ชีวิตมนุษย์เท่ากับกรรมกับกาละ
โดย สมณะโพธิรักษ์
เมื่อวันที่ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๓๘
ณ พุทธสถาน สันติอโศก

เวลาผ่านไปชีวิตของแต่ละชีวิตดำเนินไป และแต่ละคนๆ ก็จัดชีวิตของตัวเอง หรือ ดำเนินไป กับกรรมของตนเอง ผู้ใดมีสติสัมปชัญญะปัญญาก็พยายามที่จะกระทำ คำว่ากรรมนี่แหละ คือกิริยา หรืออิริยาบถของเรา แต่ละเวลาแต่ละทุก... ไม่ว่าจะเป็น รายละเอียดของเวลา มันจะนับหน่วยเล็กเท่าไหร่ก็ตาม เท่าที่เราจะมีสติ สัมปชัญญะ ปัญญาของเรา กำหนดให้มันดำเนินไปให้มันทำ ทำตั้งแต่รูปใน ตั้งแต่จิตในจิต ออกมา เป็นวาจา ออกมาเป็นกายกรรม ออกมาเป็นการงาน จนกระทั่งถึงออกมาเป็นอาชีพ เราล้วนแล้วแต่ เรากำหนด และเราก็กระทำให้มันตามรู้ตามควรทั้งนั้น เวลาชนเวลา ตั้งแต่เช้าไปจนกระทั่งมาจรดอีกเช้าหนึ่ง วนเวียนอยู่นี่แหละ วนเวียนไป วนเวียนไป ที่เรานับว่า กลางวันกลางคืน วันหนึ่ง ๒๔ ชั่วโมงชนกันนี่ แต่ละคน แต่ละคน ก็จะมีระบบ ของมันต่างกันไปบ้าง แต่ก็มีกิจวัตรหรือมีงาน มีกรรมที่เราจะจัดสรร ให้มันเป็นหลัก ๆ แต่ละคนจะมีเวลา เรามีชีวิตที่มีหลักมีอะไรลงตัว แล้วเราก็จะทำสิ่งใดที่เรียกว่า เป็นกิจวัตร แล้วก็มีงานที่เราเรียกมันได้ว่า เป็นอาชีพ รวมค่าใหญ่ๆ เรียกว่าอะไร พวกเรา ก็มีอาชีพ มีอาชีพที่ทำงาน ถ้าเรียกว่าเป็นงานข้างนอกๆ ที่เป็นงานสร้างสรร เป็นงาน ที่ประกอบอะไร เป็นชิ้นเป็นอันเพื่อประโยชน์ทั้งตนและผู้อื่น หรือจริงๆ ก็คือ เพื่อผู้อื่น นั่นล่ะมาก ตนเองก็ไม่ทำตรงนัก เช่นว่า เราไม่ได้ปลูกข้าวมากิน แต่ว่าเราต้อง กินข้าวทุกวัน แต่เราไม่ได้ปลูกข้าว อย่างนี้เป็นต้น

แต่ก็เราทำงานอันอื่นที่มันก็เป็นประโยชน์เพื่อผู้อื่น เพื่อที่จะแลกเปลี่ยนหรือว่าสลับกัน กับคนอื่นเขาปลูกข้าว ข้าวก็จะมาให้เรากินด้วย ทดแทนกันไป อะไรอย่างนี้ เป็นต้น ชีวิตก็มีอยู่แค่นั้นนะ ชีวิตเราก็จะต้องรู้จักงาน รู้จักธรรมแล้วก็ไปกับกาล อาตมาจึงสรุป สูตรใหม่ที่สุดในโลกนี่ ได้อยู่สูตรหนึ่ง ชีวิตหรือว่ามนุษย์ หรือคนเท่ากับ กรรม จะบวกด้วย กาล หรือคูณด้วยกาลก็ตาม ถ้าคูณก็หมายความว่าประสิทธิภาพ หมายความว่า กรรม นั่นมันมีผลมาก ส่วนกาลมันตายตัวอยู่แล้ว กาลหรือกาลเวลา มันตายตัวอยู่แล้ว มันเดิน ของมัน อยู่อย่างนั้นแหละ แต่เพียงว่า เราจะใช้กาลเวลานี่ได้ถี่ หรือว่าได้ครบ ได้มาก เท่าไรๆ แล้วเราก็ได้ประโยชน์จากกรรมที่เราจะกระทำ เพราะฉะนั้น กรรมนั้นจะเป็นดี หรือ จะเป็นไม่ดี มันก็มีค่าไปคูณกับกาล หรือว่า ไปบวกกับกาลนั่นแหละ เท่ากับชีวิต หรือ เท่ากับความเป็นมนุษย์ เพราะมนุษย์จะเป็นอาริยะ หรือมนุษย์จะเป็นปุถุชนอยู่ หรือว่า ชีวิตมันจะเป็นสุข เป็นทุกข์ มันจะประเสริฐ หรือว่ามันจะเลวทรามต่ำช้าอะไรก็แล้วแต่ ความเป็นชีวิต หรือว่าความเป็นมนุษย์

ความเป็นคนเท่ากับกรรมและกาล ที่มันจะคูณกัน หรือมันจะบวกกัน ถ้าเราจะหารกัน ก็ได้อีก คือมันจะทอนน้ำหนัก ทอนประสิทธิภาพ ลดผลวิบากลงไป ถ้าหาร มันก็ลด ในการทรงอยู่ของชีวิต เพราะฉะนั้น ชีวิตก็จะเท่ากับกรรมที่เราทำ ตั้งแต่อดีตและปัจจุบัน กรรมทั้งหมด กับกาละ ที่มันเป็นอยู่ ในขณะใดในเวลาใด ในขณะแต่ละขณะ เราดำเนิน ของเราไป ตามสติ สัมปชัญญะ ปัญญา ความรู้ของเราที่เรามีรายละเอียด อะไรต่ออะไร ต่างๆ นานา ที่จะทำให้ดำเนินไป หรือสุคติ ดำเนินไปดี เราก็เป็นผู้จัดสรรทั้งนั้น ยิ่งศึกษา หรือว่า ยิ่งมองความจริง ยิ่งพิสูจน์ต่างๆ แล้ว ยิ่งเห็นว่าชีวิตมันเท่านี้นะ เท่ากับ กรรมกับกาละ ชีวิตหรือว่า ความเป็นมนุษย์

เขาจะถามว่าเกิดมาทำไม เกิดมาดูกรรม แล้วก็ไปกับกาละ เราต้องเห็นความสำคัญ ของกาละ แต่ละวินาทีที่ผ่านไป แต่ละนาทีที่ผ่านไป ผู้ที่เห็นความสำคัญแล้ว ก็จะมอง กลับมาหากรรมทุกที แต่ละกาละๆ มันดำเนินไป มันผ่านไป มันเดินของมันไป

กาละนี่เราไปควบคุมมันไม่ได้ กาลเวลามันก็มีของมันอยู่ต่อเนื่องไปโดยสุจริต ที่สุด กาละนี่ ไม่มีใครไปเปลี่ยนแปลงอะไรมันได้เลย ไม่มีใครไปสามารถบิดพลิ้ว ยักย้าย เปลี่ยนแปลง ถอยหน้าถอยหลังทำอะไรกับมันไม่ได้ กาละไปทำอะไรกับมันไม่ได้ เพราะฉะนั้น เราเห็นความสำคัญของอันนี้ เราก็จะดำเนินไปอย่างนี้ตลอดเวลา เพราะฉะนั้น เราหันมาดู เราระลึกถึงกาล ระลึกถึงกาละที่มันเดินไปเรื่อยๆ เราก็จะต้อง ย้อนมาดูกรรมของเราเสมอ นั่นคือ ผู้รู้จักชีวิต ผู้เป็นมนุสโส ผู้มีจิตวิญญาณรู้ดี เข้าใจดี มีปัญญาดี จะเป็นผู้ที่รู้ว่า อ้อ! ชีวิตเรานี่ตัวสำคัญก็คือกรรม แต่ก็มีปฏิสัมพัทธ์กับกาล มีปฏิสัมพัทธ์กับเวลา ที่มันเดิน เพราะฉะนั้น ผู้ใดที่คำนึงถึงเวลา ก็ต้องมาคำนึงถึงกรรม คำนึงถึงการดำเนิน ไปของเวลา ก็ต้องมาดูกรรมของเรา ตลอดเวลา เราตรวจสอบ ตอนนี้ตื่น ได้เวลาตื่น ๆ พอตื่นแล้วเราก็ตรวจกรรมต่อไป มันจะเป็นอัตโนมัติ และจะ รู้สึกชิน ที่เป็นอัตโนมัติ หรือที่จะแก้ไข กรรมของเราจะแก้ไขก็แก้ไขเถอะอันนี้ อันนี้เราแก้ไข อันนี้รู้สึกมันไม่ดี ถ้าทำอย่างนี้เพิ่มเติมขึ้นจะดี ๆ ขณะนี้มีเหตุปัจจัยอยู่ ร่วมอยู่อันนี้ๆ อันนี้บ้าง เราก็จะต้องเอาเหตุปัจจัยเหล่านี้มาทำให้ดี

ชีวิต ไม่ใช่อยู่อย่างฤาษี ลัทธิฤาษี ลัทธิที่บอกว่าเขาหยุด เขาสงบ เขาจะไปนิพพาน เขาก็เข้าใจว่า นิพพาน คือ ความดับ ความสงบ ความไม่อยากอะไร ความไม่ต้องก่อ อะไรอีก ความไม่ต้องไปหาเวรหาภัย ความไม่ต้องไปสร้างอะไรอีกเลย นิ่ง อยู่เฉย ไม่อยากได้อะไร ไม่อยากเป็นอะไรเลย สงบ เฉย คนนิยมเหมือนกัน นะ คนเห็นชัด มันเป็นรูปที่ชัดเลย

พระผู้ที่ไม่วุ่นไม่อะไร เป็นพระนั่งเฉย ใจดี ใครมาก็เออ...ดีหมด อะไรก็ ว่าไป ไม่หาเรื่อง อะไรกับใครเลย ไม่ไปว่าใคร ไม่ไปตำหนิใคร คนเราถ้าไม่ตำหนิใครนี่ ก็ไม่มีใครโกรธ ไม่มีใครถือสา ไม่มีใครเพ่งโทสหรอก ไปว่าคนนั้นไม่ดี คนนี้ไม่ดีอะไร ไม่ต้องไปว่าใครเลย นี่นะ ใครมานี่ ก็เขาจะดีหรือไม่ดีก็ว่าเขาดี ไปตะพึด ทั้งๆ ที่เขาไม่ดีนะ ก็ว่าเขาดีไปหมด แง่ดีไป บอกดีๆ ไป เออ...ดี ไป ฆ่าคนมาห้าคนแล้วดีมั้ย เออ...ก็เอา ก็อย่าฆ่าเถอะ ก็บอกเขาบ้างนะ อย่าฆ่า ฆ่าก็ไม่ดีหรอก ไม่เท่าไหร่หรอกนะ ฆ่าก็ไม่ดี แต่ว่าไปฆ่าแล้ว ก็แล้วไป แล้วอย่าทำอีกนะ ก็สำนึก ไม่ดีหรอกไปฆ่าเขา ฆ่าแล้วก็แล้วไป คืออย่างนี้ ไม่ว่าใครนะ ทำแล้ว ก็หยวนอะไรๆไปเรื่อยนะ ก็บอกบ้าง มันก็ใครก็พอมีปัญญา เมื่อบอกว่า... แหม! มาสารภาพว่าฆ่าคนไปแล้วห้าคนนี่ ผมจะทำยังไง? จะดียังไง? มันไม่ดียังไง? มันชั่วมากมั้ย? อะไรต่ออะไรมาถาม มาปรึกษา พระคนนี้ก็บอกอย่างที่ว่านี่ เออ...มันก็ ไม่ดีหรอกไปฆ่าเขาน่ะมันไม่ดี แล้วก็แล้วไปเหอะ ลูกก็อย่าไปทำอีกนะ อ้าว! ลืมมันเสีย มันแล้วแล้วไป อะไรๆมันก็ไม่ใช่ตัวใช่ตน ไม่ใช่ของเราหรอก ทำดีเข้าไปเถอะ อย่าไปทำเลยชั่ว ใครก็พูดได้นะ ก็บอกให้ทำดี แบบนี้คนก็ไม่เสียใจ แล้วคนเขาก็ไม่โกรธ ไม่เคืองใคร ใครก็ไม่โกรธเรา เป็นพระที่ได้รับความนิยมชมชอบมากเลย

ถ้าเป็นพระแบบนี้นะ วันๆหนึ่งคือไม่เอาอะไร ไม่มีอะไร คนนิยม คนจะขึ้นมากเลย จะขึ้นมาก แต่มันไม่มีประสิทธิภาพอะไร มันมีผลดีบ้างเหมือนกัน ตรงที่มันหยุด มันหยุด ได้เก่งเลยนะ โอ๊! ไม่ไปกระทบกระเทือน ไม่ไปกระแทก ไม่ไปก่อเรื่องก่อเวร ก่อภัย ไม่ไป มีอะไร ปลอดภัยที่สุด ปลอดภัยที่สุด แล้วก็หยุด ฝึกอย่างนี้น่ะ หัดอย่างนี้น่ะ หยุด หยุดไปเลยจริงๆนี่

คนเข้าใจว่าศาสนาพุทธนี่แหละ เข้าใจว่าผู้ที่ปฏิบัติอย่างนี้ เป็นพระ เป็นภิกษุ แล้วมา ปฏิบัติ อย่างนี้น่ะประเสริฐที่สุด ดีที่สุด จะให้ทำโน่นทำนี่บ้าง ก็เออ... ก็ไม่ต้องขัดใจ เขามากนัก หนักเข้าไม่มีอะไร พวกที่นิยมชมชอบมากๆ ก็ แหม! อยากจะมาเอาพลัง มาเอาฤทธิ์ เอาเดช มาให้ปลุกเสก มาให้ทำยังไงก็แล้วแต่ ขอให้มันมีอะไรเชื่อมโยง ที่จะโฆษณาออกไปได้ว่า เป็นผู้สร้างของขลัง สร้างอะไรไปขาย ก็พยายามนำเอามาให้ทำ ก็ขัดเขาไม่ได้ ก็ทำอย่างโน้นบ้างอย่างนี้บ้าง คนเขามันก็เอาไปประติดประต่อกันเอง นำไปขาย ร่ำรวยกันไป คนก็ขึ้นกัน เป็นพระเป็นเทวดาของมนุษย์เลยนะ เดี๋ยวนี้ ก็ยังเห็นอยู่ ทุกวันนี้ก็ยังเป็นอยู่ ยังมีอยู่ในสังคมพุทธศาสนาในเมืองไทยนี่ พระที่เป็น แบบนี้ เดี๋ยวนี้ก็โอ้โฮ! หนังสือพิมพ์มันโฆษณากัน เอาองค์นั้นองค์นี้มาอย่างนี้น่ะ ไปกันใหญ่เลย

