โลกของศาสนาวันนี้
ธรรมรับอรุณ ส่งท้ายปีเก่า
โดยพ่อท่านสมณะโพธิรักษ์
เมื่อ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๔๖
ณ พุทธสถานราชธานีอโศก

*****

ตอนนี้เทศน์ก็คือ อาตมาได้เทศน์ตั้งแต่เมื่อวานวันที่ ๒๙ ไปแล้ว โดยตั้งหัวเรื่องเอาไว้ ว่าจะเทศน์ ถึงเรื่อง มหาวิทยาลัย พุทธศาสนาแห่งโลก เขาเองเขามีข่าว ถือว่าข่าวออกมาว่า ให้คนรู้จัก มหาวิทยาลัย พุทธศาสนาแห่งโลก ซึ่งได้ตั้งกันขึ้นมาแล้ว รู้จักกัน เป็นที่ยอมรับกันทั่วโลก เป็นที่ยอมรับ กันทั่วโลก ก็เพราะว่า เมืองไทยเป็นเมืองที่มี พุทธศาสนา อย่างเป็นหลักเป็นฐานมากที่สุด ในทุกประเทศ ในโลกนี้ ไม่มีเมืองไหนเท่าเมืองไทย เมืองไทยมีพลเมือง ที่นับถือพุทธศาสนา เกือบทั้งประเทศ แล้วก็พยายาม ที่จะใช้คำว่าพุทธศาสนา เป็นศาสนาประจำชาติ แต่เขาคิดว่า โดยภาษากฎหมาย โดยลักษณะพวกนี้ ไปตีกรอบตัวเองเข้า ก็เลยไม่ใส่เข้าไป เพราะว่ามันยังมี ศาสนาอื่น มันเกี่ยวกับ อิสรเสรีภาพ เกี่ยวกับ สิทธิมนุษยชน เกี่ยวกับอะไรต่างๆ เขาก็เลยไม่ใส่ ตามภาษากฎหมาย เขาก็คิดว่า มันสมควร ทีนี้ก็คงจะคิดว่า คงอยากจะทำน่ะ ที่จริงก็ทำได้ ทำได้ หลายประเทศเขาก็ใช้ ถือศาสนานั้น มีกฎหมายระบุว่า ศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติก็มี แต่ของไทยเรา ไม่ได้ระบุ ระบุแต่เพียงว่า ในหลวง จะต้องเป็น พุทธศาสนิกเท่านั้น ในกฎหมาย มีมานานแล้ว เอาเถอะถึงจะเป็นอย่างไร ก็ไม่มีปัญหาอะไร

มีประเทศที่มีศาสนาพุทธมากอีกประเทศหนึ่งก็คือ ประเทศศรีลังกา เป็นประเทศที่มีพุทธ มาก ๆ มีศาสนาอื่น คือมีฮินดูบ้าง มีอะไรบ้างก็ยังน้อยกว่าพุทธ อย่างนี้เป็นต้น ทั้งโลก ประเทศที่มี ศาสนาพุทธ เป็นแกนหลักจริงๆ ก็เลยกลายเป็นว่า ประเทศไทยนี่เป็นแกนนำของศาสนาพุทธ ก็มีพุทธ มีสถาบันหรือว่ามีองค์กรใหญ่ๆ ที่เป็นองค์กรหลัก ของระดับโลก เรียกว่า พ.ส.ล. คือพุทธศาสนา สัมพันธ์ แห่งโลก ตั้งมานานแล้ว แล้วก็ เปลี่ยนกันเป็นประธาน องค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก มีขึ้นมาเรื่อยๆ เดี๋ยวนี้อาตมาก็ยังไม่รู้ว่า ใครเป็นประธาน องค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก อาตมาจำไม่ได้แล้ว ไม่รู้ว่าใคร

มีข่าวมาก็คือว่า เขาได้ตั้งมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาแห่งโลกขึ้นมาแล้ว ตั้งที่ประเทศออสเตรเลีย แต่ว่าอำนาจ แห่งการบริหาร อยู่ในประเทศไทย สำหรับอาคารนั้นน่ะ อาคารมหาวิทยาลัย ตั้งอยู่ ประเทศออสเตรเลีย เขาตั้งเพื่อ ดำริกัน เขาตั้งขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งสมเด็จพระสังฆราชองค์ ปัจจุบันนี้แหละ ของไทยนี่ ตั้งตั้งแต่ ตอนที่ท่านพระชนมายุ ๘๔ พรรษา ตั้งตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๐ ตั้งมา ๖ ปีแล้ว ทีนี้อำนาจ ศูนย์อำนวยการ มหาวิทยาลัย พุทธศาสนาสัมพันธ์แห่งโลกนี้ ตั้งอยู่ใน ประเทศไทยๆ โดยมีอาคารดำเนินการอยู่ที่ สุขุมวิท ๒๔ ในอุทยานเบญจสิริ ว่าอย่างนั้น อุทยาน เบญจสิริ สุขุมวิทที่ ๒๔ กรุงเทพฯ เป็นอาคารดำเนินการอยู่นั่น

มหาวิทยาลัยนี้ตั้งขึ้นมา มีวัตถุประสงค์ จุดมุ่งหมายคือ

๑. เป็นศูนย์กลางประสานงานทางวิชาการ ในการแลกเปลี่ยน ความคิดเห็น การแลกเปลี่ยนผลงาน ทางวิชาการ ผลงานการวิจัยและพัฒนา ตลอดทั้งการแลกเปลี่ยนข้อมูล ทั้งในระดับภูมิภาค และระดับนานาชาติ นี่ข้อที่ ๑ นะนี่ จุดมุ่งหมาย หรือวัตถุประสงค์ เป็นศูนย์กลาง การประสานงาน ทางวิชาการ ว่าอย่างนั้นเถอะ แล้วก็แลกเปลี่ยน วิชาการ ผลงานวิชาการกันทั้งหมด ทั้งส่วนภูมิภาค และนานาชาติ

๒. พัฒนาระบบวิชาการ พัฒนาระบบวิชาการของพระพุทธศาสนาให้เป็นสากล เพื่อประโยชน์ ทางการศึกษา

๓. เสนอทางเลือกระบบการศึกษาที่มุ่งพัฒนามนุษย์ และสังคมให้สมบูรณ์และกลมกลืนกับ สิ่งแวดล้อมธรรมชาติ

