ตอบให้ถึง...ซึ่งทรัพย์แท้ (ตอนที่ ๑)
โดย สมณะโพธิรักษ์
เมื่อวันที่ ๑๐ เมษายน ๒๕๓๔
เนื่องในงานพุทธาภิเษกสุดยอดปาฏิหาริย์ ครั้งที่ ๑๕
ณ พุทธสถานศาลีอโศก อ.ไพศาลี จ.นครสวรรค์


พ่อท่าน : เอ้า!มา วันนี้จะตอบให้ถึง...ซึ่งทรัพย์แท้ แหม จะต้องให้ถึงทรัพย์แท้ ตอบให้จนกระทั่ง เกิดศรัทธา เกิดศีลให้ได้เป็นหลัก เกิดจาคะปัญญาให้ได้จริง ๆ เลยนะนี่นะ

ถาม : ผมปฏิบัติระดับศีลห้าบ้าง ศีลแปดบ้าง ตั้งแต่ปี ๒๕๒๘ ผมมีความคิดว่า...
๑. ผมไม่ประสงค์ได้นิพพาน เพราะดูจะไม่คุ้มค่าเลย ต้องลดละอดทนลำบากต่าง ๆ นานา เพื่อจะไปได้สูญ...
(สูญ-นิพพาน) (คนฟังหัวเราะ) (พ่อท่าน : เป็นที่ครึกครื้นเลยนะ มีแนวคิดแปลกๆ นะคนนี้)

๒. ผมคิดว่าปฏิบัติศีลห้าก็ดีอยู่นะ ไม่เห็นจะต้องทุกข์อะไร ถ้ามีทุกข์ก็ธรรมดา ถ้าสุขก็ธรรมดา เพราะมันเป็นธรรมดาของโลกเช่นนี้ (อบายมุขยังเหลือ ขี้เกียจ) ผมคิดไม่ถูก ผมรู้ (พ่อท่าน : อาจจะผม ไม่รู้มั้ง) ช่วยแก้ไขชี้แจงให้ผมคิดให้ถูกทางหน่อย (จุดไฟ) (พ่อท่าน : จุดไฟให้หน่อยว่าอย่างนั้น)

ตอบ : คือก็มาเห็นแก่หมู่ พวกที่พออ่านไปแล้วยังหัวร่อเลยใช่ไหม บอกว่า เอ๊!ผมก็ว่ามันก็ดีแล้วนี่นา จะไปทำไมนิพพาน ไปหาสูญลำบากลำบนจะตาย โอ๊ย! ต้องขัดต้องเกลา ต้องลดต้องละ ต้องอะไร ต่ออะไร ก็ศีลห้าศีลแปดธรรมดาแค่นี้ ไม่ฆ่าสัตว์ มากินมังสวิรัตินี่ ก็เหนือชั้นแล้วนะ ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ทำมาหาได้ไป ก็ธรรมดาสุจริตนะ เขาให้เงินเดือนเงินดาว ที่ไหนให้เงินเดือนมาก ก็ไปสมัครเข้า เขาก็ให้ ไม่ได้ไปโกงอะไรเขานี่นะ สุจริตออกนะต่าง ๆ นานาสารพัด อะไรก็แล้วแต่ ที่ทำอยู่ก็ว่า มันสุจริตในสังคม มันก็สบายดีแล้ว เราจะกินหอม เราจะกินหวาน กินเปรี้ยวอะไร มันก็ไม่ผิดอะไรนี่ ศีลห้าบ้าง ศีลแปดบ้าง บางทีก็ศีลแปดนิดหน่อย ศีลห้ามากหน่อย อะไรอย่างนี้นะ ก็อยู่ดีแล้วนี่ จะไปสูญทำไม ว่าอย่างนั้น หนักเข้าก็บอกว่า ลองจุดไฟให้ผมหน่อย อาตมาบรรยาย ปากเปียกปากแฉะ เหนื่อยนะ บอกว่าคุณจะได้อะไร เกิดมาเป็นมนุษย์ อีกกี่ชาติต่อกี่ชาติ ก็วนเวียน อยู่อย่างนี้แหละ แล้วคุณก็บอกว่า มันสุขมันทุกข์ หรือมันทุกข์มันสุขก็อยู่อย่างนั้นละ พระพุทธเจ้า ถึงได้ตรัสรู้ว่า โอ๊ย!ไม่ต้องสุขไม่ต้องทุกข์หรอก หมดสุขหมดทุกข์ พระพุทธเจ้าตรัสรู้นี่ ไอ้สุข ๆ ทุกข์ ๆ ก็นี่แหละสังสารวัฏ คุณก็อยู่อย่างนี้ แล้วก็ไปหลงสุข ประเดี๋ยวก็ทุกข์ใหม่ อยากใหม่ สมุทัยก็คือ มีตัวอยากได้มาสมใจ อยากฆ่าเขา อยากรัก อยากโกรธอะไรก็ตามใจ อยากชังอยากรักอยู่นั่นแน่ะ ให้มาสมใจ ในแง่เชิงผลักเชิงดูด เชิงชังเชิงชอบ สองเชิงนี่เท่านั้นแหละเป็นหลัก ให้มันสมใจ ได้ทั้งสองด้านนี่ เสร็จแล้วก็ต่อสู้วนเวียนอยู่อย่างนี้ เหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า เสร็จแล้วก็ผลักกันซิ ตกนรก ขึ้นสวรรค์ สมใจมั่ง ไม่สมใจมั่ง เขาได้ที เราได้ทีอยู่อย่างนั้นแหละ สับอยู่อย่างนั้นน่ะ อีกกี่ชาติ ๆ ก็อยู่แค่นี้ ไม่เหนื่อย ปล่อยคุณไปเลย ไม่รู้จะอธิบายอย่างไรแล้วละ

ก็พระพุทธเจ้าท่านบอกว่ามาเลิกสิ มาเรียนรู้ในทฤษฎีของท่านนี่ มันต้องตั้งตนอยู่บนความลำบาก มันต้องอด ต้องทน ต้องมีสัจจะ ทมะ ขันติ จาคะ เราจะต้องมีจริง ๆ ให้สละได้ก็ต้องมีอดทน มีข่มฝืน ต้องมีสัลเลขธรรม ต้องมีทุกขายะ อัตตานัง ต้องตั้งตนอยู่บนความลำบากจริง ๆ ไม่ง่ายนะ ก็อย่างที่ คุณพูดนี่แหละ เมื่อคุณเห็นว่าไม่ดี คุณก็ย่อมไม่เอา แต่คนที่เขาเห็นดี เขาใฝ่ใจศึกษา พิจารณาตาม จริง ๆ นะ เพราะฉะนั้น คนเราถ้าไม่เห็นอย่างมีญาณปัญญา เข้าใจจริง ๆ ว่า เออ! จริง ๆ เลยนะชีวิตนี่ ยิ่งดูไปดูไป มันมีเรื่องทุกข์ร้อน ลำบากลำบน แล้ววนเวียนอยู่นี้ ไอ้สุขที่ว่า ไม่เห็นมันเอร็ด อร่อย ไม่เห็น มันเที่ยงแท้ ไม่เห็นมัน มั่นคงอะไร มันก็อย่างนั้นอย่างนั้นน่ะ ฉาบฉวย ประเดี๋ยวก็ว่าสุขใหม่ เดี๋ยวก็ลืม เดี๋ยวก็ เอ้า! อยากใหม่ เดี๋ยวก็สุขใหม่ อยากใหม่ สุขใหม่ อยากใหม่ สุขใหม่ ไม่เบื่อ สักที ไม่เข็ด ไม่หลาบ บางทีก็ต้องต่อสู้ ลำบากหนักหนาสากรรจ์ เพราะฉะนั้น เราไม่ต้องสุขไม่ต้องทุกข์ มันเป็น อย่างไร ก็ลองมาปฏิบัติ จนกระทั่งเห็นว่า เออ! ไอ้ตัวไม่สุขไม่ทุกข์ (ฟังไม่ชัด) หรืออุเบกขานี่ รสอย่างนี้น่ะ เป็นรสที่พระพุทธเจ้า ท่านยืนยันว่า มันเป็นเลิศกว่ารสใด ๆ

วิมุติรสนี่ เลิศกว่ารสใด ๆ มันจริงหรือ จริงหรือ คุณมาหาทาง หาเหตุปัจจัยใด ๆ สักเรื่องมาพิสูจน์จริง ๆ คุณจึงจะเชื่อ และคุณจึงจะมีไฟว่า คุณอยากจะทำอย่างนี้บ้างอีก ๆๆๆๆ หลาย ๆ เรื่องไป อาตมาก็ แนะนำ ได้เท่านี้นะ ลองดู ลองดู ต้องอดทนข่มฝืน คุณอย่าไปขี้เกียจนัก ยังเหลืออบายมุข ข้อขี้เกียจ วงเล็บมาซะด้วยนะ (พ่อท่านหัวเราะ) เอ้า! ตอบได้แค่นั้นก่อน

ถาม : กระผมอยากทราบว่าลักษณะของสายเจโตของผมนี้ ไม่รู้ปฏิบัติถูกขั้นตอนรึเปล่า

๑.ชอบปฏิบัติแรง ๆ เกินฐาน แล้วก็ล้มลุก [พ่อท่าน : เอ๊! ก็ดูนี่ ล้มแล้วก็ลุกนี่ (พ่อท่านหัวเราะ) แล้วก็ล้มลุก ล้มขีด แล้วก็ลุก ยังดีนะล้มแล้วก็ลุก]

๒.สติไม่แววไว กิเลสเล่นงานอยู่เรื่อย [อีตรงตัวนี้ ตัวหนังสืออีกตัวอะไรไม่รู้] สติไม่แววไว กิเลสเล่นงานอยู่เรื่อย

๓. ถ้าผ่อนก็ทุกข์ เดินหน้าก็ฟุ้งซ่าน ยังไม่ลงตัว ขอให้ตอบชัด ๆ อาจมีหลายคนเหมือนผม

ตอบ : มี พวกไฟแรง ๆ หรือพวกสายเจโต สายเจโตนี่ส่วนมากอึด ๆ ชอบอะไรให้มันปฏิบัติหนัก ๆ หน่อย ก็ดี ถ้าคุณปฏิบัติหนัก ๆ อาตมาเคยอธิบายเรื่องทุกขายะ อัตตานัง กับ ทุกขาปฏิปทา ตั้งตน อยู่บนความลำบาก กับปฏิบัติ ปฏิปทานี่คือการปฏิบัติ บทปฏิบัติที่เป็นทุกขา ทุกขาปฏิปทา ปฏิบัติ ด้วยความลำบาก กับสุขาปฏิปทา ปฏิบติ บทปฏิบัติที่ปฏิบัติอย่างเป็นสุข ปฏิบัติอย่างเป็นสุข ไม่ได้หมายถึงว่า ยถา สุขัง ไม่ได้หมายความว่า ปฏิบัติตามอำเภอใจ ยถา สุขังนี่ปฏิบัติตามอำเภอใจ เอากิเลสเป็นเครื่องวัด มันก็ตามสะดวกง่าย ๆ ไม่ตั้งตนอยู่ในความลำบาก มันก็พอใจกิเลสไปเรื่อย ๆ ก็บำเรอกิเลส แบบนี้น่ะ ไม่ได้ผลหรอก ไม่ใช่มัชฌิมาปฏิปทา และคนเข้าใจว่า มัชฌิมาปฏิปทา นี่คือ สภาพที่ประมาณเอาให้มัน พอใจเราน่ะ พอประมาณ อย่าไปเคร่งไปเครียด แท้จริงแล้ว หลักการของ พระพุทธเจ้านี่ อย่างที่บอกแล้วนี่ บอกต้องตั้งตนอยู่ในความลำบาก กุศลธรรมจึงจะเจริญยิ่ง เพราะฉะนั้น การปฏิบัตินี่จะต้องมีความอดทนข่มฝืน รู้ว่าเราใช้ศีล ใช้หลักเกณฑ์ที่เหมาะสม กับฐานะ ของเรา อยู่ในฐานะ ที่ต้องได้ต่อสู้ ได้ขัดเกลา ได้อดทน ได้ฝึกฝน แต่ทำใจอย่างไร ถึงจะเป็น สุขา ปฏิปทา อันนี้แหละสำคัญ ทำอย่างไรถึงจะไม่เป็น ทุกขาปฏิปทา ไม่เป็นบทปฏิบัติที่ทุกข์

เราก็จะต้องรู้ความจริงให้ได้ว่า ตั้งตนอยู่ในความลำบาก มันลำบากก็ลำบากซิ อย่าไปให้ใจของเรานี่ อึดอัดขัดเคือง ต้องมีฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา ต้องมีความยินดี เอ้า!เราประมาณแล้วว่า เราจะเอา แค่นี้ เราจะต่อสู้แค่นี้ เหมือนเวลาคุณจะลงสนามแข่งฟุตบอล อย่างนี้เป็นต้น คุณรู้แล้วว่า โอ้โฮ! แข้งมันเหนือกว่าเรานะนี่ ร่างกายมันก็เหนือกว่าเรา ฝีตีนก็สงสัย สู้แหลก คุณยินดี มีฉันทะ ใช่ไหม แบกน้ำหนักแหง๋ ๆ เลย หรือนักมวยเห็น โอ้โห! คู่ต่อสู้นี่ แหม!แบกน้ำหนักแน่ ๆ เลย แต่ยินดีเข้าไป อย่างนี้ สุขาปฏิปทา เจ็บก็เจ็บ หนักก็หนัก ร้อนก็ร้อน สู้ด้วยใจ ทำใจอย่างนั้นนะ ใจยินดี ฟังให้ออก นะว่า ใจมีฉันทะนี่ แล้วมันเป็นอิทธิบาท แล้วมันยินดี ฉันทะนี่ ยินดี ยินดีมันก็เป็นสุข แม้มันจะเจ็บ ก็รู้ว่าเจ็บ แต่เรา... โอ๊! ขนาดเหนื่อยก็ยังไม่ยอมออกจากสนามเลย ฉันเดียวกันน่ะ

คิดดูซิ ใครที่ยังเคยเป็นนักกีฬา ไอ้กีฬาอะไรที่คุณชอบก็แล้วแต่ เหนื่อยก็เหนื่อย แต่มันชอบน่ะ เอา... อาตมาเอง ก็ผ่านกีฬาก็เคยผ่าน เล่นไพ่ เล่นบิลเลียด โอ๊ย! มันเมื่อยก็แสนเมื่อยนะ โอ! แขนจะยก ไม่ขึ้นแล้วนะ แต่ยังฉันทะ (พ่อท่านหัวเราะ) ยังฉันทะ โอย!ทุกข์นะ ตอนนั้นไม่รู้ว่า ทุกข์หรอก ตั้งตนอยู่บนความลำบาก แต่ตั้งตนอยู่บนความลำบากในมิจฉาทิฏฐิ ไปตั้งตนอยู่บน ความลำบาก ไอ้การกระทำ ขี้หมาอะไรก็ไม่รู้ มันก็ไม่ได้ประโยชน์สิ อย่างนี้เป็นต้น

เราจะต้องดูใจว่าเรานี่ ต้องฉันทะ ต้อง...พอใจในมัน ยินดีในมันนะ คุณต้องทำใจอย่างนั้นน่ะ และ จะทำใจ อย่างนั้นด้วย และก็จะเห็นว่า เมื่อเราเห็นว่ามันดี เราทำไมไม่ฉันทะ ทีไอ้ขี้กะโล้โท้พวกนั้น เรายังไปฉันทะกับมันได้ ด้วยความหลง แต่อันนี้เราไม่หลงแท้ ๆ เลย เราชัดเจนอยู่แล้ว ต้องยินดีกับมัน หัดเข้า หัดยินดี ฉันทะ วิริยะ พากเพียรเข้า แล้วคุณก็จะได้เป็น สุขา ปฏิปทา แม้จะหนัก แม้จะตั้งตน อยู่บนความลำบาก เคล็ดตรงนี้สำคัญนะ เพราะฉะนั้น การปฏิบัติ การจะเกินฐาน ถ้ามันเกินฐาน คุณก็ต้องลดลงมา เมื่อปฏิบัติลองไปแล้วบางทีคุณก็เห็น อ๊อ! มันเกินฐาน เราก็ลดสิ อย่าให้มันเป็น... กรรมฐาน อย่าให้เป็นศีล เป็นอธิศีล ที่เข้มกว่าตัวเองเกินไป จงประมาณเอา ให้ลดออก แค่นี้อย่างนี้ เป็นต้น แล้วมันก็ต้องค่อย ๆ ทำ

แต่ถ้าเผื่อว่ารู้ว่าขนาดนี้เรายังสู้ได้ และอยากเจริญในธรรมอยู่ คุณว่าไปเลย บางคนก็ชอบสู้กับงาน สู้กับบทปฏิบัติที่หนัก ๆ ก็ดีอยู่นี่ บางทีมันสูงเกินไปก็อย่างว่า มันเคร่งเกินไป มันก็สติ มันก็ไม่สู้ สู้ไม่ไหว มันไม่แววไว อย่างที่กล่าว คุณพูดมาก็ถูกนะ มันก็ กิเลสมันก็ได้แต้ม เพราะว่าคุณเอง คุณแบกน้ำหนัก เกินตัว ป้อแป้ ๆ กิเลสมันก็เล่นงานคุณก็ตาย สู้ไม่ได้ เป็นเรื่องธรรมดา เพราะฉะนั้นก็ ทั้งสามข้อ ที่บอกมานี่ คุณก็ขยายออกมาเองของคุณ มันก็ไม่พอดี มันก็ไม่ลงตัว มันก็ไม่ได้สัดส่วน เพราะฉะนั้น ต้องประมาณ ให้ได้สัดได้ส่วนนะ ประมาณอาตมาก็ไม่รู้จะพูดอย่างไร มันเป็นนามธรรม คุณก็จะต้อง ดูตัวเอง เห็นว่ามัน เอ๊! มันไม่ได้เจริญนะ คุณก็ต้องลด ลดกรรมฐานของคุณ ลดศีล ลดอธิศีลของคุณ ลงมา ให้มันพอเหมาะ

ถาม : เท่าที่ลูกสังเกต และได้พบเห็นมา ลูกคิดว่าชาวอโศกของเรา น่าจะได้แก้ไขปรับปรุง กิริยา คำพูด ให้เหมาะสม ที่จะเป็นนักปฏิบัติธรรม ที่ดียิ่งขึ้น ลูกเคยเห็นมาอย่างนี้ ญาติธรรม (ทั้งชายหญิง) ถ่มน้ำลายบนพื้น ขณะกำลังเดินอยู่ (ถ่มแรง ๆ ด้วย) [พ่อท่าน :นี่ไม่น่าจะเป็นชาวอโศกเลยนะ ไปถึงก็ปุ๋ย (คนฟังหัวเราะ) เอ้า!ก็ดีนะ พวกนี้เสขิยวัตรนะพระพุทธเจ้าสอน]

๒.ยืนแปรงฟันบ้วนปาก ทำให้น้ำกระเด็น (ในกรณีที่เข่าเจ็บนั่งลงลำบาก ก็อนุโลมยืนได้) แต่ในกรณี ที่ขาดี เข่าดี น่าจะนั่ง ให้เรียบร้อย แล้วจึงแปรงฟันบ้วนปาก [พ่อท่าน :เออ! เอาฟังดี ๆ นะ ไม่ใช่ว่า เรื่องไม่ดี ดี เสขิยวัตร ที่จริงพวกเราเป็นอย่างนั้น คนมาใหม่ ๆ ไม่เคยรู้] รูดผ้าที่ ผู้อื่นตากอยู่แล้ว ไปไว้ที่อื่น แล้วก็เอาเสื้อผ้า ของตนเอง ตากตรงที่เดิมนั้นแทน

ตอบ : เรื่องเสื้อผ้าหรือผ้าตากนี่นะ อาตมา เคยบอกแล้ว วิธีแก้ไข มาอยู่กันรวม ๆ เยอะๆ นี่ ราว มันไม่พอ เพราะฉะนั้น เมื่อมันไม่พอ เราเอาอย่างนี้ เสื้อผ้าใครตากอยู่ มันแห้งแล้ว เรามีเข่ง บอกแล้ว บอกว่า เอาเข่งวางไว้ที่ ตรงที่ตากผ้านั่นแหละ เข่งอยู่ใกล้ ๆ นั่นแหละ ต้องจริง ๆ นะว่าของเขาแห้ง อย่าไปแกล้ง เอาของที่ของเขายังไม่แห้ง แล้วไปหมักลงไปในเข่ง มันจะหมักเหม็น ของใครที่แห้งแล้ว เราดู เออ! นี่แห้งแล้ว นี้สมควรจะเก็บได้แล้ว แต่เขายังไม่ไปเก็บ ก็เอาเก็บลงไปไว้ในเข่งนั่นแหละ ใครมาก็ไปเลือกเอา ที่เข่งนั่นน่ะ ของใครมา ก็เอาไปเลือก ๆ เอาที่ในเข่ง เอามารวม ๆ ไว้ให้ เพราะเรา ก็ไม่รู้นี่ จะเอาไปไว้ให้ที่ใคร ของใครก็ยังไม่รู้ ใช่ไหม เราก็เอาไปไว้กองกลางน่ะ ตรงนั้นแน่ะ เข่งรวม ของใครแห้งก็เอามารวมกองไว้ เอ้า! อาจจะแบ่งเสื้อก็เสื้อ ผ้าถุงก็ผ้าถุง กันไว้คนละที่ ก็แล้วกัน สองเข่ง เหอ! (พ่อท่านถามคนฟัง) อะไรนะ! คนฟังพูด ฟังไม่ชัด

