มัชฌิมา ของพุทธ สุดลึกซึ้ง
สมณะโพธิรักษ์
เมื่อวันที่ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๓๔
ณ พุทธสถานปฐมอโศก

เจริญธรรม ท่านพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย วันนี้เป็นวันเข้าพรรษา เป็น วันแรมค่ำหนึ่ง เดือน ๘ เป็น ๘ ที่ ๒ สำหรับปีนี้น่ะ จารีต ประเพณีของศาสนาพุทธเรานั้น ดำเนินมาตั้งแต่สมัยพระพุทธเจ้าอยู่ ก็ได้เกิด จารีต เป็นนการเข้าพรรษา ในหน้าฝน ฤดูฝนที่มีฝนตก ประวัติก็คงจะพอจำได้ พอเข้าใจ กันแล้วล่ะ ว่า มีชาวบ้านชาวช่องเขาเดือดร้อนไนเรื่องสมณะในเรื่องพระภิกษุ ของพระพุทธเจ้า ออกจาริกจรไป เพราะว่าสมัยโบราณนั้นน่ะ สมัยพระพุทธเจ้ายังไม่มีวัดมากมายอะไร ไม่มีที่อยู่ เป็นหลักแหล่ง เมื่อไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่งก็จรไป อบรมฝึกฝนตนไป พักที่ไหนก็ได้น อนรุกขมูล โคนไม้ เป็นผู้ไม่มีที่อยู่ ไม่มีที่พัก ไม่มีทรัพย์ศฤงคารของตนเอง ไปอย่างอิสระเหมือนนกน้อย ปีกแข็ง ท่องไป บินไป มีบาตรบริหารท้อง มีจีวรบริหารกายไปได้ทุกสารทิศ ก็เป็นสภาพนั้น

ทีนี้ต่อมาๆมากเข้าๆ สมณะหรือว่าภิกษุของพระพุทธเจ้าก็เดินไป หน้าฝนก็ไม่หยุด หน้าร้อน หน้าหนาว ก็ไม่หยุด พอหน้าฝนเขาปลูกข้าว ปลูกอะไรต่ออะไรกันมากมาย สมณะก็จะต้อง มันไม่มี ถนนหนทางมากมาย เหมือนอย่างสมัยนี้ ก็เดินบุกลุยไปตามพื้นดินไปเรื่อยๆ ก็ไปย่ำต้นข้าว ต้นไม้ โดย เฉพาะนานี่ เขาทำนากันก็หน้าฝน ก็มีต้นข้าวนี่แหละมากมาย ก็ไปเหยียบย่ำ ต้นข้าวเขา เสียหาย... เขาก็ร่ำร้องกันว่า แหม สงฆ์ของท่าน ภิกษุของท่านนี่ หน้าร้อนหน้าฝนอะไร ก็ไม่หยุด หน้าฝนนี่ ฝนก็ตกอย่างนั้นแหละ จะหยุดเสียมั่งได้ไหม ไม่ต้องเที่ยวได้จร ไปเหยียบย่ำข้าวของเขา เสียหายไปหมด พระพุทธเจ้าก็เอาเหตุน่ะ ปรารถเหตุนี้ ซึ่งอาตมาเอง อาตมาเคยเทศน์ไปแล้ว กับพวกเรา ว่า มันไม่ใช่เป็นเพียงแค่ประโยชน์ที่ให้ภิกษุทั้งหลายแหล่นี่ ไม่ไปเดิน จะได้ไม่ไปย่ำ ข้าวเขา มันไม่ใช่ประโยชน์แค่นั้น แม้ปรารถเหตุแค่นี้ พระพุทธเจ้าก็เห็นประโยชน์ ที่มากกว่านี้เกิดขึ้น และมันก็ ควรจะได้เป็นจารีตประเพณีเป็นวัฒนธรรมอีกอันหนึ่ง ของภิกษุ ว่าอย่างไรก็แล้วแต่ เมื่อเวลามีภิกษุมา มากขึ้น ๆ หลักแหล่งก็จะมีขึ้น จะมีวัด มีอาราม อย่างสมัยโน้นมีน้อยนะ สมัยต่อมา ก็จะมีมากขึ้น แต่สมัยโน้นมีน้อย พระพุทธเจ้าก็ไม่ได้กำหนดเอาว่า จะต้องมาอยู่วัด ทั้งหมด ไม่อยู่วัดก็ได้น่ะ จะไปพักที่ไหน เป็นที่อธิษฐานจะจำพรรษา ณ ที่แห่งนั้น กำหนดเขตอยู่ก็ได้ เป็นแต่เพียงว่า ไม่ให้ไปจำพรรษาในตุ่ม ไม่ให้ จำพรรษาในโลงผี ไม่ให้ไปจำพรรษาในโพรงไม้อะไร อย่างนี้เป็นต้น ในที่ๆมันคับแคบไป ในที่ๆมันไม่สมควร ท่านก็กำหนดเอาไว้ บางที่บางแห่ง นอกนั้น ก็อยู่ได้นะ เป็นขีดเป็นเขต มีที่บังที่ร่มที่เงาพอสมควร ก็อยู่ได้น่ะ

ทีนี้เมื่อมาอยู่นิ่งน่ะ อันหนึ่ง อีกอันหนึ่งก็คือจะอยู่รวมเมื่อจำพรรษา มีอาราม มีวัด ก็จำพรรษากัน มาอยู่รวมกัน ประโยชน์จากการอยู่รวมกันนี่แหละ มันจะเกิดคุณค่าขึ้นมาอีกมาก ที่อาตมาเอามาใช้ อย่างทุกวันนี้นี่ เพราะต่อๆมา มันก็จะมาก เมื่อมากแล้วก็ต้องรวมกันเป็นกลุ่มเป็นก้อน เป็นมิตรดี สหายดี เป็นสังคมสิ่งแวดล้อม เมื่อเป็นมิตรดี สหายดี เป็นสังคมสิ่งแวดล้อม มันก็จะเกิดพฤติกรรม เกิดกิจกรรม เกิดพิธีกรรม เกิดรูปแบบเกิดระบบ เกิดขึ้นมาจากการอยู่รวมกัน จนกระทั่ง ทุกวันนี้ ก็กลายเป็น ระบบรูปแบบที่ สุดท้ายไม่จรไม่จาริกไปไหนกันเลย เกาะวัด ติดวัด หนักเข้า กำหนดให้ สังกัดวัดเสียด้วยแน่ะ มันเลยไปอีกโต่งหนึ่งเลย แต่ก่อนนี้ไม่มีหรอก วัดไหน พระวัดไหน ไม่มีหรอก เดี๋ยวนี้ นอกจาก ไม่ วัดไหนแล้ว บังคับให้สังกัดวัดด้วย ซึ่งมันก็กลับ ค้านแย้งกับเดิมอีกว่า เราทิ้ง โภคักขันธาปหายะ หรือว่า ญาติ ปริวัฏฏัง ปหายะ หรือปลิโพธะทั้งหลาย ทิ้งปริโพธิแม้แต่ ที่อยู่อาศัย แม้แต่บ้านช่องเรือนชาน แล้วจับเรามามัดไว้ที่ๆอยู่อาศัย มามัดไว้ที่บ้านช่อง เรือนชานอีก ก็อย่างทุกวันนี้ กลายเป็นการกำหนดไว้ว่า พระนี่ ต้องสังกัดวัดโน้นวัดนี้ อยู่ที่นี่ ไปไหนไม่ได้ ต้องอยู่ประจำ หรือว่าอยู่ ก่อนที่นี่ จะเคลื่อนจะย้ายจะไปโน่นมานี่ อะไรต่ออะไรต่างๆนานานี่ ก็ไปได้ ชั่วคราวเท่านั้น แต่จะต้อง ถือว่าระบุว่าจะต้องเป็นอยู่ตรงนี้ หนักเข้าก็มีกุฏิส่วนตัว เป็นรัง เป็นวัง ขึ้นมาเลย นี่มันบานปลาย แล้วมันพลิกแพลง แล้วมันก็กลายเป็นตีกลับไปในความเสียหาย

สิ่งเหล่านี้มันมีซ้อนกลับไปกลับมา เราจะต้องเรียนรู้ เราจะต้องพยายามศึกษาให้ดีๆ

สมณะก็ดี ภิกษุก็ดี หรือแม้แต่จะเป็นฆราวาสก็ตาม ก็นัยเดียวกัน ฆราวาสก็เป็นอนาคาริกะได้ อย่างทุกวันนี้นี่ อโศกเราได้พิสูจน์แล้ว พิสูจน์เป็นฆราวาสนี่แหละ สามารถที่จะเป็นผู้ไม่มีบ้านช่อง เรือนชาน ไม่มีทรัพย์ศฤงคาร มีชีวิตอยู่ ไม่ต้องไปมีปริโพธ ไม่ต้องเป็นกังวล ห่วงหาว่า นี่บ้านของเรา นี่เรือนของเรา นี่ที่อยู่ของเรา นี่ทรัพย์ศฤงคารของเรา ไม่ต้องมี เป็นฆราวาสก็สามารถเป็นได้ มาพักพิง อยู่ในที่ๆควรอยู่ควรพักไป ซึ่งก็เป็นสถานที่ ไม่ถึงกับผูกมัดเป็นสังกัด นี่ต้องสังกัดสถานที่นี้ นี่สังกัดพุทธสถานปฐมอโศก นี่สังกัดพุทธสถานสันติอโศก นี่สังกัดพุทธสถานศาลีอโศก เป็นพระวัดนี้ ไม่ต้องมีการเปลี่ยนแปลงอะไรไป อย่างนี้เป็นต้น อย่างที่เขาเป็นกัน เขาทำกัน ก็เห็นว่า ไม่ค่อยเข้าที แต่ต่อมา มันก็เป็นอย่างนั้นจนได้ น่ะ เดี๋ยวนี้ก็มันหมุนเวียน ก็เปลี่ยนไป

เอาละ อาตมาไม่เจตนาที่จะพูดถึงเรื่อง จารีตประเพณีที่บานปลาย เปลี่ยนแปลงอะไรต่ออะไรพวกนี้ มากนัก ตั้งใจจะพูดถึงเรื่องการรวม การรวมน่ะ บอกแล้วว่า เมื่อเข้าพรรษาก็ได้รวมกัน เมื่อได้รวมกัน แล้ว ก็เกิด การสัมผัสแตะต้อง คลุกคลี จริตต่างๆคนนี่มีหลายจริต จริตต่างๆพวกนี้แหละ จะเป็น การกระทบสัมผัส เป็นการถ่ายทอดเรียนรู้ แล้วก็เป็นการหัด ฝึกจิตวิญญาณ ว่าจริตต่างจริตนี่ มันจะข่มกัน มันจะไม่ลงล่องลงรอยอะไรกัน เป็นธรรมดา พวกเราก็คงเข้าใจ เสร็จแล้วมันก็จะได้ เกิดการศึกษา เกิดการศึกษา ถ้าผู้ใดตั้งใจศึกษา จะเกิดประโยชน์มากเลย ได้เกิดการกระทบ สัมผัสกันแล้ว ก็จะต้องระมัดระวังศึกษา แล้วจะรับกันยังไง จะมีวิธีการรับลูก อาตมาใช้ภาษาโลกๆ ภาษากีฬาเขา เราจะรับลูกเป็น รับลูกก็ได้ แล้วเราก็จะวาง ปล่อยวางก็เป็น ไอ้ตัวปล่อยวางนี่ เป็นน้ำหนัก พิธีการของศาสนาแน่นอนอยู่แล้ว การรรับลูกก็คือ การได้กระทบสัมผัส ผู้นี้นี่น่ะ มีนิสัย อย่างนี้ ผู้นี้มีจริตอย่างนี้ ผู้นี้มีการยึดติดอย่างนี้ แล้วเราก็ไม่ค่อยชอบ แม้ไม่คอยชอบ เราจะรับลูกเขา แล้วก็ประนีประนอมกันอย่างไร จะทำเป็นวิธีการวางทีเดียว เรียกว่า เหมือนกับ เขาไม่ได้ทำอะไร กับเรา เหมือนคนตาบอดหูหนวก รับลูกวิธีนั้นมันเกินไป เขาพูดด้วย เราก็หูหนวกตาบอดเลย เขาจะทำ อะไรกับเราด้วยก็หูหนวกตาบอดเลย มันเกินไป อยู่ด้วยกัน มาทำอย่างนั้น มันเกินไป มันเหมือนกับคนพูดกับหัวตอ เสียเหลี่ยมเหมือนกันนะ เสียเกียรติเหมือนกันนะ ทำอะไรเกินไป มันไม่ใช่มนุษย์มนานะ