๔. นำพุทธธรรมไปใช้ในการแก้ไขวิกฤตการณ์ต่างๆ ทั้งในระดับภูมิภาค และระดับโลก

๕. จัดและให้บริการวิชาการพุทธศาสนากับองค์กรพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก ศูนย์ภาคี องค์การ พุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก และองค์การอื่นๆ ที่มีวัตถุประสงค์ ทำนองเดียวกัน

อาตมาก็มาเห็นว่าชาวอโศกนี่เป็นพุทธ เลือดพุทธ วิญญาณพุทธ แน่ๆ แท้ๆ เพราะฉะนั้น เราจะปลีกแยก จากกลุ่มนี้ไม่ได้ ปลีกแยกไม่ได้ เราจะต้องผนึกหรือรวมเข้าไปด้วยแน่นอน มาฟังวัตถุ ประสงค์ในรายละเอียดลงไปซิ

ข้อที่ ๑ บอกว่เป็นจุดศูนย์กลางประสานทางวิชาการในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน แล้วก็ การแลกเปลี่ยน ผลงานทางวิชาการ เป็นวิชาการในความคิดเห็นก็ตาม ในเชิงวิชาการก็ตาม ชาวอโศก เรามีความคิดเห็น หรือทิฐิ เราประสานงาน หรือว่าเราเอง เราจะเผยแพร่ หรือว่า เราจะแลกเปลี่ยน ก็ตาม เรามีไหม มีไหม ทิฐิความเห็น หรือจุดสำคัญ ความเห็นที่เป็นสัมมา ความเห็นหรือทฤษฎีก็ได้ ถ้าพูดทิฐิแล้วคนไทยจะเข้าใจอีกอย่างหนึ่ง แต่จริงๆ แล้ว ทั้งทิฐิและทฤษฎี มีความหมายเดียวกัน ทิฐิเป็นภาษาบาลี ทฤษฎีเป็นภาษาสันสกฤต ความหมาย เดียวกัน เพราะฉะนั้น เราจะเข้าใจ อย่างทฤษฎีก็ได้ ไทยเราเอามาใช้ในสองความหมาย ทฤษฎีก็คือ เป็นหลักเกณฑ์ เป็นสูตร ที่จะเอาไป พึงปฏิบัติ ไปสู่จุดมุ่งหมายได้สำเร็จ สูตรที่ถูกต้อง ความเห็นที่ถูกต้อง สูตรที่ถูกต้อง หลักการที่ถูกต้อง ความเข้าใจที่ถูกต้อง แล้วเอามาปฏิบัติได้ เรามีไหม เรามีแน่นอน แล้วเราพร้อม ที่จะแลกเปลี่ยน ผลทางความคิด ผลทางวิชาการ เราเอามาใช้เป็นวิชาการ และเราเอามาใช้ เป็นประโยชน์กับชีวิตได้ พิสูจน์ได้จนทุกวันนี้ ชาวอโศกเรา มีสังคมกลุ่มพุทธ ที่เรียกว่ากลุ่มพุทธ เพราะมีพุทธบริษัท ๔ จริงๆ มีอุบาสกอุบาสิกาที่มีศีล อุบาสกอุบาสิกา คือคนมีศีล ชาวปุถุชนทั่ว ไปไม่มีศีล แต่ถ้าเป็นอุบาสก อุบาสิกาแล้วมีศีล เป็นคนมีศีล ไม่ใช่ไปสมาทานแค่ วันพระทีก็ไป สมาทาน สมาทานก็สมาทาน แต่อยู่ในวัด พอออกมานอกวัดไม่มีศีล ไม่ใช่

แต่พวกเรามีศีลประจำชีวิต สังวร มีสำรวมอินทรีย์ ๖ มีโภชเนมัตตัญญุตา มีชาคริยานุโยคะ นี่คือ หลักปฏิบัติไม่ผิด ๓ ข้อ เพราะฉะนั้น เรามีชีวิตนี่มีศีล ศีลนี่เป็นจรณะข้อที่ ๑ ส่วนอปัณกธรรม ๓ เมื่อกี้นี้นี่ สำรวมอินทรีย์ ๖ โภชเนมัตตัญญุตา ชาคริยานุโยคะ นี่คือ อปัณกธรรม ๓ คือหลักเกณฑ์ ๓ ข้อที่ ถ้าใครปฏิบัติ ๓ อย่างนี้อยู่ในตัวจริงๆ มีพฤติกรรมในชีวิตอย่างนี้จริงๆ คือผู้ปฏิบัติไม่ผิดพุทธ ไม่ตกต่ำ ไม่เสื่อม ปฏิบัติไม่ผิด ถ้ามี ๓ อย่างนี่ แล้วก็ศีลแต่ละคนก็ ข้อที่ ๑ ของจรณะ ใครจะมีศีล ๕ ใครจะมีศีล ๘ ใครจะมีศีลจุลศีล มัชฌิมศีล มหาศีล มีศีล ๒๒๗ มีศีล ๑๐ มีศีลอะไรก็ว่าไป แล้วก็ ปฏิบัติใน ๓ หลักนี่เหมือนกัน ส่วนศีลของใครของมัน ศีลของใครจะเท่าไรๆ ก็ว่าไป แต่พวกเรามี ตั้งแต่ศีล ๕ มีศีลจริงๆ ไม่ใช่ว่าไม่มี แล้วสังวรจริงๆ สำรวมอินทรีย์จากด้วยศีลนั่นแหละ สำรวมอินทรีย์ แล้วก็โภชเนมัตตัญญุตาในศีลนั่นแหละ ชาคริยานุโยคะในศีลนั่นแหละ เรียกว่าศีล สมาธิ ปัญญา ในศีล และใน อปัณกธรรม ๓ มีสัทธรรมอีก ๗ มีฌานอีก ๔ เป็นจรณะ ๑๕ มีหมด ของเรามีอยู่ในนั้น หมดเลย แม้แต่ สัทธรรม ๗ นี่ ไม่ขานชื่อ ไม่กล่าวเรียก ซึ่งคุณก็ปฏิบัติอยู่แล้ว ตั้งแต่ศรัทธา สัทธรรม ทั้ง ๗ นี่ มีศรัทธา มีหิริ โอตตัปปะ พาหุสัจจะ วิริยะ สติ ปัญญา มีศรัทธาทั้ง ๗ แล้วก็มี ฌานอีก ๔ รวมแล้วก็เป็น ๑๕, จรณะ ๑๕ จรณะคือพฤติกรรม หรือความประพฤติ เพราะฉะนั้น พวกเรามีจรณะ มีความประพฤติอยู่จริง เป็นพุทธ เป็นพุทธถึงขนาดยืนยันได้ว่า อบายมุขจะต้องไม่มี ชาวพุทธที่เป็น โสดาบันนั้นปิดอบาย เพราะฉะนั้น เราพิจารณาที่จิต อย่างน้อยที่สุด ในกายกรรม หรือในรูปธรรม ของเรา ไม่มีอบายมุข

