ภูฟ้า ผาน้ำ
โดย พระโพธิรักษ์
แสดงเมื่อวันที่ ๒ มี.ค.๒๕๓๑ ค่ำวันมาฆะบูชา
ณ พุทธสถานศีรษะอโศก
เนื่องในงานปลุกเสก ฯ ครั้งที่ ๑๒


อิติปิ โส ภควา อรหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจรณะสัมปันโน สุคโต โลกวิทู
อนุตตโร ปุริสทัมมสารถิ สัตถา เทวมนุสานัง พุทโธ ภควาติ

ขอนอบยอบ หมอบกราบคารวะ ด้วย สุดด้วย สุดเศียร สุดกระหม่อมของข้าน้อยนี้ แนบ เช็ด เกลือก ถู รอง รับ อยู่ใต้ละออง ผงคลีธุลีแห่งฝ่าพระบาท ของสมเด็จพ่อ ผู้เป็นพระอนุตตร สัมมาสัมพุทธเจ้า พระผู้มี "พุทธคุณ" ดั่งกล่าวข้างต้นนั้น อย่างสุดเทิดสุดบูชายิ่ง
ข้าน้อย ผู้เป็น… "สมณพราหมณา สัมมัคคตา สัมมาปฏิปันนา เย อิมัญจ โลกัง ปรัญจ โสกัง สยัง อภิญญา สัจฉิกัตวา ปเวนเทนตีติ"
…ได้ทำกิจแล้ว อันคือ "ย่อมประกาศให้ผู้อื่นได้รู้ทั่วตามแล้ว" (ปเวเทนตีติ) ตามที่ข้าน้อยได้ "ทำให้รู้แจ้งแล้ว" (สุจฉิภัควา) อย่างจริง ๆ เป็นใจของตัวเอง จริง ๆ เป็นเจตนาแท้ ของข้าน้อยเอง (สยัง อภิญญา)

ด้วยสุดเกล้าสุดเศียรสุดกระหม่อม ฯ
ข้าน้อย "สัมมาสัทพุทธสาวก"

เอ้า! สำนึกดี ท่านผู้ใฝ่ดี ซึ่งเป็นเหล่ากอของพุทธบุตรทั้งหลาย ภูฟ้า ผาน้ำ ที่จะได้อธิบายสู่กันฟัง ต่อไปนี้ ก็จะขออ่านบทร้อยกรอง ที่ได้ประพันธ์เอาไว้แล้ว ให้ฟังก่อน

ยากจะตาย หากเราปั้นทรายให้เป็นแผ่นทอง
เก็บเอาฟ้ามารวมกันปั้นกอง ก่อภูเขาเป็นโขดหิน
หรือยิ่งปั้นผาน้ำ ให้ยืนค้ำอยู่คู่ธานินทร์
นั้นไม่ได้ยินว่าเป็นไปได้

ใช่ง่ายดาย หากเอาน้ำลายปั้นเป็นบ้านเมือง
ก็คงหลงตามด้วยความหมดเปลือง เฟื่องฟูหรูจนไม่ไหว
เหมือนปั้นลมแล้วหวัง ให้เป็นเสาตั้งหยั่งลงไป
นั้นแน่ว่าใครหวังไปเปล่าดาย

เหมือนโลกของเหล่าผู้รู้
ปั้นภูมิดูสูงส่งชวนหลงเป็นของง่าย
ความรู้มอมเมาจิต เกิดเป็นพิษมากมาย
ปรัขญาหลากหลายคล้ายกัน

ปั้นภูฟ้า ปั้นผาน้ำ ผลนั้นเป็นเช่นใด
ปั้นภูมิสูงมาค้ากันเข้าไป ไล่กันทึ้งจึงบิดผัน
ขายค่าความคิดสูง จึ่งจูงโลกสู่ประลัยกัลป์
เพราะไม่ปั้นคุณธรรมให้คน

ปั้นภูฟ้า ปั้นผาน้ำ ผลนั้นเป็นเช่นใด
ปั้นเพียงรู้ไม่ปั้นธรรมใส่ใจ โลกจึงถึงดีแค่ฝัน
หลงแต่ความรู้ไซร้ จึ่งพาให้สุดโต่งดึงดัน
นั่นแหละ "ปัญญานิยม" นั่นเอง

นี่เป็นเนื้อ เพลงของภูฟ้า ผาน้ำ ซึ่งจะได้ขยายให้ฟัง คำว่า ภูก็มาจากคำว่า ภูเขาน่ะ เป็นภู เป็นเนินสูง ผา ก็คือเป็นแผ่นผา ที่เป็น แผ่นหิน แข็งแรงอย่างนั้นน่ะ มันเป็นความหมาย ของคำ ทีนี้ภูฟ้า ก็หมายความว่า เราอยากจะเห็นฟ้านี่ มันเป็นเหมือนภูเขา เป็นกอง เป็นเนินสูง เหมือนเนิน ภูเขา เนินหิน เนินดิน เป็นโขดหิน ก้อนแท่งอย่างนั้น หรือเราอยาก จะเห็นว่า น้ำนี่มันเป็น แผ่นผา เป็นแผ่นแข็งแรง เป็นแท่งอยู่น่ะ เป็นผาน้ำให้ยืนค้ำอยู่คู่ธานินทร์ อย่างนี้เป็นต้น

ถ้าเราจะทำอย่างนั้นให้มันเป็นนี่ มันก็คงเป็นไปไม่ได้นะ เพราะฉะนั้นคำนี้เป็นโวหาร ที่เอามา ให้ศิลปะ เพื่อที่สื่อให้คนได้ฟัง แล้วก็ได้คิด แล้วได้สำนึกถึง สิ่งที่กระทำกัน ว่าเขากระทำ สิ่งที่เป็นไป ไม่ได้ เขาจะปั้นภูฟ้า เขาจะเป็นผาน้ำกันได้คิด แล้วได้สำนึกถึง สิ่งที่กระทำกัน ว่าเขากระทำ สิ่งที่ เป็นไปไม่ได้ เขาจะปั้นภูฟ้า เขาจะปั้นผาน้ำกัน หรือเขาจะปั้นลมให้เป็นเสาน่ะ ให้ปั้นลม ให้เป็นแท่ง เป็นเสา จะปั้นทรายให้เป็นแผ่นทอง เท่ากัน เหมือนกัน เขาจะเอาน้ำลาย มาปั้นให้เป็นบ้านเมือง แล้วเขาก็พยายามกระทำกัน เขาทำอย่างนั้นกันอยู่ เขาไม่รู้ตัว แล้วก็ขณะนี้นี่ ทั่วโลก ในสังคมมนุษย์ เขาพยายามที่จะหลงความคิด แล้วก็ปั้นความคิด ปั้นกัน เห็นว่าเป็นสิ่ง เลอเลิสกัน เป็นสิ่งที่สูงส่ง เป็นสิ่งที่มีอิทธิพล มีฤทธิ์ มีอำนาจ มีความเป็นไปได้สูง แล้วเขาก็หลงปั้น ความรู้ ปั้นความคิดกัน ให้แก่มนุษย์ ให้มาก ๆๆๆ จนกระทั่งค่าของความรู้ ค่าของความคิดนี่ ราคาสูง ราคาแพง เสร็จแล้ว เขาก็มาหลงค้า หลงขายกัน หลงค้าหลงขายความรู้ความคิด ซึ่งมันก็ผกผัน ซับซ้อน เป็นเชิงลึกซึ้ง เป็นปรัชญาสูงส่งอย่างไร มันก็เป็นได้น่ะ แต่เขาเอา ไปทำความจริงนะ มันไม่ได้ มันกลายเป็นเรื่อง สุดโต่ง เป็นเรื่องที่เพ้อน่ะ เป็นเรื่องฝัน มันเป็นเรื่องที่หักมุมกลับ มันเป็นเรื่องที่เหลวไหล มันเป็นเรื่อง ที่ทำได้ยาก แต่ว่าเขาไม่รู้ตัวกัน เขาได้แต่ทำอะไรต่ออะไร พวกนี้กันอยู่ โดยไม่รู้ตัวกัน จนกระทั่ง ป่านนี้นี่ เขาก็ยังไม่รู้ตัว โดยเฉพาะ ในที่นี้ก็ไม่ได้หมายความว่า ความรู้ไม่ดีทีเดียว ถ้าความรู้นั้นก็ดี ถ้าความรู้นั้น มันเป็นสัจจะ ที่ได้เอามา ปฏิบัติ เอามาประพฤติ เอามากระทำให้มันเป็นสิ่ง เป็นสภาพ ที่เกิดขึ้นจริง โดยเฉพาะอย่างนั้น สำคัญมากคือ ความรู้เหล่านั้น จะต้องเป็นความรู้ในระดับสูง ในระดับโลกุตรธรรม แต่ถ้าไม่ใช่ความรู้ โลกุตรธรรมแล้ว มันจะซับซ้อนสับสน หัวหกก้นขวิด หกคะเมน ตีลังกา เพ้อฝันไป ไม่เป็นเรื่อง ไม่เป็นราวอะไร จึงกลายเป็นสังคมนี่ สร้างความรู้ สร้างความคิดเอาไว้ เพื่อใช้เลี้ยงชีวิต เป็นโลกธรรม เป็นเรื่องของโลกียะธรรมดา ๆ ธรรมดานี่เอง สร้างความรู้ สร้างความคิดขึ้นมา แล้วก็ค้าขาย ความรู้ ความคิด เพื่อเลี้ยงตน เพื่อมีลาภ ยศ สรรเสริญ ได้เสพโลกียสุขในสังคมในโลกนี้ แล้วเขาก็ทำกัน จนกระทั่ง สำเร็จ อยู่อย่างนั้น แต่ไม่ได้ หมายความว่า เขาช่วยบ้านเมือง ได้สำเร็จ เขาทำให้เกิด อิสรเสรีภาพ เกิดภราดรภาพ เกิดสันติภาพ หรือว่า เกิดสมรรถภาพที่บริสุทธิ์ เป็นความสามารถ มีฝีมือที่เกื้อกูลมนุษย์

เขามีสมรรถภาพ เขามีความสามารถ มีฝีมือ แต่มันไม่ได้เกื้อกูลมนุษย์ มันเป็นความเอาเปรียบเอารัด มันเป็นความกดขี่ ข่มเหง อยู่ในสังคมมนุษย์ แล้วเขาก็ไม่รู้ตัวกัน จนกระทั่ง ป่านนี้นี่ เออ ! เราเป็น ลูกศิษย์พระพุทธเจ้านี่ เรามาศึกษาหาความสัจธรรม มาหาความจริง มาหาความถูกต้อง มากคุณค่า ความดี สิ่งใดที่มันจะเป็นความสุขทั้งตนและผู้อื่น สิ่งใดที่มันจะอยู่ อย่างสงบสุข อยู่อย่างสันติภาพ อยู่อย่างพี่อย่างน้อง อยู่อย่างภราดรภาพ มันเป็นอิสรเสรีภาพ สิ่งใดจะเป็น สมรรถภาพ ที่มีคุณค่า เป็นสมรรถภาพ ที่สร้างสรรมา ก็เพื่อที่จะช่วยเหลือ เฟือฟายมนุษย์ด้วยกัน ไม่ใช่สร้างสรรมาได้แล้ว ก็เพื่อจะเอามาเอาเปรียบกัน ไปกดขี่ ข่มเหงกัน

เราได้มาพยายามศึกษา เพื่อที่จะหยั่งเข้าไปถึงความจริงแห่งความจริง อย่างถูกต้องจริง ๆ มีการพิสูจน์ได้ มีการยืนยันยืนหยัดได้ เราปลุกเสกกันนี่ เราก็เป็นวิธีการอันหนึ่ง เพื่อที่จะมาพิสูจน์ คนที่มาปลุกเสกนี่ แล้วก็เกิดศรัทธาสาทะ เกิดความชื่นชม เกิดความยินดีปรีดา มีศรัทธา มีศีลขึ้น ก่อให้เกิดอริยทรัพย์อันอื่น ๆ อีกต่อไป คือเกิดจาคะ เกิดปัญญา หรือแม้เกิดหิริ โอตตัปปะ เกิดหตุสัจจะต่าง ๆ ขึ้นมาจริง ๆ จากงานปลุกเสก

งานปลุกเสกของเรา ถือเอาวันมาฆบูชาเป็นวันหลัก แล้วเราก็จะมาบำเพ็ญกันประมาณ ๗ วัน เราทำกันมา ๑๒ ปีแล้ว เราก็จะมี วันที่สำคัญ ๆ คือวันมาฆบูชา จะมีรายการพิเศษ อย่างที่เรากำลัง มีอยู่กันอยู่ขณะนี้ แต่ว่าก็อาจจะแปลกเปลี่ยนไปในรูปต่าง ๆ บ้าง

เราก็พยายามกระทำกันมา ก็ก่อให้เกิดการประทับใจ ก่อให้เกิดจิตวิญญาณ นี่มันมีการได้รับ ความรู้สึก อะไรที่กระตุ้น เกิดปฏิกิริยา ทำให้เราเองเจริญ มีศรัทธาในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เกิดประทับใจเห็นจริงเห็นจัง ในเรื่องของ ทิศทางของมนุษย์ ที่พระพุทธเจ้าได้ประกาศ แล้วเป็น ก็ยืนหยัด ยืนยันว่า สิ่งที่ท่านค้นพบ คุณลักษณะที่ท่านเป็น ได้พบแล้ว นี่ก็เป็นไปได้ ท่านได้ทดสอบ ของท่านมาก่อน เสร็จแล้วท่านก็มาให้มนุษย์ ในยุคสมัยของท่าน ทดสอบทดลองอีก ทีนี้ก็ได้เห็น ได้รับคุณลักษณะอันนั้น เช่นเดียวกัน ทำให้เกิด ประโยชน์ตน ประโยชน์ท่าน อย่างถูกต้อง ไม่ใช่ พูดนั้นก็ดีอย่างหนึ่ง แต่ว่าพฤติกรรม หรือว่าความเป็นจริงแห่งสังคมมนุษย์นี่ หรือว่า ตัวมนุษย์ แต่ละคน ก็เป็นอีกอย่างหนึ่ง ขัดแย้งกัน ไม่สอดคล้องกัน ไม่ใช่อย่างนั้น อย่างที่พระพุทธเจ้า ท่านค้นพบแล้วนี่ พิสูจน์ได้ เป็นเรื่องที่จริง พูดอย่างไร เป็นอย่างนั้น เป็นยถาวาที ตถาการี คือ พูดอย่างไร เป็นอย่างนั้น สอดคล้องกัน ไม่ขัดแย้งกัน เช่น สามารถเป็นผู้เลี้ยงง่าย มีชีวิตเรียบง่าย เป็นคนที่ช่วยตนเอง เป็นคนที่น้ำใจ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เกื้อกูล ช่วยเหลือ ขยัน หมั่นเพียร เสียสละ เป็นคนเลี้ยงง่าย อยู่กับใคร ใครก็ไม่รังเกียจ อยู่กับใครที่ไหน เขาก็จะพอใจ ปรารถนาจะให้อยู่ร่วมด้วย เพราะเขาไม่เกิด ความลำบาก เพราะเราเป็นคนเลี้ยงง่าย

นอกจากเลี้ยงง่ายแล้ว เรายังเป็นคนมีคุณค่า มีประโยชน์ เขาได้รับประโยชน์จากเราด้วยน่ะ คุณค่า หรือว่าผลผลิต แรงงาน คุ้มกับที่เรากินเราใช้ แล้วยังเหลือให้แก่ ผู้ที่เราอยู่ร่วมด้วย เป็นคนเลี้ยงง่าย ที่ลึกซึ้ง

ไม่ใช่เป็นคนเลี้ยงง่าย อย่างที่มีความหมายกัน แบบมักง่าย มักง่ายอย่างที่เคยพูดกันอยู่ทุกวันนี้ แต่ว่าเป็นการเลี้ยงง่ายจริง ๆ ไม่ใช่เป็นเลี้ยงง่ายแต่ว่าเป็นผู้เลี้ยงง่าย คือเป็นคนที่ กินง่าย ๆ กินอะไร ๆ ที่เขาเอามาให้กิน ก็กินตะพืดน่ะ อย่าปฏิเสธนะ เราเรียกความหมายแค่นั้นว่า คือผู้เลี้ยงง่าย นั่นเป็นการ อธิบายความหมาย อย่างไม่ค่อยถูกต้อง

แต่ที่ความหมาย ที่ลึกซึ้ง ที่คำว่า สุภระนี่ หรือ เอาผู้เลี้ยงง่าย ชนิดที่มักง่าย ก็ตื้นเขินน่ะ เพราะฉะนั้น คำว่าเป็นผู้เลี้ยงง่าย สุภระ คำนี้ หมายความว่า ผู้ที่ได้ขัดเกลา เป็นผู้ที่ได้ฝึกฝนตน อบรมตนแล้ว เป็นผู้ที่เลี้ยงง่าย เลี้ยงอย่างผู้ที่รู้จักกิน กินอย่างประหยัด แล้วก็ไม่ได้ทรมานตน ไม่อด ไม่อยากอะไร สุขภาพร่างกายไม่เสีย เป็นคนแข็งแรง เป็นคนเบิกบาน แจ่มใส ไม่ได้ไปติดใน รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสของอาหาร ไม่ได้คิดเรื่องเขื่อง ๆ หรู ๆ ว่ามีศักดินา ไม่ได้ติดในเรื่อง ไอ้ไม่เข้าเรื่อง เข้าราวอะไร แล้วก็ไม่ได้ไป เบียดเบียนใครด้วย เลี้ยงได้ง่าย ไม่ต้องลำบากจริง ๆ

อย่างเราเคยวิเคราะห์ แม้แต่ถ้าว่า ผู้ที่กินมังสวิรัติ กับผู้ที่กินเนื้อสัตว์ ก็ลองวิเคราะห์ลึก ๆ ดูซิว่า การจะเอาเนื้อสัตว์มากินนี่ มันเป็นความยากกว่า การที่จะหาพืชหาผัก มากินหรือไม่ ถ้าไม่ตะแบง กันจริง ๆ แล้วละก็ คนกินมังสวิรัตินั่นน่ะ เป็นคนที่หาผักพืช ผลไม้มากินได้ง่ายกว่า เป็นคน เลี้ยงง่ายกว่า อย่าว่าแต่หามาง่ายเลย ราคาถูกกว่า แม้แต่จะเอามา ทำกิน มันก็ต้อง เปื้อนเปรอะ เลอะเทอะอะไรต่าง ๆ มันก็ต้องปรุง ต้องใช้เครื่องดับคาว น้อยกว่ากันน่ะ ทำอะไร ก็ง่ายกว่ากัน ปรุงแต่งได้ง่ายกว่ากัน อย่างนี้เป็นต้น

เป็นผู้ที่ไม่ติดรส ติดรูป ติดเสียง ตัดสัมผัสได้จริง ๆ ก็เป็นคนที่สะดวก เลี้ยงง่าย เพราะฉะนั้น คำว่า เลี้ยงง่ายนี่ ไม่ได้หมายความว่า เป็นคนที่อธิบายกัน แค่มักง่าย แต่มันเป็น คนที่เลี้ยงง่าย ดังที่ได้ สาธยายไปให้ฟังนั้นจริงน่ะ แล้วเป็นคนอบรมฝึกฝน ผ่านการศึกษา ผ่านการอบรม ด้วยอบรมตน มาแล้วอย่างดี เป็นผู้เลี้ยงง่ายอย่างนั้นน่ะ เป็นผู้ที่ ไม่เลือกกิน แต่ว่าก็รู้ว่า ควรจะกินอะไร เป็นคน บำรุงง่าย บำรุงนี่หมายความว่า ทำให้เจริญ ทำให้พัฒนา ทั้งสมรรถภาพ ทั้งคุณค่าความดี เป็นคน พัฒนาให้เจริญได้ง่าย เป็นคนดี เป็นคนมีประโยชน์ คุณค่าในสังคมได้ ได้ง่าย ไม่ดื้อดึง ไม่หัวรั้น ไม่สอนยาก เป็นคนที่มีเหตุมีผล มีญาณปัญญา มีความอ่อนน้อมถ่อมตน เป็นผู้ที่บำรุงง่าย สุโปสะ คนบำรุงง่าย

