เรียนรู้มายา จากสุข และทุกข์
โดยพ่อท่าน สมณะโพธิรักษ์
ทำวัตรเช้า วันที่ ๕ มิถุนายน ๒๕๔๖
ณ. พุทธสถาน ราชธานีอโศก

เจริญธรรม ทุกๆ คน

วันนี้เป็นวันเกิดของราชธานีอโศก ราชธานีอโศกนี่ เกิดมาได้ ๙ ปี ตั้งแต่ตั้งครรภ์ ถือว่าตั้งครรภ์นะ พ.ศ. ๒๕๓๗ นี่ ถือว่าตั้งครรภ์ ตั้งครรภ์มา พ.ศ. ๒๕๓๙ คลอด ได้เป็นหมู่บ้าน เป็นหมู่บ้าน พ.ศ. ๒๕๓๙ ตั้งครรภ์ ๒ ปีนี่เนาะ เป็นหมู่บ้าน พ.ศ. ๒๕๓๙ มาถึงวันนี้ นับมาก็ได้ กี่ปี ๒๕๓๙ มาถึงวันนี้ ๒๕๔๖ เจ็ดปี ถ้านับตั้งแต่ตั้งครรภ์ ก็ ๙ ปี มาถึงปีนี้ ก็ ๗ ปี อายุขนาดนี้ ๗ ปี ถ้าเป็นเด็กก็ถือว่า เป็นเด็กเริ่มรู้เดียงสา เริ่มจะพูดกันรู้เรื่อง เริ่มจะมีการกำหนดรู้ เริ่มจะอะไรต่ออะไรชัดเจน อะไรอย่างนี้เป็นต้น รู้ภายนอก ภายใน รู้ใหญ่ รู้เล็ก รู้สูง รู้ต่ำ รู้อะไรมี ถือว่า ๗ ปีนี่ เป็นผู้ที่มี สติสัมปชัญญะ ปัญญา บรรลุอรหันต์ได้ ในสมัยพระพุทธเจ้า ก็มีผู้บรรลุอรหันต์ มีคนอายุ ๗ ปี บรรลุอรหันต์ได้ อย่างน้อยก็บรรลุโสดาบัน เลยก็ได้ อย่างนางวิสาขา อย่างนี้ บรรลุโสดาบัน ตั้งแต่อายุ ๗ ขวบ อะไรอย่างนี้ คือเป็นการกำหนด รู้ดี รู้ชั่ว รู้สัจธรรมในแนวลึกก็ได้ แนวตื้นก็ได้ แนวนอน

คนก็ดี สถานที่ก็ตาม หรืออะไรก็ตามที่เราประกอบกันขึ้น มันก็เป็นสังขาร เป็นการรวม เป็นการ ปรุงแต่งกัน เป็นการประกอบกันขึ้นมา เป็นสภาพ ตั้งแต่เป็นสภาพที่ยังไม่ใช่ชีวะ เป็นอุตุ มันก็เป็น สภาพ ที่รวมตัวกัน มีพลังงาน ร่วมด้วย อย่างบ้านราชฯ นี่ จะมีพลังงานร่วมอยู่ในนี้ จะเป็นพลังงาน ที่ร่วมอยู่ มีฤทธิ์ มีแรง มีความร้อน ความเย็น มีรังสี มีอำนาจผลักดันอะไร ยังไงก็แล้วแต่ มันก็มีอยู่ ในตัวของมันเอง ตั้งแต่ nebular ตั้งแต่อะไรก็แล้วแต่ สาร สสาร ในมหาอวกาศ มารวมตัว เป็นกลุ่มกันขึ้น เป็นกลุ่ม nabular จนกระทั่งมันใหญ่มาก ใหญ่จนกระทั่ง มันสะสม ทั้งพลังงาน ทั้งอะไรต่ออะไรเข้าไปในตัวแล้ว รักษาสภาพเดิมไม่ได้ มันก็เกิด big bang เกิดระเบิด เกิดแตกตัว กระจายออกเป็น galaxy กระจายเป็นกลุ่มดาว กลุ่ม galaxy ที่รวมดวงดาวเอาไว้ อยู่ในอะไรต่ออะไร ทั้งมีพลังงาน ก่อเกิดขึ้น เกิดความแตกขึ้น ก็เกิดจากพลังงาน เสริมสร้างขึ้น เกิดความเคลื่อนไหว เกิดการขัดสี เกิดการกระทบ เกิดการกระแทก เกิดความร้อน ทั้งพลังอะไรต่ออะไรต่างๆ นานา อุตุขึ้นเป็นก้อนเป็นกลุ่ม เป็นสสารขึ้นไป แล้วก็ปรับตัวเองไป จนกระทั่ง กลายเป็นพลังงานที่เย็น มีดิน น้ำ ลม ไฟ อะไรเกิดขึ้น ประกอบกันเข้า พลังงาน ทั้งที่หมุน ทั้งที่ชอนไช ทั้งพลังงานทางฟิสิกส์ ความร้อน แสง เสียง แม่เหล็ก ไฟฟ้า อะไรต่างๆ นานา เข้าไปประจุ จนเป็นฤทธิ์ เป็นแรงอะไรขึ้นมา เป็นดวงดาวหมุนไปหมุนมา หมุนทั้งรอบตัวเอง หมุนทั้งรอบส่วนนั้นส่วนนี้ ที่มันจะเป็นเส้นโคจร มันก็เป็นไปของมัน

ธรรมชาตินี้ไม่มีใครรู้ แต่เขาก็บอกว่าพระเจ้าสร้าง พระเจ้าก็คือธรรมชาตินั่นแหละ มันเป็นมา ตั้งแต่เมื่อไร ไม่มีใครรู้เบื้องต้น แล้วมันจะไปจบเมื่อไร ไม่มีใครรู้เบื้องปลาย มันก็เกิดมาอย่างนั้น ผู้ที่สามารถรู้ ก็คือผู้มีธาตุรู้ คือมนุษย์ ธาตุรู้นี่ ก็เป็นพลังงาน พลังงานตั้งแต่เป็นพีชะ พีชะก็เป็นธาตุ พลังงานที่มันรวมตัวกันเข้า แล้วก็ทำการ สังเคราะห์กันเข้าไป จนกระทั่งกลายเป็นพลังงานระดับหนึ่ง เรียกว่า พีชะ พลังงานพีชะนี่ มันไม่มีตัวเวทนา มันมีคุณสมบัติ มีสัญญา มีสังขาร แต่มันไม่มีเวทนา มีลักษณะของการกำหนดรู้ มันรู้พลังงานระดับชีวะ ระดับพีชะนี่รู้ รู้ว่านี่ธาตุน้ำ นี่ธาตุดิน นี่ธาตุลม นี่ธาตุไฟ นี่เรียกใหญ่ๆ ย่อยๆ ลงไปว่า ธาตุนี้เป็นอย่างนั้น ธาตุนี้ เป็นธาตุอะไรต่างๆ นานา ธาตุออกซิเจน ธาตุคาร์บอนไดออกไซด์ มันรู้ นี่เป็นแสง นี่เป็นน้ำ นี่เป็นเย็น นี่เป็นร้อน มันรู้ มันกำหนดรู้ อันนี้เอา อันนี้ไม่เอา อันนี้เป็นพิษ อันนี้ไม่เป็นพิษ อันนี้ใช้ได้ ใช้ได้ดี ใช้ได้ไม่ดี อะไร มันรู้ มันกำหนดได้ แล้วมันก็คัดเลือกเอาออก ขจัดออก ดูดซับไว้ แล้วก็เอามาใช้งาน

ก็เป็นพลังงานธรรมชาติ ซึ่งเราไม่รู้ เราคิดไม่ออก นักวิทยาศาสตร์ทุกวันนี้ ก็ยังคิดไม่ออกว่าธรรมชาติ ทำงานอย่างนั้น ของมันได้ยังไง มันเป็นอัตโนมัติ มันก็เป็นของมันไป แม้แต่พลังงานสามัญ พลังงาน ทางอุตุ ความร้อน แสง เสียง แม่เหล็ก ไฟฟ้าในทางฟิสิกส์ เขาเรียกทางฟิสิกส์ทั้งหลายนี่ ก็เป็นของมัน เป็นธรรมชาติของมัน อยู่ในโลกนี้ มันเปลี่ยนแปลงไปบ้าง ร้อนมาก ก็เปลี่ยนมาเย็น อะไรบ้างก็แล้วแต่ แสงมีก็มืดไปบ้าง อะไรก็แล้วแต่ ก็เป็นไปตามธรรมชาติของมัน ที่เป็นเหตุปัจจัยของมัน คนมีความรู้ ได้พอสมควร สามารถจะเปลี่ยนแปลงมันได้บ้าง แต่ก็ไปจัดการกับมันทั้งหมดทั้งสิ้นไม่ได้ พีชะ ก็ได้ของมันประมาณหนึ่ง มันก็ทำของมันไป

พลังงานในระดับของจิต มี อุตุ พีชะ จิต พลังงานระดับจิตนี่มีเวทนา นอกจากจะมีสัญญา มีสังขาร มีการปรุง เป็นนั้น เป็นนี้แล้ว มันก็สามารถรู้สึกอีกต่างหาก เวทนา รู้สึกเจ็บ รู้สึกปวด รู้สึกร้อน รู้สึกหนาว รู้อะไรได้เยอะแยะ มากมายขึ้นมา ตามลำดับของพลังงานที่มีความเจริญ พลังงาน ระดับหนึ่ง ตั้งแต่สัตว์เล็กๆ เป็นจิตวิญญาณ ในระดับย่อย ระดับเล็ก จะมีสมรรถนะขนาดหนึ่ง พัฒนาขึ้นมาเป็นพลังงานทางวิญญาณ หรือทางจิต ที่เจริญขึ้นมาเรื่อยๆ ก็มีสมรรถนะสูงขึ้นๆๆ แล้วก็มีอุปกรณ์ที่ให้พลังงานวิญญาณ หรือพลังงานจิตนี่ใช้ทำงาน เป็นอุปกรณ์ เป็นเครื่องมือ เครื่องมือนั้นก็จะเหมาะสม จะพัฒนามาตั้งแต่สัตว์เซลล์เดียว หลายเซลล์ จนกระทั่ง ซับซ้อน พัฒนามาจนเป็นสัตว์หลายๆ ชนิด เราก็บอกไม่ได้ว่า ตัวไหนฉลาดอย่างไร แค่ไหน บางทีก็บอก สัตว์ชนิดนี้ฉลาดเชิงนี้ อันนี้มันก็ฉลาดเชิงนี้ อันนี้ก็ฉลาดเชิงนี้ อะไรก็แล้วแต่ ก็พร้อมทั้งอุปกรณ์ ที่ให้ใช้กับจิตวิญญาณ ที่จะใช้ ก็ไปใช้อุปกรณ์นั้นๆ เพราะฉะนั้น สัตว์แต่ละประเภท เดรัจฉานต่างๆ มันก็ใช้ได้เท่าที่อุปกรณ์มี กับพลังงานที่รู้สึก แล้วจะใช้ได้ ให้ฉลาดเฉลียวได้เท่านั้น จนกระทั่งมาถึงคน

คนก็มีระดับต่ำ มีอุปกรณ์ เขาก็วัดทางวิทยาศาสตร์เหมือนกัน มันสมองเล็ก มันสมองโต มันสมอง ละเอียด มันสมองอย่างโน้นอย่างนี้ อะไรก็แล้วแต่ คืออุปกรณ์ในการให้จิตวิญญาณใช้งาน มันสมอง นี่เป็นอุปกรณ์ ในการใช้งาน เข้าใจกันมาแต่โบราณว่า ใจ จิตใจ นึกว่าหัวใจเป็นตัวที่ควบคุมชีวะ ชีวะทั้งร่างกาย ความจริงมันไม่ใช่ จิตวิญญาณไม่ใช่ใจ จิตวิญญาณมันใช้สมอง อุปกรณ์ที่ จิตวิญญาณใช้ คือสมอง ไม่ใช่หัวใจ เพียงแต่เรียกหัวใจ ไปเรียกใจ ไปเรียกความรู้สึก ว่าเป็นใจ เรียกกัน สัญญา สังขาร วิญญาณ อะไรไปอยู่ที่ใจ นี่เป็นความเพี้ยน เหมือนกับทางวิทยาศาสตร์ ที่เขาเรียก กรรมพันธุ์ เขามาเรียกกรรมพันธุ์ เพี้ยนไปจากความเป็นจริง จิตใจก็เหมือนกัน ใจนึกว่าเป็น อุปกรณ์เครื่องใช้ของจิตวิญญาณ มันไม่ใช่ เพี้ยน ฉันเดียวกัน กรรมพันธุ์เพี้ยนไป

ความจริงแล้วที่หมายถึง กรรมพันธุ์ที่มันสืบทอดมาจากยีน เขาเรียกเป็นภาษาไทยอะไร ยีน ไม่มีภาษาไทย หรือ ไม่ได้ตั้งกันมาเลยนะ ภาษาไทย ยีน กับ โครโมโซม นี่ทับศัพท์ เขามียีนเป็นแบ่งมา ก็เป็นโครโมโซม อะไรอย่างนี้ ตัว X ตัว Y อะไรก็แล้วแต่ สายพันธุ์ ยีน คือ สายพันธุ์ นั่นละ เขาก็บอก สืบสายพันธุ์มาจาก ปู่ ย่า ตา ทวด อะไรต่ออะไรมา ตามกฎอะไรล่ะ หือ ตามกฎเมลเดลหรือ กฎเมลเดล ก็ว่าสืบสายพันธุ์มาอย่างนี้ อันนั้นมันเป็น สรีระพันธุ์ มันไม่ใช่กรรมพันธุ์ มันไม่ได้เกิด ด้วยกรรม เป็นพันธุ์ที่เกิดด้วยกรรม มันไม่ใช่ นี่ก็เรียกเพี้ยน เรียกเพี้ยนไป ตั้งศัพท์ไปใส่ลักษณ์นั้น ยีนนั้น หรือว่าเชื้อที่จะต่อสายพันธุ์ มาเรียกว่าเป็นกรรมพันธุ์ ผู้นี้มีกรรมพันธุ์ มีเชื้อสืบทอดมา กรรมพันธุ์ สืบทอดมาจากกรรม ไม่ใช่กรรม สรีระ หรือ ยีน หรือสายพันธุ์ จะมีศัพท์อะไร คำว่าสายพันธุ์ มันมีสายมา จะเรียกสายพันธุ์ก็ยัง ตรงกว่ากรรมพันธุ์ มันเป็นสายอะไร ไม่รู้ละ สายวัตถุ หรือสาย รูปธรรม หรือสายนามธรรม ก็ตามใจ แต่เรียกหมายถึงสายรูปธรรม สายทางยีน ทางเชื้อที่เป็น สภาพวัตถุ หรือสภาพรูปธรรม ไม่ใช่นามธรรม นามธรรมของพ่อแม่ จิตวิญญาณ จิตใจของพ่อแม่ ไม่ใช่ตัวเชื่อม ต่อมาเป็นจิตวิญญาณของลูกของหลานไม่ใช่

พระพุทธเจ้าก็ตรัสชัดลงไปอีก ความรู้ของพระพุทธเจ้านี่ ตรัสชัดลงไปอีกว่า จิตวิญญาณเป็นอัตภาพ เป็นของตัว ของตน ไม่ใช่ของใคร ไม่ใช่แบ่งกัน และไม่สืบทอดกันด้วย รับมรดกของตนๆ กัมมัสสโกมหิ กัมมทายาโท กรรมเป็นของของตน กัมมัสสโกมหิ หรือ กัมมัสสกตะ ของตนๆ ท่านก็สำทับลงไปอีกว่า กัมมทายาโท นอกจาก เป็นของตนแล้ว ตนเท่านั้น รับมรดกของกรรมของตัวเอง ไม่ใช่ว่าเราทำแล้ว ก็ให้ลูกรับมรดกกรรม ให้หลานรับ มรดกกรรม สืบทอดกันเป็นกรรม เป็นภาษากรรม กัมมพันธุ์ สืบทอด กันไป ไม่ใช่ กรรมเป็นของเรา กัมมัสสกตา กัมมัสสกะแล้ว กัมมทายาโท กัมมทายาท กรรม เราต้อง รับมรดกกรรม หรือเป็นทายาทกรรม กัมทายาท ทายาทกรรมของเราเอง ไม่ใช่คนอื่น คนใด ก็กรรมของใคร ของตนเอง ของใครก็ของมัน กัมมโยนิ แล้วกรรมนี่แหละ พาเป็นพาไปอยู่ในวัฏสงสาร คำตรัสอันนี้ของพระพุทธเจ้านี่ เป็นคำไขสัจจะ ซึ่งเราจะตามพิสูจน์ ใครพิสูจน์ใครได้ พยายามศึกษา ค้นคว้า สืบ พิสูจน์ ปฏิบัติพิสูจน์ ก็จะเห็นความจริงพวกนี้ ถึงเป็นสัจธรรม อ๋อ กรรมอันนี้สำคัญ

พระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นมา ให้พึ่งกรรม กัมมโยนิ กัมมพันธุ กัมมปฏิสรโณ กรรมพาเกิด พาเวียนวน อยู่ในวัฏสงสารนี้ แล้วกรรมนี่แหละ เป็นเค้า เป็นพันธุ์ เพราะฉะนั้น เราจะสะสมให้กรรมนี่แหละ พาสะสมทางจิตวิญญาณ จิตวิญญาณนี่ เมื่อเกิดมาเป็นอัตภาพแล้วนี่ ไม่สลายง่าย จะทำงาน ไปนานเท่านาน เปลี่ยนแปลงได้ ไม่เที่ยง เป็นไปตาม เหตุปัจจัย แต่ถ้าควบคุมได้ สามารถควบคุม เปลี่ยนแปลงมันได้ มันก็จะเปลี่ยนแปลงเป็นพันธุ์ใหม่ มาเรื่อยๆ จากพันธุ์สัตว์นรก เอาไหมล่ะ สัตว์นรกพันธุ์ดี เอาไหม ไม่เอาหรือ สัตว์นรกพันธุ์ดีนะ พันธุ์เก่ง สัตว์นรก พันธุ์เก่ง ชั้นเยี่ยมเลย โอ้โห คนนี้ ฝีมือทำลายชั้นหนึ่ง ฝีมือทำชั่วได้สุดยอด อะไรอย่างนี้ สัตว์นรก เรียกเป็นภาษานี่ เราเรียกว่าพันธุ์ เผ่าพันธุ์ เป็นตระกูล เป็นเชื้อ นานเชียวแหละ พันธุ์นี่ ก็จะเป็นแบบฉบับ เป็นต้นตำรับ เป็นพันธุ์ ภาษาอีสานเรียกว่า แน่ว แน่วมันภาษาอีสาน เรียกว่า แน่ว พันธุ์นี่แน่ว

สะสมมาจนได้ที่ ตกผลึก แล้วก็ยืนยันตัวนี้ไปอีกนาน แก้ไขยาก เป็นพันธุ์แล้วแก้ไขยาก เปลี่ยนแปลง ยาก แต่เปลี่ยนแปลงได้ด้วยกรรม ทางวัตถุ ทางสรีรพันธุ์ ของสรีระนี่ เขาก็เปลี่ยนแปลงได้ เขาจะเปลี่ยนแปลงพืชพันธุ์ ธัญญาหาร สัตว์ต่างๆ สัตว์ คน สัตว์อะไรมันเปลี่ยนแปลงพันธุ์นี่ นี่พันธุ์ตระกูลมองโกล แปลงไปเป็นอะไร มองโกลเลี่ยน เปลี่ยนแปลงไปเป็นคอร์เคเซี่ยน ก็ผสมกันไป ผสมกันมา เดี๋ยวก็ไม่เหลือหรอก มองโกลมันก็ไปเป็น คอร์เคเซี่ยนไปหมดเลย หรือจะให้มันเป็น นิโกรเลี่ยนก็ได้ อะไรอย่างนี้เป็นต้น เปลี่ยนแปลงพันธุ์ไปได้ ทางสรีระนี่ เขาทำได้ เขารู้วิธีแล้ว พืชต่างๆ เขาก็เปลี่ยนไปได้เร็ว เปลี่ยนพันธุ์นั้น พันธุ์นี้ ขยาย ปรับปรุงพันธุ์ ให้มันเป็นอย่างโน้น อย่างนี้ ได้ ทางรูปธรรม

พระพุทธเจ้าก็เปลี่ยนแปลงพันธุ์ทางนามธรรมได้ ในรูปร่างกายคนนี่แหละ คนอย่างเดิม เกิดมา อย่างเดิม รูปร่าง นั่นตัวใหญ่หน่อย นี่ตัวเล็กหน่อย อะไรนี่ ก็ตาม แต่ไปนับคุณภาพ คุณสมบัติ ทางจิตวิญญาณ คุณลักษณะ ทางจิตวิญญาณ ตัวใหญ่อย่างนั้นก็ได้ ตัวเล็กอย่างนี้ก็ได้ พันธุ์นิโกรเลี่ยนก็ได้ พันธุ์คอร์เคเซี่ยนก็ได้ พันธุ์มองโกลเลี่ยนก็ได้ ได้ อยู่ในรูปธรรมไหน จิตวิญญาณ ก็สามารถเปลี่ยนแปลงได้ เปลี่ยนพันธุ์ได้ทางกรรม เพราะฉะนั้น คำว่ากรรมนี่ จึงเป็นตัวสำคัญมาก ในความเป็นสัตว์โลก หรือเป็นมนุษย์

มนุษย์เกิดมาเป็นสัตว์ที่มีพลังงานธาตุรู้ แล้วมันสามารถรู้อะไรได้หมด ทุกวันนี้นี่ คนก็พัฒนาความรู้ แต่ก็ไปพัฒนา ความรู้ทางด้านนอก เขาไม่มาเปลี่ยนแปลงพันธุ์ ยิ่งทุกวันนี้ ยิ่งไม่เข้าใจ ยิ่งหลงระเริง ไปหลงใหลวัตถุรูป ไปหลงใหลข้างนอก ศึกษาค้นคว้าเสียเวลา โอ้โห ไปใหญ่เลย จะไปเที่ยวได้อะไร ต่ออะไร จะเหนือธรรมชาติ แบบธรรมชาติทางวัตถุ เหนือไปหมด ไปเหนือธรรมชาติ ทางวัตถุ จะพยายามให้สรีระนี่ ไม่รู้จักตาย อะไรก็แล้วแต่ พยายามค้นคว้า หาทางทุกอย่าง แต่ไม่มาค้นคว้า ทางจิตวิญญาณ ก็เลยมี ๒ ด้านใหญ่ๆ ทางด้านรูปธรรม ทางด้านวัตถุนอก กับทางด้านนามธรรม เพราะฉะนั้น ใครเห็นความสำคัญอันใด คนนั้นก็จะมุ่งมั่น ไปทำความสำคัญ อันนั้น

พระพุทธเจ้าเห็นความสำคัญทางจิตวิญญาณ และได้ตรัสออกมาเป็นหลักว่า มโนปุพพังคมา ธัมมา มโน เสฏฐา มโน มยา จิตวิญญาณ มโนนี่เป็นประธานรูปธรรมด้วย เป็นประธานสิ่งทั้งปวงเลย เป็นประธานทุกสิ่งทุกอย่าง เป็นใหญ่ มโนนี่เป็นใหญ่ เพราะฉะนั้น ใครที่สามารถควบคุมมโน กำหนดมโนของตนได้ ให้หยุด ให้ไป ให้มา ให้เป็นเช่นโน้น ให้เป็นเช่นนี้ แม้ที่สุด ให้ตาย ให้เกิด สุดท้ายจริงๆ สามารถที่จะตาย ไม่เกิด ก็ได้ จึงสามารถถึงนิพพาน เพราะฉะนั้น กำหนดให้ จิตวิญญาณนี่ ดับสนิทเลย ไม่เกิดอีกเลย เรียนรู้พลังงานทางจิตวิญญาณ จนกระทั่ง ไม่มีอะไร เวียนวนอีก ดับสนิท หมดสภาพ ทำให้สูญ ให้ฝ่อ เรียกว่า ยิ่งกว่า GMO (genetically modified organism ) คือทำให้มัน เกินกว่า ที่จะเป็นพวก ไม่ต่อพันธุ์ได้แล้ว จนทำให้มันพันธุ์นี้เป็นหมัน พันธุ์นี้ไม่เชื่อมต่อ

พระพุทธเจ้าท่านกระทำให้ตัวเองนี่ เป็นหมัน จิตวิญญาณตัวเองเป็นหมัน ไม่เกิดอีก ไม่สืบทอดอีก เป็นหมันถึงขนาด เปลี่ยนสภาพตัวเองไปเลย หมดอัตภาพตัวเอง แบ่งพลังงานนี้ออกไปเป็นอะไรอื่นๆ ไปหมดเลย ซึ่งเป็นธรรมชาติ ของอะไรก็ตามแต่ ดิน น้ำ ลม ไฟ พลังงานเป็นความร้อน แสง เสียง แม่เหล็ก ไฟฟ้า แตกตัวออกไป ไม่เกาะกุมกันมา จนกระทั่ง มีความวิจิตร มีความลึกซึ้ง มีความสามารถ จับตัวกันเป็นพลังงานจิตนี่ แตกตัวเหมือนกับพลังงาน เหมือน เหมือนกับไม่ใช่พลังงาน เหมือนกับธาตุ ธาตุ H๒O เป็นธาตุน้ำ แต่ก็สามารถที่จะแตกตัวของ H ออกจาก O ได้เด็ดขาด น้ำก็ไม่เหลือ ก็กลายเป็นอื่นไปหมดแล้ว เพราะฉะนั้น คุณเองคุณมีอัตภาพ มีจิตวิญญาณ ที่เป็นอัตตานั้นได้ จนกระทั่ง สุดท้าย ไม่เหลือแล้ว ไม่มีธาตุตัวนี้อีกแล้ว ธาตุใจกลั่นไม่อยู่แล้ว ไม่เหลือ หายไปแล้ว ไม่เอามา ไม่เป็นพันธุ์อีกแล้ว พันธุ์ธาตุใจกลั่นไม่เหลือ แยกย่อยไปเป็นธาตุ อากาศธาตุ ลักษณะนั้น ลักษณะนี้ จะเป็นดิน น้ำ ลม ไฟ จะเป็นเชิงฟิสิกส์ เป็นความร้อน แสง เสียง แม่เหล็ก ไฟฟ้า เป็นพลังงานอะไรอื่น ก็แตกตัวไปหมดเลย ไม่เหลือเป็นธาตุตัวเดิมของเรา

พระพุทธเจ้าสามารถที่จะเป็นนักวิทยาศาสตร์ทางจิตวิญญาณ ถึงขั้นนี้จึงเรียกว่า นิพพาน จบ สุด เป็นปรินิพพาน นิพพานนี่อยู่ความหมายขั้นหนึ่ง ซึ่งอาตมาก็เอามาบอกแล้วว่า ความหมายขั้น นิพพานนั้น คือความหมาย ในระดับที่ ไม่ทุกข์ หมดทุกข์ หมดสุข คนฟังคนโลกๆ นี่ เป็นคนโลกๆ มีสุข มีทุกข์ เป็นตัวที่ทำให้วนเวียน วัฏสงสาร เกิดแรงผลักดัน เพราะฉะนั้น ก็เลยไปชอบสุข ชังทุกข์ หนีทุกข์ ก็หาสุข เป็นเหรียญ ๒ ด้าน ที่แยกกันไม่ออก ก็วนเวียน อยู่อย่างนั้นแหละ สมใจก็สุข ไม่สมใจก็ทุกข์ จนกระทั่ง มาทำให้สุข ทุกข์ นี่หมดไป อทุกขมสุข ไม่มีแล้ว ไม่มีทั้งสุข ทั้งทุกข์ ที่โลกีย์ที่เคยเป็น กลายไปเป็นสภาพ กลางๆ เป็นสะเทิน เป็นสภาพ มีอีกภาพหนึ่งว่า นิวตรอน สะเทิน หรือ นิวตรอน ไม่ผลัก ไม่ดูด กลางๆ แต่ทีนี้ อันนั้นเป็นวัตถุ นิวตรอน หรือ สะเทินนี่ เป็นวัตถุ กลางๆ แบบวัตถุ แต่ของ พระพุทธเจ้านี้ สูงกว่านั้น มีความเป็นนิวตรอน หรือมีความเป็นสะเทินด้วย แล้วมีธาตุรู้ ก็ยังมีสภาพรู้อยู่ด้วย รู้รอบ รู้หมด รู้ไม่มีอำนาจที่เป็นอัตตาว่า ฉันต้องการอันนี้ ไม่ต้องการอันนี้ เอาตัวเองเป็นหลัก ไม่มี มีแต่รู้ว่า อันไหนเป็นอย่างไร ข้างนอกไม่ใช่ไม่รู้ รู้ แต่ไม่แล้ว สามารถที่จะ ล้างอัตตา หรือความเป็นตัวเรา เพื่อตัวเราหมดไป ทนได้ต่อสภาพของโลกีย์ จะหวานมาก ก็ทนได้ จะขมมาก ก็ทนได้ ทนได้ตัวนี้ ก็คือไม่สุข ไม่ทุกข์ แต่ไม่ใช่ทนได้โดยที่ เรียกว่า ไม่เปลี่ยนแปลงสภาพ เปลี่ยนแปลงเช่น ความรู้สึกมี ถูกไฟไหม้ ร้อน ก็ร้อน จะทน ก็ทนได้ขนาดหนึ่ง ทนไม่ได้ก็ ทนพิษ บาดแผลไม่ได้ ตาย ก็ตายได้เหมือนกัน

พระอรหันต์ ก็ทนพิษบาดแผลไม่ได้เหมือนกัน แล้วก็ตาย เจ็บไหม เจ็บ เพราะมีความรู้สึก ชังไหม ไม่ชัง รักไหม ไม่รัก เพราะฉะนั้น ถ้าเผื่อว่า พระอรหันต์จะตาย ก็ตาย ถ้าพระอรหันต์ที่มีพลัง ได้ฝึกตัวเอง อย่างแข็งแรงจริงแล้ว สามารถ ฝึกไปในทางทนร้อน ก็จะทนร้อนได้ สามารถฝึกไปในทางทนเย็น ก็จะทนเย็นได้ สามารถฝึกไปในทางทนเผ็ด ทนเปรี้ยว ทนหวาน อะไร ก็จะทน ถ้าไม่ฝึก มันก็ไม่ได้อีก เหมือนกัน เพราะมันใช้พลังงานเข้าไปเป็นตัว ตัวรับ มันตัว action-reaction ของมัน

เอาละ นี่ก็เป็นนัยละเอียด อะไร ต่ออะไรขึ้นไป อาตมาพูดไปก็จะเสียเวลา มันไกล สรุป ถึงจิตวิญญาณ ของมนุษย์ นี่แหละ เป็นจิตวิญญาณที่ศึกษา แล้วก็ฝึกฝน เลือกเฟ้น เอามาให้ตัวเองอาศัย เรียกว่า กัมมปฏิสรโณ ตัวเองก็ จะได้อาศัย หรือได้พึ่ง สรณะ เราอาศัยกรรม อาศัยจิตวิญญาณที่ฝึกฝน ฝึกฝนมา คนจะได้วิบากมา ได้รูปร่างอย่างไร ได้วัตถุอย่างไร ก็ไม่เป็นไร ไม่สำคัญเท่าจิตวิญญาณ หรือมโน จิตวิญญาณ มโน พวกนี้สำคัญ เรียนรู้ตัวนี้ แล้วฝึกตัวนี้ สร้างตัวนี้ สร้างให้เป็นจิตวิญญาณ ที่สะอาด แล้วก็หมดกิเลส สะอาดจากสิ่งที่มันเป็นกิเลส ตัณหา อุปาทาน แล้วมันจะยิ่งรู้ นอกจาก รู้แล้ว ยังมีตัวพิจารณาด้วย หรือวิจัย ฝึกมัน มันก็วิจัยเก่ง ฝึกมัน มันก็พิจารณาเก่ง ไม่ค่อยฝึก มันก็ไม่ค่อยเก่ง เอาแต่ล้างกิเลสๆ ไม่ค่อยฝึก กิเลสหมด ก็เป็นอรหันต์ได้ แต่ เป็นอรหันต์ไม่ค่อยเก่ง ไม่ค่อยรู้เรื่อง วิจัยไม่ค่อยเป็น พิจารณางานไม่ค่อยเป็น รู้อันโน้น อันนี้ไม่กว้าง โลกวิทู ไม่มาก พหูสูต ไม่มาก ก็เป็นประโยชน์กับคนอื่นไม่ค่อยได้มาก แต่ตัวรอด ตัวเองรอด ตัวเองสะอาด บริสุทธิ์ กิเลสตัวเอง หมดได้ แต่ความรู้ ปฏิภาณไม่เก่ง เพราะไม่ค่อยฝึก เพราะฉะนั้น เราฝึกไปด้วยกัน ฝึกทั้งปฏิภาณ ปัญญา ล้างกิเลสไปด้วย จิตวิญญาณ ก็จะไปด้วยกันได้ดีและเร็ว เร็วเพราะว่า ถ้ายิ่งพิจารณาได้ดี วิจัยได้ดีด้วย มันก็สามารถรู้อะไรได้ลึก ได้ละเอียด ได้แม่น ได้เร็ว สามารถพาตัวเอง บรรลุเร็วได้ด้วย ก็เป็นประโยชน์ ประโยชน์ทั้งตน ประโยชน์ทั้งผู้อื่น

เมื่อเรียนรู้ ล้างกิเลสได้แล้ว ความเป็นโลกๆ เช่นสุข ทุกข์ แบบโลกๆ หมดไปนี่ คนที่ไม่เคยเป็น โลกุตระเลย ก็จะรู้สึก โอ๊ย หมดรสอร่อย หมดสุข ถ้าอย่างนั้น มันจะเป็นอะไรละ สุข กับ ทุกข์ มันคู่กัน ดับเหตุแห่งทุกข์ มันเป็นตัวเหตุ เหมือนกันแหละ ถ้าว่ากันจริงๆ แล้ว ดับเหตุแห่งสุขก็ได้ จะเรียกว่า ดับเหตุแห่งสุขก็ได้ พระพุทธเจ้าเรียกอย่างเดียว เรียกทุกข์ ไม่ต้องเรียกสุข ดับเหตุแห่งทุกข์อย่างเดียว สุขก็หมดไปด้วย เพราะมันเหตุตัวเดียวกัน ความสุข ความทุกข์ มันเป็นความหลงเท่านั้น พวก sadism นี่ก็อีกอย่างหนึ่งเนาะ เอา masochism ดีกว่า (sadism เห็นคนอื่นทุกข์นี่ มันชอบ sadism นี่เป็นพวกอำมหิต เห็นคนอื่นทุกข์ ชอบ เห็นคนอื่นเจ็บปวด ชอบ masochism ตัวเองเจ็บ ชอบ ) ยกตัวอย่าง masochism ดีกว่า ตัวเองได้รับความเจ็บ ความปวด ทรมาน บางคนนี่ กรีดตัวเอง ให้เลือดออก ถึงจะอื้อหือ เป็นความสุข มันก็เป็นความสมมุติ สามัญทุกข์ไหม นี่พวกนี้ พวกวิปริตแล้ว พวกวิตถาร เกินความสามัญ ของมนุษย์ แล้วมันก็สมมุติของมันจริงๆ นะ เขาเป็นจริงๆ เขาได้ทุบตัวเอง เขาได้ทำของตัวเองช้ำ ตัวเองแตก ตัวเองเลือดไหล ของตัวเองเจ็บปวด อ้า! สุข พวก masochism ทรมานตัวเอง ก็เป็นสุข