นี่อาตมาพูดให้ชัดๆ พูดเทียบๆ เคียงๆ มันไม่ถึงกับขนาดหลับหูหลับตา อย่างที่อาตมาว่า เขาพูดด้วย เขาแสดงกรรมกิริยาอะไรด้วยกับเรา แต่เราก็มีกิริยากระด้าง ไม่ถึงกับหลับหูหลับตา ก็กระด้างไม่รับ ไม่มีภาวะตอบรับ ไม่มีภาวะที่จะรับลูกกับเขาเลยนี่ มันก็เหมือนกับกิริยาที่หลับหู หลับตา นั่นแหละ อย่างที่อาตมาทำให้มันเข้มๆ ข้นๆ ให้ฟังดู มันก็แหม มันไม่มีมนุษยสัมพันธ์ อะไรกันเลยนี่ มันไม่ไหว น่ะ มันไม่ไหว

เราต้องฝึกปรือ เราต้องหัดรับ ว่าเขาอย่างนี้มา เราจะรับอย่างไร เขามีกิริยาที่ เราเองเรารู้สึกว่า มันบาด มันเสียด มันไม่ถูกหูถูกตา อะไรก็ตามใจเถอะ ที่เขาแสดงออกมาแล้ว ใจเรานี่นะ ในภาวะ ของจิตวิญญาณ ใจเรานี่ มันมีชอบ มีชัง เพราะฉะนั้นในขณะที่เราเอง เราไม่รับเขานี่นะ มันจะมี ลักษณะของการผลัก เป็นโทสมูล หรือการชัง คนเรามันก็ควรจะมีการตอบรับ มี action-reaction มีการแสดงออก แล้วก็แสดงตอบรับกัน เป็นธรรมดาธรรมชาติของคน เรียกว่า มนุษยสัมพันธ์ คนเราก็อยู่ด้วย มนุษยสัมพันธ์ สัตว์มันก็ยังอยู่ด้วยมนุษยสัมพันธ์เลย สัตว์มันก็มีการตอบรับกัน มีมนุษยสัมพันธ์กัน มันรับรู้กัน มันอะไรต่ออะไร รับรู้กัน แล้วมันก็เกื้อกูลกัน หรือว่ามันจะโต้ตอบกัน ด้วยวิธีอย่างไร ก็แล้วแต่เถอะ จะโต้ตอบด้วยวิธีการต่อสู้ โกรธ ต่อสู้กัน มันก็โต้ตอบ มันรู้กัน เหมือนกัน ด้วยวิธีรัก รักจนกระทั่งถึงขั้นปฏิพัทธ์ ถึงขั้นจะรักผสมพันธุ์โน่นแหละ มันก็มีวิธีเหมือนกัน คนก็มี...คนก็เป็นสัตวโลกเหมือนกัน ก็จะมีสิ่งเหล่านี้ รับรู้อย่างนี้

ถ้าเผื่อว่าเราเอง เราทำสิ่งที่มันไม่ใช่เหมือนสัตวโลก เขาแสดงอะไรออกมาให้แก่เรา แล้วเราก็ไม่ ตอบรับ มันไม่ใช่สัตวโลกแล้ว มันเป็นก้อนดิน ก้อนหินไปแล้ว ซึ่งมันผิดปกติ มันผิดธรรมดา มันผิดความจริง ความจริงของเราเป็นสัตวโลก เราก็จะต้องมีความรับรู้ แล้วก็ต้องมี ประโยชน์ แก่กันและกัน นอกจากรับรู้แล้ว จะต้องมีประโยชน์แก่กันและกัน เพราะฉะนั้น การแสดงตอบ ออกไปนี่ แม้จะแสดงกิริยาที่เหมือน กิริยารัก หรือเหมือนกิริยาชอบ หรือไม่ก็จะแสดงกิริยาตอบ แบบโกรธ หรือชังก็ตาม น้ำหนักของการตอบรับโกรธหรือชัง ผลักหรือดูด รับหรือไม่รับ ไม่ใช่ไม่รับ เลยนะ อย่างที่พูดไปแต่ต้นน่ะ ไม่ใช่ด้านนั้นแล้ว รับหรือไม่รับนี่ มันเป็นภาวะบอกกล่าว มันเป็นภาวะ ที่จะให้คำเป็นคำตอบน่ะมีผล บางทีเราก็ลักษณะตอบรับโดย วิธีไม่รับ ตอบรับโดย วิธีไม่รับ มีลำดับ มีขนาด ตอบรับโดยวิธีไม่รับ หรือไม่ใช่ไม่รับอย่างเดียว วิธีตอบอย่างชัง อย่างโกรธ ก็มีเหมือนกัน ในลีลากรรมกิริยา พวกนี้ อย่างชังอย่างโกรธนี่ มันก็มีในบางครั้งบางคราว เป็นการแข็งๆ ฝืนๆ กระด้างให้เห็นลักษณะกิริยา ทั้งวาจา บอกว่าอันนี้ไม่เอานะ ไม่รับนะ ไม่ชอบนะ ไม่ยินดีด้วยนะ มันเป็นโทสมูลเหมือนสายโทสะมูล บางทีมันเหมือนลักษณะโกรธแรงๆ เหมือนกัน แต่มันเป็นกิริยาน่ะ มันเป็นกิริยาของกาย และวาจาที่ผู้จะปรุงจะสร้างจะทำให้ได้สัดส่วน เหมาะสม ถ้าแสดงกิริยาอย่างนี้ ขนาดนี้แล้วเกิดการยับยั้งหรือเกิดการขัดเกลา หรือเกิดการเปลี่ยนแปลง ผู้ที่ทำกิริยา อย่างนี้ ผู้ที่ทำอะไรอย่างนี้ออกมาแล้ว พอถูกภาวะที่เราโต้ตอบไป ด้วยกิริยา อย่างนี้ อันนั้น เขาก็เปลี่ยนแปลงท่าทีมา เขาไม่ทำอย่างนั้น หรือ เขาหยุดการกระทำอย่างนั้น หรือ การเปลี่ยนแปลง การกระทำอย่างนั้น ไปสู่อีกสภาพหนึ่งที่ดีขึ้น นี่ก็เป็นธรรมดาธรรมชาติ ที่อาตมาพยายามพูดนี่ พวกคุณก็ฟังๆดี ก็คงพอเข้าใจ ในโลกเขาก็ทำ ในทางธรรมะก็ทำ ในทางธรรมะก็ทำ

สำหรับผู้ที่เข้าใจสิ่งที่อาตมากำลังอธิบายนี่ เข้าใจดี แล้วก็ใช้กิริยา กายวาจา โดยใจของท่านนี่ ไม่ได้ชัง ไม่ได้รัก ฟังลึกซึ้งตรงนี้อีกทีหนึ่ง ใจของท่าน จิตวิญญาณของท่าน ไม่ได้ชัง ไม่ได้รัก โดยตัวเอง ไม่ได้ชังไม่ได้รักหรอก แต่รู้ว่าต้องแสดง ต้องให้มีกรรมกิริยาที่ผลักหรือดูด ยินดีต้อนรับ หรือยินดีรับ ก็อย่างหนึ่ง กิริยากายวาจา อย่างไรก็แล้วแต่ พฤติกรรมกายวาจารับก็อย่างหนึ่ง ไม่รับ ไม่ชอบ อย่างที่ว่าไปแล้ว ไม่ชอบ เป็นการปราม เป็นการห้าม เป็นการ...ให้เขาหยุดยั้งอย่างนั้นน่ะ ให้เขาหยุดยั้งอย่างนั้น นี่เป็นคุณลักษณะที่ผู้มีปัญญา รู้แจ้งเข้าใจ แล้วก็ปรุงใช้จริงๆ เพราะฉะนั้น ถึงขั้นที่เป็น พระอริยเจ้าขั้นสูง ขั้นสูงที่ทำได้ ไม่จำเป็นจะต้อง ถึงอรหันต์ทีเดียว ก็ฝึกปรือได้แล้ว สกิทา อนาคาอะไรก็ฝึกปรือได้แล้วนี่ วิธีการอย่างนี้ จะมีความจริงใจในตัวเอง จะรู้ว่าใจตัวเองนี่ ทำประกอบไปด้วย อารมณ์ที่รักหรือไม่รัก ชังหรือไม่ชัง แล้วเราก็จะอ่านจิตใจของเราด้วยจริงๆเลย ดีๆนะ อันนี้ต้องดีๆจริงๆเลยว่า เราต้องอ่านจริงๆเลยนะ ทุกเมื่อที่เราจะแสดง กรรมกิริยาออกไป ทางการโต้ตอบ action-reaction โต้ตอบในภาวะที่มีรับกระทบอย่างนี้แล้ว แล้วเราก็จะแสดง ออกไป ปรุงออกไปนี่ เมื่อปรุงออกไปแล้ว เป็นกายกรรมหรือวจีกรรม มันเป็นไปพร้อมกับมีกิเลส มีความชอบ ความชัง ที่เป็นตัวจิตเลย เป็นอารมณ์ของจิตเลย เรียกว่ากิเลสเป็นอารมณ์ของจิตเลย มันชอบกับมันชัง อาการรักอาการชังนี่ เราต้องเรียนรู้...เรารู้อาการ ลิงคะ นิมิต เราเรียนรู้รูปนาม ซึ่งเป็นนามธรรมของจากจิตวิญญาณ เรียนรู้จริงๆเลย รู้อาการของมัน ออกจากจิตเราจริงๆ จิตของเรา ตัวที่มีชอบมีชังนี่เข้าไปผสมร่วม ผสมร่วมกับการสั่งให้กายกรรมทำอย่างนั้น สั่งให้วจีกรรม ทำอย่างนั้น มันไวนะ มันเคยตัวมานานแล้ว

คนเรานี่ฝึกปรือไปตามกิเลส กิเลสสั่งน่ะ จะสั่งให้กายอย่างนี้ จะสั่งให้วจีอย่างนี้ บางทีได้ยิน เสียงพูด อย่างนี้ไม่พอใจ พัวะ...มันไปแล้วมัน สั่งนานไปแล้ว มันไม่รู้เรื่องหรอก แล้วคนทางโลก ไม่ได้ศึกษาธรรมะนี่ ไม่รู้ตัวหรอก ทำไปด้วย อำนาจกิเลสอย่างนั้น ตลอดกาลนาน ทั้งๆที่บางที ไม่สมควรที่จะทำ ถึงขนาดนั้น แล้วไม่สมควร ที่จะทำกิริยาอย่างนั้นด้วย แต่ตัวเองก็ไม่รู้ตัวหรอก ทำไปแล้ว เพราะฉะนั้น จึงไม่ได้กำหนดกายกรรม วจีกรรมของตนเองเลย การมาฝึกธรรมะ ก็ฝึก กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม มโนนี่ทั้งมันมีอาการกิเลส หรือไม่มี อาการกิเลส ทั้งมีอาการสังขาร เราจึงเรียกว่า เราจะมีสังขารหรือไม่มีสังขาร มีการปรุงหรือไม่ปรุงนี่ เราอยู่เหนือสังขารเรา ที่พระพุทธเจ้า ท่านตรัสว่าไม่มีสังขาร ดับสังขาร ก็หมายความว่า สังขารถ้าเราไม่ปรุง อย่าง พระอรหันต์เจ้านี่ ถ้าท่านไม่ปรุงจะไม่มีสังขารใดเกิด ทางใจตั้งแต่ใจมาเลย ไม่มีอะไรเกิด เมื่อท่านปรุง ท่านก็ปรุงอย่างเหนือ เหนือสังขาร ปรุงอย่างมีปัญญา ปรุงอย่างมีการเจตนา เพราะฉะนั้น กรรมที่เกิดจากเจตนาพระอรหันต์นี่ เป็นกรรมที่เกิดจาก เจตนาที่เป็นกุศล เพราะฉะนั้น กิริยาจะเหมือนโกรธ กิริยาเหมือนจะโลภน่ะ กิริยาเหมือนโกรธเหมือนโลภ ก็ไม่ใช่ความเป็นจริง ของจิตวิญญาณท่าน เพราะพ้นเจตนา แต่ดูได้นะ เราดูทางโลกๆ ดูทางนอกๆนี่ เหมือนโลภ เหมือนโกรธนะ ทำกิริยาเหมือนโกรธ เพราะฉะนั้น คนจะดูพระอรหันต์นี่ ดูไม่ออกหรอก คนธรรมดา อ่านไม่ออกหรอก แล้วพระอรหันต์ก็ไม่มีความจำเป็น แล้วก็ไม่มีเวลา ที่จะมานั่งอธิบายบอก นี่ฉันทำ ไปนี่ จิตว่างนะ ฉันไม่ได้โกรธนะ ที่ฉันทำไปด้วยจิตที่ไม่ได้โลภหรอกนะ เหมือนอย่างอาตมา เคยพูดนะ เคยพูด แล้วเขาก็บอกว่าขี้โลภ พูดอย่างนี้ มันพูดเอามาให้แก่ตัวเอง มันขี้โลภน่ะ เคยมีคนทักท้วง ซึ่งเขาจะรู้ไม่ได้หรอก เราไม่ได้ทำออกไป กิริยากายวาจาออกไป .เป็นความโลภ เราทำออกไป เป็นความโลภเป็นตัวบงการ เป็นความโกรธเป็นตัวบงการ เราไม่ได้ทำออกไป เพราะอย่างนั้นนี่ ไม่ใช่รู้ได้ง่ายๆ