สิ่งเหล่านี้เป็นหลักฐานที่เราจะเอามาพิสูจน์ยืนยันเอาว่า เป็นไปได้จริงอย่างนั้นหรือไม่ คนที่ พระพุทธเจ้า ท่านค้นพบนี่ แล้วก็เอา ทฤษฎีอริยสัจ ๔ มรรคองค์ ๘ หรือว่า โพธิปักขิยธรรม เอามา ให้เราปฏิบัติ ส่วนทฤษฎีหลักใหญ่พวกนี้นี่ เป็นทฤษฎีเอก มรรคองค์ ๘ นี่ เอเสว มัคโค นัตถัญโญ เป็นทางเอกทางเดียว ไม่มีทางอื่น ทางนี้แหละ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทุกพระองค์ตรัสรู้ จะตรัสรู้ มรรคองค์ ๘ หรือ เอเสว มัคโค นัตถัญโญ ทางเอกทางเดียวนี้ ไม่มีทางอื่น จะตรัสรู้มรรคองค์ ๘ นี้ ศาสนาอื่น ลัทธิอื่น ไม่มีทฤษฎีมรรคองค์ ๘ แต่ทฤษฎี มรรคองค์ ๘ นี่ ก็ไม่ใช่ทฤษฎีที่ตื้นเขินเลย ไม่ใช่ทฤษฎีที่ตื้นเขิน เป็นทฤษฎีที่ลึกซึ้ง ยิ่งใหญ่ มหาศาลมากทีเดียว ถ้าเผื่อว่า ไม่ได้ศึกษาดี ๆ จะปฏิบัติทฤษฎีมรรคองค์ ๘ อย่างลึกซึ้ง อย่างถูกต้องครบครัน บริสุทธิ์บริบูรณ์ไม่ได้ เราเรียนอยู่ ทุกวันนี้นี่ เราก็เรียน เราก็ศึกษาทฤษฎี มรรคองค์ ๘ แล้วก็พยายามพิสูจน์ทฤษฎีมรรคองค์ ๘ กันอยู่ ตลอดไป เราก็ทำกันจริง ๆ ฝึกไปจริง ๆ เราเรียนไปแล้ว เราจะรู้น่ะ เราจะรู้ว่า เออ ! ทฤษฎี มรรคองค์ ๘ นี่ไม่ใช่เรื่องง่าย ไม่ใช่เรื่องที่เราจะรู้เร็ว ๆ รู้ความหมายตื้น ๆ แล้วก็เป็นจบ ไม่ใช่เลย จะไม่ใช่ อย่างนั้นเลย จะไม่ใช่ทฤษฎีอย่างนั้น เป็นทฤษฎีที่ยิ่งใหญ่ ลึกซึ้ง เรียนรู้ไปแล้วเราจะรู้ว่า โอ ! นี่เราเพิ่งจะรู้ทฤษฎี มรรคองค์ ๘ เพิ่มขึ้นนะ พอเรียนไป รู้ไป ปฏิบัติไป ก็จะรู้ว่า โอ๊ ! นี่มันเพิ่มขึ้น อีกนะ ความหมายของสัมมาทิฐินี่ก็มี ไม่ได้ตายตัวนะ มันจะเป็นสัมมาทิฐิ ที่มีความเข้าใจ มีความเห็น ความรู้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ๆ ๆ ถูกต้องไปเรื่อย ๆ เรานึกว่า เรารู้ถูกต้องแล้ว สำหรับตัวเรา อันนั้น อันนี้ ให้เรารู้ตัว ตั้งแต่เรื่องของการลดในภพ คือ กามภพ ภวภพ วิภวภพต่าง ๆ เราก็จะนึกว่า นี่เรารู้พอสมควรแล้วทีเดียวนะ เอ๊ ! แต่แล้วเราก็จะรู้สึกว่า โอ๊ ! มันยังผิดอยู่นะ มันเพี้ยนอยู่ ไม่สมบูรณ์อยู่ มันจะลึกซึ้งไปเรื่อย ๆ เป็นสัมมาทิฐิ ที่ลึกซึ้งขึ้นไปเรื่อย ๆ จริง ๆ แม้ว่าได้รู้เป็น สัมมาทิฐิแล้ว เราก็ยังต้องเอามาเพียรด้วย สัมมาวายามะด้วย สัมมาสติ สติก็ต้องเป็น สติสัมมา หรือว่าสัมมาสติ หรือว่า สติสัมโพชฌงค์ หรือว่าสติปัฎฐาน ๔ แล้วก็จะเกิด สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ เป็นองค์ประกอบ เป็นเครื่องห้อมล้อม เราจะมีสัมมาวายามะ สัมมาสติ เป็นเครื่องห้อมล้อม ประพฤติปฏิบัติจริง ๆ

ปฏิบัติประพฤติก็คือ อบรมสังกัปปะ วาจา กัมมันตะ ให้เกิดสัมมาอาชีวะนั่นเอง ให้เกิดสภาพ ที่มันอบรมกาย วาจา ใจ จนกระทั่ง เกิดกรรมกิริยา เกิดทั้งกรรม ทั้งกาย ทั้งวาจา ทั้งจิต ที่เป็นกรรม ที่มันเกิดเป็นอัตโนมัติ เกิดอย่างมั่นคง แข็งแรง แล้ว เมื่อมั่นคงแข็งแรงไปเรื่อย ๆ เราก็เรียกว่า สมาธิ และมันก็จะเจริญยิ่งขึ้น ๆ ๆ เรื่อย ๆ ก็เรียกว่า สมาธิ ที่เป็นอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา จนกระทั่ง หยั่งลงเป็นญาณ เป็นวิมุติ เป็นสัมมาญาณะ เป็นสัมมาวิมุติ ขึ้นไปเรื่อย ๆ จริง ๆ

ทฤษฎีอันยิ่งใหญ่เหล่านี้ เมื่อเราได้ฝึกฝนอบรมจริง ๆ เราก็จะพิสูจน์ความเป็นผู้เลี้ยงง่าย เป็นผู้ บำรุงง่าย เป็นผู้มักน้อย มักน้อยนี่ เป็นเรื่องที่สำคัญจริง ๆ เป็นผู้ที่จะต้องรู้ตัวเองจริง ๆ เลยว่า เรายังมี ความมักมากอยู่นี่ เรายังเห็นแก่ได้นะ เห็นแก่อร่อย เห็นแก่กิน เห็นแก่เกิน เห็นแก่มาก เห็นแก่ ขี้โลภนั่นเอง หอบไว้เกิน เอาไว้สะสมบ้าง เอาไว้ตะกละตะกลาม ให้แก่ตน จะเป็นด้วย เครื่องใช้ ไม้สอย เครื่องกินเครื่องอาศัยใช้สอย แม้ที่สุด ก็เอามากักมาตุนไว้เฉย ๆ เราจะได้ชื่อว่า เราเป็นผู้ที่ มีสิ่งนี้อยู่กับเรา พรักพร้อมกันเอาไว้ เพื่อมันจะกิน เอาไว้ว่า เราจะได้เอาไว้ใช้ในโอกาสว่าง ๆ พอเรา อยากจะได้ใช้เมื่อไหร่ บางสิ่งบางอย่าง ตั้งปี ๒ ปีแน่ะ เราก็จะใช้ อะไรอย่างนี้เป็นต้น บางทีก็เอามา กักไว้ที่เรานี่ ปีหนึ่ง จะใช้มันสักครั้ง ๒ ครั้ง ก็ไม่รู้ล่ะ เราก็จะกักมันเอาไว้เป็นของเรา เราก็จะได้หยิบใช้ เมื่ออยากใช้ อย่างนี้เป็นต้น เมื่อไหร่อยากใช้ก็จะได้ใช้ง่าย ๆ แล้วมันเป็น ความขี้โลภ ที่ไม่มีญาณ ปัญญารู้ ในเรื่องของเศรษฐกิจ หรือว่าเศรษฐศาสตร์ว่า ถ้ามันอยู่ที่เรานี่ เราจะใช้มัน สมเหมาะ สมควร เหมาะสมกับคุณค่าของมันไหมล่ะ

ถ้าไปอยู่กับผู้อื่น ที่เขาเหมาะสมกว่านี้ เขาจะใช้ให้มันเกิดคุณค่าประโยชน์ได้ดีกว่า บ่อยกว่า มากกว่า หรือว่า เป็นตัวที่สร้างสรร ได้ดีกว่า คือดีกว่าเรา แล้วเขาก็จะเป็นตัวประโยชน์ แก่ผู้อื่นในโลกไหม ถ้าเราคิดอย่างถูกน่ะ อย่างถูกต้อง ถ้วนทั่วดีแล้วนี่ หลายสิ่ง หลายอย่าง เราควรจะสละไป ให้ผู้อื่นไป ให้เขาไปสร้างสรร แล้วก็จะเป็นประโยชน์เผื่อแผ่ แก่ประชาชนส่วนกว้าง ส่วนใหญ่ มากขึ้นไปด้วยซ้ำ แต่ถ้าเรามีเครื่องมือเครื่องใช้เครื่องอะไรก็แล้วแต่ ทว่าเราจะให้คนอื่นไปใช้นี่ เขาใช้บ่อยจริงเหมือนกัน เขาใช้บ่อยกว่าเรา ผลิตสร้างสรรได้มากกว่าเราจริงเหมือนกัน แต่ว่าผลิตแล้ว เขากลับเอาผลิตออกมา แล้วก็ผลิตแบบทุนนิยม เอาไปสร้าง พอสร้างออกมาแล้ว ก็เอาไปรีดนาทาเร้น เบียดเบียน ผู้อื่นอีก ถ้าจะให้แก่คนเช่นนั้นนี่ มาคิดได้ละเอียดแล้ว เราก็ควร จะเอาไว้ที่เรา ก็จะดีเสียกว่า เพราะว่าแม้เขา สร้างออกมาแล้ว แทนที่เขาจะเป็นประโยชน์คุณค่า ต่อมหาชน ก็กลับเป็นว่า เขาจะเอาไปขูดรีด ทำให้เกิดทุกข์ร้อนเดือดร้อน รีดนาทาเร้นเป็นความลำบาก เป็นความทุกข์เกิดขึ้นซ้ำซ้อนขึ้นไปอีก ถ้าอย่างนั้น เราก็ไม่บริจาคเขาไปละ ไม่ให้เขาไปละ อยู่ที่เรา เราจะสร้างมันน้อยหน่อย แต่มันก็ยังเป็น ความสุจริตของเรา เราสามารถสร้าง แล้วก็สามารถ เผื่อแผ่เกื้อกูลมหาชนได้ดีกว่าเขาเสียอีก เราก็อาจจะพิจารณา รายละเอียดลึกซึ้งอย่างนี้ขึ้นไป เป็นต้น ในรายละเอียดต่าง ๆ พวกนี้ มันเป็น เรื่องของสัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ หรือ สัมมาอาชีพของพุทธบุตร ที่ได้ศึกษา ทฤษฎีเอก ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว จะเป็นคนมีสัมมาอาชีพ มีการงานประจำชีวิต มีการกระทำ ที่ถูกต้องลงตัว มีสาระแก่นสารในโลก แล้วเราเป็นผู้มักน้อย เราสร้างได้มาก เราก็เอาไว้น้อย แจกจ่ายเจือจานให้แก่พหุชน ให้แก่ประชาชนส่วนกว้าง ส่วนไกล ผู้อื่นออกไปได้มาก มากกว่า

เราเป็นผู้เลี้ยงโลกน่ะ โลกานุกัมปายะ เป็นผู้อนุเคราะห์แก่โลก เมื่อเรากินก็น้อย ใช้ก็น้อย ไม่เป็นคนที่ นิสัยสะสม ไม่เป็นคน โลภโมโทสัน แล้วเราก็มั่นใจ ในความสามารถ สมรรถภาพของเรา และเรา ก็มั่นใจในความขยันหมั่นเพียรของเรา เราก็สร้าง ก็กระทำอยู่เสมอ วันต่อวัน เวลาผ่านไป ๆ เราก็ไม่ได้ ดูดาย ไม่ได้เป็นคนขี้เกียจ ผัดผ่อน เป็นคนที่หย่อนหมั่น หย่อนเพียรอะไร แต่เราเป็นคน สร้างสรร เพราะฉะนั้น วันต่อวันเวลาเราก็เป็นผู้ผลิต เป็นผู้ที่มีแรงงาน มีประโยชน์คุณค่าอยู่เสมอ ๆ ถึงเวลา เราพัก เราก็พัก ถึงเวลาควรพัก พักไป ถ้าไม่สมควรจะพัก ถึงเวลาที่ควรจะทำอยู่ เราก็ทำ ไม่สมควรพัก เราก็ไม่พัก เราก็เพียร ถึงเวลาก็สร้างสรรไป มันเกิดแล้วก็เกิดไป เราเป็นคนมักน้อย ด้วยน่ะ ดังกล่าวแล้ว ทำมาก แต่เอาไว้น้อย เพื่ออาศัยใช้ กินเท่านั้น ไม่สะสมด้วยซ้ำ เราเป็นคนที่รู้จัก เหตุแห่งความพอ เรากินเท่านี้พอ เราใช้เท่านี้พอ เครื่องใช้ไม้สอยที่จำเป็น เรามีเศรษฐศาสตร์ ในตัวเรา มีความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ ที่สุจริตที่ลึกซึ้ง เพราะ เราจะเป็นผู้สร้างสรร อะไรต่ออะไร ให้แก่สังคม ช่วยเศรษฐกิจสังคม อย่างดีเลยทีเดียว เราทำได้ เราทำเป็น และเราก็จะสอนผู้อื่นอีก แนะนำผู้อื่นให้เป็นเช่นเรา เมื่อผู้อื่นเป็นเช่นเรา เขาก็จะทำเช่นเรา ความอุดมสมบูรณ์ ก็จะเกิดขึ้น เราเป็นผู้กินน้อย เป็นผู้มักน้อย เป็นผู้สันโดษ เป็นผู้ขยัน หมั่นเพียร ในข้อสุดท้ายข้อ อัปปัจจยะ วิริยารัมภะ เป็นผู้ขยัน เป็นผู้ไม่สะสม เมื่อฝึกตนเป็นผู้มักน้อย สันโดษได้แล้ว ก็ขัดเกลากิเลส ไปสอนเขาจริง ๆ เป็นคนไม่มีโลภ โทสะ โมหะอะไรมากมายจริง ๆ

เป็นคนมีศีลเคร่งได้ เป็นคนมีอาการที่น่าเลื่อมใส อาการที่น่าเลื่อมใสก็คือ อาการที่เป็นผู้ที่ เสียสละ เป็นผู้สร้างสรร เป็นผู้ที่มี พฤติกรรมที่ดี สอดคล้องตามความหมายที่ดี พูดดี พูดถูกต้อง พฤติกรรม อาการที่เราเป็นอยู่ ก็สอดคล้องกับความจริง ที่เราพูดนั้น เป็น ยถาวาที ตถาการี พูดอย่างไร เราก็ทำ อย่างนั้น เป็นอาการที่น่าเลื่อมใส ไม่ย้อนแย้ง ไม่ขัดแย้ง เป็นอาการที่สอดคล้อง ส่งเสริม แล้วมันจะดู มีสภาพที่ตีกลับ มีสภาพปฏินิสสัคคะ คือสลัดคืน ในสภาพบางสภาพ ก็มีเหตุผลน่ะ มีความเป็นจริง ที่ลึกซึ้ง ที่อ่านได้ เมื่อมาสัมผัส คบคุ้นอยู่ร่วม เราก็จะรู้จะเห็นความจริงได้ว่า มันเป็นความลึกซึ้ง ที่มันมี ปฏินิสสัคคะ มีสภาพที่สลัดคืน ทวนกลับ มันดูเหมือนมันเป็นสิ่งที่เหมือน ๆ หมากรุกชั้นเดียว คือเรื่องที่เอาตื้น ๆ คล้าย ๆ กับเป็นเรื่อง ตลบตะแลง เป็นเรื่องโกหกมดเท็จ อย่างนั้นแค่นั้นล่ะนะ ดูเหมือนว่า เราเป็นสิ่งที่ ถ้าไม่ลึกซึ้งจริงแล้ว คิดกันด้วยความรู้ เหมือนหมากรุก ชั้นเดียวตื้น ๆ แล้วก็คล้าย ๆ กับว่าเป็นเรื่องตลบตะแลง เป็นเรื่องโกหกมดเท็จ

แต่แท้จริงแล้ว ไม่ใช่อย่างนั้นในคน เพราะฉะนั้น ผู้ที่มีวรรณะ ๙ ดังที่กล่าวไปแล้ว ที่จะมีวรรณะ ๙ ได้อย่างดี ก็เพราะทฤษฎีเอก จนรวมเอาโอวาทปาติโมกข์ที่ว่า เลิกชั่ว ประพฤติดี ยังกุศลให้ถึงพร้อม แล้วก็ล้างจิต ทำจิตให้บริสุทธิ์ สะอาด ผ่องใส ตามที่โอวาทปาติโมกข์ ๓ ที่ท่านตรัสไว้ ในวัน มาฆบูชา นั้น ก็ได้เช่นเดียวกัน แต่วิธีปฏิบัตินั้น จะต้องปฏิบัติ ให้เป็นผู้ที่ละชั่ว ประพฤติดี ทำจิต ให้บริสุทธิ์ ผ่องใสได้ ก็ด้วยทฤษฎีอริยสัจ ๔ หรือ มรรคองค์ ๘ เป็นทฤษฎีปฏิบัติ ไม่มีทฤษฎีอื่น เป็นทฤษฎี ปฏิบัติ เหมือนทฤษฎีนี้นะ ไม่มีทฤษฎีอื่น ของพุทธก็ไม่มีอะไรเป็นหลักเหมือนอันนี้ เพราะฉะนั้น ทฤษฎีนี้ จะเป็นทฤษฎีหลัก ที่เราเอามา ให้คนพิสูจน์ พิสูจน์ได้ ๑ คน ก็แนะนำ คนต่อไป คนต่อไป ๒ คน ๕ คน ๑๐ คน ๑๐๐ คน ดังที่เราได้มาพิสูจน์กัน เราก็จะเห็นได้ว่า สิ่งเหล่านี้นี่ เป็นความจริง

