ตอบปัญหาพาคนดี
โดย พ่อท่าน สมณะโพธิรักษ์
เมื่อวันที่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๓๕
ณ พุทธสถานปฐมอโศก
เนื่องในงานรับน้องใหม่ กลุ่มรามบูชาธรรม ครั้งที่ ๙


ตอนนี้ก็เป็นวาระที่กำหนดให้อาตมา มาตอบปัญหา เพราะว่าพวกเราก็จะ มาแล้วมาฟัง แล้วมีอะไร ต่ออะไร ที่เราจะพูด เราก็ได้พูดให้ฟัง เป็นส่วนที่เราคิดว่า พวกคุณน่าจะได้รู้ เราก็พูดตามใจเรา เรียกว่า มีแต่ส่วน ที่ทางเรา อัดให้ไปเลย ไม่ทราบว่าจิตใจพวกคุณ อยากจะทราบเรื่องอะไร ข้องใจอะไร อยากจะรู้อะไร สงสัยอะไรๆ มันยังไม่ทะลุ ปรุโปร่ง หรือว่ามันยังไม่เข้าใจดีอะไร ก็ยังไม่ได้บอกออกมา มันอาจจะไม่ตรงกับใจที่เราเอง เราคิดอยากจะรู้ คิดอยากจะถาม หรือว่าอะไร ที่ยังไม่กระจ่างอะไร ตอนนี้ก็ถึงเวลาที่จะแสดงความเห็น หรือว่า ถามสิ่งที่ข้องอกข้องใจ อะไรต่ออะไร ต่างๆออกมา ก็เอาเลย หมายความว่า ตอนนี้ไม่เอาแต่ใจเรา อย่างอาตมา เทศน์ไปทุกที หรือว่าพวกเราพูดไปทุกที ก็พูดไปตามใจเรา ที่คิดว่า จะให้พวกคุณควรได้ฟังได้รู้ ตอนนี้ คุณอยากรู้ บ้างละ อยากรู้อะไร ก็ว่ามาเลย ใครมี แล้วใครสงสัยก็ถามสดเลยก็ได้ เดี๋ยวกำลังเตรียม ไมโครโฟนอยู่ ส่วนใคร ไม่ถามสด จะถามแห้ง เขียนกระดาษเอากระดาษมาแจกกันเลย ถ้าใครเสร็จแล้ว ส่งคำถาม มาเลยน่ะ

ถาม : เป็นสิ่งที่ผมพบ เกือบประจำทุกวันนะครับ ที่ข้างนอกครับ คือขอทานตามท้องถนน ผมจะถามว่า ผมสมควร ที่จะให้อะไรไปหรือเปล่าครับ แค่นี้ครับ

ตอบ : อ้อ...ขอทานตามท้องถนนนี่นะ จะสมควรจะให้อะไรหรือไม่ จริงๆ แล้ว ยากนะ มันยากที่เรา จะตอบ ไปกว้างๆ ตอบลึกๆนะ ตอบลึกๆ กันแล้ว ก็ตอบว่าไม่ควรให้ แม้แต่กฎหมายหลายประเทศ ก็ออกว่า ไม่ให้มีขอทาน ถ้าใครทำ ใครขอทาน ก็ผิดกฎหมาย การให้แก่คนขอทาน หรือให้อะไร แก่ใคร ก็ตาม ศาสนาพุทธเราสอน ว่าจะต้องมีปัญญา การให้ ทำทานนี่ ก็ต้องมีปัญญา ถ้าทำทาน ไม่มีปัญญาแล้ว เท่ากับเราทำร้าย ให้คนน่ะขี้เกียจ ให้คนนะเป็นบาป เป็นหนี้ กลายเป็น คนที่ไม่มี คุณค่า ไม่ทำอะไร เอาแต่แบมือขอ เอาแต่ขอ นั่นน่ะ เรียกว่า ถ้าเผื่อว่า ขอทาน ตอบไปลึกๆ หน่อยว่า ตอบลึกๆว่า ไม่ควรให้ เราก็ต้องเป็นอย่างนั้น ทีนี้ ขอทานส่วนมากแล้วละก็ ถ้าเผื่อว่า ที่เขามียกเว้น เหมือนกันน่ะ ขอทานคือ คนที่มันทำอะไรไม่ได้ เป็นคนที่ไร้สมรรถภาพ เป็นคนพิการ เป็นคนที่เขา ช่วยตัวเองไม่ได้ ถ้าอย่างนั้นแล้วล่ะก็ มันก็สงเคราะห์บ้าง สมควรให้บ้าง ในฐานะที่รัฐไม่ได้สงเคราะห์ ไม่ได้ช่วยเหลือ หรือว่ารัฐมีสถานที่ที่สงเคราะห์ ช่วยเหลือคนอย่างนั้นๆ เราก็ไม่ใช่ว่า เราจะไปคอยให้ คอยให้อยู่ เราก็ควรจะนำเขา ไปสู่สถานที่ที่รัฐบาล หรือว่าไม่รัฐบาลก็ตาม เอกชนก็อาจจะทำ มีเอกชน มีสถานที่ ที่เขาสงเคราะห์ คนพิการ คนที่ไร้สมรรถภาพ คนที่จะต้องเลี้ยงดู บางทีเป็นคนแก่ บางที เป็นเด็ก ที่แกไม่รู้จะทำอะไร เด็กที่ถูกปล่อยปละละเลย แล้วก็ไม่รู้จะทำอะไร แกทำอะไรไม่เป็นก็ได้ ได้แต่มาแบมือขอทาน อะไรอย่างนี้ เป็นต้น เราก็ควรจะนำส่ง สถานที่ ที่จะสงเคราะห์เหล่านั้น

พอพูดถึงเรื่องทานแล้ว ก็อยากจะขยายความต่อไปนิดหนึ่งด้วยว่า การทานนี่ อย่าว่าแต่ขอทานเลย พระพุทธเจ้า สอนไว้ แม้แต่การให้ กับคนที่ไม่ควรให้ ให้มีประมาณ ให้อย่างมีปัญญา ให้คนที่ควรให้ อย่างคนที่เสพที่ติด ยกตัวอย่างง่ายๆ คนติดฝิ่น แล้วเราก็เลยให้สตางค์ ไปซื้อฝิ่นสูบอยู่เรื่อยนี่ อย่างนี้มันไม่ถูกแล้วล่ะ มันเท่ากับ ทำร้ายเขาโดยตรง อย่างนี้ชัดๆน่ะ เพราะฉะนั้น เราจะให้เขาหรือไม่ เราก็ต้องดู สมควรประมาณให้ อันนี้แก่คนอย่างนี้

ยกตัวอย่างชัดๆอีก ให้อาวุธแก่โจร อย่างนี้เป็นต้น มันไม่ถูก ไม่สมควรเลย ให้อาวุธแก่โจร โจรก็กำเริบ เสิบสาน โจรก็ยิ่งแข็งกล้า โจรก็ยิ่ง ทำลายได้อย่างเยี่ยมยอดเลย มันก็ยิ่งบรรลัยกันไปใหญ่ หรือแม้แต่ ให้แก่พระ หรือ ให้แก่ภิกษุ เป็นการบำเรอ โดยที่เราไม่รู้ แล้วไม่ตรวจสอบ ภิกษุมานั่งกิน นั่งนอน นั่งเอาเงินเอาทอง เอาอะไรๆ มาให้ บำเรอไปอย่างนั้น พระก็กลายเป็นหมูไปเฉยๆ นอนกิน นั่งกิน ไม่ได้เรื่องได้ราวอะไร ดีไม่ดี ไม่ได้ปฏิบัติ ก็ไม่ได้ อยู่ในศีลในธรรม ไม่ได้ขัดเกลา ไม่ได้ฝึกฝน ไม่ได้อบรมอะไร ตนเองก็ไม่ได้ทำอะไร เอาแต่กิน แต่นอนอยู่อย่างนั้น แม้จะเป็นพระกิน ๒ มื้อ ไม่แต่งงาน อยู่แค่นั้นก็ตาม แต่ไม่ได้เอาถ่านอะไรเลย ก็กินๆ นอนๆ นอนๆ กินๆ อย่างนี้ ก็เป็นการ ทำลายคน และทำลายศาสนาด้วย ทำลายคน คนนั้นแหละจึงกลายเป็น คนไร้ค่า กลายเป็นคน แบมือขอกิน ขอทานธรรมดา ไม่ทำอะไร ไม่ได้ฝึกฝน ไม่ได้เล่าเรียน ไม่ได้ศึกษา ไม่ได้อบรม ไม่ได้ปฏิบัติ ประพฤติ อะไรเลย อย่างนี้ก็ไม่ใช่การทำทานที่มีคุณค่า มีประโยชน์ มีบุญอะไร ทำลายคน ทำลาย ศาสนาด้วย ถ้าเผื่อว่า เป็นพระเป็นภิกษุ ดังกล่าวแล้วนะ หรือคนธรรมดานี่ก็ตาม เราไปให้เขา โดยที่ให้เขา โดยการสงเคราะห์ เสร็จแล้ว เขาก็ไม่ได้ทำอะไร สมเหมาะ สมควรแก่สิ่งที่เราให้ไป แล้วเขาก็ไม่ได้ทำประโยชน์ คุณค่าอะไรขึ้นมา ไม่ได้พัฒนา อะไร เราก็ไม่ควรให้ ควรจะสอนงาน ควรจะแนะนำไปในทาง ที่จะประพฤติ ปฏิบัติอบรม หรือนำพาเขา ไปฝากแก่งาน ทำอันนั้น ทำอันนี้ แม้จะเป็นขอทานก็ตาม ถ้าเผื่อว่า เราเห็นว่า นี่เขาแข็งแรงดีนี่ มีนั่นมีนี่ นี่ดี ถ้าเผื่อจะแนะนำ ไปหาคน ที่...หรือว่าไปหาแหล่งที่ จะได้ฝึกปรือ ได้พัฒนา ได้เป็นคนมีคุณค่าขึ้น เราควรจะทำ นี่เป็นเรื่องขอทาน

ถาม : ถ้าศาสนา คือสิ่งที่ชี้นำจิตใจ และจิตวิญญาณของมนุษย์ ผมรู้สึกเหมือนว่า ทุกๆศาสนา กำลังชี้นำมนุษย์นี้ ไปสู่จุด จุดหนึ่ง ในลักษณะที่คล้ายกัน อย่างเช่น ศาสนาพุทธนี่ พูดถึง พระศรีอารยเมตไตรย์ ศาสนาขงจื้อ มี CONCEPT เกี่ยวกับมนุษย์ที่แท้จริง ศาสนาอิสลาม มี CONCEPT เกี่ยวกับอิหม่าม อาคี อิสมาร์ ในศาสนาคริสต์ พูดถึงการมา ของพระเยซู

ผมอยากจะทราบว่า บุคคล คนที่จะมาคืออาจจะเป็นคนคนเดียวกัน หรือ ว่าคนที่จะสามารถ ทำให้โลกนี้ กลายเป็น หนึ่งเดียวกัน ได้หรือไม่ครับ

ตอบ : อันนี้แหละ เป็นเรื่องที่น่าคิดนะ ปราชญ์ ผู้ที่เป็นศาสดาของแต่ละศาสนา เป็นผู้ฉลาดทั้งนั้น เป็นปราชญ์ เป็นผู้ที่รู้อะไรไกล อะไรลึก กว้าง สรุปแล้ว ก็เป็นคนผู้ที่มีญาณพิเศษ หรือมีปัญญาลึก พิเศษกว่าคนธรรมดาทั้งนั้น ผู้ที่เป็น ศาสดาของแต่ละศาสนานี่ เราก็สรุปได้ มีสิ่งที่คล้ายกัน ดังที่ คุณกล่าวน่ะ ก็สรุปได้ว่า ปราชญ์ที่มีความรู้ ที่มีญาณพิเศษ ปราชญ์นี่มี ญาณพิเศษ คือ ฉลาดกว่า ทุกคน ดังกล่าวแล้ว ฉลาดกว่าคนธรรมดาทั้งนั้นแหละ ถึงจะสามารถเป็นปราชญ์ จนกระทั่ง แสดงความเฉลียวฉลาด แสดงความจริง ปราชญ์หรือว่าศาสดา จะต้อง มีหลักความจริงที่มากพอ ที่คนทุกๆคน ที่เป็นคนธรรมดา นี่ ก็มีความฉลาดของตัวเอง จนกระทั่งยอมรับ แต่ละคนก็มี ความฉลาด เอาความฉลาดของตัวเองไปตัดสิน ไปวินิจฉัยทั้งนั้น เราก็ต้องยอมรับ ศาสนาจึงเป็น ศาสนาได้ มีคนเคารพ เลื่อมใส มีคนศรัทธา มีคนเชื่อถือได้ เป็นศาสนา มีคนมากพอที่จะเป็นศาสนาได้

สิ่งที่มันตรงกันนี้ ก็ส่อให้เห็นว่า วัฏสงสารของโลก มันมีเวียนวน เวียนวน เดินทางไปอีกไกล ไม่ได้จบ อยู่แค่รอบเดียว ไม่ได้จบอยู่แค่ มีอะไรอันเดียว หมายความว่า มีอะไรสืบทอด มีอะไรสืบต่อความเข้าใจ หรือว่า ความรู้ของปราชญ์ แต่ละคน แต่ละองค์ ก็ชี้ไปบอกว่าจะมีอะไรมาข้างหน้าดีๆ นั่นเป็น ความหมายอะไรดีๆ นี่คือความหมาย ว่าจะมี ผู้ที่เก่งกล้า มีผู้ที่จะมากอบกู้ อะไรอย่างนี้เป็นต้น ก็แสดงว่า โลกนี้จะพัฒนาไปได้ จะพัฒนาไปสู่ สภาพที่จะมี ผู้เฉลียวฉลาด พัฒนาสืบทอดต่อไป เฉลียวฉลาดขึ้น รู้ขึ้น ค้นพบ ความจริงมากขึ้น จนกระทั่งสมบูรณ์ จนกระทั่ง เจริญดีสุด ในยุคที่บอกว่า อย่างศาสนาพุทธ ก็บอกว่า ยุคพระศรีอาริย์ ศาสนาอื่น ก็ว่ามีพระผู้มาโปรดใน อนาคต แทบทุก ศาสนาแหละ จะเป็นอย่างนั้น เพราะฉะนั้น มันให้ข้อคิดของเราว่า อะไรก็แล้วแต่ เราสามารถ ที่จะเจริญ ไปสู่ข้างหน้าได้

โดยเฉพาะ ศาสนาพุทธ ศาสนาพุทธนั้นพัฒนาไปเรื่อยๆ แต่ละคนๆ นี่ไม่ได้หมายความว่า ตายชาตินี้ แล้วสูญ ไม่สูญ ตายแล้วก็ยังมีวิบากของตัวเอง จะต้องเกิดต่อเนื่องไปอีกเป็นวิบาก จะรับใช้วิบากนั้น ถ้าเราสร้างกุศลวิบาก คือ วิบากดี ทำดี ดีก็จะเป็นทรัพย์ของเรา พูดจุดนี้ ประเด็นนี้ อาตมาเทศน์ เมื่อวานนี้ มาถึงตรงนี้ ยังไม่ได้เทศน์ต่อ สะดุด เขาสั่งบอกว่า มันต้องหมดเวลาแล้ว ๕ ครึ่ง ก็เลย ไม่ได้พูดต่อ ที่อาตมาว่าสำคัญจุดนี้ กำลังกล่าวถึงกรรม ว่าคนเรานี่ มีกรรมเป็นของๆตน พระพุทธเจ้า ท่านตรัสไว้ชัด กรรมเป็นของๆตน กัมมัสสโกมหิ กัมมทายาโท เราเป็นทายาท ของกรรม ของเราเอง หมายความว่า เรามีมรดก มรดกของเราก็คือกรรมเท่านั้น ไม่มีอื่น มรดกของเรานี่ เราเป็น ทายาท ของกรรม เป็นผู้รับมรดกของกรรมของเราเอง กรรมเป็นกำเนิด กัมมโยนิ กัมมพันธุ กัมมปฏิสรโณ

กัมมโยนิก็คือ กรรมนี่แหละ พาเราเกิดเราเป็น เรามีดี ดีพาเราเกิด เรามีชั่ว ชั่วพาเราเกิด เรามีบาป บาปพาเราเกิด เรามีบุญ บุญพาเราเกิด กรรมเป็นพันธุ์ เป็นเผ่า กรรมพันธุ กรรมนี่แหละ ถ้าเราสะสม พันธุ์ชั่ว ก็จะมีชั่วเป็นพันธุ์ พัฒนาพันธุ์ได้ ถ้าใครเรียนมาทางด้านชีวะมา ก็จะรู้จักคล้ายกัน แต่แค่ชีวะ นี้ หรือว่าการพัฒนาพันธุ์นี้ มันหมาย ถึงพันธุ์ดี พันธุ์ชั่ว พันธุ์บาป พันธุ์บุญ ที่เราจะตกทุกข์ได้ยาก ยังจะมี...รับวิบากของกรรม ต้องทุกข์ร้อน ต้องสวย ต้องงาม ทุกอย่างเป็นเหตุผล เป็นเหตุปัจจัยของ จากเชื้อจากพันธุ์ ที่เราได้สั่งสมทั้งสิ้น คุณจะอยาก จะสวยงาม คุณก็สั่งสม สิ่งที่จะเป็นเหตุ เพื่อที่จะไป สวยงาม ต่อให้คุณพอกหน้าพอกตา แต่งศัลยกรรม ผ่าตัดให้สวยยังไงๆ นะชาตินี้ ชาติหน้า คุณก็ไม่ได้สวยอย่างนี้ ถ้าคุณไม่สั่งสมกรรม สั่งสมวิบากที่จิตเป็นสำคัญ จิตเป็นสำคัญ จิตเป็นประธาน คุณทำหน้าตา ตบแต่งที่หน้าตา ชาติหน้า ไม่ได้สวยที่หน้าตา ถ้าคุณไม่สั่งสมทางจิต จิตจะผ่องใส จิตจะสะอาด จิตจะสวยงาม คุณต้องทำจิตให้สวยงาม จิตเป็นจิตเบิกบาน จิตเป็นจิต ที่สวยงาม จิตเป็นจิตที่ไม่คิด ในโทษ ไม่หม่นหมอง ไม่อับเฉา ผ่องใส เบิกบาน มองอะไรก็สวยงาม ร่าเริง ถ้าจิตของคุณเป็นอย่างนี้ คุณสั่งสมจริงๆ เลยนะ ก็เป็นเหตุปัจจัยให้ คุณสวยในอนาคต ในชาติหน้าๆต่อไป สั่งสมให้มาก ก็เป็นเหตุ เป็นปัจจัย เป็นพันธุ์ เป็นเผ่า ที่จะสวย หรือสั่งสมจิต ของคุณให้จิตนี้มีทั้งตัวปัญญา มีทั้งตัวเจโต มีทั้งตัวจิต ที่เป็นเอง สั่งสมให้จิตนี่ ฉลาด ฉลาดมี ๒ อย่าง บอกไปแล้วเมื่อวานนี้