นั่นก็เป็นศาสนาแนวหนึ่ง หยุดฝึกเข้าก็เป็นได้ หยุด เก่ง หยุดๆ แล้วพยายามตรวจ จิตใจ นะ พยายามสำนึกตัวเอง อย่าน่า...อย่าไปดิ้น อย่าไป ซัดส่าย อย่าไปอะไร แล้วก็ พยายาม ลด ลดให้หยุดๆๆ อย่าไปอยากโน่นอยากนี่ จะกิน จะใช้ จะโน่นจะนี่อะไรก็ หยุดๆๆๆ เป็นการสะกด พยายามเรียนรู้กาม เรียนรู้ความดิ้นส่ายของจิต ที่มันจะดิ้น อะไร ว่าอยู่ ในนี้ล่ะ หยุดไปอย่างนี้แหละ แล้วก็มองเห็น ความหยุดอย่างนี้แหละ มันเบาดีนะ ว่างดี เบาดี สบายดี หยุดดี ไม่วุ่นวาย ไม่มีเรื่องอะไรเลย กระทบกระเทือนอะไรก็ไม่มี ปลอดภัย หมด มันปลอดภัยจริงๆ ปลอดภัยเอา มากๆ นึกออกมั้ย ปลอดภัยเอามากๆเลย แล้วก็นิ่ง ก็หยุดได้ดีเลยนะ ฝึกมากๆ สะกดมากๆ สะกดเก่งๆ สะกดชาตินี้ไม่ได้ สะกดต่อชาติหน้า สะกดชาติหน้าไม่ได้สะกดอีกหลายๆ ชาติ ได้ขอยืนยันว่าได้ นี่เป็น วิธีหนึ่งจริงๆ ของความเข้าใจทางศาสนา

ศาสนาอื่นเหมือนกัน อย่างนี้มีเยอะแยะไป ฤาษีอยู่ในอินเดียนี่มีแบบนี้เยอะ แล้วเข้าใจ ในศาสนาพุทธเรานี่ แม้มาอยู่ในเมืองไทยนี่ก็เข้าใจอย่างนี้อยู่เยอะเยอะ แล้วมองเห็น ได้ง๊ายง่าย ใครเห็นก็ โอ๊! พระองค์นี้นี่ไม่มีกิเลส ไม่มีกิเลส ไม่มีกิเลสจริงๆ ไม่มีเลย ไม่ได้ อยากอะไรจริงๆ เลย ดูง๊ายง่าย ใครดูก็ดูออก ซึ่งย้อนแย้งกับพระพุทธเจ้า กับศาสนาพุทธ บอกว่า โอ้! พระอรหันต์นี่ดูไม่ออกหรอก ดูยาก ใครจะอ่านพระอรหันต์ มีพระอรหันต์ เท่านั้น ที่อ่านพระอรหันต์ได้ ดูพระอรหันต์น่ะดูยาก ไม่ง่าย เพราะฉะนั้น อันนี้ค้านแย้งแล้ว ค้านแย้ง กับคำสอน ศาสนาพุทธแล้ว เพราะศาสนาพุทธไม่ดูง่ายอย่างนี้หรอก

แต่ผู้ที่ปฏิบัติอย่างนี้ดูง่ายมั้ย? ดูง่ายใช่มั้ย ง่าย อู๊! ไม่มีกิเลส พระองค์นี้ไม่มีจริงๆ เห็นได้ ง่ายๆเลย ให้ใครมาดูก็เห็น คนไม่มีภูมิอะไรมาดูก็เห็น ไม่มีความอยากไปไอ้โน่นไอ้นี่ ไม่ทำ ร้ายทำลายใคร ปลอดภัย สะอาดบริสุทธิ์ ว่างจริงๆ นี่คือลักษณะที่เขาเรียกว่าดี ดีที่สุด ดีขนาดเชื่อว่า เป็นพระอรหันต์ด้วย เชื่อว่าเป็นพระอรหันต์ ทำในรูปนี้ แม้ชาตินี้ คุณยังจะมี อาการทางในใจนะ คุณพยายามสะกดไว้เถอะ อย่าให้มันออกมา แล้วทำในอาการ อย่างที่อาตมาว่านี่ สำรวมอิริยาบถ สำรวมอาการกรรมกิริยา อย่างที่อาตมาว่านี่ สำรวม เถอะ ใครทำได้อย่างที่อาตมาว่านี่นะ รับรองดัง คนขึ้น อยู่ในเมืองพุทธเมืองไทยนี่น่ะ คนขึ้น ดัง นี่มาบวชแล้วนี่ปฏิบัติอย่างนี้เถอะ ดัง จริงๆ ท้าได้เลย ดัง คนขึ้นรับรอง (คนฟังพูด "พ่อท่านครับ คนติดอยู่กับที่นี่ นิ่งๆนี่เห็นง่าย นะ") เห็นง่ายซิ (คนฟังตอบว่า "คนที่วิ่งอยู่นี่จะเห็นยาก") คนที่วิ่งอยู่ว่าเห็นยาก...ใช่ เคลื่อนไหวอยู่นี่ยาก แล้วยิ่งเคลื่อน... ยิ่งรู้จักกรรม แล้วก็จัดกรรมให้มันได้

มีเศรษฐศาสตร์ในกรรมต่างๆ ที่เข้าใจเศรษฐศาสตร์ที่ดีเลยว่าอะไรเป็น demand ควร supply อะไรต่างๆ นานานี่ แล้วก็เป็นประโยชน์คุณค่าสร้าง เป็น ยังกุศลให้ถึงพร้อม ไม่ทำอะไร ที่... เข้าใจบาป อะไรคือบาป อะไรคืออกุศล อะไรคือทุจริต เข้าใจอย่างลึกซึ้ง ละเอียด ดีเลยว่า อ้อ! นี่ทุจริต อันนี้อกุศล อันนี้ไม่ดี อันนี้ดี แล้วก็ยังกรรมนั่นไปให้ดีนี่ แล้วก็ไม่หยุด เป็นคนขยัน หมั่นเพียร เป็นคนที่ดูได้เลย ว่าเป็นคนขยัน แต่คนที่นิ่งๆ หยุดๆ อย่างนี้ จะเรียกว่า คนขยันก็ไม่ได้ ใช่มั้ย? หยุด นิ่ง เฉย เงียบ จะเรียกคนขยันไม่ได้หรอก เรียกยังไงก็ไม่ได้ แต่เอาเถอะเขาไม่ถือ เขาไม่ถือ คนที่เขามอง เขาศรัทธาเลื่อมใสนี่ เขาจะมองผ่าน ความขยัน เขาบอก เอ้า! ท่านก็ขยันปฏิบัติธรรมไง ท่านปฏิบัติการลด กิเลส ของท่านน่ะ ท่านก็ไม่ให้กิเลส ของท่านออกมาได้นี่ท่านขยันซิ อย่างนี้ล่ะขยัน แต่ท่านไม่ทำงานอะไร ก็ไม่เกี่ยวหรอกไม่ทำงานอะไร ไม่ใช่หน้าที่ของท่าน ก็ท่านไม่โลภ แล้วน่ะ จะไปทำงานทำไม เราก็เลี้ยงดูท่านไว้ เราจะมีคนมาเลี้ยงดู จะมีคนมา โอ้โฮ! มาเกื้อหนุน อุดหนุน ไม่ต้องห่วงหรอก จะร่ำรวยเอาก็ยังได้เลย ยิ่งไม่เอานั่นน่ะ ยิ่งจะเอามาให้ใหญ่เลย ทีนี้ ยิ่งเอามาแล้วก็เออ...เอาเอาไป จะให้ใครที่... อย่าไปให้ลูก ให้หลานก็แล้วกัน ถ้าจะให้ใครก็ที่ไม่ใช่ลูกใช่หลาน เอ้า! เอาไปทำบุญทำทานอะไรออกไป อู๊ย! ยิ่งจะรวย รับรองหลวงพ่อ...ก็สู้ไม่ได้ หลวงพ่อ...ยังปากมากพอสมควร นี่ไม่ต้อง ปากมากเหมือนหลวงพ่อ... ยิ่งจะรับรองเลยนะ

นี่พยายามอธิบายหรือว่าเน้นให้เห็นลักษณะหนึ่ง เพราะฉะนั้น คนเรานี่ถ้าเผื่อว่าเข้าใจ คุณลักษณะ ที่มันถูกต้องหรือไม่ถูกต้องได้ดี แล้วก็มาจัดแจงทำให้ชีวิตของเรา นี่เกิด อิริยาบถ หรือว่ากรรมกิริยาที่มันเป็นคุณลักษณะที่ดีไปเรื่อยๆ แล้วพัฒนาไปเรื่อยๆ พัฒนาไปเรื่อยๆ อย่างที่อาตมากำลังเริ่มต้นว่า เราตื่นเช้าขึ้นมา เรานอนพัก เรารู้แล้วว่า เราทำกรรมกิริยาอันนอนพัก พักผ่อน ตั้งแต่กาย แล้วเราก็สงบวจี แล้วนอนพัก แล้วก็ไม่พูดแล้วล่ะ หรือจิตใจเราก็ศึกษาจิตใจของเรา ควบคุมจิตใจของเรา อย่าให้จิต ของเรา มันฟุ้งซ่าน อย่าให้มันไปเที่ยวได้อะไรต่ออะไรนักมากเกินไปนัก ถ้ามันจะทำงาน มันจะโน่นนี่อะไร เราก็ควบคุมฝึกปรือไปให้มีสติ จะมีการหยุดก็ฝึก นอนหลับ ก็พยายาม ทำจิตใจให้มันระงับ หยุดพักก็คือทำสมถะนั่นเอง เจโตสมถะนั่นเอง ก็ทำ จะฝึก เจโตสมถะ ก็ฝึก หรือไม่ฝึกเจโตสมถะก็ฝึกให้มีสติ ควบคุม จิตเราจะฟุ้งจะทำงาน จะทำอะไรขึ้น ทำกิจไอ้โน่นก็ตั้งจิตตั้งฝึก มีสติให้มีประสิทธิภาพ ในสติสัมปชัญญะ ปัญญาเข้าไปควบคุมจิต ให้มันอย่าไปฝันร้าย อย่าไปคิดอะไรร้าย อย่าไปทำงาน อย่างนั้น อย่างนี้อะไรนี่ก็ฝึกไป แม้แต่นอน เราก็ฝึกสติ ฝึกสัมปชัญญะปัญญา ที่จะให้มันกำหนด จิตของเราว่า เราจะคิดแต่ดี ทำงาน เอางานอะไร ให้ทำก็ทำไป นอนก็ให้คิดทำงานนั่นนี่ ก็ตั้งหัดไป ฝึกไปดีๆ ตั้งคิดงานนั้นเท่านี้ เอาเท่านี้ อะไรก็กำหนดไป ฝึกไป เราก็จะได้ เราก็จะไม่ฝันร้าย หรือจะไม่ฝันเป็นโน่นเป็นนี่อะไรไป มันก็จะหยุดจะพักของมันไป ให้มันทำ เท่าที่มันทำ ฝึกไปมันก็จะเป็นอย่างนั้นได้ หรือจะฝึกสมถะดับเลยพักเลย ก็ฝึกไป นี่เป็นส่วนของข้างในที่เวลาคนพัก เวลานอน

ทีนี้ตื่นขึ้นมาแล้วเราก็เอา...ตื่นเต็ม ทีนี้เราก็จะมีกรรมกิริยาอันมากขึ้น จะเป็นวาจา จะเป็น กายกรรม จะเป็นการงาน เราก็ทำตามที่เรารู้ เอ้า! เราจะมาทำวัตร ก็มาทำวัตร นี่ระฆัง แล้วทำวัตร มันได้ประโยชน์นะ วันนี้ต้องทำวัตร วันนี้ เขามีทำวัตรกัน เราก็มาทำวัตร ผู้ที่เห็นคุณค่า ในการทำวัตรก็มานะ อาตมาสังเกต คนที่ลงทำวัตรนี่ จะมีสายลักษณะ เจโตลงทำวัตร สายปัญญาหรือสายฟุ้งซ่านนี่ สายคิด นี่นะ มีสายคิดกับสายจิต สายศรัทธา กับสายปัญญานี่ สายจิตจะลงทำวัตร สายจิตหรือ สายศรัทธา หรือสาย เจโตนี่ จะลงทำวัตรกันดี ส่วนสายปัญญานี่ ที่จริงมันไม่ใช่ปัญญาหรอก มันเฉโก มันเฉโก จะไม่ค่อยลงทำวัตร เพราะฉะนั้น สายปัญญานี่ถึงจะช้า คือมันเสพย์น่ะ มันระริกระรี้ มันเสพย์ มันหาทางที่จะบำเรอตนได้เก่งกว่าสายเจโต เพราะมันฉลาด มันฉลาดแต่มันโง่ คือเฉโก ฉลาดที่มันหาทางให้กิเลส ของตัวเองต้องได้รับอาหาร เพราะมันรู้มาก

มันเป็นกิเลสที่มันเลือกให้แก่ตัวเอง ซอกแซกๆ หาอาหารให้แก่กิเลส ก็คือจิตตัวเอง นั่นแหละ กิเลสน่ะก็คือ จิตตัวเองนั่นแหละ กิเลสมันหาอาหารให้แก่ตัวเองเสพย์ แล้วตัว ก็ได้เสพย์ พวกนี้จึงได้ช้าไง สายปัญญาหรือสายฉลาดนี่จึงช้า เท่าตัวกับของสายเจโต ที่จะบรรลุเร็วกว่ากัน อันนี้เป็นเรื่องจริงนะ เพราะฉะนั้น พวกเจโตนี่ ก็จะเห็นคุณค่า มากกว่า ทั้งๆ ที่ปัญญาน่าจะเห็นคุณค่ามากกว่า แต่ปัญญากลับโง่ เห็นมั้ย มันโง่ เพราะกิเลส กิเลสมันพาโง่ แล้วมันก็พาเสพย์ มันก็ไม่อยากจะทำ ทั้งๆ ที่พอมอง พูดจริงๆ ว่าดีมั้ยล่ะ มาทำวัตรนี่ ดี แต่แก้ตัวไปได้สารพัด นั่นคือความฉลาดแก้ตัว เฉโก แก้ตัวไปได้ สารพัด ถามว่าดีมั้ย ดีๆๆ ดี มาทำวัตรดี เออ...ทำเถอะ เราติดงาน เราโน่น เรานี่ เราอะไร ก็แล้วแต่เถอะ มันจะมีเหตุแก้ตัวให้ตัวเองมากมาย