เมื่อเป็นความจริงแล้ว มันก็ไม่ใช่เป็นเรื่องลม ๆ แล้ง ๆ เหมือนผู่ที่เขาปั้นภูฟ้า ปั้นผาน้ำ ไม่ใช่ว่า เป็นพวก idealism หรือว่าเป็นพวก ปัญญานิยม ที่จะเอาแต่ความรู้ ๆ ๆ ๆ แล้วก็ไม่ได้พิสูจน์ นอกจาก ไม่ได้พิสูจน์แล้ว พฤติกรรมย้อนแย้ง กับคำพูดนั้นเสียด้วย ไม่เป็น ยถาวาที ตถาการี มันจะไม่เป็น เพราะฉะนั้น ทุกวันนี้ สังคมส่วนกว้าง ส่วนใหญ่ ที่เราเป็นอยู่นี่ ไม่ใช่ใส่ความเขานะ สังคมทุกวันนี้นี่ มันเป็นสังคมที่มันเป็น ภูฟ้าผาน้ำ เขาปั้นภูฟ้า เขาปั้นผาน้ำ หรือเป็นสังคมเพ้อฝัน เป็นสังคม ที่เป็นไป ไม่ได้ เขาหมายอะไร สังคมทุกวันนี้นี่ เขาทำงานขยันหมั่นเพียร มีค่าจ้างแรงงาน จ้างกัน เป็นลาภ ให้อำนาจสิทธิ์ขาดที่จะบริหาร เป็นยศ ศักดิ์ หน้าที่ สรรเสริญเยินยอ เพื่อที่จะให้ มีฤทธิ์ มีแรง มีกำลังใจ มีให้รางวัลกันบ้าง อะไรต่ออะไรกันบ้าง ก็แล้วแต่เถอะ เพื่อที่จะสร้างสรร ก็ล้วนแล้วแต่เท่ากับเขา ถ้าเขามีเป้าหมาย ที่จะให้เกิดอิสรเสรีภาพ ให้เกิดภราดรภาพ ให้เกิด สันติภาพ สมรรถภาพ บูรณภาพ เขาก็ต้องการ จุดนี้เหมือนกันน่ะ ต้องการอย่างนี้จริง ๆ แต่มันเป็น การปั้นภูฟ้า ปั้นผาน้ำ ปั้นทรายให้เป็นแผ่นทอง ปั้นลมให้เป็นต้นเสา ปั้นบ้านเมือง ด้วยน้ำลาย ฟังแล้วก็ รู้สึกเจ็บเหมือนกันนะ ปั้นบ้านเมืองด้วย น้ำลายยังงี้ ฟังแล้วก็รู้สึกเจ็บ ๆ เหมือนกัน แต่มันน่า จะรู้สึกด้วยนะ เขาเจตนาดี เขามีความอุตสาหะ พากเพียร เหมือนกัน ที่พูดนี่ก็ไม่ได้ดูถูก ดูแคลนว่า เขาเองน่ะ เขาไม่ได้มีเจตนาดี แต่มันเป็นภาวะการ ที่น่าสงสารน่ะ


เราประกาศ ดังที่อาตมาได้กล่าวข้างต้นไว้แล้ว ในอาศิรพจน์ว่าอาตมาได้ประกาศ ทฤษฎี พระพุทธเจ้า ประกาศความจริงว่า มนุษย์ควรจะประเสริฐเช่นนี้ มนุษย์ควรจะม ีสภาพที่ฝึกหัด ทฤษฎีอย่างนี้ เมื่อฝึกหัดโดยทฤษฎีอย่างนี้แล้ว เราก็จะมาเป็นคนที่มี วรรณะ ๙ ได้ ก็พยายาม ประกาศ พยายามยืนยัน แล้วก็พยายามที่จะยกย่อง เชิดชูเสียด้วย จะเรียกว่า อวดอ้างก็ได้ พยายาม เชิดชู อวดอ้างว่า คนที่ได้ประพฤติอย่างนี้ ด้วยทฤษฎีหลักอย่างนี้แล้ว จะเป็นคนดี อย่างนี้ เป็นคน มักน้อย สันโดษ เป็นคนที่มีคุณค่า เป็นคน ที่พ้นทุกข์ เป็นคนที่มีอริยธรรม เป็นคนที่มีอริยคุณ ก็พยายามประกาศ ผู้ที่มีปฏิภาณไหวพริบ ก็สดับฟังบ้างเหมือนกัน ส่วนผู้ที่ไม่เชื่อถือ เขายังเชื่อหัว ของเขาน่ะ อย่างที่เราพูดกันอยู่ เชื่อหัวไอ้เรืองน่ะ เชื่อภูมิของเขา เชื่อทฤษฎีที่เขาใช้กันอยู่ ซึ่งเขาใช้ ทฤษฎีหลัก เหล่านั้น เขาใช้ระบบเหล่านั้นล่ะ เขาใช้สิ่งที่เขาเป็นไปได้รองรับสังคมอยู่นี่ ที่มันแลกลาภ แลกยศ แลกสรรเสริญ แลกโลกียสุขอยู่ได้นี่ ก็คือสิ่งที่เขาใช้อยู่ทุกวันนี้ ป็นความรู้ แล้วก็เป็น ความที่กดขี่ พฤติกรรมการกระทำ กดขี่กรรมกร กดขี่คนที่กระทำอีกด้วย ลงมือทำเองจริง ๆ เขาตั้งราคา ความรู้นั้นสูง ได้เปรียบมาก มีช่องว่างระหว่าง ราคาความรู้ กับคนทำด้วยมือ นั่นน่ะ มันห่างกันมาก เหลือเกิน เพราะเขาฉลาด เพราะเขาครองอำนาจ เพราะเขาฉวยโอกาส เอาอำนาจ บริหาร อำนาจประกาศิตที่จะบริหาร จัดการสังคมให้อยู่ใต้อาณัติ อยู่ใต้อำนาจนั้นได้ และคนเหล่านี้ ก็มีสิ่งแลกเปลี่ยนด้วยลาภ ยศ สรรเสริญ โลกียสุข อันนี้แหละมากเพียงพอ เขาก็หลงว่า การได้รับ ลาภมามาก การได้รับยศ สรรเสริญ และอำนาจ ที่จะมาแลก โลกียสุขให้แก่ตนได้เสพนี้ เป็นเครื่องชี้ เป็นดรรชนี ชี้ค่าว่า เป็นความสำเร็จ ของมนุษย์ เป็นความประเสริฐของมนุษย์ เขาหลงว่า อย่างนั้น เขาจึงไม่ยอมเชื่อที่เราประกาศ ไม่ยอมเชื่อ ไม่ยอมเห็นด้วย

เขาเชื่อว่า การมีเงินทองมาก ๆ ดีกว่ามาเป็นคนจน อย่างพวกเรากล้า กล้าจน อย่างพวกเราจนกันนี่ การได้เสพโลกียสุขมาก ๆ ดีกว่ามานั่งอด นั่งอยาก อย่างที่เราเป็นกัน เขาไม่เชื่อ เขาไม่เชื่อว่า อย่างนี้ จะดีน่ะ การมาทำงานเสียสละ หรือเรียกให้ชัด ๆ ก็ว่าเรามาเสียเปรียบนี่ เขาไม่เชื่อว่า มันดีกว่า ไปเอาเปรียบ ไม่เชื่อนะ ไม่เชื่อว่าอย่างนี้จะน่าได้ น่าเป็นยิ่งกว่า การได้เปรียบ หรือว่าการเอาเปรียบ เขาไม่เชื่อ เพราะฉะนั้น เขาก็จะมาเชื่อ จึงเป็นคนที่มีญาณปัญญาอย่างแท้จริง เราก็พูดกันอยู่ เรามาวิเคราะห์กันนะ เราพยายามชี้เน้น ด้วยเหตุผลต่าง ๆ ให้เห็นสัจจะความจริงว่า เรามาเป็น คนกล้าจน มาเป็นคนมักน้อย สันโดษได้นี่ มันสอดคล้องกับ พระพุทธเจ้าหรือไม่ พระพุทธเจ้า พาเราเป็นอย่างนั้นจริง ๆ หรือ หรือว่าท่านหลอกเรา ท่านสอน ด้วยความจริงใจ บริสุทธิ์ใจหรือเปล่า พระองค์ท่าน ได้รับความสุขอย่างนั้น จริงหรือเปล่า เราก็มาพิสูจน์ ท่านว่าทฤษฎีนั้น ประเสริฐ คนเป็น อย่างที่ท่านเป็นนั่นน่ะ ประเสริฐ ประเสริฐอย่างนี้เรียกว่า อริยะ ท่านเป็นจริงหรือเปล่า เรามาพิสูจน์ตาม ทฤษฎีนั้นของท่านดูซิ แล้วเราจะได้รับสภาพ อย่างที่ท่านเป็นหรือไม่ จะได้น้อย จนกระทั่ง ไปหามากก็ตาม ต้องมาพิสูจน์กันจริง ๆ

เมื่อเราได้พิสูจน์จริง ๆ แล้ว ว่าเราไม่ได้ผิดแผกไปจากที่พระพุทธองค์เป็นน่ะ พระบรมศาสดา ท่านเป็นมาก่อน แล้วท่านก็ได้ให้คน ในสมัยของท่านพิสูจน์ เมื่อพิสูจน์แล้วก็ย้ำยืนยัน ยืนหยัด สภาพความประเสริฐของมนุษย์ ที่ประเสริฐอย่างนี้แล้ว ไม่ถดถอย ได้ความประเสริฐอย่างนี้แล้ว ไม่กลับคืนไปเป็นอย่างโลกีย์ ที่เราเคยเป็นมาอีก หรืออย่างที่ทั่วไป ที่เขาเป็นอยู่ อย่างที่กล่าวมาแล้ว จะไม่วนกลับ ไปเป็นอย่างนั้นอีก เพราะการได้อย่างนี้ ได้เป็นคนอย่างพระพุทธเจ้าท่านพาเป็นนี่ เป็นมนุษย์โลกุตระ หรือเป็น โลกุตรบุคคล เป็นมนุษย์อย่างนี้จริง ๆ แล้วนี่ ท่านท้าทายว่า จะไม่หัน กลับคืน จะจริงไหม ก็มาพิสูจน์กัน อาตมาพิสูจน์ อาตมายังกล่าวได้ว่า สำคัญอย่างนี้ วันมาฆบูชา แห่งปีพุทธศักราช ๒๕๓๑ นี่ วันสำคัญวันนี้ ก็ยังกล้ากล่าว ยืนหยัดยืนยันกันได้ว่า อาตมาเห็นว่า มันจริงนะ อาตมาจะไม่หันหลับไปหาโลกียะอีก จะขอยืนตาย แม้จะอยู่เหลือคนเดียว ยังนะ ยังมั่นใจ อย่างนั้น ยังไม่ลังเลสงสัยเลย ไม่สงสัยน่ะ จะพอใจในสิ่งที่เป็นที่มีอยู่นี้จริง ๆ มั่นใจจริง ๆ นี่เป็นความเห็น ในความเห็นของตนนะ กล่าวอวด กล่าวอ้างก็ได้ ถ้าจะกล่าวว่า กล่าวอวด กล่าวอ้างน่ะ ยืนหยัดยืนยันอย่างแน่ชัด เห็นจริงว่า พระพุทธเจ้าไม่ได้หลอก

พระพุทธองค์เป็นผู้ที่ ไม่มีสมบัติอะไร ก่อนจะปรินิพพานดับขันธ์ ๕ วาระสุดท้าย เมื่อวันเพ็ญเดือน ๖ เป็นวันที่ปรินิพพาน ท่านไม่มีอะไรนะ ไม่มีสมบัติพัสถาน ปรินิพพาน หมดลมด้วยลมมือแบ ๆ ตายในป่าเล็ก ตายบนก้อนหิน ไม่มีบรรจถรณ์ ไม่มีแม้แต่ เป็นโรงเรือน บ้านช่อง ไม่มีสมบัติอะไร มีบาตรใบหนึ่ง บริขาร ถ้าเผื่อว่าจะแจกเขา ก็คงจะแจก ไปบ้างแล้วละ แล้วไม่ได้แอบเสพ เสพด้วยวัตถุสมบัติ เสพด้วยรูป รส กลิ่น เสียง อันนั้นอันนี้อะไร ตลอดพระชนม์ชีพที่ท่านตรัสรู้ ว่าท่านได้ประเสริฐแล้ว สบายแล้ว ปรมัง สุขังแล้ว วูปสโมสุขแล้ว ท่านก็เปล่งประกาศว่า หลุดพ้น แล้วหนอ เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ตั้งแต่วันนั้น จนกระทั่งอีก ๔๕ พรรษา คืออีก ๔๕ ปี จนกระทั่ง ปรินิพพาน หรือตายนี่ ไม่ได้แอบเสพ ไม่ได้มานั่งแอบล่อ ๆ ลวง ๆ ตลบตะแลงอะไรใคร เอาทฤษฎีนั้น เอาหลักการนั้น มาให้ผู้อื่นพิสูจน์ ก็มีสาวก มหาสาวกต่าง ๆ นานา ทั้งอุบาสก อุบาสิกา มาประพฤติ ได้มากบ้าง น้อยบ้าง ตามฐานานุฐานะ ของแต่ละบุคคล มีสภาพเกิดจริง เป็นจริงตาม จนเกิดกลุ่มหมู่เป็นศาสนา เป็นศาสนาที่ยิ่งใหญ่ ๒,๕๐๐ กว่าปี มาแล้ว ยังมีผู้มีสภาพจริงอยู่ ยังมีผู้เป็นได้จริงอยู่

อาตมากล้ากล่าวได้ว่า พระพุทธเจ้ายังมีสภาพจริง ยังมีวิมุติ มีนิพพาน ยังมีของจริงอันนั้น ที่มนุษย์ พึงได้ พึงเป็น อาตมากล่าว กับพวกคุณได้ว่า อาตมาเป็น อาตมาได้ จึงเอามาถ่ายทอด เอามาให้คุณ พิสูจน์กัน เมื่อประกาศให้พวกคุณ พิสูจน์แล้ว ก็เกิดความจริง คุณจะมาหลอกอาตมาหรือ อาตมากล่าว ไม่รู้กี่ทีแล้ว คุณจะได้มากได้น้อยบ้าง อาตมาก็แน่ใจหลายคน แน่ใจว่า ผู้ที่อยู่ใน ทางทิศนี้ ทางที่ถูกนี่ คนอย่างนี้ อย่าว่าแต่ชาตินี้เลยน่ะ ไม่ได้สูงสุดเป็นพระอรหันต์ อาตมาก็แน่ใจว่า หลายคนยืนยัน ยืนหยัดว่า จะขออยู่ทางนี้ สภาพนี้ แล้วก็จะพยายามพัฒนา ให้เจริญไป ในสภาพ อย่างนี้ ไปจนถึงที่สุด เท่าที่เราจะสามารถ แม้มันจะไม่ถึง ความเป็นอรหัตผล หรือว่าเป็นพระอรหันต์ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง ก็จะขออยู่ทางนี้ แน่นอน อาตมาเห็นว่า เป็นความประเสริฐ ไม่ได้เห็นว่า เป็นปมด้อยอะไร ที่เราจะเป็นคนจนน่ะ ที่เป็นคนไม่มีทรัพย์สินอะไร เป็นคนไม่มี บ้านช่อง เรือนชาน เป็นของตนเอง เสื้อผ้าหน้าแพรอะไรก็ใช้อย่างนี้ พอ ก็จะขออยู่ไป ตลอดชีวิตนี้


อาตมารู้สึกว่าหลายคนจะรู้สึกอย่างนั้น มั่นใจอย่างนั้น อาตมาน่ะ บอกตัวเองได้ ตอบกับตัวเองได้ บอกกับคุณได้ว่า อาตมานั่นน่ะ อยู่ทางนี้แน่นอน ได้เห็นว่า เป็นความประเสริฐจริง ๆ ไม่เห็นเป็น ปมด้อยจริง ๆ เลย ที่เราจะเป็นคนจน เป็นคนไม่มีทรัพย์สินอะไร นี่นะ เป็นคนที่ไม่มีบ้านช่อง เรือนชานเป็นของตนเอง เสื้อผ้าหน้าแพรก็ใช้อย่างนี้ไปจริง ๆ ไปได้น่ะ พอเพียง อาตมาพยายามนะ พยายามที่จะวิรัติตัวเอง ขึ้นเหมือนกัน ของใช้หลายอย่าง ก็พยายามลด ผ้านุ่งผ้าห่ม ก็จะพยายาม วิรัติลงไปบ้าง นุ่งผ้าปะ ผ้าชุนอะไรบ้าง ไม่ได้เป็น ของน่าอาย แต่ก็ต้องระวังเหมือนกันว่า แม้เรา จะนุ่ง ผ้าปะผ้าชุนนี่ ก็จะเป็นคนอวดอ้าง ไปทำเขื่อง แหม ! ทำโก้ นุ่งผ้าชุน ผ้าปะ ผ้าเก่า แล้วก็ทำเป็น มีมานะในใจ แหม ! รู้สึกฟูฟอง เบ่งข่มผู้อื่น มันเอาความด้อย มาข่มความเด่น ของคนอื่นเขาได้อีกด้วย หึ หึ เอาความจนมาข่ม ข่มความรวย เอาความมอซอ มาข่มความหรูหรา มันทำได้เหมือนกันนะ

ถ้าเผื่อว่าทำได้แล้ว จิตใจของเราเป็นอย่างนั้นด้วย เราก็เกิดกิเลสอันหนึ่งเหมือนกัน อย่างนี้เป็นต้น เราก็ศึกษาน่ะ อาตมาว่า อาตมาพาทำนี่ ไม่ได้มาลำบากใจ นุ่งผ้าปะ ก็ไม่ได้ลำบากใจ นอกจาก ไม่ลำบากแล้ว ก็บอกคุณอยู่ว่า เออ ! ใจเราฟูฟองหรือไม่ มันหลงว่า เอ๊ ! ใจเรา เราได้นุ่งผ้าปะ เราได้มักน้อย ได้สันโดษ แล้วเราก็เลยไปข่ม มีเชิงข่ม ในใจของเรา มันเป็นอุปกิเลส นะ มันมีไหม มันเป็นมานะถือดีหลงดี ว่าเราทำได้ดี ดีแล้วนะ เราก็ไปหลงข่มคนอื่น ไปหลงว่าเราทำนี่ใหญ่กว่าเขา เหนือกว่าเขา เก่งกว่าเขา ดีกว่าเขา มันมีด้วยจริงหรือไม่ ถ้ามันมีก็ต้องล้างกิเลสเหล่านี้ เพราะว่า ความละเอียด เสริมเติมอยู่อย่างนี้ อย่างนี้เป็นต้น

เราจะรู้สึกว่า เราปฏิบัติธรรมะพระพุทธเจ้านี่ละเอียดลออ มันจะต้องเก็บศึกษา มีวิเคราะห์วิจัย วิจัยแล้วก็โยนิโส ให้มันแยบคาย ให้มันถ่องแท้ เข้าไปจริง ๆ จะเป็นกรรมกิริยา พฤติกรรมก็ตาม มาจากจิตวิญญาณ เมื่อจิตวิญญาณละเอียด โยนิโสละเอียด สุขุม ประณีตจริง เราก็จัดแจงกับกาย วาจา ไปจัดแจงกับพฤติกรรม จัดแจงกับองค์ประกอบ ของความเป็นอยู่ของเรา จะจัดแจง จะทำให้ รู้สึกว่า อย่างนี้ มันดีกว่า อย่างนี้ถูกต้องกว่า อย่างนี้จะเป็นสภาพที่เป็นประโยชน์คุณค่า ต่อตน ต่อท่าน ได้มากกว่า แล้วมันก็จะมาจัดสรร จัดสรรอยู่เรื่อย มันจะจัดสรรได้ตลอดตายเลยคุณน่ะ