๑.ฉลาดภาษาบาลี เรียกว่าเฉกะ หรือเฉโก หรือเฉกตา

อีกอันหนึ่ง ฉลาดคือปัญญา หรือญาณ หรือปัญญา หรือญาณ อีกอันหนึ่ง เฉโก หรือ เฉกตา ฉลาด

ทุกวันนี้ คนฉลาดกำลังศึกษาฝึกฝนเรียนรู้นี้ เรียนรู้ สะสมเอาความฉลาดในลักษณะเฉโก ในลักษณะ เฉกตา ไม่ได้สั่งสมเอาความฉลาดในลักษณะ ปัญญาหรือญาณ คนทุกวันนี้ มหาวิทยาลัยทุกแห่ง สอนเพื่อที่จะให้เกิด ความฉลาด อย่างเฉโกทั้งนั้น คือฉลาดเอาเปรียบ ฉลาดเห็นแก่ตัว ฉลาดโลภโม โทสัน ฉลาดชิงลาภ ยศ สรรเสริญ โลกียสุข ฉลาดแย่ง แย่งมาให้แก่ตัวกูของกู นี่คือการฉลาด สะสมได้ คุณสะสมเดี๋ยวนี้ คุณมีจิตตัวเฉโกไปมากๆ ชาติหน้า มันก็จะสะสม ไปอีกต่อไป ยิ่งคุณ ไม่เข้าใจ สัจจะว่า เอ๊ เราไม่ควรจะทำความฉลาดแบบนี้ มันเป็นบาป มันเป็นหนี้ มันเป็นทุกข์ มันเป็นทุกข์ มันต้องใช้หนี้บาป หนี้กรรม อีกเยอะแยะ

ถ้าเราไม่รู้ เราก็จะไปสะสมความฉลาดอย่างนี้ ฟังเข้าใจนะ อาตมาไม่ได้โมเม ใช่ไหม ฟังดีๆ ทางโลกเขาสะสม ความฉลาด เขาสะสมความฉลาดอย่างนั้นล่ะ แม้แต่พวกคุณ เรียนอยู่ทุกวันนี้ ก็ไปฝึกฝนความฉลาด อาตมาถึง บอกว่า มหาวิทยาลัยทุกวันนี้ ล้มเหลวทั้งนั้น มันไม่ได้พาให้ คนเรียนแล้วนี่ จะเกิดสิ่งดี เป็นมรดก ให้แก่ชีวิตเลย ให้แก่ตัวเองเลย มันเป็นเรื่องสร้างบาป มันเป็น เรื่องสร้างของชั่ว ให้แก่ตัวเอง ฉลาดจริง แต่ฉลาดทำบาป ฉลาดเอาเปรียบมาก ก็บาปมาก ฉลาด ที่จะโหดร้ายรุนแรง จนกระทั่ง เห็น ไหม ข้าจะต้องเอาชนะ ข้าจะต้อง เป็นผู้มีอำนาจ ข้าจะต้องอะไร ก็ได้ เฉโกยังไง ขี้โกงยังไง ผิดพลาดยังไง ฉันเอา รุนแรง ร้ายแรงยังไง ฉันก็จะเอาให้ได้ แม้แต่ปัจจุบันนี้ อาตมายกตัวอย่างนี่ ก็เห็นได้ว่า นี่แหละคือจิตวิญญาณ มันเกิดจาก จิตคนนั้นปักดิ่ง จิตคนนั้น เห็นว่า ฉันจะต้องเป็นอย่างนี้ จะทำอย่างนี้ อย่างนี้ เป็นต้น มันก็สั่งสมไป

แต่ทางพระพุทธเจ้า พาสั่งสมความฉลาดทางปัญญา หรือ ญาณทัสสนวิเศษ ท่านเรียกให้ละเอียด ก็ญาณทัสสวิเศษ เป็นความฉลาด ที่ไม่เห็นแก่ตัว ละความเห็นแก่ตัว ล้างกิเลส ล้างความโกรธ ความแค้น ความพยาบาท ความอำมหิต โหดร้าย ล้าง ไม่ชัง แล้วก็ไม่ดูดไม่ติด ศาสนาพุทธนี่ แม้กระทั่งที่สุด มีนิพพาน ไม่รักไม่ชัง ไม่ชอบไม่ชัง ไปถึงขนาดนั้น มาเรียนรู้ แต่มันลึกซึ้งนะ ที่จริง ก็จะต้องไปในทางที่ยินดี หรือชอบ แต่ยินดีหรือชอบ ในสิ่งที่ดี ให้สิ่งที่ ประเสริฐ ในสิ่งที่เป็นกุศล ในสิ่งที่เป็นสุจริต แล้วเราต้องแข็งแรง ต้องสร้างกุศล ยังกุศลให้ถึงพร้อม ไม่สันโดษในกุศล ขยัน หมั่นเพียร พากเพียรสร้างกุศล ความเป็นกลางที่สุด คือความเอียงเข้าข้างดี ความเป็นกลางที่สุด ผู้ที่จะเป็น กลางได้ คือคนที่มีปัญญายอด ฉลาดยอด ที่รู้ความจริงของความดี และความชั่ว หรือ ความถูกและความผิด เป็นคนมีปัญญายอด และ คนที่เป็นกลาง คือคนเอียงเข้าข้างความดี

เคยได้ยินไหม นี่คือความเป็นกลางสูงสุด ลองฟังใหม่

ความเป็นกลางสูงสุด คือความมีปัญญายอด ที่รู้ถูกต้อง ในความถูก ความผิด หรือความดี ความชั่ว อย่างชัดเจน แล้วคนที่เป็นกลางนั้น ต้องโน้มเอนเข้าข้างความดี หรือความถูกต้อง นี่คือ ความเป็นกลาง แล้วโลกจะเจริญ

ถ้าบอกว่า ความเป็นกลาง คือคนที่ไม่รู้ ดีก็ไม่รู้ดี ชั่วก็ไม่รู้ชั่ว อยู่กลางๆ หรือแม้รู้ดี เออ ดี ก็ช่างเขาเถอะ เขาก็ว่า ของเขาไป เราก็ไม่ช่วย ชั่วก็ไม่ช่วย ไม่ช่วยทั้งดี ไม่ช่วยทั้งชั่ว คือความเป็นกลาง ไม่บอกเขา ด้วยนะ ถ้าเดี๋ยวไปบอก เขาว่า เอาอย่างคนโน้นสิ เดี๋ยวคนนั้น คนนั้นดีเอาอย่างคนโน้นสิ ช่วยคนโน้นสิ คนโน้นดี ประเดี๋ยวมันจะลำเอียง ไม่บอก เอาละ ไม่บอกให้ไปช่วยคนชั่ว นั่นก็ถูกแล้วล่ะ บอกให้ช่วย คนดีสิ ส่งเสริมคนดีสิ เข้าข้างคนดีสิ ก็ไม่บอก ถ้าขืนบอก มันจะไม่เป็นกลาง ถ้าพฤติกรรมนี้ เกิดอยู่ ในมนุษย์ เกิดอยู่ในโลก อยู่ในสังคม โลกเจริญไหม นี่ล่ะ คนกำลังเข้าใจผิด ในเรื่องความเป็นกลางนี้ อยู่กันขณะนี้ในโลก แต่ข้อสำคัญ ก็คือว่า ทำอย่างไร เราจะฉลาดที่สุด เราจะรู้ถูกต้องที่สุด ว่าอะไรดี อะไรชั่ว หรืออะไรถูก อะไรผิด ที่ชัดเจน

ขนาดศาลของประเทศก็ยังมีศาล ยกย่องให้ผู้พิพากษา เป็นผู้ที่รู้ยอด สามารถตัดสินความถูก ความผิด ใช่ไหม ศาลก็มี ผู้พิพากษาก็หลายคน เราก็ยกย่องได้ แล้วทำไม ในโลกจะไม่มีคนที่รู้ดีรู้ชั่ว หรือรู้ถูกรู้ผิด ที่ถูกต้องได้ ศาสนามีสมณะ มีพระ ผู้ฝึกฝนเล่าเรียน ศึกษาสัจธรรม ก็ต้องเป็นผู้ที่ เชื่อถือได้เหมือนกันที่ เราจะยกย่อง ให้ผู้พิพากษา ซึ่งเป็นสถาบัน หรือองค์การที่ตัดสินได้ แล้วก็ต้อง ตัดสิน ให้คนถูกนั่นละ ถูก ให้คนดีนั่นละ ได้รับการปลดปล่อย หรือว่าการช่วยเหลือ คนที่ไม่ดี ก็ได้รับโทษรับภัยไป นี้คือความเป็นกลางที่ลึกซึ้ง ในศาสนาพุทธ

ทุกวันนี้ พุทธศาสนาในประเทศไทย ก็เข้าใจความเป็นกลางยังไม่พอ มัชฌิมาปฏิปทา หรือมัชฌิมา หรือ ความเป็นกลางนี่ ยังไม่พอ หาว่าไม่ให้ หาว่าทำความไม่เป็นกลาง อย่างพระจะออกความเห็น บอกแล้วว่า พระนี่ก็คือ ผู้เรียน รู้สัจธรรม ผู้ที่จะมาเรียนรู้ละความลำเอียง ละกิเลส เห็นแก่ตัว ไม่เข้าข้างตัว ไม่เข้าข้างพรรคพวก ไม่เข้าข้าง อะไร เข้าข้างความจริง ยังไม่ให้เกียรติเลย พระจะแนะนำ คนดีอย่างโน้นอย่างนี้ ก็ไม่ค่อยได้ ขนาดในระดับ ความหมาย หรือ ว่าเรื่องที่เป็นเรื่องของบ้านของเมือง ยิ่งเช่น ว่าการเมือง การปกครองบ้านเมือง ผู้เข้าไปบริหาร บ้านเมืองนี่สำคัญนะ พระมีกฎหมายห้าม ไม่ให้ออกเสียง ไม่ให้สนับสนุนคนดีๆเข้าไปเข้าข้าง นี่คือ ความบกพร่อง ของประเทศชาติ นี่คือ ความเสื่อมของประเทศชาติ ขนาดพระยังไม่ไว้ใจเลย ขนาดยกมือไหว้นะ พระนี่ พระเล็ก พระน้อย ยังไว้ใจ ยังยกมือไหว้เลย แต่ออกกฎหมายมาห้ามเลย พระอย่าไปยุ่งเกี่ยวการเมือง อย่าไปออกเสียง อย่าไปทำอะไร อย่าไปแนะนำนะ ไม่อย่างนั้น ไม่เป็นกลาง นี่ล่ะ คือความไม่ฉลาด คือความโง่ แล้ว แม้แต่ ประชาธิปไตย ก็ไม่เจริญ อย่างนี้เป็นต้นน่ะ

เมื่อถามถึงเรื่องของ...สิ่งที่สืบต่อนี่ อาตมาขยายความ ไปไกลๆ ให้คุณฟังนี่ ก็เพื่อที่ จะได้เห็นว่า ทุกอย่างมันสืบทอด ถ้าเผื่อว่า เราเรียนรู้ทางธรรม แล้วเราก็ฝึกฝน สั่งสมกรรมไปเรื่อยๆ เราอาจ จะเป็นคนหนึ่ง เราอาจจะเป็น พระศรีอาริย์ เราอาจจะเป็นพระ Messiah ของคริสต์ ใช่ไหม ไม่ใช่... Messiah ของคริสต์ หรือว่าของอิสลาม ก็อะไร นั่นแหละ ก็เป็น เราอาจจะเป็นคนนั้น ที่จริงนั้นน่ะ คำว่าพระศรีอาริยเมตไตรย์ก็ดี Missiah ก็ดี หรือว่าอะไร ของอิสลาม ของขงจื้ออะไรก็ตาม ผู้นั้นนั่นน่ะ เป็นนามธรรม เป็นตำแหน่ง เหมือนกับตำแหน่ง รัฐมนตรีคลัง รัฐมนตรีมหาดไทยนี่ เป็นชื่อ ตำแหน่ง เท่านั้น ส่วนผู้ใดที่มีความสามารถ มีคุณภาพ มีคุณธรรม เสมอเหมือน หรือ เท่ากับเกรดอันนี้ ผู้นั้น ก็ไปสวมตำแหน่งนั้น ปฏิบัติหน้าที่นั้นไม่มีจบสิ้น กี่ภพ กี่ชาติ กี่กัป กี่กัลป์ ก็จะมีปราชญ์ หรือมีผู้รู้ อธิบายไว้อย่างนั้นทั้งนั้น บอกว่า ข้างหน้า ในอนาคต จะมีผู้ที่ จะมาตรัสรู้ หรือว่ามา ปลดเปลื้อง มาช่วยโลก มาอะไรต่ออะไร เป็นผู้ที่เลิศประเสริฐนัก จะพูดไว้อย่างนี้ทั้งนั้น บอกแล้วว่า เป็นตำแหน่ง เท่านั้นเอง ไม่ใช่ระบุบุคคลใครก็ได้ ที่มีคุณธรรม ที่วิเศษอันนั้น คนนั้นก็มีหน้าที่อันนี้ รับตำแหน่งนี้ โดยสัจธรรม ไม่มีใครแต่งตั้ง แต่งตั้งไม่ได้หรอกสัจธรรม ไม่มีใครสามารถไปแต่งตั้งพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าท่านเป็นเอง ท่านถึงเอง ท่านได้เอง โดยสัจจะ ท่านได้สะสมกรรม สั่งสมวิบาก สั่งสม สิ่งเจริญอันนี้ อยู่ดีๆ อยากฉลาด แล้วก็ไม่สะสม ไม่ฝึกปรือให้ฉลาด มันไม่ฉลาดหรอก ถ้าคุณฝึกปรือ ฉลาดอย่างเฉโก คุณก็ได้ความฉลาดอย่างเฉโก ฝึกปรือฉลาด อย่างปัญญา คุณก็ได้ฉลาด อย่างปัญญา ใส่ตัวเอง ฝึกปรืออะไร คุณได้อันนั้นละ แม้แต่ทางกายกรรม ทางวจีกรรม หรือฝึกขัดเกลา สร้างจิตวิญญาณ ก็เหมือนกัน ฝึกอะไรได้อันนั้น อันนี้แหละ เป็นสมบัติน่ะ

นี่ อาตมาอยากจะขอขยาย เพราะสำคัญมาก คนทุกวันนี้ ไม่เชื่อว่ามีกรรม มีวิบาก ไม่ฝึกฝน ไม่อบรม ไม่เชื่อชาติหน้ามี ไม่เชื่อความสืบต่อไป ในอนาคต เลยทำชั่วได้ ตายแล้วก็สูญ ตายแล้วก็ไม่มีอะไรนี่ อยู่ไปก็อยากจะสุข อยากจะมีระเริง บำเรอตนเอง อะไรต่ออะไร ฉันก็ทำ เพราะตายแล้ว มันก็สูญ เอ๊ะ ถ้าตายแล้ว มันก็สูญได้ มันก็นิพพานสินะ เพราะว่า ศาสนาพุทธเรานี่ หาทางที่จะตายสูญ หาทางที่จะนิพพาน ใช่ไหม จะได้ไม่ต้องเกิดอีก นิพพานนี่ คือ ความไม่เกิดอีก ความไม่เกิดอีก นิพพาน เพราะฉะนั้น เราจะให้ไม่เกิดอีก ชีวิตไม่เกิดอีก ความชั่วไม่เกิดอีก กิเลสไม่เกิดอีก เราก็ต้องเรียนรู้ ทำให้ไม่เกิดให้ได้ หรือแม้แต่ชีวิต จะไม่เกิดอีก เรียกว่าปรินิพพาน ชีวิตที่ไม่เกิดอีก เรียกว่าปรินิพพาน คือนิพพานสิ้นรอบ

