื่อยๆ เหตุไหน ปัจจัยไหน อะไรที่มัน เราก็เกิดปัจจัยอย่างนี้ เหตุอย่างนี้น่ะ เราก็ยังไปยึด ไปติด จนทำให้เกิดอาการโกรธแรง โกรธกลาง โกรธลดลงไป จนกระทั่งถึงเบา จนกระทั่ง มันไม่เกิดแรงหน่อยๆ เล็กๆอะไร เราก็ต้องอ่านอาการให้ได้ จับให้มั่น แล้วร่อน ให้มันสนิท จางคลาย หรือดับสนิทได้จริง

นี่ ศีลจะมีคุณค่า มีบุญ มีประโยชน์ มีเป็นที่พึ่งให้แก่เราอย่างนี้

ศีลข้อ ๒ ศีลข้อ ๓ ศีลข้อ ๔ ศีลข้อ ๕ ศีลอื่นๆ อีกน่ะ ซึ่งมีศีลตั้งมากตั้งมายนับไม่ถ้วน ศีลนี่ คำสอนว่า นี้เป็นบาปสมาจารให้เลิกซะ หยุดซะ อย่างนี้เป็นอภิสมาจาร ทำให้ยิ่ง ทำให้เจริญ นะ อย่างนี้เป็นต้น

ศีลข้อ ๒ ก็ลดโลภะ ลดความโลภ ไม่เที่ยวไปอยากได้ของคนอื่น จนกระทั่งเป็นคนเอาของคนอื่น เขาในฐานะอันเป็นขโมย ขโมยอย่างโจ่งแจ้ง โจ๋งครึ่ม ขโมย ขี้โกง ปล้นจี้เอาๆ โดยเขาไม่ให้เรา รู้ตัวต่างๆนานา จนกระทั่งถึงเอาเปรียบ มันก็เป็นความขี้โลภ ขโมย ขโจร ไม่ได้ให้ ไม่ใช่เป็นศิษย์ ของเรา มันก็ขโมยหรือก็อยากก็จริงแล้ว มันโลภจัด จนกระทั่งไม่ใช่สิทธิ ของเราสักหน่อย เราก็ไปเอาของเขา หรือแม้มีสิทธิ แต่ว่ามันเป็นวิธีการเอาเปรียบ การใช้วิธีการอย่างโน้นอย่างนี้ จนเขาจำนน จนได้เปรียบเขา มันก็ไม่ดี มันก็ขี้โลภ เห็นแก่ตัวอยู่ ไม่ใช่เบา เราก็มาเรียนรู้ลึกซึ้ง ละเอียดขึ้นไปอีก ไม่เอาเปรียบ และเราก็สามารถมีใจที่จะเป็นทาน ใจเป็นผู้เกื้อกูล ผู้เสียสละ ได้ให้ เข้าไปอีกนี่แหละ นัยของมันลึกซึ้งซับซ้อนไปยังงั้นนะ และก็จะปฏิบัติจิตของเรา สูงไปอย่างนั้น เพราะฉะนั้น ในความหมายข้อนี้ เมื่อปฏิบัติศีลข้อที่ ๒ เราจะเกิดสัมมาอาชีพ ก็หมายความว่า เป็นคนไม่งอมืองอเท้า เป็นคนที่จะต้องมีงานมีการ ที่จะต้องทำอะไร สร้างสรรค์ ขึ้นมา ไม่ใช่ว่าเป็นคนไม่มีผลผลิต ไม่มีแรงงาน ไม่มีอะไรขึ้นมาเลย ก็กลายเป็นบาป เป็นหนี้ และ เป็นที่พึ่งผู้อื่น เป็นคนไม่ได้พึ่งตนเอง ไม่ได้มีธรรมะอันเป็นที่พึ่งตนเอง เพราะฉะนั้น สัมมาอาชีพนี้ ในหลักมรรคองค์ ๘ ก็ระบุเป็นหัวข้อหลักลงไปด้วย ศีล ๒ นี่ชัดเจนด้วย คนต้องมีการงาน ต้องมีอาชีพนะ ไม่ว่าใครต้องเป็นสัมมาอาชีพ