ก็แล้วแต่ ผู้ใดที่พากเพียรเอา ผู้ใดมีปัญญาที่แท้จริงก็จะรู้ว่า เออ!... เราทำเจโตของเรา ตัวที่มันกิเลสที่มันเป็นตัวแรงๆ เรียกว่าเจโตเหมือนกัน นั่นน่ะจิตเรานี่ กิเลสที่มันจะดัน จะมีอำนาจ มีฤทธิ์ดันให้มันแรงๆ นั่นน่ะคือตัวจิตอีกตัวหนึ่ง ตัวหนึ่งก็คือ ตัวพลังตัวหนึ่ง ก็คือตัวรู้ มันเปรียบเหมือนเรือ ก็คือต้นกลกับต้นหน เจโตเหมือนต้นกล ที่อยู่ในแรงเครื่อง เร่งเครื่องอยู่อย่างเดียว มีแต่เครื่อง ดำเนินงาน พลังเดินไปเรื่อยๆ ส่วนต้นหนก็คือ มองเห็น เป็นกัปตัน ต้นหนก็ดูตรวจสอบ จิตเป็นอย่างนั้นน่ะ จิตมีสองลักษณะ ลักษณะต้นกล กับ ลักษณะต้นหน เพราะฉะนั้น ถ้าอะไรที่มันจะมีแรง มันก็คือต้นกล มันก็คือเจโต อะไรที่มัน จะต้องรอบรู้ ก็คือปัญญา เพราะฉะนั้น เมื่อปัญญากับต้นกลนี่มันเข้ากันดี มันก็จะ เพิ่มแรง ได้มากเลย ปัญญาตรวจสอบที่จริง ไม่ใช่กลายเป็นเฉโก ไม่ใช่ฉลาดเลี่ยง แต่เป็น ปัญญาที่แท้ ถูกสัจจะแล้วก็ ฝึกเข้า ก็จะกลายเป็นกำลังหรือพลังต้นกล กับปัญญานี่ หรือว่าต้นหน จะเข้ากันไปดี แล้วจะแรง ทีนี้ก็จะยิ่งแรงด้วย ยิ่งมีพลังสูงในการที่จะ กระทำดีได้ดี เพราะฉะนั้น ถ้าเผื่อว่าเราฉลาดเฉโก เลือกไม่ดี มันก็จะช้า มันก็จะไป อยู่นั่นแหละ แต่ถ้าเลือกดีแล้ว ปัญญาที่แท้จริงนี่ยิ่งจะเร็ว เร็วมากเลย

เพราะฉะนั้น ถ้าปัญญาเหลาะแหละเหมือนกับพวกวิตกจริต ที่พระพุทธเจ้าท่าน แบ่งคน ไว้สามพวกน่ะ วิตกจริต ศรัทธาจริต กับพุทธิจริต สามพวกนี่ พวกปัญญา พวกศรัทธา แล้วก็พวกวิตก (วิตรรกะ) นี่ก็คือ..เหมือนกับคนมีปัญญา แต่มันเลอะเทอะ มันเฉโก อย่างที่ว่านี่ พวกวิตรรกะ เดี๋ยวก็ไปไหน...เลี่ยงไปเลี่ยงมา กลับไปกลับมา ไม่อยู่กับร่อง กับรอย เท่าไหร่หรอก ตัวเองก็เสพย์ไป อะไรวุ่นวายไป นี่ช้า เป็นกี่เท่าล่ะ เป็นสามเท่า ของทั้งสามหมู่นี่ ปัญญาที่แท้จริงนี่จะเร็วที่สุด ศรัทธาก็มาก เท่าตัว หา? (พ่อท่านถาม) (คนฟังพูดไม่ชัดเจน) ยี่สิบ สี่สิบ แปดสิบ อย่างนี้เป็นต้น อัตราเป็นตัวเลข ถ้าพวก วิตรรกจริต ก็จะแปดสิบ ช้านาน ไม่เร็ว

นี่อาตมาก็บอกให้ฟังว่า มันขึ้นกับเวลาแล้วก็ขึ้นกับกรรมทั้งนั้น ที่พูดนี่ก็ขึ้นกับ เวลา กับกรรม เพราะฉะนั้น คนอยู่ในจริตไหนเปลี่ยนแปลงตัวเองได้ วิตรรกจริต ก็เปลี่ยน มาเป็นศรัทธา เปลี่ยนมาเป็นปัญญาซะ ที่ว่าเปลี่ยนเป็นศรัทธาก็คือตัวเอง เหมือนปัญญา แต่ที่จริงเฉโก วิตรรกจริตนี่ตัวเองเฉโก เพราะฉะนั้น พยายามหาเจโต พยายามทำจิต ของเรา ให้มันจิตมีกำลัง ฝืนตัวเอง ข่มตัวเอง กดข่ม ใช้สมถะให้มากๆ ดันให้มากๆ ใช้กำลังกดข่มให้มากๆ ถ้าไม่เช่นนั้นก็ตามใจกิเลสเรื่อย เพราะฉะนั้น ต้องพยายาม ต้องเพิ่มพลัง เพิ่มพลังฝืน พลังสู้ พลังอดทน อย่าเหลาะแหละ ไม่เช่นนั้นมันก็เสพย์อยู่ ตะพึดตะพือ เพราะมาเลื่อนขึ้นมาเป็นศรัทธา กำลังศรัทธาดีอีก ไอ้ตัวเรามีจริต หรือว่า มีพื้น ของความนึกคิด ฉลาดนี่อยู่แล้ว ถ้าเรามาเป็นตัวศรัทธาได้เพิ่ม มันก็จะมา ผสมผสาน กับศรัทธา เข้าไปเป็นตัวปัญญาพุทธิ พุทธิจริต กับ วิตรรกจริต มันก็จะไปเป็น พุทธิ เพราะฉะนั้น คนใดที่รู้ฐานตัวเองว่า เออ... เรานี่ใช้ปัญญา จะใช้ความฉลาด แต่เรา รู้สึกว่า ไอ้นี่มันเป็นตัววิตรรกะ มันเป็นตัวเลี่ยง มันเป็นตัวไม่แน่นอน เอาแต่ดำริ อย่างโน้น อย่างนี้ ตรรก ก็คือดำริ ไม่ใช่อะไรหรอก วิตรรก ตัวดำริ ตัวแต่คิดอะไรต่อะไร ไปตามใจตัว เชื่อความคิดของตัวเองอยู่เรื่อย

ก็ต้องพยายามนึกให้มันถูกสิ่งที่ดีที่งาม เชื่อถือสิ่งที่ดีที่งามให้ได้  แล้วฝืนตัวเอง อย่าไป ปล่อยปละละเลยตามอำเภออยาก อำเภอที่อะไรของตัวเองนัก อาตมาคิดว่าพวกเรารู้นะ เชื่อว่า พวกเรานี่รู้ รู้สภาพว่า เอ๊! ตัวนี้เราเลี่ยงให้แก่ตัวเองนะ เอาแต่แค่ไอ้มันรู้ตัวนั่น ก็ได้ แล้วล่ะ ไอ้นี่มันเลี่ยงให้ตัวเอง มันหาเรื่องให้ตัวเอง นี่อันนี้มันดีกว่า อาตมาว่าพวกเรานี่ เลือกเป็นแล้ว มีธัมมวิจัยสัมโพชฌงค์ พวกนี้ อาตมาเชื่อ ปฏิบัติธรรมมาขนาดนี้แล้วนี่ อาตมาเชื่อว่ารู้ นั่นแหละอย่าไปปล่อยปละละเลย แต่ละเวลาแต่ละกาล ที่มันผ่านไป ผ่านไป ควบคุมตัวเราเอง จัดกรรมของตัวเราเองให้มันเข้าร่องเข้ารอย จัดกรรมของตัวเอง ให้มันได้ประโยชน์ ให้มันได้ประโยชน์จริงๆเลย ประโยชน์ที่จะเกิดคุณค่าแก่ตัวเอง

เรามีวัฒนธรรม เรามีกิจวัตร เรามีชีวิต วันต่อวัน วันต่อวันนี่ อยู่ประจำในวัดนี่ก็ตาม จะเป็น ทั้งฆราวาส จนกระทั่งถึงสมณะ เราก็มีกิจวัตรอันที่ทำแล้ว อาตมามั่นใจว่ามันเป็นการ เสริมสร้าง เป็นการพัฒนาชีวิตจริงๆ น่ะ ทั้งกรรมการงาน ทั้งกิจวัตรใด มียัญพิธี มีระบบ ระเบียบ มีอะไรต่ออะไรไปกัน ทำกันไปนี่ ประจำมั่งหรือ ว่าจรมามั่ง หรือว่าทั้งที่มันเป็นพิธี ทั้งการงานแท้ ที่แบ่งกันไปทำ หรือว่าเรานี่แหละเป็นตัวจัดสรร ไม่ได้ไปกำหนด บังคับกัน ทีเดียวหรอก แต่ว่าเราก็รับผิดชอบ หรือว่า เราก็มีญาณปัญญาที่เข้าใจ เลือกทำอะไร ต่ออะไรไป ให้มันเป็นทั้งประโยชน์ตน และ ประโยชน์ท่านอยู่ในตัว

ผู้ใดยิ่งหนีนะ หนีโจทย์ เราทำงานนี้เราไม่ค่อยชอบ นั่นล่ะควรอย่าหนีมัน ถ้างานนี้ไม่ชอบ แต่ให้พิจารณาว่า งานนี้มีความจำเป็น งานนี้มีความสำคัญ ในขณะนี้กับหมู่กับสังคม จริงๆ นะ เราไม่เอากิเลสชอบหรือไม่ชอบของเรา มาเป็นหลักตัดสิน ว่าเราจะทำงานใดๆ นี่ด้วยกิเลส แต่เราจะต้องพิจารณาว่า เออ...อย่างน้อยที่สุดเราก็เป็นผู้ที่มีความสามารถ ถนัด เชี่ยวชาญ หรือว่า ร่วมทำได้ ช่วยได้ แล้วเขาก็ต้องการแรงงานอันนี้ มาทำงานอันนี้ ของหมู่เรา นี่แหละ หรือทำแล้วมันจะเป็นประโยชน์ต่อสังคม ที่เราคำนวณกันแล้ว ประมาณกันแล้ว ว่าเราจะทำงานอะไรกันบ้าง แม้แต่จะขยายงานไปจนกระทั่ง ถึงขั้น ตั้งบริษัท ทำกิจการอะไรต่ออะไรอีก มันก็นี่อย่างนี้ล่ะ ทั้งๆที่เราก็รู้ๆอยู่ ก็คงไม่ต้อง ขยายความมาก ทั้งในนี้ ทั้งงานที่จะอยู่ในนี้ ช่วยเหลือเฟือฟาย เป็นงานที่รังสรรค์ ตั้งแต่ กวาด แต่เช็ด แต่ปัดถู ขนขยะไปอะไรนี่ หรือแม้แต่งานขนขยะนี่ก็ตาม เอ้! มันมีความ จำเป็น มันมีความสำคัญนะ มันต้องทำแล้วต้องช่วยกัน ถ้าไม่ช่วยกันแล้วมันไม่พอ เห็นแล้วว่า โอ้โฮ! นี่ต้องอาศัยแรงเพิ่มแล้วล่ะ เราน่าจะไปเพิ่มแรงนี้นะ นี่ไปช่วยกันทำ นี่ขย่งขยะหรือว่า ปัดตรงนั้น กวาดตรงนี้ ยกอันโน้น หามอันนี้ หรือว่าไปทำโน่น ทำนี่ อะไรก็แล้วแต่

อาตมาว่า ถ้าเผื่อว่าเราไม่โง่เง่าดักดานอะไร มันก็ควรจะรู้ แล้วก็ไม่ควรจะต้องหมกอยู่ กับที่ จนกระทั่งไม่รู้ว่าเพื่อนทำอะไรกันบ้าง ในนี้มันมีอะไรบ้าง เราก็ไม่รู้เรื่องเลย อยู่ในรู ไม่เข้าใจเลยว่า มันมีความต้องการอะไร หรือว่ามีความจำเป็นอะไร ทั้งๆที่ดีไม่ดี บางที เสียงเรียก เอ๊! นี่เขาพูดอะไรกัน เขาเรียกงานอะไร งานอะไร แต่เราไม่คิดหรอก เขาเรียก ก็เรียกไปซิ เราก็มีงานของเราทำอยู่แล้ว ช่างหัวมันปะไร งานนั้นจะเป็นยังไง ก็ช่างมันซิ เขาต้องการแรงงาน โน่นนี่ ไม่สนน่ะ ไม่เอาใจใส่ ไม่คิดด้วย ไอ้นี่มันก็เกินไป เราจะแคบ

ถ้าเรามีเหตุปัจจัยเป็นโจทย์ อย่างน้อยก็คือโจทย์ที่เราไม่ชอบนี่แหละ แล้ว เราก็ได้ว่า เออ... เราก็หัดวางใจเราซิ ชอบหรือไม่ชอบนี่เราก็หัดลดให้ได้เลยว่า ไม่เอาล่ะ ไม่ชอบ แล้วเรา ก็ไป เห็นว่าอันนี้มันเป็นกรรมกิริยา งาน หรือเป็นการกระทำ ที่ควรไปกระทำ เราก็ไป ช่วยกันกระทำ นี่พูดภาษาไทยชัดๆนะ เพราะเรามีแรงงาน เป็นคนก็มาช่วยกัน ในเรื่อง ของแรงงาน เพราะเขาต้องการแรงงานจากคนอยู่ด้วย เราฟังแล้วเรารู้ว่า เรารับรู้อยู่ กับหมู่กับกลุ่ม เราก็ไปช่วยกันทำ ทิฏฐิความเห็น มันชอบ มันติด มันยึด มันจะเอาแต่ แค่นั้นล่ะ มันก็อ้างแล้วมันก็ตัดไปง่ายๆ ไม่ต้องไปยุ่งเกี่ยวหรอก ไม่ต้องไปวุ่นวายหรอก อย่างนี้ ก็เป็นทั้งอัตตา เป็นทั้งประโยชน์น้อย ทั้งได้ฝึกหัดน้อย กิเลสก็ใหญ่ขึ้น ฝึกหัด ก็น้อยลง ประโยชน์ที่จะเป็นประโยชน์ท่านอีก เวลาเราไปสร้างสรรนี่ มันก็เป็นประโยชน์ ทั้งตน และท่านด้วยกันนั่นแหละ เพราะต้องอาศัย เมื่ออะไรมันเกิด อย่างน้อย เราไม่อยาก ปลูกข้าว เขาชวน ไปดำนา ไปปลูกข้าว เราก็ไม่อยากไป เอ้า! ไปซะบ้าง ฝืนใจตัวเองบ้าง มันก็ได้ ฆ่ากิเลสอัตตาของเรา แล้วเราก็ไปช่วยดำนาและทำข้าวอย่างนี้เป็นต้น ข้าวมันก็ เกิดมา มันก็เป็นประโยชน์ เราก็ได้อาศัยเป็นประโยชน์ตนด้วย เราก็ได้กินได้ใช้ด้วย คนอื่น ก็ได้ใช้ได้กินด้วย อย่างนี้เป็นต้น