พ่อท่าน : อะไรจะหาลำบาก ในเข่ง คุณก็รื้อเอามาซะหน่อย ทำไม!มันจะหาลำบากอะไร กองอยู่ในนั้น น่ะ เหอ! (พ่อท่านถามคนฟัง) คนฟังพูด ฟังไม่ชัด

พ่อท่าน : มันเหมือนกัน เอ๊ย! ต้องมีพิณฑุกัปปัง เหมือนกันต้องมีพิณฑุกัปปัง ก็ต้องทำซิ นี่อาตมา ยังมีใบโพธิ์เลยนี่ พิณฑุกัปปัง อาตมาไม่ได้ทำแววหางนกยูงหรอก อาตมาทำใบโพธิ์ มันอยู่ที่ไหนแล้ว ไม่รู้ (คนฟังหัวเราะ) อยู่ที่นี่ ต้องมีซิ มี เครื่องหมายของใครของมันซิ ไม่อย่างนั้น ก็ปักลงไปเลย ของตัวเอง คนอยู่รวม ๆ กัน ต้องเป็นอย่างนี้ ของพระพุทธเจ้าท่านมีนะ ต้องพินทุกัปปัง แต่เดี๋ยวนี้ เขามาแปลว่า พินทุกัปปัง คือจะต้องทำเป็นสี เขียนด้วยสีคราม สีโคลนอะไร เป็นแววหางนกยูง ทุกคนหละ มามีสัญลักษณ์ เดียวกันหมดเลย ไอ้ที่ไม่ปนกัน เลยปนใหญ่เลย (พ่อท่านหัวเราะ) เลยเละเลย เพราะว่า เหมือนกันหมด นี่คือว่าพาซื่อ สีลัพพตปรามาส เลยเลอะเลยนี่ ไม่เข้าใจว่า พินทุกัปปังคืออะไร ก็เลยต้อง มาทำพินทุเสียก่อน พินทุแล้วก็ทำให้มันแบบนั้นน่ะ แล้วก็ให้เหมือน ๆ กันเสียด้วย ถ้าไม่ทำอาบัติด้วยนะ (พ่อท่านหัวเราะ) ต้องทำเสียก่อน ถ้าไม่ทำอาบัติด้วย แต่ไม่รู้ว่า ทำไปทำไม ทำไปให้มันเหมือนกันอีก เลยไม่รู้เป็นใคร ของใคร ของใคร คือจะต้องมาทำเครื่องหมาย ใครจะทำ แต่ก่อนมันไม่มีตัวหนังสือ เขียนหนังสือ ไม่เป็นกันใช่ไหม ท่านก็ให้ทำเครื่องหมาย จะทำเป็นอย่างนั้นก็ได้อย่างนี้ก็ได้ เป็นรูปวงกลม เป็นวงกลม ๓ วง ท่านเรียก แววหางนกยูง จะทำ ๒ วง จะทำ ๑ วง หรือว่าจะทำสี่เหลี่ยม จะทำกาอะไรก็ได้ เป็นเครื่องหมาย เป็นสัญลักษณ์อะไรหน่อย ๆ สมัยก่อน มันไม่รู้หนังสือกันจริง ๆ ก็ทำขีดเครื่องหมายกัน สมัยนี้ รู้ตัวหนังสือแล้วปักลงไปซิ ชื่อเราเลย หรือเราจะเอาโค้ดอะไรของเราก็ใส่เข้าไปสิ ไปยากอะไร แค่นี้ทำไม่ได้ ยิ่งผู้หญิงก็มันไม่เอาใจใส่ น่ะแหละ ก็ถึงบอกมีเครื่องอย่างนี้ เพราะฉะนั้น ก็ถึงบอกเอาลงไป คือเมื่อตัวใครเอาใจใส่ว่า ของเราแห้งแล้ว เราก็ไปเก็บมาก็แล้วไป พูดถึงว่า คนไม่เก็บ ๓ วันก็ยังผึ่งอยู่นั่น ก็เอาลงเข่งไปเลย นี่ดีที่สุดแล้วนะ ดีที่สุดแล้ว ไม่อย่างนั้น จะเอาไปให้ที่ สถานีตำรวจนะ ให้ไปตามเอา ที่โน่น (คนฟังหัวเราะ) บอกว่าของไม่มีเจ้าของแล้ว เอาไปไว้ ไปฝากไว้ที่สถานีตำรวจ นั่นน่ะ นั่นนะ นี่ขั้นดีที่สุดแล้ว เบา ถ้าขั้นหนักกว่านี้หน่อย ก็จะไปให้สถานีตำรวจเลย ของใครก็ให้ไปตามเอาที่โน่น เพราะว่านี่ ของไม่มีเจ้าของ ไม่รู้เจ้าของเป็นใคร ก็ไปไว้ให้ที่โน่น

พ่อท่าน : เอ้อ! มันไปแย่งที่กัน เอ้า! ก็พยายามหน่อยสิ คนหลาย ๆ คนเสียสละหน่อย พยายามนะ เห็นแต่แก่ตัว มันจะไปได้เรื่องอะไรนะ เอ้า! ทีนี้ก็มีอีก เรื่องเสื้อผ้าก็อีกเรื่องหนึ่ง อีกเรื่องหนึ่งก็คือ

คำถาม : เวลาสนทนากันและใช้คำว่า (ขอโทษนะคะ) แดกห่า ร้อนจะตายห่า (คนฟังหัวเราะ) แม่ง... มันเลย ฉิบหายเลย [พ่อท่าน : แหม ยกตัวอย่างมาเยอะเหมือนกัน] (คนฟังหัวเราะ)

พ่อท่าน : เอ่อ! ก็ไม่น่าจะใช้คำอย่างนี้พูดกันนะ มันรู้สึกว่า เราชาวอโศกก็พูดให้มันเพราะกว่านี่หน่อย

พ่อท่าน : คนใหม่มาตั้ง ๔๐๐ กว่า ก็พูดให้รู้ ไม่เสียชื่อหรอก ก็ต้องพยายามอบรมกัน บอกกันให้รู้ ที่นี่เขาไม่นิยมพูดนะ สำนวนนี้เขาเก็บลงกระป๋องหมดแล้วนะที่นี่ ใครเคยก็มาฝึกใหม่ มันหลุดออกมา ก็ต้องพยายาม ระมัดระวังนะ ไม่อย่างนั้น โอ้โห! มันเป็นคำที่เราก็รู้ ๆ กันล่ะนะ ไม่ต้องไปอธิบาย อะไรมาก ภาษาคำพวกนี้ มันเป็นคำที่เรียกว่า ก็ไม่น่านิยม เวลาจะใช้ก็ใช้ แต่อย่างอาตมานี่ พูดเหมือนกัน พูดบางครั้ง ซึ่งก็เมื่อกี้ก็พูดไปแล้วใช่ไหม พูดมันเป็นตัวอย่าง พูดมันเป็นการเรียน การสอน ปกติสามัญ เราก็ไม่พูดหรอก อยู่ดี ๆ ก็พูดไม่ก็ แหม! พูดเป็นเรื่องปกติเลยนะ แดกห่าหรือยัง (ฟังไม่ชัด คนฟังหัวเราะ) มันก็ไม่ไหวหรอก สังคมนี้ฟังแล้วมันก็ ไม่อะไร ก็แหม (พ่อท่านหัวเราะ) เอาละ พอ (พ่อท่านหัวเราะ) พูดไป มันก็มากเรื่อง ก็พอรู้กันละนะ ละไว้ในฐานที่เข้าใจนะ

คำถาม : หยิบของส่วนกลางมาใช้แล้วก็มักง่าย ไม่รักษา ไม่เก็บที่เดิม [พ่อท่าน : เอ้า! นี่ข้อ สุดท้าย]

พ่อท่าน : เอ้า! ดี ก็เตือนกันมา บอกกันไปนะ เวลาดื่มน้ำก็ดี ยืนก็ จะยืนทำโน่นทำนี่อะไร กิจบางอย่าง ไม่ควรยืนทำหรอก มันไม่ค่อยสุภาพ นั่งทำเรียบร้อยดีนะ แม้แต่ดื่มน้ำนี่ พวกเราจะเห็นได้ เด็กพวกเรา ได้อบรมแล้วนี่ เขาจะนั่งลง นอกจากเด็กใหม่ มี เด็กใหม่ อาตมาเห็นบางคน แหม! เฉยเลย ฟังไม่ชัด ดีไม่ดีเดินกินด้วย แหม! มารยาทเราไม่ทำ วัฒนธรรมชาวอโศกเรานี่ เป็นผู้ดีนะ แม้จะนุ่งห่ม เสื้อผ้า หน้าแพร เหมือนกับคนใช้ เหมือนอย่างมณทิรา มณทิราเขาแต่งตัวอยู่ที่บ้านเขา ก็ที่บ้านเขา มีคนใช้ เยอะ เขาเถ้าแก่เนี้ย มณทิรานี่เขาไม่อยากให้บอกว่า เขาฐานะดี ที่บ้านเขา เขาไม่อยากให้บอก เขาอาย คือมีหิริโอตตัปปะแล้ว สามีเขาเป็นคนที่เสียภาษีมากที่สุด ในจังหวัดนครปฐม รู้แค่นี้ก็แล้วกัน (พ่อท่านหัวเราะ) การค้ากิจการของเขานะ เขาก็มีคนใช้ มีอะไรต่ออะไรอยู่ที่บ้าน เสร็จแล้ว เขาก็มา แต่งตัวแบบนี้ เขาก็บอกว่าเถ้าแก่เนี้ย ทำไมแต่งตัวอย่างนี้ แต่งตัวอย่างกับคนใช้ เขาบอก เขาบอกว่า นี้แต่งตัวอย่างคนไทยนะเขาว่า มณทิราเขาบอก บอกเราว่า พวกคุณน่ะ เป็นคนไทย ทำไมไม่แต่ง ไทยล่ะ นี่ฉันแต่งคนไทย ฉันสวย ฉันเป็น ฉันผิดอะไร พวกนั้นก็เลย ฮิ ฮิ หัวเราะนี้ไปเลย (คนฟังหัวเราะ) พวกคนใช้

นี่เราแต่งตัวอย่างนี้เถอะ ก็ให้มารยาทเป็นผู้ดี เป็นมารยาทอะไรต่ออะไร แหม! เดินเรี่ยราดอะไรไป เสร็จแล้ว ก็ขว้างก็ทิ้ง ก็ถุยเถยอะไร เอ้อ! (คนฟังหัวเราะ) มันไม่ดีไม่น่าดูน่ะ (พ่อท่านหัวเราะ) เอ้า! อบรมกัน คนใหม่ก็ทำ คนเก่าก็เป็นตัวอย่างให้ดี ๆ โอ๊! นี่ยังมีต่ออีกแฮะ นึกว่าจบแผ่นนั้นแล้ว มีแผ่นต่อ

คำถาม : การโยนของ อาการเสือกไสยื่นของให้ผู้อื่น ไม่ใช่ว่าลูกวางใจไม่ได้ [พ่อท่าน : อ๋อ! วางใจได้ แต่ เอามาติเตียนหน่อย ยื่นของให้ก็อย่าโยน อย่าเสือกไส อย่าทำอะไร ที่มันดูไม่งาม เวลาจะให้ก็ให้ เออ! มันเป็นท่าทางสุภาพเรียบร้อย] อยากเห็นชาวอโศก มีกิริยามีคำพูดที่งดงาม เหมาะควรกว่านี้ และคิดว่า เป็นพฤติกรรม ที่น่าจะปรับปรุงได้ ไม่ลำบากจนเกินไป

พ่อท่าน : เอ้า! ไม่ใช่ปัญหาในเรื่องของคำถาม แต่เป็นปัญหาของพฤติกรรม ที่ยังทำไม่สำเร็จ ก็ทำต่อไปนะ อะไร? (พ่อท่านถามคนฟัง) คนฟังพูด ฟังไม่ชัด

คำถาม : เราย้ำสั่งสอนให้ผู้หญิงเข้มแข็ง พึ่งตัวเองให้ได้ แต่สังคมภายในวัด ดูเหมือนว่าผู้หญิง "แข็ง" จะอยู่ยากกว่าประเภท "นิ่ม ๆ " (มีอะไรก็วิ่งหาพระ) อย่างน้อยก็ไม่น่ารักน่าเอ็นด[พ่อท่าน : คือผู้หญิง แข็งๆ นี่ว่าอย่างน้อยก็ไม่น่ารักน่าเอ็นดู] พ่อท่านมีความเห็นอย่างไร และผู้หญิง ควรทำตัวอย่างไร จึงจะเหมาะสมคะ

พ่อท่าน : อาตมาเคยพูด เคยอธิบายแล้วนะ ผู้หญิงนี่แข็งๆ ไว้หน่อยดี ยิ่งอยู่ในวัดนี่ แข็ง ๆ ไว้หน่อยดี ถ้าท่าทีอย่างกิริยา อิตถีภาวะ เหมือนกับอย่างอยู่ข้างนอกนะ แหม! ผู้หญิงก็ทำ แหม! และยิ่งเขา บางทีนี่ คนไหนที่เซ็กซี่นี่ เขายกย่องกันด้วยนะ ข้างนอกใช่ไหม ข้างในเข้ามานี่อย่า แข็ง ๆ ไว้หน่อยดี ไม่เป็นไรหรอก แล้วบอกว่าย้ำเน้น ให้สั่งสอนให้ผู้หญิงเข้มแข็งพึ่งตัวเอง นั่นแหละก็ได้พึ่ง พึ่งตัวเอง และบอกว่า สังคมภายในวัด ยิ่งผู้หญิงแข็งยิ่งอยู่อย่าง อย่างน้อยก็ไม่น่ารัก

คนที่มีปัญญาเขาจะรู้ว่า อย่างไรควรเอ็นดู อย่างไรควรรัก คนที่ไม่มีปัญญา เขาก็จะไปรักสิ่งที่มัน ไม่น่ารัก สิ่งที่น่ารักหรือไม่น่ารัก เอาปัญญาเป็นเครื่องตัดสิน และปัญญาของผู้ที่รู้ยิ่งรู้จริง ก็จะอ่าน สิ่งที่ถูกต้อง สมควร ไม่ต้องเอาอะไรมาก ยกตัวอย่างเช่น แต่ก่อนเราไม่รู้หรอกว่า การไปโลภโมโทสัน เอาเปรียบมานี่ เป็นสิ่งที่น่าดีใจ เราก็ไปหลงว่า เออ! มันถูกแล้วละ ไปได้เปรียบมาแล้ว น่าดีใจใช่ไหม ก็เช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้น คนมีปัญญาจริงแล้ว ก็เห็นว่า เฮ้ย! ไม่ถูก ไปดีใจเพราะได้เปรียบมา แล้วมาดีใจ นี่มันผิด ผิด มันเป็นความโง่นะ ไม่ใช่ความฉลาด เป็นความเลวนะ ไม่ใช่ความดี เป็นสิ่งที่ ไม่ควร จะไปคิดอย่างนั้น ไปเห็นอย่างนั้น ไปทำอย่างนั้น ไปสั่งสมอารมณ์อย่างนั้น อย่างนี้ เป็นต้น

ก็เหมือนกันละ ไปยินดีในผู้หญิง ที่มีท่าทางเป็นอิตถีภาวะ ยิ่งเซ็กซี่แล้วก็ แหม! ยินดีอะไรต่ออะไร นั่นคือ คนโง่ ก็ต้องย่อมไปนิยมสิ่งที่ไปหาทุกข์ ประเดี๋ยวเถอะติดบ่วง แน้! เป็นทุกข์มา เพราะอย่างนั้น เอาเถอะ คุณมาเป็นผู้หญิงอยู่ในวัด คุณก็ท่าทางแข็งหน่อย ก็ดี ไม่ต้องไปให้มันเป็นเชิงผู้หญิง เป็นอิตถีภาวะ มากนัก ก็ยังดีกว่า แต่เราก็ต้องปรับ ปรับอย่าให้มันแข็งกระด้าง อย่าให้มันดูกระโดก กระเดก อย่าให้มันผิด เราผู้หญิง ก็ในสัดส่วน มันยากนะ อาตมาจะบอกความพอเหมาะพอดียาก แม้แต่จริต ของแต่ละคนนี่ ผู้หญิงบางคน ทำท่าแข็ง ๆ อย่างนี้ดูได้ บางคนทำท่าแข็ง ๆ อย่างนี้ แหม! มันกระด้างไป ผู้หญิงบางคน ทำท่าอ่อน อ่อนขนาดนี้ดูดี บางคน ผู้หญิงบางคนทำท่าอ่อน ๆ อย่างนี้ ไม่ไหว มัน ดูมันมากไป มันบอกตายตัวไม่ได้ เพราะฉะนั้น ก็ประมาณเอา แล้วก็ดูเสียงสิ ดูเสียงผู้ที่ เขารับกระทบ สัมผัส เขาว่ามากไป ปรับมาน้อยลง ถ้าเขาว่าน้อยไปดูแข็งแรงขึ้น ให้ดูพอเหมาะ คำตอบก็ได้ อย่างนี้แหละ อาตมาจะทำอย่างไร มันไม่ดี มันไม่ค่อยเข้าท่า อันนี้มันบอกตายตัวไม่ได้ ก็ต้องค่อย ๆ เรียนรู้เอา

คำถาม : หนูเห็นจิ้งจกมันกินยุง มีอยู่วันหนึ่งตอนเย็น ๆ หนูนอนสังเกตดูก็พบจิ้งจกหลาย ๆ ตัวเขมือบยุง กินเอากินเอา หนูมีจิตยินดีขึ้นมาทันที ที่จิ้งจกมันช่วยปราบยุงให้ตามกฎธรรมชาติของมัน พอได้สติ ก็นึกขึ้นมาได้ว่า ตายละ เราหลงไปยินดีในการตายของผู้อื่น พ่อท่านว่า หนูจะบาปมาก ไหมคะ

พ่อท่าน : เออ! พระพุทธเจ้าเราก็เคยนะ เราเคยเอามาพูดว่า พระพุทธเจ้าไปยินดี เห็นคนเขา ฆ่าปลา ก็เลยไปมีจิตยินดีกับเขา โอ้! คนชาวประมงเขาฆ่าปลา ไปยินดีกับเขา นั่นเป็นมิจฉาทิฏฐิ พอท่าน ไปรู้สึกยินดี เห็นชาวประมงฆ่าปลา ก็เลยเป็นอกุศลวิบาก มาชาตินี้ ท่านก็มาเล่าให้ฟังว่า ท่านต้อง ปวดหัวก็เพราะ แต่ชาติก่อน ไปเห็นชาวประมงเขาฆ่าปล่า ไปยินดี ก็ได้ไปมีอารมณ์ยินดี อย่างมิจฉาทิฏฐิ ไม่สมควร อันนี้ก็ดีนะ คุณก็ได้คิดว่า เออ! ไปยินดีที่จิ้งจกมันกินยุง เออ ! ดีมันจะได้ ปราบยุงด้วย ไปยินดีไม่ค่อยถูก อย่างที่คุณน่ะดีแล้ว ก็เป็นเรื่องของเขา สังสารวัฏของเขา อะไรต่ออะไร ของเขาก็แล้วไป เหมือนเรา เคยมีคน มาถามอาตมา บอกไปเห็นงูกินเขียด โอ! เป็นเดือดเป็นแค้นตีงู (คนฟังหัวเราะ) อ้าว! แล้วจะให้งู มันกินหญ้า มันจะได้หรือ งูมันต้องกินเขียดน่ะ ไม่กินเขียด มันก็ต้อง กินหนู กินอะไรมันไปตามเรื่อง เป็นอาหารของมัน กินสัตว์น่ะ ให้มันกินหญ้าไม่ได้หรอก แล้วไปตีมัน มันก็ตายแหละ จะไปเหลืออะไร เราก็ เออ! นะ เอาหนอสัตว์โลกหนอ สังสารวัฏ เอ้า! เวรใครบาปมัน เป็นเรื่องของมัน ฟังไม่ชัด เราก็ปล่อยมัน ถ้าเราดูมันน่าเกลียดน่าชังนัก เราก็ สักครั้งสักคราว เราก็กั้น มันมั่ง จริง ๆ งูมันก็โกรธ เหมือนกันนะ (พ่อท่านหัวเราะ) เพราะว่ามันก็หาอาหารของมัน มันก็ไม่ได้ ไปเบียดเบียนใคร มันก็อยู่ตามเรื่องของมัน เรื่องอะไรไม่ได้วิ่งกัดคุณสักหน่อย คุณมาเดือดร้อนอะไร เขาก็วิ่งไล่เขียด ของเขาเอง (พ่อท่านหัวเราะ) บางทีมันก็ต้องเห็นให้จริงว่า เออ! เอ้า! เราก็ต้องปลง เราก็ต้อง เข้าใจธรรมชาติ เข้าใจสัจธรรมต่าง ๆ ข้อสำคัญ อย่าไปทำใจยินดียินร้าย กับสิ่งที่ มันไม่เกี่ยวข้องกับเรา นั่นเป็นเรื่องของเขา แม้แต่ที่สุด คนร้ายเขาฆ่าคนร้าย เขาฆ่ากัน อย่าว่าคนร้าย เขาฆ่าคนร้ายเลย จะร้ายหรือไม่ร้าย ยังไม่รู้เลย ไอ้คนนี้เคยมาด่าเรา เสร็จแล้วเขา ก็ถูกคนนั้นฆ่าเสีย ดี สมน้ำหน้า อยากมาด่าเรา อย่างนี้ก็ไม่ควร