จนกระทั่งมาเป็นภิกษุนี่ ท่านก็สอนภิกษุมีมรรค ๘ เอาสอนภิกษุ ไม่ได้บอกว่าภิกษุไม่มีอาชีพ อาชีพก็ไม่ได้หมายความที่จะเดินไปบิณฑบาต ไปขอเขากิน ถ้ายังงั้น เราก็เป็นขอทานเท่านั้นเอง ภิกษุไป ขอทาน ขอเขากิน แหม่ เป็นหนี้ตาย ถ้าภิกษุไม่มีอะไรที่ดีซ่อนลึก ดังที่อาตมาได้ บรรยาย สาธยายในเรื่องศาสตร์และศิลป์ของบิณฑบาต ให้เห็นลึกซึ้ง

ไปบิณฑบาต นี่ไปโปรดสัตว์ นะ เราไปให้ ก็ไม่ได้ไปขอ เป็นความซับซ้อนลึกซึ้ง เราไปโปรด เราไปเผื่อแผ่ เราไปสร้างสิ่งที่เป็นคุณค่า ซึ่งจะต้องมีภูมิธรรมอย่างบรรยายกลบเกลื่อน บรรยาย ใช้โวหาร ใช้คารมหลอกล่อผู้อื่นให้หลง เข้าใจตามไม่ใช่ พิสูจน์จริงๆเลยนะ เป็นคนมีการงาน อาชีพ ภิกษุแม้จะบิณฑบาต เป็นอาชีพนะ ก็ไม่ได้หมายความว่า ไปทำบาป ทำเวร แต่ไม่ใช่ไป บิณฑบาตเท่านั้น แต่เขามาย่นย่อว่า ภิกษุที่จะเป็นอาชีพก็คือทำมาหากิน ความหมายของไทยๆ เรา หมายอย่างนั้น เออ ทำมาหากิน เลยไปบิณฑบาตนี่แหละ เป็นการทำมาหากินของภิกษุ เลยไม่ต้อง ทำอันอื่นเลยภิกษุ ก็เลิก พึ่งแต่บิณฑบาต เช้าก็เดินไปบิณฑบาต เช้าก็ไปทำมาหากิน กิจอื่นการอื่น ที่เป็นอาชีพของภิกษุที่สมบูรณ์ จะเป็นผู้ที่เป็นที่พึ่งของผู้อื่น โดยการพร่ำสอน ภิกษุเป็นผู้พร่ำสอน ย่อมพร่ำสอน หมายความว่า พูดอยู่บ่อยๆ สอนเสมอๆ เป็นกิจอาชีพหลัก ของภิกษุนะ มีสิ่งดี อย่างเมื่อกี้นี้ข้อที่ท่านตรัสเอาไว้แล้ว ภิกษุผู้เถระ ภิกษุผู้เป็นมัชฌิมะ ผู้เป็น นวกะ นี่ก็ตาม เป็นผู้ที่มีศีลแล้ว มีมรรค มีผล มีข้ออื่นๆอีก ถ้าว่าไปแล้ว นี่ พึ่งจะเริ่มข้อเดียว ศีลข้อเดียว ข้ออื่นๆ ก็ต้องมีอีก มีพหูสูต มีมิตรดี สหายดี เป็นอะไร เป็นนาถกรณธรรม ๑๐ นั่น เหมือนกันนั้นแหละ ยิ่งเป็นผู้มีสิ่งเหล่านี้ คือมีนาถกรณธรรมสมบูรณ์เท่าใดๆๆ เป็นมรรค เป็นผล อันสมบูรณ์เท่าใด ก็ยิ่งเป็นภิกษุที่เป็นที่พึ่งที่ดีเท่านั้นๆ และท่านก็จะสอน ท่านก็จะ แนะนำ ถ่ายทอดอย่างที่กล่าวนี้ เป็นต้น มันก็จะสืบทอด สืบสานไปอย่างดี เพราะอาชีพ ของภิกษุ จึงไม่ใช่อาชีพที่จะทำอื่นๆๆ ไม่มีสิ่งอื่นให้เขา