มันก็เป็นประโยชน์คุณค่าของมันซ้อนๆๆ อยู่อย่างนี้แหละ ถ้าเราเข้าใจดีเลยนะว่ามนุษย์นี่ มันไม่มีอะไรหรอก มีกรรมกับกาละ อย่างที่ว่านี่ เราก็จัดสรรไป ทำไปให้ได้สัดได้ส่วน ยิ่งได้สัดส่วน ยิ่งมีปฏิภาณปัญญารู้ ว่า เออ...กาลนี้เราจะทำอะไรยังไง แต่ไม่ใช่ว่า วิ่งพล่านไปหมด เดี๋ยวงานเขา เรียกอันโน้น เราก็พล่านไป งานนี้ก็พล่านไปหมด ก็ไม่ดีอีก เหมือนกัน เราก็ต้องรู้เหมือนกันว่า เออ...งานหลักของเราก็มีอยู่นะ นี่ก็เร่งรัดอยู่เหมือนกัน ก็จำเป็น อันโน้นก็ดูซิ พอเพียงมั้ย ไม่พอเพียงมั้ย ก็สอดส่องเขามั่ง ถ้าไม่พอเพียงจริงๆ ก็ไป ลงมือเลยจริงๆ ไปช่วยกันจริงๆ มันไม่พอ

อย่างอาตมานี่ฟังแล้วเรียกงานนั้นงานนี้ เห็นว่า เอ๊! งานนี้มันสำคัญนะ อาตมาต้องวางมือ จากงานอาตมา ต้องไปช่วยนำหน่อย ต้องไปช่วยพา พอรู้ว่าตัวเองนี่ ถ้าไปช่วยนำ ช่วยพา หรือว่า อาตมาออกไปลงมือด้วยลุยด้วย งานบางอย่างนี่ พวกคุณนี่เห็นแล้ว โอ้โห! อาตมา ก็ต้องลงไปทำ เดี๋ยวพวกคุณก็ต้องกรูเกรียวกันไป หลายอันอาตมาก็ต้องรู้ว่า เออ... ต้อง ไปแล้ว อันนี้ต้องลงต้องไปกระทำ ไม่ต้องถึงอาตมา บางทีท่านติกขวีโร ท่านต้องลงไป ท่านก็งานเยอะเหมือนกัน แต่ว่าอันนี้ท่านต้อง ลงไปนำเหมือนกัน คนที่จะตามท่านติกขวีโร ก็มี ก็รู้ว่า เออ...นี่ผู้ใหญ่ลงมาแล้ว เราเด็กๆเล็กๆ ก็ควรจะต้องลง มันก็มีอย่างนี้เป็นชั้น เป็นตอน หรือไม่ท่านติกขฯ ท่านถิรจิตโต ท่านองค์นั้นองค์นี้ หรือสมณะบอกว่า เออ... อันนี้ สมณะ ต้องไปลงแล้วนะ สมณะบางท่าน ท่านก็เห็นว่างานนี้นี่ไม่ใช่ปล่อย แต่ถ้าเผื่อว่า สมณะไปต้องช่วย เห็นว่า มันก็เป็นรูปแล้ว มันก็เป็นปฏิภาณ คนมันจะรู้ว่า ...แล้วมัน ก็ต้อง ไปช่วยกันเพิ่มขึ้น ต้องการแรงเพิ่มขึ้นอะไรอย่างนี้เป็นต้น

มันมีงานรวม มันมีงานลงแขก มันมีอะไรต่อ อะไรต่างๆนานาพวกนี้ มันจะเป็นลักษณะ พวกนี้อยู่ เสมอๆ จริงๆเลย นี่คือปฏิภาณปัญญา คือมนุษย์ที่จะเข้าใจกรรมกิริยา ที่อยู่ รวมกัน ร่วมกัน ยิ่งพวกเรา ชาวอโศก เป็นพวกที่บุกเบิก สร้างทุกอย่าง ต้องสร้างเอง ด้วยเรี่ยวด้วยแรง ต้องรวมพลังกันจริงๆเลย เข้าใจพลังรวม เข้าใจกาล เข้าใจเวลา โอ! เวลานี้นี่นะ ต้องการ พลังร่วมตรงนี้ เวลานี้ต้องการอันนี้ เวลานี้ต้องใช้อันนี้ เวลานี้ ต้องมา ทำอันนี้ นี่มัน สอดแทรก กรรมกับกาล กรรมกับเวลานี่อยู่อย่างฉลาดเลยว่า อ้อ! กาละ อันนี้เรา ต้องช่วย ไปทำกรรมอันนี้ กาละอันนี้เราทำเอง เราทำคนเดียวได้ เอ๊! ขณะนี้ ไม่ใช่ คนเดียวแล้ว เราเป็นคน มีหมู่มีกลุ่ม มีมิตรดีสหายดีสังคมสิ่งแวดล้อมดี เพราะฉะนั้น เราก็จะต้อง ร่วมกับกรรมกับกาลอันนี้

ถ้าคุณมีความลึกซึ้งและมีความรู้ที่กว้างไกลขึ้นไปอีก เป็น vision เป็นวิสัยทัศน์ ออกไป กว้าง ออกไปสู่สังคม หรือว่าหมู่กลุ่ม ที่โตขึ้น ก่อนจะไปหมู่กลุ่มอื่น ก็หมู่กลุ่มเรา เราก็มี วิสัยทัศน์ที่กว้างเข้าไปจนถึง กระทั่งว่า เออ...ขณะนี้ เราทำงาน อยู่สันติอโศก ปฐมอโศก เราก็มีวิสัยทัศน์ไปถึง ศาลีอโศก ศีรษะอโศก สีมาอโศก หรือว่า ราชธานีอโศก หรือ กลุ่ม อโศก ที่อยู่ในกลุ่มต่างๆ แล้วเราก็จะมีปฏิภาณไหวพริบว่า เออ... อันนี้ ๆ เราจะสัมพันธ์ อย่างไร เราจะคำนวนออก เราจะทำอย่างไร ให้เกิดประโยชน์ คุณค่า ที่จะประสาน สัมพันธ์ สอดคล้อง ที่มันจะส่งเสริมเป็นกรรมกิริยา เป็นบทบาท เป็นผล อะไรที่จะเกิด เจริญขึ้นมา แล้วก็จะมีผลสะพัดเข้าไปสู่สังคม ไปสู่มนุษยชาตินี่เป็น ประโยชน์ต่อคนอื่น ได้มากอย่างไร ถ้าเราทำอันนี้ ร่วมอันนี้ สัมพันธ์อันนี้ แล้วก็ supply ว่าอุปทานกับอันนี้ แล้วมันก็จะมีผลเจริญอันนี้ ผลเจริญอันนี้ก็จะสะพัด ออกไปสู่ผู้อื่น อย่างนี้ๆๆ ที่เราทำอยู่ มันเป็นรูปร่างทุกอย่าง ขณะนี้นี่อะไรๆ มันก็ออกต่อๆๆๆออกไป มันจะต่อออกไปหาคนอื่น อย่างไร สะพัดออกไปอย่างไร เพราะฉะนั้น ทุกคนที่ทำงานอยู่ ทุกวันนี้ เราจะรู้ได้ว่า เราทำนี่แล้วมันก็ออกไป ต่อออกไป เพื่อคนอื่น คนอื่นอย่างไร

จนกระทั่งมีสถานที่จะจำหน่าย จะขาย จะเผยแพร่ ออกไปสู่ คนที่เราไม่ได้กำหนดเลย ใครก็ได้ เป็นร้านค้าร้านขายอะไรที่เราทำอยู่ ทุกวันนี้ ที่แพร่สะพัดออกไป หรือว่าจะถึง หมู่พวกเรา ให้ได้พวกเราได้ก่อนนี่ก็แจกจ่ายในหมู่เราก่อน เพื่อชาวอโศกนี่ก่อน เมื่อเกิน เมื่อมีมากพอ ก็กระจัดกระจายเผื่อคนอื่น ออกไปโดยไม่กำหนด เผื่อแผ่ใครๆไปก็ได้ อะไรอย่างนี้ เป็นต้น มันจะเป็นประโยชน์ตนประโยชน์ท่าน ที่เป็นเรื่องของคุณค่า ประโยชน์ หรือคุณค่านี่เรียกว่าบุญ เราเป็นผู้ที่มีประโยชน์คุณค่า เป็นบุญอย่างนี้ อยู่ตลอดนะ เพราะฉะนั้น นอกจากจะมีทำวัตร มีงานโน่นงานนี่อะไรต่ออะไร พวกเรานี่ แต่ละวัน แต่ละวันของกาละ แต่ละวันของกาล ซึ่งอาจจะไม่ซ้ำซ้อน มันก็มีตาราง ที่ประจำ กับมีที่มีจรอะไรกันอยู่บ้าง นี่ก็หมุนเวียนไปแต่ละวัน วันจันทร์ วันอังคาร พุธ พฤหัส ศุกร์ เสาร์ อาทิตย์อะไรมันมีอะไรบ้าง อาทิตย์วนแล้วแต่ละอาทิตย์ของเดือน ก็จะมีแทรกซ้อน ก็มีงานประจำโน่นนี่โน่นนี่

อย่างอาตมานี่ก็จะต้องบันทึกลงไป ไปจำโน่นนี่อยู่แต่ละเดือน มีไดอารี่บันทึกแล้วก็จะ ต้อง ทำโน่นๆนี่ๆ อะไร อะไรจะจรมา อะไรจะซ้ำไปทุกเดือน ทุกเดือนจะต้องไปจำ แบ่งระยะ เวลา แบ่งอะไรต่ออะไรต่างๆนานา อยู่ในกาลต่างๆ ก็แบ่งไว้ในกาล นี่วัน จันทร์ อังคารพุธพฤหัสศุกร์เสาร์อาทิตย์มีอะไร เวลานั่นเวลานี่ ๙น.,๖น.,๘น.,๗น. ,๑๐น., ๑๑น., ๑๒น. อะไร จะนัดแนะทำโน่นทำนี่อะไรต่ออะไรว่าไป จัดกาลต่างๆ เพื่อกรรม ที่เราจะ... เออ!... เป็นประโยชน์คุณค่า ทั้งตนและท่าน ประโยชน์ของกรรมนี่ ประโยชน์คุณค่า เป็นกุศล เกิดประโยชน์ ทั้งตนและท่าน ถ้าเราฉลาดเราก็จะทำงาน ทำกรรม มีกุศลทั้งนั้น มีกุศล ถึงขั้นขัดเกลากิเลสเราเอง เราปฏิบัติอยู่ที่ไหน ทำการงานอะไรอยู่ที่ไหน เราก็ได้ ขัดเกลา กิเลส เป็นกุศลที่แท้ นอกจากขัดเกลากิเลสตัวเรานี่เป็นประโยชน์ตนอันชัดเจน แล้วเรา ก็ได้ฝึกฝน สร้างสรร ตัวเราเองก็เป็นคุณค่าขึ้นมา มีความชำนาญ มีความเจริญ ในการงาน มีความเชี่ยวชาญขึ้นมาได้ด้วย แล้วเราก็จะมีองค์ประกอบที่มันได้ขัดเกลา กิเลส

ที่อาตมายกตัวอย่างเมื่อกี้ว่างานใดเราไม่ชอบ หรืองานใดที่เราไปทำกับใคร คนที่จะทำ กับเรานี่ เราก็ไปไม่ชอบคนที่จะทำกับเรา เราทำแล้วไม่ถนัด ทำแล้วมันก็แหมมันยวน มันไม่ต้องอกต้องใจ มันไม่ชอบใจอะไรเลยนี่ เราต้องพยายามหัดเข้าให้ได้ หัดฝึกเข้าไป หัดลองดูซิ ถ้ามันมากเกิน ไป แหม!ขนาดนี้มันมีคนหลายระดับ คนในบางระดับนี่  โอ้โห! มันเข้าไม่ได้เลยนะนี่ เราเข้าใกล้ไม่ได้เลย เราโอ้โฮ! ทำร่วมไม่ได้เลย ก็เอ้า! ห่างก่อน แต่คนนี้ ก็เข้าร่วมยากอยู่เหมือนกัน แต่ว่าก็ยังดีกว่าล่ะ นี่มันจะมีลำดับเหมือนกัน ก็เลือก ถ้ามันไม่ไหวจริงๆ ก็เลือกเอา หมู่กลุ่มหรือว่าคนที่พอจะเข้าได้ไป จนกระทั่งเราสามารถเข้า ได้กับทุกคน คนไหนที่เหมือนกับเป็นศัตรูกันเหลือเกิน ผูกโกรธกันเหลือเกิน ชังกัน เหลือเกิน แล้วเราจะไปชังกันอยู่ทำไม ก็เคยบอกนักหนา แล้วอาตมาไม่พูดไปถึงขั้น วิบาก หลังๆ ว่าเราจะเป็นข้าศึกเป็นศัตรูเป็นคู่อาฆาตกันมากี่ชาติกี่ชาติ อาตมาไม่เอาพวกนี้ เข้ามาพูดหรอก

พระพุทธเจ้านั่นท่านเคยพูดเคยเล่าเสมอ ยกตัวอย่าง เป็นนิทงนิทาน พอคนไหนคนไหน อะไร เรื่องอะไรมากๆ ท่านก็ระลึกชาติให้ นี่มันเป็นชาติฆ่ากันมาไม่รู้กี่ชาติ เป็นเวร เป็นกรรม กันมากี่ชาติ ท่านก็เล่าก็อะไรไป ก็ว่าไปท่านเองท่านเก่งท่านทำได้ทุกอย่าง แต่อาตมานี่ ไม่เก่งถึงขนาดนั้น ไม่เก่งถึงขนาดนั้น ก็ทำไม่ค่อยไหว แล้วก็ไม่ค่อย... เอาปัจจุบันนี่ล่ะ ไม่ค่อยถนัด แล้วก็ไม่คิดจะใช้ เรื่องพวกนี้มากด้วย อาตมาทิ้งพวกนี้หมด ไม่ค่อยเอามาใช้ แล้วก็วางด้วย ต้องการพิสูจน์ความจริงที่ง่ายที่สุด เพราะยุคสมัยนี้ มันไม่ต้อง เอาอะไรลึกลับ ถ้าลึกลับมากแล้วแฝงลวง หลอกล่อกันง่าย เพราะฉะนั้น อาตมาก็ไม่เอา ไอ้เรื่องนั้นไม่เอา เอาเรื่องที่มันชัดที่สุด เป็นวิทยาศาสตร์ พูดกันรู้เรื่อง เดี๋ยวนี้ มาพิสูจน์กันเข้าไป มันมีอะไรเราก็กรองเอา เลือกเฟ้นเอา เอาที่ดี

