ฝึกจิตให้อยู่เหนือ “สุขและทุกข์ “
โดยพ่อท่านสมณะโพธิรักษ์
ทำวัตรเช้า ๕ กรกฎาคม ๒๕๔๖
ณ พุทธสถานสันติอโศก

******

พระพุทธเจ้าตรัสไว้ ในพระไตรปิฎกนี่มีตรัสไว้ ท่านบอกว่า อะไรหนอแล ที่ไม่ทำให้จิตเราแล่นไป แล้วท่านก็มีสำนวนต่อไปอีกว่า อะไรหนอแล ที่ไม่ทำให้จิตเราแล่นไป แล้วท่านก็ตรัสตอบตัวเองว่า เพราะว่า เราไม่ได้พิจารณาให้มาก เนื้อหาใจความนี่ เราไม่ได้พิจารณาให้มาก เราจึง จิตย่อมไม่แล่นไป เลื่อมใสก็ไม่เลื่อมใส สิ่งที่ไม่เจริญก็ไม่เจริญ แต่เมื่อได้พิจารณาให้มากแล้ว ทำให้มากแล้ว จิตจึงเลื่อนไป ความเลื่อมใสจึงเกิดขึ้น ความเจริญจึงเกิดขึ้น อันนี้เป็นเรื่องสำคัญนะ อาตมาว่า ในหมู่พวกเรานี่ หลายคนคงจะติดตรงนี้ ติดตรงที่ว่า สิ่งที่เราปฏิบัติได้แล้วนี่ มันก็ได้แล้วนะ เราได้แค่นี้ มันก็ไม่เลื่อนขึ้นอีก ก็ไม่เห็นสูงขึ้นอีก มันก็เห็นมันไม่เจริญขึ้นอีก เอ๊ะ แล้วมันจะเป็น อรหันต์เมื่อไรนี่ ก็ดูเหมือนอยู่อย่างนี้ หลายคนคงข้องใจตรงนี้นะ เพราะฉะนั้น เราก็มาพูดกันตรงนี้ มีคนเขาเจอ เจอประเด็นนี้ แล้วก็เอามาบอกอาตมา มาถามอาตมา เหมือนกัน

อาตมาก็บอกเออดี พบจุดนี้ แล้วก็ต้องพิจารณาจุดนี้แหละให้มาก ไม่เช่นนั้นแล้ว เราก็ไม่เลื่อมใส จิตไม่แล่นไป จิตไม่เจริญ จิตไม่เดินหน้า จิตไม่เจริญพัฒนาขึ้นไปกว่าเดิม เพราะเราพิจารณาไม่มาก คำว่าพิจารณานี่สำคัญมากนะ เราพิจารณากายในกาย พิจารณาเวทนาในเวทนา พิจารณาจิตในจิต พิจารณาธรรมในธรรม คำว่า พิจารณาคำนี้ ภาษาที่ใช้ในศาสนานี่ เราต้องพิจารณาจริงๆ ต้องพยายาม มันจะเผลอ มันจะไม่พิจารณา มันก็ทำไปเรื่อยๆ ที่อาตมาให้เน้นบอกว่า ให้อ่านจิต อ่านใจ ก็คืออ่าน แล้วพิจารณา ไม่ใช่อ่านรู้เฉยๆ แล้วไม่พิจารณา มีพิจารณา มีธรรมวิจัย ให้เป็นสัมโพชฌงค์ ให้มีธรรมวิจัย เป็นสัมโพชฌงค์ มีสติรู้ตัวทั่วพร้อมก็ดีแล้ว เป็นขั้นต้น แล้วก็เป็นสติที่ พยายามให้สติ ของเรา มันเป็นโพชฌงค์ให้ได้

ถ้าสติไม่เป็นโพชฌงค์ก็หมายความว่า เรายังไม่ได้อยู่ในสนามรบแห่งธรรมะ เราอยู่ในสนามรบ แห่งธรรมะ ก็คือ สติของเรานี่เริ่มต้นเป็นหัวหน้า เป็นตัวหัวหน้าที่จะทำให้เราได้ลุยไปที่ไหนๆๆๆ เพราะเป็นกัปตัน หรือเป็นแม่ทัพ ในขณะปฏิบัติอยู่ ตลอดเวลานี่ เรามีสังวรปธาน ปหานปธาน ภาวนาปธาน เมื่อมีสติแล้วเราก็มีการระมัดระวัง สังวรปธาน ระมัดระวัง วิจัยแล้วก็ ระมัดระวัง อย่าให้ อกุศลธรรมมันเจริญ อย่าให้อกุศลธรรมมันเกิด เราต้องพิจารณาธรรมในธรรม แทรกลงไปอีก รู้ตัวทั่วพร้อม อ่านจิตไว อ่านจิตทันก็ดีแล้ว เมื่อมีธรรมวิจัยเข้าไปอีก ก็ต้องธรรมวิจัย แล้วก็พิจารณา วิจัยแล้วก็พิจารณาๆ ธรรมในธรรม ๑. จะต้องวิจัยให้รู้ให้เห็นตัวอะไร ข้อที่ ๑ นิวรณ์ ๕ ต้องพิจารณา ให้เห็นเลยว่า ในใจเรามันมีกิเลสหลัก ก็คือนิวรณ์ ๕ นี่แหละเป็นกิเลสหลัก กามหรือพยาบาท ก็คือ ราคะกับโทสะ ราคมูล โทสมูล ถีนมิทธะ อุทธัจจะกุกกุจจะ นี่ ก็คือความไม่ได้สัดส่วนของจิต จิตมันตกไป จิตมันหดหู่ไป จิตมันไม่โปร่งใส จิตมันไม่เบิกบานร่าเริง จิตมันไม่มีฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา จิตมันไม่ยินดี เบิกบานร่าเริง จิตมันหดหู่ จิตมันไม่ค่อยดี ถีนมิทธะ หรือมันฟุ้ง กระจายโอ้โฮ จิตมันอุทธัจจกุกกุจจะ มันฟุ้งซ่าน มันอะไรต่ออะไรก็ไม่รู้ ก็ต้องรวบรวมว่าอะไรกันนักกันหนา อารมณ์ของเรา ทำไมมันกระจายๆ กระเจิดกระเจิงอย่างนี้อะไรอย่างนี้เป็นต้น เราก็ต้องดู ไม่มีถีนมิทธะ ไม่มีอุทธัจจกุกกุจจะ จนรู้ว่าในองค์ความคิด หรือว่าจิตของเรานี่ มันไม่อยู่ในฐานะที่ ไม่เป็นองค์รวมที่ดี ไม่เป็นเอกัคคตา เอกัคคตาไม่ได้หมายความว่า จิตจะต้องไม่มีกิเลสเลย ไม่มีอารมณ์อะไรเลย ไม่มีอะไรเลย ไม่ใช่ เอกัคคตาหมายความว่าเป็นองค์รวม จิตมันรวมเป็นหนึ่งอยู่ ในระบบที่เราดูแล มันได้ทั้งหมด อารมณ์ของเรา จิตของเรานี่ เราดูแลมันได้ทั้งหมด นั่นคือองค์รวม จิตของเราก็ย่อมคิด ย่อมสัมผัสรู้ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ สัมผัสทั้งหกทวาร พิจารณาธรรมในธรรม มี
๑. นิวรณ์ ๕
๒. อุปาทานขันธ์ ๕
๓. อายตนะ ๖
๔.โพฌงค์ ๗
๕. อริยสัจ ๔

เราต้องดูธรรมในธรรมน่ะ เราต้องรู้ว่าในขณะปฏิบัติธรรม เรามีธรรมทั้ง ๕ นี่ไหม มีธรรมทั้ง ๕ นี่ก็คือ เราต้องพิจารณาตัวเองเลยว่า ขณะนี้เราพิจารณาอยู่ในหลักเอกไหม ทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ ความดับทุกข์ และเรากำลัง มีการปฏิบัติมรรคองค์ ๘ หรือไม่ นั่นอริยะสัตย์ ๔ ถ้าเราเอง เราพิจารณา เห็นนะ ไม่ใช่ระเริงสุข ถ้าได้เตือนตนให้รู้จักทุกข์ ให้เห็นความเป็นทุกข์ ทุกอย่างอนิจจัง ทุกขัง อนัตตานะ ทุกอย่างมันอยู่ในไตรลักษณ์นี้ อยู่ตลอดเวลาเลย เพราะฉะนั้น เมื่อเราสัมผัสแล้ว อย่าไประเริงสุข ธรรมะของพระพุทธเจ้า ไม่ให้ไประเริงสุข เพราะสุขคือตัวล่อของทุกข์ เป็นตัวหลอก หลอกให้เราหลง สุขโลกีย์นี่ เมื่อเราได้สมใจในกาม สมใจในอัตตา ก็เป็นสุขทั้งนั้นแหละ สมใจในอัตตามันก็เป็นสุข แต่ภาคปฏิบัตินั้นน่ะ พวกอัตตานี่ พระพุทธเจ้าตรัสเอาไว้ตั้งแต่ เปิดศาสนาขึ้นมาแล้ว ท่านตรัสไว้ ตั้งแต่ในธรรมจักกัปปวัตตนสูตร สูตรแรก พอเริ่มประกาศ เทศน์เป็นกัณฑ์แรกปั๊บ ท่านก็เปิดฉาก ศาสนาของท่านเลย ศาสนาของเราคืออะไร คล้ายๆ อย่างนั้นแหละ ธรรมจักกัปปวัตตนสูตร ก็คือ ประกาศความโต่งสองส่วน ส่วนสุดสองส่วน นั่นคือศาสนาของพระพุทธเจ้าที่ต่างกับศาสนาอื่น ประกาศแค่นี้แหละ เป็นการประกาศความยิ่งใหญ่ของศาสนาพุทธ ประกาศตัวตนของศาสนาพุทธ ท่านประกาศความเป็นศาสนาพุทธของท่าน ว่า ศาสนาของท่านเป็นอย่างนี้เลย

พอเทศน์กัณฑ์แรก ท่านก็ประกาศเลย ความเป็นกามสุขัลลิกานุโยค หรือความเป็นอัตตกิลมถานุโยค สองส่วนสุด เรียกว่า อันตา คือส่วนสุดหรือส่วนโต่ง หรือส่วนปลาย หรือเขตที่ไม่ได้อยู่กลาง ท่านตรัสภาษา สวยมาก ท่านตรัสด้วยความสุดโต่งสองอย่าง เราไม่ยินดีในส่วนสองอย่าง แล้วท่าน ก็บอกว่า คำว่า ส่วนสุดสองอย่างนี่ แล้วก็มีคำว่า มัชฌิมา ตรัสกามสุขัลลิกะนั้นก็คือ โลกีย์อัตตา ก็คือโลกีย์ เท่ากับ ท่านประกาศโลกุตระ กับประกาศ อเทวนิยม ในสูตรนี้ เท่ากับท่านประกาศว่า ศาสนาของเราเป็น นวัตกรรม เป็นของใหม่ ท่านเกิดมาประกาศศาสนาปัง พอตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ก็ประกาศ ตั้งแต่ธรรมะ บทแรกเลย บอกว่าเป็นของใหม่ เป็น นวัตกรรม เพราะไม่เหมือนกับศาสนา เทวนิยม ของเราเป็น อเทวนิยม คือ อัตตกิลมถานุโยคนั่นแหละ คือการประกาศล้างอัตตา มีการประกาศบอกว่า ของเราไม่ได้ไปทรมานตนเอง ไม่ได้ไปลำบากลำบน ไปแล้วก็ยังจมอยู่ ในอัตตานะ อนุโยคะแปลว่า ความพากเพียร หรือการประกอบตน อนุโยคะ กิลมถะแปลว่า ความลำบาก มันลำบาก มันเดือดร้อน มันไม่เป็นสุข มันหนัก มันเหน็ดเหนื่อย ลำบาก เหน็ดเหนื่อย ทรมานอะไร ก็แล้วแต่ กิลมถะ คือคุณจะปฏิบัติอย่างไรก็แล้วแต่ คุณปฏิบัติ แล้ว จะหนักหนา สาหัสอย่างไร กิลมถะ ปฏิบัติมาหนักหนาสาหัสลำบากลำบน แต่เสร็จแล้วก็ไม่พ้นอัตตา ไม่พ้น ความเป็นอัตตา นั่นคือ การประกาศลัทธิที่ ทำลายอัตตา คือ อนัตตา พอจากนี่ไปท่านก็ อาทิปริยายสูตร แล้วก็ อนัตตลักขณสูตร ท่านก็เทศน์สูตรต่อไปก็ สุดท้ายจบอนัตตลักขณสูตร พระโกณฑัญญะ ก็เป็นอรหันต์แล้ว ก็คือประกาศให้รู้ว่าล้างอัตตา เป็นอเทวนิยม และเป็นโลกุตระ เพราะท่านไม่ให้โต่ง ไปข้างไหนเลย ในส่วนกาม ในส่วนอัตตา ๒ ด้าน คือเป็นการโต่งมี ๒ ด้าน มันจะไปอยู่ มีชายปลาย อยู่เชิงไหนก็แล้วแต่ แต่เขาไปแปลกันว่า เป็นความสุดโต่ง ๒ อย่าง ก็คือ ไปหลงงมงาย อยู่กับกาม กับไปจมทรมานตนเอง ว่าอย่างนั้นนะ ไปทำอะไรต่ออะไรตัวเราเอง ไปทรมาน ไปนอนบนหนาม ไปอดข้าว อดน้ำจนกระทั่งอะไร ไปทำอะไรต่ออะไรต่างๆ เดาไปเรื่อย คนที่ตีความ เดาไป แล้ว ซึ่งเป็นการเดา ตีความเดา เมื่อตีความแล้วเสร็จก็ ตราคำแปล หรือ ความหมายของการสุดโต่ง สองข้าง ไว้อย่างนี้ แล้วทุกคนนี่ พวกเราเข้าใจกันอย่างนี้ทั้งนั้นเลย เข้าใจว่าสุดโต่ง ๒ อย่างนี่คือเรื่อง หยาบ ก็คือ คนหลงในกามหยาบ กับอัตตาหยาบ ไปทรมานตนเอง ความจริงไม่ใช่