คนที่จะเป็นถึงขั้นนั้น ก็ต้องเรียนรู้จริงๆ แล้วก็ฝึกจริงๆเลย ต้องเรียนรู้ตัวเราจริงๆเลยนะ เรียน แล้วก็ฝึก ฝึกจริงๆ เรียนรู้จริงๆไม่ใช่เรื่องธรรมดา จึงถือว่าเป็นเรื่องพิเศษ เป็นเรื่องที่เราจะต้อง ยอมรับนับถือ กราบไหว้เคารพบูชา ผู้ที่ท่านมีความรู้ และสามารถทำอย่างนี้ได้จริงๆเลย แล้วยิ่งทำ ได้อย่างคล่องแคล่ว อย่างเร็วไว เร็วจนกระทั่งว่ามีสติทัน มีการสังขารมีการรู้ รู้ในใจเลย สังกัปปะนี่ อาตมาเคย อธิบายองค์ธรรมของสังกัปปะ ตั้งแต่มีตรรกะ วิตรรกะ สังกัปปะ ตรึก ตรอง คิด ทำอยู่ในใจ จนกระทั่งจิตมีอัปปนา พยัปปนา เจตโส อภินิโรปนา หมายความว่า จิตเป็นสมาธิ อย่างแนบแน่นเลย จิตแข็งแรง แน่น ไม่ได้หวั่นไหว ไม่ได้แปรปรวนไป เพราะแรงกระทบของโลกียะ แรงกระทบจากข้างนอก จิตใจท่านมีอัปปนา พยัปปนา เจตโส อภินิโรปนา คือจิตปักมั่น แน่วแน่ นิ่งแน่เลย เพราะฉะนั้น จะถูกกระทบหรือจะปรุง ถูกกระทบจากภาวะข้างนอก อย่างไรก็ไม่ไหว ไม่หวั่น ไม่ไหวไม่กระเทือน ไม่เกิดกิเลสหรือแม้ท่านปรุงจิตของท่านเอง จิตของท่านนี่ปรุงของ ท่านเอง ก็ไม่มีการหวั่นไหว จะปรุงอย่างไร ก็ไม่เกิดสภาพที่ถูกเชื้อของกิเลส ซึมซับเข้าไป แทรกซ้อนเข้าไป ก็ไม่เกิด เป็นจิตที่แข็งแรงแน่วแน่มั่นคง เป็นจิตที่วิเศษ เพราะฉะนั้น จะปรุงออกมา ในภาษาพระ ท่านเรียก วจีสังขาร

วจีสังขารอาตมาเคยบอกแล้วว่า มันไม่ได้หมายถึงวจีเท่านั้น มันหมายถึงทั้งสภาพที่ออกมาเป็น กายกรรม ได้ด้วย ก็คือสังขารนั่นเอง เพราะเมื่อเวลาตรรกะ วิตรรกะ สังกัปปะ เวลาคิดเวลาปรุงแล้ว เสร็จแล้ว ก็มันก็จะเกิดสภาพว่า จะเอาอย่างไร จนกระทั่ง เป็นวจีสังขาร เป็นตัวง่ายกว่ากายกรรม เพราะฉะนั้น ท่านจึงถือว่า แม้แค่จะออกไปเป็น สภาพวจีก่อน ก็เป็น สังขารที่พร้อมแล้ว ที่จะออกมา อย่างไวง่ายแล้ว ก็ออกมาในประเด็นของวจี ก็ได้เป็นวจีของกายสังขารก็ได้ ไม่ใช่วจีสังขารเท่านั้น กายสังขารก็ได้ แต่มันจะออกมาทางวาจานี่ไวกว่าก็เอาได้แค่ไว แค่เร็ว เราก็รู้เท่าทันสังขารนั้น สามารถดัก แม้แต่จะให้ออกมาพูด แม้แต่จะให้ออกมาทำ ก็ดักไว้ได้ก่อนเลย กรองได้อีกชั้นหนึ่งเลย เพราะรู้เท่าทันไว มุทุภูตธาตุนี่ ไว เร็ว แล้วก็ดัด หรือปรับเป็นจิตหัวอ่อน ทำได้อย่างตามต้องการ ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ เป็นเรื่องลึกซึ้ง แล้วเป็นเรื่องที่ต้อง ฝึกปรือจริงๆ เพราะฉะนั้น การอยู่รวมกันนี่ มีจริต มากๆจริต มีคนยิ่งมากคน แล้วก็มี การงานยิ่งมากการงาน โอ มีบทฝึกหัด เอาสตางค์มาจ้างนะ มีเงินล้านหนึ่งให้ ทำตัวอย่างแบบฝึกหัดให้เราหน่อย ทำทีมากระทุ้ง กระแทกเรา ทำทีมาโกรธเรา ทำทีมารักเรา ไอ้ทำทีมารัก ก็มารักจริงๆ ทำทีมาโกรธ กับคนโกรธกันจริงๆ มันไม่เหมือนกันหรอก หรือแม้ไม่หยาบกว่านี้เล็กๆน้อยๆ ท่าทีลีลาของโทสมูล ราคมูล หรือโลภมูลอะไรก็แล้วแต่ ท่าทีลีลา เหล่านั้น ที่มันเกิดจากสัจจะ เกิดจากการเป็นไปตามจริง เป็นสัจจะ เป็นสมมุติสัจจะก็ตาม ซึ่งออก มาจากปรมัตถ์ ออกมาจากจิต เจตสิกที่มันมีกิเลสประกอบ แล้วมันก็ออกมา เป็นบทบาทลีลา อย่างนั้น ของจริง จึงไม่ใช่ของที่มาเจตนาจะสร้าง แล้วเจตนาจะสร้าง มันก็ไม่มีฤทธิ์แรงเท่ากับ ของจริงน่ะ ไม่มีฤทธิ์แรงเท่ากับของจริง ในสภาพที่กล่าวนี้ สภาพที่บอกว่าจริงๆ มันมีจริงหลายชั้น

ผู้ที่ถึงปรมัตถ์ที่จริงแล้ว ถึงขั้นพระอริยเจ้า ยิ่งเป็นพระอรหันต์แล้ว ก็สร้างสิ่งที่สร้าง จริงใจที่สุดอีก เพราะมีเจตนาอันบริสุทธิ์อีก ไม่ได้สร้างออกมาด้วยกิเลสเลย เพราะฉะนั้น การที่ไม่ได้สร้างกิเลส ด้วยกิเลสเลย ก็คือการไม่ได้สร้างเพื่อตน ไม่ได้เพื่อตน ไม่ได้เป็นของตน โดยไม่ได้เอาตนมาเป็น องค์ประกอบคำนึง ไม่ได้เอาตนเอาตัวเองมาประกอบคำนึง คำนึงถึงผู้อื่นเป็นหลักว่า จะได้ประโยชน์ จะได้คุณค่า จะได้อะไรดี เจริญ ตัวเองนั้นไม่มีตัวเอง ตัวเองสละตนจนหมดตน ไม่มีตนน่ะ แต่มันก็มี อัตตัญญุตาเหมือนกัน มีอัตตัญญุตาหมายความว่า ประมาณรู้ตัวเราว่า เราจะทำกับ คนอื่น เขาได้แค่ใด การจะทำกับคนอื่นเขาได้แค่ใดนี่ ไม่ได้หมายความว่า ทำมาให้ตน แต่เอาตน เป็นส่วนหนึ่ง ที่ไปเป็นข้อมูลในการพิจารณาว่า ถ้าเขาศรัทธาเราเท่านี้ เขาไม่ได้ศรัทธาเรามากกว่านี้ เราจะทำ จะปรุงจะสังขารได้แค่ใดกับเขา นี่ก็เป็นองค์ประกอบเท่านั้น แต่ไม่ได้เหมือนกัน กับที่อาตมาพูดเมื่อกี้ว่า เราไม่ได้มาเป็นตน มานี่เพื่อตน แต่มีอัตตัญญุตา มีการรู้ตน มีการรู้ว่า เราจะต้องประมาณว่า ถ้าตนตัวเราเท่านี้ เราจะทำกับผู้อื่นได้เท่าใด จึงจะมีคุณค่า มีประโยชน์สูงสุด นี่เป็นสิ่งที่สัตบุรุษ สัปปุริสธรรม ๗ ประการนี่ เป็นธรรมะของสัตบุรุษ จะต้องศึกษาเรียนรู้ คุณและ ทุกๆคน ก็ต้องศึกษาเรียนรู้ สั่งสมฝึกฝนสิ่งเหล่านี้ด้วยเหมือนกัน ตั้งแต่ตื้นๆหยาบๆนี่ ธรรมดาสามัญ ก็ฝึกอยู่บ้าง สำหรับคนที่มีสำนึกดีๆ

อาตมาพูดขึ้นนี่ก็คงพอจะรู้ตัวบ้าง สำหรับ หลายคน แต่เราต้องศึกษาจริงๆ มันจึงจะสูงส่ง มันถึงจะวิเศษจริง ทำเป็นรู้ แล้วก็ไม่ฝึกจริง ไม่ได้ ขนาดฝึกจริง มันยังไม่แคล่วคล่องง่ายๆเลย แล้วทำไม่คอยถูกด้วย ไม่ได้คล่องแคล่วง่ายๆ แล้วก็ทำ ไม่ค่อยถูกตัวถูกสภาพได้ง่ายๆ เพราะว่า การประมาณนี่ คำว่ามัตตัญญุตา ประมาณนี่ไม่ใช่เรื่อง ตื้นเขิน การประมาณนี่เป็นคุณธรรม สูงส่งมาก ประมาณให้ได้มัชฌิมา ประมาณให้ได้สัดส่วนสมดุล ให้ได้พอเหมาะ พอดีทั้ง กรรมกิริยา วาจา ใจ ประมาณทำกรรมกิริยา กาย วาจา ใจนี่ทำออกไป กับมนุษย์ ในโลกนี่แหละ ทำได้ดี ได้ความสัมพันธ์อันดี ได้ฤทธิ์แรงแห่งการขัดเกลาอันดี เป็นประโยชน์ มากเลย ทำขนาดนี้ออกไป เป็นฤทธิ์แรงแห่งการขัดเกลา ขัดเกลาผู้อื่นได้ หรือเราทำ กิริยาอย่างนี้นี่นะ ไม่ได้ขัดเกลาเขาหรอก แต่เราทำอย่างนี้ เป็นการขัดเกลาตัวเราเอง นี่เราก็ต้องรู้ว่า เราทำเป็นประโยชน์เรา หรือประโยชน์ท่าน ถ้าทำเป็นประโยชน์เรา ถ้าเราขัดเกลาตัวเองนี่นะ เราอ่อนน้อมถ่อมตนอย่างนี้เป็นต้น เราทำอย่างนี้ ปรุง เออ เราอย่าไปทำกระด้างแข็งขืนหรือว่าเอาชนะคะคาน หรือว่าทำใหญ่ทำเบ่งอะไร กับคนอื่นนัก เราทำตัวเราเองเล็ก ทำตัวเองให้น้อย ให้เล็ก ให้ยอม แล้วเราก็ทำจริงๆ พอเราทำแล้วเราได้ขัดเกลา เรารู้ว่า เราทำขัดเกลาตัวเราเองนี่ ผู้อื่นก็จะรับรู้ด้วย ผู้อื่นก็จะเห็นด้วย ไม่ใช่กับคนนี้ เราทำกับคนนี้ แต่คนอื่นเห็น ก็ยังมีผลเลย คนอื่นที่เขาเห็นว่า เออ คนนี้อ่อนน้อมถ่อมตน คนนี้มีกรรมกิริยาเช่นนี้ ยิ่งผู้ที่ กระทบสัมผัสกับเราโดยตรง เป็นคู่คดีนี่ ยิ่งดีใหญ่เลย ยิ่งได้รับผลตรง ผลตรง จะมีผล ต่อผู้อื่นด้วยน่ะ