แต่ถ้าคุณเองคุณไม่ได้ปฏิบัติธรรม ละล้างกิเลสของตัวเอง หมดกิเลสตัณหา อุปาทานจริงๆนะ คุณไม่อยากเกิด อย่างไร ก็ต้องเกิดโดยสัจจะ พุทธศาสนายืนยัน ถ้าไม่มีมรรคผล มีนิพพาน จนกระทั่ง คุณมีสิทธิ์ที่จะตาย ไม่เกิด คุณก็จะ ต้องเกิด ตามเผ่าพันธุ์ที่คุณสะสมไว้ กัมมโยนิ ก็พาเกิด กรรมพันธุ์ ตามพันธุ์ ตามเชื้อที่คุณจะสั่งสมเชื้อบาป เชื้อบุญ เชื้อสิ่งที่อะไรก็แล้วแต่ เชื้อที่คุณจะสวยจะงาม เชื้อที่จะบาป จะบุญ จะมีผิวพรรณงาม ผิวพรรณทราม จะตกต่ำ ได้ดี ตกยาก จะอะไรก็แล้วแต่ ก็เพราะพันธุ์ที่เราสั่งสม ไปให้แก่ตัวเอง ไม่มีใครบันดาลหรอก คุณอาจจะเอา อย่างเขา คุณอาจ จะมองไป เห็นว่า เออ ไอ้นี่ อย่างนี้ดีนะ มันเป็นไอ้โจรดี คุณก็ไปฝึกฝนเอาไอ้โจร ใส่ตัวไป คุณก็ได้ ไอ้นี่ไปน่ะ เป็นคนดีอย่างนี้ดี คุณก็ฝึกฝนเอาตาม คุณก็ฝึก คุณเห็นว่าอันนี้ดี คุณก็ต้องฝึก เห็นว่า อันนี้ดี แล้วคุณไป ขโมยเอาไม่ได้หรอก กรรมไปขโมยของคนอื่น ยาก เราต้องมาฝึกเอาเอง แล้วมัน ถึงจะได้ น่ะ สิ่งนี้สำคัญ อาตมาต้องเน้น แล้วต้องขยายความ ต้องชี้ให้พวกคุณรู้ตัว ไม่เช่นนั้น เกิดมา เสียชาติเกิด ที่ พระพุทธเจ้าเรียกว่า โมฆบุรุษ ไอ้เสียชาติเกิดนี่ ไม่ได้เสียชาติเกิดธรรมดานะ คุณเกิดมา เป็นคนนี่ คุณจะทำดีได้ ฝึกฝนอดทนเอาได้ ฝึกสั่งสมวิบากกรรม ที่ดีๆ ไปได้ แต่เสร็จแล้ว มันไม่รู้ อย่างที่อาตมาว่านี่ไม่รู้ เราก็ไปตามโลกเขา โลกเขาพา เละๆ เทะๆ อะไร ก็ไปเละตามเขา ไม่ได้ดี ที่ควรจะได้ อย่างน้อย นี่ อาตมาจะยกตัวอย่าง ไม่ได้โลกุตรธรรม ไม่ได้ทิศทาง ที่เป็นสัมมา ไม่ได้สิ่งที่ มนุษย์ควรได้ ก็คือ การลดละบาป ลดละความเห็นแก่ตัว ลดละโลภ โกรธ หลง นี่ แทนที่ จะได้ลด คุณไม่ได้ลดเลย มีแต่เพิ่มอาฆาตมาดร้าย สั่งสมไปเรื่อยๆๆๆๆ โมฆะ นี่ แปลว่า สูญเปล่า จริงๆ ไม่สูญเปล่านะ มันเลวกว่าสูญเปล่าอีก โมฆะนี่ เลวกว่า สูญเปล่าตรงไหน

แทนที่คุณจะได้ดี เกิดมาชาตินี้ คุณจะได้ฝึก ได้ปรือ มีอาการครบ ๓๒ ได้เรียนรู้ทิศทางที่ดี ได้ฟัง แล้วก็ได้ศึกษา อบรม ได้บุญไป ได้สิ่งที่เป็นคุณค่า ใส่ชีวิต เป็นทรัพย์แท้ ทรัพย์แท้ใส่ชีวิตไป คุณไม่ได้ แต่กลับได้สิ่งที่เป็นอกุศล สิ่งที่ทุจริต สิ่งที่เป็นบาป สิ่งที่เป็นชั่ว ใส่ไปด้วย ไม่ได้เกิดมาสูญเปล่า จริงๆหรอก เกิดมาชั่วกว่าเก่า ได้สมบัติ ที่เลวไปด้วย เพราะไม่รู้ นี่โมฆบุรุษ มันเลวร้าย ขนาดนี้ ถึงเรียกว่าปุถุ ปุถุนี่คือหนา ธรรมดาๆนี่ คุณเอง คุณไม่รู้ว่า คุณสั่งสมความโลภ สั่งสมราคะ เขายั่วยุ ยั่วเย้า คนทุกวันนี้ ราคะจัดจ้านกว่า สมัยพระพุทธเจ้าม้ากมาก ราคะ จัดกว่ากันมาก จัดจ้านจริงๆ ราคะก็ตาม ความโลภก็ตาม ความโกรธก็ด้วย โกรธจัด มากแรงกว่า สมัยโบราณ มากเลย โกรธ อำมหิต ทารุณ เลือดเย็นด้วย เพราะว่าเขาพรางด้วยมารยา ใครจะไป แสดงท่าทางว่า ฉันเป็นคนร้าย ฉันเป็นคนทำร้าย มีท่าทางมีโอกาส มีวิธียังไง ก็ซ่อนในตัวเองนี่ ฉันไม่ใช่ผู้ร้าย ฉันไม่ใช่มาร ฉันเป็น พวกเทพ เป็นพวกเทพตะพึด แปลงตัวเป็นเทพตะพึด เพื่อที่จะให้คนเข้าใจผิดว่าเทพ แต่แท้จริง นั่นน่ะ ใจเป็นมาร พฤติกรรม เป็นมาร มารลวงเป็นมารพรางๆลวงๆ ทั้งนั้น จนคนเข้าใจผิด เพราะ ใครไม่อยาก จะให้ใคร มามองเราว่าเป็นมาร เป็นผี เป็นผู้ร้าย เขาก็อยากให้คน เข้าใจว่า เราเป็นเทพ เป็นเทวดา เป็นผู้สูง เป็นผู้ดี ทั้งนั้น แต่ความจริงแล้ว ลวง ซ้อนลึกๆๆๆๆ ลวงซับซ้อนเข้าไปเรื่อยๆ หลอกซับซ้อนเข้าไปเรื่อยๆ เป็นเรื่องของโลก ธรรมดา ทำกันอยู่นี่ เลวร้ายอย่างนี้น่ะ

อาตมาต้องสมมุติจุดหนึ่ง ให้คุณฟังเป็นตัวอย่าง ที่อาตมาคิดว่า สมมุติ แล้วชัด เรื่องของกรรม กับเรื่องของวิบาก ที่เราไม่รู้ ฟังแล้วก็ไม่เข้าใจ แล้วก็ไม่เห็นจริงนี่นะ ตัวอย่างอันนี้ คืออย่างนี้ คุณต้องรู้ว่า กรรมที่อาตมาพูดนี่ เป็นอะไรน่ะ และคุณก็ต้องรู้ว่า โลกเป็นอะไร คนๆหนึ่ง คอร์รัปชั่น หรือไปปล้นเขา ก็จะต้องได้ผล เขาก็ทำสำเร็จ เก่ง ได้ผล คอร์รัปชั่นสำเร็จ หรือปล้นสำเร็จ เขาก็ได้ ได้ลาภ ได้ผลของการปล้น ได้ผลของคอร์รัปชั่น ได้ทรัพย์ศฤงคาร ใช่ไหม เขาเก่ง เขาปล้นสำเร็จ ใช้วิธีการ คิดอ่าน จนกระทั่ง คนไม่รู้ละ มีฤทธิ์มีเดช เป็นมารชั้นยอด ปล้นสำเร็จ หรือ คอร์รัปชั่นสำเร็จ ได้มามากมาย ร่ำรวย ในขณะที่เขาปล้น ในขณะที่เขาคอร์รัปชั่นนั้น เขามีกรรม อันหนึ่ง คือทำชั่ว ใช่ไหม ใช่ไหม พร้อมๆกันใช่ไหม ที่เขาได้ทรัพย์ศฤงคารนั่น พร้อมๆกัน เขาก็ได้กรรมชั่ว

ทีนี้อาตมาขอถามคุณหน่อย สิ่งที่เป็นทรัพย์แท้ของเขานั้นน่ะคือ ทรัพย์ศฤงคาร ที่เขาได้ด้วยปล้น หรือได้ด้วย คอร์รัปชั่น ทรัพย์ที่จะติดตัว ที่จะเป็นของเขาจริงนั้นน่ะ หรือกรรมชั่ว อันไหน เป็นทรัพย์แท้ เข้าใจนะ เขาไม่ได้ไปหรอก ทรัพย์ศฤงคาร ที่เขาปล้น หรือเขาคอร์รัปชั่น นั้นเขาไม่ได้ เขาไม่ได้ หรือว่า ไม่เป็นแท้ เขาได้เหมือนกันแหละ เขาปล้น สำเร็จแล้ว ก็ไม่มีใครจับได้ด้วย หรือว่าเขาคอร์รัปชั่น สำเร็จ ไม่มีใครจับได้ด้วย เขาได้ แต่จริงๆแล้ว เขาเลี่ยง ไม่ได้เลยว่า เขาได้กรรมที่ชั่วนั้นด้วย อาจจะไม่มี ใครรู้เลย ในชาตินี้ ปิดสนิทเลย แต่จริงๆแล้ว เขาได้กรรมชั่วนั้น เป็นทรัพย์แท้ ไปอีกกี่ชาติๆ ก็ตามใจ ลบไม่ได้ เอายางลบ ลบไม่ได้ ใครมาบอก ไปโกหก มดเท็จว่า ฉันไม่ได้ทำ ก็ไม่ได้ คุณทำจริงใช่ไหม มดเท็จไม่ได้ นี่แหละคือ ทรัพย์แท้ที่น่ากลัวมาก คนเรา แม้แต่คิดชั่ว มันก็เป็นกรรมแล้ว ลงมือทำ ก็ยิ่งจริงใหญ่เลย นี่แหละน่ากลัวมาก เรื่องน่ากลัวมาก เรื่องต้องระวัง เข้าใจชัดนะ ตัวอย่างนี้ อาตมา ว่าชัด คนเราไม่ได้คำนึง ถึงจุดนี้ เพราะฉะนั้น ช่างมันเถอะ ทำชั่ว ใครก็ไม่รู้ ใครก็ไม่เห็น ยิ่งเราฉลาด เฉโก พรางลวงเป็น มารร้าย ไม่ให้ใครรู้ว่า เราทำชั่ว มีอำนาจ ถึงแม้ใครรู้ ก็ทำอะไรข้าไม่ได้ ข้าจะทำชั่ว จะทำไม เอ็งไม่มีสิทธิ์มาล้มล้าง ความชั่ว ข้าก็จะทำอย่างนี้ ข้าได้เปรียบ หรือแม้แต่ คนไม่รู้ก็ตาม พรางลวง จนกระทั่ง คนเข้าใจว่าเราเป็นเทพ แต่เราก็ทำวิชามาร ทำเรื่องมารๆ เลวๆ ชั่วๆนั้น เขาก็ได้ อันนั้นแหละเป็นกรรม เป็นวิบาก เป็นสมบัติ เป็นทรัพย์

ถ้าคุณมางานนี้ มาคราวนี้ ไม่ได้อะไรไป ขอให้ได้อันนี้ ขอให้ได้เรื่อง คำนึงถึงกรรม กรรมเป็นของจริง กรรมเป็น เผ่าพันธุ์ กรรมเป็นที่พึ่งอาศัย กัมมพันธุ กัมมปฏิสรโณ เมื่อกี้ อาตมาอธิบายกรรมตัวสุดท้าย ยังไม่ถึง กัมมพันธุ มันเป็นเชื้อ เป็นพันธุ์ ที่อาตมาขยายความไปแล้วว่า มันจะต่อไปเรื่อยๆ เป็นฤทธิ์ เป็นเดช กัมมปฏิสรโณ คุณพึ่งกรรม คุณอาศัยกรรม กรรมเป็นที่พึ่งของคุณ ไม่ใช่พระเจ้าเป็นที่พึ่ง ศาสนาพุทธเรา ไม่ได้พึ่งพระเจ้า ศาสนาพุทธเรา พึ่งกรรม เพราะฉะนั้น ทำกรรมทุกขณะจิต หายใจ เข้าออก แม้แต่คิด แม้แต่พูด แม้แต่กระทำทางกาย ทางกิริยาอะไร กรรมอะไรก็แล้วแต่ นั่นแหละ เป็นสิ่งที่สั่งสม ต้องคำนึงถึงกรรมดี กรรมชั่วให้มาก แล้วอย่าทำเลยกรรมชั่ว กรรมเป็นบาป เป็นทุจริต ทำแต่กรรมดีเถิด

ถ้าเผื่อว่าเราไม่เข้าใจชัดแจ้ง ไม่เชื่อถือจุดนี้ เราก็ประมาท สั่งสมเอาแต่กรรมชั่ว โลภ ฉันก็จะโลภ โกรธ ฉันก็จะโกรธ การโกรธนี้ ก็เป็นกรรม เพราะฉะนั้น ในใจเรา อย่าไปโกรธเลย เรารู้ใจเราว่า เราโกรธ เมื่อไหร่ เลิก ใจเราโกรธ ใจเราโลภ เห็นแก่ตัวเมื่อไหร่ เลิก ลดให้ได้ ลดลงไปจริงๆ มาฝึกปรือ ไม่ใช่ง่ายหรอก ไม่ง่าย แต่ต้องทำน่ะ

คุณถามมา คำไม่น้อย... ไม่ได้มากอะไร แต่อาตมาอธิบายขยายความเสียเยอะ จนกระทั่ง ปัญหาแห้ง มากัน เป็นปึกเลยนี่ ตอบไม่หมดแน่ เห็นแล้ว เพราะอาตมา มันเป็นคนตอบยาวเสียด้วย ตอบสั้น ไม่ค่อยเป็น จริงๆ ไม่รู้เป็นไงนะ อยากให้นเข้าใจละเอียดๆ มันยังไงไม่รู้ ตอบสั้นๆ ก็กลัวเขาไม่เข้าใจ เหมือนกับดูถูกคนเขาโง่นะ แต่อาตมาก็คิดว่า อย่างนั้น บางที ถ้าไม่อธิบายมากๆ บางที มันก็ไม่เข้าใจ ได้ง่ายนัก สิ่งที่ลึกซึ้งนี่ อาตมาว่า อธิบายสิ่งที่ลึกซึ้ง สรุปแล้ว ก็ที่ถามมานั่นน่ะ

เพราะฉะนั้น ปราชญ์ที่อาตมาว่าเขาคิดอย่างนั้น เขาเห็นอย่างนั้น มันก็เป็นความถูกต้องจริง ตรงกัน แต่ว่าในจุดจบ คำตอบของคุณ อยู่ที่ถามมาก็คือว่า ผู้ที่เป็นยอดที่จะไปช่วยโลก ช่วยมนุษยชาติ ในอนาคตข้างหน้านั้นน่ะ หรือแม้ ขณะใดๆ ก็แล้วแต่ ที่มีผู้ที่เป็นปราชญ์ เป็นศาสดา เกิดมาช่วยโลก ช่วยสังคมมนุษยชาติ ในศาสนา แขนงไหนล่ะ ศาสนา ลัทธิไหนล่ะ ที่จะเป็นผู้ที่ฉลาด ยอดลึกซึ้ง ถึงสัจธรรมได้ลึกกว่ากัน เป็นละเป็นถึงระดับนั้นน่ะ ใครจะยอดกว่าใคร

ยกตัวอย่างง่ายๆก็ได้ว่า พระพุทธเจ้ากับพระเยซู หรือกับพระมะหะหมัด ใครยอดกว่าใครจริง แต่เขา ก็ยอดล่ะ เขาเป็นปราชญ์ ไม่ใช่พระโมฮำหมัด ไม่ใช่ปราชญ์ ปราชญ์นะเป็นศาสดา พระเยซูก็ปราชญ์ ศาสดา แต่มันมี ความลึกซึ้ง มันมีความถึงสัจธรรมที่ไกล ที่ลึกมากกว่ากันจริงๆ อันนี้ก็แล้วแต่ ภูมิใครจะเลือก จะไปศรัทธา พระมะหะหมัดก็ดี เพราะพระมะหะหมัดก็มีคุณธรรม มีสิ่งวิเศษ มีสิ่งดี แก่สังคม มนุษยชาติเหมือนกัน จะไปศรัทธา พระเยซูก็ดี ศรัทธาพระพุทธเจ้าก็ดี แต่มันมีที่วิเศษยอด ของแต่ละคน ซึ่งคนธรรมดา ตัดสินยาก คนธรรมดา ตัดสินยาก ไปถามศาสนิกที่เป็นคริสต์ เขาก็บอกว่า พระเยซูยอดกว่าพระพุทธเจ้า ไปถามทาง พวกมุสลิม เขาก็บอกว่า พระมะหะหมัด ยอดกว่าพระเยซู ยอดกว่าพระพุทธเจ้า มาถามพุทธศาสนิกชน พระพุทธเจ้ายอดกว่า แต่คนธรรมดา ก็ไม่มีใครกล้าตัดสินได้ว่า ใครยอดกว่าใคร มันก็ลำเอียงเข้าข้างที่คนเราชอบ เราอยู่ในสายของ พระพุทธเจ้า เราก็ว่าพระพุทธเจ้ายอด เราอยู่ในสายคริสต์ เราก็ว่าพระเยซูยอด เราอยู่ในสายอิสลาม เราก็ว่า พระมะหะหมัดยอด เท่านั้นเอง แต่ความจริง ใครยอดกว่าใคร อยู่ที่สัจจะ ใครจะยอดกว่าใคร อยู่ที่สัจจะ แต่ก็ต้อง เป็นเช่นนั้น ต้องมีคนดีขึ้นมาช่วยโลก ช่วยสังคมอย่างนั้น พระมะหะหมัด ก็มาช่วยคน พระเยซูก็มาช่วยคน พระพุทธเจ้าก็มาช่วยคน ก็แบ่งกันไปช่วย ช่วยมนุษยชาติในโลก

ไม่มีเท่านี้ ศาสนามีมากกว่านี้ มีปราชญ์มากกว่านี้ ก็ท่านทำเถอะ ทำดี ท่านทำดีจริงๆ มากน้อยกว่ากัน ตามลำดับ ลดหลั่นบ้าง เท่านั้นเอง แต่ก็เป็นการช่วยโลกที่ดี น่าบูชา เคารพทั้งนั้น พระโมฮำหมัด ก็น่าบูชา เคารพ พระเยซู ก็น่าเคารพ พระพุทธเจ้าก็น่าเคารพ ไม่มีใครตัดสิน เท่านั้นเอง คุณจะชอบ องค์ไหนก็เอา คุณจะดำเนินตามสายไหน ก็เอาเท่านั้นเอง ก็ควรศึกษา อย่าไปดูถูกดูแคลน เพราะว่า ความรู้พวกนี้ ความรู้พระเยซูสอน ความรู้พระโมฮำหมัดสอน ความรู้พระบาไฮสอน พระบาฮาอุลา ของศาสนาบาไฮ ของอะไรก็แล้วแต่ ที่เป็นปราชญ์ เป็นศาสดานี่ ความรู้ดีทั้งนั้น น่าศึกษา และน่าเอา สิ่งที่ดี อันไหน บางทีมันขัด มันแย้งกัน หรือว่ามันยังไม่ เราก็พิจารณาเอา เลือกเอา เฟ้นเอา ตัดสินเอา เราเลือกเอาอันนี้ อันนี้เอาของพระเยซู อันนี้เอาของพระพุทธเจ้า อันนี้ เอาของพระโมฮำหมัด อันนี้ เอาของพระบาฮาอุลา อันนี้เอาของโซโรแอสสเตอร์ อันนี้เอาของขงจื้อ อันนี้เอาของอะไร ก็แล้วแต่คุณ ก็เลือกเอาก็แล้วกัน อันไหนที่ เห็นว่าดี เราก็ทำ เราก็เลือกเอา แล้วก็เอามา ประพฤติปฏิบัติพิสูจน์ แล้วเราจะรู้ความจริง เราจะได้ความจริง

ถาม : ดิฉันอยากทราบว่า ในเมื่อศาสนาพุทธ แบ่งแยกแบบนี้ใช่ไหมคะ ก็คล้ายเคียงกับศาสนาคริสต์ ที่เขามีการแบ่งแยกเป็นกลุ่ม ซึ่งเขายอมรับว่า ความคิด ในกลุ่มของศรัทธาศาสนาพุทธ ลดลงไป หรือเปล่าคะ คือมีการแบ่งแยกเป็น...