สังคมชาวราชธานีอโศกไม่มีอบายมุข สังคมนี้ไม่มีอบายมุข จริงๆ เพราะฉะนั้น แม้แต่จะมีรูปธรรม เป็นพุทธแล้ว เพราะไม่มีอบายมุข ในรูปธรรมเป็นแล้ว ส่วนจิตวิญญาณ ผู้ใดไม่ได้ติดในอบายมุข อีกเลย ผู้นั้นก็หลุดพ้นอบายมุข เป็นโสดาบันแท้ๆ ไม่ใช่โสดาบันแค่บุคคล เป็นโสดาบันทั้งหมู่บ้าน อย่างน้อยเป็นโสดาบันโดยรูปธรรมแล้ว ถ้าจิตวิญญาณ ยิ่งเป็นด้วย จิตวิญญาณของชาวอโศกเรา ในราชธานีนี่ก็ หลายคน เป็นแต่เพียงว่า ไม่มีญาณลึก ที่จะตรวจสอบ อย่างสมบูรณ์เท่านั้นเองว่า กิเลสเราสิ้นอาสวะในอบายมุข จริงหรือไม่เท่านั้นเอง ถ้ามีญาณอันนี้ มีวิชชา ๙ อันนี้ตรวจสอบ คนนั้นก็จะรู้ความจริง จริงๆ แล้วเจโตเป็นแล้ว แต่ปัญญาเท่านั้นเอง ยังตรวจไม่เก่ง แต่ไม่เป็นไรหรอก ถ้าเป็นจริงแล้ว ปัญญามันก็ รู้อยู่แล้วว่า เราไม่เอา ถ้ามี เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ เป็นอุภโตภาควิมุตติ แล้ว มันก็เป็นไปได้ นี่คือคนที่ได้ปฏิบัติธรรมของพระพุทธเจ้า แล้วก็มีมรรคผลอย่างนี้ มีรูปธรรม มีนามธรรมที่แท้จริง สอดคล้องกับคุณธรรม หรือคุณภาพที่พระพุทธเจ้าท่านให้ปฏิบัติพิสูจน์ เอหิปัสสิโก ให้ปฏิบัติ พิสูจน์เพื่อบรรลุผลเหล่านี้จริงแท้ จนเชิญคนมาดูได้ เอหิปัสสิโก เชื้อเชิญ ให้มาดูได้ ท้าทายให้มา พิสูจน์ได้ จนเป็นอย่างนั้น

เพราะฉะนั้น สิ่งนี้เรามีจริง เราก็จะค่อยๆ เขาบอกว่าผลงานการวิจัยและพัฒนา ตลอดทั้ง การแลกเปลี่ยน ในภูมิภาคและในโลก ส่วนการที่เขาจะทำนี่ เขาทำระดับใหญ่ พวกนี้โลภ เราไม่ต้อง ใหญ่หรอก ถ้าเผื่อว่า เขาจะมาร่วมด้วย ให้เราไปร่วม jam บ้าง เขาจะมีถึงขั้นว่า เขาจะรวบรวม ทางมหาวิทยาลัย จะเชิญผู้รู้ ไปเป็นอาจารย์ ไปเป็นผู้อบรม ไปเป็นวิทยากร เป็นอะไรนั่นน่ะ ต่างๆ นานา เราไม่อาจเอื้อมหรอก เราไม่คิดหรอก ว่าเราจะได้รับเชิญ เขาเชิญคนนั้นคนนี้ โดยโครงสร้าง มหาวิทยาลัยของเขานี่ จะประกอบไปด้วย โครงสร้างการบริหาร สภามหาวิทยาลัย ก็จะมีสภา มหาวิทยาลัยอย่างนี้เป็นต้น แล้วก็มีนายก พระธรรมปิฎก ปอ.ประยุทธ์ ปยุตโต นี่เป็นนายกสภา มหาวิทยาลัยรูปแรก แต่ตอนนี้ไม่ใช่ ตอนนี้มีผู้เป็นประธาน เป็นนายก สภามหาวิทยาลัย เป็นชาว ลังกา ดร. อนันด้า WP คุรุ ภาษาทางแขกๆ เขา คุรุ อนันดา WP ไม่รู้ย่อมาจาก ตัวอะไรบ้าง WP คุรุ เป็นนักปราชญ์ ชาวศรีลังกา เป็นอธิการบดี สถาบันวิจัย สถาบันพัฒนาอะไรของเขาว่ากันไป แล้วเขา จะมีนักปราชญ์เครือข่ายของมหาวิทยาลัยต่างๆ ของสถาบันต่างๆ ในด้านพุทธศาสนาทั่วโลก เข้ามา ช่วยเหลือผู้ที่จะมา ช่วยงานทั้งหมด แล้วเขาก็ว่ากันไป

