ทำวัตรเช้า
โดย พ่อท่านสมณะโพธิรักษ์
ณ ชุมชนราชธานีอโศก
๒๙ ธันวาคม ๒๕๔๖

*****

เจริญธรรม ทุกๆ คน

วันนี้เป็นวันทำวัตรธรรมดาของชาวเรา ตอนนี้ เราทำวัตรวันจันทร์กันเป็นพิเศษ ถ้าอาตมาอยู่ อาตมาเทศน์ ลงทำวัตรวันจันทร์ วันจันทร์เป็นวันที่เราหยุดงานกัน ชาวอโศกเรา ใครทำโน่นทำนี่ทำอะไร ก็วันจันทร์ก็พัก ได้มีเวลา มานั่งฟังธรรมกัน พบกัน คุยกัน ทีนี้ตอนนี้เรา ที่บ้านราชนี่กำลังจัด เตรียมงานกัน นึกกันว่า เออแล้ววันจันทร์นี้นี่ มันจะใกล้ๆ วันพรุ่งนี้ก็วันสุกดิบแล้ว วันงาน พรุ่งนี้ ๓๐ วันนี้ ๒๙ งานวันที่ ๓๑ ก็ไถ่ถามกันว่า วันนี้จะเทศน์ไหม หรือว่าเราจะลุยงานกันต่อ อาตมาคิดเห็นว่า ยังมืดอยู่เลย อีตอนเทศน์นี่นา มันก็ไม่เห็นจะต้องไปเกี่ยวอะไร กับไปทำงาน มันทำอะไรไม่ได้ นอกจากแม่ครัว แม่ครัวก็แบ่งทำบ้าง อะไรต่ออะไรบ้าง วันนี้วันพัก จริงๆ ไม่ใช่พักหรอก วันนี้ เพราะเราต้องเตรียมงาน ยังไม่เสร็จกันอยู่อีกหลายอย่าง ทรายที่จะเอาไปปรับตรงนั้น เดี๋ยวเอวอ่อนวันนี้ ว่าจะเสร็จ ใช่ไหม กี่โมง ไม่เสร็จ ปัญหามากกว่าที่คิด พึ่งไม่ได้ พึ่งไม่ได้ต้องพึ่งคนแล้วอย่างนั้นน่ะ ทุกอย่าง

สุดท้ายมันก็ลงที่คน ย้ายภูเขา ถมทะเล อะไรก็แล้วแต่ ก็ต้องมาพึ่งที่คน เครื่องกล บางทีก็ช่วยได้ เอาก็ คงจะต้องช่วยกันน่ะ เอาทรายกองที่เหลือนี่ สองกองตรงนี้ เอาไปถมที่หน้า ที่มันเละๆ ข้างหน้า ไปทางครัวเก่า มาตรงนี้ นองอยู่ตรงนั้นน่ะ เอาทรายไปทำให้เป็น slope ขึ้นมาหาสระนี่เลย ทำเป็นเนิน ขึ้นมา แม้น้ำสระมันจะออกไป มันจะซึมออกไป มันก็จะไม่ขังแอ่ง แต่มันก็จะไหลออกไป แม้ว่ามัน จะเละ มันจะอ่อน เพราะว่ามีน้ำแล้วเราก็ทำใหม่ ทำใหม่ๆ มันยังไม่แข็ง มันยังไม่ยึดตัว มันจะอ่อน ก็ตาม ก็คิดว่า ก็คงไม่มีใครคิดจะไปเหยียบ ไปเล่น หนักหนาหรอก แล้วดีกว่าให้มันนองเจิ่งอยู่อย่างนั้น มันดูไม่ดีเลย ก็ต้องดูก่อน เอาลองดู ลองดูวันนี้ วันนี้วันที่ ๒๙ อย่างไรก็รู้กันแหละ วันนี้ พอถม เข้าไปแล้ว ถ้าเช้านี้ทำเสร็จก็ดี มันจะได้ถูกแดด ถูกอะไรต่ออะไรด้วย ถ้าทำช่วยกันทำแต่เช้านี่ อย่างไรๆ ก็ช่วยกันหน่อย เอาถังเป็นสายก็ได้ เอาสายพานเอาไปเทๆๆ ก็หมดกองนี่ นอกนั้นก็เหลือที่ประดับ ใครจะประดับ ตกแต่ง เอเปคอโศก คำว่าเอเปคนี่คือ ผักชีโดยหน้า คำว่าเอเปค คือตกแต่ง สแลงของเรา สแลงของชาวอโศก เราตกแต่ง หรือว่าผักชีโรยหน้า เอเปค ซึ่งเป็นธรรมดา ธรรมชาติ เมื่อเวลามีงาน เราจะต้อนรับ คนนั้น คนนี้มา เราก็ต้อง ปัดกวาดเช็ดถู เอาอันนั้นอันนี้มา ทำให้มันดูดี บ้านเรา ใครจะมาบ้านเรา ก็ทำเถอะ เราจะรกอย่างไร เราจะสกปรกอย่างไร เหม็นเน่าอย่างไร เขาก็มาดม ของเราก็แล้วกัน อย่างนี้ มันก็ไม่ดูดี เราก็ต้องเอาเน่าๆ เหม็นๆ ออก เอาอะไรหอมๆ ออกมาวางมาอะไร ให้เขาดมบ้าง เป็นธรรมชาติของมนุษย์ ใครๆ ก็ต้องทำ เพราะฉะนั้น เอเปค เขาก็ต้องทำ มันเป็นธรรมดา ก็ดีแล้ว ก็เพราะว่า เรื่องเอเปค นี่ ถ้าเราไม่มีงานนี่นา เราก็ไม่ได้ทำ อะไรมาก ขนาดนี้หรอก มันเกิดอะไรกันขนาดนี้เล่า ก็เพราะมีงานทุกทีเลยนี่ ต้องรับแขก เราก็ทำโน่น ทำนี่ขึ้นมา ประกอบขึ้นมา ไอ้โน่น ไอ้นี่ อะไร ที่พอจะมีแขกกี่คน มีแขกต้อนรับ มากขนาดไหน ระดับไหนอะไรก็ตามใจ เราก็ต้องจัด ให้มันเหมาะ มันสม

ถ้าในระดับที่เรียกว่า นายกจะมา เราก็ต้องทำแหม แข็งขัน ผู้ว่ามาก็ระดับหนึ่ง นายกจะมา ก็ต้อนรับ นายก ต้องแข็งขัน บุชจะมาก็ต้องต้อนรับอย่างบุช อาจจะต้องทำถนนกันเป็นตัวหนังสือ อังกฤษก็ได้ ถ้าบุชมาอะไรอย่างนี้ หรือว่ามันเกินกว่านั้น จะมายิ่งกว่านั้น เราก็ต้องทำยิ่งกว่าไปขนาดไหน พระพรหม จะมาอย่างนี้ เราก็ต้องต้อนรับ พระพรหม ให้สมศักดิ์ศรีพระพรหมอย่างนี้ มันเป็นธรรมดาธรรมชาติ แล้วเป็นการเกิดขึ้นมา คนมันเป็นอย่างนั้นแหละ ไม่ได้เสียหายอะไร ถ้ามันไม่เว่อเกิน แต่ของเราที่ทำนี่ ของเราทำเป็น แกนๆ หลักๆ เราทำไปแล้ว มันก็จะเป็นสิ่งที่อยู่ถาวรไป ก็อยู่อะไรต่ออะไร ใช้งานใช้การ เราจะทำอย่างนั้นเป็นส่วนใหญ่ แต่ถึงอย่างไรก็ตาม มันก็จะมีการตกแต่งประดับประดา ให้มีความสวย ความงามอะไรดูดี ตามความรู้สึกนึกคิด ของแต่ละคน บางคนก็ตกแต่งมากๆ บางคนก็แต่งน้อยๆ บางคนก็ แต่งประมาณกลางๆ อะไรก็ตามใจ ก็พอเป็นไป ยังเหลือตกแต่งเวที รายละเอียด ต้นหมาก รากไม้ หรือ ว่าจะมีอะไรต่ออะไรทำ ต้องไปเอาเสื่อน้ำมันผืนใหญ่ๆ หรือ อุทยานต้องไปขนมาอีก มาปูบนพื้นเวที คือทั้งที่นี่และทั้งเวทีชาวบ้าน กว้างขึ้นกว่าเก่า เวทีชาวบ้านก็กว้าง ใหญ่ขึ้นกว่าเก่า ตั้งเยอะ ที่นี่มันจะว่ากว้าง ว่าใหญ่มันก็ใหญ่แล้ว มันไม่ได้ใหญ่กว่าเก่าแล้ว หลายคนเรียกเวที อันนั้น เรียกเวทีชาวบ้าน ติดปาก ตั้งชื่อกันไว้ เวทีเราก็มีเวทีตั้ง ๒ เวที เวทีชาวบ้าน เวทีปีใหม่ บางคนเรียก เวทีปีใหม่ ท่านเดินดิน เรียกเวทีธรรมชาติ

เมื่อวานนี้ อาตมาก็ว่าเอ โน่นเวทีชาวบ้าน นี่เวทีชาวบ้านราชหรือ ไอ้นั่นชาวบ้านทั่วไป นี่เวทีปีใหม่ ว่าอย่างนั้น ก็น่าจะเข้าท่า เหมือนกันนา อาตมาว่า เวทีธรรมชาติ มันก็ธรรมชาติ ทุกแห่งแหละของเรา เวที ก้อนหิน ต้นไม้อะไร ที่โน่นก็คงต้องปลูกต้นไม้ อะไร แต่ว่ามันเพิ่งเสร็จ สดๆ จริงๆ เมื่อวานนี้เลย เพราะกางซาแลน ก็ยังไม่เสร็จสักทีหนึ่ง จะเอาเครื่องกลหนัก ไปช่วยทำ เพราะว่า มันหนัก มันกว้าง แรงคนไม่ไหว ที่จริงแรงคนก็ไหว ถ้าจะทำกันจริงๆ แต่มันก็จุกจิก มันจะต้องไปหนัก เครื่องกลหนัก มันช่วยทุ่นแรงได้ ก็เอาเครื่องกลหนักทำ ก็พอเป็นไป ก็ได้แต่โครงสร้าง ของดินกับหิน ต้นหมากรากไม้ หรือว่าอะไรที่จะเป็นหลักๆ เพิ่มเติมอีก ก็คงจะได้ตบแต่งกันต่อไป มันจะประสาน