ตอบ : เอาละ อาตมาเข้าใจที่ถาม หมายความว่า อย่างนี้นะ อาตมาสรุป ทำคำถามของคุณว่า หมายความว่า แต่ละศาสนา ก็ตาม มันก็มีกลุ่ม ที่มีความเห็นต่างกัน เสร็จแล้ว ก็มาแตกแยกกัน เป็นนิกาย หรือเป็นกลุ่ม ใช่ไหม อย่างนี้ มันจะทำให้ศาสนาเสื่อมหรือไม่ อันนี้ มันไม่ใช่พึ่งเริ่มเป็นหรอก มันมีมาตั้งแต่สมัย พระพุทธเจ้าทำ ได้ตราวินัย ไว้แล้วด้วย ความแตกต่างนี้ มันเกิดได้ ต่างความ เห็น ต่างความคิด นี้เกิดได้ บังคับกันไม่ได้หรอก เราจะเชื่ออันนี้อย่างนี้ แล้วก็มีนัยที่นัยที่ต่างกันไป มันมีมุมเหลี่ยมที่ต่างกันไป จนกระทั่ง มีมุมเหลี่ยม หรือว่ามี ลักษณะที่ต่างกันมากขึ้น จนกระทั่ง ต้องแยกเป็นนิกาย มันจะเกิดเอง ทีนี้ พระพุทธเจ้า ท่านตราไว้ เป็นวินัย ก็คือว่า ถ้าใครกระทำ ความแตกแยก จนกระทั่ง ต่างเห็น จนกระทั่งผิดเพี้ยนกันไปคนละอันแล้ว มันจะกลายเป็นนิกาย แยกออก เป็นคนละเรื่อง อย่างนี้ทะเลาะกันแน่ เสื่อม ถ้าเกิดนิกาย เสื่อม อย่างที่คุณพูด เมื่อกี้ว่า ต่างคนต่างเห็น แล้วก็ไม่ยอมรับ ของกันและกันเลย อันนี้นี่ เราไม่ควรปักมั่นว่า เราจะไม่ยอมรับ ของผู้นั้นผู้นี้ อย่างตายตัว

เราควรจะพิสูจน์ พิสูจน์แล้วก็รับฟัง ต้องทำใจอย่างนั้นจริงๆ รับฟัง รับข้อมูล อย่าไปปฏิเสธ อย่างประเภทที่ว่า เอาเดี่ยวๆ เป็นของเรา จนไม่ฟังไม่อะไรคนอื่นเขาเลย อย่างนั้น จะโง่ จะโง่ คนใดที่ไม่รับฟังผู้อื่นอีกเลย มีข้อมูลใหม่มา คุณก็ไม่ฟัง คุณก็ไม่ฟัง คุณก็ไม่รับ อะไรอีกเลย คนนั้น โง่แล้วโง่แล้ว ตั้งแต่ไม่รับ เรารับข้อมูล ของคนอื่นได้ รับแล้วก็พิจารณาด้วย เท่าที่เราฉลาดจริงๆ อย่าไปเที่ยวรับเล่นๆ ต้องรับจริงๆ มา แล้วก็เอามา เป็นข้อมูล มาเปรียบเทียบ มาตัดสิน หรือว่า มาพิจารณา มาวินิจฉัยให้จริงๆ ข้อมูลเหล่านั้นแหละ มันจะบอกว่า ถ้าของที่เรา เข้าใจแล้ว ของเรา เชื่อแล้ว ว่าดี มันก็ต้องพิจารณาจริงๆนะ ไม่ใช่ว่ารับ สักแต่ว่ารับเล่นๆ มันก็จะมา ขยายถูกหรือผิด หรือขยายดี หรือไม่ดี ชัดขึ้นๆๆ ถ้าเรามีสิ่งที่ดีจริงแล้ว ข้อมูลใหม่ ก็ยิ่งจะส่งเสริม ยิ่งจะขยาย ยิ่งจะค้านแย้ง อย่างเห็นได้ชัดว่า มันผิดอย่างไม่ดี มันผิดอย่างมีลักษณะผิด หรือ อย่างลักษณะ ไม่ดีมากขึ้นๆ ยิ่งจะส่งเสริม ให้สิ่งนั้นชัดเจนมาก แล้วเราก็จะรู้ความจริง ของผู้อื่น อีกด้วยว่า บกพร่องตรงไหน ไม่เจริญ อยู่ในระดับไหน สิ่งที่เขาเสนอมานั้น อยู่ในขีดไหน เขตไหน จะรู้เลย จะได้รับความรู้ มีระดับที่ซ้อนลึกๆๆลึกซึ้งๆ ลึกซึ้งขึ้นเรื่อย เพราะแม้ข้อมูลใหม่ คนอื่นก็หามาเติม ให้แก่เรา เราก็รับมาเรียบเรียง มันจะให้ มันจะมีความจริง ที่จะบอกความจริง ที่เราได้น่ะ

พระพุทธเจ้า ท่านไม่ให้เราเห็นต่างกัน จนกระทั่งเกิดแยก เรียกว่า แตกนิกายนี่ เป็นบาป สังฆเภท แต่ห้าม ความเห็นต่าง หรือเกิดความต่าง แล้วก็ ต่างคนต่างพิสูจน์ไม่ได้ ลักษณะที่มีความต่าง แล้วก็ท่านอนุญาต ให้เป็นไปได้ก็คือ ลักษณะไม่เรียกว่าสังฆเภท สังฆเภท บอกแล้วว่า นั่นเป็นบาป สังฆเภท นี่แตกแยก แล้วก็เป็นก๊ก เป็นเหล่า เป็นหมู่ ไม่รับของคนอื่นเลย นี่เรียกว่า ไม่เชื่อตาม คำสอนของพระพุทธเจ้า

ส่วนคำสอนของพระพุทธเจ้านั้น ต่างอย่างนานาสังวาส นานาแปลว่าต่าง สังวาสแปลว่าอยู่ร่วม เป็นพุทธร่วมกัน สังวาส เป็นพุทธร่วมกันอยู่ แต่ว่า มีนานา นี้ มันแตกต่างกันได้ แตกต่างแล้ว อย่างที่อาตมาอธิบายไปก่อน แล้ว อย่าไปปิดกั้น ข้อมูลของคนอื่น หรืออย่าไปปิดกั้น สิ่งที่ไม่เหมือนเรา ของคนอื่น รับศึกษาของคนอื่น แม้ไม่เหมือนเรา มีเหตุผล มีข้อมูล มีหลักฐานอะไร รับ แล้วก็มาเป็น ข้อมูล ที่เราจะมาวินิจฉัย เหมือนเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่มีข้อมูล มากๆๆๆ ได้เท่าไหร่ มันก็ยิ่งจะโชว์ ออกมาได้ ละเอียดลออมากเท่านั้น เพราะฉะนั้น คนที่ไม่รับข้อมูล ของคนอื่น ปิดกั้นคนอื่น ดูถูกคนอื่น โยนทิ้งของคนอื่น คนนั้นโง่ ตั้งแต่เบื้องต้นแล้ว คนนั้น จะไม่ฉลาดลึกซึ้ง ลึกแหลมขึ้นอีกเลย เป็นคนโง่ ตั้งแต่ปิดกั้น เพราะฉะนั้น เราจะต้องเปิดจิต รับทราบ พระพุทธเจ้าท่านเรียกว่า ปรโตโฆษะ เรารับ ข้อมูลอื่น ของคนอื่น อะไรต่ออะไรเรารับ ถ้าใครมีนิสัย มีจิตใจไม่อยากฟังคนอื่น คนนั้นมีอัตตา มานะมาก ถือดี ถือตัว เป็นคนมี กิเลส ตัวที่กั้นความเจริญ ถือดี ถือตัว แม้คนเล็ก คนเด็ก คนน้อย คนอะไรต่ออะไร เรารับได้ เปิดจิตกว้างๆ ฟัง รับรู้ บางสิ่ง บางอย่าง มีลักษณะที่ดี แต่แฝงอยู่ ในสภาพเหมือนมันต่ำ เราอย่าดูถูกคนบ้านนอก เราอย่าดูถูกคนที่ บางที อีเดียต เราอย่าไปดูถูก บางทีลักษณะของคนอีเดียต นี่ซื่อ มีจุดดีน่ะ อย่างนี้เป็นต้น อะไรดี ในสิ่งนั้น มันมีมุม มีแง่ของมัน เราควรจะต้องศึกษา ที่คุณถามมาอย่างนั้นน่ะ มันห้ามสิ่งที่ เป็นจริงไม่ได้ เพราะฉะนั้น คนไหนทำ ถึงขั้นสังฆเภท ที่แตกที่ร้าว แน่นอน ที่คุณห่วง คุณกังวล มันจะเสื่อมแน่นอน แต่ถ้าผู้ใด เข้าใจ อย่างที่อาตมาว่า พระพุทธเจ้า สอนไว้หมดแล้ว วินัย หรือว่า หลักการพวกนี้ ก็ทำแค่นานาสังวาส

อย่างอาตมากับเถรสมาคมนี่ อาตมาทำอย่างนานาสังวาส ลาออกมา คือ นานาสังวาส นี่ เกิดได้ ๒ ลักษณะ ๑. ตัวเราเองประกาศความแยกเอง ๒. หมู่อีกหมู่หนึ่ง ประกาศไม่รับ ไม่รับคนนั้น แยก แต่ไม่ใช่แตกแยกนะ ไม่รับมาร่วม ผสมอะไรนี่ มันมีหลักการอีกเยอะ ซ้อนอยู่ วิธีการของนานาสังวาส ทำได้ ๒ ลักษณะ เราเป็นผู้ที่รู้เอง แล้วก็ประกาศ ขอแยกเอง หรือหมู่เขาผลักเราออก ไม่เอา คนนี้ อยู่นอก เป็นคนนานาสังวาส ได้ทั้ง ๒ ลักษณะ อาตมาเอง ทำให้ลักษณะ อาตมาประกาศขอออกมา แยกเอง แต่เขามองอาตมา ใส่ความอาตมาว่า เป็นสังฆเภท เราไม่ได้สังฆเภทนี่ พระเดี๋ยวนี้ ยังมีเลย พระเถรสมาคม ก็มาศึกษา เราต้องดูข้อมูล อะไรที่ท่านออก หลักเกณฑ์ ไว้ใน นานาสังวาส ว่า อันนี้ลง ทำสังฆกรรมร่วมกันไม่ได้ อันนี้ทำอย่างนี้ ร่วมกันไม่ได้ ก็เอาไว้ก่อน อันนี้พอได้ ก็รับกันทำ แบ่งให้ชัด ละเอียดให้ชัด ให้ชัดเจน ว่าอันนี้ ถ้าขืนไปร่วมกันทำแล้ว อย่างเช่นว่า ร่วมอธิกรณ์ ให้คนที่บอกว่า มีหลักเกณฑ์สำคัญ ที่เราตกลงกันอยู่นี้ ในหมู่นี้ หมู่นี้ สงฆ์หมู่นี้ จะต้องตัดสินความ หรืออะไรต่ออะไร ลึกซึ้งอันนี้ ความผิด ความถูก อะไรอย่างนี้ เข้าใจกันอย่างนี้ ผู้ที่เป็นนานาสังวาสมา อย่างอาตมาจะ ตัดสิน สังฆกรรม ตัดสินอธิกรณ์นี่ ท่านเหล่านี้ ก็เข้าร่วมไม่ได้น่ะ อันนี้ ให้เราตัดสินเอง เป็นเรื่องของ ภายในของเรา เราก็จะตัดสินของเรา เราเข้าใจกันอย่างนี้ ตัดสิน อย่างนี้เข้าไม่ได้ พระพุทธเจ้า วางระเบียบ ไว้หมดแล้ว ร่วมสังฆกรรมอันนี้ ไม่ได้ แต่เข้ามาอย่างนี้ได้ รวมกันได้ อันนี้หลักเกณฑ์ กลางๆ ด้วยกัน อะไรกัน ร่วมกันได้ จะต้องเปิดรับกันอย่างนี้ ไม่ใช่ว่า มาแตกแยกกัน ไม่รับอะไรกันเลย ไม่มีสิ่งที่จะร่วมกันได้เลย ไม่ได้

สังวาส หมายความว่า ร่วมกันอยู่ มีส่วนร่วม แต่มีส่วนต่าง นานา แปลว่าต่าง สังวาสแปลว่าร่วม นานาแปลว่าต่าง สังวาสแปลว่าร่วม นานานี่คือ นานานี่คือ variety สังวาสนี่คือ unity เป็น เอกภาพ แต่มีความต่าง หลากหลาย มี variety ใน unity มันต้องเข้าใจความลึกซึ้งพวกนี้ ชัดเจนน่ะ

ถ้าเผื่อว่า เราเข้าใจคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้วนี่ จะไม่มีความเสียหาย แล้วก็จะเจริญพัฒนาไปเรื่อยๆ เราห้าม ไม่ได้นะ ความเห็นที่ มันคิดต่างกัน มันเห็นต่างกัน มันเชื่อต่างกัน ห้ามไม่ได้หรอก มันจะเกิดแน่ เมื่อเชื่ออย่างนี้ นานาสังวาส ให้ทำอย่างไร ต่างคนต่างพิสูจน์ ตามความเชื่อ เราเชื่อ อย่างนี้ ก็พิสูจน์ไป คุณเชื่อไป แต่อย่าโกรธกัน มีอะไรร่วมกันได้ ร่วมกันไปก่อน อะไรยังร่วมไม่ได้ ต่างคนต่างเชื่อ ต่างคนต่างทำ แล้วท่านห้ามเถียง กันด้วย อย่ามาทะเลาะกัน อย่ามาเถียงกัน ก็คุณเชื่อของคุณอย่างนี้แล้ว เราก็เชื่ออย่างนี้แล้ว คุณก็พิสูจน์ไปสิ ทำไปสิ อันนี้ก็ทำไปสิ เวลาที่ ต่างคนต่างพิสูจน์ ผลออกมา มันจะมายืนยัน มาฟ้องกันเองว่า อันไหนที่มันถูกต้องแน่ อันไหน ที่มันมีคุณค่า ประโยชน์แน่ เวลามันจะไปตัดสินเองนี่ วิธีการของพระพุทธเจ้า ท่านทำไว้หมดแล้ว แต่ทุกวันนี้ ทำกันผิดเพี้ยน แล้วมาบังคับคนอื่น จะมาเผด็จการ ของข้า เท่านั้นถูก ของเอ็งไม่ถูก

อาตมาก็โดนเผด็จการอยู่เดี๋ยวนี้ ว่าของข้าเท่านั้น ถูก ของเอ็งผิด อาตมาก็บอกว่า เอ๊ เราก็มีสิทธิ์พูด เหมือนกันนะว่า ของคุณนั่นผิด ของเราถูก เราก็มีสิทธิ์พูดเหมือนกัน เมื่อคุณเชื่อของคุณ คุณก็ทำ เราเชื่อของเรา เราก็ทำ แต่ผลมันจะพิสูจน์ เหมือนอย่างอาตมาเชื่อ อาตมาก็มาพาทำไป เรื่อยๆ น่ะ มันก็เป็นไป ตามที่มันจะเกิดจริง เป็นจริง เข้าใจหรือยัง พอหรือยัง

ถาม : บางครั้งไม่อยากยิ้ม ไม่อยากพูดคุย อยากทำหน้าเฉยๆ แต่ก็ต้องฝืนยิ้ม ฝืนพูดคุย ทำไมเราต้อง ฝืนด้วยคะ