พระพุทธเจ้าท่านเปิดฉาก สูตรนี้ท่านสอน พระปัญจวัคคีย์ ๕ รูป แล้วพระปัญจวัคคีย์ ๕ รูปนี่ ไปทรมาน ตนเองไหม ไม่เลย ไม่เลย เข้าใจไหม ในบริบทที่ท่านทำงาน ในขณะที่ท่านสอนปัญจวัคคีย์ นั่นคือ อีกบริบทหนึ่ง ท่านสอนปัญจวัคคีย์ ไม่ได้มีเรื่องของการไปทรมานตนเอง ไปอดข้าว อดน้ำ ไปนอน ในหนาม ในไหน่ ไปเขย่งเกงกอย ยืนขาเดียว เหนี่ยวลมห่มฟ้า ทำอะไร ทรมาน สารพัด ที่จะทรมาน ในขณะนั้นน่ะ มีพวกปฏิบัติธรรม ทรมานตนเองอยู่เยอะเลย แต่พระพุทธเจ้า ท่านสอน ปัญจวัคคีย์ ปัญจวัคคีย์ไม่ได้ทำสิ่งเหล่านั้นเลย ท่านสอนให้รู้จักอัตตา ประกาศ ๑ ความโต่ง ข้างไปกาม ๒ ข้างไปอัตตา เป็นการประกาศให้รู้ด้วยคำที่สวย สละสลวย ไม่กระทบกระเทือน พวกที่ถืออัตตา ในเทวนิยมนี่ พวกอัตตาทั้งนั้น อาตมัน ปรมาตมัน อัตตาก็คืออาตมัน ภาษาสันสกฤต ปรมาตมันก็คือ เทวนิยม ก็คือพระเจ้า ปรมาตมันก็คืออัตตาใหญ่ หรืออาตมันใหญ่ ที่หมายถึงพระเจ้า เป็นลัทธิ พระเจ้า เป็นลัทธิอาตมัน หรือ อัตตาทั้งนั้น เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าท่านประกาศ ตอนแรกเลย ประกาศเลย

ของท่านไม่เหมือนใคร เป็นนวัตกรรม อย่างที่กล่าวแล้ว ท่านก็สอนต่อไปในธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ก็มีให้พิจารณา จนกระทั่ง ๒ โต่ง ๒ อย่างนี่ ไม่เป็นไป เพื่อนิพพาน สรุปแล้วก็คือ ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน ท่านประกาศ นิพพานทันที ในธัมมจักกัปปวัตตนสูตรนี่ แล้วก็ประกาศมรรคองค์ ๘ ประกาศการปฏิบัติ มรรคองค์ ๘ ในธัมมจักกัปปวัตตนสูตรนี่ทันที เท่ากับสรุปรวม ศาสนาพระพุทธเจ้าไว้สั้นที่สุด ก็คือ ธัมมจักกัปป วัตตนสูตร ไม่ยาวนะสูตรนี้ไม่ยาวเลย สั้นๆ แต่ถ้าไม่รู้แล้วก็ มันก็รู้สึกว่าไม่มีอะไรมาก แต่ความจริงแล้ว ศาสนาพุทธ อยู่ในนี้ทั้งหมด ศาสนาพุทธอยู่ในธัมมจักกัปปวัตตนสูตรนี่ทั้งหมด สรุปย่นย่อ แล้วก็บอกถึงหัวใจเลย

ศาสนาพระพุทธเจ้านี่ เมื่อปฏิบัติมรรคองค์ ๘ รู้จักอริยสัจ ๔ มีทางปฏิบัติ มีมรรคองค์ ๘ ที่ชัดเจนแล้ว เราก็จะได้ปฏิบัติตลอดเวลา เพราะฉะนั้น ธรรมในธรรม ข้ออริยสัจ ๔ นี่ ก็มีมรรคองค์ ๘ อยู่ในนั้นแล้ว เราจะต้องรู้เลยว่า นี่เรากำลังหลงสุข หลงกามสุขัลลิกะ กามก็ไม่ได้ไปแปลว่า เรื่องผู้หญิง ผู้ชาย เท่านั้น หลงกามนี่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย นี่เป็นเรื่องของ กามภพ ส่วนอัตตานั้นก็เรื่องของรูปภพ อรูปภพ เราก็ต้องละล้าง ทั้งสองด้าน อันหนึ่งภายใน อันหนึ่งภายนอก กามก็ถือว่าท่านตรัสไว้แบ่งไว้ เป็น กามคุณ ๕ เป็นอายตนะ ๕ ข้างนอก ส่วนอายตนะใน ก็พิจารณาอีกด้านหนึ่ง สองส่วน โต่งสองส่วน ไม่ได้ทั้งสองส่วน เพราะฉะนั้น อายตนะ เราก็ต้องรู้ว่านี่มันยังติดต่อกันอยู่นะนี่ มันมีตา หู จมูก ลิ้น กาย แล้วก็มีใจ แบ่งเป็นสองส่วน

ส่วนหนึ่งใน อายตนะใน มันยังก่ออัตตา ก่ออะไรต่ออะไรอยู่ ทุกวันนี้เรารู้ไปจนกระทั่งอัตตา มีตั้ง ๓ อย่าง ทั้งโอฬาริกอัตตา มีทั้งมโนมยอัตตา อรูปอัตตา

มโนมยอัตตาก็ไปปั้นจิต ที่จริงรูปฌาน อรูปฌาน ก็มโนมยอัตตา ไปสร้างรูปหลายคน สร้างรูปนั่นรูปนี่ เป็นรูปไปจริงๆ เลยนะ แล้วก็เรียก อุคคหนิมิต อะไรนิมิต สิ่งเหล่านี้ยังไม่เคยเห็นว่า อยู่ในพระไตรปิฎก แท้เลยไม่ว่า บริกรรมนิมิต อุคคหนิมิต แล้วก็ปฏิภาคนิมิต อะไรนี่ อาตมายังไม่เคยเห็นในพระไตรปิฎก แต่พูดกันมาก สอนกันมาก ในอรรถกถาจารย์ ในฎีกาจารย์ ในอะไรต่ออะไรนี่ เอามาขยายความ จนเป็นศัพท์ ที่จริงฎีกาจารย์ อรรถกถาจารย์เขาก็ใช้ภาษาบาลี เท่านั้นแหละ ในบันทึกเดิม ใช้ภาษา บาลี มาทั้งนั้น เพราะฉะนั้น ก็เลยเป็นภาษาบาลีมาทั้งนั้น เพราะ ฉะนั้น จะเป็นอุคหนิมิต ก็เป็นของ ฎีกาจารย์ อรรถกถาจารย์ ทั้งหลายแหล่นั่นแหละ ว่ากันมา เขียนกันมาบรรยายกันไว้ เขาไม่ได้พูด ภาษาไทยหรอก เขาใช้ศัพท์ ภาษาบาลีทั้งนั้น เราก็ฟังศัพท์ภาษาบาลี เราก็นึกว่าเป็นของ พระพุทธเจ้า หมด อาตมาก็ยัง ไม่ได้ตรวจสอบว่า มีหรือไม่มี แต่จะมีหรือไม่มี ไม่มีปัญหาอะไร

เรามาพูดถึง ตัวสำคัญของความหมาย ความจริง เพราะฉะนั้น เราปฏิบัติธรรมนี่ จะให้เกิด บริกรรมนิมิต ให้เกิด อุคคหนิมิต แล้วก็ให้ไป ปฏิภาคนิมิต ขยายไปลงไปในปฏิภาคนิมิตอะไรก็ตาม ก็ได้ เป็นความหมาย ที่ดีเหมือนกัน บริกรรม ก็หมายความว่า ตอนแรกเลย ที่เราเริ่มต้น เราจะใช้อะไร เป็นจุดที่เราจะอาศัย เห็นอะไรแล้วว่าเป็น เครื่องหมาย เราก็เอาสิ่งที่เราจะพิจารณานั่นแหละ เราจะพิจารณากาม พิจารณา อัตตาเป็นต้น เป็นเรื่องที่ก่อ ให้เกิดกิเลสสองด้าน สองฝ่าย จะมีหยาบ มากขนาดไหนก็อยู่ที่ของเรา ของใครของมัน แล้วเราก็พิจารณาให้มากเลยว่า โอ๊! ยังเป็นตัวตน ก็คือมันเป็นบริกรรม เป็นจุดของเรา เสร็จแล้วเรา ก็พยายามที่จะ เรียนรู้ตัวมัน ญาตปริญญา เรียนรู้ ให้ชัด จับให้มันชัดๆ ว่าเราพิจารณา อ่านนี่ เมื่อเรา ผัสสะต่อตา หู จมูก ลิ้น กาย หรือแม้แต่ อยู่ในใจเอง มันก็มาเกิดนิมิต ยังมาหลอก มาหลอน มันก็ยัง อะไร เราก็จะต้องตาม นิมิตเหล่านั้น แล้วก็พยายามพิจารณาให้มาก

เมื่อเรามีปฏิบัติ สังวรปธาน ปหานปธาน มีตีรณปริญญา มีปหานปริญญา อยู่ในตัว ซึ่งให้เกิด ความจริง เกิดความรู้ นี่เป็นความรู้ ที่เราจะต้อง ทำให้เกิดปริญญา ให้เกิดความเจริญ ทางความรู้ เพราะเรารู้ความจริงว่า เรามีชีวิตอยู่นี่ ปฏิบัติมรรค องค์ ๘ ดำริก็ตาม พูดก็ตาม การทำการงาน ทำไอ้โน่นไอ้นี่อยู่อะไรก็แล้วแต่ มีอริยาบถ ต่างๆ อยู่ก็ตาม มีอาชีพอยู่ก็ตาม เราก็พิจารณาอ่านจิตใจ มีตัวญาณปัญญา มีปริญญา ให้เกิด ปริญญา มีสังวรปธาน ปหานปธาน ภาวนาปธาน อนุรักขนาปธาน ด้วยจิตใจที่มีอิทธิบาท มันไม่ยินดี ก็จะต้อง ไม่ได้นะ เราไม่ยินดีนี่ เราจะทำอะไร ถ้าเราไม่เป็นนักปฏิบัติธรรม เราก็ปล่อยปละละเลย ชีวิต ปล่อยให้เป็น สวะของ วัฏสงสารไปตามเดิม มันก็เผลอ มันก็ปล่อยเสพไป เสพโน่น เสพนี่ ไปตามเรื่อง ใช่ไหม มันก็จะเสพ เสพตามอารมณ์ ได้อะไร จะยินดียินร้ายอะไรก็เอียงไปอยู่เรื่อยไป เกิด ไม่สะสมราคะ ก็สะสมโทสะ ไม่อย่างนั้นก็สะสมโมหะเลย เมาไปกับมันเรื่อย โมหะนี่เมาหลงไป ตามเรื่อง หลงโน่น หลงนี่ไป เขาว่านั่นดี ก็น่าได้ น่ามี น่าเป็น ไปเรื่อย ยึดเข้าไปในจิต เป็นอุปาทาน ใส่เข้าไปเรื่อย จิตเราก็สั่งสม แต่กิเลส ตัณหา อุปาทาน ไปเรื่อยๆ

แต่ถ้าเราพิจารณามันอยู่เรื่อย อ่าน เป็นนักปฏิบัติธรรม ที่จะต้องไม่บกพร่อง ไม่พิจารณาให้มากนี่ เป็นความไม่แล่นไป จิตไม่แล่นไป เพราะฉะนั้น เราก็จะต้องอยู่กับ สิ่งที่มันกระทบสัมผัสแล้ว ตามที่ได้อธิบายให้ฟังมา หลายบท หลายสูตร มิจฉาทิฐิสูตรก็ดี สักกายทิฐิสูตรก็ดี อัตตานุทิฐิสูตร ก็ตาม ก็พิจารณาให้เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา พิจารณาให้เห็น ความไม่เที่ยง แล้วก็ไม่เที่ยงสองอย่าง ไม่เที่ยงชนิดโลกีย์ กับไม่เที่ยงชนิด โลกุตระ หรือไม่เที่ยง ในชนิดสมมุติสัจจะ กับไม่เที่ยงในชนิด ปรมัตถสัจจะ เห็นความไม่เที่ยง ที่มันเกิด ความไม่เที่ยง ตามอำนาจกิเลส นั่นหมายความว่า เราเป็นนักปฏิบัติธรรมที่พ้นมิจฉาทิฐิแล้ว เห็นความไม่เที่ยง ตามอำนาจกิเลส ว่าเราสู้กิเลสไม่ได้ กิเลสมันเอาตัวเราไปกิน เราไม่เที่ยง กิเลสเรา มันฟูใจ เราเอามันไม่ลง แพ้มัน ต้องมีทีแพ้ หรือใคร ไม่เคยแพ้กิเลส ยกมือขึ้น หาไม่ได้สักคนเลยหรือ ไม่มีหรอก ไม่มีใครไม่เคยแพ้กิเลส เคยแพ้กิเลสทั้งนั้น เอ้าแพ้ก็แพ้ แต่เรารู้ความจริง พ้นมิจฉาทิฐิที่ ตัวเรารู้ตัวเรา ว่าโอเรานี่แพ้กิเลสนะ คือมันมีญาณ อ่านเห็นน่ะ มีญาณของเราอ่าน รู้ตัว เราแพ้กิเลส เราก็รู้ตัว เราได้พิจารณาเสมอ พิจารณาอารมณ์ พิจารณากาย พิจารณาเวทนา พิจารณาจิต พิจารณาธรรมในธรรม เราได้พิจารณาเสมอ