เวทีชาวบ้านนั่นก็เลยประสานกับตีนภูเขา ตรงนั้นก็เปลี่ยนภูมิทัศน์ไป ภูเขาก็เลยดูเตี้ยลง เพราะว่า เรามีเวทีชาวบ้าน ไปต่อขึ้นมาให้มันเตี้ย ถ้าไม่มีอะไรไปตั้งต่อขึ้นมา มองผงาดเลย มันก็จะสูง นา ตอนนี้ก็ดูเตี้ยลงไป ก็ไม่เป็นไร ก็เป็นไปของมัน ประสานขึ้น เอาเรือขึ้นไปไว้บนนั้น ๗ ลำแล้ว มีเรือเรา มีเรือเขา คือเรือตั้งอยู่บนเขา ตั้งชื่อไว้แล้ว เฮือเขา เฮือเฮา เฮือเพิ่น เฮือโต เฮือหมู่ เฮือสู แล้วอะไรอีกลำ ๗ ลำ ขาดไปไหนลำหนึ่งล่ะ ที่ตั้งไว้แล้วน่ะ ไอ้เราก็จำไม่ค่อยแม่น ไม่ค่อยมีใครช่วยจำ ไม่ได้จำกัน เอาละค่อยๆ รื้อ ฟื้น ๗ ลำ ก็ตั้งชื่อกันไว้ง่ายๆ อย่างนั้นตัวนั้น ตัวอื่นๆ ตั้งชื่อไว้มหาศาล ตั้งชื่อไว้ถึง ๓๐ กว่าชื่อ เหลือแน่ เพราะว่าเรือเราตอนนี้เรือใหญ่ๆ มันเอา ไอ้นี่ก็เอา ๗ ลำแล้วใช่ไหม มันเหลือแน่ ไม่หมด ๓๑ ตั้งไว้ ๓๑ ชื่อหรือไรไม่รู้ เรือใหญ่เรานี่ มันก็ประมาณนั้นแหละ ประมาณ ๓๐ กว่าลำ ไม่ถึง ๔๐ ดี ๓๐ กว่าลำ ปีนี้ เราเปลี่ยนภูมิทัศน์ของบ้านราชนี่เยอะ เพราะได้หินมา ได้เรือใหญ่มา แล้วก็ จะเอาเรือ ขึ้นมาตั้ง มาอะไร ตามที่กะกันเอาไว้ ทำสำเร็จ หินก็ได้มาจำนวนหนึ่ง ก็ได้มาจัดท่าอาบ ได้มาจัดหน้าเวที ได้มา จัดไปชั้นหนึ่ง หินหนัก ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ อาตมาต้องลงลุย เสียตัวดำเลย ใครๆ ก็ทักว่าดำ แล้วอาตมาก็ บอกเขาว่า ไม่เป็นไรหรอก ตัวดำแต่ใจดีอย่างนี้ ไม่มีปัญหาอะไร แล้วเราก็ได้ เอาเรือขึ้นไปสำเร็จ การเอาเรือขึ้นนี่ ก็เป็นการรวมแรงรวมใจกัน ไม่ใช่เรื่องง่าย ไม่ใช่เรื่องธรรมดา เป็นเรื่องใหญ่ โดยเจตนา

อาตมาก็ตั้งใจจะให้พวกเรา ได้ร่วมกัน ออกแรงด้วยกัน ร่วมไม้ร่วมมือกันคนละไม้คนละมือ ถึงเอาคน มารวมกันร่วมพัน สรุปแล้วร่วมพันคน มารวมกัน เด็กๆ เด็กเป็นเนื้อเลย ผู้ใหญ่ไม่มาก เด็กมากกว่า ผู้ใหญ่ พวกเด็กนักเรียนสัมมาสิกขา มารวมกันพอดี ก็ร่วมพันคน มีวิดีโอไว้ฉายดูกัน เดี๋ยวกำลัง ตัดต่อกันอยู่ เดี๋ยวได้ดู ถ่ายไว้ทั้งวิดีโอ ทั้งภาพนิ่ง โอ้เป็นพันๆ ภาพนิ่งเป็นพันๆ ภาพ วิดีโอก็ตั้งหลาย วิดีโอ ๙ กล้อง กล้องถ่ายภาพนิ่ง ๒๐ กล้อง โอ้โฮ! ถ่ายกันจนกระทั่ง ไม่ต้อง เกรงใจเลย เป็นภาพ ประวัติศาสตร์ เรือหนัก ๘๐ ตัน ลำนี้มันไม่แน่ชัดว่าจะกี่ตัน ๓๐ .๔๐ ตัน ประมาณ ไม่แน่ใจ ก็คงประมาณนั้นแหละ เครื่องมือของลำนั้น ก็คงราวๆ ๔๐ ตันแหละ มันก็ไม่ได้ เล็กได้น้อยอะไร ขึ้นมาตั้ง เพื่อที่จะทำเป็น อาคารเรียน ทั้งตกแต่ง ประดับตกแต่ง พื้นภูมิทัศน์ของ บ้านราช บ้านราชเมืองเรือ ซึ่งเราก็ได้ค่อยๆ คิดมี ความคิดค่อยๆ เพิ่มขึ้นมาเรื่อยๆ ล่ะ คิดขึ้นมา อย่างโน้น ก็จะดีนะ อย่างนี้ดีนะ อะไรก็ว่าไป

จนกระทั่ง เอาขึ้นมาได้จนสำเร็จ ผ่านพ้นมาดีมาก ที่ดีที่สุดก็ตรงที่ว่า พวกเราร่วมมือกันจริงๆ ใช้แรงคนจริงๆ เรามีเครื่องกล ที่จริงมีเครื่องกลหนัก ถ้าเอาสลิง ทำสลิงผูก เข้าแล้วก็ใช้เจ้ายักษ์ หรือเจ้าแจ๊คช่วยกัน ค่อยๆ ลากขึ้นมามันก็ได้ มันเสร็จเหมือนกัน ใช้เครื่องกลลากขึ้นมาก็เรียบร้อย แรงดีเหมือนกัน ไม่มีปัญหามากด้วย ไม่ต้องกังวล เรื่องจะมีอุปัทวเหตุ จะมีโน่น มีนี่อะไรด้วย ก็กังวล ก็น้อยกว่าน่ะ ถ้าเราใช้คนนี่จะยากมากกว่า เอาเครื่องกลทำ ก็สำเร็จ เครื่องกลเราก็มี ที่เราทำได้สำเร็จ ทั้งหมดพรรคพร้อม ก็เพราะว่า เรามีทั้ง อุปกรณ์ ตั้งแต่แผ่นเหล็ก ลูกกลิ้งเหล็ก เฉพาะลูกกลิ้งนี่ ๑๐ ตัวนี่ ลงทุนซื้อเหล็กมา แล้วก็มาอ๊อก มาอะไร ซื้อเหล็กสดๆ มานี่แสนสาม เฉพาะเหล็ก มาแล้ว ก็มาทำเป็นลูกกลิ้ง มาอ๊อกต่อกันให้ได้ขนาด ๔.๕ เมตร แล้วก็ใส่หัว ใส่ท้าย ใส่ห่วงปิดให้ เป็นลูกกลิ้ง ที่มีที่ดึงที่จับ ที่จะทำงานได้ อย่างที่เห็นในเป็นรูปร่าง เอามาปรับปรุง ทำอะไรต่ออะไร พวกเราก็ต้อง ลงทุน ต้องอ๊อก ต้องติด ต้องต่ออะไรกันไป ถ้าจริงๆ แล้วลูกกลิ้ง ๑๐ ตัวนี่ถ้าขายกันจริงๆ แล้ว ไม่ต่ำกว่าสองแสน ไปซื้อไปหามา จากตลาด แล้วมีอุปกรณ์ สลิงก็ เส้นๆ หนึ่งก็เป็นหมื่นหลายหมื่น เฉพาะสลิงน่ะหลายหมื่นบาท เป็นแสน สลิงที่ใช้ด้วยกันนี่ ตัวเส้นโค้งนี่ก็ เส้นหนึ่งก็ตั้งหมื่นกว่า สองหมื่น เส้นยาวนั้นอีกเป็นเส้น รวมแล้วเป็นแสนเหมือนกัน แค่สลิงนี่นา ก็เป็นแสนบาท เสร็จแล้ว เราก็ มามีเชือกอีก ๑๐ สาย รวมแล้วเชือกที่เราผูกดึงกันนี่ ๑๐ สาย ดึงกัน อุปกรณ์อื่นๆ อีก เป็นรถช่วย ทั้งเจ้าโฟล์คลิฟ ทั้งเจ้าแทร็กเตอร์แท็คอะไร จนกระทั่งเสียระเนระนาดกันหมด พอเสร็จงานแล้วเสีย ต้องซ่อมกันทั้งนั้น ยังมีเจ้าแจ๊คเจ้ายักษ์ เจ้าแจ๊คตอนนี้ก็ไปช่วยทำติดเครื่องสูบน้ำที่ท้าย ที่ลานเบิ่งฟ้า กำลังตั้งอยู่ยังไม่เสร็จ ท่อน้ำมันยังไม่สมบูรณ์ ขาดท่อที่จะสูบยื่นเข้ามาสู่ท่อปูนที่เราจะไหล เราทำไว้ นานแล้ว ท่อปูนที่เราจะสูบน้ำแม่น้ำมูลเข้ามาไว้ในบุ่งเรานี่ ต่อไปบุ่งเราก็จะมีน้ำเต็มอยู่ตลอดเวลา ตามที่ต้องการ มันขาดก็สูบ ติดเครื่องสูบเข้า แล้วก็เอาน้ำไว้ เพราะฉะนั้น เราก็มีเครื่องเทคโนโลยี มี อะไรต่ออะไรพวกนี้ เราก็เอามาไว้ใช้ สำหรับใช้ประโยชน์ของเรา น้ำก็จะอยู่ น้ำก็จะมีเต็ม เรือก็จะลอย ลอยอยู่ข้างบนน้ำ บนอะไรต่ออะไรได้ อย่างตามที่ต้องการ

สิ่งเหล่านี้ก็ช่วยกันคิดช่วยกันทำขึ้นมา จนมาถึงวันนี้แล้ว อาตมาก็เห็นว่า บ้านราชนี่ กว่าจะเสร็จ กว่าจะปรับปรุงนั่น ปรุงนี่ ตบนั่นแต่งนี่อะไรไปนี่ แหมมันไม่ใช่เล่น ตอนนี้ก็จะโยกย้ายต้นยางมาปลูก หาต้นตาลมาปลูก หาต้นไม้มาปลูก อยู่ที่ไหนปลูกต้นไม้ทั้งนั้นแหละอาตมา อยู่ที่ไหนพากันปลูกต้นไม้ ชุมชนนั้น ชุมชนนี้ ก็ให้ปลูกต้นไม้กันขึ้นมา แล้วก็อาศัยต้นไม้ต่างๆ นานาอยู่ มันต้องอยู่ด้วยต้นไม้ อาตมาว่าบ้านเมืองที่เป็นป่าคอนกรีต นี่ต้นไม้ตัดออก อย่างวัดหลายวัด มีต้นไม้อยู่เก่า เสร็จแล้ว ก็ตัดสร้าง ตัดออก สร้างตึก ๆๆๆ อย่างวัดมหาธาตุฯ นี่ โอ้โฮ แต่ก่อนนี้อาตมามาใหม่ๆ มาอยู่กรุงเทพ ไปวัดมหาธาตุฯ ต้นไม้ ต้นอโศก ต้นนั้น ต้นนี่ ก่อนนี้เยอะ เดี๋ยวนี้มีแต่ตึก ต้นไม้ตัดออกหมด แล้วหลายวัด ก็เป็นเช่นนั้น ตัดต้นไม้ออก สร้างตึก แต่ของเรานี่ มันไม่ได้อย่างนั้น ตึกเราก็มี อาคาร ที่จะต้องใช้ก็มีบ้าง อย่างสันติอโศกนี่ เราหมดสิทธิ์ที่จะสร้างตึก อะไรได้มากมาย เราก็ทำได้แค่นั้น ไม่เติมแล้ว แม้แต่แต่ก่อนนี้มีบ้าน ให้ฝ่ายชายอยู่ ตอนนี้ไม่มีบ้าน ให้ฝ่ายชาย อยู่เลยนา ที่สันติอโศกนี่ แต่ก่อนนี้บ้านให้ฝ่ายชายอยู่ ๒ หลัง หนักเข้ารื้อออกหมด ไม่มีเลยสักหลัง ฝ่ายชาย เลยอยู่กัน ตามประสา มีกลด มีที่นอนอะไรก็หอบไป ถึงเวลาก็ซุกตรงนั้น ซุกตรงนี้ไปนอนไป ผู้ชายนอนง่ายนา มันก็ไม่มีอะไร มันก็เป็นการฝึกตนดีเหมือนกันแหละ เป็นคนเลี้ยงง่าย นอนง่าย เพราะที่ของเราไม่มี ก็มีอาคารสำคัญ อยู่เท่านั้นเอง อาคารอย่างอื่น ก็เสริมขึ้นไม่ได้แล้ว ที่สันติ แต่ต้นไม้ เราก็ต้องเอาไว้อยู่ อย่างเก่า จะไปเอาลงไม่ได้ นอกจากมันจะตายเอง มันตายเอง เราก็ปลูกเสริมขึ้นมาด้วยซ้ำไป