จุดที่สำคัญที่สุดที่พูดกันไม่รู้รื่องในศาสนาพุทธ แล้วก็เพี้ยน ก็คือคำว่า มัชฌิมา คำว่า เป็นกลาง ลักษณะกลางๆ หรือว่ามัชฌิมาที่ว่านี้ คนเราก็เอากิเลสของเราเข้าไปวัด เรื่อยเลย นี่จะพอดีแล้วนี่พอเหมาะพอดี ไม่สุดโต่ง ไม่เคร่งไป ไม่ทรมานตน ไม่เดือดร้อน คำพูดแค่นี้แหละ มันบำเรอตนเองแล้ว มันเป็นยถาสุขังแล้ว มันเป็น เรื่องที่เราเลือกเฟ้น ให้แก่ตัวเองแล้ว แค่นี้พอดี ขนาดนี้พอดี ไอ้คำว่าพอดีนี่ไปแล้ว เพราะฉะนั้น หลักการของ พระพุทธเจ้า จึงให้ตั้งตนอยู่บนความลำบาก แล้วกุศลธรรม จะเจริญยิ่ง วิธีเลือกว่า เราจะอยู่ในภาวะอย่างไร เราจึงจะเจริญด้วยกุศล คืออยู่ ในภาวะตั้งตนอยู่บน ความลำบาก ย้ำมาเท่าไหร่ๆ เขาไม่เอามาพูดหรอก แต่มันอยู่ในคำสอนพระพุทธเจ้า อาตมาพบแล้ว อาตมาก็เห็นทันทีว่า โอ!นี่แหละคือตัวชัดเจน

ไปอธิบายกันว่า เหมือนพิณ สามสาย เหมือนพิณสามสาย ไอ้นั่นก็เป็นเชิงหนึ่ง เท่านั้นเอง นะ เสร็จแล้ว มาตีความ เอาเองว่า อ๋อ!เหมือนพิณสามสาย สายกลาง แล้วคุณรู้หรือเปล่า ว่าคุณอยู่สายกลาง หรือว่าอยู่สายหย่อน หรืออยู่สายเคร่งเกินไป คุณรู้หรือเปล่า? ไม่รู้ บอกแต่สายกลาง รู้มั้ยว่า พิณสามสายนี่ ถ้ามันจะรู้ว่าสายไหนหย่อน สายไหนสูง เอาสามสาย เอาสายเสียงกลาง เสียงต่ำ หรือเสียงสูง ว่างั้นเถอะนะ สามสายนี่ คุณจะรู้ว่า อันไหนต่ำ อันไหนกลาง อันไหนสูง คุณจะรู้ได้ คุณต้องขึงมันให้ตึงหรือเปล่า? (คนฟัง ตึงครับ) ถ้าไม่ขึงให้ตึง แล้วมันจะรู้มั้ย สามสายนี้ ว่าอันไหนกลาง อันไหนต่ำ อันไหนสูง เพราะฉะนั้น คำว่าตึงนี่ก็คือ ความต้องเคร่ง ต้องขึง ให้ตึงทั้งสามสาย พิณมัน ถึงจะรู้ว่า สายไหน เป็นสายกลาง เพราะฉะนั้น บอกว่า เออ...ได้ยินพิณสามสาย สายกลาง ก็มุมหนึ่ง อธิบายไว้มุมหนึ่งเท่านั้นเอง แต่เสร็จแล้วก็ไปตีกิน อธิบายว่า เอ๊ย! เราน่ะ พิณสามสาย ต้องเอาสายกลาง กลางคืออะไร? กลางคือความสบายตัวเอง พอใจตัวเอง เสพย์แล้ว ติดแล้ว เพราะฉะนั้น เอาพิณสามสายมาอธิบายตัวเองไม่ได้หรอก เพราะมันง่าย เลือกกลาง จากต่ำสูงเท่านั้นเอง ง่าย

แต่จริงๆแล้ว ต้องมาประมาณ ความตั้งตนอยู่บนความลำบาก หรือ ยถาสุขัง ปล่อยตน ตามสบาย นี่เป็นตัวในไขมัชฌิมาปฏิปทาที่ชัดเจน หรือ แม้แต่คำว่า สุขาปฏิปทา ทุกขาปฏิปทา ก็ตาม ก็อธิบายกันไป เพียงสุขาปฏิปทา ก็ไปอธิบายเหมือน ยถาสุขัง ถ้าเฝื่อว่า เอาล่ะเอาแต่ภาษาก็ได้ ก็ยถาสุขัง มันพาเลวหรือพาดี คำอธิบายพระพุทธเจ้า? ยถาสุขังพาเลว อกุศลธรรมเจริญ ส่วนสุขาปฏิปทานั้น ท่านไม่ได้บอกว่า จะพาเจริญ หรือพาดี ท่านไม่ได้บอกนะ สุขาปฏิปทา ท่านอธิบายแต่ว่า ขิปปาภิญญา หรือ ทัน-ทา-ภิญ-ญา ท่านอธิบายแต่ว่าจะปฏิบัติแล้วจะได้บรรลุผลเร็วหรือช้า ท่านไม่ได้บอกว่า ปฏิบัติแล้ว จะกุศลหรืออกุศล ท่านก็ไม่ได้บอก ท่านบอกแต่ว่า สุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา หรือ ทัน-ทา-ภิญ-ญา บรรลุเร็วหรือบรรลุช้า เท่านั้นเอง เสร็จแล้วก็ไปตีความกัน มันต้อง ปฏิบัติสุขาปฏิปทา เอ้า!ใช่ สุขาปฏิปทาแบบไหนน่ะ สุขาปฏิปทาต้องไม่ยถาสุขัง ใช่มั้ย? ใช่มั้ย? เพราะจะยถาสุขังอย่างไรล่ะ

นี่อาตมากำลังอธิบาย ต้องตั้งตนอยู่บนความลำบาก แล้วนัยสุขาปฏิปทาเป็นอย่างไร อาตมาก็เคยอธิบายให้ฟังแล้ว ว่ามันจะสบายอย่างไร สบายก็คือว่า เราต้องทำใจในใจ ให้เป็น สุขาปฏิปทา ก็คือปฏิบัติแล้วเราเข้าใจถูกต้อง เหนื่อยแต่ร่าเริงเบิกบาน ก็คือ ขจัดความชัง ขจัดความไม่ชอบ ให้มีฉันทะ ให้มีความยินดีซะซิ ด้วยญาณปัญญาของเรา ว่านี่ดีใช่มั้ยเล่า แม้เราเองไม่ถนัด แม้เราเองยาก ก็ไม่เป็นไร ฝึกหัด ถ้าเราเข้าใจแล้ว เราก็ปฏิบัติความผลัก ปฏิบัติความไม่ยินดี ปฏิบัติความต้านอะไรในจิตใจ นี่เป็นภาษานะ คุณก็ไปขจัด ไอ้สิ่งเหล่านั้น ออกจากใจซิ

แม้เราจะไม่ชอบก็วางซะไอ้เรื่องไม่ชอบ ทำใจให้ชอบเข้าไป ทำใจในใจ ทำต้องทำ นี่มัน ก็ต้องอธิบายด้วยภาษาที่มันชัดๆอย่างนี้ ถ้าไม่งั้นคุณจะแก้ได้ยังไง คุณก็ติดอยู่ที่ภาษา อยู่ตลอดเวลา ภาษานี่มันก็อย่างนั้น ทีนี้อาตมาไม่เอาภาษาอันนั้นมา เรียกทีเดียว อธิบาย ลักษณะให้ฟังเลย เราก็ต้องทำตามลักษณะที่มันจะเข้ากัน ที่มันจะสอดคล้องกัน มันจะยินดี อย่างไร ยินดีก็คือใจของเราไม่ต้าน ใจของเราไม่ผลัก ใจของเราไม่ต้องไป ไม่ชอบ ไปชัง ไปอย่างโน้นอย่างนี้ ไปฝืน ก็อย่าไปฝืนซิ ฝืนคืออะไร ก็ปล่อยไอ้ตัวฝืน ตัวไหนล่ะ ยังไงอาการใจมันฝืนมันคืออะไร ก็ปล่อยมันซิ จะให้มันฝืนทำไมล่ะ ดี ยินดี ก็ทำใจมันว่าเออ... จะหลอกตัวเองก็หลอกไปว่าดีนะ ดีนะ หลอกตัวเองก็หลอกไปซิ ก็มันก็สบายกว่า แล้วก็ทำซิ แล้วก็พิสูจน์ผล พอทำไป แล้วพิสูจน์ผล เออ... มันก็ได้ ประโยชน์ ได้ไอ้โน่นไอ้นี่ คุณก็จะโน้มน้อมไปตามเองว่าเอ้อ! มันก็ดีนะ ไอ้ความดีที่เห็นดี แล้วก็ยินดี มันก็เกิดความจริงตามความเป็นจริง ที่คุณเกิดญาณปัญญา ญาณปัญญา นั้นแหละ ตัวญาณทัศนะหรือญาณปัญญานั้น มันจะช่วยให้เราได้มีพลังในการเชื่อ เกิดศรัทธินทรีย์ เกิดปัญญินทรีย์ เพราะฉะนั้น วิริยินทรีย์ก็มีกำลัง ศรัทธินทรีย์ก็มีกำลัง สมาธินทรีย์ความตั้งมั่น ก็มีกำลัง เมื่อความตั้งมั่นมีกำลัง สมาธินทรีย์นี่แหละเข้าไปหา ฐิเต อาเนญชัปปัตเต เข้าไปเป็นญาณ เป็นวิมุติ เข้าเป็นความแข็งแรง เข้าเป็นความถาวร มันจะเกิด ของมันขึ้นไปเอง

ถ้าเราเหลาะๆ แหละๆได้แต่ เอ๊อ!อย่างนี้เราไม่ส่งเสริม เราไม่อยากทำ เราก็ไม่ทำ นั่นล่ะ ยถา สุขัง อยู่ตลอดเวลา ตามใจตัวเองอยู่ตลอดเวลา เราทำอันนี้เถอะเราชอบ ทำแต่สิ่ง ชอบๆๆๆๆๆๆๆ ถ้ามันเป็น demand ก็ดีไป ในกาลนั้น มันเป็นความจำเป็น มันเป็นอุปสงค์ ที่ว่า คุณจะต้องทำอันนี้ล่ะมาก คนอื่นเขาไม่ทำเลย มีเราคนเดียวล่ะ ทำอยู่นี่ มันเป็นตัว ต้องการสำคัญ มันเป็น demand มันเป็นอุปสงค์ที่สำคัญ นี่ถ้าไม่มีใครรับผิดชอบเลยงานนี้ คุณต้องนั่ง ตั้งหน้าตั้งตาเอาแต่เวลาทำงานอันนี้น่ะ อันอื่นเราก็ เอ๊อ! มันก็.. อันนี้มันสำคัญ มันจำเป็นจริงๆ แล้ว มันจริงๆเลยว่ามันเป็น demand ของสังคม ของหมู่กลุ่มจริงๆ แล้วมัน ก็ไม่มีคนทำ เพียงพอ เราจะต้องทำ ใช้แรงงานกับอันนี้ ใช้เวลาอันนี้ ทำอันนี้แหละ มากที่สุด ก็ดีไป ดีงานนะ แต่ไม่ได้ดีกิเลส ไม่ได้ดีจิตวิญญาณ จิตวิญญาณก็ดีไม่ดี จะติด จะชำนาญ จะผนึก ตกผลึกกับงานนั้น งานอื่นก็ลดลงแน่นอน ใช่มั้ย แต่มันก็ได้ทำงานนี้ ที่ถาวร หรือ ว่าแข็งแรงเชี่ยวชาญมั่นคง มันก็ดีกับงานอันนี้เท่านั้นเอง ดีไม่ดี มันก็จะติด นี่ตัวมันจะซ้อน ที่มันจะแฝง มันจะไม่ดี มันจะไม่ปล่อยไม่วาง มันจะเป็นอื่นไปยาก

(คนฟัง: ได้ทั้งความชำนาญ และความชั่วนาน)

เออ...เอ้า! ดี น่าคิดตัวพวกนี้ (พ่อท่านหัวเราะ) ก็เก่งเหมือนกันนะ นั่งคิดอยู่ด้วย เอามานี่ มีได้ทั้งความชำนาญ และความชั่วนาน มันจะติดจะยึดมากกว่าใช่มั้ย? เพราะว่าทุกอย่าง ทุกอัน จะต้องพรากจากกัน พระพุทธเจ้าไม่ได้สอนให้ติดยึด อะไรก็ไม่ได้ติดยึด เพราะฉะนั้น ตัวหลักที่ไม่ติดยึดตัวนี้แหละ มันคือตัวจะพาเสียนะ จะพาเสีย ได้งานนั้นจริง มันมี เป็นอุปสงค์ที่ต้องการ เป็น demand ที่ต้องการจริง ถูกจริง แต่มันจะซ้อนตัวนี้ ลงไปอีก นี่ต้องระวัง ต้องระวัง เพราะฉะนั้น ทำอะไรจำเจ จำเจ จำเจ จำเจ จำเจ แล้วมัน ดีไม่ดี เราก็ชอบซะด้วยนี่ โอ๊ย! ยิ่งมีตัวชอบเข้าไปเสร็จเลย ตัวกิเลสที่มัน...แหมมันผนึก มันกินลึก มันติดมันยึด มันจะสังโยค มันจะผูกมัดรัดรึงนี้เราวิสังโยคไม่ออก ตอนนี้นะ วิสังโยค เพราะฉะนั้น จะไปพูดถึง อัปปจยะ จะต้องสละ จะต้องไม่สะสม ไม่ต้อง... นั่นคือ ตัวสะสมล่ะ เพราะฉะนั้น ตัวผูกมัดรัดรึง จะเกิดแน่นๆๆ ขึ้นมา ระวังตัวนี้ ระวังทีเดียว

ที่อาตมาเตือนอยู่เสมอว่าออกมา เคลื่อนคล้ายมาบ้าง มาสัมพันธ์กับสังคม มาร่วม งานโน่น งานนี่กับหมู่ ไอ้ที่มีหมู่ดีนี่แหละ สังคมสิ่งแวดล้อมดี นี่แหละ มิตรดี สหายดี ร่วมประโยชน์ สหาโย การร่วมประโยชน์อันดีงามนี่แหละ มันจะได้เฉลี่ย แล้วมันจะได้ เป็นทางที่ทำให้มีโจทย์ มีแบบฝึกหัดที่เราต้องเฉลี่ยกระทำไป เออ...สังสรรค์กับหมู่ ความสัมพันธ์อันดี ประเดี๋ยวก็ทำแต่งานอยู่แต่ของตัว จนกระทั่ง เพื่อนฝูงบอก อ๋อ! คนนี้ ยังอยู่เหรอ โผล่ออกมาทีบอก อ๋อ! นึกว่าตายแล้ว นึกว่าไปอยู่ที่อื่นแล้ว นึกว่าหายไปไหน ไอ้นี่มันก็เกินไป มันเกือบจะมีอยู่เหมือนกันนะ ในหมู่พวกเรานี่ อย่าว่าแต่พวกคุณเลย แม้แต่อาตมา ก็ยังรู้สึกว่า อ๋อ! อยู่นี่เหรอ ยังอยู่สันติฯนี่เหรอ นึกว่าหายไปไหน หรือว่า ออกจากหมู่กลุ่มไปแล้ว แต่ก็ไม่นึกว่าตายหรอก เพราะว่าเห็นหน้าอยู่ ยังไม่ตาย ไม่ได้นึกว่า ตายหรอก แต่ว่านึกว่า เอ๊! พึ่งเจอหน้า อ๋อ! นึกว่าไปที่อื่น ไอ้อย่างนี้ มันก็เกินไป

