อบรมทำวัตรเช้า
แสดงโดย พระโพธิรักษ์
ณ พุทธสถานแดนอโศก
เมื่อ ๒๕ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๒๐


จิตสงบ ได้แล้วไม่มีอบายมุข ไม่มีกามคุณ ตา หู จมูก ลิ้น กาย รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส เข้ามาอีกเป็นภาระอะไร สบาย ไม่ต้องแสวงหา ไม่ต้องดีดดิ้นรนไปหา ไม่ต้องวุ่นวายแล้ว ได้อย่างนี้ เป็นอย่างนี้ อยู่อย่างนี้ก็สบายแล้ว ไม่หลงด้วยลาภ ยศแล้ว สรรเสริญก็ไม่ค่อยอยากได้อะไร เฉย เอาแต่หยุด เอาแต่สงบ ซึมกระทือ มะลื่อทื่อ ไม่เอาอ่าว ใครจะยังไง ก็เฉย ติดสงบ คนนี้ก็ไม่มีประโยชน์ท่านอีกนั่นเอง เป็นพระอนาคามี ถ้าหมดขาด พวกนั้นจริงนะ โลกต่ำจริงนะ ก็มีแต่ภพจิต ของตัวเอง จิตเฉย เซื่องสะลึมสะลือ ไม่เป็นประโยชน์ท่าน ศาสนาพระพุทธเจ้า มีประโยชน์ตน ประโยชน์ท่าน อันมีทั้งสองอัน มีทั้งพร้อม ๆ กัน

เมื่อได้ประโยชน์ตนแล้ว ก็ต้องไปฝึกทำประโยชน์ท่าน ไม่ใช่ซึมกระทือ ไม่ช่วย ไม่เหลือ ไม่ทำอะไร นี่ฝ่ายจิตสงบ ส่วนฝ่าย ไม่ติดสงบ หลงปรุง หลงความดี อยากสอน อยากให้คนนี้ดี อยากให้คนนี้เป็น อยากให้คนโน้น ได้อย่างโน้น อย่างนี้ นี่จะไป แก้ไขเขา เป็นพระอนาคามีหลงดี ก็เป็นอัตตา เป็นมานะชนิดหนึ่ง ถือตัวเองติดยึดว่าความรู้ดีใช้ปัญญา ส่วนที่ไม่พยายาม จะรู้ สงบ หยุด ๆ ๆ ไม่เอาถ่านอะไรกับใคร ก็ติดความโง่ หรือติดความหยุด หรือ ติดความพัฒนาตัวเอง ก็แช่ไปทางพัก ก็ยิ่งโง่เง่า ไม่รู้เรื่อง ไม่รู้ราว ไม่รู้กับโลก ตัดตัว ฆ่าตัวเอง จากความเป็นคน จากโลกไปสุขด้วยความหยุด แล้วติดสุข เป็นการ ติดสุขชนิดหนึ่ง เป็นยาฝิ่นชนิดร้าย ขนาดร้ายของผู้ที่หยุด ถ้ามันหยุดได้ ปล่อยได้ ด้วยปัญญารู้แล้วว่า ก็เราไม่ไปติดจริง ๆ น่ะ ไม่ติดจริง ๆ หมายความว่า เราต้องรู้อยู่กับมัน มันก็ไม่ติดนะ แตะมันก็ไม่ติด คลุกอยู่ก็ไม่ติด ปนอยู่ก็ไม่ติด ใช่ไหม เมื่อเรา ไม่ติดแล้ว เราจะมาแขวะ มาคลุก มาปนมันไม่ได้ เอ้าก็แสดงว่า เราขี้เกียจนะซีนี่ หนีงานหนัก มาสมัครงานสบาย พระพุทธเจ้า ท่านสอบ กัมมันโตนะ สัมมาอริยะมรรค มีการงาน มีอาชีพนะ มีการพูด มีการจำ มีการดำริ เป็นผู้ริเริ่มด้วยนะ มีสัมมาสังกัปโป ริเริ่มในส่วนที่ควรริเริ่ม ถ้าเรามีปัญญา เราจะริเริ่มอะไร ก็เอาอันนี้ก็ต้องริเริ่มแล้ว ก็ต้องทำขึ้นแล้ว คนอื่น ไม่ริเริ่ม เราจะต้อง เป็นต้นราก เป็นผู้ริเริ่ม ถึงจะเรียกว่า ยอดบุคคล ถ้าไม่ริเริ่มอะไรเลย เก่า ๆ อยู่ ใครก็ทำเก่า ๆ ดีก็ไม่รู้ ชั่วก็ไม่รู้ด้วย ก็ยิ่งแย่ใหญ่ แต่รู้ดีแล้วก็เออ ยืนยันอันดีก็ยังดี ทีนี้ มีอันอื่นอีกใหม่ แปลก คนมันชอบ เราริเริ่ม อันใหม่เถอะ เพื่อที่จะนำไปส่วนดี อันนั้นแหละ ปรุงให้ดี คนจะได้ชอบ คนจะได้ติด ปรุงของใหม่ ของแปลก เพราะนำคนไปสู่ดีได้นี่ โอ๊ย มันยิ่งเก่ง จึงจะต้องมี สัมมาสังกัปโป อย่างน้อย ต้องคิดหาหนทาง หรือหาวิธีการ คิดหาว่าอะไรต่ออะไร ควรทำอะไร ให้แก่มนุษย์ สร้างสรรมนุษย์ให้ดีขึ้น ด้วยกรรมวิธีอย่างนี้ ด้วยนโยบายอย่างนี้ เป็นกุศโลบายอย่างนี้ จึงเรียกว่า ยอดปราชญ์ ถ้าไม่อย่างนั้น จะเรียกว่ายอดปราชญ์ได้ยังไง นี่ มันสูงตรงนี้ ไม่ใช่ ไม่มีการงาน ไม่คิด ไม่อ่านอะไรเลย ไม่ใช่ ต้องคิดอ่าน

เมื่อผู้ใดหลง อย่างที่ผมพยายามแยกประเด็นอยู่เสมอ ว่าเมื่อเวลามันได้ดี ได้ใหญ่ เราหยุดโลกต่ำมาได้แล้ว จริง หยุดได้จริง หรือเปล่า หยุดได้จริง เราก็อยู่กับมันได้ เหมือนน้ำกับใบบอน คลุกคลีกับมันได้ แต่ถ้าหยุดไม่ได้จริง หนีหลบมาได้เลย ไม่ใช่จริงนะ ยังไม่ได้พิสูจน์ด้วยจริงนะ ถ้าจริงแล้ว ต้องอยู่กับมันได้ อย่างที่ว่านี้ เพราะฉะนั้น ผู้ใดจะติดสงบ จนเกินไป อยู่แล้วก็เลี่ยงงาน ไม่อยากทำโน่น นี่ก็ยังเป็นฐานที่เสีย ยังผิด ทีนี้อยากจะสอนเขา แล้วสอนไม่ได้ ก็แสดงว่าตัวเอง ยังไม่มี ความเก่ง อยากจะให้เขาได้ดี อยากจะให้เขา กระทำอย่างโน้น อย่างนี้ เรายังไม่มีความเก่ง ถ้าเราได้รู้กาย รู้กิริยา แต่ไม่รู้กายกรรม ไม่รู้วจีกรรมควรพูดยังไง แม้เราพูดไปอย่างนี้ แล้วก็ คนก็ย้อนแย้ง คนก็ฟังไม่ได้ คนก็ไม่ยอมฟัง เราพูดเข้าไป ก็มีแต่ดูมันผิดไปหมด ดูมันไม่งามไปหมด ไปพูดที่ไหน ไปยังไง ๆ ตลอดเวลา เอ๊ มันไม่ได้เรื่องแฮะ ก็แสดงว่า เราพูดยังไม่ ลงรอยกับเขา ยังไม่งาม ปรุงให้แก่โลก ยังไปเป็นสิ่งที่โลก เขาเข้าใจได้ หรือว่ายอมรับ เราซิโง่ อย่างนั้นก็แสดงว่า เราโง่ เราจะทำอันนี้ไปให้คน เราไม่รู้คน เราทำไปแล้ว คนเขาไม่รับ อ้าว จะบอกว่าเราเก่งได้อย่างไร เราเก่งต้องทำไปให้คนเขารับ ปรุงไปอย่างนี้ คนเขาก็รับ เราปรุงเผ็ดหน่อย เขาก็ยังรับเลย ยิ่งเก่งนะ บางทีปรุงแรงไปหน่อย เขาก็ยังรับ เขายังเต็มใจรับ เขาก็ยังไม่ถือสาอะไรเลย แล้วยังอุตส่าห์ สู้ทนเข้ามากลืน รับ ๆ สิ่งเผ็ดนี้ด้วย สิ่งร้อนแรงนี้ด้วย ก็แสดงว่าเราเก่ง นี่ เราปรุง ออกไป อย่าว่าแต่ร้อนแรงเลย ปรุงอ่อน ๆ ไปให้เขา เขาก็ยังไม่รับเลย ปรุงเบา ๆ ให้เขา เขายังไม่รับเลย เพราะฉะนั้น ยิ่งไปปรุงให้แสบ และเผ็ด เข้าไปอีก เขาจะไปรับยังไง คนเขารับเขาก็แสบ เขาก็ถอยก่อนละคน ใช่ไหม เพราะฉะนั้น เราปรุง อ่อน ๆ ไปนี่ เขาก็รับได้แล้ว เออ อย่างนั้นก็ต้องค่อยแก่ ๆ ขึ้น ค่อย ๆ เผ็ด ค่อย ๆ แสบขึ้น