คนที่เจ็บปวดแล้วเป็นสุขนี่ก็สมมุติ จริงๆ ของเขาเหมือนกัน จะเห็นได้ว่า ความจริงมันไม่มี ถ้าเรา ไปสมมุติ ร่วมกันกับสังคมโลก เขาถือว่า เออ เป็นปกติ ปกติโลกีย์ คุณก็สุข นี่ยกตัวอย่าง เจ็บๆ นี่เห็นชัด ทำร้ายตัวเอง เจ็บ แล้วก็ โอ๊ เป็นสุข สบาย คนเรามันไม่วิตถารถึงขนาดนี้ คนวิตถารถึงขนาดนี้ มันก็มี แต่หาได้น้อย เพราะฉะนั้น ส่วนรวมที่มันหาได้มากขึ้นหน่อย รสเผ็ดนี่มันเผ็ด เผ็ดนี่ทุกข์หรือสุข ทุกข์หรือสุข (ทุกข์) เอ๋ย ถามคนติดเผ็ด เขาบอก เขาสุข อันนี้ก็เข้าใจง่ายขึ้นมากกว่า masochism เพราะ masochism คุณไม่เคยเป็น ใครเคยเป็นก็บอกเออ ใช่ แต่คุณไม่เคยเป็น คุณก็นึกไม่ออก พอสุข บอกว่ากินเผ็ดนี่ เผ็ดนี่มันทุกข์นะ เคยเอามาทาผิวก็ร้อน ทาตรงไหนก็แสบ ใส่ลิ้นก็แสบ มากๆ คุณก็แสบ นอกจากเซลล์ประสาทบางคน มันกินพริกไปแข่งขัน บางคนมันกินพริก กินเป็นกำๆ กินเป็นกิโล มันกินเฉยเลย แต่ประสาทข้างในคงลำบากเหมือนกันแหละ เพราะว่าเป็นธาตุทำลาย กินก็ไม่เผ็ด แต่เอาเถอะ นั่นมันคนผิดประหลาดคน abnormal คนไม่ปกติ คนปกติ กินพริกก็เผ็ด เผ็ดนี่ทุกข์ เพราะฉะนั้น ใครที่ฝึกสมมุติกับมัน บอก เอ๋ย อร่อยๆ กินเผ็ดว่าเผ็ดนี่ พวกเรานี่ พวกเด็กๆ ลูกหลานชาวอีสานนี่ กินเผ็ดมา ตั้งแต่เด็กๆ เด็กที่ไปเรียนที่สันติ มันกินข้าว กินอะไร มันก็ตักถ้วย พริกป่นมาคนละถ้วยๆ พวกนี้ รู้แล้วมันเด็กพวกนี้ มาจากอีสาน ภาคกลางเขาไม่ทำกันอย่างนี้ ภาคกลางมันไม่มาตักพริกมาเป็นคนละถ้วยๆ หรอก เด็กอีสาน มันกิน มันก็เอาพริกโรยไป กินไปเรื่อย มันติด แล้วมันสมมุติได้ มันก็เผ็ด มันก็อร่อย มันสุข ทั้งๆ ที่รู้ว่าเผ็ด โว้ย ซีด ซาดๆๆ เออ สุข ก็ไม่รู้ละ ก็เผ็ด อย่างนี้เป็นต้น เพราะฉะนั้น มันสมมุติทั้งนั้นแหละ จริงๆ มันสมมุติ

อาตมาทุกวันนี้นี่ แต่ก่อนนี้ อาตมาก็กินเผ็ด อย่างเคยกินนี่มันก็จำได้ง่าย เดี๋ยวนี้ก็แทบลืมแล้วว่า เอ๊ มันสุขอย่างนั้น สุขยังไง นึกเกือบไม่ออกแล้ว เดี๋ยวนี้ กินเข้าไปทีไร โอ้โห ไม่ไหวเลย มันจะไอด้วย ถ้าเผ็ดเข้าไปที่คอ จะไอ เผ็ดนี่ แสลงทันทีเลย เดี๋ยวนี้กินเข้าไปแล้ว เออ พอผ่านคอ มันระคาย เซลล์ของเรานี่ ฝึกไปแล้วมันไม่รับแล้ว ขจัดออก ก็พยายามกินอยู่นะ พยายามฝึกให้มันได้บ้าง แต่แน่นอน เผ็ดมากนี่ ไม่ได้ทันทีเลย เผ็ดมากไม่ได้ ทันที ตัวพริก บางชนิด มันเผ็ดน้อย พริกบางชนิด มันเผ็ดมาก พริกขี้หนูสวนอะไรอย่างนี้เนาะ เผ็ดไม่ได้เลย เผ็ดมาก ปื๊ดหนึ่ง นิดเดียวก็ไม่ไหว แต่พริกที่เผ็ดน้อย เออพอได้ อย่างนี้เป็นต้น พอไหว กลืนกินพอได้ ก็ฝึกบ้าง ไม่อย่างนั้น ภูมิคุ้มกัน แย่มาก อะไรแตะ อะไรผ่านเข้าไปนิดหนึ่ง มันก็ไม่ไหว ซึ่งมันก็ยังไม่ได้เป็นพิษหรอก แต่ว่ามันสรีระ เซลล์ของเรา ฝึกมันไปอย่างนั้น มันก็จะไปเป็นอย่างนั้น มีบางคนกินเหล้าเข้าไปอย่างนี้ โอ้โห เห่อทั้งตัวเลย อะไรอย่างนี้ ก็เซลล์ของคุณ คุณฝึกมาตั้งแต่ชาติไหนของคุณไม่รู้ละ ก็เรื่องของคุณ กินเหล้าเข้าไปนี่ เห่อทั้งตัวเลย ปื้นหมดเลย คนเขาบางคน เขาเป็นอย่างนั้นจริงๆ

สรุปแล้ว คนเรานี่ จิตวิญญาณนี่ มันไปติดสมมุติทั้งนั้น สุขก็ดี ทุกข์ก็ดี อาตมายกตัวอย่างแค่นี้ ก็ขอยกยอดไปเลย หลากหลายอะไรต่างๆ et cetera (etc.) มันก็แค่นี้แหละ สุข ทุกข์แค่นี้ เพราะฉะนั้น ถ้าเราไปหลงวนเวียน สุขแล้วก็ทุกข์ ทุกข์แล้วก็สุข อยู่อย่างนี้ไม่รู้จบหรอกชีวิต เมื่อมา เรียนรู้ จริงๆ แล้ว โอ๊ มันก็ไม่ได้ขาดแคลนอะไร ถ้าเราจะกินพริก ไม่อร่อย ถ้าเราจะไม่มีการสัมผัสทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย แล้วก็สมมุติ เออ ถ้ารูปอย่างนี้สวย อย่างนี้เสียงเพราะ อย่างนี้ รสอย่างนี้ถูกปาก กลิ่นอย่างนี้ถูกใจ สัมผัสเย็น ร้อน อ่อน แข็ง อย่างนี้ ขนาดนี้ อย่างนี้ๆ ถูก เป็นสุข ถ้าเราเข้าใจ แล้วก็ล้าง มันมีกิเลสที่ยึดอยู่ ล้างกิเลสนั้นออก จนกระทั่ง เออ มันจะค่อยๆ บรรเทา จนกระทั่ง มันหมด มันก็เฉยๆ เข้าไปหาความรู้สึกเฉยๆ รับสัมผัสทางตาเป็นรูปที่เขาสมมุติ ก็เข้าใจเขา มันจะแยกว่า ๑. รู้กับโลก เพราะฉะนั้น จะรู้ว่าโลกเขาสมมุติว่าอย่างนี้สวย อย่างนี้ไพเราะ เป็นเสียง อย่างนี้ เขาว่า อร่อยทางลิ้น อย่างนี้ เขาเรียกว่าหอม อย่างนี้เขาเรียกว่าเหม็น อย่างนี้เขาเรียกว่าสัมผัส เสียดสี เย็น ร้อน อ่อน แข็ง ขนาดนี้ก็อย่างนี้แหละ เป็นอย่างนี้แหละ แล้วคนก็สมมุติ เอามาก เอาน้อย แล้วแต่ ก็คนบางคนก็จะต้องมาก ต้องจัดจ้าน ถึงจะสมใจ ไม่จัด ไม่สมใจ ไม่พอ น้อยไป อ่อนไป ก็แล้วแต่ใคร จะไปยึด ยึดตรงไหน ตรงนั้นก็เป็นจุด climax ของตัวเอง เพราะฉะนั้น คนที่มาปฏิบัติธรรมนี่ พอกิเลส ลดแล้วจุด climax จุดสุขที่สุดนี่ มันจะลดลงๆๆๆ

แต่ก่อนนี้รสจัดอย่างนี้ถึงจะอร่อย พอต่อมา เออ รสจัดนิดหน่อย คุณกินข้าวเปล่ามานานเดือนหนึ่ง พอคุณไปกินข้าว มีรสของ ซีอิ๊ว นิดหนึ่ง โอ้โห อร่อย แต่ก่อนนี้ พุทโธ่เอ๊ย เท่านี้ยังไม่เค็มหรอก ยังบ่นัว มันยังจาง เท่านี้มันยังจืดอยู่ ยังไม่อร่อย ยังไม่ได้ที่ แต่ถ้าคุณอดกินข้าว กินข้าวเปล่ามาสักเดือน ๒ เดือน โอ้โห มาได้รสซีอิ๊วนิดหนึ่ง อื้อหือ climax คุณตื้นมาก จุดสำเร็จความสุข ตื้นมาก ฉันเดียวกัน ในอะไรก็เหมือนกัน ตัวอย่างคล้ายๆ อันนี้ เพราะฉะนั้น ใครที่ลดจริงเลย ทีนี้ลดจุดที่มัน แหมต้องเผ็ด มากๆ ถึงจะอร่อย พอลดลงมาได้จริงๆ เผ็ดน้อยก็อร่อย หนักเข้า เข้าใจสมมุติแล้ว มันไม่ได้อร่อย อะไรหรอก เผ็ดก็คือเผ็ด หวานก็คือหวาน เปรี้ยวก็คือเปรี้ยว สีแสง แดงก็คือแดง เขียวก็คือเขียว สั้นก็คือสั้น ยาวคือยาว เสียงสูง เสียงต่ำ ก็ เสียงสูง เสียงต่ำ เสียงสั้น เสียงยาว รสอย่างนี้ กลิ่นอย่างนี้ สัมผัสเย็น ร้อน อ่อน แข็ง อย่างนี้ๆ ก็รู้ความจริงตามความเป็นจริง ไม่บวก ไม่ลบ ไม่ดูด ไม่ผลัก ไม่อร่อย หรืออร่อย อร่อยก็ไม่มี ไม่อร่อยก็ไม่มี ชอบก็ไม่มี ชังก็ไม่มี

นี่คือการศึกษาเรียนรู้ แล้วฝึกฝนต่อชีวิต ไปหลงสุข หลงทุกข์ของโลกีย์ทั้งหมด ใครฝึกได้จริงก็เป็นจริง พิสูจน์เถอะ อาตมาว่า นี่คือการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า เสร็จแล้วก็ไม่ได้ด้อยอะไร เออ! เราไม่อร่อย กินพริกไม่อร่อยแล้ว ตาย เป็นความด้อย กินเหล้าไม่เป็นสุข ไม่อร่อย เป็นคนด้อย เข้าสังคมไม่ได้ เออ คุณบ้าก็บ้ากันไปเถอะ คุณอร่อย ก็อร่อยไป เราเลิกแล้ว เสื้อผ้าสวยก็ดูไม่รู้จัก ใส่ไม่เป็น ให้ก็ไม่เอา ไม่ชอบ มีคนอื่นเขากระดี๊ กระด๊า โอ้โห เห็นแล้ว คว้า นี่ แหมให้มันก็เฉยๆ มันจะโง่ไปถึงไหน ไม่รู้จักเสื้อสวย ของสวย นี่เพชรนะนี่ คนแย่งกัน ทั้งบ้านทั้งเมือง สวยนะ สามารถรู้ตามเขาได้ เขาสมมุติว่าอย่างนี้สวย อ้อ ตอนนี้สมมุติ ได้ หรือไม่สมมุติตามก็ได้ ถ้าเราคิดว่า ไม่ไหวแล้ว พอแล้ว อย่างอาตมานี่ มันพอขนาดหนึ่ง แต่งผม แต่งเผ้า ขนาดหนึ่ง เขาก็แต่ง รูปร่างมีสีสัน มีขนาดนั้น ขนาดนี้ ให้มันหวือหวาไปนิดหน่อย เออ ก็พอดูได้ ทุกวันนี้ อาตมาดูมันแต่งผมกันแล้วนี่ มันดูไม่ไหว มันสวย มันได้รางวัลที่ ๑. อาตมาว่า เออ ไอ้หัวกรรมการตัดสิน การแข่งทรงผมนี่ มันให้ที่ ๑ กันนี่ อือ มันไปใหญ่แล้ว มันไปได้ที่ของมันแล้ว ถือว่าอย่างนี้สวยที่สุด แล้วมันก็สวยตามๆ กันนะ มันก็เชื่อตามๆ กัน ครอบงำกันไป เราก็เห็นว่า เออ มันก็ไปกันใหญ่เลยนะ อะไรก็ไม่รู้ เสื้อผ้า หน้าแพร ชองใช้ไม้สอย เรื่องรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ทุกอย่างแหละ มันก็ไปกัน ตามสมมุติไปเรื่อยๆ ยังเปลี่ยนแปลง แล้วก็วนมาหาที่เก่านั่นแหละ มันลืมแล้ว ก็เอาอันเก่ามาใหม่ไป ยังวนอยู่อย่างนั้นแหละ กี่ร้อยชาติ กี่ล้านชาติ เหมือนกัน

เรามาเข้าใจแล้วก็ล้างกิเลสที่มันไปติด ไปซึมซับ ไปมีรส มีอัสสาทะ จนกระทั่ง เราอ่านอัสสาทะ รสอร่อย รสสุข รสสมใจ เราล้างออกได้จริงหมดนี่นะ แล้วเราจะรู้สึกว่า เราไม่ได้ด้อย กินอร่อยไม่เป็น ไม่ได้ด้อย เราก็สบายแล้ว เราก็เป็นสุขดี สงบดี สบายดี ได้ของสวยมา แล้วไม่รู้จักสวย ไม่รู้จักชื่นใจ ที่มันได้สวย เราก็ไม่ได้ด้อย ได้ของหอม ได้ของอร่อย ได้ของมาสัมผัส เสียดสี เย็น ร้อน อ่อน แข็ง อะไรก็ตามใจ เราก็เข้าใจ อันนี้ก็ได้ พอทนได้ พอรับได้ เออ อันนี้ก็สบายดี เพราะว่า เราก็ชินอย่างนี้ ขนาดนี้แหละ ที่จริง ถ้าเราติดยึด มันก็ยังติดยึดนะ ถ้าไม่ได้ขนาดนี้ นี่ต้องซ้อนอีก นั่งที่นั่งที่นุ่ม ที่เนียน ขนาดนี้ ที่เย็น ที่ร้อน ที่อ่อน ที่แข็ง กลิ่นอย่างนี้ รสอย่างนี้ รูปอย่างนี้ รสอย่างนี้ อะไรก็แล้วแต่ ถ้าเราสามารถ วาง ปล่อย ทำให้จาง จนหมดรสสุข รสทุกข์ได้ นั่นแหละ เป็นการบรรลุ เป็นการตรัสรู้ นิพพาน

ทีนี้คนที่ไม่ต้องมาบำเรอตนด้วยสุข ทุกข์ ด้วยรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส อะไรต่ออะไร มันก็หมดภาระไป โอ้โห ง่าย ไม่ต้องไปหาเงินมาไว้ซื้อรูป หาเงินไว้ซื้อรส หาคนไว้ซื้อกลิ่น ซื้อเสียง ซื้ออะไรสารพัด ที่บอกว่า ไอ้นี่ กลิ่นอย่างนี้ ไอ้นี่รสอย่างนี้ ทั้งๆ ที่มันก็รสอันเดียวกันนั่นนะ ไอ้นี่สีอย่างนี้ ทั้งๆ ที่มันก็สี นั่นแหละ ถ้าอันนี้มาอยู่ตรงนี้ สีอย่างนี้ สวยนะ ถ้าอันนี้มาอยู่ตรงนี้ สีอย่างนี้ เอาอันนี้มาใส่อย่างนี้ ไม่สวย ต้องอันนี้ ถูกชี้ ถูกกำหนดไป กำหนดไปตามกัน ถ้าเราไม่สวย แล้วก็ดูได้ เขาว่าสวย ก็เข้าใจ ตามเขาได้ ถ้าเราจำได้ ถ้าเราเห็นตามไป ถ้าเราตามไปไม่ได้ ก็ไม่เป็นไร อย่างน้อยก็ไม่ต้อง ไปเป็น กรรมการตัดสิน สวย ไม่สวย เท่านั้นแหละ เขาไม่จ้างเราไปเป็นกรรมการ เท่านั้นแหละ เพราะว่า มันดูไม่เป็นแล้ว มันกำหนดไม่ถูกกับเขาแล้ว