อาตมานี่ ทำงานศาสนามา ๑๗ ปีนี่ ยังรู้สึกว่า จะจัดสรรอะไรต่ออะไรได้อีกมาก บางอย่างเราเพิ่ม บางอย่างเราลด จะปีนี้ ปีหน้า อีก ๒ ปี ๓ ปี มีบางอย่างเพิ่ม บางอย่างลด ปีนี้ลด ปีหน้าเพิ่ม ปีโน้นเพิ่ม ปีนี้ลด อะไรต่าง ๆ ยังงี้ มันไม่ตายตัว บอกตายตัวไม่ได้ แล้วสิ่งเหล่านี้ เป็นสภาพลึกซึ้ง เป็นสภาพ ที่จะต้องศึกษา อย่างยาวนาน ศึกษาแล้วก็เป็นพลวปัจจัย เป็นกัมมัสสโกมหิ เป็นกรรม ที่เป็น วิบากของตน เป็นของตน กรรมเป็นของ ๆ ตน เป็นทายาทของกรรม เราก็จะรับมรดก แห่งกรรม ที่เราได้สั่งสมเป็น พลวปัจจัยเหล่านี้ ให้แก่ตน ๆ ถ้าเราทำ เราก็ได้ ถ้าเราไม่ทำ ก็ไม่ได้ เราทำจึงได้ ได้แล้วก็เป็นการสั่งสม

เมื่ออาตมาเริ่มต้นได้พิสูจน์กันมา ๑๐ กว่าปีแล้ว ก็เห็นจริง เห็นจัง มีข้อคิดที่น่าสังเกตอยู่อย่างหนึ่ง คืออาตมา ก็บอกพวกเรา อยู่เสมอว่า ข้อสังเกตนั้นก็คือ อาตมาทำงาน ไม่มีแผนน่ะ มีก็มี อนาคตังสญาณ คือมีญาณ ที่รู้อนาคต มันจะเกิดตามต่อไป ในข้างหน้านี้บ้าง แล้วเราก็ทำตาม อนาคตตังสญาณนั้นบ้าง ไม่ได้มานั่งเก็ง หรือว่าคำนวณ สิ่งที่จะต้องวาดเป็นแผน เป็นองค์ประกอบ สำเร็จรูป อย่างที่เขากระทำกัน อย่างทฤษฎีคนโลก ๆ เขาทำกันมาก ไม่ได้กระทำอย่างนั้น สิ่งนี้ อยากจะเปิดเผย อยากจะบอกให้ฟังว่า สิ่งอย่างนี้เป็นสิ่งยืนยันสัจจะอย่างหนึ่ง โลกเขาไม่ได้ใช้สัจจะ อย่างนี้ โลกเขาใช้สัจจะอย่างนี้ไม่เป็น โลกเขาวางโครงการ ใช้ความคิดผกผัน วาดอะไรต่ออะไร เอาไว้ก่อน คิดคำนวณ อันนั้นอันนี้ จะเป็นอย่างโน้นอย่างนี้ บวกอันโน้น เป็นอันนี้ สร้างวัตถุต่าง ๆ เขาทำได้น่ะ สร้างวัตถุต่าง ๆ นี่เขาทำได้ แต่เขาจะมาสร้างสังคม จะมาสร้างมนุษยชาติ ให้มีพฤติกรรม ให้มีความเป็นอยู่ ให้เป็นอะไรต่ออะไรนี่ แล้วมันจะมีระบบของมัน เสริมสานขึ้นไป เรื่อยๆ นี่ ไม่ได้น่ะไม่ได้ เพราะมนุษย์ มีจิตวิญญาณ จิตวิญญาณนี่แหละเป็นตัวสำคัญ เดาจิตวิญญาณ ว่ามันจะเกิด ตามความรู้สึก ตามที่เขาคะเนค้นเดานั้น จะค้นเดาเอาไม่ได้ ไม่ได้น่ะ

ในกลุ่มอโศกของเรานี่ สามารถที่จะทำกิจการอะไรหลายอย่างมากมายที่เดียวนี้ได้น่ะ ทำอย่างที่ ทางโลกเขา รู้ว่าเราทำได้แล้ว แล้วเขาจะมาทำตาม เขาทำไม่ได้ มีอะไรบ้าง คุณลองคิดดูซิ หลายอย่าง เขารู้นะว่า ทำอย่างนี้น่ะดี แล้วเขาจะทำตาม เขาทำไม่ได้น่ะ ถ้าเขาไม่มาเดินรอย เหมือนอย่างเรานี่ กระทำตั้งแต่เริ่มต้น แม้เขาจะเอาอย่าง มันก็จะเป็นของปลอม มันก็จะไม่แน่นเนียน มันจะไม่ได้เกิดคุณค่าความจริง และจะไม่ตั้งอยู่นาน จะไม่ตั้งอยู่นาน

การมาเป็นคนอย่างพวกเรานี่ เราดูในสังคมข้างนอกเขานะ เรามาเป็นภราดรภาพ มาเป็นพี่ เป็นน้องกัน ความเป็นพี่เป็นน้อง ของพวกเรานี่ ก็ยังดูไม่สวยเท่าไหร่หรอก แต่ว่ามันก็ เป็นพี่เป็นน้อง ที่อยู่กัน มีการอยู่การกิน ที่ร่วมกันที่ลึกซึ้ง เผื่อแผ่กัน พอจริง ๆ ไม่อดไม่อยาก เพราะเรามาหัดกินน้อย ใช้น้อย มันจะไปอดไปอยากอะไรล่ะ เพราะฉะนั้น คนจะมา อยู่รวมกัน เป็นพี่เป็นน้องนั้น ต้องมี คุณภาพ มาเป็นคนที่กินน้อยได้จริง ๆ คนที่ยังมีกิเลสมาก ๆ ยังกินมาก บริโภคมาก ๆ มาอยู่กับ พวกเรานี่ มันก็ไม่ใช่พี่น้องแท้ เพราะมันไม่ใช่ คุณภาพเดียวกัน มันเป็นคนละลักษณะกัน เพราะฉะนั้น เมื่อเข้ามาผสมผสานกันแล้ว มันผสม ผสมไม่ถูก มันผสมกันไม่ได้ เพราะมันไม่ได้เป็น ศีลสามัญตา ศีลสามัญตา เช่นว่า วิกาลโภชนา เรากินกันแค่วันละหนเดียว หรือว่าจะมีอนุโลมบ้าง เล็กน้อย อย่างนี้เป็นต้น ข้อศีลอย่างนี้เป็นต้น มีศีลอย่างนี้น่ะ เราเป็นกันส่วนรวมเลยนะ แต่ถ้าคน เป็นได้จริง ๆ ลงตัวแล้วละก็ สามารถอบรมประพฤติ ฝึกฝนมาได้จริง เราก็อยู่กันได้ อยู่กันเป็นไป เป็นพี่เป็นน้อง แบ่งกันกินได้น่ะ ไม่อดไม่อยาก

แต่ถ้าคนที่ยังลัก ๆ ลอบ ยังมีการขี้โกง ยังจะต้องโลภโมโทสันตะกละตะกลาม ต้องการมากกว่ากัน อยู่จริง ๆ น่ะ แล้วเขาก็จะมา อยู่กับพวกเรานี่ มันอยู่ไม่ได้น่ะ อยู่ไม่ได้ เพระมันไม่มี ศีลสามัญตา มันไม่เป็นศีลหลักเดียวกัน ในความหมายของ ในขอบเขตของมัน มันไม่มีขอบเขตในหลัก ในมาตรการ ในการจำกัดเอาไว้ว่า เราจะต้องกันขนาดยังงี้ ฝึกตนให้ได้ยังงี้ จนกระทั่ง ศีลนั้นขัดเกลา ตนเอง เป็นปรกติ หรือเป็นผู้ที่ทนได้โดยไม่ยาก โดยไม่ลำบาก เป็นไปได้โดยไม่ต้องมีกิเลส เข้ามาเป็น ตัวกวน ตัวแปร ให้เปลี่ยนแปลง ไปสู่สภาพ อย่างคนที่เขาโลภโมโทสัน ยังกินมากใช้มากอยู่นั่นน่ะ มันไม่เป็นอย่างนั้น มันก็อยู่ได้ หรือแม้แต่สภาพ ที่จะต้องเป็นคนที่มีอิทธิบาท พระสมณะ หรือผู้ที่เป็น โสดา สกิทา อนาคา นี่ สมณะ ๔ เหล่านี่ จะต้องเป็นคนที่มี อิทธิบาท มีฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา มีความยินดีในสภาพอย่างนี้แหละ มีความวิริยะ มีความเพียร มีความขยัน มีจิตตะ มีความเอาใจใส่ ในการศึกษา มีความเอาใจใส่ในความเป็นอยู่ของพวกเรา ที่จะเป็นผู้ที่มีประโยชน์แก่กันและกัน แล้วก็มีประโยชน์ เผื่อแผ่ออกไปสู่คนอื่น เป็นโลกานุกัมปายะ หรือเป็น พหุชนหิตายะ เป็นประโยชน์ แก่หมู่ชนเป็นอันมาก เพิ่มขึ้น อย่าว่าแต่หมู่เราเท่านั้น มันจะมีคุณลักษณะพวกนี้จริง เมื่อคนผอง พวกเรานี้จริง

ทุกวันนี้นี่นะ เราพิสูจน์ตั้งแต่ความเป็นไปไม่ได้ของสังคม คือ เอาคนมาอยู่รวมกัน ไม่ใช่พี่ไม่ใช่น้อง กันแท้ ๆ นี่ มาอยู่กัน อย่างไม่ทะเลาะเบาะแว้ง ไม่แย่งชิง ไม่โลภโมโทสันกัน อยู่กันไป ให้เป็นเวลา นาน ๆ น่ะนี่ มันก็ยังพิสูจน์กันไม่นานนักนะ ที่เราสร้างกลุ่มหมู่ โดยทฤษฎีที่อาตมาแน่ใจว่า เป็นทฤษฎี ที่ถูกต้องที่สุด สำนักไหนเขาก็ว่าของเขาถูกต้องที่สุด นั่นแหละ อาตมาก็ว่า ของอาตมา ถูกต้องที่สุด แล้วก็เอามาให้พวกเราพิสูจน์กันนี่ ยังไม่นานนักนะ ๑๐ กว่าปี เราก็เห็นความเป็นไปได้ ขนาดนี้ ยังไม่ดีเท่าไหร่หรอก แต่เมื่อไปเทียบกับคนที่กลุ่มอื่น หรือที่อื่นเขาทำกันนี่น่ะ อือ ! เหนือกว่า เหนือกว่าหลายเชิง ดูเผิน ๆ บางทีของเราสู้ของที่อื่นไม่ได้ ของเขาสวยกว่าเรา ของเขา สงบกว่าเรา เขากินน้อย ใช้น้อยกว่าเรา ที่อื่นบางทีนี่ นี่มีนะ มีเหมือนกัน มี แต่ว่า ดูให้ลึกซึ้งเถอะ ของเรานี่เผื่อแผ่ ไปในคนหลายฐานะได้นะ หลายฐานะนะ ดูดี ๆ แล้วก็จูงกันอยู่ กินข้าววันละ มื้อเดียว แต่คนเรานี่ มีหลายฐานะ ของที่อื่นเขานี่ บางทีนี่ เขากินข้าวมื้อเดียวนะ กินเร็วกว่าเราด้วย กินน้อยกว่าเราด้วย แต่เขาไม่มากฐานะอย่างเรา ไม่มากระดับอย่างเรา ของเขาระดับฆราวาสมื้อเดียว แต่ของเรา ก็เอื้อเฟื้อ เกื้อกูลกัน มีการเป็นสะพาน แก่กันและกัน มีการเชื่อมโยง ไม่อ้างว้างโดดเดี่ยว ฆราวาส เขากินมื้อเดียว เขาก็อาจจะลำบากกว่า ฐานภูมิของเขาไม่สูง แต่เราก็เป็นพี่ ไม่เอาน่ะ ค่อย ๆ เป็น ค่อย ๆ ไป ยังงี้น่ะ คนได้ดี ได้เก่งขี้นมา เขาก็ค่อย ๆ เป็นตัวอย่าง ที่ดีไปน่ะ กินเร็วก็ได้ แต่ก็ไม่ต้อง เร็วนัก

อาตมาจะกินเร็ว ๆ อย่างที่เขากินเร็ว ๆ ก็ได้นะ ทุกวันนี้อาตมาก็ไม่ได้กินมากน่ะ อาตมาแน่ใจว่า อาตมากินน้อยเท่ากับบางกลุ่ม บางหมู่เขากินน้อยนี่ จะกินเร็วเหมือนบางหมู่ บางกลุ่ม ที่เขากินเร็ว ก็กินได้ แต่อาตมาไม่ใช่คนเห็นแก่ตัว ไม่ใช่คนอ้างว้าง โดดเดี่ยวคนเดียว อาตมามีหมู่ มีลูก มีหลาน มีเครือญาติ

อาตมาก็กินอย่างของอาตมานี่ แต่อาตมาไม่ได้ทำโด่ทำเด่ทำเด่น ตัดรอบ จนกระทั่ง ไม่เอื้อแก่ผู้อื่น ว่าเออ ! คนนี้เขาก็ต้องกินช้า กันหน่อยนี่นะ เพราะเขายังกินน้อยไม่ได้ เขาก็ยังต้องกินมาก หรือ บางทีเขาก็ต้องพิจารณาช้า เขาเคี้ยวนาน กินก็จานโต ๆ เราก็ต้องเอื้อเอ็นดู กันบ้าง เห็นใจ กันบ้างว่า ภูมิของเขา ก็ยังไล่เลี่ยกันมา สักวันหนึ่ง เขาก็จะมาเป็น อย่างเราเป็น

แต่ก่อนอาตมาก็กินเยอะนะ ยิ่งปฏิบัติใหม่ ๆ แล้ว โอ้โห ! กินทีไรนี่ท้องป่องเลย อืด แหม ! กลัวมัน จะหิว พวกเราปฏิบัติแล้ว ก็จะรู้ตัวจริง ๆ มันจริง ๆ มันตะกละน่ะ มันก็ต้องกิน โอ๊ ! เรากินมื้อเดียวนี่ แล้วทำไงนี่ กินน้อยเดี๋ยวมันก็ ตกกลางคืน มันหิวตายเลย สวาปามเข้าไป สวาปามเข้าไป ท้องตึง ทุกข์ หนักเข้าก็โอ๊ ! มันทุกข์นะน่ะ แต่ว่ามันก็ลดเองแหละ ลดลงไปหน่อย เท่านี้ไหวนะ ไหวนะ เสร็จแล้วเราก็ กิเลสนี่ มันกินอาหารเหมือนกัน กิเลสมันกินน้อยลงอีก ๆ มันก็น้อยลงเองแหละ ไม่ต้องไปกลัวมันหรอก กันไม่ใช่เรื่องสุข กินนี่มันเป็นเรื่องทุกข์ ถ้ากินด้วยกิเลสนี่ ก็เรื่องทุกข์ ถ้ากินด้วย อัตตกิลมถานุโยค ไม่ใช่เรื่องสุขน่ะ มันไม่ใช่เรื่องสุข แล้วเรื่องอะไร จะต้องไปกิน ให้มันมาก กินให้พอ พอสันฐานร่างกายของเรา ไม่ทรุดไม่โทรม ไม่ทรมานเองน่ะ ทำได้ ให้ร่างกาย มันตั้งอยู่ได้พอเหมาะ พอเป็นพอไป แม้มันจะน้อยนิด น้อยหน่อย แต่ไม่ถึงกับ สภาพร่างกาย ทรุดโทรม ก็สบาย กินมากมันก็ทุกข์ทรมานอยู่นั่นแหละ ต้องทนกินมันอยู่ เท่านั้นเอง เพราะฉะนั้น ปฏิบัติไปเถอะ มีขั้นตอนไว้ เกื้อกูลกันไป เอื้อเฟื้อกันไป

ยกตัวอย่างให้ฟังในแง่มุมหนึ่งว่า บางสำนัก บางหมู่บางกลุ่มนี่ เขามีอะไรดูดีกว่าเรา มักน้อย กว่าเราได้ เมื่อพระพุทธเจ้า ท่านสอน บอกว่า บางทีเราก็ฉัน แต่พอประมาณ เท่านั้น สาวกของเรา บางรูปนี่ ฉันวันละจอกบ้าง ฉันวันละ ๕ คำ ๑๐ คำบ้าง กินมากกว่าเราบ้าง กินน้อยกว่าเราบ้าง พระสาวกของพระพุทธเจ้าบางองค์นะ โอ้โห ! ถ้าจะว่าเก่ง กินน้อยกว่า พระพุทธเจ้าด้วย ซึ่งมักน้อย สันโดษกว่าพระพุทธเจ้าด้วยซ้ำ พระมหากัสสปะ อย่างนี้เป็นต้น ไม่แปลกนี่ ไม่แปลก ฐานะของ บุคคล ไม่เท่ากันน่ะ นอกจากไม่เท่ากันแล้ว ก็ยังมีความเอื้อ มีญาณปัญญาที่เรียกว่า ทำอย่างนี้ เป็นความเอื้อผู้อื่น พฤติกรรมเหล่านี้ เป็นพฤติกรรม ที่เอื้อผู้อื่น สิ่งเหล่านี้ เราก็ต้องศึกษา ให้ลึกซึ้ง เพราะฉะนั้น บางทีเราก็ดูอันนั้นอันนี้ ก็ดูดี ๆ แต่เอามาเสนอ ที่นี่นี่ ที่นี่ไม่รับ ที่นี่ไม่เอา เพราะเหตุใด มันมีเหตุผลของมัน บางอย่างอธิบายยาก

บางอย่างอาตมาใช้ญาณปัญญา พวกนี่แหละ ไตร่ตรอง ตัดสินอยู่เสมอ ไม่ใช่เรื่องตื้นเขิน ไม่ใช่เรื่องตื้นเขินทีเดียว อาตมาทำงานนี่ ทำงานด้วยจิตวิญญาณ อาตมามาทำงาน แต่ตอนแรก ก็กับพวกคุณนี่ อาตมาทำงานมา ตอนหนึ่งก็บอกว่า เราทำงานที่ไม่มีแผน แต่มันก็มีตามขั้น ตามตอนไป ที่มันเกิดหมู่เกิดกลุ่มอย่างนี้ เกิดมาเป็นระบบขึ้นเรื่อย ๆ อย่างนี้ แล้วเป็นระบบ ที่จะสอดคล้อง เป็นทฤษฎี เป็นจารีตประเพณี เป็นวัฒนธรรม เป็นระบบที่เป็นมันก็จะ set ตัวของมัน จัดสรรตัวของมันไปเรื่อย ๆ มันจะเข้าร่อง เข้าช่องไป จนกระทั่ง กี่ปีก็ตามน่ะ อาตมาไม่เร่งรัด แต่ก็ไม่เฉื่อยชา ไม่เร่งรัดแต่ไม่เฉื่อยชา จะต้องพยายามขมีขมัน ขวนขวายให้เต็มที่ เต็มกำลังเสมอ

ข้อที่ทำงานไม่มีแผนนี้น่ะ เมื่อกี้ก็พูดไปแล้วว่า นี้เป็นสัจจะ อันที่จะนำแล้วกระทำบาป เมื่อทำอันนี้ เหตุนี้ดี ถูกต้องแล้ว ดีมากบ้างก็ดีไปเป็นหนึ่ง มันก็จะขึ้นเป็น ๒ เมื่อ ๒ ดีไปได้ อีกอันหนึ่งมา มันก็จะเป็น ๓ ดี ๓ ถูกต้อง เมื่อ ๓ ดี ก็ดี ก็จะต้องไปได้ ดีถูกต้องเป็น ๔ เป็น ๕ แล้วก็ ๖ ไปอีก มันก็จะเป็นดี เป็นถูกต้องไปเรื่อย ๆ ไม่ต้องมีแผนหรอก แต่จะดีใหญ่ พัฒนาไป ถูกต้องทิศทาง ของมัน เพราะฉะนั้น มันละเอียด มันสุขุม มันประณีต ดูให้ดี ๆ น่ะ เพราะฉะนั้น ละเอียดสุขุม ประณีตให้ดี ๆ ว่านี่ถูกต้องนะ ดีนะ มันบกพร่องเล็ก ๆ น้อย ๆ อย่าไปมีกิเลสมานะ อวดดิบอวดดี อะไรให้มาก จงสุขุม ประณีต ใจเย็น วินิจฉัย ตรวจตราให้ดี แล้วทำดีด้วยความมั่นใจ ทำไป ใจเย็น ไม่ต้องกลัว ดีนั้นต้องเป็นดี ได้มากได้น้อย เท่าความสามารถ และความวิริยะ อุตสาหะของเรา มันจะเจริญไป เจริญไป