ทีนี้ข้อที่ ๒ พัฒนาระบบวิชาการทางพุทธศาสนาให้เป็นสากล ก็คงจะต้องมาประยุกต์บ้าง อะไรต่ออะไร เหมือนอย่างกับ เราชาวอโศก เราก็ประยุกต์บ้าง แต่ไม่ให้ผิดเพี้ยนไปจากแกนหลักของ ธรรมวินัยของพระพุทธเจ้า อาตมาดูแลเรื่องนี้อยู่จริงๆ เลยว่า จะให้ออกมาเป็นประโยชน์ต่อสังคม ย่างไรมากที่สุด โดยเฉพาะเรื่องที่หลายคน อาจจะยึด แล้วก็คิดว่าเป็นไปไม่ได้ เช่น สาธารณโภคีนี่ เป็นของศาสนาพุทธโดยตรง เป็นเรื่องกินใช้ร่วมกัน เป็นส่วนกลาง ในยุคพระพุทธเจ้า พระองค์ทำแล้ว กับสงฆ์ ในคณะสงฆ์ ที่ภิกษุภิกษุณี ทำเป็นสาธารณโภคีสำเร็จ เป็นได้ ในยุคนั้น ทีนี้มาถึงยุคนี้ ยุคพระพุทธเจ้ายังทำไม่ได้นาแล้วยังทำไม่เป็น เอาสาธารณโภคีมาทำกว้าง จนกระทั่ง ถึงฆราวาส ยังทำไม่ได้ อาตมาก็มาประยุกต์ มาให้เป็นสากลกว่านั้น คือให้มาเป็นทั้งฆราวาสได้ เป็นสาธารณโภคี อย่างที่ทำมาแล้ว จนทุกวันนี้เรามีสาธารณโภคีแล้ว กว้างขึ้นมา เป็นประโยชน์ต่อมนุษย์มาก ซึ่งอาตมาบอก เหตุผลแล้วว่า ทำไมยุคพระพุทธเจ้ายังทำไม่ได้ ยุคนี้ทำไมทำได้ อาตมามีเหตุผลถึง ๙ ข้อ แต่อาตมาจำไม่ได้ จาก ๙ ข้อละเอียด แต่จำได้อย่างหยาบๆ เพียง ๔ ข้อ ๕ ข้อ เช่น

ยุคโน้นนี่ ยุคสมัยพระพุทธเจ้านั้นเป็นยุค สมบูรณาญาสิทธิราช คือพระเจ้าแผ่นดินหรือว่าเจ้า แห่งแคว้นนี่ มีสิทธิทุกอย่าง เป็นเจ้าของทุกอย่าง แม้แต่มนุษย์ แม้แต่พลเมืองก็เป็นเจ้าชีวิต เหนือกฎหมายทุกอย่าง ไม่มีกฎหมาย มีกฎหมายก็ตาม แคว้นสมัยโน้น เขาก็มีกฎหมาย แต่กฎหมาย ก็ตาม พระเจ้าแผ่นดินเหนือกฎหมายหมด สั่งฆ่าใคร อยากฆ่าใคร อยากจะทำอะไร อยากจะเอา ทรัพย์สิน ของใครอะไร เอามาได้หมด เป็นเจ้าของหมด สิทธิตกอยู่ที่ พระเจ้าแผ่นดินอย่างเดียว นั่น ๑. ๒ . เป็นระบบทาส ทาสนี่คือคนไม่ใช่พระเจ้าแผ่นดินก็เป็นเจ้าทาสนายทาสได้ เป็นเจ้าของชีวิต มนุษย์ได้ เพราะฉะนั้น ใครเป็นนายทาส ถ้าลูกทาส เขาจะฆ่าก็เรื่องของเขา เขาจะฆ่าจะแกง เขาจะทำร้ายทำลาย ใครไม่มีสิทธิ ที่จะไปยุ่งกับมนุษย์หรือวัตถุ นายทาส เพราะฉะนั้นสิทธิมนุษย์ ๓ . ความเป็น สิทธิมนุษยชน ยังไม่มีความรู้ เพราะฉะนั้น พวกทาสทั้งหลายแหล่นี่ มันนึกว่าตัวเอง เป็นมนุษย์ แล้วไม่มีสิทธิ เป็นเจ้าของชีวิตของตนเอง ไม่มีสิทธิ์คิด สิทธิ์พูด ไม่มีสิทธิ์ทำ ไม่มีสิทธิ ส่วนอะไร เหมือนสัตว์เดรัจฉาน ไม่มีความรู้ ไม่มีอิสรเสรีภาพ ไม่มีความรู้เรื่องสิทธิมนุษยชน แล้วก็ข้อที่ ๔ . นี่ ไม่มีอิสรเสรีภาพแห่งความ เป็นมนุษย์ .... (เสียงหายไป มีเสียงสมณะองค์อื่นเทศน์แทน)

อาตมาแบ่งไว้ แยกไว้ตั้ง ๙ ข้อ หรือ ๑๐ ข้อ จำไม่ได้ทีเดียว นาไม่ได้เอามาพูด ไม่ได้เจตนา จะมาพูด ในวันนี้ ก็เลยไม่ได้ทบทวน ไม่ได้หยิบมา สรุปแล้วมันทำไม่ได้ในยุคโน้น เพราะว่า กระจายสิทธิไม่ได้ อย่างเดี๋ยวนี้ได้ เพราะอะไร เพราะไม่ใช่ระบบสมบูรณาญาสิทธิราช ไม่ใช่ระบบทาส ไม่ใช่เป็น สังคมทาส และคนเข้าใจ สิทธิมนุษยชนชัดเจน และคนมีอิสรเสรีภาพเต็มแล้ว ทุกวันนี้ เพราะฉะนั้น ทุกคนมีอิสระจะเลือก อย่างพวกคุณมานี่ มายอมเสียสละ มาทำงานฟรี เรื่องของคุณ สิทธิของคุณ อิสรเสรีภาพของคุณ ไม่มีใครมาบังคับ ไม่มีอำนาจ บังคับไม่ได้ คุณเต็มใจมา คุณไม่เต็มใจ คุณออกไป เดี๋ยวนี้ก็ได้ คุณเต็มใจมาคุณมา มากันเอง เสียสละเอง คุณจะไม่เอาสตางค์ คุณจะทำงานฟรี คุณเห็นว่า เป็นคุณค่า คุณเห็นว่าเป็นสิ่งที่มันดีงาม คุณร่วม อย่างนี้ คุณเต็มใจร่วม คุณก็มาร่วม ร่วมวิธีนี้แหละ สังคมแบบนี้แหละ คุณมาเอง อย่างนี้เป็นต้น