สถานที่ที่มีต้นไม้ มีอะไรต่ออะไรต่างๆ อยู่นี่ มันดูสดชื่น แล้วมันก็จะช่วยอากาศ เพราะมันดูดเอา คาร์บอนไดออกไซด์ แล้วมันก็สังเคราะห์ ออกซิเจนมาให้แก่เรา คนเรานี่สูดอากาศออกซิเจน เอาออกซิเจน เราไม่ได้เอา คาร์บอนไดออกไซด์ มันก็เลยช่วยเราปรับปรุงอยู่ด้วยกัน มันก็หมุนเวียน มันก็จะสดชื่น อากาศจะดี อันนี้ก็ไม่ต้องอธิบาย เรื่องเหล่านี้

มาพูดถึงเรื่องของพวกเรานี่ เอาเรือขึ้นเสร็จ เราก็จะต้องลงทุน จะต้องซ่อมให้ดี เป็นการอนุรักษ์ แล้วก็จะใช้ ให้เป็นประโยชน์ ทั้งประยุกต์มานี่ จะมีทั้งความหมายของการอนุรักษ์สมบัติไทย ที่จริง ฝีมือคนทำนี่ เป็นคนจีน ไม่ใช่คนไทย คนจีนเป็นคนสร้าง เรือนี่เรียกชื่อยังเรียกเอี้ยมจุ๊นเลย คนจีน ที่ทำนี่ยังไม่ตาย คนที่ทำเรือลำนี้ยังอยู่ อายุ ุ ๘๐ กว่า ก็ทำตั้งแต่เป็นหนุ่ม ทำเรือลำนี้ ยังอยู่ ได้ข่าวว่า อย่างนั้นนะ เรือลำนี้เป็นเรือลำที่ใหญ่ที่สุด ในแม่น้ำ เจ้าพระยา เท่าที่ถามไถ่กับผู้คนที่อยู่ เราไปดูมา แม่น้ำเจ้าพระยา ก็ไปหามาดูเท่านั้น ว่าลำนี้ใหญ่ที่สุด ในแม่น้ำเจ้าพระยา เรือลักษณะนี้นะ ไม่ใช่ ไปแข่งกับเรือรบนะ หรือไปแข่งกับเรือสินค้าเขา ไม่ใช่ เรือลักษณะนี้นี่ ใหญ่ที่สุดในแม่น้ำ เจ้าพระยา เราก็เอามาอนุรักษ์ มันก็มีผุนี่ ก็ต้องซ่อมสร้างขึ้นใหม่พอสมควรให้แข็งแรง ก็อยู่ได้เป็นร้อยปี ถึงอย่างไร ก็อยู่ได้เป็นร้อยปี จะทำให้ดูดี ตบแต่งก็ดูจะต้องใช้ สะตุ้งสตางค์หน่อย ก็เอาช่าง ที่เขาชำนาญจริงๆ มาทำ จะต้องช่วยกันหา ท่านแดนเดิมเป็นตัวหลัก รู้จักคนโน้นคนนี้ หามาซ่อม ซ่อมให้มันดีก่อน ซ่อมให้ตัวเรือดีเสียก่อน เมื่อตัวเรือดีแล้วเรียบร้อย ค่อยสร้างเก๋ง สร้างอะไร แล้วก็จะปั้น ครุฑจับนาค ที่เราออกแบบไว้แล้ว มีโมเดลแล้วด้วย สำหรับเรือลำใหญ่ นี่ แล้วก็จะมี ลวดลาย ติดทั้งข้างๆ ข้างหลัง ก็มีหางมีอะไร ต่ออะไรเรียบร้อย ส่วนข้างในตัวเรือ ก็จะเป็นอาคาร เป็นห้องเรียน ๖ ห้อง ข้างบน ก็จะเป็นลาน เป็นชั้นที่นั่ง ทำกิจ ทำการประชุม ทำอะไรก็ได้ อาศัยก็ได้ ประชุมทำงานทำการ อะไร ก็ได้ทั้งนั้นแหละ แสดงนิทรรศการก็ยังได้ ทำอะไรก็ได้ เป็นลานกว้าง ธรรมดา ก็มีเรือน มีเก๋ง มีโรงเรือนแก้ว มีโรงเรือนที่ออกแบบไว้แล้วเหมือนกัน มีหลังคา มีอะไรต่ออะไร ต่างๆ ขึ้นมา ข้างๆ ก็มีอะไรประกอบบ้าง มีลูกกรงหรือว่าอะไรข้างๆ ก็จะมีพอสมควร ซึ่งใหญ่ เรือลำนี้ นี่มีพื้นที่ไม่ใช่น้อย เท่ากับตึก อาคารตึก ร้านค้า ร้านอะไรที่เขาสร้างกันนั่นนา ๒ คูหาเลย พื้นที่เท่ากับ ๒ คูหา เพิ่งจะรับคน ใช้งานใช้การอะไรได้ไม่ใช่น้อย ลำเล็กนี้ก็จะเป็นที่เรียนของ พวกสมุนพระราม พวกเด็กชั้นประถม อันนั้นชั้นมัธยม นี่ชั้นประถม

ส่วน ม.วช.นั้นก็คือพื้นที่ทั้งหมดนี่เป็นห้องเรียน ม.วช. พื้นที่ของบ้านราชทั้งหมด เป็นห้องเรียน เราก็จะมีโรงเรียน มีโรงศึกษา อะไรต่ออะไรกัน เรามีชีวิตขึ้นมานี่ ต้องมีการศึกษา ศึกษาอย่างมีปัญญา ศึกษาอย่างอยู่กันอย่างสบาย เบิกบาน ร่าเริง แล้วก็มีอุตสาหะ วิริยะ เป็นการศึกษาที่มีชีวิตที่ อุตสาหะวิริยะไป พากเพียรไป ไม่เคร่งเครียด แต่เคร่งครัด แล้วอยู่ในระดับที่ ไม่หย่อนยาน ไม่อะไร ต่ออะไรที่เสียหาย หรือว่าเสียเวลา เราก็เคร่งครัดไปพอสมควร พระพุทธเจ้าท่านจะมีหลักของท่านว่า ผู้ตั้งตนอยู่บนความลำบาก กุศลธรรมเจริญยิ่ง นี่คือมัชฌิมา มัชฌิมาไม่ได้หมายความว่า ไม่ได้ตั้งตน อยู่บนความลำบาก คำว่าตั้งตนอยู่บนความลำบากนี่ จะต้องเข้าใจ อย่างลึกซึ้งเลยว่า เราจะต้องรู้ว่า เราได้ฝืน ตั้งตนอยู่บนความลำบาก ก็คือฝืน ได้ฝืน ไม่ใช่บำเรอใจ ถ้าบำเรอใจน่ะ ไม่ลำบาก มันอร่อย มันสนุก มันเพลิดเพลิน มันสนุกสนานเอิกเกริกอะไรก็แล้วแต่ อย่างนั้นมันบำเรอกิเลส มันไม่ฝืน อย่างเราดูหนัง เมื่อคืนนี้ ดูแล้วก็ มันก็ตลก ที่จริงเมื่อคืนนี้นี่ มันไม่ได้เตรียม พวกเรานี่มันก็ไม่ค่อย จะเอาจริงเอาจัง เท่าไร มันเป็นธรรมเนียม นี่มันนอกธรรมเนียม มันเกินแล้ว ที่จริงฉายโรงเดียว ฉายพรุ่งนี้ นี่มันเอาฉายเมื่อวานนี้อีก แถม แหม มันก็เลยหาให้ไม่ทัน นี่เขาก็จะส่งมา เรื่องที่จะฉาย พรุ่งนี้ ก็จะส่งมาวันนี้ นั่นก็จะต้องส่งกันให้ แหม สุดท้ายแล้ว ไม่ต้องมีรอเวลา ไม่ต้องมีเผื่อเวลา อะไรหรอกนะ ต้องเฉียดฉิว โอ้โฮ วันเวลาเหลือเกินจริงๆ เขาจะส่งมาวันนี้ พรุ่งนี้ฉาย ทีนี้ทางนี้บอกว่า นึกว่าหนังส่งมาแล้ว ไปฉายเมื่อวานนี้ ไปตามกันจริงๆ อ้าวไม่มี ประกาศไป อย่างดิบดีเลย จะฉาย ขุนศึก ว่าอย่างนั้นนะ ขุนศึกก็กลายมาว่าเป็น นายโน๊ตจมูกโต มาเดี่ยวไมค์โครโฟนกัน บอกว่ายังไม่มี อะไรฉายด้วยซ้ำไป บอกว่าโอยจะเอาอะไรล่ะ ไปค้นเจอ ไปค้นเจออันนี้ เอาอันนี้ฉายแล้วกัน แทนไอ้ที่บอกไปแล้ว

อาตมาก็บอกว่าเรื่องนี้ อาตมาก็ไม่ได้ดู มีคนเอามายัดเยียดให้ดู เรื่องนี้ ยัดเยียด ด้วยนะ ดีนา อย่างโน้น อย่างนี้ อะไรต่ออะไร สนุก อะไรต่างๆ นานา อาตมาก็บอก อาตมาไม่ดูหรอก อาตมา ไม่มีเวลา งานเยอะแยะ อาตมาไม่ดูหรอก อย่างไรๆ ก็ไม่ดู ส่งคืน แต่เขาก็บอกว่ามันดีนะ มันมี แหม มีมุขอย่างนั้น มีเก๊กแก๊ก อย่างนั้นอย่างนี้ อาตมาก็ไม่รู้มันจะมีอะไร แต่เคยรู้มา ก็เขาก็มีอะไร ต่ออะไร ที่จะว่า มีสาระ มันก็ไม่เชิง สาระ จะว่าไม่มีสาระ ที่ตลกมันตลกแน่ ทำให้สนุกสนาน ตลก เท่านั้น ทำให้สนุกสนานตลก เท่านั้นน่ะ อย่างอื่น มันก็มีบ้าง แต่บางทีบางอย่างโสกโดก สองแง่ สองง่าม อะไรก็มีอีกบ้าง อาตมาก็ว่า เออเอ้าดูไป ทีนี้อาตมา ก็อยากจะให้ความรู้ ว่าการดูเรื่อง อย่างนี้น่ะได้ การพูดประชด พูดเสียดสี พูดเอามาล้อเลียน มาล้อเลียนอะไร ก็แล้วแต่ ความผิดพลาด บกพร่อง ของคนอื่น แล้วก็เอามาพูดให้มันเป็นเชิง ขบขัน สนุกสนาน ความไม่ดี ความดื้อด้าน ดึงดันของคนนั้น คนนี้ ของอย่างนั้นอย่างนี้ จริงๆ ก็คือเอา สิ่งที่บกพร่อง สิ่งที่เลว สิ่งที่ชั่ว สิ่งที่ไม่ดี ไม่งามของคน เป็นพฤติกรรมที่ไม่ดีของคน หยิบขึ้นมาเป็นประเด็น ในการที่จะให้คนได้ยินได้ฟังได้รู้ แล้วก็มีกลเม็ด เด็ดพราย ในการที่จะสื่อ สื่อให้มันเป็นเชิงขำ สื่อให้เป็นเชิงตลก