อโศกเราดูเหมือนมันโตเร็ว คนข้างนอกเขารู้สึกว่าโตเร็วเหมือนกัน ถ้ายิ่งเขามารู้ว่า เราทำนี่มันไม่ง่าย เขายิ่งจะรู้สึกว่า โอ้โห ! เร็วมาก ไม่ง่ายนะ ยากนะ อาตมาไม่อยากจะพูดท้าทาย แต่มันก็เป็นเชิง พูดออกไป จะพูดออกไปต่อไปนี้ มันเป็นเชิงท้าทาย คือ กลุ่มอื่น หมู่อื่น ต่อไปเขาจะเห็นว่าดี อย่างอโศก ทำนี้ดี เขาก็จะไปทำบ้าง เมื่อเขาจะไปทำบ้างแล้ว ถ้ามันไม่ได้ ทฤษฎีที่ถูกต้อง ทฤษฎี ที่เป็น สัมมาทิฐิ คม sharp คมแม่น ตรงดี เขาก็จะไม่ได้อย่างนี้ ไม่ได้อย่างนี้ ก็บอกแล้ว พูดเหมือน ท้าทาย เขาจะไม่ได้อย่างนี้ เขาจะได้ในรูปลักษณะอื่น ที่ฟ่าม กว่านี้ อาจจะโตเร็วกว่าเรา ก็ได้ด้วยซ้ำ แต่ถ้าเขาจะเอาให้ได้เนื้อ อย่างเรานะ ช้ากว่าเราอีกมาก ที่อาตมาพูดไม่ใช่ว่าอวดดี ไม่ใช่ท้าทาย แต่พูดคุณลักษณะมันให้ฟัง ว่ามันเป็นอย่างนี้

มีอันหนึ่ง จะประกาศให้คุณฟัง อาตมาเคยพูดมาแล้วล่ะ แต่วันนี้วันสำคัญ ก็ขอพูดอะไรอีกนิดหนึ่ง อาตมาทำงานนี้ ด้วยความรู้ตัวว่า อาตมาเป็นใคร อาตมาทำงานอะไร ทำไมต้องทำ ไม่ใช่อาตมา ทำงาน เพราะต้องการ ลาภ ยศ สรรเสริญ โกลียสุข ไม่ใช่ แต่อาตมาต้องทำ เพราะมันเป็นหน้าที่ของ อาตมา อาตมาก็ต้องทำ อาตมาบอกคุณวันนี้เลย อาตมาเป็นคนเกิดมา ไม่มีครูบาอาจารย์ คุณรู้ไหมว่า คนที่เกิดมา ไม่มีครูบาอาจารย์นั่น คือคนระดับไหน ๑๐ กว่าปีมาแล้ว อาตมาพาคุณ ทำงาน คุณคงพอเชื่อ คุณคงพอเห็นพอรู้ว่า อาตมามีความสามารถ มีความรู้จริงหรือไม่ และถ้าใคร ที่อยู่ใกล้ชิด ก็จะรู้ว่า อาตมาเป็นคนด้อยการศึกษา เป็นคนต้องการค้นคว้า ไม่ใช่นักศึกษา ใช่ไหม อาตมาไม่ใช่นักศึกษา ไม่ใช่บัณฑิต อย่างโลกเขาเป็น เป็นคนไม่ได้ใฝ่การศึกษา เป็นคนไม่ได้ค้นคว้า เป็นคนไม่ได้เสาะแสวงหาความรู้ และอาตมาก็เป็นคน ไม่มีครูบาอาจารย์ อาตมาเอาอะไรมาสอน เอาอะไรมาถ่ายทอด เอาอะไรมาแจกจ่ายเจือจานเรา

ปางนี้อาตมาเป็นอย่างนี้ ปางนี้อาตมามีอย่างนี้ ปางนี้อาตมาได้มา ต้นทุนอาตมาเป็นมาอย่างนี้ ต้นทุนอันนี้ คุณก็คงพอรู้ว่า อาตมามีอย่างไร แค่ไหน ยิ่งคบกันมานาน เป็นสิบปี ในหลายคน เพราะฉะนั้น จะเป็นพยานให้อาตมาได้ว่า อาตมาไม่ได้มาแกล้งเสแสร้งทำอยู่ ถึงจะเสแสร้ง ให้มันเก่ง เสแสร้งให้มันฉลาด เสแสร้งให้มันวิเศษ เสแสร้งให้มันมีความสามารถ เสแสร้งได้ ก็เสแสร้งซี คนน่ะ เสแสร้งขึ้นมาสิ ใครเสแสร้งมีความสามารถ มีความฉลาด มีความเก่ง ความรู้อะไร ได้ขนาดไหน ๆ เสแสร้ง ขึ้นมาเลย มันเสแสร้งได้ที่ไหนล่ะ ถ้ามันไม่มีคุณสมบัติ อันของตน ๆ ทำเป็นรู้ มันก็แค่ทำเป็นรู้ ถ้ารู้มากได้จริง มันก็เป็นคนรู้มากได้จริง มันเฉลียวฉลาด มีไหวพริบจริง มันก็แสดงออกมาจริง แกล้งเฉลียวฉลาด แกล้งได้มันก็ดีน่ะซิ ก็แกล้งให้มันเอาทุกคน แกล้งฉลาด มีฉลาดจริงไหมล่ะ หรือมันยิ่งรู้สึกซึ้ง ในสัจธรรม มันจะรู้ลึกซึ้งในสัจธรรมนั้น จริงไหม แกล้งซิ แกล้งรู้สัจธรรม แกล้งรู้ความจริงที่เป็นสัจธรรม แกล้งซิ ถ้าแกล้งได้ มันแกล้งไม่ได้นะ

ฟังอีกที อาตมาเป็นคนเกิดมาไม่มีครูบาอาจารย์ แล้วอาตมาถามพวกคุณดูอีกที คนเกิดมาไม่มี ครูบาอาจารย์นี้ คนระดับไหน เอาไปคิด นี่ไม่ได้อวดตัวนะ นานมาแล้ว พูด อาตมาเคยพูดว่า อาตมา เกิดมาชาตินี้ ไม่มีครูบาอาจารย์ แต่อาตมาไม่ได้เน้น อย่างวันนี้ วันนี้ขอเน้นให้คุณไปคิด อีกทีหนึ่ง อาตมาเผยตัวเอง ขึ้นมาอีกหน่อยหนึ่ง บอกแล้วว่า อยู่ด้วยกันไป คบหากันไป ศึกษาด้วยกันไป ก็ค่อย ๆ รู้กันไปว่า อาตมาเป็นใครน่ะ ค่อย ๆ จะรู้กันไปว่า อาตมาเป็นใคร และความรู้ ที่อาตมาเป็น อาตมามีนั้น ไม่เหมือนด้วย ไม่เหมือนผู้อื่นเขาเป็น ไม่เหมือนผู้อื่นเขามี แล้วสิ่งไม่เหมือนนั้น มันเป็นความอุตริ หรือมันเป็นอุตริ

อุตรินี้เป็นภาษาไทย แล้ว เป็นสะแลง เป็นความไม่ชอบมาพากลน่ะ ถ้าเราเรียกว่า ถ้าเราอ่านว่า อุต-ตะ-หริ ถ้าเราอ่านว่า อุต-ตะ-ริ มันเป็นภาษาบาลี อุตริมนุสธรรม มันมีไหม อุตริมนุสธรรมนั้น มันมีไหม มีจริงไหม คุณวิเศษอย่างนั้น มีจริงไหม ความรู้ ญาณต่าง ๆ อะไรพวกนี้ มันมีจริงไหม อาตมาว่า อาตมาได้เปิดเผย ได้แสดงญาตะต่าง ๆ สู่พวกคุณ ให้คุณได้รู้ได้เห็น ได้ฟัง อยู่เสมอ จนกระทั่ง หลายคนก็เข้าใจ หลายคนก็รู้ หลายคนก็เอาไปประพฤติปฏิบัติตาม เป็นความลึกซึ้ง เมื่อเวลา อาตมาแสดง วิเคราะห์วิจัย ชักของลึกให้ตื้น ทำของที่คว่ำให้หงายขึ้น พวกคุณก็เห็น ของที่หงายขึ้นมา ชัดกระจ่าง แน่ใจ มีศรัทธาปสาทะ เลื่อมใส ตั้งตนเพิ่มศีล อธิศีล เกิดอริยทรัพย์ เกิดจาคะปัญญา เกิดหิริ โอตตัปปะ พาหุสัจจะอะไรขึ้นมา ก็ได้พากเพียร สั่งสม ขึ้นมาเรื่อย ๆ เรื่อย ๆ มันเป็นสิ่งจริง จริงมาก จริงน้อย จริงสมบูรณ์ หรือยังไม่สมบูรณ์ มันก็มีอยู่ ขึ้นมาเรื่อย ๆ และคุณ ตอบตัวเองได้ว่า มันไม่ง่าย ทุกคนจะตอบตัวเองได้ว่า มันไม่ง่าย ไม่ใช่ของที่ จะเอามาพูดเล่น ๆ ว่า โอ๊ ! ธรรมะ พระพุทธเจ้าไม่ยากอะไรหรอก แต่เข้าใจว่า ทุกอย่างไม่เที่ยง ทุกอย่างเป็นทุกข์ ทุกอย่าง ไม่ใช่ตัวตน ไม่ควรยึดมั่น ถือมั่นอะไร มันก็จบแล้ว มันไม่ได้ง่าย ๆ เอาคารม เอาแต่แค่โวหารอะไร แล้วก็มา ทำความเข้าใจ เป็นแค่ ตรรกศาสตร์ เป็นแค่เหตุผล รู้แจ้ง แทงทะลุ สว่างแจ้ง ด้วยเหตุผล ซึ่งในเหตุผล เท่านั้น นั่นคือ ความบรรลุสุดยอด ไม่ใช่นะ ไม่ใช่

มีสภาวะรองรับ เป็นอภิธรรมอย่างยิ่ง จิตวิญญาณนี้มีกิเลสเป็นเจ้าเรือน ต้องมาล้าง มาลด มาละ มาพิสูจน์ความจริงว่า มันละลดจริง แล้วมันถึงจะเป็นคนจริง เป็นคนสะอาดจริง เพราะกิเลส มันออกจริง ถ้ามันเป็นคนที่ไม่สะอาดจริง กิเลสมันไม่ออกจริง มันปลอม แล้วมันแฝง แล้วมันก็ ตีกลับ ตลบตะแลง มันจึงกลายเป็น โจรบัณฑิต กลายเป็นคนเอาเปรียบ เอารัด กลายเป็นคนที่ แฝงเสพ โลกธรรม โดยคนอื่นไม่รู้เท่าทัน อยู่ในสังคมนี่ ครูบาอาจารย์เห็นได้ตำตาเลยว่า เด่นชัด อาศัยแฝง เพื่อที่จะเสพโลกียสุขนั้นอยู่แท้ ๆ ในชีวิต แม้แต่กามภพ หยาบ ๆ ก็ยังไม่รู้เท่าทัน ยังเสพเสวยไปในชีวิต ยิ่งภวภพแล้ว ยิ่งไม่ต้องพูดกันเลย หลงผิดเลย เป็นมโนมยอัตตา เป็นภพ เป็นภูมิ ปั้นสร้าง หลอก ล่ออะไรกัน เป็นอุปาทานแท้ ๆ หลอกกันเต็มบ้าน เต็มเมืองด้วยซ้ำ เมื่อเรา มาศึกษา แล้วพวกคุณศึกษาไปแล้ว ก็คงจะมีผู้พอเข้าใจบ้าง ที่อาตมาพูดขึ้นมานี้น่ะ

พระพุทธเจ้าสรุปโอวาทปาติโมกข์ว่า ละชั่ว ประพฤติดี แล้วก็ทำให้จิตใจ มันสะอาดจากกิเลส หรือ ทำให้จิตใจบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว มันก็บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว จากกิเลสนี่แหละ ๓ อันนี้ไม่แยกกันนะ โอวาทปาติโมกข์ ทั้ง ๓ นี่ เป็นคุณลักษณะที่มีทันที อยู่พร้อมกันในตัวเรา เมื่อบรรลุแล้ว เราจะไม่ ทำบาป ทั้งปวง แล้วเราก็จะทำกุศล ยังกุศลให้ถึงพร้อม อยู่ตลอดเวลา จิตใจเราก็สะอาดจริง สะอาดจริง สะอาดจริงอยู่ เมื่อถึงจริง โอวาทปาติโมกข์ ๓ นี้ อยู่ทรง ๓ สภาพ ไม่ใช่ไปตัดแหว่ง เอาแต่ว่า ใจสะอาดอย่างเดียว ดี ชั่ว มันเรื่องเหลวไหล เป็นเรื่องโลกียะ ไม่ใช่ โลกุตระมีโลกียะ แต่ในโลกียะ ที่ไม่มีโลกุตระนั้น มีอยู่เยอะไป โลกียะที่ไม่มีโลกุตระ แต่ในโลกุตระ ไม่มีโลกียะไม่ได้ โลกียะนั้น ต้องเป็นโลกียะชั้นดีด้วย เพราะไม่ทำบาป ไม่ทำอกุศล นี่เป็นความขวนขวาย สร้างสรร แข็งแรง ในเรื่องของกุศล ยังกุศลให้ถึงพร้อม ไม่สันโดษในกุศลเสียด้วย ใจก็บริสุทธิ์ ผ่องใสด้วย

เห็นไหมว่า คุณลักษณะทั้ง ๓ อย่างนี้ อยู่ในตัวของผู้ที่บรรลุธรรมของพระพุทธเจ้า ทั้ง ๓ เลย ทันที ทันใด เสมอ ขวนขวายอยู่ เป็นผู้มีบุญ มีบุญกิริยาวัตถุ เป็นผู้มีทานมัย ศีลมัย ภาวนามัย มีอปจายนมัย มีเวยยาวัจมัย เห็นอยู่ว่า เป็นผู้สละอยู่ เป็นทาน สร้างสรร อนุเคราะห์โลกอยู่ เป็นคน มีศีล มีบริสุทธิ์ศีล เป็นคนมีผลภาวนา เกิดผลแล้ว เป็นคนมีผลแล้ว อยู่จริง เป็นภาวนา เป็นผู้เกิดผล แล้วเป็นผู้ที่มี ความอ่อนน้อม ถ่อมตน อปจายนมัย เป็นผู้ขวนขวาย เวยยาวัจมัย เป็นหมดตลอด บุญกิริยาวัตถุทั้ง ๑๐ นั่นเลย เป็นผู้มีปฏิทานมัย มีปัตตานุโมทนามัย มีจริง ๆ เป็นผู้โปรดเปรตได้ ตั้งแต่โปรดเปรตของตัวเอง รู้เปรต สามารถที่จะอนุเคราะห์เปรต เขาแปลว่า แบ่งส่วนบุญให้เปรต การแบ่ง ส่วนบุญ ก็มีแต่เปรต ปรทัตตูชีวกเปรต เท่านั้น แล้วเขาช่วย ปรทัตตูชีวกเปรต ได้จริง ๆ ด้วย เรียกว่า ปฏิทานมัย ปัตตานุโมทนามัย มีการรู้ เออ ! ดี สาธุ ทำอะไร ๆ ก็ดี สร้างดี มีสิ่งดีอะไรเกิดอยู่ มีจริง ๆ มีธัมมัสสวนมัย มีธรรมเทศนามัย มีหมด มีบุญ มีบุญทั้งหมดเลย

แม้แต่ทิฏฐุชุกรรม สิ่งที่กระทำ ทั้งถูกทั้งตรง ทิฏฐชุกรรม เป็นความเห็นที่ถูกต้อง ที่ถูกตรง มีอยู่ตลอด เห็นได้ ไม่ใช่บุญกิริยาวัตถุ แค่พูด เพราะฉะนั้น ผู้ที่ถึงความสมบูรณ์ ผู้ที่ถึงความบริบูรณ์ ผู้ที่ถึง ความบริสุทธิ์ เกิดธรรม ถึงธรรม เข้าถึงธรรมแล้วจริง ก็เป็นคนมีบุญ ธรรมดานั่นเอง แล้วบุญ เหล่านั้น ไม่ได้หมายความว่า มันอ่านไม่ออก บุญเหล่านั้น มีคุณลักษณะนั้น อยู่ในบุคคลนั้นจริง

ทุกวันนี้นี่ แปลกันก็ไม่รู้เรื่อง ปฏิทานมัย ก็ไปนั่งกรวดน้ำกันอยู่โน้น เล่นกิเลสกันอยู่ตลอดเวลา ไม่เห็นพิสูจน์กันออก ไม่เห็นพิสูจน์กันได้ ท้าทายให้มาพิสูจน์ ท้าทายไม่ได้ ใครมั่งล่ะโปรดเปรต ที่ว่านั้นน่ะ แล้วก็ท้าทาย ให้ไปพิสูจน์ แล้วพิสูจน์ได้มีไหม อยู่ไหน ธรรมะของพระพุทธเจ้า เอหิปัสสิโก ท้าทายให้มาพิสูจน์ได้ ปฏิทานมัยนี่ สามารถแบ่ง ส่วนบุญให้เปรต สามารถ โปรดเปรต ได้จริง ๆ แล้วรู้ไหมว่า เปรตคือใคร เปรตอยู่ที่ไหน แล้วเปรตนั้น ได้รับส่วนบุญอย่างไร ส่วนบุญ ที่แบ่งให้นั้นน่ะ แบ่งแล้ว มันเป็นอย่างไร ได้รับอย่างไร คุณเป็นเปรตมา อาตมาแบ่งส่วนบุญให้คุณ รู้ตัวไหม เปรตนั้น ได้ถูกทำลายไป ได้พัฒนาตนเอง พ้นความเป็นเปรตมาจริง ๆ เพราะได้ส่วนเจริญ ได้ส่วนชำระกิเลส ส่วนชำระความเป็นเปรต มีบุญอย่างนั้นจริง ๆ เกิดจริง ๆ นี่ เห็น ๆ ท้าให้พิสูจน์ได้ อย่างนี้แหละ

อาตมายืนยันว่า อาตมาจะพิสูจน์ได้ เป็นเอหิปัสสโก ธรรมะของพระพุทธเจ้า สามารถพิสูจน์ได้ ไปโปรดเปรต ไอ้ที่จะเที่ยวได้กรวดน้ำไปให้กันนั่นน่ะ ใครมั่งพิสูจน์ได้ มันไม่ใช่ธรรมะ เป็นสวากขาตธรรม พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว แต่เขาเอาไปทำผิดพลาดแล้ว ไม่ถูกต้องแล้ว อย่างนี้ เป็นต้น เพราะฉะนั้น บุญนี่ มันเป็นของที่เห็นได้ มีทาน มีเสียสละ มีศีล เห็นได้เป็นคนมีศีล มีภาวนามัย เห็นได้น่ะ มีอปจายนมัย เป็นคนมีความอ่อนน้อม ถ่อมตน เห็นได้ มีเวยยาวัจมัย เป็นคนขวนขวาย ไม่ใช่คนเฉื่อยแฉะ เฉื่อยชาเห็นได้ พิสูจน์ได้ เป็นสวากขาตธรรม แม้เราจะฝืนใจ ทำกุศล หรือสร้างสิ่งที่ดี สิ่งที่เป็นบุญเหล่านี้ เราจะฝืนใจอยู่ เราก็ยังเป็นผู้ที่ อยู่ในสภาพที่เป็นบุญ เป็นกิริยาที่ดี ก็ไม่เห็นจะแปลก