ถ้าเรารู้ว่า นี่ มีของดีนะ เป็นยา นะ เป็นสิ่งที่รับเอาไปแล้วก็ได้ผลนะ ขัดเกลานะ ทำให้เราเจริญได้นะ แม้จะขมขื่น แม้จะแสบ เผ็ด ถ้าเอามาแล้ว มันบำรุงตน มาทำให้ตนเจริญ มาทำให้ตนดี เราก็รับซี เป็นอย่างนั้นจริง ๆ เพราะฉะนั้น ก่อนที่เราจะไปปรุง ให้เขาได้นี่ เราไม่รู้กิริยาว่า ของเรา มันหยาบ มันแสบ มันเผ็ด มันกล้า มันแรง เราไปปรุงกายกรรม อย่างนี้ก็แรง ไม่เข้า คนเขา ก็ไม่รับ ไม่รับมันก็ไม่เข้า เราก็แปลกใจตัวเราเองว่า เอ๊ ทำไม เราปรุงกายกรรมให้เขาอย่างนี้ เขาก็ไม่รับเรา วจีกรรมอย่างนี้ เขาก็ไม่รับเรา ก็เพราะว่า เราไม่มีปัญญา ในการที่จะสร้าง ที่จะปรุงให้เขา อ้าว เขาไม่อ้าปากรับ ก็หมายความว่า คุณเองนะ ทำให้เขา อ้าไม่ได้ เมื่อคุณทำให้เขาอ้าไม่ได้ แล้วจะบอกว่า คุณเก่งได้ยังไง แต่ละบุคคล เขาจะต้องเห็นว่า นี่ดี เขายังไม่เห็น ว่าดีเลย เอ๊ เขารับสัมผัสแล้ว เขาไม่ว่าดี เขาไม่อ้า เพราะฉะนั้น คุณจะต้องปรุง ให้เขาเห็นว่าดี ให้เขาเห็นว่า เออ เข้าใจ ให้เขาเห็นว่า เออ อย่างนี้ซิ อั๊ว จะอ้าปากรับละ เราจะบอกว่า เรานั่นละเก่ง ว่าดีนั่นละ คุณต่างหากเล่า คุณว่า เขายังไม่ว่า เขายังไม่ว่านะ คุณต่างหากเล่าว่าเมื่อกี้ คุณสมมุติว่า เออ เราว่าเราปรุง อย่างดีเป็นกุ๊ก ชั้นเลิศ คุณปรุงของคุณ รู้ของคุณ คนเดียวว่าเลิศ แต่คนที่เขาจะกินด้วย เขายังไม่ได้รู้ เขายังไม่ได้ยอมรับ ยังไม่ดีนะ อย่างนี้ ยังไม่อ้าปากนะ ยังไม่เห็นว่า ดีตรงไหน เขาจะอ้าได้ยังไง คุณต่างหากล่ะว่าของคุณ เพราะฉะนั้น คุณนี้ คุณเอง ที่จะทำให้เขาอ้าได้ เขาเห็นว่าดีได้ เขาสัมผัสด้วยตา สัมผัสด้วยหู สัมผัสด้วยกลิ่น สัมผัสด้วยรสอะไร คุณก็จะต้อง คำนวณว่า คนนี้ชอบ ขนาดไหน กลิ่นขนาดนี้ แรงไปเขาไม่ชอบ เลยไปขนาดนี้ เบาไป เขาไม่ชอบ รสอย่างนี้ สีอย่างนี้ รูปอย่างนี้ กลิ่นอย่างนี้ อะไรต่าง ๆ สัมผัสแล้วว่า เขายังไม่พอดี คุณก็ต้องลดหย่อย ส่วนนั้น ส่วนนี้เข้ามาให้ปรุง ให้หย่อน เอาคนเป็นส่วนใหญ่ ใช่ซิ เราต้องเอา ประมาณคนส่วนใหญ่ เพราะฉะนั้น คนส่วนใหญ่ รับอาหารที่เราปรุงอย่างนี้แล้ว คนส่วนน้อยย่อมมีอยู่ ย่อมมีแน่ ๆ

แม้แต่พระพุทธเจ้า เทศน์ไปปั๊บ อาเจียน เป็นโลหิต ตายไป ๖๐ ต้องทนไม่ได้ ต้องถอนลาสิกขาบท ไปอีก ๖๐ อีก ๖๐ เต็มที่เลย ปลื้ม เต็ม บรรลุอรหันต์เลย พระพุทธเจ้าก็ยังเอา หนึ่งในสาม อีกอันหนึ่งก็เป็นลูกผี ลูกคนก่อน ยังเวียนกลับมากินอีก หรือไม่เวียนกลับ มากินอีกก็แล้วแต่ อีกคนหนึ่ง นะตายไปเลย อาเจียนเป็นโลหิต ตายไปเลย อีกจำนวนหนึ่ง ก็ยังเอาเลย ถ้าเราได้อันนี้ แม้เนื้อเท่านี้ ถ้าว่า แน่ใจว่านี่เนื้อแน่ ๆ นี่นะ แต่ถ้าเราเฉลี่ยอยู่แล้วว่า อ้อ นี่ เรารับได้นี่ ส่วนใหญ่อยู่แล้ว ส่วนน้อยนี่จะหลุด ๆ ร่อนลงไปบ้างก็จำเป็น แต่ถ้าคุณทำได้เก่ง ไม่ให้หลุดเลย สักคนได้ เอาซี คุณจะยืดหยุ่น อย่างไรล่ะ เผื่อคนกินของเผ็ด คนนี้กินของไม่เผ็ด คุณก็จะต้องปรุงเอ้า ไม่เผ็ด เอ้า บ้าง เอ้า เผ็ด ๆ ๆ ๆ ๆ เอ้าไม่เผ็ดเอาบ้าง เอ้าเผ็ด ๆ ๆ ๆ ๆ เอ้าไม่เผ็ดเอาบ้างไม่เผ็ด คุณจะทำอย่างไร เฉลี่ย ให้ป้อน ได้ทั่วถึงกัน ทั่วทุก ๆ คน คนนี้ รักอย่างนี้ คุณก็ต้องเอาอาหาร เวียนป้อน เวียนไป เวียนมาได้ เฉลี่ย ทั่วถึงกันได้ ยากยิ่ง มีหลายขนาด ยิ่งมีหลายระดับ คุณยิ่งมีจาน คุณยิ่งมีชาม โอ้โฮ ! นี่เผ็ดขนาดนี้ นี่รองลงมา ๆ ๆ ๆ สิบปาก สิบรส โอ้โฮ คุณปากเป็นไฟเลย ให้เพื่อคุณจะได้โหยหา จนกระทั่ง รอบาน โอ้ ไม่ได้หรอก โอ้ย ลุกหนีไปก่อนดีกว่า คุณก็ขาดคนนั้นไป นี่ถึงบอกว่ายาก ในการที่จะป้องเวียนให้ถึง แล้วก็ให้ถูกนะ ไม่ใช่ขาด คนนี้ ลืมคนนี้ เหนื่อยมาก เพราะฉะนั้น ยิ่งหมู่กลุ่มโต ๆ ยิ่งยาก ๆ ขนาดของอาหาร ยิ่งหลายระดับเหลือเกิน เพราะฉะนั้น เรารู้แรงของเราแล้วว่า เออ เรายังไม่เก่งพอ อย่าไปอวดดี เอาคนมามาก ๆ ทำไม เอามามากแล้วคุณป้อน ให้เขาก็ไม่ได้ มีเขาแต่ รังจะหนี หรือเข้าใจผิดไปเลย เสีย คุณ ไม่เกิดประโยชน์อะไร เพราะฉะนั้น เราอยู่ไป เห่อในการที่จะบอกว่า ที่จะบรรยายธรรมะ หมู่โต ๆ มาก ๆ นั่น มันหลงหมู่โต นึกว่าฉันเก่งเหลือเกิน คนเขามานี่ คุณได้ครั้ง สองครั้ง คุณตีลังกา ลงไปเลย ไม่ดีหรอก เพราะฉะนั้น เราเอาเนื้อ ๆ เราเอาเนื้อ ๆ นี่ดี