ทีนี้คนนี่ ถ้าผู้ไม่มีปัญญานี่ ก็จะดูตลก ก็จะตลกนี่เอา อันนั้นแหละเป็นมุข ตลกไป ก็ ตลกหัวเราะ แล้วก็ไม่ได้เรื่อง มันก็รู้เรื่อง รู้เรื่องนะ แต่ก็ไม่เอามาเป็นข้อคิด ไม่เอามาเป็น สิ่งที่จะต้อง เป็นประเด็น ที่ศึกษา เป็นประเด็นที่จะต้องมาแก้ไขปรับปรุง มาทำอะไรขึ้นมาว่า เรามีหรือเปล่า หรือ คนอื่นเขามี คนนั้นคนนี้เขามีอย่างโน้นอย่างนี้ เจ้าตัวเขารู้ไหม ได้สื่อทำออกไปอย่างนี้ เป็นเชิงเหมือนกัน พวกที่ แสดงพวกนี้ เป็นเชิงทักท้วง พวกศิลปินต่างๆ นักเขียนต่างๆ นักสื่อสารต่างๆ ท้วงไป เผยแพร่ไปให้ ประชาชน ให้คนได้รับรู้ จนกระทั่งไปถึงหูของผู้ที่บริหารบ้านเมือง มีอำนาจ มีหน้าที่ มีอะไร ต่ออะไร ต่างๆ นานา จะได้รับรู้ บอกตรงๆ ไม่ได้ ก็บอกกันด้วยวิธีนี้ เหมือนสุนทรภู่ เขียนพระอภัยมณี เพื่อประท้วงรัฐบาล ประท้วง แต่ก่อนไม่มีรัฐบาลหรอก มีผู้บริหารปกครอง อะไรพวกนี้ ก็ล้อเลียน ประท้วงอะไรต่ออะไรไป เพื่อให้พวก ผู้ที่เขาเป็นอย่างนี้ เขาก็จะได้มีไหวพริบ รับรู้ รู้ตัวแล้ว ก็แก้ไข ปรับปรุงบ้าง มันเป็นวิธีอย่างหนึ่ง ศิลปะอย่างหนึ่ง ในการที่จะสื่อให้ ก็เรียกศิลปิน พวกนี้เป็นผู้ที่ ทำให้เกิด การเรียนรู้กันขึ้นมา อย่างนี้ก็ชื่อว่า เป็นการเรียนรู้ก็ได้

แต่ถ้าคนที่ดูนี่ไม่มีปัญญา ดูแต่เอารสตลก ก็เสียหาย ไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย นอกจากไม่ได้ ประโยชน์แล้ว ก็ติดรสอร่อย แล้วคนก็ชอบอย่างนั้นแหละ ไม่ว่าจะเป็นเพลง ร้องเพลงกัน แม้แต่จะเป็น เพลงเพื่อชีวิต ไม่ต้องไปเอาเพลง ถึงขนาดระดับธรรมะ ระดับโลกุตระเหมือนอย่างที่อาตมาทำ เพลงเพื่อชีวิต คนฟัง นายแอ๊ด คาราบาว นี่แกแต่งเพลงเพื่อชีวิตมาตลอด ไปแสดงคอนเสิร์ต ที่ไหนละก็ เตรียมตัวเถอะ ตีกัน ฆ่ากันแทบทุกแห่งเลย

คาราบาวไปนี่ ไปที่ไหนก็ตีกันที่นั่น แล้วเขาก็ไม่ได้ศึกษาต่อว่าทำไมมันถึงเกิดเหตุนี้ เชิงที่ปลุกเร้า ให้รุนแรง ให้ใจฮึก เหิม มันก็จะเกิดใจฮึกเหิม กลายเป็นคนที่จะเป็นชาติเสือ รุนแรงโหดร้าย เมื่อมันเกิน มันก็จะเป็นอย่างนั้นแหละ พวกที่ไม่ใช้เชิงฮึกเหิม ปลุกเร้ารุนแรงให้กระเหี้ยนกระหือรือ ก็เชิงประโลม มีสองนัยแหละ เชิงราคะ กับเชิงโทสะ เชิงนี้ก็เชิงกาม เชิงนี้ก็เชิงโทสะ สองนัย

ทีนี้พวกเชิงกามก็ใช้เอาศิลปะเอียงๆ มาข้างเชิงกาม ปลุกเร้าให้มันอะไรต่ออะไรไปอย่างนี้ ก็ ติด ตลก นี่นับเข้า ในเชิงกาม ติดยึด ทำให้ใจมัน ให้ถูกใจน่ะ อันนั้นให้รุนแรง ก็มีสองนัยใหญ่ๆ เพราะ ฉะนั้น เชิงตลกนี่ ถ้าดูไม่เป็น เราก็จะติดยึด ติดยึดรสชาด การสนุกสนาน เพลิดเพลิน แล้วไม่ได้เนื้อหา เหมือนกินยา ติดกับน้ำตาล กับสี แต่ไม่ได้เนื้อยา เนื้อยาไม่เอา ดีไม่ดีปลิ้นๆ กินน้ำตาล กินสีอะไรเสร็จ หมดแล้ว พ่นเนื้อยาที่เอาซ่อนไว้ข้างในทิ้ง ไม่กินหรอก อย่างนี้เป็นต้น

เพราะฉะนั้น การดูพวกนี้จึงจะต้องรู้เท่าทัน มันแฝงอะไรที่จะเป็นประโยชน์ เป็นการเตือนติง เป็นการ ให้ข้อคิดข้ออะไร ต่ออะไรต่างๆ นานา แล้วถ้าตลกมากจนกระทั่งมันเนื้อน้อย มันก็ไม่ได้อะไรเท่าไร คนก็หลงไปหมดกับตลก ถ้าตลกมีเนื้อมากหน่อย ตลกก็ตลกได้มีมุขมีอะไรต่ออะไรดี แต่ว่าก็ไม่กลบ ไม่กลบเนื้อหา คือคนดูเองน่ะ เอาเนื้อหาให้ได้ มันก็จะได้ประโยชน์ ไม่เช่นนั้นก็จะไม่คุ้ม เสียเวลา ดูแล้วก็เสียประโยชน์อะไรต่างๆ ไป

เพราะฉะนั้น การดูหนัง ดูละคร ดูอะไรต่างๆ หรือดูการร้องการรำอะไรก็ตามใจ เราก็จะต้องมีปัญญา เพราะสิ่งเหล่านี้ มันประกอบอยู่ในชีวิต จะบอกว่ามันเป็นเรื่องของการละเล่น มหรสพ อะไรที่ เราประเมินผล เปอร์เซ็นต์ของสิ่งที่มีศิลปะ ก็คือมีวิธีการสื่อให้คนรู้สึก ได้เนื้อหามากกว่า สิ่งที่มัน ประกอบ

คนเราไม่ใช่อรหันต์ ไม่ใช่อาริยบุคคล สกิทาคามี อนาคามี ก็ไม่ใช่ หรือแม้จะเป็นสกิทาคามี เป็นโสดา หรือยิ่งเป็น ปุถุชน มันก็ต้องอาศัยสิ่งที่มันเป็นเรื่องของอยากมีกิเลสเข้าไปร่วมด้วยบ้าง แล้วก็ประกอบ ศิลปะนี่ แล้วก็ต้องมีรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส มีลีลาบ้าง แล้วแต่ว่าศิลปินใดๆ จะมีส่วนผสม หรือ จะผสมส่วนให้ได้สัดส่วนที่ได้ ๑. เรียกว่า สุนทรียศิลป์ สุนทรีย์ของศิลป์ อีกอันหนึ่งคือ สาระของศิลป์ ศิลปะ สุนทรียศิลปะคือ สุนทรีย์คือน่าชื่นชม น่าชื่นชมชี้ชวน ให้คนเราสนใจ กับสาระ กับแก่นสาร เนื้อหา ไปด้วยกัน ขาดไม่ได้ มีแต่สุนทรีย์ไม่มีสาระ ก็ไม่เรียกศิลปะ มีแต่สาระ ไม่มีสุนทรีย์ เขาก็เรียกว่า สารคดี นี่สารคดีโดยตรง เป็นเรื่องราวของสาระ คดีก็เรื่องราว เรื่องราวของสาระโดยตรง ก็เรียก ตรงๆ อยู่แล้ว สารคดี มันไม่ใช่ศิลปะ แล้วงานศิลปะก็จะต้องมีสุนทรีย์ ขาดสุนทรีย์ไม่ได้ มีแต่สุนทรีย์ เขาก็เรียกมหรสพ เขาไม่เรียกศิลปะ เขาเรียกมหรสพ มหรสพก็คืออบายมุข เพราะฉะนั้น ถ้ามีสุนทรีย์ อย่างเดียว ไม่มีศิลปะ ก็ไม่มีสาระ ไม่ได้เป็นศิลปะเลย เพราะฉะนั้น ถ้าผู้ที่เป็นศิลปินจริงๆ ก็จะต้องมี สุนทรีย์ที่ชี้ชวนด้วยดี แล้วคนก็ได้สาระอย่างดี คุ้มกันทีเดียว ไม่ใช่ไปติดในสุนทรีย์ ติดสนุกสนาน เพลิดเพลิน เอร็ดอร่อย ไม่ใช่ สุนทรีย์นี้เป็นแต่เพียงนำเท่านั้น เป็นแค่น้ำกษัย เป็นแค่นำ นำอะไร สาระ ต้องมากกว่า อันนี้ศิลปิน ต้องมีฝีมืออย่างยิ่ง นี่ก็เป็นสิ่งที่ขอเสริมขอเติม เราดูไปเมื่อวานนี้ ถ้าเผื่อว่า ไม่เข้าใจ เราก็เลยจมไปกับ อย่างนั้นแหละ ได้แต่สนุกสนานเฉยๆ แล้วไม่ได้เนื้อหาอะไร มันก็ไปกรอง อันนั้นออก เนื้อหาออกก็แล้วกัน

สังคมของพวกเรา ก็เป็นสังคมของมนุษยชาติ เรามีครบ มีคนทุกระดับ ตั้งแต่ปุถุชน แม้แต่ที่สุด มีคนไม่ดี ปุถุชนที่เป็นคนไม่ดี ก็ต้องมีอยู่ มันขาดไม่ได้หรอก แต่น้อย ให้มันน้อย ไม่มีเลยคือเป้าหมาย เพราะฉะนั้น เราจะต้อง เคร่งเอาไว้ เราจะต้องพยายามดึงเรือไว้ มีแต่ดีๆๆ ไอ้ไม่ดีนี่เราไม่ไปยอม หย่อนข้อกับเขาหรอก จะต้องปรามไม่ดีๆ แต่มันก็จะต้อง ความไม่ดีตกหล่น หรือว่าไม่ใช่ตกหล่นหรอก ผสมผสาน เจือๆ อยู่ในนั้นแหละ มันไม่มีร้อยเปอร์เซ็นต์ ดีร้อยเปอร์เซ็นต์ มันไม่ได้หรอก เป็นสังคม มนุษยชาติดีร้อยเปอร์เซ็นต์ไม่ได้ มันจะหมด แหมดีหมดเลย ไม่เหลือเลย ไม่ได้ มันจะต้องมี มันเป็น ธรรมชาติอย่างนั้น แต่เมื่อเปอร์เซ็นต์มันน้อย นั่นแหละ ดี น้อยเท่าไร ให้มันน้อยไว้ ตามเรื่อยๆ เพราะเราจะไม่หยุด ในการที่จะปรามความไม่ดี หรือปราบความไม่ดี เราต้องทำตลอดเวลา แล้วต้อง สร้างดีเสมอ นี่คือสิ่งที่ไม่เที่ยง ไม่เที่ยงคือทำไม่ดีให้ดีขึ้นเรื่อยๆ นั่นคือไม่เที่ยง แล้วมันก็จะมีตัวไม่ดี ขึ้นมาเสริม อยู่อย่างนั้นแหละ ก็ไม่เที่ยง มันก็เลยมีไม่ดีแซมออกมาเรื่อย มันจะมีการเกิดการตาย การเกิดการตาย หมุนเวียน อยู่อย่างนั้นแหละ นี่คืออนิจจัง แต่เราก็จะต้องมีเป้าหมาย ทุกอย่างนี่ เราต้องกระทำ กระทำที่จะให้มันพัฒนาขึ้นมา สู่ดีๆๆๆ ให้ดีนั้น ก็ต้องดีต่อไป ให้มันสูงสุด