เป็นผู้ที่มีอาชีพที่มีจริง มีทาน มีสิ่งอื่นบริจาค เป็นธรรมทานด้วยนะ ซึ่งเป็นทานที่ไม่มีทานอื่นใด เทียบเท่านะ ในขบวนวัตถุทาน อภัยทาน ธรรมทานนี้แลเป็นทานที่เลิศที่สุด เป็นทานอันเลิศ ยอดกว่าทานใดๆ ถ้าจะว่าแล้วก็เป็นของที่มีค่าที่สุด เป็นทานที่คนไหนได้รับ ได้รับธรรมะ มันยิ่งกว่า ได้รับวัตถุ ยิ่งกว่าได้รับการอภัย อภัยทานก็เป็นการปฏิบัติธรรมให้เกิดความไม่มีภัย ไม่มีโทษในตน คือ สละกิเลสนี่แหละ เป็นความไม่มีภัย ไม่มีโทษในตน ลดความโกรธ ลดความโลภ ลดกาม ลดพยาบาทนี่แหละ ลดความหลง หลงผิดอวิชชา นี่แหละก็เป็นภัย อันยิ่งของคน เราก็อภัยก็ไม่ให้ไปถือ ไม่ให้ไปติดใจ ไปโกรธ ไปโลภอะไรได้ ทำได้มันก็เป็นมรรค เป็นผล เป็นสมบัติอันลึกซึ้ง เป็นมรรคเป็นผล เสร็จแล้วเราก็เอาสิ่งที่เป็น มรรคเป็นผลพวกนี้ แหละ เป็นทรัพย์วิเศษ เป็นอริยทรัพย์ใหญ่ ไปทาน ธรรมะที่สอนกัน เป็นธรรมะที่เป็นอริยธรรม เป็นอริยวินัย อริยธรรมอริยวินัยที่เราสอน ที่เราถ่ายทอด เราให้ผู้ที่ปฏิบัติตามธรรม สอนแล้ว ก็มาปฏิบัติตามกัน ถ่ายทอดกัน จนกระทั่งเกิด จนกระทั่งเป็นได้สิ่งนั้น ตามๆไปอันนี้

ถ้าเผื่อว่า ผู้ใดทำสิ่งที่ทำถึงจริง ทำจนกระทั่งสภาวะอริยสัจจริง มันก็สืบทอดกันไป ได้นานเท่า นานๆ นี่ก็หมายว่านานเท่านาน เท่าที่มันจะนาน ถ้าจะว่ากันไปให้สมบูรณ์ๆ มันนานเท่านานนี้ นานเท่าที่มันจะนาน ถ้านานแล้ว มันนานๆๆๆ ดีไหม ก็นานๆๆ ไปเรื่อยๆ ถ้านานแล้ว ไม่นาน เท่าไหร่ มันก็นานเท่าที่มันไม่นาน ก็ไม่นานเท่าไหร่ ขนาดกลางๆ ถ้านานและ มันนานนิดเดียว มันก็นานนิดเดียว ภาษานานเท่านานนี่ สวยนะ เพราะเป็นภาษาที่เพราะนะ สืบทอดไปอีกนานๆ เท่านาน ความหมายของรวมๆ มันก็ควรจะนาน เท่านานๆๆๆ มากมายนั้นแหละ ความหมาย ที่สุดยอด ที่สูงสุด ที่สุดของมัน แต่มันย่อมมีเขตของความนานของมัน ตามเหตุปัจจัย มันจะนาน อยู่ได้โดยไม่มีขอบเขตไม่ได้ มันต้องนานเท่าที่มันมีขอบเขตสัจจะ ของมันว่า มันนาน ได้เท่านี้แหละ แล้วมันต้องมีจบ