ยิ่งผู้ใด ไม่ฝืนเลย เป็นคนมีทานมัยก็ไม่ต้องฝืน มีศีลมัยก็สบาย เป็นปรกติ มีภาวนามัย มีผลแห่ง ความเป็นอยู่สุข มีเมตตาวิหาร มีสุญตวิหาร อาศัยสบายน่ะ เป็นคนมีสิ่งที่ได้อาศัย อย่างสบายแล้ว เป็นคนมี ความอ่อนน้อม อปจายนมัย มีเวยยาวัจมัย มีความขวนขวายสร้างสรรไป ขยัน หมั่นเพียร มีการช่วยเหลือเปรตได้ เห็นได้ พิสูจน์ได้ว่า มีความช่วยเหลือ เป็นการช่วยเหลือเปรต ได้จริง ๆ จะแปลความว่า แบ่งส่วนบุญให้เปรตก็ตาม ช่วยเหลือเปรตได้จริง ๆ เปรตอยู่ไหน ก็รู้ว่า เปรตคืออะไร มีความยินดีว่า เปรตได้รับส่วนบุญนั้น ก็ยินดี เห็นอยู่ อนุโมทนากับเปรต ที่ได้รับส่วนบุญนั้น เห็นจริง เห็นจริง ๆ พิสูจน์ได้จริง ๆ มีธัมมัสสวนมัย มีการฟังธรรม พวกเราฟังธรรม มีการฟังธรรม เป็นบุญน่ะ หลายคน จะรู้สึกว่า โอ๊ ! พวกเรานี่ฟังธรรมกันจังเลย มันดีนี่ มีธัมมัสสวนมัย ก็ดีแล้วนี่ มีธรรมเทศนามัย ดีนี่แหละบุญ มีการพิสูจน์ ความเห็น ความตรง ทิฏฐุชุกรรม มีการกระทำที่ถูก ถูกตามความเห็น ถูกตรง ตามความจริง นี่เป็นลักษณะบุญที่มีจริง

ทุกวันนี้ เราได้พยายามพัฒนา เอาศาสนาพระพุทธเจ้ามาปัดฝุ่น หรือเอามาให้พวกเราชาวพุทธ ได้พิสูจน์ มันก็ได้พิสูจน์ ขึ้นมาถึงวันนี้ ก็มีหมู่ มีมวล มีพรรค แล้วพยายาม อาตมาพยายามที่จะเคี่ยว พยายามที่จะเข็น พยายามที่จะให้พวกเรา ละเอียดลึกซึ้ง ได้มีภูมิเลื่อนชั้นขึ้นไปอีก ๆ ๆ ๆ ๆ ก็พยายามอยู่ อย่างพยายามล่ะ จะว่ายังไงก็แล้วแต่เถอะ ก็พยายามทุกวิถีทาง ว่าจะเอาอะไรอาศัย อาศัยกุศลโลบายน่ะ อาศัยอะไร อุบายอันเป็นกุศลต่าง ๆ จะใช้อุปกรณ์ จะใช้เครื่องมือ จะใช้ คุณลักษณะ ท่าทีลีลาพฤติกรรม องค์ประกอบอย่างนั้น อย่างนี้ ให้มันเป็นศิลปะ อันเป็นมงคล อันอุดม เพื่อที่จะได้ทำให้จิตวิญญาณ ของเราดีขึ้นได้ สูงขึ้นได้ พัฒนาขึ้นอีก เพียรอยู่ พยายามอยู่ พวกเราก็ได้ชื่อว่า ช่วยเหลือเกื้อกูลรุ่นน้อง รุ่นนอก ๆ บาง ๆ จาง ๆ เบื้องต้นอะไรไป อาตมาก็พยายาม เข็นพวกเรา ที่สูงแล้ว ให้สูงขึ้นไป ขึ้นไป ๆ

จะเห็นได้ว่า อาตมาทุกวันนี้เทศน์ คือเทศน์สูงเทศน์ละเอียด จนกระทั่ง มีคนหลายคน พวกเรานี่ ต่อว่า อย่างท่านยุทธวโรนี่บอก แหม ! พ่อท่าน ผมฟังพ่อท่านนี่ผมเข้าใจนะ แต่ผมสงสาร คนมาฟังธรรม คนอื่นน่ะ ท่านพูดอย่างไม่อายตัวเอง ว่าท่านยกตัวเองนะ ท่านยุทธวโร ผมฟังธรรม พ่อท่านนี่ เข้าใจนะ โอ้โห ! พ่อท่านเทศน์สูงเหลือเกิน ทุกวันนี้ละเอียด ผมฟังแล้ว โอ้โห ! บางอย่าง ผมก็เข้าใจไม่ถึง ท่านก็ว่าเหมือนกัน ยาก แต่ผมรู้ว่ามันสูง ชัด ชัดนะ โอ้โห ! ผมไม่เห็นใคร เทศน์ชัด อย่างพ่อท่าน ชัดจริง ๆ ผมรู้ ผมเข้าใจ แต่ผมสงสาร คนอื่นน่ะพ่อท่าน เขาจะฟังรู้เรื่องหรือ ท่านพูดจริงนะ แต่ฟังในแง่หนึ่ง เหมือนท่านดูถูกคนอื่น แต่ที่จริง ท่านเมตตาคนอื่น ท่านสงสาร คนอื่น ว่าพ่อท่านทำไมเทศน์สูงนัก อย่างวันอาทิตย์นี้ ทำไมคนฆราวาสเขา เขาจะฟังรู้เรื่องหรือ ผมน่ะรู้เรื่อง แต่ผมสงสารเขาน่ะ ท่านว่าอย่างนั้น

จริง อาตมารู้ คนที่ไปวันอาทิตย์ วันเสาร์ ไปที่สันติอโศกบ้าง ปฐมอโศกบ้างก็ตาม จริง มีใหม่บ้าง แต่ส่วนใหญ่นั้น คนเก่า ส่วนใหญ่นั้น เป็นคนที่ได้ฟังธรรมเสมอ ๆ คนใหม่น้อยกว่าคนเก่า เสมอ คุณดูได้เลย เพราะฉะนั้น อาตมาจะเทศน์นี่ แม้ว่าอาตมาจะเทศน์ละเอียด สูงขึ้น อาตมาก็ ประมาณ ตามกาละเหมือนกัน ไม่ใช่ว่า เทศน์ในวันเสาร์ วันอาทิตย์นั้น สูงเหมือนอย่างกับเทศน์ กับพวกเรา ใน ๆ นี่ทีเดียว ไม่หรอก ไม่เหมือน ไม่เหมือนนะ คุณสังเกตได้ว่า ไม่เหมือน ละเอียดกว่ากัน สูงกว่ากัน มีอะไรต่ออะไร มันต่างกัน คุณสังเกตได้ เพราะว่าเราฟังธรรมกันทุกวัน เราก็รู้กันอยู่ ต่างกัน ไม่เหมือนกัน ทีเดียวหรอก

สิ่งที่เราได้ประสบกันอยู่นี้ อย่าว่าแต่เรา ใคร ๆ ก็ตาม หลายผู้หลายคน ที่เขาพอมีปฏิภาณ ปัญญา เขามาพบ มาเห็นพวกเราแล้ว เขาก็จะบอก อย่างที่เขาได้บอกกันมาว่า พวกเรานี่ มีบุญ พวกเรานี่ มีโอกาสอันดี ที่ได้เป็นเช่นนี้ ที่ทำได้เช่นนี้ เพราะฉะนั้น ทุกวันนี้นี่ ในภพในภูมิที่พวกเรา กำลังแก้ไข กันอยู่นี่ ตัวติดภพน่ะ ตอนนี้ก็รู้สึกว่า เราจะเรียนกันเรื่อง ภวตัณหา เรื่องพวกรู ถูกทำลายน่ะ ทุกวันนี้ หมายความว่า รูหรือถ้ำ ถูกทำลาย พวกมนุษย์รู มนุษย์ถ้ำ มนุษย์อยู่ในภพ ถูกทำลายกันขึ้นมา หลายคน ร่ำร้องว่าเจ็บปวด ไม่อยากออกจากรู ไม่อยากทิ้งถ้ำ นั่นแสดงว่า รู้ตัวแล้ว แสดงว่าเข้าใจ น่ะ ยอม เมื่อกลางวันนี่ก็มี เขียนสารภาพมา เป็นกลอนเลย บอกว่า ลูกจะขอทิ้งรูแล้วละ เป็นกลอน เลยนะ ยาว อาตมาไม่ได้หยิบมาด้วย กลอน เขียนพอใช้ทีเดียว มีฝีมือในการเขียนกลอน พอใช้น่ะ ว่า แหม ! เจ็บแสบนะ ไอ้มาตีภพ มาตีรู ตีถ้ำของลูกนี่ มันเจ็บแสบน่ะ แต่ก็รู้ว่า เจตนาดี ก็พยายามจะทิ้ง นั่นแสดงว่า เรารู้ตัว เกิดชาคริยา เกิดเข้าใจ เห็นจริง แต่จะต้องทิ้งก็ต้องทิ้ง เหมือนเราเคย ปฏิบัติมา ตั้งแต่ฐานต้น ๆ เคยทิ้งอบายมุข แต่ก่อนนี้ โอ้โฮ ! บางอย่างนี้ เรากว่า จะทิ้งมันมา ก็ช้านาน ก็รู้แล้วว่า มันไม่ดี จะทิ้งอบายมุข ก็นานกว่าจะทิ้งได้มาสำเร็จ บางคน มีบารมี ทั้งไม่นาน ก็เอาเถอะ ดีไป หลายอย่าง ในด้านของกาม รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ความสวย ความงาม ความไพเราะ ความอร่อย หลาย ๆ อย่าง

แต่ก่อนเราก็ไม่รู้ พอมารู้ เราก็มาทิ้ง มันก็ทิ้งยาก มันก็โหยหา มันก็ไม่อยากทิ้ง เช่นเดียวกันกับ ที่เรา กำลังจะตี ให้ออกจากภพ ให้ออกจาก สิ่งที่เราติด เรายึด ว่ามันว่าง มันง่าย มันเบา มันชอบ มันเป็นอารมณ์ที่เพลินใจ มันเป็นสิ่งที่เราสมใจ ต้องการอาศัย แล้วจะไม่ให้คุณ ไปติดไปยึด ในสิ่ง อย่างนั้น นั่นแหละ มันก็เหมือนกัน แต่มันต่างกัน มันต่าง ที่มันฐานะต่างกัน เหตุปัจจัยต่างกัน แต่มันก็เหมือนกันกับที่ ทิ้งบุหรี่ ทิ้งเหล้า ทิ้งลิปสติก ทิ้งเสื้อผ้าหน้าแพร เครื่องแต่งตัว หรือทิ้ง บ้านช่อง เรือนชาน ทรัพย์สมบัติอะไร มันก็เหมือนกัน แต่เหตุปัจจัยต่างกัน เท่านั้น เพราะฉะนั้น อาการที่อาลัย อาวรณ์ มันก็ต่างกัน ยิ่งมันสูงขึ้น มันเนียนขึ้น ถ้าจะไปติด วัตถุสมบัติ ติดอบายมุข ติดไอ้ของนอกตัว ต้องสัมผัสทางตา หู จมูก ลิ้น กาย มันก็ยังเหน็ดเหนื่อย มันก็ยังเป็นชิ้นเป็นอัน ยังลำบาก ลำบน

แต่เรามาติดภพ ภวตัณหานี่ มันอยู่ในจิต ในวิญญาณ มันอยู่ใน ๆ มันไม่ต้องไปแย่งชิงใคร มันไม่ต้อง เป็นชิ้นเป็นอัน หลบอยู่ที่ไหน มุมไหน เลี้ยวไหน รูไหน มันเอาได้ เอาเมื่อไหร่ มันก็อยู่ในตัวเรา มันก็ว่า เอ๊ ! มันก็ไม่ลำบาก ไม่ได้เบียดเบียนใครมากมายนี่นะ ไม่ได้เดือดร้อนคนอื่นเขานี่นะ มันตัวเราเอง นี่นะ มันก็รู้นะ แต่มันก็ต้องทิ้ง เพราะฉะนั้น มันถึงติด ติดง่าย แล้วมันก็ไม่อยากทิ้ง เพราะมันมี เหตุผล เอ๊ ! เราก็ไม่ได้ไปแย่งใคร ไม่ได้ไปเบียดเบียนใคร ก็แค่นี้ ทำไมไม่ให้หนูละ เพราะมันอยู่รู ก็เรียกมันหนู เสียก็แล้วกัน ทำไมไม่ให้ดิฉัน ทำไมไม่ให้ผมล่ะ ก็ผมไม่ได้เบียดเบียนใคร จริง เพราะฉะนั้น เหตุผลเหล่านี้น่ะ คุณคิดดี ๆ มันเป็นปฏิภาณของคุณ มันเป็นเหตุผล ที่บอกตัวเอง แล้วมันให้คะแนน แก่ตัวเอง เพื่อจะไม่ทิ้ง เพื่อจะติด จะยึดอีกอยู่ต่อไป มันมีเหตุผลมากกว่านี้ แล้วมันก็หลงอารมณ์ นั่นแหละด้วย หลงรส แต่มันเป็นโลกียรส อย่าเข้าใจว่า นั่นเป็น วิมุตติรส ยังเป็นโลกียรส ยังต้องอาศัยอันนั้นเสพ ยังบำบัดบำเรอ เพราะฉะนั้น ยังไม่สะอาดหรอก สูงกว่านี้ ต้องทำให้ได้

ผู้ใดตื่น ผู้ใดรู้ ผู้ใดเข้าใจ เป็นสัมมาทิฐิ และผู้ใดตั้งใจพากเพียร เพื่อที่จะปลดปล่อย หลุดพ้น ออกมา ให้ได้อีก ผู้นั้นก็มีหวังที่จะภูมิสูงขึ้นไปอีก พ้นกามภพ พ้นภวภพ จนกระทั่ง ไปถึงวิภวภพ นั่นแหละ เราก็จะได้พูดกัน ในทำวัตรเช้า ในเรื่องของ วิภวภพ ถึงเวลา ก็คงจะได้พูดกันอีกบ้าง จะต้องขยาย เพิ่มเติมขึ้นไป วิภวภพก็ไม่ได้ตรงกับเขาที่พูดกัน ที่สอนกันทีเดียว อันนี้อาตมา ก็ได้ เขียนมาแล้ว สาธยายออกไว้แล้ว ตั้งนานมาแล้ว ใน คนคืออะไร ว่าวิภวภพ มันไม่ได้เหมือนเขาพูด นั่นเขาพูดนั่น มันก็มี ก็ใช่ ใช่ พื้นฐานต้น ๆ ง่าย ๆ แก้กลับเท่านั้น ในเบื้องต้นจริง ๆ น่ะ ก็ถูก แต่วิภวตัณหา ว่าแค่ว่า ไม่อยากได้ ไม่อยากมี ไม่อยากเป็น ก็ถูก แต่แค่นั้น มันตื้นเขินมาก มันยังมี ความลึกซึ้ง ของวิภวภพ ที่ลึกซึ้ง สูงส่งมาก ถึงขั้นอุดมการณ์ ถึงขั้นสิ่งที่ มันจะต้อง ละตัวตน ชั้นสูงส่ง และหลายอย่างต้องอาศัย วิภวตัณหาด้วย

ตัณหาคำนี้ แปลโดยภาษว่า เป็นความอยากใคร่ เป็นธรรมกาโม เป็นอากังขาวจร เป็นอิจฉาวจร เป็นตัว ปรารถนาดี ต้องใช้กำลังอันนี้ อยู่สร้างสรร นะ มนุษย์น่ะ แต่ไม่ได้เสพ ของตัวเองนะ เป็นทุกข์ด้วย เป็นอาหารปริเยฏฐิทุกข์ เป็นทุกข์ที่งานการ หน้าที่ของพระอริยเจ้า ของผู้ประเสริฐ แต่ทุกข์นี่ เราไม่มีปัญหา ผู้รู้แล้ว ผู้ที่เข้าใจจริงแล้ว ท่านไม่มีปัญหาจริง ๆ น่ะ สิ่งเหล่านี้นี่ มันลึกซึ้ง สูงส่งขึ้นไปเรื่อย ๆ ที่เราก็จะพิสูจน์กัน

หันกลับมาถึงตัวเองอีกนิดหนึ่ง ที่พูดถึงตัวเองนี่ อย่าหาว่าเป็นคนที่เอาตัวเอง เข้ามาเปิดเผย แล้วก็ เอามาอ้างอิง เอามาอวดตัว หรือ เอามาใช้จิตวิทยา เพื่อที่จะให้คุณมาศรัทธา เลื่อมใส ยอมเชื่อถือ อย่าเข้าใจ เป็นเชิงอย่างนั้น แต่เป็นการเปิดเผยที่ บางอย่าง สิ่งคุณจะรู้เอง ไม่ได้หรอกน่ะ เพราะฉะนั้น ก็เปิดเผยเท่าที่ควรเปิดเผย บอกที่ควรบอก ดังได้กล่าวไป ให้คิดนิดหนึ่งว่า

อาตมานั้น เกิดมาเป็นมนุษย์ชาตินี้นี่ เป็นมนุษย์ที่จะมาทำงานนี้ และเป็นมนุษย์ที่จะมาทำงานนี้ อย่างไม่มี ครูบา อาจารย์ อันนี้เป็นเรื่องจริง ที่พวกคุณก็จะต้องเชื่อ ว่าอาตมา ไม่มีครูบาอาจารย์ นอกจาก ไม่มีครูบาอาจารย์แล้ว ชีวิตไม่ได้ไปร่ำเรียนมาด้วย ไม่ได้ไปร่ำเรียนธรรมะ มาจากสำนัก ตักศิลาไหน ไม่ได้เป็นเหมือนกับสำนักไหน ไม่ได้ไปถ่ายทอดเอามา จากสำนักไหน ไม่ได้ไปอินเดีย ไม่ได้ไปเนปาล ไม่ได้ไปเอามาจากไหน พระเยซูเขายังมานั่งสันนิษฐานว่า คงไปอินเดีย ไปเรียนมาจาก ของพระพุทธเจ้า แล้วก็ไปสอนที่ ตะวันออกกลางนั้น พระเยซู เขายังสันนิษฐานอย่างนั้น พวกคุณ เป็นพยานให้อาตมานะ อาตมาไม่เคยหลบเลี่ยงไป หลบไปเรียนที่อินเดีย หลบไปเรียนที่เนปาล หลบไปเรียนที่ไหน ก็แล้วแต่ สำนักวิเศษของศาสนาพุทธนี่ ไม่ได้ไปเรียนที่ไหน เป็นพยานให้นะ ทุกวันนี้ ยิ่งมี ปัจฉาสมณะ ประกบอยู่ตลอดเวลา แม้แต่เข้าส้วม ก็ยังอยู่หน้าห้องส้วมเลย เพราะฉะนั้น จะหลบไปเรียนที่ไหน ไม่ได้ทั้งนั้น เอาเถอะ ถึงไม่เรียนก็ไม่มีปัญหานะ นี่ล่ะ เป็นสิ่งจริง ที่คุณจะต้อง เอามาคิดบ้าง แต่ว่าไม่ใช่บังคับ ให้คุณคิดหรอกนะ แต่ว่าเอามายืนยัน ให้คุณฟังนะว่า อาตมาไม่ได้เรียนนะ

