ติอย่างปราชญ์ ฉลาดอย่างไร? ()
โดย สมณะโพธิรักษ์
แสดงธรรมก่อนฉัน เมื่อวันที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๓๕
ณ พุทธสถาน ปฐมอโศก


อาตมาว่ามีกำไรนะ เราปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ เวียนไป บรรยายไป ฟังไปอย่างน้อยก็ซึมๆ ซับๆ ไหลๆ เข้าไปในหัวสมองบ้างละนะ ไม่ได้อะไร ก็ได้ไหลๆเข้าไปในหัวสมองบ้าง แม้มันยังไม่มีแรงพอที่จะทำให้ กาย วาจา ของเราได้เปลี่ยนแปลงไปได้แต่รู้อยู่ในใจ กำลังใจอินทรีย์พละทางใจก็ไม่มากพอจะให้กายเป็นไปได้ วาจาเป็นไปได้ ได้แค่นั้น ก็เอานะ เอาไปเรื่อยๆ

มาฟังอีกทีหนึ่ง ก็ซ้ำๆ ซ้อนๆ ย้ำอีก ที่เราได้ฟังมาแล้วถึงเรื่องความเป็นพาล เรื่องความเป็นบัณฑิต หรือว่าความมีปัญญา พาลนี้มีความเฉลียวฉลาดเหมือนกัน อย่างที่ได้ขยายไปแล้วเมื่อเช้านี้ว่า พาลก็มีความเฉลียวฉลาด เฉลียวฉลาดเอามากๆ ก็ได้ด้วย แล้วมากจนกระทั่งสามารถเอาชนะ แม้แต่บัณฑิตจริงๆ ผู้มีความเฉลียวฉลาด ทางธรรม ยังไม่กล้าที่จะไปต่อรอนต่อรานอะไรได้ บางครั้งบางคราว เพราะว่า เขาเล่นหยาบ เล่นรุนแรง ก็ถึงขนาดต้องปล่อยให้เขาทำชั่วทำบาปนั้นอยู่ เป็นไปได้ ถึงปานฉะนั้น

เพราะฉะนั้นในธรรมะที่พูดถึงบัณฑิตพูดถึงพาลนี้มันจึงมีความลึกซึ้ง ซับซ้อนอยู่ ดังที่กล่าวแล้วว่า ความเฉลียวฉลาดไม่ได้หมายความว่าไม่มีในพาลชน พาลชน พาละ แม้ว่า จะหมายความถึงคนโง่จริงๆ มันก็มีจริงเหมือนกัน แล้วมันไม่ใช่โง่ธรรมดาแล้ว ทีนี้มันฉลาดแล้ว เป็นพาลด้วย ฉลาดอย่างพาล แล้วเป็นพาลที่มีความหมายที่เรา ก็พอ เข้าใจ อย่างคนที่เกเรเกตุง หรือคนเฉลียวฉลาดที่เป็นพาลอยู่ในสังคม เกกมะเหรกเกเร หรือว่าเป็น จอมโจรบัณฑิต ที่อาตมาใช้ภาษาซ้อนซ้ำวกวนเข้าไปอีก เฉลียวฉลาด แต่เป็นตัวร้ายซับซ้อน เอาความเฉลียวฉลาดนั้นไปทำทางร้ายที่หลอกคนอื่น ลวงคนอื่น เอาเปรียบคนอื่น สามารถใช้ความฉลาดนั้นให้เกิดอำนาจ จนคนเขาจำนน แล้วตัวเอง ก็ได้ทำการเอาเปรียบ ทำความชั่ว ทำความรุนแรง ทำสิ่งที่มันเป็นบาปเป็นหนี้ให้แก่ตัวเอง พาลก็คือคนที่โง่ ถ้าจะว่าโง่ก็คือมันฉลาด แต่โง่ที่ทำความเป็นบาป ทำความเป็นหนี้ ทางธรรมะ เป็นบาปเป็นหนี้ทางธรรม เป็นทุจริตเป็นอกุศล สะสมให้แก่ตนเอง ฉลาด ชนะเขาข้างนอก ฉลาดได้เปรียบข้างนอก ฉลาดได้เป็นอกุศลข้างในตัวเองนะ เป็นตัว อกุศลแท้เลย เป็นตัวบาปเป็นตัวภัยแท้ๆ เลย อย่างนี้ก็ต้องเข้าใจให้ชัดๆ เข้าใจให้ลึกซึ้ง

ทีนี้ ที่อาตมาขยายความไม่ฉลาดหรือว่าความไม่เฉียบแหลมอะไรไปแล้ว สำหรับพวกพาล และก็ได้ขยายจนกระทั่งซับซ้อนไปแล้วว่า มันมีความฉลาด มันมีความเฉียบแหลม แล้วก็เป็นสัตบุรุษ หรือแม้ว่าไม่ใช่สัตบุรุษ ก็ได้ขยายเข้าไปแล้ว สุดท้ายก็บริหารตน ให้เกิดคุณสมบัติ บริหารตนก็คือทำตัวเองนี่แหละ บริหารก็คือเราควบคุม บริหารก็คือ การจัดการ ถ้าไปบริหารประเทศชาติบริหารสังคมบริหารบริษัท บริหารกลุ่มหมู่ ก็คือ เข้าไปจัดการ เข้าไปทำงาน เราก็บริหารตน ก็คือทำงานให้กับตน ทำกาย ทำวาจา ทำใจ ที่เป็นพฤติกรรมของตนเองนี่แหละกับการงานที่ทำอยู่ โดยปราศจากคุณสมบัติ หรือ เป็นคุณสมบัติ ถ้าพาลก็ทำให้เกิดปราศจากคุณสมบัติ ถ้าเป็นบัณฑิตก็ทำให้เกิด คุณสมบัติ ให้แก่ตน เป็นผู้ประกอบไปได้ด้วยโทษ หรือ ไม่ประกอบไปด้วยโทษ หรือเป็นผู้หาโทษอันมิได้ เพราะฉะนั้น เป็นผู้ประกอบไปด้วยโทษ อันนี้ก็มีแนวลึกซึ้ง อีกตัวหนึ่ง ที่ใคร่จะบอก

การประกอบก็คือการกระทำ มีกรรมมีพฤติกรรมประกอบการอยู่ด้วย กาย วาจา ใจ ถ้าเราประกอบการอยู่ก็คือการทำงาน ประกอบไปด้วยการงาน ประกอบไปด้วย การกระทำ กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม นอกจากไม่เป็นคุณแล้ว เป็นโทษด้วย ก็คือ บริหารตนอยู่ด้วยนั่นแหละ แล้วก็ประกอบกรรม ประกอบกิริยา ไม่เป็นคุณ แต่เป็นโทษ เสียอีก เป็นโทษทางกาย ทางวาจา กาย วาจาที่เป็นกายวาจา มันมี โทษอีกอันหนึ่งที่ว่า จะบอกเมื่อกี้ ก็คือว่า กายวาจาก็ดี ที่มันอยู่เฉยๆ แล้วหลงผิดว่า เรากำลังสงบ ทั้งๆ ที่ไม่ควรจะอยู่เฉยๆ ไม่ควรจะสงบอย่างนั้น ควรจะมีกายวาจาที่ดีกว่านี้ เป็นพฤติกรรม เป็นกายกรรม วจีกรรม ที่ดีกว่านั้น ควรจะกระทำออกมาได้ ไม่เมื่อย ไม่ป่วย เป็นโอกาส เป็นเวลา ควรเป็นไปได้ มีความสามารถด้วย แต่ไม่ทำ อันนั้นก็เป็นโทษเหมือนกัน ไม่ใช่คุณเลย เป็นโทษ ทำให้เราเองนี่ เราเปล่าดาย โมฆะ อย่างที่เคยเตือนแล้วว่า

พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า โมฆะบุรุษนี่ มันเปล่า มันว่างไปเปล่า และมันสั่งสมอาการ ที่มีจิตโน้ม มีอุปาทานหรือว่ามีใจชอบไปในเรื่อง ว่าอยู่เฉยๆ ติดอยู่เฉยๆ ติดอยู่เปล่าๆ กายกรรมเปล่าๆ กายกรรมเฉยๆ หรือกายกรรมที่มันติดไม่อยากทำกิจอะไร ไม่ทำการอะไร จะเป็นมิจฉาทิฏฐิเพราะว่า ไม่ทำการ ทำงานอะไรก็ตาม มิจฉาทิฏฐิตอนนั้น ก็ตัวทำให้ เราไม่ทำ อยู่เฉยๆ อยู่เปล่าๆ การอยู่เปล่าๆ อยู่เฉยๆ นั้นมันไม่ใช่ฐานะของคนเป็น คนตื่นอยู่ ถ้านอนหลับก็แล้วไป ทีนี้ไม่นอนหลับหรอก นั่งหลับตา เพื่อที่จะให้หลับ เข้าภวังค์ไปเลย โดยเข้าใจว่านั่นเป็นการปฏิบัติธรรม หรือเป็นการพากเพียรที่ดี ลัทธิแบบฤาษี ที่มันไม่ใช่กาละควรจะนั่งเจโตสมถะ มันก็เป็นไป ฉะนั้น ถ้าเราไป นั่งเจโตสมถะ ไม่สมเหมาะสมควรแก่กาล มันก็ไม่ถูก แต่จะนั่งเจโตสมถะโดยเจตนา โดยรู้อยู่ว่า เราจะต้องฝึกฝนให้สมเหมาะสมควร ให้ได้สัดส่วนที่พอเหมาะพอดีก็ทำเอา กาละนั้น ไม่น่าจะเป็นกาละนั่งเจโตสมถะ ไม่เมื่อยไม่ป่วย อย่างนี้เป็นต้น

