อโศกรำลึก'๓๔
อบรมทำวัตรเช้า โดย พ่อท่าน โพธิรักษ์
เมื่อวันที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๓๔
ณ พุทธสถาน สันติอโศก

.....ก็ไม่เป็นไร ถ้าเราระลึกถึงความเป็นสมณะได้อยู่ ความเป็นสมณะนั้น พระพุทธเจ้าท่านว่าไว้อย่างไร

ภิกษุทั้งหลาย มหาชนเขารู้จักเธอทั้งหลาย สมณะๆ ดังนี้ ถึงเธอทั้งหลายเล่า เมื่อถูกเขาถามว่า ท่านทั้งหลาย เป็นอะไร พวกเธอทั้งหลายก็ปฏิญาณ ตัวเองว่า เราเป็นสมณะดังนี้

ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเธอทั้งหลายมีชื่อว่าสมณะ และปฏิญาณตัวเองว่าเป็นสมณะ อยู่อย่างนี้แล้ว พวกเธอทั้งหลาย จะต้องสำเหนียกใจว่า ธรรมเหล่าใด อันจะทำให้เราเป็นสมณะ และเป็นพราหมณ์ เราจะประพฤติถือเอาด้วยดี ซึ่งธรรมเหล่านั้น เมื่อพวกเราปฏิบัติอยู่อย่างนี้ ชื่อและปฏิญาณนี้ ของพวกเรา ก็จักเป็นความจริงแท้ ใช่แต่เท่านั้น พวกเราบริโภคปัจจัย ๔ ของทายกเหล่าใด ปัจจัยทั้งหลายของทายก เหล่านั้น ก็จักมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ในเพราะพวกเรา อีกอย่างหนึ่งเล่า บรรพชานี้ของพวกเรา ก็จักไม่เป็นหมันเปล่า จักมีผล มีความเจริญ แก่เราโดยแท้

ภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่าไหนเล่า ที่จะทำให้พวกเราเป็นสมณะ ที่จะทำให้พวกเรา เป็นพราหมณ์

๑. เราจะเป็นผู้มีความประพฤติทางกายบริสุทธิ์ เปิดเผยได้ หาช่องทะลุมิได้ เป็นอันสำรวมดีแล้ว ไม่ยกตนข่มผู้อื่นด้วยคุณข้อนี้

๓. เราจะเป็นผู้มีความประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์ เปิดเผยได้ หาช่องทะลุมิได้ เป็นอันสำรวมดีแล้ว ไม่ยกตนข่มผู้อื่น ด้วยคุณข้อนี้

๔. เราจะเป็นผู้มีความประพฤติทางใจบริสุทธิ์ เปิดเผยได้ หาช่องทะลุมิได้ เป็นอันสำรวมดีแล้ว ไม่ยกตน ข่มผู้อื่น ด้วยคุณข้อนี้

๕. เราจะเป็นผู้มีการเลี้ยงชีพบริสุทธิ์ นัยเดียวกันข้อ ๑,๒,๓,๔ ไม่ยกตนข่มคนอื่น ในคุณข้อนี้

๖.เราจะเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

๗. เราจะเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะอยู่เสมอ คือการกิน การใช้ การเป็นอยู่ในชีวิต

๘. เราจะตามประกอบในธรรมอันเป็นเครื่องตื่น

๙. เราจะเป็นผู้ประกอบพร้อมด้วยสติสัมปชัญญะ

๑๐. เราจะเป็นผู้ตามชำระจิตให้ปราศจากนิวรณ์ ๕

๑๑. เราจะเป็นผู้ได้บรรลุฌาน ๔

๑๒. เราจะเป็นผู้ได้บรรลุญาณ ๓ ถึง บุพเพนิวาสานุสติญาณ จุตูปปาตญาณ และอาสวักขยญาณ

และในจูฬอัสสปุรสูตร ในพระไตรปิฎก เล่มเดียวกัน (เล่ม ๑๒ ข้อ ๔๘๐-๔๘๒) พระพุทธองค์ได้ ทรงแสดงนัย ที่ทำให้เป็นสมณะ เป็นพราหมณ์ แตกต่างออกไปอีก คือ ต้องละมลทิน ๑๒ อย่าง ซึ่งถือว่าเป็นข้อปฏิบัติที่ดียิ่ง ของสมณะคือ

๑. เพ่งเล็งอยากได้ของผู้อื่น คือ อภิชฌา

๒. มีจิตมุ่งร้ายผู้อื่น คือ พยาบาท

๓. มีความมักโกรธ คือ โกธะ

๔. มีความผูกโกรธ คือ อุปนาหะ

๕. มีความลบหลู่คุณท่าน คือ มักขะ

๖. มีการตีเสมอ คือปลาสะ

๗. มีความริษยา คือ อิสสา

๘. มีความตระหนี่ คือ มัจฉริยะ

๙. มีความโอ้อวด คือ สถะภะ

๑๐.มีมายา ก็มารยาท (ในภาษาบาลีก็ว่ามายา)

๑๑.มีความปรารถนาลามก คือ สาเถยยะ

๑๒.มีความเห็นผิด คือ มิจฉาทิฏฐิ

พระพุทธองค์ทรงเปรียบเทียบการบวชของคนที่ละมลทินเหล่านี้ไม่ได้ ว่า เป็นเหมือน กริชที่มีคม ๒ ข้าง ซ่อนอย ู่ในฝัก เพราะเป็นความสมณะไม่ใช่อยู่ที่การ ครองผ้าสังฆาฏิ เพียงอยู่โคนไม้ เพียงการเปลือยกาย เพียงเอาฝุ่นทาตัว หรือเพียงท่องมนต์ ถ้าเป็นการเพียงครองผ้าสังฆาฏิเป็นสมณะได้ ทุกคนที่ครอง ผ้าสังฆาฏิ ก็จะเป็นสมณะ ไปตามๆ กัน ผู้ใดละเสียได้ซึ่งมลทิน ๑๒ ประการอันเป็นโทษ เป็นดั่งน้ำฝาด ของสมณะ อันเป็นเหตุ ให้เกิด ในอบาย ต้องไปสู่ทุคติ ผู้ละ มลทินเหล่านี้เสียได้ ย่อมชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติ ได้ข้อปฏิบัติอันดียิ่งของสมณะ ผู้ละมลทิน ๑๒ ประการนี้ เพื่อพิจารณาความบริสุทธิ์ของตน ย่อมเกิด ปราโมทย์ ปีติ สุข มีจิตตั้ง มั่น เจริญเมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา และกระทำให้แจ้ง ซึ่งเจโตวิมุติ และ ปัญญาวิมุติ อันไม่มีอาสวะ ผู้นั้นก็ย่อมได้ชื่อว่า เป็นสมณะ เพราะสิ้นอาสวะทั้งหลาย

ภิกษุทั้งหลาย ผลของความเป็นสมณะเป็นอย่างไรเล่า โสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล และ อรหัตผล เหล่าใดแล

ภิกษุทั้งหลาย ผลเหล่านี้ เราเรียกว่า ผลของความเป็นสมณะ

ภิกษุทั้งหลาย ประโยชน์ของความเป็นสมณะ เป็นอย่างไรเล่า

ภิกษุทั้งหลาย ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะอันใดแล

ภิกษุทั้งหลาย อันนี้ เราเรียกว่า ประโยชน์ของความเป็นสมณะ

ภิกษุทั้งหลาย ความเป็นสมณะเป็นอย่างไรเล่า อริยอัฏฐังคิกมรรค นี้ อย่างเดียว ซึ่งได้แก่สัมมาทิฏฐิ คือ ความเห็นชอบ สัมมาสังกัปปะ คือความดำริชอบ สัมมาวาจา คือ การพูดจาชอบ สัมมากัมมันตะ คือ การงานชอบ สัมมาอาชีวะ คือ การเลี้ยงชีพชอบ สัมมาวายามะ ความพยายามชอบ สัมมาสติ มีความระลึกชอบ และ สัมมาสมาธิ เป็นสมาธิที่เกิดจากการคิด พูด ทำตามมรรค มีองค์ ๗ ข้างต้น ไม่ใช่ การเอาแต่ไปนั่งหลับตาหลับหู โดยไม่รับรู้อะไร นี่คือความเป็นสมณะ และจะเป็น สมณะได้ด้วย อริยอัฏฐังคิกมรรค ถึงจะแต่งกายแบบใดๆ ก็ตาม ถ้าใจสงบระงับ ควบคุมตัวไว้มั่นคง บริสุทธิ์ ไม่เบียดเบียนคนอื่น จะเรียกเขาว่า พราหมณ์ สมณะ หรือภิกษุก็ได้ นี่เป็นคำตรัสของพระพุทธเจ้านะ

เมื่อวันนี้เป็นวันที่เรา...เป็นวันรำลึก เป็นวันอโศกรำลึก และเป็นวันที่เราจะได้รับ การสัญญากันลงไปว่า ตั้งแต่ปีนี้ ๒๕๓๔ ไป วันอโศกรำลึก ซึ่งเราก็ เคยมีวันอโศกรำลึก กันมาหลายปีแล้ว แต่ว่าเหตุที่จูง ที่นำมาเป็น วันอโศกรำลึก นั้น เราใช้วันที่ ๕ มิถุนายน ซึ่งตอนแรกที่ได้เจรจาพาทีกันว่า จะจัดวันนี้ เอ้า อาศัยเหตุอะไร ที่จะจัดงานวันนี้ ก็ไปยึดเอาวันที่ ๕ มิถุนายน ซึ่งเป็นวันเกิด ของอาตมา มาก็หลายปี พอมาถึงปีนี้ เราก็ได้ดำริใหม่ พิจารณากันใหม่ เราก็เห็นว่า น่าจะได้มาใช้ วันเกิดของสมณะ ซึ่งเป็นวันเกิด ที่เราน่าจะได้รำลึก มีประโยชน์แก่ ชาวอโศกเรามากกว่า สมกับที่ชื่อว่า วันอโศกรำลึก มันมีวัน ประวัติศาสตร์ ของพวกเรา ที่เกิดสมณะ ดังที่เราก็ได้รับซับทราบกันไปแล้ว ผู้ที่ไม่ทราบเลย มาฟัง เมื่อวานนี้ ก็ได้พูดถึงกัน ก็ท่านสมณะทั้งหลาย ก็ได้รำลึก ท่านก็ได้ กล่าวถึง การเกิดของ สมณะ ด้วยเหตุการณ์ ด้วยเรื่องราว ด้วยความเป็นไป ตามทางประวัติศาสตร์ มันก็ได้เกิดไปแล้วนะ ตามที่เรา ได้รับ ซับทราบกัน ตามเรื่องราว ประวัติศาสตร์เหล่านั้น

อาตมานำเอาคำความ ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสเอาไว้ในพระสูตร ต่างๆว่า คำว่า สมณะ หรือว่า การเป็นสมณะ หรือว่าจะเกิดสมณะได้นั้น เราเข้าหาสารัตถะ ตามที่พระพุทธเจ้า ท่านตรัสนั้นได้นะ อาตมาก็จะขยายความบ้าง แต่ก็คิดว่า คงจะขยายความกัน ก็คงจะไม่ได้มากมายนักหรอก เท่าที่เวลามี เพราะว่าเนื้อหา ที่พระพุทธเจ้าตรัสนั่น เป็นเนื้อหาที่สมบูรณ์ เป็นเนื้อหาที่ละเอียดลออ ถ้าจะอธิบายกัน ก็อธิบายพุทธศาสนาทั้งหมดนั่นแหละ แต่ก็จะเอามาสำทับ ให้ฟังว่า ที่จริงแล้ว สมณะที่ว่านี่ พระพุทธเจ้า ท่านก็ไม่ได้ตรัสว่า จะหมายถึง ผู้ที่ได้ถือบวช ตามประเพณี ตามรูปแบบเท่านั้น ท่านตรัส กลางๆ ว่าสมณะนั้น มีผลคือ เป็น โสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล และอรหัตผล ดังที่เรา ได้อ่านผ่านไป ให้ฟังแล้วเมื่อกี้นี้

ทีนี้ โสดาปัตติผล ก็คือเป็นพระโสดาบัน พระโสดาบัน ที่เราเรียก เป็นพระนั่น เป็นภาษาไทย ให้เกียรติ คำว่าพระ นำหน้าเข้าไปที่โสดาบัน ก็คือผู้มี โสดาปัตติผล นั่นเอง คำว่าพระ ถ้าพูดกันอย่างหลวมๆ ในเมืองไทย ก็คล้ายๆ กับว่า เป็นผู้ที่ได้รับ การบวชตามพิธี ผ่านการบวชด้วยพิธีกรรม แล้วก็ได้รูปแบบ ก็ถือว่า เป็นพระ แต่ความจริงแล้ว พระก็คือแทนคำว่าสมณะ เป็นการยกย่อง คำว่าพระนี่ เป็นการยกย่อง แปลว่าประเสริฐ เป็นคำที่เอามาใช้ ในภาษาไทย แล้วมานำหน้า อะไรหลายๆอย่าง ยกย่องไป จนกระทั่ง คำว่าพระนี่ ยกย่องในอย่างอื่นๆ ไม่ใช่มายก ย่องในทางธรรมะเท่านั้น ยกย่องในรูปแบบอื่น ก็ใช้คำว่าพระ ไปใส่หน้านำหน้า เอาไว้ ได้เหมือนกัน ตามความหมาย ของภาษาไทยเรา ก็ไม่มีความสำคัญอะไร เท่าไหร่ ถ้าเราจะ เข้าใจในทางธรรมะอันลึกๆแล้ว คำว่าพระนำหน้า หรือว่าไม่มีพระ คำนำหน้า โสดาบัน หรือโสดาปัตติผล ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่แท้ ตามเนื้อหาสาระ ที่เป็นสาระสัจจะ ถ้าใครมีผลนั่นในตน จะได้บวชมา ตามประเพณี ผ่านพิธีกรรม แล้วก็มา ได้รูปแบบ หรือไม่ มันก็ไม่ใช่เนื้อหา สาระสัจจะทีเดียว แต่สาระสัจจะที่แท้ คือ มีผลจริงๆ ที่ เรียกโดยบัญญัติกำกับลงไป ที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า เป็นโสดาบัน หรือ โสดาปัตติผล โสดาบัน คือผู้เข้าถึงโสดาปัตติผล นั่นเอง เรามีโสดาปัตติผล นั้นไหม ถ้าเรามี แม้เราจะเป็นฆราวาส เราไม่ได้ผ่านพิธีบวช เราไม่ได้รูปแบบ ถ้ามีเนื้อหาสาระสัจจะนั้นจริงในตัว เราก็ชื่อว่า สมณะ พระพุทธเจ้า ท่านตรัสอย่าง นี้ ผลของสมณะคืออันนี้ นี่เป็นเนื้อหาสาระ เพราะถ้าเรา มีผลอันนี้ อยู่ในตัวแล้ว เราปฏิบัติตามที่พระพุทธเจ้าท่านตรัส จะมากหรือน้อย เท่าที่อ่านมานี่ ข้อที่ควร กระทำ ๑๒ ข้อ ข้อที่ควรละอีก ๑๒ ข้อ นี่ ถ้าเผื่อว่า เราได้กระทำจริง ปฏิบัติตรง ถูก สังวรระวัง กระทำอย่างดี เกิดผล กาย วาจา ใจ โดยเฉพาะใจ เกิดผล การเกิดทางใจนี่เกิดจริงๆ นะ มีโอปปาติกะโยนิ มีเกิดทางจิตวิญญาณ

โอปปาติกะ นี้หมายถึงจิตวิญญาณๆอยู่ในตัวเรา ก็เกิดในตัวเรา โอปปาติกะ นี่เกิดในตัวเรา โดยไม่ต้อง เปลี่ยนร่าง ไม่ต้องโยกย้ายไปไหน ผุดเกิด อยู่ในนี้เอง เปลี่ยนแปลงอยู่ในนี้เองนะ เปลี่ยนแปลงที่ จิตวิญญาณ ไม่ต้องเปลี่ยนรูป ร่าง ไม่ต้องเปลี่ยนอะไร ที่เป็นเรื่องหยาบ ที่ครองตนอยู่ในเรื่องหยาบ ไม่ต้องไป เปลี่ยนแปลงอะไร มากมาย เปลี่ยนแปลง ที่จิตวิญญาณ ที่โอปปาติกะนั้น ได้อย่างแท้จริง นั่นเรียกว่า การเกิดทางจิตวิญญาณ เรียกว่า โอปปาติกโยนิ เกิดได้จริงๆนะ การเกิดนี้ต้องเกิดจริงๆ เป็นจริงๆ มันเปลี่ยนแปลงเป็นไปจริงๆ แล้วมันก็เกิด อาตมาก็พยายามใช้ภาษาอธิบาย ให้พวกเรา ได้ฟังกัน คำว่าเกิดนี่ มามากนะ แม้แต่ วันวิสาขบูชา ก็ได้พูดถึงการเกิด การดับ ทางวิญญาณ และ พวกเราก็ได้ พากเพียรปฏิบัติ เพื่อให้เห็นการเกิด การเปลี่ยนแปลง การเกิดใหม่ จากต่ำ มาสู่สูง การเกิดจากที่ เรารู้ว่านี่เป็นมิจฉา นี่เป็นอกุศล นี่เป็นทุจริต นี่เป็นเรื่องบาป เป็นเรื่องไม่ดี เป็นเรื่องที่เรา จะเลิกเป็น

การเกิดนี่ก็หมายความว่า ตาย ตายจากความที่เรา ไม่ควรจะเป็น ไม่ควรจะมี ไม่ควรจะเกิด แม้แต่ทาง กายกรรม แม้ในทางวจีกรรม แม้แต่ทางมโนกรรม ก็ไม่ควรจะเกิดอย่างนั้น ไม่ควรจะเป็นอย่างนั้น ไม่ควรจะมีอย่างนั้น อยู่ในเรา อยู่ในตัวเรา ให้มันตายไปเสีย สิ่งไม่ดีเหล่านั้น ให้มันตาย เมื่อสิ่งเหล่านั้น ตายไปจริงๆ ไม่มีอาการ ไม่มีสภาพ ไม่มีภาวะนั้น เกิดในตัวเรา เกิดในจิตวิญญาณ ของเราจริงๆเลย การตายชนิดนั้นแหละ คือ การเกิด ที่เจริญ คือการเกิดในทางธรรม เกิดในคนนี่แหละ พึงประพฤติ ปฏิบัติอบรม ฝึกฝนเลิกละหยุด ในสิ่งที่เป็นทุจริต เป็นอกุศลต่างๆ นานา นี่อาตมาเอามาย้ำมา พูด จะไม่ย้ำ ไม่พูดซ้ำอีกมากละ ก็เพราะว่า พวกเราฟังมามากแล้ว แล้วคงจะเข้าใจดีอยู่แล้ว

เราก็ได้มาฝึกหัดอบรมกันจริงๆ ซึ่งพวกเราได้ปฏิบัติกันมาแล้วจะรู้ดีว่า มันไม่ง่าย ในการจะเปลี่ยนแปลง แม้แต่ กายกรรม แม้แค่วจีกรรม สำรวมสังวร ควบคุมกัน พยายามตั้งอกตั้งใจอดทน สู้ฝืน ลำบากลำบน ก็มีสติ สัมปชัญญะ มีการระลึก รู้ตัว ทั่วพร้อม เพื่อที่จะละเว้นที่เรียกว่า เป็นสิ่งที่ควรละเว้น ทำให้ยิ่ง ในสภาพที่เรา เรียกว่า จะทำให้เจริญ ให้มันคงทน ให้มันเป็นอย่างดีอย่างใด ก็พยายามอบรม ฝึกฝน สำรวม สังวร ให้เป็นอย่างดี อย่างนั้น ให้เป็นอัตโนมัติ ให้อยู่ในตัวของเรา ให้ได้ ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายนัก สำหรับผู้ที่ไม่ได้รับการฝึกฝนอบรมมา ถ้าผู้ใด ได้ฝึกฝน อบรมมา มีบารมีเก่ามาเดิม มาฝึกฝนใหม่ มาเปลี่ยนแปลงในช่วงชาตินี้ ก็จะง่าย ถ้ายิ่งได้มาแล้ว ไม่ต้องไปเปลี่ยนแปลงเลย เกิดมาก็มีมา เป็นมา ในตัวเลย แม้แต่โลกจะมาครอบงำ อย่ามาให้เรามาเป็นอย่างโลก เขาว่ากัน เขาครอบงำกัน เขาชักชวนกัน เขาพยายามที่จะลากดึงกันไปสู่กัน อย่างแบบโลกๆ ก็ยังไปไม่ได้ เปลี่ยนยังไง ก็เปลี่ยนไม่ไป พยายาม ที่จะหลงไปตามเขายังไง ก็หลงไม่ได้ นั่นก็บารมีที่มั่นคง เป็นคุณภาพที่เราได้ สั่งสมมา ตั้งแต่ปางบรรพ์ อย่างดี ซึ่งพวกเรานี่ อาตมาว่านะ ไม่ใช่เดานะ อาตมามั่นใจ ตามกรรมวิบาก ตามบารมี ของมนุษย์ พวกเรานี่มีมา ไม่มากก็น้อยกัน ถึงจะมาได้ ถึงได้อบรมมาได้ มีสภาพมาเป็นถึงขนาดนี้