อาตมาเคยบอกพวกเราว่า มันเป็นบุญบารมีของอาตมาแต่ปางบรรพ์ อาตมามีของเดิม ของอาตมา มา อาตมาไม่ได้ศึกษา อะไรใหม่เท่าไหร่หรอก born to be, have to be มันเกิดมาพร้อม มันก็ต้องมี ต้องเป็นอย่างนี้ มันเกิดมาเป็นอย่างนี้ มันมีแล้ว อันนี้เป็นเรื่องที่พิสูจน์ความจริง อันหนึ่ง น่าคิดนะ หรือคุณว่า ไม่น่าคิด ก็ไม่ต้องคิด ประเดี๋ยวจะปวดหัว หรือว่าเสียดายที่จะคิด ก็ไม่เป็นไร ก็ไม่ต้องคิด แต่ผู้ใดคิดว่า มันน่าคิด ลองคิดดู ลองคิดดู อาตมาไม่ได้เรียนเลยนี่ ไม่ได้ไปรับ เอามาจากอะไร แล้วมัน มีดีไหมล่ะ อาตมาควักเอาอะไรออกมา ของตัวเองออกมานี่ มันมีดีบ้างไหม มันดูประหลาด ลึกซึ้ง พิเศษ เอ๊ะ ! แปลก มันเป็นเนื้อหา สาระสัจจะที่น่าทึ่ง มันมีมาจากไหนล่ะ ทุกอย่าง มาแต่เหตุ นะ พระพุทธเจ้าไม่เคยสอนทุกอย่างลอย ๆ ลมมา หยิบมา ควักมา จากอากาศ สายลม แสงแดด ไม่ใช่นะ มันมาจากเหตุที่อาตมา ได้บำเพ็ญมาแล้ว ได้เรียนมาแล้ว ได้ฝึกฝน สั่งสม มาแล้ว มันก็มีเป็น กัมมทายาโท เป็นมรดกของอาตมาเอง อาตมาทำทุกวันนี้ ทำให้ช่ำชอง ทำให้มี สิ่งที่เจริญขึ้น โดยทฤษฎี ชาตินี้อาตมาไม่ต้องอาศัย นี่ขยายความให้ฟัง เพิ่มเติมขึ้น

ทุกวันนี้อาตมาอาศัยปฏิบัติเท่านั้น แล้วไม่ได้ปฏิบัติอะไรหรอก ปฏิบัติหน้าที่ครู อาตมามาปฏิบัติ หน้าที่ครู ทฤษฎีอยู่ไหน มีมาตั้งแต่เกิด แล้วก็มาฝึกสอน อาตมาเป็นพระโพธิสัตว์ ปางนี้นี่ ทฤษฎี เท่านี้ ฝึกสอนเสียให้เก่ง นี่เดี๋ยวก็จะต้องไปสอบไล่ โดยโวหาร มันก็คือความจริง ที่เราจะต้อง ศึกษา เรียนรู้ ที่จริงโดยสัจจะ มันก็จะตอบเอง ไม่มีใครสามารถ มาสอบให้เรา พระโพธิสัตว์ พระพุทธเจ้า ไม่มีใครมาเป็นครู ที่จะตัดสินให้ข้อสอบ ให้คะแนนข้อสอบ ไม่มีหรอก สัจจะทั้งนั้น เป็นตัวให้คะแนน ข้อสอบ

อาตมามาเป็นครู ที่มีทฤษฎีมาแล้ว เพราะฉะนั้น ตอนนี้มาฝึกการสอน มาทำการสอน เพราะ บางอย่าง มันอาจจะผิดพลาดบ้าง ก็เป็นได้ นี่บอกก่อน บอกให้รู้ บางอย่าง อาจจะผิดพลาดบ้าง แต่ต้องระวัง อาตมาไม่ได้ทำเล่น เป็นเรื่องยิ่งใหญ่ เป็นเรื่องสำคัญ จะให้ผิดพลาดไม่ได้ ผิดพลาด มันเป็นความบาป เมื่อเราเรียนธรรมะมานี่ ใครอยากบาปเล่า ใครอยากผิดเล่า ไม่มีใครอยาก ผิดหรอก โดยเฉพาะคำว่า อย่าประมาทนี่ มันเป็นเรื่องสำคัญมาก อาตมาต้องเตือนตนเสมอ อย่าประมาทนะ อย่าประมาทนะ ยิ่งคนอย่างอาตมาบาปนี่นะ มันบาปใหญ่ บาปโต กว่าพวกคุณนะ เพราะสิ่งที่ทำ ไม่ใช่สิ่งเล็ก ๆ สิ่งที่ทำนั้น มันเป็นสิ่งใหญ่ ถ้าจะรับโทษทัณฑ์แล้ว มันต้องรับ โทษทัณฑ์หนัก เด็กเล็ก ๆ ก็แค่ตีมือแปะหนึ่ง เด็กโตต้องหวดด้วยไม้เรียว คนโต ๆ เป็นผู้ใหญ่แล้ว ต้องจับขังคุก ทรมาน โทษทัณฑ์มันก็ต้องหนักขึ้น ตามลำดับอย่างนั้น คนโตจะทำสิ่งที่มี สติสัมปชัญญะ ปัญญา รู้สึกนึก รู้สัมปชัญญะที่ดีแล้ว ก็ต้องทำสิ่งที่ดีขึ้น

เหมือนอย่างผู้ใหญ่ในสังคม ทำสิ่งที่ไม่ดีไม่ควร แม้เล็กแม้น้อย มันก็ดู มันผิดใหญ่นะ แต่ถ้าอย่าง ผู้ใหญ่ ที่เขาทำนั่นล่ะนะ เด็ก ๆ เล็ก ๆ ทำนะ ไม่ได้มีอะไรมากมายนี่ คือบาปไม่มาก นี่ก็ค่าของบาป ค่าของบุญ มันก็ต่างกันอย่างนี้เหมือนกัน แต่พอพูดอย่างนี้ พวกคุณก็เลยได้ใจ ไม่เป็นไรหรอก เราพวก เล็กน้อย ทำบาป ก็คงไม่บาปมาก ระวังนะ พูดไปแล้ว ก็ต้องกำกับวงเล็บ ไว้ให้เรื่อย ไม่เช่นนั้นแล้ว ก็จะตีกินน่ะ เป็นพวกรู้มาก รู้มากก็ยากนาน เพราะว่าตัวเอง มันทำไม่ถูกสัจจะ เพราะฉะนั้น ที่พูดไปนี้ ก็ถึงเตือนเอาไว้ บอกให้ระวัง

ถึงแม้อาตมาจะพูดอย่างนี้ ก็ไม่ได้หมายความว่า คุณจะเอาไปคิดเล่น แล้วเอาไปตีกินว่า อ๋อ ! ถ้าอย่างนั้น เราก็ทำบาปน้อย ๆ ไม่เป็นไร ไม่ใช่ ก็บาปน้อยของคุณ ก็มีบุญน้อย บาปน้อย บุญน้อย มันก็เลยลบกัน หายไปหมด ก็เลยไม่ต้องเดินทางพอดี ฟังกันให้ดี ๆ เห็นไหม โดยสัจจะความจริงแล้ว หิริโอตตัปปะ ความเกรงกลัวต่อบาป ความละอายต่อบาป เกรงกลัวต่อบาปนั้น มันเป็นสาระสัจจะ ที่จริงในมนุษย์ ผู้ที่มีบุญบารมี มีภูมิสูงแล้วมีหิริตัวสำคัญ มีความเกรงกลัวต่อบาป มีโอตตัปปะ ความเกรงกลัว มีหิริ ความละอายต่อบาปสูง คนใดที่ไม่มีหิริโอตตัปปะสูง คนนั้นภูมิยังต่ำอยู่ คนที่มี หิริสูง ภูมิธรรมสูง เป็นเทวดาชั้นสูง มันละอายจริง ๆ มันกลัวบาปจริง ๆ มันรู้บาปคือบาปนะ ใครว่าบาป ไม่จริงบ้าง ในนี้ บาปจริง บุญก็จริงนะ คุณนะ คุณไปเล่นกับความจริงได้หรือ เพราะฉะนั้น คนที่รู้ยิ่งรู้จริง หยั่งเข้าถึงสัจจะความจริง บาปก็จริง บุญก็จริง ชัด ๆ แล้วนี่นะ จะไปทำเล่น กับของจริง ได้ยังไงเล่า มันละอาย หรือว่ามันเกรงกลัว มันต้องละอายจริง เกรงกลัวจริง มันจึงจะเป็น ผู้มีภูมิสูงจริง ๆ เป็นเทวดาศักดิ์ใหญ่ เป็นเทวดาชั้นสูงจริง เทวดาชั้นเล็ก ขี้หมูขี้หมา เท่านั้นแหละ มันถึงไม่ค่อยละอาย ไม่ค่อยกลัวบาป บาปก็บาปวะ เล่นมันอยู่เรื่อยน่ะ มันก็ต่ำอยู่ อย่างนั้นเอง มันจะไปสูงขึ้นได้บ้าง ฟังดี ๆ ที่อธิบายพวกนี้ เป็นเนื้อหาของสาระสัจจะ ทั้งสิ้น ที่คุณฟัง ด้วยปัญญา ฟังด้วยดีน่ะ สุสสูสัง ลภเต ปัญญัง ฟังด้วยดี จะได้ปัญญาลึกซึ้ง จะได้เข้าใจว่า ที่พูดนี่เป็นเรื่องดี เป็นเรื่องสำคัญ

เราจะต้องทำ ต้องเข้าใจ เอ๊อ ! หิรินี่ เป็นเรื่องสำคัญ โอตตัปปะนี่ เป็นเรื่องสำคัญ เป็นเรื่องจริง ของคนที่มีจริง เป็นจริงน่ะ เพราะฉะนั้น ถ้าผู้ใดเหลาะ ๆ แหละ ๆ รู้เหมือนกันว่า มันไม่ค่อยดี มันเป็นบาป เป็นอกุศล ช่างมันเถอะ หยวน นิด ๆ หน่อย ๆ น่ะ คนเหล่านั้น ยังไม่ใช่เทวดาชั้นสูง ยังไม่ใช่เทวดาแท้ ยังไม่เกิดความจริงในใจว่า เขาต้องละอายนะ บาปนี่ เขาต้องเกรงกลัวนะ บาปนี่ เพราะฉะนั้น คนจริงมันจะจริง คนไม่จริงมันก็ไม่จริง พูดเหมือนกำปั้นทุบดินนะ แต่ฟังดี ๆ ฟังดี ๆ น่ะ ฟังดี ๆ แล้วคุณจะเข้าใจ

ถ้าผู้ใดเห็นจริง เกิดญาณปัญญาว่า โอ ! ความจริงมันเป็นอย่างนี้เอง เราประมาทต่อความจริง อย่างนี้เอง ไปเล่นกับมันได้หรือ บาป เราก็เล่นกับมันอยู่อย่างนี้เอง เราถึงไม่สูง เราถึงไม่เจริญ เราถึงไม่พัฒนาตนเองขึ้นได้ เพราะฉะนั้น พยายามศึกษาความจริง เหล่านี้ให้จริง ศึกษาให้ดี ๆ น่ะ


เอ้า ! ก็กลับมาถึงเนื้อหาคำว่า ภูฟ้า ผาน้ำ เมื่อเราได้ศึกษาเล่าเรียนสัจจะ เราก็เป็นคนไม่ใช่ไป ปั้นลม ๆ แล้ง ๆ ไปปั้นฟ้า มาเป็นภูเขา ไปปั้นน้ำมาเป็นแผ่นผา ไปปั้นลมมาให้เป็นเสา ไปปั้นทราย มาให้เป็น ทองคำ อะไรเล่นอยู่ เราก็เป็นคนที่มีเนื้อหาสาระ เป็นพวกโลกุตระที่มีอภินิหาร ทำสิ่งที่ ไม่น่า จะเป็นไปได้ ให้เกิดความเป็นไปได้ คนที่หมกมุ่นในกาม ถูกกามอาบย้อมอยู่ ก็ละกามมาได้ ล้างกาม พ้นหลุด จากกามมาได้ เป็นความอัศจรรย์จริงหนอ คำตรัสนี้ยิ่งใหญ่ คนที่มีมานะ ถือดีถือตัว หยิ่งผยองอยู่ ก็สามารถหลุดพ้นจางคลาย ออกมาได้จากมานะ การถือดี การถือตัว เป็นความ อัศจรรย์ จริงหนอ เป็นอภินิหาร อภินิหารจริง ๆ แปลกประหลาด

อาตมาเคยพูดบ่อย ๆ ว่า กินเนสบุ๊กส์นี่ ไอ้ที่มันไปจดหมายมหัศจรรย์ แปลกประหลาดในโลก มันทำไม ไม่มาจดเอาของเราชาวอโศก นี่สักที อาตมาพูดบ่อย ๆ ที่จริงไม่ได้พูดอะไรหรอก พูดเล่น เพราะอาตมา ก็ไม่เชื่อเหมือนกันว่า คนที่จดกินเนสบุ๊กส์นี่ กินเนสบุกส์ ที่มันไปบันทึกลงไป เป็นสถิติ แห่งความประหลาดนี่ อาตมาไม่เชื่อว่า คนที่เป็นกรรมการ ทำงานอยู่ในนั้น มันจะมีภูมิรู้ โลกุตรธรรม ว่าเป็นของประหลาดได้ง่าย ๆ อาตมาก็รู้อยู่ว่า ไม่ค่อยจะรู้หรอก ไม่ใช่ดูถูกเขานะ แต่มันก็ดูถูก ไปแล้วล่ะนะ มันพูดเป็นคารม มันก็เหมือนดูถูก แต่ว่าใจไม่ได้ดูถูกเขาหรอก แต่ว่ามันก็เป็นคารม ความจริง เขาก็ไม่ค่อยรู้หรอก เพราะฉะนั้น เขาจะมาเห็นว่า นี่แปลกประหลาดนั้นน่ะยาก จนกว่า จะมีรูปธรรม ที่มันเปรียบเทียบกับโลกเขานี่ เอ๊อ ! นี่พิลึกเว้ย ทำไมมันมาจน แล้วมันไปสุขได้ยังไง มันมากินน้อย ใช้น้อยอยู่อย่างนี้ มันเสียเปรียบให้แก่เขาอยู่อย่างนี้ ในสังคม ดู ๆ แล้ว มันเสียเปรียบ ให้สังคมเขาอยู่อย่างนี้ เอ๊ ! แล้วมันก็เบิกบาน แจ่มใส โอ๊ ! ร่าเริงดีแฮะ คนพวกนี้ มันบ้าหรือเมา ทำไมมันมี ความคิดนึกอย่างนี้ ถ้ามันเป็นรูปธรรม เป็นแบบอย่างที่ดี เป็นระบบที่สอดคล้องเนียนใน วิเศษ สวย มันก็จะเกิดความเปรียบเทียบ มันก็จะเกิดสภาพที่เด่นชัด เขาอาจจะเห็นได้รู้ได้ ในอนาคต มันแปลกนะ แปลก มหัศจรรย์น่ะ ที่พวกคุณมาอย่างนี้ ๆ อยู่ได้

บอกจริง ๆ ปีนี้อาตมาไม่นึกว่าจะมีคนมากขึ้นเท่านี้หรอก เพราะว่าการจัดวันเวลา ก็จัดวันจันทร์ เขาถาม หลายคนก็ถาม ทำไมจัดวันจันทร์ ทำไมไม่จัด วันที่เขาจะเริ่มเดินทาง มาได้ง่าย ๆ เราเคยเดินทาง เย็นวันศุกร์ วันเสาร์ก็ปิด เป็นวันหยุดเสาร์อาทิตย์ แล้วก็มากันได้เยอะ ๆ ทำไมปีนี้ ไปเริ่มเอาวันจันทร์ แล้วก็ไม่ประกาศอะไรกันมาก ไม่เอะอะมะเทิ่ง อะไรกันมาก อย่าไปเที่ยวได้ดึง คนนอกอะไรมา ก็กำชับกำชากันพอสมควร โฆษณากันก็ไม่มากไม่มายอะไร ในหมู่ในนะ โฆษณานอก นั่น เราไม่ได้โฆษณาอยู่แล้ว อาตมาก็จะดู เอ๊ ! ปีนี้มันจะมากไหม มันจะน้อยไหม วันแรกก็ดูว่า เออ ! ประมาณนี้ ก็คิดว่า เออ ! มันคงไม่มากนัก วันแรกนะ อาตมาก็รู้สึกอย่างนั้น แต่ก็เข้าใจเหมือนกันว่า เดี๋ยวถึงวันหยุดบ้าง อย่างที่วันนี้ พรุ่งนี้ มะรืนนี้ มันจะเข้าวันเสาร์ วันอาทิตย์อีก มันจะมีมากกว่าเก่าไหม ก็จะดู ก็คิดว่า จะไม่มากเท่าปีกลายนี้ ด้วยซ้ำไปนะ ด้วยเหตุ ปัจจัย หลายอย่าง ที่อาตมาว่า อาตมาลองดูนะ ที่จริงอาตมามีเจตนาหลายอย่าง เจตนาจะลอง ดูซิว่า คนมันจะมีเพิ่ม มีลดยังไง อะไรบ้างไหม ถ้าเผื่อว่ายังไง ก็ไม่เป็นไรหรอก คนที่มันมีอินทรีย์พละ จะมางานนี้ ก็มา เคี่ยวเข็นกัน หรือว่าสอนสิ่งลึก ๆ ซึ้ง ๆ น้อยคนก็ไม่เป็นไร ถ้าน้อยคนก็ยิ่งดี เราก็จะได้สอนกันแข็ง ๆ เข้ม ๆ กันขึ้นอีกบ้าง ถ้ามากคน ก็จะต้องเผื่อแผ่กันไปอีกแหละ มันก็แล้วแต่ เพราะฉะนั้น ถึงน้อยคนก็ไม่ว่า อาตมาต้องแสดงธรรมอย่างน้อยคน ดูหน้า ๆ ตา ๆ แล้วก็ เออ! ข้นๆ เข้ม ๆ อย่างนี้ ก็จะแสดง อย่างนี้ล่ะ

ก็คิดว่าจะไม่มาก นี่ปาเข้าไป ๒,๐๐๐ กว่าแล้วน่ะ สถิติเมื่อเช้า ทำวัตรเช้าก็ ๒,๒๐๐ กว่า เศษอีก ๖๐ กว่าหรือไง ๒,๒๖๔ หรือไง พอตอนก่อนฉัน ก่อนฉันดูน้อยกว่า เอ๊! หรือภาคบ่าย อาตมา ชักเลือน ๆ นะ แต่ก็หลัก ๒,๐๐๐ ๒,๑๐๐ พอ ๒,๒๐๐ แล้วก็ลดลงเหลือ ๒,๑๐๐ กว่า ๆ แต่เอาละ ในจำนวนนี้ ไม่มีปัญหาอะไร ผิดกันเล็กๆ น้อย ๆ ในระยะ ๑๐๐ คนนี่ ประมาณนี้นี่ ถือว่าไม่ได ้ผิดพลาด มากอะไร ไม่ได้น้อยมากอะไรกว่ากันเท่าไหร่ เออ ! มันก็มากกว่าเก่าอีกแหละ อาตมาก็เอ๊ ! หรือ นึกอยู่เหมือนกันว่า เราคิดว่านะ จริงๆ อาตมารู้สึกอยู่ว่า ปีนี้คงจะน้อยกว่านะ ในใจอาตมานะ แต่นี่ มาถึงวันนี้แล้วนี่ เอ๊ ! มันไม่น้อยกว่าปีที่แล้วอีกแฮะ ไม่ได้เสียใจ แล้วก็ไม่ได้ดีใจหรอกนะ มันมากกว่า หรือ มันน้อยกว่า ก็ไม่ได้เสียใจ ไม่ได้ดีใจอะไรหรอก