ละเอียดลงไปอีก เราก็จะรู้ว่ามันไม่ใช่คุณหรอกมันเป็นโทษ ยิ่งไม่มีปัญญาเข้าใจเลยว่า เป็นฌานฤาษี รูปฌาน อรูปฌานก็ตาม แล้วก็ไปติดหลงรูปฌาน หลงอรูปฌาน นั่นแหละ เป็นรูปราคะ อรูปราคะที่แท้ ในความหมายที่เขาอธิบาย แม้แต่ทางเถรสมาคม หรือ ทางไหนๆ เขาก็อธิบายกันอยู่ ทางสายธรรมดาไม่ต้องถึงขั้นอาตมาอธิบายหรอก เขาก็ อธิบายกัน ติดภวตัณหานั่น เขาอธิบายว่า ภวตัณหาคือ รูปฌาน อรูปฌาน แบบฤาษี นั่นน่ะ แล้วเราก็ไปยินดีไปติดอยู่ในรูปฌาน อรูปฌาน คุณจะทำได้ขั้นไหนก็แล้วแต่เถอะ ขั้นรูปฌาน อรูปฌานแบบฤาษีนะ แบบเจโตสมถะนี่ แบบนั่งหลับตานี่ ก็ไปติดยินดีเอร็ด อร่อย เป็นภวตัณหา เป็นภวังค์ นี่ก็เป็นโทษ มันเป็นรูปราคะ อรูปราคะ เขาจะยกเป็น ในระดับ สังโยชน์เบื้องสูง เป็นรูปราคะ อรูปราคะ หรือรูปฌาน อรูปฌานก็ตาม ไปติด เป็นรูปฌาน อรูปฌาน อย่างนั้นก็เป็นโทษ

นี่ก็ขอขยายความเสียให้มันมากๆให้มันชัดๆ ให้มันเยอะๆ ให้มันครบๆ เป็นไปได้ถึง ปานนั้น เป็นนามธรรม ก็ถือว่าไม่ฉลาด ไม่ฉลาดแบบบัณฑิตนะ แต่ไปนึกผิด นึกว่าเรา ฉลาด แต่เป็นแบบพาลแล้ว เป็นภพเป็นชาติ นี่เป็นนัยะที่ละเอียดลึกซึ้งขึ้น เหมือนกัน ซึ่งไม่พอเหมาะพอดี เพราะฉะนั้นคำว่าสัมมาหรือคำว่ามัชฌิมาได้ลงตัว พอเหมาะพอดี ปานกลางนี่ จึงละเอียดลออเหลือเกิน ละเอียดลออมากมายที่เราจะต้องศึกษา เราจะต้อง ทำความเข้าใจ

เสร็จแล้วท่านก็มีคำกำกับลงไปอีกว่า นักปราชญ์ติเตียน พวกพาลนี่จะไม่ฉลาด ไม่ใช่สัตบุรุษ บริหารตนปราศจากคุณสมบัติ เป็นผู้ประกอบด้วยโทษแล้ว นักปราชญ์ ติเตียนอีก อาตมากำลังติเตียนอยู่ ขณะนี้ก็กำลังปราม กำลังติเตียนอยู่ ถ้าเชื่อว่าอาตมา เป็นปราชญ์ แต่ถ้าผู้ที่ไม่รู้นั่นเขาติเตียนไม่เป็นหรอก ไม่เข้าใจ เขาก็ติเตียนไม่เป็น แต่อาตมาติเตียน ส่งเสริมก็ส่งเสริมนะ เจโตสมถะ ไม่ใช่ว่าอาตมาไม่ส่งเสริม เวลาเรา จะไม่ทำอะไร จะหยุดจะพัก ก็ส่งเสริมให้พัก ผู้ที่ทำเกินไป กายกรรม วจีกรรม อะไรก็ตาม ที่ทำมากไป มันเกินแล้ว มันควรจะพัก มันเพียรมากไป เสียสุขภาพร่างกาย ไม่เหมาะ ไม่ควรในประการใดๆ ที่จะต้องมีเหตุมีผลของมันชัดๆ ก็ใช่ เราก็ต้องพัก แต่ถ้าเผื่อว่า มันไม่สมควรดังกล่าวแล้ว มันไม่มีเหตุมีผลอะไรสมควรที่จะต้องพัก เราก็ต้องเพียร มันต้อง มีปัญญารู้ว่า อะไรควรพักอะไรควรเพียร ต้องมีปัญญารู้ละเอียดลอออย่างนั้น ถ้าไม่เช่นนั้น นักปราชญ์ติเตียนได้ ผู้รู้ติเตียนได้ คนจะติเตียนได้ก็ต้องลึกซึ้ง ก็ต้องรู้ เหตุผล รู้จักเหตุปัจจัยอะไรต่ออะไรครบครัน เพราะเมื่อเวลาไปทำแล้ว ก็ย่อมประสบ กรรม มิใช่บุญเป็นอันมาก ถ้าเผื่อว่ามันไม่ถูกสัดไม่ถูกส่วน มันก็ไม่ใช่บุญ มันก็คือบาป นี่ก็ขยายนัย ของพาลของบัณฑิตซะอีก เมื่อเช้านี้ก็ขยายไปมากแล้ว นี่ก็ขยายอีก ที่มีส่วนเหลือ ที่คิดได้ ตอนนี้คิดว่าควรจะพูดกัน

ทีนี้ใน ขตสูตรที่ ๒ ที่บอกพาลกับบัณฑิตนี้ เป็นพาลและบัณฑิตอยู่ในนัยว่า เพราะปฏิบัติ ต่อคน ๔ จำพวกนี้ อย่างไม่ชอบ ปฏิบัติผิดหรือปฏิบัติไม่ชอบ หรือว่าปฏิบัติถูก ปฏิบัติชอบ คน ๔ จำพวกก็คือ มารดา บิดา พระตถาคต สาวกของพระตถาคต ทีนี้จะขยายให้ฟังอีกว่า บิดามารดาทางรูปธรรมเราเข้าใจง่ายๆ ไม่ต้องอาศัยธรรมะของ พระพุทธเจ้าก็รู้ว่า นี่บิดานี่มารดา มารดามี บิดามี ไม่ต้องไปอาศัยพระพุทธเจ้าก็รู้ว่า มารดาบิดาทางสายเลือด เราจะต้องปฏิบัติต่อบิดามารดาอย่างนั้น

อย่างไรเรียกว่าปฏิบัติชอบ อย่างไรเรียกว่าปฏิบัติผิด ผู้ปฏิบัติผิด เรียกว่าพาล ผู้ปฏิบัติถูก เรียกว่าบัณฑิต เพราะฉะนั้น ผู้ช่วยพ่อช่วยแม่ตามสายเลือดแบบนั้น อย่างที่กล่าวนี้ ถูกต้อง สมเหมาะ สมควร ก็เป็นบัณฑิตได้ ทีนี้ตถาคตกับสาวกตถาคต อีกสองคนนี่ ก็คือพ่อ และแม่อีก ฟังให้ชัดขึ้น พระพุทธเจ้าเป็นพ่อ พระสาวกนี่เป็นแม่ อย่างพระพุทธเจ้า ท่านตรัสว่า สารีบุตร โมคคัลลานี่เป็นแม่ ท่านยกตัวอย่างนะ ท่านบอก เราก็คง เคยได้ยิน

พระสารีบุตรเป็นแม่เลี้ยง พระโมคคัลลาเป็นแม่นม

ใครที่ศึกษามาจริงๆ ก็คงจะเคยได้ยินได้ฟัง รู้มาแล้ว ไม่ใช่สมมุติธรรมดานะ จริงๆ แล้วเป็น ปรมัตถ์เลยนะ พระพุทธเจ้านี่เป็นพ่อโดยปรมัตถ์ โดยจิตเจตสิก พระโมคคัลลา พระสารีบุตร เป็นแม่โดยปรมัตถ์ทีเดียว โดยจิตเจตสิกเลย ฟังให้ดี

นี่เราจะเข้าใจคำว่าพ่อว่าแม่ ลึกซึ้งไปอีกถึงในระดับสัตตา โอปปาติกา ถึงในระดับ จิตวิญญาณ สัตว์ระดับจิตวิญญาณเลย เป็นพ่อเป็นแม่จริงๆทีนี้ เราก็ย่อมต้องปฏิบัติตน กับพ่อกับแม่ในระดับจิตวิญญาณนี้จริงๆ ด้วย ปฏิบัติถูกคืออย่าง ไร ปฏิบัติผิดคืออย่างไร ปฏิบัติถูกปฏิบัติผิด ท่านก็ว่ามาในตอนต้นแล้ว ในขตสูตรที่ ๑ ย้อนเข้าไปในขตสูตรที่ ๑

ขตสูตรที่ ๑ ท่านบอกว่าไม่ใคร่ครวญสืบสวนให้รอบคอบ แล้วกล่าวสรรเสริญคุณของ ผู้ไม่ควรสรรเสริญ พระพุทธเจ้าควรสรรเสริญพระสาวกของ พระตถาคต สาวกของ พระตถาคตที่มีคุณธรรมจริงๆ มีคุณธรรมสามารถเป็นแม่ สามารถที่จะกล่อมเกลา สร้างจิตวิญญาณของเราให้เกิดใหม่ได้ ก็เป็นผู้ควรสรรเสริญ แต่เราก็ไม่กล่าวสรรเสริญ คุณของผู้ควรสรรเสริญ เราก็ไม่ใคร่ครวญให้รอบคอบ แล้วก็ติเตียน ผู้ที่ควรสรรเสริญ อย่างนี้ก็เป็นพาล แต่ถ้าเราเป็นผู้ที่ใคร่ครวญสอบสวนให้รอบคอบ แล้วกล่าวสรรเสริญ พ่อหรือแม่ หรือคือ พระตถาคต พระพุทธเจ้า หรือแม้แต่สาวกของ พระตถาคต