อาตมาเคยปรามพวกเราหลายที ปรามอยู่ในกลาง ๆ เวทีนี้ก็เคยปราม อย่างไปคิดว่า แหม! คนนั้น เขาเคยทำอะไรกับเราไว้นะ เสร็จแล้วก็ไปอาฆาตเขา ยังไปจองเวรจองกรรมกับเขาอยู่ พอเขาได้รับโทษ รับภัย ดี สะใจ หนำใจ ดีแล้วละ สม อยากจะมาว่าเรา อยากจะมาด่าเรา อะไรอย่างนี้ไม่สมควร ยิ่งเขาต้องถึงขั้นตาย ยิ่งเขาตายโหงด้วยอะไรนี่ บอกว่า อู๊ย! ยิ่งสะใจ ไม่ดี และยังเอาไปคุยนะ ดีแล้ว นั่นละเพราะมาทำเรา อย่างนี้ ๆ ไม่ได้เรื่องเลย ไม่ได้เรื่องเลยนะ อาตมาก็เคยเล่า เคยพูดหลายทีแล้ว อย่าไปทำ ไม่สมควร ต้องพยายามมีปัญญาให้ดี แล้วอย่าทำใจในใจอย่างที่มันไม่ถูกต้อง ต้องปรับ ปรับใจในใจ ให้มันถูกทาง อย่าให้เป็นอกุศลจิต ในนานาประการ เราปรารถนาดีต่อคนทั้งนั้น แม้แต่ศัตรู แม้เขาจะมาตั้งตัว เป็นศัตรูกับเรา เราก็อย่าไปเป็นศัตรูกับเขา และเราก็ปรารถนาดีกับเขา ให้เขาน่ะ เจริญขึ้น ให้เขาพัฒนาขึ้น อย่าให้เขาไปทำสิ่งที่ร้ายที่เลวเลยนะ

คำถาม : อาการหาวนอนเป็นอุปกิเลสชนิดไหนคะ หนูเคยฟังจากท่านผู้รู้ท่านหนึ่งบอกว่า มันเป็นกิเลส ละเอียด ที่เป็นอาสวะ พ่อท่านว่าอย่างไรคะ ช่วยอธิบายให้เข้าใจด้วย

พ่อท่าน : อาการหาวนอนนี่มันเป็นภาวะของกายก็ได้ เป็นภาวะของจิตก็ได้ จิตคุณไปติดการง่วงเหงา หาวนอน มันเป็นอาการแสดงความอยาก อย่าว่าแต่หาวนอนเลย อยากอื่นก็ได้ คนอยากกินหมาก อยากกินเหล้า หาวทั้งนั้นแหละ อยากสูบฝิ่น กินกัญชา หาวกันทั้งนั้นแหละ อยากจะนอน อยากจะอะไร มีอาการหาว เป็นอาการประท้วงชนิดหนึ่งของกายก็ได้ ของใจก็ได้ เพราะฉะนั้นบางอย่าง มันเป็นเรื่อง ของกาย บางอย่างเป็นเรื่องของใจ ถ้าเป็นเรื่องของใจ ที่มีกิเลสอยากอย่างนั้น อยากอย่างนี้ มาบำเรอ ไม่ได้สมใจ แล้วก็หาว ก็เป็นอาการของอุปกิเลส หรือกิเลสนั่นถูกแล้ว บางทีก็เป็นอาการ ของกาย อาตมาเคยบอกว่า อย่าไปตัดสินกันง่าย ๆ นะ เขาบอกว่า พระอรหันต์นี่ไม่หาวแล้ว เอามั้ย เอามั้ย เอาพระอรหันต์ มาให้อาตมาลองดูไหม อาตมาจะจัดการ ไม่ให้นอนสัก ๗-๘ วัน (คนฟังหัวเราะ) ให้ทำงานให้เหนื่อย ๆ ด้วย ลองดูซิจะหาวไหม เมื่อกายมันต้องการพักผ่อน แล้วมันก็ ประท้วง ด้วยอาการหาว มันก็ต้องหาวด้วยกาย แต่ใจมันไม่ได้ไปติดไปยึดหรอก ใจคุณติดยึด ไปยึดไปติด ในเรื่องหลับเรื่องนอน คุณก็หาวมันก็ถูกแล้วนี่

กิเลสทางด้านจิต คุณก็แก้ไขเสียสิ พักผ่อน หลับนอน พอดีแล้วก็ยังหาวอยู่อีก ขนาดนอนวันหนึ่ง ๒๐ ชั่วโมง มันยังหาวได้ มันก็ไม่รู้จะทำอย่างไรแล้ว มันก็กิเลส ธรรมดาก็ไม่ถึงขนาดนั้น ก็ยังไม่ต้องหาว เลยนะ ฟังไม่ชัด หรืออาการที่มันจะ ไม่ใช่เรื่องหาว เพราะ มันพัก มันอ่อนเพลียอย่างเดียว หาวเพราะ อาการอื่นก็ได้ ป่วยเจ็บในเรื่องนั่นเรื่องนี่ ก็อาการออกมา ทางการหาวก็ได้ มันไม่ใช่ว่า ไปพาซื่อ เป็นอย่างเดียวนะ มันเพลียมันเปลี้ย ในเรื่องนั้นเรื่องนี้ มันหาวก็ได้นะ ถ้าเผื่อว่าอยากจะแก้ มันเป็น อุปกิเลส ก็แก้ไข กิเลสเรา อย่าไปติดไปยึด ต้องอ่านจริง ๆ นะว่ามันชอบ มันไปยินดี มันไปติดไปยึด อยากจะนอน อยากจะหลับ เป็นกิเลสโดยตรงคือ หลับนอน

คำถาม : การนั่งง่วงเป็นโรคติดต่อหรือไม่ (คนฟังหัวเราะ) [ฟังไว้นะแพทย์ทั้งหลาย (พ่อท่านหัวเราะ) การนั่งง่วง เป็นโรคติดต่อหรือไม่] ตัวเองไม่ง่วง เมื่อเห็นคนอื่นง่วงก็ง่วงด้วย (พ่อท่านก็หัวเราะ) แต่พอดูพ่อท่านนั่งเทศน์ ไม่เห็นพ่อง่วง ไม่เห็นไม่ง่วงบ้างเลย

พ่อท่าน : ไปนั่งเทศน์อยู่ก็ง่วงด้วย ก็แย่กันนะสิ (คนฟังหัวเราะ) เทศน์ไปด้วย ก็ง่วงด้วย มันก็จะเอา อะไรกันได้นะ เออ! นั่งอยู่เฉย ๆ มันง่วงก็ยังพอว่า นี่เทศน์อยู่ด้วย และง่วงด้วย นี่หมดเรื่องแล้วนะ ก็อาจจะมีนะ เทศน์ไปก็ยังง่วงไปนี่ เอ๊! มีมั้ย ใครเทศน์ไปแล้วก็ง่วงไปมีไหม อ้อ! ท่านถิรจิตโตบอก เทศน์ไป ง่วงไปด้วย (พ่อท่านหัวเราะ) มันอาจจะเพลียนะ มันอาจจะเปลี้ย มันอาจอะไร แต่ว่า จำเป็น จะต้องเทศน์ มันก็เทศน์ไป ก็ แหม! มันอยากนอนแล้วนะ มันอยากจะพักแล้ว พอเทศน์ไป ปรือไป เออ! ก็คงเป็นได้เหมือนกันนะ ถ้ามันเมื่อยมาก ๆ มันก็เป็นได้นะ ถามว่าเป็นโรคติดต่อหรือไม่ มันก็เป็นการ ชักชวนกันได้เหมือนกันนะ มันชักชวนกันได้เหมือนกัน แต่ว่าโรคติดต่อ ก็ในทางจิตนะ เรียกว่า นิวโรซิส (neurosis) นะ เหอ! (พ่อท่านถามคนฟัง) คนฟังพูด ฟังไม่ชัด

พ่อท่าน : เออ! ทำให้เป็นโรคติดต่อทางตื่นซิ เออ! อย่าให้เป็นโรคติดต่อทางง่วงซิ ทำให้เป็นโรค ติดต่อทางตื่น ทีคนเขาตื่นอยู่นี่มากกว่าคนง่วง ก็ไปเอาโรคง่วงที่จากคนนิด ๆหน่อยๆมาเป็นโรคทำไม เป็นโรคติดต่อ ก็เอาโรคติดต่อของคนตื่นสิ ยินดีกับคนตื่น ก็เอ๊อ! น่าเอาอย่างอย่างโน้นนะ ไม่น่าเอาอย่างหรอก ไอ้อย่างง่วงนี่ เอ๊อ! ค่อยยังชั่ว ตั้งจิตไว้ผิด ยินดีในสิ่งที่ควรยินดี ยินดีในคนที่ เขาเบิกบาน ร่าเริง ว่าเออ! เห็นคนเขาเบิกบานร่าเริง ดูคนเบิกบานร่าเริงในทาง โอ๊!ทำไมเขาไม่ง่วงน่ะ ดีนะ แล้วนี่ไปมองว่าไอ้นี่ก็ง่วงโว้ย (คนฟังหัวเราะ) แหม! ไอ้นี่ก็ง่วงโว้ย ไปหาแต่คะแนนให้แก่ตัวเอง เสร็จแล้ว เราก็เลยต้องง่วงกันด้วยกัน มันก็เป็นโรคติดต่อแน่ ๆ นะ

คำถาม : ใช้โทสะเพื่อ กดข่มราคะได้หรือไม่ หรือจะใช้ราคะกดข่มโทสะ จะเป็นความไม่บริสุทธิ์ ของการปฏิบัติธรรม มากน้อยอย่างไร

พ่อท่าน : มันก็เป็นเพียงแต่กดข่ม มันก็เป็นเพียงแต่ แก้ แก้ เหมือนกับว่า เอาเค็มมาแก้เปรี้ยว เอาเปรี้ยวมาแก้เค็ม อะไรไปเฉย ๆ มันไม่ได้เป็นการละล้าง อย่างสมบูรณ์แบบ รู้ การโกรธก็รู้ชัด และก็วิธีการให้เห็นด้วยปัญญา จะกดข่มบ้าง ถ้ามันมากไป ก็ใช้สมถภาวนาช่วยก่อน เสร็จแล้ว ก็ใช้วิปัสสนา ใช้ปัญญา ใช้เหตุใช้ผล ใช้ความจริงให้เห็นว่า มันไม่ใช่ตัวตนจริง มันไม่ใช่เรื่อง ฟังไม่ชัด มันไม่มาใหญ่ อะไรกับเราหรอก และเราก็ไม่ได้ต้องไปนั่งยินดี ไปติดไปยึดอะไรมัน เราเห็นให้ได้ว่า มันไม่ได้มีอำนาจ มันไม่ได้มีตัวตนอะไร พิจารณาด้วยวิปัสสนาจริง ๆ เสร็จแล้วถ้าเผื่อว่า คุณเห็นอาการว่า เออ! เราคิดอย่างนี้ เราเห็นอย่างนี้ มันอ่อน เราก็ มันอ่อนแรงลง หรือมันลดละลง จำไว้ และก็ทำบ่อย ๆ ทำบ่อย ๆ ทำบ่อย ๆ ทำทุกที อย่างนี้ มันอ่อนแรงได้ อย่างนี้ชักจะดื้อ ดื้อยาแล้ว อย่างนี้ ไม่ยอมลงอีกแล้ว หาเหตุผลใหม่ด้านต่าง ๆ พิจารณาไปจริง ๆ นะ ต้องปฏิบัติประพฤติจริง ๆ อย่าไปเอาแค่ โทสะข่มโลภะ โลภะข่มโทสะ หรือราคะข่มโทสะ โทสะข่มราคะ อยู่เท่านั้นไม่พอ

คำถาม : ๑) ระหว่างปีติกับปราโมทย์ มีข้อแตกต่างกันหรือไม่เช่นไร

พ่อท่าน : อธิบายแล้วเมื่อเช้า ปีติกับปราโมทย์คือมีลักษณะจิตที่ยินดีนี่ มีลักษณะที่อ่อนแรงกว่ากัน ปราโมทย์ก็เริ่มต้นก่อน ปีติก็สูงขึ้นนะ เช่นนั้นน่ะ ที่อธิบายแล้ว มันแตกต่างกันอยู่ที่ค่าของมันสูงน้อย สูงมากกว่ากัน น้อยมากกว่ากัน ปีติมันมากกว่า ปราโมทย์มันน้อยกว่าเบากว่า

คำถาม : ๒) ถ้ามีแต่ปัญญา แต่ขาดเจโต ก็ไปปรินิพพานไม่ได้ใช่หรือไม่

พ่อท่าน : ใช่ เพราะเจโตนี่หมายความว่า จิตต้องเป็นตามนั้นได้ รู้โดยปัญญา หรือทิฏฐิเข้าใจด้วย ความรู้ ด้วยเหตุ ด้วยผลแล้ว แต่เป็นไม่ได้ถึงจิต นั่นเรียกว่า ขาดเจโต เจโตหรือจิตต้องเป็นได้ด้วย แล้วก็มีญาณปัญญา เห็นซ้อนลงไปอีก เรียกว่า วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ เห็นซ้อนเรียกว่า เออ! วิมุติแล้ว เป็นได้แล้ว ระงับเสร็จแล้ว หลุดพ้นแล้ว ต้องมีญาณรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว จึงจะสมบูรณ์ หลุดพ้นอย่างไร ไอ้ที่ตัวที่จะหลุดพ้น หรือตัวที่จะดับสนิท ตัวที่จะตายไม่เหลือ คือกิเลส ตัณหา อุปาทาน มันเป็นอาการ ลิงคะ อย่างไร มันเป็นนิมิตอย่างไร เห็นอาการนั้นว่า มันไม่มี ไม่มี ไม่มีจริง ๆ ต้องมีวิมุตติญาณทัสสนะ นะ เราจะต้องได้ทั้งสองอย่าง คือ ปัญญาวิมุติ กับ เจโตวิมุติ

คำถาม : ๓) ระหว่างปัญญานำเจโต กับเจโตนำปัญญา อันไหนจะเจริญในธรรมได้เร็วกว่ากัน

พ่อท่าน : ตอบตายตัวไม่ได้ หรือต้องมีทั้งสองส่วนเท่า ๆ กัน อะไรจะนำก็เป็นได้ คนที่มีเจโตนำปัญญา ก็ทำได้ พอทำเสร็จแล้ว เจโตเรามาก เราต้องพยายามหาปัญญาเพิ่ม ต้องมุ่งไปสะสมปัญญาเพิ่ม มันจึงจะ ไปนำเจโตอีก ถ้าปัญญามันมากแล้ว ต้องมุ่งมาทางเจโต ทำเจโตขึ้นให้เสริมอีก ต้องกลับไป กลับมา กลับไปกลับมา ส่วนมากปัญญาก็ไม่ชอบเจโต เจโตก็ไม่ชอบปัญญา ก็เลยเอียงข้างโต่งไป ช้าพวกนี้ ไม่ค่อยได้เรื่องนะ เพราะฉะนั้น เราจะต้องรู้ ไม่รังเกียจอันใด เพราะฉะนั้น ปัญญานี่ ต้องพยายาม ที่จะต้องศรัทธาเจโต อย่าไปดูถูก หาว่าซื่อบื้อไม่ดี ทางด้านปัญญาศรัทธาเจโต แล้วเจโตก็ต้อง ศรัทธาปัญญา บอกว่าไอ้พวกนี้ฟุ้งซ่าน ก็อย่าไปดูถูกพวกปัญญา ต้องเข้าหา เออ! พวกนี้เขาดีนะ เขารู้รอบ เขามีปฏิภาณโน่นนี่ ต้องพยายามสัมพันธ์กัน และก็พยายามศึกษา กันและกันนะ

คำถาม : ๔) พระพุทธเจ้ามีทั้งปัญญาและเจโตสมส่วนใช่ไหม

พ่อท่าน : ใช่ ต้องได้ทั้งหมด ทั้งเจโตทั้งปัญญา ทำให้ได้สัดส่วน ทำให้ได้ มันเอื้อกัน มันเกื้อกูลกัน ให้เป็นไปด้วยดี

คำถาม : ๑)การได้จิตวิญญาณของพระโสดาบัน ต้องครบทั้งขั้นต้น ขั้นกลาง และขั้นสูง หรือไม่ เช่น ในศีลข้อสี่ ไม่ทราบว่า ต้องทำละเอียดขนาดไหน จึงจะสมบูรณ

พ่อท่าน : เรื่องนี้มันบอกกันยากนะ มันต้องประมาณด้วยตัวเรา เราจะเข้าใจว่า เราได้น้อยได้ต่ำนี่ ไม่เป็นไรหรอกนะ มันดีกว่าได้น้อย แล้วก็ไปนึกว่าเราได้ใหญ่ ฟังไม่ชัด ได้แค่โสดาบัน นึกว่าเป็น พระอรหันต์ อย่างนี้มันยุ่ง แต่ถ้า เราได้ทั้งถึงขั้นอรหันต์ ถึงขั้นอนาคา เรานึกว่า เราได้แค่โสดา มันไม่ค่อย เสีย เท่าไหร่หรอกนะ แต่ที่จริงมันก็เป็นมานะชนิดหนึ่งเหมือนกัน ไม่ดี เราได้สูง แล้วเรา หลงตนว่าต่ำ มันก็ไม่ดีนัก แต่มันก็ยังดีกว่าที่เราได้น้อยเราได้ต่ำ แล้วเราหลงว่าเราสูง อันนี้ไม่เข้าท่า อันนี้มันทั้งหลอก คนอื่น นอกจากหลอกคนอื่น ก็ตัวเองมันฝืน มันไม่ได้ เหมือนกับตัวเอง แหม! มีขาสั้นแค่สามนิ้ว นึกว่า ตัวเองมีขายาวตั้งสามฟุต เสร็จแล้วเขย่งเก็งกอยตายเลย แล้วหลอกเขา มันไม่ได้ เดี๋ยวขาฉีกตาย มันไม่ถูกเรื่องนะ เพราะฉะนั้น ต้องประมาณเอา โสดาบันเราก็ประมาณดูว่า อะไรคือสักกายะของเรา ไม่รู้ละ แต่ละคน เกิดมาชาตินี้ ก็เอาชาตินี้ก็ได้ อะไรเป็นสักกายะ หรือเป็นเรื่อง ที่หยาบ ที่เราเห็นว่า เราจะต้อง ละแล้วเรื่องนี้ มันหยาบ มันจัดจ้าน จะเป็นราคะ เป็นโทสะ เป็นอะไร หรือเป็นเรื่องราว ที่เราประพฤติอยู่ เป็นกิจของอบายมุข เป็นกิจของการหลงลาภยศอะไรต่ออะไร ไปล่ามาก ไปเที่ยวได้เอาเปรียบ เอารัด มามาก อะไรต่าง ๆ นานาพวกนี้ ลด พยายามลดของเรา ได้ขนาดหนึ่ง ก็เรียกว่า โสดา ลดลงได้จริง ๆ ลดลงได้จริง ๆ