ที่อาตมาพูดไปแล้วนี่นะ อริยสัจ ๔ ก็มี เรามีโพชฌงค์ ๗ มีไหม มีนะ คุณปฏิบัติให้มีสติสัมโพชฌงค์ ให้มีธรรมวิจัยสัมโพชฌงค์ มีวิริยสัมโพชฌงค์ ให้เป็นสัมโพชฌงค์ให้ได้นะ เพราะฉะนั้น เราก็ต้องมี ตัวธรรมะแล้ว มรรคองค์ ๘ เราก็ไม่ได้ทิ้ง อยู่กับชีวิตเรา โพชฌงค์ ๗ ก็อยู่กับชีวิตเรา อายตนะ ๖ บอกแล้ว นอกใน ก็อยู่กับเรา รู้จักอายตน ตาหู จมูก ลิ้น กาย ของเรายังทำงานเต็ม แล้ว ก็มีใจส่วนใน ส่วนนอก พิจารณานอก พิจารณาในๆ พิจารณาให้หาเข้าใน เพราะฉะนั้น สติปัฏฐาน ๔ ท่านให้ พิจารณา หาเข้าใน กายในกาย เวทนาในเวทนา คือเจาะลึกลงไปเรื่อย จิตในจิต ธรรมในธรรม เจาะลึก ลงไปเรื่อย ในนี่หมายความว่า ในเข้าไป มนสิในจิต ในจิต จิตนั่นแหละเป็นหลัก ไม่ใช่ เจาะออกไป ข้างนอก เวิ้งว้าง ไปไหนๆ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า เราจะตกหล่น ที่เรามีสติสัมปชัญญะ อยู่กับอะไร ทางข้างนอก ทำอะไร ก็ตกหล่น พิจารณาในๆๆ เลยตกภวังค์ เลยเข้าไปอยู่ในภพ ข้างนอกเป๋อเลย ทำเครื่องมือ เครื่องมือก็หนีบเอา มือขาด ทำอะไรกับใครก็ไม่รู้เรื่องข้างนอก ไอ้นั่นมัน สติไม่เจริญ ก็ต้องรู้นอกรู้ใน ตามจริง แข็งแรง เพราะฉะนั้น จิตที่ได้ฝึกฝนฌานลืมตานี่ มันจะค่อยๆ เก่ง ค่อยๆ ชำนาญขึ้น ค่อยๆ แข็งแรงขึ้นเรื่อย แล้วก็จะอ่านเร็ว อ่านทัน มีธรรมวิจัย มีตีรณปริญญา ที่เก่ง เชี่ยวชาญขึ้นเรื่อยๆ มีการวิจัย มีการแยกแยะ แบ่งโน่นแบ่งนี่

แม้แต่เวทนาในเวทนา ถึง ๑๐๘ ก็จะเข้าใจนี่ ตอนนี้มันเป็นสุขเวทนา ทุกขเวทนา แล้วมันสุขโลกีย์ ด้วยนะ นี่เราเผลอไผลไปเรื่อยๆ เราก็จะพยายามไม่ไปหลงใหล ในสิ่งเหล่านั้น ทำให้เราติดยึด เราต้องพิจารณา ให้มากจริงๆ ว่ามันทำให้เราติดยึดจริงๆ นะนี่ วันนี้นี่ ดูสินี่ ไอ้นี่อดไม่ได้ กินอร่อย ซัดเข้าไปแล้ว แล้วเรา ก็หลงไหลติดยึด ต้องพิจารณา มันจะผ่านไปแล้วก็ตาม หรือยังไม่ผ่าน ยิ่งกำลังปัจจุบันนี้ เอาดีหรือไม่เอาดีนี่ กิเลสมันก็จะเอาแล้วนะนี่ ๆ แหม ! มันอื้อ ฮือ ความหลัง มันมากระซิบเลยว่านี่ อร่อยนะ ชอบนะ อย่างนี้แหละมันของชอบนะ พิจารณาจริงๆ คำว่าพิจารณา เห็นไหม สำคัญไหม แล้วคิดดูเถอะว่า พวกเรานี่ตกหล่นพิจารณาไปเท่าไร มันลืม มันเผลอตัวไปแล้ว มันไม่พิจารณาแล้ว มันล่อเลยแหละ ไม่ว่าทางตา ไม่ว่าทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย มันเอาไปแล้ว ตัวพิจารณาหายไปไหน ไม่รู้ ไม่ทัน พิจารณามันไม่อยู่ เพราะฉะนั้น ต้องเอาอัศวินคู่ใจ ไว้ที่ตัวเอง คือตัวพิจารณา อัศวินคู่ใจ พิจารณาให้มาก คำนี้อื้อฮือ! ลึกซึ้งและกินความ ถ้าปฏิบัติ เอามาปฏิบัติ ได้จริง จิตย่อมแล่นไป ความเลื่อมใสย่อมเลื่อมใส แน่นอน พระพุทธ เจ้าท่านตรัสไว้ โอ้โฮ! สละสลวย ตรัสไว้สั้นๆ แต่โอ้โฮ ยิ่งกว่าหมัดของไมค์ ไทสันเลย หมัดหนักมาก ใช่ไหม ฟังดีๆ แล้วเอาไปทำ ให้มันเกิดสภาพ ฟังแล้ว เอาไปตามตัวเองดู เออ เราพิจารณาน้อยจริงๆ เพราะฉะนั้น เมื่อพิจารณา น้อย จิตย่อมไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่เจริญ ไม่ก้าวหน้า ไม่พัฒนา แต่ถ้าเราได้พิจารณาจริง มันก็จะชัด เพราะฉะนั้น ตัวหลัก ๆ นิวรณ์ ๕ นั่นแหละ เป็นตัวกิเลสที่จะอยู่ในใจเราแท้ๆ เลย เพราะฉะนั้น ในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ทั้งหมด เราใช้มันหมดเลย

ธรรมะของเราน่ะมันมีรูป รูปตั้งแต่สิ่งที่ถูกรู้ ตั้งแต่รูปธรรมวัตถุ จนกระทั่งถึงรูปในจิต เป็นรูปจิต เป็นรูปสิ่งที่ถูกรู้ อ่านออก ตัวถูกรู้ก็เป็นตัวรูป มันไม่รู้เรื่องหรอก ตัวถูกรู้ ตัวรู้มันมีซ้อนอยู่ต่างหาก จิตกับจิต อ่านจิตในจิต อ่านเวทนาในเวทนา เวทนาก็เป็นเรื่องของจิต อารมณ์อาการของเรา เมื่อเรามี ยกจิตขึ้นอีก เป็นปัญญา ยกจิตขึ้นสู่วิปัสสนา ก็คือจิตมันจะมาเห็นจิต อาตมาทำเป็นมือ ๒ มือ ๒ มือ แต่จิตของเราเองนะ จิตของเราจะเห็นจิต มันมีญาณตัวจิตตัวหนึ่งก็คือ ญาณปัญญาของเราน่ะ มันอยู่ไหน ไม่รู้น่ะ คุณฝึกขึ้นมา คุณก็ต้องรู้น่ะ พยายามอ่าน อ่านจิตของเราเอง จิตของเราเอง ที่มันเป็น เวทนาก็ตาม มันเป็นจิตก็ตาม หรือมันเป็นกิเลสก็ตาม มันเป็นสราคะ สโทสะ สโมหะ อย่างไรก็ตาม เสร็จแล้ว เราก็มีญาณอีกอันหนึ่ง อ่านเห็น อ้า เห็นแล้ว มันมีรูปกับนาม มันมีตัวหนึ่งถูกรู้ มันอีกตัวหนึ่ง เป็นนาม เป็นตัวรู้ อันหนึ่งเป็นธาตุรู้ อีกตัวหนึ่งเป็นธาตุจิตเหมือนกัน แต่เป็นธาตุจิต ที่ถูกรู้ นั่นน่ะอาตมา อธิบายไว้ใน คนคืออะไร มันไม่ใช่วัตถุรูปแล้ว มันเกี่ยวเนื่องกันก็ใช่

เราก็พิจารณา ตาม ว่ามันเป็นตัว เหตุต่อเนื่องกัน เข้ามาหา อายตนะ แล้วก็เข้ามาสู่จิตของเรา เป็นรูป เป็นเวทนา เป็นสัญญา เป็นสังขาร มันเป็นอย่างไร มันปรุงแล้วนะ กำหนดรู้ให้ชัด อารมณ์เวทนา โดยเฉพาะตัว เวทนานี่ พิจารณาถึง ๑๐๘ วิเคราะห์ วิจัยออก จนกระทั่ง ชัดเจนว่า เออ เรารู้แล้วเวทนา ๑๐๘ นี่เรา มีภาคปฏิบัติ ของเราได้ทำ ตั้งแต่กาย มาจากกาย เป็นกายิกเวทนา หรือ เจตสิกเวทนา จากทางใจ ของใจเอง เจตสิกเวทนา หรือ ของกายนี่ เวทนา ๒ เวทนา ๓ มีสุข ทุกข์ อุเบกขา หรือ อทุกขมสุข เออเราก็ได้รู้ แล้วอารมณ์อย่างไร มันอารมณ์กำลังระเริงสุขเลย สุขด้วยกาม หรือ สุขด้วย อัตตา ก็ตามใจคุณเถอะ คุณต้องอ่านให้จริง อ่านของคุณให้ชัด ของคุณจะเป็น อาตมาไม่ได้ตาม จริงๆ บอกว่า ตามใจนี่ สำนวนพาไป ไม่ได้ตามใจ อย่าไปตามใจตัวเองนัก มันหลงสุขหลงทุกข์อยู่ มันกำลังรู้ เราก็รู้เวทนา ๓ ทีนี้ก็รู้น้ำหนักของมัน สุขินทรีย์ ทุกขินทรีย์ โทมนัสสินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ อุเบกขินทรีย์ น้ำหนักของมันเท่าไร แยกออกมา เป็นสุขเป็นทุกข์ ข้างนอกข้างใน โสมนัสหรือสุข โทมนัสหรือทุกข์ เกี่ยวกับหยาบ เกี่ยวกับข้างนอกข้างใน เกี่ยวกับกายิกะ เกี่ยวกับเจตสิกะ แล้ว มันก็มีน้ำหนักเท่าไร

สุขทุกข์นี่ขยายความเป็นน้ำหนักเป็นความแรงความเบา โอมันยังล่อสุขอยู่ มหาศาลเลยนี่ แหม climax มันยังสุขสมใจ โอ้โฮ วันนี้นะนี่ว่า ตอนนี้ทุเรียนออกแล้ว กินทุเรียนเสียให้สะใจ แหมไอ้ลูกนี้มา โอ้โฮ เนื้อมัน แหมกำลังเหมาะเลย บางคนชอบแบบปลาร้าด้วยนะ โอ้โฮ กำลังเป็นปลาร้าอย่างดีเลย แล้วแต่ สะใจ climax ได้สมใจ โอ้โฮ วันนี้กินซะฉึ่งเลย อะไรก็แล้วแต่ จะกินทุเรียน จะกินโน่นกินนี่ จะอะไร ก็ตามใจเถอะ มันสัมผัสตา หู จมูก ลิ้น กาย คุณก็พิจารณามัน ให้รู้สุข รู้ทุกข์ รู้น้ำหนัก โอ้โฮ นี่เรายังหลงสุข มีอาการสุขนี่ ยังมีอัสสาทะแรงอยู่นะ รสชาดมันยังแรง มันยังอร่อยแรง อร่อยมาก หรือ มันยังทุกข์มาก โอนี่เราฝืนมาก ทุกข์มาก ลำบากมาก พาให้เราทุกข์มาก มันก็สุขๆ ทุกข์ๆ สองตัวนี่ มันไม่หนีจากกัน มันคือเหรียญสองด้านของโลกีย์นะ พิจารณาของ น้ำหนักของมัน อินทรีย์คือน้ำหนัก นอกนั้น ก็มาจากทวารทั้ง ๖ ใครเข้าใจได้หมดหรือยังนี่ เวทนาตั้ง ๑๐๘ นี่มันไม่น่าจะรู้เรื่อง มันไม่น่า จะจำได้นะ จำได้ไหม อะไรจำไม่ได้หรือ อาตมาว่ามันไม่ต้องจำนา มันไม่ต้องจำหรอก ความหมาย ของมันชัด ๆ อยู่แล้วนี่ ไล่มานี่ อินทรีย์ก็คือน้ำหนักของมัน มีสุข มีทุกข์ แบ่งเป็นโสมนัส โทมนัส มันแบ่งเป็น ๔ แล้วก็อุเบกขา อุเบกขินทรีย์ นอกนั้นก็ไล่มา คือเวทนา ทั้งหมดน่ะ มันไม่น่าจะจำไม่ได้ จากกายจากจิต แล้วก็ไปแบ่งเป็น เวทนา ๓ นี่หลัก เวทนาหลักๆ เลยก็คือ ความหลงสุข หลงทุกข์ อุเบกขา อุเบกขาอย่างโลกีย์ก็คือมันเฉย มันไม่สุข ไม่ทุกข์หรอก มันพักยก หรือมันอิ่มแล้วมันก็เฉย มันเสพสวาปามเข้าไปสมใจ แล้วมันก็พักยก ขอเฉย มันไม่รู้ไม่ชี้ เขาอร่อยไม่อร่อย มันไม่ยินดี ยินร้ายหรอก มันตื้อ มันอิ่มน่ะ หรือมันพักเฉยตามธรรมชาติ ไอ้นี่เป็นโลกีย์ แต่เฉย อทุกขมสุข ของพระพุทธเจ้าน่ะ คือมันปฏิบัติไม่สุดโต่งทั้งสองด้านแล้ว ไม่มีไปกาม ไม่มีไปอัตตา มันเป็นกลางๆ มันไม่สุขไม่ทุกข์ มันเฉยๆ มันกลางๆ อุเบกขา พระพุทธเจ้าท่านใช้ภาษา มัชฌิมา กลาง เพราะฉะนั้น ปฏิบัติให้มันปรับๆ เข้ามาเรื่อย เข้ามามัชฌิมาปฏิปทานี่ กินความทั้งใน ภาคที่กำหนดของตนเอง ว่าเอาให้พอเหมาะพอดี อย่าเอาให้มันทรมานหนักเกินไป อย่าให้มันมาก ไปหรือน้อยไป