คนเราจะสูงสุดก็จะต้องเป็นพระพุทธเจ้า สุดยอดแห่งความเป็น ผู้ประเสริฐสุด ขนาดพระพุทธเจ้า แต่ที่อาศัยได้ อย่างสมบูรณ์ก็คืออรหันต์ อรหัตผล ผู้ใดได้ภูมิธรรมอรหัตผล ก็คือที่อาศัย ที่สมบูรณ์ กัมมปฏิสรโณ เป็นเครื่องอาศัย เป็นที่พึ่งอันสมบูรณ์ เป็นอุดม อุตมะ สรณะ อุตมะ เป็นเครื่องอาศัย เป็นที่พึ่งที่ สุดยอด แต่ละบุคคล ใครทำได้ ก็ได้ที่สุดยอด แต่ไม่ได้หมายความว่า ดีสุดยอด ได้เครื่อง อาศัยสุดยอด เป็นหลักประกันสุดยอด ได้อาศัยแต่ละคนๆ ใครทำได้ถึงจุดนี้ ก็ได้ที่พักที่อาศัย สบายแล้ว แต่ดีได้อีก ยิ่งเป็นอรหัต์แล้ว ท่านไม่ต้องห่วงเลย ไม่ต้องห่วงอรหันต์ ท่านเลย ท่านก็จะมีแต่ พากเพียรเพื่อไปสู่ดี ยิ่งขึ้นๆๆๆ เราถือว่าสุดยอด ดีสุด คนดีสุดคือ พระพุทธเจ้า สูงสุด เพราะฉะนั้น เราก็จะต้องไม่พอ ไม่สันโดษในกุศล คำว่ากุศลมีทั้งโลกุตระ และมีทั้งโลกียะ

พระพุทธเจ้านั้นน่ะ พอสุดยอดเป็นอรหันต์ พอได้อรหันต์แล้ว พระพุทธเจ้าได้อาศัยสุดยอดของที่พึ่ง อันสมบูรณ์ แล้วก็ความหมดทุกข์ ต่อจากนั้นไปนั่นน่ะ เป็นโลกีย์ทั้งนั้น กลับกัน ชาวปุถุชนโลกีย์ ก็ต้องเอาโลกุตระให้ได้ เมื่อได้โลกุตระ สุดยอดสูงสุดโลกุตระ ต่อจากโลกุตระแล้ว ต้องทำโลกีย์

พระพุทธเจ้า หรือพระโพธิสัตว์นี่ ปฏิบัติเรื่องโลกีย์ ปรับปรุงเรื่องโลกีย์ให้ได้สัดส่วนไม่ใช่ของตัว เรียนรู้ และแม้ตัวเอง ก็ตามเถอะ กุศลโลกีย์ ส่วนที่ดีของโลกีย์ก็ศึกษาไปด้วย มันจะได้ไปโดยธรรมชาติ ได้โดยปริยาย แล้วก็ทำกับคน คนระดับนั้น ระดับนี้ สำหรับตัวเองน่ะ ไม่ได้ไปเป็นทาสโลกีย์แล้ว ไม่ได้ทำเพื่อที่จะเอาโลกีย์ เอาลาภ ยศ สรรเสริญ โลกียสุข จะไม่เอา พระโพธิสัตว์ก็จะได้ลาภ ทางโลกีย์นี่มา แต่ได้อย่างที่ไม่เอา ได้อย่างที่ไม่ได้ พอได้มาแล้ว ก็เป็น นาบุญที่แท้ ถ้าอรหันต์ เป็นนาบุญตัวแท้ ตัวชัด ตัวจริงๆ นาบุญตัวจริง มีแต่จะมางอกให้คนอื่น ใครเอาเมล็ดข้าว มาหว่านลง ก็งอกไปให้คนอื่น ตัวเองไม่กินก็ได้ งอกให้เขา ถ้าเขาจะให้เขาก็เอามาให้ เขาเอามาประเคน เขาเอามาถวาย เขาเอามาให้ ไม่สะสม อัปปัจยะสุดยอด ไม่สะสม เขาเอามาให้ เอามางอก งอกออก งอกออก ให้เขาหมด ให้หมดแล้ว เขาก็เอามาให้ตอบแทนใหม่ จะเกิดภาวะ มีปฏิคาหก ทายก มีผู้ให้และผู้รับ วนอยู่ให้เห็นในโลกเลย เพราะฉะนั้น เราจะเป็นพวกให้ๆๆ อยู่ตลอดเวลา ส่วนเขา จะเอามาให้เรานั้น ก็ต่อเมื่อ เขาเป็นผู้เต็มใจมาให้ ไม่สะสมไว้ มีแต่ให้ แล้วเขาก็จะมาให้เราเอง ไม่สะสมไว้

ถ้าเรายิ่งให้เขาไปมากๆ เขาก็จะมาให้เราหมดคืนมา ภาวการณ์ หมุนวน ในกา เป็นปฏิคาหก ทายก ก็จะดำเนินบทบาท อย่างสมบูรณ์ นี่พิสูจน์พฤติกรรมมนุษย์ พิสูจน์ความเข้าใจ ของมนุษย์ ความรู้ของมนุษย์ แล้วกระทำให้มันได้ อย่างที่ว่านี้ ทำให้ได้อย่างที่ว่านี่ โลกียกุศลก็จะเกิดขึ้นเรื่อยๆ ส่วนโลกุตระกุศลนั้น มันเรื่องของ ส่วนตัวบุคคล ทุกคนจะต้องทำโลกุตระให้แก่ตนเอง เป็นทรัพย์ ทรัพย์แท้เอาให้เต็ม พอเต็มโลกุตระแล้ว ในโลกุตระนั้น มีโลกียกุศลอยู่ด้วย ถ้าเราทำโลกุตระได้เต็ม กุศลก็นาน ประกอบโสดาบัน ก็จะต้องมาพยายาม สละออก สละออกนั่นแหละคือ โลกียกุศล สละวัตถุ สละแรงงาน สละกิเลส สละกิเลสนี่คือเนกขัมมะ สละออก โดยที่ไม่ต้องให้ใคร กิเลส ไม่ต้องไปให้ใครหรอก สละออกแล้วก็ทิ้ง แต่สละวัตถุ สละแรงงาน สละความรู้ ให้คนเอาไป สละ นามธรรม สละความรู้ สละแรงงาน สละฝีมือความสามารถ สละวัตถุ วัตถุต่างๆ ทรัพย์วัตถุต่างๆ ออก ไปให้คนอื่น มันก็เป็นของคนอื่นรับได้ รับได้ แต่กิเลสสละออกไม่ต้องรับ เราสละออกแล้วกิเลสนี้ สลาย ฝังเผา หายไป อย่าไปให้ใคร เอาไปต่อ กิเลสไม่มีการให้ใคร แต่เอาออกนี่ คำว่าเอาออก เอาออก จากตนเอง กิเลสเอาออก จากตนเอง เนกขัมมะเอาออก แต่ไม่ใช่ไปให้ใคร ไม่ใช่ทาน อย่างอื่น ทาน

เพราะฉะนั้น ในการที่จะสละกิเลสนั้น มันติดอยู่กับให้วัตถุ มันติดอยู่กับให้แรงงาน ให้ความสามารถ ให้ความรู้ มันติดอยู่กับการให้ การสละกิเลสนี่มันอยู่กับการให้ เพราะถ้าเราจะไม่มีอะไรให้เขา ไม่มีวัตถุให้เขา เราก็ต้องมี ความสามารถ มีแรงงาน มีความรู้ให้เขา แล้วให้ก็จะต้องให้อย่างที่ เนกขัมมะ ให้อย่างที่สละกิเลสออก ... ให้แรงงานแก่ใครไป เราก็ต้องไม่มีกิเลสเป็นตัวกูของกู ให้ความรู้ ให้ความสามารถ ให้อะไรก็แล้วแต่ เราก็ต้อง ไม่ติดยึด เป็นตัวกูของกู หรือว่าเป็นเจ้าบุญ เจ้าคุณ อย่างแท้จริง ต้องอ่านใจตัวเองเลยว่า เอเรานี่ยึด เราติด เราถือว่า เราเอง เราเป็นคนมีประโยชน์ เป็นคนมีคุณค่า แต่จริงๆ มันเป็นเราก็ต้องรู้ซ้อนอีก มันก็เป็นคุณค่า เป็นประโยชน์ ที่เราน่าชื่นชม ยินดีอยู่บ้าง ถ้าชื่นชมยินดีมาก ก็ฝังตัวเป็นอุปกิเลสอีก ถ้ารู้ว่าดีแล้วก็วาง ก็เป็นมุทิตา ทำให้ดี ให้เขาได้ดี ให้เขาไป แล้วเขาก็ได้ดีแล้ว แล้วเราก็วาง จบ มุทิตา อุเบกขา จบ ไม่ไปติดยึดต่อ เรียกว่า ยินดี รู้ดีในดี ยินดีในดี จบ มีการตัด การปล่อย การวาง ในดีนั้น ก็เรียกว่ายินดีในแบบมุทิตา ถ้ายินดี แบบติดแบบยึด เป็น อุปกิเลส เป็นปีติ เป็นปราโมช พวกนี้เป็นอุปกิเลส แล้วก็เสียหาย

ชีวิตของคนเรานี่ ถ้าเรียนรู้สัจธรรมพวกนี้แล้ว ใครจะมีวัตถุสมบัติ ก็พยายามใช้วัตถุสมบัติ อย่างเป็น ประโยชน์ แล้วก็อย่ายึด อย่าติด อย่ากัก อย่าตึง อย่ากอบโกย สร้างให้มีมากๆ ทำให้มีมากๆ แล้วก็สะพัดๆๆ อาศัยแต่น้อยลง ๆๆๆ โดยอาศัยน้อยนั้น ก็เกิดประโยชน์สูง ประหยัดสุด ไม่ใช่ว่า อาศัยน้อย แล้วก็เบียดเบียนตนเองๆ จนสุขภาพก็เสีย ทำงานต่อก็ไม่ขยาย อะไรก็ไม่ใช่ ทำงานต่อ ก็ขยาย มีทุนรอน มีวัตถุ มีทรัพย์สินอะไรต่ออะไร ที่จะขยายประโยชน์ ต่อไปได้ด้วย งานก็ขยายผล อย่างได้สัดส่วน ไม่ใช่เฟ้อใช่เกิน จนกระทั่งเราทำไม่ไหว ไม่ใช่ขยายโรงงานจนใหญ่ จนเราทำไม่ไหว ขยายไอ้โน่นไอ้นี่ใหญ่ โต เราทำไม่ไหว นั่นไม่มัชฌิมา ไม่ได้สัดส่วน ก็ต้องตามลำดับ ที่พอเหมาะ พอดี ขึ้นไป