เมื่อกี้กล่าวไปแล้วว่า สมณะนั้นไม่ได้หมายความว่า เป็นผู้ที่ผ่านพิธีบวช ได้รูปแบบ เท่านั้น แต่อันนั้น จะไม่มีเกิด ทางจิตวิญญาณ หรือเกิดอย่างที่เป็นการเกิด อย่างสมบูรณ์แบบ ไปจนกระทั่ง จนมีโอปปาติกโยนิ ที่ได้อธิบาย มาแล้ว แม้ได้ รับพิธีบวช และก็ได้รูปร่าง ได้รูปแบบของสมณะ หรือรูปแบบผู้เป็นภิกษุ ตามรูป ตามแบบ เท่านั่นมา เราก็ยอมรับตามสมมุติสัจจะว่า ผู้นี้มีรูปแบบ ที่เราจะต้อง จารีต ประเพณี ตามกำหนดกฎเกณฑ์ว่า จะเคารพคารวะ นับถือ ช่วยเหลือบูชา ถ้าท่านยัง สังวรในศีล พยายามปฏิบัติตามศีล ว่าเป็นสมณะ หรือว่าพระ หรือว่าเป็น ภิกษุแล้ว ก็ต้องตามศีล ของพระวินัยของพระ แม้จะยังไม่เกิดจริง ตายจริง ยังไม่มีตัวที่ไม่ดี ตายไปจริง ยังไม่มีตัวดีเกิดใหม่ มาแทนจริงได้ แต่ท่านก็สำรวมสังวรศีล อยู่ในธรรม อยู่ในวินัย พยายามกระทำ ประพฤติอยู่ ถ้ามันพลาด มันพลั้ง มันอาบัติ ท่านก็ปลงอาบัติ ปรับปรุง ตั้งใจปรับปรุงสังวรณ์ ระวังใหม่ ตั้งตนใหม่ สร้างตนใหม่ขึ้นไป อยู่เรื่อยๆ ตามหลักเกณฑ์ของ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราก็ยังพึงให้การเคารพนับถือ

ฟังดีๆนะ อย่าพึ่งไปเผินๆ ดูถูกดูแคลน กลายเป็นคนมีอัตตามานะ ไม่เข้าใจ สมมุติสัจจะ ในสมมุติสัจจะ เราก็ต้องรู้ สมมุติสัจจะก็เป็นสมมุติสัจจะ อย่างหนึ่ง ที่เราจะต้องยอมรับกัน รู้กันในโลกว่า มันก็จะต้องมี มีสภาพที่เป็นไปได้ ตามที่ เป็นไปได้ พอสมควรนะ และเราเคารพนับถือ ยกย่อง ช่วยเหลือเฟือฟาย มีรูปแบบ ในการคารวะ มีสัมมาคารวะ มีอะไรที่ทำสอดคล้อง ตามจารีตประเพณีวัฒนธรรม เราก็จะต้อง เป็นอยู่

ส่วนผู้ใดเป็นสมณะแท้ อย่างที่อาตมากล่าวไปเมื่อกี้นี้ ที่พระพุทธเจ้าท่าน ตรัสเอาไว้ว่า สมณะหมายถึง ผล ผู้ที่มีผล มีโสดาปัตติผล แม้จะยังไม่ได้ผ่าน พิธีบวช ไม่ได้รูปแบบเป็นภิกษุ เป็นสมณะ ตามรูปแบบ สมมุติ ยังอยู่ในรูปแบบ ของฆราวาส เพราะว่าเราก็มีผลจริง มีโสดาปัตติผลจริง เราก็ต้องรู้ตาม สมมุติสัจจะว่า เขาจะไม่มายกย่องเชิดชู หรือเขาจะไม่ต้องมาทำพิธี ตามจารีตประเพณี ว่าจะต้อง มากราบ เคารพ เหมือนอย่างกะ ผู้ที่ได้รับการบวช ตามพิธี แล้วได้รูปแบบไปแล้ว ก็จะไม่จัด อะไรต่อมิอะไร ตามจารีตประเพณี ยกย่อง หรือว่าเชิดชู หรือว่าได้ฐานะตามที่ได้ สัญญากันไป ตามที่กำหนดกันไป แม้เราจะเกิดจริง ยิ่งกว่า ตรงที่จิตวิญญาณเราเกิด เป็นโสดาปัตติผลจริงๆ แต่เราอยู่ในร่าง ฆราวาส เขาก็ไม่ได้ทำพิธี เขาก็ไม่ได้มี การตกลง ไม่ได้ตามกำหนดว่า จะต้องมาเคารพบูชากัน ต้องมีอย่างโน้นอย่างนี้ อะไรกันต่างๆ อย่าว่าแต่ โสดาเลย ต่อให้เป็นสกิทา หรือให้เป็นถึง อนาคามี ก็ น่า แม้ผู้ที่ได้ รูปแบบไปแล้ว ตามพิธีบวช แต่ไม่ได้บรรลุธรรม เราก็จะไปมานะ จะไป มีอัตตา ว่าเรานี่แหละใหญ่กว่า เพราะว่า เราเองจริงเป็นสมณะยิ่งกว่า เพราะเราเป็นทั้ง อนาคามี เราเป็นจนกระทั่ง สกิทาคามี แต่ท่านที่ได้เครื่องแบบ ไปผ่าน พิธีบวช เท่านั้น โสดายังไม่ได้เลย เราต้องใหญ่กว่า ยิ่งกว่า สูงกว่า แล้วก็ไม่กราบ ไม่เคารพ ไม่ทำตามจารีตประเพณี วัฒนธรรม ที่ได้กำหนดกันไว้ มีสัมมาคารวะ มีนั่น มีนี่มีท่าทีอะไรต่างๆนานา ด้วยกาย ด้วยวาจา อะไรก็ตาม คนนั้นย่อม ไม่ใช่สมณะที่ เป็นโสดา สกิทา หรือ อนาคาที่แท้ เพราะมีมานะใหญ่ ไม่เข้าใจสัจจะ ในสมมุติสัจจะก็ดี ปรมัตถสัจจะของผู้นั้น จึงไม่สมควร ที่จะเป็น เพราะผู้นั้น ไม่มีปัญญา ไม่มีความเข้าใจเพียงพอ รู้ในเรื่องปรมัตถ เหล่านี้ ยังไม่พอเท่านี้ ผู้นั้นไม่ใช่โสดา ไม่ใช่สกิทา ไม่ใช่อนาคาหรอก

พระพุทธเจ้าท่านตรัสถึงความเสื่อมเอาไว้ด้วย ความเสื่อม ๗ ประการ อาตมาเคย ได้เอามาย้ำกัน มากมายว่า ไม่เคารพพระ ไม่เคารพสมณะ พระผู้บวชก่อน บวชใหม่ อะไรก็แล้วแต่ ผู้ที่ติเตียนสมณะ นี่เป็นความเสื่อมชนิดหนึ่ง ข้อหนึ่ง ใน ๗ หรือ ฟังธรรมเพ่งโทษ อะไรอย่างนี้ เป็นต้น มีข้อสำคัญที่ว่า ไม่สักการะ ไม่เคารพ เป็นผู้ไม่เคารพ ไม่ศรัทธาเลื่อมใส ต่อพระผู้บวชใหม่ ผู้บวชเก่าต่างๆ ถ้าจิตใจ เป็นอย่างนั้น จริงๆนั่นนะ ไม่รู้จักสาระสัจจะ ไม่รู้จัก สมมุติสัจจะ แม้แค่นั้นน่ะ ผู้นั้นเป็นความเสื่อม แล้วละ เพราะฉะนั้น พอมีความเสื่อมแล้ว ตัวความเสื่อม ผู้นั้น จะไม่เป็นผู้เจริญ จะเป็นโสดา จะเป็นสกิทา จะเป็นอนาคาไม่ได้

แม้ความหมายแค่นี้ ที่อาตมาพยายามอธิบาย หยิบมาพูดให้พวกเราฟัง เพื่อจะให้ เราสังวรณ์ เพื่อให้พวกเรา เข้าใจว่า เราเองนี่ เอ เราก็ว่าเราเป็นแน่ นะ บางที เราก็หลงตัวเอง เป็นโสดา บางทีหลง ไปเป็นสกิทา ดีไม่ดี เป็นฆราวาส อยู่เองนี่แหละ หลงตัวเอง ว่าเป็นอรหันต์ เอาเชียวละ ก็ได้ แต่แค่ จิตวิญญาณ แค่นี้ ยังลบหลู่ ดูถูก ลบหลู่ดูถูก ผู้ที่ได้เครื่องแบบ จริง ท่านยังไม่ได้ ท่านยังไม่ได้เกิด ทางธรรม เกิดทางจิตวิญญาณ เป็นอริยะ ดังที่กล่าวแล้ว ก็จริงอยู่ แต่ว่าจิตวิญญาณของ ผู้นั้น หรือญาณปัญญาของผู้นั้น เป็นอริยะแท้ จะไม่มีการลบหลู่ ดูถูก อย่างนั้น

ในที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสนี่ ท่านตรัสเตือนไว้ ถึงเรื่องว่า ไม่ยกตนข่มผู้อื่น โดยรูป โดยกายกรรมก็ได้ ยกตนข่มผู้อื่น โดยวาจาก็ได้ ไม่ยกตนข่ม ทั้งกาย ทั้งวาจา แต่ยกตนข่มผู้อื่น อยู่เพียงใจ มีใจไปยกตน ข่มผู้อื่น เป็นกิริยาทางใจ อยู่ก็ได้ นี่ละเอียดลอออย่างนั้น เพราะฉะนั้น การสังวรระวังนี่ ระวังให้ดีๆ อาตมาเตือน แม้กระทั่งว่า พูดจานี่น่ะ มันดูเป็นเชิงข่ม อาตมาพูดนี่ เพื่อวิจัยวิเคราะห์อธิบายไป เพื่อให้เห็นชัดเจนนี่ พูดเหมือนเชิงข่มอยู่เยอะทีเดียว พูดถึงสิ่งไม่ดี สิ่งที่ต่ำ ก็พูด เป็นเชิงข่ม มีลีลา สำเนียง ภาษาโวหารเป็นเชิงข่ม แต่ว่ากริยากาย อาตมว่าอาตมา ไม่ค่อยมีเท่าไหร่ ก็เพราะว่า อาตมาไม่ได้ ไปชนกันเท่าไหร่ ทางกายกรรม ไปเป็นเชิง ข่มคนนั่น ข่มคนนี่ กริยาทางกาย อาตมาไม่ค่อยได้ทำเท่าไหร่ แต่ว่าทางวาจานี่ อาตมาบรรยายมาก พูดมากอยู่ จึงมีบางครั้งบางคราว ดูเหมือน จะเป็นข่ม การพูดอย่างนั้น อาตมาก็มีสติสัมปชัญญะ และเตือนพวกเราอยู่เสมอ ว่าอาตมา ไม่ได้พูดข่ม หลายครั้ง ไม่ได้พูดกำกับว่า อาตมาพูดขณะนี้ กำลังพูดนี้ ไม่ได้มีลักษณะข่ม นะ อาตมาไม่ได้กำกับไว้ แต่ใจของอาตมา รู้ตัวอยู่ว่า อาตมาไม่ได้ข่ม

หลายครั้งที่อาตมากำกับ หรือเตือนพวกเราไปพร้อมๆกันกับลีลา ที่ได้พูด ออกมาว่า มันเป็นเชิงข่ม และอาตมา ก็อธิบาย ขยายความ ไปในวาระนั้น ทันทีด้วย ให้พวกเรา ได้รับซับทราบว่า ที่พูดนี่ อาตมาไม่ได้มีใจไปข่ม แต่โวหาร ลักษณะเชิงข่ม นั้น เป็นการแสดงธรรม เป็นศิลปะชนิดหนึ่ง ให้เห็นว่า อย่างนี้ๆ นี่ควรข่ม พระพุทธเจ้า ท่านสอนเรา เหมือนกันว่า ข่มคนที่ควรข่ม ยกคนที่ควรยก นั่นเป็น เรื่องธรรมดา เพราะงั้น สิ่งที่ควรข่ม ก็ต้องข่ม สิ่งที่ควรยก ก็ต้องยก ยกจริงๆ ในวาระในกาละ ที่ควรข่ม ควรยก ก็ต้องทำ

อาตมาก็ได้เตือนพวกเรา ใจเรานี่ไม่ข่มหรอก แต่ปากพูดออกไปนี่ข่ม นะ หรือบางที ถึงกายก็ตาม ทางกาย วาจา ทำท่าทีลีลาข่ม ในกาละที่จะต้องทำ เช่นนั้น ในบางครั้ง บางคราว นี่เป็นเรื่องไม่ทั่วไปนะ เป็นเรื่องสำคัญ เป็นเรื่อง ในกาละ บางกาละ ที่จำเป็น สำคัญที่ควรทำเท่านั้น ไม่ใช่เรื่องที่จะต้องทำ อย่างนั้นเสมอไป ข่มเขาเสมอไปด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ อะไรไม่ได้ โดย เฉพาะใจ ใจนี่จะไม่ข่มใคร เสมอเลย ใจนี่จะไม่ไปข่มใคร แม้มันจะมีวาจาข่ม แต่ใจเรา ไม่ได้ไปข่มใคร ไม่ไปข่ม ไม่ไปดูถูกดูแคลน ใจเราไม่ไปเห็นผู้ใดๆ ต่ำ ไม่ใช่เห็นหรอก ใจมัน หรือว่าปัญญา มันเห็น จริงนะ ใจมันจะเห็นด้วย ญาณปัญญา ของผู้ที่ลึกซึ้งแท้ จะรู้อะไรต่ำ อะไรสูง มันจะเห็นความต่ำจริง แต่ว่าอย่าให้ใจ มันมีลีลา ในการที่จะไปกดข่มเขา ดูถูกเขา เหยียดหยามเขา ก็ไม่รู้จะใช้ภาษา อะไรนะ คือที่จริง มันน่าสมเพช น่าสงสาร

ที่อาตมา เคยพูดไม่รู้กี่ทีแล้วว่า มันน่าสมเพช สงสารผู้คนที่เขามีสภาพ ที่ไม่ดี ไม่งามน่า ที่ต่ำที่ชั่วน่า มันน่าสงสาร ซึ่งเป็นผู้ที่น่าช่วยเหลือ ผู้ที่มีจิตใจ ผู้ที่สูงแล้วนี่ มีจิตใจอย่างนี้จริง ในจิตใจ เห็นผู้ตกต่ำ เห็นผู้ที่ชั่ว ผู้ที่เลว ผู้ที่มีทุกข์ เพราะบาป เพราะความชั่ว ความต่ำอะไรก็ตาม เป็นผู้ที่น่าช่วยเหลือ และต้องทำการช่วยเหลือ ผู้ที่ดีแล้ว ไม่จำเป็นจะต้องไปช่วยผู้ที่ดีแล้วได้อย่างไร ผู้ที่ดีแล้ว ท่านก็มีแต่ หน้าที่ ท่านจะช่วย ผู้ที่ตกต่ำ เป็นธรรมชาติ เป็นธรรมดา ผู้ที่ดีแล้ว ท่านก็ช่วยผู้ที่ตกต่ำ ผู้ตกต่ำ เท่านั้นแหละ ถึงจะได้รับการช่วยเหลือ จากผู้ที่ดี ถ้าผู้ที่ดี แล้ว ไม่มีความคิด อย่างนี้ ไม่มีจิตใจโน้มน้อม อย่างนี้ ไม่มีจิตใจเห็น หรือเป็นอย่างนี้ จริงๆ โลกเรา ก็ตายเลย ทิ้งขว้างกัน คนชั่วก็ไม่มีใครช่วย คนดีไม่ช่วยคนชั่ว ก็บรรลัยเลย ตกต่ำ ทรุดโทรม วุ่นวายกันไปหมด ก็ไปไม่รอดนะ เพราะฉะนั้น เรื่องนี้เป็นเรื่อง ธรรมดา เป็นเรื่องที่เราจะต้องเข้าใจ คิดว่า พวกเรา ก็คงเข้าใจได้ดี ไม่ใช่เรื่องลึกลับอะไร เรื่องอย่างนี้ แต่ ด้วยกิเลสนี่ มันจะทำให้จิตเรา เหยียดหยาม เรื่องมานะอัตตา ตัวนี้ มันเป็นตัว ธรรมชาติ ของกิเลสเชียวนะ กิเลสจริงๆนี่ มันไปเหยียดหยามดูถูก ข่มขี่ เบียดเบียนอยู่ในใจ ดีไม่ดี มันแรงร้าย ไปในสาย โทสะ มันอาฆาตโกรธ ผูกโกรธ

จะเห็นได้ว่าในคำตรัสของพระพุทธเจ้าที่ท่านตรัสเอาไว้ว่า สิ่งที่ควรละนี่ ท่านตรัส เอาไว้ชัดเจน อย่างที่ท่านบอก เอาไว้ว่า ต้องให้ละสิ่งเหล่านี้ เป็นมลทินนี่ เพ่งเล็ง อยากได้ของผู้อื่น มุ่งหมายร้ายผู้อื่น พยาบาทนี่ มุ่งหมายร้าย ไปตั้งแต่ หยาบๆ นี่ จนกระทั่ง ละเอียดเบาๆ นิดๆ ปรารถนาให้เขาตกต่ำ ปรารถนาให้เขา เลวร้าย ปรารถนาให้เขา ไม่เจริญ มีจิตไปยังงั้น มีจิตนึกคิดไปในทางไม่ต้องการ ให้เขาไม่เจริญ แหม ผู้นี้มาทำกู เคยมาด่ากู เคยมาเบียดเบียนกู เคยมาทำ ร้าย มาใส่ความ ใส่กูอะไรต่างๆนานา เสร็จแล้ว เราก็อาฆาต พยาบาท มันก็ยัง มีใจ ไม่ได้ปล่อยวาง ใจที่ยังถือสา ยังติดใจอยู่ เอ็งตกต่ำได้ก็ดี เอ็งตายได้ก็ดี เอ็งเสื่อมลงไปได้ก็ดี จิตอย่างนี่แหละ เป็นจิตเลว ต้องละทุกคน

เราจะไม่มีศัตรู ใครจะมุ่งร้ายเรา เราก็เข้าใจตามความเป็นจริง เท่านั้น ก็พอแล้ว เขามุ่งร้ายต่อเรา เขาไม่ปรารถนาดีต่อเรา เขาเข้าใจเราไม่ได้ เขาก็อาจจะรู้ว่า เราดี แล้วเขาก็มุ่งร้ายกะเรา เพราะ ริษยา ก็ได้ และเขาก็ทำ กรรมกิริยาร้าย อย่างนั้น หรือเขาอาจจะไม่รู้จริงๆ เขาเชื่อว่า เราไม่ดีจริงๆ แล้วเขาก็พยายามข่ม พยายาม ที่จะเปิดเผย บอกให้ผู้อื่นรู้ว่า เราไม่ดีอย่างนั้นอย่างนี้ อะไรอย่างนี้ เป็นต้น เพื่อที่จะไม่ให้หลงใหล เอาอย่างตาม เขาเข้าใจอย่างนั้น ก็ได้ ซึ่งเราช่วยไม่ได้ คนเรามันไม่รู้นี่นะ มันโง่หรือว่า เขายังไม่มีปัญญาพอ จะรู้ความเจริญ หรือความจริง ดีไม่ดีแค่ไหน บังคับกันไม่ได้ ทางจิตวิญญาณ เราก็ต้องเข้าใจเขา อย่างที่ อาตมา อธิบายไปเสมอนี่ให้ดี และเราก็พยายามอย่าให้มี อาการที่ไม่ชอบใจ อาการที่มันไปปรารถนาให้เขาตกต่ำ ปรารถนา ให้เขาไม่เจริญ มันไม่ดีทั้งนั้น มันเป็นความเลวของเรา มันเป็นความเสื่อม