ศีลข้อสี่ก็คือ เรื่องของภาษา ไม่ทราบว่าต้องทำละเอียดขนาดไหนจึงจะสมบูรณ์

ก็ในลักษณะพอดีพอดี ในลักษณะที่ว่า มันไม่ใช่พวก ... เราก็รู้นี่นะภาษา โกหกจริง ๆ เราไม่โกหก ศีลข้อสี่ โกหกจริง ๆ เราไม่โกหกจิรง ๆ แต่ก็อาจจะมีอนุโลมปฏิโลม เขาว่า มันไม่ มันก็เหมือนเลี่ยง แต่ไม่ใช่เลี่ยงหรอก มันก็ไม่ต้องโกหก แต่ว่าเห็นแล้วว่า ไอ้นี่เป็นประโยชน์นะ เราก็เลี่ยง ๆ ไปหน่อย ให้มันเป็นประโยชน์ เป็นประโยชน์เพื่อคนอื่นเขา ไม่ใช่บำเรอตน อย่างนี้ก็เรียกว่า ไม่ใช่โกหกแท้ แล้วอย่าไปทำ ให้คนโกรธแค้น ส่อเสียดก็หมายความว่า ชอบเอาความไม่ดีของคนนี้ไปพูดคนโน้น เอาความไม่ดีของคนโน้นมาพูดคนนี้ ให้เขาทะเลาะเบาะแว้ง แตกแยกกัน อย่างนี้ไม่ถูก อย่างนี้ไม่ดี นี่เรียกว่า ส่อเสียด เพราะฉะนั้น พยายามอยู่ให้เขาประสานกัน ให้อยู่กันอย่างสงบเรียบร้อย เขาจะทะเลาะกันเอง ก็เรื่องของเขาอยู่แล้ว แล้วเรายังไปเสริมให้เขาทะเลาะเบาะแว้งกันอีก อย่างนี้ เรียกว่า มันมากไป อยู่ด้วยกัน แล้วก็ไป ปากมาก ไปเที่ยวได้ส่อเสียด ให้คนทะเลาะเบาะแว้งกัน บาป ศีลข้อสี่ผิด แล้วพยายามจะพูดไม่ได้เรื่องได้ราวเพ้อเจ้อ พูด อู๊!ไม่เข้าเรื่อง ไม่ได้เนื้อหาอะไร ดีไม่ดี พูดลามกด้วย พูดเปลืองเปล่า พูดเสียหายผลาญพร่า ไม่เข้าท่านะ ก็ประมาณดูหยาบ ๆ อย่างนั้นน่ะ ศีลข้อสี่ มันก็ พระโสดาบันก็ขนาดนั้น

คำถาม : ๒) อรหัตน์ที่พ่อท่านต้องการให้เป็น ระดับไหน เช่นอรหันต์ในโสดา ในอานาคา ในอรหันต์ในอรหันต์

พ่อท่าน : ก็ได้ทั้งนั้นแหละ อรหันต์ในโสดาก็ได้ ให้มันเข้าใจเถอะ แล้วทำอรหันต์ในโสดาได้แล้ว ก็ทำต่อ ต้องมีสมานัตตตา เสมอให้ได้ ตัวเราเองได้แค่นี้ เห็นว่าโสดาบันขนาดนี้นะ เราก็ต้องทำ ตัวเองให้เสมอ แล้วก็สมาน อธิบายไปแล้วเสมอกับสมาน สมานัตตตานะ อย่าไปทะเลาะกัน อย่าไปมี มานะ เมื่อ พอเสมอแล้วก็ชัก เอ๊ะ! กระทบไหล่ดาราได้แล้ว โสดาเราก็เท่าเขาแล้ว ก็ข่มเบ่งกัน ไม่ได้ สมานอยู่กัน เออ...ไอ้นี่กัน หรือแม้เราเอง เสมอโสดาแล้ว เราก็สูงขึ้นไป ต่อให้มันเป็นเสมอ สกิทาต่อ เมื่อสกิทาแล้ว เราก็...ไม่ใช่ไปข่มโสดา หรือว่าไปกระทบไหล่สกิทา แล้วก็ทำแอ๊ค ทำอะไรอย่างนี้ไม่ได้ เสมอสมานก็คือ เราสูงขึ้นไป ตามลำดับ แล้วก็ไม่ไปทะเลาะ ไม่ไปเบ่ง ไม่ไปข่มใคร

คำถาม : ทำอย่างไร จึงจะไม่มีความรู้สึกในแง่ลบต่อคนมีกิเลส

พ่อท่าน : ที่ถามมานี่ ก็ควรจะรู้ตัว ว่าแง่ลบมันหมายถึงอะไร คนเขามีกิเลส เราไปมีแง่ลบ จะทำอย่างไร ก็อย่าให้มันมีแง่ลบ จะไปยากอะไรล่ะ (พ่อท่านหัวเราะ) ก็รู้ว่านี่ เราก็เข้าใจแล้วว่า ไปมีแง่ลบ หมายถึง อะไรละ ความหมายคำว่าแง่ลบ เป็นภาษากลาง ๆ อ่ะ แง่ลบไปทำอย่างไร คนมีกิเลส ก็ไปดูถูกเขา ไปข่มเขา ไปชังเขา นี่เป็นเรื่องของลักษณะแง่ลบทั้งนั้น ก็เรามีลักษณะพวกนี้ เราก็อ่าน ให้ออกว่า เออ... เราก็ล้างใจซะ พยายามอย่าไปเป็นอย่างนั้นซิ ก็ให้ชัด ๆ

คำถาม : พอรู้สึกแบบนี้ ทำให้ศรัทธาคนยาก

พ่อท่าน : แน่! รู้ว่าตัวเป็นภัยซะด้วยนะ แล้วเราก็ไม่ค่อยศรัทธาใคร ไปเห็นแง่ลบของคนนั้นคนนี้ ทั้ง ๆ ที่ ค่ารวมของเขาน่ะ เขาสูงกว่าเราด้วยซ้ำไป อะไรนิดอะไรหน่อย เขาเป็นแง่ลบ โอ๊! คนนี้ยัง บกพร่อง คนนี้อย่างนี้ คนนี้ยังบกพร่องอยู่หน่อย อันนี้คนนี้ยังบกพร่องอยู่อย่างนั้นบ้าง อย่างนี้บ้าง เสร็จแล้ว เราก็เลย ไม่ได้ศรัทธาใครเลย มันจะใหญ่มากไปมั้ง อัตตาน่ะ

คำถาม : หรือแม้คนที่ประพฤติดีอยู่ แต่ก็ยังมีกิเลส มีทิฏฐิ ปัญญาไม่กว้างขวาง ก็รู้สึกธรรมดา งั้น ๆ ไม่เลื่อมใสอะไรนักหนา บางทีก็ทำอะไรไม่เข้าท่า ให้ดูอีกต่างหาก ก็เลยยิ่งไม่ ยังให้รู้สึกเลื่อมใส เข้าไปใหญ๋ จะพิจารณาอย่างไร ให้ใจดีกว่านี้

พ่อท่าน : เราต้องมองแง่ดีของคนให้ได้ทั้งหมด การที่เรายกย่องคนในส่วนดีที่ถูกต้อง ของคนนั้น ไม่ใช่ความเลวเลย แต่เราเอง เราไปมองแต่คน ไปมองแต่แง่ร้ายแง่เสียของคน แล้วเราก็ไม่ได้ไป ศรัทธาใคร เพราะมองแต่แง่ร้าย เราก็ไม่ได้ศรัทธาใครเลย เราก็อยู่โดดเดี่ยว แล้วเราก็ไม่มี ครูบาอาจารย์ และเราก็ไม่มีเพื่อน ก็เป็นความโง่ยกกำลังของเราเอง เห็นจริง ๆ เลยว่า นี่เป็นความโง่ ที่ยกกำลัง มันไม่เกิดประโยชน์แก่ตัวเรา จะเป็นมิตร เป็นสหายกับเพื่อนก็ไม่ได้ เขาอาจจะต่ำกว่าเรา เขาอาจจะมีอะไร ด้อยกว่าเรา น้อยกว่าเราก็ไม่เป็นไร แต่ส่วนดีเขามีอยู่ ก็เอาอันนั้นแหละ เป็นเรื่อง เป็นเครื่องเกื้อ เขาอาจจะมีส่วนดีกว่าเรา ในบางแง่บางเชิง เราก็เอา ถึงไม่เอา เราก็เป็นเพื่อนกัน ไม่ต้องไปเที่ยว ได้รังเกียจ เราอย่าไปเป็นอย่างเขาเป็น ก็แล้วกัน ถ้ามันจริงนะว่า ไอ้นี่ สิ่งนี้ไม่ดีของเขา เราอย่าไปเอาอย่างเขาเป็น ก็แล้วกัน เราจะได้ทดสอบว่า เราอยู่กะเขา นี่ เราไปซึมซับ เราไปเอาอย่าง เขาไม๊ เราไปเป็น ให้เขามีอิทธิพล จนกระทั่ง กลืนเราได้ไม๊ ถ้าเขากลืนเราได้ ตัวเองไม่ได้เก่งอะไรเลย (พ่อท่านหัวเราะ) ลองดูซิ ลองคบหาดูซิ เป็นมิตร เป็นสหายแล้ว เราจะถูกเขา กลืนมั้ย เพราะงั้น ต้องเห็นให้จริง อย่างที่กล่าวนี่ไปให้ได้

คำถาม : ๒) เมื่อความปรารถนาลดลง ความเฉื่อยก็เข้ามาแทนที่ ทำอย่างไร จึงจะมีฉันทะ กระตือรือร้น อยู่ได้ตลอดกาลนาน โดยที่ไม่ต้องการสิ่งใดตอบแทนเลย ซักอย่างเดียว

พ่อท่าน : เมื่อความปรารถนาลดลง ความเฉื่อยก็เข้ามาแทนที่ เรื่องขยายความอยู่ในตัวมันเองเท่านั้น ทำอย่างไร จึงจะมีฉันทะ ก็ต้องเห็นความจริงให้ได้ซิว่า สิ่งนี้เป็นสิ่งที่น่า จะต้องยินดี ยินดีพากเพียร จะปฏิบัติไปใน อย่างนี้ ปฏิบัติทางนี้ เมื่ออธิบายไปเมื่อกี้ผ่านมา ต้องทำอย่างนี้ ต้องยินดี ต้องเห็นได้ว่า อย่างนี้เราควรมีชีวิตอยู่ เราก็ต้องฉันทะในสิ่งที่ควรฉันทะ ถ้าไม่ฉันทะ ในสิ่งที่ควรฉันทะแล้ว จะไปฉันทะ อะไรละ ไม่ยินดีในสิ่งที่ควรยินดี ใจเรา ต้องควรยินดีอย่างนี้ อย่าไปหลงผิด อย่าไปโง่ อย่าไปยินดีในสิ่งที่ ไม่ควรยินดี เราก็แย่มาตั้งนานแล้ว เราควรมายินดีอย่างนี้ซิ จิตมันไม่ยินดี อาการยินดี มันจะเป็นยังไง ปรับมันเข้า ทำให้มันเป็นอาการอย่างนั้นเข้า ทำให้เป็นได้ ได้อย่างนั้นเข้า นั่นแหละ คือกำปั้นทุบดินน่ะ ที่อาตมาพูดนี่ อาตมาว่า กำปั้น ทุบดิบ ทำให้มันเป็น...เป็นฉันทะอย่างไร ยินดีในสิ่งที่ ควรยินดีไปก่อน แล้วเรา ก็จะได้สร้างสรร เราทำจนกระทั่งได้ เป็นอัตโนมัติ

แล้วทีนี้ จิตใจที่จริง เรายินดีจนกระทั่งฉันทะแล้ว ก็มีปีติ มี อะไรนี่นะ มันได้แล้วมันก็ดี มันก็ปีติใจ พอเราได้ไป นานๆๆๆ ไม่ต้องไปลดมัน มันก็ลดเอง ปีติน่ะ ความยินดีน่ะ มันชินชานานจนเข้า มันก็ชินชาเอง จริงๆนะ นานๆไป เวลาจะรักษาปีติก็ได้ แต่ถ้าเรารู้แล้ว เราลดเองมันก็เร็ว มันก็ลด ปีติได้เร็ว ลดอุปกิเลสได้เร็ว แต่ถ้าไม่รู้ ไม่มีปัญหาหรอก ขอให้คุณทำดีอันนั้นให้ดี ดีมากๆเข้านานๆเข้า มันก็ชินชา มันไม่มีปีติ ปิเตอะ อะไรหรอก มันจะลดเอง อุปกิเลสพวกนี้ ไม่ต้องไปห่วงมันมาก

พ่อท่าน : ข้อสำคัญเราจะต้องให้มียินดีให้มีปีติในกุศล พระพุทธเจ้ายังไม่สันโดษในกุศล คุณเป็นใคร แน่แค่ไหน ถามตัวเองเข้าไปให้มาก อ้อ! จำอันนี้ให้ดี ดีเหมือนกันน่ะ เป็นตบะ เป็นโศลก พระพุทธเจ้า ยังไม่สันโดษในกุศล โอ้โห! ขนาดเป็นพระพุทธเจ้า ยังไม่สันโดษในกุศลเลย แล้วเราละ แน่นักเหรอ กุศลมากแล้วเหรอ มีจริงๆนะ คิดให้เห็นจริงๆว่า โอ๊! เรานี่กุศลก็ยังน้อยอยู่ นี่นะ แล้วยังไม่ยินดีในกุศล ยังอุตส่าห์ไป เอ๊อ ช่างมันเถอะ พระพุทธเจ้า ไม่สรรเสริญคนเฉื่อย

คำถาม : ช่วยบรรยายพรรณนาไซโค (psycho) ให้ฟังหน่อย ถึงชีวิตที่มีชีวิตชีวา (พ่อท่านโอ้โห) ไม่ต้องการ สิ่งใด ที่เป็นกิเลสตอบแทน ที่สำคัญคือ ต้องมีชีวิตชีวาด้วย ไม่เฉื่อย เนือย ง่วง หลับ

พ่อท่าน : อาตมาเคยบอกนะ บอกว่าเอาเถอะ เราจะมีปีติ อย่าพึ่งไปข้ามขั้น ไม่ยินดีในอะไรไปหมดเลย ไม่มีกำลังใจ การทำงานเลย ไม่มีกำลังในการ พัฒนาตนเองเลย เอาเถอะ มันจะเป็นอามิส ก็ช่างเถอะ มันไม่ได้แย่งลาภ แย่งยศเขา มันไม่ได้ไปทะเลาะเบาะแว้ง เราทำดีแล้ว ก็ยินดีในดีที่เราได้ เรามีน่ะ มันเป็นตัวปีติ เป็นอุปกิเลส ไม่ใช่กิเลสหยาบหรอก เป็นอุปกิเลส อาตมาก็เคยบอก บอกหลายทีแล้ว เอามีไว้สำหรับ ที่จะให้เราสร้างสรรสิ่งที่ดี ขยันหมั่นเพียรจนชำนาญ จนเป็นอัตโนมัติไปก่อน แล้วค่อยมาวาง จิตในจิต มาวางกิเลส อุปกิเลส ซ้อนๆ ในตอนลึกๆ อันนี้อีกที ทีหลังก็ได้ ไม่เช่นนั้น มันก็เฉื่อย ก็เนือย อย่างที่ว่านี่แหละ มันก็เลยชั่วไม่มี ชั่วหรือดี อัปรีย์ทั้งนั้น ไม่ต้องทำดีทำชั่ว ไอ้ประเภท ลัดๆ ไม่มีลำดับ อย่างนี้นี่แหละ มันไม่ได้อะไรซักอย่างหรอก แล้วมันก็เฉโก แล้วมันก็ฉลาด แกมโกง แล้วคนฉลาดแกมโกง พวกนี้ ฟังเหลี่ยมคู ของปรัชญาพวกนี้เก่ง

เสร็จแล้วตัวเองก็หลอกตัวเอง ไม่หลอกหรอก โง่ซ้อนโง่ ตัวเองไม่รู้ตัว แล้วก็แอบเสพย์ แอบกิน ไม่ใช่แอบหรอก กินดื้อๆนี่แหละ เสพย์ดื้อๆ โดยตัวไม่รู้ตัว คนอื่นเขาเห็นอยู่นะ เหมือนอย่างอาจารย์เซน ที่มาหาอาตมา อย่างที่เคยเล่าทุกที แหม ดูดบุหรี่ ดูเหมือนจะกินเหล้าด้วย หน้าแดง มาหาอาตมา อาตมาบอก โอ๊ ! ไอ้อย่างนี้ นี่ไปปฏิบัติก่อนเถอะ ไอ้หยาบๆ อย่างนี้ ยัง ไปปฏิบัติได้หรือ จะมาพูดถึง โลกุตระ บอกให้มาปฏิบัติ เขาพูดสาธยาย อย่างโน้น อย่างนี้ เป็นปรัชญาของเซนของอะไร มาเยอะแยะ อาตมาก็บอก อู๊! ดูกิริยาท่าทาง แม้แต่วาจาภาษาโวหารโอหัง แล้วยังดูดยา ไอ้ส่วนตัว เห็นชัดๆ ยังมาดูดยา ตุ๋ย ตุ๋ย ตุ๋ย อยู่นี่ อาตมาก็เลยบอก บอกเขาไปปฏิบัติเถอะ ไปทำซะก่อน ไป ปฏิบัติซะก่อน ก่อนจะมาพูด เขาก็เล่นเลยนะ ในเมื่อตัวตนก็ไม่มี แล้วจะเอาอะไรไปปฏิบัติ เขาว่า เออ! ไป ไป ไป อาตมาบอก ไปเลย ไปเลย ไปเลย ไม่รู้เรื่องแล้ว พูดกันไม่รู้เรื่องแล้ว ไม่รู้เรื่อง เขาไม่รู้ตัวตน ของกิเลส เขาไม่รู้ตัวตนอะไร ของเขานี่ เพ้อพกอยู่ ตัวตนอะไรก็ไม่รู้ ลอยละล่องตัวตน อะไรละ ตัวตนของอะไรละ แล้วไม่รู้อัตตานั้นนะ อัตตาคืออะไรไม่รู้ บอกว่า อัตตาของกิเลส ตัวตนของกิเลส แล้วมันไม่ใช่ตัวตนหรอก ตัวตนของกิเลส

ฆ่ามันให้ตายดูสิ มันยิ่งตาย เรายิ่งเจริญน่ะ มันไม่ใช่ตัวตนที่วิเศษอะไรเลย ฆ่า ดูซิ เขาก็ไม่เข้าใจกันน่ะ พูดภาษาโวหาร ตัวตนไม่มี ไม่ยึดมั่นถือมั่น ชั่วไม่มี ดีไม่มี ชั่วดีอัปรีย์ทั้งนั้น ไปยึดดีก็ไม่ได้ ยึดชั่วก็ไม่ได้ ยึดดีไว้ก่อน แล้วทำดีให้เป็นอัตโนมัติ ให้มันได้จริงๆ ดีกว่านี้มีอีก ดีกว่านี้ยิ่งขึ้น ดียิ่งขึ้น ดียิ่งขึ้น แล้วเข้าใจ ลักษณะดียิ่งขึ้น ไปตามลำดับ

อาตมาเคยบอกว่า เรื่องตามลำดับ เป็นเรื่องน่าอัศจรรย์อย่างยิ่งของ พระพุทธเจ้า เพราะฉะนั้น ธรรมะ ไม่มีความเป็นลำดับ นี่แหละ เป็นเรื่องเหลวไหล ทำให้ศาสนาไม่เจริญ ก็เพราะอย่างนี้ อาตมาพูด อย่างนี้ ไปโดยสัจจะ เสร็จแล้ว ผู้ที่เขารู้สึกว่า เอ๊! อย่างนี้มันว่ากูนี่หว่า เขาก็หาว่า อาตมาว่า ที่จริง อาตมาก็ ว่าน่ะแหละ (คนฟังหัวเราะ) แต่ว่าอาตมาไม่ได้ไประบุ ก็พูดว่า มันผิดพูดอย่างนั้น สอนอย่างนั้น มันไม่ถูก เพราะฉะนั้น ใครเองใครไปโดนก็หาว่าอาตมานี่อวดดี ไปเที่ยวได้ด่าว่า ครูบาอาจารย์เขา อย่างโน้นอย่างนี้ ไม่รู้จะทำยังไง อาตมาก็บอก อาตมาก็ต้องติเตียน สิ่งที่มัน ไม่ถูกต้อง เป็นความเห็นของอาตมานะ แก้ไขกันสิ เพราะฉะนั้น ก็เอาละ เราจะให้มีชีวิตชีวา เราก็ทำ สิ่งที่ยัง มันได้ดี จะมีปีติก่อน จะมีอะไรไปก่อน ก็ไม่เป็นไรหรอก เพราะว่านานๆ เข้าไปแล้ว มัน ชินชาหรอก มันไม่ค่อยเท่าไหร่หรอก ถ้าเรารู้แล้ว ต่อไป เป็นอัตโนมัติ เป็นดี อย่างตั้งมั่น อย่างแข็งแรง ดีแล้ว สร้างกุศลนี้ได้ดีแล้ว ค่อยไปล้างปีติ ถ้ามันปีติก็ยัง ไม่หมดซะที ก็ค่อยไปลดลง ค่อยๆทีหลัง เป็นลำดับนะ

คำถาม : ๔) ถ้าต้องการจะแปรกามตัณหา ภวตัณหา ให้เป็นวิภวตัณหาอย่าง สะเด็ด ขอให้ช่วย ชี้แนะด้วย