อาตมาได้เทศน์ได้เน้นได้ย้ำพวกเราในเรื่องนี้เพิ่มขึ้น กรรมกิริยาต่างๆพวกเรานี่ เราไม่รู้ตัวเราเองหรอก เรามีการส่อเสียด เรามีการหาเรื่อง หาราว ทำเชิงชั้นจะเอาชนะคะคาน ให้คนอื่นเขาได้รับผลเสียหาย แล้ว เราเองก็จะได้เป็นผู้ได้แต้ม อย่างนั้นบ้าง อย่างนี้บ้าง ปล่อยให้เขาทำ แล้วเขากระทำเสีย เราก็เลย เป็นผู้ได้แต้มเพราะเขาทำเสีย แล้วใครจะมาเปรียบเทียบกับเราทำ เอ๊อ เราทำดีกว่า เห็นไหมล่ะ.ชนะ กิริยาหรือว่าวิธีการอย่างนี้ มันมีเหมือนกันในมนุษย์ที่ใจยังไม่บริสุทธิ์ ยังมีตัวมานะ ยังมีตัวเอาชนะคะคาน ยังมีตัวท่าทีลีลากระทำ มีเหมือนกัน ในนัยของมานะนี่ สำหรับพวกเรา มีกันเยอะ สงครามมานะมีมากเหลี่ยมมากคู รู้ตัวบ้าง อดไม่ได้ ทนไม่ได้ก็มี ไม่รู้ตัวเลย เยอะ ไม่รู้ตัวเลย ปล่อยเป็นมานะอัตตา เป็นสงครามของมานะอัตตา อยู่ในหมู่ของพวกเรา ดูหยาบๆ ก็ไม่เห็นชัดเจนหรอก แต่ดูซ้อนเชิงลึกๆซ้อนๆ มันมีเยอะ หลักใหญ่ๆนี่นะ อาตมาเอามาพูด ในเรื่อง ของการอยู่รวมกัน หรือการที่จะทำงานร่วมกันต่อไปในอนาคตใดๆก็แล้วแต่ ถ้าเราไม่อ่อนน้อม ถ่อมตน ไม่ยอมกัน ต่างคนต่างไม่ยอม นี่ฝ่ายนี้กับฝ่ายนี้ ๒ ฝ่ายแหละ ใหญ่ๆก็แบ่งเป็น ๒ ฝ่าย ต่างไม่ยอม ด้วยกันทั้งคู่ ทำงานเป็นอย่างไรไปด้วยกันได้ไหม ต้องแบ่งกันคนละบ้านเลย ไปอยู่กัน คนละแห่ง คนละงาน คนละกิจ คนละตัวคนละอัน ประนีประนอมกันไม่ได้ สามัคคีไม่ได้ พลังรวมไม่เกิด อะไรๆจะดิบดีจะรังสรรไม่เกิด ต่างคนต่างไม่ยอม ต่างคนต่างแข็งกระด้าง ต่างคน ต่างยึดมั่นถือมั่น

ทีนี้อีกลักษณะหนึ่ง คนหนึ่งยอม จะเป็นคนไหนก็แล้วแต่เถอะ จะเป็น ฝ่ายก. ฝ่ายข.ก็ตาม ยอมฝ่ายหนึ่ง ฝ่ายหนึ่งไม่ยอมดีขึ้นไหม ดีขึ้นไหม ดีขึ้น อาจจะอยู่ร่วมกันได้ หรืออาจจะอยู่ไม่ได้ก็ได้ เพราะว่า ไอ้ที่ไม่ยอมนี่มันแรงจัด เลย แม้แกจะยอม ข้าก็ไม่ยอมแก แกต้องไป ถีบส่งเลย เหมือนกับ เรายอมแก่เถรสมาคมตั้งมากแล้วนะ เขาก็ยังไม่ได้ จะเอาให้ตาย เอาให้หมดโคตร จะถอนราก ถอนโคน อะไรอย่างนี้เป็นต้น มันก็ได้น่ะ แต่ถึงอย่างนั้น เราก็คิดว่า เรารวมอยู่เหมือนกันนะ เพราะว่า กระแสรวมยังมีอยู่บ้าง มันไม่ใช่โดดเดี่ยว ไม่ใช่คนเดียว เถรสมาคมก็ไม่ใช่มีคนๆเดียว มีอะไรมาก อีกเยอะแยะ

ทีนี้อาตมาก็สมมุติให้มันเห็นชัดๆ นายก. นายข.นี่ ถ้าคนหนึ่งยอม อีกคนหนึ่งไม่ยอม มันก็ยังมีหวัง ดีขึ้น จะอยู่ร่วมกันได้ ทำงานเป็นสามัคคีได้บ้าง พอเป็นไปน่ะ

ทีนี้อีกอันหนึ่งต่างคนต่างยอมลงมาได้ทั้งคู่เลย เป็นยังไง วิเศษ สำเร็จ เพราะฉะนั้นไม่ต้องถือดีหรอก ไม่ว่าใครจะถูก ใครจะผิด ยอมลงไปทั้งคู่ ยอมลงไปทั้งคู่ ไม่ใช่ว่ามานั่งเบ่งอยู่ ข้านี่แหละแน่ ข้านี่แหละแน่ แล้วไม่มีอนุโลม ปฏิโลมเลย ไปไม่รอด ไปไม่รอดน่ะ เพราะฉะนั้น เราก็จะต้อง พยายาม นึกถึงอันที่อาตมาอธิบายนี้ให้ได้ การจะสามัคคี การจะรังสรร สงบเรียบร้อยอบอุ่น เพราะต่างคนยอม ยอมหมดทุกคน พยายามที่จะระลึกเสมอว่า เออ เราจะยอม ยอมอย่างไร โดยเฉพาะยอม พวกเราเองไม่เสียหายหรอก ถ้าเราไปยอมให้ผีให้สาง ยอมให้ไอ้ตัวที่ เสียๆ หายๆ เลวๆ ร้ายๆ ถ้าไปยอมให้ตัวเลวๆร้ายๆ ตัวเลวๆร้ายชนะ หรือตัวเลวๆ ร้ายๆเป็นใหญ่ ผงาด เอ๊อ อย่างนั้น มันก็ไม่ค่อยดีนัก พวกเรามันก็ไม่ได้เลวร้ายถึงขนาดนั้น ยอมให้พวกเราก็ไม่ใช่ว่า ถึงจะเสีย จะหายอะไรเกินการ เพราะฉะนั้น มันไม่เท่าไหร่หรอก แต่นั่นแหละ เรากลับไม่ยอมไอ้เลวๆ ร้ายๆ นั่นได้

แต่มายอมกับพวกเราเองไม่ค่อยได้ มันน่านะ มันน่าอะไร มันน่าเอากระบองตีกระบาลน่ะ เอาละ นี่ประเด็นที่ ๑ น่ะ ประเด็นที่อาตมา อยากจะให้พวกเรา เข้าพรรษานี้ให้ศึกษาสังวรระวังกัน แล้วพยายาม ใช้เรื่องนี้แหละวิชาการนี้ เรียกว่าเคล็ดวิชานี้ ใช้ภาษากำลังภายใน เอาเคล็ดวิชานี้ ไปฝึก ให้เป็นวรยุทธให้ได้ เคล็ดวิชาที่ ยอมกันเถอะ พยายามลดอ่อนน้อมถ่อมตนลงไป แล้วก็ประสาน ประสาน ยอมแล้วก็ประสาน ไม่ใช่มีท่าทีลีลามีอะไรแทรกซ้อนอยู่อย่าง ที่พูดไป เมื่อกี้แล้ว ยังมีท่ามี แหม ใช้เล่ห์ใช้เหลี่ยม ยอม ฉันก็ยอมละ แต่ฉันก็ ปล่อยแก แทนที่จะมีหวังดี เขาทำผิด ทำร้าย ทำไม่ถูกอะไรก็เตือนกัน บอกกันแนะนำกัน ไม่ ยิ่งหาเรื่องให้เขาทำไม่ดีขึ้นไป หนักๆๆๆ ฉันจะได้ใหญ่ ฉันจะได้เป็นคนถูก ฉันจะได้เป็นคนที่ดี อย่างนี้บรรลัยแน่น่ะ บรรลัยแน่ นี่ประเด็นที่ ๑

อีกเรื่องหนึ่งที่อาตมาอยากจะไขความก็คือเรื่องสุดโต่งอย่างชาวอโศกเรานี่ เราถูกกล่าวหาว่า เราสุดโต่งกัน เข้มเกินไป เคร่งเกินไป มากเกินไป ไม่อนุโลมปฏิโลม ประเด็นนี้อาตมาก็ขอไขความ ให้พวกเราได้ทราบ แต่ไม่ต้องเอาไปเถียงเขาหรอกนะ ขอกำชับไว้ด้วย ไม่ต้องเอาไปเถียงเขา คือมีคน เข้าใจผิดว่า พวกเรานี่ มันไม่มัชฌิมา โดยเข้าใจมัชฌิมายังไม่พอ เข้าใจมัชฌิมาอย่างตื้นๆ ไม่พอดี ไม่ปานกลาง โต่งไปเลยเถิดไป เคร่งเกินไป นี่ดูซินี่ อาบน้ำ ๕ ขัน นี่กำลังดังไม่ถูสบู่ อะไรอย่างนี้ เคร่งไป ดูซิมาแต่งตัว ไม่ใส่รองเท้าเลย ใส่เสื้อผ้าก็ดูซินี่มอซอเต็มที มันไม่ถูกกับสังคมเขา เขาก็ว่า เราโต่ง อย่างนี้เป็นต้น นี่ยกตัวอย่างรูปธรรมหยาบๆน่ะนะ หรือว่าไม่สูบบุหรี่ ไม่กินเหล้า กินข้าว หนเดียว มื้อเดียวโต่งไป คนเหล่านั้นน่ะ เขารู้สึกว่า เราทำเคร่งพวกนี้ เขาเอาความรู้สึกของเขามาวัด แล้วเขาก็ประมาณการว่า ต้องทำอย่างเขา ขนาดเขานี่แหละ คือความพอดีแล้ว