สมัยพระพุทธเจ้าจึงยังทำไม่ได้ ท่านเองท่านไปบังคับพระเจ้าแผ่นดิน ท่านเอง อยู่กบิลพัสดุ์ เป็นพระเจ้าแผ่นดินเล็ก ด้วยซ้ำ พระเจ้าแผ่นดินใหญ่กว่านั้นก็มี ท่านทำไม่ได้ และ มนุษย์ไม่เข้าใจ สิทธิมนุษยชน พูดให้ตายก็ไม่เข้าใจ แต่เดี๋ยวนี้นี่ เกินสิทธิด้วยซ้ำไป มันจะเอามาก เอาแต่ใจกู ตามใจกู สิทธิมนุษยชนว่า เอาแต่ตามใจกู จริง กิเลสเป็นเจ้าเรือน หนักด้วยซ้ำไป ยึดเอาสิทธิส่วนตัว มากเกินไป ด้วยซ้ำ เพราะฉะนั้น ทุกวันนี้ทำได้ อย่างนี้เป็นต้น เพราะฉะนั้น ยุคสมัยเท่านั้นที่มันต่าง เพราะฉะนั้น ประยุกต์มานี่ ไม่ได้เปลี่ยนหลักการของพระพุทธเจ้า เอาสาธารณโภคีของพระพุทธ เจ้ามาใช้เต็มๆ ให้มีประโยชน์กว้างขวาง มีประโยชน์กับมนุษยชาติมากยิ่งขึ้น เป็นคุณค่ายิ่งขึ้น อย่าง นี้เป็นต้น เพราะฉะนั้น เขาจะพัฒนาระบบวิชาการพระพุทธศาสนาให้เป็นสากล เพื่อประโยชน์ ทางการศึกษา ไม่ใช่ทางการศึกษา เท่านั้น เรายิ่งกว่านั้น เพื่อประโยชน์ทั้งทางการศึกษา และใช้สอยกับชีวิต จริง ยิ่งกว่าด้วย

๓. เสนอทางเลือกระบบการศึกษาที่มุ่งพัฒนามนุษย์ เราเสนอทางเลือกนี้ไหม นี่แหละ alternative ของสังคมโลกล่ะ นี่แหละคือเสนอให้แก่ globalization นี่แหละทางเลือก ทางเลือกของ วิธีดำรงชีวิต เป็นวิชาการอย่างยิ่ง เพื่อประโยชน์ในโลก เป็นการศึกษาที่ทางเลือกที่ยิ่งใหญ่ เป็นการเสนอทางเลือก ระบบการศึกษา ที่มุ่งพัฒนามนุษย์นี่ มุ่งพัฒนามนุษย์จริงๆ และสังคมให้สมบูรณ์ และ กลมกลืนกับ สิ่งแวดล้อมธรรมชาติ กลมกลืนไหม (กลมกลืนค่ะ) โอ้โฮ! เขาก็คิดออกเหมือนกันนะ แต่ ทำไม มันคิดตรงกันกับที่อโศกเป็นแล้ว

๔. นำพุทธธรรมไปใช้ในการแก้ไขวิกฤตการณ์ต่างๆ ทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก เราตั้งใจอยู่ ตั้งใจจะไป ให้ระดับโลก โน่นแหละ แต่ก็ไม่เหิ่มหาญ หรือว่าไม่บังอาจอะไรมากมายนักหรอก ทำยังเจียมตัวๆ นำพุทธธรรมนี้ ไปใช้ในการแก้ไขวิกฤตต่างๆ ซึ่งเราก็แก้ไขอยู่แล้ว แก้ไขวิกฤต เรื่อง เศรษฐกิจ แก้ไขวิกฤตทางสุขภาพ แก้ไขวิกฤต ทางการศึกษา แก้ไขวิกฤตทางการเมือง เราก็ยังแก้เขา ไม่ได้ แต่ก็พยายามไป เพราะฉะนั้น เราก็ทำอะไรได้ก่อน ก็ทำไป อย่างน้อยที่สุด แก้ไขทางเศรษฐกิจ พวกเรามาจนได้สนิทแล้ว คนที่จนได้สนิทแล้ว มันหมดเรื่องเดือดร้อนแล้ว นี่ จนอย่างมีความสุข จนอย่างมีความสูง จนอย่างมีความสร้างสรร จนอย่างมีการเสียสละ โอ้โฮ! คนจนมีเสียสละ ด้วยนะ คนจนนี่ จนอย่างสร้างสรรด้วย จนอย่างเสียสละ จนอย่างมีสมบัติ โอ้โฮ! แล้วเป็นสมบัติ อย่างสูญด้วย งง จริงๆ มีสมบัติอย่างสูญ เรามีสมบัติเรามีคุณค่า เราอาจจะไร้มูลค่า เป็นคนราคาไม่มี เป็นคนไร้ มูลค่า เพราะทำงานฟรี ทำงานราคาเท่าไร อัตราเงินเดือนเท่าไร จะเอาเท่าไร เอาเงินเดือนเท่าไร เอาเท่าไรๆ ศูนย์ เป็นคนไม่มีมูลค่า แต่คุณมีคุณค่า คุณมีประโยชน์ มีประสิทธิภาพ มีสมรรถนะ ขยันอีกต่างหาก คือเป็นเรื่องที่ประหลาด แต่มันเป็นจริง คนเป็นจริง มีคนเสนอมูลค่า คือขี้ ค่าก็ฟังไป

มูลค่าคือทรัพย์ที่นับได้เป็นวัตถุรูป ส่วนคุณค่านั้นเป็นค่าที่นับได้เหมือนกันแต่นับยาก เพราะ เป็นนามธรรม ไม่ใช่วัตถุธรรม ไม่ใช่รูป แต่เป็นนามธรรม เป็นคุณค่า เป็นสิ่งที่สมรรถนะก็มี สร้างเสร็จ แล้วไม่ตีราคา หรือให้ไปเลย ไม่เอาไว้เป็นของตัวของตน ไม่ไปเบียดเบียนใคร มีแต่ให้ มีแต่เกื้อกูล เป็นคนมีประโยชน์ต่อผู้อื่นอย่างสัจจะ ทุกวันนี้ ทุนนิยมเขาไม่มีประโยชน์ เขาทำแล้วก็คิดค่าแรง คืนหมด เขาคิดค่าอะไรต่ออะไรคืนหมด ผลผลิตอะไร สร้างขึ้นมา จะขายไป จะแลกอะไร เป็นวิธีคิด ที่ไร้คุณค่า แต่มีแต่มูลค่าเท่านั้น เพราะฉะนั้น เศรษฐกิจเขาก็คิดเศรษฐกิจ ทางมูลค่า เขาไม่ได้คิด เศรษฐกิจทาง คุณค่า เราไปไกลกว่าเขามาก มูลค่าเราก็รู้ ไม่ใช่ว่า เราโง่งมงาย