คนเราต้องทำงาน ต้องสร้างสรรและต้องละกิเลส เพราะฉะนั้น หลักธรรมของพระพุทธเจ้านั้น ปฏิบัติมรรคองค์ ๘ ปฏิบัติธรรมไปด้วย ทำงานไปด้วย ปฏิบัติธรรมไปด้วย สร้างสรรไปด้วย เกิดคุณค่า ประโยชน์ทั้งวัตถุ ข้าวของ อะไรต่ออะไรต่างๆ นานา ที่มนุษย์พึงเป็น พึงมี พึงใช้ ตั้งแต่ของที่เป็น ของกิน ของใช้ ของที่อาศัย ของที่จะมาทุ่นแรง เป็นเครื่องกล เป็นทั้งศิลปะ เป็นอะไรต่ออะไร ทุกอย่างแหละ ที่คนจะต้องอาศัย เพราะยิ่งคนมากขึ้นๆๆ ธรรมชาติมันช่วยไม่ทัน ๆ มันก็จะต้อง ให้คนช่วย ต่อไปในอนาคต ก็จะมีการสร้างเครื่องฟอกอากาศขึ้นมาเรื่อยๆ เพราะอากาศก็จะเสีย เป็นพิษเป็นภัยขึ้นมาเรื่อยๆ ต่อไปก็จะต้องซื้อเครื่องฟอกอากาศประจำตัว ในอนาคตก็จะซื้อ เครื่องฟอกอากาศ ประจำตัว ถ้าไม่อย่างนั้น เราก็จะมีแต่พิษ อากาศมันเป็นพิษ ชีวิตก็จะไม่ไหว เอาจริงๆ จะเป็นไป เพราะฉะนั้น ก็ต้องสร้างขึ้นมา เขาต้องสร้าง เราไม่ต้องคิดสร้างหรอก เดี๋ยวเขา สร้างเอง เราคิดสร้างสิ่งที่เขาทิ้ง สาระแท้ สิ่งเหล่านั้น มันจะราคาแพง เพราะมันของใหม่ เป็นของ จำเป็นและใหม่ มันก็จะแพง เขาคิด ก็จะคิดค่าแบบทุนนิยม ก็จะคิดราคาค่าสร้างแพง เราไม่ต้อง คิดหรอก เราคิดเราขาดทุน ให้เขาคิดดีกว่า เขาคิดเขาได้ราคาแพง แล้วเขาก็ยังคิด เอาปัญญา ไปคิดอย่างโน้น เราสร้างที่เขาคิดแล้ว ที่สำคัญ ปลูกข้าวเขาก็คิดกันมาหมดแล้ว สร้างปลูกเป็นแล้ว เรามาปลูกข้าว เพราะจำเป็น ราคาจะถูก แล้วเป็นของจำเป็น ราคาถูก

เรานี่เหมาะกับ ของราคาถูก เหมาะกับของที่จำเป็น เหมาะกับของที่มีคุณค่าแท้ คุณค่าหลักๆ ของชีวิตด้วย เราเหมาะกับสิ่งเหล่านี้ เป็นแกนเป็นแก่นของมนุษยชาติ พวกนั้นเขาก็จะผิวเผิน เขาจะไปเรื่อยๆ ให้เขาสร้างไปเถอะ สิ่งอะไรที่เขาจะสร้างใหม่ๆ อะไรใหม่มามันก็ใช้ได้ เครื่องคอมพิวเตอร์มาก็ใช้ได้ สร้างเลเซอร์มาก็ใช้ได้ แต่มันก็ผิวเผิน มันก็จำเป็นเหมือนกัน ในยุค ในกาล ในสังคม ในสิ่งแวดล้อม ในโลก ในธรรมชาติ มันก็จะมีพิษมีภัย มีอะไรต่ออะไรอย่างที่ว่านี่ มันก็จะไม่ทันการ เขาสร้างเครื่องบิน เราก็ต้องใช้ มันจำเป็นกันบ้างซี เดี๋ยวมันไม่ทันการ อะไรอย่างนี้ อะไร ต่างๆ เราก็รู้ว่ามันสำคัญ สำคัญเอก สำคัญรอง สำคัญใหญ่ สำคัญรอง อะไรพวกนี้ เราก็ต้องเข้าใจ นา

ที่อาตมาอธิบายต่างๆ ให้ฟังหรือให้เห็นว่าในความเป็นโลก ในความเป็นสังคม ในความเป็น องค์ประกอบ ของธรรมชาติ ของวัตถุ ของอะไรต่างๆ นานา มันเกิดแล้วเกิดเล่า โลกหมุนเวียน เกิดแล้วเกิดเล่า เป็นอย่างนี้ อยู่นานนับกัปกาล เมื่อไรๆ ก็เป็นอย่างนี้ เป็นแต่เพียงว่าแต่ละยุคๆ จะมีองค์ประกอบต่างกันไปเท่านั้นเอง คุณจะเกิดเท่าไรๆ ก็เป็นอย่างนี้ อาตมาก็เกิดมานับชาติไม่ถ้วน พวกเราก็เกิดมานับชาติไม่ถ้วน แต่มันจำไม่ได้ ไม่ระลึกรู้ นอกจากจำไม่ได้แล้ว มันยังโง่ต่ออีกด้วย มันก็ยังไม่ค่อยรู้เรื่องเท่าไร อาตมาก็พยายามเรียนรู้ พยายามระลึก พยายามที่จะไม่ลืม พยายาม ที่จะเข้าใจ สิ่งที่มันผ่านมันเกิดมา มันมีอะไร คืออะไรบ้าง มันก็ศึกษามา ตามทางที่พระพุทธเจ้า ท่านพาทำ มันก็เลยพอได้ มันมีบุพเพนิวาสานุสติญาณ มีจุตูปปาตญาณ มีญาณๆ อะไรที่จะรู้จัก สิ่งที่มันเชื่อมโยงติดต่อ มันจะพอเข้าใจ คือเอามาพูดนี่ อาตมาไม่ได้ไปเรียนอะไร ศาสตร์ๆๆๆ อะไร ไป เรียน globalization เหมือนอย่าง ดร.เทียนชัย วงศ์อริยะ ยุค ศรีอาริยะ อะไรเขานี่ ก็ไม่ได้ไปเรียน อย่างนั้น เขาเรียน globalization การเปลี่ยนแปลงของโลก อาตมาก็ไม่ได้เรียน

แต่ที่พูดนี่พูดถึง การเปลี่ยนแปลง ของโลกให้ฟัง โลกมันจะเป็นอย่างนี้แหละ จะมีประวัติศาสตร์ จะมีการเป็นไป หมุนเวียนกันอยู่อย่างนั้นเอง จะเกิดกี่ชาติ ถ้าเราเป็นมนุษย์สัตว์โลกอยู่ในยุคไหน มันก็เป็นไปตามยุค ยุคนี้มีอันนี้มาก ยุคหิน ยุคสัมฤทธิ์ ยุคอะไรล่ะ ต่างๆ นานา มาจนกระทั่งถึงยุคนี้ เรียกยุคอะไรล่ะ อาตมาก็ไม่ได้เก่งประวัติศาสตร์ ภาษาประวัติศาสตร์ ก็ไม่ค่อยเก่งเท่าไร ต้องให้ นิติภูมิมาพูด เขาเรียนจบประวัติศาสตร์ จบดอกเตอร์มา อย่างโน้นอย่างนี้ หรือไม่ก็ให้ ดร.ขวัญดีมาพูด เขาเรียนประวัติศาสตร์มา ภาษาพวกนี้อาตมาก็ไม่เป็น ไม่ค่อยจะเข้าใจ ผ่านยุคนั้นมา ก็จะเป็น ลักษณะนั้น พอยุคต่อมาอย่างนั้น มันก็จะเป็นลักษณะนั้น พอยุคต่อมา มันก็เป็นลักษณะนั้น จนมาถึงยุคนี้ มันก็เป็นลักษณะนี้ องค์ประกอบต่างกัน วัฒนธรรมต่างกัน เครื่องไม้เครื่องมือ อะไรต่ออะไรก็ต่างกันไป เราก็ใช้ เท่าที่มันเป็นยุค ยุคนี้เราจะไปใช้เหมือนดึกดำบรรณก็ไม่เชิง เราก็อย่าไปปฏิเสธบางอย่างของยุคก็ไม่ได้ อะไรที่มัน ใช้ได้ใช้ดีเราก็เอา อะไรไม่ได้ไม่ดีเราก็ไม่เอา มีปัญญาอย่างนั้น มีปัญญารู้ อะไรที่มันใช้ได้ดีเราก็ไม่ปฏิเสธ อะไรที่มันไม่ดี เราก็ไม่เอาหรอก อย่างจะให้มากินเหล้า ยุคนี้ก็กินเหล้า ยุคก่อนก็กินเหล้า ยุคนี้กินหนักกว่าด้วย แหมปรุง สารพัด ปรุงเลย เหล้าสมัยนี้ นานาสารพัด เราก็ไม่กินมันน่ะ จะเป็นในยุคไหน เราก็ไม่กินมันน่ะ อะไรอย่างนี้ เป็นต้น เขามีวิธีการกินเนื้อสัตว์สารพัดจะกินอย่างนั้นอย่างนี้ มายุคนี้ เราก็ไม่กิน อย่างนี้เป็นต้น แต่บางอย่างบางอัน อย่างโน้นอย่างนี้ บ้านเรือนใช้วัสดุก่อสร้าง ใช้ โน่นใช่นี่เออดี เอา เราเอาด้วย พอสมควร อย่างโน้นอย่างนี้ อะไรอย่างนี้เป็นต้น เราก็รู้จักการที่จะเลือกเฟ้น สิ่งที่ดีที่ใช้

เกิดมาเพื่อศึกษา ตอนนี้ในโลก เขาสร้างมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาแห่งโลกแล้ว มหาวิทยาลัย พระพุทธศาสนาแห่งโลก เขาเรียกชื่อย่อว่า ม.พ.ล. มหาวิทยาลัยพุทธศาสนาแห่งโลก ไม่รู้ไป จดทะเบียน ขอสร้างจากประเทศไหนไม่รู้นะ อาตมาไม่รู้ เพราะว่าเราเอง เราจะสร้าง มหาวิทยาลัย ให้เราไปจดกับประเทศไทย แล้วเราไม่ได้ไปจด เราก็เลยสร้างสัมมาสิกขาลัยขึ้นมาเป็น เชิงมหาวิทยาลัย เหมือนกัน เดี๋ยวจะพูดต่อจากอันนี้ ตานี้จะพูดมหาวิทยาลัยของนี่เขาก่อน เขาเล่นงานเรา เราก็จะลอง ติงเขาเหมือนกัน เขาไม่รู้เขาไปจดทะเบียน กับประเทศไหน เขาสร้างมหาวิทยาลัย พระพุทธศาสนา แห่งโลก เรียกมหาวิทยาลัยด้วย ตามภาษากฎหมาย แต่ของเรา ก็ไม่ได้จดทะเบียน เมื่อไม่ได้ จดทะเบียน เขาก็เป็นเถื่อนเหมือนกันนา เขาเป็นเถื่อนเหมือนกัน เขาไม่ได้จดหรอก เขาเป็น มหาวิทยาลัย แห่งโลก เขาจัดตั้งขึ้นโดยมติที่ประชุมใหญ่ องค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก ที่จัดขึ้น ณ รัฐนิวเซ้าท์เวลล์ ประเทศออสเตรเลีย ๆ ระหว่างวันที่ ๒๙ ตุลาคม - ๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๑ เพื่อเป็นสังฆราชานุสรณ์ๆ เฉลิมพระเกียรติแด่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช แห่งราชอาณาจักรไทย ในศุภสมัยที่รัฐบาลและคณะสงฆ์ไทย จัดงานเฉลิมฉลองพระชนมายุ ๘๔ พรรษาของพระองค์ เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๔๐ พระชนมพรรษา ๘๔ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๐ ทีนี้ก็ไปสร้างกัน พ.ศ. ๒๕๔๑

รัฐบาลไทยโดยมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๔๓ อนุญาตให้ศูนย์อำนวยการ มหาวิทยาลัย พระพุทธศาสนาแห่งโลก ตั้งอยู่ในประเทศไทย มหาวิทยาลัยนี่ตั้งอยู่ออสเตรเลีย แล้วสมเด็จพระสังฆราช ทรงมีพระเมตตา เสด็จไปเป็นองค์ประธานประกอบพิธีเปิดมหาวิทยาลัย อย่างเป็นทางการ วันที่ ๙ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๓ สำนักงานใหญ่องค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก เป็นการประกาศมิติใหม่ ของชาวพุทธทั่วโลก ในการจัดตั้งสถาบัน วิชาการระหว่างประเทศ ในระดับ มหาวิทยาลัย ให้เป็นสมบัติของชาวพุทธทั่วโลก โดยไม่จำกัด เชื้อชาติ เพศ วัย วรรณะ และนิกาย เรามีส่วนไหมๆ นี่ว่าจะไปทวงสิทธิ มีส่วน มหาวิทยาลัยพุทธศาสนาแห่งโลก เป็นสถาบันการศึกษา ชั้นสูง ทางพระพุทธศาสนาของโลก เพื่อทำหน้าที่เชื่อมโยงและประสานงาน ในรูปเครือข่าย กับ มหาวิทยาลัย พระพุทธศาสนา หรือองค์กรการศึกษาอื่นๆ เราก็เป็นองค์กรการศึกษาเหมือนกันนะ ทั่วโลก เราก็อยู่ ในโลกลูกนี้ ไม่ตกไปอยู่ในนอกโลก เพราะฉะนั้น เรามีส่วนด้วย ทั่วโลกที่มี การดำเนินงาน เกี่ยวกับการวิจัย และพัฒนา การฝึกอบรม การปฏิบัติจิตภาวนา และการศึกษา ตามแนวพุทธศาสตร์

นอกจากนี้ยังเป็นศูนย์รวมนักปราชญ์ทางพระพุทธศาสนาของโลก เพื่อร่วมกันจัดและ พัฒนา การศึกษา ตามแนวพุทธศาสตร์ อาตมาไม่รอ ไม่หวัง แต่เราทำ ไม่เชื่อว่า เราจะได้รับเป็นส่วนที่ จะรับเข้าไปเป็นที่ เขารวบรวมผู้รู้นักปราชญ์ อะไรไปไว้ในนั้น อาตมาไม่คิดว่าตัวเองเป็นปราชญ์ เป็นผู้รู้ ที่จะได้รับการรวบรวมไป ไม่รอ ไม่หวัง

จุดมุ่งหมายของมหาวิทยาลัยนี้

๑. เป็นศูนย์กลางการประสานงานทางวิชาการ ในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การแลกเปลี่ยนผลงาน ทางวิชาการ ผลงานการวิจัย และพัฒนาตลอดทั้งการแลกเปลี่ยนข้อมูล ในทางระดับภูมิภาค และ ระดับนานาชาติ

๒. พัฒนาระบบวิชาการทางพระพุทธศาสนาให้เป็นสากล เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา

๓. เสนอทางเลือกระบบการศึกษาที่มุ่งพัฒนามนุษย์และสังคมให้สมบูรณ์และกลมกลืนกับ สิ่งแวดล้อม ธรรมชาติ

๔. นำพุทธธรรมไปใช้ในการแก้ไขวิกฤตการณ์ต่างๆ ทั้งในระดับภูมิภาค และระดับโลก

๕. จัดและให้บริการวิชาการพุทธศาสนากับองค์พุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก ศูนย์ภาคีองค์การ พุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก และองค์การอื่นๆ ที่มีวัตถุประสงค์ทำนองเดียวกัน

โครงสร้างการบริหารมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยประกอบด้วยโครงสร้างการบริหารหลักดังนี้คือ

สภามหาวิทยาลัย โดยมีพระธรรมปิฎก ป.อ.ประยุตโต เป็นนายกสภามหาวิทยาลัยรูปแรก และ ผู้สืบต่อในปัจจุบัน คือ ดร.อนันดา W.P. GURUGE นักปราชญ์ชาวศรีลังกา สำนักอธิการบดี สถาบันวิจัยและพัฒนา สถาบันฝึกอบรม (ไม่มีเสียง) ศึกษาตามแนวพุทธศาสตร์ ศูนย์สารสนเทศและ แลกเปลี่ยนวัฒนธรรม สถาบันการศึกษา และนักปราชญ์เครือข่ายของมหาวิทยาลัย ตามภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก เช่น มหาวิทยาลัย มหามงกุฎราชวิทยาลัย มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิวิไลซ์ ในสหรัฐอเมริกา มหาวิทยาลัย Dhamma Oruent Oxydent UDHAO ยูดีเอช เอ โอ ในประเทศฝรั่งเศส ศูนย์อบรมพุทธศาสนา Buddhist Diskesen Centre ในประเทศออสเตรเลีย เป็นต้น โดยมีศูนย์อำนวยการตั้ง อยู่ในประเทศไทย

วิสัยทัศน์ พุทธธรรมจะได้รับการฟื้นฟูและนำมาปรับใช้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ และบริบท ทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ที่เปลี่ยนไป โดยถือเป็นส่วนสำคัญยิ่งส่วนหนึ่ง ของกระบวนการ ทางการศึกษา ของมหาวิทยาลัย พระพุทธศาสนาแห่งโลก ที่จะนำมาถ่ายทอดสู่สังคม เพื่อประโยชน์ และ ความสุขของ มวลมนุษยชาติ โอ้โฮ วิสัยทัศน์แจ๋วมาก

เอาละเรามาเริ่มต้นกันที่วิสัยทัศน์ พุทธธรรม ขึ้นชื่อจ่าหัวไว้ว่า พุทธธรรมนี่ จะใช้หรือจะได้รับ การฟื้นฟู นำมาปรับใช้ อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ และบริบททางเศรษฐกิจ

ถามว่าชาวอโศกเราได้ทำการฟื้นฟูศาสนา เอามาปรับใช้ให้เหมาะสมกับสถานและบริบท ทางเศรษฐกิจ หรือไม่ ตอนนี้เศรษฐกิจของชาวอโศก เป็นอย่างไร เศรษฐกิจดีหรือ ดีมาก ดี ถือว่าดีมาก ถ้าเทียบกับ ทางโลกเขาแล้ว ถือว่าดีมาก

โอย อีก ๑๐ นาทีจะจบแล้ว หมดเวลา เขาให้เวลาเท่านี้ จะแบ่งงานนักเรียนกัน อาตมาก็คงจะต้อง รีบอธิบาย เอาไว้เทศน์ต่อ ในวันอื่นต่อได้ เพราะว่าเราจะมีการเทศน์กัน ในงานปีใหม่อีกเรื่องนี้ อาตมาขึ้นหัวไว้แล้ว เป็นเรื่องสำคัญ เป็นเรื่องของโลกทั้งโลก เป็นเรื่องของระบบโลกเขาเลยทีเดียว แล้วก็ประเทศไทยก็เป็นตัวหลัก เพราะประเทศไทย เป็นประเทศพุทธศาสนา และเราเองชาวอโศกเราก็ ถือตัวเราว่า เราเป็นชาวพุทธที่แท้จริง แล้วเราก็ได้ปฏิบัติพุทธ เขาใช้คำว่า.. อาตมาสะดุดใจว่า จะต้อง ทำจิตภาวนา สถาบันจิตภาวนา พัฒนาสถาบันฝึกอบรม และพัฒนาหลักสูตร สถาบันจิตภาวนา เขาใช้แต่สถาบันจิตภาวนา สถาบันศีล สถาบันจิต สถาบันปัญญา อะไรนี่ไม่มี เอาแต่สถาบัน จิตภาวนาจริง เราจะทำให้จิตนี่แหละ เกิดเป็นประโยชน์ต่างๆ ขึ้นมา จิตเป็นประธาน ถ้าจิตไม่พัฒนา จิตไม่เปลี่ยน แปลง จิตไม่เกิดใหม่ กิเลสไม่ออกจากจิต จิตไม่พัฒนาขึ้นมาสะอาด บริสุทธิ์ขึ้นมา จากกิเลสจริงๆ มันไม่ได้เป็นการศึกษาทางศาสนา มันเป็นการศึกษาทางพุทธ พุทธเราเน้นตรงนี้จริงๆ เลย ชาวอโศกเราได้เน้น ชาวอโศกเราได้ทำ และอาตมาจะได้เทศน์ ได้พูด ในตอนปีใหม่ เทศน์ต่อ ในเรื่องเหล่านี้ไป เพื่อให้เห็นว่า การศึกษา ชาวอโศกเรานี่ได้ศึกษาแล้ว เรามี เขาจะเรียกเป็นภาษาว่า มหาวิทยาลัย เป็นชื่อ ภาษาทั่วไป ภาษาไทยเราเรียกว่า มหาวิทยาลัย ภาษาที่อื่นเขาจะเรียกว่า University เขาจะเรียกว่า อีคานามี อะไรก็ตามใจ มันไม่มีปัญหาอะไร มันก็คือ สถาบัน ที่จะให้ การศึกษา

ส่วนคำว่าการศึกษานั้น ศึกษาอย่างไร อาตมาก็ขอไข ก่อนจะจบเวลาตอนนี้ว่า เราได้ศึกษา แล้วตามหลักของ พระพุทธเจ้า คือการศึกษาแบบไตรสิกขา เราได้ศึกษามีไตรสิกขา เป็นการศึกษาหลัก มาอยู่ตลอดเวลา การศึกษาไตรสิกขานั้นก็คือ การปฏิบัติมรรคองค์แปด การปฏิบัติมรรคองค์แปดคือ การปฏิบัติไตรสิกขา ทีนี้ไตรสิกขา เขาก็ไปแบ่งมรรคองค์แปด มรรคข้อนั้นข้อนี้คือศีล มรรคข้อนี้ๆ คือสมาธิ มรรคข้อนี้ๆ คือปัญญา เขาไปแบ่งอย่างนั้น เป็นการแบ่งเอาเอง แบ่งไว้ผิด แต่มรรค องค์แปดนั้น คือการศึกษาไตรสิกขานั้นไม่ผิด แต่พวกผู้สู่รู้นี่ก็ไปแบ่งเอง เพราะเขาไม่รู้น่ะ เขาก็เลย ไปแบ่งอย่างนั้น ความจริงแล้ว การศึกษาไตรสิกขาก็คือ คุณมามีศีล แล้วคุณก็ต้องปฏิบัติให้เกิดสมาธิ หรือให้เกิดอธิจิต ให้เกิดปัญญา โดยทางปฏิบัติคือ มรรคองค์แปด เพราะฉะนั้น คุณจะต้อง ทำความเข้าใจ เป็นสัมมาทิฐิ แล้วก็ปฏิบัติทั้งสังกัปปะ วาจา กัมมันตะ อาชีวะ ต้องพากเพียร มีความพยายาม มีสัมมาวายามะ มีสัมมาสติปฏิบัติอยู่แล้ว ที่อาตมาอธิบายให้ฟังนี่ ตลอดเวลา ๒๔ ชั่วโมง คุณศึกษาอยู่ ตลอดเวลา ๒๔ ชั่วโมง ปฏิบัติศีล สมาธิ ปัญญาอยู่ทั้ง ๒๔ ชั่วโมง โดยการรู้ว่า ขณะคิด ขณะดำริ สังกัปปะ คุณมีอะไรเป็นมิจฉาของคุณ ในหลักเกณฑ์ของศีลที่คุณถือ คุณถือ คุณถือศีล ๕ กามคุณ เท่าไร กามคุณตัดออกเกรดชั้นถือศีล ๕ ผัวเดียวเมียเดียว มีผัวมีเมียได้ มีราคะได้ ตามขอบเขตของราคะนั้น ส่วนอื่น ก็เหมือนกัน การฆ่าสัตว์ลักทรัพย์ตามขอบเขตของตนเอง บางคนยังกินเนื้อสัตว์อยู่ เขาอาจจะไม่ฆ่าสัตว์ แต่เขาก็กินเนื้อสัตว์ ก็เป็นศีลข้อ ๑ ก็ขอบเขตของเขา แต่ขอบเขตของเรา ศีลข้อ ๑ ของเราไม่กินเนื้อสัตว์ ถึงขั้นไม่กินเนื้อสัตว์ ก็เรื่องของเรา ขอบเขตของเรา การลักทรัพย์ของเขาเขาลักทรัพย์ เขาเอาเปรียบเอารัดกัน เขาถือว่า มันเรื่องธรรมดา ทุนนิยม เขาเรียกว่าธรรมดา เอ้าก็ขอบเขตของเขา ของเราเคร่งกว่านั้น อย่างนี้เป็นต้น