ในศาสนาพระพุทธเจ้าของเรามีเกิด มีดับอย่างนี้จริงๆ นะ ไม่ใช่เกิด จนไม่มีดับ เป็นนิรันดร์ ไม่มีนี่ เกิดจนไม่มีดับ ไม่มีนิรันดร์ ไม่มี เพราะศาสนานี้พาให้เราหาที่สูญ พาให้หาที่จบ พาให้หา ที่เลิกเป็น เลิกมี เลิกยึด เลิกติด เลิกได้อะไรอย่างนี้ ได้อย่างแท้จริงๆนะ ข้อต่างๆ เสียก่อน แล้วถึง ค่อยมาอธิบายให้สมบูรณ์ พวกเราบางคนยังไม่เคยฟัง บางผู้บางคนยังไม่ได้ฟัง หรือ ฟังไปแล้ว ฟังไปแล้วหรือยัง นาถกรณธรรม ยังเหรอ ก็อธิบายเสริมไปบ้าง การฟังก็ละเอียด อย่างหนึ่ง ที่อธิบายคราวโน้น และก็ได้จะรับหัวข้อด้วย แล้วอาตมาก็จะได้อธิบายในประเด็นที่ ไม่เหมือนกัน ลงไปด้วย อย่างที่อธิบายนี่ ก็มีจุดเน้นที่เหมือนเดิมกันบ้าง มีส่วนที่เหมือนเดิม อยู่บ้าง และก็มีส่วนที่ซอยลึก ซอยกว้าง ซอยเสริม เติมบ้างนะ

ทีนี้ เราอ่านดูให้มันครบเสียก่อนนะ ว่ามันมีอะไร มีความต่างจากกรณะ ๑๐ กรณะสูตร นาถกรณสูตร ที่ ๑ ตรงที่มีเสริมว่า

๑.ภิกษุทั้งหลาย ผู้เป็นเถระก็ดี เป็นมัชฌิมะก็ดี เป็นพระนวกะก็ดี ย่อมสำคัญภิกษุนั้นว่า ภิกษุนี้ เป็นผู้มีศีลก็ตาม เป็นผู้พหูสูตก็ตาม และเป็นผู้ที่มี มิตรดี สหายดี สังคมสิ่งแวดล้อมดีก็ตาม อะไรพวกนี้ อันนั้นเป็นข้อหลัก ๑๐ ข้อเดิม แต่ที่เสริมมา ก็คือ มีภิกษุทั้งหลายนี่แหละ ภิกษุเถระ มัชฌิมะ และพระภิกษุนวกะ แล้วก็เห็นท่านเป็นผู้มี ๑๐ อย่างนี้หนอ แล้วเราก็ไป สำคัญท่าน เป็นพระรัตนตรัยอันหนึ่ง ที่จะเป็นที่พึ่ง พระรัตนตรัย ก็เป็นสรณะ เป็นสรณัง เป็นที่พึ่ง ซึ่งเราจะไป ศึกษากับท่านๆ ก็จะพึงพร่ำสอน อนุเคราะห์ เราก็มีหวังเป็นกุศลธรรม ก็เป็นที่พึ่ง เจริญเป็นกุศลอย่างเดียว หรือท่าเดียว อย่างเดียวเชียว เป็นท่าเดียว ทางเดียวทีเดียว เพราะมี ภิกษุ ที่เป็นผู้มีสมบัติ มีที่พึ่งดีแล้ว ๑๐ อย่างนี้ และ ๑๐ อย่าง แล้วอาตมาก็ขยายความไป ประกอบไป เรื่อยๆ ในข้อธรรมะใน ๑๐ ข้อนี้