สาวกของพระตถาคตก็มี ระดับควรสรรเสริญหรือควรนับถือตามฐานะ แล้วก็มีส่วนหนึ่ง ก็คือ เลื่อมใส ในฐานะที่ควรเลื่อมใส หรือฐานะที่ไม่ควรเลื่อมใส ถ้าเรายังความเลื่อมใส ช่วยให้เกิด ความเลื่อมใสในพระตถาคต เลื่อมใสในพระพระสาวกอยู่ เลื่อมใสใน พระตถาคต เรายังให้เลื่อมใส หรือแม้แต่ เอาละ พระตถาคตยกไว้ ต้องน่าเลื่อมใส ต้องควร เลื่อมใสแน่ แต่สาวกของพระตถาคตผู้อยู่ในฐานะ ฐานะนี่คือความตั้งอยู่ ความเป็นจริง ความตั้งอยู่ เรียกว่าสถานภาพ หรือฐานะนี่ก็ดี ตั้งอยู่ในฐานะที่ไม่ควร เลื่อมใส แม้จะมาบวช มาทำทีเป็นภิกษุเป็นลูกศิษย์พระพุทธเจ้า แต่อยู่ในฐานะที่ไม่ ควรเลื่อมใส มีจริงเหมือนกัน นี่ต้องใคร่ครวญสืบสวนให้รอบคอบแล้ว จึงจะชื่อว่า เป็นบัณฑิต หรือพาล เพราะฉะนั้น ความลึกซึ้งเหล่านี้ ไม่ใช่เรื่องที่เราจะเผินๆง่ายๆ ตีขลุมอย่างทุกวันนี้ ศาสนาวงการศาสนา อาตมาขอยกไว้นะ เรื่องแม่เรื่องพ่อ เรื่องมารดา บิดาแบบโลกๆ แบบหยาบๆ หรือแบบว่าเนื้อหนังมังสาแบบรูปธรรม ที่พ่อแม่ที่คลอด ออกมาน่ะ ยกไว้ก่อน เพราะนั่นก็เข้าใจง่ายอยู่แล้วละ เราจะอะไรก็อธิบายไปแล้ว เมื่อวานนี้ ว่าจะต้องไปทำถึงขนาดไหน จะช่วยเลี้ยงช่วยดูขนาดไหน อะไรก็อธิบายไปแล้ว

ทีนี้ขอกล่าว นัยที่ลึกซึ้งอันนี้ ซับซ้อนอันนี้ก่อน ลูกศิษย์พระตถาคต สาวกพระตถาคต ที่ไม่อยู่ในฐานะที่น่าเลื่อมใส ไม่ควรสรรเสริญ มีอยู่ เพราะฉะนั้น ถ้าผู้ใดได้ใคร่ครวญ สืบสวน ให้รอบคอบแล้ว ทำให้ถูกตรง ผู้ที่ไม่อยู่ในฐานะควรสรรเสริญ ไม่อยู่ในฐานะ ควรเลื่อมใส หรือว่าไม่ควรสรรเสริญ เราก็อย่าไปสรรเสริญ และก็ไม่ควรเลื่อมใส ต้องให้ จริงให้ชัด บุคคลที่ควรเลื่อมใส เราก็เลื่อมใส อย่างอาตมาเลื่อมใสท่านพุทธทาส แล้วก็ สรรเสริญ ท่านพุทธทาสอยู่ ติอาตมาก็ติในส่วนที่ควรติ ที่จริงเลื่อมใสท่านพระเทพเวที ท่านประยุทธ์ ปยุตโต อาตมาก็เลื่อมใสนะ ในส่วนที่ควรเลื่อมใสท่าน สรรเสริญอาตมาก็ สรรเสริญท่านอยู่ หรือแม้ขณะนี้อาตมาก็พูดนี่ก็รู้แล้วว่าควร ก็อยู่นัยกำลังสรรเสริญ ที่กำลังกล่าวนี่ ก็คือสรรเสริญท่านอยู่ในส่วนที่ท่านควร ที่ท่านมีจริง อาตมาก็มองเห็นนะ สรรเสริญ ควรสรรเสริญ เราต้องไตร่ตรองใคร่ครวญสืบสวนให้รอบคอบ แล้วก็สรรเสริญ กล่าวสรรเสริญ หรือว่าเราจะทำให้เลื่อมใส ยังความเลื่อมใส ต้องช่วยกัน ผู้ที่ควร ยังความเลื่อมใส ก็ต้องให้เลื่อมใสผู้ที่น่าเลื่อมใส ผู้อยู่ในฐานะที่ควรเลื่อมใส ผู้ที่ไม่อยู่ ในฐานะที่ควรเลื่อมใส อย่าไปยังให้เกิดความเลื่อมใสเลย

นี่ลึกซึ้ง จะทำอย่างไรละ ยังให้เกิด จะโดยการแนะนำ จะโดยการกล่าวถึง จะโดยการ ทำท่าทีลีลา แม้แต่รูปแบบ ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่นว่า คนนี้นี่ไม่ไหว้ เจอกัน ก็ไม่กราบ นี่ไม่พูดนะ แต่ใช้กิริยา ควรกราบก็ไม่กราบละ ควรไหว้ก็ไม่ไหว้ละ อย่างนี้เป็นต้น ก็แสดงกิริยาที่ไม่ยังความเลื่อมใส เราเห็นว่า ไม่ควรกราบเราก็ไม่กราบ นี่ก็ยังแล้ว เกิดยังความไม่เลื่อมใส กระทำกายกรรมไม่ส่งเสริมให้เกิดเลื่อมใส อย่างนี้เป็นต้น นี่ยกตัวอย่างง่ายๆ

คนฟัง (ถามเสียงไม่ชัด) ....

พ่อท่าน หะเรกฤษณะ มาสอนนักบวชเรา แล้วนักบวช เราก็เรียนกับ หะเรกฤษณะ เรียนหรือคุย

คนฟัง (ไม่ชัด) ....

พ่อท่าน เรียนก็ให้รู้ว่าเรียน แต่ถ้าคุยก็ให้รู้ว่าคุย คุยไม่เป็นไร แต่เรียนกับหะเรกฤษณะนี่ โดยวิธีการ การสอนเลยนะ ให้สอน มันก็อยู่ในฐานะรูปแบบที่สอนนะ เพราะฉะนั้น เราจะไปเป็นลูกศิษย์ หรือเหมือนกับที่อาตมาไม่อนุญาต หรือว่าไม่ส่งเสริม ให้พวกเรา ที่อยู่ในฐานะ แม้แต่สิกขมาตุ ไปเรียนกับฆราวาสที่เขาจะสอน ก็ไม่ให้เรียนนะ มันเสีย ธรรม มันดูแล้ว มันยังความไม่เลื่อมใส หรือว่ามันข่ม มันไม่น่าเลื่อมใส เราอยู่ในฐานะ ที่น่าเลื่อมใสหรือไม่

อาตมาว่าอยู่ในฐานะที่น่าเลื่อมใส แล้วก็ให้ผู้ที่ยังไม่อยู่ในฐานะที่น่าเลื่อมใส มาสอน ผู้ที่อยู่ในฐานะที่น่าเลื่อมใส มันผิดฐานะ เพราะฉะนั้น การยังให้ไม่ให้เสียธรรมนี่มัน ซับซ้อนอยู่ ทุกวันนี้นี่ยังเถียงกันอยู่นี่ ควรจะให้พระไปเรียนนิติศาสตร์ ไปเรียนรัฐศาสตร์ ไปเรียนอะไรศาสตร์ๆ ที่ในมหาวิทยาลัยหรือไม่ แค่ใด นี่เถียงกันอยู่นี่ทุกวันนี้ ก็เพราะว่า ไม่เข้าใจสิ่งเหล่านี้ แล้วก็ไม่รู้เขาจะเรียนไปทำไมกันนักกันหนา เรียนโดยไม่ต้องไปให้ ฆราวาส สอนได้มั้ย มีทางมั้ย ถ้าจะเรียนโดยเอาตำรามาเรียนเอง ประพฤติปฏิบัติเอง แล้วเราพยายามที่จะไม่ให้ต้องเกิดรูป ไม่ให้เกิดกิริยา ไม่ให้เกิดสิ่งที่มันเห็น มันสัมผัสแล้ว คนอื่นเขาท้วงได้ ติงได้ ว่าได้ หรือว่ารู้สึก ยึดถือได้ ถือสาได้ อะไรก็แล้วแต่ นี่มันมีนัย ละเอียดลออ ขึ้นไปอย่างนี้อีกด้วยนะ มันไม่ใช่เรื่องเล็กๆ เล่นๆ นะ

อาตมาว่าอาตมาพูดไปแล้วนี่หลายๆ เหลี่ยม หลายๆ มุมนี่ ก็คงจะฟังออกว่า มันละเอียด ลออ อาตมามีความละเอียดลออที่พูดไม่ออก บรรยายไม่ออกก็มีอยู่ ไอ้ที่พูดให้ฟังนี่ ก็ขนาดนี้แล้ว อาตมาว่าฟังๆ ดูก็คงจะเห็นว่าอาตมานี่มันละเอียดเกินไป จนจะละเลียด แล้วมั้ง ที่อาตมาพูดนี่ อาตมาพูดนี่อาตมาขอยืนยันว่ายังนะ ยังละเอียดกว่านี้มีอีก ที่มันพูด ยังไม่รู้จะเอาภาษาอะไรมาพูดให้ฟัง ฟังไปเรื่อยๆ แล้วคุณจะรู้ว่า อาตมาละเลียด หรือละเอียด เสียจนมันละเอียดจริงๆ ธรรมะของพระพุทธเจ้านี่ คัมภีรา ลึกซึ้ง เห็นตาม ได้ยาก รู้ตามได้ยากจริงๆ ทุทฺทสา ทุรนุโพธา จริงๆ ลึกซึ้งจริงๆ เท่าที่เราจะพอฟังได้นะ พอจะเข้าใจกันได้ พอได้มีโอกาสจะพูดกันได้