ท่านถึงบอกว่า ต้องละมลทินเหล่านี้ ที่ใจเรานี่เป็นมลทิน มีจิตใจมุ่งร้ายผู้อื่น มีความมักโกรธ อะไรนิด อะไรหน่อย ยิ่งมีเชื้อว่า ไอ้คนนี้มันไม่ใช่พวกของเรา ไอ้คนนี้ เคยทำร้ายแก่เรา เคยไม่ปรารถนาดีต่อเรา เคยเป็นศัตรูเรา อะไร ก็แล้วแต่ พออะไรนิด อะไรหน่อย เราก็เกิดโกรธได้ มักโกรธง่ายๆ แล้ว แถมอุปนาหะ เข้าไปอีก ในข้อที่ ๔ ผูกโกรธ เข้าไปอีก ไม่ปล่อย ไม่วาง ไม่เลิก ไม่คลาย ยังถือสา อยู่นั่นแล้ว ยังจะมี ความเคืองความโกรธ ความมุ่งร้าย หมายร้าย ปรารถนาร้าย อย่างที่กล่าวไปแล้ว พยายามที่จะให้เขานี่ ตกต่ำ ไม่เจริญ อะไรยังงี้นี่ ซึ่งมันเป็น ความปรารถนาที่เลว เป็นความปรารถนา ที่ไม่ควรจะเป็น ไม่ควรจะมีเลย ในนักปฏิบัติธรรม

หรือแม้แต่ไปลบหลู่คุณ ลบหลู่คุณนี่หมายความว่า มักขะ นี่ ลบหลู่คุณนี่ หมายความว่า เขามีคุณนะ ที่จริง เขามีความดีงาม เขามีความถูกต้อง แล้วเรา ก็ไปลบหลู่คุณนั้นเสีย กลับตาลปัตรพูดกลับพูดผิด ทั้งๆที่เป็น คุณอันถูกต้อง เป็นคุณ อันดีงามอยู่ เราก็ไปยกสิ่งที่ดีงามนั้น จริงเขามีความผิดพลาด เขามีความบกพร่อง เขามีสิ่ง ไม่ดีไม่งามในเรื่องอื่น แต่เราก็ลบหลู่ไปหมด หรือแม้แต่คุณที่เป็นจริง เราก็ไม่รู้จักคุณ ไม่รู้จักโทษ ไปลบหลู่คุณ ที่เขามีจริง ในตัวเขา สิ่งไม่ดีก็เป็นส่วนไม่ดี แต่ส่วนดีเขามี สัจจะก็เป็นส่วนดี แต่เราก็ไปลบหลู่ ส่วนดีที่เขามีนะ ลบหลู่คุณคน อย่างนี้ ในรายละเอียดน่ะ ส่วนไปลบหลู่คุณคน ในส่วนรวมๆ ใหญ่ๆ หยาบๆนั่น แสดงว่า ไม่รู้รายละเอียดอะไรเลย ส่วนดีก็ยก ส่วนไม่ดีก็ข่ม จะลบหลู่หรือว่าดูถูก พยายามกด พยายามไม่ให้คนอื่น ไปหลง เอาดีตาม ตามสัจจะ ตามกาลเทศะ เราพึงกระทำ ก็ทำได้นา ลบหลู่ก็มีนัยละเอียด เหมือนกัน มักขะนี่ เพราะฉะนั้น เราต้องรู้คุณคนที่มีคุณ อย่างนั้นอย่างนี้ อย่างถูกต้อง

หรือ ตีเสมอ นี่อย่างเมื่อกี้นี้ พูดไปในรูปแบบแล้วว่า สมณะ ที่ได้รูปแบบมา แม้จะเป็น สมณะที่ยังไม่บรรลุ เราบรรลุเป็นโสดา สกิทา อนาคา อะไรแล้ว ไปตีเสมอ ไม่เข้าใจจารีตประเพณี วัฒนธรรม ไม่เข้าใจ รูปแบบลีลา กายกรรม วจีกรรม อะไรที่ควรจะกระทำให้สอดคล้อง ตามกำหนด ตามสัญญา ตามบัญญัต ิที่ได้มีไว้ ทำตนตีเสมอ แม้แต่ในรูป นี่เป็นแค่รูปแบบ เป็นพระ เป็นสมณะเท่านั้นแหละ เรานี่เป็นอนาคา สกิทาแน่ะ ทำลีลาไม่อ่อนน้อม ไม่มีรูปแบบ ที่ให้ยกย่องเชิดชู

แม้จริงๆ สมณะนั่นยังไม่บรรลุโสดา สกิทา อนาคาก็ตาม แต่ท่านก็ยัง ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ อยู่ในธรรม อยู่ในวินัย สังวรระวัง มีอาบัติก็ปลงอาบัติ มีสิ่งใดที่ยังไม่ได้ ก็พยายามพากเพียรอยู่ แม้จะน้ำตานองหน้า ท่านยังไม่ถึงขั้นบรรลุ ท่านก็พากเพียร อยู่จริง ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบอย่างนี้น่ะ สมควรคารวะ โดยรูปแบบ เราจะเป็นถึง ขนาดขั้นว่า อนาคามี แต่เราก็เป็นฆราวาสก็ตาม ถึงจะเป็นอย่างถึง ขนาดนั้นก็ตาม เราก็จะต้อง รู้จักสัจจะ ที่เป็นสมมุตินั้นๆ และก็ทำให้ถูก ไปตีเสมอ ด้วยกาย ด้วยวาจา ก็ไม่ควร ยิ่งใจ ด้วยแล้ว ถ้าเราเข้าใจ ต้องเข้าใจอย่างที่ อาตมากล่าว ไปแล้ว มีปัญญาเข้าใจว่า เราจะไปลบหลู่ดูถูกน่ะ ความจริงจะมีขนาดไหน ก็มีเถอะ ก็ไม่มีปัญหาอะไร และเราก็ทำไปให้ดี นี่เป็นเรื่องละเอียด เราจะต้องสังวร ศึกษา

สโถ หรือ สถะ ความโอ้อวด นี่ก็ต้องรู้นัยที่โอ้อวดนี่ พวกเราช่างโอ้อวดกันมากอยู่ เพราะไม่รู้จิตวิญญาณ และ ไม่รู้กาละ โอ้อวดโดยไป เข้าใจเผินๆ ที่อาตมาพยายาม อธิบายสัจจะให้ฟังว่า ที่พูดอย่างนี้ ไม่โอ้อวดนะ อย่างพระพุทธเจ้า ท่านบอกว่า เรานี่แหละ เป็นใหญ่ในโลก ไม่มีใครใหญ่กว่าเรา เรานี่แหละ เป็นผู้ที่ความสามารถ สูงส่ง สามารถสอนเทวดา มาร พรหม ได้อย่าง ไม่มีใครยิ่งกว่า เรานี่แหละ ถ้าจะชมเรา ถ้าจะชมอะไรก็แล้วแต่ ชมผู้มีศีลมาก ก็ต้องชมเรานี่แหละ เยี่ยมยอดกว่าใคร ไม่มีใครเทียบ จะชมมีสมาธิ เรานี่แหละ มีสมาธิเยี่ยมยอด ไม่มีใครเทียบ จะชมว่ามีปัญญา ก็เรานี่แหละ มีปัญญา ไม่มีใครเทียบ พระพุทธเจ้า ท่านตรัสอย่างนี้ ไม่ใช่โอ้อวด ท่านตรัสๆเสมอ ตรัสบ่อยๆ แต่ ตรัสอย่างนั้น เป็นภาษา โวหาร มันฟังแล้วโอ้อวดจริงๆนะ ฟังโดยเฉพาะแต่แค่ ว่าฟังภาษา แต่โดยจิตใจ ท่านไม่ได้มี สถะ ไม่ได้มีสโถ ไม่ได้มีการโอ้อวด อันนี้แหละ เป็นเรื่องลึกซึ้ง

ในฐานะที่ท่านเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือแม้แค่อาตมาก็ตาม ในฐานะ ของอาตมา เป็นสมณะ เป็นผู้สืบทอด ธรรมะพระพุทธเจ้า ทำงานศาสนา อาตมา ก็มีนะ มีกาละและมีฐานะที่จะแสดง ยืนยัน ความจริง ที่มันเป็นสิ่งดี ยกสิ่งดีตาม กาลเทศะ ก็บรรยายถึง พูดถึง ไม่มีตัวอย่างอื่นยก อาตมาก็ยก ตัวอย่าง ตัวเอง เหมือนอย่างพระพุทธเจ้า ท่านก็ยกตัวท่านเองเหมือนกัน ในครั้งในคราว และ อาตมา ก็เคยบอก เคยพูดว่า อาตมาไม่มีนะ ไม่มีจิตใจที่จะ ยกตน ไม่มีตัวลักษณะ นั้นในใจ ซึ่งคนเข้าใจไม่ได้ ก็ฟังเหมือนแก้ตัว ฟังเหมือนเล่นลิ้น อะไรอย่างนี้ไป ได้เหมือนกัน

สำคัญที่สุดก็ต้องมีญาณปัญญารู้จริงๆ ใจเรามันมีตัวสโถอยู่ สถะ ตัว โอ้อวด อยากอวด คนอยากอวดนี่ มันเป็นกิเลส กิเลสอยากจะอวด ตั้งแต่เริ่มอวด ได้อวด ได้โชว์ ได้บอกผู้อื่นว่า เราดีเราเด่น เราวิเศษ เราประเสริฐ เราอย่างไรก็แล้วแต่ ได้อวดอย่างใด ก็ตาม และได้อวดมานี่ ใจมันรู้สึกว่า เป็นสุขนี่ นี่ก็เป็นลักษณะ กิเลสแล้ว ได้อวดแล้ว เป็นสุข หรือได้อวดแล้ว ก็เพื่อที่จะได้ให้คนอื่นรับรู้ เขาจะได้ สรรเสริญ คนอื่นจะได้ยกย่องสรรเสริญ จะได้เชื่อตามที่ ภาษาที่ตัวเองบอก ตัวเองอวด หรือไม่ก็ได้ยศ ได้ลาภ มันซ้อนกันอยู่ในนั้นน่ะ ได้ยศ ได้ลาภขึ้นไป เพราะการโอ้อวดของตน การบอกตนเองออกไปว่า ตัวเองประเสริฐ ตัวเองเด่น ตัวเองดัง ดีอย่างโน้นก็แล้วแต่ มีเชิงชั้นซับซ้อนหลายอย่าง ในการอวด อวดอย่างบอกว่า ตัวเองต่ำ มีน่ะ มีลีลาเชิงชั้นนะ ทำทีไปเหมือนพูด เหมือนตัวเองต่ำ แต่ที่จริง จุดหมายโวหารศิลปะให้คนอื่นเขาเข้าใจว่า ตัวเองสูง มีนะ เชิงชั้น อย่างนี้ ก็มี เชิงชั้น ที่ทำให้คนอื่น เขาเข้าใจว่า ตัวเองสูง ด้วยลีลา ต่างๆ นานา

เพราะฉะนั้น คนที่พูดถ่อมตนนะ พยายามพูดถ่อมตนนั่นน่ะ ที่จริงใจ ลึกๆ เป็นวิธีการ ชนิดหนึ่ง ว่า ฉันพูดถ่อมตนนี่ ฉันคือคนสูง ฉันคือคนดี ฉันคือคนไม่ อวดตัว อวดตน ไม่โอ้อวด นี่เชิงชั้นกลับกันอย่างนี้ มีจริงๆ เข้าใจใช่ไหม พวกเราฟังดูนี่ เข้าใจใช่ไหม เป็นเชิงถ่อมตนนะ พูดถ่อม พูดอะไรต่ออะไร ลีลา ลึกซึ้งนะ ลีลาเหมือน ไม่ใช่ถ่อมตน อย่างน่าเกลียดด้วย ถ่อมตนอย่างมีโวหาร ภาษา ท่าทีลีลา ประกอบ แหม เจ๋งเลย น่าเชื่อถือ แหม เป็นคนดีจริงๆ นะ เป็นคน ไม่โอ้อวด เป็นคนถ่อมตนด้วยนะ วิเศษ นั่นแหละ แล้วให้คนอื่นเขาได้รับไปแล้ว เขาจะรู้สึก ทันทีว่า เขาจะให้ความเคารพนับถือขึ้นมาเลย ยกย่องขึ้นมาเลย ได้ผล ทำให้คนอื่น เขาเข้าใจว่า ตัวเองเป็นคนดี นั่นก็คือการโอ้อวด ในลีลา โวหารกลับกัน เป็นศิลปะ เป็นวรยุทธชั้นซับซ้อนนะ อย่างนั้นก็มี

อาตมาพูดอย่างนี้ก็พอเข้าใจ มีลักษณะพวกนี้ ซับซ้อนลึกซึ้ง มันมีมากหลากหลาย นะ นี่อาตมา ยกตัวอย่าง ประกอบ เท่านั้น เพราะฉะนั้น การจะไม่โอ้อวด หรือโอ้อวด นี่จึงอยู่ที่ ญาณปัญญา และ อยู่ที่การทำใจในใจ อย่างสำคัญ ลึกซึ้งมาก ว่าใจเรานี่ จะต้องไม่ให้มีลักษณะ โอ้อวด อยากได้ แม้แต่เป็นสุข อย่างที่กล่าว เพราะฉะนั้น ยังอยากได้ สรรเสริญ อยากได้ลาภ อยากได้อะไรเข้ามา เพราะการโอ้อวด เหล่านี้ มันไม่บริสุทธิ์ แต่ถ้าได้ ประกาศ หรือได้บอก หรือได้โชว์ออกไป ได้แสดงออกไป ตามจริง เหมือนอย่าง พระพุทธเจ้า หรืออาตมาพยายามพูด ความจริง พยายามบอก ในส่วนที่ดีอะไร ของตนเอง ออกไปนี่ อาตมาพูดนี่ อาตมาว่า อาตมาเข้าใจ และ อาตมา มีสติ และได้ระลึก ได้พยายาม กระทำจริง ว่าเราไม่ได้อวดหรอก นะ นี่เรามี ความลามกในใจไหม สถะ สโถ นี่ อวดตัวด้วยความลามก อวดตัวอวดตน ว่าตัวเองดี แล้วก็มีใจฟูใจ มีใจแม้แต่แค่สุข บอกแล้วนะ เป็นความหลงตัว ยินดีในตัวเอง หลงดีในตัวเอง เรา หลงไหม เราไม่ได้หลง แต่ว่าเราดี เราพูดดีแล้ว เออ เราก็เข้าใจ เราก็รู้ว่า เราดี เอาดีนี้มาพูด เพื่อประโยชน์ใด เพื่อประโยชน์ผู้อื่น ไม่ใช่เพื่อตนเอง จะได้รับการสรรเสริญ หรือได้ยศ ได้ลาภ หรือ พูดออกไปแล้ว มันมันหัวใจ ได้โชว์อวดไป แล้ว มันเขื่อง มันกร่าง มันหรู เออ เราได้บอก ความดี โชว์ความดี ของตัวเอง ให้ฟูใจอะไรออกมาก็แล้วแต่ ต้องมีญาณปัญญา รู้รายละเอียด ของตนจริงๆ ถ้ามันมีแล้ว ต้องระงับ มีแล้วต้องพยายามหยุดยั้ง พยายาม อย่าให้เกิดอาการเหล่านั้น ทางใจ ให้ได้จริงๆ สมควรไหมที่จะพูด มีประโยชน์ไหม เอามาโชว์ เอามากล่าว เอามาแสดงนี่ มันไม่สมควร จะเอามาโชว์ ให้มันรุ่มร่าม ฟุ่มเฟือยไปทำไม ถ้ามันสมควร ในกาลเทศะ ตามฐานะที่เป็นไป เป็นประโยชน์ ประโยชน์ผู้อื่นด้วย ด้วยประโยชน์ ตน จะมีอะไร ถ้าให้ตัวเองได้ลาภ ยศ สรรเสริญ โลกียสุข ก็เป็นประโยชน์ทางโลกีย์ เราก็ยังถือว่าโลกีย์ ไม่ใช่โลกุตรธรรม เป็นโลกียธรรม จะทำทำไม เอามาทำไม เราจะเป็นผู้ละลด โลกีย์อยู่แล้ว เราก็จะต้องรู้รายละเอียดพวกนี้ๆให้ชัดนา

ลักษณะมายา มายาเมื่อกี้นี้ ยกตัวอย่าง เพราะว่า ผู้ที่ทำเป็นถ่อมตนน่ะ เป็นผู้ที่อ่อนน้อม เป็นผู้ที่ถ่อมตน ถล่มตนเอง ว่าตัวเองไม่ดี แต่แท้จริง อยากให้คน อื่นเขามีลีลาวรยุทธศิลปะ วิธีการพูดไปทำถ่อมไป เพื่อที่จะให้ คนอื่นเขาเข้าใจว่า ตนเองดี นี่มายา มายาสาเถยยะ นี่เป็นมายา ที่เป็นลักษณะ ตัวหลอกลวง หรือ เรียกว่า มารยาทนี่แหละ และมันจะมีลักษณ ะที่ไม่ซื่อไม่ตรง พวกนี้เป็นบทบาท ซ่อนอยู่ข้างหลัง แล้วก็บงการ ให้แสดง ออกมาทางกายวาจาได้อย่าง แหม คนที่เก่งๆ จริงๆ ทุกวันนี้ เขาซักซ้อมฝึกฝน อบรมกันอยู่ในสังคมโลกนี่ เยอะเลยนะ เยอะเลย มายานี่ ตัวเองไม่ดี ก็แสดงท่าทีดี เพื่อที่จะได้ซึ่งลาภ ยศ สรรเสริญ โลกียสุข มาให้ แก่ตนเอง

แต่จริงๆแล้ว มันซ่อนเชิงอีกเหมือนกันว่า พวกเรานี่ก็อบรมประพฤติตน กายกรรม วจีกรรม แม้ว่าใจของเรา ยังไม่บริสุทธิ์ แต่เราก็แสดงความดี กุศลใด สุจริตใด ที่จะแสดงออกเป็นสภาพดีข้างนอก แม้ใจเรา ยังไม่ได้เป็น อย่างนั้นจริง ไม่ตรงกัน แต่เราก็แสดงสภาพออกไปทางกาย วาจา ให้ดีด้วยการสำรวมสังวร โดยจิตของเรา ไม่ได้หมาย ที่จะต้องการลาภ ยศ สรรเสริญ หรือโลกียสุขใดๆ ดีไม่ดี ต้องบังคับ ต้องอดทน ต้องทุกข์ลำบาก สังวรให้นาน ให้ทน สังวร ให้ยืน ตั้งมั่น ให้ไม่เปลี่ยนแปลง จากกุศลนี้ จากความดีงาม อันนี้หรอก กิริยา กายวาจา อันนี้ พยายามด้วยซ้ำไป เป็นความลำบาก เป็นทุกขายะ อัตตานัง ปทะหะโต กำลังตั้งตน ในความลำบาก จริงๆอยู่ด้วยซ้ำ ก็ไม่ใช่เรื่องที่เป็นมายา ฟังกลับกัน นะ ดูลึกๆ ที่ใจของเรา ว่ามันมีความปรารถนาลามก ว่าเราเอง นี่แสดงอย่างนี้ เพราะการขัดเกลา เพื่อขัดเกลาตัวเอง หรือ เพื่อที่จะให้คนอื่นเขามายกยอปอปั้น เขามาให้ลาภ ให้ยศ แล้วเราก็จะได้สิ่งเหล่านั้นมา มันมีตัวลามก นั้นไหม ถ้ามัน มีตัวลามก นั้นมันเป็นตัวสังวรตัวเอง หรือให้ผู้อื่น เข้าใจได้เห็น กาย วาจา ใจที่ ดีๆๆๆ เท่านี้แหละ เหลือเศษอะไรที่ซ้อนอยู่ในจิตลึกๆ อ่านให้ชัด และตัดเศษพวกนั้น จะไม่ให้คนเราสังวรดี แม้จิตใจของเรายังไม่สมบูรณ์ เราก็ยังไม่ดีตามกาย วาจาหรอก แต่เรารู้ด้วยความรู้ว่า เราต้องทำกายกรรม อย่างนี้แหละดี วจีกรรมก็ ต้องพูดอย่างนี้ดี เช่นบางครั้งบางคราว เราพูดเกิน ถึงขนาดเราเป็นแค่ โสดานะ เราพูดถึงสกิทาโน่น ถึงขั้นอนาคา พูดถึงกรรมกิริยาที่ดีที่วิเศษเจริญกว่านั้น ให้คน อื่นฟัง ทำกายกรรม ให้มันสำรวมสังวร ให้เหมือนกะเป็นพระอรหันต์เชียว กริยา กายก็เหมือนอย่างพระอรหันต์เชียว ทั้งๆที่เรา ยังไม่เป็นหรอก ฝืนนะพยายาม แต่ ซ้อนลึก มันซ้อนในลึกเข้าไปถึงขั้นว่า เรามีอะไรที่จะยังปรารถนาลามก อยู่ไหม ถ้าไม่มี ปรารถนาลามก ก็ถูกแล้ว สังวรอย่างพอดีพอเหมาะ แล้วไม่เป็นมายา มารยาท หรือ มายาหยาบๆ อาตมาไม่อธิบาย พวกเราก็ไปศึกษา ไปรู้เอาเอง มันไม่มีปัญหามากนัก นี่พูดจุดที่สำคัญ ให้ฟังเท่านั้นนะ