แม้น้อยคนได้เนื้อ ยิ่งป้อน ยิ่งอ้วนขึ้น ยิ่งอ้วนขึ้น เห็นทันตาเลย คนยิ่งน้อย ยิ่งกิน ยิ่งอ้วน ๆ ๆ ๆ ๆ ที่ ต่อหน้าต่อตานี่เลย คุณทำคนเดียว กับคนเดียว เขาได้ ก็รีบทำปะไร เพราะฉะนั้น โดยคนหนึ่ง หรือสองคน หรือสามคน ห้าม เราไม่ปรารถนาอะไร ไม่ประหลาดอะไร

เห็นได้ว่า ผมเอง ผมไม่พยายามยุแหย่ แล้วก็กระทำกับพวกเรานี่ แล้วไม่ให้อิดหนาระอาใจ แม้น้อยคน ก็พยายามแสดงธรรม แม้คนนี้มา คนหนึ่งนะ สองคนนะ มากนะ มันก็เป็นแนวโน้ม อยู่หรอกว่าก็ดี แต่คุณทำได้หรือยัง ถ้าคุณทำไม่ได้ อย่าเหิ่มห่าม อย่าอยาก ๆ ได้แต่กองใหญ่ ๆ มักใหญ่ ๆ ธรรมใดที่มักใหญ่ มักโต ไม่ใช่ธรรมวินัยของพระพุทธเจ้า มันเป็นไป โดยสาระ ที่ได้ประโยชน์ มากที่สุดนั่นแหละดีแล้ว ค่อยประหยัด กระมิด กระเมี้ยนไป ค่อย ๆ ดำเนินไป บอกว่าทำไม ท่านไม่ไปพูดวิทยุ เรารู้ว่า วิทยุออกกว้าง ทำไมท่าน ตะรอนๆ ไปพูดเอาแค่นี้ ๆ อย่างนี้ ทำอย่างนี้ ทำไมอยู่ทางโทรทัศน์ วิทยุ ออกได้กว้าง ได้ขวาง ทำไม ไม่ไปแสดงธรรมทางโน้นเล่า จริง แสดงยาก แสดงธรรม อย่างนั้น ต้องแสดงได้อย่างกลาง ๆ อ่อน ๆ อย่างผม ไปออกโทรทัศน์นะ แสดงธรรมลึกซึ้งอะไร หลัก ๆ อ่อน ๆ พูดมากก็เบียดเสียดใจ กระทบ กระเทือนไปหมด เร็วจริง แต่ฐาน เขายังไม่มี เพราะฉะนั้น เราก็ไม่ต้อง ตื่นเต้นล่ะ ไม่ต้องหลงหรอก เมื่อไรจะได้แสดงวิทยุ ผมอยู่กับวิทยุมา เมื่อไรไปแสดง โทรทัศน์ เพื่อนในโทรทัศน์มี ทำไมไม่ไปหาเขา เขาถามผมก็ถามไป บางคนอาจสงสัย ทำไม ก็เพื่อนก็มี ทำไมไม่มีสิทธิ์ ไม่มีความสัมพันธ์อะไรแล้วเหรอ มี แต่ผมไม่ทำล่ะ ผมให้มันเป็นไปตามธรรม แล้วผมก็ทำตามอย่างนี้ดีกว่า

พวกเรานี่ บางทีก็ไปหาคนมา ไปหาผู้ที่จะมา กอบมา ไปเที่ยวได้จูงมา ดึงมา แล้วก็ไม่รู้ว่า ที่ดึงมานั่น เอามาแล้ว ก็มาทิ้งให้ผม ทั้ง ๆ ที่ผมเอง แบกตัวคุณเอง ก็ยังยากอยู่แล้ว ช่วยคุณ ก็ทั้งยากอยู่แล้ว คุณยังไปหอบคนมา ทั้ง ๆ ที่มันยังไม่สมหอบเลย ผมก็ยังไม่มีเวลาเพียงพอ คุณมาว่าตัวคุณด้วย เพราะผมจะต้องเลี้ยงคนเพิ่ม ทั้ง ๆ ที่คุณเอง ก็ยังต้องการ รับเลี้ยง อะไรอย่างนี้ นี่ มันซ้อนอยู่ในตัวบางคน เพราะฉะนั้น ในการที่จะรับหมู่เข้ามาที ถ้าเป็นไปได้ แล้วพวกคุณเอง เป็นตัวแทน เป็นครู เป็นมือ เป็นไม้ ที่จะสืบต่อ สานต่อไปได้อีกเอง ไปได้อีก ผมก็รับมา คุณจะไปหามาอีก ก็ไม่ว่า คุณรับผิดชอบของคุณ พอได้ก็เอา ต่างคนต่างขยายออก ช่วยกัน วง มันก็จะเขยิบ ๆ ออกไป แต่นี่ตัวเอง ก็ยังไม่รอดเลย แล้วก็ยังจะไปหา คนอื่น มาอีก เอ๊ เอ้า มาอย่างไรกันล่ะ ก็ยุ่งกันแย่นะซี ตัวเองก็ยังเลี้ยงตัวเองยังไม่รอด มาให้ผมเลี้ยงอยู่ แล้วคุณก็ไปหา คนอื่นมาอีก เอามาให้ ผมเลี้ยงอีก คุณฆ่าตัวคุณด้วย แล้วก็ทรมานผมด้วย แล้วคนที่มาใหม่นั่น ก็ไม่ได้อะไรนักหนา เขาอยู่ที่อื่น เขาอาจได้ อะไรอื่น ดีกว่าด้วยซ้ำไป จริงที่นี่ อาจมีดี แต่ที่โน่น เขาก็มีดีสมฐานะของเขา ถ้าฐานะเขาควรมาที่นี่ แล้วก็ค่อย ๆ มา เมื่อมาแล้ว ก็จะต้องรู้ว่า เราเอง เรายังจะต้อง ช่วยตนให้มากนะ ตอนนี้ เราเอาลูกมาใหม่ พ่อเลี้ยงเพิ่มเข้ามาแล้ว เราก็จะต้อง เป็นลูกที่ จะต้องช่วยตนเอง ให้ได้มากนะ เราก็ต้องสำนึก ๆ ให้มาก ไม่ใช่ว่ามาแล้วก็เราต้อง หนักลงกว่าเก่า หรือว่าหนัก อยู่เท่าเก่าอีก เราก็ฆ่าพ่อ ฆ่าแม่ยังนี้ มันก็ค่อยเข้าใจ เสร็จแล้วก็ค่อย ๆ พยายามกระทำ ให้มันลงตัว มันซับซ้อน พวกนี้ มันซ้อนมาก ถ้าทำไปแล้ว เราจะรู้ด้วยญาณ เราจะรู้ด้วยความชาญฉลาดเอง แล้วก็เข้าใจเอง ว่าเออ พวกนี้เป็นสัทธรรม ไม่ต้องหลงใหญ่ หลงโต ไม่ต้องมักมาก อะไรหรอก ไม่ต้องไป นี่มันจะเขยิบไปตามฐานะของมันเอง ไล่เรียงไปเถอะ แล้วเราทำเนื้อ ทำแน่น ทำไป ๆ ๆ ๆ ๆ เอาให้มาก