มีถามแทรกมาว่า ขี้เกียจเป็นอัตตา ช่วยขยายหน่อย เอาละก็ยังไม่เข้าใจ จนกระทั่งว่า มันเป็นอัตตา ขี้เกียจนี่เป็นอัตตา แล้วเป็นชนิด อัตตาอกุศล ด้วย อัตตากุศลก็มี อรหัตตา เป็นต้น ยังเป็นตัวเป็นตน อยู่ที่เราเอง เห็นเป็นสมมุติสัจจะ สมมุติสัจจะ นี่เป็นตัวเป็นตน เราไม่ได้ติดยึดแล้ว เป็นตัวเป็นตนที่ไม่ได้ติดยึด แต่คนที่ ยังไม่รู้ ติดยึดแม้กระทั่งว่า อารมณ์นิพพาน ได้อารมณ์นิพพาน แล้วเราก็หลงสำคัญ มั่นหมายในพิพพาน ติดยึดใน นิพพาน มันก็เป็นอัตตา เป็นตัวตน และถ้าหลงติดยึดอยู่ เป็น อกุศลด้วย แต่เราไม่ได้หลง มันเป็นอัตตา ไม่ได้หลงมันเป็นสิ่งที่เราเป็นตัวเป็นตน เป็นของตัวของตนอยู่ ได้อารมณ์ นิพพานแล้ว เราอาศัยอารมณ์นิพพาน อารมณ์สุญญตา เป็นเพียงวิหารธรรม เป็นเพียง เครื่องอาศัยอยู่ ไม่ใช่ตัวตน มีความรู้สึก ทำความรู้สึก อย่างนั้นจริงๆ เลยว่า มันไม่ได้ยึด ได้ติดจริงๆ คุณจะต้องเข้าใจเลยว่า ยึดติดคืออะไร ถ้ายึด ถ้าถือเป็นตัวเป็นตนของตน ติดยึด พรากกันไม่ได้ จากกันไม่ได้ ยังจะเอาอยู่ ไปไหน ก็ต้อง ไปด้วยกัน ไม่มีแตกสลาย จากกัน อันนั้นเรียกว่า อัตตา เรียกว่าติด เรียกว่ายึด

ถ้าเรารู้ว่า มันเป็นแค่วิหารธรรม เป็นแค่วิหาร เป็นแค่เครื่องอาศัย เราแค่อาศัย เรายังไม่ตาย เราต้องอาศัยวิหารธรรม เราต้องอาศัยสุญญตวิหาร เราต้องอาศัยนิพพาน อาศัยวิมุติ อาศัยเมตตา อาศัยเพื่อยังกรรม อาศัยเพื่อยังกิจ อาศัยเพื่อยังการกระทำ ให้เกิด แล้วก็จะเป็นกรรมที่ดีเป็นกุศลกรรมไปเท่านั้น นี่คือเป็นอัตตาที่ยังอาศัย และ ไม่ได้เป็นอัตตาที่อกุศลด้วย

แต่ถ้าอาศัยขี้เกียจ เอ้า ทีนี้ฟังชัดๆ อาการขี้เกียจเป็นอย่างไร คุณเข้าใจมั้ย ถ้าคุณ เข้าใจ ขี้เกียจนี้ก็เป็นอัตตา และเป็นอัตตาอกุศลด้วย เข้าใจรึยังละทีนี้ เป็นตัวตนที่ อกุศลด้วย ยิ่งไม่รู้ว่า เราขี้เกียจ อ่านตัวเองให้มาก โอ้โฮ มันลึกซึ้งนะไอ้ตัวขี้เกียจนี่ก็เหลือเกิน เหลือใช้ จริงๆ กว่าจะรู้ตัวมันได้ง่ายๆ ขี้เกียจ โอ้ มันอาศัย เหมือนกับเราเสพเราติดอยู่เลยว่า เออ อยู่ว่างๆ อยู่เฉยๆ นี่แหละ นั่นคือความอยู่เฉยๆ ก็อธิบายเป็นภาษาเท่านั้น จริงๆ แล้วขยัน กว่านั้น ทำงานกว่านั้น บัดนี้ เวลากำลังล่วงไปล่วงไป กายกรรม วจีกรรมที่ดีกว่านี้ยังมีอีก ถามตัวเองได้มั้ย ถ้าอยู่เฉยๆ กับไปทำอะไรนี่เป็นคุณค่าเป็นประโยชน์ เป็นสิ่งที่ดีขึ้นน่ะ มันมีมั้ย มันควรกว่ามั้ย หรือว่าต้องอยู่เฉยๆ เพราะว่าเราพักไม่พอ เพราะว่าเราป่วย เพราะว่า มันสมควรจะพักจริงๆ นะหรือ

ถ้าผู้ที่อยู่เฉยๆ โดยไม่คำนึงหรือไม่สำนึก หรือไม่พยายามพิจารณาไตร่ตรอง อย่างที่ อาตมา กล่าวนี้นี่แหละ ผู้นั้นก็ปล่อยไป โดยที่ปล่อยให้มันเป็นตัวอัตตาสั่งสม แล้วมัน จะชิน คนเรายิ่งชินอยู่เฉยๆ ชินอยู่ว่างๆ ชินอยู่เปล่าๆ ยิ่งซักซ้อมให้มันเคยตัว เคยตัวมากๆ มันติดนะ เพราะฉะนั้น ถ้าเราสลัดคืนกลับ ไม่พยายามทำอย่างนั้น มันจะกลายเป็น ความกระปรี้กระเปร่า ซึ่งอาตมาก็เคย ยกตัวอย่างให้ฟังแล้ว คนญี่ปุ่นนี่มันขยัน ขยันจน มันอยู่นิ่งๆ ไม่ได้ คนญี่ปุ่นนี่ ก็เพราะว่าซักซ้อมแล้ว มันเป็นวัฒนธรรม มันทำกันทั่วบ้าน ทั่วเมือง มันก็เลยเป็นนิสัยกันแบบนั้นไปหมด ดี ที่จริงมันดี

ทีนี้คนอยู่เฉยแล้วยิ่งมีแนวโน้มของจิต มีทิฏฐิจนกลายเป็นอุปาทาน มีทิฏฐิ ความเห็น เห็นจนกระทั่งติดยึด อันนี้ยกตัวอย่างชาวต่างประเทศก็ได้ อย่างชาวอินเดีย เป็นต้น ชาวอินเดีย มีลัทธิฤาษี มีลัทธินั่งอยู่เฉยๆ ทิฏฐิความเห็นว่าการเฉยๆ นี่ไม่เสียหาย ไม่ได้มีความเห็นว่า การอยู่เฉยๆ นี่ไม่เสียหาย กลับไปเห็นว่าการอยู่เฉยๆ ไม่ต้องทำอะไร เลยเนี่ย นั่งหลับหูหลับตานิ่งอยู่นั่นแหละ คือความสงบ คือนิพพาน คือ ความรอดพ้นจาก โลกียะ สะกดจิตลงไปเลย ลัทธิแบบนี้ในอินเดียมีเยอะ ชาวอินเดียนี่นะไปล่าลาภ ล่ายศ เป็นพวกฤาษีนี่ไปล่าลาภ ล่ายศ อยู่ที่อเมริกากัน ไปเป็นอาจารย์สอนนั่งสมาธิ สอนนั่งหลับ นั่งสมาธิ

ชาวอเมริกาก็เคยขยันมา เคยไม่ค่อยหยุดค่อยหย่อน มันเห็นทุกข์ มันเหน็ดเหนื่อยมา ก็เลยชอบหยุด ถ้าชาวอินเดีย ไปล่าลาภยศที่ญี่ปุ่นนะ จะรวยกว่า ไปล่าที่อเมริกา เพราะญี่ปุ่น มันก็หาทางออกไม่ได้ ญี่ปุ่นมันก็ยังไม่มีทางพวกนี้ แต่ที่จริง มันก็มีศาสนา แบบนั่งหลับตา หรือสมาธิแบบนี้ แบบเอเชียเรานี่ ทางตะวันตก หรือ อเมริกานี่ เขาไม่ค่อย จะเก่ง แต่ทางเอเชียนี่เก่ง เพราะฉะนั้น ญี่ปุ่นก็มีบ้าง อินเดียถึงไม่ค่อยไปหากินทางญี่ปุ่น เพราะก็รู้ ว่าเอเชียมันมี ไอ้พวกนี้ ก็เลยข้ามไปหากินทางยุโรปทางอเมริกา ชาวอินเดีย ก็เลย ไปเป็นอาจารย์ใหญ่ทางโน้น ร่ำรวยกันเยอะ อย่างมหาลิชชีอะไรนั่น ที่ถูกขับออก มาจากอเมริกา แล้วก็มีเครื่องบินส่วนตัว มีรถโรลสรอยถึง ๙๖ คันนั่น เอาไปอยู่ ญี่ปุ่นนี่ ก็จะรวยเหมือนกัน เพราะว่าญี่ปุ่นนี่มันไม่หยุดนะ มันหมาหอบแดด มันไม่รู้จักหยุด มันก็เลย ต้องหาทางพัก ทีนี้หาทางพักไม่ได้ มันก็เลยให้ยาเสพติด ยากล่อม ยาหลับ มันก็เลยกินเหล้าเก่ง พวกญี่ปุ่นนี่กินเหล้ากินยาเสพติด กินอะไรเยอะ เกิด แก๊งยากูซ่า ยาทำไอ้เครื่องยาเสพติดอะไรนี่เยอะ เพราะมันเป็นจริง ของมนุษย์ในสังคมมนุษย์ ที่มันมีอันหนึ่ง แล้วมันก็ต้องมีอีกอันหนึ่งมาถ่วง มันก็เป็นอย่างนั้นน่ะ