ความปรารถนาลามก ปาปิจฉตา บาปนั่นแหละ อิจฉาแปลว่า ความปรารถนา ปาปะนี่บาป แปลว่า ความลามก แปลว่าความไม่ดีไม่งาม ถ้าผู้ใดรู้ตัวอิจฉา ของตัวเอง ตัวจิตปรารถนาของตัวเอง อาตมา เคยบอกมา หลายทีแล้วนะว่า ตัวอิจฉา ภาษาบาลีนี่แปลว่า ความปรารถนา ส่วนริษยานั่นคือ อิสสา ทางอีสานนี่ เรียกว่า อิสสานี่ถูก เพราะเขาไม่เรียกอิจฉาหรอก ทางอีสาน เขาเรียกอิสสา อิสสา เขาเรียกถูก อิสสา ทางภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคใต้เขาเรียกอิจฉา ไปหมด เรียกว่า มันเพี้ยนคำ มันผิดคำ

อิจฉา แปลว่า ความปรารถนาธรรมดากลางๆ ถ้าเรามีจิตปรารถนา อะไรอยู่ นั่นในทางไม่ดี ไม่งามใดๆ ทั้งปวงเลย ตอนนี้ลามก ทุกอย่างล่ะ ปรารถนา ไม่ดี ทุกอย่างให้เขาไม่ได้ดีต่างๆนานา ให้ใครไม่ได้ดี แม้แต่ปรารถนา ให้แก่ตัวเอง ปรารถนากิเลส ให้แก่ตัวเอง เป็นความปรารถนาที่ลามก เราโง่ เราถึงปรารถนา ความไม่ดี ให้แก่ตัวเอง เป็นความต้องการๆ แก้แค้น เป็นความปรารถนา ดีหรือเปล่า ดีไหม ไม่ดี แก้แค้นใดๆ ก็ไม่ดี แต่เรามันละไม่ง่าย เหมือนกันนะ ใครยังมีอยู่บ้างล่ะ แหม เอาหน่อยก็ดี ไม่ได้แก้แค้นหนักๆ ได้แก้แค้นน้อยๆ ก็เอาเถอะ อะไรอย่างนี้ เป็นต้น เราไม่ได้ทำเองหรอก คนอื่นเขาทำ ไอ้คนนี้มัน ควรจะได้รับ แหม สักป้าบน่ะ ได้รับสักหน่อยหนึ่ง ก็ดีนะ เสร็จแล้ว เขาก็ได้รับ กรรมนั้น คนอื่นทำนะ เราไม่ได้ทำสักหน่อยหนึ่ง ใจของเราดีๆๆ สม ดีแล้ว นี่แหละ ปรารถนาลามก ตัวเอง ไม่ได้ทำสักหน่อย ก็ยังอุตส่าห์เอาใจนี่ อาการของใจนี่ แทนที่ จะสงสารเขา เแทนที่จะสมเพช เวทนา แทนที่จะระลึกดี อ้าว ตัวกลับ ไปเลวเสียอีก น่ะ ใจชั่ว นี่เป็นบาป มีความปรารถนาอยู่ แล้วก็มีบาปออกไป โดยโง่ โดยไม่รู้ตัว ตนเองไม่ได้ทำนะ คนอื่นทำ แต่คนนี้เรายังผูกโกรธ ยังผูก อาฆาตอยู่นั่นแหละ แหม ไอ้นี้มันดีแล้ว สม ได้รับกรรม เป็นความตกต่ำ หรือ เป็นความเจ็บปวด เป็นความทรมาน อะไรก็ตามแต่ เหอะ พอเขาเป็นอย่างนั้น ใจของเรา อาการใจ เกิดปั๊บ ทันทีเลย นี่ ต้องรู้ตัวเองให้ได้ ถ้ารู้ทันก็ดี อย่าให้มันเกิด ระงับได้ก็เอาเลย แม้รู้ไม่ทัน มันเกิดแล้ว ตาย เมื่อรู้สึกตัว มีสติ ให้รู้ว่า แหม เรานี่สะใจ ผู้ที่เรายัง ไปถือสา ยังไม่ปล่อย ยังไม่วาง ยังไม่อภัย แล้วเขาได้รับความไม่ดีไม่งาม เราก็ยังไปสะใจ ก็ยังไปสมเขา ไปสะใจ ยังไปยินดี ไอ้การปรารถนาลามกอย่างนี้น่ะ อาตมาพยายามใช้ภาษาไทยบรรยาย ให้คุณฟัง ตรวจตราอาการพวกนี้ ให้ดีๆ อย่าไปมี ความปรารถนาลามก แม้แต่ตัวเอง ไม่ได้ทำเอง คนอื่นทำ ก็ยังไป มีใจผูกพัน เห็นให้ได้ว่า ใจเรายังไม่ดี ใจเรายังมีมลทิน ยังมีของไม่ดี ยังมีอาการ ไม่ดีในใจอยู่

อาตมาเตือนพวกเราหลายทีหลายครั้ง ในส่วนที่ผู้ที่เคยทำอะไรแก่เรา และเราก็ยัง ผูกใจถือสา เสร็จแล้ว พอเขา ได้รับกระทบอย่างโน้นอย่างนี้ขึ้นมา แล้วก็ แสดงอาการ วาจาก็ตาม กายกรรมก็ตามออกมา ก็เห็น อาตมาต้องเตือน บ่อยๆ หลายทีนะ ระวังนะ ไม่ใช่ง่าย แล้วละเอียดรู้ตัวเองก็ยาก แล้วต้องพยายาม จริงๆนะ ต้องละล้าง ต้องทำใจในใจให้ดี อย่าไปมีใจลามกอย่างนั้นเลย แม้ลึกซึ้ง อย่างนี้ ละเอียดลออ ยิ่งกว่าที่อาตมากล่าวนี่ก็ตาม มันจะน้อยที่อาตมากล่าว ด้วยภาษา ไม่ถึงนี่ก็ตาม ต้องอ่านให้ละเอียดลออ ให้หมด ให้เกลี้ยงให้ดีๆนะ การปรารถนา ลามกนี่ รวมความไปทั้งนั้นแหละ เป็นความตั้งใจ เป็นความต้องการ อยู่ในใจของเราว่า ต้องการ ให้ผู้อื่นตกต่ำ ต้องการให้ผู้อื่นไม่ได้ดี หรือแม้แต่ตัวเองนี่ อวิชชา โง่ แล้วไปต้องการในสิ่งที่ไม่ดี สิ่งที่เป็นบาป เป็นอกุศล เป็นทุจริตมา ให้แก่ตัว จะละเอียด ขนาดไหนก็ตาม การปรารถนาให้แก่ตัวได้อย่างนั้น ก็เป็นการ ปรารถนาลามก ปรารถนาให้ผู้อื่น ตกต่ำก็ลามก ปรารถนาความไม่ดีไม่งามให้แก่ ตัวด้วยอวิชชา ก็ยังลามกอยู่ เตรียมตัวให้ดี นี่อภิชฌา เป็นถึงขนาดนั้น

ส่วนข้อ ๑๒ มีความเห็นผิดนั้นน่ะ เป็นตัวกลาง เป็นตัวที่จะต้องศึกษา มิจฉา สัมมา ไปตามลำดับ ตามอริยมรรค องค์ ๘ อริยมรรคองค์ ๘ ก็ได้อ่านไปแล้ว เมื่อกี้นี้ว่า ความเป็นสมณะทั้งหลายนี่ อย่างไร ถึงจะเป็น ก็ต้องปฏิบัติตาม อริย อัฏฐัง คิกมรรค ซึ่งเราก็พูดกันแล้ว วันนี้ไม่สาธยาย ไม่อธิบายในเรื่อง อริยมรรคองค์ ๘ เพราะอันนี้ เป็นเรื่องหลัก ที่เราจะพูดในกาละอื่นๆใดๆ ก็จะพูดกันอีกมาก จะบรรยายกัน อีกมากนะ

ทีนี้ ก็มาพูดถึงความเกิดของสมณะกันดีๆนะ ความเกิดของสมณะ เอาสภาพ ที่ท่านตรัสว่า มันเป็น อย่างนี้ๆ นี่ สมณะเป็นอย่างไร ถามเรียกว่าสมณะเป็นอย่างไร เรามาฟังวันนี้ รำลึกตัวเราเอง จะเป็น ฆราวาส จะเป็นพวกเรานี่ ก็ดี แม้จะเป็น ผู้ที่ได้รับ การบรรพชาบวชมาแล้ว ได้รูป ได้แบบมาแล้วก็ตาม ฟังดูอาจ จะไม่ได้ ละเอียดลออนัก แม้จะหยาบก็พอมีเวลา พอจะพูดกันได้ ก็เพราะว่า พวกเราที่มา กันนี่ มาวันสำคัญ มาก็มาซ้ำมาซากนี่นะ ไม่ต้องได้มีอะไรมากหรอกที่นี่ มางานสำคัญ วันนั้นวันนี้ก็มา มารวมกัน ไม่ได้พาทำอะไรมาก นอกจาก จะนั่งฟังเทศน์ มีกรรมกริยาอะไรต่ออะไร ก็แค่มาฟังเทศน์ อาตมาเทศน์เป็นหลัก ถ้าวันสำคัญ ก็อาตมาเทศน์ เป็นหลัก นอกนั้นผู้อื่นท่านก็เทศน์ ท่านก็บรรยาย แม้แต่มาแสดง ความรำลึกกัน เมื่อคืนนี้น่ะ มีผู้มาแสดง ความรำลึกถึง เรื่องนั้น เรื่องนี้ ก็ไม่มีอะไรมาก ก็พูด บางคนก็รู้สิ่งที่รำลึกออกมาพูด แต่ละคนก็รู้ แต่บางอัน บางอย่าง เราไม่รู้ เราก็ได้ยินเพิ่มเติมนา บางอย่างเราไม่เข้าใจ เราไม่ได้ไป สัมผัสด้วย ไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์ หรือไม่ได้เป็นผู้มี ประสบการณ์นั้นเอง เราก็ไม่รู้ ก็ได้รำลึก ได้พัฒนาตัวเอง ในการที่จะทำให้ตนเองเจริญ หรือ ประเสริฐขึ้น ก็เป็นอย่างนี้นะ ไม่ได้มีองค์ประกอบในเรื่องอื่นๆ ที่เล่นที่หัว ที่เขื่อง ที่หรูหรา ฟู่ฟ่า ที่อะไรต่ออะไรขึ้นมา เอิกเกริก เฮฮา มากนัก ซ้ำๆซากๆ

ตัวศรัทธา ตัวปัญญา ศรัทธาและปัญญา นี้ในพวกเรามีอยู่ดี บางคนอาจปัญญายังไม่ดี แต่ตอนนี้ ยังไม่รู้สึกๆ ต่อๆไปในอนาคต ถ้าเผื่อว่า ผู้นั้นปัญญาไม่ดี อย่างที่กล่าวแล้ว แต่มีศรัทธานำก็มากัน พอมาแล้ว วันงาน วันอะไร ได้มารวมกัน อย่างที่มากันนี่ เอ๊ ก็ไม่เห็นมีอะไร มาถึงก็มานั่ง อยู่ในศาลา นี่แหละ นั่งฟังท่านพูด บางคนมา ๑๐ ครั้ง ก็แล้ว ๒๐ ครั้งก็แล้ว ๑๐๐ ครั้งก็แล้ว เราไม่พูดสักที มีแต่ฟัง ท่านพูดท่าเดียว และก็ไม่ได้พูดอะไรมาก จะร้อง จะรำ จะทำอย่างเบิร์ดมั่ง จะทำอย่างนักลีลาร่ายรำ หรือจะทำเป็นท่าทีอย่างโน้นอย่างนี้บ้าง ก็ไม่มีอะไร มากมาย พูดก็อย่างนี้ ท่าทีลีลาก็หวือหวาก็แค่นี้ ฟังเสร็จแล้ว ชั่วโมงสองชั่วโมง บางที เล่นเสียสามชั่วโมง สี่ชั่วโมง ก็ยังมี บางครั้งบางคราว ลุกขึ้นมา ปวดเนื้อปวดตัว โอย ท่านหนอ ให้มานั่งฟังท่านเสีย ๔ ชั่วโมง ออกไปแล้วก็ พอเสร็จวัน หมดวัน กลับบ้าน ถึงเวลาตามนัดตามอะไรบ้าง ก็มาอีก ก็ไม่มีอะไร แปลกใหม่ ก็ซ้ำๆ ซากๆ อยู่แต่ในลีลารูปเรื่อง คล้ายๆ ยังงี้ เอ๋ ยังไม่มีเต้น ไม่มีรำ ไม่มีแสงสี ไม่มีวูบวาบ ไม่มีอะไรหวือๆหวาๆ เหมือนกะชาวโลกเขาแหละนะ จัดงานนี่ เขาจะปรุงแต่ง หาของใหม่ หาของแปลกมาเสมอ จัดงานมีวันงานอะไร แปลกๆใหม่ๆ บ้าง เขาก็จะจัด หวือหวา แปลกมาทุกทีน่ะ งานที่ไม่แปลก ก็หมายความว่า คนนั้นคิดไม่ได้ ถ้าเขาคิดได้ เขาจะหาสิ่งแปลกๆมาเสมอ หรือถ้าเขาเชื่อว่า แม้ไม่เอาของแปลก แต่เอาของเก่า เขาเชื่อว่า ผู้ที่มา จะรับรส จะได้รับรสสนุกๆ รสอร่อย รสเพลิดเพลิน เอาของเก่านี่เขาเชื่อว่าซ้ำซาก ของเก่านี่ เขาก็ยังพอใจ

ไม่ต้องเอาของใหม่หรอก ทำของเก่านี่ให้ลึกซึ้งให้ดี เช่น พวก ไปฟังซิมโฟนี ไปฟังเพลงคลาสสิก เพลงซิมโฟนี เพลงคลาสสิกนี่ เขาก็จะเอา เพลงที่เยี่ยมๆ ของนักแต่ง วิเศษๆนี่มาเล่น ฟังนี่ก็รู้เลย เขาจะประกาศเลย จะแสดง เพลงของผู้นี้ๆ เก่าแก่ จะแสดงให้ดียิ่งขึ้น แสดงให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น ซ้ำ ไปเมื่อไหร่ ก็จะไปดูผู้สีไวโอลีน เขาก็จะสี อย่างเก่านี่แหละ นั่งเรียงกันเป็นตับ วาทยกร ผู้อำนวยเพลง ก็จะยกมือ กำกับจังหวะให้มันดี ให้มันพร้อมอยู่แค่นี้ ไปเมื่อไหร่ๆ ไปดูซิมโฟนี เพลงคลาสสิก ไม่มีแปลกเปลี่ยน อะไรหรอก รับรองไม่มีแสงสี ดีสโก้อะไรขึ้นมา ไม่มีเต้น ไม่มีแต่งตัวแปลกปลอมเมื่อไหร่ แต่งตัวให้สุภาพ เรียบร้อยเท่านี้แหละ ดูเมื่อไหร่ๆ ก็เป็นอย่างนั้น ซ้ำซาก เขาก็ไปฟังกันได้ เพื่อความแนบเนียน เพื่อความเรียบร้อย เพื่อความถูกต้อง เมื่อรสชาติอันเดิม ที่ไม่เปลี่ยนแปลงไป รสชาติได้ลึกซึ้ง ดังของเดิม ดังของผู้ที่ประพันธ์ ดังที่เคยได้แสดง ออกมาได้ดีเท่าเดิม หรือดียิ่งขึ้น มีแนวลึกยิ่งขึ้น มีแนวละเอียดลออยิ่งขึ้น มีฟิลลิ่ง (feeling) มีความรู้สึกอะไร ดื่มด่ำยิ่งขึ้น เก่าๆ ซ้ำซากลึกๆ

เหมือนเรามานั่งฟังธรรมนี่ เราไปฟังเพลงคลาสสิก นัยเช่นเดียวกัน ซ้ำซาก เขาจะไม่แปลกใหม่ อะไรมากหรอก แต่ไอ้ของใหม่ๆ ยังเล็กๆ น้อย หวือหวา พวกที่ทำนี่ แปลกขึ้นไปเรื่อย ปรุงแต่งไปเรื่อยๆ พวกโลกจะเป็นอย่างนั้น และหวือหวาไป จนกระทั่ง ไล่ไม่ทันนา เขาจึงจะอยู่ได้ เขาจึงจะยอมรับ

พวกเรานี่เหมือนกัน มางานนี่ มางานของพวกเรานี่ จะซ้ำซากดู เหมือนเพลงคลาสสิค แต่ทุกวันนี้ เราก็มีนะ แต่ไอ้นี่ไม่ใช่ปรุงแต่ง เพื่อต้อนรับนะ บอกตรงๆนะ นี่ปรุงแต่งขึ้นมา ไม่ใช่ต้อนรับงานนี้นะ แต่มีคนมีเจตนา มีเจตนาบ้าง เหมือนกัน มีเจตนาบ้างว่า ให้มันทันให้มันรับงานนี้ แต่ที่จริงเจตนา ที่เราจะสร้างนี่ ไม่ได้เพื่อจะรับ งานอโศกรำลึก ไม่ใช่ เจตนาสร้างให้มันมีต่อไป ไม่ใช่พอมีงาน อโศกรำลึก นี่แล้ว จะรื้อ ไม่ใช่ เพื่องานอโศกรำลึก นี้เท่านั้น ไม่ใช่นะ ฟังให้ดี นะ สร้างขึ้นมา เพื่อเราเห็นว่า จะทำธรรมชาติอันนี้ขึ้นมาให้ แล้วเราจะมีอันนี้ไว้ในนี้ และไม่คิดจะรื้อนะ คิดจะดูแลปรับปรุง ให้ดีไปเรื่อยๆ ด้วยซ้ำ ไม่ได้ทำเพื่อเจตนา จะปรุงแต่งใหม่ ให้มันแปลกตา แต่ มันพอดีจังหวะที่อโศกรำลึก เอาความแปลกใหม่นี่ ยังไงๆ ก็ไม่ใช่ใครหรอก ก็พวกคุณนั่นแหละ แหม มันซ้ำซาก มันเซ็ง มีอะไร แปลกใหม่ขึ้น ก็ค่อยยังชั่วนิดหนึ่ง อย่างน้อย อาตมาเปลี่ยนมุม มานั่งเทศน์ที่นี่ มันก็ใหม่ หน่อยหนึ่งละ ดีกว่ามาถึงก็นั่งเก้าอี้ตัวเก่า อย่างเก่ง ก็ยกสูงขึ้นหน่อย ทุกปี ยกสูงขึ้นหน่อย ยังจำได้ไหม รำลึกได้ไหม เอาอะไรมารองให้ อาตมาอยู่มุมโน้นบ้าง มุมนี้บ้าง เอาเก้าอี้ตัวเก่านั่น เก้าอี้ตัวนั้นไม่รู้ว่าตัวเก่า จริงๆ หรือเปล่า ตั้งแต่แดนอโศก ไม่ใช่ละมั่ง ตัวแดนอโศกเก้าอี้พับได้ ดูเหมือน จะตัวใหม่แล้ว เป็นไม้ ตัวเก่า ไม่เป็นไม้หรอก เป็นเหล็กๆ แล้วก็มีเบาะสีดำจำได้ นั่นเขาซื้อให้ ตั้งแต่สมัยอยู่แดนอโศก และอาตมา นั่งตัวนั่นมา จนกระทั่ง ถึงที่นี่ ก็ยัง ตามมาใช้อยู่ตั้งนาน เดี๋ยวนี้ไม่รู้ไปที่ไหนแล้วนา ก็แค่นั่งเก้าอี้ ทีนี้ก็โยกย้ายยัก ย้ายมา นั่งนี่บ้าง ไปนั่งโน่นบ้าง นี่ก็ดูแปลก ก็ดูใหม่ มันก็ไม่ดูหวือหวาอะไร มากมาย หรอกนะ แต่ในอารมณ์ ในจิตใจ ของพวกเรานี่ มันซ้ำซากอยู่ของเก่าๆ มันเซ็ง มันไม่เบื่อไอ้ลักษณะแบบนี้ ก็เป็นกิเลสชนิดหนึ่ง ซ้ำก็ไม่ได้ เซ็ง เบื่อ