พ่อท่าน : กามตัณหาก็ดี ภวตัณหาก็ได้ ไม่ใช่แปร ลดกามตัณหา ลดภวตัณหา ให้ถูกตัวถูกตน แล้วคุณก็ได้ดี ขึ้นมา โดยคุณมีปรารถนาดีนั่นแหละเป็น วิภวตัณหา ปรารถนาภูมิที่สูงขึ้น คุณมั่วอยู่ ในกามตัณหา นั่นอยู่ในภพ อยู่ในวัฏสงสารของความหยาบขนาดนี้ คุณควรจะได้ภพที่สูงกว่านี้ ลดกามตัณหา ลดภวตัณหาอันนี้ วิภวตัณหา เป็นภพที่สูงยิ่งขึ้นกว่าเก่า ให้ไม่มีภพอันนี้ กามตัณหา นี่คือ ภพหนึ่ง กามภพ ภวตัณหาอย่างนี้ อาการอย่างนี้ ก็คือภพอันหนึ่งของภพในภพ แล้วคุณก็ พยายามไม่เอาภพนี้ เราจะต้อง ไม่ให้มีเรียกว่า วิ นี่แหละไม่ ฆ่ามันด้วยวิธีการปฏิบัติ อาการของ วิภวตัณหา เลื่อนชั้นไปสู่วิภวตัณหา เรียกว่า ตัณหาล้างตัณหา แล้วค่อยไป ล้างวิภวตัณหาอีกที ให้มันได้แล้วสูงขึ้น สูงขึ้น สูงขึ้นไป จนกระทั่ง สุดท้าย เราได้ แล้ว เป็นภพที่ละเอียด ได้ไปเป็นความดี ไม่มีเรื่องที่จะเอามาเสพย์ให้แก่ตัวเองเลย แล้วก็สอนคนอื่น อะไรคนอื่น ก็เป็นชั้นไปอีก วิภวตัณหา ก็เปลี่ยน เปลี่ยนจากตัวเองเสพย์ หยาบแล้วก็ได้ตัดหยาบ ก็ไปสู่ภพสูงขึ้น ตัดกลางก็ไปสู่ภพที่สูงขึ้น ละเอียด ตัดภพละเอียด ไม่มีของตน ไม่เสพย์แล้ว ก็ไปสอนคนอื่น ตัวเองก็เปลี่ยน ภพใหม่ ไปเป็นตัว ที่ช่วยผู้อื่น ยินดีในคุณค่า ยินดีในความดีงามในกุศล แล้วทำไป จนกระทั่ง คุณค่อยไปลด อาการที่มัน ไปเสพย์ไปติด ถ้าไม่ได้ทำดีแล้ว มันรู้สึกเศร้าใจ หรือมันอะไรต่ออะไร ก็ไปปล่อยวาง กันตรงโน้นอีก หรือว่าทำดีแล้ว ก็ติดก็ยึดเกินไป เกิดมานะ เกิดอัตตา เกิดความทะเลาะ เบาะแว้ง เกิดความไม่ดี ไม่งาม ไปลดกันอีกที นั่นวิภวตัณหา ในตอนท้ายตอนสูง เป็นขั้นๆ ไปอย่างนั้น

คำถาม : ขอความกรุณาพ่อท่าน ช่วยอธิบายความหมายของคำวว่า ฌาน และ ญาณ เหมือนกัน หรือต่างกันอย่างไร

พ่อท่าน : เมื่อเช้านี้อธิบายแล้ว ฌาน และญาณ เหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร คนละตัวนะ ฌาน กับ ญาณ ญาณนี่ สภาวะก็คนละอัน แต่ในฌานนั้นก็มีญาณ ถ้าฌานใด ไม่มีญาณ ฌานนั้นไม่ใช่ฌาน พระพุทธเจ้า ท่านตรัสไว้เลย ภาษาบาลีอะไรมั่ง.. นัตถิ ฌานัง อปัญญัสสะ ปัญญา นัตถิ อฌายโต ภาษาบาลีว่า ไม่มีฌาน ที่ไม่มีปัญญา และไม่มีที่ ไม่มีปัญญาที่เรียกว่าฌาน เพราะฉะนั้น ถ้าในฌานแล้ว จะต้องมีปัญญา ร่วมด้วยเสมอ มันคนละเรื่องกัน คนละลักษณะ แล้วคนละสภาวะ คำว่าฌานนี่ หมายความถึงจิตที่ เรามีกิเลส แล้วเราก็ลดกิเลสลงได้ละ เป็นอาการของฌาน คือเพ่งเผาน่ะ ทีนี้ ของญาณ ต้องร่วมด้วยเสมอ ว่าเพ่ง ก็คือหมายความว่า ต้องเรียนรู้ ต้องรู้ รู้ว่านี่ กิเลส รู้ว่าเราทำอย่างนี้กิเลสลดลง ลดลง เห็นและรู้ต่อด้วยว่า กิเลสมันลดนี่ เราทำมันลงไปๆ ไอ้ตัวรู้ๆๆ ตลอดตัวน่ะ คือญาณๆ ตลอดเวลา ทำได้ ทำได้ ทำได้ ทำได้ จิตลดกิเลสลง ลดกิเลสลง นั่นคือฌานๆๆๆ ตลอดเวลา มันก็ชัดแล้วน้า นะ! ไม่รู้จะว่าอย่างไรแล้ว อาตมาว่า อธิบายขนาดนี้ก็ ชัดแล้ว

คำถาม : ฌาน กับสมาธิ อะไรเกิดขึ้นก่อน

พ่อท่าน : ที่จริงมันเกิดสลับกันไป สลับกันมา ทิฏฐินี่คือญาณ หรือคือปัญญา ทิฏฐิ คือความเห็น ความเข้าใจ เห็นเข้าใจด้วยปัญญา แบบปริยัติ แบบภาษา แบบเหตุ ผล ได้ฟังได้ยิน ได้ทำความเข้าใจ มาก่อน เสร็จแล้ว เราก็ไป ลงมือปฏิบัติ ปฏิบัติให้มันเจริญ ให้มันขัดเกลา กาย วาจา ใจ โดยเฉพาะ ใจนี่แหละ จนกระทั่ง เป็นอธิจิต จิตของเราก็เจริญ ขัดเกลาให้ลดกิเลสลงได้เรื่อยๆๆๆ เราเจริญขึ้น ศีลเจริญก็เพราะว่า ปฏิบัติให้เกิด สภาพที่ขัดเกลากิเลสลงไปได้จริงๆ จิตมันเจริญ ขึ้นเป็นอธิจิต เรื่อยๆๆ อธิศีลก็เจริญขึ้นด้วย เพราะศีล มันเป็นตัวเป็น บัญญัติของศีล ภาษาว่าเราไม่ฆ่าสัตว์ เราจะมีจิตเมตตาอะไรนี่ ใช่มั้ย ปฏิบัติศีล ข้อหนึ่ง เพื่อให้เกิดเมตตาธรรม ปฏิบัติศีลเพื่อให้เกิดธรรม เป็นเมตตาธรรม เกิดเมตตาธรรมจริงๆ ลดละขึ้นไป ไป กิเลสลดลงไป ไป จิตก็เป็นอธิจิต อธิจิต อธิศีลก็เกิดสภาวะสูงขึ้น โดยสภาวะ ภาษาก็เป็นตัวสภาวะ ที่เป็นได้สูงขึ้น จิตก็สูงขึ้น ๆ ๆ ปัญญา ก็เห็นความจริง เป็นอธิปัญญา สูงขึ้น ๆ ๆ สูงขึ้นไปเรื่อย อธิทั้งสาม นี่แหละ อาตมายืนยันว่าเป็นสมาธิ สม + อธิ นี่อธิบายอย่างอาตมา เรียกว่าเปรียญเก้า ท่านไม่เชื่อ หรือไม่ฟัง ไม่อะไร ก็ไม่ต้องไปตอแย กะท่าน ไม่ต้องไปเถียงกะท่าน ให้ท่านชนะซะก็แล้วกัน จบไปนะ เพราะฉะนั้น สมาธินี่ เกิดรวมกัน ไปหมด แล้วก็ แข็งแรง ตั้งมั่น เขาถึงแปลความเอาอรรถ เอาภาษา เอาความหมายว่า ตั้งมั่น มันสั่งสม ลงไปแข็งแรง ตั้งมั่น มันเป็นได้จริง ถาวรเป็นจริงเป็นจังขึ้นมา เรียกว่า สมาธิ

ถามญาณ กับสมาธิ เหมือนกันหรือแตกต่างกันยังไง ญาณคือ ปัญญา คือความเห็น ความรู้ ความเข้าใจ ตั้งแต่รู้ด้วยบัญญัติ ด้วยภาษา ด้วยความหมาย จนกระทั่งทำได้ ก็เห็นความจริง รู้ความจริง จนเกิด จนเป็น จนเกิด จนเป็น ก็เกิดญาณที่จะต้องประกอบกับสมาธิ หรือประกอบกับ ฌาน นี่อยู่ตลอดเวลา เพราะฉะนั้น ทำอะไรไม่งมงาย คือมีญาณร่วมด้วยอยู่ตลอดเวลานั่นเองนี้ มีปัญญา มีความรู้ ยิ่งเห็นจริง เห็นอย่างนี้ ตลอดเวลา เรียกว่าญาณ อะไรเกิดขึ้นก่อนขึ้นหลัง จะบอกว่า เราเรียนรู้ด้วยญาณ หรือปัญญาแบบฟัง เรียนมาด้วยบัญญัติ ภาษาก่อน เกิดก่อนก็ได้ แต่บางที เรามีบารมีแล้ว ไอ้เจ้านั่นเกิดละ เกิดก่อน แล้ว เราค่อยมาเรียนรู้ว่า อ๋อ! อันนี้เหรอ เสร็จแล้ว พอไปปฏิบัติ เอ้า! มันได้แล้วนี่ ทำเดี๋ยวเดียว ก็ได้อะไรได้ แสดงว่า เรามีบารมีแล้วนี่ เราก็รู้ด้วยญาณ อีกที ว่า ที่จริงน่ะ สมาธิเราเกิดก่อนแล้ว เพราะเรามีแล้ว พอทำปุ๊บนึง มันก็ได้ มันได้มาก่อนแล้ว มันเคยสั่งสมบุญมาเก่า เสร็จแล้วก็มา พอทำเข้าปั๊บ ญาณก็มาตามรู้ ทีหลัง ที่แท้ เรามีจิตเจโต หรือมีสมาธิที่เคยได้มาก่อนก็มี แต่จริงๆ โดยหลักการ ก็รู้หรือญาณนี่ ต้องเกิดนำก่อน เพราะฉะนั้น บางสำนัก บางอะไร ถึง นิยมจะต้องรู้ก่อน ปัญญาต้องมาก่อนศีล ปัญญาต้องมาก่อนศีล ตกลงเลย หลวงพี่ เอาไปก่อนเลย ไม่ว่า เขาก็บอกว่า ปัญญามาก่อนศีล ปัญญามาก่อนศีล ก็ไม่ว่า อะไร ก็ได้นะ ก็ได้ แต่ต้องปฏิบัติตัวศีลนี่แหละ คุณจะมีปัญญาที่เรียกว่า ที่จริงเป็นเพียงความเห็น เป็นเพียงทิฏิฐินะ เป็นเพียงความรู้ ความรู้ สุตะ นำก่อน

คำถาม : การนั่งเจโตของชาวอโศกเรา คือการทำสมาธิใช่หรือไม่

พ่อท่าน : ในขณะที่นั่งนี่ เจโตสมถะ นี่เราก็พิจารณาอะไรก็ได้ เอาไปกสิณน่ะ จะพิจารณาลมหายใจ อยู่กับลมหายใจเข้าออก จะอยู่กับพุธเข้า โธออก จะอยู่กับ เยซู เย...ซู ยังได้เลย จะอยู่กับ อะ...ลอ อะ...ลอ ยังได้เลย อยู่ๆ ก็อัลเลาะห์ก็ได้ แล้วแต่เราใช้บัญญัติน่ะ ใช้อะไรที่จะเป็นสมมุติอันหนึ่ง เข้ามาไว้ เป็นกสิณ เป็นสิ่งที่เราเกาะอยู่ หรือจะเอาอะไรก็ตามใจ บางคนจะไม่เพ่ง พระพุทธรูป แล้วก็หลับตา เออ...พระพุทธรูป ก็มาเป็นพระพุทธรูป หรือไปเพ่ง ต้นเสา เออ... ต้นเสาอันนี้ เราก็เพ่ง จนติดตา เรียกว่า กสิณติดตา แล้วก็หลับ ตาก็เพ่งต้นเสา ต้นเสา ต้นเสา ต้นเสาอยู่นี่ก็ได้ ให้มันไม่ดิ้น ไปไหน ให้มันไม่ซัดส่าย ให้มันอยู่นิ่งเป็นหนึ่ง อยู่กับอะไรอันหนึ่ง นี่เรียกว่า สมาธิง่ายๆ สมาธิทำให้จิต ไม่ซัดส่าย ทำให้จิตอยู่นิ่ง เป็นสมาธิที่รู้ทั่วไป เป็น general สมาธิ สมาธิทั่วไป เขารู้กัน เข้าใจกัน อันนี้มันง่าย มันพื้นฐาน อย่างนี้ก็ได้ แล้วถามว่า ได้ประโยชน์อะไร ได้ประโยชน์ เราจะได้อ่านอาการ อ่านอารมณ์ในจิต ที่มันนิ่งๆ ในเชิงหนึ่ง เราจะได้ดู ละเอียดขึ้น อ่านอาการพวกนี้แล้ว เราก็จะได้ฝึก ทำให้จิต มันนิ่งด้วย ไม่เช่นนั้น เราก็ไม่ได้ฝึกให้จิตมันทำ มันนิ่ง มันก็เป็นอีกเชิงหนึ่ง เป็นอุปการะ ในการฝึกปรือ ทำให้ได้ มันก็จะเป็นอุปการะซ้อนๆๆ ได้ผลนะ เราจะไปปฏิบัติตามมรรคองค์ ๘ นี่ มันก็จะได้ไปกระทบสัมผัส แล้วกำลังที่เราได้ฝึก อันนั้น ก็ไปเสริมหนุน ช่วยด้วย อย่าไปเข้าใจผิด แล้วกัน นั่งสมาธิแล้วก็ไปนั่ง ปั้นมโนมยอัตตา นั่งเล่นนรกสวรรค์ แบบมีตัวตน แบบ เล่นฤทธิ์เดชอะไร ต่ออะไรไป มันเลอะเทอะ อย่าไปเข้าใจผิด อย่าไปนอกทาง นอกลู่ก็แล้วกัน

คำถาม : หากว่าเป็นผู้หญิง เราจะวางตัวอย่างไร ทว่ามีเขาคนหนึ่ง มาทำที ทำท่าไม่ค่อยจะดีเท่าไหร่ ในเชิงหนุ่มสาว อย่างไร

พ่อท่าน : ถ้าอยู่ในวัดนี่ เราก็จะบอกได้เลยบอกนี่คุณ มาปฏิบัติธรรมนะ ไม่ใช่มาจีบกัน บอกเขาเลย ทำทีทำท่าอย่างโน้นอย่างนี้ แน่รึเปล่า ไปเข้าใจเอา เขามาทำก้อล่อก้อติกกะชั้น ชอบที่เข้าข้างตัวเอง ระวัง หน้าแตกเหอะ พอไปบอก ว่านี่คุณ มาอยู่วัดไม่ใช่มาทำจีบสาว มาทำก้อล่อก้อติกอย่างนี้นะ เขาบอก เรื่องอะไร ชั้นไม่เคยทำ กะคุณซะหน่อย ระวังไปหาหมอ หมอไม่รับเย็บนะ (คนฟัง และ พ่อท่าน หัวเราะ) ทำเป็น ไปนึกว่า เขาจะมาจีบอยู่เรื่อย เดี๋ยวเขาก็ บอกต่อเลยว่า คุณไม่ตักน้ำ ใส่กระโหลก ชะโงกดูก่อนว่า อย่างคุณน่ะเขา ใครจะจีบ หนักใหญ่เลยทีนี้ เละเลยทีนี้ แตกเละเลย (พ่อท่าน และคนฟังหัวเราะ) ตอนนี้ แตกเละเลย ระวังก็แล้วกันนะ จริงรึเปล่า ถ้าเขาทำท่าทำที ยังงั้นจริงๆ ถ้าชัดจริงๆเลย ก็บอกกันเลย บอกอย่าเลยน่า เบื่อหน่าย สักชาติเถอะ อาตมาเคยพูด จนกระทั่ง ขอสักชาติได้ไหม ถ้าชาตินี้ มันไม่ดี มันไม่เจริญจริง ไปเลย ชาติหน้า อีกกี่ห้าร้อยชาติ ไปเลย ไปหาคู่ไปเลย ถ้ามันๆนัก ไป แหม ไหนๆ ก็มาเจอกันแล้ว ขอสักชาติเถอะน่า แหม ละล้าง ตัด มันบ้างเถอะน่า

สังคมทุกวันนี้ นี่มันแย่แล้ว คุมกำเนิดกันมั่ง หาทางวางแผนครอบครัว มั่ง อันโน้นอันนี้มั่ง อะไรต่ออะไร รู้ทั้งรู้อยู่ทุกอย่าง แล้วนั่น ห้าพันล้านคนแล้วน่ะ คนในโลก มันจะไม่มีอะไรกิน อะไรใช้กันแล้ว ทรัพยากร ก็มีแต่มลพิษ วัตถุดิบ ทรัพยากร ในโลกบกพร่อง ลงไปจนกระทั่งจะตายอยู่แล้วเดี๋ยวนี้ ทุกข์ไอ้ที่มัน แย่งชิงกัน ด้วยกามราคะ ไอ้ราคะ กามราคะ พิสดาร วิตถาร อะไรเยอะแยะหมด มากนัก มาลองดูหน่อยเถอะน่า มาปฏิบัติ มาบำเพ็ญ มาเรียน มหาวิทยาลัยอันนี้ ฝึกปรือ เลิกเรื่องนี้ กันให้ได้ ซะมั่ง ช่วยเขามั่ง โลกทั้งโลก เขาก็พยายามอยู่ วางแผนครอบครัว คุมกำเนิด ทำโน่นทำนี่อยู่นี่ ช่วยเขานะ เราไม่ได้ไป คัดง้าง เขาหรอก ช่วยเขา แต่อย่างโน้น เขาไม่ว่ากัน ทีเรานี่ ช่วยเขาอย่างกะ อะไรดี เขาหาว่าเราบ้า บ้าอะไร นำหน้าเขาต่างหาก วิธีการนี้ได้ทางจิตใจ และเอา หนักๆ อย่างนี้ มันยังหย่อนยาน มันยังเลอะๆ เทอะๆ ไปได้เลย ใช่มั้ย เพราะฉะนั้น เราลดกันให้ได้ ลองดูนะ เขาจะมา ทำทีทำท่าอะไร ก็บอกกันอย่างที่ว่า ระวังจะหน้าแตก เท่านั้นนะ

คำถาม : จุดเกิดของอารมณ์น้อยใจ อยู่ที่ภาวะใด

พ่อท่าน : ภาวะเห็นแก่ตัว อารมณ์น้อยใจ นี่มันหลงอัตตา มันหลง เขาไม่ทำอะไรสมใจเรา อย่างนี้ เขาก็ไม่ให้เรา อย่างนี้ก็ไม่ถูกใจเรา ก็น้อยใจ ไอ้น้อยใจ ภาวะความโง่ของตัวเอง ทำให้มันน้อย ใจมันก็คือ ใจธรรมดา ไปเว้า ไปแหว่ง ไปตก ไปเสีย ไปน้อย ไปทำไมใจ ให้มันอยู่เท่าเก่า อย่างนั้น ใจเต็มๆอยู่งั้น (พ่อท่านหัวเราะ) ไปน้อยทำไม เขาทำกรรมกิริยาอะไร เขาทำอย่างไร ดูเขา ก็เข้าใจเขา อ๊อ! อย่างนี้ๆเหรอ แล้วมันก็ มาสัมผัส กะเรา มากระทบกะเรา กระทบก็กระทบไป เขาจะไม่ทำ ตามใจเรา ก็ เออ เขาไม่ทำตามใจเราน้อ ก็จบแล้วนี่ น้อยใจ เขาไม่ทำตามใจเรา เขามา ว่า เอ้า! ก็เราควร จะให้ว่ามั้ยละ นี่ก็ทำไม่ดี เขาก็ว่า โดนว่าแล้วน้อยใจ