นี่ก็ขยายความไปก็เลยแวะละเอียดลอออะไรไป สรุปแล้วที่ถามว่า ขี้เกียจเป็นอัตตา ฟังเข้าใจรึยัง ว่ามันเป็นอัตตา อัตตานี่ไม่ใช่ความหมายตื้นๆ นะ ลึกซึ้ง เพราะฉะนั้น ขี้เกียจยังเข้าใจไม่ได้ว่าเป็นอัตตานี่ ก็เลยจะต้องละอัตตา ก็ต้องละ แล้วมันเป็นอกุศล ด้วยซ้ำไป อัตตา ไม่ใช่อัตตาอย่างกุศลเสียด้วยซ้ำ อัตตาในระดับอกุศลเสียด้วยซ้ำ ขี้เกียจน่ะ เข้าใจอาการของขี้เกียจได้มั้ยละ เอ้า หยาบๆรู้ไปก่อน แม้แต่ละเอียด อย่างที่ กำลังอธิบายนี่ว่า แม้แต่เราอยู่นิ่งโดยที่ไม่สมควร ก็เป็นการขี้เกียจที่ต้องอ่านอาการใจเรา ให้ดี แม้แต่อยู่นิ่งหรืออยู่เฉยๆ อยู่ ว่างๆ เปล่าๆ ดายๆ ลอยชาย ดูดายเฉยๆ ว่างเปล่า โดยไม่สมควร นั่นก็คือขี้เกียจ คือมันชอบหยุดอยู่ ชอบหยุดอยู่ ตามที่พระพุทธเจ้าท่านตรัส ฐิติ นี่แหละ ท่านไม่ชอบฐิติ อยู่เฉยหรืออยู่เท่าเดิม อยู่อย่างนั้นน่ะ ไม่เคลื่อนไม่อะไร เจริญขึ้น เพราะฉะนั้น ลักษณะที่ละเอียดลออพวกนี้ก็ศึกษาไปดีๆ เรารู้ได้เท่าไหร่ก็เอา ยังไม่เข้าใจ ก็ถามก็ดีแล้ว เพราะฉะนั้นสรุปแล้ว ถ้าเข้าใจดังที่อาตมาอธิบายนี่ คนเรา ถึงอยู่ด้วยกรรมกิริยา ตื่นคือตื่น หลับคือหลับ เพราะหลับก็คือไม่ทำอะไร พัก นอกจาก ไม่หลับแล้ว มันควรพักก็คือป่วย เจ็บ หรือเวลาจะควรผ่อน ควรพักผ่อน หย่อนลงบ้าง ไม่ต้อง ไปรีบเร่ง ไม่ต้องไปทำอย่างแรงๆ เร็วๆ หนักๆ อะไรมาก ผ่อนลงมาอะไรนี้ มันก็มีระยะ มีขนาด มีอะไรของมันอีกเหมือนกัน จึงเรียกในภาษาไทยว่า พักผ่อน แต่ไม่ใช่ถึงพักทีเดียว พักหยุดก็คือพักหยุด พักผ่อนก็คือพักผ่อนนะ ฉะนั้น ถ้าเราเข้าใจ แม้แต่กายกรรม วจีกรรมแล้ว เราจะเข้าใจไปถึงมโนกรรม ว่าแม้แต่ มโนกรรม ถ้าผู้ที่ฝึก จิตที่ดีแล้ว จิตเราจะให้พักผ่อน พักผ่อนหมายความว่า ไม่ได้ดับสนิท ไม่ได้หยุดจิตเลย ไม่ได้ระงับเลยนะ ไม่ทำอะไร จิตหยุดอยู่ในแบบอสัญญี คือจิตอยู่ในแบบ ไม่กำหนดรู้ อะไรเลย ดับเป็น อสัญญีสัตว์ ไม่กำหนดให้สัญญาทำงานอะไรเลย นั่นก็เรียกว่า ดับสนิท

พักถ้าสมควรจะพัก เราจะกำหนดได้ คนที่ฝึกจิดที่ดีแล้วกำหนดได้ พักอย่างอสัญญี ถ้าคนที่ไม่ฝึกซ้อม คนที่ได้แต่คิดๆๆไม่ฝึกอสัญญี ไม่ฝึกจิตดับอย่างนั้น ก็ได้แต่คิดๆ แม้โลกุตรจิต ไม่มีเจโตสมถะในระดับอสัญญีก็ได้ด้วย ได้ เพราะฉะนั้น พระอรหันต์เจ้า ที่ทำอสัญญีสัตว์ไม่เป็นเลย ไม่ใช่ความผิด พระอรหันต์เจ้าที่มีโลกุตรจิต จิตไม่สัญญาอะไรเลยนี่ไม่ได้ ต้องสัญญากำหนด แต่สัญญาของท่าน จะเป็นสัญญา ที่เป็น มโนสัญเจตนาที่เป็นกุศล แล้วก็ฝึกคิดฝึกปรุง แม้จะนอนหลับ จิตก็จะทำงาน มีนิมิต มีการปรุง มีสังขารที่เป็น วิสังขาร หรือเป็นปุญญาภิสังขาร เป็นสังขารที่ปรุง ทำงานตามที่ตัวเองชิน ตัวเองตั้งโจทย์ไว้ให้ ตัวเองตั้งข้อมูล กฎข้อมูลไว้ให้ เป็นเครื่อง คอมพิวเตอร์ ที่ทำงานอยู่จริงๆ เลย จิตที่ไม่ได้ฝึกอสัญญีก็จะทำงาน แต่เมื่อรู้กุศล ระงับ อกุศลได้หมด เพราะฉะนั้น สิ่งที่ปรุงแต่งจึงไม่ใช่อกุศล สิ่งที่ปรุงแต่งในจิตจึงเป็นกุศล เท่านั้น อย่างนี้ก็มีได้ เพราะฉะนั้น อย่างนั้นก็ไม่พักถึงขนาดพักดับสนิท เป็นอรหันต์ได้ ด้วย พระอรหันต์อย่างนั้นก็มีด้วย เพราะฉะนั้น

พระอรหันต์อย่างนี้นอนหลับ แล้วคนไม่เข้าใจ เขาจะบอกว่า พระอรหันต์นอนหลับก็ จะต้อง ไม่มีฝัน ที่จริง ก็เรียก ฝันก็ได้ แต่เขาไม่เรียกฝันกัน เขาเรียกนิมิต เป็นนิมิตอย่าง เทวะ หรือนิมิตอย่าง เทพนิมิต พระอรหันต์เจ้าก็เทพนิมิต คือ สังขารธรรมที่ปรุงอยู่ อย่างนี้แหละ มีกุศลธรรมปรุง เมื่อพระพุทธเจ้าท่านสอนเทวดา นั่นล่ะคือ สภาพจิตที่ ไม่ได้อสัญญี ไม่ใช่อสัญญี พระพุทธเจ้าสอนเทวดา คุณจะเข้าใจ เป็นรูปธรรม ยังไงก็ตามใจเถอะ แม้ไม่เข้าใจเป็นรูปธรรม ถ้าเข้าใจเป็นนามธรรมได้ก็ยิ่งดี พระพุทธเจ้า สอนเทวดา ก็คือจิตทำงาน จิตมีนิมิต จิตมีเรื่องมีราว คุณจะเข้าใจนิมิตนั้น หรือ คุณก็จะ เข้าใจว่าทำงานนั้น เทวดาเป็นตัวเป็นตนคนอื่นก็ตามใจ ก็ไม่เป็นไร เทวดาของตัวเอง ก็ตามใจนะ ก็ได้ ซึ่งมีได้ทั้ง ๒ ด้านแหละ ถ้าเผื่อว่า เราเก่งจริง ก็ออกไปรู้อะไร ออกไปมีอะไรหมายๆ อะไร มันก็เรื่องของไอ้นั่นไปอีก นะ

มีแทรกซ้อนขึ้นมาอีก ถามขึ้นมาอีกว่า อยู่เฉยไม่ได้ทำอะไรแล้ว เล่นโยคะ เป็นการขี้เกียจ หรือเปล่า?

คนบางคนนี่อย่างว่าละ มันอยู่เฉยๆ ไม่ได้ อยู่เฉยไม่ได้จริงๆ ถ้าอยู่เฉยเมื่อไหร่หลับ เพราะฉะนั้น มันจะไม่หลับก็ต้องทำโน่นทำนี่ ก็ทำไปซิ ทีนี้อยู่เฉยไม่ได้ ไม่หลับ แล้วทีนี้ก็เลยไปทำโยคะ ตอนนี้มันควรจะพักผ่อน ก็เลยถือเป็นออกกำลัง ทำโยคะก็ได้ ถ้าเจตนาก็ ทำโยคะได้ หมายความว่า เราจะออกกำลังส่วนนั้นส่วนนี้ สรีระให้มันได้ เคลื่อนไหว หรือให้มันได้ออกกำลังให้ถูก สัดส่วน ของมัน มันก็ดี วิธีโยคะเขาก็เรียนรู้อันนี้ จะให้ส่วนนั้นส่วนนี้ เป็นอย่างนั้น เป็นอย่างนี้ อะไรเขาก็บอกไว้ทั้งนั้นน่ะ ก็เอา ถ้าสมควร ก็ทำ มันก็ทำ ให้มันตรงเลย โยคะก็คือ ทำให้มันตรงส่วนนั้นส่วนนี้ ที่เราจะได้ออก กำลังกาย หรือทำให้มันเกิด ประโยชน์ คุณค่าต่อสรีระเราอย่างไร ๆ ก็ทำกันไป แต่ถ้าไม่ทำ อย่างนั้น จะไปทำงาน มันก็เป็นการได้ออกกำลังกาย เหมือนกันกับโยคะนั่นแหละ ถ้าเราไปทำงานที่ฉลาด เรารู้ว่า เราจะไปทำงานอย่างไร ที่เหมาะกับตอนนี้ เราควรจะออก กำลังกายแบบไหน หรือ จะโยคะ ให้ออกสัดส่วนไหน เราก็ไปทำงานที่มันมีผลพลอยได้ ด้วยซ้ำ จะไปยกไปแบก ไปทำโน่นทำนี่ ไปทำอะไรต่ออะไรให้เกิดคุณค่า คนนั้นก็ฉลาดยิ่งขึ้น