ถ้าคนในสังคมโลกทุกวันนี้นี่ เขาเอามาตรฐานของเขาทั้งหมดมาวัดเราว่าพอดีนะ ก็ฉิบหาย ต่อไป โลกแตกเลย ฉิบหายต่อไปโลกแตกเลย เพราะค่าของความพอดี แม้คนจน เขาก็ยังรู้สึกว่า เขาต่ำต้อย เขาด้อย เขาแต่งตัวขนาดคนจนนี้ เขาว่า เขาพอดีหรือยัง คนจน นี่ไม่พอดีหรอก เขายังไม่ได้แต่งเสื้อผ้าสวยกว่านี้ เขายังมี มันไม่มี มันไม่ เฉยๆนะ ถ้ามีเขาก็จะไปแต่งให้หรูหราฟู่ฟ่า มากขึ้นไปๆๆ ขึ้นไป เท่าที่จะมากไปได้ ไม่มีจบสิ้น เพราะฉะนั้น ไอ้ความพอดีจากการประมาณการ อย่างโลกๆนี่ มันไม่มี มันไม่มี ไม่มีความพอดี มีแต่ความเกิน เพราะฉะนั้น ไอ้ทางโลกเขานี่แหละ จอมสุดโต่ง ทางโลกเขา ฟังดีๆนะ ฟังธรรมะวันนี้อาตมาจะไขความ ให้ฟังดีๆชัดๆ ทางโลกนี่ เขาจอม สุดโต่ง จอมสุดโต่ง แล้วก็มีค่านิยมมีโอกาสเมื่อไหร่ เขาจะสุดโต่งของเขา ให้ถึงที่ให้ได้ เพราะฉะนั้น ผู้ใดเขาร่ำรวย ผู้ใดเขามีโอกาสมาก ผู้ใดเขาไม่แคร์อะไรมากนัก เขาจะสุดโต่งมัน ถึงที่เลย จะแต่งตัว อย่างเบิร์ดที่ขึ้นเวทีให้ได้เต็มที่ ทุกเวลา จะกินแหลก ไม่มีหยุดยั้งตลอดเวลา มีโอกาสกินตีนหมีทุกมื้อ อุ้งตีนหมี อะไรอย่างนี้เป็นต้น ว่าไป ได้โอกาสที่จะโลภโมโทสัน ได้ลาภ เยอะๆ จะเอามันทุกโอกาสล่ะ นาทีนี้ก็ได้เปรียบมากๆ อีก ๒ วินาที อีก ๑ ชั่วโมงก็ได้เปรียบ มากๆ ตลอดเวลา เขาก็เอาทั้งนั้นแหละ เขาจะไปหยุดยั้ง...ว่า หยุดๆๆมากไป แล้วนี่ โอกาสนี้ ได้เปรียบแล้ว ขอเสียเปรียบหน่อยซี...มีไหม มีไหม ไม่มี ใช่ไหม เขานี่ยอดสุดโต่ง ไม่มีที่สิ้นสุด แล้วประเภท บานเบิกบานปลายไปเหมือนกับ ปากกรวย ไม่มีที่สิ้นสุด ไม่มีที่จบ

เอ้าทีนี้หันมา กลับมาพวกเรา เขาหาว่า พวกเราโต่ง ถามในเรื่องที่เขาว่าจัดๆนี่ พวกเรามักน้อยนี่นะ คำว่า มักน้อยนี่กินความเยอะนะ แม้แต่กินน้อย แม้แต่ใช้น้อยนี่ พวกเรายังสามารถปรับ การกินน้อย ใช้น้อยลงกว่านี้ ได้อีกไหม ได้ไหม ได้ใช่ไหม แต่มันก็มีที่สุดเหมือนกัน ยังอีกไกล หลายคนยังอีกไกล ยังกินน้อย ใช้น้อย ยังรับเอาน้อย คือยังเอามากๆอยู่ ยังรับมากๆอยู่ ยังมักน้อยได้กว่านี้อีก สันโดษ ได้กว่านี้อีก ใช่ไหม แล้วเขาหาว่า เราสุดโต่ง จริงๆแล้ว เราถ่วงดุลย์การสุดโต่งของเขา นี่เขาโต่ง อย่างไม่มีที่สิ้นสุด นี่ไปไกลเลยเหมือนกับ ไม้กระเดื่องนี่นะ ๒ ข้าง จากนี่ไปเป็นโลกียะที่โลภลาภ ยศ สรรเสริญ โลกียสุข ซึ่งบำเรอตนเอง โลกียสุขอีกมากมายนี่ ของเขานี่มันโต่งไปจน โอ้โห สุขไม่รู้ กี่สุขเลย ที่ถูกต้มจนสุก ไม่รู้สุกเท่าไหร่ ที่เขาจะต้องเสพ มหาศาล ลาภ เขาก็เอาไม่มีที่สิ้นสุด ยศเขาก็แก่งแย่งกัน แย่งชิงกัน สรรเสริญโด่งดังก็ต้องการ ไม่มีที่สิ้นที่พอ โต่งไปขนาดไหน น้ำหนัก ของกระเดื่อง..ไม้กระดานของ กระเดื่องทางฟากนี้นี่ เขาโต่งขนาดไหน คิดออกไหม คำนวณให้ อาตมาได้ไหม ว่าโต่งขนาดไหน คำนวณไม่ได้เลย มันมากจนไม่รู้จะขนาดไหน ใช่ไหม คำนวณ ให้อาตมาไม่ได้หรอก มาก มากมหามาก คำนวณไม่ได้ เขาโต่งขนาดนั้นน่ะ แล้วก็ไม่มีหยุดด้วย ใช่ไหม แต่ของเรานี่ ทำได้แค่นี้ เอาทางฟากมักน้อย เรามักน้อยมาได้แค่นี้แล้ว เขามองเราว่าโต่ง เขาเอาความรู้สึกที่ไม่รู้จักพอของเขา นั่น มาวัดเราว่าโต่ง เอ้า ฟากนี้ ฟากมักน้อยนี่ เราได้เริ่ม มักน้อยลงมาแล้ว ลดลงมา แต่ก่อนนี้ เราก็เฟ้อเหมือนๆเขา แล้วก็ไม่มีที่สุดเหมือนเขา จนเรา มารับรู้ว่า เอ๊ะ เฟ้อไม่ถูก มากไปไม่ถูก ลดน้อยลงถูก เราก็มาลดมาละ มาจางมาคลาย มาเรื่อยๆ พอลดละจางคลายมาได้จริงๆ เราตั้งใจลดละ แล้วก็ลดจริงๆมาเรื่อยๆๆๆมา เรามาได้ ถึงวันนี้ ขนาดนี้ มันมากนักหรือ หือ ถ่วงดุลย์เขาไหวไหม ยังไม่ไหวเลย เห็นไหมว่า คนขี้ตู่กลางนา ขี้ตาตุ๊กแก คือใคร ใครแท้ๆแน่ๆ ว่าเป็นผู้สุดโต่ง

นี่คือความลึกซึ้ง คือความไม่รู้สัจจะ ไม่รู้สัจธรรม เรานี่ถ่วงดุลย์เขาไว้นะ เขาเฟ้อ เขาไม่ประหยัด เขาฟุ่มเฟือย สุรุ่ยสุร่าย เขามักมาก มักมาก ทั้งทางโลภทางโกรธจัดจ้าน ไม่มีทางประมาณนะ ไม่มีทางหยุดยั้ง ไม่มีทางสำรวมสังวรนะ พอจะโกรธ เขาก็จะโกรธเต็มที่ มันมีบ้าง โดยสามัญ สำนึก เล็กๆน้อยๆ ใช่ไหม ออกมารยาทเล็กๆน้อยๆก็มีบ้าง แต่ไม่ได้เป็นการฝึก อบรมอย่างพวกเรา พวกเราฝึกอบรมสังวรระวัง มีสติสัมปชัญญะ อย่าให้อารมณ์เหล่านี้มันเกิดมามาก มาโตขึ้นไป มีอยู่... เราก็ไม่ให้มันมีโตขึ้นไป แล้วให้มันลดลงๆๆ ลดลงอย่างให้มันหมดให้ได้ ที่สุดคือ จะหมดโลภ หมดโกรธ หมดหลง ให้ได้ แต่ของเขานั้น ไม่ได้เลย คิดว่าจะให้มันหมด เป็นแต่เพียง ประมาณมารยาทว่า ไอ้คนนี้โกรธ ทำท่าโกรธให้มันได้เท่าไหร่วะ ไอ้นี่มันไม่ได้ ถ้าโกรธแล้วเสียหน้า โกรธแล้วเสียท่า ได้แต่ทำ แต่ถ้า เฮ่ย พวกนี้...กูไม่กลัวมึง โกรธเมื่อไหร่ก็ได้ อย่างที่เห็น คนในสังคม กูไม่กลัวมึง จะแสดงโกรธเมื่อไหร่ ถ้ามันโกรธ แกก็โกรธ ด่าพ่อล่อแม่ก็เอา ขนาดคนใหญ่ๆ โตๆ มารยาทไม่ควรทำ ยังทำเลย นี่ของโลก เขาเป็นอย่างนี้ น่ะ เพราะฉะนั้น ในความหมายเขามาตู่เราว่า สุดโต่งนี่ คุณศึกษาที่ อาตมาพูด แล้วเราจะรู้ว่าเราเอง เรายังไม่ได้สุดขั้ว สุดโต่งอะไรเลย เรายังมี มักน้อยสันโดษ มีดีกว่านี้ ที่เราจะต้องทำ ให้แก่ตัวเอง อีกเยอะเลย

ขณะนี้เรามี ฐานพัก หรือมีฐานทำ ฐานที่เราฝึก เราฝึกหัดมักน้อยขนาดนี้ หัดสันโดษขนาดนี้ หัดโภชเนมัตตัญญุตา หัดประมาณการกินการใช้ขนาดนี้ ให้ได้มากๆ ให้ทำให้ถาวร ให้ทำให้ได้ จนกระทั่ง ไม่เกิดกิเลส เกิดจิตที่มันยังรู้สึกเหนียม รู้จักเขิน รู้สึกลำบากใจ รู้สึกฝืดฝืน ต้องอดทน ต้องข่ม เราก็ฝึกไปเรื่อยๆให้มาก จนกว่า เราจะไม่รู้สึกข่ม ไม่รู้สึกอดทน ไม่รู้สึกฝืน เพราะสละ หรือ จาคะ มีทมะ ขันติ จาคะได้หมดแล้ว เป็นสัจจะลงตัว เราก็จะเพิ่มศีลขึ้นไปอีก ขัดเกลาลงไปอีก เพราะเรารู้ว่า จะมักน้อย สันโดษลงไปอีกได้อีก ก็ทำลงไปเรื่อยๆๆๆ จนเป็นผู้มักน้อยสันโดษ ถึงที่สุด แล้วจิตของเรา ก็บริสุทธิ์ถาวร ซึ่งเราจะมาอนุโลมปฏิโลมกับคนอื่นเขาทีนี้ ผู้ที่ทำได้แล้ว บริสุทธิ์บริบูรณ์แล้ว ค่อยมาอนุโลม

ไอ้อย่างทำไม่ได้ อย่าไปอนุโลมหน่อยเลย แอ๊ค เสร็จเขาลากกลับไปที่เก่านั่นแหละ ตัวเราเองก็ยัง แข็งแรงไม่ได้ ยังมักน้อยยังไม่ได้ ยังลดยังไม่ได้ ก็ไปตามเข าอนุโลมไปให้แก่เขา ตัวเองยังล้างจิต ไม่สะเด็ด ยังไม่สะอาด ยังไม่มีฤทธิ์แรง แล้วก็ทำชลอ เกรงใจเขา ต้องยอมเขา ช้า นอกจากเป็น สภาวะเนิ่นช้า ที่พระพุทธเจ้าท่านไม่สรรเสริญแล้ว ยังเป็นภาวะที่ประมาท ประมาท คุณแน่ใจ ได้ยังไง คุณเอง คุณยังไม่แข็งแรง แล้วก็ไปอนุโลมกับเขา คนที่อนุโลมอย่างนี้ ในโลกนี่แหละ บางคน ไม่ติดบุหรี่ ไม่ติดเหล้า เขาชวนกินเหล้า ชวนสูบบุหรี่ อนุโลม เขา...กิน กินกับคุณหน่อย สูบบุหรี่ เออ สูบกับคุณหน่อย แล้วเป็นยังไง เป็นไง ก็เป็นขี้ยา เป็นขี้เหล้า กับเขาไปเลย ที่สุดมีมา เท่าไหร่แล้ว ใช่ไหม หา มีมาเท่าไหร่แล้ว ก็ขี้ยาขี้เหล้ากับเขาไปเลย สุดท้าย ก็ตกไปอย่างนั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ แล้วยิ่งไม่เรียนรู้ธรรมะ โอ๋...ขนาดเรียนรู้ธรรมะ ยังต้องระมัดระวังเลยน่ะ ยังต้องพยายามระมัดระวัง น่ะ เพราะฉะนั้น เรื่องนี้คนเขายังท้วงเราไม่เสร็จ ตู่เราไม่เสร็จ ในเรื่อง ว่าเราสุดโต่ง ก็ขอให้พวกเรา มั่นใจ ผู้ที่มั่นใจ เอาล่ะ ผู้ที่...อาตมาอธิบายไปแล้ว ขยายความไปแล้ว ผู้ใดเข้าใจอย่างที่อาตมา และเห็นด้วย ก็เอา ใครไม่เห็นด้วยที่อาตมาว่า ก็ไม่มีปัญหานะ อาตมา ก็ไม่ได้มาบังคับทางความคิด เป็นแต่เพียงอาตมาเข้าใจอย่างนี้ แล้วอาตมาก็เห็นจริงอย่างนี้ อาตมาก็พูด บรรยาย ให้เห็นว่า คำว่าสุดโต่งนี่ มันไม่ใช่ว่าพูดกันตื้นๆ มิติเดียว มีความหมาย ระนาบเดียว ไม่ใช่ มันมีซับซ้อน มีสภาพซับซ้อนลึกซึ้ง มีเชิงชั้นอยู่พอสมควร เพราะฉะนั้น ก็ให้ศึกษา