เพราะฉะนั้น กัลยาณ สหาโย นี่มันร่วมประโยชน์ มันมีประโยชน์ร่วมกัน สหาโย อาโย อายะนี่ มันเป็นประโยชน์ร่วมกัน กัลยาณมิตโต จิตผนึก จิตประสาน จิตเป็นมนุษย์ ที่เป็น หนึ่งเดียวกัน เหมือนกับที่ท่านอธิบาย จิตวิญญาณเราเป็นหนึ่งเดียว กับจิตพระเจ้า นั่นแหละ จิตวิญญาณพระเจ้า แล้วเราจะต้องเป็นจิตที่เป็นหนึ่งเดียวกัน กับพระเจ้า เป็นจิตวิญญาณอันเดียวกัน นั่นแหละ กัลยาณมิตโต กัลยาณมิตโต นี่มันจะเข้าไปเป็น อันหนึ่ง อันเดียวกัน ประสานกันสนิท เข้ากันได้ ต่างจริตก็มาประสานจริต เข้ามาหา อันเดียวกัน ซึ่งลึกซึ้ง เรื่องของจิตวิญญาณทั้งนั้น มิตโตนี่จิตวิญญาณ สหาโย นี่ ห่างออกมาหน่อย เป็นประโยชน์ร่วมกัน มีกรรมกิริยา มีการงาน มีคุณค่า มีอะไร ออกไปอีก บอกแล้วว่ามิตโตนี่จิต สหาโยนี่สภาพขยายขึ้นไปอีก ร่วมกรรม การงาน คุณค่า ประโยชน์อะไรขึ้นมาอีก สัมปวังโก นี่รวมหมดเลย กัลยาณ สัมปวังโก รวมหมดเลย เป็นทั้งหมด ทั้งสิ้นเลย รวมเลยนั่นแหละ ที่จะบอกว่าเป็นทั้งหมดทั้งสิ้นของพรหมจรรย์ ก็จะต้อง มีกรรมกิริยา มีทั้งมนุษย์ มีทั้งกิจการ มีทั้งองค์ประกอบของวัตถุ ทั้งจิตวิญญาณ ทั้งมนุษยชาติ ทั้งอะไรต่ออะไร รวมกันแล้วก็เป็น สัมปวังโก เป็นสัปปายะทั้งหมด

จนกระทั่ง ขยายโตขนาดไหนได้ก็เป็นพุทธบริษัท หรือเป็นมนุษยชาติ ที่มีมนุษย์นั่นน่ะ เป็นตัวมวล ทั้งคุณภาพสมบูรณ์ เพราะฉะนั้น พุทธศาสนิกชนทั้งหมด หรือเป็นประโยชน์ ต่อคนอื่นๆ สัตวโลกด้วย สัตวโลกคนอื่นๆ ที่ห่างๆออกไป เราเองเราไปบังคับ หรือว่า เราไปนำพาเขายาก เราก็นำพาพวกเรา นำพาผู้ที่ใส่ใจ ผู้ที่เข้าใจก็เป็นแก่นเป็นแกน จากแก่น จากแกนก็ขยายออกไปเป็นประโยชน์สัมพันธ์คุณค่าของมนุษย์โลก

สรุปแล้วก็ทุกคนจะต้องเข้าใจรายละเอียดพวกนี้ แล้วก็จัดแจงกรรม จัดแจงกรรม ฟังดีๆ เถอะ อาตมาว่ามนุษย์เรานี่ ถ้าใครเข้าใจอย่างที่อาตมาว่านี่จริงๆแล้ว นะ ก็พยายามระวัง หรือจัดแจงกรรมของเรา ระวัง แต่ละวันแต่ละเวลา ตื่นเช้าขึ้นมารู้สึกตัว ตอนนอนอยู่ ก็บอกแล้ว เมื่อกี้ นอนเราก็พยายามซิ จะมีจิตสติสัมปชัญญะ แล้วก็จะกำหนดให้ตัวเอง ตอนนี้มัน ...แหมมันคิดมาก เครื่องมันติดเยอะเหลือเกิน เพลาเครื่องหน่อย ก็เหมือนกับ คนติดเครื่องยนต์นี่นะ ไอ้เครื่องยนต์ทำงานทั้งวัน แหมวันนี้ทำงานมาจี๋เลยนะ วันนี้ โอ้โห! เครื่องร้อนเลย เดี๋ยวนอนวันนี้ต้องพักหน่อยเหอะ อย่าไปปรุงมากนัก สมถะเถอะ สงบ หยุด ดับเครื่อง พัก ถ้าคุณสามารถคุณก็ทำได้ เครื่องดับเครื่องพัก ไม่ต้องให้เครื่อง มันติดหรอก แต่ถ้าคนที่ทำงานอยู่ วันนี้ก็ทำจี๋เลยนี่ งานก็ยังต่อเนื่องอยู่ ยังจะต้องขึ้นมา ทำอีก เดี๋ยวพรุ่งนี้มาทำอีก แต่ตอนนี้ ถึงเวลาพักแล้ว เวลาจะนอนควรพักก่อน ถ้าไม่พัก มันก็ไม่ได้ มันไม่ดี ต้องพัก มันต้องมีพักมีเพียร เอ้า ! พัก แต่ว่าเอาละ ตอนนี้มันก็ไม่ร้อน ถึงขนาดนั้น มันก็ทำได้ มันให้เครื่องติดบ้างก็ทำ ติดบ้างก็เอา เครื่องก็ทำบ้าง ประมาณนี้ ไม่ต้องดับสนิท มันก็ทำ จริงๆ อัตโนมัติมันมีอยู่ในตัวเหมือนกัน

คนใดที่ประมาณเป็น ฝึกมาดีๆแล้ว ไม่ต้องไปตั้งเท่าไหร่หรอก ตอนนี้จะพักนะก็พัก แล้วมันก็จะติดเครื่องของมัน เท่าที่มันควรจะติด มันจะทำงาน มันจะคำนึงถึงงาน งานมันจะทำงานไปบ้างในข้างในพอสมควร แล้วมันก็จะพัก เพราะว่าเรารู้แล้วว่า พักคือพัก ทำงานคือทำงาน ทำงานหรือเพียรนี่ พักคือพักก็พัก ทีเวลาตื่น ตื่นขึ้นมา ทำงาน เต็มที่แล้ว ตอนนี้ไม่ใช่เวลาพัก เวลาทำงานเต็มที่ก็ทำ ตื่นขึ้นมาจะทำอะไรตามตาราง ที่ควรจะกระทำให้มันได้ประโยชน์ จากกรรมของเรา กับกาลตอนนี้กาลนี้แล้ว นี่กาลตื่น นี่กาลทำวัตร จากทำวัตรเสร็จกาลนี้จัดแจงอันนี้ อันนี้ ควบคุมกรรมกันไป จัดแจงกรรม ของเราไป แต่ละวัน แต่ละวันกับกาล

ผู้ใดฉลาด ผู้ใดเข้าใจสังวรระวังอยู่อย่างนี้ กรรมกับกาล กรรมกับกาล กรรมกับกาลนี่ไป ผู้นั้น โอ้โฮ! ก้าวหน้าพัฒนา เจริญงอกงาม จัดกุศลกรรม ก็ให้มันเป็นกุศลประโยชน์ตน ประ โยชน์ท่าน อาจจะเป็นประโยชน์ตนอย่างไร ก็พูดสอดพูดแทรก พูดซ้อนพูดอธิบาย ใหัฟังอยู่แล้วว่า การงานอะไร กรรมอะไรที่เราควรจะกระทำให้มันเกิด ทั้งขัดเกลาเกิด ทั้งประโยชน์ร่วม มีความสัมพันธ์อันดี มีการได้ประโยชน์ เราได้ละลดกิเลสจริง ดี ประโยชน์ ที่จะไปเป็นทั้งของหมู่ของกลุ่ม ทั้งสังคม กว้างขวางขึ้นไปดี ก็ทำขึ้นไป

ทุกวันนี้จะเห็นได้ว่า อาตมาพาทำทั้งสัมมาอาชีพ สัมมากัมมันตะ สัมมาวาจา เราก็พูด เราก็แนะนำ เราก็ปราม เราก็ติงกันอยู่เหมือนกัน อะไรมากไป น้อยไป วาจาต่างๆ ผู้ใดมาก ผู้ใดน้อย ติงกันเตือนกัน จนกระทั่งถึงควรจะคิดอย่างไร ดำริอย่างไร ไม่ควรดำริอย่างไร ตรรก วิตรรก สังกัปปะอย่างไร ๆ เราก็แนะนำกันไป ตามหลักตามเกณฑ์ของพระพุทธเจ้า สอนวางไว้ สูตรละเอียดลออ อาตมาหยิบมาจนกระทั่งถึงนัยองค์กรรมที่ซ้อนๆ ซ้อน ละเอียด มรรคองค์แปดนี่ อาตมาว่าซ้อนไป จนกระทั่งถึงเวทนา ในระดับร้อยแปด ก็ได้อธิบาย ได้พยายามแจกแจงให้เห็นในนัยละเอียด ถึงขั้นต่างกันอย่างไร ว่าเป็น เนกขัมมะ ของ โทมนัส เนกขัมมะของโสมนัส หรือ อุเบกขา หรือไม่ใช่เนกขัมมะ เป็น เคหสิตะ อาการมันเป็นยังไงเคหสิตะ เคหสิตโทมนัส ในโลกเขาไม่รู้เรื่องอาการจิต อย่างนี้นะ นี่มันเป็นเคหสิตะโทมนัส ก็คือว่ามันไม่ได้สมใจ มันเป็นกิเลสร้อยเปอร์เซ็นต์ เลย มันก็ทุกข์ ทุกข์เพราะว่าเราอยากจะเป็นชาวโลกๆ เคหสิตะน่ะ อยากจะต้อง อยากได้ อยากนั่น อยากนี่ อยากเสพย์อยากสุข อยากเป็นอยากมี แบบโน้น

แต่ถ้าเราตั้งตนใหม่ ตั้งจิตใหม่ เนกขัมมสิตะ แม้จะโทมนัสเพราะว่ามันไม่สุข โทมนัสคือ ยังไม่สุข มันก็ยังลำบากอยู่ แต่เราก็รู้ว่านี่เป็น เนกขัมมสิตโทมนัส ก็คือการตั้งตนอยู่บน ความลำบากแล้ว เพื่อละออกจากอันนั้น เพื่อพ้นออกจากอันนั้น เนกขัมมะออกจากอันนั้น เราก็รู้ว่า เรานี่แหละเป็นคนจัดแจงกรรมของเรานะ เวทนามันเป็นอย่างนี้ ก็รู้ในเวทนา ว่าความรู้สึกของเรา มันเป็นอย่างนี้ มันฝืนนะ อ้าว! ก็ฝืนน่ะซิ แล้วฝืนอันนี้ได้ประโยชน์ ออก ใช่มั้ยนั่น ฆ่ากิเลสไอ้ตัวที่มันจะเอาตามใจตัวเองหรือเปล่า จะบำเรอตัวเองหรือเปล่า แล้วมันเป็นคุณค่า ประโยชน์มั้ย ทำด้วยชอบหรือทำด้วยชัง นี่เราเองทำด้วยเพราะว่า เราชังมัน เราไม่ชอบนะ เราก็พยายามทำ แต่มันเป็นคุณค่าประโยชน์มั้ยล่ะ? เป็น เหมาะสม กับกาลด้วย มี demand ดีสำคัญ ถูกต้อง เราก็ทำ แล้วก็อย่าให้กิเลสมันเป็น เจ้าเรือน อย่าใหญ่นะ กิเลสอย่ามาใหญ่ เราต้องเอาชนะมันอย่างนั้น แล้วเราก็รู้ อ๋อ! นี่ เอาเถอะ เราอ่านถึงขั้น เวทนาของเราเลย ว่านี่มันเป็น เนกขัมมสิตโทมนัส อยู่แล้ว ก็ฝึกไป จนกระทั่งมันเห็นดี จนกระทั่งมันชำนาญ จนกระทั่งมันปล่อยวางไอ้ตัวฝืนตัวต้าน กิเลส ต่างๆ พวกนี้อ่อนแรง จนกระทั่ง เออ...ไม่มีแล้ว หรือว่ามีน้อยลง ๆ ก็เห็นอาการจางคลาย วิราคานุปัสสี ตามเห็นว่าเออ... แต่ก่อนมันเนกขัมมสิตโทมนัส จัดอยู่นะ แรงอยู่นะ ต้องสู้หนัก นานเข้านานเข้า ผลดีก็ได้ ปัญญาญาณก็สอดส่อง เกิดคุณค่าทั้งนอก ทั้งใน ใจเราก็ดีขึ้น ผลที่...จิตมันก็ โอ๊! ก็จริงยิ่งจริงแล้วนะ ทำอย่างนี้ดีแล้วล่ะ ผลเพื่อประโยชน์ หมู่ชน ผู้อื่น สังคม เป็นประโยชน์ตนประโยชน์ท่าน อันดีงาม อาการของจิตเบาลง ก็ยิ่งดี เออ อารมณ์ดีนะ ถ้าเผื่อว่ากิเลสนี่มันน้อยลง ไอ้ความต้านความฝืน ไอ้กิเลสนั่นแหละ ตัวต้านตัวฝืน มันไม่มาต้านมาฝืน มันก็ฝืดน้อย มันก็คล่องตัว มันก็เบาขึ้น มันก็ดีขึ้น ง่ายขึ้น สะดวกขึ้น ไม่ก็ไม่ทุกข์ โทมนัสก็น้อยลง