การที่ ภิกษุเป็นพหูสูต ฯลฯ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฏฐิ ภิกษุทั้งหลาย ผู้เป็นเถระก็ดี ผู้เป็น มัชฌิมะก็ดี ผู้เป็นนวกะก็ดี ย่อมสำคัญภิกษุนั้นว่า ภิกษุนี้เป็นพหูสูต ฯลฯ แทงตลอด ด้วยดี ด้วยทิฏฐิหนอ ดังนี้ ว่าเป็นผู้พึงว่ากล่าวสั่งสอนภิกษุนั้น อันผู้ภิกษุผู้เป็นเถระ ผู้เป็นมัชฌิมะ ผู้เป็นนวกะ อนุเคราะห์แล้ว พึงหวังความเจริญ ในกุศลธรรมทั้งหลายอย่างเดียว ไม่พึงหวังความเสื่อมเลย หมายความว่า หวังความเจริญได้เลย ไม่พึงหวังความเสื่อมเลย นี้เป็นธรรมกระทำที่พึ่งฯ หัวข้อหลักที่ ๒ ก็พหูสูต

หัวข้อหลักที่ ๓ ก็มีมิตรดี สหายดี สังคมสิ่งแวดล้อมดี แต่ในพระไตรปิฎก นี่ กัลยาณสัมปวังโก ท่านบอกว่า มีเพื่อนดี ซึ่งอาตมาก็ว่าเพื่อนดี ในความหมายว่า มิตร กัลยาณมิตตโต กัลยาณสัมปวังโก แปลว่าเพื่อนภาษาไทย มิตรกับเพื่อน ในความหมายไทยนี่อันเดียวกัน อาตมาก็เห็นว่า มันแคบ สัมปวังโก สังคมสิ่งแวดล้อมดี ดังเราได้ใช้กันมานานแล้วนะ เราก็เอาอันนั้น

๔ เป็นผู้ว่าง่ายนะ กระทำความเป็นผู้ว่าง่าย ให้แก่ตนเองนะแล้วก็เดี๋ยวเอาเป็นข้อๆไปจบ ๑๐ เสียก่อน นะข้อที่ ๔ เป็นผู้ว่าง่าย

๕.เป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้าน เป็นผู้ขยัน ๖.เป็นผู้ใคร่ในธรรม ธัมมกาโม เป็นผู้ใคร่ในธรรม ๗.เป็นผู้ปรารภความเพียร ๘.เป็นผู้สันโดษ ๙.เป็นผู้มีสติ ๑๐.เป็นผู้มีปัญญา

นี่ ๑๐ หลักนะ ๑๐ ที่พึ่ง เมื่อมี ๑๐ ข้อแล้วแต่ละข้อๆ ก็มีนัยละเอียดขยายต่อไปอีก อย่างที่ อาตมา ขยายศีลให้ฟังไปแล้ว ขยายอีกอย่างอื่นๆ อาตมาก็เคยขยายไป โดยนัยพิสดารมากมาย ว่ามีศีลเป็นอย่างไร ในศีลนั้น ปฏิบัติได้แล้ว จะเกิดมรรคเกิดผล เกิดสภาวธรรม มีศีลจนกระทั่ง เป็นอรหันต์ ตามที่เราได้เรียนมาในกิมัตถิยสูตร เมื่อมีศีลแล้วจะเกิดสภาพปฏิบัติไม่เดือดร้อน อวิปปฏิสาร ไม่เดือดร้อน แล้วยังสามารถที่จะฝึกใจดี ปราโมทย์ นะ มีปีติ มีปัสสัทธิ มีความสงบ มีความระงับ มีความสุข ซึ่งเป็นวูปสโมสุข ทุกอย่างเป็นความไม่ใช่สุขเสพสม สุขต่างกับ สุขัลลิกะ หรือสุขต่างจากโลกียสุข อย่างไรๆ ก็อธิบายมามากมายแล้ว จนกระทั่งถึงขั้นอรหัตผล มีศีลเป็นอรหัตผล มีศีลเป็นอเสขะเป็นอย่างไรๆ และเราก็พิสูจน์ตามได้ เท่านั้นไม่พอ เราจะต้อง พิสูจน์เป็นพหูสูต เป็นผู้ที่ปฏิบัติเป็นพหูสูต พหูสูตนั่นเป็นอย่างไร เราก็ได้อธิบายกันมามาก ความว่า พหูสูตนะ