ตอบ : ฝืนซี ในสิ่งที่เราจะต้องทำ มันขัดกับเราชอบ ขัดกับเราเห็นนี่ บางทีด้วยการสมาน ด้วยการสังคม เราก็ต้องทำ ด้วยสังคม ด้วยการสมานบ้าง จะเอาแต่ใจตัว ทำอะไรก็ตามอำเภอใจ ฉันอยากทำอย่างนี้ ฉันก็ทำละ ฉันไม่ กังวลคุณละ มันไม่มีน้ำใจ เพราะฉะนั้น มารยาทสังคม เราก็ต้องฝืน ในสิ่งที่ บางที ไม่ตรงกับใจเราบ้าง แต่ทีนี้ สำคัญที่สุดว่า ยิ้มมันดีไหมล่ะ พูดคุยบ้าง มันก็ดีไหมล่ะ มันเป็นสังคม มันเป็นการอยู่นำ อยู่ร่วมกัน ประสานสังคม สมานสังคม สัมพันธ์สังคม มีมนุษยสัมพันธ์อันดี เพราะฉะนั้น ยิ้มมันก็ดีกว่าบึ้ง ดีกว่าแยกเขี้ยว หรือว่าพูด ก็ดีกว่ามะลื่อทื่อ เจอกันเฉยๆ ก็มะลือทื่อ ไม่พูด ไม่คุยอะไร มันไม่มีมนุษยสัมพันธ์เลย นี่ ก็เป็นความหมายแรกๆ ต้นๆ เท่านั้น

เราต้องฝืนบ้าง พูดบ้าง กระทำบ้าง ทีนี้ลึกเข้าไปกว่านั้น คุณยิ้มกับเขานี่ อย่างน้อย ก็เป็นการประสาน สามัคคี เป็นการมีมิตร ไมตรีอันดี คุยกับเขาบ้าง ก็เป็นมิตรไมตรีอันดี แม้จะเป็นศัตรู แม้จะเป็นคนร้าย ถ้าคุณทำได้ วิเศษ เพราะฉะนั้น ที่บอกว่า ไม่อยากยิ้ม เราให้มันง่ายหน่อย ไม่อยากพูดคุย ก็ให้มัน ง่ายขึ้นหน่อย อยากทำหน้าเฉยๆ ระวัง จะกลายเป็นไอ้จืด หน้าเฉยๆ ไอ้จืด ไอ้จืดไม่พอนะ เป็นไอ้ หน้ากระด้าง หน้าแข็งๆ หน้าด้านๆ ระวังนะ หน้าด้าน แล้วก็นานเข้าไป แล้วก็ใจด้านด้วยน่ะ ระลึกถึงอริสมันต์ บ้าง ประเดี๋ยวจะกลายเป็นใจด้านเกินไป ใจด้านเกินไป แก้ไม่ได้นะ อริสมันต์ เขาใจเขาไม่ด้านพอ เขาทนไม่ได้ เขาต้องทำ เดี๋ยวคุณเดี๋ยวถ้าใจด้านเกิน หรือใจด้านพอ ก็เลย แข็งมะลื่อทื่อ แก้ไม่ได้เลย ใจด้านนี่ ระวัง ใจด้านแล้ว จะกลายเป็นใจหนานะ ทีนี้ หนาตราช้างทั้งทวีป แล้วเลิกเลย นะทีนี้ ไม่ต้องแก้อะไรแล้ว ถ้าใจหนาตราช้างทั้งทวีป อธิบายให้ฟังแล้ว มันพัฒนาไปยังไง ถึงขั้นใจ มันอย่างหนา ตราช้างทั้งทวีป นี่ มันขนาดไหน

ถาม : เมื่อจิตเราตั้งมั่น ที่จะทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดแล้ว ทำใจอย่างไร ถึงจะทำสิ่งนั้นได้ตลอด เช่นตั้งตบะ กินไม่ปรุงแต่ง เราต้องเห็นประโยชน์สิ่งนั้นก่อน ใช่หรือเปล่าคะ

ตอบ : ก็ใช่น่ะ เราต้องทำความเข้าใจ เรียกว่าปริยัติ หรือเรียกว่า ทฤษฎี เรียกว่าทิฏฐิ ภาษาบาลีเรียกว่า ทิฏฐิ ภาษาสันสกฤตเรียกว่าทฤษฎี มีความหมายอันเดียวกัน คุณเข้าใจทฤษฎีอย่างไร ทิฏฐิก็มี ความหมาย เหมือนกัน คุณเข้าใจทิฏฐิอย่างไร ทฤษฎีก็มีความหมายเหมือนกันน่ะ แต่อันหนึ่ง เป็นภาษา สันสกฤต อันหนึ่ง เป็นภาษาบาลี เราต้องรู้ทฤษฎี รู้ หรือว่าเกิดทำความเข้าใจในหลักการ ในความหมายของมันให้ชัดเจน เมื่อรู้ในหลักการ รู้ใน ความหมาย รู้ในองค์ประกอบอย่างนั้นๆ อย่างใด หรือแม้แต่เป้าหมายสุดท้ายว่า มันจะเป็นยังไง มันจะดียังไง คุณเข้าใจมันให้รอบ ให้มันสมบูรณ์ เสร็จแล้ว ก็จะต้องปฏิบัติน่ะ จะทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดก็ตาม ถ้าเรารู้โดยความรู้ ที่เป็นทิฏฐิ ทฤษฎี เป็นหลักการ เป็นความเห็น ความเข้าใจ ให้ได้เสียก่อน พอได้แล้ว ลงมือ ทำ ได้แล้วก็ฝึกหัดทำ จะได้ตลอด ก็ตรงที่ว่า เมื่อคุณฝึกหัดทำแล้ว คุณจะต้องอ่านผล ปฏิบัติแล้วไม่อ่านผล ฝึกแล้ว ไม่อ่านผลนะ มันไปไม่รอดหรอก ทำแล้ว ไม่ได้อะไร ไม่รู้อะไร ไม่เห็นคุณค่าของการปฏิบัติ ไม่ทบทวน

พระพุทธเจ้าท่านสอนบอกว่า จะต้องมีเตวิชโช จะต้องมีการระลึก ระลึกสิ่งที่ผ่านมา สิ่งที่เกิด สิ่งที่ดับ หมายความว่า อะไรที่เราจะเลิก เราก็ตรวจทาน อะไรที่เราจะเปลี่ยนแปลงมา จะเลิกมา เราก็ตรวจทาน ว่าเราเลิกได้ไหม เลิกได้แล้ว เป็นยังไง อะไร ที่เราจะทำให้ดี ทำให้ดีขึ้น ทำให้ดีขึ้น เราก็ตรวจทาน เราทำมาแล้ว เมื่อไหร่ เมื่อวานนี้ เดือนนี้ เดือนที่แล้ว วันที่แล้ว ทำมาหลายวันแล้ว สั่งสมมานานแล้ว อะไรนี่ คุณก็ตรวจ เรียกว่า บุพเพนิวาสานุสติ ระลึกย้อน สิ่งเก่าที่ผ่านมา ความเกิด ความดับ หรือว่า สิ่งที่ได้สร้างให้มันมี หรือว่าสิ่งที่เราเลิกมันไป เลิกมันไป เรียกว่าดับ สร้างให้มันมี เรียกว่าเกิด อะไรที่เราลด อะไรที่เราเพิ่ม คุณก็ตรวจ ตรวจสิ่งที่เราได้ทำว่า ทำได้จริง ตามทฤษฎี ตามทิฏฐิ ตามความเข้าใจ ความเห็นนั้นหรือไม่ แล้วได้ผลหรือไม่ ผลนั้นให้ผลแก่เรา เราเป็นยังไง ตรวจสอบไป เรื่อยๆ ตรวจสอบไปเรื่อยๆ คุณก็จะเกิดญาณปัญญา เกิดความเข้าใจ แล้วคุณ ถ้ามันดี คุณก็จะเกิด ความยินดี ถ้ามันดี บอก โอ๊ มันดีนะ เราจะเกิดความยินดี พอใจ ถ้ามันไม่ดี คุณจะได้แก้ไข หรือมัน ไม่ถูกต้องเลย ก็แก้ไข ถ้ามันแก้ไขแล้ว ผลมันออกมาไม่ดีจริงๆ คุณก็จะได้เลิก อย่าทำต่อไปเลย ทำมาขนาดนี้แล้ว ผลมันไม่ดี มันยิ่งเลว ยิ่งต่ำ ยิ่งเสีย ยิ่งทุกข์ ยิ่งลำบาก ยิ่งไม่เข้าท่า คุณก็จะได้ หยุดไปซะ บอก ถ้าขืนทำต่อไป นี่บรรลัยแน่

แต่ถ้าทำแล้ว ก็เออ ได้ ขนาดได้น้อยแค่นี้ ยังดีขนาดนี้ ได้มากกว่านี้ ทำไปอีก เออ ดีมากจริงๆ ยิ่งทำไป ยิ่งดีมาก ยิ่งดีมาก คุณก็ยิ่งมั่นใจ คุณก็ยิ่งจะมีกำลังใจ ยิ่งจะยินดีมาก นี่ตอนนี้ เรากำลังเร่งเรื่อง Appriciate ยิ่งจะเกิด จิตชื่นชม ยินดี ภาคภูมิ Appricate ความยินดี แหม มันชื่นใจ มันเบิกบาน ร่าเริง กับสิ่งที่ดี นี่สัมผัส แรกก็ดี หรือว่าได้ไปมากๆ ก็ยิ่ง Appriciate มากขึ้น เห็นในคุณค่า เรียกว่า Appriciation เห็นเป็นคุณค่า ของมันมากขึ้นๆ มากขึ้น คุณก็จะทำได้ตลอดไป นี่ เป็นคำตอบ

ถาม : ในเมื่อพระพุทธเจ้าเปรียบเทียบความจริง ที่พระองค์สอน เหมือนกับ ใบไม้เพียงกำมือเดียว มันเป็นไปได้ หรือไม่ว่า จุดมุ่งหมายท้ายสุด ของมนุษยชาติ อาจจะไม่ใช่ปรินิพพาน แต่อาจมีอะไร ที่ลึกซึ้งกว่านั้น

ตอบ : ไม่อาจหรอก ศึกษาดีๆชัดเลยนะ ปรินิพพาน นั่นแหละท้ายสุด ไม่มีอะไรเหนือปรินิพพานหรอก ใบไม้กำมือเดียว หมายความว่า ประโยชน์ให้แก่ตนให้สำเร็จ คือเรียนรู้กิเลสของเรา ในตัวเรานี่ เป็นใบไม้กำมือเดียว เป็นประโยชน์ตน พระพุทธเจ้าท่านบอกว่า ท่านสอนใบไม้กำมือเดียว หมายความว่า ท่านสอนให้คนรู้จัก กิเลสของตน แล้วรู้วิธีละกิเลสของตน ให้หมด เท่านั้น จบ

ทีนี้ พระพุทธเจ้า นั่นเป็นพระโพธิสัตว์ มหาโพธิสัตว์ ให้ช่วยตนเอง ให้พ้นทุกข์ หรือกิเลสหมดได้แล้ว ท่านก็มาเรียนรู้ กิเลสในโลกอีก เป็นใบไม้ทั้งป่า โอ๊ เยอะแยะ ใบไม้ทั้งต้นอีก กิเลสของคนนี่ สารพัด พระโพธิสัตว์ นี่จะมาช่วย รื้อขนสัตว์ หรือมาช่วยผู้อื่น จะเพ่งประโยชน์ผู้อื่นเป็นหลัก เพราะฉะนั้น เมื่อเป็นพระโพธิสัตว์ ก็คือ เรียนรู้ ใบไม้ทั้งต้น หรือใบไม้ทั้งป่า เพิ่มขึ้น

ส่วนเป้าหมายแรกก็คือ เรียนใบไม้กำมือเดียวก่อน แต่มันมีซ้อนอยู่ ในขณะที่เราเรียน ใบไม้กำมือเดียว คือ ทำประโยชน์ตนนี่ ก็คือ เราทำประโยชน์ท่านซ้อนอยู่ในตัว แต่ท่านก็ให้มองประโยชน์ตน คือการละกิเลสของตัวเอง ความเห็นแก่ตัว ของตัวเอง ออกให้มาก ในขณะที่เราเห็นแก่ตัว นั่นน่ะ ก็ทำร้ายสังคม ในขณะที่เราลดความเห็นแก่ตัว เราเองเราก็กำลังช่วยสังคม มันเป็นอันเดียวกัน ประโยชน์ตน กับประโยชน์ท่านนี่ เป็นอันเดียวกันตรงไหน ถ้าเราสละ เราให้ ขณะที่เราให้นี่ เราก็ได้ เราลดความเห็นแก่ตัว เราให้ใช่ไหม เราก็ได้ เราเห็นว่าการให้นี่ เป็นประโยชน์ เป็นคุณค่า เป็นบุญ ของเรา ได้นะ เราได้ เราได้ให้ เราก็ให้ ในขณะที่เราให้ผู้อื่นนี่ ผู้อื่นก็ได้ใช่ไหม มันเป็นกรรมกิริยา เหมือนเหรียญ ๒ หน้า มันอันเดียวกัน มันมีผู้รับ กับผู้ให้ เราได้ให้ เราก็ได้แล้ว ที่เราได้ให้ ได้สละ คนรับ เขาก็ได้แล้ว ที่เขาได้รับ เพราะฉะนั้น คุณสละความโลภ คุณสละความเห็นแก่ตัว คุณสละออก เขาก็ได้ทันที คุณก็ได้ทันที มันเป็นกรรม อันเดียวกัน แต่ ๒ ลักษณะ

แต่พระพุทธเจ้า ท่านให้เน้นใบไม้กำมือเดียว คือให้เน้นที่เรา จะต้องมองที่ความสละ ของเราเป็นหลัก แล้วผลพลอยได้ มันก็คือ อันเดียวกัน เราก็จะได้เป็นผลพลอยได้ ตามอันเดียวกัน เห็นไหม มันมีเท่านั้น

ทีนี้ เมื่อผู้ใด หมดกิเลสแล้ว หรือว่ากิเลสน้อยลงๆ ก็มองเห็นประโยชน์ผู้อื่น มองศึกษากิเลสผู้อื่น เพิ่มขึ้น ช่วยกิเลส ผู้อื่นเพิ่มขึ้น เราก็จะเกิดความเจริญ ความรอบรู้ในโลกวิทู หรือ พหูสูต รู้รอบ รู้ลึก รู้ซึ้งกับผู้อื่นเพิ่มขึ้น ไม่ได้หมายความว่า เราจะเพ่งแต่ตนเอง เอาแต่กิเลสตนเองออกอย่างเดียว โดยที่ไม่รู้ว่า ผู้อื่นเป็นอย่างไร ถ้าอย่างนั้น แคบ อัตตาจะมาก มานะจะมาก เรามองผู้อื่นด้วย รับรู้ความรู้ หรือรับรู้กิเลสของผู้อื่นด้วย แต่เราเห็นว่า เราจะช่วยผู้อื่น หรือว่าทำให้กิเลสผู้อื่นลดนั้นน่ะ เป็นหน้าที่รอง หน้าที่หลักก็คือ ยังไงก็เอากิเลสของเรา ออกก่อน มาพร้อมกัน เราก็เอาของเราก่อน แต่ถ้าเผื่อว่าเราเอง เราก็แข็งแรงพอสมควร คนอื่นมีกิเลสมาขอให้เราช่วยบ้าง เออ เราก็ช่วยเขาบ้าง เราก็แข็งแรง เหมือนเป็นพี่ แล้วช่วยเขาได้บ้าง ไม่ใช่ว่า จะมองแต่ว่า จะมีแต่งานไหน จะเอาแต่ กิเลสของตัวเอง ออกอย่างเดียว กิเลสของคนอื่นชั่งหัวมัน อย่างนี้แคบ ไม่มีปรโตโฆษะ แล้วไม่มี ความรู้ซึ้ง เพราะว่า กิเลสของคนอื่น บางที ก็คือกิเลสเรา ที่เราเองเรายังไม่รู้ เรายังไม่เห็นของเรา แต่ของคนอื่น นั่นล่ะ จะเป็นตัวอย่าง โอ้โห นี่ เราไม่ได้เรียนรู้เลยนะนี่ ลักษณะกิเลสอันนี้ของคนนี้ ที่แท้ของเราเพิ่งโผล่ พึ่งโผล่มาตอนหลัง พึ่งโผล่ตอนนี้ เห็นแล้ว โอ๊ ถ้าเราไม่เรียนจากคนนี้นะ เราก็จะ ไม่มีไหวพริบ จะไม่รู้ทัน ไม่รู้ตัวเลยว่า กิเลสของเรา มันยังหมกอยู่ในนี้ มันยังไม่เกิด มันยังไม่โผล่ มันยังไม่แสดงตัว แท้จริงแล้วนี่ เราได้จาก ที่ได้จากผู้อื่น เราจึงเข้าใจ แล้ว ก็มีญาณปัญญา พอเห็น ของตัวเองโผล่ หรือว่าไม่โผล่ เราก็ตรวจสอบของตัวเองได้ ปัดโถ ผีตัวนี้อยู่ที่เรา ถ้าไม่เช่นนั้น เราจะช้า ช้า เราจะโง่ เพราะฉะนั้น เราจะปฏิเสธไม่เรียนรู้ของผู้อื่นอีกด้วยบ้างก็ไม่ดี แต่ต้องเรียนด้วย เป็นหน้าที่รอง เท่านั้น