ผมเอง ผมไม่ได้ยืนยันว่า ทุกวันนี้ผมไปทำงานนี้ ผมต้องไปแสดงธรรมที่อื่น ให้มากกว่าพวกคุณ ผมจะต้องแสดงธรรม กับพวกเรานี่ ให้มากกว่าผู้อื่น แสดง ยืนยัดยืนยัน ทำมากี่ปี ๆ ๆ ๆ ใครจะบอกว่า ผมแสดงธรรม ที่พวกเรานี่โอ้ มากแล้ว เหมือนอย่างที่ก่อนนี้ ผมอยู่ที่วัดอโศการาม เคยมีคนเย้า วันอโศกรามนี่ เขาก็แสดงธรรมมาก เขาก็เทศน์ทุกวัน เทศน์ ยิ่งเข้าพรรษา ยิ่งเทศน์หนัก ทีนี้ ถ้าเผื่อว่า พอไปที่อื่น จากวัดอโศการาม ไปที่อื่นนี่ เขามีคนเคยเย้า ผมได้ยินแล้ว ผมก็จำได้ ทีเดียว แล้วผมก็มีอันนั้นแหละ เป็นหลักของผม อยู่เหมือนกัน พอเขาไป ที่วัดอื่น เขาถาม ท่านมาจากวัดไหน มาจาก อโศการาม อ๋อ มาจากอโศการาม ไม่ต้องฟังเทศน์หรอก เมามาแล้ว เมาเทศน์มาแล้ว ไม่ต้องฟังเทศน์หรอก เขาว่ายังนี้ ผมสะอึกเลย วัดอโศการามนี่ เมาเทศน์ เมาคำนี้ เทศน์มาก จนน้ำท่วมทุ่ง ไปหมดแล้ว พูดไม่มีอะไรสูง ไม่มีอะไร ไม่มีขั้นตอน ไม่มีอะไรมาก ไม่มีอะไรเป็นสาระเทศน์มาก ที่จริงเทศน์มากดี แต่เทศน์มาก แต่ไม่มีสาระ น้ำท่วมทุ่ง ผักบุ้งโหรงเหรงอยู่ มันก็เมา มันก็เจิ่งนองไปเฉย ๆ เพ้อไปเฉย ๆ ไม่ได้อะไร

พอไปหาเขา เขาก็พูดเย้าให้ มาจากไหน มาจากวัดอโศการาม อ๋อ มาจากวัดอโศการาม ไม่ต้องฟังเทศน์ เมามาแล้ว ไม่ต้องฟัง เขาเย้าให้ อย่างน่าอาย มันเป็นคำแดกดัน อย่างนี้เป็นต้น แล้วมันก็เออ วัดอโศการามเทศน์ ที่จริงเทศน์มาก แล้วทำไมมันไม่ดี มันดี แต่ที่มันไม่ดี ตรงไหนเล่า ต้องรู้ประเด็นซ้อน มีความแยบคาย มีความลึกซึ้งรู้อะไร คือเสีย เราต้องเข้าใจ เพราะฉะนั้น มาฟังพวกเรานี่ มาทำ ถ้าเผื่อว่า ผมเทศน์ กับพวกคุณนี่นะ มันเทศน์มาก มันเฟ้อ ซึ่งพวกเรามีความรู้สึกหลายคน บางขณะ ฟังเทศน์ อย่างที่เราฟังนี่ พวกเรานี่ เทศน์กันจริง ๆ บรรยายกันจริง ๆ โดยเฉพาะ ตัวผมนี่แหละบรรยาย ให้พวกคุณฟังจริง ๆ จนบางคน รู้สึกว่า มันเฟ้อ รู้สึกว่า เราฟังมากแล้วนี่ เราทำไม่ได้ เราฟังก็ลึกซึ้งไปเฉย ๆ เราฟังไม่ได้ แล้วก็ไม่มีอะไร บางที เราวนเวียนเบื่อ มาฟังก็ไม่อยากฟังแล้ว เหมือนสหธรรมิกเราบางคน ฟังไม่เข้า แล้วนั่งหลับ ได้แต่หลับ ๆ เบื่อ ไม่ค่อยอยากฟัง แต่จำเป็นเฉย ๆ เพราะฉะนั้น อยู่นาน ๆ ไป นาน ๆ ไป เบื่อ ไม่อยากเอาแล้ว ก็ต้องหลบหนีไปที่อื่น ถ้าขืนอยู่ที่นี่ จะต้อง ฟังธรรม รู้แล้วว่าฟังธรรม มันไม่ได้อะไร เพราะเขาไม่ได้จริง ๆ หันออกไปแล้ว ไม่ฟัง ๆ ไม่รู้ว่า มีสิ่งลึกซึ้ง มีสิ่งแยบคาย

เมื่อทำความแยบคาย ไม่เป็น สติสัมปชัญญะ มันก็ไม่มี เมื่อสติสัมปชัญญะไม่มี มันก็ไม่เอาไปปฏิบัติ ไม่ไปสำรวมกายสุจริต วจีสุจริต ไม่มีการบริบูรณ์ สติปัฏฐาน โพชฌงค์ ไม่มีเลย

เมื่อไม่รู้จักความแยบคาย มันก็ไม่เกิดศรัทธา ไม่เกิดศรัทธาก็ไม่รู้จักสัตบุรุษ ไม่รู้จักสัตบุรุษ ก็จะได้ไปฟังธรรมอันดียังไง แม้ผู้ที่เป็นสัตบุรุษ จะแสดงธรรมอันดี แสดงสัทธรรม ขนาดไหน ไม่มีประโยชน์อะไรเลย เพราะเราจับความแยบคายไม่ได้ เพราะเราจับความละเอียด ลึกซึ้งไม่ได้ เราฟังอะไรก็ตุ่ย ๆ เหมือนกับเราได้ฟังของเก่า ทั้ง ๆ ที่มีของใหม่ ของใหม่มันน้อย ของใหม่ มันเคียงขึ้นมาเรื่อย ๆ แกนมันก็เท่านี้ ที่จะตกออกมา ต่อออกมา มันก็จะต้องเป็นของน้อย เป็นของย่อย ละเอียด จะต้องเก็บละเอียดเป็น ถ้าเก็บละเอียดไม่เป็น พอฟังปั๊บ ก็ตีขลุมเข้าเป็นแก่น ตีขลุมเข้า เป็นเรื่องเคยรู้แล้ว เคยรู้แล้ว อย่างเก่า เราไม่ได้ฟังของใหม่ ไม่ได้มีอุทานะ ไม่มีสิ่งที่ท่านให้ใหม่ อุทานะ แปลว่า สิ่งที่เกิดให้ใหม่ อุแปลว่าเกิด ทาน แปลว่าให้ นี่เป็นสิ่งที่ท่านเกิดให้ใหม่นะ ก่อให้ใหม่นะ เติมให้ใหม่นะ อุทานนี่ ไม่รู้ เมื่อไม่รู้ ก็ไม่ได้ เมื่อได้ เมื่อรู้ อ๋อ นี่ลึกซึ้ง นี่แยบคาย นี่มุมนิด ๆ แปลก เปลี่ยนหน่อย ๆ นี่มีความเรียกว่าย้อนแย้ง เข้าไปให้ได้รู้ซึ้งเข้าไปอีก ถ้าไม่มีอุทานะ อย่างนี้ ก็ไม่ได้อะไรอีก ไปทุกที ผมเองเจตนานะ แล้วผมเองก็พยายามที่สุด ที่จะให้มีอุทานะทุกครั้ง ให้มีอานิสงส์ ในการฟังธรรม ทุกครั้ง นี่ โอ้ นี่ใหม่ นี่แปลก นี่ดี เออ นี่ทำให้เราเข้าใจ ลึกซึ้งขึ้นไปได้ อันนี้พ้นวิจิกิจฉา อันนี้เปลี่ยนมิจฉาทิฐิ เปลี่ยนทิฐิเก่า ทำให้เราพ้นสงสัย เบิกบาน แจ่มใส ร่าเริง ตั้งใจ ติด