อาตมาเอาเรือลำนี้ขึ้นมาตั้งเสร็จ เล่าให้คุณจำลองฟัง คุณจำลองมาแล้ว ก็มาคุยกันบ้าง เล่าให้ฟังว่านี่ เอาเรือลำนี้มาตั้ง เสร็จแล้ว อยากจะทำเป็นอาคารเป็นโรงเรือน โอ้โฮ มันก็เกิดมูลค่าขึ้นซิ ต่อไป ในอนาคต คุณจำลองว่าอย่างนั้น ใช่ แน่นอนเดี๋ยวนี้เกิดมูลค่าขึ้นในบ้านราชแล้ว เป็นมูลค่าขึ้น ต่อไปก็จะมีเป็นอะไร ต่ออะไรขึ้นมา มันก็จะมีประโยชน์ แล้วก็จะเป็นสินอะไรต่ออะไร ดีไม่ดีมันอาจ จะเป็นแง่คล้ายๆ กับอะไรล่ะ มรดกโลก อะไรต่างๆ อะไรก็ได้ เราก็ไม่คิดใหญ่ขนาดนั้นหรอก คงไม่เก่ง เหมือนกับกำแพงเมืองจีน หรือว่าไม่เก่งเท่า ไม่อยากจะเทียบเท่า ทัชมาฮาล เพราะว่ามันเป็น สัญลักษณ์ของ ไม่อยากพูดเลย นครวัดนครทม อะไรนี่ แต่เราไม่ยิ่งใหญ่ ขนาดนั้นหรอก แต่เป็นอย่าง ภาษาเราในสมัยนี้ยุคนี้ เรื่องวัตถุรูปนี่ มันยิ่งใหญ่ในแบบหนึ่ง แต่มันยิ่งใหญ่ ไม่เหมือนสมัยโบราณ ของเราสมัยโบราณ มันก็อีกอย่างหนึ่ง นครวัดนครทม เขาสร้างมาตั้ง ๒๐๐ ปี ของเรานี่ ก็จะสร้างกัน ในยุคนี้แหละ อาตมาคิดว่าในยุคอาตมานี่ ก็คงจะต้องทำให้เสร็จ ตรงนี้ มันก็ไม่กี่เดือน กี่วัน กี่ปี หรอก คงไม่กี่ปีหรอก ก็คงจะเสร็จ ไม่ถึง ๒๐๐ ปี เหมือนนครวัดนครทมหรอก ก็ไม่ได้นานจนกระทั่ง มันไม่ ทารุนโหดร้าย เหมือนกับกำแพงเมืองจีนอะไรนี่ คงไม่อย่างนั้น

ข้อที่ ๕. จัดและให้บริการวิชาการพุทธศาสนากับองค์กรพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก ศูนย์ภาคี องค์การ พุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก และองค์การอื่นๆ ที่มีวัตถุประสงค์ทำนองเดียวกัน หมายความว่า จะให้บริการวิชาการ คิดจะสร้างให้บริการวิชาการ คือจะเป็นแหล่งรวมมหาวิทยาลัย นี่ก็เป็นแหล่ง แห่งความรู้ เพื่อที่จะให้เป็น แหล่งความรู้ ที่จะกระจายความรู้ให้แก่กลุ่มอื่นๆ ไป เอาละ เวลาก็จะหมดลง

อาตมาก็ขอสรุปให้ฟังตรงนี้ แล้วพรุ่งนี้ก็เทศน์ต่อ เรื่องนี้อีก เรื่องมหาวิทยาลัยแห่งโลกนี่ ก็พูด สรุปไว้ ตรงนี้ แล้วก็จะเข้าใจว่า ทำไมอาตมาจะต้องเทศน์เรื่องนี้ มหาวิทยาลัยก็หมายความว่า เป็นความรู้ ที่อยู่ของความรู้ มหา- วิทยะ วิทยะ=ความรู้ อาลัย ที่อยู่ ที่อยู่ของความรู้อันยิ่งใหญ่ ถ้าจะพูดให้ชัดขึ้น ก็คือ แหล่งความรู้อันยิ่งใหญ่ ที่อยู่ก็คือแหล่ง แหล่งหรือที่ที่นั้นแหละ ตรงนั้นแหละ ที่อยู่หรือแหล่ง แห่งความรู้อันยิ่งใหญ่ๆ เรื่องอะไร เรื่องพุทธศาสนา มหาวิทยาลัยทางพุทธศาสนา เพราะมหาวิทยาลัย เขาสอนเน้นแต่อะไรๆ หลายๆ ด้าน มหาวิทยาลัยต่างๆ อย่างมหาวิทยาลัย แพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย ที่เขามีหลายๆ แผนก มีหลายๆ สถาบัน ตามใจเถอะ แบบโลกๆ แต่อันนี้ คือพุทธศาสนา จำกัดลงไปว่า เป็นพุทธศาสนา จำกัดลงไปตรงนั้น เราชาวอโศกนี่ เป็นมหาวิทยาลัย หรือเปล่า เป็นมหาวิทยาลัย ที่มีนโยบาย หรือมีปรัชญานำ ศีลเด่น เป็นงาน ชาญวิชา ไม่ใช่แต่ สัมมาสิกขา ไม่ใช่ แต่ ม.วช. ไม่ใช่แต่นักเรียนเท่านั้น พวกเราทุกคน ก็อยู่ในไตรสิกขานี่ก็ตาม อยู่ในสัดส่วน อยู่ในองค์ประกอบนี้ด้วย มากน้อยแล้วแต่ผู้ใดที่จะทำตนเองเป็นนักศึกษา เป็นนักปฏิบัติ เป็นนักเล่าเรียน เป็นนักอบรมฝึกฝน ที่แท้จริง ถ้าเป็นนักศึกษา เป็นนักอบรมฝึกฝนที่แท้จริง และเราก็มี หลักสูตรของเรา หลักสูตรทาง พุทธศาสตร์นี่ เรามีแล้ว เพราะฉะนั้น เราจะเผยแพร่ไหม เผยแพร่ไหม (เผยแพร่) ศาสนาพุทธ เผยแพร่ด้วยไม่ใช่มีแต่ ประโยชน์ตน มีธรรมกถึก มีการแพร่หลายออกไป สู่บริษัทอื่นๆ ไปเรื่อยๆ