แทนที่จะออกกำลังกาย หรือว่าไปออกกำลังกายแบบสมัยใหม่ มียกลูกเหล็ก มีใช้สลิง ใช้สปริง ใช้โน่น ใช้นี่ ใช้อะไรก็แล้วแต่ ออกกำลังกายที่ไม่ใช่แบบโยคะ ที่ใช้ดันลม แล้วก็กล้ามเนื้อเกร็ง ทำอะไรต่ออะไร ท่าโน้นท่านี้อะไร เอาสรีระร่างกายเราเท่านั้น ไม่ต้องไปอาศัยวัสดุอื่น ก็ตาม จะออกกำลังกาย มีวัตถุหรือโยคะแบบไม่มีวัตถุก็ตาม

ถ้าคนที่ฉลาด คนที่เข้าใจ ก็ไปทำงาน กับวัตถุที่มันมีการได้ออกกำลังที่จะเกิดผล ตามที่เราต้องการ เราจะไปใช้วัตถุออกกำลังกาย โยคะ ออกกำลังกายที่จะได้เกิด กล้ามเนื้อ แรงดิน น้ำ ลม ไฟ หรือว่า เลือดลมอะไรก็แล้วแต่ หรือว่าเซลล์ประสาทอะไร ก็ตามใจ ถ้าเราไปทำงาน ที่มีผลพลอยได้ อย่างนั้นขึ้นมานั่นน่ะฉลาดกว่า ฉลาดกว่ามา โยคะอยู่เฉยๆ หรือไปเล่นกับลูกเหล็ก ลูกหินอะไรไป ออกกำลังกายด้วยลูกเหล็ก ลูกหิน เฉยๆ ฉลาดกว่า หรือว่า มีประโยชน์กว่า จริงดีกว่านะ มันดีกว่า เพราะฉะนั้น เรื่องเหล่านี้ ก็ลึกๆซึ้งๆ อยู่ แม้ถึงอย่างนั้นบางทีคนเราก็ต้องรู้ว่า เราควรจะทำอะไร แค่ไหน

แม้แต่อาตมาเองบางทีก็ยังต้องออกกำลังกาย ก็เดินมันเฉยๆ เดินออกกำลังกาย อย่างที่เดิน บางทีก็เดินไปไกลๆ เดินออกไปโน่น ไปตรวจตรา ไปโน่นนี่ให้มีผลพลอยได้ ขึ้นมาบ้าง ควรดูอันนั้น หยิบอันนี้ไปบ้างก็ไม่ได้ ยกทีเดียว บางทีก็ยกนั่นยกนี่บ้าง เจตนา จะยกจะแบก จะอะไรก็ทำ เพื่อให้มันได้ออกกำลังกายก็ได้ มันก็เป็นประโยชน์แก่ตน และก็เป็นประโยชน์ ที่มีผลพลอยได้ดีอีกด้วย ใครจะฉลาดแค่ไหน ใครจะทำได้ดีแค่ไหน ก็ดี นี่ก็ลึกซึ้งขึ้นไปนะ

ก็อธิบายอะไรต่ออะไรเพิ่มเติมขึ้นไปอีกมากนะมันซักแทรกขึ้นมาก็ดี พวกเรานี้เข้าใจอะไร รอบๆ เข้าใจอะไรครบๆ ก็ดี เราอธิบายในลักษณะที่มาอธิบายย้อนนี่ มันอธิบาย ในสภาพที่ว่า มันเกิดคุณ ประกอบไปด้วยคุณ บริหารหรือว่าประกอบเกิดคุณค่า มันเลย อันนั้นไปแล้ว แล้วก็ย้อนมาอธิบายใหม่ ตอนนี้เราไปอธิบายถึงว่า ผู้ควรเลื่อมใส หรือ ไม่ควรเลื่อมใส อยู่ในฐานะอันควรเลื่อมใส หรือ ฐานะอันไม่ควรเลื่อมใส หรือว่าเรากล่าว สรรเสริญคุณของผู้ไม่ควรสรรเสริญ หรือ ว่ากล่าวสรรเสริญคุณผู้ควรสรรเสริญ เราไปถึง ตอนนั้นแล้ว อันนี้มาซักแทรกเสีย ก็กลับไปตรงนั้น

พระพุทธเจ้าเป็นพ่อ สาวกของพระตถาคตเป็นแม่ เราก็รู้แม่รู้พ่อ ในระดับสัมมาทิฏฐิ ให้สูงขึ้น พ้นมิจฉาทิฏฐิให้สูงขึ้น และเป็นเรื่องพ่อเรื่องแม่ที่จริง ระดับปรมัตถ์ทีเดียว เป็นการให้กำเนิดทางจิตวิญญาณ เราเรียนมาขนาดนี้ อาตมาคิดว่าพวกเราคงฟังรู้ ฟังเข้าใจ และเห็นจริงได้ คนที่เรียนตามๆ มาเป็นลำดับดี จริงๆ ถ้าไปพูดกับคนใหม่ๆ ข้างนอกๆ ที่เขาไม่เคยได้ยินได้ฟังแบบนี้ อาตมาว่า อะไร พระพุทธเจ้าเป็นพ่อ พระสาวก เป็นแม่ ก็พระโมคคัลลา พระสารีบุตรเป็นผู้ชายแล้วไปเป็นแม่ได้ยังไง เขาก็งง แล้วเขาก็ฟัง อีกอย่างหนึ่ง เขาบอกว่า เออ ได้ สมมุติ สมมุติว่าพระพุทธเจ้าเป็นพ่อ พระโมคคัลลาพระสารีบุตรเป็นแม่ สมมุติ เขาก็ฟังเป็นสมมุติ แต่เป็นปรมัตถ์จริงๆ เขาเข้าใจได้มั้ย ไม่ใช่สมมุตินะ เป็นพ่อ แม่ทางปรมัตถ์จริงๆ เลยนะ

เชื้อพระพุทธเจ้า ยังตามมาถึงขณะนี้ เชื้อทางวิญญาณ นะ พระโมคคัลลานะก็เอาละ แล้วไป พระโมคคัลลานะ พระสารีบุตรไม่มีแล้ว แต่ มีสาวกพระตถาคต สาวกพระพุทธเจ้า มาจนถึงเดี๋ยวนี้ มีคุณธรรมเหมือนพระสารีบุตร มีคุณธรรมเหมือนพระโมคคัลลา มีคุณธรรม เหมือนพระอริยเจ้าองค์อื่นๆ ที่สามารถนำมาทำให้เราเกิด อธิบายศีล อธิบาย สมาธิ อธิบายปัญญา หรือสื่อ หรือเติมเชื้อ เติมอาหาร มีทั้งอาหาร มีทั้งเชื้อให้แก่เรา แล้วก็ทำให้เราก่อเกิด จะเรียกว่า อาหาร จะเรียกว่ายา ยารักษา ทำให้เราหายจาก สิ่งที่ ไม่ดีทางจิต อาหารบำรุง ให้เราเจริญทางจิต เปลี่ยนแปลงชีวิตของเราทางจิต เปลี่ยนจิต ของเราให้เป็น จิตชนิดใหม่ โดยให้อาหารหรือให้ยา แม่หรือพระสาวก สาวกพระตถาคต เป็นแม่ นี่แหละ คอยประคบประหงมเลี้ยงดู ให้ศีล สอนศีล สอนสมาธิ พาทำสมาธิ พาปฏิบัติศีล ให้เกิดปัญญาทางปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ ให้มีปัญญาซ้อน ให้เราได้เกิดจริงๆ มีปัญญา มีวิมุติจริงๆ มีญาณ มีปัญญาแจ้งในวิมุติ เข้าใจว่าวิมุติเป็นอย่างไร ละโลภ โกรธ หลงออกได้อย่างไร จิตเกิดจริงๆ ว่า จิตมันละ ฆ่ากิเลสโลภ ฆ่ากิเลสโกรธ กิเลสหลง ออกได้จริงๆ

จนกระทั่งเป็นรอบๆๆๆๆ เจริญขึ้นเป็นโสดา สกิทา อนาคา อรหันต์จริงๆ อย่างนี้แหละ เป็นพ่อ เป็นแม่ในระดับปรมัตถ์ ที่เราเองเราจะต้องปฏิบัติต่อคน ๔ จำพวก แม่พ่อเป็น ทางโลก แม่พ่อที่เป็นทางธรรม และเราก็เข้าใจแม่หรือพ่อที่เป็นทางธรรมเพิ่มขึ้น จนกระทั่ง ขณะนี้ได้ เราต้องปฏิบัติสืบทอดต่อไปนะ เราเข้าใจอย่างที่ว่านี้ เราก็จะเป็นลูกศิษย์ พระพุทธเจ้าที่สืบทอด แม้แต่สืบทอดการเกิดเป็นพระอริยะในโลก ถ้าคุณเข้าใจดี มาปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ โลกไม่ว่าง จากพระอรหันต์ สืบทอดไปได้อยู่ มีเนื้อแท้อันนี้อยู่ มีปรมัตถธรรมอันนี้อยู่

อาตมาเองอาตมาว่าพวกเรานี้ ได้เป็นได้มี หรือว่าได้เกิดทางจิตวิญญาณ ยังเกิดได้อยู่ แล้วเราก็จะสืบทอดเป็นสาวกของพระตถาคต คนที่จะมาปฏิบัติกับเรา มีทั้งพาล มีทั้ง บัณฑิต จริงๆ เพราะฉะนั้น ผู้ที่เขาเป็นพาลเขาไม่รู้จริงๆ เราก็ต้องอโหสิ หรือว่า เราก็ต้อง เข้าใจความจริงให้ได้ว่าไปบังคับคนให้ฉลาด ไปบังคับคนให้รู้ มันบังคับ ไม่ได้หรอก ถ้าเขาจะรู้เขาก็ต้องรู้ของเขาเอง ธาตรู้ของเขานี่มันพาให้รู้ ถ้าธาตุรู้ของเขา มันไม่รู้ แล้วไปบีบบังคับให้รู้ มันไม่มีทางรู้ได้หรอก ในโลกมนุษย์ ในจิตวิญญาณมนุษย์ มันไม่มีทางหรอก มันก็ต้องรู้ของเขาเอง เพราะฉะนั้น เขาไม่รู้ ต้องเข้าใจเขาให้ได้