แต่ต้องให้ตั้งตนอยู่บนความลำบาก ในขณะปฏิบัติ ไม่ใช่ไประเริงอยู่ สบายๆ เบาๆ ยถาสุขัง มันไม่ใช่หลัก หลักของท่านต้องให้มาทุกขายอัตตานัง ตนตั้งตนอยู่บนความลำบาก อยู่ในฐานะ ต้องมีฝืน มีตัวได้ปฏิบัติ อยู่ในขณะที่ไม่ประมาท ไม่ระเริง ถ้าเราไปปฏิบัติตามสบาย มันระเริง แล้ว นี่ก็เป็นการจัด มัชฌิมาปฏิปทา ให้กับตัวเองว่า ความพอเหมาะพอดีนั่นคือ ของเราขนาดนี้แหละ ตั้งตน อยู่บนความลำบากขนาดนี้ มีศีล มีอธิศีลขนาดนี้ มีกรรมฐานขนาดนี้ ถ้าเราไม่มี ปล่อยไปเรื่อยๆ ไม่มีหลักมีเกณฑ์อะไรเลย เป็นสวะแห่งวัฏสงสาร มันก็เละเทะไปชั่วชีวิต แต่ถ้าเผื่อว่าเราเอง สังวร ระวัง รู้จักกำหนด ให้แก่ตนเอง แล้วก็ลดปฏิบัติจริงๆ เมื่อมีธรรมในธรรม ปฏิบัติธรรมในธรรม มีสติปัฏฐาน ที่จะปฏิบัติทั้ง ๔ ทั้งกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม มันจะใช้เท่านั้น

ไม่ใช่ว่าพิจารณา มีอาจารย์หลายอาจารย์บอก พิจารณาเฉพาะกายในกายก็ได้ จะบรรลุอรหันต์ พิจารณาเวทนาในเวทนาก็ได้ คือแบ่งส่วนน่ะ ธรรมะแบ่งส่วน เหมือนหมอประเวศฯ ชอบว่า ผู้ที่แบ่งส่วน ตัดส่วน ไม่ได้ ของพระพุทธเจ้าต้ององค์รวม องค์รวม ทั้งหมดนั่นแหละ โพธิปักขิยธรรม จริงๆ รวมหมด นั่นแหละ ต้องอยู่ในนั้นหมดแหละ มีด้วยกันทั้งหมดนั่นแหละ อินทรีย์ ๕ มันก็มี มันก็เกิด ตามธรรม พละ ๕ มันก็เกิดตามธรรม โพชฌงค์ ๗ มรรคองค์ ๘ มันมีหมด ใช่ไหม เราใช้หมด โพธิปักขิยธรรมน่ะ เป็นองค์รวม ใช้หมด

สติปัฏฐาน ๔ ใช้ทั้ง ๔ ทั้ง ๔ เลย พิจารณา วิเคราะห์วิจัยหานิวรณ์ ๕ ให้ได้ อุปาทานขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ ของเรา ก็ยึดติดอยู่ตรงไหน อุปาทานยึดติดอยู่ตรงไหน อายตน ๖ เราก็ใช้ ใช้อยู่ตลอดเวลา รู้อยู่ ตลอดเวลา ในอายตน ทั้ง ๖ แบ่งนอกแบ่งใน อย่างที่อาตมาอธิบายไปแล้ว โพชฌงค์ก็มีอยู่ อริยสัจ ๔ ก็มีแน่นอน ถ้าไม่มีอริยสัจ ๔ ไม่รู้จักทุกข์ ไม่รู้จักสิ่งที่พยายามลดเหตุแห่งทุกข์ อยู่ตลอดเวลา คุณก็ไม่ได้ทำ ถ้าทุกข์คุณน้อยลง เป็นสกิทา เป็นอนาคาขึ้นมา ทุกข์ก็น้อยลง ละเอียดขึ้น ทุกข์น้อยลง เบาบาง ละเอียดขึ้น เรื่องอื่นๆ ที่คนเขาทุกข์กัน ในโลกของอบายมุข ในโลกของกาม ในโลกของ โลกธรรมต่างๆ อนาคามีเบาแล้ว ทุกข์ก็น้อย พิจารณายากขึ้น ละเอียดขึ้น รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ โอ ! เรื่องกามหรือ เฉย กามมากระทบสัมผัสตา หู จมูก ลิ้น กาย เฉย อนาคามี ก็ไม่มี ปัญหาแล้ว มันอุเบกขา มันอากาสา มันว่างๆ มันทำ ยิ่งทำยิ่งมั่น แต่ก็มีสติรู้ตัว มันมารู้ ไม่ใช่เผลอใช่ไผล มาแล้วมันก็ไม่เกิด อ่านมีธรรมวิจัย มีตัวจิตแววไว มีมุทุภูตธาตุ ทำงานตลอดเวลา ก็เห็นตัวเอง

แต่ถ้าคนไหนยังรู้อยู่ว่า โอ ! กามเราก็ยังไม่หมด พยาบาทเราก็ยังมีอยู่ แล้วเหตุอะไร ปัจจัยอะไร ที่มันแหม มันก่อของเราแรงเหลือเกิน เราก็จับตัวนั้นเป็นสักกายะ เอามันเข้าไปตัวนี้นี่ ในชีวิตของเรา เจอมันบ่อยนะ ตัวนี้นี่ โจทย์ โจทย์ใหญ่นะนี่นะ เราก็ต้องรู้จักสำคัญมั่นหมายเอาเอง สัญญาเอาเอง กำหนดเอาเองว่า เรานี่แหละกำหนดกรรมฐานให้แก่ตนเอง กำหนดสิ่งที่ตัวเราเอง จะสำคัญมั่นหมาย กับมันก่อน ไม่ได้สำคัญมั่นหมายเพราะยึดถือ แต่สำคัญมั่นหมาย เพื่อปฏิบัติ กำหนดให้ตัวเอง ตั้งให้ ตัวเอง เพื่อปฏิบัติ เราก็ต้องทำไป แล้วก็อ่านตัวเองไปว่าอะไรอีกหนอๆ ที่เรายังติดยึด อะไรที่ได้แล้ว เอออันนี้ได้แล้ว แต่ก่อนนี้มันไม่ได้ พิจารณาให้มาก ให้พิจารณาถึง อารมณ์ที่เป็นผลด้วย พิจารณา อารมณ์ ที่เป็นผล เราทำได้แล้ว ได้มรรค ได้ผล โอ้โฮ อันนี้เราก็เคยได้ แต่ก่อนนี้นี่ เราแย่จริงๆ เลยแพ้มัน เดี๋ยวนี้เราชนะ แล้วสิ่งเหล่านั้น มันจะเป็นตัวอย่าง เป็นแบบฉบับ เป็นต้นฉบับ เป็นโมเดล ให้แก่เรา โดยเฉพาะกิเลสของเราในชาตินี้นี่ มันจะชัดใช่ไหม นี่แต่ก่อนนี้ เรามีกิเลสอันนี้นี่ โอ้โฮ แต่ก่อนนี้ มันหนักเลยนะ เราติดมันมากเลย เดี๋ยวนี้มันเฉย เป็นตัวอย่าง ให้เรามากเลย อ๋อแต่ก่อนนี้ มันอารมณ์มาอย่างนี้หนอ

เดี๋ยวนี้อาตมานึกไม่ออกแล้วว่า แต่ก่อนนี้ กินเผ็ดนี่มันอร่อย อร่อยเป็น อย่างไร ลืมแล้ว รสอร่อย เดี๋ยวนี้มันไม่ได้เลยเผ็ด โอ้โฮ ! มันจะไอเลย เผ็ดพอสมควรนี่ เผ็ดแตะ แต่ก่อนนี้ มันจะอ่อนแอ เอามากเลย เดี๋ยวนี้ พยายามจะเคี้ยวอยู่นะพริกนี่ อาตมาก็พยายามมา ก็เคี้ยว เขาก็ใส่ให้มาให้ เหมือนกัน แต่บางจ้าวใส่ให้มาซะแตะไม่ได้เลย อาตมาต้อง อาว เจ้านี้เผ็ดจังเลย บางที ไม่ใช่มาเป็นพริก เป็นเม็ดๆ เป็นชิ้นๆ พริกหรอกนะ ตำมา ปรุงน้ำแกง น้ำผัดอะไรมา เผ็ดมา เต็มที่แล้ว อาตมาซดได้คำเดียว แล้วก็จากนั้นคุณจงตั้งอยู่เฉยๆ ไปจนกระทั่งจบ เกมการฉันอาหาร เพราะแตะ ไม่ได้ อีกแหละ มันแยกไม่ออกน่ะ มันมากับน้ำ กับเนื้อ เต็มเลย คุณแกง คุณผัดมารสอย่างนั้น ปรุงมาเต็มน้ำเลย แตะไม่ได้อีกแล้ว ถ้าหั่นตัวพริกมานะ อาตมาก็ยัง เออแกะออก แล้วไม่เอาพริกน่ะ เขี่ยไว้ข้างหนึ่ง หรือพริกบางชิ้นนี่เอาบ้าง ก็ชิมบ้าง เคี้ยวพริกบ้างนิดๆ หน่อยๆ ไม่เช่นนั้น ประเดี๋ยว มันก็แย่ ขนาดนั้นก็ยังทนไม่ค่อยไหว แล้วตอนนี้นึกไม่ออกจริงๆ นะว่าเอ รสอร่อยมันเป็นอารมณ์ มันเป็นอาการ รสอร่อย กินพริกแล้วอร่อยนี่ มันอร่อยที่กินพริกเข้าไป มันชักลืมๆ แล้ว อารมณ์อร่อย อันนั้น มันเป็นอย่างไร ชักลืมๆ แล้ว มันเป็นอย่างไร

พูดก็พูดเถอะ แม้แต่อารมณ์กาม ในกาม เรื่องของสรีระ เรื่องของกาม เรื่องรสชาดทางผู้หญิง ผู้ชาย อะไรต่างๆ อาตมาก็ชักลืมๆ แล้ว แต่ก่อนนี้ก็ว่าพอจำได้ เดี๋ยวนี้ทุกวันนี้ มันชักลืมๆ แล้ว มันก็ยัง ไม่นานนะ อายุยังไม่ถึง ๑๐๐ เลย มันชักลืมเสียแล้ว หนุ่มๆ ก็ยังรู้จัก ยังเข้าใจ ยังมีอาการอารมณ์ อย่างนั้น โลกๆ เขาเป็นโลกีย์อย่างนี้ เออ พอลดมาได้ มันก็รู้สึกว่า มันก็เออลดมา ก็รู้ว่ามันลด แต่มาถึงวันนี้แล้วนี่ เอ ยังไม่แก่เลย ยังไม่ถึงครึ่งอายุนะนี่ เพิ่ง ๗๐ ย่าง แหม ยังไม่ ๗๕ เลย ๗๕ ถึงจะครึ่งนะ มันชักจะลืมๆ แล้ว นี่ไม่ได้พูดเล่นนะ พูดจริง อธิบายจริงให้ฟัง แล้วพิจารณาผลด้วย เราจะได้เห็นว่า อ๋อ อุเบกขามันเฉย มันเป็นอย่างนี้ มันกลาง มันว่างๆ ว่างๆ มันเป็นอย่างนี้ มันไม่โต่ง ไปอีกหลายด้าน มันไม่ไปเอียง โต่งไปข้าง เออ เป็นกาม เป็นอัตตา เราก็ไม่ยึด ไม่ติด เรา ไม่เอาไปเบ่ง ไปข่มใคร ใครเขามีก็เข้าใจเขา เขายังเหลืออยู่อะไรก็เข้าใจเขา เขาอธิบายให้ฟังก็เข้าใจ อ๋อ อย่างนั้นๆ เออ ก็พยายามทำอย่างนี้ให้มาก ก็อธิบายช่วยเขาไป

มันเป็นของจริง พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า อารมณ์พวกนี้หรือสิ่งที่เกิดเป็นกิเลสตัณหา อุปาทานพวกนี้ มันเป็นของจริง และมันก็ล้างได้จริง เราก็จะรู้ว่าเออธรรมของพระพุทธเจ้านี่ เป็นของจริง มีจริง ปฏิบัติได้จริง แล้วเราก็จะรู้ตัวเราว่า เราทำได้แล้ว เราเป็นอาริยะนะ เราปฏิบัติกิเลสมันลดจริงๆ นะ มันลดจริงๆ เราก็จะรู้ว่าเราเจริญ เราเป็นโสดา สกิทา อนาคา อะไรมา ขนาดไหนก็ค่อยๆ ใช้สูตรที่ พระพุทธเจ้า ท่านว่าไว้มาตรวจสอบ อ่านความจริงว่าเอาสังโยชน์ ๑๐ เป็นหลักก็ได้ จะเอาอารมณ์ของ เอาเจโตปริยญาณ ๑๖ มาเป็นตัวหลักในการวัดก็ได้ ตอนนี้เราจิตเราขนาดไหน แล้วยังอยู่ในระดับ โอ้โฮ! ยังหนักอยู่เลยนะ ยังเป็นสังขิตตัง วิขิตตัง อยู่นะ เอาให้มันเจริญขึ้น เจริญขึ้นแล้ว เออ ดีขึ้นมากว่าเก่า แต่มันก็โอ้โฮ ยังหยาบอยู่เลย มันได้ดีขึ้นก็จริงอยู่ สอุตรจิต ก็จริงอยู่ แต่โอ้โฮยังไกล ยังไกลสมาธิ ยังไกลวิมุติ ยังเห็นชัดๆ อยู่เลย