ทุกวันนี้ จะให้อาตมาไปเป็นกรรมการตัดสินสวย ก็ยังพอได้อยู่ แต่อาจไม่ตรงกับเขา เขานิยมแบบ มันไปอะไร ต่ออะไร มันอาจจะต้องเก่าๆ หน่อยละนะ เพราะว่า เราสมมุติติดไว้ มันยึดมาอย่างนี้ สวยกัน รูปอย่างนี้ เสียงก็ตาม เพลงก็ต้องอย่างนี้ ลักษณะอย่างนี้ละนะ เสียงอย่างนี้ เพลงประกอบ แล้วเป็นอย่างนี้ ถ้าไปบอกสมัยใหม่อย่างนี้ๆ หวือหวาไป จนกระทั่ง เอ๊ เราก็ไม่ได้สมมุติด้วยเลยนะ มันจะไปถึงไหนแล้ว มันก็อาจจะไม่เหมือนกันเท่าไร ถ้าให้เรา ไปเป็นกรรมการ ก็คงตัดสินได้แบบนี้ แบบที่รสนิยมของเราพอจำได้

สรุปแล้ว คนที่ตรัสรู้แล้ว แม้เป็นอรหันต์แล้วนี่นะ รู้สวย รู้งาม รู้ไพเราะ รู้เหม็น รู้หอม รู้อร่อย ไม่อร่อย ได้ไหม ได้ไหม ได้ เพราะฉะนั้น ถ้ารู้นี้ สามารถมีสูญ และมีโลกวิทู จิตท่านสูญ จริงของท่าน ท่านไม่ต้องสุข ต้องทุกข์ ท่านไม่ต้องบำเรอ แต่ท่านก็รู้โลกวิทู รู้ด้วยว่าโลกเขาขนาดนั้นขนาดนี้ ให้อาตมาสมมติแฟชั่น ในประเทศนั้น ประเทศนี้ ที่เขาสมมติไปถึงไหนแล้ว สมมุติไปถึงไหนแล้ว อาตมา ก็ไปกับเขาไม่ได้ เพราะไม่รู้ว่าเขาสมมุติอะไร สมมุติแค่ไหน เราก็ไปเป็นกรรมการตัดสิน ให้เขาไม่ได้ ในกรุงเทพฯ หรือว่าในเมืองไทย อาตมาก็รู้ เท่าที่อาตมา พอรับด้วย พอเข้าใจ ก็สมมุติได้ตาม เพราะฉะนั้น เราก็ช่วย สาระที่แท้พออนุโลม เออ คนนี้ รสอร่อยพอประมาณ เสื้อผ้า สวย แต่งรูปร่าง แต่งอันโน้นให้ดูสวย ให้ดูงาม ให้ดูอย่างนั้นอย่างนี้ ปั้นต้นไม้ให้เหมือนต้นไม้เลย สวย มันจะสวย หรือไม่สวย ต้นไม้มันไม่รู้เลยนะ ว่ามันสวย มันไม่รู้หรอก มันไปอย่างนี้ตามธรรมชาติของมัน แล้วมันก็ไปได้อย่างนี้ มันจะบิดจะเบี้ยว คนมาทำให้มันเป็นรอย เป็นแผล เป็นอย่างโน้น อย่างนี้ บางอันไม่มีอะไร ไปถูกต้องมันเลย มันก็เรียบ ตรงไปเลย บางคนบอก เอ้อ ไอ้เรียบๆ นี่สวยดีเหมือนกัน บางคนบอก ไม่สวยหรอก ไม่มี curve ไม่มีลีลา โอ้โห เกลี้ยงเชียว จืด แน่ะ ก็แล้วแต่จะคิด แต่ทีนี้ เราไปเห็นว่า เหมือนธรรมชาติได้นี่ โอ้โห มีฝีมือ นั่นก็ว่ากันไป ก็จริง มีฝีมือ สวยไหม แค่นี้สวย ก็พอแล้ว สมมุติด้วยว่า เออ เหมือนธรรมชาติ สวย

ในศิลปะนี่จะเอายังไงละ realistic เหมือนของจริง สวย กับประดิดประดอย idealistic ไปสวย คุณก็ว่ากันไป เพราะฉะนั้น อาตมาถึงบอกว่า ศิลปะ อาตมาก็เข้าใจ คุณจะเหนือของพิลึก มันยังไม่มี ในโลก อั๊วเอาอะไรใหม่ มาให้ลื้อดู นี่ลื้อดูนี่ ของแปลก เห็นไหม สื่ออย่างนี้ สมมุติอย่างนี้ ลื้อคิดตาม ไม่ได้ หัวไม่ถึง ก็ลื้อเป็นคนสมมุติ ลื้อก็ถึงสิ อั๊วไม่ได้สมมุติตามลื้อ ลื้อบอกอั๊วสิ อั๊วจะได้รู้ตาม แล้วอั๊วก็จะถึงเหมือนลื้อ จะให้อั๊วคิดตาม อย่ามาจูง จมูกอั๊ว อั๊วไม่คิดตามลื้อก็ได้ อย่างนี้เป็นต้น แล้วแต่ว่าใครจะไปยังไง

ทุกวันนี้มันก็เลยคิด แล้วก็นึกว่าตัวเองนี่เป็นพระเจ้า แล้วก็สร้างของตัวเองขึ้นมา อย่างพวกศิลปินนี่นะ นี่เป็นตัวของตัวเอง นี่เป็นสัญลักษณ์ของตัวเอง มีสัญลักษณ์ของตัวเอง มีฝีมือ มีอะไร มีลักษณะ ของเฉพาะตัว มีเอกลักษณ์ของตัวเอง ฉันเป็นคนคิดอันนี้ขึ้นมาสื่อ แล้วคนเขาชอบ คนเขาติด ก็เลยขายของลักษณะตัวเองไป คนเขาถือว่า ไอ้นี่ ศิลปิน มันมีของตัวเองได้ มันก็คือสมมุติ อะไรขึ้นมา อันหนึ่ง ให้คนรับรู้ด้วย จนกระทั่ง คนนิยม แล้วก็ขายสิ่งนี้นกิน ถวัลย์ ดรรชนี ก็ขายลีลาแบบของตัวเอง ใคร ของตัวเองแหละ ประเทือง เอมพันธ์ ก็ขายลักษณะ ของตัวเอง เป็นอะไรก็ไม่รู้ อย่างประเทือง ก็มีแต่สี กับสี ไม่มีฟอร์มเลย แล้วแต่จะทำ เป็นอย่างนี้ๆ แหละศิลปะ

ถ้าให้อาตมาวิจารณ์นี่ รับรอง พวกนี้มาเหยียบอาตมาตายหมดแหละ เพราะอาตมารู้ทันหมด รู้ทันหมด เพราะอาตมา รู้รากเหง้าของสมมุติ เสร็จแล้วมันจะสื่ออะไร ถ้าคุณสามารถสื่อตามได้พอรู้เรื่อง ยิ่งไปเป็นรูป abstract เป็นรูปไม่มีทรง ไม่มีอะไรต่ออะไรไปเลย แล้วมันยิ่งต้องอธิบายกัน สื่อกัน เหมือนอย่างไม้ร่มเขียน ปั้นอะไรอยู่ข้างบน ที่สันติอโศกนั่นแหละ ก็ไม้ร่มเป็นของเขา เขาสมมุติของเขา เขาก็ต้องอธิบาย คนอื่นพยายามทำความเข้าใจตาม มันก็มีลีลาบ้าง ลูกศรมันคือลักษณะชี้ ไอ้นั่นคือมีเค้าของผู้หญิง มีเค้าของผู้ชาย มีเค้าของตีน มีเค้าของหัว มีเค้าของอะไร มีเค้าของผู้หญิง ผู้ชาย มีเค้าของดวงดาว ดอกไม้อะไร ใบไม้อะไรก็ว่ากันไป ก็เดากันส่งไป เอามา ผสมผเสกันไป อย่างนั้นแหละ เขาทำออกมาก็ตามประสา ก็อยากจะคิดตรงนี้ควรจะสื่อ อันนี้ๆ มันอะไร ก็ใส่เข้าไป มันบำเรออัตตาตัวเอง กูเป็นตัวของกู เอ็งต้องตามกู เพราะอัตตามันใหญ่ พวกศิลปินนี่ แล้วเขาก็ถือว่า นี่คือศิลปะ ศิลปิน ถ้าสื่อสิ่งนี้แล้ว มันก็อธิบายได้ว่า นี่มันคือความหมาย อย่างนั้น อย่างนี้นะ มันควรละหน่ายคลายนะ

อย่างปิกัสโซ่ เอารูป cubism (รูปทรงเรขาคณิต) มาเขียนเป็นรูปผู้หญิง ก็หน้าบิด หน้าเบี้ยว โอ๊ ไปโน่นแน่ะ นมเบี้ยวไปตรงนี้ อวัยวะตรงนั้นไปตรงนี้ ดูแล้วก็ ผู้หญิงอะไรวะ มันไม่เป็นผู้หญิงเลย เบี้ยวไปหมด ดูแล้วก็น่าเบื่อ เออ ดี เป็นศิลปะ แต่ถ้าเขียนดูสวย สวยๆ ดูแล้วยิ่งเกิดกาม อันนี้เป็นราคะ ไม่ใช่ศิลปะ แต่คนไม่เข้าใจ เขาบอกว่าสวย สวยกับกามเหมือนกันไหม สวยคือสมมุติ กามคือกิเลส คนติดสมมุติ คนติดสวย ก็เกิดกาม เพราะฉะนั้น คนไม่เกิดกามแล้วพระอริยเจ้า หรือ พระอรหันต์แล้ว สิ่งสวย รู้ว่าสวย สมมุติตามได้ แต่กามท่านไม่เกิด แต่คนที่ยังไม่หมดกาม สวยเป็นเหตุปัจจัย ให้เกิดกาม เขาก็เกิด เพราะฉะนั้น คนที่ทำสวยมาให้คนนี่ มันจะก่อเกิดกาม เป็นตัวล่อกาม นอกจาก จะรู้ขั้นตอนว่า คนนี้ติดขนาดนี้ แล้วพยายามให้มันลดลงมา เหมือนเราทำอาหารขาย อย่าไปทำ ให้อร่อยในระดับแข่งกับตลาดเขา นี่เขาปรุงแข่งจัดจ้านกันไป ทุกทีๆๆ เราอย่าไปปรุงแข่งกัน เราอนุโลม เอา อร่อยบ้าง ขนาดนี้ เขาขนาด ๑๐๐% เราให้แค่ ๗๐ เออ ขนาดนี้ดี เขาก็จะลด ตามลงมา ๗๐ เขาก็รับได้ เราก็ค่อยๆ ทำความเข้าใจ เขาลดลงมาถึง ๕๐ ถ้ายิ่งอร่อยแค่ ๕๐% มีรสปรุงแค่ ๕๐% อร่อย ก็เจริญขึ้น ตอนหลังมาเหลือ ๓๐% เออ ลดลงมา ความจัดจ้าน ลดลงมา ปรุงแต่งจัดจ้าน ลดลงมา เหลือ ๓๐% อร่อยได้ นั่นแหละ จุด climax ต่ำลงเรื่อยๆ

เพราะฉะนั้น ใครก็แล้วแต่ที่ปฏิบัติกามราคะนี่ คนที่กามราคะหนา โอ้โห climax ช้า และต้องแรง ต้องจัด ต้องนาน พวกนี้ต้องกิเลสหนา คนก็ชอบจัดด้วย นานด้วย ชอบ ยิ่งติดได้นาน ยิ่งอยู่ได้นาน ยิ่งชอบ ไม่หายไป แหมกินอร่อยนี่มา ก็ยังอร่อยอยู่ นาน ยิ่งชอบ ก็ยิ่งจัดยิ่งยาก ยิ่งล้างยาก คนนี้ยิ่ง โอ้โห สุดหนา ลำบาก เพราะฉะนั้น คนที่ล้างๆ ก็จะบางลงๆ เพราะฉะนั้น รสความสุขนี่ คือสุข ในสุขที่เราไปสมมุติตาม อ่อนลงๆๆ คนล้างกิเลสแล้ว ก็เลยจะรู้สึกว่า climax เร็วขึ้นๆๆ เห็นไหม มันทวนกระแสกัน อะไรนิดอะไรหน่อย โอ สุขแล้ว เหมือนอย่างที่อาตมา สมมุติให้ฟัง อดกินข้าวเปล่า ไปสัก เดือน ๒ เดือน แหมไปได้อะไรนิดหนึ่ง เค็มนิดหนึ่ง หวานนิดหนึ่ง รสที่แปลกไปจาก ไอรสข้าวละนะ โอ้โห ดูมันอร่อยจังเลย นิดเดียวก็อร่อยแล้ว climax ถ้าเราบอกว่า เออ แค่นี้ก็พอแล้ว อร่อยแล้ว ถ้ามันมากกว่านั้น ทีนี้เราจะรับไม่ไหวแล้ว สีอย่างนี้จัดไป ปรุงแต่งมากไป ทุกอย่าง รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสทุกอย่าง

ใครที่มันไม่อร่อยแล้ว มันไม่สุขแล้ว มันไม่สมใจแล้ว ในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส จางลงมาๆๆ นั่นแหละ ใช่แล้ว กำลังเดินไปสู่นิพพาน ถ้ายิ่งหมดเลย ไม่มีรสอร่อยแล้ว ยิ่งโอ๊ อันนี้ ก็นิพพาน อันนี้ก็นิพพาน อันนี้ก็ เอ๊ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส อะไรต่างๆ นานา เราก็ไม่กระดี๊กระด๊าแล้ว ทีนี้ระวัง ที่ว่ามันหมด กับมันเหลือน้อย นี่ต่างกัน ไม่ใช่อันเดียวกันนะ แต่คล้ายกันมาก อาตมาพูดอันแรกว่าต่าง ความที่ ๒ ว่าไม่เหมือน คำที่ ๓ ว่าคล้ายกันนะ คนที่ไม่ค่อยชัด ไม่ค่อยละเอียดนี่ ก็จะนึกว่า เออ เราหมดแล้ว เปล่า คุณยังเหลือน้อย แล้วคุณก็ไปพักอยู่ที่ ตรงน้อยนั่นแหละ ไม่หมดสิ้นเศษธุลีละออง

อันนี้แหละ ศาสนาพุทธยากตรงนี้ ยากตรงที่จะล้างสภาพที่เหลือน้อยนี่ แล้วมันก็ไม่พาทุกข์เท่าไร คนจะสนอง กิเลสเรา เขาจะเอารูปมาให้นิดเดียว มันก็ได้แล้ว มันก็ไม่มาก ไม่หนัก มันน้อย นิดน้อย ใช่ไหม เล็กน้อยๆ มันก็เลย ก็ไม่เป็นไรนี่ มันก็ไม่หายากอะไรนี่ แล้วคนก็ไม่ลำบาก เพราะมันไม่ต้อง ไปเที่ยวได้ ขวนขวาย ไม่ต้องเป็นภาระ เยอะแยะ คนก็เลยประมาท ก็ไม่ล้างเศษส่วนธุลีละออง พวกนี้ออก โดยเฉพาะ เป็นสมณะ ได้ฐาน เขาเอามาให้ มันก็มีเหลือน้อย ก็อยู่ได้สบายแล้วนี่ มันไม่เดือดร้อน มันไม่ดิ้นรนมากกว่านี้ ขนาดนี้เรามีสันโดษแล้ว พอรูปแค่นี้ รสแค่นี้ กลิ่นแค่นี้ เสียงแค่นี้ สัมผัสแค่นี้ ดีแค่นี้ ที่ไหนก็มี หาง่าย ก็เลยไม่เพ่งเพียร ไม่เรียนรู้ ไม่ละเอียดลออ เข้าไปหา สิ่งเหล่านี้ ไม่ตั้งกรรมฐานให้ตัวเองให้มันขัดสิ่งสุดท้าย เล็กๆ น้อยๆ นี่ออก เพราะฉะนั้น พวกนี้ค้าง อนาคามีนี่ค้าง ค้างมานะ พวกสกิทาคามีก็ค้างกาม กามน้อยๆ เหลือเล็กๆ น้อยๆ สกิทาคามี ไม่ขึ้นอนาคามีง่าย ก็เพราะกามค้างอยู่นั่นแหละ ก็มันไม่มากแล้วนี่ แค่นี้ก็ดีแล้ว ไม่รู้จะอีกกี่ชาติ นั่นละ คนประมาท