ศีลข้อ ๕ เอาละอาจจะเสมอกัน มีผัว มีเมีย แต่ควรที่จะเอาหนักกว่านั้น อย่างพวกเรานี่เคร่งกว่านั้น ค่อนมาทางศีล ๘ กันมาก ก็คือเราตัดขอบเขตของเรา ศีล ๕ นี่แหละ โดยอธิศีลต่างกัน อธิศีล คือ ระดับของการกำหนดของแต่ละคน ของแต่ละสังคม ของแต่ละกลุ่มต่างกัน อย่างของเราก็กำหนด กลุ่มของเราอย่างนี้ ศีลข้อ ๔ ก็ต้องไม่พูดปดเป็นหลัก ส่อเสียดอะไรก็ต้องเคร่งไปตามลำดับ ศีลข้อ ๕ ของเราไม่มีน้ำเมา อย่าว่าแต่น้ำเมาเลย น้ำอบ น้ำหอม น้ำพร่ำ น้ำอะไรต่ออะไร มันเข้าไปหาศีล ๗ ศีล ๘ ขอเขาก็มีคุณลักษณะของอธิศีลสูงขึ้น ตามที่เราจะกำหนด เพราะฉะนั้น มันไม่ตายตัวทีเดียว แต่มันก็มีเนื้อหาของมัน ทีนี้ศีลที่เรากำหนดไว้แล้วนี่ แต่ละบุคคลของคุณก็ไม่เท่ากันใช่ไหม เราเท่านี้นะศีล แล้วเราก็ปฏิบัติอยู่ในขอบเขตของศีลเรา ขอบเขตของศีลของเรา เรากำหนดไว้แค่นี้ เราก็ระวัง สังกัปปะ วาจา กัมมันตะ อาชีวะ ทุกอิริยาบถ คุณก็จะต้องรู้สัมผัสต่างๆ ที่มันเกิดจิต ของเรานี่ กิเลสเกิดแล้วนะนี่ เกินขอบเขตที่เรากำหนดแล้วนะ เราก็ต้องปรับมันปราบมัน คือมันอยู่ ในขอบเขตที่เราอนุโลม เราก็เอาไว้ก่อน ถ้าให้มันดีขึ้นอีกได้ คุณก็ทำให้มันดีขึ้นตาม ตามแต่คุณ จะปฏิบัติ แต่คุณมีขีดของคุณ คุณมีเขตกำหนดของคุณ เรียกว่าศีล เขตกำหนดของคุณ แล้วคุณก็ ปฏิบัติกายวาจาใจ ปฏิบัติอยู่ทุกอิริยาบถ มันเกิดอะไรที่มันเกิดกิเลส จิตต้องอ่านกิเลส แล้วก็ลด กิเลสให้ได้ เรียกว่าเจริญ ทางอธิจิตและปัญญา ปัญญาต้องรู้ ความรู้ต้องรู้ความจริง ตามความเป็นจริง กิเลสคือความจริง เราลดกิเลสได้ก็คือความจริง เราลดกิเลสไม่ได้ก็คือ ความจริงชนิดหนึ่ง ของผู้แพ้ ลดกิเลสได้ก็เป็นความจริงชนิดหนึ่งของผู้ชนะ นั้นคือปัญญา ปัญญาก็คือรู้ว่า นี่เราอยู่ในภาคปฏิบัติ ของเราอยู่นา เราไม่ได้ลดหย่อน เราไม่ได้ทิ้งขว้าง เราชัดเจนอยู่

ศีล สมาธิ ปัญญา กับมรรคองค์ ๘ อยู่ด้วยกัน ไม่ได้ไปแบ่งข้อ แบ่งข้อแล้วก็ตัด เป็นเสี่ยงๆๆ เอาไป นี่เอาข้อสองไป นี่เอาข้อหนึ่งไป นี่เอาข้อห้าไป นี่รวมเอาไป ไม่ใช่ มันอยู่ด้วยกันหมด เป็นสมังคี เป็นองค์รวม มันไม่ได้แยกจากกัน

เพราะฉะนั้น การอธิบายศีล สมาธิ ปัญญา ในมรรคแปด มันก็ต่างกันอย่างนี้ แล้ววิธีที่ปฏิบัติ ให้เกิดสมาธิ ปฏิบัติองค์ทั้ง ๗ นี่แหละ ก็สั่งสมเป็นสมาธิ เป็นอธิจิตขึ้นมาเรื่อยๆๆๆ ตามลำดับ สมาธิ แต่ละรอบๆๆ ตั้งมั่นแต่ละรอบ มันจะตั้งมั่นเท่าไรละ ตั้งมั่นขนาดโสดา ก็ตั้งมั่นอย่างเข้ากระแส หมายความว่า มันเข้าเขต ของความพัฒนาแล้ว คุณสอบเอนทรานซ์เข้ามาได้เรื่อยๆ เข้ามาแล้ว ได้มรรคได้ผลเข้ามานิดหนึ่ง ได้เข้ามาเรื่อยๆ ได้เข้ามาเรื่อยๆๆๆ มันอาจจะยังไม่แข็งแรงยึกยักอยู่ อวินิปาตธรรม คุณธรรมมันก็ยังไม่แข็งแรงเพียงพอ คุณจะต้องให้แข็งแรง จนกระทั่ง นิยตะ แข็งแรงเพียงพอ ไม่มีการถอยหลัง สัมโพธิปรายนะ มีแต่จะสตาร์ต พุ่งไปข้างหน้า ไปหาที่หมายสูงสุด นี่คือคุณลักษณะของคุณธรรมโสดาบัน จะต้องเข้าใจคุณลักษณะอันนี้ แล้วคุณต้องมี ถ้าคุณไม่มี มันก็ไม่ใช่ของแท้ ฟังให้ดี แล้วลองไปตรวจสอบตนเอง ไม่ใช่ลองหรอกเอาจริงน่ะ ตรวจสอบจริงๆ ของแต่ละคนๆ มีมากมีน้อยเท่าไร ถ้าเรายิ่งมีชัดเจน มีมากๆ เราก็ยิ่งจะรู้เห็นของจริงนั้นมากๆๆ มันก็ยิ่งจะมั่นใจ ปฏิบัติธรรมะของพระพุทธเจ้านี่มีของจริง มีของแท้เป็นนามธรรมก็ตาม แล้วเราก็ จะมั่นใจ แล้วเราก็จะรู้ว่า ชีวิตถูกทางแล้ว ชีวิตเดินพัฒนาขึ้นไปสู่จุดมุ่งหมายศึกษา ตลอดชีวิต แม้คุณจะจบอรหันต์แล้ว คุณจะรู้เองว่า คุณจะต้องศึกษาต่อไปอีก จริงๆ แล้วจบกิจ จบการศึกษา แต่เป็นการศึกษาเพื่อผู้อื่น ไม่ได้ไปศึกษา เพื่อตัวเราเองเลย ตัวเราเองจบ เราหมดทุกข์ อริยสัจจบ อรหัตผลเราก็จบ แต่จบเราแล้ว เราก็ต่อผู้อื่นได้อีก เพราะชีวิตนี้ เป็นประโยชน์ เราจะรู้ว่าอ้อ ชีวิตนี้ เราเป็นประโยชน์ต่อคนอื่นทั้งนั้น เป็นทาสรับใช้คนอื่น เป็นทาสรับใช้ มันกลับไปกลับมา ปฏินิสสัคคะ มันจะกลับไปกลับมา โลกุตระจบ ทำแต่โลกียะ แต่โลกียะนี่ไม่ใช่ของตนเองเลย ไม่ใช่เพื่อลาภยศ สรรเสริญโลกียสุข เป็นโลกียวิสามัญ เป็นโลกียระดับประเสริฐ ระดับพิเศษ ไม่ใช่ของโลกธรรมดา เป็นของโลกุตระ นี่คนเราก็ต้องศึกษา

โรงเรียนของเรานี่เป็นโรงเรียนใหญ่ ตอนนี้เราก็มีภาคสนามฝึกหัด งานปีใหม่เป็นงานภาคสนามฝึกหัด พวกเราชาวอโศก จะมารวมกันมาก มากกว่างานใดๆ มากกว่างานปลุกเสก มากกว่างานอื่นๆ น่ะ งานทุกงาน งานวัฒนธรรมต่างๆ ของเรานี่ งานประจำปีของเรานี่ งานนี้จะมารวมกัน แล้วก็จะต้อง ใช้แรงงานมาก ลงทุนมาก ลงทุนลงแรง ใช้เวลาเตรียมงานมากกว่า อาณาบริเวณกว้างๆ อย่างนี้ ต่อไปมันจะมีชุมชนที่ใหญ่กว่านี้ แล้วก็ต้องย้ายงานนี้ ไปไว้ที่ชุมชนใหญ่โน้นอีกหรือไม่ยังไม่รู้ ตอนนี้ ย้ายมาที่ราชธานีก่อน ต่อไปจะมีมหาราชธานี ค่อยว่ากันอีกที ตอนนี้ยังไม่มีมหาราชธานี ก็เอาแค่ราชธานีก่อนก็แล้วกัน

เอาละ หมดเวลาแล้ว ไว้ไขความ ไว้ขยายความในวันต่อๆ ไป ซึ่งก็จะต้องทำให้เข้าใจ ในเรื่องของชีวิต ในการศึกษา ชีวิตเราจะได้ดำเนินไป อย่างมีความสุข อย่างที่เข้าใจ อย่างมั่นใจ มันจะเกิดการพัฒนา มีชีวิตอยู่ก็ไม่โมฆะ แต่เป็นชีวิต ที่ได้รับประโยชน์ มีความสุขที่แท้จริง ไม่ใช่สุขโลกีย์ แต่เป็นสุข อันประเสริฐ เป็นวูปสโมสุข เป็นสุขอันวิเศษ

เอ้าสำหรับวันนี้ก็ขอเวลาจบลงแต่เพียงเท่านี้ ระฆังพอดี


จัดทำโดย โครงการถอดเะท็ปธรรมะ
ถอด/พิมพ์-พิมพ์ออก โดย พ.ท.นารถ กองถวิล ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗
ตรวจทานโดย ป.ป. ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗
เข้าปกโดย สมณะพรหมจริโย
เขียนปกโดย พุทธศิลป์
TCT0484.DOC
ทวช. ๒๙ ม.ค. ๒๕๔๖