แต่เราอาศัยสัจจะพวกนี้เป็นองค์ประกอบ ที่อาตมาต้องตรวจตรา ต้องดูว่า ความถูกต้อง ความเป็นไป ความเจริญ ความขาด บางทีคนมากนี่ ไม่ได้หมายความว่า ความเจริญ ตัวเดียวนะ มีคนมามาก แล้วจะเอาค่า แค่เหตุผลเงื่อนไขว่า มีคนมากคือ ความเจริญ ความพัฒนา ก้าวหน้า ไม่ได้ ฟ่ามๆตื้นๆแค่นั้นไม่ได้ มีจำนวนมากๆๆๆแล้วนี่ โอ้โห! แสดงว่าเราประสบผลสำเร็จ ก้าวหน้า เจริญขึ้นแล้วนี่ อโศกจะยิ่งใหญ่ในอนาคตแล้ว ไม่ใช่ มีจำนวนมากขึ้นเฉยๆ แล้วจะถือว่าเป็นเงื่อนไข ที่ตัดสินถูกต้อง ทั้งหมดไปไม่ได้ มันมีองค์ประกอบอื่น มีเงื่อนไขอื่นอีก ที่จะต้องพิจารณาลึกซึ้งว่า มันเจริญ คืออะไรกันแน่ เงื่อนไขที่จะเป็น สิ่งที่ประกอบความเจริญนี่ มันไม่ใช่ตื้นเขินน่ะ

เมื่อทำงานขึ้นมา เราทำงานได้อย่างนี้ นี่แหละ มันจะเป็นตัวไม่ใช่พวกปั้นภูฟ้า พวกปั้นผาน้ำ แต่เพลงนี้ ที่แต่งนี่ แต่งไปเพื่อที่จะ ให้เตือนสังคมเขาว่า สังคมเขานั้นน่ะ อยู่กันอย่างปั้นภูฟ้า ปั้นผาน้ำ ปั้นทรายให้เป็นทอง ปั้นลมให้เป็นต้นเสา เขาก็ทำกันอยู่เท่านั้น เขาหลงลม ปั้นตรรกศาสตร์ ปั้นความรู้ ปั้นความคิด แล้วก็เอามาละเลงเล่น บอกแล้วว่าความคิดนี่ ไปสร้างวัตถุพอได้ แต่จะเอา ความคิดนี้ มาสร้างคน นั้นไม่ง่าย ไม่ง่าย ยากจะตาย ใช่ง่ายดาย เอาแต่ความคิด และความรู้ มาสร้างคนเฉย ๆ ไม่พอ ต้องมีสภาวะจริง ต้องมีคนจริง ต้องมีฐานะ ลำดับ ต้องมีขั้นตอน ต้องมี โสดา สกิทา อนาคา อรหันต์ ต้องมีตั้งแต่ปุถุชน กัลยาณชน ถึงขั้นโสดา สกิทา อนาคา อรหันต์ มาเพ้อ ๆ พก ๆ ตัดรอบ

พระพุทธเจ้าถึงบอกว่าลัทธิอื่น จะมีสมณะ ๔ เหล่านั้นหาได้ยาก คุณฟังออกไหม แม้แต่พุทธนี่ เดี๋ยวนี้ ทุกวันนี้ ก็มีแต่ขั้นจาก คนธรรมดา กับพระอรหันต์ บางทีเขาก็เรียก พระอรหันต์ว่าโสดา ฉันไม่ใช่โสดานี่ คำความหมายของเขา ฉันไม่ใช่โสดานี่ เขาคือพระอรหันต์นะ เขาหมายอย่างนั้นนะ คือผู้หลุดพ้น หมดกิเลสสิ้นเชิงนะ ฉันไม่ใช่พระโสดานี่ จะได้เป็นยังนั้นยังงี้ นั่นเขาหมายความว่า เขาหมดกิเลส โลภ โกรธ หลงแล้ว เขาไม่มีขั้นตอนนะ ไม่มี เขาจะไม่มีมาตรฐาน หรือมาตรการ หรือขนาดอะไร สถิติว่า โสดา หมายถึง คนขนาดไหน เดี๋ยวเราจะเรียนรู้กันอีงวดนี้ล่ะ สังโยชน์ ๑๐ นี่ สกิทา หมายถึง ขนาดไหนกันแท้ เขาไม่รู้เรื่อง รู้โดยภาษาก็หยาบเต็มที่ ยิ่งจะไปเทียบกับ สภาวะจริง อาการ ลิงคะ นิมิต ที่จริง ยากยิ่งขึ้นด้วยซ้ำ เขาจะดูไม่ออก วัดไม่เป็น รู้ไม่ได้ เพราะฉะนั้น เขาจะได้แต่ จากคนธรรมดาอีกขั้นหนึ่ง ก็นักบุญเลย จากคนธรรมดาอีกขั้นหนึ่ง ก็พระอรหันต์เลย คนพวกนี้ สังเกตได้ พอบอกอริยะกินหมากแหยะ ฯ อยู่ ก็ว่าอรหันต์แล้ว สูบบุหรี่ปุ๋ย ๆ อรหันต์แล้ว เล่นมวนโต ด้วยนะ บอกว่าอรหันต์อีก ขนาด..อะไร..กินข้าวก็ไม่ค่อยลง แต่ยังดูดบุหรี่ เขาก็ยังบอกว่า นั่นน่ะอรหันต์ ก็ยังไม่รู้เลย อาการอะไร ติดบุหรี่ได้มากกว่าข้าว คิดดูซิ แล้วก็บอกว่าเป็น พระอรหันต์กัน อย่างนี้เป็นต้น

นี่คือความไม่เข้าใจ ที่พูดนี่ก็ไม่ได้ลบหลู่อะไรหรอกนะ แต่พูดสภาวะให้คุณฟัง ยกตัวอย่าง ให้คุณฟัง คือมันตื้นเขิน กันอย่างนี้น่ะ มันตื้นเขิน พวกเราฟังแล้วก็คงจะพอเข้าใจว่า โถ ! ความหมาย แค่ขั้นนี้ สิ่งเสพย์ติดหยาบ ๆ แค่นี้ ยังไม่เข้าใจเลย ยังเป็นอริยะไม่ได้ แค่ใด ๆ แล้วไปเข้าใจผิดกัน เอาอะไร ๆ มาเรียกไม่รู้ ว่าเป็นพระอรหันต์ มักน้อยกับสันโดษ เป็นพวกมักน้อย สันโดษ ศาสนาอื่นเขาก็มี เพราะมัน หมากรุกชั้นเดียว แล้วก็ใช้แบบฤาษีกดข่มด้วย นิครนถ์ นาฏบุตร เขามักน้อยสันโดษ ยิ่งกว่าพุทธ ตั้งเป็นหลายต่อ ผ้าเขายังไม่นุ่งเลย ไม่มีสมบัติพัสถานอะไร มีแต่ของที่เอาหัวปัด เช็ดแล้วอีก มีจานชามไว้ สำหรับกินข้าว กินน้ำส่วนตัว ไม่เก็บอะไรเลย มีแส้ ไปไหนก็ปัดปื๊ด ละเอียด ละเมียดละไม มักน้อยยิ่งกว่าของพุทธ มากมาย ไม่หลงลาภ ยศ สรรเสริญ ชัดเด่น รูปธรรม ชัดกว่า โอ๊ ! เขาไม่หลงลาภ ยศ สรรเสริญ เขาไม่หลงรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส เหมือนชาวพุทธเลย เปรียบเทียบได้ เขามักน้อยกว่ามากจริง ๆ ด้วยรูปธรรมยืนยัน แข่งขันกันเมื่อไหร่ก็แพ้เขา แต่พระพุทธเจ้า ไม่รับรอง แม้แต่แค่โสดาบัน ยังไม่รับรองเลย เพราะฉะนั้น แค่เอาว่า คนที่มักน้อย สันโดษ นี่แหละ เป็นหลักมายืนยัน ว่าเป็นผู้ที่บรรลุอรหันต์ไม่ได้เลย ไม่ได้น่ะ ไม่จริง ยังไม่ใช่ลักษณะ ที่ชัดเด่น

ลักษณะโลกุตระนี่ อยู่กับมัน มีมันเสียด้วย แล้วไม่ติดมัน เหมือนกับชาวสายปัญญา สายอย่าว่า ปัญญาเลย เฉโก สายที่เฉกตา สายฉลาด เอาความฉลาดพวกนี้มาตีกิน อยู่กับมัน เหนือมัน เสร็จแล้ว ก็บำเรอตน ระวังนะพวกเรา อาตมาไม่อยากพยากรณ์ อาตมาไม่อยากพูด แต่ในพวกเรา จะมีขบถ ไม่อยากพูด แต่ก็ต้องพูด ในพวกเรานี่มันมีขบถ ไม่ใช่พวกเรา พวกไหนก็มี ก็พระพุทธเจ้า ก็มีขบถของพระพุทธเจ้า ก็ลูกศิษย์ท่านเองนั่นแหละ แล้วมันก็แฝง แล้วมันก็ซ่อน แล้วมันก็เล่นเล่ห์ เล่นเลศ แอบแฝง ปนเป ก็มันเป็น มันต้องมีคนเลว ประสมอยู่นั่นแหละ คนดีก็มีคนเลว เพราะฉะนั้น อย่าเป็นกันนะ เชื่อบาป เชื่อบุญ เชื่อสัจจะ เห็นให้จริงน่ะ อย่าไปเป็น ไปเลวอยู่ทำไม เกิดมาเป็นคน อย่าไปเลว อย่าไปซ่อน ไปแฝง ไปพราง เอาดิบเอาดีให้ได้

สรุปน่ะ เรื่องภูฟ้าผาน้ำนี้ ก็เป็นเรื่องที่เรากำลังจะพิสูจน์ตัวเอง พิสูจน์ต่อสังคม จะบอกว่า เราไปตู่สังคม ก็ใช่ ไปตู่สังคมเขาว่า เขาเองนี่ ทำอะไรกันอยู่ ทุกวันนี้เหมือนกับ เป็นพวก ภูฟ้าผาน้ำ แม้แต่ในวงการศาสนา เขาก็หลงกันเหลือเกิน ว่าเขาจะเดินทางไปสู่นิพพาน เปล่า เขายังไม่ได้เข้าใจ ทฤษฎี เขายังไม่ได้กระทำ เพราะฉะนั้น เขาก็เหมือน ปั้นฟ้าให้เป็นภูเขา ปั้นน้ำให้เป็นแผ่นผา ปั้นลมให้เป็นต้นเสา ปั้นทรายให้เป็นเงิน เป็นทอง นั่นแหละ อย่างนั้นแหละ จะปั้นบ้านเมือง ด้วยน้ำลาย อย่างนั้น เขายังไม่ได้นะ จะว่าตู่เขาก็ตู่ เพราะยังไม่สัมมาทิฐิ ยังใช้ทฤษฎี มรรคองค์ ๘ ไม่เป็น มันเพี้ยนมานาน หลายร้อยปีแล้ว ทฤษฎีนั่งหลับตา สะกดจิต เป็นแบบฤาษี เถรวาทนี่ หนักไปในทางนั้น เน้นสะกดจิต ๆ ๆ แล้วก็สร้าง มโนมยอัตตา เฟ้อฝันอยู่ในภพ ภวตัณหา ไม่เรียน แล้วยังไปหลงด้วย หลงภวตัณหา หลงภพเต็มไปหมด นั่นคือ พวกภูฟ้าผาน้ำทั้งนั้น แล้วเขาก็ หยิ่งผยอง ของเขานะ ดูถูกดูแคลนพวกเรา เอาเถอะ อย่าไปต่อโต้ต่อต้านอะไรเขา คนที่ไม่รู้ ย่อมเห็น ความถูกของคนถูก นั้นเป็นความผิด ถูกแล้วล่ะ คนที่รู้นั้น เขาจะเห็นความผิดของคนผิด นั้นถูกแล้ว ทุกทีไปน่ะ

อาตมาได้พูดแล้ว คนเขาผิดเขาก็จะเห็นความถูกของคนถูกนี้ผิด เพราะฉะนั้น เขาเองเป็นคนผิด เขาทำ ความผิดของเขาอยู่ ถูกของเขาแล้ว เมาไหม ถ้าหลับ ๆ หรี่ ๆ มันก็ฟังไม่รู้เรื่อง แต่ถ้าฟังภาษา ดี ๆ มันก็ไม่เมา ที่พูดนี่พูดความจริงน่ะ พวกเขาเป็นคนผิด เขาทำผิดนะ เป็นความผิด แล้วเขาก็เป็น คนผิด ก็ถูกแล้วล่ะของเขา เขาก็ช่างพูดอย่างนี้ เขาก็ย่อมดูถูกเรา เขาก็ดูถูกเรา เขาก็หาว่าเราเป็น คนผิด เพราะผู้ที่ไม่รู้ เขาจะเห็นความถูกของคนถูกเป็นความผิด จริง ๆ เป็นอยู่อย่างนั้น เพราะฉะนั้น เราก็พยายาม ถ้าเห็นว่าเป็นประโยชน์ตน อันที่ควรจะแสวงหา เกิดมาเป็นมนุษย์ อีกกี่ชาติ จะเกิด อีกล้านชาติ เรื่องโลกียะ มันเป็นเช่นนั้นแหละ โลกียะมันก็เป็นเช่นนั้นแหละ ตถตา ตถตาอันนี้ ก็ต้องเข้าใจให้ได้ ไม่ใช่เรื่องยากหรอก ตถตาอย่างนี้

แต่ตถตาที่สภาวะของอรหันต์ เป็นอย่างไร เอ้อ ! มันเป็นอย่างนั้นแหละ สภาวะของอรหันต์ มันเป็นอย่างนั้น มันเป็นยังไงน่ะ อรหันต์ เขาก็รู้กัน ยังนั้นล่ะ นี่สภาวะนะ อย่างนี้ตอบ บอกว่า เอ๊อ ! นั่นคนโลก ๆ มันก็เป็น เช่นนั้นแหละ โลกียะ นั่นมันลาภ ยศ สรรเสริญ มันก็มีโลกียสุข อยู่อย่างนั้นแหละ ตถตาอย่างนั้น อันนั้นไม่ใช่สภาวะปรมัตถ์ ไม่ใช่จิตเจตสิก ที่หมดกิเลสลงไป ๆ ลงไป เป็นอย่างไร ไม่ใช่นะ มันก็เสพโลกีย์ของมัน อยู่อย่างนั้นล่ะ แล้วเราก็รู้ด้วยเหตุผล เท่านั้น เป็นตรรกศาสตร์ คุณก็รู้แล้ว อย่างนี้ก็รู้กันเกือบทั้งนั้น ใช่ไหม ก็เป็นอย่างนั้นแหละ ตถตา มันต้องมี เข้าใจนะ ว่าอย่างนั้น เราก็เข้าใจ อย่างนี้ก็ต้องให้มีสภาวะจริงของจริง ให้เข้าใจให้ได้เหมือนกัน ตถตาอย่างปรมัตถ์ เป็นอย่างไร ตถตาอย่างนั้น เป็นสมมุติสัจจะ ใช่ ถูก

แต่ตถตาที่เป็นปรมัตถ์สัจจะ เป็นอย่างไร ให้มีจริง มันเป็นอย่างนั้นแหละ มันเบาว่างอย่างนี้ มันหมดกิเลส อย่างนี้ มันบริสุทธิ์ บริบูรณ์อย่างนี้ สะอาด บริสุทธิ์อย่างนี้ อย่างไรล่ะ ต้องมี แล้วเราก็ จะได้บอก อ๋อ ! อย่างนี้หรือ ตถะ นี่แปลว่าความจริง ตถะ แปลว่า ความแท้ แปลว่า ของแท้ของจริง ใครมีของจริงนั้นบอก โอ๊ ! อย่างนี้เอง เออ ! เป็นยังไง มันอย่างนั้นล่ะ อย่างนั้นล่ะ ผู้มีด้วยกัน อรหันต์ด้วยกัน ย่อมบอกกันได้ มันเป็นยังไง ยังนั้นแหละ อรหันต์ด้วยกันรู้กัน อริยะด้วยกันรู้กัน คนที่ไม่ใช่อริยะด้วยกัน ไม่รู้หรอก เดา ไม่แต่เดาน่ะ

ก็ขอให้พวกเราได้เข้าใจถึงสภาพความเป็น แม้อาตมาจะมาแต่งเพลง อาตมาพยายามที่จะหา อุบายโกศล สร้างอะไร ต่ออะไรขึ้นมา เพื่อสื่อ เพื่อสร้าง เพื่อให้มันเกิดปฏิกิริยา การพัฒนา ให้มีวิวัฒนาการเกิดขึ้น ในสังคมมนุษย์ ในพวกเรา ในหมู่ประชาชน มนุษยชาติ ก็ต้องพึงกระทำ ลักษณะของ ภูฟ้าผาน้ำ เป็นดังที่กล่าวนี้ เพราะฉะนั้น เราต้องพยายาม สร้างอภินิการ มันเหมือน จะสร้าง ฟ้าให้เป็นภูเขาได้จริง ๆ มันเหมือนจะสร้าง แผ่นน้ำให้เป็นแผ่นผา ได้จริง ๆ แต่มันไม่ใช่ เป็นลักษณะ อย่างนั้นหรอก แต่มันก็เป็นปาฏิหาริย์ เป็นอภินิหาร ซึ่งเป็นอภินิหารที่เป็นยังไง เป็นเช่นนั้นแหละ เป็นอย่างที่มันจะเป็น นั่นแหละ

เอาละ สำหรับการแสดงธรรมในวันนี้ ก็ได้หมดเวลาลงแล้วน่ะ ก็ขอให้พวกเราที่ได้มา ชุมนุมกัน ในวันมาฆบูชา ของปี ๒๕๓๑ นี้ เมื่อได้ฟังธรรมเทศนา ฟังด้วยดี ได้รับความรู้ ได้รับอานิสงส์ ในการฟังธรรม มากน้อยเท่าใดก็ตาม ขอให้อานิสงส์ แห่งการฟังธรรมนี้ ๆ จงเป็นเหตุปัจจัย ทำให้ พวกคุณทั้งหลาย ที่ได้มารับซับซาบ ในวันสำคัญอย่างนี้ ร่วมกันไปด้วยกัน เดินทางไปสู่ จุดสูงที่สุด ของความประเสริฐ ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านได้สร้างไว้ ให้แก่พวกเราพร้อม ๆ กันทุก ๆ คนเทอญ

สาธุ



จัดทำโดย โครงงานถอดเทปธรรมะฯ
ถอดโดย ประสิทธิ์ ฝ่ายทอง ๑๗ กรกฎาคม ๒๕๓๑
ตรวจทาน ๑ โดย สม.ปราณี ๖ สิงหาคม ๒๕๓๑
พิมพ์และตรวจทาน ๒ โดย วนิดา วงศ์พิวัฒน์ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๒
บันทึกข้อมูลโดย ทีมงานคุณกัญญา พุ่มรัตนา มีนาคม ๒๕๔๗
เข้าปกโดย สมณะพรหมจริโย
เขียนปกโดย พุทธศิลป์

088n.doc ภูฟ้า ผาน้ำ ๒ มีนาคม ๒๕๓๑