ยิ่งเราไม่ดีจริงๆ อย่างเขาว่าแล้วเ ราไม่มีสิทธิ์ที่จะน้อยใจเลย กราบเขาเสีย บอก อู๋ย! ดีจริง ดีจริง เขาอุตส่าห์ เตือนเรา ติงเรา จะไปน้อยทำไม แม้เราจะไม่เป็นอย่างที่เขาว่า เขาอุตส่าห์มาดูแลให้ ห้าร้อยล้านก็ไม่ได้จ้าง ไม่ได้จ้างนะ มาดูแลให้เรา โถ ขอบคุณนะ แล้วคุณก็มาดูแลเรา ก็ไม่ถูกซะด้วย ดูก็ดูผิดๆ ถ้ามีฐานะ ที่พอจะบอกเขาได้ว่า ดูดี ดูผิดไปอย่างนี้ไม่ถูกหรอก ก็บอกเขา ถ้าไม่มีฐานะ เขาดูผิด ก็เออ ปล่อยเขาไปเถอะ ทำไงได้ มันจำนนสุดวิสัย อย่าไปน้อยใจ เห็นความจริงอย่างที่ อาตมาว่า นี่ให้ได้ ไปน้อยมันทำไม ทุกข์ใจใช่มั้ย โธ่ อภิมหานิรันดร์ โง่ (พ่อท่านหัวเราะ) ไปโง่อยู่ทำไมนะ เพราะฉะนั้น จุดจะเกิดอารมณ์น้อยใจก็คือ อวิชชา คือเราโง่ คือเราไม่เข้าใจสัจจะ เข้าใจสัจจะแล้วก็พยายามรับ รับให้ดี ใครจะมาไม้ไหน ก็ไม่ต้องน้อยใจ อะไรหรอก ไม่ต้องไปเป็นปัญหาอะไร

คำถาม : วิธีสื่อภาษาออกมาเป็นคำพูด ให้ถูกต้องอย่างที่ใจกำลังเป็น ควรจะ ฝึกฝนอย่างไร

พ่อท่าน : อ่าน อ่านอาการนี้ออกมา ภาษาไทยเรามี เรารู้ภาษาไทย คุณรู้ภาษาอังกฤษ ก็เอา อยากจะสื่อ ก็ต้องฝึก มี ภาษา เรามีเท่าไหร่ เอาเท่านั้นหละ เราชำนาญภาษา เอ๊! อันนี้เราใช้ภาษานี้ ใช้แทนใช้ มันเหมือนอย่างนี้ อย่างนี้ เราก็พยายาม แล้ววิธีการนี่ จะเอาอันใดขึ้นก่อนขึ้นหลัง วิธีอธิบายขยายความนี่ มันก็เป็นศิลปะในการใช้ภาษาสื่อเหมือนกัน อาตมาก็บอกตายตัวไม่ได้ คุณจะใช้ยังไงวิธี จะต้องพูดอันนี้นำก่อน พูดอันนี้นำหลัง พูดอันนี้ ขยายตรงนี้ พูดอันนี้ซ้อนอันนี้ เอาอันนี้มาตั้งเป็นหลัก เอาอันนี้มาขยายอันนี้ อะไร อย่างนี้ แหม ก็ยกตัวอย่างเล็กๆน้อยๆ ก็ต้องทำ จริงๆ แล้วมันจะชำนาญเองนะ

คำถาม : พ่อท่านคะ พระโพธิสัตว์จริงๆ มีด้วยหรือ (พ่อท่าน อ้อ! มีแต่ปลอมๆ เหรอ) พระโพธิสัตว์ จริงๆ มีด้วยหรือ ที่ยอมสละแม้พรหมจรรย์ อันเป็นที่รัก และ หวงแหนของตัวเอง เพื่อทำลูก ให้ผู้หญิง คนหนึ่ง

พ่อท่าน : ไอ้ย่า ไปถูกใครหลอกมานี่ (คนฟังหัวเราะ) อันนี้อาตมาเคยด่ามาหนักแล้ว ไปเที่ยวได้ หลอกเขา ว่าเป็นโพธิสัตว์ นี่เรายอมเสียสละนะ นี่ยอมเสียสละเปื้อนพรหมจรรย์ เพื่อที่จะทำลูก บ้าเหรอ นี่ ผู้หญิงมั้ง เป็นผู้หญิงเขียนมานี่ ไปถูกหลอกเข้าแล้ว อย่างนี้

คำถาม : อย่างนี้ พ่อท่านว่าเป็นโพธิสัตว์อย่างไร

พ่อท่าน : สัตว์ ไม่ใช่โพธิสัตว์ (คนฟังหัวเราะ) อย่างนี้สัตว์เดรัจฉาน ไม่ใช่โพธิสัตว์ อย่าไปถูกหลอกมา แหม มันมีความจำเป็นอะไร อาตมาพูดถึงเรื่อง คุมกำเนิด พูดถึงเรื่อง อะไร? คุมกำเนิดแล้วก็ วางแผน ครอบครัว ลดละ พลเมืองจะล้นโลก จะมาทำลูกไปทำอะไร โอ้โฮ! จุ๊ย์ จุ๊ย์ จุ๊ย์ มันผิดยุคผิดกาล มันหลอก ตะพึดตะพือ อย่างนี้ไม่ถูกต้อง ไม่ไหว แหม ยังมีอยู่นี่ อยู่ในวงการอโศกนี่ เลย บอกตัว หน่อยน้า อาตมาจะได้จัดการ ใคร นี่ถือว่าร้ายแรง ถือว่าร้ายแรง เรื่องนี้ถือว่าร้ายแรง เลว เลวมาก เลวมาก อย่าไปถูกหลอก ผู้หญิง ทุกคน บ้าเหรอ เอ้า! ต่อ

คำถาม : หลักศรัทธา ๔ นั้น เป็นการให้เชื่อมั่นในเรื่องกรรม วิบาก

พ่อท่าน : คือ กัมมสัทธา วิปากสัทธา กัมมสกตาสัทธา และตถาคตโพธิสัทธา ศรัทธา ๔ ฟังดีๆนะ ศรัทธานี่เป็นทรัพย์ แล้วศรัทธา ๔ เป็นหลักจริงๆ ถ้าผู้ใดเกิดเชื่อมั่นในกรรม เชื่อว่า กรรมเป็นจริง และวิบาก ก็เป็นผลของกรรมจริงๆ มีจริงๆนะ ทำแล้วก็ กรรมกับวิบากนี่แหละ กัมมสกตาของเรา และเราก็ทำให้ถูกตรง ตามตถาคตโพธิสัทธา ตามที่พระพุทธ เจ้าท่านสอนให้ ตรวจทานให้ดี ว่าพระพุทธเจ้าเรา สอนเราอย่างนี้ ถูกต้องแล้ว แล้วเราพึงปฏิบัติตาม สั่งสมกรรม สั่งสมวิบาก มันก็เป็น กัมมสกตา เป็นของๆ เรา เป็นของๆเรา เป็นมรดกของเรา คุณจะเจริญจริงๆในชีวิต ถ้าคุณมี ศรัทธา ในกรรม ในวิบาก ในกัมมสกตา สำคัญมากนะ

ทุกวันนี้ คนไม่เชื่อกรรม ไม่เชื่อวิบาก ไม่รู้ว่ากรรมเป็นของของตน ไม่มีหรอกชาตินี้ ตายแล้วก็สูญ ตายแล้วก็เลิก ไม่มีกรรม ไม่มีวิบากอะไร แล้วสอน นะ บอกว่าอะไรอะไร ก็ไม่ใช่ของตัวของตน กรรมนั่นแหละ เป็นของตน วิบากนั่นแหละ เป็นของคุณ ถ้ายังไม่ปรินิพพาน ตราบใด ก็ยังอยู่ อยู่ตราบนั้น ขนาดเกิด เป็นพระพุทธเจ้า อกุศลกรรม อกุศลวิบาก ยังตามมาได้ ก็หยิบมาอธิบายให้ฟัง มีหลักฐานยืนยัน ในพระไตรปิฎก แค่ท่านต้องปวดศีรษะ แค่ท่านต้องถูกพระเทวทัต กลิ้งหินทับ พระบาท ท่านก็บอกว่า กรรมวิบาก อันนี้เป็น อกุศลของท่านแต่ปางนั้นปางนี้ เล่าไว้ตั้งเยอะแยะ ไม่ใช่สองเรื่องเท่านี้ เอามาอ่าน เอามาเล่า เอามาบรรยาย ยืนยันสู่กันฟัง มันเป็นของมีจริงๆ และเป็น ของที่ มีหลักฐานยืนยัน และเราเอง นี่แหละ จะรู้สึกว่า เออ มันมีนะ แม้เราจะไม่รู้ละเอียด แม้เราจะไม่รู้ แต่มันจะพอเกิดญาณ เกิดปฏิภาณ เกิดรู้อะไร อื๊อ! มันอย่างนี้เอง มันมีอันนี้สอดร้อย มันมีอันนี้ มาเสริมหนุน มันมีอันนี้ เข้าไปขนาดนั้น ขนาดนี้ มันเป็นจริงๆ คุณจะรู้ว่า กรรมวิบาก มันสำคัญนะ เพราะฉะนั้น เรื่องนี้ อาตมาขอเน้นๆๆๆๆ หลักสี่นี่เป็นการ ไม่เชื่อมั่น ในกรรมวิบากนี่นะ

คำถาม : การจะเกิดศรัทธา เชื่อมั่นในเรื่องนี้ได้ชัด น่าจะต้องอาศัยการปฏิบัติให้เกิดญาณ

พ่อท่าน : ใช่ ให้เกิดแจ้งชัด เห็นจริงๆ พูดไปนี่ ไม่ได้บังคับให้คุณเชื่อ มา พูดไปนี่ ไม่ได้มาล้างสมอง ให้คุณเชื่อดายๆ ไปโดยงมงาย ไม่ใช่ ให้คุณไปปฏิบัติ อาศัยการปฏิบัติให้เกิดญาณ ปฏิบัติ แล้วก็เกิด เห็นจริง เข้าใจ เข้าใจ เข้าใจ เมื่อมีสภาวะ มีสิ่งรองรับของจริงของเราเองนี่มากๆ มากเข้าในนี้บอกไปว่า

คำถาม : ปฏิบัติให้เกิดญาณระลึกรู้เรื่องอดีตชาติต่างๆ

พ่อท่าน : ก็ชาตินี้มันก็มีอัตตา วินาทีที่แล้ว นาทีที่แล้ว เมื่อวานนี้ อาทิตย์ที่แล้ว เรื่องราวที่ผ่านมา เป็นอดีต คุณระลึก แค่นี้ก่อน ไม่ต้องไปกังวลมาก ไม่ต้องไปข้ามชาติ กรรมวิบากพวกนี้ ก็เป็นไปได้ คุณไม่เชื่ออาตมา ขณะนี้นี่นะ กรรมวิบากนี่ เอาอย่างนี้ก็ได้ คุณไปตีหัวคนซิ อย่างน้อยที่สุด ถ้าเขา ไม่ตามไปตีหัวคุณ เขาก็จะจับคุณ เข้าตะราง ไปทำดูสิ อย่างเก่งก็หลบหลีกได้พอสมควร เดี๋ยวเขาก็ตาม จับคุณ

หรืออย่างพวกชนิดที่บอกว่า ไม่พึ่งตำรวจ ฉันแก้แค้นฉันเอง มาตีหัวฉัน ฉันจะเอาหนักกว่าแก ล้างแค้นกัน ชำระด้วยตนเอง ฉันไม่เชื่อน้ำหน้า ตำรวจฉันไม่เอาล่ะ ฉันไม่หวังพึ่งล่ะ ฉันจะพึ่งฉันเอง นี่แหละ มาตีหัวชั้นเรอะ ชั้นจะตามสืบให้ได้ว่าใคร รู้ตัวแล้ว เฮอะ! ก็แก้เผ็ดกัน อย่าง กะในหนังจีน ในหนังไทย มันก็เหมือนกันเลย โอ้โฮ! อาตมาไม่รู้ว่า เมืองไทยก็ เหมือนเมืองจีน เมืองจีนก็เหมือน เมืองไทย เหตุการณ์ทุกวันนี้ ถึงเปิดเผยขึ้นมา โอ้โห! ดูหนังจีนมานาน ที่แท้มีในเมืองไทย มันเล่นกัน อยู่อย่างนี้เอง มีคุมบ่อน คุมการพนัน เก็บ รีดไถ เล่นอะไร โอ้โห! เปิดเผยออกมา เหมือนกันหมดเลย โอ้โฮ! นี่มันเป็นชีวิตของมนุษย์จริงๆนะ มันมีอยู่ในวงการ สังคมจริงๆเลย เพราะฉะนั้น คุณพิสูจน์ได้เลย

คุณไปทำดี แม้ดีมันจะไม่มีผลย้อนตอบแทนมาเร็วนัก ชั่วนี่เห็นง่าย ไว แต่อย่าไปทำดีกว่า อาตมาพูดไป ก็ว่าอย่างนั้นน่ะ ไม่ยุให้ไปทำหรอก เดี๋ยวจะไปพิสูจน์จริงๆซะล่ะ ซวยเลยเรา (พ่อท่านหัวเราะ) ไม่เข้าท่าแน่ ไม่ต้องไปทำหรอก แต่พูดแล้ว คุณก็คงเข้าใจ นี่ยกตัวอย่างให้ฟังนะ เพราะอดีตนี่ เราไม่จำเป็นจะต้องไประลึก สิ่งเหล่านี้หละ ประกอบไป ถ้าเผื่อว่า ปฏิบัติจนเกิดจริง เห็นจริงในวันนี้ ปฏิบัติไป เดือนนี้ ปีนี้หลายปี ก็สั่งสม เป็นอดีต ที่เราจะเกิดญาณ ญาณเหล่านี้ละ จะทำให้เราเชื่อมั่น ในกรรม ในวิบากได้ นะ

คำถาม : ๓) การปฏิบัติให้เกิดญาณระลึกอดีตชาติ ต้องอาศัยการรวมจิตเป็น สมาธิ โดยการฝึก เจโตสมถะ แบบหลับตา

พ่อท่าน : ไอ้แบบนั้นล่ะ ระลึกชาติหลอกเยอะเลย นั่งสมาธิแบบหลับตาแล้วก็ อู๊ย! เมื่อชาติที่แล้ว เราเกิดเป็น พระเจ้าแผ่นดินองค์นั้น ชาติที่แล้ว ขี้มักจะชอบ เกิดเป็นคนสูงๆ เสียด้วยนะ คนเด่นๆ ในประวัติศาสตร์ด้วยนะ ชาติที่แล้ว เกิดเป็น ร.๕ (พ่อท่าน และคนฟังหัวเราะ) ชาติที่แล้ว เกิดเป็น พระยาพิชัยดาบหัก ชาติที่แล้วเป็น พระนเรศวร ชาติที่แล้วเป็นอะไร ส่วนมากทั้งนั้นเลย ชนกันเยอะเลย เดี๋ยวนี้ เกิดเป็นโน่น เป็นนี่เสร็จแล้ว พยายามมาอ้าง นี่ดูไม๊นี่ เห็นไม๊นี่ มีเลขห้าอยู่ในฝ่ามือ (พ่อท่านหัวเราะ) อาตมาเคยเจอมา เล่นมาเยอะ อาตมาเจอมา เล่นมาอู๊ย! จะมาทำ แล้วเขาก็มี อะไรไม่รู้ ว่านี่เป็นคธานี่ มันตกทอดมา ตกมาถึงเขา โถ! คธา ขี้หมาแบบนี้ ไม่ใช่ของพระเจ้าแผ่นดิน หรอก เขาก็ เป็นไม้เป็นอะไรก็ไม่รู้เอามา เอ๊! ไอ้เราตอนนั้น เราก็ยัง ไอ้เชื่อ ก็ไม่เชื่อหรอก แต่ว่ายัง ไม่ชัดเจน อย่างเดี๋ยวนี้ ถ้าเป็นเดี๋ยวนี้ อาตมาเฉ่งให้แล้ว (พ่อท่านหัวเราะ) มี ในวงการก็ไปงั้น เป็นโน่น เป็นนี่ เป็นอะไรต่ออะไร เพ้อพก กันไปต่างๆ นานา การที่จะระลึกชาติ ด้วยวิธี นั่งหลับตา แล้วก็โน้มจิตไป อย่างที่ว่านี่ เป็นสมาธิ ไม่ต้องหรอก

การปฏิบัติอย่างที่อาตมามานี่ ลดกิเลสลงไปนี่ เราจะเห็นความจริง ระลึกชาติที่มันเกิด มีสภาวะ อะไรเกิด อะไรดับ กิเลสเกิด ดับกิเลสได้ กิเลสก็ดับ สิ่งที่กิเลสดับแล้วก็รู้ สิ่งที่กิเลสเกิดมา มันยังเหลือ ก็รู้ มันดับสนิท มันไม่เกิดอีกก็รู้ อย่างนี้แหละ เราจะรู้ แต่ก่อนนะ เกิดเป็นอะไร แต่ก่อนเกิดเป็นสัตว์นรก แต่ก่อนเกิดเป็น เดรัจฉาน เดรัจฉานในร่างคนนี่แหละ เข้าใจให้ชัด เปรตในคนเป็นๆนี่แหละ เห็นให้ชัด ในตัวเรานี่แหละ ตอนนี้ เปรตมันตายแล้ว มันดับแล้ว เห็นความเกิดความดับอย่างนี้ ระลึกชาติอย่างนี้ ก็จะเชื่อกรรม เชื่อวิบาก ไม่ใช่ ไปนั่งหลับตา ระลึกเอา ...

คำถาม : แต่พ่อท่านไม่ส่งเสริมเรื่องการทำสมาธิหลับตาให้เกิดพลังจิตระลึกอดีตชาติ ถ้าเช่นนั้น ศรัทธาสี่ ดังกล่าว จะเกิดขึ้นมาอย่างมั่นคง ได้อย่างไร

พ่อท่าน : ไม่ต้องอธิบายต่อแล้ว เพราะว่าอาตมาขยายความมาตลอด ก็ได้ อย่างที่มันถูกทางซี่ ไปนั่งหลับตา ทำอะไรกันมากมาย

มี ส่วนจริงมีได้ เป็นเชิงเจโต แล้วก็ระลึกไปได้ ยังงั้น ๆ ซึ่งมันไม่มีหลักประกันอย่างชัดๆ เพราะฉะนั้น เราอย่าไปใช้ดีกว่า เพราะไม่มีหลักประกัน ที่ชัดเจน ให้มันมีญาณทัศนวิเศษที่ชัดเจน ด้วยการระลึก ได้อะไร ต่ออะไรได้ มันถึงเวลามันถึงขั้นที่มีจิตที่ว่าง จิตที่มีพลัง ที่มันจะโน้มไป แล้วมันก็จะมี องค์ประกอบที่ มันชัด ด้วยปัญญาอันยิ่งนี่ ญาณทัสสนวิเศษ นี่ดีกว่าไปใช้เจโต เจโตนี่มันไม่ชัดหรอก เจโตนี่มันก็ไปอย่างของมัน อย่างญาณทัสสนวิเศษนี่ มันจะรู้เลยว่า เอ๊อ! เรานี่เดา นี่เราคะเน นี่มันชัดเลย มีองค์ประกอบเหตุปัจจัย ชัดๆๆๆๆๆ มันเป็น ปัญญาอันยิ่ง ท่านถึงใช้คำแปลเป็นไทยว่า ด้วยปัญญาอันยิ่ง ไม่รู้จะใช้ภาษาอะไร มากกว่านี้ ให้มันเกิดด้วยปัญญาอันยิ่ง นี่ดีกว่าไปทำเจโต แต่อย่าฟุ้งซ่าน อย่าเอา ฟุ้งซ่าน อย่าเอาคาดคะเน อย่าเอาประเมินประมาณ ไม่ดี

คำถาม : หากว่าในวันนี้ เป็นวันสำคัญของสมณะ ซึ่งต้องลงโบสถ์ เพื่อประชุม ทำสังฆกรรมต่างๆ ของทางศาสนา ถ้ามีสมณะรูปหนึ่งรูปใด เกิดมาไม่ทันลงโบสถ์ พร้อมกับหมู่ และนี่จะถือว่า มีความผิด หรืออย่างไรไม๊ค๊ะ

พ่อท่าน : ไม่ผิดหรอก ก็มันมีธุระสำคัญ มาไม่ทันก็ไม่ทัน มี ในเรื่องของ การลงโบสถ์ จะสวดปาติโมกข์ อะไรก็ตาม ถ้ามา สวดแล้วอย่างนั้นๆ ถ้าอย่างนั้น ต้องหยุดแล้วต่อได้ หรือว่ามาอย่างนี้ แล้วต้อง สวดใหม่ อะไรอย่างนี้ เป็นต้น ท่านมีไว้หมดแหละ ถ้าเข้ามาในจังหวะ กลางจังหวะนั้น จังหวะนี้ หรือว่า มาไม่ทันเลย ก็ไม่เป็นไร มาไม่ทันเลย ก็ไม่มา ไม่ทัน ออกไปนอกวัด หรือมีอะไรต่ออะไร ที่ไม่ทัน ก็แล้วไปนะ ไม่มีความผิด อะไรหรอก