ทุกวันนี้นี่ เราได้ผลทางศาสนานี่ ได้เพราะว่าเรามั่นคง เขาว่าเราสุดโต่งนี่ละ เราก็ไม่บ้าจี้ กินมื้อเดียวได้ เราก็กินมัน...มื้อเดียวได้นี่เราแข็งแรงแล้ว หรือว่าเราฝึกปรืออยู่เ ราก็ทำ จนกระทั่ง เราได้แล้ว เราก็กินมื้อเดียว ก็มันเป็นความดีแล้ว คนที่ทำความดีแล้ว แล้วให้มาลด...ความดี ความมักน้อยได้ สันโดษได้อะไรก็ตาม แล้วก็ให้เขามาฟุ่มเฟือย มาเลอะเทอะกับคนอื่น เหมือนอย่าง คนอื่นอีก ก็เรื่องอะไร นอกจากบางครั้งบางคราวที่ เออ...มันต้องเออออ ห่อหมก ไปกับคุณบ้าง เล็กๆ น้อยๆ บางครั้งบางคราว มันก็อีกเรื่องหนึ่ง แต่ในเรื่องสามัญในเรื่องปกติ ที่เราเป็นแล้ว เรามักน้อยได้ เราก็มักน้อย กินมื้อเดียวได้ ก็เรื่องอะไรจะไปกินหลายมื้อ ที่จำเป็นจะต้องกินมื้อนั้น มื้อนี้ เผื่อเพิ่ม... เสริมพิเศษ กับเขาบ้าง ถ้ามันจำเป็นจริงๆ มันพูดไปก็ใช่ที่ มันไม่ได้เรื่องได้ราว กินกับคุณไปบ้าง บางครั้งบางคราว มันก็เป็นคราวเป็นครั้ง เล็กๆน้อยๆ เป็นเรื่องจำยอมเท่านั้นเอง แต่ถ้าให้ทำ บ่อยๆๆๆ ไม่เข้าที เราต้องมีความเฉลียวฉลาดพอให้เขารู้ว่า ถ้าคบกันก็บ่อยๆ อยู่ไกล เราก็ต้องให้ รู้ซิว่า เราไม่แล้วนะ เราก็กินมื้อเดียวนี่แหละ เสื้อผ้าหน้าแพร เราก็ทำอย่างนี้ นี่แหละ เราไม่ใช่ว่า เราทำเล่น ลักษณะของความจริงกับความอนุโลม มันเป็นอย่างนี้

โดยความจริงคนแต่งตัวสวย เขาก็จะแต่งตัวสวยอยู่ปกติ พอเวลาจะออกแขก เขาบอกว่า เอ๊ย แต่งตัวสวย มันไม่ดีหรอก มันต้องแต่งตัวมอซอถึงจะดี เขาก็ค่อยถึงมากลับแต่งตัวมอซอ เช่น คนที่เขาอยู่ทางโลกนี่ พวกเรานี่แหละ จะไปเอาใครล่ะ เอาชาวอโศกที่อยู่ข้างนอกนี่ ตัวเอง ก็ยังติดสวย ก็แต่งตัวสวย อย่างนั้นล่ะ พอจะเข้ามาวัด เข้ามาอโศกมอซอเข้ามาแล้ว พวกนี้นี่ มาเล่นลิเก มอซอมาเล่นลิเก พอมาวัดก็มามอซอ พออยู่ปกติเขาก็ทำอย่างนั้นน่ะ แต่ถ้าคนปกติแล้ว ปกติเขาก็แต่งตัวมอซอ จะมาวัดเขาก็ไม่ต้องเปลี่ยน นอกจากว่าจะไปบางที่ ที่เขาบอก...เอ้อ จะต้อง แต่งตัวให้เขาหน่อย อย่างที่เราบอกว่า บางครั้งบางคราว บอกคราวนี้ปลอมตัวไหมนี่ อย่างที่เราเคย พูดกัน ตอนนี้ปลอมตัวหน่อยน่ะ เราก็แต่งไปแบบโลกเขาไปบ้างเล็กๆน้อยๆ แต่งปลอมตัว ว่างั้นเถอะ แล้วก็ไป เขาปลอมตัว อย่างนี้ไม่จริง ไอ้ปลอมตัวนี่คือไม่จริง เราอนุโลมเขา เอาหน้า

มีบางคนปกติอยู่ที่บ้าน แต่งตัวไม่มอซอ หรือปกติทำงานทำการอยู่โน่น อยู่นี่ไม่มอซอ แต่พอจะไป งานสังคม ที่จะขึ้นเวที จะออกโทรทัศน์แสดงตัวต่อสาธารณะที่โก้ๆเก๋ๆ แต่งตัวมอซอ มี อาตมา ไม่ต้องกล่าวชื่อ เดี๋ยวนี้เป็นผู้ที่ดังๆในสังคมด้วย อย่างนี้มีซ้อนอยู่ ซ้อนอยู่ อยู่ในสังคมมี ซ้อน มารยา เพื่อเอาเก๋ เอาโก้ คือคนเรามีความรู้นะว่า ควรจะทำอย่างไรดี ถ้าทำมุมนี้ เออ มุมนี้มักน้อย สันโดษดี นะ เก๋นะ แต่ตัว...ความจริงโดยสามัญของเขาเอง ยังมักน้อยไม่ลง โดยสามัญมากๆ เขาไม่ได้ มักน้อยหรอก แต่เวลาพิเศษอย่างนี้ เรียกว่าทำเก๋ ทำเก๋เอาไว้น่ะ ดูมักน้อย นี่ไม่นานนี่ มีคนมาออก โทรทัศน์ คู่กับคุณจำลอง คุณจำลองนี่ยังใส่เสื้อคอตั้ง ยังมีคอ แต่อีกคนหนึ่งนี่ แหม ใส่เสื้อคอกลม ตัวเดียวด้วยนะ โอ้โห มักน้อยดีเลยนะเก๋ แต่ธรรมดาเขาไม่ใส่เสื้อคอกลมตัวเดียวหรอก ฟู่ฟ่ากว่านั้นอยู่ หรูหรากว่านั้น อย่างนี้ เป็นต้น

นี่คนเราฉลาด ฉลาดจะแสดงโก้ แล้วก็หาว่าพวกเรานี้ pretender นักเสแสร้ง pretender ก็จอมมารยาน่ะ เล่นเสแสร้งทำที ปกติก็ทำเป็นมักน้อย แต่ตัวเองไม่มักน้อยหรอก ปกติทำปกติ ไม่ได้โก้เก๋อะไรอย่างนี้หรอก ปกติไม่ได้เป็นคนขยันหรอก แต่ทำขยัน ปกติไม่ได้...อะไรนี่ แล้วมันก็ ซ้อนนะ บางทีนี่ คนที่มีหน้าที่ ที่ต้องรับงาน รับหน้าที่มาก แต่ไปทำงานต่ำ ไปทำ ไอ้ที่ว่า งานต่ำนี่ ก็คืองานยากๆ หยาบๆ งานที่คลุกงานที่ใช้แรงงาน หรืองานที่อะไรนี่ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า ต่ำหรอกนะ อาตมาพูดไปแล้ว ประเดี๋ยวก็จะหาว่าข่มขี่ ดูถูกทางแรงงาน แต่ว่าเราไม่มีโอกาส ไปทำงานอย่างนั้น ซึ่งหลายๆคนเขาทำได้ เราก็ทำได้ เราก็ไม่ได้รังเกียจ แต่ไม่มีโอกาส เพราะว่า จะต้องไปทำงานอื่นที่ ผู้ทำงานนั้น มาทำงานอย่างเรานี่ ที่จะทำนี่ จะเป็นงาน...อยู่ในร่ม เป็นงานใช้หัวคิด เป็นงานต้องพูดต้องเขียนเท่านั้น ก็เหมือนเบาล่ะ ทำงานพูดนี่นะ ได้แต่นั่งพูด ได้แต่นั่งคิด มันก็เหมือนกับทำงานเบาล่ะนะ แต่เราก็ต้องมาทำ จริงๆ ต้องใช้เวลาทำทางนี้ด้วย ไม่มีเวลาไปทำ อันนี้ก็เป็นการแก้ตัว หรือ...เป็นการซ้อนเชิง ที่หลอกเขาได้เหมือนกัน เพราะฉะนั้น อยู่ที่ความจริงของคนจริง นั้นๆว่า ใจจริงๆนั่นน่ะ รังเกียจ หรือว่ายินดีพอใจ ถ้าไม่ใช่รังเกียจ ยินดี พอใจจริงๆ แล้วก็ไม่มีปัญหาเลย ในเรื่องที่เราจะไปทำงาน อย่างที่กล่าวนั้น แต่เราไม่มีโอกาส มันไปทำไม่ได้ จริงๆ มันก็เป็นความบริสุทธิ์ เป็นความจริงใจของผู้นั้นๆ ถ้าไม่เช่นนั้น ก็ไม่จริง เท่านั้นเอง เพราะฉะนั้น ความจริงที่ซับซ้อนอย่างนี้ ก็อยู่ที่สัจจะตัวเดียว ใครที่รักจะประพฤติ ปฏิบัติ สู่ความบริสุทธิ์ผุดผ่อง ความเป็นสัจธรรมจริงๆ ก็ต้องรู้ตัวเอง ตรวจตราตัวเอง ให้ละเอียดลออ แล้วก็ปรับปรุง ถ้ามันเอง มันยังมีตัวล่อ ตัวหลอก ตัวอะไรอย่างนี้อยู่ ก็ต้องแก้ไข ปรับปรุงกิเลสตัวเอง อย่าให้มันได้โอกาส อย่าให้มันได้คะแนน อย่าให้มันได้ทำซ้ำทำซาก แล้วมันจะกลายเป็นตัวเนื้อ ตัวเนื้อกิเลสนั้นโตขึ้นๆ ต้องเรียนรู้จริงๆ แล้วฝึกฝนอบรมตนจริงๆ ถ้าไม่เช่นนั้นแล้ว มันก็ไม่เจริญน่ะ

ชาวอโศกเรานี่ได้พยายามเรียนรู้ แล้วพยายามที่จะยืนหยัดยืนยัน เขาว่าเราหลายๆประการ เป็นพวก พิเรน เป็นพวกวิตถาร เป็นพวกสุดโต่ง เป็นพวกมากไป เป็นพวกแอ๊ค ทำความดี แหม ที่จริงนี่นะ เขาบอกว่า เราทำความดีนี่ เป็นพวกยึดติดความดี เป็นพวกยึดติดความดี นี่มีบทความในหนังสือ FAREASTERN REVIEW ลงมาไม่เท่าไหร่นี่ เขาก็เอามาให้ดู เขาก็เขียน เป็นการเขียนที่เขา ถือว่าเป็น ...Devine Right ผู้เขียนนี่ เขายืนยันว่าเขาไม่ได้ ดูหลวมๆนะ เขาพยายามที่จะสืบเสาะ หยั่งรู้ ความจริง อย่างถึงที่ ถึงแก่นอย่างชอบธรรม Devine Right แล้วเขาก็เอามาเขียนบทความนี้ เป็นบทความ ที่เขาเขียนถึงเรื่องเรา เรื่องเรา เรื่องอาตมาว่าเป็น บรรยากาศที่เกิดอยู่ในประเทศไทย อยู่ในสังคมไทย