ยิ่งเห็นผลดี ยิ่งเห็นประโยชน์คุณค่า มีปีติ มีโสมนัส มีความปลาบปลื้ม โอ๊!ดีนะ นี่ ทำแล้ว มันก็ได้ผลดี แล้วเราก็ลดได้จริงๆด้วย มันก็เลยมีปีติซ้อนหรือมีความยินดีซ้อน มีอุปกิเลส อะไรก็ตาม จะเรียกมันเป็นอุปกิเลสก่อนก็ได้ คุณก็ต้องรู้ตัวเองว่า โอ๋! อย่างนี้ดีแล้วนี่ เป็น เนกขัมมสิตโสมนัส ขึ้นมา ลดมันอีก ซ้อน ลดไอ้มันยินดีหรือ มันปีติ มันติดยึดในความดี แต่งาน หรือกรรมกิริยาเก่าก็ยังดีอยู่ หรือขยันอยู่อย่างเก่า หรือว่าเราทำได้ดีขึ้นกว่าเก่า กรรมกิริยาเก่า ก็ยังดีอยู่ หรือขยันอยู่อย่างเก่า หรือว่าเราทำได้ดีขึ้นกว่าเก่า แต่อาการ ของจิต อารมณ์ของจิต กิเลสของจิต เราก็จัดแจงเวทนานั้นลงไปอีก สู่อุเบกขาเวทนา หรือ อทุกขมสุขลงไปอีก จนกระทั่งได้ฐานอุเบกขา ปริสุทธา ปริโยทาตา มุทุ กัมมัญญา โอ้โห! การงาน เป็นกัมมัญญาโน่นแน่ะตอนนี้ จิตก็ โอ้โห! มุทุภูตธาตุ อย่างเจริญ จะทำยังไงอยู่ก็ ปภัสสรา ปภัสสรานี่คุณลักษณะห้าประการของอุเบกขา อย่างถูกต้อง

นี่เป็นหลักการที่พระพุทธเจ้าท่านรู้จักจิตวิญญาณแล้วมาตั้งภาษาเอาไว้ให้อ่าน  สภาวะ พวกนี้ แล้วก็ไปเรียนรู้ฝึกฝนไป เพราะฉะนั้น ถ้าเรายิ่งมีฝึก แบบฝึกหัดที่ได้ อ่านพวกนี้ บ่อยๆ คุณก็จะเป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องปรมัตถธรรม ได้แต่เลี่ยง ได้แต่เสพย์ ไอ้เสพย์แล้ว มันก็ยิ่งโง่ ยิ่งเสพย์ยิ่งติดยิ่งมืด ไอ้ตัวเสพย์นี่แหละ มันลวงคนมาก มันหลอกให้คนติดยึด แล้วมันก็ดูสบาย แล้วพวกเราก็ยิ่งอิสรเสรีภาพ เร่งรัดกันก็แต่เพียงสอนเป็นคราวๆ ไม่มีใคร ไปจ้ำจี้จ้ำไช ดุด่าว่าเฆี่ยนเพราะว่าไม่มีอำนาจแบบ อามิส เอาอามิสล่อ ก็ได้แต่ ติงเตือนกัน เสร็จแล้วก็อัตตามานะของแต่ละคน ไอ้นี่คนนี้ เตือนมันบ่อยไม่ได้ เตือนมันบ่อย มันก็งอมา ไม่เอาล่ะ สงบดีกว่า อย่าสร้างศัตรู พวกเราก็เป็นอย่างนั้น ก็เลย เตือนกันได้เล็กน้อย แล้วก็ไม่กล้าเตือนกันอีก ก็ปล่อยไป อย่านึกว่าดีนะนั่นน่ะ จะเป็น หมาหัวเน่าไม่รู้ตัว เพื่อนยิ่งไม่ค่อยจะเตือนเพราะเตือนไม่ได้ เราพอเตือนเข้า ก็เอาเลย พวกเรามันผู้ดี มันไม่เหมือนข้างนอกเขา มันผู้ดี พออยู่ในนี้ ในโลกผู้ดีนี่ เราก็กลายเป็น ผู้เลว ที่เลวอย่างขนาดผู้ดีเขายังท้วงไม่ได้ ต้องส่งไปอยู่กับหมู่พวกหยาบด้วยกัน เขาตะคอกเอา เขาโขกเขาสับเอา ต้องไปอยู่กับพวกโน้น มาอยู่กับพวกผู้ดีไม่ได้หรอก เพราะว่า เลวจัดแล้ว อยู่ในหมู่ผู้ดี นี่เลวจัดแล้ว ก็ต้องเลื่อนฐานลงไปอยู่... มันจะเป็นไ ปเอง ตามธรรมชาติของมัน มันจะเลื่อนฐานลงไปสู่หมู่ผู้เลวที่ไปนั่นเอง

แต่ถ้าแม้ว่าไม่ได้ออกไปตีกิน เลี่ยงมันอยู่ ดันทุรังมาอยู่ในนี้จนได้นะ ทั้งๆที่ เรานี่ฐาน ของเรา ภูมิของเรานี่มันต้องไปอยู่กับพวกเลว แต่เราก็ดันทุรังอยู่กับพวกผู้ดี นี่ได้ก็ตาม ยิ่งจะผยอง ยิ่งจะได้ใจ เพราะฉะนั้น ความหนาหรือว่าความหยาบความต่ำพวกนี้ ยิ่งอยู่ไปแล้ว ก็ยิ่งหาเล่ห์เหลี่ยม ยิ่งหาวิธียิ่งอะไรต่ออะไร นึกว่าฉลาดนะ ฉลาดที่เรา อยู่กับ หมู่นี่เขาได้ ดันทุรังได้ เลี่ยงได้ อะไรได้ก็แล้วแต่ และ ไอ้สะสมความดันทุรัง หรือว่า สะสมความเลี่ยงพวกนี้มันสะสมอะไรล่ะ กุศลหรืออกุศล ภาษาไทยง่ายๆ นี่ภาษาไทยนะ สะสมไป สะสมความดันทุรังกับสะสมความเลี่ยง จะเฉโก จะเลี่ยงอะไรก็แล้วแต่ แต่คุณ ก็อยู่ได้ หมู่ฝูงเขาก็เอาล่ะ ถ้ามันไม่เลวร้ายถึงจะต้องให้ตำรวจมาจัดการออกไป เขาจะไป มีอะไร เขาก็ยอมให้อยู่ ใช่มั้ย มันไม่ หยาบมันไม่ร้ายแรงจนถึงขั้นจะต้อง ให้ไปเอาตำรวจ มาขอเชิญออกไป เขาก็ต้องยอมให้อยู่ เพราะว่าคุณมี ๑)ดันทุรัง ๒)จอมเลี่ยง อยู่อย่างนี้ เขาก็ไม่เอาแล้ว ไม่จับแล้ว ไม่วุ่นแล้ว ชั่วใครชั่วมัน บาปใครบาปมัน พวกเราก็จะมีการวาง อย่างนั้น ถึงขีดหนึ่งก็จะวางอย่างนั้น ใช่มั้ย แต่ผู้นี้ได้อะไรล่ะ? ได้แค่ภาษา

ที่อาตมา หยิบมาพูดนี่ ได้ตัวดันทุรังกับตัวเลี่ยง แล้วตัวก็ไม่ได้แก้ไข มันก็สะสมไปเรื่อยๆ นึกว่า เจริญเหรอ? เหอ? ไม่เจริญหรอก อยู่กับกาลก็สั่งสมแต่อกุศลนี่ไป เมื่อเราเชื่อมั่น มีกัมมสัทธา วิปากสัทธา กัมมัสสกตาสัทธา ตถาคตโพธิสัทธาแล้ว มันก็คือ สั่งสมกรรม นั่นเอง ถ้าเป็นอย่างนี้แล้ว ไปอยู่กับหมู่ที่เหมาะสมกัน ฐานะอันเหมาะสมกัน แล้ว เขาโขก เขาสับ เขาขัดเขาเกลากันได้ เพราะพวกเราบางทีมันแรง แล้วเราแรงไม่ไหวแล้ว เพราะเรา ไม่ทำกันแล้ว ก็จะต้องไปอยู่กับหมู่กลุ่มนั้น หมู่กลุ่มที่เหมาะฐานะ ถ้าไม่เหมาะฐานะ อยู่กับหมู่ดี ก็ซวยเหมือนกัน แล้วราคาของบาปสูงด้วย

เอ้า! ทีนี้มาฟังถึงราคาของบาปของบุญ ราคาที่ทำชั่วขนาดเดียวกับกับหมู่กลุ่ม คนดี บาปขนาดเดียวกัน อยู่กับหมู่กลุ่มคนดี ราคาของบาปก็สูงกว่า ฟังให้เข้าใจนะ อยู่กับหมู่ คนดี อยู่กับหมู่คนบุญ ทำบุญในคุณภาพเท่ากัน อยู่กับหมู่คนดี ราคาของบุญ ก็สูง ฉันเดียวกัน บาป ทำบาปอยู่กับหมู่คนดี ในปริมาณหรือคุณภาพของบาปนั้น เท่ากัน นี่แหละ ราคาของบาปก็แพงกว่า นี่มันมีปฏิสัมพันธ์กันแบบนี้

อาตมาว่าอาตมาอธิบายถึงแม้แต่ ค่าของบาปค่าของบุญให้พวกเราฟังละเอียดลออ ก็คือ กรรมนั่นเอง ที่พูดนี่ก็คือการสั่งสมกรรมนั่นเอง การทำกรรมนั่นเอง กรรมอย่างไร มันจะมีบาปสูง มันจะมีบุญสูง จะมีบุญมากบาปมาก ก็บอกให้ฟังแล้ว อธิบายให้ฟังอยู่ เห็นมั้ย เพราะฉะนั้น เราจะอยู่ในหมู่คนดีนี่ ถ้าเรามาทำกรรมดี มันยิ่งทวีค่าสูง ถ้าเรามาอยู่ กับหมู่คนดี เราผ่ามาทำชั่ว ค่ามันก็มากเหมือนกัน ราคาของบาปมันก็มากเหมือนกัน เพราะฉะนั้น ก็เสี่ยง เสี่ยง ไม่ได้หรอก ต้องรู้ให้ชัด เพราะฉะนั้น จะอยู่กับคนดีแล้ว อย่าพยายาม ให้เราบกพร่อง อย่าพยายามให้เราเป็นบาป ถ้าเป็นบาป ราคาของบาป มันแพง พยายามให้มันเป็นบุญ เพราะบุญก็ราคาแพงเหมือนกัน อยู่กับหมู่คนบุญ อยู่กับหมู่คน... (คนฟังพูดแทรก: ผมชอบอโศกอยู่อย่างหนึ่ง คืออยู่กับอโศกนี่ทำบุญ ได้ง่าย ทำบาปก็ทำได้ง่าย อยู่กับอโศกนี่ไม่มีอุปสรรคเลย อุปสรรคในการทำบุญก็ไม่มี อุปสรรคในการทำบาปก็ไม่มี มันอยู่ตรงกลางๆ มัน) จริง ทำบาปก็ได้ง่าย ทำบุญก็ได้ง่าย อย่างที่ว่านี่จริง แต่ทีนี้ เพราะฉะนั้น ถึงบอกว่าอิสรเสรีภาพ ตัวของใคร ตัวของมันนะ จะต้อง ระมัดระวังกรรมของตัวเอง เพราะทำบาปก็ง่าย ทำบุญก็ง่ายอย่างว่า แล้วทำบาป ก็ราคาแพงด้วย ทำบุญก็ราคาแพงด้วย (คนฟังพูดแทรก:แล้วก็ทำได้มาก) เพราะฉะนั้น คุณเอง คุณควรจะสังวรกรรมอย่างบุญหรือย่างบาปล่ะ ในเมื่อทำบุญอยู่ในนี้ที่นี่ บุญมันก็ราคาดี บุญก็แพง ทำบาปก็แพงด้วย

นี่ไม่ใช่ขู่นะ คุณฟังสัจจะให้ดีๆ ฟังสัจธรรมให้ดีๆ เพราะฉะนั้น มันต้องสังวร ระวัง มันต้อง พยายามจริง โอกาสอันดีแล้ว มิตรดีสหายดีจะร่วมประโยชน์นี่ร่วมบุญ นั่นเอง สังคมที่ดี ถ้าทำบาป มันก็ซวยมาก ทำบุญมันก็ดีมาก เพราะฉะนั้น ถึงขั้นอยู่ที่ว่า แม้แต่มาอยู่ในหมู่ แล้วก็ยังมีขั้นของฐานะอีก ระวัง! ยิ่งมาฐานะมาเป็นนักบวชเข้าไปอีก ราคาบุญก็สูงขึ้นนะ ราคาบาป ก็แพงขึ้นด้วย โกหกเหมือนกัน โกหกตัวเดียวกันด้วย มาเป็นสมณะแล้ว ทุกคนนี้ รับสัจจะที่เรียกว่า สมมุติสัจจะแล้วขึ้นมาแล้ว คุณทำนี่สิ่งนี้เป็นสัจจะ แม้ปรมัตถ์ ก็ตาม ยิ่งปรมัตถ์ซับซ้อน ยิ่งเป็นตัวอกุศลจิตซ้อนเลยนะ เจตนาด้วยนะ โกหก ตัวเดียวกัน เลยนะ คุณเป็นฆราวาสโกหก สมณะโกหก คำเดียวกัน ตัวเดียวกันเลยนะ เจตนาตัวเดียว กันเลย แต่ราคาของบาปแพงกว่ากันแล้ว ไม่มีใครเข้าใจผิดหรอกนะว่า โกหกนี่เป็นบุญ (พ่อท่านหัวเราะ) ราคาของบาปก็แพงกว่ากันแล้ว นี่มันมีปฏิสัมพัทธ์กันเยอะแยะ หลายชั้น หลายอันหลายตอนหลายอย่าง มันซ้อน ซับซ้อน ซับซ้อนอย่างนี้ เพราะฉะนั้น ผู้ที่อยากจะขึ้นมาเป็นนักบวช ก็อย่าไปอยากเฉยๆนะ ขึ้นมาแน่ใจหรือเปล่าว่า ขึ้นมาเป็น นักบวชแล้ว มันจะได้บุญมาก ดีไม่ดีมันจะได้บาปมากเอา

ระวัง พูดอย่างนี้ ก็อย่าหวั่นไหวมาก บวชแล้วตายละหว่ากู สึกออกไปเป็นฆราวาสดีกว่า สงสัยจะ ไม่ไหวแล้ว นี่มันจะบาปราคาแพงหนัก ก็ต้องประมาณให้จริง จริงๆ บางคน ก็ต้องควร จะสึกออกไป บางคนก็ควรจะอยู่อย่างยิ่ง เพราะฉะนั้น หมู่ฝูงเขาจะช่วยเหลือ กันว่า โอ๊! นี่มันไม่ควรจะสึกหรอก มันไม่ถึงกับขั้นจะต้องสึก ขนาดนี้ดูแล้ว แต่ไม่ได้ กิเลส มันจะเอาสึก มันสึกเหมือนกัน เพื่อนก็ไม่ได้ว่าอะไร เพื่อนก็ดูแล้วก็ช่วยอยู่เหมือนกัน ตั้งหลายวัน หลายปี แต่เสร็จแล้วตัวเองกิเลสเข้าหนัก สึกจนได้ ทั้งๆที่ไม่น่าจะสึก ไอ้ที่คน อยากจะให้สึก ดันๆอยู่ ก็มี แต่พวกเรานี่ไม่ค่อยมีหรอก คนที่อยากให้สึกก็ยังไม่ค่อยมี ถ้ามี มันจะรู้เอง คนอยากให้สึก ประเดี๋ยวก็จะมีภาวะ