พระพุทธเจ้า ถึงสรุปคำสอนลงที่ประมาท ต้องไม่ประมาท แม้เล็ก แม้น้อย ไม่ประมาทในโทษภัย อันมีประมาณน้อย อย่าปล่อยปละละเลย ต้องพากเพียรของตนเอง ใครไม่รู้กับเรา ยิ่งเหลือน้อยๆ แล้วนี่ ใครไม่รู้กับเราหรอก เหลือน้อยนี่ มันไม่รู้ เราแสดงออกได้ข้างนอก เราไม่มี เหมือนแสดงไม่มี แต่ลิ้มเลีย ลิ้มเลียเล็กน้อยนั้นอยู่ โดยที่มันบางที มันก็มีนะ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส มันก็มีอยู่ ทั้งนั้นแหละ ใช่ไหม มันจะมากจะน้อย มันก็มีหมด

อย่างของอาตมานี่ อาหารมาให้กินนี่จืด ขนาดจืดอย่างนี้ มันก็ยังไม่จืดทีเดียวใช่ไหม มันก็มีรส ในตัวของมัน หรือบางอัน เขาก็ใส่มัน ใส่หวาน ใส่เค็ม ใส่อะไรมานิดๆ หน่อยๆ แต่ไม่รสจัดเหมือนเขา ทั่วไปแล้วละ

จืดแล้วละ แต่ในจืดนั้น มันก็ยังมีอะไรอยู่ ไม่ใช่ว่ามันจืดสนิท เราก็ต้องอ่านใจของเราเอง สิ่งนี้มี ก็ต้องมี เพราะฉะนั้น อาตมาจะต้องสัมผัส ทั้งจืด ทั้งไม่จืด ถ้าจะสัมผัสแต่จืดๆๆๆๆๆ หมด ต่อไป อะไรมานิดหนึ่ง ไม่มีภูมิคุ้มกันเลย สำลักหมดเลย แตะไม่ได้หมดเลย มันก็เป็นความลำบากของคนอื่น ทั้งๆ ที่มันก็ไม่ได้มีมาก แล้วมันก็ไม่ได้เป็นพิษเป็นภัย ต่อสรีระอะไร มันนิดๆ หน่อยๆ ดีไม่ดี มันเสริมด้วย มันมีสักขนาดเท่านี้นะ มันช่วยเป็นพลังงาน ช่วยอะไรต่ออะไรในร่างกาย ต้องได้เผ็ดเท่านี้ ต้องได้ขมเท่านี้ ต้องได้ธาตุอันนั้น อันนี้ ขนาดนี้ๆ ในร่าง เพราะฉะนั้น จะสังเกตได้ อาหารการกิน ที่เขาเอามาถวายอาตมานี่ ก็จะมีจรมา ปรุงมา แหมอย่างดี อย่างอร่อยมาจร พลัดๆ ผลูๆ มา อาตมา ก็กินหมด อันอร่อยๆ ละนะ เขาปรุงอร่อยๆ มา อาตมาก็กินหมด ของที่เขาเอามาถวายนี่ อาตมาก็ไม่ได้ ฉันจืดๆ ทีนี้ คนข้างนอกก็จะบอกว่า โอ้โห! นี่พ่อท่านยังชอบอร่อยอยู่นี่ วันนี้ไม่แตะของจืดนี่เลย เล่นของอร่อยหมดเลย แล้วก็บ่อยด้วยนะ บ่อยตรงที่ว่า มันมีจรมา ที่จริงนานๆ นะ ไม่ใช่บ่อย จืดนี่ ประจำใช่ไหม เป็นของหลัก แต่ของจรนี่มา อาตมาก็กินของจรนี่ด้วยบ้าง ของจืดก็กิน คนก็มองว่า นี่ท่านยังอยากกินอร่อยอยู่ เห็นไหม นี่อร่อยหมดเลยนี่ ที่จืดๆ ท่านไม่กิน นี่พูดให้ฟังละนะ ที่จริง ไม่ได้แก้ตัวอะไรหรอก ฟังแล้วจะเหมือนกับแก้ตัว ทำไมต้องกิน ถ้าอาตมากินแต่จืดหมดเลย เมื่อไรที่ปรุงแต่งมา อาตมาไม่กินเลย ทุกทีละ กินแต่จืดๆๆ ปีแล้วปีเล่า อาตมาก็เป็นไง ก็อ่อนแอสิ ธาตุที่มันจะปรุง ธาตุอันโน้น อันนี้มา อาตมาก็ภูมิคุ้มกันไม่มีเลย แล้วก็รับอะไรๆ อีกไม่ได้ ไม่ได้เลย อาตมาก็อยู่ในโลกนี้ก็เหมือนกับไข่ในหิน อะไรนิด โอ๊ย ไม่ได้แล้ว จะตายแล้ว อะไรหน่อย ก็ โอ๊ย ไม่ได้หรอก แพ้ อะไรก็กระทบไม่ได้แล้ว เพราะฉะนั้น ก็จะต้องสร้างภูมิคุ้มกันให้ตัวเอง สักขนาดหนึ่ง อาตมาก็จะขนาดหนึ่ง อะไรอย่างนี้เป็นต้น แต่ถ้าตัวเองไม่ซื่อสัตย์ต่อตัวเอง ตัวเองติดอยู่ ตัวเองยัง เละเล็ม แลบเลีย ก็ระวัง อันนี้ของใครของมัน ไม่มีใครมาโกหกตัวเอง ตัวเองโกหกตัวเองได้คนเดียว ถ้าเราไม่โกหกตัวเอง เราก็พยายาม

อยากจะให้อาตมาพูด ถึงเรื่องการจัดการศึกษานิสิต ทั้งประโยชน์ตน ประโยชน์ท่าน เราทำงาน ชุมชนให้ได้ สอนประโยชน์ตนให้มากๆ ก็ไม่เอา จะเอาให้เกิดประโยชน์ ไปพูดถึงนโยบาย การสอน การเรียน การให้ประโยชน์ คนอื่นๆ ทั่วไป คนเรามันมีใจโพธิสัตว์เนาะ อยากจะให้ประโยชน์คนอื่น ที่อาตมากำลังพูดนี่ เป็นประโยชน์ตน ประโยชน์ที่จะรู้ความรู้ ที่จะเอาไปปฏิบัติตนให้เป็นพระอรหันต์ แต่เอาละ อยากจะได้อันนี้ ก็เอา เปลี่ยน มันต้องมีประโยชน์ตน ประโยชน์ท่านอยู่ในตัว ที่อาตมา อธิบายพวกนี้ไป ก็คือรายละเอียด ที่วาระดีๆ วาระสำคัญ ก็พูดถึงแนวลึก แนวละเอียดให้ฟัง ถ้าฟังดีๆ ก็ได้ประโยชน์ ใครประมาท ใครไม่ฟัง หรือฟังแล้วไม่เอา ที่อาตมาพูดไป ตั้งแต่เทศน์มา เจาะลึก ลงไปถึงรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ในลักษณะอัตตาอะไรก็ตาม ที่เราจะต้องล้าง จนหมดอัสสาทะ จนอทุกขมสุข หรืออุเบกขา เป็นฐานนิพพาน เสร็จแล้ว คุณไปตรวจสอบสิ อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ จนสัญญาเวทยิตนิโรธ คุณไปตรวจสอบอีก อากาสา ก็คือว่าง อุเบกขาก็ว่างแล้ว เฉยแล้ว วางแล้ว ว่าง อุเบกขา แล้วก็ อากาสามันว่าง ยิ่งกว่านั้น ว่างแล้ว วิญญาณ ก็คือ ธาตุรู้ ๑. ตรวจความว่าง ๒. ตรวจวิญญาณ วิญญาณ คือ ธาตุรู้ อากาศ คือ ฐานอาศัย อากาศ คือ ภพ วิญญาณ คือ ชาติ มีภพ มีชาติ ภพสะอาด เราติดภพหรือไม่ ชาติสะอาดหรือยัง จิตวิญญาณสะอาดหรือไม่ ยึดเป็นเรา เป็นของเราหรือไม่ ยังยึดเป็นมมัง ยึด จิตสะอาดนี่แหละ ยึดจิตสะอาดเป็นเรา เป็นของเราอยู่หรือไม่ พระโพธิสัตว์ ยังยึดจิตวิญญาณสะอาดนี้อยู่ แต่ยึดก็ต้องเรียนรู้ด้วยว่า ยึดมั่นถือมั่นไม่ได้นะ ยึดอาศัยทำงาน ต้องสังวรเสมอ แล้วมันจะมีตัวดี ตัวเด่น ตัวอะไรผสม โอ๊ ซ้อนอีกเยอะ

เราจะต้องรู้วิญญาณ แล้วตรวจให้เพื่อละเอียดอีก อากิญจัญ แปลว่า นิดหนึ่ง น้อยหนึ่งไม่มี ไม่มีอะไรเลย นิดหนึ่งน้อยหนึ่ง ก็ไม่มี อากิญจัญ เพราะฉะนั้น ตรวจอีก ตรวจในภพ ยังเหลือภพ ติดภพไหม ยังเหลือวิญญาณ ติดวิญญาณไหม ต้องตรวจอีก ความที่ยังมีส่วนเหลืออยู่ อากิญจัญ ไม่มี นิดหนึ่ง น้อยหนึ่ง ก็ไม่มี อะไรมันยังมี ไม่ได้ ที่คุณยังติด ยังยึด

นี่คือลักษณะการตรวจละเอียดอีกชั้นหนึ่ง เนวสัญญานาสัญญา คือ ธาตุรู้ เหมือนวิญญาณ วิญญาณเป็นธาตุรู้ เนวสัญญานาสัญญายตนะ อายตนะ คือ มีส่วนเชื่อมต่อโยง มันรู้อยู่กับเหตุปัจจัย รู้ หรือ ไม่รู้ เนวสัญญานาสัญญา จะว่ากำหนดก็ไม่ใช่ จะว่าสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่ใช่สัญญาก็ไม่ใช่ สัญญา คือ การกำหนด ต้องกำหนดรู้ทุกอย่างให้หมด เป็นสัญญาเวทยิตัง นิโรธัง โหติ เป็นสัญญาเวทยิตนิโรธ คือ กำหนดเคล้าเคลียอารมณ์ สัญญา คือ การกำหนด ธาตุสัญญาของเรามี เราใช้ธาตุสัญญาของเรา กำหนดหมดเลย

ตรวจสอบตั้งแต่อากาสานัญจายตนสัญญา วิญญาณัญจายตนสัญญา อากิญจัญญายตนสัญญา เนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา สัญญาคือตัวกำหนดรู้หมดเลยว่า พวกนี้คืออะไร แล้วเราเข้าใจ มันหมด อะไรจะอาศัย อะไรจะไม่ยึดไม่ติด อะไรจะให้มี หรือจะให้ไม่มี รู้หมด แล้วก็ทำให้ได้เลยว่า จะให้มีอยู่ ก็คือให้มีอยู่ จะไม่ให้มี ทันทีก็ไม่มี เป็นความเก่งถึงขนาดนั้น สิ่งที่ให้มีก็คือให้มี สิ่งที่ไม่ให้มี ปั๊บ ไม่ให้มีก็ตัดทันที ดับทันที หมดทันที ได้

สุดท้าย จะต้องรู้ความจริง เนวสัญญานาสัญญา รู้สิ่งที่รู้ จะว่ารู้ก็ไม่ใช่ ไม่รู้ก็ไม่ใช่ ไม่ได้ ต้องรู้ทุกอย่าง ครบครันหมดเลย กำหนดรู้ทุกอย่าง ดับคือดับ เกิดคือเกิด สิ่งที่ยังอาศัย คืออาศัย สัญญาเวทยิตนิโรธ พ้นเนวสัญญานาสัญญา หมายความว่า จะบอกว่ารู้ก็ไม่ใช่ ไม่รู้ก็ไม่ใช่ ไม่ได้ อยู่ในอาการนี้ไม่ได้ ต้องรู้ให้ชัด พ้นอาการเนวสัญญานาสัญญายตนะ ไปเป็นสัญญาเวทยิตนิโรธ ไปเป็นตัวที่รู้ กำหนดรู้ อย่างครบครัน สัญญาเวทยิตตัง รู้ กำหนดรู้ทุกอย่าง ทุกอารมณ์ เคล้าเคลียอารมณ์ รู้ทุกอย่าง ของทางจิต ทางใจ กำหนดแยก วิเคราะห์ วิจัยได้หมด อะไรคืออะไร ติดหรือไม่ติด หมดติด หมดยึด คืออะไร หมดยึดมั่นถือมั่น คืออย่างไร และต้องอาศัยอะไร ยังอะไรเป็นเครื่องอาศัย เป็น อาลยวิญญาณ เป็นสิ่งที่คุณยังอาศัย อาลยะ ยังอาศัยเท่านั้น หรือ สรโณ สรณะ เป็นเครื่องอาศัย เท่านั้น แต่ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา และคำว่าอาศัยแล้ว ไม่ยึดเรา เป็นของเรา มันคืออย่างไร คุณทำ ได้จริง หรือไม่ ผู้ที่ศึกษาจิตวิญญาณจะรู้ ความปล่อย ความวาง ความยึด ความไม่ยึดของตนเอง ด้วยตนเอง หลอกตัวเองก็คือหลอกตัวเอง ถ้าไม่หลอก ชัดเจนก็คือสมบูรณ์ของตัวเอง ถึงที่สุดแล้ว สัญญาเวทยิตนิโรธแล้ว เมื่อกี้พูดมันยังไม่จบ ให้มันจบสุดไปหมด วันนี้ใครมาเรียนอรหันต์ ก็จะได้ วิชาอรหันต์ไปแล้ว แล้วไปเป็นอรหันต์ให้ได้

ทีนี้เรามาพูด ถึงสิ่งที่เรากำลังพัฒนากันอยู่ เราต้องมีการศึกษา ที่พูดไปนี้ ก็คือการศึกษาทั้งนั้น แล้วศึกษา ก็ต้องปฏิบัติให้จริง เรามีโครงการที่จะพยายามบูรณาการ นิสิต หรือว่าโครงการนักเรียน เพราะฉะนั้น คนทุกคน ก็ควรจะต้องเป็นนักศึกษา เมื่อพวกเราก็เข้าใจขึ้นมา ไม่ใช้บังคับ ใช้ปัญญา คนไหนเห็นว่าตัวเองเหมาะ จะมาศึกษาก็มา เพราะฉะนั้น ผู้ที่เป็นประชากรของชาวอโศก โดยเฉพาะ อยู่ในวัด อยู่ในชุมชน ก็ควรจะเป็นนิสิต ไม่เป็นนิสิต เป็นคนวัดก็ได้ เป็นคนวัด เป็นคนที่ยัง ไม่ได้เข้ากรอบ ไม่ได้เข้าทาง ไม่ได้รับรู้ ไม่ได้เป็นผู้ที่จะได้ เข้าสู่หมู่ ที่ลงทะเบียนนี่พาพัฒนา เหมือนกับคน คุณเป็นฆราวาสนะ คุณปฏิบัติธรรมได้ คุณไม่ขอเข้ามาบวช คุณก็ไม่มีหลักเกณฑ์ คุณก็ไม่มีการศึกษาทั้งหมด ซึ่งมันมีทั้งประเพณี จารีตประเพณี บอกว่า ผู้มาบวชแล้วเป็นพระนี่ ท่านไม่สะสมแล้วนะเงินทอง เลี้ยงท่านไว้ด้วยนะ ท่านไม่หาแล้ว ข้าว น้ำ ท่านไม่สะสม ไม่มีอะไรแล้ว ท่านก็มีผ้ามีผ่อนแค่นี้ ที่อยู่อาศัยท่านก็อยู่โคนไม้ก็ได้ ไม่อยู่โคนไม้ หากุฏิให้ท่านอยู่บ้าง ถ้าเห็นว่า เหมาะควรก็เอานะ หรือจะหาอะไรให้ท่านใช้ เพื่อท่านจะได้ใช้เป็นประโยชน์ของผู้อื่น เป็นประโยชน์ตน ไปพอสมควร ไม่ดูทุเรศ ทุรังการ อะไรนัก ก็ช่วยกันนะ แล้วท่านก็ตั้งใจศึกษา มีกรอบ มีกำหนด มีสัญญา มีการรู้ รับรู้กันว่าอย่างนี้นะ เป็นสัญญากันแล้วนะ ว่าอย่างนี้ มีกำหนดรู้กัน

ผู้ที่มาบวช ก็ได้รับอภิสิทธิ์หลายอย่าง ที่ตั้งใจปฏิบัติ เหมือนกัน ผู้ที่มาเป็นนิสิต ก็ได้รับอภิสิทธิ์ หลายอย่าง ว่าคนนี้เป็นนิสิตนะ คนนี้จะต้องอย่างนั้นอย่างนี้ แม้แต่ติดงานโน้น งานนี้แล้วนี่ ของโครงการนิสิตแล้วนะ ก็ต้องมาได้ ต้องลาได้ แต่ถ้าคุณเป็นคนวัด คุณไม่ได้เป็นนิสิต คุณก็ต้อง ทำอันโน้นอยู่ตรงนั้นละ แล้วคุณก็ไม่เอาด้วยนะ มันก็ไม่ได้ไปทำอะไรกับเขา ตอนนี้เขาจะมี เร่งรัดพัฒนา เขามี ตอนนี้เขาจะเป็นอรหันต์กันแล้ว ตอนนี้ โอ้โห มีโน่น มีนี่กันแล้ว ไม่ได้เข้ากับเขา คุณไม่มี ไม่ได้เป็นนิสิต คุณก็ไม่เอาถ่านอะไร อย่างนี้เป็นต้น มันสมมุติ หรือว่ามันสัญญา กันด้วยจิตวิญญาณ แล้วมันก็ด้วยกำหนดรู้ของสังคม เป็นกติกา หรือเป็นวินัย หรือเป็นระเบียบ หรือเป็นกฎ เป็นหลักอะไร ก็แล้วแต่สิ่งที่ตั้งกำหนดกัน เพราะฉะนั้น การศึกษาก็มี ๒ ส่วน อิสระ โดยที่เรียกว่า ตัวเองเลย แล้วตัวเองสูงพอไหม