สรุปความแล้ว อาตมาว่านะ อาตมาว่าเขาเขียนนี่ เขาก็จับหรือเก็บได้ดีทีเดียว สื่อออกมาแล้ว คนกลางๆ อ่านนี่ อาตมาเชื่อว่าเขาจะเข้าใจและเห็นด้วยว่า จะเห็นด้วย หรือไม่เห็นด้วยก็แล้วแต่นะ แต่เข้าใจว่า เขาปรามฝ่ายหนึ่ง แล้วเขาก็ดูจะยกจะชมฝ่ายเราอยู่บ้าง ว่าเราทำอะไรขึ้นมา ให้วงการ ศาสนาในเมืองไทย แต่เราถูกคุกคาม เราถูกใส่ความ ใส่โทษ เป็นวิธีการสื่อ ของเขาที่ บัวไม่ให้ช้ำ น้ำไม่ให้ขุ่น สุดท้ายเขาก็ลง จบพารากราฟสุดท้ายด้วย ยกเอา ส.ศิวรักษ์มาเป็นตัว... กล่าวชื่อเลยน่ะ กล่าวชื่อ คุณสุลักษณ์ ศิวรักษ์ มาเป็นผู้ที่วิจารณ์วิจัยเรา แล้วเขาก็ quote คำพูดของคุณสุลักษณ์ ศิวรักษ์ นั้นลงมาด้วยเลย คำพูดนั้นเขา quote มาอันหนึ่ง เขาก็บอกว่า เขาบอกสังคมก่อน ก่อนจะถึง ประโยคของสุลักษณ์พูด เขาบอกสังคมว่า สังคมมองว่าพวกเรานี่ เขาว่าอย่างนั้นนะ สุลักษณ์นี่ เป็นคนวิจารณ์ วิจารณ์เราว่า สังคมนี่เขาทนไม่ได้ต่อกิริยาของเรา กิริยาที่งามเกินคุณ ดีเกินคุณ ดีเกินผู้อื่น งามเกินผู้อื่น วิเศษเกินผู้อื่น กิริยาที่ดีเกินผู้อื่น เขา คือคุณ ส.ศิวรักษ์ นี่เขาเป็นคนวิจารณ์ เขาว่าสังคมทนไม่ได้ ต่อกิริยาที่ดีเกินคนอื่นๆนี่... ดีเกินคุณเกินไป เขาทนไม่ได้ เขาว่าอย่างนั้นนะ

ซึ่งอันนี้แหละ อาตมาอยากจะไขความว่า ที่จริงเราได้ดีเพราะอันนี้ เพราะเรายืนยันยืนหยัดความดี ต้องให้ดี เหนือความไม่ดีอยู่เสมอไป อย่าไปลดหย่อนความดีของเราลงไป เหมือนกับคนที่เขาไม่ดี อยู่ทั้งหลาย มันก็เลยกลายเป็น พื้นความไม่ดี หรือยิ่งเป็นความไม่ดีมากไปกับเขาเลย กลมกลืน ไปเลย ไม่มีตัวดี ที่จะเป็นตัวเด่น เป็นตัวหลัก เป็นตัวอย่าง เป็นตัวที่จะมีคู่เปรียบ เทียบอยู่ คนเรา ก็เผินน่ะซี คนเราก็ เอ้อ มันก็พอกันละว้า ไม่มีใครดีนี่หว่า เพราะมันไม่มีตัวดีที่ปรากฏ ตัวดีที่แสดง ตัวดีที่ยืนยัน ยืนหลักอยู่ ทีนี้ของเราเอง อาตมานี่แหละ นำพาว่า เราจะต้องยืนยันความดี ใครเขาจะตู่ จะท้วง เขาจะจี้ เขาจะว่า เราว่า ลดหน่อยซี ทำไมมาเคร่งอยู่อย่างนี้ ทำไมมาดีเกิน ไปอยู่อย่างนี้ มันมากไป คนอื่นเขารับไม่ได้ คุณรับไม่ได้ ก็ชั่งคุณเถอะ เราจะยืนหยัดว่าดี เราเอง ยังดีไม่พอด้วยซ้ำ ถ้าว่าไปแล้ว เราดีขนาดนี้ยังไม่ใช่ว่าดีเต็มที่ที่ไหน อย่างที่ถามไปแล้ว เรายังมีดี ที่จะทำได้มากกว่านี้ เราทำจนเป็น อัตโนมัติ จะดีอยู่อย่างนี้ ตลอดเวลา นอกจากบางครั้ง ที่จะอนุโลมคุณ อย่างที่ว่านั่นละ เราก็จะต้องยอมบ้าง อนุโลมไปบ้าง ในครั้งคราวที่เราจำเป็น ถ้าเรารู้ก็ เออ...ไปทำอย่างนี้ ลดลงไปเพื่อคุณบ้าง เหมือนกับผู้ใหญ่ไปเล่นกับเด็กนี่ นานๆก็ เออ เอาๆ ไปเล่นกับเด็ก ก็ทำตัวเป็นเหมือนเด็ก เอ๊ๆ สนุกนะ สวยนะ เล่น เออ ไอ้นี่นะ ก็เล่นไปกับเด็ก บางครั้ง บางคราว ปกติก็อยู่กันอย่างผู้ใหญ่ ก็อยู่เป็นธรรมดา ธรรมชาติของผู้ใหญ่ ไม่ใช่ว่า ฉันจะไปเล่น เป็นเด็กๆ ตลอดเวลากับคุณ คุณเหมือนเด็กๆ คุณก็เหมือนกับอย่างนั้น คุณก็คือกิริยาท่าที ของคุณ ก็อย่างนั้น มันไม่ดี คุณก็ไม่ดีอยู่อย่างนั้น แล้วจะให้เราไปไม่ดีอย่างคุณ ตลอดกาลนานไม่ได้ เราต้องมีตัวดีอันนี้

ทีนี้เขาบอกว่า ทนไม่ได้ ต่อการดีเกินคุณ หรือว่างามเกินคุณ นี่เขาทนไม่ได้ มันไม่ใช่ความผิดของเรา มันเป็น ความผิดของผู้ทนไม่ได้ที่เขาหมั่นไส้ เพราะเขาไม่รู้กิเลสของเขา เมื่อเขาเห็นคนที่ดีกว่าเขา เขาสะเทือนใจ เขาจึงเกิดการไม่ชอบใจ ทนไม่ได้ แต่ถ้าใครเห็นคนที่ดีกว่าแล้ว อนุโมทนา ชื่นชม ยิ่งดีมาก ยิ่งบูชาเลย เขาจะเกิดกิริยาทนไม่ได้หรือ ตอบซิ หือ เขาจะไม่เกิดเลย กิริยาทนไม่ได้ เขาจะไม่เกิด เขาจะมีแต่บูชายกย่อง อนุโมทนาสาธุ ดีให้ประเสริฐ ดีให้สูงขนาดไหน ก็จงดี แล้วก็ยืนหยัด ยืนยันดีนั้นเถอะ แต่คนที่ ริษยา คนที่มีอัตตามานะ เห็นคนอื่นดีกว่าตน ทนไม่ได้ เขาจึงบอก เขาทนไม่ ได้...ต่อกิริยาความดีเกินคุณ ถ้าเขาจะแกล้งมีกิริยาดี กายกรรมเขาก็ดี วจีกรรมเขาก็ดี เขาจะแกล้ง สมมุติว่าเขาแกล้ง แต่ดีนะ เขาแกล้งให้กาย วจีกรรมก็ดี กายกรรม ก็ดีอยู่นี่ มันเลวนักหรือ เหอ ถามหน่อยซิ ขอให้แกล้ง ตลอดตายนะ แกล้งดีน่ะ แกล้งเถอะ แกล้งตลอดตาย อย่าหยุดนะ กายกรรมที่ดี วจีกรรมที่ดี แกล้งไปให้จนตายนะ มันเป็นยังไงกันละ มันเลวตรงไหน มันเสียตรงไหน มันแกล้งไม่ค่อยได้ตลอดล่ะนะ ใช่ไหม จะแกล้งดี เห็นไหมนี่ อาตมา พยายาม หยิบมาวิเคราะห์ให้ฟังน่ะ เพราะฉะนั้น เขาใช้สำนวนที่วิจารณ์เราบอกว่า เขาทน ไม่ได้ ต่อกิริยา ที่ แหม เขารับไม่ได้ รับไม่ไหว ต่อกิริยาที่ดีเกินคุณ รับไม่ไหวนะ แล้วเขาก็วิจารณ์ ด้วยประโยคว่า พวกสันติอโศกนี่ ติดยึด ในคุณความดี จนสุดจะทนทานได้ นี่ เขาเอาคำว่า ติดยึด มาพูด เพราะว่าในศาสนาพุทธเรานี่ สอนว่า ไม่ติดยึด อะไรไม่ยึดมั่นถือมั่นอะไรเหมือนกัน แต่จงติด ความดีไว้ก่อนเถอะ ถ้ามัน ติด... อะไรยังไม่ได้ ก็ต้องอาศัยความดี แล้วติดความดีไว้ ให้จนกระทั่งติด จนกระทั่งเสร็จแล้ว ค่อยมาวาง ไอ้ลักษณะการวางดี ที่เราดีนี่นะ ดีของเราทำดี เป็นความดี ที่เราเป็น เรามีที่แท้ แต่วางใจว่า อย่าไป สำคัญมั่นหมายว่าดีนี้เป็นเรา ดีนี้เป็นของเรา นะ ไม่มีใครมารู้กับเราได้ แต่ในตัวความแข็งขัน ต่อความดีนี่ โอ๊ย แข็งขันไปเถิด ยืนยัน ยืนหยัด ไปเถิด แต่ใจเราวาง เราไม่ได้ติดยึด เราไม่ได้ สำคัญมั่นหมายว่า ดีนี่เป็นเรา ดีนี่เป็นของเรา

แม้แต่พระพุทธเจ้าสอนเรา แม้แต่นิพพาน ทำนิพพานได้แล้ว ถึงขั้นวิมุติ สุจริตหมดแล้ว ก็ไม่สำคัญ มั่นหมาย นิพพานว่าเป็นเรา เป็นของเรา มันถึงขนาดนั้น พระพุทธเจ้าสอนเรานี่ เพราะฉะนั้น เรื่องนี้ เป็นเรื่องลึกซึ้ง ที่เขาเอามาตู่ท้วงเรา เพราะฉะนั้น เราพยายามศึกษาดีๆ แล้วเข้าใจดีๆ ทีเดียวว่า เอาเถอะ เขาจะว่าเราติดยึดความดี จนเขาทนทานไม่ได้ เอาเถอะ ไม่เป็นไร แล้วเขาก็ตบท้ายด้วยว่า พระโพธิรักษ์นี่ โง่ เขาใช้ อาตมาฟัง อาตมายังไม่ได้อ่านตัวภาษาอังกฤษทีเดียวหรอกน่ะ แต่ว่าอันนี้ มีคนเขาเอามาให้ดู แล้วเขาก็บอกด้วยว่า ตัวโง่ตัวนี้ ส.ศิวรักษ์ เขาใช้คำว่า stupid น่ะ โง่ โง่ ทีนี้มี ผู้แปลมาให้อาตมานี่ เขาแปลว่า ประโยคนี้มันมีคำว่า โพธิรักษ์นี่โง่ แต่มีความสามารถ แต่...โง่...หือ เมื่อเช้านี้พูดแล้วลืม หือ มีความสามารถพิเศษมาก โง่ แต่มีความสามารถพิเศษมาก อย่างนั้น เอ๊ะ เราก็ว่า มันจะด่าหรือจะชมเรา...โว้ยนี่โว้ย โง่ แต่มีความสามารถพิเศษมาก จะชมหรือจะด่าก็ไม่รู้ นี่ สำนวน เขาว่าเราอย่างนี้ เขายอมรับ ในความสามารถ ในสิ่งที่พาดี พาคนดีนี่ ทำดีนี่ เขายอมรับนะ แต่เขาก็พยายามที่จะ blame เราด้วยภาษา พยายามที่จะกดข่มเราด้วยภาษา ดูถูกเราด้วยภาษาว่า เรานี่โง่ เรานี่เซ่อ ไม่รู้จักความพอดี ไม่รู้จักการ กระทำให้ได้สัดส่วน ทั้งๆที่เขาเข้าใจคำว่า มัชฌิมา หรือสัดส่วน ความพอดี ความปานกลางยังไม่ได้ ทฤษฎีแห่งความปานกลาง มัชฌิมาปฏิปทานี่ เป็นทฤษฎี ของพระพุทธเจ้าเท่านั้น สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้น ที่ค้นพบทฤษฎีนี้ ขอยืนยันว่า ยิ่งใหญ่กว่า E=mc2 ของไอน์สไตน์ ทฤษฎีมัชฌิมาปฏิปทานี่ ยิ่งใหญ่กว่า E=mc2 ยิ่งใหญ่กว่า ทฤษฎีที่ใหญ่ที่สุดในโลก อาตมา ใครจะว่าหลงพระพุทธเจ้าก็ตามใจ ซึ่งลึกซึ้งซับซ้อน วิเศษมากมาย ไม่ใช่ได้เข้าใจกันได้ง่ายๆ คำพูดที่ว่า มัชฌิมา ปานกลางนี่แหละ ให้พอเหมาะ พอดีนี่แหละ ไม่ใช่ตื้นๆเขินๆเลย แต่เขาก็เข้าใจ ความปานกลาง อย่างที่เขาเข้าใจ แล้วเขาก็มาว่า พวกเรานี่ เกิน สุดโต่ง ติดดี ไม่เข้าใจอะไร ไม่มีปัญญารู้จักความพอดีเลย โง่ อะไร ต่างๆนานา