แต่มันก็เบาแล้วละ มันไม่หนัก เหมือนกับแหม มันสังขิตตัง วิขิตตัง เหมือนกับ ขั้นตอนนั้นยังโอ้โฮ นี่ถ้าปล่อยไม่ได้นะ ปล่อยมันจะหยำเหยอะไปเลยนี่ สังขิตตัง มันพอได้ มันรู้แล้วละว่าลดได้อย่างไร ปฏิบัติถูกทางแล้ว แต่เรายังไม่ได้ทำให้มาก เพราะฉะนั้น ทำขึ้นไปอีก ให้เป็นมหัคคตะ ให้เจริญขึ้นไป จนกระทั่งดีขึ้นๆ แม้ดีขึ้นแล้วก็อย่าประมาท แม้ดีกว่านี้ยังมีอีก จิตที่ดีแล้ว แต่ดีกว่านี้ยังมีอีก สอุตรจิต อาตมาก็พูดถึงตรงนี้แล้ว ชมเชยคำแปล ที่ท่านแปล สอุตรจิต ทุกที โบราณาจารย์ท่านแปลไว้ว่า เออ จิตที่ดีแล้ว แต่ดีกว่านี้ยังมีอีก เออ มันชัด มันยังไม่สมบูรณ์น่ะ เรารู้ตัวเราว่า มันยังไม่หมด มันยังเหลืออยู่ มันยังมีกิเลสอยู่ มะ รำมะเรืองอยู่ แม้ว่าเราจะรู้ของเรา มันเหลือรูปราคะ หรือ อรูปราคะก็ตาม เราก็รู้เขต แล้วว่า มันไม่แล้ว มันไม่มีแรงไปออกข้างนอกแล้ว มันไม่เอาแล้วข้างนอก มันไม่เอาจริงๆ มันไม่แล้ว ข้างนอก มันไม่ไป ต่อหน้า ลับหลัง มันก็ไม่เอาแล้ว เพราะมันไม่อยาก มันไม่เอาแล้ว แต่มันก็ยังมี รำไรๆ รูปราคะ อรูปราคะ มันยังเอ๊! ยังมีนี่ เราก็จะอ่าน รู้ว่า อ๋อ ที่พระพุทธเจ้า ท่านตรัสเอาไว้ รูปราคะเป็นอย่างนี้ อรูปราคะเป็นอย่างนี้ รูปราคะในอาหาร รูปราคะ ในเนื้อสัตว์ รูปราคะในเครื่องแต่งตัว รูปราคะในอะไรก็แล้วแต่เถอะ ในทรัพย์ศฤงคาร ในบ้านช่อง เรือนชาน

แม้กระทั่งเป็นอัตตาชนิด โอฬาริกอัตตา มโนมยอัตตา อรูปอัตตา อะไรก็ตาม เราก็จะประมาณได้ ประมาณประเมินค่าของมันได้ว่า เออขนาดนี้ นี่มันแรงจนกระทั่งอยู่ภายนอก โอ้โฮ นี่ ข้างนอกนี่ เราก็ยังต้องฝืนต้องทนอยู่นะ กระทบสัมผัสแล้ว บอกว่าไม่เป็นไรหรอก ข้างนอกไม่ออกแล้ว ไม่ฝืน ไม่ทน อะไรแล้ว เบา ทำตัว อย่างกับอรหันต์ แต่ที่จริงยังเหลือรูปราคะ อรูปราคะนะ ยังไม่หมดหรอก ยังมีรำไร เราก็จะรู้ตัวเรา โอ ข้างนอกไม่มีปัญหา ไม่ละเมิด แม้แต่ต่อหน้าคนอื่น หรือ ลับหลัง อยู่คนเดียว เราก็ไม่ละเมิด เพราะมันไม่ได้อร่อยอะไรแล้ว มันไม่เป็นอัสสาทะสำหรับเรา ขนาดไหน ดีไม่ดีจะรู้สึก หยาบกับเราด้วยซ้ำไป ว้า มันหยาบ รังเกียจตัวเอง แม้แต่ลับหลังก็อื้อ ไม่ไหว แล้วจะรู้สึก กินแหนง ตัวเองว่าทำไม เรายังไม่หมดสักที ทำไมเรายังไม่หมดสักที มันจะรู้สึกอย่างนั้นด้วย ตัวรูปราคะ อรูปราคะนี่ มันจะเป็นอย่างนั้น มันจะไม่มานั่งอวดดิบอวดดีอะไรข้างนอก อู้ย มันละอาย มันมีหิริ มันมีโอตัปปะจริงๆ มันไม่มานั่งอยาก คนที่หลงจะได้เห็นเลย อันนี้มันจะเกิดมานะ อู้ คุณยังหลงอยู่ แหมยังต่ำ นี่มันจะเกิดจิตไปดูถูกดูแคลน ข่มคนอื่นเขา ระวัง ระวัง จิตอย่างนั้นก็ไม่ดี ซ้อน อุปกิเลสซ้อน เป็นมานะซ้อน ถือดี ถือตัว ข่มเบ่งคนอื่น คนอื่นเขายังไม่ได้ ก็บอกว่าคุณยังชั้นต่ำ ฉันสูงแล้ว ฉันได้แล้ว อะไรพวกนี้ ระวัง พวกนี้มันจะซ้อน

ถ้าเผื่อว่าเราเอง เราระมัดระวังทุกด้านไปเรื่อยๆ มาพิจารณาเห็นความจริง ในอาการของจิตของเรา หรือ เจตสิกของเรา มันเกิดอาการ เป็นไปในทางไม่ดี เป็นอกุศลจิต เป็น อกุศลเจตสิก อย่างนั้น อย่างนี้ รู้ตัว แล้วก็ระมัดระวัง มันจะได้ปฏิบัติธรรมอยู่ตลอดเวลาเลย ถ้ายิ่งแววไว จิตแววไว จิตมันอ่านได้เร็ว แล้วก็ปรับมันเร็ว คุณจะเห็นรู้สึกว่า ตัวเราเป็นนักปฏิบัติธรรมนะ ในขณะทุกขณะ ในเวลาทุกเวลา เราได้ปฏิบัติตน เราได้ลดได้ละตัวเองตลอดเวลา ยิ่งคนไหนกิเลสยังมีอยู่ ยังไม่หมด มันต้องทำ ได้ทำแน่ๆ ใช่ไหม กิเลสน้อยลงแล้วก็ตาม มันจะเผลอ คนกิเลสน้อยลงๆ บ้าง มันจะเผลอ แล้วมันก็ จะไม่อ่าน มันจะไม่พิจารณาอย่างลึกซึ้งต่อ เพราะมันรู้สึกว่า เราก็ไม่ทุกข์มาก รู้สึกว่าเราก็เบาบาง รู้สึกว่า เราก็ง่าย ก็เลยไปเรื่อย ดีไม่ดีจะเอาแต่สอนคนอื่น ไม่ทำของตัวเอง ลืม ลืมพิจารณา ให้แก่ตัวเอง ลืมระมัดระวังตัวเอง จะเอาสอนแต่คนอื่น จิตก็เลยจะออกนอกตัว หรือจิตก็จะเอาแต่ ไปทำนาย คนอื่นมาก ระวัง

ถ้าเราได้แล้วก็ดี แล้วเราก็ต้องทำต่อไปเรื่อยๆ จะให้คนอื่นก็เอา ไม่ว่ากระไร แต่อย่าลืม แม้จะสอน คนอื่น ต้องหัดซ้อน พระพุทธเจ้าถึงได้เตือนว่า ระวังเถอะ อย่าพร่าประโยชน์ตน เพราะประโยชน์ผู้อื่น แม้มาก อย่าพร่าประโยชน์ตน ประโยชน์ตนที่จะได้ก็คือ ลดกิเลสเพิ่มเติมขึ้น ประโยชน์ผู้อื่น มันก็จะเสริม ถ้าเราแววไว เราทำได้ดี แข็งแรงขึ้น เราก็ทำงานได้ก็มากขึ้น สอนคนอื่นได้ ในขณะสอน เราก็ยังอ่านจิต ของเราเป็น ในขณะสอน เราก็ยังบอก เออนี่มากไปนะ ก็ จะเกิดสัปปุริสธรรม จะหัด ประมาณ จะหัดเรียนรู้ บุคคล จะสังเกตปฏิกิริยาตอบรับ เขารับที่เราแสดงออกกับเขา เขาอย่างนี้ๆ มากไป น้อยไป ก็จะมีความละเอียดลออเพิ่มขึ้น คล้ายๆ กับเราเป็นคนมี เจโตปริยญาณ หยั่งรู้ใจเขา แหม ไอ้นี่นิด ไอ้นี่หน่อย เขาเกิดปฏิกิริยาอย่างโน้นแล้ว มันก็จะเกิด ความเฉลียวฉลาด แววไว รู้อะไร เท่าทันมากขึ้นเอง โดยอัตโนมัติ โดยธรรมชาติ เพราะฉะนั้น จะบอกว่า หยั่งรู้ใจคนอื่น ก็รู้เมื่อมัน กระทบ สัมผัส มันก็บอกเราแล้วนี่

แรกๆ ก็อาจจะประมาณผิด เดาๆ นิดหน่อย ต่อไปๆ ก็ละเอียดขึ้นอีก อ้อ อันนี้อย่าเที่ยวไปได้ดูถูกเขา อันนี้จริตของเขา นี่บุคลิกของเขา จะเอามาเป็นตัวพิจารณาไม่ได้ บุคลิกของเขานี่เขาจำนน แต่ใจ ของเขา สะอาดกว่าบุคลิกนะ คนอย่างนี้เป็นคนหยาบ หรือคนอย่างนี้เป็นคนแบบนี้แหละ เขาชิน อย่างนี้ เรื่องของเขา สิ่งเหล่านี้มันซับซ้อน เราก็จะต้องพิจารณาไป ถึงจะเกิดปัญญา ถึงจะเกิด ความรู้จริง เพราะฉะนั้น เรื่องพิจารณาให้มากนี่ ก็อยากให้พวกเราได้ระลึกตัวเอง

นักปฏิบัติธรรม พวกเราทุกคน ว่าขณะนี้ เราได้พิจารณาให้แก่ตัวเองไหม สติปัฏฐาน ๔ พิจารณากาย เวทนา จิต ธรรม หรือ สัมมัปปธาน ๔ ตัวเองได้ใช้ตัวพิจารณาเข้าไปประกอบ สังวรปธาน มีตัวพิจารณา ประกอบ ปหานปธาน หรือกำลังปฏิบัติให้เกิดปริญญา ๓ ญาตปริญญา ตีรณปริญญา ปหานปริญญา มีไหม ถ้ามีอยู่ เกิดผลอยู่ก็เห็นผล เออเราปฏิบัติได้ มีภาวนาปธาน อนุรักขนาปธาน ก็ระวังนะ ที่ปฏิบัติได้ แล้วอย่าให้มันล้มละลายไปอีกล่ะ รักษาผลไว้ เรื่อยๆๆ มีสัมมัปปธาน มีอิทธิบาท คุณจะมีอิทธิบาท ดี

การปฏิบัติธรรมของพระพุทธเจ้า ถ้าปฏิบัติถูกแบบอย่างสูตรของพระพุทธเจ้าแล้วนี่ ทุกคนจะร่าเริง เบิกบาน มีฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา แล้วก็จะชำนาญ มีสัมมัปปธาน ๔ มีอิทธิบาท ๔ มีสติปัฏฐาน ๔ เป็นตัวทำไปตลอดเวลา แล้วคุณก็ได้ปฏิบัติธรรม ก็เท่ากับคุณเดินเครื่องยนต์ ทำงาน มันก็จะเกิด สั่งสม อินทรีย์ ๕ พละ ๕ ขึ้นไปเรื่อยๆ โดยไม่ต้องไปพูดถึงโพชฌงค์ ๗ มรรค ๘ เพราะนั่นแน่นอน เป็นทางเดิน โพชฌงค์ คือการก้าว มรรคคือทาง มรรคนี่คือทาง คุณมีแล้ว สัมมาอริยมรรค คือ ทางที่จะปฏิบัติ มีแล้ว เป็นทางของคุณแล้ว แล้วคุณก็มีโพชฌงค์ คุณมีสติปัฏฐาน ๔ ธรรมวิจัย คุณมีสติสัมโพชฌงค์ มีธรรมวิจัยสัมโพชฌงค์ มีวิริยสัมโพชฌงค์ ที่เป็นตัวปฏิบัติแท้ๆ หรือไม่ ถ้ามีคุณก็ คุณมีทาง แต่คุณไม่ก้าว นอนอยู่ตรงนี้ ดีไม่ดีให้ลมพัด ให้น้ำดัน ให้มันตกลงมาในเหว ตกลงมาในนรก ตกลงมา ในอะไรอีก แทนที่จะก้าว ก็ต้องตั้งใจให้มีสติสัมโพชฌงค์ ให้มีธรรมวิจัย สัมโพชฌงค์ วิริยสัมโพชฌงค์ ก้าว ก้าวไปให้ได้ เพราะฉะนั้น โพชฌงค์ ๗ กับมรรค ๘ ของ โพธิปักขิยธรรม นี่ ถ้าเรารู้ดีแล้ว เราก็รู้ตัวปั๊บ ตรวจปั๊บ นี่เราอยู่ในมรรค ๘ หรือเปล่า นี่เราได้มี โพชฌงค์ ประจำตัวหรือไม่ สติของเราเป็นสติอะไร สติปุถุชน สติกัลยาณชน สติกัลยาณชน ก็มีแค่หลวมๆ สติถึงสติอาริยชนไหม สติสัมโพชฌงค์ สติใน ขั้นอาริยะ สติในขั้นที่ มันสังวรระวัง รู้นอก รู้ใน รู้ธรรมในธรรม มีโพธิปักขิยธรรม ครบหรือไม่ ในขณะใดๆ แล้วได้พิจารณา มันอยู่กับตัวไหม พิจารณา เห็นทั้งนอกและใน ทั้งหยาบและละเอียด เห็นในอริยาบถ ต่างๆ เห็นแล้ว พิจารณา อ่านอยู่ตลอดเวลาเลย