จริงๆ แล้ว ผู้ที่เป็นพระอรหันต์นี่ ท่านเข้ามาบวช ท่านก็จะมาอยู่ในหลักวินัย ทั้งมีทั้ง อาริยวินัย ละเอียดลออขนาดไหน ท่านก็จะมาอยู่ในหลักนี้ ไม่ดื้อด้าน แล้วก็ทำตามวินัยนี้ ทั้งๆ ที่บางที มัน โอ๊ เหมือนเด็กๆ แต่ก็เอาเหอะ อย่างนี้ ไม่เป็นไร เหมือนเด็กๆ ก็ทำไป ให้มันได้ก็แล้วกัน ไม่ต้องมีอัตตา ก็มาทดสอบหมด วินัย เหมือนเด็กๆ จริงๆ ก็เอา นี่เป็นต้น เพราะฉะนั้น ในสิ่งที่เรากำลังทำนี่ เรากำลัง พัฒนามนุษยชาติขึ้นไป เป็นการศึกษา และอาตมาตอนนี้ เราเร่งรัดพัฒนา เรื่องกาม คุณว่าในโลก ทุกวันนี้ กามมันเจริญรุ่งเรือง หรือว่ากามมันเสื่อมโทรม กามมันเจริญรุ่งเรือง ด้วยการปรุงแต่ง ด้วยการโฆษณา ด้วยการมอมเมามาก จัดจ้านขึ้นไป แล้วก็วิตถารขึ้นไปมากมาย จนตามเขาไม่ไหว ถ้าคุณจะไปตามเรื่องกามกับเขาทุกวันนี้นี่ เหนื่อย อย่างเดียวก็เหนื่อยแล้ว ทีนี้ เราลดลงมา ก็เลยลดเหนื่อยลงมาได้ เพราะฉะนั้น เราก็จะเร่งรัดพัฒนากันได้ขนาดหนึ่งแล้ว ยังมีส่วนเหลือ กามราคะส่วนเหลือ จะต้องเอาให้ได้ เป็นอนาคามีให้หมดกามราคะ เป็นโสดาก็ โสดามาได้เล็กๆ น้อยๆ เท่านี้ๆ ก็ชะลอของตัวเอง เออ เอา แค่นี้ๆ แหละ เรายังกินอร่อยอยู่ได้ขนาดนี้ก็เอา เราก็ยัง จะเอาขนาดนี้ไป ก็บำเรอมันอยู่ทุกวัน ไม่ตั้งกฎ ตั้งหลัก ให้ตัวเองขึ้นไปเพิ่มขึ้น พวกนี้ก็คือ ลักษณะที่อาตมาเทศน์มาแล้ว นี่ยกตัวอย่าง เพราะฉะนั้น นโยบายของเราคราวนี้ อาตมาเน้นกาม จะขมีขมันลด แต่ละคนๆ ลง

ถ้าเราลดรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส กามคุณ ๕ ได้อีกมาก กามเรื่องเพศ ก็จะลดลงตาม ถ้าเราไม่ลดรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส นี้ลงไปอีก กามเรื่องเพศ มันก็ไม่ลดตาม มันจะมี เท่ากามคุณ ๕ นี่แหละ เพราะกามเรื่องเพศนั้น คือ กามคุณ ๕ เต็มๆ นอกจากกามคุณ ๕ แล้ว ยังมีภวตัณหาอยู่ในนั้นด้วย ไม่ใช่กามตัณหาอย่างเดียว ภวตัณหา คือ imagination จินตภาพของตัวเอง มีภพสมมุติไง ต้องอย่างนี้ สัมผัสไปแล้ว จะต้องเป็นอย่างนี้ๆๆๆ ซ้อนอยู่ในจิตวิญญาณของคุณ รูป คุณสมมุติว่าคนนี้นี่ มีกามหนักไปในทางรูป คนนี้มีกามหนักไปในทางเสียง กามหนักไปในทางกลิ่น คุณก็จะมีจินตนาภาพ ของคุณหนักไปในทางไหนๆ ซ้อนอยู่ แล้วก็จะมารวมกันหมด ทั้งหมดก็จะเป็นการได้ครบ สัมผัส เสียดสี ที่สมบูรณ์ ทั้ง ๖ ทวาร ๖ อายตนะ แล้วก็สุขเท่านั้นแหละ

ขณะนี้ พวกเรานี่ลดลงมาได้พอสมควร หลายคนก็คิดว่าไม่แต่งงาน เรื่องเพศไม่เป็นปัญหา ลดได้ จนกระทั่งสบาย ไม่ต้องมีปัญหาอะไร ไม่ อี๊ ไม่ แอ๊ะ อะไรมากมาย แต่เราจะรู้สึกว่ากาม ทำไมเราตื้น ขึ้นๆ เรื่อยๆ อย่างที่อาตมาอธิบาย ไม่เป็นไร แล้วก็ที่ว่าไม่เป็นไร ไม่ได้หมายความว่าไม่ให้ลดอีกนะ อย่าเข้าใจผิดว่า โอ๊ อะไรนิด อะไรหน่อย ทำไมกามเราไว มันจะไวขึ้น เร็วขึ้น แต่ไม่จัดจ้าน เท่านั้นเอง ดีแล้ว อย่าเข้าใจผิด ข้อสำคัญก็คือ อย่าประมาทมีน้อยเท่านี้ มีประมาณน้อย ก็ต้องลดลงอีก มันจะได้เคี่ยวข้นขึ้น ขณะนี้ พวกเรานี่อยู่ในฐานของโสดา สกิทาขึ้นไปแล้ว กับไปเป็น อนาคา นี่ ยังไม่ได้สักที เพราะว่าไม่เคี่ยวข้น ไม่เข้มกับตัวเองต่อ เพราะฉะนั้น จะต้องเรียนรู้ แม้อายุมากแล้ว แม้จะอายุน้อยก็ตาม ก็เป็นได้ เป็นได้

แม้แต่ทุกวันนี้ เขาก็ยอมพิสูจน์กันแล้วว่า กาม หรือว่า เรื่องเพศของคนนี่ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับอายุ ขึ้นกับ สรีระเท่านั้น ถ้าสรีระยังแข็งแรงอยู่ อายุ ๙๐ ก็ยังเจ๋ง เหมือน ๓๐, ๒๐ เพราะมันไม่ได้เรียนรู้เรื่องนี้ เขาไม่ได้เรียนรู้มันอยู่ คนเรามันจำนนเพราะ สรีระมันไม่ไหวแล้ว มันน่าอาย มันขี้เกียจ เรี่ยวแรง มันไม่พอ พลังงานต้องไปใช้อื่นอีก เหมือนกัน มันไม่ไหว มันก็เลย เอาละ เรื่องนี้ ก็นานแล้ว เบื่อแล้ว พอทนๆ มันไม่เบื่อจริงหรอก ที่จริงมันก็พักยก เท่านั้นเอง เพราะฉะนั้นก็

๑.นโยบาย ก็คือเรื่อง กาม ศีล ๘ มาเป็นนิสิตนี่ ศีล ๘ เน้น จะต้องเรียนรู้ ไม่ใช่ เหมือนกับ สีลัพพตุปาทาน กำหนดเป็นหลักเกณฑ์ศีล ศีล ๘ แต่เสร็จแล้วก็ไม่รู้เรื่อง ปฏิบัติไม่เป็น ไม่ได้นะ ต้องเรียนรู้ เราลดลงไปอีก อย่างที่อธิบายแล้วว่า ต้องเรียนรู้สิ่งละเอียดอีก รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส อะไรของเราอีก

๒. ประจำถิ่น เพราะฉะนั้น ตอนนี้นี่ นิสิต แต่ละแห่งๆ นี่ ใครไปร่อนเร่อยู่ที่ไหน กลับเข้าฐาน กลับเข้ารัง นิสิตราชธานีวิชชาเขต ศีรษะวิชชาเขต วิชชาเขต ไม่ใช่วิทยาเขต ของเราเอาวิชชา วิชชาเขต ถ้าจะเอา เขตเฉยๆ ประเดี๋ยวมันจะเป็นเขตบึงกุ่ม มันจะเป็นเขตบางกะปิ เขตอะไรก็ไม่รู้ มันจะลำบาก ถ้าไปเรียก เขตๆๆๆ ประเดี๋ยว มันไปชนกับเขตเขา ก็เลยเอาวิชชาเขต ก็แล้วกัน เขาวิทยาเขต เราวิชชาเขต เพราะฉะนั้น ใครเป็นนิสิตเขตไหน ก็กลับรัง วิชชาเขตเราก็มีนโยบายจะไปเพราะความจำเป็น จะไปอยู่ที่นั่นที่นี่ ประจำอยู่ที่โน่นที่นี่ เช่นขึ้นไป ฝึกฝน บนภูผา ๖ เดือน ไปนานที่สุด แล้วก็ต้อง กลับลงมา ไม่ใช่กลับลงมา ๖ เดือน มาที่นี่ ๓ วัน กลับไปอีก ไปอยู่อีก ๖ เดือน แล้วมาที่นี่อีก ๒ วัน นั่นคุณสิงสถิตอยู่ที่ภูผาแล้ว ไม่ใช่สิงสถิตอยู่ที่นี่ เพราะความเป็นจริงของคุณ ไม่ได้อยู่ประจำที่นี่ คุณอยู่ประจำภูผา เพราะฉะนั้น จะต้องโอนถ่าย แต่ภูผาไม่ได้เป็นวิชชาเขต นี่ก็มีผู้ต่อรอง อยากให้ตั้ง ภูผา เป็นวิชชาเขต อาตมาบอกว่าไม่ได้ เพราะว่าหลายๆ อย่าง อาตมาบางอย่างอธิบายไม่ออก มันยังทำไม่ได้ มันยังเป็นวิชชาเขตไม่ได้ เพราะภูผาฯ ยังไม่สมบูรณ์ในวิชชาเขต ๑. ๒. ภูผาฯ มันค่อน จะเป็นป่า มันค่อนข้างจะเป็นฤาษี อย่านึกว่าพวกเราไม่มีเลือดฤาษี เลือดฤาษีมีกันอยู่ไม่ใช่น้อยๆ ในนี้ ดีไม่ดี ก็สร้างภพตัวเองนั่นแหละ ฤาษี พออะไรขึ้นมาแล้วนี่นะ มันชักจะไม่มีอิทธิบาท ความยินดีลดลง มันเซ็ง มันจืด วิริยะ ก็หด จิต เอาใจใส่อะไรต่ออะไร เพื่อนฝูงเป็นยังไง งานการเป็นยังไง สิ่งแวดล้อม ข้างนอกเป็นยังไง ไม่เอาแล้ว อยากอยู่เงียบๆ อยากอยู่คนเดียว อย่ามายุ่ง พวกนี้ ภพกินหัวทั้งนั้น ตกภพ ภพกินหัว ผีกินหัว หรือฤาษีกินหัวทั้งนั้น มีอยู่ทุกคน อยู่ในตัวเอง แล้วเป็นได้ทุกที่ เพราะฉะนั้น ไม่จำเป็นจะต้องวิ่งไปถึงภูผาฯ เราเป็นได้ อยู่ที่นี่ก็ภูผาอยู่นี่ ประเดี๋ยวก็เข้าภูผาฯ แล้ว ใครมาก็ เหม็นหน้าหมด เอามลพิษมา

เอาละ นี่ก็ขยายความให้รู้ว่า ทำไม อาตมาเน้นสิ่งเหล่านี้ ไม่ใช่ว่าอาตมาตั้งนโยบาย หรือว่าทำอะไร ขึ้นมาแล้ว ไม่มีความหมาย

๑. การเจริญของถิ่นที่ เราจะต้องมีงาน เราจะต้องมีความร่วมมือ เราจะต้องมีพลังรวม เราจะต้อง ร่วมกันรู้จัก อะไรมันมาแล้วนี่ งาน เราจะต้องช่วยกันคิด ช่วยกันสร้างสรร ช่วยกันอะไร ในการงาน ในอิริยาบถทุกอย่าง ถ้าเราเรียนรู้แล้ว สิ่งเหล่านั้น เป็นสภาพ องค์ประกอบแห่งการปฏิบัติธรรม มันจะเกิดสัมผัส มันจะเกิดขัดเกลา มันจะเกิดการเรียนรู้ จิตของเราจะเกิด มุทุภูเต กัมมนิเย ฐิเต อาเนญชัปปัตเต เกิดพลังฌานที่แข็งแรง องค์ธรรมของพลังฌานก็คือนี่แหละ มีทั้ง ปริสุทเธ ปริโยทาเต มุทุภูเต กัมมนิเย ฐิเต อาเนญชัปปัตเต ถ้าเตๆ ก็เตๆ หมด ปริสุทเธ ปริโยทาเต เตหมด ในพระไตรปิฎก เขามีอย่างนั้นจริงๆ แต่อาตมาเอาแต่เฉพาะ มุทุภูเต มา นอกนั้นก็บริสุทธิ์ ถ้ามันยังไม่บริสุทธิ์ คุณก็จะต้องล้างให้บริสุทธิ์ เป็นหน้าที่ของคุณ พอหน้าที่บริสุทธิ์แล้ว จิตวิญญาณของคุณ ก็จะเป็น มุทุภูเต เป็นจิตที่ไว แววไว รู้ง่าย กระทบสัมผัสปั๊บ รู้ มีปฏิภาณรู้เร็ว รู้ทัน ทำร่วมกับคุณได้เลย กัมมนิเย ปฏิบัติการ กรรม การงาน ปฏิบัติกับคุณได้เลย บอก โอ้โห คุณมาลีลานี้หรือ รู้ อ่าน ใจเรารู้ด้วย แล้วรู้ด้วยว่าจิตของเรา ฐิเต จิตของเราแข็งแรง ตั้งมั่น คุณมานี่เลย กระแทกปัง ไม่มีหวั่นไหว อาเนญชัปปัตเต ไม่มีกระเทือน หลักยึดมั่นก็ แรงกระแทกอีก อาเนญชัปปัตเต ก็ยังไม่หวั่นไหว ไม่กระเทือน ไม่แปรปรวน ไม่เปลี่ยนแปลง มีทั้งฐานเจโต ฐานสมถะ มีทั้งฐานวิปัสสนา ฐานรู้ ฐานเห็น ฐานปัญญา ฐานเจโต มีทั้ง ๒ ฐาน แข็งแรง เพราะฉะนั้น การพิสูจน์ฐานแข็งแรง พิสูจน์ด้วยการงาน กัมมนิยะ กัมมนิเย คุณรู้เท่าทัน คุณรับลูกเป็น คุณประสานเป็น คุณรับงานเป็น คุณทำงานร่วมได้ โดยฐิเต โดยจิตก็แข็งแรง โดยจิตจะมาแรง แหมคนนี้ รู้ ทำงานกับคนนี้ๆ ลีลานี้ คน คนนี้แรง คนนี้มาขนาดไหน รู้ตัวบ้าง ไม่รู้ตัวบ้างก็ตาม เราก็ยังฐิเต เราก็อาเนญชัปปัตเตอยู่ จิตวิญญาณเรา จะแข็งแรง

นี่เป็นเครื่องพิสูจน์ความจริง ไม่ใช่คุณไปนั่งคิดเอาเอง ดับแล้ว สงบแล้ว นิ่งแล้ว ไม่มีอะไรกระแทก ไม่มีอะไร เป็นเหตุปัจจัย ไม่เรียนรู้อะไร ไม่รู้เรื่องอะไรเลย มันมาเหนือมาใต้ มันมาเขียว มาแดง มันมาอย่างโน้น อย่างนี้ ไม่รู้เรื่องโลกเลย คุณจะรู้แต่ว่า มันหยุดๆๆๆ แต่ไม่รู้ว่า แล้วคุณต้านทาน แรงโลก โลกีย์เหล่านี้ไหวไหม เพราะโลกุตระนี่ อยู่เหนือมัน รู้จักมันหมด มันจะมาแรงอย่างไร ลีลาไหน แบบไหน ทุกอย่าง จิตฐิเต อาเนญชัปปัตเต จิตแข็งแรง ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว ผุฏฐัสสะ โลกธัมเมหิ จิตตัง ยัสสะ น กัมปติ น กัมปติ หรือ อเนญชา เหมือนกัน น กัมปติ เป็นภาษา ๒ คำ ไม่หวั่นไหว กัมปติ ไม่เคลื่อน ไม่เกิดอะไรขึ้น เพราะฉะนั้น การมาประจำถิ่น ร่วมหมู่นี่ ก็คือ จะต้องพยายามสร้างสภาพนี้ ขึ้นมาอีก นี่เป็นนโยบายหลัก ในการศึกษาตอนนี้