เป็นผู้ทรงพหูสูต ทรงสั่งสมสุตะ ทรงสดับมาก ทรงจำเอาไว้ได้มาก คล่องปากขึ้นใจ แทงตลอด ด้วยดี ซึ่งธรรมะงามในเบื้องต้น ท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถะ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์สิ้นเชิง เป็นผู้ที่มีของจริง เป็นพหูสูต ไม่ใช่เฉพาะปริยัติ เป็นพหูสูต ที่ปฏิบัติจนกระทั่งเกิดญาณ ปัญญาที่เป็นพหูสูตครบครัน ได้ปฏิบัติ ได้ปฏิเวธ ได้แทงทะลุ ได้หยั่งถึง ได้เกิดได้เป็นได้มีเป็นผู้รู้ พหูสูต ในระดับเป็นจริงมีจริงเอง บรรลุธรรมเอง นั่นเป็นที่พึ่ง ที่ยาวไกล เป็นที่พึ่งที่สูง เป็นที่พึ่งที่เกษม เป็นที่พึ่งที่เยี่ยมยอด เป็นผู้ทรงจำ เป็นผู้ได้เข้าใจ ได้เห็น ได้แจ้ง ได้แทงทะลุ เอาอธิบายคร่าวๆ ไปก่อน จากหลักแล้วค่อยมาขยายในนัยซ้อน

เป็นผู้มีมิตรดี ในข้อ ๓ มิตรดี สหายดี สังคมสิ่งแวดล้อมดี ก็อธิบายมามากมิตรดี ใครเป็นมิตรดี กะเรา ก่อนอื่น พระพุทธเจ้า ถ้าเราอยู่ในสมัยนั้นยุคนั้น พระพุทธเจ้าท่านก็ตรัสว่า เรานี่แหละ เป็นมิตรดีแก่เธอ เป็นมิตรดี เป็นสหายดี เป็นสังคมสิ่งแวดล้อมดี ในสังคมสิ่งแวดล้อมในสังคม ได้อธิบาย ขยายในเสนาสนสปายะ ๔ ก็มีสูตรที่อาตมาอธิบายแล้ว มันจะสมบูรณ์ครบครัน มีบุคคลสปายะ มีอาหารสปายะ มีธรรมสปายะ นั่นแหละ สังคมสิ่งแวดล้อมดี รวมด้วยมิตรดี นับ บุคคลสปายะ เป็นมิตรดีมีจริงๆ สังคมสิ่งแวดล้อมดี

นอกจาก จะมีสปายะ เป็นบุคคลสปายะ คือมิตรดีแล้ว สหายดี ร่วมประโยชน์ดี สหายะ ร่วมประโยชน์ หมายถึงคนก็ได้ หมายถึงสิ่งแวดล้อม ต่อไปอีก สัมปวังโก มีอาหาร มีธรรมะ มีที่อยู่ มีปัจจัย ๔ มีอะไรอื่นที่เป็นบริขาร หรือเป็นเครื่องอาศัยอื่นๆอีก จนกระทั่งถึงเครื่องอาศัย ในระดับถึงลึกซึ้งไป อย่าว่าแต่อาหารการกิน ของใช้อุปโภคบริโภคเลย แม้แต่มีผัสสะเป็นอาหาร มี มโนสัญเจตนาเป็นอาหาร มีวิญญาณเป็นอาหาร ก็เป็นอาหารสปายะ เป็นที่พึ่งนะ เป็นที่พึ่ง อันสปายะ อันประเสริฐ อันสบาย อันสมบูรณ์ มีผัสสะอย่างพวกเรา มีผัสสะกันเป็นที่พึ่ง เป็นเครื่องอาศัยที่ดีนะ ในโลกไม่มีผัสสะอย่างพวกเราหรอก ในโลกก็เป็นผัสสะอย่างหนึ่ง พวกเรานี่ เป็นผัสสะอีกอย่างหนึ่ง ผัสสะกันในระดับลึก ในระดับสูง ในระดับที่คนที่มีภูมิรู้ อย่างนี้ แล้วก็มีท่าทีลีลา ให้เราได้กระทบสัมผัสอย่างนี้ โดยภาษา วาจาก็ดี เป็นกิริยากายก็ดี