นี่คือการเรียนใบไม้กำมือเดียว อาตมาอธิบายยากหน่อย เพราะว่า มันลึกซึ้ง คนเข้าใจยาก ใบไม้ กำมือเดียว เพราะฉะนั้น พวกสายฤาษีนี่ ไม่เอาภาระคนอื่นเลย ปิดประตูเลย พวกนี้ไม่มีทางปรินิพพาน ไม่มีทางสำเร็จ เพราะ ว่ามันลึกซึ้ง กิเลสต่างๆ นานา มันซับซ้อน เพราะฉะนั้น กิเลสของเราที่ยังไม่โผล่ ของคนอื่น เขาโผล่ก่อน แต่ที่แท้ ของเราก็มี แต่มันยังไม่ถึงเวลาวาระที่จะแสดงตัว ถ้าเราไม่รับรู้ ของคนอื่นด้วย เราก็ไม่มีความรู้อันนั้น เราก็ไม่รู้ตัว ของเรา ได้ง่าย เรารู้ตัวของเราได้ช้าจริงๆน่ะ เราก็ต้องอย่าไปปฏิเสธผู้อื่น พระพุทธเจ้าท่านสอน ให้มีปรโตโฆษะ และ โยนิโสมนสิการให้แยบคาย ให้ถ่องแท้ ตรวจอ่านให้มากๆ

ถาม : ถ้าหากมองดูประวัติศาสตร์ของมนุษย์ เป็นเหมือนชั่วอายุของคนๆ เดียว มนุษย์แต่ละยุค แต่ละสมัย ไม่เหมือนเดิม ทางสติปัญญา และจิตวิญญาณมนุษย์ พัฒนาขึ้น มีความสามารถ ที่จะเข้าใจอะไร ได้มากขึ้น ตามลำดับ และศาสนาที่เกิดขึ้น แต่ละยุค แต่ละสมัย ก็เกิดขึ้นตาม ความเหมาะสม ทางภาวะปัญญา จิตวิญญาณ และ สภาพการดำรงชีวิต ของมนุษย์แต่ละยุค แต่ละท้องที่ อยากทราบว่า ทำไม เป็นไปได้หรือไม่ ที่มนุษย์ ในภาวะปัจจุบัน ต้องการความจริงอันใหม่ ในระดับที่สูงขึ้นไป

ตอบ : คุณเข้าใจผิดแล้ว มนุษย์ยุคใหม่อันใหม่นี้ ไม่ใช่สูงขึ้นไป ขอยืนยัน นั่งยันน่ะ เลวร้ายลง ไม่ใช่... คุณบอกว่า มีปัญญา ปัญญาเฉโกมากขึ้น ถ้าคุณเข้าใจที่อาตมาพูดมาแล้วว่า ปัญญามี ๒ ลักษณะ ไม่ใช่ปัญญาความฉลาด เพราะปัญญา มันเป็นศัพท์ภาษาบาลีเขาเรียกอยู่แล้ว บาลีเขามีทั้งเฉโก และปัญญา เขาหมายถึง ความฉลาดทั้งคู่ แต่ว่าเฉโก คือฉลาดชนิดหนึ่ง ปัญญาฉลาดอีกชนิดหนึ่ง แต่ทีนี้ คนเราไม่ยอม อย่างที่อาตมาอธิบายให้ฟัง เศรษฐี กับกระฎุมพี

กระฎุมพี หมายถึง คนร่ำรวย เศรษฐีหมายถึงคนจน แต่เป็นผู้ประเสริฐ เศรษฐี แปลว่า ผู้ประเสริฐ คือเศรษฐีนี่ ที่จริงนี่นะ รวยก็ได้ แต่เขาไม่สะสม ไม่กอบโกย เขาก็สละออก เขาก็ต้องไม่รวย เขาก็ไม่มีมาก จะรวยก็ได้เศรษฐีนี่ แต่เขาไม่ยอมรวย เขาไม่สะสม เขามักน้อย สันโดษ เขาก็สละออก แต่เขาก็ขยันหมั่นเพียร มีพฤติกรรม ถ้าจะร่ำรวย ไม่ขี้โกงด้วย

ส่วนกระฎุมพีนั้นน่ะ ร่ำรวยได้เพราะขี้โกง ถึงแม้ไม่ขี้โกง ร่ำรวยก็คือ ผู้ไม่ให้ผู้อื่น ผู้ไม่สละออก มันก็รวยได้ เสร็จแล้ว คนร่ำรวยจะเรียกว่า กระฎุมพี ก็ไม่อยากให้คนเรียก ต้องให้เรียกว่า เศรษฐี ฉันเดียวกันแหละ ฉลาด แต่ฉลาดโกง กับฉลาด ซื่อสัตย์ เสียสละ ปัญญาจะเรียกว่า แหม คุณนี่ มีฉลาดจังเลย โอ้โห เฉโก มากจังเลย ใครเขาจะยอม แบบเดียวกันแหละ ก็ต้องก็เลยไม่ยอม ไม่ต้องการ ให้คำ คำที่เสียๆ มาเรียกตัวเอง ก็เลยกลายเป็นเอียงๆ เข้าไป อย่างนั้นเองน่ะ เพราะฉะนั้น ทุกวันนี้นี่ เฉโกมาก ฉลาดมากขึ้น อย่างคุณบอกว่า ฉลาดมากขึ้นอะไรๆ มากขึ้น มีปัญญามากขึ้น ไม่จริงหรอก มีปัญญาน้อยลง

ปัญญา คือความฉลาดอีกชนิดหนึ่ง ที่ต้องรู้รู้โลกุตระ รู้สัจธรรม รู้อะไรลึกซึ้งขึ้นมา อย่างที่ อาตมากำลังกล่าวนี่ ไม่รู้นะ ไม่รู้บาป ไม่รู้บุญ ไม่รู้คุณค่า ไม่รู้ความจริงที่ดียิ่งกว่า เพราะฉะนั้น คนเราทุกวันนี้ จึงไม่ได้หมายความว่า เราจะเอาใน สิ่งที่คิดว่า คุณว่าคุณฉลาด แล้วก็คุณจะเอา อย่างฉลาด อย่างที่ว่าไม่ใช่ เราจะต้องเอาสิ่งที่ มันเป็น ความฉลาดที่ดี จะตัดสินหรือว่า จะเอาอะไรนี่ จะต้องยืนยันอยู่กับศาสนา อยู่กับปรินิพพาน อยู่กับนิพพาน อยู่กับทิศทาง ที่ประเสริฐอันเดียว ยุคเมื่อ ๕ พันปี หมื่นปีที่แล้ว ถ้าถามว่า เอาเปรียบกับเสียสละ อันไหนถูกต้อง อันไหนดี เสียสละกับเอาเปรียบ อันไหนดี ๕ พันปี ๕ หมื่นปี ที่แล้ว กับเดี๋ยวนี้ มันก็อันเดียวกัน แต่ความฉลาดเฉโก ของคนทุกวันนี้ โน้มไปในทางเอาเปรียบ

เสียสละ ซื่อสัตย์ คนซื่อสัตย์ สมัยนี้ไม่ต้องเอามาก สมัยโบราณๆเราเดาๆ ก็ได้ เขาซื่อสัตย์กว่านี้เยอะ เดี๋ยวนี้ ฉลาดเฉโกมาก ซื่อสัตย์น้อยลงๆ คุณว่าไหม ใช่ไหม เพราะฉะนั้น สัจจะมันอยู่อันเดิม ไม่เปลี่ยนไปหรอก เป็นแต่เพียงว่า เราจะสู่สัจจะที่ลึกซึ้งสูงส่ง ได้มากน้อย แค่ไหนเท่านั้น

คนที่จะซื่อสัตย์ สุจริต หรือไป สู่จุดนิพพาน หรือสิ่งประเสริฐทุกวันนี้นั้นน่ะ มีได้ยาก แต่ถ้ามีได้สูง เท่าไหร่ เดิม เข้าใจแล้วนะ คำตอบนี้ อันเดิม เพราะฉะนั้น ทิศทางประเสริฐ หรือทิศทางนิพพาน ทิศทางวิเศษของมนุษยชาติ อันเดียวกัน กี่ปาง กี่ชาติก็ตาม แต่ เฉโกมันมากขึ้น มันเฉลียวฉลาด ที่มันซับซ้อน พรางลวงมากขึ้น

ถาม : ทำไมศาสนา หรือพระสงฆ์ ที่ข้าพเจ้าเคยเห็นมา บ้านของข้าพเจ้า มีเจ้าอาวาสรูปหนึ่ง แล้วมีพระ ประมาณ ๒-๓ องค์ และมีเณร ประมาณหลายคน (ผู้ฟังหัวเราะ) แต่ทำไม เจ้าอาวาสรูปนั้น เวลาใครมาขอเบอร์ ก็จะบอกให้ และ ที่ข้าพเจ้าเห็น เจ้าอาวาสองค์นี้ เล่นสนุกเกอร์ด้วย (ผู้ฟังร้อง โอ้...หัวเราะ) ข้าพเจ้าเห็นแล้วไม่พอใจมาก แต่เวลา เข้าธรรมะก็เข้า ข้าพเจ้าอยากรู้ และสงสัย มานานแล้ว ข้าพเจ้าอยากให้สมณะโพธิรักษ์ ช่วยชี้แจงแนะนำด้วย

ตอบ : ที่ไปเห็นอะไรมาอย่างนั้นน่ะ มันมีความจริงน่ะ มันเป็นความจริงอย่างนี้แหละ แล้วจะให้อาตมา ไปอยู่ด้วย ยังไง เป็นพระสนุกเกอร์ แหม สนุกเกอร์เสียด้วย เขามาขอหวย ก็ให้หวย เขามาขอเบอร์ ก็ให้เบอร์เขา มันนอกรีต นอกรีตเดี๋ยวนี้ ไม่ใช่น้อยนะ มีเยอะ แต่เถรสมาคมไม่ยอมรับ ไอ้ที่ ถามมานี่ ตรงๆ กับคนอื่นๆ เห็นมาไหม คุณเคย เห็นกันบ้างไหม อาตมาว่า เกือบทั้งนั้น มีอยู่ทุกซอกทุกมุม ของเมืองไทย ที่ศาสนาพุทธ ที่เป็นวัดเป็นวา อย่างนั้น ไม่ใช่ว่า เราไปแกล้งใส่ความใส่ไคล้อะไร มันเป็นความจริง อาตมาถึงเห็น ว่ามันไปใหญ่แล้ว ศาสนา พระพุทธเจ้า นี่มันเสื่อม ขนาดคุณ ไม่ได้ศึกษาศาสนาอะไร มากมาย คุณก็ยังพอมองเห็นว่า มันไม่ชอบมา พากลนะ มันผิดแล้วละ อย่างนี้ ใช่ไหม เห็นว่ามันไม่ถูกเรื่องแล้วล่ะ สามัญสำนึกเราก็ตรวจได้ มันลึกซึ้งกว่านั้น อีกด้วยซ้ำ ลึกซึ้งกว่านั้นอีก แม้แต่ผู้ใหญ่ ขนาดเป็นเจ้าคุณ เป็นสมเด็จ อะไรๆ ผิดพลาดอีกเยอะแยะ ที่อาตมา มองเห็น ลึกซึ้งกว่าที่คุณมอง ไอ้นี่สามัญสำนึก ก็มีอยู่อย่างนี้อยู่ดื่นไป แล้วจะเอาอะไรกับศาสนาละ มันแย่

เราถึงเห็นว่า อาตมาก็มีชีวิต แต่เกิดมานี่จะอยู่กันอีกกี่ปี อาตมาถึงว่า ถ้าอาตมาอยู่กับ เถรสมาคมต่อไป อาตมา ทำไม่ได้ พูดไม่ได้นะ เขาปิดปาก เขาห้าม เขามีอำนาจด้วย เขาปกครอง อาตมาทำไม่ได้ จึงขอแยกออกมา แล้วอาตมา ก็เริ่มต้นมาทำงานมา นี่ ๒๐ กว่าปี ทำงานมา ๒๐ กว่าปี ๑๐ กว่าปี เกือบ ถ้ามัน ๓๘ มันก็ ๒๐ ปีใช่ไหม นี่ก็ ๑๐ กว่าปี ลาออกมา แล้วก็จะมาทำ ถึงเกิดมาได้ มาอะไร ต่ออะไร ได้สมณะ ได้นักบวช หรือว่าได้นักปฏิบัติ ได้อะไร ต่ออะไร เข้าใจศาสนาเพิ่มเติมขึ้นน่ะ คุณสงสัยมานานแล้ว อยากให้อาตมาชี้แจง อาตมาชี้แจงไป ก็เท่ากับ ไปถล่ม ทลาย ไปถล่มทลาย ฝั่งโน้น ที่เขาเป็นอยู่ อาตมาก็ไม่อยากพูดมาก เพราะว่า มันมีจุดบกพร่อง แม้แต่สามัญสำนึก คุณมองนี่ ก็ผิดแน่นอน ไม่ถูกต้องหรอก แล้วมีความไม่ถูกต้องมากกว่านั้น อาตมาก็ขอโอกาสว่า ขอโอกาสที่จะ ไม่พูดนะ ไม่ใช่ขอโอกาสจะพูด ขอโอกาสว่า อย่าเพิ่งให้อาตมาพูดเลย ถ้าพูดก็ไป ถล่มทลายกัน เพิ่มเติมขึ้นไปอีก มีสิ่งที่ผิดพลาดมากกว่านี้ เท่าที่คุณมองนี่ ก็ใช่ อย่างที่คุณว่า อันนี้ ก็ขอ เกือบจะไม่ได้ตอบคุณว่า ขอให้ช่วยชี้แจง แนะนำ ก็อย่าไปส่งเสริม ชี้แจงให้ก็คือ อย่าไปส่งเสริม แล้วก็บอกกล่าวกัน สำหรับผู้ที่ควรบอก ระวังนะ เขาจะเอา กระบองตีกบาลคุณก็แล้วกัน ไปบอก ไปว่าเขาผิด ไปว่าเขาเสีย ประเดี๋ยว หลวงพ่อ ก็... กระบองซัดคุณเข้าให้ ระวังก็แล้วกัน เพราะว่า เขาบอกยาก ไปบอกพระบอกเจ้า บอกอย่างโน้นอย่างนี้ บอกไม่ได้หรอก เขาถือตัวว่า เขาเป็นพระ เป็นเจ้า เราต้องไหว้เขา เขารู้อะไรอย่างนี้ แล้วมันไปไม่รอด แล้วมันไปไม่รอด จริงน่ะ

ถาม : จิต และวิญญาณ นี้แตกต่างกันอย่างไร

ตอบ : จิตกับวิญญาณ เป็นคำ Synonym เป็นคำคล้าย เป็นคำแทนกันได้ ไม่ได้ต่างอะไรกันหรอก จะใช้ภาษาว่า จิต จะใช้ภาษาว่า วิญญาณ จะใช้ภาษาว่า มโน ก็ลักษณะคล้ายกัน เหมือนกัน แทนกันได้ รู้ไว้แค่นี้ก่อนก็แล้วกัน ถ้าจะบอกว่า ลึกซึ้งไปนั้นน่ะ มีนัยที่ลึกจริงๆแล้ว มันละเอียด จนกระทั่ง อธิบายไม่ได้ จิตจะอธิบายละเอียดไปอย่างไร จิตเขาแตกออกเป็นเจตสิก มีรากศัพท์ รากภาษา มาจากตัววิญญาณ มีรากศัพท์รากภาษามาจาก ญา ญา ญ.หญิงนี่ สระอา ญะ ญา มาเป็นญาณะ หรือวิญญาณ มันก็ไปแตกอย่าเพิ่งอธิบายเลย แต่ในขณะนี้ ก็เอา เข้าใจว่า มันเหมือนๆกัน คล้ายๆกันได้ ก็เอาอันนั้นไปก่อนก็แล้วกัน

ถาม : ทำไมศาสนาพุทธสอนว่า อย่าฆ่าสัตว์ตัดชีวิต แต่ทำไมศาสนาอื่น ฆ่าสัตว์ เช่น วัว ไก่ แต่ศาสนานี้ เขาก็ไม่สอนกันหรือ อยากได้ข้อคิด

ตอบ : เรื่องฆ่าสัตว์นี่ ลึกซึ้ง ศาสนาพุทธยืนยันศีลข้อที่ ๑ อย่าฆ่าสัตว์ หรือห้ามฆ่าสัตว์ พยายามทำตน อย่าฆ่าสัตว์ จริงๆเลย แต่ศาสนาอื่น อย่างที่คุณยกตัวอย่างนั่น เขาก็เข้าใจ ... เข้าใจว่า คนเราต้อง กินเนื้อสัตว์อยู่ เอาเนื้อสัตว์ เป็นอาหาร เพราะฉะนั้น เขาก็เลยอนุญาต ที่จริงในศาสนา...เอง เขาก็ ไม่ได้ฆ่าสัตว์นะ เขามีข้อยกเว้นว่า จะฆ่าสัตว์ได้ ก็เฉพาะที่เอามาเป็นอาหารเท่านั้น และการฆ่าสัตว์ ที่จะเอามาเป็นอาหาร ต้องเป็นพิธีการ มีคนที่ มีความรู้ เพราะฉะนั้น ฆ่าสัตว์ของเขา จะต้องมีวิธี ถ้าทำไม่ถูกวิธี เขาห้ามกิน ใครเคยศึกษามาบ้าง เขาห้ามกินนะ ต้องมีวิธี ถูกวิธี แล้วเขาถึงจะกินได้ เขาเข้าใจเลย เขาเชื่อว่าสัตว์นี่ เป็นอาหารของคน แต่เขาก็ไม่ส่งเสริม ให้ฆ่าสัตว์ เพราะฉะนั้น จะฆ่า เฉพาะเอามากินเท่านั้น ฆ่าอย่างอื่น ไม่ให้ทำ ... ซึ่งลึกๆ ก็ถูกอยู่เหมือนกัน ว่าเขาก็ไม่ได้ส่งเสริม ให้ฆ่าสัตว์ แต่เขาเข้าใจ เข้าใจว่า คนมันต้องกินสัตว์เป็นอาหารน่ะ เลยมีมาตรการเอาไว้ว่า ฆ่าสัตว์ เพื่อเอามากินได้ แต่ก็ยังซ้อนลึกอยู่ว่า เขาก็ไม่เห็นด้วย ในการฆ่าสัตว์เหมือนกัน แต่เขาจำนน เพราะว่า มันเป็นอาหาร ก็มีอยู่ เท่านี้เองน่ะ