ถ้าไม่ติด ผมก็รู้แล้วทุกคน ว่าเรานั่งฟัง หงิม ๆ ๆ กันไป ไม่ร่าเริง ไม่เบิกบาน ผมก็รู้ แล้วก็ต้องพยายามปรุง ปรุงให้มีอะไรใหม่ ให้มีอะไรเติม ให้มีอะไร ถ้าเผื่อว่า จะทำอยู่อย่างเก่าอยู่ มันไม่ได้ นอกจากปรุงแล้วก็ต้อง พยายามที่จะเน้น พยายามที่จะ ให้เข้าไปอีก บางทีหลับไปนี่ ต้องตีขึ้นแรง บางทีหนักแล้ว ต้องปลุกหนักแล้ว อะไรอย่างนี้ จึงต้องมีทั้งแรง มีทั้งปรุง อย่างหนัก อย่างเน้น มีทั้งใส่รสชาติ มีทั้งหวือหวา มีทั้งอะไรต่ออะไร บางทีหนักจนต้อง ตลกผสมแน่ะ ต้องมีบทตลกผสม ต้องมีเรื่องราว ที่อะไรต่ออะไรเล่า จูงนิยามอะไรต่ออะไร บางทีขึ้นมา บางทีต้องถึงขนาดนั้น นั่นจงให้รู้ว่า เรามันแย่กันแล้ว ยิ่งผมต้อง ปรุงหนัก ยิ่งผมต้องปรุงมาก ต้องมีตลกโปกฮา ผสมหนักเข้าไปอีก นั่นแสดงว่า เรายิ่งแย่เข้าไปอีก

ยิ่งแสดงได้แนบเนียน ได้เนื้อ ได้หนัง ได้แสดงถึงสาระที่ลึกซึ้ง ๆ เป็นภาษา เป็นบัญญัติ เป็นความ เป็นคำ เป็นอะไรต่ออะไร ที่บอกเนื้อ บอกหนังแท้ ๆ บอกแก่นมันแท้เข้าไปมาก ๆ ยิ่งบอกแก่น ที่ละเอียด ยิ่งบอกแก่นที่เล็ก ยิ่งบอกแก่นที่บางเบา แล้วเราก็เข้าใจ รับได้ รับได้ก็ยิ่งดี ๆ ยิ่งเป็นแก่นที่ดี เป็นแก่นที่เล็ก เป็นแก่นที่ละเอียด ก็ยิ่งลึกซึ้ง อันนี้สำคัญ

ที่คุณซัก คุณอยากรู้นี่ มันเป็นส่วนที่ของคุณ ส่วนของผู้อื่น ผู้อื่น ที่นั่งฟังอยู่นี่ มีอยู่หลายคน ไม่ได้ฟังอันนี้ ผู้อื่นยังไม่ได้ ยังไม่ฟัง ยังไม่ถึง คุณนี้แหละ แบบเดียวกัน ถ้าเราอยากให้คนอื่นได้รู้ สิ่งที่เรารู้ คุณต้องรู้ว่า ถ้าเรารู้ว่าสิ่งที่สูง แล้วคุณก็อยาก ให้คนอื่นเขารู้ สิ่งสูงนี้บ้าง ถ้ามันสูงเลยขอบ เลยเขต ไม่มีผล ของคุณต้องการเข้าใจ ก็ถูกแล้ว คุณซักนี่ ซักคุณต้องการเข้าใจ แล้วคุณก็ คนเราแก้ตัว เราอยากเข้าใจอันนี้ เราอยากได้กินอันนี้ เราก็เลยอยากให้คนอื่นได้กินบ้าง ที่จริง เรากินของที่เรากินได้ แต่คนอื่น เขากินอันนี้ไม่ได้ พยายาม คุณกิน อันนี้ดีนะ ใช่ดี แต่ยัง มันไม่ถึงขั้นของที่เขากิน ของเขากินไม่ได้ล่ะ เราก็เลย แก้ตัวนี้ ก็อยากให้คุณกินบ้าง นี่อันนี้ของดี นั่นเป็นคำแก้ตัวของเรา ถึงอยากให้เขากินให้ตาย แต่เขาคอยังไม่ถึง กินยัง ไม่ได้หรอก เขาไม่ได้กินด้วย ให้เขาก็ไม่ได้กิน เพราะเขาจะไปกินยังไง เขากินไปแล้ว เขาก็ฝืนเฝื่อน เขาขื่น เขาขม เขาไม่กิน มีแต่จะปิดปาก หลบเลี่ยง เฉย ไปหาอะไรรสอื่น ลิ้มดีกว่า เพราะฉะนั้น แม้จะอมของคุณ แต่ใจของเขาไปรับอันอื่น ก็คุณไป บังคับให้เขากิน ใช่ผมเข้าใจ แต่ทีนี้คนอื่นเขา นี่ผมพูด อันนี้ขึ้น คล้ายกับว่า แยงให้คนอื่น เขามองไปว่า เขาอวดภูมิ

แต่ไม่ใช่หรอก ที่พูดให้ฟังนี้ เข้าใจทั่ว ๆ กันเหมือนกัน ให้เข้าใจว่า ผมพูดตรง แต่ตอนนี้ ไม่ต้องเพ่งโทสกัน ถ้าใครไป เพ่งโทสกัน คุณไม่ได้ คุณเป็นภันเต ใครเพ่งโทสผู้เป็นภันเต คนนั้นก็บาป เรียกว่าไม่รู้ฐานะ ไปเพ่งโทสภันเต เขาจะเป็นภันเตเรา เรามีสิทธิ์อะไร เราไม่มีสิทธิ์ แต่เราจะรู้ ด้วยปัญญาเอง ว่าเอออันนี้ อย่างนี้ แต่ถ้าเราไปเพ่งโทส บาปตาย เรามีหน้าที่ ที่จะมองคนน้องว่า เอออะไร เขาผิดบ้าง จะได้ช่วยเขา เพราะเราอยู่ในฐานะ อยู่ในหน้าที่ทำได้ ถ้าเผื่อว่า ไปเพ่งโทสที่ภันเต เรามีฐานะอะไร เราจะช่วยภันเตหรือ ไม่ใช่ ภันเตมีหน้าที่ ช่วยอาวุโส ช่วยน้อง ๆๆๆๆ นั่นเป็นฐานะที่จริง นั่นเป็นลำดับที่จริง