คำถาม : พ่อท่านคะ ดิฉันคนข้างวัด ทำงานวัด ไม่มีสมบัติติดตัว วันข้างหน้า เจ็บป่วยไม่อยาก รบกวนใคร ไม่อยากเป็นภาระใคร และไม่อยากทุกข์ทรมาน เพราะความเจ็บป่วยนั้น จึงขอทราบวิธี ปล่อยร่าง วางขันธ์ [พ่อท่าน โอ้โห! เตรียมตัวตายเลย (คนฟังหัวเราะ)] เคยใช้วิธีหยุดหายใจ ไม่ได้ผลค่ะ (พ่อท่าน และคนฟังหัวเราะ)

พ่อท่าน : โอ๋ย! จะวางขันธ์นี่ หยุดหายใจเหรอ แล้วมันกลั้นใจตายนี่ นะ (พ่อท่านหัวเราะ) วางขันธ์ มันไม่ใช่ กลั้นใจตาย กลั้นใจตายทุกข์ทรมานตายเลย โอ๊ย! ไปอัดอั้น กลั้นใจตาย ทุกข์ตายแน่ แล้วมัน ไม่ขาดใจหรอก นอกจาก คุณจะเอาอะไรไปดัน ไม่ให้มันหายใจได้ ไม่หายใจได้หละ ก็ตายแน่ มันไป กลั้นใจ เฉยๆ เอ๋ย! มันไม่ตายหรอก มันต้องหายใจจนได้ (พ่อท่านหัวเราะ) ไอ้นั่น มันก็ต้อง หายใจ จนได้ ถ้ามันไม่มีอะไรปิด อะไรกั้นนะ เรื่องนี้นี่นะ อาตมาอ่านแล้ว ก็รู้สึกว่า เออ! เอาละ คน ดิฉันคนข้างวัด จะข้างวัด หรือในวัด ตอนนี้ ไม่มีสมบัติติดตัว มาทำอะไรต่ออะไรอยู่กะวัดแล้วนี่ อาตมากำลังดูสวัสดิการ เรื่องนี้อยู่ ดี ถือโอกาส ฉวยโอกาส อธิบายเรื่องกองบุญคุ้มครองภัยเลย กองบุญสวัสดิการย ังรอคุณทั้งหลายอยู่นะ ยังต้องการบุญ จากพวกคุณอยู่ เพราะฉะนั้น ใครมีที่ ไปฝากแบงค์ๆ เอาไว้นี่นะ เสียสละดอกเบี้ย เอามาฝากแบงค์นี้ แบงค์กองบุญ สวัสดิการนี่ ไม่ไปไหน เสียหรอก แต่ว่าคุณขาดดอกเบี้ยเท่านั้นเอง (พ่อท่านหัวเราะ) มาเอาดอกบุญน่ะ ลดดอกเบี้ยบ้างนะ หรือคุณจะบริจาคเลย ก็ยิ่งขออนุโมทนาล่วงหน้า (พ่อท่านหัวเราะ) บริจาคเลย ก็ได้กองบุญ สวัสดิการนี่รับ

ทีนี้เราจะมีแผนกกองบุญคุ้มครองภัย จะเป็นกำลังใจหรือว่า จะเป็นหลักประกันให้แก่ผู้ที่ จะออกมา ทำงาน ทางด้านศาสนาเต็มที่ โดยเรื่องของชีวิตร่างกาย ของเรานี่ เรื่องสุขภาพ หรืออุบัติภัย อุบัติเหตุ ต่างๆ

ประกันภัยของเราลักษณะคล้ายๆ ประกันภัย แต่ว่า ไม่เหมือนเลยหรอก ไม่เหมือนประกันภัย ทางโลก เขาหรอก เขามันเหมือนการพนัน ของเขานี่มีประกันทางตายด้วย ของเราตาย ไม่ต้องห่วงใช่มั้ย ตายแล้วมันก็เผาเท่านั้นเอง เผากัน และไม่มีปัญหานะ มันยังเหลืออยู่แต่ไอ้เป็นๆนี่แหละ มันเจ็บป่วยนี่ จะต้อง มีทุนไว้คอยรักษา มีพอสมควร มีอะไรมั่นใจว่า จะมีทุนรักษา เพราะฉะนั้น กองนี้จะไม่ใช่ กองบุญสวัสดิการ แต่จะเป็น กองบุญคุ้มครองภัย สำหรับคนที่ได้เสีย สละออกมาทำงาน ทางด้าน ศาสนา โดยตรง ไม่มีรับเงินเดือน เงินดาว เป็นสัมมาอาชีพชั้นสูง ลาเภ น ลาภัง นิชิคิง สนตา เราก็จะทำ นี่อันหนึ่ง อาตมาเห็นว่า ประโยชน์ ว่าพวกเราจะได้มีกองบุญ ที่เป็นหลักประกันอย่างดี อบอุ่น มั่นใจ เพราะงั้น ใครจะทำบุญ กะกองบุญนี้ได้ตั้งแต่ยิ่งกว่าวินาทีนี้ (พ่อท่านหัวเราะ) จะทำได้ ตั้งแต่ ยิ่งกว่าวินาทีนี้ไปเลย เอาเลย พร้อม ทำบุญสะสมได้ นี่ดูเหมือนว่า มีคน มาทำแล้วนะ อาตมา เปรยปรายไปทางด้าน ก็ยังไม่ได้ตั้ง คณะกรรมการ คณะกรรมการจะเป็นอีกคณะหนึ่ง อาจจะซ้ำซ้อน กับกองบุญสวัสดิการบ้าง เพราะว่าคน เรายังไม่มากนะ แล้วก็ดูแลเงินกองนี้ เงินกองนี้ จะเป็นต้นทาง จะเป็นกองบุญหลัก ของในการจะได้สร้าง โรงพยาบาลธรรมชาติ หรือโรงพยาบาล ของชาวอโศก ของเราในต่อไป เพราะฉะนั้น ถ้าเผื่อว่า มันเป็นกองทุน กองบุญที่ สมบูรณ์ยิ่งใหญ่ ต่อไปในอนาคต แหม แต่กิจการของโรงพยาบาลต้องมีค่าใช้จ่ายนั้น แน่นอนที่สุด และสูงด้วย ค่าใช้จ่ายทางด้าน การรักษา แต่ว่าเราจะมาทาง สมุนไพรมากขึ้น นี่ก็คงจะไม่แพงเท่ากับ แบบของ โรงพยาบาลทาง ข้างนอกเขามากนัก งั้นเราก็ต้องใช้อันนี้ ก็จะไปในอนาคตนะ เพราะฉะนั้น ผู้ที่ถามมา อย่างนี้นี่ อย่าพึ่งอยากตายเลย อย่าพึ่งกลั้นใจนะ (คนฟังหัวเราะ) เหอ ! (พ่อท่านหัวเราะ) เหรอ !

พ่อท่าน : อ้า! ไว้รอบริการโรงพยาบาลธรรมชาติก่อน อย่าพึ่งกลั้นใจไปตอนนี้ แต่จริงๆมันทุกข์ อาตมาเห็นเหลือเกินว่า ความทุกข์นี่ ในชีวิตนี้อาตมา ทุกข์มากที่สุด ก็เรื่องนี้อ่ะ มันเป็นทุกข์ที่เห็นอยู่ เห็นจะๆ เห็นแจ้งๆ ป่วยเมื่อไหร่ หละ โอ๊!มันทุกข์ ทุกข์จริงๆอ่ะ อาตมาก็ทุกข์ เป็นทุกข์พยาธิ์ ทุกข์จริงๆ ทุกข์ที่พยาธิ ทุกข์ที่มันเลี่ยงไม่ออก ปวดหัวไม่รู้จะเอาไปไว้ตรงไหน มันปวดอยู่ใน นี้ โอ๊! ปวด มันทุกข์ อโรคยา ปรมา ลาภา จริงๆ การไม่มีโรค นี่เป็นลาภอันประเสริฐจริงๆ เป็นลาภอย่างยิ่งจริงๆ อันอื่น อาตมาไม่แคร์เท่าไหร่หรอก ไม่ แคร์จริงๆ ทุกข์อาหารปริเยฏฐทุกข์ ที่จะต้องทำงานเป็นเครื่องอาศัย ทำ จะต้อง แสวงหาอาหารกิน ก็ไม่ต้องเท่าไหร่แล้ว แสวงหางานที่จะทำ แสวงหา อาตมาก็ ขวนขวายอยู่ แสวงหางานมาทำ ไม่เดือดร้อน เท่าไหร่หรอก สบาย และดู จะมีฉันทะ มีอะไรดีอยู่นะ แต่ไอ้ที่ ไม่ได้ อยากได้เลยนี้ พยาธิทุกข์นี่ ทุกข์ป่วยเจ็บ แหม มันมา เราก็ไม่รู้จะทำยังไง เจ็บตรงนั้น ปวดตรงนี้มา โอ๊! ฮู๋ มันไม่รู้จะเอาไปวางไว้ตรงไหน เจ้าประคุณเอ๊ย (พ่อท่านหัวเราะ) มันยากจริงๆ ทุกข์ไอ้เจ็บป่วยนี่ เห็นใจกันให้มากเหอะ ใครไม่ป่วยนี่บุญๆ ใครป่วยแล้ว โอ้โฮ! ยิ่งมันเจ็บ มันปวดมากๆ มันอะไรต่ออะไร มันทรมานในสภาวะที่ไม่สมดุลมากๆนี่นะ ท่านว่า อวัยวะเจ้าการมันไม่ทำงานสมดุล (พ่อท่านหัวเราะ) มันจะไม่สมดุลเพราะ มันมีเชื้อโรค มากัดกร่อน มันไม่สมดุลเพราะว่า มันแล้วแต่ดิน น้ำ ไฟ ลม มันไม่สมดุล มันไอ้โน่นไอ้นี่ไม่สมดุลขึ้นมา มันผิดระบบ ของมันขึ้นมา มันก็เจ็บ ก็ปวด ก็ป่วยนั่นล่ะ มีมากก็มาก ปวดมากเจ็บมาก ทรมานมาก ไม่มีมาก มันมีน้อย ก็น้อย มันก็ไม่มีใคร อยากได้ ไม่มีใคร อยากพบ แต่มันก็ได้ ได้โดยเราไม่ระมัดระวังบ้าง ระมัดระวังแล้ว มันก็ยังมา โดยวิบากบ้าง อะไรบ้างก็ โอ๊! ยาก เพราะฉะนั้น เรื่องนี้มันเลี่ยงไม่ได้นะ เลี่ยงไม่ได้

หรือเอาละ ไม่ใช่แต่เฉพาะเจ็บป่วย อุบัติภัยบางที เราก็ไม่อยากได้ เราทำงานมันจะต้องมีอุบัติภัยบ้าง อะไรต่ออะไรบ้าง ก็ไม่รู้จะทำยังไง ดีไม่ดี อาจจะต้องถึงขั้นมี เป็นความพิการอะไรอยู่บ้าง ก็จำเป็นนะ อย่างคราวที่แล้วนี่ อย่างที่ทำเห็ดกันน่ะ อะไรนะ

พ่อท่าน : สมคิด เตยโพธิ์ ใช่มั้ย โดนนิ้วนี่ขาดเลย โอ๊! แล้วก็อุตส่าห์เอา แรกก็ไม่คิดอะไรกันมาก ไม่ได้แช่ น้ำแข็งไป โอ๊! กว่าจะนึกได้ ก็ไปแช่น้ำแข็ง เกือบจะต่อไม่ฟื้นนะ เซลล์มันตายแล้ว มันก็จะต่อ ไม่ฟื้น เอาไปต่อ เสียไปตั้งสี่ห้าหมื่นบาท โอ๊! ดีแต่ว่าพูดไอ้นั่นกับเขาก็พยายามช่วยขึ้นมา แล้วเรา ก็ค่อยๆช่วยกันไป หยั่งงี้ ไม่เป็นหลักประกัน ต่อมาตอนหลังๆ นี่ โอ๊! เราก็ต้อง เตรียมตัวไว้บ้าง ก็ไม่ต้อง กลัวเท่าไหร่ ก็พอมีคนช่วย คนอะไรขึ้นมา ทีนี้ ถ้าเผื่อ ว่าไม่มีกองบุญนี่แล้ว จะเป็นอุบัติภัย ในระดับนั้น ระดับนี้อะไร ก็ว่ากันไป ก็ช่วยกันไป ในฐานะที่พวกเรา อยู่ในสังคมของเรานี่ ให้มันเป็นตัวอย่าง ตัวอย่าง

๑) อาตมาเจตนาจะให้เป็นตัวอย่าง ว่าบริษัทประกันภัยนี่ อาตมาไม่ค่อยส่งเสริมหรอก มันเป็นการพนัน มันเป็นการ เอาเปรียบเอารัด ในเชิงกลอะไร หลายๆอย่าง แต่เขาก็เจตนาดี หลักการดี อะไรดีๆ มันก็มีอยู่นะ ในบริษัท ประกันภัย เรื่องของสังคม มันก็มีจุดบกพร่อง และเขาก็พยายาม จะทดแทนจุด บกพร่องอันนี้ ของสังคม ด้วยวิธีการน่ะ มันก็เป็นวิธีการของเขา มันก็เป็นส่วนดีอยู่เหมือนกันในส่วนดี แต่กิเลสของคนนี่ ส่วนตัว ส่วนบุคคลนี่ มันไปทำเอาขี้โกงขี้เอาเปรียบ (พ่อท่านหัวเราะ) หาเล่ห์ หาเหลี่ยม หามุม หาไอ้โน่น ไอ้นี่ ด้วยความโลภ ความเห็นแก่ตัว ความฉ้อฉล อะไรนี่ มันก็เลย กลายเป็นเรื่อง เป็นราวอะไร หรือแม้วิธีการ ที่จะมาหา เหมือนกะท้าพนันอย่างโน้นอย่างนี้ อะไรกัน เล่นอะไร มันก็เลยไม่ค่อยสนุกเท่าไหร่ อาตมาว่า มันไม่ค่อยดี ในบางอย่าง

เราก็จะมีบริษัทคล้ายๆ ประกันภัย แต่ว่าไม่ได้ประกันแบบนั้น คุ้มครองภัย จริงๆ มีแต่การเสียสละ ไม่มีการพนัน ใครจะมาจ่ายเบี้ยประกัน หรือว่าจ่าย เบี้ยคุ้มครองให้ คนนี้ ๆ คุณเกิดเห็นใจคนนี้ บอก แหม ทำงานอย่างนี้ นี่มันจะพลาดพลั้งน่ะซิ มันจะอย่างนี้ เอา ส่งเบี้ยประกันให้ก็ส่งไป สูญนะ ไม่ได้คืน ไม่ได้พนัน และก็คนนี้ อาจจะส่งเบี้ยประกันมาห้าร้อย ไปป่วยจริงๆ ปา ปาเข้าไปตั้งสามพันห้า ห้าพัน ก็ไม่มีปัญหาหรอก กองบุญนี้ ก็สนับสนุนได้ ช่วยได้ คือไม่ได้มาเล่นการพนัน และก็ไม่มี การที่จะมาเอาเปรียบ

แต่ถ้าเผื่อว่าคุณส่งไปตั้งห้าพัน ตั้งห้าหมื่นโน่นแน่ะ แต่ก็เวลาใช้จ่าย จริงๆ ก็ดี ก็เหลือส่วนนั้น ไว้ช่วยคนอื่น หรือคนนี้ ระบุชื่อไว้ คนนี้ก็จะได้ก่อน อะไรพวกนี้ นี่กำลังร่างหลักการอยู่ และก็จะมีอันนี้ แต่ไม่เป็นไรหรอก หลักการยังไม่เสร็จ ก็ไม่มีปัญหาหรอก คุณรู้ไว้อย่างเดียวเถอะว่า บริจาคแน่ๆ หรือจะเป็นหลัก จะเป็นส่ง เบี้ยประกันให้อย่างนี้ ก็บริจาคแน่ๆ ไม่ใช่เอาสตางค์มาฝากไว้ เพื่อที่จะ หมุนใช้นะ เอาสตางค์มาฝาก เพื่อที่จะหมุนเอาไปโน่น ไปกองบุญสวัสดิการโน่น ประเดี๋ยวจะซ้อนเชิง กันเกินไป มันจะมากไป กองนี้จะเป็น กองบริจาคแน่ๆ เพราะฉะนั้น กองนี้จะไม่ให้ไปยืม เอาไปทำ กิจการโน่นๆนี่ๆ อะไรต่ออะไร จนกระทั่ง เงินกองนี้ไม่มี เงินกองนี้หมด ไม่ จะต้องไปเสี่ยงกะเขา ไปทำกิจการแล้ว ก็ขาดทุนแล้วก็ไม่คืนมา ไม่ กองบุญคุ้มครองภัยนี่ จะไม่แบ่งไปทำงานด้านโน้น เป็นอันขาด จะอยู่ในเรื่องนี้โดยเฉพาะ เป็นหลักประกัน ของชาวเรานะ เพราะฉะนั้น ก็ค่อยๆรอเวลานะ รอโอกาสนี้ ไม่ใช่รอหรอก เริ่มต้น ได้

ทุกวันนี้ เราก็ ทำไปเรื่อยๆ มีเท่าไหร่ เราก็ทำไป มันก็มาถึงขั้นนี้แล้วนะ อาตมาก็ขอประกาศ ขอบรรยาย ไปด้วยนะ อย่างนี้ เราก็ถือว่า แล้วก็ไม่ต้องไปรบกวนใครมากนะ แล้วก็จะมีความอบอุ่น มีหลักประกัน อะไรกัน ให้แก่พวกเรานะ

คำถาม : อบอุ่น สุขใจเป็นที่สุดเชียวละค่ะ เมื่อมาอยู่วัด(สันติ) เพราะสมปรารถนาในตัวเอง จำได้ว่า แต่เด็กๆ ขี้มักไม่ได้ไปร่วมงานศพนัก ส่วนมากมักไป แต่งานมงคล ฯลฯ ค่ะ ทุกๆครั้งที่ไปร่วมงานศพ ดูเหมือนว่า ตัวเองกำลังไปเตรียม ใจของตัวเองไว้ก่อน เมื่อถึงวันนั้น พ่อท่านคะ จิตใจไม่ค่อยปกติ เลยล่ะค่ะ ถามตัวเองว่า จะร้องไห้ หรือ อดกลั้นน้ำตาตัวเองไหวหรือ ค้ะ ไม่มีคำตอบ ปี ๒๕๓๓ พ่อบอกว่า ถ้าพ่อตาย ไม่ต้องทำอะไรมาก เผาเลย ไม่ต้องคอยใคร ปี ๒๕๓๔ แม่บอกว่า ถ้าแม่ตาย ไม่ต้องเก็บ ไม่ต้องทำอะไรทั้งนั้น เปลืองเงิน ไม่มีประโยชน์ เสียเงินเปล่าๆ ถ้าว่าจะสวดมนต์ ก็ขอ เพียงหนึ่งคืนเป็นพอ พ่อท่านค่ะ ใจงี้หวิวๆ บอกไม่ถูกเลย อีกใจก็บอกว่า พ่อจ๋า แม่จ๋า ทำไมพ่อแม่ดีจัง แต่อย่าเพิ่งเลยนะวันนั้น คงตั้งตัวไม่ติดแน่เชียวละ อีคราวนี้ "กลุ้มจัง"

พ่อท่าน : ไม่ได้ถามอะไรนี่ (คนฟัง และพ่อท่านหัวเราะ) แสดงว่าบรรยาย ระบายอะไรของตัวเอง ออกมาว่า เออ แต่ แสดงว่าเข้าใจ ว่า พ่อเขาพูด แม่เขาพูดอย่างนี้ ตายแล้วก็ ศพไป อย่าไปยุ่งยาก วุ่นวายอะไรเลย ให้เผา ให้ฝังเร็วๆ อะไรก็ได้ ก็ดีเหมือนกันน่ะ แต่ใจหนึ่งก็บอกว่า อย่าพึงตายเลย แหม เวลานี้ยังไม่อีก เวลานี้ อย่างนี้ อย่าเพิ่งตายเลย แต่ถ้าตายแล้ว ก็ให้ทำศพอย่างนี้ ก็ดีแล้วละนะ ก็ดีเหมือนกัน แสดงอะไรขึ้นมา ก็แสดงว่า รับได้ รับได้ มาศึกษาที่นี่รับได้ (พ่อท่านหัวเราะ)

คำถาม : ขอความเห็นพ่อท่าน เรื่องการเปลี่ยนชื่อ ในเมื่อโบราณเขาว่าชื่อนั้น สำคัญไฉน