ศาสนาคริสต์เอง มีนิกาย Seventh day adventish ไม่กินเนื้อสัตว์ มังสวิรัติเหมือนกัน ศาสนาคริสต์นี่ แล้วเขาก็เอา คัมภีร์เลย มาบอกเมื่อวานนี้ ก็ดูนี่นะ หนังน่ะ Seventh day quote คัมภีร์เห็นไหม ที่เอาตัวหนังสือ มาทาสีเหลือง ในหนัง ถ้าดูในวิดีโอ บอกว่า พระเยซู หรือพระเจ้าบอกเอาไว้ว่า เราประทานพืชผัก นี้ เป็นอาหารของเธอ ไม่ใช่สัตว์ เขาก็เลยบอกว่า เขาลึก เขาละเอียดน่ะ พระเยซูนี่ สอนแค่ ๓ ปี ก็ไปแล้ว เพราะฉะนั้น คำสอนยังไม่ละเอียด ยังไม่มาก เขาพวกนี้เขาละเอียด เขาเลยบอกว่า นี่ศาสนาคริสต์ ท่านก็ไม่ได้ระบุให้กินเนื้อสัตว์นะ ท่านให้กินพืชผัก พวก Seventh day adventish เห็นจุดนี้สำคัญ เขาก็เลยไปปฏิบัติ ส่วนคนไม่รู้ เขากินเนื้อสัตว์ ศาสนาคริสต์ ส่วนใหญ่ ก็เลยกินเนื้อสัตว์ เพราะไม่ละเอียด แต่คนละเอียด เขาอย่าง Seventh day adventhih เขาก็เลย ไม่กินเนื้อสัตว์ เพราะเขา Quote คัมภีร์มา บอกเลยนี่ พระเจ้าตรัสไว้ อย่างนี้ พระเยซูสอนไว้ว่า พระเจ้าสั่งอย่างนี้ แล้วได้สร้างโลกขึ้นมา แล้วเป็นอย่างนี้ นี่ก็เป็นความลึกซึ้งของภูมิปัญญา

สรุปแล้วก็คือ การไม่ฆ่าสัตว์นั้นน่ะ ศาสนาไหน เขาก็เห็นดีเห็นชอบทั้งนั้นแหละ อยู่ที่ว่า ใครจะเอาจริง เอาจัง แล้วก็พยายาม ฝึกปรือให้ตนเอง ไม่พยายามสร้างจิตวิญญาณให้ไปเที่ยวได้โหดร้าย ไปฆ่ากัน ทำไมล่ะสัตว์ ไม่ฆ่า สัตว์ก็ตายเอง ของมันทั้งนั้นแหละ แล้วเราก็จะต้องมีใจเมตตาเกื้อกูลกัน อยู่กัน อย่างต่างคนต่างอยู่ หรือว่าอยู่กัน อย่างพอสัมพันธ์กันได้ ในส่วนที่สัมพันธ์กันได้ อย่างที่นี่ สัตว์บางอย่าง เราก็ เออ มีวิธีการบอกว่า ไปอยู่ที่อื่นเถอะ อย่างงูเห่า อย่างนี้ อย่าอยู่เลยแถวนี้นะ เราก็มีวิธีการเข้าใจงูเห่าว่า เขาจะไม่อยู่ในสถานที่นี้ อย่างไรเขาชอบมาอยู่ เราก็อย่าสร้าง สิ่งที่เขา ชอบขึ้น มันก็ไม่มา เราก็ต้องเข้าใจสัญชาตญาณอันนี้ของสัตว์ ชนิดนี้ ตรงนี้ ทำยังไง เราจะไม่ให้ แมงสาบ มันมาอยู่ เราก็ต้องเข้าใจสัญชาตญาณแมงสาบ เออ ถ้าทำอย่างนี้แล้วนี่ แมงสาบ มันมาแน่ เราก็ได้แมงสาบมา แต่ถ้าเราบอกว่า เออ ทำอย่างนี้ นะ สถานที่อย่างนี้ แมงสาบจะไม่มา เราก็พยายามทำ

ทีนี้เราก็พยายามทำ ไม่ให้แมลงวันมา น้อยลงนะ แต่ก็บอกแล้วว่า สิ่งแวดล้อมที่นี่มันมีมาก แมลงวันนี่ ที่เขาทำ ให้เกิดรอบล้อม เราก็ไปทำไม่ไหว ไปทำที่อื่นๆ ไม่ไหว ในสถานที่เรานี่ พยายามที่จะไม่ให้ มันเป็นแหล่ง ที่จะเกิดแมลงวัน หรือแมลงวันจะมา แต่แมลงวันนี่ มันมาง่าย อะไรมันก็ตอม ผลไม้ มันก็ยังตอมเลย เราก็กินผลไม้ ไม่ให้มันมา ก็ยากใช่ไหม แมลงวันนี่ ... เราก็พยายามหาวิธี แต่ว่า มันได้เท่านี้ อะไรก็เหมือนกัน เราก็พยายาม ทั้งนั้นแหละ โดยไม่ต้องฆ่ากัน ดีที่สุด

ถาม : เราควรที่จะให้กำลังใจอย่างไร สำหรับผู้ที่อยากจะเลิกสิ่งเสพย์ติด ให้เขาเลิก และมีหลัก ในการต่อสู้ กับชีวิต ของตนเองต่อไป

ตอบ : คนที่เสพย์ติดนะ สำหรับผู้จะเลิกสิ่งที่เสพย์ติด ให้เขาเลิกนี่ ก็ต้องเห็นความจริงล่ะนะ เห็นความจริง จริงๆ มันถึงจะมีกำลังใจ เห็นความจริงว่า เราเป็นทาส เราเป็นผู้ที่ยังอ่อนแอ ไปติดไอ้นี่ ติดไอ้นี่ ติดไอ้นี่ ติดไอ้นั่น ติดอยู่ ติดอะไรก็แล้วแต่ ติดสิ่งเสพย์ติดนี่ มันเป็นของหยาบเสียด้วยซ้ำไป เราก็รู้ไม่ได้ว่า ทำไมเราอ่อนแอถึงขนาด ติดสิ่งเสพย์ติด เรายิ่งมาติดในลาภ ติดในยศ นี่ มันยังสูงกว่า สิ่งเสพย์ติดเลย ใช่ไหม เราติดในโลกียสุข บางอย่าง อย่างนั้น ยังสูงกว่า ละเอียดขึ้นมาตามลำดับ ไอ้นี่สิ่งเสพย์ติดทางโลกเขาก็รู้ กฎหมายก็ออกด้วยซ้ำ บางสิ่งบางอย่าง ถึงแม้กฎหมายไม่ออก อย่าง เหล้า บุหรี่ อย่างนี้ กฎหมายไม่ห้ามกิน ไม่ห้ามสูบหรอกนะ แต่เราก็รู้ว่า สิ่งเสพย์ติด แล้วมันก็รู้ อยู่แล้วว่า มันก็ โถ หยาบกว่าไปติดในความดีงามหลายๆอย่าง เราติดความดี เราติดความขยัน ก็ยังดีน่ะ เราติดในการรังสรรค์ ติดในการที่จะหาเงินหาทอง ได้ลาภ ได้ยศ ติดในการที่จะพยายาม ทำงาน เพื่อที่จะให้มีลาภ มากขึ้น ได้ยศสูงขึ้น ก็ยังดีกว่าอะไร อย่างนี้เป็นต้น เพราะฉะนั้น เราก็ต้อง เห็นความจริงให้ได้เลยว่า เราไปติด ในสิ่งอย่างนี้ นี่ เราอ่อนแอมากนะ

ต้องรู้ตัวเองว่า ทำไม เราอ่อนแอขนาดนี้ เลิกอย่างนี้ไม่ได้ สู้อย่างนี้ไม่ได้ แล้วจะเอากำลังใจ หรือ เอาแรงใจ หรือ เอาความแข็งแรง ของตัวเอง ไปทำอะไรได้อีก แค่เรื่องหยาบๆ นี่ เราต้องมอง ความหยาบ ความต่ำ เอ๊ คนนั้น เขาก็สูงกว่าเรานะ เขาเลิกได้ เขาหยุดได้ ทำไมเขาไม่ติด เราก็ต้อง พยายามเลิกให้ได้บ้าง ของคนอื่น เขาก็ยังแข็งแรง มองไปสิ คนอื่นเขา แข็งแรงกว่าเรา เขาไม่ติด เป็นผู้ชาย ไม่ติดบุหรี่ ผู้หญิงก็ไม่ติดเลย มองไปใน แง่พวกนี้ให้ชัดๆ เราทำไมต้อง อ่อนแอกว่าผู้หญิง ผู้หญิงเขาไม่ติด ที่จริงมันติดนี่ มันติดได้ ๒ อย่าง ไปหลง ไปหลง โมหะ ไปหลงผิด ไปหลงเอาว่า น่าได้ น่ามี เป็น ผู้หญิงไม่มีหมู่ฝูงไม่มี ความไม่มีเพื่อน ไม่มีตัวแนะนำ ต้องจูงนำ มันก็เลยบอกว่า ผู้หญิง เขาไม่ค่อยสูบบุหรี่ ก็เลยไม่ แต่เดี๋ยวนี้ มีเยอะขึ้นๆ เยอะขึ้น อีกหน่อย ก็สูบกันทั้งบ้านทั้งเมือง อีกหน่อย ผู้ชาย อาจจะสู้ไม่ได้เลย ผู้หญิงติดมาก ผู้ชาย เลิกมาได้ก็ได้ ถ้าไปนิยมกันแบบนั้น ก็นำพากัน มันก็ไปได้เหมือนกันน่ะ เพราะฉะนั้น เปรียบเทียบแล้ว จะเกิดกำลังใจ ตรวจสอบความจริงให้ชัดเด่นว่า อะไร ควรได้ ไม่ควรได้ แล้วมันก็จะสมบูรณ์น่ะ แล้วเราจะมีกำลังใจ ในการประพฤติ ปฏิบัติ เลิกละออกมา ต้องดูตัวอย่าง คนดีเขาแข็งแรง คนที่เขาทำได้ เขามีความสุขอย่างไร เขามีความเจริญ อย่างไร ถ้าเขาเลิก เขาละ เขาลดน่ะ เขาไม่ติดไม่ยึด กำลังใจเรา จะมาด้วยอย่างนั้น อยู่กับผู้ที่หลุดพ้น อยู่กับผู้ที่ประเสริฐ อยู่กับผู้ที่แข็งแรง อยู่กับผู้ที่เป็นไปได้ เป็นทิศทางที่ดีแล้ว เรายังไม่ดี เราก็จะต้อง ไปคบหาหมู่ฝูง หรือผู้ที่เขาหลุดพ้นสิ่งอย่างนั้นแล้ว เขาจะได้ช่วยเรา อธิบายด้วย เขาจะได้ช่วย นำพาเราด้วย แล้วเราก็จะได้เลื่อมใส เราจะได้ศรัทธา เราจะได้เห็นดี สิ่งนั้นก็เป็น ส่วนเสริม กำลังใจ ให้เราด้วย

ถาม : ถ้ามองในแง่ที่ว่า กิเลสคือความปรารถนาที่ไม่ถูกต้อง คือมีอยู่ ๒ ชนิด ๑.ความปรารถนา ที่ผิดหลักการ ๒.ความปรารถนา ที่ไม่ผิดหลักการ แต่ผิดเวลาที่เหมาะสม ถ้ามองในแง่นี้ ศีลเข้าช่วย ความปรารถนา แบบไหน

ตอบ : อ้อ! ช่างคิดนะ ช่างคิด ช่างถามนะ มองกิเลสเป็น ๒ นัยน่ะ กิเลสเป็น ๒ นัย ความปรารถนา ที่ไม่ถูกต้อง ว่าอย่างนั้นนะ ความปรารถนาที่ผิดหลักการ กับความปรารถนาที่ไม่ผิดหลักการ แต่ผิด เวลา ที่เหมาะสม คุณพูดอย่างนี้ ได้ ได้ทั้ง ๒ อย่าง ได้ทั้ง ๒ ข้อถูก ทีนี้ศีลนี่เข้าช่วย ความปรารถนา แบบไหน ช่วยความปรารถนา ที่คุณพูดมาเอง นั่นแหละว่า ก็ช่วยความปรารถนา ที่ไม่ผิดหลักการ และก็ความปรารถนาที่ ไม่ผิดเวลาที่เหมาะสม ตอบแล้ว ถูก คุณพูดนี่ ถูกนะ เพราะว่าพระพุทธเจ้า สอนสัตบุรุษ นี่มีทั้งองค์ประกอบที่ได้สัดส่วน องค์ประกอบ ที่ได้สัดส่วนนั้น ประกอบไปด้วยความรู้

๑. จะรู้เป้าหมายสูงสุด เรียกว่า อรรถ รู้ชั้นเชิงสิ่งแวดล้อม องค์ประกอบครบครัน เรียกว่า ธรรมะ อันหนึ่งอัตถัญญุตา อันหนึ่งธัมมัญญุตา

๓. รู้จักการประมาณ เพราะฉะนั้น การประมาณนี่แหละ ต้องรู้ทั้ง เป้าหมาย ต้องรู้ทั้งสิ่งประกอบ

๔. รู้ทั้งกาละ นี่คุณก็พูดถึงกาละที่เหมาะสมด้วย ต้องรู้กาละเวลา ยุคสมัย

๕. ต้องรู้คน ในคนส่วนรวม เรียกว่า ปริสัญญุตา และต้องรู้ตัวเองด้วยว่า เราเอง เราอยู่ในฐานะไหน จะเอาขนาดไหน จะทำขนาดไหน จะพูดขนาดไหน จะลงมือปฏิบัติประพฤติเป็นยังไง เราต้องคำนวณ ตัวเราด้วย

เพราะบางที เราเป็น ไม่ได้นะ ในที่อย่างนั้น องค์ประกอบอย่างนั้น เช่นว่า คุณต่อหน้าพระพักตร์ คุณจะทำ อย่างที่คุณบอกว่า ฉันจะทำอย่างนี้ ไม่ได้ ต้องประมาณ ทำไม่ได้นะ คุณจะทำตามใจคุณ ไม่ได้ อย่างนี้เป็นต้น หรือ อยู่ในสังคม อยู่ในที่ประชุม ประชุมอย่างนี้ คุณจะทำอย่างนี้ไม่ได้ แหม ในที่ประชุม โอ๊ย ร้อนจริงโว้ย แก้ผ้าดีกว่า ไม่ได้ ไม่ดี ไม่เหมาะสม อย่างนี้เป็นต้น อะไรอย่างนี้ ยกตัวอย่าง ง่ายๆ เพราะฉะนั้น ต้องดูตนด้วยว่า ตนเองนี่ อยู่ในอย่างนั้น จะทำได้ไหม อย่าว่าแต่ แก้ผ้าเลย บางทีนี่ เราอยู่ในหมู่นี้ เราจะไม่ผูก เน็คไท ก็ยังไม่ได้เลย

เราจะแต่งตัวคนละแบบ คนละอย่างในโอกาสอย่างนี้ กาละอย่างนี้ หมู่กลุ่มอย่างนี้ ยังไม่ได้เลย อะไรพวกนี้ นี่เป็นรายละเอียด หรือแม้แต่ได้รู้เฉพาะบุคคล เป็นสัปปุริสธรรม ๗ ประการ ที่สำคัญมาก ที่ต้องรู้ ทั้งความเหมาะสม และ แม้แต่ทฤษฎี หรือหลักการ

ถาม : มังสวิรัติ สมควรที่จะรับประทานจากทารกแรก เมื่อคลอดออกมา หรือไม่

ตอบ : แหม ตอบง่าย อันนี้สมควร สมควร (ผู้ฟังหัวเราะ) และคนเข้าใจผิดว่าเด็ก ทารกนี่ ถ้าไป รับประทานอาหาร มังสวิรัติแล้ว จะขาดอาหาร ไม่จริง ร้อยไม่จริง พันไม่จริง หมื่นไม่จริง นั่นเป็น ความเข้าใจผิด ของคนที่เข้าใจ ไม่สมบูรณ์ และปฏิบัติไม่ถูกเท่านั้นเอง เด็กก็ตาม กินมังสวิรัติมา ตั้งแต่เกิด ต่อให้อยู่ในท้อง ก็แม่ก็กิน มังสวิรัติ มาก็ได้ แล้วลูกออกมา ก็มากินมังสวิรัติต่อไป เรื่อยๆเลย ไม่เสียหาย ไม่บกพร่อง ชาวซิกข์ กินมังสวิรัติ มาเป็นพันๆ ปีแล้ว ตระกูล มาตั้งแต่ทวดของทวดๆๆ ของทวดแล้ว ไปดูสิ ชาวซิกข์ ที่ของเขา ชาวแขก มีชาวซิกข์ ที่กินมังสวิรัติ มาเป็นตระกูลๆ ไม่รู้กี่พันปี เขาไม่ใช่ว่าเด็กก็กินเนื้อก่อนนะ โตขึ้น ชาวมังสวิรัติ พวกนี้นี่นะ เด็กกินเนื้อก่อน แล้วโตค่อยกินมังสวิรัติ ไม่ใช่ เขากินมังสวิรัติมาตั้งแต่ในท้อง เกิดออกมาตั้งแต่แรกเกิด ก็กินมังสวิรัติ มาตะพึด ไม่ได้มี ความบกพร่อง ไม่มีความขาดอะไร ข้อสำคัญ ให้มีความรู้ในทางโภชนาการมั้ย แต่อย่างของซิกข์ เขามี วัฒนธรรมแล้ว อาหารเขาครบธาตุ เพราะเขากินมากันเป็น พันๆปี อาหารของเขา มีโปรตีน มีอะไร ต่ออะไรจากถั่ว เขากินถั่วสารพัด อะไร ต่างๆนานา นี่เขาก็ดู ถูก