เหมือนอย่าง เมื่อกี้นี้เรายังบ่นๆ กันนี่ เราเอาไอ้ข่าวคราวนี่ บอก โอ๊ย เขาก็ไม่รู้ตัว นี่เขา ก็ยังงงๆ เขาบอกเขาก็งงนะนี่ เขาแปลกใจทำไมนะถูกโจมตี เราไม่กล่าวชื่อ ว่าใคร ถูกโจมตี ที่อ่านข่าวหนังสือพิมพ์ เขาก็แปลกใจว่า ทำไมนะถูกโจมตี เขาซื่อจริงๆ เขาไม่รู้จริงๆ ว่า เอ๊ ทำไม มันไม่น่าจะงง มันไม่น่าจะแปลกใจ มันน่าจะรู้ตัวว่า เอ๊อ เราทำ ออกปานฉะนี้ล่ะ ลักษณะมันเขาเห็นอยู่แล้ว มันเป็นลักษณะพาลแน่นอน ลักษณะ ไม่ดีแน่นอน เขาก็ไม่รู้จริงๆ เขาก็ยังมองเขาไม่ออก ว่าเขาเองบกพร่อง มันบังคับกันไม่ได้ นะ เอา ก็แล้วไป เราก็ต้องให้รู้ว่า เออ เขาบังคับไม่ได้ ไปเอาเป็นเอาตายอะไรกันอีก ก็ไม่ไหว มันควรจะจบ มันควรจะพอ เขาไม่รู้จริงๆ เลย ยิ่งพูดไปยิ่งอะไรต่ออะไรไปนี่ก็ เอ๊อ มันก็ไม่รู้จริงๆ เขาก็เข้าใจว่าเขาดี เขาทำถูกแล้ว ขนาดนี้ดีแล้ว ถูกแล้ว ถ้าไม่ทำขนาดนี้ ไม่ถูก ไม่ดีหรอก แต่ก็มีลักษณะจำนนอยู่หลายด้านหลายอย่าง เรียกว่าจำนนด้วยอะไร ด้วยหลักประชาธิปไตย กระแสของคนหมู่มาก เขาไม่เอาด้วย ก็เลยต้องจำนน เหมือนเรา เหมือนกันนะ

พวกเราก็หมู่น้อย หมู่มากเขาไม่เอากะเรา แต่เขาไม่มาด่าเรามากเกินไป แล้วมันไม่เป็น กระแสที่เหมือนกับกระแสทางการเมือง กระแสทางศาสนานี่ เขาก็เลย พออย่างนั้นน่ะ เราก็พออยู่ได้ ดูๆ แล้วมันคล้ายกันนะ ไม่รู้ว่าเราเป็นพาลหรือเป็นบัณฑิตกันแน่ เพราะว่า เราก็หมู่น้อย แล้วเราก็ว่าเราถูกนะ เราทำอย่างนี้เราก็ว่าเราถูก บางคนก็พูดเหมือนกันว่า ทำไมเขามาด่าเรานี่ บางคนก็บอกว่า ทำไมนะมาด่าพ่อท่าน คุณก็ควรจะเคยรู้สึก บางคนก็คล้ายๆ กันบอก เอ๊ เราก็ว่าเราทำถูกแล้วทำไมมาด่า ทำไมไม่สรรเสริญเรา มาติเตียนเรา มาติเตียนอาตมาอย่างนี้เป็นต้น

ผู้ที่รู้สึกว่าตัวเองภาวะวิสัยอ่อนด้อยอยากมีภาวะวิสัยที่เติบโตเป็นผู้ใหญ่ ควรจะทำ อย่างไร บ้างครับ และการทำให้ผู้อื่นรู้สึกว่าถูกบีบ ไม่ทราบว่าควร ไม่ควรขนาดไหน

ผู้ที่รู้สึกว่าตัวเองมีภาวะวิสัยอ่อนด้อย ภาวะก็คือสภาพนั่นเองสภาพ วิสัยก็หมายความว่า สิ่งที่เราเป็นอยู่ วิสัยก็คือสิ่งที่ทำได้ อยู่ในวิสัย เป็นวิสัยที่ทำได้ วิสัยของเราอ่อน วิสัยของเราด้อย อยากมีภาวะวิสัยที่เติบโต เป็นผู้ใหญ่ ควรจะทำอย่างไร ก็ฝึกฝนด้วย ความเพียรเข้าซิ เรียนให้รู้ให้เข้าใจ แล้วก็ทำไปตามลำดับ เท่าที่เราสามารถ ทำได้ ให้เพียร ให้รู้ว่าเราได้เพียร ไอ้ทางอื่นไม่มีหรอก มีแต่ทาง อบรมฝึกฝน เท่านั้นแหละ ให้รู้ด้วย ปัญญา ให้รู้ด้วยการเข้าใจ จะเป็นสุตมยปัญญา จินตามยปัญญา แล้วก็ต้อง ประพฤติ ปฏิบัติ ให้มันเกิดผล เรียกว่า ภาวนามยปัญญา เป็นปัญญาที่เห็น แจ้งในผล รู้ในผลว่า ทำนี่ ถูกมั้ยได้ผลตามที่เราเข้าใจว่าอย่างนี้ เป็นความเจริญ อย่างนี้เป็น ความถูกต้อง อย่างนี้เป็นความดีงาม อย่างนี้เป็นกุศล อย่างนี้เป็นสุจริต ก็ทำให้มันเกิด ผลนั้น เมื่อมีมันก็เติบโตขึ้นจริงเรียกว่า วุฒิภาวะ

นี่ ภาวะ ก็คือที่ ถามมานี่แหละ ภาวะวิสัยนี่ มันจะเป็นวิสัย มันจะเป็นวุฒิวิสัย เป็นภาวะ ที่เกิด จนกระทั่ง เป็นภาวะวิสัย เป็นวุฒิภาวะ วุฒิก็คือเจริญ จนเป็นภาวะที่เจริญ สมบูรณ์เต็มที่ ได้ ก็ต้องสั่งสมไป อบรมไป ไม่มีทางอื่น ควรจะทำอย่างไร ก็เรียนรู้ตัวเอง ก็ประพฤติ ปฏิบัติด้วยความเพียร กายก็ดี วาจาก็ดี มันจะทำให้เราขัดเกลาไปได้เรื่อยๆ เราพยายาม สำรวมกาย สำรวมวาจา เราต้องใช้ใจเป็นตัวรู้ แล้วก็ใช้ใจเป็นตัวเพียรนะ เพียรพยายาม ให้มันเป็นกายอย่างนี้ ให้เป็นวาจาอย่างนี้ ที่มันถูกต้อง ที่มันเป็นกุศล เราต้องทำมัน เพราะฉะนั้น การที่ให้กายมันได้ ให้วาจามันได้ เป็นไปตามที่เราเข้าใจว่า ดีคืออย่างนี้ กุศล คืออย่างนี้ หรือว่ามันเจริญคืออย่างนี้ เราทำอยู่นี่มันต้องใช้ใจกำหนด ด้วย ทั้งนั้นแหละ เพราะฉะนั้น ได้อบรมจิต อบรมใจด้วย

ปฏิบัติทางกายทางวาจานี่ไม่ได้หมายความว่าไม่ได้ปฏิบัติจิต ไม่ใช่ ถ้ายิ่งเรามีญาณ ปัญญา มีปฏิภาณอ่านอาการของจิตได้ด้วย พร้อมกับกายกรรม พร้อมกับวจีกรรม เรากำลังพูด เราก็อ่านจิตของเราที่กำลังพูดได้ว่า มันอะไรสังขาร อ่านสังขารออก วิเคราะห์ วิจัยตัวที่ไปร่วมสังขารออกด้วยว่า มันอะไรสังขารกันแน่ มันมีกลุ่มหรืออกุศล มันมีตัวดี หรือตัวไม่ดี มันเป็นกิเลสหรือไม่เป็นกิเลส อ่านออกด้วย วิเคราะห์วิจัยออกด้วย นั่นแหละ คือ การปฏิบัติธรรมที่มีญาณปัญญาเข้าไปรู้ วิจัย วิเคราะห์เวทนาในเวทนา วิจัยวิเคราะห์ จิตในจิตของเราได้ วิจัยองค์ประชุม เรียกว่ากาย กายในกาย กายนอกกาย รู้กายในกาย รู้เวทนาในเวทนา รู้จิตในจิต รู้ธรรมะ คือรู้นิวรณ์ ๕ รู้อุปาทานขันธ์ ๕ รู้อายตนะ ๖ รู้โพชฌงค์ ๗ รู้อริยสัจ ๔ นี่ธรรมในธรรม ก็มีหมวดพวกนี้ ต้องเข้าใจเลย ตั้งแต่นิวรณ์ ๕ อ่านออก อุปาทานขันธ์ ๕ ว่าเรายังอุปาทานอยู่มั้ย หรือว่าขันธ์ ๕ ที่เราหมด อุปาทาน ต่อขันธ์ ๕ แล้ว อายตนะ ๖ ก็รู้ อายตนะ ๖ เลยว่าอายตนะ ๖ อาศัย เป็นสมมุติสัจจะ เพราะ เราหมดกิจ จบกิจแล้ว หรือว่าเป็นอายตนะที่ยังมีกิเลสผสม แฝงอยู่ในอายตนะ ต่างๆ เราก็ต้องเข้าใจให้ละเอียดลออ โพชฌงค์ ๗ คืออะไร อริยสัจ ๔ คืออะไร