เพราะว่าคนเราในโลกนี้ มีแต่ปรุงแต่งใช่ไหม มีแปลกใหม่อะไรไปเรื่อยๆ อะไรต่ออะไร ใหม่ไปเรื่อยๆ เพื่อที่จะได้ เมื่อยมากขึ้น ทรมานมากขึ้น ตามความโง่ ของอวิชชา ของมนุษย์ เขาก็คิดอย่างนั้น ทำอย่างนั้น เราก็เคยอย่างนั้น มาแล้ว แหม ใส่เสื้อซ้ำ เบื่อ โอ๊ย เซ็ง หดหู่ใจ ต้องเปลี่ยนใหม่ เขาก็หลอก ผู้หญิงนี่ยอดนัก เปลี่ยน ยอดนักใหม่ๆๆๆๆ เรื่อยๆ พวกนี้ระวังเถอะ ใหม่ๆๆ เรื่อยๆ เดี๋ยวก็เปลี่ยนสามี ใหม่ๆ เรื่อยๆ ยุ่งเหอะ เอาหนักๆหน่อย นะ นี่ก็พูด หนักๆ หน่อย มันก็ซวยตายเท่านั้นเอง เปลี่ยนอะไร ใหม่ๆ มากๆ บ่อยๆ

ในโลกเขาเป็นอย่างนั้น แต่ในลักษณะของธรรมะแล้วนี่นะ การซ้ำซากก็ รู้ว่าซ้ำซาก การจะเปลี่ยนไปบ้าง ก็รู้ว่า เปลี่ยนไปบ้าง ทุกอย่างไม่เที่ยง แม้เราไม่เปลี่ยน มันเปลี่ยนไปอยู่ โดยนัยสัจจะของมันเอง ว่ามัน ย่อมเปลี่ยนแปลง ไปบ้าง น่า มันไม่เที่ยง มันอนิจจังโดยรูปธรรม แม้นามธรรม ถ้านามธรรมไม่ใช่ปรมัตถ์ ปรมัตถ์ ที่เที่ยงเป็นนิยตะ ปรมัตถ์ที่จะมั่นคง ไม่เปลี่ยนแปลงนั้นน่ะ มีสิ่งเดียวเท่านั้น คือ นิพพาน พูดถึงจุดวิมุติ ที่เข้าถึงสมุจเฉทวิมุติ วิมุติสมบูรณ์เท่านั้นที่จะยั่งยืน เที่ยงแท้ เป็นนิยตะ มีอย่างเดียว

ซึ่งอาตมาเจอในพระบาลีถึงขั้นท่านใช้ อย่าว่าแต่นิพพานเลย ท่านใช้คำว่า นิจจัง ด้วย อาตมาพูดแล้ว ก็ยังนึก ไม่ออกอีก เอาละ มันมีอยู่อันหนึ่ง นิจจังนี่ใช้คำว่า นิจจังเลยนี่แหละ ทางด้านนี้ คือท่านเอา พระบาลีๆ ตัวที่ว่านี้มา ท่านใช้คำว่า นิจจังเลยทีเดียวว่า มันเที่ยงแท้ มีเที่ยงแท้ อยู่อย่างเดียว คือ วิมุติ นิจจัง ท่านได้ถึงที่สุดแล้ว มีนิจจัง

ศาสนาของพระพุทธเจ้า นี่ ท่านตรัสสิ่งที่ยังสังสารวัฏ นี้ เป็นอนิจจัง ทั้งนั้น ยังหมุนเวียน เกิดตายนี่ เป็นสังสารวัฏ แม้แต่ผู้ที่เป็น พระอรหันต์ มีร่างกายอยู่ ก็ยังเป็นอนิจจัง ร่างกาย แม้แต่จิตใจอยู่ จิตใจที่ยังปรุงแต่งอยู่กับโลก ปรุงแต่งอยู่ โดยที่มีวิชา เข้าไปกำกับด้วยนะ ก็ยังเป็นอนิจจัง ยังไม่เที่ยงแท้นะ เปลียนไป ตามเหตุปัจจัย จะต้องปรุง ไปตามเขา ตามขั้นตอน ตามบางคราว ตามกาละ และพระพุทธเจ้านี่ ไม่ปรุงแต่งขนาดนี้หรอก ไม่ต้องมาทำอะไร ขนาดนี้ เพราะว่า ฐานของคน ฐานะของคน อินทรีย์ของคน แข็งแรงกว่าพวกเรา พวกเรานี่ขนาดนี้ เปลี่ยนไปบ้าง ขนาดนี้นะ ปรุงแต่งเสริมเติม อนุโลมปฏิโลมให้พวกเราบ้าง ขนาดนี้เแหละนะ ยังเซ็งๆกันเลย ยังเบื่อๆ เอ๊ย ไป ไม่มีอะไรหรอก มาอโศก มาเดี๋ยวก็นั่งฟังธรรม ไม่มีอะไรใหม่หรอก นั่งฟังธรรม เดี๋ยวก็กลับบ้าน เสียค่ารถค่ารา บางคนอยู่ตั้งไกล มา ไม่มีอะไรหรอก รู้แล้ว มา ไม่มีอะไรแปลก ไม่มีอะไรใหม่หรอก รู้แล้ว ธรรมะก็รู้ไว้ตั้งเยอะ ตั้งแยะ ปฏิบัติยังไม่หมดเลย ไม่ไป ไอ้ที่รู้ๆอยู่ ก็ยังทำไม่ได้เลย มาทำไมเสียสตางค์ เสียเวลา ซ้ำซากอย่างเก่า ถ้ามันเบื่อ หรือว่ามันเซ็ง หรือว่ามันจะไม่มาร่วม ไม่มารวม อะไร ตัวที่มันปฏิเสธ มันไม่อยากมา มันก็หาเหตุ พวกนี้มามาก ก็จริงทั้งนั้นแหละ ถูก ไม่มีอะไรใหม่ เท่าไหร่หรอก พวกเรานี่ แต่ผู้ที่ไม่ใช้ทำประโยชน์แค่นั้น รู้ว่ากาล หมั่นกันมาประชุม หมั่นกันมารวม แล้วถึงวาระ ก็มาระลึกถึงกันๆ แล้วก็มารวมกัน

เรื่องนี้แหละ อาตมาพยายามหยิบมาอธิบายบรรยาย ซึ่งมันเป็นความลึกซึ้ง

อาตมาเคยถามพวกเราว่า ทำไมในศาสนาพุทธจะต้องมี วันมาฆบูชา วันมาฆบูชา คือวันที่ พระสาวกของ พระพุทธเจ้า ต้องมารวมกันโดยไม่ต้องนัดหมาย แล้วมารวมกัน ในวันนั้นน่ะ พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ ต้องมีวันมาฆบูชา พระพุทธเจ้าบางองค์ มีวันมาฆบูชา ในพระชนม์ชีพของท่าน ตั้งหลายครั้ง แล้วก็มีสาวก มาตั้งเป็นล้าน ในบางองค์นะ บางองค์มีมา อย่างพระพุทธเจ้าองค์ของเรานี่

ในยุคนี่ กาลนี้ มีมาแค่ ๑,๒๕๐ รูป ทำไมต้องมีการมารวมกัน ต้องมาระลึกตรงกันยังไง และเป็น วันนั้น เป็นวันมาฆบูชาตลอด วันเพ็ญเดือน ๓ พระพุทธเจ้าทุกพระองค์นะ ไม่รู้กี่พระองค์มา ก็แล้วแต่เถอะ ก็วันมาฆบูชา คือวันนั้นแหละ จะต้องรำลึก ที่จริงมันก็สัญญากันอยู่เหมือนกัน อาตมาพูดกับคุณ ก็สัญญาวันมาฆบูชาเหมือนกัน ต่อไปในอนาคต คุณไปเป็นสาวก ของพระพุทธเจ้า ในปางไหน ก็แล้วแต่ วันมาฆบูชา ถ้าคุณเห็นความสำคัญ เอ๊ วันนี้จะต้องไปพบ พระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าอยู่ไหนเอ่ย ต้องไปแหละ ไม่ต้องนัดหมายหรอก นี่ก็เหมือนคุณรู้แล้ว เป็นสัญญา คุณจะรู้ว่า มาฆบูชานี่ อยู่ในจิตวิญญาณ ของผู้นั้น เพราะฉะนั้น ย่อมเข้าใจ ความสำคัญ ในความสำคัญนี่ดีมาก และ พูดเป็นภาษาคน ไม่ค่อยได้

พูดแล้ว คนข้างนอกๆ คนที่ห่างๆ เขาไม่รู้สึกสำคัญ ไม่รู้สึกว่าลึกซึ้ง ไม่รู้สึกว่าประทับใจ ไม่รู้สึกว่า อื้อฮือ ว่าวิเศษนะ มันเป็นสิ่งสัมพันธ์มา แต่ปางใด เห็นความสำคัญในความสำคัญนี้ ขนาดไหน เพราะในวัน มาฆบูชานี่ พระสาวกที่เป็นพระสาวกแท้ๆ ของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าท่านอุบัติ ขึ้นมาแล้ว มาฆะ นั้นจะต้องไปแล้ว ไม่ต้องนัดหมายหรอก มันนัดหมายในสัญญามา ตั้งแต่วิบากใด กุศลวิบากนี้ มันติดจิตวิญญาณมาแต่ครั้งใดๆ เมื่อเราเป็นพระสาวก ยิ่งจะต้องไป ในวันสำคัญนั้น และเป็นพระสาวก ที่องค์สำคัญด้วย ต้องไปๆเลย เหมือนเรานี่ มีวันสำคัญ ของเรา มีการนัดหมาย มีอะไรต่ออะไรที่สำคัญ ไม่มีอะไร เราก็ต้องมาๆ จะมีเหตุผลเบื่อๆ เซ็งๆ จะต้องยังงั้นยังงี้ ไอ้จิตปรารถนาลามก เพื่อที่จะมากั้น ไม่ให้มานี่ มันจะไม่มี มันจะไม่เห็นว่า แหม น่าเหน็ดเหนื่อย โอ้โฮ ตอนนี้เขาอยู่ไกลเหลือเกิน อยู่ถึงขั้วโลกเหนือ จะเดินทางมานี่ โอ้โฮ ไกลเหลือเกิน ไม่ได้คิดถึงความอุปสรรค ถ้าเห็นความสำคัญนั้น ยิ่งใหญ่ ก็จะมาในวันสำคัญนั้น ทันที อย่างนี้ เป็นต้น

นี่ก็ เป็นเรื่องหยิบเอามาพูดวันนี้ให้ฟัง ว่าในเรื่องของคนเรานี่ ถ้ามีอะไรที่สัญญากำหนด และมีปัญญา เข้าใจสำคัญ เป็นความสำคัญแล้ว มันจะไม่มีอะไร มาที่จะลบล้าง ความสำคัญ นั่นได้นะ แม้แต่อาตมา พูดถึงเรื่องความเซ็ง เป็นความเบื่อ เป็นความซ้ำซาก และเราก็เห็น ความสำคัญอะไรต่อมิอะไรไม่สำคัญ หรือว่า มันมีกิเลสมาล้างมาลดอะไรพวกนี้ และโยงใยไป จนกระทั่งลึกซึ้ง จนถึงขั้นว่า ทำไมนะ วันนัดหมายนั้น ไม่ได้นัดหมายด้วยซ้ำ แต่ทำไมเขาจะต้อง มีอย่างนี้ซ้ำซาก มาฆบูชา พระสาวกของ พระพุทธเจ้า จะต้องมาพร้อมพรั่งกัน ในจำนวน โดยไม่ใช่น้อยๆ โดยไม่ต้องนัดหมาย ทำไม มันเกิดได้ ยังไง มีเหตุทั้งนั้น อยู่ดีๆ จะเกิดโดยบังเอิญ ไม่ได้ มีเหตุ เหตุที่ว่านี่ต้องมีปัญญา มีความสำคัญ ต้องระลึกรู้เอง เป็นของผู้นั้น ระลึกรู้ แล้วท่านก็มา ของท่านเองด้วย ก็จะเป็นสภาพอย่างนั้น

แต่ของเรานี่ โดยโลกก็ยังงี้ เรานัดหมายอโศกรำลึกก็มากัน ทั้งๆที่ผู้มานี่ อาตมาก็รู้ว่า เขาก็รู้แล้วว่า ไม่มีอะไรมาหรอกนะ ก็มานั่งฟังธรรม บางคนไม่ได้คิดด้วยซ้ำ ว่าจะมาเจอ ธรรมชาติ ของพวกนี้มาๆ อ๊าว โอ๊ มีอะไรใหม่เหมือนกันนะ โอ๊ จิตฟื้นตื่นขึ้นนิดหน่อย เออ ไม่เจตนาบอกแล้ว ไม่เจตนาที่จะทำอันนี้ให้แก่ วันอโศกรำลึก แต่ทำอันนี้ขึ้นเพื่อ ธรรมชาติ แม้วันอื่นต่อไปในอนาคต ก็จะยังมีอันนี้อยู่ คอยดูแลรักษา อยู่นะ เอาละ อาตมาขยายความ อันนี้ซ้ำซาก วนเวียนไปหลายทีแล้ว

มาพูดถึงเรื่องของสิ่งที่เราตรวจตรากันดูว่า เราจะเป็นผู้ถึงพร้อม ด้วยหิริโอตตัปปะ หิริโอตตัปปะนี่ อาตมาได้เทศน์เอาไว้ นักหนาแล้ว เป็นเทวธรรม เป็นทรัพย์แท้ของผู้ที่เข้าใจแล้วว่า หิริ นี่คือ ตัวละอายต่อบาป ผู้ที่ยังหยาบ ก็บาป หยาบๆ ละอาย บาปละเอียด เราก็ไม่ละอาย เราก็ยังละเมิด ก็เป็นตามฐาน ผู้ที่ รู้ว่า เออ ไอ้นี่เป็นบาป เป็นของไม่ดีอยู่หรอก แต่เรายังเป็นไป ไม่ได้หรอก เรายังทำไม่ได้ ก็เอาไว้ก่อน

บางคนไม่เห็นว่าเป็นบาปด้วยซ้ำ ไม่เป็นสิ่งที่น่าละ น่าเว้น น่าเลิก ด้วยซ้ำ คนที่มีปัญญารู้ว่า น่าเว้น น่าเลิก น่าขาดออก แล้วก็จริงอยู่ แต่เรายังทำไม่ได้ เรายังอยู่ในฐานะที่จะต้อง ค่อยละ ค่อยลด ในสิ่งที่ควรลด ตามฐานะของเราก่อน ก็จริง ก็ทำตามฐานะไป แล้วความรู้สึกที่มันละอาย หรือมันกลัว โอ๊ย ยังงี้เราไม่เอาละ ยังงี้เราควรจะเพิ่มเติม มันจะเกิดขึ้นที่ทางใจ ของเราเองจริง สิ่งอย่างนี้ มีไหมในเรา แต่ก่อนนี้เราจะต้องแต่งเนื้อแต่งตัว ดูแล้วไม่ละอายละ ละอายอะไร ภาคภูมิด้วย พอได้แต่งปาก เหมือนผีดูดเลือด ปากต้องทำเหมือน ปากผีดูดเลือดไป โอ๊ย ภาคภูมิ สวย นอกจากไม่ทำปาก ผีดูดเลือดแล้ว ยังทำบ้าๆบอๆ ทาสีอะไรอื่น ก็ได้ อย่าว่าแต่สีแดงเลยนะ ธรรมดานี่ มันมาจากสีชมพู เป็นสีที่ธรรมชาติ สีสด แดงมีเลือดฝาดอะไรนี่มันน่าดู หนักเข้า มันไม่ใช่ เลือดฝาดหรอก มันเลือดสดๆ เลย เลือดกินเลือดเขาเลย ทาแดงแปร๊ด แดงแปร๊ด ก็ไม่พอ ทีนี้ผสมสีนั่นสีนี่ ดีไม่ดี ทาดำ ก็ได้ด้วย เออ มันบ้าดีโว้ย ทาปากสีดำ และมันสวยตรงไหน เขาก็ว่าสวย ว่าแปลก มันก็เรื่องสมมุติ เอาละเดี๋ยวจะ ขยายความ มันก็จะไม่มีเวลา มากมาย เราไม่ละอาย เราแต่งอะไรต่ออะไรไป เราทำอะไรต่ออะไรไป กินเหล้าเมายา เสร็จแล้วก็รู้นะว่า เมา กินแล้วก็เมาเดินโซเซ อะไรไป น่าอายนะ น่าอาย แต่เขาไม่อายนะ ในความอยากที่มันมีอยู่ แล้วก็ไปทำเข้าจนได้ แม้ที่สุด อย่าว่าแต่กินเหล้า แล้วก็เดินโซเซเลย แม้แต่จะเหล้านั้นมาแตะก็มาซดเข้าไป แล้วมากินเข้าไปนี่ ถ้ามีหิริ มีโอตตัปปะ ก็จะรู้ว่า กินเข้าไปทำไม ใจเราอยากเหรอ ใจเราอยากนี่ เราลามกแล้วนะ เราอยากแล้ว ก็ไปกินนี่ บำเรอนี่ ทั้งๆที่ เป็นของไม่ควรกิน ไม่น่ากิน ไม่น่าใช้ ไม่น่าเป็น ไม่น่าทำ ไม่น่ามีกรรมกริยา อย่างนี้ เรารู้อย่างนี้ แล้ว เราจะละอาย เออ ไม่ทำแล้ว กิริยาอย่างนี้ กรรมอย่างนี้ กริยาอย่างนี้ ไม่เอาละ หิริมันจะละเอียดอีก หิริมันจะจริงจัง หิริการละอาย จนถึง โอตตัปปะมันเกรงกลัว เฮ่ย ไม่เอา ทำอย่างนี้ ไม่เอาละ มันเป็นภัยต่อกรรม มันเป็นบาป เป็นกรรม ที่แท้จริงนะ ไม่เอาละ คุณจะลด จะละจริงๆเลย มันมีในเราไหม มันรู้สึกในเรา จริงๆไหม คุณจะเกิดที่ใจของเรา มีมากหรือน้อย ตามฐานะ ฐานะโสดาบัน ก็หิริโอตตัปปะตามฐานะ แล้วมีหิริจริงๆ โอตตัปปะอย่างนี้ เราไม่เอาละ เราไม่ทำละ กรรมกิริยาอย่างนี้ สภาพที่จะมาเกิดของเรา อย่างนี้ เราไม่เอาละ คุณจะจริงๆนะ คุณจะเกิดจริงๆ

เพราะฉะนั้น คุณตรวจตนเอง วันนี้ก็ระลึก หรือรำลึกไปด้วย รำลึกไปบ้างว่า มันมีอย่างนี้ไหม ถ้ามี เราก็ได้ เราก็เป็นน่ะ แล้วตามฐานะ แล้วผ่าติดแป้น ควรจะต้องศึกษาให้ลึกซึ้งขึ้นนะ อะไรควรละอาย อะไร ที่ควรจะละเว้นออก ลดลงมา หัดเลิก หัดละ หัดลด หัดเว้นขาด มีศีลนี่ ก็ ควรตั้งให้ตนเอง ว่าหยุด อันนี้ดูสักทีซิ เลิกอันนี้เสียทีซิ เลิกอันนี้ที คุณต้องหัดเลิกทั้งนั้น นะ เลิกยืนอย่างนี้ เลิกนั่งอย่างนี้ เลิกนอนอย่างนี้ เลิกแสดงกิริยากายอย่างนี้ เลิกพูดอย่างนี้ เลิกทำทีท่า อย่างนี้ ทำท่าทีอย่างนี้ รู้สึกว่า มันอร่อยหรือมันติด หรือมันไม่ดี เราก็เลิกเสีย หัดฝึกเลิกสังวรระวัง พวกนี้คือหิริโอตตัปปะ ที่คุณจะมี แล้วคุณจะต้องทำทั้งนั้น เพราะฉะนั้น นัยต่างๆอื่นๆ พวกนี้ มีข้อต่างๆ ก็ขยายไปหมด

หิริโอตตัปปะ นี่เป็นตัวที่เกิดทั้งปัญญา และเกิดทั้งเป็นหลักเกณฑ์ของศีล มีหิริ มีโอตตัปปะ คุณเกิดแล้วว่า ไอ้นี่ควรเลิก ควรเว้น คุณก็ตั้งศีลให้แก่ตัวเองได้ เพราะฉะนั้น เกิดหิริ เกิดโอตตัปปะ ตามภูมิปัญญา เป็นเทวดาสูงขึ้น ก็จะเกิดหิริสูงขึ้น โอตตัปปะสูงขึ้น แล้วก็มาตั้งศีลให้แก่ตัวเอง เมื่อตั้งศีลแล้วก็ปฏิบัติ เรียนรู้องค์ประกอบเรียกว่า พาหุสัจจะ หรือ สุตตะ ความรู้ประกอบ เพิ่มเติม ขึ้นแล้ว คุณก็ปฏิบัติ จนปฏิบัติเกิดผลจริงๆ ศีลก็บริบูรณ์ขึ้น จาคะคือการสละออก ก็สละออกขึ้น จนเกิดศรัทธา เกิดปัญญา เกิดตัวที่กำกับ คือศรัทธา และปัญญากำกับอย่างแท้จริง นี่คือ ทรัพย์แท้ ๗ ประการ