แต่ทีนี้ ของเรานี่ มันยังไม่เป็นวัฒนธรรม ทำกับข้าว เอาถั่วมาทำกับข้าว ยังไม่ค่อยเป็นเลย เพราะฉะนั้น อย่างพวก ซิกข์ พวกแขกนี่นะ เขาเอาถั่วมาทำกับข้าวเก่ง เขาก็กินครบ เด็กก็กินได้ ผู้ใหญ่ก็กินได้ ครบธาตุที่ครบใน โภชนาการ โภชนาหาร เด็กก็กินได้ครบส่วน ไม่ขาดหรอก ขอยืนยัน ข้อสำคัญ ศึกษาให้ดี แล้วก็ให้เด็กควรกินอย่างนี้

ถาม : ถ้าระบบเรียนในสถานที่ศึกษา ในอุดมศึกษา มีข้อผิดพลาด ทุกวันนี้ จะมีหนทางใด ที่จะแก้ ให้คนเป็นคนดี มีปัญญา หรือสมควรจะเรียนทางธรรม ควบคู่ในหลักสูตรด้วย

ตอบ : คุณมีปฏิภาณ นะ คนถามมา อันหลังที่คุณว่า หรือสมควรจะเรียนทางธรรม ควบคู่ ในหลักสูตรด้วย อันนี้เป็นสิ่งที่ควร และถูกต้อง เพราะฉะนั้น พยายามไปแสวงหา ไปสุ่มเอานี่ เอานะ นักศึกษาเรียนอยู่ มหาวิทยาลัย ก็มาเรียนบ้าง ทางธรรม ที่เราไปเอามานี่ละอย่างนี้ ให้มาเรียนบ้าง ให้มารับซับซาบบ้าง ซึ่งไม่ได้ไปบังคับหรอกนะ พวกคุณก็สมัครเอง ช่วยเหลือพวกคุณด้วย ที่มานี่ เราก็ไม่ได้ มาเก็บเงิน เก็บทอง ไม่ได้มาอะไรต่ออะไร ก็คิดว่า เกื้อกูลกัน แล้วก็ไม่ได้บังคับ สมัคร ๑๖๐ มา ๖๐ กว่า ไม่รู้หล่นตกไปตรงไหนตั้ง ๑๐๐ ไปลงชื่อตั้ง ๑๖๐ นะ นี่ ๑๖๐ กว่าคน เหอ ๑๖๙ คน มานี่ไม่ถึง ๖๙ มั้ง ร้อยหนึ่งหาย ตกเหลือ ๖๔ หล่นไปซะ ๑๐๕ น่ะ ก็ไม่เป็นไร ก็ได้แค่นี้ก็เอา นี่ควร นะ ควรจะเรียนทางธรรม ควบคู่หลักสูตรไปด้วย อาตมาขอยืนยัน ไม่ใช่กล่าวตู่ ขอยืนยันว่า การศึกษา ทุกวันนี้ นี่ล้มเหลว เพราะมีแต่เสริมให้จิตวิญญาณ ไปเอาเปรียบเอารัด เป็นปลาใหญ่ กินปลาเล็ก เพราะฉะนั้น คนที่มีโอกาส ได้ศึกษานี่ ก็ได้ความรู้เพิ่ม ได้ความสามารถเพิ่ม เสร็จแล้ว ก็ไปเอา ความสามารถ หรือความรู้ที่ได้เหนือ เขานี่ ไปเอาเปรียบเขา นี่แหละ มันล้มเหลว ตรงนี้ แทนที่คุณ จะได้ความรู้มาก ได้ความสามารถ มีสมรรถนะสูงขึ้น คุณก็ไปช่วย คนที่เขาไม่มีโอกาส เขาด้อย เขาไม่มีความสามารถเท่าเรา เขาไม่มีความรู้เท่าเรา ไปช่วยเขาไป เสียสละ แทนที่จะทำอย่างนี้ มันกลับกลายไม่เป็นอย่างนี้ นี่แหละคือความล้มเหลว ของการศึกษา เพราะฉะนั้น อาตมาถึงตอบอันนี้ ง่ายน่ะ ตอบอันนี้ง่าย ไม่ยากอะไร เพราะฉะนั้น คนมีปัญญานั้นน่ะ ที่จริงคุณถามมานี่ ถ้าคุณเข้าใจ ภาษาคำว่า ปัญญานี่ คุณคงจะหมายความว่า ความเฉลียวฉลาด ถ้ามีปัญญาจริง

ถ้าคุณเข้าใจ แล้วว่า อาตมาแบ่งความเฉลียวฉลาดไว้ ๒ เฉโก กับปัญญา ถ้าคุณเกิดปัญญาจริง ก็คือปัญญา ที่จะไปเกื้อกูลคนอื่น ยิ่งเรียนไป เรายิ่งเก่งมาก ฉลาดมาก รู้มาก สามารถมาก เราต้อง ไปเสียสละเพื่อผู้อื่น ถ้าอย่างนี้แล้ว ก็ถูกต้อง แต่ความจริง ไม่มีเช่นนั้นใช่ไหม ถามใจจริงๆ ของพวก คุณเถอะ ใช่ไหม คุณเรียน เพื่อที่จะไป เอาเปรียบเขา ที่จะไปได้มากกว่าเขา นี่ มันล้มเหลวตรงนี้น่ะ เพราะฉะนั้น ควรจะได้รับความรู้ ความจริง อย่างที่ อาตมาว่าทางธรรมนี่บ้าง ในทางธรรมที่ไม่จริง นั่นแหละ ศาสนา ที่ไม่จริง ธรรมะที่ไม่จริง เขาก็ไม่สอนอย่างนี้ด้วย เขาก็จะส่งเสริมด้วย มานี่โอ๊ย ตอนนี้นี่นะ ตำแหน่งไม่ขึ้นเลย ยศไม่ขึ้นเลย ไม่รวยเลย ช่วยหน่อยเถอะพระคุณเจ้า พระคุณเจ้า ก็รดน้ำมนต์ให้มั่ง ให้ของขลังไปมั่ง สวดคาถาอะไร ให้บ้าง เอ้าไป ไปร่ำรวยนะ ไปชนะเขานะ ชนะแล้ว อย่าลืมมาแบ่งให้พระคุณเจ้าด้วยนะ มันเป็นอย่างนี้แหละ พระคุณเจ้าเอ๋ย เป็นอย่างนี้ นี่ละ คือ ความล้มเหลว

แม้แต่ศาสนา ก็ไม่รู้จักศึกษา ศาสนา จากแหล่งใด ธรรมะแหล่งใด ที่จะต้องทำให้เกิดคุณค่า ที่เป็นประโยชน์ ต่อสังคมและตนเอง ก็มีบุญแท้ ถ้าคุณได้เสียสละ คุณขาดทุนตรงไหน ถามจริงๆ หน่อยเถอะ นี่ ไปนั่งตรึกตรอง ใช้ปัญญาดีๆ ใช้ความเฉลียวฉลาด คิดหาสัจจะ พวกนี้ให้ดีๆ นี่ไม่ได้ มาเผด็จการทางความคิดนะ เป็นแต่เพียง เสนอความคิด ให้คุณวินิจฉัย ให้คุณไปพิจารณา เอาไปซับซาบ มีเวลาน้อยแค่นี้ ก็อาตมาก็ว่ายาก ก็เย็นนะ จะได้ มาอยู่นี่ ๓ วัน คงอยากจะกลับ ตั้งแต่เมื่อวานนี้มั้ง บางคนน่ะ หือ มา อยู่นี่แค่ ๒ วัน ๓ วันนี่ เห็นไหม มันไม่ง่าย แต่พวกเราอยู่อย่างนี้ ชั่วนาตาปี อย่างอาตมานี่ ขอบอกเลยว่า อาตมาก็อยู่อย่างนี้ ชั่วนาตาปี อาตมาก็ว่า สบายแล้ว เพราะอยู่จนสบาย สบายจริงๆ เห็นว่ามันสบาย พรั่งพร้อม แวดล้อมอะไรนี่ สบายนะ

เอาละ อาตมาคิดว่าได้ตอบแล้วนะ ได้ตอบแล้ว ถ้าระบบเรียนในสถานศึกษา ในอุดมศึกษา มีข้อ ผิดพลาด ทุกวันนี้ จะมีหนทางใด ที่จะแก้ไขให้เป็นคนมีปัญญา

ถ้าจะมีปัญญา ก็ต้องมาทางธรรมะที่ถูกต้อง ไม่เช่นนั้นแล้ว มันก็ได้แต่ความเฉโก หรือเฉลียวฉลาด อย่างที่เป็นไป ในทางที่ผิด ไปในทางที่ไม่ช่วยตน ช่วยเหมือนกัน ช่วยตนอย่างตื้นๆ ที่ไปเอาเปรียบ เป็นบาป เป็นหนี้ ไปเอาเปรียบ มันก็เหมือนกับ คอร์รัปชั่น เหมือนกับไปปล้นจี้ แต่มันไม่หยาบเท่าปล้น เท่าจี้ คอร์รัปชั่น ไปเอาเปรียบเขา มันก็เหมือนกัน นั่นแหละ แทนที่จะไปเกื้อกูล ไปเสียสละ แต่เขา ก็พูดโก้นะ จะไปเสียสละ นี่เสียสละเพื่อบ้านเมืองนะ เสียสละ เพื่อ...คุณเพื่อเสียสละ เหมือนกัน เสียสละให้เห็นนิดหนึ่ง แต่ที่คุณกอบโกย มาให้แก่ตัวเองน่ะ มากกว่าแยะ ที่คุณ จะเอามาให้แก่ตนเอง

ถ้าคนที่ดีจริงๆแล้ว เสียสละให้คนอื่นมากๆซิ แล้วเอาให้แก่ตนเองน้อยๆ นี่คือความหมายของคำว่า มักน้อย ของพระพุทธเจ้า ธรรมใด วินัยใด เป็นไปเพื่อความมักน้อย ธรรมนั้น วินัยนั้น ของเราตถาคต ธรรมใด วินัยใด เป็นไปเพื่อ ความมักมาก มักใหญ่ ธรรมนั้น วินัยนั้น ไม่ใช่ของเราตถาคต เพราะฉะนั้น เราทำมากๆ สร้างมากๆ ดีมาก หรือเก่งมาก คุณก็สร้างเถอะ อันไหนที่สำคัญ อันไหนที่ควรเป็นสิ่งที่จะ Support หรือ Supply ให้แก่สังคม ประเทศชาติ คุณก็ทำเข้าไป ทำแล้ว คุณแลกเปลี่ยนเอามา พออาศัย พอกิน อยู่ น้อยๆ ให้น้อยได้เท่าไหร่ ยิ่งดีใหญ่ ไม่แลกเปลี่ยน มาเลย ยิ่งดีใหญ่ ถ้าคุณอยู่ได้ เพราะฉะนั้น มาฝึกหัด แล้วก็มาอบรม มาอยู่กันซิ ว่าจะมีระบบยังไง อยู่ได้ นี่ มีระบบที่จะสร้างสรร ตัวเอง คนแต่ละคน พยายามใช้น้อย กินน้อย เปลืองน้อย เสร็จแล้วพยายาม ที่จะให้ประโยชน์ แก่คนอื่นให้มากๆ เพราะฉะนั้น เราจะเอาน้อย แม้แต่ค้าขาย เราก็จะเอาส่วน ที่มันพออยู่ได้ เกิดมา พอตั้งอยู่ได้ พอที่จะเอามารังสรรค์ เอามาเผื่อแผ่ ทำอันโน้นอันนี้ ที่บางอย่าง เราจะต้องเอามาจุนเจือ เราก็ทำ

อย่างไหนที่ไม่ต้องเอาเลย เราให้แก่ผู้นั้นผู้นี้ได้ เราก็ให้ๆๆๆ ให้ไปให้มากๆ ฝึกฝนอย่างนี้ ด้วยความจริงใจ ขนาดนั้น กิเลสมันยังต้านเลย บางทีมันอดไม่ได้ มันยังต้องโลภๆๆ อย่างนั้นเลย เราต้องมาละกิเลสโลภ จริงๆ แล้วพยายามให้ๆ ให้ได้จริงๆ มันจะได้ไปเรื่อยๆๆๆ นี่ เรารังสรรค์ อย่างเห็นจริง แล้วก็อย่างยังฝึกปรือ เพื่อที่จะได้ ระบบนี้ขึ้นมา ในสังคมมนุษยชาติจริงๆ ชาวอโศก เราพยายามทำจริงๆ ด้วยความจริงใจ ด้วยความเห็นว่า มันถูกทางนี้ ถูกต้อง ก็ศึกษา เราก็พยายามให้ แม้แต่นักเรียน เราก็เอามา นี่ตั้งต้นจะเรียนแล้ว

ต่อไปไม่แน่ ชาวอโศกอาจจะตั้งมหาวิทยาลัยเองก็ได้ อย่าเพิ่งแก่ แล้วอย่าเพิ่งตาย แต่ห้ามไม่ให้แก่ ไม่ได้ อย่าเพิ่งตายแล้วกันน่ะ กี่ปี เรายังไม่รู้ มันก็คงจะแก่ไปตามวัย แต่ว่า อย่าเพิ่งตายแล้วกัน เผื่อจะได้เห็นว่า ชาวอโศก ตั้งมหาวิทยาลัย อาจจะมีนักศึกษา ๑๐ คน เอา เราไม่ว่า จริงๆนะ นี่ เราเริ่มต้น พึ่งจะมีโรงเรียน เราพยายาม ขอโรงเรียน เขาก็ไม่ให้ ติดใจที่ว่า ตั้งชื่อ โรงเรียนปฐมอโศก เสนอขึ้น ไปทางกระทรวง บอกนี่ ทำไมตั้งปฐมอโศกละ แล้วมันเป็นยังไง ปฐมอโศก มันเป็นยังไงละ ว่าอโศก เขาไม่เห็นจะน่าขัดข้องตรงไหนเลย เป็นแต่ว่า ไม่น่าจะ อนุญาตให้ตั้ง เพราะว่า มีชื่อว่า ปฐมอโศก อาตมางงจริงๆ นี่ สังคมเป็นอย่างนี้ ไม่รู้ข้องขัดอะไร กันนักกันหนา อโศกๆนี่ มันขัดหัวใจ ยังไงไม่รู้ นี่ ยังไม่อนุญาตมาจนป่านนี้ ขอโรงเรียน แล้วเราก็จะสอน จะสร้าง จะอบรมเด็ก ให้เข้าใจ การเรียน ความรู้ทางแบบโลก เราก็มี ปริญญาตรี ปริญญาโท ก็มี เป็นครูอยู่ที่นี่ สอน ด็อกเตอร์ ก็มีน่ะ แต่ด็อกเตอร์ เขายังไม่มาอยู่ประจำ เขาก็ยินดี ปวารณาตัวว่า จะให้สอนเมื่อไหร่ ก็ได้ เขาก็มี นอกนั้น ก็มีปริญญาตรี เป็นเข่งอยู่นี่ ปริญญาโท ก็มีสอน นักเรียนที่นี่มี ๕๓ คน ครู ๓๕ มีโรงเรียนไหนทำได้ ไม่มี โรงเรียนที่นี่ ทำได้ จริงๆ นี่มีนักเรียนอยู่ ๕๓ มีครู ๓๕

แต่ตอนนี้ ก็ไม่ให้ไปสอนทั้งหมด ประเดี๋ยวมันจะยุ่ง ครู ๓๕ มันมากไป เดี๋ยว จะไปแย่งกันสอน ก็เลย สอนกัน อยู่พอสมควร นะ แล้วครูเหล่านั้น สอนฟรีด้วย สอนฟรี นี่ แล้วเขามีความเข้าใจ อย่างนี้ เราก็เต็มใจทำกัน จริงๆนะ ต่อไปในอนาคต อาจจะมีมหาวิทยาลัย อย่างนี้ด้วยก็ได้ เรามีความรู้ทางโลก เราก็มีเรียนมา ส่งเสริม นี่ส่งไปเรียนตรี เรียนโท อยู่ก็มี ตอนนี้ไปเรียนอยู่จุฬา เรียนอะไร พวกเรานี่แหละ เขาเป็นครูอยู่ ในนี้ คนไหนที่สมควรจะไปเรียน ความรู้ทางโลกมาต่อ เราก็ให้ไปต่อ คนไหนที่ไม่ อยากจะเรียน ก็ไม่เป็นไร ก็เรียน ก็ทำงาน ก็สอน ก็อะไรไป อยู่ได้ กันน่ะ

เอาละ อาตมาพูดไปเท่าไหร่ก็ได้ เพราะอาตมามีเรื่องจะพูด จนกว่าจะตาย ยังไม่รู้ว่าจะพูดหมดไหม ในสิ่งที่ อยากจะพูดน่ะ

เอ้า วันนี้ ก็หมดเวลาแล้ว เกิน ๖ โมงแล้วด้วย พอกันก่อน ไปทำอื่น


จัดทำ โดย โครงงานถอดเท็ปฯ
ถอด โดย ประสิทธิ์ ฝ่ายทอง ๑๔ ส.ค.๓๕
ตรวจทาน ๑ โดย สม. ปราณี ๑๘ ส.ค.๓๕
พิมพ์ โดย สม.มาบรรจบ ๒๑ ส.ค.๓๕
ตรวจทาน ๒ โดย ปาณิยา ๒๑ ส.ค.๓๕
เข้าปก โดย สมณุทเทส คมกล้า ก.ย.๓๕
เขียนปก โดย พุทธศิลป์

2589A-B.TAP