มันมีธรรมชาตินะ อาตมาพูดอย่างนี้ก็น่าจะรู้นะ อย่าว่าแต่พระเลย แม้แต่พวกเราฆราวาส อยู่ด้วยกันนี่ ไอ้คนๆนี้อยู่ในหมู่นี่นะ มันน่าจะออกไปข้างนอกนะ ไปอยู่ในหมู่ที่พอเหมาะ อยู่ในหมู่เรานี่ มันไม่พอเหมาะ ก็มี ฆราวาสนี่มีเพราะมันเยอะ มี ใช่มั้ย? นี่เราก็จะดูออก แต่เอาเถอะ เขาก็ไม่ต่ำกว่าเกรดจนเกินไป แต่มันดูหยาบแล้วล่ะ ไอ้ยิ่งต่ำกว่าเกรด แน่นอน พวกเราไม่ค่อยรอนะ เดี๋ยวบีบกันไปบีบกันมา อยู่ ไม่ได้หรอก เก่งนะ มีวิธีการบีบ อย่างโน้น อย่างนี้ ไม่หยาบเท่าไหร่หรอก แต่ก็เจอหมัดหยาบบ้างเหมือนกัน สำหรับบางคน ทนไม่ได้ ทนไม่ได้ก็จะ (พ่อท่านหัวเราะ) มัน หมัดหยาบมันก็ออกบ้างเหมือนกัน พอเจอ ทั้งหมัดหยาบ หมัดไม่หยาบ ประเดี๋ยวก็อยู่ไม่ได้ ซึ่งในหมัดหยาบที่ว่านี่ มันก็ไม่หยาบคาย เหมือนข้างนอกเขาเท่าไหร่หรอก แต่มันก็จะมีอยู่นั่นแหละกระหน่ำซอยไป เดี๋ยวเถอะไป ส่วนตัวเองนั้นน่ะ ทั้งๆที่หมู่เขาอยากให้อยู่ด้วย ตัวเองนะ เขาก็ไม่ได้ว่าอะไร หมู่เขาก็ ไม่ได้มีพฤติกรรมอะไร จะขจัดเราออกไปหรอก หมู่เขายังบอกว่าดี

แต่เรายังอยาก จะออก ไปเอง เพราะกิเลสส่วนตัวในเรื่องไหนก็แล้วแต่ จะเป็นเรื่องกาม หรือเรื่อง อัตตามานะ อะไร ก็ตามใจเถอะ หาเรื่องมาสารพัดจะต้องออก ก็ออกไปเอง ไอ้นี่ก็แล้วไป ตัวเองมัน หาเรื่องออกเอง ตัวเองไม่อยากอยู่ จะไปว่ายังไง อ้างโน้นอ้างนี่ อย่างโน้นอย่าง นี้ โน่นๆนี่ๆ ดีไม่ดี ไม่ต้องอ้างหรอก หนีไปเฉยๆ หายไปเลย ก็เพื่อนอยู่ ด้วยกันดีๆ ก็ไม่ได้มีความตกต่ำอะไร จนกระทั่งถึงจะต้องน่ารังเกียจอะไรกับหมู่ แต่เขา จะไปของเขาเอง ก็เรื่องของเขา มันก็เป็นได้ทั้งสองนัย นัยที่ตัวเองเป็นเอง กับนัยทั้งหมู่ขับ ออก

สรุปแล้วมันเหมือนกัน ไอ้ที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสไว้ในนานาสังวาส นานาสังวาสมีอยู่ สองนัย นัยหนึ่งหมู่ให้เป็นนานาสังวาส กับนัยหนึ่งก็คือตนเองเป็นเอง ตนเองสมัครใจ เป็นเอง ก็มีสองอย่าง มันก็แยกกันไป แล้วมันก็จัดสัดส่วน ของมันไปเองนะ

นี่ก็ได้ซอยได้อธิบายอะไรต่อะไรต่างๆนานาถึงกรรมกิริยา แม้กระทั่งได้ซอย อธิบาย ซ้อนลงไปถึงเวทนา เป็นปรมัตถ์ให้เห็นว่า ที่เราเรียนกันทุกวันนี้ ฝึกฝนด้วย เรียนด้วย ทั้งปริยัติ เรียนฟังคำอธิบาย เป็นนักศึกษาที่ดี สนใจในการศึกษา จัดกรรมกิริยาของเรา ให้มันสอดคล้องได้ ได้มีทั้งปริยัติได้ทั้งปฏิบัติ แล้วตนเองก็ตรวจ ตัวเองจริงๆ มีปฏิเวธ มีผล มีสิ่งที่ได้ขึ้นไป เจริญงอกงามอยู่หรือไม่ เราจะได้ไม่งมงาย เราจะได้ไม่หลงตัว หลงเลอะ หลงเทอะ ตรวจจริงๆ อย่าเอาอัตตา เอาเข้าข้างตัวเอง ไปตรวจ อ้อ! อันนี้ เป็นอย่างนี้ มันเกิดอุปกิเลส จะทำให้เราเหลิง ทำให้เราหลงใหล หลงดีอกดีใจ ผยอง ไอ้อุปกิเลสนี่แหละ มันจะทำให้ตัวเองผยอง ทำให้เกิดอัตตามานะ เราก็ตรวจดีๆ แล้วก็ลด แม้เป็นอุปกิเลส ก็พยายามลดลงไปต่อไปอีก ซ้ำซ้อนลงไป เราจะได้ประโยชน์เอง อาตมา จึงสรุปได้จริงๆ เลยว่า ชีวิตนี้ มันก็เท่ากับกรรมและกาล กรรมกับกาล กรรมจะคูณ จะบวก จะหาร อะไรกับกาล นี่ เป็นสูตรไม่ใช่ E= mc นะ

ชีวิตมนุษย์เท่ากับกรรมกับกาล อย่างแท้จริง คุณเข้าใจขึ้นแค่ไหน ฟังดี ๆ เพราะว่าตัวเอง นั่นแหละ ไปคำนึงถึงว่า เราเองเป็นชีวิตใช่มั้ย? เราเอง เป็นมนุษย์ใช่มั้ย? เราเองเป็นชีวิต เราเองเป็นมนุษย์ แล้วชีวิตจะดีหรือเป็นมนุษย์ที่จะประเสริฐขึ้น ก็เท่ากับกรรมกับกาล จะจัดแจงยังไง กับกรรมกับกาล ให้ค่ามันขึ้นมาอย่างไร เพราะฉะนั้น ก็พยายามอย่าให้ กาละนั้นเสียขณะ นี่ก็คือการระมัดระวัง สังวร อย่าให้กาลนั้นเสียขณะ ต้องทุกๆกาล อันเราไปควบคุมไม่ได้ แต่เราจะต้องใช้ กาลให้ถี่ ใช้กาลให้ทุกกาลให้เป็นกรรม ใช้กาล ทุกกาลที่เราเองไปควบคุมไปจัดแจง ไม่ได้ บอกแล้ว แต่เราจะต้องพยายามใช้นั่นน่ะ ใช้นั่น เราจะต้องไปกับกาลนี่ แน่นอน ใช้กรรม ทำกรรม ให้มันสอดประสานไปกับกาล ให้มันดีให้ได้ เป็นกุศลกรรม ให้ได้ทุกๆขณะ อย่าทำขณะให้ตกร่วง อย่าทำขณะให้ตกหล่น ให้เสีย เมื่อเราจัดแจง กรรมกับกาละนี้ไปได้ดี นั่นแหละ

สรุปคือ สุคโต ดำเนินไปดี พระพุทธเจ้า คือผู้ที่ตถาคโต หรือ สุคโต สุคโตก็ยังเรียก พระพุทธเจ้าอยู่นะ นี่เราท่อง พุทธคุณเก้า ก็ใช้คำว่า สุคโต ท่านก็ไม่ได้ใช้คำว่า ตถาคโต อะไร สุคโตเป็นคำกลางๆ คำรวมทั้งหมด สุคโต ดำเนินไปดีแล้ว เพราะฉะนั้น ชีวิตก็เมื่อ เราควบคุมได้ เมื่อเราจัดแจงได้ เมื่อเราปรับได้ เป็นกำลังทั้งรู้และกำลังที่ไม่ต้องเป็น กำลังอะไร กำลังนั้น แทบจะไม่ต้องใช้กำลังเลย แต่มันเป็นอัตโนมัติ เป็นเอง มันเป็นตถตา มันเป็นเช่นนั้นแหละ มันเป็นอยู่อย่างนั้นแหละ เพราะฝึกไปจนกระทั่งเข้าร่องเข้ารอย จนกระทั่ง ไม่ต้องไปควบคุมอะไร นอนได้ ทิ้งได้ วางได้ ปล่อยได้ แล้วมันก็เป็นของมันเอง ตถตา เป็นเช่นนั้น อวิถตา ไม่เคลื่อน ไม่เปลี่ยนแปร (คนฟังพูดไม่ชัด) ก็ถูกแล้วไง ก็เน้น แล้วไงล่ะ ก็แหม คุณไม่ต้องอธิบายซอกแซกตรงนี้ก็ได้ อันเดียวกัน

ก็บอกแล้วว่า ต้องให้มันดี สุคโต มันจะต้องควบคุมกรรม จัดแจงกรรม แล้วต้องมีปัญญา เลือกเฟ้นกรรม ที่ว่าดี กุศลที่แท้ ที่ถูกต้อง ถูกต้องกับทั้งเราและเขา และกาล ทั้งเหมาะสม เป็น demand เป็นอุปสงค์อะไร อธิบายไปหมดแล้ว เพราะฉะนั้น ก็จะดำเนินไปดี สรุปแล้ว ก็ที่ท่านเรียกว่า ต้องดำเนินตนเอง ต้องพยายาม ให้เป็นสุคโต รวมแล้วก็สุคโตก็คือ กรรมกับกาลนั่นเอง ทำอย่างไรจะให้ กรรมกับกาลเป็นสุคโต ถ้าสุคโตก็คือชีวิต ก็คือ ตัวสุคโตดำเนินไป ชีวิตหรือมนุษย์ก็คือ ตัวสุคโต แม้คุณจะเป็นพระอรหันต์ก็สุคโต จะเป็น พระพุทธเจ้าก็สุคโต ตราบที่ยังไม่ปรินิพพาน ให้มันเป็นตถตา อวิตถตา อนัญญถตา อวิตถตา มันไม่เคลื่อน มันไม่เปลี่ยน มันไม่แปร อวิตถตา

อนัญญถตาจะเป็นอื่นอีกไม่มีแล้ว เป็นอิทัปปัจจยตา เพราะมันเป็นอยู่อย่างนี้มันก็ต้อง ไปเป็นผลอย่างนั้น เพราะเหตุอะไร เหตุกุศลมันก็ต้องเป็นกุศลอยู่อย่างนี้ ข้อสำคัญ คุณคุมกุศลนั้น ได้จริงมั้ย ยังกุศลให้ถึงพร้อมได้จริงมั้ย

สัพพปาปัสสะ อกรณัง ไม่มีบาปทั้งปวง มีญาณปัญญาที่ตรวจ เป็นต้นหน ชัดเจน ต้นกล เดินเครื่อง มีแต่ไปกับไป มีแต่ไปกับไป ไม่มีอะไรหยุดอยู่ ในมหาจักรวาลนี้ไม่มีอะไร หยุดอยู่ ตราบยังไม่ปรินิพพาน เพราะฉะนั้น ถ้าจะบอกว่านิพพานคือการหยุด หยุดบาป หยุดชั่ว หยุดกิเลส หยุดอกุศลทั้งหมดเท่านั้น ผู้ใดหยุดได้ มีแต่ไปกับไป ตราบที่ยังไม่ ปรินิพพาน คือยังไม่หมดเหตุปัจจัยทุกอย่าง ตัดวัฏสงสาร เลิกทุกอย่าง คุณจะบรรลุเป็น พระอรหันต์ มีสอุปาทิเสสนิพพานแล้ว ยังเหลือรูปนามขันธ์ห้า สอุปาทิเสสะ สะ-เหลือ อุปาทิก็คือขันธ์ห้า นิพพานที่เหลือขันธ์ห้า ตราบที่คุณเหลือขันธ์ห้าอยู่ คุณก็จะ สุคโต ดำเนินไปดีๆๆ เพราะอะไร เพราะคุณหยุดแล้ว มีตัวหยุดแล้ว หยุดกิเลส หยุดอกุศล มีญาณปัญญา ตรวจสอบ มีกำลังไม่ให้กิเลสเกิด ไม่ให้อกุศลเกิด ไม่ให้ทุจริตเกิด ไม่ให้บาปเกิด อกรณัง ไม่มีตัวกรณะ ไม่มีตัวกรรมตัวกิริยา ไม่มีตัวกระทำ กรณะ ไม่มีตัว กระทำอีกแล้ว บาปมันไม่มีในตัวเรา ตัวเราไม่กระทำแล้ว ไม่มีบทบาท ทั้งนอกและใน ยังแต่กุศลให้ถึงพร้อม

นี่เป็นความสะอาดของจิต เป็นจิตที่บริบูรณ์ บริสุทธิ์ เพราะฉะนั้น โอวาทปาฏิโมกข์สามนี่ สอดคล้องกันอยู่ในทั้งหมด นิพพานไม่ใช่แต่เฉพาะ จิตสะอาด จิตบริสุทธิ์เท่านั้น ส่วนอันนี้ เป็นของโลกีย์ ไม่ใช่ โลกีย์เราก็อยู่ ถ้าเรายังไม่ตาย เราก็ต้อง อยู่กับโลกีย์ เพราะฉะนั้น เราจึงเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น อย่างมาก พหุชนะหิตายะ พหุชนะ สุขายะ โลกานุกัมปายะ แล้วทุกอย่างก็ดำเนินไป ตามอิทัปปัจจยตา เหตุดีผลดี เราเป็น ตัวเหตุที่ดี เราเป็นตัวกุศล กุศลก็ยังกุศลไป ทั้งกุศลในตนในผู้อื่น มีแต่ดีกับดี มีแต่ตัวกุศล ดำเนินไป มันก็สมบูรณ์ สุดยอด อย่างนั้น

เอาละวันนี้เรื่องชีวิตเท่ากับกรรมและกาล ก็จบลงด้วยประการฉะนี้


จัดทำโดย โครงงานถอดเทปธรรมะฯ
ถอดโดย ศิริวัฒนา เสรีรัชต์ ๒๕/๑๑/๓๘
ตรวจทาน ๑ โดย เทียนฟ้า บูรพ์ภาค ๑๑/๑๒/๓๘
พิมพ์โดย นฤมล อัยรักษ์ ๒๔/๑๒/๓๘
ตรวจทาน ๒ โดย ทุ่ง เงินเย็น ๒๐/๑/๓๙
PRINTED โดย ปญ.ใจขวัญ เบญจโศภิษฐ์
เข้าปกโดย สมณะพรหมจริโย
เขียนปกโดย พุทธศิลป์

TCT7.TAP