ถ้าผู้ใด ที่เป็นอาวุโส เป็นน้องแล้วไปเท่งโทสภันเต ซวยมหาซวย อยู่ตลอดกัป ไม่แก้ ไม่ฟื้น ๆ มันมีแต่มานะ อวดดีจะไปข่ม จะไปหาแง่หาเงื่อน ของภันเตนะ แล้วจับผิด มันก็มีผิด เพราะว่าคนเรายังไม่ใช่พระพุทธเจ้าทุกองค์นี่ผิด ความบกพร่องทุกคน เพราะฉะนั้น ถึงต้องบอกว่า ต้องมีสติ รู้ในวินัย วินัยว่านี่ ที่ตามวินัยนะ ตามกฎ ตามหลักนะ ถ้าไปเท่งโทส ผู้ที่ซวย ไม่มีใครซวย ตัวเองซวยมหาซวย ใครไม่เชื่อก็ลอง ซวย อย่าว่าจะไป เพ่งโทสแต่ผู้ที่เลย พระพุทธเจ้าไม่ให้เพ่งโทสเอาใคร หรือ แม้แต่อาวุโส หรือแม้แต่น้อง ๆ นุ่ง ๆ การเพ่งโทส เป็นอาสวะเจริญยิ่ง ท่านไม่ให้ไปเพ่งโทสใครหรอก ให้รู้ว่าโทสเป็นโทส แล้วอย่าไปติด เป็นบุคคลเราเขา เออโทส ถ้าเป็นที่เราก็รู้ว่า มันเกิดเพราะเรารู้นะ ไม่ใช่ไปเพ่ง รู้ก็ปล่อยวาง ไม่ใช่หน้าที่ของเรา ให้ผู้ที่ของท่านช่วยกัน ท่านมีพี่ ๆ ไล่เรียงอย่างสมมุติ คุณเป็นภันเตสูงในหมู่ ผมก็ต้องพยายามมองคุณ ถ้าผมตาถั่ว ก็เรื่องของผม ใช่ไหม มันก็ซวยไปด้วยกันหมด ถ้าผมตาดี ผมก็จะมองคุณ คุณก็ช่วยมองน้องลงไป คุณก็ช่วยมองน้องลงไป ไม่ใช่คุณมาเพ่งผม มันต้องมี สติวินัย มันจึงจะเกิด อธิกรณสมถะ ถึงจะเรียบร้อย อธิกรณะ ก็หมายความว่า เรียบร้อย สงบ สมถะ ก็คือสงบ ระงับได้แล้ว เป็นอธิกิจ เป็นอธิกรณะ เป็นการงาน หรือเป็นความเป็นอยู่ หรือเป็นกิจที่ดีแล้ว แต่ถ้าเผื่อว่า เขาไม่เป็นอย่างนี้ มันก็ไม่สงบ มันก็มีเรื่องที่จะต้องวุ่น อยู่ตลอดไป ไม่สงบลงได้ เพราะไม่มีแม้แต่แค่ สติวินัย ถือว่านี่เป็น ชั้นสูง ยกไว้ว่า เป็นอรหันต์ ไม่ได้หมายความว่า ยกเป็นพระอรหันต์ ยกไว้ว่า เป็นผู้ที่อยู่ เหมาะควร สูงสุด อรห แปลว่าเหมาะ อันตะ แปลว่าสูง แปลว่าปลาย ยกว่านี่อยู่ในฐานะที่เหมาะควรแล้ว สำหรับเขาสูงสุด ตามเขา เรื่องของเขา เขาก็ต้องเห็น เหมาะควร ของเขา ยกให้ตามสติวินัย มีสติรู้ตามวินัย ตามกฎเลยว่า นี่เป็นภันเต ภันเต ต้องเป็นภันเต เป็นผู้สูง เขาก็ต้องรู้ ความเหมาะความควร ตามผู้ที่เขาสูง เราอย่าไปเพ่ง ถ้าใครไปเพ่ง จะต้องช่วยกันสอด ต้องช่วยกันว่า อย่าไปเพ่งเขา นี่เรียกว่า สติวินัย เรียกว่า อธิกรณสมถะ แบบข้อสติวินัย ยกเป็นพระอรหันต์ซะ ยกเป็นผู้ที่สูงซะ คำว่าอรหันต์นี่ มันสูงสุด เพราะฉะนั้น คำกล่าวอันนี้ รวมไป จนกระทั่งถึงพระพุทธเจ้า

พระพุทธเจ้าย่อมยกเป็นพระอรหันต์ ท่านจะผิด ท่านจะถูกยังไง อย่าไปท้วง อย่าไปเพ่งโทส เป็นอันขาดสุดจริง ๆ ทีนี้ ถ้าพระอรหันต์อื่น ท่านอื่น ก็ยกไว้อีกเหมือนกัน ท่านทำให้เป็นพระอรหันต์แล้ว ท่านสูงกว่าภันเตแล้ว อย่าไปท้วง เพราะฉะนั้น แม้แต่ที่สุด จะกลับมา ไม่ใช่ฐานะของผู้ที่เกิด พระพุทธเจ้าท่านบอกว่าองค์นี้ ท่านเป็นพระอรหันต์แล้ว เอ้าตกลง ยกไว้ ใช่ไหม พระพุทธเจ้า กำหนดแล้ว พระพุทธเจ้า ท่านบอกแล้วต้องเชื่อ ไม่เช่นนั้น รวนตาย วาสนาบารมี เขาอาจไม่ดีถึง อย่างพระสารีบุตร เป็นพระอรหันต์ บอกว่า นี่เป็น อัครสาวกเบื้องขวาแล้วนะ ถ้าไปเพ่งโทส พระสารีบุตรอยู่ คือพระสารีบุตร มีกิริยา กาย กิริยาอะไร ยังไม่เรียบร้อย ยังไม่งามเยอะไป ถ้าไปเพ่งอยู่ คุณไม่ได้ฟังสัจธรรม เพราะคุณ ไม่ศรัทธา คุณไม่เชื่อ คุณไม่ยกไว้ คุณไม่ยกว่านี่เป็นพระอรหันต์ ไม่ได้ประโยชน์ ก็ไปนั่งเพ่งอยู่ มันจะได้ประโยชน์อะไร ไปนั่งถือว่า เออ ไม่ถูก ไม่ดี ไม่งาม เราจะต้องฟังธรรมะ ด้วยใจงาม จะฟังใครก็ตามแต่ แม้อาวุโส แม้เราให้โอกาส ผู้ที่เป็นอาวุโส ขึ้นแสดงธรรมแล้ว เราก็ต้องตั้งใจฟัง ด้วยใจงาม ไม่ใช่เพ่งผิด แต่จะต้องฟัง ด้วยเมตตา ถ้าอะไรมันผิด เราก็จะรู้ว่า อันนี้ของเขาผิด แล้วก็ปล่อย อนุโลม อโหสิไว้เรื่อย ๆ ไม่ใช่ว่า จำผูกพยาบาทเอาไว้ ไม่ใช่ อันนี้ดี เราก็จะต้องเห็นดี ๆ ๆ ๆ ไปตาม อันนี้ยังไม่ดี เราปล่อย แล้วก็ฟังไปใหม่ ไปเรื่อย ๆ ไม่ใช่ไปเกาะยึด อยู่ตรงไม่ดีเลย แล้วก็คุมแค้น คุมเคือง คุม จะต้องแก้ไขให้เขายังไง ๆ มันไม่ใช่เวลา ทีนี้อันนั้นนะ ถ้าจะเอามาคิดที่แล้ว ก็จะเอาเก็บไว้ทีหลัง ก็อันนี้ ของอาวุโส บกพร่องนะ แล้วค่อยมา ถ้าไปผูกอยู่ที่นั่น ไม่ได้ฟังต่อ นี่ก็เป็นความซวย ของผู้นั้น ไม่ใช่กาละ ก็กาละนี้ เราไม่ได้มาเพ่งโทสกัน กาละนี้ เรามาเป็นผู้รับ รับรู้ว่า อะไรดีแล้วก็ดี ก็วาง ดีก็วาง ก็รับดีใหม่ หรือไหนเสีย หรือรู้ว่าเสียก็วาง ดีก็วาง เสียก็วาง ๆ ๆ ๆ ไว้ สัญญา มันจะทำงาน ของมันเอง ถ้าเราจะซ้อนสัญญา เข้าไปว่าเอ๊ นี่ จะจำไว้หน่อยหนึ่งนะ ก็ติ๊กไว้ นิดหนึ่ง เออ อันนี้จำได้ พอเลิกแล้ว เราก็จะเอามา ทบทวน แล้วก็จะเอามาช่วยกันอีก อันนี้ดีเราก็รู้ดีอยู่นี้แล้ว เออ อันนี้ดี ๆ ๆ ดี เรารู้อยู่แล้ว เราไม่ต้อง แก้ไขอีกแล้ว มันก็ไม่ต้อง ไปติ๊กอะไรเอาไว้ มันก็วางไป อะไรจะช่วย จะแก้ นี่สำหรับ เราฟังอาวุโส ฟังของรุ่นน้อง