อาตมาอธิบายทรัพย์แท้ ๗ ประการ ขยายความอย่างพิสดารไปแล้ว มีอะไรบ้าง ศรัทธา ศีล หิริ โอตตัปปะ สุตะ จาคะ ปัญญา อธิบายไปแล้ว โดยนัยพิสดารซับซ้อน ตั้งแต่เอาหิริโอตตัปปะ เป็นแกน มันเกิดนะ มันเกิดที่ใจของเรา เราจะเกิดปัญญาๆ นี่มันซับซ้อน อยู่ทุกๆตัวแหละ ศรัทธาก็ต้องมีปัญญา หิริก็ต้อง มีปัญญา ศีลก็ต้องมีปัญญา โอตตัปปะมีปัญญา สุตะยิ่งตัวขยายความรอบรู้ จาคะก็ต้องมีปัญญา ควรจาคะ ควรสละออกอย่างไร มันประกอบอยู่ ตลอดเวลา เพราะฉะนั้น เราจะหิริอะไร จะโอตตัปปะอะไร และเราก็ตั้งศีล ตั้งหลักเกณฑ์ ให้ตัวประพฤติ ลองเลิกดูเสีย ลองให้เลิกดูซิ นี่หลายครั้งหลายคราว พวกเรานี่ อย่างวันนี้ เราลองหัด อดข้าวดูซิ พูดอย่างนี้ ไม่ใช่ชวน แหม ที่จริงไม่น่าพูดหรอก เดี๋ยวจะหัด อดกัน อดมากมาย เอ้า ไม่พูด เลิก

เราหัดเลิก ใช้อันนี้ซิ เราหัดเลิกทำอันนี้ซิ เรารู้ว่า กรรมกิริยาอย่างนี้ ไม่ดีนะ อย่าทำเลย อย่าใช้เลยอย่างนี้ เลิกใช้เสียเถอะ เราไม่ใช้อันนี้ จะเป็นได้ไหม จะอยู่ได้ไหม จะรอดไหมนะ แต่อย่าไปถึงชั้น ไม่ใช้เสื้อผ้า เลยนะ เอา เปลือยกายซิ ไม่ใช้เสื้อผ้าเลย มันมากไปนะ เอาใช้เสื้อเก่าเสื้อใหม่ ไม่ต้องละ อะไรอย่างนี้ เป็นต้น อะไรแล้วแต่ หัดไปทั้งนั้นแหละ กรรมกิริยา อย่างโน้นอย่างนี้ อะไรที่เราเข้าใจแล้ว เราก็ตั้งศีล ขึ้นมา ควรละเว้น อย่างนี้เราทำไม่เป็น อย่างนี้ เราทำไม่ได้ แต่ดีนะ ถ้าเราได้ทำกริยาอย่างนี้ ได้ทำกรรม อย่างนี้ ได้มีอย่างนี้ ดูบ้าง ทำอย่างนี้ดูบ้าง ดีนะๆ ใช้อย่างนี้ดูบ้าง แล้วมันจะเจริญ มันจะประเสริฐ ก็ลองดูตั้งดู เรียกว่าเป็นสิ่งที่ทำให้ เจริญยิ่งขึ้น สิ่งที่ละก็ทำให้ยิ่งขึ้น ก็มีศีลทุกข้อไปแล้วก็ศึกษา สุตตะก็มีองค์ประกอบในความรู้ เมื่อศีลปฏิบัติแล้ว จะมีการเกิดผลอะไรอย่างไร มีองค์ประกอบอะไร อย่างไรมากขึ้น เป็นสุตะ เสร็จแล้ว เราก็ละได้ จาคะได้ สิ่งที่จาคะ สิ่งที่มั่นคง ปรับปรุงตนเองขึ้นไปได้ ก็ได้ แล้วจะเกิดผล เชื่อถือ เกิดปัญญาเข้าใจเรียบร้อย โอ เกิดเป็นผลดีอย่างนี้ หรือ ผลเสียมันเป็น อย่างนี้เล่า เราก็ได้เลิกผลเสียหมด มันเป็นผลดีอย่างนี้ เราก็ได้รับผลดี อย่างนี้เป็นต้น หิริโอตตัปปะ จึงเป็นตัวสำคัญมาก ไม่ใช่เรื่องตื้นๆ นะ

ทีนี้บอกต่อมา เราจะเป็นผู้ประพฤติทางกายบริสุทธิ์เปิดเผยได้ หาช่องทะลุมิได้ เป็นอันสำรวมดีแล้ว ไม่ยกตนข่มผู้อื่น ด้วยคุณข้อนี้ ก็อธิบายไปแล้ว เมื่อกี้นี้ ว่า เราจะมา ประพฤติกายบริสุทธิ์ ก็หมายความว่า ใจเราเข้าใจ แล้วเรามาประพฤติ จนกระทั่ง กายก็เป็น วจีก็เป็น หลายอย่างอาตมานี่ กายยังเป็นไม่ได้ ฟังให้ดีนะ หลายอย่างอาตมา กายยังเป็นไม่ได้ ยังไม่สมบูรณ์ ยังมีกรรมกิริยาที่ ควรละเว้นอยู่อีกตั้ง หลายอย่าง พวกคุณก็คงจะรู้นะ แล้วมันก็ยังตัดไม่ขาด และมันก็ยังเลิกไม่ได้ และมันก็ยังดูท่าทีลีลายังไม่ อาตมาจะต้องฝึกฝน กายกรรม ทำท่าที ลีลา ให้มีมาด มีท่ามีที มีลีลาเยื้องกราย การเอี้ยวแขน ไกวขา การเดิน การเหิน การอะไรนี่ ต้องฝึกฝน ต้องมีไปจนกระทั่ง พระพุทธเจ้านี่สมบูรณ์หมด กายบริสุทธิ์ บริบูรณ์ กายท่าทีลีลา จะแสดงมือ แสดงไม้อะไรออกไป ในกาละเวลานั้นกับผู้นั้น ผู้นี้ ยังงั้นยังงี้ มันจะดูดีไปหมด จะดูเป็นความสอดคล้อง ดูเป็นสิ่งที่ส่งเสริม สร้างสรร มีฤทธิ์มีอำนาจประกอบ ชูให้เกิดฤทธิ์ เกิดผล เราต้องการอะไร กายกรรมทำยังงี้ ประกอบไปร่วมด้วย ก็เป็นสิ่งเสริม เป็นองค์ประกอบ ที่เชื่อมให้มีน้ำหนัก ต่อสาระสัจจะอันนั้น ดีๆๆ ซึ่งผู้ได้รับสื่อสัมผัส รับสื่อเอา จะเกิดผลสูง เรียกว่าฤทธิ์ เรียกว่าปาฏิหาริย์เลย

อย่างอาตมานี่ ยังไม่มีมาก ปาฏิหาริย์ยก็ยังไม่มาก พูดบางทีคนฟังนี่ อย่าว่าแต่กายกรรมเลย วจีพูดอย่างนี้ หูหักไป โอย แทนที่จะศรัทธา กลับหมดศรัทธาไปก็มี อย่างนี้เป็นต้น นี่อย่างนี้ เป็นสิ่งละเอียด มีอีกเยอะ กายกรรม วจีกรรม ที่จะต้องทำให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ แล้วก็มีสิ่งที่ ไม่ต้องปิดบัง เปิดเผยได้ ทำเมื่อใด ก็เป็นความประสม ความประมาณ มีความประมาณประสม ออกได้อย่างดี เปิดเผยออกมาได้ทุกเมื่อ หาช่องทะลุมิได้ นี่แปลจากพระบาลีอะไรไม่ทราบนะ แต่ว่าอาตมา เข้าใจความหมายว่า จะหาสิ่งที่ติ ที่เตียน หาช่องทะลุมิได้ หมายความว่า ใครจะมา หาช่องหารอย หามุมที่จะเอามาใช้ติเตียน เอามาใช้ข่ม เอามาใช้หักล้างไม่ได้ หาช่องทะลุมิได้นี่ อาตมาไม่ทราบว่า พระบาลีอะไร ความหมายที่ อาตมารู้สภาวะ หาช่องทะลุมิได้นี่คือ สิ่งที่ท่าน เป็นไปแล้ว พร้อมทั้งกายกรรม วจีกรรม มโนกรรมของท่านแสดงออก ของผู้นั้นๆ นี่จะมีเป้าหมาย สูงสุด ถึงขั้นเปิดเผยออกได้แล้ว ผู้อื่นจะเอาสิ่งนั้นหาช่องหารอย ที่จะเอามา ติเตียนว่า เอามาหักล้าง เอามาไม่มีการแย้งได้ ว่ายังงั้นเถอะ เป็นอันสำรวมดีแล้ว สิ่งนั้นสำรวมไป อย่างพอเหมาะพอดีทุกอย่าง ไม่ยกตนข่มผู้อื่น ด้วยคุณข้อนี้ ด้วยคุณข้อที่ว่า แม้แต่การ เปิดเผยทาง กายกรรม สิ่งที่เปิดเผยออกไป วจีกรรมด้วยก็ตาม จะเอามาเป็น ท่าทีลีลา เป็นคุณนะ เปิดเผยท่าที ของลีลาของกายกรรม วจีกรรม เป็นคุณ จะเอามายกอ้างว่า เพื่อไปข่มผู้อื่นไม่ได้ ประมาณ

อาตมาอธิบายตรงนี้ยาก อย่างที่อาตมาพูดแล้วว่า แม้แต่อาตมาพูดนี่ เป็นเชิงข่ม แต่ผู้ที่ปรุง ทั้งภาษา กิริยาท่าที จะตำหนิก็ตาม ตำหนิผู้นั้นผู้นี้ อย่างพระพุทธเจ้าจะตำหนิใคร ท่านเหมือนกะ พอเหมาะพอดี ไม่รู้สึกว่าจะข่มเขาเลย ผู้ฟังมีศรัทธาด้วย ก็ยิ่งรู้แล้วว่า ผู้ฟังมีศรัทธามาก อาตมาพูด กะพวกคุณนี่ เป็นเชิงข่มผู้อื่นนี่นะ หลายคนในพวกเรานี่ อาตมาเชื่อว่า ดูซิ ท่านไปข่มเขาแล้ว คุณจะรู้สึก แต่หลายคน บอกไม่หรอก ถูกแล้วละ ท่านพูดถูกแล้วละ ไม่รู้สึกว่า อาตมาไปพูดข่มเขา นี่ก็เป็นศรัทธาในปัญญา ที่คุณยกให้ตามฐาน ของพวกคุณ อาตมาต้อง ประมาณแล้ว มีสิบคนก็ต้องประมาณสิบคน มีร้อยคน ก็ต้องประมาณร้อยคน ว่าพูดแรง พูดหยาบ พูดที่มีลีลา อย่างนี้ ขนาดนี้นะ ใครจะยกให้อาตมาเท่าไหร่ อีกกี่คน จะยกให้ อาตมาก็ต้องประมาณ

ทีนี้ สำหรับพระพุทธเจ้า ท่านตรัสนี่ท่านก็ประมาณเหมือนอาตมาประมาณ แต่ท่านประมาณ ได้ดีกว่า อาตมาประมาณ ใช่ไหม คนจะไม่รู้สึกเลยว่า ไปข่มเขา นี่แหละเรียกว่า ไม่ยกตนข่มผู้อื่น ด้วยคุณข้อนี้ แต่แสดงกายกรรม วจีกรรมออกไป ท่าทีลีลาอย่างนี้ จะไม่รู้สึกว่าไปข่มเขา

ผู้ที่ฟังอยู่ในนี้ท่านประมาณแล้วในบริษัทขนาดนี้ และพูดไปในขนาดนี้ ทั้งๆ ที่ท่านเราหยิบมา โดยเนื้อหา โอ้โฮ ข่มเขาแหลกลาญเลยนา อย่างที่อาตมายกมาให้ฟัง และท่านก็ตรัสไว้เยอะเลย ถ้าจะชมเราแล้ว ถ้าจะชมใครว่า มีศีลวิเศษแล้ว ก็ต้องชมเราคนเดียวนี่แหละ เลิศยอดกว่าเพื่อน ไม่มีใครเหนือกว่า พูดลอยๆ มาอย่างนี้ ถ้าไปพูดลอยๆมา กับคนที่เพ่งโทษ ในคนที่ไม่ศรัทธา พระพุทธเจ้า เขาจะเพ่งโทษ ใช่ไหม นี่มันอวดดีชะมัดเลย ใช่ไหม มันว่าไม่มีใครเทียบจริงๆ ใช่ไหม คุณฟังดีๆ เพราะฉะนั้น ในองค์ประกอบ สิ่งแวดล้อมทั้งหลายแหล่ จึงเป็นข้อมูล เป็นองค์ประกอบ ที่เราจะต้องเข้าใจว่า เราจะแสดงอย่างไร แค่ไหน ที่จะประกอบ กายกรรม วจีกรรม ที่จะไม่เป็นเชิง ข่มผู้อื่น อาตมาก็ไม่เก่งพอ และพวกคุณก็มีทั้ง ที่ศรัทธามาก ศรัทธาน้อย ขนาดพวกเรานี่เรียกว่า มากันนี่ เป็นคนกันเองเยอะแล้วนะ ถ้ายิ่งไปในที่อื่น อาตมาพูดอย่างนี้นะเหรอ แม้จะพูดเบาอย่างนี้ ก็ยังไปข่มเขาเลย ไม่ต้องขนาดนี้หรอก พูดเบากว่านี้ ยกตัวยกตนน้อยกว่านี่ ยังเป็นเชิง ข่มเขาเลยนะ นี่ก็ในนัยลึกซึ้ง ละเอียดยังงี้

เราจะมีความประพฤติทางวาจา มีความประพฤติทางใจ เมื่อกี้อธิบาย รวมไปหมดแล้ว กาย วาจา ใจ จะบริสุทธิ์เปิดเผยได้ หาช่องทะลุมิได้ เป็นอันสำรวมดีแล้ว ไม่ยกตนข่มผู้อื่น ด้วยคุณข้อนี้ พูดตลอดไป หมดแล้ว ค่านิยมเขาเข้าใจ ว่า พระดีต้องไม่พูด เสียดสีใคร ไม่พูดกระทบใคร ไม่พูดมาก ไม่ทำอะไร มากหรอก อยู่ในที่สงบ ไปอยู่ป่าช้า ไปอยู่หนีกลุ่ม หนีโลกไป มาพูดอะไร มายุ่งอะไร ด้วยกับสังคม มายุ่งอะไรกับการเมือง มายุ่งอะไรกับเศรษฐกิจ มายุ่งกับอะไร ดูซิ มาทำเกษตร มาทำการค้ามาทำขาย พระอริยะอะไรวะ เขาก็พูด แน่นอน แต่อาตมาเอง อาตมาไม่มีปัญหา อาตมาเข้าใจอยู่ว่า อาตมาต้องนำพา อาตมาต้องพาพวกเราทำ อาตมาต้องมีอะไร ต่อะไรอีกตั้งเยอะตั้งแยะ จำเป็นน่ะ

เพราะฉะนั้น อาชีวะนี้ นี่อาตมายกตัวอย่างตัวเอง อาตมาก่อน เพราะว่าเป็นหลักยอด ในสมณะเรา ก็จะต้องมีการกระทำ ที่อาตมา พาทำอยู่ พวกเราฆราวาส ก็ยิ่งต้องหย่อนกว่านั้น มีอาชีพที่หย่อนกว่า ที่อาตมาพาเป็น และจะต้อง เข้าหาบริสุทธิ์นา เปิดเผยได้ อาชีพของเรานี่ เปิดเผยได้นะ หลายคน จะรู้สึกหิริ ในอาชีพที่เราทำอยู่ มีหิริ มีโอตตัปปะ พูดย้อนขึ้นไปหาหิริ โอตตัปปะนะ ได้ฟังธรรมะ กัณฑ์นี้ดีนะ อาตมาบอกให้มันลึกซึ้งนะ มันถึงวาระเวลาแล้ว มันก็ได้ หยิบมาพูด มาได้ขยายความนะ บางคนจะมีหิริโอตตัปปะ อาตมาบอกแล้ว อาชีพของ คุณบางคนนี่ ยังมอบตนอยู่ในทางผิดบ้าง มีการตลบตะแลงใน นิปเปสิกตา อยู่บ้าง เอาละ ถึงขั้นไม่โกหก ไม่หลอกลวง ไม่ กุหนา ลปนา แล้วก็ตาม แต่ก็ยัง มีเนมิตตกตา ยังตลบตะแลง ยังรู้สึกละอาย อยู่เหมือนกัน รู้สึก แหม เราก็ยังดูซิ ยังเอาเปรียบ เอารัดนะ ยังไม่บริสุทธิ์บริบูรณ์ ยังมีลีลาโกงๆ ยังมีลีลากินๆ มีลีลาเอาเปรียบอะไรอยู่บ้าง บางคนจะรู้สึก

บางคนก็ไม่แล้ว ไม่มี แม้แค่ตลบตะแลงก็ไม่มี เราไม่ได้ทำเลย เราทำตรง ของเราทุกอย่าง มีเท่าไหร่ เราอาจจะรับเงินเดือนอัตรา ก็มีอัตราของเรา เอาไปใช้จ่ายออก ทำบุญทำทาน เอาทำอะไรต่อมิอะไร เราไม่ได้เอาเป็นของเราๆอยู่ แต่เพียงว่า เรารับมาก็จริง ตามอัตรา ที่เราไปแก้ไขเขาไม่ได้ แต่เราก็ใช้จ่าย ด้วยเงินด้วยทอง ส่วนตัวของเรานี่ไม่เปลือง ไม่ผลาญ และ เราไปรอด ประหยัด นอกนั้น เราก็เอาไป เป็นประโยชน์เกื้อกูล บริจาค หรือ ช่วยเหลือเฟือฟาย เป็นบุญต่อไป โดยที่ตนเองไม่ได้ทำเพื่อตัวเอง อะไรยังงี้เป็นต้น คุณก็สบายใจ ส่วนกรรมกิริยาอื่นๆ ใดๆ คนอื่นเขาทำ ก็เป็นเรื่องของเขา เราไม่ได้อะไร ที่มันไม่ดี ไม่ชอบมาพากล เราไม่ทำ ยืนหยัด ยืนยัน ไล่ออกก็ไล่ แต่เราก็ ดีจนเขาจะต้องเอาไว้ เราไม่ทำด้วย จนรู้ในบริษัทเดียวกัน ในที่ทำงานเดียวกัน สิ่งทุจริตสิ่งที่ เขาไม่ให้เราทำแน่นอน และเรา ก็ไม่ได้ทำ เขารู้จริง จะอยู่ อย่างนั้นก็ตาม คุณไม่ได้ทำผิด แต่คุณก็ยังอยู่ในวงการของเขา คุณก็ยังบวก ลบ คูณ หาร บริษัทก็ทำงานสอดคล้องกับเขา คุณก็ยังมอบตนอยู่ในทางผิดอยู่กะเขา เขานะ ผิด คุณไม่ผิด ก็จริงอยู่ แต่เขาผิด คุณก็อยู่กับคนผิด ทำอาชีพอยู่กับคนผิด มอบตนอยู่ในกลุ่มของคนผิด เราก็ละอาย เราก็ลาออกดีกว่า ไปอะไรดีกว่า สุดท้าย คุณเห็นว่า ตัวเองมั่นใจว่า ไม่ต้องไปเอาหรอก รายได้นี่ ไม่ต้อง ไปทำหรอก กรรมกริยานี้ งานมันดีกว่านี้ มันก็มีอีก คุณก็เห็นทาง ว่างานนี้มีอีก ไปทำอาชีพที่ดีกว่านี้ ลดกว่านี้ได้ คุณก็ไม่แคร์ในเรื่องรายได้ ไม่แคร์ในเรื่องฐานะ ไม่แคร์การงาน ไปหาการงานที่ดีกว่า จนกระทั่งสุดท้าย ไม่ต้องมีรายได้เลย แล้วก็การงาน ที่ประเสริฐกว่าไปอีก เลื่อนชั้นขึ้นมา เป็นแม้แต่ ลาเภน ลาภัง นิชิงคิงสนตา ก็ไม่ ต้องมีก็ได้ อย่างนี้ เป็นต้น เราก็จะทำ เอามาเปิดเผย เสร็จแล้ว ก็หลายคน ออกมาจากงาน ฟังให้ดีตอนนี้ จะเข้าหลายคนแล้ว ไม่ได้ทำงาน ไม่มีรายได้ สัมมาอาชีวะ ถึงขั้นพ้น ลาเภนะ ลาภัง นิชิคิงสะนะตา แต่ยัง ที่ข้อสุดท้าย ที่ยกตน ข่มท่าน แต่ก็ไม่ยกตนข่มผู้อื่น ฉันลาออกจากงานแล้ว ใจเป็นยังไง มันข่มๆ เขาอยู่ ในทีไหม รายได้ของฉันตั้งเป็นหมื่น เป็นแสนนะ เท่านั้นเท่านี้นะ ฉันลาออกจากงานแล้ว ข่มเขาในที เปิดเผยนะ เปิดเผยได้ แต่ยังมีข่มเขา ไม่บริสุทธิ์ มีช่อง ให้อาตมาท้วงได้ นี่เรียกว่า หาช่องทะลุได้ ไม่ใช่หาช่องทะลุมิได้ หาช่องทะลุ ได้ เป็นอันสำรวม ไม่ดีแล้ว ไม่ใช่สำรวมดีแล้ว เป็นอันสำรวมไม่ดีแล้ว ยังงี้เป็นต้น