ทีนี้ มีหลายอย่างที่พวกเราได้วิเคราะห์ วิจัยกัน อาตมาใช้เวลานี้ ก็คิดว่าวันนี้ แจกเข็มเสร็จแล้ว จะได้พูดอีก เพิ่มเติมเวลานั้น แต่พูดตอนนี้ไปก่อนก็ได้ พูดได้เยอะๆ พูดได้ ไม่มีปัญหาอะไร เพราะยังมี รายละเอียด ที่เราจะต้องอธิบาย ต้องบอกกันอยู่ เยอะแยะ อาตมาตั้งใจว่า อันนี้จะพูดในตอนแจกเข็ม หรือตอนเทศน์ ตอนโน้น เอาละ อันนี้เอาไว้ ตอนนี้พูดกว้างๆ พูดรวมๆ นี่เสียก่อน เพราะฉะนั้น ผู้ที่จะมาเข้าประจำนิสิตนี้ ก็คือ จะต้องมาเป็น ผู้ที่มารวมกันอยู่ประจำที่ และสร้างขบวนการกลุ่ม จะต้องเรียนรู้ขบวนการกลุ่ม หรือตอนนี้ เราทำขบวนการกลุ้ม สร้างขบวนการก็จริง แต่สร้างขบวนการ แบบที่มันเกิดความกลุ้มขึ้นมา แก่เพื่อนฝูงด้วย ตัวเองก็กลุ้ม เพื่อนฝูงก็กลุ้มกันใหญ่ คนดูก็กลุ้ม เป็นขบวนการกลุ้ม คือมันไม่เป็นกลุ่ม แล้วมันก็ไม่เป็นมวล แล้วมันก็ไม่ประสาน แล้วมันก็ไม่เป็น หนึ่งเดียว แล้วมันก็ไม่มีพลัง อะไรก็แล้วแต่ แล้วไม่มีประสิทธิภาพ อาตมาก็ไม่รู้จะอธิบายอย่างไร มันไม่ง่ายนัก แต่ว่า การมารวมขบวนการนี่ ก็จะต้องว่ามา

ยกตัวอย่างง่ายๆ แต่แค่ประชุม ประชุมนี่กลุ้ม ที่จริงจะทำให้มันเป็นหนึ่งเดียว แล้วมีมตินะ ประชุมนี่ แต่เสร็จแล้วกลุ้ม เพราะ ๑. สรุปมติไม่ได้ ๒. สรุปมติได้ แต่ไม่ทำตามมติ ก็ กลุ้มทั้งนั้นแหละ นี่พวกนี้ที่ เป็นความไม่เข้าใจ หรือมันไม่ฉลาดพอ ฉลาดพอแต่จิตมันยังยึดติด มันก็ยังยึด เอาละ มีมติแล้ว พอแยกออกไป ไม่ทำตามมติแล้ว คนละเล็ก คนละน้อย ตะแบงไป คนละเล็ก คนละน้อย ก็ตาม บางคนตะแบงไป อย่างเห็นชัดๆ เลยนะ กูไม่เอากับมึงวะ มติก็ช่างมติวะ นี่เป็นขบวนการกลุ้ม อย่างนี้ เป็นต้น เพราะฉะนั้น เราจะต้องรู้ว่า ขบวนการกลุ่ม ก็มีวิธีการของเรา มีลักษณะของเราทุกอย่างอยู่แล้ว ต้องทำให้ลงตัว ต้องทำให้ดี

ทีนี้ก็เหมือนจะจำกัดอิสรเสรีภาพกันมากก็คือ เมื่อมีขบวนการกลุ่ม หรือมีประจำที่แล้ว คนอยู่ประจำที่ ประจำถิ่น ทีนี้ นิสิตทุกคนจะไป-มา ครูครับ ผมขอลาไปปัสสาวะ ต้องบอก ปวดปัสสาวะ จะออกไป ปัสสาวะ ก็ต้องลาก่อน จะไปนั่น มานี่ ไม่ใช่ว่า ฉันอิสระ ฉันอยากจะไปก็ไป ฉันอยากจะมาก็มา ไม่เอา พอพูดอย่างนี้นี่ พวกคนวัดที่ไม่เป็นนิสิตนี่ ยิ้ม เอ๊ย เราไม่เข้ากรอบนี้ ก็ไม่เข้ากรอบหรอก แต่คุณ จะตกกรอบ มันจะเป็นพวกอะไรละ แกะหลงฝูง ตกฝูง ก็หมาจิ้งจอก ก็มาเอาไปกิน โลกก็ดึงออกไป ฉันอิสระ ฉันไม่ได้อยู่ในกรอบ ไม่ต้องไปตาม มันก็มองไปได้หลายมุม ใช่ไหม เพราะฉะนั้น จะไปจะมา จะอยู่อะไรต่างๆ นานา ต้องแจ้ง ต้องขออนุญาต อันนี้เป็นจุดเน้นนโยบายหลักตอนนี้ เพิ่มขึ้นมา มันก็จะมีอีกในอนาคต เราจะทำไปเป็นคราวๆ อย่างนั้น อย่างนี้ แล้วเรียนรู้ แล้วฝึกฝน แล้วมันจะเกิดประโยชน์

ขณะนี้ เรามีความต้องการพลังรวม ที่จะมาร่วมกันทำงาน ต้องพยายามศึกษาตนเองเลยว่า เราเอง ทำงานได้แต่คนเดียว เก่งคนเดียว คนไทยนี่ ประเทศไทยนี่ ได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่เก่งคนเดียว ชกมวย นี่เก่ง เพราะว่าคนเดียวสู้ เตะฟุตบอลไม่เก่ง เพราะมันต้องเป็นทีม เตะฟุตบอล เอาชนะเขาไม่ได้ แต่ทีมวยนี่ ได้แชมเปี้ยนเยอะเลย ฟุตบอลนี่ อีกนาน กว่าจะได้เหรียญทอง ทีมชาติไทยได้เหรียญทอง โอ๊ย นาน อีกนาน ชกมวยนี่ เป็นแชมเปี้ยนได้ เก่ง อะไรที่วิชาเดี่ยวๆ นี่เก่ง อันนี้ก็เป็นจริงละนะ

ทีนี้เราไม่เอา เราจะมาเปลี่ยน คนที่มีฐานเจโต หรือนิสัยเจโต จริตเจโต ก็ต้องมาศึกษาปัญญา เรียนรู้ปัญญา แล้วเอาปัญญานั่นมาประกอบ กับเจโตของเราใช้ เจโตของเราลืมๆ ทิ้งๆมันเสียบ้างก็ได้ มันไม่หายไปง่ายๆ หรอก คุณเอาอันนี้ สายปัญญา ก็ต้องเอาเจโตสมถะ ไม่มีฟุ้ง โอ้โห หยุดไม่ลง อะไรไม่ลง ก็ต้องหาเจโต พึ่งเจโต หาเพื่อนเจโต ไม่ใช่ว่า โอ๊ยนี่ คนละพวก เราเจโต นี่มันไม่ใช่พวกเรา ทะเลาะกับมัน ไม่ใช่ คุณจะต้องญาติดีกับศัตรู ญาติดีกับอีกฝ่ายหนึ่ง คุณขาวต้องญาติดีกับดำ คุณดำต้องญาติดีกับขาว นี่ต้องเรียนรู้ แล้วก็ต้องฝึกฝนให้จริงนะ ไม่เช่นนั้น รวมกันไม่ติด ร่วมกันไม่ได้ ยิ่งมายึดแต่เรา จะเอาแต่พวกเรา อะไรอย่างนี้ เราดำ ก็จะเอาแต่พวกดำ ไม่ได้ อย่างนี้ ไม่ใช่ทางปฏิบัติ ของศาสนาพระพุทธเจ้า

ศาสนาพระพุทธเจ้านี่ จะต้องปฏิบัติให้ทุกอย่างให้กลายเป็นไปได้ ตามที่เราเข้าใจ และเรามีปัญญา แล้วอันนี้ เราต้องการอันนี้ เราได้อย่างนี้ๆ ทำให้ทุกอย่าง ไม่ยึด ไม่เกาะ ไม่ติด สุดท้าย จะรวมก็ได้ จะแยกก็ได้ จะเอาก็ได้ จะไม่เอาก็ได้ อย่างนี้เป็นต้น เพราะฉะนั้น ต้องเปลี่ยนอันเดิมของเรา เราเจโต ต้องเปลี่ยนเป็นปัญญา ปัญญามาเปลี่ยนไปเป็นเจโต ต้องพยายามพัฒนาไป จะแกล้งยังไงก็แกล้งได้ คุณแกล้งเจโต ก็แกล้งไปเป็นปัญญาบ้าง ที่จริงมันก็คือ ศึกษานั่นแหละ ไม่ใช่แกล้งหรอก ทำโดย เจตนา ด้วยความรู้ ก็เปลี่ยนแปลงไป แล้วพยายามกระทำ

สิ่งที่เราทำอยู่ ประโยชน์ตน ก็ตาม ประโยชน์ท่าน ก็ตาม มันเป็นอันเดียวกัน พระอรหันต์ หมดประโยชน์ตน เหลือแต่ประโยชน์ท่าน ประโยชน์ตนที่พระอาริยะจะได้ คืออะไร คือเสียสละ แล้วเสียสละของตนหรือของเขา ประโยชน์ตนที่พระอาริยะจะได้ คือ เอาออก คือเนกขัมมะ คือจาคะ คือเสียสละ คือสูญ คือไม่เหลือ คือให้ไปให้หมด นั่นคือประโยชน์ตน แล้วให้นี่ เป็นประโยชน์ท่าน หรือเขาได้ไป หรือว่าเราได้ เมาทั้งคู่นั่นแหละ คุณให้เขาไปนี่ เขาได้ หรือเราได้ เมา มันอันเดียวกัน เราได้ให้นี่ละ เรียนให้จริง มันให้จริงหรือเปล่า ให้หมดจริงหรือเปล่า โอ๊ ไม่ใช่ง่ายเลยนะ แต่สุดท้าย จะอันเดียวกัน เพราะฉะนั้น คุณล้างกิเลสหมด เป็นพระอรหันต์แล้วนี่ ล้างจริงแล้ว คุณให้เมื่อไร ก็ให้จริงๆ ไม่เหลือตัวตนเลย ไม่เหลืออะไรเป็นเรา เป็นของเรา ไม่ต้องการอะไรมาให้แก่เราอีกจริงๆ เลย พระอรหันต์ก็เลย เหลือแต่ประโยชน์ท่านอย่างเดียว

ขณะนี้ เราก็มาฝึกประโยชน์ตน ประโยชน์ท่านนี่แหละ เรียนรู้ความจริง ความจริงมันอันเดียวกัน แต่จริงๆ ก็คือเราเอง ยังมีตัวหลอกตัวเอง ตัวแอบแลบเลีย เอาโน่น เอานี่ เอาดีใส่ตัว ยังกกดีนั้นไว้ ยังมีบุญมีคุณ ยังมีโน่นมีนี่ อะไร โอ๊ มันไม่หมดง่ายๆ เพราะฉะนั้น การที่จะมาเรียนรู้นี่ เหน็ดเหนื่อยก็ดี ยากก็ตาม เป็นสิ่งที่ท้าทาย ขี้เกียจนี่ ตัวร้ายละ ตัวสำคัญ มันรู้ว่าดี น่า เขาก็เยอะแยะไปคนดีๆ กว่าเราเยอะ แน่ะ ถ่อมตัวเสียด้วยนะ คนดีๆ กว่าเราเยอะ แต่ที่จริง ตัวเองแก้ตัว ขี้เกียจ ตัวเอง นั่นแหละ เลวอยู่ตรงนั้นแหละ มันไม่ใช่ คนดีๆกว่าเราเยอะหรอก ตัวเราเลว ก็เราไม่มีน้ำใจไปช่วย ร่วมไม้ร่วมมือ ต้องการแรงงาน ๑๐ คนนะ เออ มี นึกไปแล้วนี่ เอ๊ เห็นหน้าอยู่นั่นเกิน ๑๐ คน เราไม่ต้องไป มันยิ่งกว่านี้นะ มันฉลาดยิ่งกว่านี้นะ ใช่ไหม เคยแก้ตัวนี่ ฉลาดกว่านี้ไหม อาตมาคิดไม่ถึง หลายๆ อย่าง อาจจะมีนะ มันแก้ตัวได้สารพัดแหละ ขี้เกียจก็ดี เหนื่อยก็ดี หนักก็ดี ยากก็ดี อะไรก็ตามใจ มันเป็นสิ่งท้าทาย ที่เราจะต้องเรียนรู้ตัวเองว่า ละตัวละตนนี่ มันไม่ใช่ง่าย ถ้าทำได้ มันก็จะเกิดพลังรวม เกิดพลังงาน เกิดความชำนาญ เราก็ไม่ตกต่ำหรอก เรามาทำงานนี่ อย่างน้อย ก็เกิดงานที่เราทำ เราทำของเรานั่น มันมีสูตรของเราอยู่แล้ว คุณทำ คุณไม่ได้เอาค่าแรงงานอะไร ไม่ได้เอาอะไรแลกเปลี่ยนมาให้แก่ตัวเอง แล้วคุณก็ได้กุศลนั้นอยู่แล้ว เป็นของคุณอยู่แล้ว ใครงง ใครสงสัย ใครจะแย้ง เงียบ รู้ดีทุกคน เพราะฉะนั้น มันเป็นสัจจะ มันเถียงไม่ได้หรอก มันเป็นของเรา ไม่เอาเป็นของเรา ก็ต้องเป็นของเรา พระเจ้าไม่บันทึกนั่น ระวังเถอะ ลงโทษพระเจ้า พระเจ้าบันทึก แล้วว่า เป็นของเรา ของเราทำ มันเป็นกรรม เป็นกุศล สิ่งนี้ดี ก็ดีไปแล้ว ได้ไปแล้ว ไม่ต้องจำ ไม่ต้องจด ไม่ต้องอะไรทั้งนั้นแหละ ขอให้รู้ว่า นี่เป็นกุศลกรรม เป็นกรรมที่ดีนะ คุณธรรมจริงๆ แล้วเราละเอียด ขนาดไหน ทำให้ได้ประโยชน์ตน ประโยชน์ท่าน

ตอนนี้งานด้านนอก ด้านนั้น ด้านนี้ อะไรอีกมากมายเข้ามา อาตมาก็ได้แต่ปรามกันไว้ว่าอย่าเพิ่งนะ ตอนนี้มันจะกว้าง กระแสที่มานี่ อาตมาจะวัดดู จริงหรือไม่จริงก็ตาม เข้าใจผิดบ้าง เข้าใจถูกบ้างก็ตาม เช่น มี เขาทำของชำร่วย เป็นพัดใบหนึ่ง แล้วเขาก็เขียนตัวหนังสือใส่ในนั้นว่า ศีลเด่น เป็นงาน ชาญวิชา เป็นพัดของ โรงเรียนเขานะ โรงเรียนนี้ คือ โรงเรียน นวมินทร์ราชินูทิศ นวมินทร์อยู่ใกล้ๆ กับสันติอโศกเหมือนกัน โรงเรียน นวมินทร์ราชินูทิศ เป็นโรงเรียนในราชินูปถัมภ์ พระราชินีอุปถัมภ์ แล้วเขามีโลโก้ของพระราชินีนะ มีลัญจกร ส.ก. ของพระราชินี ติดอยู่ด้วย เสร็จแล้ว เขาก็มี curve โค้งๆ ในนั้น สีเด่นชัดเลยนะ ศีลเด่น เป็นงาน ใครเห็นแล้วบ้าง อาตมาเคยเอามาโชว์ ศีลเด่น เป็นงาน ชาญวิชา ซึ่งเป็น motto ของพวกเรา ศีลเด่น เป็นงาน ชาญวิชา มีคนสงสัยว่า เอ๊ะ พ่อท่านไปเอา ของเขามาหรือเปล่า อาตมาก็บอก เอ๊ ระลึกดูแล้ว ก็เราคิดจริงๆ เลยว่าจะเอาคำอะไรวะ มาต่อศีล กับ งาน กับวิชาการนี่ ศีลเด่น เป็นงาน คิดออกเร็ว เออศีล มีศีลเด่นก็เป็นงานได้ ชาญวิชานี่ คิดอยู่ตั้งนาน อะไรว้า มันจะวิชาการ วิชาการอยู่นั่นละ การวิชา มันไม่รู้เรื่องนะ เป็นงาน การวิชา ยังคิด ยังจำได้ อยู่เลยว่า เราจะเอาศีลเด่น เป็นงาน การวิชา ไม่รู้เรื่องแน่ มาคิดคำว่า ชาญ เออ วิชานี่มันต้อง ให้เก่งวิชาด้วย ใช้ได้ๆ ศีลเด่น เป็นงาน ชาญวิชา มันหมดเลย ศีลเด่นนี่ มันบอกลักษณะของ ขยายคำว่าศีลอยู่แล้ว ว่า ยินดี ดี เด่น เด่นนะ เป็นงาน งานต้องเป็นๆ นะ มันได้อยู่แล้ว เออ วิชานี่ ก็ต้องเชี่ยวชาญนะ ชาญนะ เออดี จึงได้คำ ๓ คำนี้ เราก็ว่าเราคิดนะ เอ๊ มันใช่ของเรา หรือเปล่าว้า มาดูแล้วมันของเรา ทำไมเขาเอาไป เออ ตรงนี้เป็นคำถาม ไม่ต้องโทร เพราะมีคนรายงานแล้ว เขาก็ยอมรับว่าเป็นของเรา เขาไม่ได้ขี้ตู่ แต่เขาเต็มใจที่จะรับอันนี้ นี่ก็เป็นข้อมูลที่เราฟังแล้ว ก็บอกว่า เออ เดี๋ยวนี้ อีแร้งนี่ มีคนอยากเห็นหน้า อยากจะดมกลิ่นบ้าง นิดๆ กลิ่นเราสะอาดขึ้นหน่อยหนึ่ง อีแร้ง อย่างนี้เป็นต้น