ถ้าเราฟังของรุ่นพี่ กลับกัน อันนี้เสียของท่าน วาง ส่วนฟังรุ่นน้องอันนี้ดี วางส่วนของรุ่นพี่ อันนี้เสีย วาง เราเอาอันนี้ดี เออ ดีอันนี้เรายังไม่ได้ดี หรือเราจะทำอันนี้ ให้ผลีผลาม ตามอันนี้ได้ เอาดีมา แม้แต่จะออกไปแล้ว ก็เอาดี อันนี้ไม่ทบทวน นี่อ๋อ อันนี้เรายังไม่ได้ดี ส่วนเสียวาง ไม่เกี่ยวของท่านนี่ นี่ฟังของพี่ เอ้าหรือว่า ฟังของที่เรายกไว้ มันกลับกันอย่างนี้ นี่เสียนะ ไม่เกี่ยวหรอก เราไม่เกี่ยว เราไม่ใช่ฐานนี้ ไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่หน้าที่ เราเอาแต่อันดี ที่เรายังไม่ดีเท่าเขา เรายังไม่ได้ดี อันนี้ เราก็เอาแต่ดี ๆ ๆ ๆ มา แล้วก็เอามาขบคิด แล้วก็เอามาแก้ไขตัว นี่เท่านั้น ต่างหาก

ถ้าผมฟังธรรมของพวกคุณ ผมก็ฟังดู อันไหนดีแล้ว ก็เออ ดีแล้ว อนุโมทนาสาธุ อันไหนไม่ดี ผมก็ติ๊กไว้ ๆ แต่ไม่ใช่เอาคุม เดี๋ยวนั้น เอามาคิด เดี๋ยวนั้น ค้นเดี๋ยวนั้น มันก็ซวยนะซี เราไม่ได้ฟังอันอื่นต่อ ติ๊กไว้เท่านั้นเอง แล้วก็ปล่อยวางเองไว้ก่อน เมื่อผ่านไปแล้ว ก็หยิบอันนี้ขึ้นมา ว่าจะแก้อะไร เป็นหน้าที่เราแล้วตอนนี้ เราจะแก้เขายังไง นี่เป็นอาวุโส เราจะแก้ไข เมื่อไร นี่หน้าที่เราเป็นภันเต เราก็จะต้องทำกับอาวุโสอย่างนี้ ส่วนหน้าที่ของอาวุโสนั้น อย่าไปยุ่งเขา ฟังธรรมจากเขาแล้วก็ยก เป็นสติวินัยไปหมดเลย ยกให้เอาว่าเป็นพระอรหันต์ อย่าไปเอามาไว้ ยกให้เป็นที่สูง เพราะฉะนั้น ชั่วใดของเขาผิดใด แม้เราจะรู้ ด้วยญาณปัญญาว่า อันนี้ไม่ดี นี่ชั่ว นี่เสีย โยนทิ้ง ไม่เกี่ยวได้เป็นดี

ยิ่งพวกคุณเป็นภันเต เป็นอาวุโสกลาง ๆ อย่างนี้ ยิ่งคุณจะต้องทำ ไม่เช่นนั้น คุณจะตาย ยิ่งมีภันเตมาก ๆ แล้วคุณจะต้อง ไปนั่ง เพ่งโทสภันเตโน่นนะ คุณตาย เพราะเพ่งโทส แล้วคุณก็เศร้าหมอง เพราะเพ่งโทส คุณทุกข์ เพราะเพ่งโทส คุณไม่ได้ ประโยชน์ตนเลย แล้วคุณก็ช้า กี่กัป กี่กัลป์ คุณก็ช้า เพราะทำงานผิดหน้าที่ โมหะ หลงหน้าที่ หลงจิต หลงกรณะ เพราะฉะนั้น จะไม่จบกิจ หลงกรณะ หลงกิจตน ไม่ใช่ตน กิจตนจะช่วยตน และดูตน ที่มันเสีย แล้วก็จะทำให้ตัวเองดีตามที่ กลับไปเพ่งผิดที่เสียอีก แล้วศรัทธาอยู่ที่ไหน แล้วเรื่องดี อยู่ที่ไหน ไม่มี ไม่เอา ไม่เอา แม้คนไม่ดี อันนี้ก็ไม่เอา เพราะมัน เป็นเรื่อง ที่เสียแล้วนี่ แล้วก็จะแก้เขาให้ดี แล้วแก้ไม่ได้ด้วย เพราะว่าเขาเป็นที่ ผิดฐานะ อย่างน้อยที่สุด เขาก็ยึดฐาน ตามสมมุติ ถ้ายิ่งไปเข้าใจเขาผิดเลย โดยฐานปรมัตถ์ แล้วโดยจริง ของปรมัตถ์ เขาถูกด้วยซ้ำไป เราไปเข้าใจผิด ยิ่งมหาซวย ซวยมหาซวยเลย เพราะเราไปหลงผิด เขาถูกนะที่จริงแล้ว เราก็ไปนึกว่าเขาผิด ก็ไปคุมอยู่นั่นแหละ มันก็ยิ่ง ไปกันใหญ่ เพราะเขาก็ยิ่งจะทำแน่ ๆ เพราะเขาถือว่า เขาถูกแล้ว มันเป็นถูกจริง ๆ ด้วย ส่วนเราซิโง่ ๆ ไม่รู้เลย ว่าเขาทำนั่นถูกแล้ว แล้วเราก็ไปคิดว่า เขาผิด ๆ นั่นเรียกว่า ซวยมหาซวยเลย คนนี้ หมดยิ่งดับดิ่งเลย ยิ่งไม่รู้จะช่วยได้ยังไง มันเป็นแบบนี้ เพราะฉะนั้น ต้องรู้ฐานะ ต้องรู้ความเป็นจริงของเรา แล้วก็กระทำให้ถูกตอน แล้วเราเจริญ แล้วเราก็จะไปช่วยคนอื่นได้ต่อ

แม้แต่เราเอง เรายังช่วยตนยังไม่ค่อยได้ดี เราก็แก้ไขตนที่ตนเอง มีอะไรก็พยายาม แม้แต่อาวุโส เราจะช่วยได้บ้าง น้อง ๆ นี่ เราจะช่วยได้บ้าง เป็นพี่เลี้ยง ไม่ค่อยเก่งก็เอาละ ก็ค่อย ๆ ช่วยไปได้ก็ช่วย เราจะต้องรู้ว่า เราจะอวดอะไร ถ้าเราจะอวด ช่วยน้อง ก็ดูแลน้อง อบรมไป ไม่ใช่มาเพ่งผิด ผู้นั้น ผู้นี้ แล้วก็จะมาท้วง มาติง มาคอยเก็บกวาดอะไรต่ออะไรอยู่ เสร็จแล้ว เราก็ซวยมหากัป เขาไปถึงไหน ๆ แล้ว เราก็ซวยจมอยู่ เพราะเราผิดฐานะ เราจะไปเพ่งพี่เขาจริง ๆ แล้วเราก็แทนที่ จะช่วย ดูแลน้อง บอกไม่เอา ไม่ดูแล ไม่สอนน้องนุ่ง มันซวยนะ มันผิดฐานะแล้ว แล้วมีจริง ๆ ทิฐิอย่างนี้ มีอยู่ในพวกเราทุกคน เสียหายแล้วก็ขัด แล้วก็ลำบาก แล้วก็เป็นไปด้วยความลำบากจริง ๆ มันเป็นทุกข์ แล้วก็มันเป็นการอยาก ตนเองก็ไม่เจริญ ตนเองก็จมดิ่ง อยู่อย่างนั้น ผู้อื่นก็ลำบาก ผู้อื่นก็ยุ่งยาก