ไม่ยกตนข่มผู้อื่นในคุณข้อนี้ แต่ก็ไปยกตนข่มผู้อื่นในคุณข้อนี้ อย่างนี้เป็นต้น เราก็จะต้องรู้ อาการกิริยา ทางใจ ทางกายออกไป วจีออกไป มีใจร่วมด้วย มีลีลา พวกนี้ มีอาการเหล่านี้ ประกอบไหม นี่ลึกซึ้ง เพราะฉะนั้น ในลักษณะของอาชีพนี่ เราจักเป็นผู้มี การเลี้ยงชีพ บริสุทธิ์ มีอาชีพหรือการเลี้ยงชีพนี่ บริสุทธิ์ถึงขนาดนี้นะ เปิดเผยได้ เป็นอาชีพที่เปิดเผยได้ และเราก็เปิดเผย พวกชมร. พวกพลังบุญ พวกมาทำงานอยู่ที่วัด ทำงานอยู่ในการงาน พวกเรานี่นะ ทำอยู่อย่างนี้ เป็นอาชีพที่เปิดเผยได้ เปิดเผยแล้ว ก็เปิดเผยมาก คุยโม้เบ่งข่ม ยกตนข่มท่าน อย่างนี้ต้องเป็นลักษณะที่ ละเอียดลออ ต้องตรวจตรา สำรวมยังไม่ดี หาช่องทะลุได้นะ นี่หมายความว่า เราเอามาต่อว่า เอามาติเตียน เอามาท้วง มาติงได้ อย่างนี้ เป็นต้น นี่จะต้องละเอียดลออ เข้าใจสิ่งเหล่านี้นะ รู้อาการลีลาของ กรรมกิริยา แม้อาการ กรรมกิริยาในทางจิต ที่เรายังมีเชิงไปข่มคนอื่น นี่คำตรัสของพระพุทธเจ้านี่ ลึกซึ้งละเอียด คำสอนนี่ เรียนรู้แล้วก็ฟัง

วันนี้อาตมาได้ขยายความอะไรต่อมิอะไรให้ฟังอีกมาก เพิ่มเติมขึ้น ซึ่งไม่ใช่มีวันนี้เท่านี้ ซึ่งต่อๆไป ในอนาคต ก็มานั่งฟังธรรมยังงี้ มีโอกาส มีเวลาดีๆ ก็จะนั่งฟังดีๆ ใจเราก็ตั้งใจดีๆ ด้วยนี่ จะได้ฟังดีๆ แล้วก็จะได้รับซับทราบ ธรรมะของพระพุทธเจ้านี่ลึกซึ้งยิ่งนัก สุขุม ประณีตยิ่งนัก คัมภีรา ทุททัสสา ทุรนุโพธา ตามรู้ได้ยาก ตามเห็นได้ยาก อย่างแท้จริงเลยนะ เพราะฉะนั้น ถ้าเผื่อว่า เราได้เข้าใจ สิ่งเหล่านี้แล้ว เป็นสิ่งที่เราได้ละเอียดลออ

เราก็จะเป็นผู้ที่จักเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ กายกรรม วจีกรรม ของเรา จักเป็นผู้คุ้มครองทวาร ไปหมด จะเป็นผู้ รู้ประมาณในโภชนะอยู่เสมอ ไม่ว่าการกิน การอยู่ เครื่องกิน เครื่องใช้ เราก็จะประมาณจริงๆ จะหัดประมาณ จะสำรวม สำรวมในตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ สำรวมในการกินเครื่องใช้โภชนะต่างๆ เราจะตามประกอบ ในธรรมเป็นเครื่องตื่น เราจะเป็นผู้รู้ตัว ทั่วพร้อมอยู่เสมอ ชาคริยานุโยคะ ซึ่งเราดูก็รู้แล้ว สำรวมอินทรีย์ โภชเนมัตตัญญุตาก็ดี ชาคริยานุโยคะก็ดี เป็นอปัณณกธรรม ๓ ซึ่ง เราก็เรียนอยู่ เป็นสภาพที่มีธรรมที่ไม่เสื่อม เป็นธรรมที่ปฏิบัติไม่ผิด อปัณณกธรรม ธรรมะที่ปฏิบัติไม่ผิด ๓ ข้อ

เราได้เรียน เราได้ประพฤติ เราได้มีอยู่ไหม สำรวมในตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ สำรวมกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม และเราก็รู้จักว่า เราเป็นอยู่นี่ เครื่องกินเครื่องใช้อะไรประกอบต่างๆ นานานี่ เราหลงใหลได้ปลื้ม หรือ ว่าเราเอง เราเผลอเรอ ทำอะไรต่ออะไรต่างๆนานา โดยการให้กิเลส มันเข้าไป ร่วมประกอบ เครื่องกิน เครื่องใช้ โอ๊ย สิ่งนี้ดีจังเลย เราหวงไว้เป็นของตัวเอง คนอื่น มาแตะไม่ได้ วูบวาบ ๆ เป็นของของกู มากมาย เครื่องกินเครื่องใช้นี่ นี่ช้อนของฉันนะ นี่หม้อนี่ฉันใช้เองนะ นี่กะละมังฉันใช้ อย่ามาหยิบไปใช้นะ มันเป็นยังไง ขี้หวงขี้แหนมากไปไหม ความเป็นอยู่ คุณทำให้คนอื่นก็ตาม สิ่งนี้พอจะอนุโลมไปได้ไหม แบ่งปันกันได้ไหม เอื้อเฟื้อกันได้ไหม มีแต่หวง มีแต่การหลงตัวหลงตน ที่จริงหวงก็หวงหรอก บางครั้ง บางคราว เอ๋ คนนี้เอาไปใช้ ไม่ดีหรอก ต้องหวงแหนเอาไว้หน่อย เพราะว่า โอ๋ เขาไม่ไหว เขาไม่รู้จักของ เขาใช้ไม่เป็น หรือว่าเขาใช้หยาบ เอาอันนี้ไปแทนเถอะ เราก็ให้ไม่ได้ ก็หาอันอื่น ให้เขาไปบ้าง หรือพูดดีๆ ไม่ใช่กระโชกกระชาก แสดงเป็นเจ้าข้าวเจ้าของ หยาบคาย จนกระทั่ง พูดกันจนไม่รู้เรื่อง พูดกัน ก็ยังทะเลาะกัน เห็นน้ำใจหยาบ เห็นน้ำใจหวงแหน เห็นน้ำใจ ไม่เอื้อเฟื้อกัน อะไรนี้ มันก็ไม่ดีนะ เพราะฉะนั้น ในโภชเนมัตตัญญุตา ที่อาตมายกตัวอย่าง ประกอบไป เมื่อกี้นี้ เครื่องกินเครื่องใช้ การอยู่ การกิน การอะไร เราก็อธิบายกันมามากมาย เราจะต้อง วิเคราะห์วิจัยไปหมด เกิดผลที่อยู่ด้วยกัน สัมพันธ์กัน ผู้ใกล้ผู้ไกลอะไร ก็แล้วแต่ มันเป็นชีวะ มันเป็นชีวิต จะดำเนินการไปด้วยการสัมพันธ์ จะมีความสัมพันธ์ มีกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม อะไรกันอยู่ตลอดเวลา

สิ่งเหล่านี้แหละ เป็นเครื่องเตือนให้เรามีสติ มีความตื่นอยู่ รู้ตัวว่า เราจะต้องรู้ ต่อการกระทบสัมผัส แอ๊คชั่นรีแอ๊คชั่น ทั้งหลายแหล่ แล้วมันจะก่อให้กุศลหรืออกุศลในทางกาย วาจา ใจอย่างไร โดยเฉพาะใจ ที่มีปัญญาตรวจตรารู้ แล้วเราก็เห็นว่า เออ กระทบไม่ดีแล้ว มากไปแล้วนะ ถ้าอย่างนี้ เป็นการกระทำ ที่เป็นอกุศลกรรม เป็นทุจริต เป็นความไม่ดีแล้ว รีบรู้ตัวรีบแก้ นั่นคือ ผู้ตื่น รีบปรับ ปรับได้ทันที ปรับอย่าง มุทุภูเต กัมมนิเย จะทำงานทำการ จะประกอบการกิจ อะไรอยู่ ประกอบการเป็นอยู่ยังไง ก็แล้วแต่ คุณก็เป็นผู้ตื่น เป็นผู้ที่มี โภชเนมัตตัญญุตา เป็นผู้ที่ได้สำรวม สังวรกาย วาจา ใจ สังวรตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจอย่างแท้จริง

อปัณณกธรรม ๓ นี่เป็นตัวภาคปฏิบัติที่ไม่เสื่อม ถ้าปฏิบัติอย่างนี้แล้ว มีการสำรวม มีการใช้หลัก สำรวมอินทรีย์ ๖ โภชเนมัตตัญญุตา ชาคริยานุโยคะ อปัณณกธรรม ๓ นี้ อย่างมีปัญญา อย่างมีประโยชา อย่างนี้ เป็นผู้ที่เจริญอยู่แท้จริง ชื่อว่าผู้นั้น เรียกได้ว่าสมณะ ไปจริงๆนะ

แล้วเป็นผู้รู้จักประกอบพร้อมด้วยสติสัมปชัญญะ ก็ไม่ต้องอธิบายมาก มีสติสัมปชัญญะ จึงจะเกิด ชาคริยานุโยคะได้แน่นอน รู้จัก เราจะตามชำระจิต ให้ปราศจากนิวรณ์ ๕ ก็แน่นอน เป็นธรรมตัวหนึ่ง ที่จะต้องชำระนิวรณ์ ๕ อย่าง หยาบ กลาง ละเอียด จนถึงอาสวะ ให้หมดไป เราจะเป็นผู้ได้บรรลุ ฌาน ๔ ไม่ต้องอธิบายมากเลย ฌาน ๔ คือปฏิบัติให้เป็น สัมมาสมาธิ มีฌานอย่างพระพุทธเจ้า ไม่ใช่ฌาน อย่างหลับหูหลับตา เป็นฌานลืมตา เป็นฌานที่รู้จัก ทวารทั้ง ๖ ฌานที่รู้จัก การกระทบสัมผัส ฌานที่รู้จัก อาการ ลิงคะ นิมิต รู้จักรูปนาม รู้จักสิ่งที่เกิดทางกาย ทางวาจา แม้แต่อาการทางจิต วิเคราะห์กิเลส วิเคราะห์สภาพอาการที่ไม่ดี เป็นอกุศลกรรม ทางมโน อกุศลกรรมตั้งแต่หยาบ กลาง ถึงละเอียด วิเคราะห์ได้ แล้วก็ต้องละอกุศลกรรมเหล่านั้น ออกได้เรื่อยๆ เรียกว่า ทำฌาน เรียกว่า ปฏิบัติให้เกิดฌาน เกิดการเพ่งเผา ฌานนี่เพ่งรู้ สังวร สำรวม แล้วก็มีฌาน ตลอด มีมุทุภูเต มีการตรวจด้วยญาณ ตรวจด้วย อธิปัญญา ตรวจอาการ ที่มันเป็น ตัวไม่ดีไม่งามอะไร แล้วก็เผา หรือเพ่งทำลาย ทำลายได้ก็เรียกว่า ฌาน ๔ ไป เรื่อยๆ เจริญขึ้นเรื่อยๆ เราจะเป็น ผู้บรรลุญาณ ๓ บุพเพนิวาสานุสติญาณ จุตูปปาตญาณ และ อาสวักขยญาณ ซึ่งอาตมาได้เคยอธิบาย เตวิชโช ญาณ ๓ นี่ชื่อ เตวิชโช อธิบายอยู่เสมอว่า เราต้องใช้ ตลอดเวลานะ แม้ว่าเราจะไม่สามารถ ระลึกถึงญาณ หรือ วิชชา ๖ เรียกว่า อภิญญา ๖ เราจะไม่ระลึกถึง วิชชา ๘ ที่ อาตมาว่าถึงวิชชา ๙ นี่ เราจะไม่ระลึกถึงวิชชา ๙ เราจะไม่มีปัญญา เข้าใจใน วิชชา ๙ แต่คุณจะต้องเข้าใจวิชชา ๓

วิชชา ๓ นี่มีบุพเพนิวาสานุสติญาณ กับ จุตูปปาตญาณ คุณจะต้องระลึกย้อน ระลึกบุพเพ ระลึก ตรวจตรา เมื่อวานนี้ ชั่วโมงที่แล้ว เดือนที่แล้ว ปีที่แล้ว ชาตินี้ ชาติตั้งแต่ที่เกิดมา ทบทวนดู เอ๊ แต่ก่อนนี้ กะเดี๋ยวนี้ นะ เรามีความชั่วความไม่ดี อกุศลอะไร ทุจริตอะไร แล้วเรารู้ชัด รู้เจน มันเกิดอยู่นะ จุตูปปาตญาณ คือญาณที่รู้ความเกิดความดับ เดี๋ยวนี้ มันตาย มันดับ มีแต่กรรมกิริยา ที่เกิดใหม่ ดี เป็นกุศล เป็นสุจริต และสิ่งที่ตายก็ตาย สิ่งที่เกิดใหม่จริง ไอ้ที่สิ่งที่เกิดใหม่นั้น เป็นสิ่งที่เป็นของสมณะ เป็นความบริสุทธิ์บริบูรณ์ มาตั้งแต่ต้นมา ไล่มา จนถึงกาย วาจา ใจ จนกระทั่งถึงอาชีพ ได้สำรวม ได้สังวร ได้มีโภชเนมัตตัญญุตา ชาคริยานุโยคะ ได้มีสติสัมปชัญญะ ได้ละล้างนิวรณ์ จนถึงอนุสัยอาสวะ เห็นเลยว่า อาสวะก็ตาย อาสวะก็ดับ จุตูปปาตญาณ มีญาณเห็นความดับ ความตาย อย่างจริงๆเลย ไม่ใช่ว่าใช้ภาษาพูด ที่อาตมาพูด เท่านั้น เห็นความเกิดความดับ จนถึงอาสวักขยญาณ ญาณที่รู้จัก อาสวะ ญาณที่ได้หมดอาสวะ เห็นอาสวะหมดดับ เรียกว่า อาสวักขยญาณ ญาณที่เห็นอาสวะไม่มีแล้ว สิ้นไปแล้ว อย่างแท้จริงเลย ไม่ได้ผิดเป้าหมาย ไม่ได้ผิดสภาวะ อ่านสภาวะออก เห็นสภาวะอาสวะ สูญสิ้นไป ไม่เกิดอีก ไม่มีอีก ถ้าคุณไม่รู้ด้วยตน เป็นปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ ไม่รู้ตนของตนด้วยตน อย่างอาตมาว่านี้ คุณเป็นสมณะสมบูรณ์ เป็นสมณะถึงขั้น สมณะที่ ๔ คือเป็น พระอรหันต์ไม่ได้ แม้โสดา ก็ต้องศึกษา โสดาก็ต้องรู้ตัว คนอื่นบอกเราเป็นโสดา นั้นยังไม่ใช่โสดา ต่อให้พระพุทธเจ้า บอกว่า เราเป็นโสดา ก็ยังไม่ใช่โสดา

ฟังให้ดีนะ ต่อให้พระพุทธเจ้าบอกว่า คุณเป็นพระโสดาบันแล้ว เราก็ยังไม่ใช่โสดา เพราะเรายังไม่มี ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ เรายังไม่เกิดญาณเอง รู้ของจริง ตามความเป็นจริงเอง เรารู้บัญญัติผู้อื่น บอกให้เท่านั้นเอง รู้บัญญัติแค่ภาษา ว่าโสดา แต่เรายังไม่รู้ว่า ลักษณะอาการของจิตวิญญาณ กิเลสโสดาบัน มันต้องอะไรตาย แค่ไหน และเราตายจริงหรือเปล่า และมันได้ตายคืออะไร มันเกิดอะไรตาย จุตูปปาตญาณ คุณยังไม่มีญาณ ที่รู้ความตายความเกิด ความตายคุณยังไม่มี แล้วก็ตรวจเป็นหรือเปล่า บุพเพนิวาสานุสติญาณ มีญาณที่ตรวจตน สิ่งที่เคยเกิด เคยตายมาแล้ว เคยเกิด เคยดับมาแล้ว หรือ มันเกิด มันดับอยู่ คุณก็ตรวจไม่เป็น ระลึกไม่เป็น

เอ เมื่อวานนี้ นะกิเลสเรายังเกิดอยู่เลย วันนี้ มันไม่เกิดอีกแล้ว นะ วันนี้ไม่เกิดๆ ต่อไปพรุ่งนี้ มะรืนนี้อีก ทั้งเท่าไหร่ อีกหลายวัน หรือมันมีเมื่อวานนี้ มันตั้งหลายเมื่อวานนี้ จนถึงวันนี้ เราก็ตรวจมา โอ มันไม่เกิดมา ตั้งเมื่อวานๆแล้ว ยิ่งคุณระลึกได้ ตั้งแต่ชาติที่แล้ว เมื่อวาน ชาติที่แล้ว มันก็ดับมาแล้ว ตั้งเมื่อวาน ชาติที่แล้ว ตายสนิทมาจากชาติที่แล้ว คุณก็ยิ่งจะมั่นใจ แม้ไม่ชาติที่แล้ว ชาตินี้ก็ระลึก ไปเถอะ ระลึกย้อนไปได้ โอ้โฮ อาการยังงั้นหนา เรียกว่าผู้รู้ รูปนาม อาการอย่างนี้ ทางจิตของเรา ที่เรารู้ว่า มันเป็นกิเลส มันตายจริงๆนะ มันไม่เกิด ถูกกระทบยั่วยวน แหม คราวนี้ โอ้โฮ เขายั่ว เขายวน และ มีสิ่ง เขามายุมายั่วให้เกิด มันก็ไม่เกิด ตรวจยังไง มันก็ไม่เกิด มันตายจริงๆ ตายอีหลีอีหลอ เหม่ ภาษาอีสาน ตายอีหลีอีหลอ อีหลีก็แปลว่า จริง อีหลอก็เป็น คำเสริมอีหลีเข้าไปอีกที เข้าไปเลย ว่ามันจริงๆๆ ถ้าจะพูด ภาษาไทยภาคกลางนะ ทำไมมันจริงๆๆๆ เลยนะ มันจริงอย่างเสร็จเลยนะ เรียกว่า จริงอย่างเสร็จนะ ไม่ใช่จริง อย่างเสร็จเลย แหม่ อีหลีอีหลอ แมนนี่ก็จริง อีหลีนี่ก็จริง อีหลอก็จริง แมนนี่ก็หมายความจริง หรือถูกต้อง มันแมนอีหลีอีหลอ โอ้ ใช่แท้ๆ ใช่แน่ๆ ใช่ แท้ๆ มันจริงอย่างนั้น คุณจะต้องเห็นของจริง ตามความเป็นจริงนั้น อย่างจริงเลย เป็นญาณ จะเป็นนามธรรม ละเอียดลออ แค่ไหน คุณก็ต้องเห็น

เราเกิดปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิเองอย่างนี้ จึงจะชื่อว่า เราเป็นผู้บรรลุ มีญาณ มีสัมมาญาณ สัมมาวิมุติ มีวิมุติ เห็นวิมุติ เป็นญาณวิมุตติ ญาณทัสสนวิเศษ มีปัญญาวิมุติ มีปัญญาเห็นวิมุติ รู้วิมุติ จึงจะเรียกว่า หลุดพ้น จึงจะเรียกว่า เกิดอุภโตภาควิมุติ คุณหลุดแล้ว แต่คุณไม่รู้ไม่เห็น มีเจโตวิมุติ แต่คุณไม่มีญาณ ไม่รู้ตัววิมุติของตัวเอง ว่ามันเป็นอย่างไร อาการอย่างไร ลักษณะ อย่างไร ที่ไปรู้รูปนาม นี่คือไปรู้สภาพ อาการ ลิงคะ นิมิต แม้นามธรรม เป็นจิต เป็นเจตสิก เป็นปรมัตถ์ อย่างนี้ก็ตาม คุณไม่รู้ ไม่เห็นของตนเอง ไม่ถือว่าคุณเป็น แล้ว จะเป็นโสดา สกิทา อนาคาก็ตาม หรืออรหันต์ ยิ่งอรหันต์ ก็ยิ่งแน่ชัดแหละ นี่เราจะต้องเป็นผู้ที่ มีญาณแท้ๆ จริงๆ