พ่อท่าน : อ๋อ ! อ้อ ! ขอความเห็นพ่อท่านเรื่องการเปลี่ยนชื่อ ตอนนี้มันกำลังฮิต เปลี่ยนชื่อ คนนี้ ก็เลยเกิด บ้าอะไรกันวะ ถึงมาเปลี่ยนชื่อ ชื่อนั้นสำคัญไฉนว่ะ อ้า! ถ้าชื่อนั้นไม่สำคัญไฉน แล้วมัน ก็จะไปกำหนด กันถูกเหรอ ประเดี๋ยวก็เรียกกันเลอะซิ มันก็ต้องมีชื่อ คนศิวิไลซ์เขาก็รู้ กำหนดชื่อไป คนนี้ชื่อนี้ คนนี้ชื่อนี้ คนนี้ชื่อนี้ หนักเข้า ก็กำหนดกันมากก็ปรุงแต่ง ชื่ออย่างนี้เพราะ ชื่ออย่างนี้ไม่เพราะ ชื่ออย่างนี้มีความหมาย ชื่ออย่างนี้ไม่มีความหมาย ก็ว่ากันไป เพราะฉะนั้น เราก็รู้แล้วว่า โลกยุคนี้ เขาเข้าใจ เขาใช้บัญญัติภาษา มีความหมายบ้าง อะไรต่อกันบ้าง

ตอนนี้ที่อาตมาเกิดมาพยายามพากันเปลี่ยนชื่อ ก็เพราะว่ามันถึงยุคที่อโศเกี้ยน เกิดแล้ว มันกินลึก มันจะเป็นเผ่าอีกเผ่าหนึ่งละ เผ่าอโศเกี้ยนนี่นะ โอ้โห! หมวดนี้นี่เนาะ มันจะป็นเผ่าชนอีกเผ่าหนึ่ง อาตมาก็ ว่า เอาล่ะ ไหนๆ ก็ไหนๆแล้วนะ (คนฟังหัวเราะ) มันก็ไปกันขนาดนี้แล้วนี่ นี่แหละเผ่า ชาวหินฟ้าเกิดแล้ว ก็เอา เปลี่ยนชื่อ ชื่อก็จะเป็นลักษณะแบบเราๆ เพราะฉะนั้น ชื่อที่อาตมาตั้งให้ อาตมาว่าไม่เหมือนทางด้าน เสฐียรพงษ์ เขาก็ตั้งอยู่ทุกวันเหมือนกัน เขาก็ไปหาภาษาบาลีกันเยอะ ไปอย่างนั้นน่ะ มีภาษาไทยบ้างก็น้อย ไอ้ เราก็เอาภาษาไทยให้เยอะ บาลีก็น้อยที่สุดเท่าที่จะน้อยได้ ติดไปพ่วงไปบ้าง น้อยบาลีอ่ะนะ แต่เป็นไทยๆ เอาง่ายๆ ให้มันมีความหมายอย่างที่ว่า ก็มีความ หมาย มีความเพราะตามภาษาที่โลกมี จะบอกว่าสำคัญไฉน ก็องค์ประกอบพวกนี้แหละ มันก็สื่อ มันก็บอก มันก็หมาย ดีไม่ดี ชื่อแต่ละคน ก็มีความหมายเหมือนกัน มันเตือนสติได้เหมือนกันนะ

นี่เห็นว่า อยากจะเอาชื่อไฟเย็นเหรอ (คนฟังหัวเราะ) จะขอชื่อไฟเย็น ก็มีความหมายเตือนตัวเอง อย่านะ อย่าเป็นไฟนะ เราละ ชอบจะวูบๆ เรื่อย ไม่ใช่วูบๆ หวือๆหวาๆ ชอบที่จะไปวากๆ (คนฟังหัวเราะ) ไฟเย็นนะนี่ ถึงจะเป็นไฟ ก็ให้เย็น เย็นไว้ (พ่อท่านหัวเราะ) ไฟเย็น มันก็ดีมีความหมาย ก็ใช้ได้ หลายคนมาขอเปลี่ยน ก็บอกว่า อย่างนี้บางคน ให้แบบหวานๆ ลอยๆ บอก อู๊ย! ไม่เอา จะเอาแน่นๆ หนักๆ บอกอย่างนี้ อ้าว! อย่างนี้ เป็นต้น ก็ดี มันก็ทำให้ตัวเองเขาน่ะ แม้ชื่อนี้ ใครเขา เรียกเรา เราก็เออ มันก็บอก หรือย้ำอะไรก็ได้ มันก็มีประโยชน์ บ้างเหมือนกันนะ แล้วเรา ก็มีความหมาย อย่างที่ว่า ชื่อนั้นสำคัญไฉน สำคัญฉะนี้ (พ่อท่านหัวเราะ) สำคัญฉะนี้ มีประโยชน์เท่าที่ คนรู้ประโยชน์ รู้ผล รู้อะไร ส่วนคุณจะบอกว่า ไม่สำคัญ ก็ไม่เป็นไร แต่คุณก็มีชื่อใช่มั้ย คนที่ถามมานี่ (คนฟังหัวเราะ) ถ้าไม่มีแล้วจะยังไงล่ะ เขาเรียกคุณต่างๆนานา สารพัด คุณจะยอมมั้ยละ เห็นจริงรึเปล่า ว่าชื่อ นั้นสำคัญไฉน เดี๋ยวเขามาเรียกคุณอย่างโน้นอย่างนี้บ้าง มาเรียก ประเภทที่ เรียกว่า แหม คำเหมาะๆ มั่ง นี่คุณจะอ้วกมั้ย (พ่อท่านหัวเราะ) เดี๋ยวคุณจะ วากมั้ย เหอ! (พ่อท่านหัวเราะ) เรียกได้สารพัดก็ได้ ไม่สำคัญหรอก เขาเรียก แต่ถ้าเขาเรียกคุณแล้ว คุณก็บอกว่าเรียกใคร ก็เรียกคุณนั่นแหละ ฉันไม่ใช่ ชื่อนี้ คุณจะว่าอย่างนี้ขึ้นมา อ้าว! แล้ว ชื่อนั้นสำคัญไฉนอย่างนั้นน่ะ (พ่อท่านหัวเราะ) เหรอ! ลองดูมั่งมั้ยละ (พ่อท่านหัวเราะ) เอ้า! มันก็มีนะ มันกระทบสัมผัส มันเกี่ยวเนื่องกะจิต จิตวิญญาณ หรือ จิตใจเหมือนกัน มันเป็น มันก็พอได้ ใช้งานก็ได้นะ ใช้มันก็ได้ มันก็เป็นบัญญัติ ที่เอามา ใช้ประโยชน์ ได้บ้างเหมือนกัน

คำถาม : ภาพในปฏิทิน ที่พ่อท่านนั่งเย็บผ้า ทำไมจึงเย็บเสื้อปกเชิ้ต

พ่อท่าน : ที่ไหน (คนฟังหัวเราะ) อังสะ ไม่ใช่เสื้อปกเชิ๊ต เหอ! สาบของอังสะ ไม่ใช่เสื้อ อังสะที่ใส่นั่นไง อย่างนั้นอย่างนั้นน่ะ แบบเดียวกันน่ะ อังสะนั่นน่ะ (คนฟังหัวเราะ) อังสะไม่ใช่เสื้อปกเชิ้ต อ้าว คุณดูผิดเอง ถามมาผิดๆ ดูผิดเอง

คำถาม : เจเขี่ย ดีกว่าเจไข่อย่างไร

พ่อท่าน : แน้ะ! เจเขี่ยดีกว่าเจไข่ ก็ตรงที่ว่า ไข่นี่นะ มันเป็นกามมากๆ แม้ใครจะไปเลี่ยงว่า มันเป็น ไข่ลม ไม่มีเชื้อ ตัดบาปทางด้านสายชีวิต แต่มันก็กามมาก มันคาวจัด มันรสจัด กลิ่นจัด ทอดมา อย่างนี้ล่ะ กลิ่นฉุยเชียว มันหอม เหรอ (พ่อท่านถามคนฟัง) แน้ะ! (คนฟังหัวเราะ) เอาเลย (คนฟังหัวเราะ) เห็นมั้ย ไม่รู้สึกตัว (พ่อท่านหัวเราะ) ออกมาโดยไม่รู้สึกตัว เห็นม๊ะ กิเลสมันออกมา ปึ๊ดเลย เห็นมั้ย หอม (พ่อท่านหัวเราะ) นี่เขาเรียกว่า ไอ้โต้งปล่อยออกมา (พ่อท่านหัวเราะ) เจเขี่ย เจเขี่ยดีกว่าเจไข่ คนจะกินเจเขี่ยนี่ จะต้องมีสติ แต่คุณมีสติอย่างไร คุณกินเจเขี้ยนี่ คุณจะต้องมีสติ บอกว่า ฉันจะต้องเลือก เอาแต่ที่ไม่ใช่เนื้อ ใช่ม๊ะ คุณจะกินเวลาไหน คุณก็กินเจเขี่ย จะต้องอย่างนี้ ใช่ม๊ะ เพราะฉะนั้น จิตได้สังวรณ์ ส่วนเจไข่นั้น มันมีสติเหมือนกัน เอาของอันนี้เข้าปากละ (พ่อท่านหัวเราะ) เอาอันนี้ละหม่ำ อันนี้ฉันละ (พ่อท่านหัวเราะ) ฉันจะกินอันนี้แหละ ดีไม่ดี ฉันชอบหละ ใช่ม๊ะ เพราะฉะนั้น มันก็เลี่ยงมาอยู่ที่ไข่นี่ มันจะตัดกามได้ยาก ตัดกามได้ยาก กามนี่ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส นี่แหละ นะ ได้ยาก เอาละ เอาแค่นี้ก็พอนะ เหตุผลแค่นี้ก่อน

คำถาม : หลักการปฏิบัติธรรมขั้นพื้นฐาน และแนวทางที่ถูกต้องของชาวอโศก

พ่อท่าน : ให้บอกหลักการปฏิบัติขั้นพื้นฐาน ขั้นพื้นฐานของเรามีกินเจ ลดมื้อ ลดอบายมุข นี่เป็นการ ปฏิบัติ ขั้นพื้นฐาน ของชาวอโศกเรา อบายมุขมีอะไร คุณก็ไปเรียนรู้กันสิ บอกกันได้ทั้งนั้น ไม่ต้อง อาศัยอาตมาหรอก พวกเราเก่งแล้วเดี๋ยวนี้ ละเอียดลออไปยิ่งกว่าอาตมาด้วยบอกได้ เลิกซิอบายมุข เลิกมาให้จริง ตั้งกฎ ตั้งเกณฑ์ อันนั้นขึ้นมาให้แก่ตัวเอง แล้วก็ลดไป นี่แหละหลักปฏิบัติขั้นพื้นฐาน ของพวกชาวอโศก

คำถาม : ข้อห้ามของศีลแปด ในข้อที่หก (พ่อท่าน ข้อห้ามของศีลแปด ในข้อที่ หก อ๋อ! ศีลแปด หนึ่งถึงแปดน่ะ ในข้อหก ในศีลข้อหก) คือห้ามทานอาหารในเวลาวิกาลนั้น หมายถึงว่า เมื่อเลยเวลา เที่ยงวันไป จะทานอาหารไม่ได้ แต่ในกรณีทานอาหารหนึ่งมื้อในหนึ่งวัน จะเวลาใดก็ได้ เช่นตีสี่ ตีห้า หรือบ่ายโมง จะจัด อยู่ในศีล ข้อวิกาลโภชนาหรือไม

พ่อท่าน : จัดอยู่ในข้อวิกาลโภชนา วิกาลโภชนา ไม่ได้หมายความว่า ถึงเที่ยงเท่านั้น ในเมืองไทยเรา ก็มากะ มากำหนดกันว่าไม่เลย เลยเที่ยงไปนี่ การกำหนดเวลา วิกาละ คือไม่ใช่กาล

ราตรี ก็คือกลางคืน เว้นฉันในราตรี เว้นฉันในเวลาวิกาล วิกาลคือเวลาที่กำหนด กำหนดว่า เอ้า! ตรงนี้ ไม่แล้วนะ ถ้าคุณกำหนดว่า เลยเที่ยงฉันไม่ฉัน ก็คือนั่นคือการกำหนด เวลาที่กำหนด เลยเที่ยงไม่ฉัน นั่นเป็นการกำหนดอันนั้น

แต่ถ้าใครบอกว่ากำหนดวันหนึ่งหนึ่งมื้อ เวลาไหนก็ได้ ก็เอา บางทีไปบ่ายๆ บางทีไปเย็นๆ ก็ตามใจ บางทีตั้งแต่ ตีหนึ่งตีสองตีห้าอะไรก็ตามเถอะ วันหนึ่งหนึ่งมื้อ ก็เป็นการกำหนดครั้ง กาละแปลว่าครั้ง ก็ได้ แปลว่าเวลาก็ได้ กำหนดครั้ง โดยไม่ต้องหลังเที่ยงก่อนเที่ยงอะไร วันหนึ่ง หนึ่งมื้อ ก็วันหนึ่ง ตอนไหนละ วัน ยี่สิบสี่ชั่วโมงชนกัน คุณก็เอาวันหนึ่งหนึ่งมื้อ ตรงไหน ตรงหนึ่ง อย่างนี้ก็เป็น วิกาลโภชนา เหมือนกัน

ทีนี้ของสมณะ ชาวอโศกเรานี่ เขานิยมเขารู้กันทั่วว่า จะสมณะต้องไม่ฉันเลยเที่ยง เราก็เอาหนึ่งมื้อ และถ้าเลยเที่ยง ก็ไม่เอาอีกเหมือนกัน ก็เท่านั้นเอง ส่วนฆราวาส หลายคนเขาก็ไม่ว่า ฆราวาสนี่ จะหนึ่งมื้อ โดยไม่ต้องหลังเที่ยง หรือก่อนเที่ยงอะไร ก็ไม่กำหนดหนึ่งมื้อ

เพราะฉะนั้น ในฆราวาสเราหลายคน วิกาลโภชนาของเขา เขาหนึ่งมื้อ บางทีก็หลังเที่ยง เขาก็รับประทาน แต่หนึ่งมื้อ หนึ่งมื้อ ก็วิกาลโภชนา เราเรียกว่า กำหนดครั้ง ก็หนึ่งมื้อจริงๆ ขอให้จริง แล้วกันนะ รับประทานหนึ่งครั้ง รับประทานวันละหน มีอานิสงส์ห้าประการ อาตมาบอกแล้ว แถมอีกข้อหนึ่ง หกฟันดี อาตมาเมื่อๆ เมื่อเช้านี้อธิบายแล้ว

บอกอาตมานี่ หมอที่ตรวจดูฟันให้อาตมาทุกปี ทุกปี ปีนี้ก็อุทานว่า ฟันอาตมานี่มีเคล็ดลับอะไรนะ เขาใช้ประโยคนี้ถามจริง มีเคล็ดลับอะไรนะ รักษาฟัน ถึงไม่มีแบคทีเรีย ไม่มีพลัคว่างั้น ไม่มีพลัค ไม่มีไอ้คราบ อะไรต่ออะไร ต่างๆ ที่จะต้องขูดออกอะไรออกสำหรับแต่ละคน มีเคล็ดอะไร อาตมาบอก ไม่มีเคล็ดหรอก อาตมาเอง ไม่มีลับ เคล็ดอะไร เปิดเผย และอยากให้คนทำตามด้วย อาตมากิน วันละหนเดียว นี่แหละเคล็ด และไม่กินเนื้อสัตว์ กินมังสวิรัตินี่แหละ กินวันละหนเดียว กินมังสวิรัติ ด้วย แล้วกินเสร็จก็สีฟัน แล้วก็ไม่กินเล่น กินหัว ไม่กินจุบกินจิบ ไม่กินอะไรอีก ไม่ดื่ม น้ำหวาน น้ำเปรี้ยว อะไรต่ออะไร ให้มันเป็นคราบเป็นไคล ไปเป็นแบคทีเรีย เป็นอะไรต่ออะไรอีก มันก็ดีน่ะซี เป็นอย่างนี้ นะซี นี่หมอรับรองเลย ไม่ใช่หมอระดับธรรมดาด้วยนะ หมอระดับ อาจารย์ เลยนะ หมอระดับ อาจารย์ในระดับที่ในสถาบันชั้นสูง เป็นผู้ที่มีศักดิ์อย่างนั้น เลยรับรอง แล้วเขาตรวจ ของอาตมาทุกปี หมอคนนี้เป็นคนดูแลฟัน ตรวจ แต่ไม่ ได้ทำอะไร ไปตรวจแล้ว จนกระทั่งถึงอุทาน ปีกลายทำพิธีเซาะๆ นิดๆ หน่อยๆ บอกทำไมไม่มีหินปูน หินเปิน ก็ไม่มีอะไรเลยให้เขี่ย ให้แคะอะไรเลย ปีนี้ ไปตรวจอีก ก็ดูดูดูแล้ว เอ๊อ! ไม่มีอะไร ก็ปล่อยออกมา คือ อาตมาบอกว่า อาตมามันกัดกระพุ้งแก้ม ปีนี้ ก็เลย อยากจะให้ไปดูหน่อย บอกว่าจะเป็นผลจากฟันมั้ย ก็บอก เออ ใช่ เป็นได้ ผลจากฟัน คือฟัน มันสึก ขึ้นมา มันจะเกิดคมเกิดอะไรขึ้นมา มันก็เป็นได้ จริงๆ ไปคราวนี้ เขาก็เลยกรอให้ กรอที่กราม หน่อยๆ มันคมขึ้นมาหน่อยก็กรอให้ ก็เท่านั้นเอง กรอเหลี่ยม ที่มันคมมันสึกได้ ของทุกอย่าง ก็สึกได้ เสื่อมได้ ก็กรอให้นิดหน่อย ลบคมมันหน่อย ส่วนอย่างอื่นไม่มี มันก็เลย ต้องอุทานมา ถึงต้องทักออกมา มีเคล็ดลับอะไร รักษาฟันได้ดี ใครอยากจะฟันดี รักษาฟันได้ดี สำคัญนะ

เดี๋ยวนี้นี่ หมอธรรมดานี่ บางทีหาสมุฏฐานไม่ได้เลย เอ๊! สมุฏฐานของโรคมาจากอะไร อะไรไม่ได้ ต้องไปตามหมอฟัน เกิดมาจากอะไรในนี้ แล้วก็ไปเป็นโรค ไอ้ที่ มีต้องตอนนี้สัมพันธ์กันแล้ว หมอฟัน กะหมอธรรมดานี่ ก็ต้องสัมพันธ์กัน มาเยอะนะ มาจากฟันเป็นรากฐาน เพราะว่าทุกวันนี้ นี่มันหลอกกิน มันหลอกเอาอะไร ๆ มาให้คนกิน แล้วฟันก็ต้องทำงานมาก ต้องอะไรต่ออะไรมาก แล้วก็กินไม่เป็นมื้อเป็นคราวด้วย นอนแล้ว ลุกขึ้นมา ยังมากิน แล้วก็นอนอีกต่อ ไม่สีฟงสีฟันหรอก อะไรต่ออะไรต่างๆ ไปกันใหญ่เลยนะเดี๋ยวนี้ เพราะฉะนั้น มันหมักหมม และมันอะไรเป็นพิษ เป็นภัยจริงๆ เดี๋ยวนี้ฟันนี่ เพราะฉะนั้น คนทุกวันนี้ ปากก็ไม่มีวินัย นี่ทุกข์ แม้แต่ในโรคในทางปาก นี่ก็แย่

เอ้า ! นี่อาตมาก็แถม ๆ ไปแล้วนะ แต่ในกรณีทานอาหารหนึ่งมื้อในหนึ่งวัน จะเวลาใดก็ได้เช่น ตีสาม ตีสี่ ตีห้า จะอยู่ในข้อนี้ ตอบไปหมดแล้เว หมดเวลาแล้ว เลยเวลาไปหน่อยแล้ว ที่จริง อาตมายัง กำลังแจ๋วเลยนะ ดี แต่ ว่าพวกคุณ ก็ฟังมาตั้งสองชั่วโมงแล้ว ฟังไปแล้วมากๆๆๆ มันมากนัก มันก็จะเบื่อ มันเฝือเหมือนกัน เอา เอาแค่เวลามีนี่ก็แล้วกัน เอาไว้พรุ่งนี้ต่อ เป็นปึ๊งใหญ่ ตอบจริงๆ นี่ได้น้อยกว่าที่เหลือ ที่เหลือนี่มากกว่าที่ตอบ นี่ตอบได้แค่นี้ พูดอันโน้น อันนี้ประกอบไปเยอะหน่อย เอาละนะ เอาแต่นี้พอก่อน ไว้พรุ่งนี้ ไม่ใช่ว่าอาตมา ไม่อยากทำนะ ที่จริงทำได้นะ แต่เอาละ


ถอดโดย ศิริวัฒนา เสรีรัชต์ ๑๒ มิ.ย.๒๕๓๔
ตรวจทาน ๑.โดย สม.จินดา
พิมพ์โดย สม.นัยนา ๒๙ ก.ค.๒๕๓๔
ตรวจทาน ๒.โดย สม.ปราณี ๗ ส.ค.๒๕๓๔

1683A-B.TAP