นี่นิวรณ์อย่างหยาบกลางละเอียด อุปาทานของเรา รูป เวทนา สัญญา สังขารของเราก็อยู่ในธรรม รู้จักรูป รู้จักเวทนา รู้จักสัญญา รู้จักสังขาร ก็คือทำวิญญาณให้สะอาดนั่นเอง ตามหลักของ ปฏิจจสมุปบาท อวิชชาเป็นประธาน อวิชชาเป็นประธานก่อให้เกิดอะไร ก่อให้เกิดสังขาร สังขารให้เกิดอะไร วิญญาณ นี่เป็น ๓ อันแรก อวิชชา สังขาร วิญญาณ เพราะฉะนั้น วิญญาณ ของเรานี่ ถ้าเราได้ปฏิบัติโดยการตั้งตน อาหารของอวิชชา คือ นิวรณ์ ๕ เพราะฉะนั้น เราปฏิบัติ ลดนิวรณ์อยู่ๆ สติปัฏฐาน ๔ ก็เกิด โพชฌงค์ ๗ ก็เกิด ใช่ไหม ใน อวิชชาสูตร นี่ทวน เปิดอยู่ เมื่อวาน ก่อนนี้ ก็เปิดอยู่นี่ ทวน อวิชชาสูตรก็ทวน มูลปริยายสูตรก็ทวน เรียนไปเพื่อลืม มันก็ใช้ไม่ได้สิ เรียนไป เพื่อลืม เรียนไปเพื่อใช้สิ เพราะฉะนั้น เราได้ลดอยู่ ธรรมในธรรม นี่นิวรณ์เราก็ได้ลดอยู่ ตั้งใจปฏิบัติอยู่ มันก็ลด อาหาร เมื่อลดอาหาร วิญญาณก็สะอาดขึ้นเรื่อย อวิชชาก็จะถูกลดลงไปเรื่อย เพราะไม่ได้ ให้อาหาร เมื่อไม่ให้อาหาร อวิชชาก็ลดไปเรื่อยๆ สังขารก็เป็น วิสังขาร วิสังขารหรือสังขารที่ดีขึ้นๆๆๆ เพราะฉะนั้น วิญญาณก็ดี สังขาร จากสังขารมาเป็นวิญญาณ ถ้าอวิชชาต่อมาเรื่อย สังขารก็สังขาร เรื่อย เป็นสังขารละโลก สังขารโลกีย์ มันก็ปรุงมาจากวิญญาณ วิญญาณก็หยำเหยอะ วิญญาณก็ เขรอะเน่า มีแต่โลกีย์ ใส่วิญญาณตลอดไป อายตนะ ๖ ก็รับเละมาเลย ไม่ได้พิจารณาอายตนะ ๖ อะไรเลย ธรรมในธรรม อายตนะ ๖ ไม่รู้นอก ไม่รู้ใน ล่อเละ ม้วนใส่เข้าไปในกิเลสนั่นแหละ ในจิตนั่น แหละ กิเลสทั้งนั้น เบะๆๆ เข้าไปทุกวัน คุณคิดดูสินี่ เรามาเห็นชัดเจนเลยมันยังหยาบ

แต่ก่อนนี้คุณไม่เคยปฏิบัติธรรมเป็นอย่างไร เป็นนักโกยขยะ โกยขยะใส่จิตใช่ไหม เป็นนักโกยขยะ วุ่นอยู่ในขยะ นั่นแหละ เละ ไม่ได้รู้เรื่องเลย อายตนะคืออะไร ขันธ์ ๕ คืออะไร สัญญา สังขาร วิญญาณ คืออะไร ไม่ได้รู้เรื่อง นี่ชักรู้ โอ สังขารเพราะอวิชชา สังขาร สังขารมีวิญญาณ วิญญาณมี อายตนะ หรือ สฬายตนะ หรือนามรูป เป็นนามรูปก่อนมั้ง เป็นนามรูปก่อน แล้วเราก็วิจัย เรียนรู้รูปนาม รูปอธิบายแล้ว แม้แต่ที่สุดในทางธรรม สิ่งที่ถูกรู้ วิจัยออกว่านี่เป็นกิเลสนะ นี่เราลดละ ได้แล้วนะ รูปนามของมันเอง มันก็จะสูงขึ้น รู้รูปรู้นามในลักษณะธรรมะ รู้ปรมัตถ์ รูปนามในขั้น ปรมัตถ์ก็คือ อ่านจิตในจิต อ่านเวทนาในเวทนา จับนามธรรม ข้างนอกก็ไม่ใช่ไม่รู้ หยาบ ข้างนอก ตา หู จมูก ลิ้น กาย รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ก็รู้ เหตุปัจจัย ลาภ ยศ สรรเสริญ อะไรก็รู้ทั้งนั้นแหละ มันมาสัมผัส เราแล้ว แล้วก็มาก่อเกิด ข้างใน เราตามอ่าน จิตในจิตเป็น เวทนาในเวทนาเป็น แยก ธรรมในธรรมเป็น อ่านออกแล้ว รูปนามก็คือ สิ่งที่ถูกรู้ นามก็คือตัวธาตุรู้ หรือญาณ มันเป็น วิปัสสนาญาณ กำลังทำ ฌาน มีวิปัสสนาญาณ ทำสำเร็จ ก็เป็น มโนมยิทธิ เป็นวิชาขึ้นไปเรื่อยๆ แล้วก็มีหลากหลายอิทธิวิธี วิธีที่มีฤทธิ์ อิทธิวิธี มีวิธีหลากหลาย ทำของเรานี่แหละ ละเอียดลออ ของเรา ใครถนัดอะไร ทำอย่างนี้ ได้ผล เราก็ทำของเรา ก็จะเกิด หลากหลายวิธี สามารถขึ้นเรื่อย เป็นคนเหนือโลกขึ้นไปเรื่อยๆ มีอะไร ต่ออะไรพิสดาร

โอ้โฮ! แต่ก่อนนี้ มันไม่เคย มันไม่น่าจะได้ มันก็ได้ มันพิสดาร มันไม่น่าเชื่อ มันปาฏิหาริย์ มันมหัศจรรย์ ขึ้นเรื่อยๆ มันก็จะมี อิทธิวิธี โสตทิพย์ก็จะลึกซึ้งขึ้นเรื่อย แหมนี่ มันไกลนะ มันมาเบาๆ นะ แต่ว่าเรารู้ มันแล้ว วิจัยออกด้วยว่า นี่คืออะไร โทสมูล หรือ ราคมูลสายไหน หยาบ กลาง ละเอียด น้อยมาก ต่างกัน แบ่งออก มีธรรมวิจัย จิตวิญญาณของเรามีธรรมวิจัย สัมโพชฌงค์ วิจัยออกได้ดีเลย อะไร อย่างนี้เป็นต้น ก็เกิดโสตทิพย์ เกิดเจโตปริยญาณ เสร็จแล้วคุณ จะไปทวน บุพเพนิวาสานุสติญาณ จุตูปปาตญาณ จนกระทั่ง ตรวจสอบว่า อ้อ มันหมดอย่างนี้หนอ อาสวะสิ้น เป็นอย่างนี้ อาสวักขยญาณ ญาณที่รู้จัก อาสวะ อ้ออาการมันก็เล็กก็น้อย แล้วก็มันก็ได้ปฏิบัติมาแล้ว

ถ้าคุณทบทวนเตวิชโชอยู่เรื่อยๆ คุณก็จะตรวจรู้ว่า นี่เหตุนี้นะ มันทำเรามานานแล้ว เราชอบมัน เราติด เป็นทาสมัน เป็นโลกียะเอร็ดอร่อยโลกียะ จนดับโลกียะหมด ไม่มีโลกียะ เป็น โลกุตระ มันเฉย มันวาง มันไม่เกิดอาการของโลกียรส ดับโลกียรส มีแต่วิมุติรส เป็นรสที่พ้น รสที่เฉย รสที่วางที่กลาง มันจะ ไม่เหมือนเดา ตายมันไม่มีรสอร่อยของโลกีย์แล้ว มันไม่สุขไม่ทุกข์ มันไม่อร่อย มันจืดๆ ตายละหว่า จะอยู่ตรงไหน ว้าเหว่ตาย เหี่ยวแห้งตาย คุณจะไม่รู้สึกอย่างนั้นเลย ไม่หรอก คุณจะไม่รู้สึก อย่างนั้นเลย ไม่อร่อยแบบโลกๆ แล้ว เราก็เบิกบานร่าเริงของเราอยู่ แล้วเราก็ไม่ ได้หดเหี่ยว ห่อเหี่ยว ยิ่งไม่ห่อเหี่ยวเลย ยิ่งได้มาก ๆ ยิ่งไม่ห่อเหี่ยว แต่ก่อนนี้สิยิ่งห่อเหี่ยว เหี่ยวไม่ เหี่ยวธรรมดาด้วยนะ โหดด้วย อันที่จริงไม่น่าเหี่ยวธรรมดา ไม่ชอบใจเขี้ยวขึ้นเลย โหดด้วย ดุด้วย ใช่ไหม พอไม่มี สิ่งเหล่านี้แล้วนี่ มันไม่ห่อ ไม่เหี่ยว ไม่โหด ไม่อะไรเลย มันก็จะเบิกบาน เบาสบาย

แต่มันคงไม่บ้าหรอกหนอ นั่งยิ้มอยู่ตัวเองคงไม่บ้าอย่างนั้นหรอกนะ แต่มันก็สะบาย แต่อยู่ตัวเองก็ ไม่ต้องยิ้มหรอก มันก็ไม่ยิ้มไม่อะไรหรอก มันก็อยู่ มันก็สดชื่นของมันอยู่เป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น เราจะอยู่คนเดียว เราจะอยู่กับงานนั้นงานนี้ จะอยู่กับอะไร มันก็ไม่จำเป็นต้องมีเพื่อนสอง เรียกว่า ไม่มีเพื่อนสอง อยู่แต่ผู้เดียว เพราะฉะนั้น จะอยู่กับหมู่กลุ่มเต็มนี่ เราก็อยู่แต่ผู้เดียว ไม่มีเพื่อนสอง ก็คือ ไม่มีกิเลสขึ้น มันแข็งแรงแล้ว มันหยุด มันจบ มันไม่ไปไม่มา มันไม่อะไร แต่มันก็เบิกบานของมัน อยู่ของมันได้ จะมีอะไรอยู่ในโลกโลกีย์เราก็รู้เท่าทันมัน แล้วเราก็อยู่เหนือมัน อยู่เหนือมันจริงๆ ใครพอเชื่อ พอเข้าใจ พอรู้ว่าของเราเป็น ของเรามีแล้วบ้าง ว่านี่เราอยู่เหนือมัน แต่ก่อนนี้ เราไม่ได้นะ เราแพ้มัน จริง เดี๋ยวนี้เราอยู่เหนือมันได้ แม้จะยังไม่ถึงขั้น อาสวักขยญาน แต่ก็ขั้น อนาคามีภูมิ ด้วยเหตุนี้แหละ เหตุหยาบๆ ของโสดาบันด้วยซ้ำไป แต่ก็มีภูมิถึงอนาคามีภูมิ ไม่ได้หมายความว่า เป็นอนาคามีบุคคลนะ ไม่ใช่บุคคลนะ อนาคามีภูมิในเหตุปัจจัยนี้ เข้าใจซ้อนไหมว่า โสดาในโสดา สกิทาในโสดา อนาคาในโสดา อรหัตผลในโสดา เข้าใจไหม เออ แหมเก่งทั้งนั้นเลยนะ

นั่นแหละ เราอ่านออกว่านี่มันคุณภาพทางธรรมของเรามันเจริญถึงขีดนี้นะ มันได้ขนาดนี้แล้ว มันถึงขนาด เข้าขั้นอนาคามีภูมิ แต่ไม่ใช่อนาคามีบุคคล เรายังหรอก เหตุนี้ เรื่องนี้ เราก็อ่านออก เออ มันเบาแล้ว มันจะต่างกันชัดเลย โอ้โฮ เรายังจำได้เลย แต่ก่อนนี้โอ้โฮ เสร็จมัน ยากเลยนะ แต่ก่อนนี้ ยิ่งแหม แล้วรสอัสสาทะแบบโลกๆ โลกีย์ ก็เข้าใจ แล้วก็รู้ความจริง แล้วหลายคนที่ยังไม่นาน ก็คงจะ จำได้อยู่ แต่เดี๋ยวนี้เราต่างแล้ว การติดยึดก็ต่าง ยิ่งอะไรที่มันยิ่งเหมือนกับอาสวะสิ้น อาสวักขยญาณ มันดับแล้ว มันไม่เหลือแล้ว มันถอนอาสวะแล้ว แหมอันนี้เราปฏิบัติมา จนมันสิ้นอาสวะแล้ว เป็นอรหัตผล ในเรื่องนี้แหละ เรื่องต่ำๆ หยาบๆ เบื้องต้น อรหัตผลแล้ว คุณก็จะรู้จัก อรหัตผลในโสดา อรหัตผลในอะไรต่ออะไร เรียกว่า เรารู้จักวิมุตติ รู้จักนิพพาน แม้นิพพาน แม้วิมุตติใน อาสวะสิ้น ที่พระพุทธเจ้า ท่านก็บอกว่า ได้แม้แต่ในฌาน ๑ ฌาน ๒ ฌาน ๓ ฌาน ๔ ก็มีอาสวะสิ้นได้ ทั้ง ๔ ฌาน โดยเหตุปัจจัยอะไร บางคนก็ทำลึกเข้าไปต่อๆ เข้าไปเรื่อยๆ เพราะฉะนั้น เราสามารถที่จะรู้จัก ความจริง ที่เป็นปรมัตถ์ ความจริงที่เป็นอารมณ์ทางจิต เป็นกิเลสในจิต เป็นความจริงที่พระพุทธเจ้า ท่านสอน เราว่า เราควรมาละ มาเลิก มาลดซะ เมื่อละเลิก ลด ได้แล้ว เป็นโสดาบันก็เป็นผู้ปิดอบาย