เรารู้ฐานะที่เป็นฐานะ รู้ความจริงที่เป็นความจริง รู้สมมุติที่เป็นสมมุติ รู้สัจจที่เป็นสัจจะ เพราะฉะนั้น แม้สมมุติสัจจะ เขาเป็นภันเต ตามสมมุติก็ตาม เราก็วางเสีย ยกไว้ แล้วเราก็ดูช่วยกัน ประคบประหงม ผู้ที่เป็นน้อง แม้แต่ ในผู้ที่เป็นน้อง เราก็จะต้อง รู้ในปรมัตถ์ว่า ในปรมัตถ์น่ะน้อง ในบางคนเป็นน้องแต่ชื่อนา บางคนเขามีธรรมะสูงด้วยนั่น เราก็ต้องยกไว้ ของเราเองเลย ตอนนี้ ตามปรมัตถสัจจะ เราต้องรู้สัจจะที่แท้ อ๋อ ! คนนี้ เขามาหลังเราจริง เขามาในฐานะ ฐานะเรา ตามสมมุติ อาวุโสจริง ๆ แต่แท้จริง คุณธรรมของเขาภันเต คุณธรรมของเขา ต้องยกไว้ เป็นอธิกรณสมถะ เป็นสติวินัย อีกเหมือนกัน แม้แต่เราจะเคารพเขาในที ก็ต้องมีในที สัมมาคารวะ เรารู้แล้วนี่ หรือแม้เราจะให้เขาไหว้กราบเรา ตามสมมุติ เราก็ต้องรู้ในที เราก็ต้องยอมให้ทราบตามอย่างนั้น แต่โดยจริง เราก็ต้อง มันมีเองนะ คนนั้นรู้แล้ว มันมีเองนะ มันมีในทีจริง ๆ เพราะฉะนั้น ต้องรู้ อันนี้รู้โดยปรมัตถ์ คนอื่นไม่ต้องรู้กับเรา คนอื่นเขาไม่รู้กับเราหรอก เรารู้เองจริง ๆ แต่โดยสมมุตินี่ ต้องทำ ตรง ๆ ตามเป๊ะ ๆ โดยสมมุติ ต้องทำอยู่แล้วโดยสมมุติ แล้วเราก็ต้องช่วยเหลือเกื้อกูลกัน เพราะฉะนั้น ถ้ายิ่งตาม ส่วนสูง ไปเป็นภันเตเลยนะ อย่าห่วงเลย ขนาดอาวุโสนี่ เรายังต้องเลือกภันเตจริง ตามปรมัตถ์ คนนี้สูงจริง คนนี้สูงจริง เรายังจะต้องเลือก ยกไว้เลยด้วยซ้ำไป มันไม่ใช่ของง่าย ๆ

คนใดที่มีมานะ คนไหนที่มีตัว ถือตัว ถือตน นึกว่าตนสูง แล้วก็จะไปเข้าใจผิด เป็นมิจฉาทิฐิ หรือว่าเป็นโมหะ กลับจะไป สอนผู้ใหญ่ แทนที่จะสอนผู้น้อง ดี คำพูดของคุณถูก คำพูดของคุณดี แต่ใครเข้าใจ ความหมายของคุณพูดนี้ ยังไม่ค่อยได้ คุณพูดนี่แหละ เป็นสื่อความหมาย เพราะฉะนั้น คนที่มีปัญญาสูง จึงจะรู้ความหมาย เอ๊ ! ทำไมเขาพูดอย่างนี้ เขามี ความมุ่งหมายอะไร เขาพูดอุตส่าห์ใหญ่ๆ บางทีดูแรง เขาต้องมีอะไรกระทุ้งแรง ๆ แต่เราตื้น เราโง่ เราจึงไม่รู้ในสิ่งเหล่านี้ เพราะเข้าใจความหมายของคุณไม่ได้ คุณพูดกันมาอีก คนนั้น จะเข้าใจลึกซึ้งขึ้นไปอีก อ๋อ ความหมายของคุณนี้ คุณมี ความลึกซึ้งยิ่งขึ้น ก็จะรู้ได้ เพราะฉะนั้น ในขณะนี้ มันจะเป็นไปโดยยากอยู่ เพราะว่าเราเอง มันมีมานะ คนมันมีมานะ เป็นพื้นฐาน เป็นธรรมดา เราก็สงสารเขา เราก็ต้องเมตตาช่วยเขาไป ในฐานะที่มันจะเป็นไปได้ จนกว่าจะเป็นไปได้ มันยัง เป็นไปไม่ได้ มันยังเข้าใจไม่ได้ อยากให้คนฉลาด มันอยากได้ ที่ไหนเล่า มันฉลาด มันก็ต้องฉลาดจริง มันไปอยากให้ฉลาด นี่ มันไม่ตรง นี่มันเป็นไปไม่ได้หรอก แล้วเราก็จำเป็นที่จะต้องค่อย ๆ อบ ค่อย ๆ รม ต้องค่อย ๆ บ่มนิสัย ค่อย ๆ เกื้อกูล ค่อย ๆ แก้ไขกันไป จนกว่าจะเห็นผล

แม้แต่ผมใช้คำพูดอยู่นัยอย่างที่คุณพูดเอาไว้ ก็ให้สังเกตอันนี้นะ ให้ดูอย่างนี้นะ ถ้าอันนี้ เป็นอย่างนี้ไปแล้ว อันนี้ดี อันนี้แหละ สบาย อันนี้แหละเจริญ ทำไว้เป็นนัย เป็นอะไรต่ออะไร ก็มันมีความหมาย ทางผู้รู้เขาจะรู้ ถ้าผู้ไม่รู้ เขาไม่รู้

เมื่อไม่รู้มันก็เป็นไปอยู่อย่างเก่า เป็นไปอยู่อย่างแก้ไขไม่ออก ยังทรมาน ยังลำบาก เราก็จะต้องหยุด สิ่งนั้นไปเสียก่อน แล้วก็ไป ทำสิ่งที่มันเจริญ สิ่งเจริญน่ะ มีเนื้อมากขึ้น ๆ มันก็จะวน เวียนมา แก้ไขสิ่งที่ ไม่เจริญนั้นได้อีกบ้าง ถ้าเผื่อว่า ยังเป็นไป อยู่ด้วยกัน สิ่งที่ดี มันก็จะมาแก้ไข สิ่งที่เสียให้โดยปริยายเอาให้ โดยการวนเวียนมาซวยกันเอง เอาละวันนี้พอ สาธุ

จัดทำโดย โครงงานถอดเทปธรรมะฯ
ถอด-พิมพ์ โดย นายทองอ่อน จันทร์อินทร์ ๑๓ กันยายน ๒๕๒๕
ตรวจทาน ๒ โดย เรณู อำมาตย์ โท
บันทึกข้อมูลโดย ทีมงานกัญญา พุ่มรัตนา มีนาคม ๒๕๔๖
พิสูจน์อักษรโดย
เข้าปกโดย สมณะพรหมจริโย
เขียนปกโดย พุทธศิลป์

๐๘๘g.doc อบรมทำวัตรเช้า เมื่อ ๒๕ มิ.ย.๒๕๒๐