ข้อสุดท้ายนะ เป็นข้อ ๑๒ บรรลุญาณ ๓ นึ่เรียกว่า เตวิชโชนี่ คุณจะต้อง มีบุพเพ ถือว่า เป็นความสำคัญ จริงๆ นะ เราทำงานอยู่นี่ เราก็รำลึกไปพร้อมได้ แต่ระวังงานจะเสีย เดี๋ยวยิ่งงาน ทำกะเครื่องกล ยิ่งไอ้โน่น ไอ้นี่ เดี๋ยวเถอะมือหาย แขนหาย ระวังนะ ระลึกได้ ในวาระที่ทำงานเบา ทำงานที่ไม่ต้องเป็นภัย เป็นพิษมาก ก็ระลึกได้ ถ้ามุทุภูเต จิตของคุณนี่ มีมุทุภูตธาตุ มุทุภูตธาตุ นี่ แววไว เร็ว ชำนาญ คุณทำงานอะไรไป ใช้จิตส่วนหนึ่งไปทำงาน และก็แบ่งส่วนหนึ่ง คุณระลึก ได้ ทั้งสองอย่าง พร้อมกัน ก็คงจะพอเข้าใจนะ เราทำอะไรสองอย่างพร้อมกันได้ ด้วยญาณของเรา แก่กล้า ด้วยความคล่องแคล่ว ของ มุทุภูตธาตุนั่นเอง แววไว แล้วก็ปรับได้ ดัดได้ รู้เห็นได้ ชัดเจนได้ เพราะฉะนั้น ก็จะเหมาะแก่การงาน ทำงานอะไรก็ได้ คล่องแคล่ว

ไม่จำเป็นว่า ต้องไปปฏิบัติธรรม แล้วจะต้องไปทำนั่งนิ่งๆ ช้าๆ นั่นแหละ แสดงว่าไม่แววไว ไม่มี มุทุภูตธาตุดี ฌานที่มุทุภูตธาตุ ยังไม่แคล่วคล่อง ยังไม่ชำนาญ ยังไม่เก่ง ผู้ที่ปฏิบัติฌาน ของพระพุทธเจ้าแล้ว มุทุภูตธาตุ จะชำนาญ จะเก่ง จะแววไว แล้วก็ปรับก็ดัด ฆ่ากิเลสอะไร ไปในตัว พร้อมพรั่ง ไปในอิริยาบถธรรมดา ธรรมชาตินี่ ไปกับการงาน ไปกับชีวิตประจำวัน เป็นสัมมาอาชีพ ตลอดเวลาเลย ตลอดเวลา จะได้ดีนะ เพราะฉะนั้น อาสวักขยญาณ อาตมา ไม่ต้องอธิบาย อธิบายแต่ บุพเพนิวาสานุสติญาณ ญาณที่ระลึกทบทวน ของตัวเอง แล้วก็ฆ่า หรือ ดับ ทำความดับให้กับกิเลสได้ จนเกิดเป็นพระอริยะ เกิดเป็นเทวดาถึงขั้น วิสุทธิเทพ เกิดเป็น เทวดาวิสุทธิ เป็นเทวดาบริสุทธิ์บริบูรณ์ เป็นพระอริยเจ้า เป็นพระอรหันต์ โน่นแน่ะ ยังไม่ตาย คุณก็มีพระอรหันต์ เป็นตัวร่างตัวกาย ยิ่งมีกาย ยังมีวิญาณ เป็นพระอรหันต์อยู่ ยังหายใจเข้า ยังหายใจออก ก็เป็นตัวร่างของพระอรหันต์อยู่ ก็มีแต่กุศล จิตใจก็หมดทุกข์ หมดโศก จิตใจก็หมดชั่ว จิตใจก็หมดสิ่งจะทำความไม่ดี ความไม่งามอะไรหมดแล้ว จิตบริสุทธิ์สะอาด คุณก็ได้อาศัยจิตบริสุทธิ์นั้น จิตมีแต่ กุศลเจตนา จะเจตนาเมื่อไหร่ๆ ไม่มีอกุศลเจตนา มีแต่กุศลเจตนา ก็จะทำการงาน อยู่ด้วยกุศลเจตนาเพื่อผู้อื่น จะเพื่อตนเองบ้าง ก็เล็กน้อย ไม่มีอะไร มากเลย สำหรับตนเอง

อาตมาเองนี่นะ อาตมามีทุกข์ เป็นทุกข์ธรรมชาตินี่ เป็นนิพัทธทุกข์ก็ดี นิพัทธทุกข์ก็คือ เป็นทุกข์ เกี่ยวเนื่องแก่ชีวิต เช่นว่า ปวดอุจจาระ ปวดปัสสาวะ อุจจาระนี่ มันปวด มันเป็นทุกข์ เป็นนิพัทธทุกข์ ที่เรายังมีร่างกายรูปขันธ์ เราจะต้องมีทุกข์อันนี้อยู่ แม้พระพุทธเจ้า ก็ยังต้องทุกข์ นิพัทธทุกข์อยู่ ก็เคยได้อธิบายแล้ว เรื่องทุกข์พวกนี้ อาตมาก็พึ่งตนเอง ไม่ต้องให้คนอื่น ช่วยหรอกนะ อาตมาปลดทุกข์ ของอาตมาได้ นิพัทธทุกข์อย่างนี้ หรือทุกข์บางสิ่งบางอย่าง ที่ผู้อื่นจะช่วยเราได้ ก็ช่วยกัน ทุกข์บางอย่าง บางสิ่ง เกื้อกูลกัน เราก็ทำไป ทุกข์เท่านั้น เกิดขึ้น ทุกข์เท่านั้นตั้งอยู่ ทุกข์เท่านั้นดับไป เรายังมีร่าง มีกาย ยังมีกรรม กริยาอะไรต่างๆ มันเป็นทุกข์ ที่เราเลี่ยงไม่ออกแล้ว อาตมาก็อธิบายทุกข์ที่เลี่ยงไม่พ้นได้แล้ว

แม้แต่เป็นพระอรหันต์ แม้แต่เป็นพระพุทธเจ้า ก็เลี่ยงทุกข์เหล่านี้ไม่ได้ แต่มันก็เป็นประโยชน์ เป็นคุณค่า อย่างนิพัทธทุกข์ ที่อาตมา อธิบายเมื่อกี้นี้ว่า เราจะปัสสาวะ เราจะอุจจาระ เราก็ทำ เพื่อตัวเอง ถ้าเรา ไม่ทำเอง ไม่เพื่อตัวเอง เราไม่อุจจาระ เราไม่ปัสสาวะ ก็แย่กันพอดี เราก็ทำเพื่อตัวเอง จะบอกเพื่อตัวเอง มีไหม มี กินข้าว ที่อาตมาเคยพูดว่า อาตมากินข้าวเพื่อผู้อื่น ที่จริงก็เพื่อร่างกาย เพื่อกายขันธ์ เรานี่แหละ แล้วร่างกายขันธ์เรานี่ จะได้ตั้งอยู่ เราจะได้ทำงาน จะได้สร้างสรรค์กับคนต่างๆ กับโลก

สรุปแล้ว เป็นพระอริยะ เป็นพระอรหันต์ หรือเป็นพระอริยะระดับใด ก็แล้วแต่ ก็ล้วนแล้วแต่ จะเป็นผู้ที่ จะอยู่เพื่อผู้อื่น แม้จะบอกว่า เพื่อตนเอง ที่อธิบาย ไปบ้างแล้ว เมื่อกี้นี้ กินข้าว ให้ร่างกายขันธ์นี้ อุจจาระ ปัสสาวะ เพื่อให้ร่างกาย ขันธ์นี้ มันตั้งอยู่อย่างดี มีการถ่ายเท มีการเอาเข้า อย่างสมดุลไปตามธรรมชาติ ไปตามธรรมดา เสร็จแล้ว เราก็จะมีร่างกายขันธ์นี้ มีกรรมกิริยานี้ เพื่อที่จะเป็นประโยชน์ผู้อื่น

จะเห็นได้ว่า พระอริยะของพระพุทธเจ้านี่ จะอยู่เพื่อที่จะมีคุณค่ามากมาย อาตมาไม่อธิบายแล้ว คุณค่าอะไร พูดมานาน พูดมามากแล้ว เราจะมีคุณค่า จะมีประโยชน์ที่ไหน ที่กรรม ที่การงาน เราจะทำการงาน สละสลวย เป็นผู้ที่ยิ่งมีอุเบกขาเลยนะ มีปริสุทธา ปริโยทาตา มุทุ มีจิตที่แววไว กัมมัญญา มีการงานที่ดีสละสลวย และจะอยู่สุดท้ายอยู่กับกรรม และก็จะเป็นกรรมที่เป็น กัมนียะ การงานอันเหมาะ หรือ กัมมัญญา เป็นการงานที่ดีให้ได้เจตนา และปรารถนาและ พยายามสร้างสรรค์ ให้มันดี เป็นกัมมัญญา ให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ และจิตใจก็ เบิกบาน ผ่องใส เบิกบานผ่องใส อยู่อย่างนั้นแหละ

นี่ เรามาอธิบายเรื่องของความเป็นสมณะของพระพุทธเจ้า ๑๖ ข้อนี่ เป็นคุณลักษณะ ไม่ละเอียดนัก เพราะว่า เวลากระชั้นชิดขึ้นมา ก็เลยขยายความ ลวกๆหน่อย ถ้าขยาย ละเอียดแล้ว พวกเราจะได้ตรวจ มากกว่านี้ อาตมาไปอธิบายตอนต้นเสียมาก ไปอธิบายตัวเสีย เสียมาก ก็ดี อธิบายสภาพเสีย สภาพที่เป็น มลทิน ๑๒ อย่าง ให้พวกเราได้ฟัง เราจะได้ ไปตรวจตรา และสิ่งที่ทำให้สูงขึ้น ก็เป็นแนว ละเอียด ๑๒ อย่างที่จะเจริญ จะสมบูรณ์ขึ้นมา ความเป็นสมณะอย่างนี้ เราจะรำลึกกันตลอดเวลา ไม่ใช่วันนี้เท่านั้น ฆราวาสก็เป็น สมณะได้ ที่อาตมาได้พูดไปแล้ว และเราก็จะต้องรำลึก ความเป็นสมณะ ว่าเรามี ๑๒ อย่าง ที่จะทำให้ยิ่ง เรามีอีก ๑๒ อย่าง ที่จะต้องตรวจตรา ละ เลิก เพราะมันเป็นมลทินหรือไม่ ได้ทำอยู่ตราบใด เราได้รำลึกว่า เราจะเกิดสมณะ ไม่ใช่เอาวันนี้เป็นวันเกิด วันเดียว ให้มีการเกิดได้ทุกๆวัน แต่วันที่สำคัญ ที่เรานัดว่าเป็นวันที่มาทบทวน เป็นวันที่มาพบกัน เป็นวันที่จะได้มารำลึกถึง การเกิดสมณะ เมื่อเราปฏิบัติได้เราเกิด ปฏิบัติได้เราเกิด เราจะละเว้นอะไรที่ไม่ดี แล้วเราจะทำอะไร ให้ยิ่งขึ้น ให้ความเป็นสมณะ ที่มีความบริสุทธิ์ สะอาด ในกาย วาจา ใจ เราก็ทำอันนั้น

ข้อแรกอะไร หิริโอตตัปปะ เราจะเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยหิริโอตตัปปะ ข้อที่ ๑ บอกแล้วว่า เราเป็นหัวแรกเลย เป็นเทวธรรม เป็นอริยธรรม เราในฐานะเป็นผู้ที่ยังไม่เป็น พระอรหันต์นี่แหละ จะต้อง หิริโอตตัปปะ หยาบ กลาง ละเอียด ก็แต่ละฐานะ ใครเป็นโสดา ก็เป็น หิริโอตตัปปะ ของโสดา สกิทาก็เป็นหิริโอตตัปปะ ของสกิทา เป็นอนาคาก็เป็นหิริโอตตัปปะของอนาคา แม้เป็น พระอรหันต์ ท่านก็มี หิริโอตตัปปะของ พระอรหันต์ ยังงี้เป็นบาป ท่านก็ไม่ทำ ท่านก็ไม่ทำ ท่านบริสุทธิ์ บริบูรณ์ได้แล้ว หิริท่านก็มี โอตตัปปะ ท่านก็มี แน่นอน แล้ว ท่านก็บริสุทธิ์บริบูรณ์ ตามข้อหลังๆมา กายก็บริสุทธิ์ วาจาก็บริสุทธิ์ มโนก็บริสุทธิ์ จะประพฤติบริสุทธิ์ กาย วาจา ใจ เปิดเผยได้ ออกมาจริงๆ แม้กระทั่ง มาทำอาชีพ มามีอาชีพอยู่ดำเนินไป กาย วาจา ใจ หรือ มีกรรมการงาน มีการกระทำอยู่ ตลอดชีวิต เพราะแม้แต่ว่า เราจะนั่งอยู่เฉยๆ เอ๊ะ สมควรนั่งอยู่เฉยๆ ไหม ตอนนี้ พระอริยะนี่จะมีสติสัมปชัญญะ จะระลึก อายนะ คนอื่นเขามาเห็น เราอยู่เฉยๆ ทั้งๆ ที่เราก็ไม่เมื่อยไม่ป่วย นั่งอยู่เฉยๆ ต้องถามหยาบๆ นั่งอยู่ทำไมครับ นั่งอยู่เฉยทำไมวะ กรรมกิริยา กาย วาจา ที่ดีกว่านี้ยังมีอีก เราระลึกไหม

พระพุทธเจ้าท่านเตือนเรา ปัจเวกขณะ บัดนี้เวลาล่วงไปๆๆๆ เวลาล่วงไป กายกรรม วจีกรรม ที่ดีกว่านี้ ยังมีอีก เรากำลังทำอะไรอยู่ นั่งอยู่เฉยๆ ครับ ตายแล้วเหรอ ยังไม่ตาย และทำอื่นได้ไหม มีกำลังไหม มีอุปสรรค อะไรไหม ไม่มีอุปสรรคอะไรเลย แต่เราไม่ขวนขวาย ไม่เป็นคนบุญแล้ว เพราะฉะนั้น คนที่เป็นคนมีบุญนี่ เวยยาวัจมัย จึงเป็นบุญกิริยาวัตถุที่ สำคัญทีเดียว

อาตมาหยิบมาพูดกะพวกเรา เรามีความขวนขวาย มีจิตที่สำนึก ตรวจตรา และเราก็จะทำ วันเวลาทุกเวลา ขณะทุกขณะ จึงจะเกิด กุศลไป เสมอๆๆๆๆ ใครทำถูกต้อง ตามกุศลใดๆแล้ว คนนั้น ย่อมมีประโยชน์ตน ประโยชน์ท่าน ตลอดกาลนาน ตราบที่ยังไม่ปรินิพพาน มีกุศลอยู่ ตลอดกาลนาน พวกเราเข้าใจ อย่างที่ อาตมาพูดแล้วสังวร แล้วปฏิบัติประพฤติ อย่างที่อาตมา กล่าวนี้ สังคมคนนี่แหละ พวกเราได้ศึกษา ปฏิบัติ ประพฤติแล้ว ได้สิ่งเหล่านี้ ไปให้แก่ตัวเอง จริงๆ แล้วละ เราจะเสื่อมหรือ ตอบดังๆ กันดูซิ ไม่มีการเสื่อมหรอก จริงๆเลยนะ ฟังให้ดีเถอะ

เขาจะบอกว่า เราสอนผิด เราทำธรรมวินัยให้วิปริตอย่างไร เราไม่แคร์อะไรหรอก จริงไหม ตามที่บรรยาย ตามที่อธิบายมานี่ พระพุทธเจ้า ได้ตรัสไว้จริงเหลือเกิน เราทำไม่ถึงเท่านั้น เพราะฉะนั้น เราจะต้องมา พากเพียรอบรม ฝึกฝนให้ถึงให้ดี พยายามให้จริง ถ้าเป็นอย่างนี้แล้ว มันเจริญทั้งตน ทั้งผู้อื่น มาพิสูจน์กัน ในสังคมของพวกเรา แล้วพยายามกันไป

ถ้าทำถูกทำตรง ตามที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสแล้ว และที่อาตมาเอามาสาธยายนี้ เอาไปฟังซ้ำ ฟังซาก ดูอีกทีหนึ่ง อาตมาพูดนี่ ยังจะพูดละเอียดกว่านี้อีก ยังจะเอามาซ้ำแซะ ซ้ำซาก มากกว่านี้อีก มีการมา ประสบพบกันอีกเมื่อไหร่ๆ ไม่มาเต้นแร้งเต้นกาอะไร ให้กันดู มากมายนักหรอก ไม่มีการกรีดกราย ร่ำร้องโน่นนี่ เล่นๆอะไรมากมายหรอก นี่คือเนื้อหาสาระมาก มาก็มียังงั้น ยังงี้ เรามีงานการ มาพบกัน เมื่อไหร่ ไม่มีเรื่องอะไรมากหรอก ฟังธรรมฟังเทศน์ แล้วก็นั่งฟัง ยังงี้ แล้วก็ฟังให้ดี ย่อมเกิดปัญญา ฟังแล้วก็เบิกบานในธรรม ฟังธรรมไม่มีการเบื่อ การหน่าย อย่างนี้แหละ เจริญอยู่ตลอดกาลนาน

อาตมามั่นใจว่า อาตมามีอะไรที่จะพูดให้คุณฟัง มีอะไรลึกซึ้ง มีอะไรที่จะพูดไปจนตาย อย่างที่ มีคนว่านี่ อาตมานี่ อย่างที่เคยเล่าให้ฟัง พวกคริสต์เขาบอกว่า ที่นี่ตื่นเช้าก็มาเทศน์กัน ทุกวันๆ บรรยายธรรมกัน ทุกๆวัน ตื่นเช้ามาก็ลงทำวัตร แล้วก็ฟังเทศน์ เออ เอาอะไรนะมาเทศน์ ได้มากมาย มีอะไร มาเทศน์ได้เยอะแยะ

อาตมาถึงได้ตอบเขาไปว่า อาตมานี่ ถ้าจะอายุยืนถึงร้อยปี อาตมายังไม่แน่ใจเลยว่า อาตมาจะพูดหมด ที่อยากจะพูด ให้พวกเราฟัง หมดไหม แม้จะอายุยืน ไปถึงร้อยปีนี่ เขาก็นั่งเด๋อ บอก เออ มันจะพูดถึง อย่างนี้นะโว้ย เป็นเชิงข่มเขา พวกคริสต์นะ แต่เขาไม่รู้สึก รุนแรงอะไรนะ ที่อาตมาพูด เขาไม่รู้สึก รุนแรงหรอก แต่เขาหยุดละ เรียกว่า ปรับปวาทะ หยุด แต่ไม่รู้สึก กระเทือนหรอก เตือนให้หยุด กระมังนะ

อาตมาพูดไปก็เลยเวลา เอาละ มีอะไรที่จะต่อ จะไปรำลึกต่อ อาจจะเบากว่ามื้อทำวัตรเช้านี้ ก็ไว้ไปพบกัน ในตอน ภาคก่อนจะฉัน เราก็ค่อย มาฟังกันอีก เราก็ยังงี้แหละ ฟังธรรม คบสัตบุรุษ มีจักร ๔ มีวุฒิ ๔ เจริญ งอกงามไป อย่างนี้ๆ กันเรื่อยไป มื้อนี้ยังไม่ได้คิดว่า จะอยากจะจบ เท่าไหร่หรอกนะ แต่ จำเป็น จะต้องจบ เพราะเราต้องรู้กาละบ้าง ทำแก๊กๆ เกิ๊กๆ อะไรมาแล้ว ก็ยังไม่ยอมจบอยู่ ประเดี๋ยว ก็จะมีอะไร แรงๆ มากกว่านี้ เพราะฉะนั้น ก็ขอจบกันเพียงเท่านี้ ก่อนก็แล้วกัน

สาธุ


ถอดโดย ยงยุทธ ใจคุณ ๒๘ มิ.ย.๓๔
ตรวจทาน ๑. โดย อุทัยวรรณ ตั้งมั่นสกุล ๒๓ ก.ค.๓๔
พิมพ์โดย สม.นัยนา
ตรวจทาน ๒. โดย สม.ปราณี ๘ ส.ค.๒๕๓๔

อโศกรำลึก'34 /FILE:1699B.TAP