อบายคือเรื่องของหยาบๆ ต่ำๆ โลกๆ โลกีย์นี่ ในชุมชน ในกลุ่มมนุษย์อโศกของพวกเรานี่นะ มันเป็น กลุ่มมนุษย์ ที่อย่างน้อย แม้คุณจะอยู่ในกลุ่มนี้ อยู่ในชุมชนนี้มี ๑,๐๐๐ คน แต่ที่จริงพวกเรา ยังไม่มีกลุ่ม แต่ละชุมชนยังไม่ถึง ๑,๐๐๐ จริงๆ หรอกนะ มันไม่ถึง ๑๐๐๐ จริงๆ ชุมชนเรานี่ เอาเถอะ กี่ร้อยก็แล้วแต่ แม้ร้อยคน แค่ร้อยคนก็ตาม ร้อยคน สองร้อยคน ห้าร้อยคนก็ตาม รวมแล้ว องค์รวม มันไม่มีเรื่องของ อบายมุข มันไม่มีเรื่องเหล้า เรื่องยา บางคนอาจจะมีนิดๆ หน่อยๆ อะไร แต่มวล ของพวกเรา โดยค่าเฉลี่ยแล้ว ๗๐% - ๘๐ % ไม่มีหรอก ใครยังอยากกินเหล้าอยู่ มีไหม หันมาทาง ผู้ชายหน่อยดีกว่า หรือ ผู้หญิงขี้เหล้า เมรีขี้เมา อย่างนี้ เป็นต้น มันไม่มีแล้วในมวลชนพวกนี้ มันไม่อยากจริงๆ เพราะฉะนั้น ๗๐ % ขึ้นไป ๘๐ % ขึ้นไป ถึง ๑๐๐ % ในหลายๆ คนบอก เอย สูญเรื่องเหล้า เรื่องบุหรี่ เรื่องของหยาบอบายมุขต่างๆ เรื่อง การละเล่น อาจจะมีบ้าง มหรสพ อาจจะมีบ้าง อะไรอย่างนี้ แต่มันก็ไม่หรอก เพราะข้างนอกเขาประโคมกัน โอ้โฮนี่ มันยอดมหกรรม ใหญ่ สนุกสนาน มหรสพระดับนั้น ระดับนี้ โฆษณามาทั้งนั้นเลย โดยเฉพาะอะไรที่มันใหญ่ๆ มันจะต้อง โฆษณา ทางโทรทัศน์ รายการใหญ่นะ มหึมา มโหฬารพันลึก ปีหนึ่งมีหนเดียว หรือว่า ยังไม่เคยมี เลยนะนี่ เป็นครั้งแรกในโลก อะไรก็แล้วแต่ โอโฆษณาสารพัด ใจของเรา โอ้โฮ อยากไป จริงโว้ย มันไม่เกิดน่ะ มันไม่เกิด ฟังก็เออหนอ บางคนอาจจะว็อบแว็บว่า เออ มันก็หน้าดูเหมือนกัน หนอ นิดๆ หน่อยๆ

บางคนก็เฉยๆ ธรรมดา ไม่ได้อยากดูเลย ดีไม่ดีบางคน บอกเอาไหมฉันซื้อตั๋วให้ ไม่ไปหรอกเมื่อย เกิดอาการอย่างนี้บ้างไหม แต่ถ้าเป็นเมื่อก่อนนี้แล้วละ แหมมันไปนะ ไปนะ โอ้โฮ ต้องเจียดไว้ ไม่มีงานก็ต้องหา หยุดเสียก่อนงาน พักตรงนั้นตรงนี้ ไปแอบ ไปดูก็มี วิ่งแล่นไป มหรสพ การละเล่น เที่ยวกลางคืน คบมิตรชั่วอะไร อบายมุขต่างๆ มันไม่มีจริงๆ ในหมู่ชนของเรานี่ โดยค่าเฉลี่ยแล้ว เป็นเมืองพุทธ เป็นเมืองพระศรีอาริย์ นี่คือเมืองพระศรีอาริย์ มันไม่มีจริงๆ ใช่ไหม อบายไม่มี ปิดอบาย ความเป็นอบายในคนกลุ่มนี้มันไม่มี อาชญากรรมในเรื่อง อบายมุขอย่างนั้นมันไม่มี มันไม่มี วัสดุ เหล่านั้น มันมีไหม มี ยั่วยวนอยู่มีไหม มี อยู่ในโลก ประโคมกันอยู่โครมๆ เราไม่ได้ปิดหูปิดตา เมื่อไร เห็นอยู่ รู้อยู่ แต่เราก็เฉยๆ ไม่ใส่ใจ อุเบกขา อทุกขมสุข ไม่ได้ไปหลงสุขหลงทุกข์กับมันนะ ใครจะเหลือ เศษน้อยเหลือนิด อะไรก็ตามใจ ของใครบ้าง ก็มีแล้วแต่ ถ้าใครไม่เหลือแล้ว ก็คือไม่เหลือ มันก็ไม่มี เพราะฉะนั้น ที่นี่จึงมีเมืองพระศรีอาริย์ที่ไม่มีอบาย ปิดอบาย

ส่วนสกิทาเราจะสูงขึ้น เราจะรู้กิเลสของเรา นี่ในจิตในใจของเราว่า เออมันเหลือน้อย มันมีอยู่บ้าง มันเหลือน้อยลงไปๆๆ ก็ลดลงไปเรื่อยๆ จนเข้าอนาคา โดยเฉพาะในเรื่องอบาย เพราะฉะนั้น ในอรหัตผล ของอบาย ฟังให้ดีนะ อรหัตผลของโลกอบายภูมิ คุณเชื่อไหม ว่าพวกเรานี่มีอยู่ เชื่อไหม เห็นไหม ถ้าแบ่งออกแล้ว จะเห็นชัดเจน เพราะฉะนั้น ในอรหันต์ที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า ถ้ามีผู้ ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบแล้ว โลกไม่ว่างจากพระอรหันต์ เห็นอรหันต์ขึ้นบ้างไหม เอาให้ได้ที่ตัวเอง แม้จะยัง ไม่ได้ เป็นอรหันต์สมบูรณ์ เป็นอรหันตบุคคล เป็นอรหันต์เต็ม ก็ให้ได้ อรหันต์ในโสดา อรหันต์ในสกิทา แต่ที่จริงก็ อรหันต์ในโสดานั่นแหละ มันจะมีสกิทา อนาคา อรหันต์ ซ้อนอยู่ในโสดา นั่นแหละ แล้วมันก็ จะไล่ขึ้นมาเรื่อยๆ ของมันเอง ตามภูมิ โสดาบันยังติดยึดอยู่ในระดับนี้ ลาภ ยศ สรรเสริญ ก็ประมาณนี้ คือโสดา ถ้าสูงขึ้นมา สกิทาก็ขนาดนี้ ลาภ ยศ สรรเสริญก็ขนาดนี้ นี่พวกเรานี่ ยังว่ากันอยู่ ยุ่งยากนะนี่ อยู่ในนี้แท้ๆ ก็ยัง ทั้งๆ ที่มันเป็นสมบัติของคนอื่น สมบัติของส่วนกลาง เราก็ยังเถียงกันเองอยู่ในนี้ ฉันจะเอาแพงๆ ฉันจะขายแพง คนนี้บอกขายแพงทำไม ขายถูกอย่างนี้ ฉันจำเป็นน่ะ มันจำเป็นอะไร มากมายนัก ลดลงก็ได้ ไม่หรอก อยากขายก็ขายไปซิราคานั้น ฉันจะขายราคานี้

คือ ให้มันขัดใจกัน ให้มันไม่ชอบหน้ากันขึ้นไป เฉยๆ ทั้งๆ ที่ แล้วที่เรียกว่า ขายแพงนั้นเอาไปไหน ก็เข้ากองกลางน่ะ ขายถูก เอาไปไหน ก็เข้ากองกลาง แล้วทำให้เหม็นขี้หน้ากันทำไม ไม่รู้ มันอยากทำ น่ะ อาตมาก็เออนะ คนเรามันก็อย่างนี้แหละ จะว่าไม่โง่ มันก็คือโง่ อยู่อย่างนั้นแหละ แล้วก็ทำไป โลภโมโทสัน ดีไม่ดี ถ้าใครมาทำทุจริต มันก็เป็นบาป แต่ถ้าใครไม่ทุจริต แล้วมาทำอย่างนี้ ก็จะเห็น จิตของเรา ไม่ได้ทุจริตอะไรหรอก ก็ทำให้แก่ส่วนกลางนี่แหละ แต่ก็ยังมีง็อกๆ แง็กๆ ยังมีเหลี่ยม ยังมีโน่นมีนี่ ยังมีอะไรต่ออะไรต่างๆ บางทีเสียศักดิ์ศรี ต้องเอาอย่างของฉัน ไม่เอาอย่างของฉันไม่ได้ มันก็มีทั้งมานะ มีทั้งถือดีถือตัว มีอะไร มีอัตตาของตัวเองอะไรอย่างนี้ รักษาผลประโยชน์ให้วัด อ้างเหตุอ้างผล อ้างรักษาผลประโยชน์ให้วัด วัดต้องการเงินอยู่นะ วัดต้องการทรัพย์ศฤงคารอยู่นะ วัดต้องอย่างนี้นะ มันก็อ้างไปได้สารพัด แต่ก็อ่านดูใจ เอ๊! ถ้าเราไม่รักษา แล้วคนอื่นไม่รักษาด้วย มันจะเป็นอย่างไร ถ้าเราไม่ รักษา ก็มีคนอื่นเขารักษาอยู่นั่นแหละ เอาเราเลิกก่อน เราเลิกรักษา ให้คนอื่นรักษาสิ รักษาผลประโยชน์ให้วัดนี่ เราละกิเลสของเราเองดีกว่า เราไปยึดไปติดอะไร กันนัก กันหนา พิจารณาลงบ้าง ลดลงบ้าง ถ้าลดลงอย่างนี้ได้บ้าง

อาตมาว่าความสงบจะเกิดขึ้นอีกไม่ใช่น้อยนะ ความสงบจะเกิดขึ้นไม่ใช่น้อย พวกเรานี่ยังมีง้องแง้ง ๆ อยู่อย่างนี้ ต่างๆ นานา มันละเอียดนะ มันละเอียด สุขุม ประณีตจริงๆ เรื่องของกิเลส ตัณหา อุปาทาน ใช่ไหม เพราะฉะนั้น ในสังคมของพวกเรานี่แหละ เป็นสังคมของมิตรดี สหายดี สังคม สิ่งแวดล้อมดี เป็นการปฏิบัติธรรมไปในตัว มีโจทย์ตั้งแต่หยาบ กลาง ละเอียด ข้างนอกมันไม่มี โจทย์ละเอียด อย่างนี้หรอก คุณไประเริงอยู่ข้างนอก ปฏิบัติธรรมอยู่ข้างนอก ไม่มีหรอก ละเอียดๆ อย่างนี้ไม่มีหรอก ในระดับละเอียด อันนี้ก็ทุกคนก็ไม่มีกันอยู่แล้ว อยู่ในนี้เราจะมาทำกันได้อย่างไร แหมประเจิดประเจ้อ ของเขาไม่มีกันแล้ว ข้างนอกน่ะ เราจะขนาดนั้น ขนาดนี้ กลายเป็นโก้ด้วยนะ เพราะคนอื่นเขาหยำฉ่า กับเรา เขาโอ้โฮ! ใช่ไหม คนอื่นเขาเลอะกว่าเรา หยาบกว่าเรา ของเราขนาดนี้ เก๋ แต่ที่แท้ยังหยาบเลย แต่ถ้ามาอยู่ในนี้ ขืนหยาบอย่างนั้นไม่ได้ เดี๋ยวเพื่อนเห็น ไม่ได้ เดี๋ยวโดนตำรวจ ตำรวจโดยไม่ต้อง ติดบั้งให้หรอก เป็นสิบตรี สิบโท สิบเอก ตรวจตรา แหมไม่ได้ พระพุทธเจ้าถึงได้ว่า อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี ปฏิรูปเทสวาโส อยู่ในบุคคลที่มีบุคคลที่ดี บุคคลสปายะ หรือว่า เสนาสนะ สปายะ มีอาหารสปายะ มีเครื่องอาศัยต่างๆ เพราะฉะนั้น เครื่องอาศัยในที่นี้ สิ่งที่โลกๆ เขามีอาศัย ที่นี่ไม่ต้องอาศัย ต้องอาศัยเหล้า อาศัยยา อาศัยน้ำอัดลม อาศัยเครื่องแต่งตัวสวยๆ งามๆ อาศัยอะไร แม้แต่อาศัยรองเท้า ไม่ค่อยอาศัยกัน แต่ก็มีบ้างบางคน แล้วก็ไม่พยายามถอดถอน ตัวเองก็เลยไม่เก่ง ไม่ชิน ก็ใส่รองเท้าชิน ติด อาตมานี่จำเป็น บางวาระต้องใส่รองเท้า ก็รู้สึกว่าต้องใส่ แต่พยายาม จะให้ตนเอง ไม่รำคาญ ไม่ลำบากใจ ก็ใส่ บางที มันใส่ๆ ไปก็บอก เออ มันถอดดีกว่าวู้ยนะ มันจะรู้สึก ด้วยซ้ำไป เพราะจริงๆ แล้ว มันก็จะเป็นอย่างนั้น แล้วเราก็รู้สึก มันก็ไม่อยากจะใส่ ดีกว่า เพราะว่า มันไม่จำเป็น หรือ บางทีนี่โอ มันร้อน อะไรต่ออะไรก็ต้องนุ่งต้องห่ม แม้แต่อังสะนี่ แหม ถอดอังสะนี่ รู้สึกว่า มันเบาดี มันโล่งดี แต่มันก็ไม่ดี ตรงที่ว่า มันก็ต้องรู้จักมารยาทสังคมบ้าง เอาก็ใส่อังสะ หน่อยหนึ่ง อะไรอย่างนี้ ใช่ไหม เพราะฉะนั้น เรารู้แล้วว่าอะไรมาติดมายึด อะไรมันมาพอกมาหุ้ม อะไรมันมามากมามาย มันก็จะรู้สึกว่า มันแบกไว้ทั้งนั้นแหละ