หรือ แม้แต่ผัสสะจนกระทั่งละเอียดลออ ถึงขั้นจิตวิญญาณ ผัสสะอยู่ด้วยกัน มีจิตวิญญาณ ที่ผัสสะกัน มีการแสดงออกทางน้ำใจ หรือมีอาการของใจของจิตอยู่ แต่ละคนนี่แหละ และก็อยู่ ด้วยกันไป มันละเอียดลึกซึ้งซ้อนไป จนกระทั่งคนนี้มีน้ำใจอย่างนี้ มีจิตวิญญาณอย่างนี้แหละ และเขาก็แสดงออก และเขาก็เป็นอยู่อย่างนี้ไป อยู่ด้วยกันไป มีการคบคุ้นไป วันแล้ววันเล่า ปีแล้ว ปีเล่า ผัสสะเหล่านี้แหละ เกิดเป็นองค์ประกอบ เกิดเป็นสิ่งที่ทำให้เราเจริญงอกงาม ถ้าเผื่อว่า ผู้ที่ผัสสะนั้น ผู้ที่เราอยู่ร่วมนั้น จะนำพาซึมซับถ่ายทอด เป็นไปด้วยดีแล้ว หลากหลาย ผัสสะ แม้จนกระทั่ง ทางกายกรรม วจีกรรม จากมโนกรรม ที่เราอยู่ร่วมกับบุคคล มีสิ่งนี้เป็น ผัสสะ นี่ ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ เราไปอยู่กับผัสสะกับคนข้างนอก กลุ่มคนที่มีภูมิธรรม มีจริตนิสัย มีความเห็น มีอะไรก็แล้วแต่ อย่างคนกลุ่มคนปุถุชนข้างนอก เราก็จะซึมซับ เราก็จะถูกสิ่งเหล่านี้ เป็นองค์ประกอบ หล่อหลอมให้เกิดสัตตาโอปปาติกา เป็นพิมพ์เป็นแบบ เป็นแม่ เป็นพ่อด้วย ฟังพ่อ ฟังแม่ให้ลึกซึ้งขึ้นไปอีกนะ

เพราะฉะนั้น เราอยู่กับพวกหมู่เรา ยิ่งเป็นพระอริยะ ที่เป็นพระอริยบุคคลอยู่ในระดับ เป็นสังคม สิ่งแวดล้อมที่ดี ร่วมรวมกันอยู่เป็นสหาย เป็นสังคม สิ่งแวดล้อมดี มีทุกอย่างเลย ทั้งเสนาสนะ เครื่องใช้ เครื่องอุปโภคบริโภค เครื่องอาศัย เครื่องอื่นๆ ใดๆ ลึกไปจนกระทั่งถึงผัสสาหาร มโนสัญเจตนาหาร วิญญาณาหาร ดังกล่าวนี้ โอ้โฮ ไม่ใช่เรื่องเล่นๆนะ ที่เราได้อาศัย ไม่ใช่เรื่อง เล่นๆ เป็นที่พึ่งต่างกัน พิสูจน์ไปให้ลึกซึ้ง เพราะฉะนั้น กัลยาณมิตโต กัลยาณสหาโย กัลยาณสัมปวังโก มีมิตรดี สหายดี สังคมสิ่งแวดล้อมดี จึงไม่เรื่องที่จะต้องพิสูจน์กันไม่ได้ พิสูจน์กันได้ พิสูจน์เถอะ แล้วคุณก็ฟังอาตมาไปแล้ว คุณก็ไปค่อยๆสังเกต ค่อยๆพิจารณา ค่อยๆใช้วิจารณญาณ ตรวจสอบไปด้วยว่า จริงนะ อยู่กับหมู่นี้แหละดี อยู่กันอย่างนี้แหละ เป็นเครื่องอาศัยที่ดี มิตรดี เป็นที่พึ่งอันดีนะ พึ่งมิตร พึ่งสหาย พึ่งหมู่นะ พึ่งกรรมกิริยา พึ่งบุญกิริยาด้วย พึ่งอะไรกัน นี่ ซึ่งมันมากมาย ลึกซึ้ง