แต่เราก็ทำตามประสาเรา โดยอยู่อย่างแร้งด้วย เพราะว่าคนมองเราอย่างแร้ง เราก็อยู่ในสภาพ อย่างแร้ง ต้องยอมรับความจริงอันนี้ ไม่ใช่เราพูดเล่น ไม่ใช่ประชดประชัน แต่เป็นไปตามความจริง เราภาคภูมิในความเป็นแร้ง อย่างที่อาตมา กล่าวแต่ต้นแล้ว เพราะแร้งเป็นสัตว์ที่คนทั้งโลก รังเกียจ สกั๊งค์ (skunk) อาจจะรังเกียจแต่แค่ ทางตะวันตกเขา เมืองไทยไม่มี ไม่รู้จักสกั๊งค์ (skunk) เหี้ย อาจจะรังเกียจ ในเมืองไทย เมืองอื่นก็ไม่รู้จักเหี้ย หรือมีก็ตาม เขาก็มีตะกวดของเขาเหมือนกัน มีเหี้ยของเขาเหมือนตระกูลพวกนี้ เหมือนกัน แต่เขาก็ไม่ได้รังเกียจนี่ เขาเอามันไปเลี้ยงด้วยซ้ำ เลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงเล่นๆ ด้วยซ้ำไป แต่ของไทยนี่ รังเกียจเหี้ย ต่างประเทศรังเกียจสกั๊งค์ (skunk) แต่แร้งนี่รังเกียจทุกประเทศ เลย ยิ่งใหญ่กว่านั้น แต่รังเกียจลึกๆ เขาก็ไม่ค่อยจะทำร้าย แร้งกันเท่าไร ลึกๆ นี่ คนจะไม่ค่อยทำร้าย แร้ง แล้วแร้งเป็นสัตว์ที่มีคุณต่อโลก เป็นสัตว์ที่เก็บ สิ่งที่คนเขารังเกียจ ของเน่าของเหม็น ไม่ว่าคนตาย ไม่ว่าสัตว์ตาย ไม่ว่าอะไรตาย ของเน่าของเหม็นทั้งหลายแหล่ เก็บ กว้าง โดยการตรวจตระเวนตาดี บินว่อน แล้วบินสูงที่สุด ยิ่งกว่าพญาอินทรี โอ้โฮอันนี้เป็นข้อมูล หลังสุดได้มา ข้อมูลหลังสุด ตาดี ตรวจเก็บกวาดให้ ทำอะไรให้ ไม่เคยไปรังแกใคร อยู่อย่างสงบ เจียมตัว นี่คือสัญลักษณ์ หรือลักษณะ ที่แท้ของชาวอโศก อยู่อย่างเจียมตัว อยู่อย่างถ่อมตน อยู่อย่างสงบ อยู่อย่างสร้างสรรงาน ที่ตนเองรับผิดชอบ แล้วก็จะเป็นผู้รับใช้ โลกทั้งโลก เป็นผู้รับใช้ โลกทั้งโลก ใหญ่ไปไหมๆ ใหญ่อยู่ตอนนี้ เพราะว่า เรายังไม่มีพลังจริง เรายังไม่มีพลังจริง ถึงขนาดนั้น

ตอนนี้เราพยายามที่จะเป็นพลังที่จะช่วยสังคมโลกในระดับกลุ่ม ครอบครัว แล้วก็มาขึ้นเป็น มวลกลุ่มสังคม ประชาชน ตอนนี้ก็เป็นกรอบ สังคมประชาชน ในระดับชุมชน อย่างในระดับหมู่บ้าน เป็นได้แค่หมู่บ้าน ต่อไป ก็อาจจะขยายผล ต่อไปกว้างขึ้น อาจจะไม่เป็นในรูปที่ว่า เป็นตำบล คงรวม เป็นตำบลยาก เพราะว่าข้างๆ เคียงๆ จะให้กุดระงุม จะให้บ้านคำกลาง ท่ากกเสียว ดงบางอะไรละ แถวย่านนี้ ขึ้นมาเป็นสาธารณโภคี มาเป็นบุญนิยมด้วย คงสำเร็จยาก เพราะฉะนั้น ก็คงจะต้องเป็น หมู่บ้านที่เป็นเครือข่าย อยู่ที่นี่หมู่บ้านนี้เป็นได้ อีกหน่อยขยายออกไปๆ ไปหมู่บ้านหินแฮ เป็นได้ อะไรอย่างนี้ เดี๋ยวนี้แข็งขึ้นมากแล้วนะหมู่บ้านหินแฮ ใช่ไหม หมู่บ้านหินแฮ มันก็จะเป็นอย่างนี้ แต่เป็น เครือข่ายกันหมดทั่ว ของเรานี่ทั่วประเทศอยู่แล้ว เป็นเครือข่าย ไหนจะเกิดตามรูปเครือข่าย คงไม่เป็น รูปที่จะเอาตรงนี้ ขยายมวลแผ่อาณาเป็นแบบอาณานิคมเขาน่ะ แผ่อาณานิคมเขามารวมเป็น คงไม่ใช่ คงทำไม่ได้ แต่ก็จะเป็นสภาพเครือข่ายที่ว่านี่ แล้วก็ประสานกัน ด้วยจิตวิญญาณ เพราะวัตถุ ของเรา ไม่มีปัญหา วัตถุของเรานี่เป็นของเราก็ไม่ใช่ของเรา เป็นของเราก็ได้ ไม่ใช่ของเราก็ได้ เพราะฉะนั้น ไม่มีปัญหา ส่วนความผนึกแน่นของจิตวิญญาณนั่น เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้ อันนี้เป็น เรื่องลึกซึ้ง เป็นเรื่องประหลาดที่มนุษยชาติจะทำได้ อาตมาว่าเรื่องนี้นี่ จะต้องพิสูจน์กัน โดยอาตมา ตั้งใจจริงๆ กับพวกคุณบอกไปเลย ว่าอาตมาตั้งใจจริงๆ ว่าจะพยายามให้ตัวเองมีอายุยืนยาว ตั้งใจ แต่จะได้ เท่าไรนั้น มันบอกไม่ได้จริงๆ ตั้งใจเอาไว้ ตั้งเป้าเอาไว้สูง แต่จะได้ถึงไหมหรือไม่ไม่รู้ มันคงจะ ไม่ใช่ธรรมดา