แม้แต่ขันธ์ ๕ ของเรา เราก็แบกขันธ์ ๕ โอ้ย ขันธ์ ๕ มันหนัก ขันธ์ ๕ มันใหญ่ มันอะไรก็จะรู้เลยทีนี้ โอย มันจะเกี่ยวกันทั้งสรีระร่างกาย เพราะปฏิบัติธรรม เกี่ยวกันทั้ง สรีระร่างกาย เพราะปฏิบัติธรรม เพราะฉะนั้น เบากาย เบาใจ ก็จะได้สัดส่วน จะได้อะไรต่ออะไรขึ้นมาเป็นอะไรต่ออะไร ต่างๆ นานา ชีวิตที่อาตมายิ่งเห็นว่า การปฏิบัติธรรม มันเป็นชีวิตที่ โอ มันได้ทั้งขัดเกลากิเลส มันได้ ทั้งปรับระบบ เศรษฐกิจ รัฐกิจ สังคมศาสตร์ สังคมกิจ ต่างๆ ของเราเป็นไปนี่โอ มันอื้อฮือ วิเศษ มันเป็นเรื่องของ มนุษย์จริงๆ นะ เป็นเรื่องของมนุษย์จริงๆ เลย อาตมายิ่งเห็นว่ามันยิ่งใหญ่ ใครจะว่า อาตมาหลง ศาสนาพุทธ มันเป็นศาสตร์ ที่ยิ่งใหญ่จริงๆ พระพุทธเจ้านี่ท่านอะไรจะเก่งขนาดนี้ ก็ไม่รู้ โอ้โฮ! จะหาคน ที่เก่ง เท่าพระพุทธเจ้านี่ มันคงไม่มีอีกแล้ว รวมเอาไว้ในนี้หมดเลย พอปฏิบัติแล้วมันได้ สอดคล้องกับ ที่ต้องการของสังคม ต้องการเศรษฐกิจที่ดี ดี ต้องการรัฐกิจที่ดี เป็นรัฐที่มีความเป็นอยู่ที่ โอ้โฮ ทุกคน อยู่กันอย่าง อิสรเสรีภาพ ภราดรภาพ สันติภาพ สมรรถภาพ บูรณภาพ โอ้โฮ! สังคมนี้ มีรัฐศาสตร์ เยี่ยมยอดมาก ถึงไหนแล้ว อิสรเสรีภาพจริงๆ เลยนะ ภราดรภาพ เป็นพี่เป็นน้องกัน ต่างคนดูแล ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ผู้ใหญ่ผู้น้อยดูแลกัน อุ้มชูกัน เกื้อกูลกันไป มี สันติภาพ สงบ เรียบร้อย ราบรื่น ง่ายงาม มีสมรรถนะ ทุกคนก็ขยันหมั่นเพียร สร้างสรร ทำอะไรต่ออะไรอยู่ แล้วก็มีบูรณาการ

เดี๋ยวนี้เขาฮิตนะ บูรณาการ นี่อาตมาเอามาตั้งเป็นหลักบูรณภาพ มานานแล้ว integrate เหมือนกัน ภาษาเดียวกัน บูรณาการ เดี๋ยวนี้ฮิต แหม อะไรก็บูรณาการ สังคมบูรณาการ การศึกษาบูรณาการ เศรษฐกิจบูรณาการ โน่นนี่บูรณาการทั้งนั้น ใครไม่ใช้ศัพท์บูรณาการ รู้สึกว่าจะเชย มันต้องใส่ ศัพท์ บูรณาการ แต่ก่อนนี้ develop พัฒนา เดี๋ยวนี้ไม่เอาแล้ว พัฒนาการ พัฒนา วิวัฒนาไม่เอาแล้ว develop ไม่เอาแล้ว เดี๋ยวนี้ เอา integrate เอาก็ว่าไป

จะเห็นสังคมว่าเป็นสังคมที่มันเจริญจริงๆ เพราะฉะนั้น เรามองดูว่า พวกเรานี่ ดูพวกมอซอ ดูซิหน้าตา มันไม่ผัด ไม่อะไรเลย ผมเผ้ามันก็ไม่หวี เสยๆ วับๆ เสร็จ ใครทุกวันนี้นี่ไม่ได้หวีผมเลย มีไหม อ้อ ยังหวีอยู่หรือ โยมยิ่งบุญก็ยังหวีอยู่หรือ ไม่ยกมือ อ้าว ทำไมไม่ยกมือเล่า เราไม่ได้หวี เราก็ยกมือซี่ นึกว่า ยังหวีผมอยู่ทุกวันนี้ ยังหวีอยู่หรือ เอาละเหล่านั้น หวีอยู่บ้างหรือ หวีมันทำไมล่ะ มันก็เป็นระเบียบ ของมันอยู่ธรรมดาอยู่เหมือนกัน ถ้าเราไม่ให้มันเป็นสังคะตัง มีอะไรเข้าไปทำเป็น โอ้โฮ มีทั้งรังแค มีทั้ง สังคะตังอะไร มันก็ไม่เห็นจะมีอะไรนี่ ก็เราก็อาบน้ำ ก็สระ แล้วมันก็สบายๆ เสยๆ เข้า ตรงนั้นตรงนี้ อะไร ก็ลูบแล้วมันก็เข้า แล้วไม่ต้องหวี แต่จะหวีก็เอาละ มันก็ไม่ได้ไปหวีเพื่อสะเพื่อสวย อะไรเกินการ สางให้มัน เข้าเรียบเข้าร้อยบ้าง แต่มันก็จะมี แฝงๆ นะ ระวังเถอะ อย่างนี้หน่อยดีอะไร มันมีแฝง ระวัง พิจารณาให้ดีๆ ว่ามันยังรัก อย่างนี้สวยกว่าอย่างนี้ๆ นะ ระวัง แต่ถ้าไม่แล้วมันก็จะรู้สึกว่า ผมก็คือผม มันก็ไม่ได้ติดใจ มันก็ไม่ได้หลงสะ หลงสวยอะไรต่ออะไร นี่ก็เป็นเครื่องตรวจสอบเราได้ว่า เราติด ในกาม แม้แต่แค่ ผมเผ้า แม้แต่แค่อะไรต่ออะไรต่างๆ นานา เราก็จะต้องรู้ พิจารณา ๑.พิจารณา สวยงาม ๒.พิจารณา สุขภาพ ย่อมต่างกัน พิจารณาให้ดีนะ อย่าแวะนะ สุขภาพหรือสวยงามกันแน่ รักสวยรักงาม รักโน่น รักนี่

อาตมาเองอาตมายังต้องระวังเลยว่า เอ เราดูหน้าตาของเรา อาตมานวดหน้าเพื่อสุขภาพ หรือ นวดหน้า เพื่อสวยงาม นี่เห็นไหม มันแฝง ระวังให้ดีเลยนะนี่ นิดๆ หน่อยๆ ละเอียดนะ แหมเรา เนื้อตัวผิวพรรณ ผิวอะไรก็แล้วแต่ นี่อาตมาบอกว่า เขาบอกว่าพยายามให้ กระมันหาย เอะกระ หายนี่เพื่อความสวยงาม หรือกระ หายเพื่อสุขภาพ เห็นไหมมันซ้อน เพราะฉะนั้น จะอะไรก็แล้วแต่ ผิวหนังเนื้อตัวหน้าตา ผมเผ้า ส่วนนั้นส่วนนี้ของสรีระ เพื่อสุขภาพหรือ อย่าปลอมนะ อย่าแฝงนะ อย่าศรีธนนชัยนะ ระวังศรีธนนชัย เห็นไหม เราได้ปฏิบัติธรรมทั้งนั้น แล้วของเราถ้าเผื่อว่า เราเอง เราทำได้ สุขภาพของพวกเราก็จะดี ไม่ใช่เราหลงสะสวย แต่ เราทำเพื่อสุขภาพ เราก็จะเจริญแข็งแรง เป็นชีวิตที่ดี สังคมก็ดีด้วย อาตมาก็ยิ่งเห็น ยิ่งพาทำงาน ทางด้านศาสนามาเป็นหลัก เพราะฉะนั้น นิสิตเรียนพุทธชีวศิลป์นี่ไปดีๆ พยายามดีๆ แล้วมันก็จะเป็นตัวอย่าง หรือ จะเป็นกลุ่ม เป็นการศึกษา กลุ่มการศึกษาที่เป็นการศึกษา ไปในธรรมชาติด้วย แล้วก็มีหลักวิชาใน การปฏิบัติของเรา ไปตามควร ไม่เคร่งเครียดเกินไป แต่ก็ไม่ได้ ปละปล่อย ๆ หลวมจนกระทั่ง ไม่ได้เรื่อง ก็มีสัดส่วน ที่ได้พอเป็นพอไป ซึ่งจะจัดระบบ จะจัดหลักสูตร หรือจัดระบบของมันไปในตัว มี กรรมวิธี อย่างโน้นอย่างนี้ เราคุยกัน อยู่แล้ว

เมื่อเรามีการศึกษา ต่อไปเป็นนิสิตมีการศึกษาแบบนี้ไปเรื่อยๆๆๆ ทั้งหมดเลย อีกหน่อยต่อไป ก็นิสิต หมดเลย ใครตกหล่น นิสิตจะรู้สึกว่าตัวเองนี่โอ้โฮ เป็นแกะนอกฝูง อะไรต่ออะไรนี่ เดี๋ยวมันจะรู้ตัว เพราะเรามาปฏิบัติธรรมนี่แหละ เป็นนิสิต แล้วเราก็จะจัดระบบ มันจะจัดของมันไป อาตมาว่า มันจะจัด ของมันไปเอง แต่ละปีๆ ไป โดยไม่ต้องบังคับ อาตมาก็ไม่ได้บังคับ เป็นแต่เพียงแนะ แล้วพวกเราก็เข้าใจ เทศน์บอกเห็นดีเห็นชอบ รู้สึกว่าอย่างนี้ๆ นะ แล้วก็ไปทำกัน เพราะฉะนั้น ก็จะเป็นหมวดเป็นหมู่ เป็นเรื่อง เป็นราว

ต่อไปมันก็จะมีระบบ มีวิธี เป็นระบบวิธี แล้วค่อยๆ ศึกษากันไป ทำกันไปเรื่อยๆ ส่วนใครอยากจะเรียน ข้างนอกบ้าง อยากจะเรียนข้างในบ้าง อะไรก็ไม่มีปัญหาอะไรนี่ คุณจะเรียน มสธ. คุณจะเรียนรามฯ คุณก็เรียน เป็นนิสิตก็ได้ อะไรก็ได้อยู่อะไรอย่างนี้ ไปด้วยกัน ทำเก็บวิชาไปเรื่อยๆ วิชานี้ไม่ต้องกลัว หรอกน่า ถ้าแน่ใจแล้วนี่นะ อู๊! เรียนไปอีก ๒๐ ปีก็ได้ ยังไม่ขอจบ เป็นนิสิตมาเท่าไรแล้ว ๑๘ ปีแล้ว เอ้า ! ทำไม ไม่จบสักทีล่ะ ยังไม่ขอจบ แต่จะขอจบ ก็จะขอจบได้ อย่างนี้เป็นต้น แต่เรายังไม่ขอจบหรอก เราจะขอไปอีก เอาไว้ใจเย็นๆ เอาไว้ค่อยรับ ปัญญาบัตรทีหลัง ก็ไม่เป็นไร แต่ใครขอจบได้แล้ว ก็อยากจะขอจบก็จบ ไม่มีปัญหาอะไร แต่ถึงจบแล้ว คุณเรียนต่อไหม ๆ คุณยังไม่เป็นอรหันต์ คุณก็ต้อง เรียนต่ออยู่ดีแหละ ถึงจบแล้ว คุณก็ต้องเรียน ต่ออยู่ดี เพราะฉะนั้นไ ม่ต้องห่วงหรอก การศึกษา

จึงสรุปได้ว่า ชีวิตคือการศึกษา เกิดมาเพื่อศึกษา ถ้าไม่ศึกษาก็คือ สวะของสังสารวัฏ ไม่ใช่ศาลาวัดนะ ของสังสารวัฏ ขยะของสังสารวัฏ จะลอยเท้งเต้งไปกับกรรมวิบากต่างๆ โลกโลกีย์ เตะเราไป เตะเรามา โลกีย์มันก็ เดี๋ยวนิยมอันนั้น เดี๋ยวนิยมอันนี้ เดี๋ยวก็เห่ออันนั้น เดี๋ยวก็เห่ออันนี้ มีแฟชั่นอยู่สารพัด แล้วเราก็ไปตามเขา ตะพึดตะพือ เป็นอยู่อย่างนั้นน่ะ คุณจะไปรวยไปจนก็คือ สวะของสังสารวัฏ เพราะฉะนั้น เราก็มามีทิศทางของเราแน่นอนแล้ว แล้วเราก็พากเพียรของเราไป

ก็คิดว่าวันนี้ได้ชี้บอก ในเรื่องที่สำคัญ โดยตัวพิจารณา ทำให้มาก มันตกหล่นแล้วนะนี่ไม่ได้พิจารณานี่ ต้องพยายาม ให้มีตัวพิจารณา พิจารณาธรรมในธรรม พิจารณาในอายตนะ พิจารณาในอุปาทาน ขันธ์ ๕ ในขันธ์ ๕ ของเรานี่มันติดยึดอยู่อย่างไร อุปาทานคืออะไร กิเลสตัณหาคืออะไร มันมีอยู่ นี่เรา มีโพชฌงค์ ๗ เรามีอริยสัจ ๔ ไหม อายตนะของเรา ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ของเราทั้ง ๖ เราก็ได้รู้แล้ว ว่า เราจะจัดสรร มันอย่างไร

ขอให้เราทุกคนไปพากเพียรแล้วก็ตรวจสอบผล ตรวจสอบการปฏิบัติของตนเองให้ เจริญๆ ขึ้นทุกกาลเวลา


จัดทำโดย โครงงานถอดเทปธรรมะ ฯ
ถอด/พิมพ์ โดย พ.ท.นารถ กองถวิล ๕ กันยายน ๒๕๔๖
พิสูจน์อักษรโดย สม.ปราณี ธาตุหินฟ้า ๗ กันยายน ๒๕๔๖
พิมพ์ออกโดย พ.ท.พึ่งธรรม กองถวิล ๑๗ กันยายน ๒๕๔๖
เข้าปกโดย สมณะแดนเดิม พรหมจริโย
เขียนปกโดย พุทธศิลป์
TCT 0454.DOC