สิ่งเหล่านี้แหละซ้อนลึกไปเรื่อยๆ เป็นที่พึ่งอันวิเศษ กระทำที่พึ่งอันดีงามให้แก่เราเองนะ เราเอง เข้าใจ แม้เรื่องนี้ มิตรดี สหายดี สังคมสิ่งแวดล้อมดีนี่ก็ตาม มีภิกษุ อย่างอาตมาเป็นภิกษุ นำสิ่งเหล่านี้มาอนุเคราะห์พวกคุณ มาเล่ามาบรรยายมาอธิบาย พวกคุณเห็นว่า ถ้าเป็นภิกษุ เป็นผู้มีพหูสูต อย่างนี้ หรือว่าเป็นผู้เป็นมิตรดี สหายดีของคุณ แล้วก็ได้พร่ำสอนให้แก่คุณ มันก็เข้าหลักนี้หมดเลยนะ ภิกษุนี้ มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดีหนอ มีสังคมสิ่งแวดล้อมดีหนอ ดังนี้ ว่าป็นผู้พึงว่ากล่าวสั่งสอน ภิกษุอันเป็น ภิกษุผู้เถระ ผู้เป็นมัชฌิมะ ผู้เป็นนวกะ อนุเคราะห์แล้ว พึงหวังความเจริญในกุศลธรรมทั้งหลายอย่างเดียว ไม่พึงหวังความเสื่อมเลย

คุณจะเชื่อหรือไม่ก็ไม่รู้ ว่าอาตมาก็เป็นภิกษุที่ดำเนิน พยายามดำเนินตนเป็นผู้ที่มีที่พึ่ง อาตมา ว่าอาตมามีที่พึ่ง มีอัตตา หิ อัตตโน นาโถ ตนมีนาถกรณธรรม มีธรรมะอันเป็นที่พึ่งได้ กระทำ ธรรมอันเป็นที่พึ่งของตน แล้วอาตมาก็มาเอื้ออนุเคราะห์พวกคุณ พยายามช่วยเหลือพวกคุณ และ อาตมาก็พยายามแน่ใจว่า พึงหวังความเจริญในกุศลธรรมทั้งหลายอย่างเดียว ไม่พึงหวัง ความเสื่อมเลย อาตมาว่าอาตมาเป็นอย่างนั้น นี่ก็อวดเหมือนอวดตัวอวดตนเหมือนกันนะ เพราะอาตมาได้มีมรรค ได้มีผล มีอุตริมนุสธรรม ได้ธรรมะของพระพุทธเจ้ามาเป็นที่พึ่ง ของตนแล้ว แล้วก็เอาธรรมะที่เป็นที่พึ่งอันนี้แหละ มาแจกจ่ายอริยคุณต่างๆ ที่อาตมาแนะนำ ด้วยภาษาบรรยาย นำพากันให้คุณถ่ายทอดสืบทอดออกไปๆ ประพฤติปฏิบัติจริง จนเกิดจนเป็น ของตนเองขึ้นมาอีก แล้วคุณก็ถ่ายทอดกันต่อ มีภิกษุอื่นต่อ

ถ้าอาตมาเป็นเถระ ก็มีผู้มัชฌิมะ มีผู้นวกะ แม้แต่ในฆราวาสเองก็ตาม ก็ถือผู้ใดปฏิบัติธรรม

อ่านต่อหน้าถัดไป

:2462E.TAP