ต้องรู้ จริงๆ เลยว่าเราอยู่ในองค์ธรรมพวกนี้ทั้งนั้น องค์ธรรมโพชฌงค์ ๗ บอกแล้วว่าตัว ปฏิบัติแท้นี่ โพชฌงค์ ๗ ที่ปฏิบัติอยู่ แล้วปฏิบัติเพื่อให้ถึงอริยสัจ ๔ สมบูรณ์นั่นแหละ พ้นทุกข์ มีมรรคองค์ ๘ อยู่ในอริยสัจ ๔ นั่นเสร็จ ธรรมในธรรมมีแค่นี้ละรวมหมดแล้วยอด พระพุทธเจ้าสรุปไว้ก็มีแค่นี้ พูดเรียนกันไปอีกหลายชาติ ธรรมในธรรมแค่นี้ เรียนอีกหลายชาติ เรียนให้สมบูรณ์ได้อีกหลายชาติ .... (ข้อความขาดตอน ไป)

พ่อท่านทำงานรอบโพธิสัตว์ เราอย่าไปตามท่านมาก ไม่ต้องไปช่วยงานท่านหรอก ทำงานของเราดีกว่า เน้นกิจวัตรทำงานในของเรา อ่านจิตอ่านใจ อย่าไปทำงานนอกมาก เดี๋ยวจะไม่เจริญ

พวกนี้เป็นฤาษี อธิบายแล้วนะเป็นฤาษีทำงานตนเอง อะไระละงานตนเอง ดูใจ แล้วมัน ดูไม่ออกสักที ก็โง่อยู่ไม่รู้จบ คนดูใจตัวเองนี่ดูไม่ออกสักทีหนึ่งไม่รู้จบ ดูแต่ใจตนเอง โดยที่เรียกว่า จะทำกายกรรม หรือว่าจะพูดก็ไม่สามารถมีปฏิภาณ ที่จะไปอ่านจิต ในขณะที่ทำอิริยาบถอื่น ในอิริยาบถที่สัมพันธ์กับคนอื่น คนนั้นก็จะจมอยู่ ในภพ หรือว่าไม่ชำนาญ ก็จะไม่แข็งแรงหรอก อินทรีย์พละไม่แข็งแรง ก็จะได้แต่อยู่ก็ดูใจ ถ้าไปพูด หรือว่าไปกระทบสัมผัสกะอันอื่นแล้วนี้ เราไม่มีอินทรีย์พอที่จะอ่านใจทัน สามารถจับจิตตัวเองไม่ได้ แล้วก็วิจัย วิตก วิจารณ์ จิตใจตนเองไม่ได้ เป็นฌานฤาษี จะต้องไม่ได้คิดอะไรนี่ค่อยอ่านออก หรือว่าไม่ต้องไปทำงานอะไรหรืออ่านออก ถ้าไป ทำงาน ด้วยนี่ เพราะเราต้องใช้พลังงาน เราต้องใช้กระแสอะไรต่ออะไร ประกอบเยอะ เพราะฉะนั้น กระแสของจิตใจส่วนหนึ่งที่จะมาใช้ในการวิจัยในการวิตกวิจารณ์ ในการที่ จะอ่านจิตอ่านใจ อ่านอาการ ลิงค นิมิตของใจนี่ มันไม่ได้ฝึก แล้วมันก็อ่านไม่ออก มันก็จะอ่านไม่ออก อยู่ตลอดกาลนาน เพราะฉะนั้น คนนี้จะไม่มีทางได้โลกุตรธรรม

ฟังดีๆ คนนี้จะไม่มีทางได้โลกุตรธรรม จะเป็นฤาษีไปอีกนานับชาติ เพราะไม่แข็งแรง ขนาดฝึกนี่ มันยังไม่แข็งแรงได้ง่ายเลย ขนาดฝึกๆ นี่มันยังไม่ชำนาญได้ง่ายเลย ไม่ง่ายนะ ที่จะสัมผัสแตะต้อง มีตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ที่มีผัสสะเป็นปัจจัย นี่ไม่ใช่ง่ายนะ ไม่ง่าย เพราะฉะนั้น ยิ่งไม่ฝึกเลย ไม่มีทางเจริญเลย และ โลกุตรนั้นจะต้องอยู่เหนือ อยู่โดยการ สัมผัสแตะต้องตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ รู้เท่าทัน จะเกิดกิเลสเพราะตา เกิดกิเลสเพราะหู เกิดกิเลสเพราะอะไร ไม่ใช่ กิเลสเพราะใจในใจเท่านั้น ลืมตาก็ไม่รู้เรื่อง อ่านไม่ออก รูป อายตนะทั้ง ๖ รับ สัมผัสกระทบแล้วเกิดกิเลสเมื่อไหร่ มันอ่านไม่เป็นหรอก อ่านไม่เป็น ถ้าไปกระทบสัมผัส ก็อ่านไม่ทัน อ่านไม่ไหว อินทรีย์อ่อนอยู่อย่างนี้น่ะ ผู้นี้จะไม่มีทางได้ บรรลุโลกุตรธรรม ขอย้ำอีกที โลกุตรธรรมไม่ใช่นั่งอยู่ในภพ ไม่ใช่อยู่แต่จิตในจิต จะต้อง ประกอบไปด้วยอายตนะ ๖ สังวรณ์อินทรีย์ ๖ จะต้องรู้ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส หมดทุกทวาร ไม่ใช่ทวารใจทวารเดียว

ศาสนาพุทธไม่ได้ สอนทวารใจทวารเดียว ไม่เลย เพราะฉะนั้น พวกนั่งหลับหูหลับตา นี่เอาแต่ใจ อย่าเอาใจนอกตัว พวกนี้ละเป็นพวกผิดทาง บรรยายผิดทาง เอาแต่ใจๆๆ แต่ใจเป็นสำคัญน่ะถูก เพราะตากระทบรูปมันก็จะมาหาใจ หูกระทบเสียง มันก็จะมา หาใจ จมูกไปกระทบกลิ่นก็จะมาหาใจ ใจเป็นตัวที่รับรู้สึกหมดแหละ เป็นอายตนะแท้ รู้เท่าทันในอายตนะ และอายตนะนั้นมันเกิดรสอย่างไร มีรสของโลกโลกียะ มีสังขาร ปรุงแต่ง อย่างไร มีกิเลสผสมร่วมอย่างไร ต้องวิจัยทันหมดเลย

ทีนี้ที่อาตมาอธิบายอยู่นี่ คนฟังเหตุผล ฟังความหมายของตำรา ของภาษา ของทฤษฎี ออกแล้ว เข้าใจยอมเห็นด้วย แต่ปฏิบัติยังไม่ได้ ก็ค่อยๆ ปฏิบัติไป ส่วนคนฟังแล้วเข้าใจ ที่อาตมาพูดแล้ว ไม่เห็นด้วย นั่นคือความคิดคนละด้านแล้ว ที่อาตมาอธิบายอยู่นี่ คงฟังออก คงเข้าใจนะ ฟังเข้าใจดีแต่ว่าไม่ถูก เอาแต่ใจอย่างเดียวนี้ ความคิด คนละด้านแล้ว เพราะฉะนั้น เป็นนานาสังวาส หรือไม่ก็คนละลัทธิ ลัทธิฤาษีก็อย่างหนึ่ง ลัทธิของพุทธ ก็อีกอย่างหนึ่ง เข้าใจที่อาตมาอธิบายได้ แต่ไม่เห็นด้วย ก็คนละลัทธิ หรือ คนละนิกาย หรืออย่างอ่อนก็นานาสังวาส เห็นต่างกันแล้ว ทีนี้ถ้าผู้ใดฟังเข้าใจดี เห็น แล้ว ก็มีญาณปัญญา เปรียบเทียบว่า อ้อ อย่างนี้ใช่ อย่างนี้โลกุตรเข้าท่ากว่า อย่างนี้ไม่ใช่ โลกุตระ หรือก็ว่าไอ้อย่างนี้ละไม่โลกุตระ โลกุตระก็ต้องเอาแต่ใจเอาแต่ใจนี่แหละ ไปเห็น รูปรสกลิ่นเสียง อะไรไม่เกี่ยว อย่างนั้น ไม่ใช่โลกุตระ โลกุตระก็คืออยู่ในภวของเรา นี่ภพของเรานี่ละ อยู่ในใจนี่ ไอ้คนนั้นหนีไปเลย ไม่ต้องเกี่ยว ตาก็หลับ หูก็ไม่ต้องได้ยิน ถึงแม้ได้ยิน ก็ไม่ต้องเกี่ยว ถ้ามันได้ยินก็หนีไปให้ไกลๆ ไปเลย ถ้าได้กลิ่น ได้ยิน ก็ไม่รู้ ไม่รับ โยมทิ้ง ไม่เกี่ยว อย่างนั้นก็เป็นลักษณะของฤาษี เพราะฉะนั้น

คนที่ไม่ทำงาน คนที่ไม่มีกระทบสัมผัส ตา จมูก กลิ่น กาย ใจ นั้น ขอยืนยันว่าไม่มีทาง ได้บรรลุโลกุตรธรรม ขอยืนยันอีกครั้งหนึ่งว่า ผู้นี้จะไม่บรรลุโลกุตรธรรม ไม่ใช่ธรรมะ เหนือโลก แต่ธรรมะมุดโลก หนีโลก ธรรมะอยู่ในรูคนเดียว อยู่ในภพของตนคนเดียว ไม่รู้เท่าทันโลกหรอก ก็คิดว่าคงจะชัดแล้วนะ มันมีภาษาที่จะขยายความได้มากกว่านี้อีก ก็จะขยายใหม่ วันนี้ขยายแค่ก่อน


ถอดโดยศิริวัฒนาเสรีรัชต์๔สิงหาคม๒๕๓๖
ตรวจทาน โดย เพียงวัน มั่นรักวงศ์ สิงหาคม ๒๕๓๖
พิมพ์ โดย ลักข์ เมฆสกุล ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๓๗
ตรวจทาน ๒ โดย โครงงานถอดเท็ป ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๓๗
printed โดย ปญ.ใจขวัญ
เข้าปก โดย สมณะพรหมจริโย
เขียนปก โดย พุทธศิลป์

LUK1D TAP