ถ้าอาตมาจะมีอายุ ๑๕๐ จริงๆ นี่นะ ๑๕๑ ตามที่พูดไปแล้วนี่ เนื้อหนังมังสาต้องเหี่ยว ต้องย่นลงไป ขนาดหนัก อาตมาตอนนี้อายุ ๗๐ ถ้าจะไป ๑๕๐ ต้องอยู่อีก ๘๐ นะ นี่อยู่มาแล้ว ๗๐ นะนี่ ก็ขนาดนี้ ถ้าจะอยู่ไปอีกถึง ๑๕๐ จะต้องอยู่ไปอีก ๘๐ มันจะเป็นไปได้หรือๆ แต่ก็ไม่รู้นะ มันอาจจะมี อภินิหาร อะไรอีก ไปอายุ ๑๕๐ แล้วหนุ่มฟ้อกว่านี้ ก็พูดกันอย่างเล่นๆ ผสมไป มันอาจจะมีอภินิหาร อะไรได้ ซึ่งมันไม่เคยมี มันมีอภินิหารอะไรได้ ก็เป็นได้ ก็พยายาม แต่จริงๆ แล้วก็คงยากบ้าง เพราะว่าอาตมา ก็บอกแล้วว่า อาตมานี่อายุขัยจริงๆ มัน ๗๒ เท่านั้น อาตมาก็คงจะต้อง

อายุไขก็คือต้องสิ้นชีวิตอายุ ๗๒ ก็ยังเหลืออีก ๒ ปี อีก ๒ ปี ถ้าอาตมาจะใช้อิทธิบาท ก็ไม่รู้ว่า จะใช้ได้หรือไม่ได้ มันบอกไม่ได้ แต่อาตมาก็รู้สึกว่า อาตมาก็ดูแข็งแรงอยู่ แม้ ๗๐ แล้ว ๗๑ ๗๒ ขึ้นไป เดี๋ยว ๕ มิถุนานี่ก็เต็ม ๗๐ ขึ้น ๗๑ ๕ มิถุนาปีหน้านี่เต็ม ๗๐ ปี ๒๕๔๗ นี่ เพราะอาตมาเกิด ๗๗ ปี ๔๗ เต็ม ๕ มิถุนาวันเกิดปั๊บ มันก็ขึ้น ๗๑ หนึ่งวัน วันที่ ๕ ขึ้น ๑ วันใช่ไหม เกิดวันที่ ๕ พอวันที่ ๔ มันก็เต็มแล้ว พอวันที่ ๕ เป็นวันเกิด วันที่ ๕ ขึ้น ๑ วัน ก็วันที่ ๕

อาตมาเลยตั้งใจอยู่ว่า อายุถึง ๗๒ นี่มันก็จะเต็มกี่รอบละ ๖ รอบ อายุ ๗๒ นี่ ก็คิดว่าอยากจะ ฉลองอะไร ก็พยายาม รวบรวมดู อะไรที่คิดว่า จะทำให้สำเร็จ ภายในอายุ ๗๒ เพราะความแน่มันไม่มี ถ้าอาตมา ไม่มีอิทธิบาทจริงๆ ต้องเสียชีวิตในอายุ ๗๒ มันก็จะต้องพยายามทำอะไรให้มันสำเร็จเป็น เรื่องๆ ไปบ้าง เพราะฉะนั้น ก็อยากจะรวบรวมอะไร ให้มันทัน อย่างน้อยตึกนี้ ต้องเสร็จก่อน ๗๒ อะไรอย่างนี้ พระวิหาร ต้องเสร็จก่อน ๗๒ อะไรอย่างนี้ เป็นต้น ซึ่งเป็นวัตถุธรรมนี่ หรือว่าเรื่องหลักฐาน อะไร ที่มันจะควรทำ หนังสือหนังหา อันนั้นอันนี้ จะต้องเขียนหนังสือ ศาสนาพุทธ ให้เสร็จก่อน ๗๒ อะไร อย่างนี้เป็นต้น หนังสือศาสนาพุทธ อาตมาคิดว่า ต้องเขียน ให้เสร็จก่อน อะไรอย่างนี้เป็นต้น หรือเรื่องนั้นเรื่องนี่ อะไรแล้วแต่ ที่จัดสรรให้มันเสร็จก่อน ๗๒ แล้วจะได้ฉลองกัน ๗๒ ฉลองแล้ว ถ้าเผื่อว่าจะสิ้นอายุก็สิ้นไป จะฉลองอะไรกันบ้าง เพราะฉะนั้น ปีที่ครบอายุ ๗๒ ก็คงจะได้ฉลอง เรื่องอะไรหลายๆ อย่าง งานอะไรหลายๆ อย่าง ในปี ๗๒ ช่วยอาตมาด้วย ช่วยอาตมาด้วยแล้วกัน

เพราะฉะนั้น ใครต่อใครที่จะเต็มใจหรือว่าสมัครใจที่อยากจะช่วยอะไร ให้กิจอาตมาเสร็จในปี ๗๒ อายุอาตมา ๗๒ นี่ ก็ช่วยด้วย ก็แล้วกัน ส่วนเลย ๗๒ ไปแล้ว ทีนี้เราก็ไม่ต้องฉลองอะไรอีกมากมาย หรอก ทีนี้มันได้ขนาดนั้นแล้ว ถือว่ากำไร เป็นส่วนเกินแล้ว กำไร ทีนี้จาก ๗๒ ไปจะอีกกี่ปีๆ ก็ I will try. เอวัง


จัดทำโดย โครงงานถอดเทปธรรมะฯ
ถอด/พิมพ์ -พิมพ์ออก โดย พ.ท.นารถ กองถวิล
ตรวจทาน โดย ป.ป.
เข้าปกโดย สมณะแดนเดิม พรหมจริโย
เขียนปกโดย พุทธศิลป์

TCT0482.DOC
โลกของศาสนาวันนี้ ทวช. ๓๑/๑๒/๒๕๔๖