ที่อาตมาหยิบอันนี้มายกเป็นตัวอย่าง ก็เพื่อให้เห็นกระแสของสังคม ถึงขั้นที่ว่า โรงเรียนนี้นี่ว่า ที่โรงเรียนนี้ ก็มีเด็กของเรา เด็กอโศกเรานี่ เด็กสัมมาสิกขาสันติ นายกั๊ก ไปเข้าโรงเรียนนี้ ไปเรียน ม.ปลายที่นี่ ได้เป็นประธาน นักเรียนเลย เขาชอบ แล้วเขาก็พูดฝากมาบอกว่า เด็กสันติอโศก เมื่อไรจะไปเข้าอีก บอกด้วยนะ รับทุกคน ว่าอย่างนั้นนะ เด็กสันติฯออกมา รับทุกคน ก็แสดงว่าเขาเอง เขารับอันนี้ได้ แล้วรับชื่นชอบ นี่เป็นตัวอย่างให้เห็นว่า หลักการของเรานี่มันยากนะ ศีลเด่น เป็นงาน ใครวะจะเป็นไปได้ มาถือศีล ขนาดที่เราไป นี่ พวกที่ครูอะไรไปประชุม ไปพูดกัน ไปสัมมนาวิถีพุทธ อะไรนี่ บอก โฮ้ย ไม่ได้ ให้ถือศีล ให้ครูถือศีลก่อนนี่ จะไปทำยังไง แล้วไปให้เด็กถือศีล สุดท้ายจำนน ให้เด็กถือศีลเอา แต่ให้ครู อย่าเพิ่งนะ โอ้โห อย่าว่าศีลเด่นเลย ถือศีลยังไม่เอาเลย แล้วมันจะไป ไหวหรือ เพราะฉะนั้นมันยาก คนมันยังไม่รับอะไร แต่ขนาดนี้ เขาตั้งใจ เขาก็ยินดีรับขนาดนี้ มีอัตราก้าวหน้า มันคืบเข้าไปสู่จิตมนุษย์ เข้าไปสู่สภาพอะไรนี่ มันก็เจริญละนะ ที่อาตมาเล่าละเอียด เล่าอะไรต่ออะไรให้ฟัง ให้เข้าใจนี่ สิ่งต่างๆ พวกนี้ มันก็คือมนุษยชาติ มันก็ดีขึ้น

อย่าว่าแต่ ศีลเด่น เป็นงาน ตอนนี้นี่ แหล่งสื่อสารต่างๆ นี่ เขาก็ไม่ชอบหน้าอโศก เราพยายามส่งข่าว ส่งคราว เชื่อมสัมพันธ์ เขาไม่เคย ต่อให้ ลงข่าวให้หน่อยนี่ ไม่มี เขาจะต่อข่าวของอโศกนี่ยาก สุดยาก ขนาดสนิทกัน ยังไม่ค่อยจะลงเลย เดี๋ยวนี้ก็ยังไม่ลง นอกจากจะไม่ลงแล้ว อย่าว่าแต่ไม่ลงให้เลย จะให้โปรโมตนี่ อย่ามาหวัง ให้โปรโมตให้อโศก นี่อย่าหวัง ไม่รู้ว่าเราไปจ้าง ไปลงโฆษณา เราจ้างเขา ให้ลงโฆษณาอโศกนี่ เขาจะรับลงโฆษณา ให้แก่อโศก หรือเปล่าไม่รู้ แต่เขารับโฆษณาเหล้านั่น เขารับนะ รับโฆษณาเหล้านั่นรับ ดีไม่ดีโฆษณายาบ้า เขาอาจจะรับก็ได้นะ แต่อโศกนี่จะไปจ้าง จ้างลงโฆษณา เขาจะลงโฆษณา หรือเปล่า ยังไม่รู้ นี่พูดให้ฟังนี่ เหมือนกับว่า เหมือนกับเขา รังเกียจอะไรอย่างนี้ จะคือขนาดอย่างนั้น

แต่เอาเถอะ มาถึงวันนี้แล้ว สิ่งเหล่านี้จางคลายไป สิ่งเหล่านี้ดีขึ้น หือ อะไรนะ อะไร ทำไม อ๋อ ไม่ใช่ หมอประเวศ พูด หือ ทำไม หมอประเวศหรือ เขาบอกว่าหมอประเวศ หรือ หมออื่น หมอคนอื่นไม่ใช่หรือ หมอประเวศเลยหรือ เอ๊ ผมไม่ได้เข้าใจว่าเป็นหมอประเวศ ผมเข้าใจว่าเป็นหมอคนอื่น ผมว่าหมอ คนอื่น ก็อุ่นใจแล้ว นี่ยังบอกว่าหมอประเวศ ท่านองค์นี้ได้ฟัง คือ มีข้อมูลมาตอนนี้ ตุ้ม หรือคุณ ธารดาว ทองแก้ว พี่สาวของคุณทองแก้ว ทองแก้วนี่ ไม่ทองแก้วแล้ว ทองแก้ว เขานาวาบุญนิยมแล้ว ส่วนทองแก้วอันนั้นยังทองแก้วอยู่ สุมาลี เดิม ก็ ตุ้ม เขาทำงาน อยู่หนังสือหมอชาวบ้าน แต่ก่อนนี้ เขาก็เคยเสนอ จะสัมภาษณ์อาตมานี่ลงหนังสือหมอชาวบ้าน แต่มาคราวนี้มาบอก ก่อนจะมานี่ บอกขอสัมภาษณ์ แต่นี่ยังไม่ได้สัมภาษณ์ ยังนัดไปสัมภาษณ์ จะไปลงหมอชาวบ้าน เขาก็มาขอเสนอ เข้าที่ประชุม บอกว่าจะขอสัมภาษณ์ อย่าหาว่าเป็นลูกศิษย์เลยนะ เขาว่าเขาพูด เขาก็เล่าให้ฟังเต็มๆ ละว่า อย่าหาว่าเป็นลูกศิษย์เลยนะ บอกว่าขณะนี้นี่ มันก็น่าจะเป็นผู้ที่ทำงานกับสังคม ช่วยสังคมมานี่ ก็เป็นที่ยอมรับกัน ขนาดนี้แล้วนี่ จะได้ไหม จะสัมภาษณ์ท่านโพธิรักษ์มาลง ข้อมูลมา เขาก็คือบอกว่า อือ เอา เอาได้ ขนาดนี้ได้แล้ว ของจริง เขาว่าของจริง เขาใช้ศัพท์นี้ คำนี้ อือเอาได้ ของจริง เขาว่า พิสูจน์แล้วว่าของจริง แต่ มีแต่อีก อย่าโฆษณามากนะ มีอย่างนี้อีก อย่าโฆษณาพวกอโศกมากนะ ยังมีกำชับกำชาอย่างนี้อีก

แม้คำพูดเหล่านี้ ถ้าจริงมันก็บอกทุกอย่าง คือ ความจริงใช่ไหม มันบอกอะไร พวกคุณก็คงมีปฏิภาณรู้ มันบอกอะไร มันมีความรับ มันมีการยอมรับ รับแค่ไหน ไม่รับแค่ไหน อะไรต่างๆ นานา พวกนี้ ซึ่งอาตมาเอง อาตมาว่า อาตมาเข้าใจโลก เข้าใจโลกีย์ เพราะฉะนั้น อาตมาไม่ได้ว่าอะไรหรอก อาตมายินดี เป็น อีแร้ง อาตมาไม่ได้ประหลาดเลยนะ คนจะไม่รักอีแร้ง อาตมาก็ไม่ว่า อาตมาเอง อาตมาจะดูที่ตัวเองว่า เอ๊ เราเอง เรานี่ เผลอไผลไป เราเอง เราเพี้ยนไหม สิ่งนี้เป็นกุศล หรืออกุศล มันเป็นกุศลแท้ หรืออกุศลจริง ชัดเจนให้ได้ ถ้าอาตมาใช้ปัญญาสุดยอดแล้ว พยายามตรวจสอบ ข้อมูลอื่นๆ สิ่งแวดล้อม วัดจริงๆ แล้ว ลึกซึ้ง ที่เรารู้ลึกซึ้งหลายๆ อย่างนี่ อันนี้เป็นกุศลแท้ เราก็ต้อง ยืนยันบ้าง บางอย่าง กุศล ก็ยังยอมอนุโลม เออ มันยังจะต้องเปื้อนๆ หน่อยๆ ก็ต้องยอมเขาก่อน กาลัญญุตา บางที กาละมันยังไม่ได้ อย่างนี้ เราก็ต้องยอมจำนนให้ แค่นี้ก่อน ได้แล้ว เราเข้มขึ้นมาแล้ว เราได้ของเรา เราจะอนุโลมคนอื่นอะไร พวกนี้ต้องคำนวณหมด

เพราะฉะนั้น ในการศึกษาที่จะมาเป็นคนที่บริสุทธิ์ ไม่เป็นทาสใคร และเราแข็งแรง สามารถอนุโลม คนอื่น อุ้มคนอื่น เปื้อนกับคนอื่น แต่ไม่ติดเรา เราเปื้อนโคลน โคลนของคนนั้นของคนนี้ ของเขา ทั้งนั้นแหละ แต่เรานี้ ไม่ดูด ไม่ซับแล้ว เหมือนน้ำกับใบบอน ไม่ดูด ไม่ซึม ไม่ซับได้จริง เปื้อนเท่าไร ก็เปื้อนได้ มันจะเปื้อนมากเข้า ทนไม่ไหวนะ คนที่ไม่มีอินทรีย์พละพอ เปื้อนมากขนาดนี้ คุณถูก ซึมซับแล้ว เพราะฉะนั้น ต้องดูตัวเองให้ดีว่า เราอนุโลมขนาดนี้นี่ เรารอดไหม เหมือนคนอยู่ปากบ่อ จะอนุโลมเอื้อมลงไป ช่วยคนอยู่ใต้ก้นบ่อ น้ำหนักเท่านี้ เราสามารถที่จะยื่นแรงเข้าไป ได้เกินนี้ไหม ถ้าเกินนี้ เราหลุด หัวทิ่มตกบ่อตามเขาไป ถ้าขนาดนี้ เรายังมีแรงมากพอ ที่จะดึงเขาขึ้นได้ คุณก็ต้อง ประมาณของคุณเอง ไม่มีใครที่จะบอกคุณได้ดีเท่าคุณเอง อย่าประมาท

ถ้าเราทำได้ เราก็จะเป็นคน พระพุทธเจ้าเป็นคนอย่างที่ พระพุทธเจ้าท่านสอน เป็นคนประเสริฐ เป็นคนมีประโยชน์ต่อผู้อื่นอย่างมาก ประโยชน์ตน ก็คือ กิเลสหมด จบ แล้วคุณจะไม่เป็นพิษเป็นภัย กับใครเลยในโลก มีแต่คุณจะเป็นประโยชน์ต่อโลกทั้งนั้นเลย แล้วคนชนิดนี้ไม่สร้าง แล้วจะไปสร้าง คนชนิดไหนละ ทุกวันนี้ มหาวิทยาลัยต่างๆ นี่ มันสร้างคนขึ้นมา มาดูด มาทำลาย มาเอาเปรียบเอารัด เสร็จแล้วก็ไปสร้างหลักเกณฑ์ ในสังคมขึ้นมา แล้วก็สร้างหลักเกณฑ์ เอาเปรียบหมดเลย ตัวเองมีฤทธิ์ แรงมาก แล้วยังไม่พอ ไปสร้างหลักเกณฑ์ไว้ให้แก่ตัวเองได้เปรียบอีกหมด พรรคพวกตัวเองอะไรเอง หมดเลย ข้างล่างต่อสู้ไม่ไหวหรอก เมื่อไรข้างล่าง ก็ต่อสู้พวกนี้ไม่ไหว แล้วคนก็จะขึ้นเป็นพวก ที่ได้เปรียบ แล้วพวกเรานี่ ก็ไม่ใช่คนต่ำต้อย พื้นฐานคุณจะเป็นคนสูง คุณจะเป็นคนต่ำ คุณจะเป็น คนรากหญ้า หรือ คุณจะเป็นคนหอคอย ก็ตาม เราไม่เอาเปรียบ ทั้งนั้นแหละ แม้เราจะเป็นคน หอคอยได้ เราก็ไม่เอาเปรียบ เราจะเป็นคนรากหญ้าได้ เราก็ไม่เอาเปรียบอยู่แล้ว หรือเราก็ไม่เอาเปรียบ จริงๆ แต่คนรากหญ้า มันก็จะพยายามเอาเปรียบเหมือนกัน เมื่อมันไม่เรียน ไม่ศึกษา แล้วไม่ละกิเลส มันก็เลยทุกอย่างมีแต่ศัตรู

เอ้า เลยเวลาไป ๖-๗ นาทีแล้ว เอาละ มันก็มีอะไรที่จะพูดกันไป อาตมาจะมีอายุยืนไปอีกเท่าไหร่ อาตมาก็คงต้องบรรยาย แล้วก็พูดให้พวกเราเข้าใจ พวกเราที่ใส่ใจธรรม ฟังธรรมไม่เบื่อหรอก ถ้าเข้าใจธรรมะ แล้วมันจะรู้ประโยชน์ แต่อย่าเอาแต่รู้ ต้องรู้ฐานะตัวเองว่าตอนนี้ เราถึงตรงไหนแล้ว อะไรเป็นสักกายะ อะไรที่เป็นตัวการ ตัวการตัวสำคัญ ตัวที่ได้แล้วก็คือได้แล้ว ตัวที่ยังไม่ได้ คุณจะต้อง รู้ตัวนั้น แล้วละ แล้วลด แล้วล้าง ลูกพระพุทธเจ้ามีหน้าที่ล้างกิเลส งานการมันไปด้วยกัน ทำงาน ไปด้วยกัน ล้างกิเลสไปด้วย นี่คือความวิเศษที่สุด ของศาสนาพุทธ คือ ทฤษฎีวิเศษ ไม่ใช่ว่า ปฏิบัติธรรม ก็ต้องไปนั่งหาที่สงบ อยู่ต่างหาก ทำงานนี้ต่างหาก แยกกัน อันนี้ผิดมากเลย

เราทำงานนี่แหละ แล้วก็ต้องสร้างสรรด้วย ประโยชน์ตน ประโยชน์ท่านไปในตัว ขณะใดที่ประโยชน์ตน ยังไม่หมด ก็ได้ประโยชน์ตน ล้างกิเลสตัวเองไปด้วย ประโยชน์ท่าน ก็จะเกิดไปด้วย ที่เราปฏิบัติธรรม ปฏิบัติงาน งานการของ สหธรรมิก ของเพื่อนพรหมจรรย์ เราก็เอาภาระ ทำ พร้อมกันนั้น ก็เพ่งเล็งกล้า อยู่ ในอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ของเราไปพลางด้วยตลอด จนกว่าเราจะหมดประโยชน์ตน ก็คือ หมดกิเลส จบ เหลือแต่ประโยชน์ท่านอย่างเดียว เมื่อนั้น โอ้โห ถ้าเรามีแต่ประโยชน์ท่านอย่างเดียวกันนี่ ทุกคนนี่ประโยชน์ตนหมด โอ๊ะ คุณคิดดูซิว่า เราจะได้หมดแล้วนี่ อาณานิคมในโลกนี้นี่ มีขนาด ประมาณเท่านี้ นี่มีอรหันต์ประมาณเท่านี้ไปได้ รอดเลย ขนาดยังไม่มีอรหันต์ขนาดนี้ เราก็ยังได้ พอประมาณ ขนาดนี้ เห็นไหม ไม่ใช่อรหันต์ หรอกนี่ อะไร อะไรนะ วันนั้น อรเหาะอะไร ไม่ใช่หอย ไม่ใช่หือ อรห่วย หรือ ไม่ใช่ อระ อะไร วันนั้น ไม่ใช่อรเหว อรเหวเคยพูดมาแล้ว อระ อะไร ห.นี่ ผันไป ตัวอะไรไม่รู้ วันนั้น รู้สึกแปลกหูดี เอ้าเอาละ ช่างมัน คิดไม่ได้ ก็ช่างมัน ให้มันสะแลง คำสะแลง เล่นๆไป

พวกเราเป็นคนจริง มีสิ่งที่จริงนี้แล้ว มารวมนิสิตนี้ บอกแล้วนะ นโยบายหลัก ลดกามที่เหลือให้หมด ให้เป็นอนาคามี เป็นอรหันต์ให้ได้ แล้วก็ประจำถิ่น ขบวนการกลุ่ม ระวังจะเกิดขบวการกลุ้ม เอาให้ดี เอ้าเอาละ

- สาธุ


จัดทำโดย
ถอด โดย ประสิทธิ์ ฝ่ายทอง ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๔๖
ตรวจทาน ๑ โดย เทียนฟ้า บูรพ์ภาค ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๖
พิมพ์ โดย ทองคำขาว ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๔๗
ตรวจทาน ๒. โดย ป.ป.
พิมพ์ออก โดย ถทธ.
เข้าปก โดย สมณะพรหมจริโย
เขียนปก โดย พุทธศิลป์
TCT0486.DOC