แม้ทุกวันนี้นี่อาตมายังรู้สึกว่า อาตมายังมักน้อยไม่พอด้วยซ้ำ ขนาดอาตมานี่ อาตมาก็ยังมีสิ่งที่ จะต้องมักน้อย แล้วสันโดษได้มากกว่านี้อีกนะ จริงๆนะ มันยังรู้สึกว่า เรานี่ยัง ดูซิ อย่างนี้ ยัง มันมากไปอยู่นะ บางสิ่งบางอย่าง และสิ่งที่จะลดลงไปนั้น ก็ไม่ได้หมายความว่า ตัวเราเองจะโทรม จะทรุดไปทีเดียวด้วยซ้ำไป ก็ยัง เออ นี่เรายังเกินอยู่เลย แต่ละคนของพวกคุณนี่ พวกเราได้ปฏิบัติ ธรรมมาในทิศทางนี้ มักน้อย สันโดษนี่ อาตมาเชื่อว่าพวกคุณจะรู้ เราไม่ถึงขั้นทรมานตนเลย เป็นแต่เพียง ขัดเกลาตนเท่านั้น ยังขัดเกลายังไม่ค่อยออก ยังแข็งแรง ยังไม่ได้ ใช่ไหม นี่ลักษณะพวกนี้ เป็นลักษณะที่ลึกซึ้ง

ศาสนาพระพุทธเจ้าเรานี่ ยิ่งใหญ่ พิเศษและวิเศษน่ะ ใครจะว่าอาตมาหลงพระพุทธเจ้า ก็ตามใจ เพราะ อาตมาไม่ได้หลงพระพุทธเจ้าเป็นตัวตนอะไรหรอก อาตมาเอง อาตมาศรัทธาบูชา ในทฤษฎี และเป้าหมายหลัก สุดยอดของพระพุทธเจ้า เป้าหมายหลักให้เป็นคนยังไง ให้มีคุณธรรมยังไง อาตมาก็เอามาอธิบายพวกเรา อยู่ตลอดเวลาน่ะว่า คุณธรรมอย่างนี้ ฝึกปรือให้แข็งแรง ให้ตั้งมั่น เป็นคนอดทน เป็นคนขยัน เป็นคนมักน้อย เป็นคนกตัญญูกตเวที เป็นคนมีเมตตาอะไร ก็แล้วแต่น่ะ เป็นคนที่เสียสละ เป็นคนหัวอ่อน เป็นคนถ่อมตนอะไรก็ตามใจ เรายังทำได้ดีขึ้นกว่าที่เราเป็นอยู่ ขณะนี้อีก นะ อย่างน้อยนี่ ยังมีมานะ อัตตา มันแข็งๆโด่ๆ มันไม่ยอม มันยังมีมานะ มันยังไม่ ถ่อมตนพอ ถ่อมตนได้มากพอ หรือยัง ยัง เห็นไหม มันยังไม่โต่งเติ่งอะไรเลย มันยังมีอยู่อีก ที่เราจะต้องทำได้ ใช่ไหม เพราะฉะนั้น ท่าที ลีลา คำว่า ถ่อมตนนี่นะ มันไม่ใช่ว่า มันยอม เหมือนขี้ข้าม้าครอกเขา ไม่ใช่อีกแหละ ใช่ไหม มันซับซ้อนลึกซึ้งอย่างนั้น คำว่า ถ่อมตน หรือว่า ยอมอ่อนน้อม ถ่อมตนนี่ มันจะเป็นคน เหมือนอย่าง คนขี้ข้า ม้าครอก เขานี่ ก็ไม่ใช่อีกแหละ จะเป็นคนถ่อมตน ก็คือคนยอมใน...ท่าทีลีลา ที่จะต้องรู้ การประมาณ ในมัชฌิมาปฏิปทา ในองค์ประกอบ กาลนั้น อย่างนั้น ผู้คนอย่างนั้น โอกาสอย่างนั้น สิ่งแวดล้อมอย่างนั้น ต้องเรียนรู้ อย่างพอเหมาะ แล้วถึงจะทำให้ตัวเอง มีกิริยา กาย วาจา ใจ อย่างนี้ ๆๆ กับคนนี้ กับกลุ่มนี้ กับเวลานี้ สิ่งแวดล้อม นี้จะทำยังไง จะนั่งจะยืนจะเดินจะนอน จะทำการงาน การกระทำ จะทำยังไง ถึงจะดูว่า มันเป็นลักษณะ ของการอ่อนน้อมถ่อมตน

นี่ อาตมาพูดอย่างนี้ ลองฟังดีๆ ซิ มันง่ายอยู่ที่ไหน ใช่ไหม มันไม่ง่ายนะ ไม่ง่าย เพราะฉะนั้น ทฤษฎี มัชฌิมาปฏิปทานี่ อาตมาขอประกาศยืนยันยืนหยัดว่า เป็นทฤษฎีที่ยิ่งใหญ่ แล้วอย่าทำทีเป็นว่า เข้าใจง่ายๆนักเลย คนยังไม่ศึกษา แม้ทุกวันนี้ อาตมาเอง ยังประมาณ มัชฌิมาปฏิปทา กับพวกเรา กำหนดกับพวกเรา สอนพวกเรา ยังไม่เก่งเท่าไหร่เลย ฟังดีๆนะ ยังไม่เก่งเท่าไหร่เลย แต่ คนที่ แหม ยืนยันว่า เอ๊ย เกินไป สุดโต่ง ไม่มัชฌิมา ดูซิ จะอยู่จะกินจะไปจะมา จะเป็นมีชีวิตไม่เห็นมัชฌิมาเลย เกินไป เกินที่ไหน เราเอง ยังมีดีที่ยังทำไม่ได้อีก มากกว่านี้น่ะ ยังจัดสรร จัดส่วนอะไร แต่ละครั้ง แต่ละคราว เราอยู่กับพวกเรานี่ เราก็ประมาณ มีกรรมกิริยาอย่างหนึ่ง อยู่กับกลุ่มบางกลุ่ม บางที่ บางกาล ก็ประมาณอีกอย่างหนึ่งน่ะ ดูกระด้างก็ไม่ดี บางที่ดูจะต้องอ่อนน้อม ถ่อมตน ยิ่งกว่า อยู่ที่นี่ด้วยซ้ำ อ่อนกว่านี้ บางที่ ก็ต้องดูแข็งแรงกว่านี้หน่อย แข็งแรงกว่านี้หน่อยแข็ง ไม่ใช่แข็ง กระด้าง แต่ให้มันแข็งกว่านี้หน่อยอะไรอย่างนี้เป็นต้น ซึ่งมันบอกตายตัวไม่ได้ง่ายๆ ถ้าความตายตัว มันมีได้ พระพุทธเจ้าตรัสไว้แล้ว สิ่งใดที่ตายตัวได้ ท่านก็ตรัสเลย สิ่งใดที่บอกไว้ อย่างนี้ อัตรา อย่างนี้ เป็นอย่างนี้ ตรัสไว้แล้ว ตายตัว เพราะตรัสไว้ ตายตัวไม่ได้นี่แหละ มัน จึงเป็นเรื่องยาก ที่เราเอามาถกเถียง ความเห็นถึงไม่ค่อยตรงกันอยู่ทุกวันนี้ ต่างคนก็ต่างนึกว่า ตัวรู้ ตัวทำได้ พอเหมาะ พอดีแล้ว ทั้งนั้นน่ะ

นี่แหละคือเรื่องลึกซึ้งเรื่องวิเศษ เรื่องพิเศษของพระพุทธเจ้าน่ะ เพราะฉะนั้นคนที่มาตู่ว่าเรา สุดโต่งนี้ ขอให้ฟัง แล้วเราก็ฟังดู ไม่ต้องไปถึงโต้คารม ไม่ต้องไปถึงเถียงอะไรเขาหรอก ขนาดอาตมา พยายามพูดให้คุณฟังนี่ ยังรู้สึกว่าพูดไม่ได้หมดเลย ยังไม่รู้ว่าพวกคุณเข้าใจได้แค่ไหน แต่คิดว่า ก็คงพอ เข้าใจได้บ้าง แต่ยังรู้สึกว่า มันยังไม่เก่งพอที่จะพูดได้ละเอียด เป๊ะ จนกระทั่งมัน เข้าใจ อย่างเจ๋งเลย เต็ม ครบ สมบูรณ์ แล้วไม่ตกไม่หล่น แทงทะลุแจ้งเลย ยังรู้สึกว่า ยังไม่เก่งปานนั้นเลย ที่พูดไปแล้ว แต่พอรู้ขึ้นกว่าเก่าไหม โยมแว่น นั่งหลับแล้วโยมแว่น หือ พอรู้เรื่องไหม

ตอบ รู้เรื่องดีขึ้นกว่าเก่า เออ เอาละใช้ได้ เป็นคำตอบที่แสดงว่า มีสติสัมปชัญญะ รับรู้ รับ ตอบ ที่อาตมาพูดอยู่เมื่อกี้นี้ ไม่อย่างนั้น รู้เรื่องไหม ไม่รู้เรื่องอะไร ตอบไม่เข้าเรื่องกันเลย ...ไปไหนมา ๓ วา ๒ ศอก นี่ แสดงว่า คนละภพแล้ว อยู่กัน คนหนึ่งอยู่อีกภพหนึ่งน่ะ รู้เรื่องกว่าเก่า รู้เรื่องในสิ่งที่พูดนี้ ซึ่งที่จริง มันก็เป็นเรื่องซ้ำซากนะ อาตมาก็พูดซ้ำ เคยพูดเรื่องนี้มาไม่ใช่น้อยในพวกเรา น่ะ วันนี้พยายามที่จะชอนไช หรือ พยายามจะฉีกชี้ที่จะจับเหตุปัจจัยอะไรมาพูด เพื่อขยายความ ชักความลึกให้ตื้น ทำของคว่ำให้หงายขึ้นมา ให้ยิ่งขึ้น แต่ก็ยังรู้สึกว่า ตัวเองพูดได้เก่งแค่นี้ สื่อได้เก่ง แค่นี้ มันยังไม่เก่งกว่านี้ เพราะว่า ถ้ามันเก่งจริงๆแล้วสื่อไปแล้ว พวกคุณนี่ โอย สว่างโพลงนี่ ถึงที่ ดีไม่ดี จะบรรลุโสดา สกทา อนาคากันที่ตรงที่นั่ง การฟังเทศน์ตรงนี้เลยแหละจริงๆนะ เพราะว่า การตรัสรู้ ของพระพุทธเจ้านี่ มัน ตรัสรู้ในสภาพพวกนี้แหละ สภาพเข้าใจ มักน้อยยังไง สันโดษ ยังไง ความสุดโต่ง สุดโต่งข้างไหนๆนี่ พระพุทธเจ้าท่านสอนเรื่องสุดโต่ง ๒ อย่างเท่านั้นแหละ ในโลก ตรัสรู้ สุดโต่ง ๒ อย่าง เท่านั้นแหละ แล้วก็ไม่สุดโต่งประเภท ที่เด๋อๆ โต่งไปในฝั่งหนึ่ง กามก็ แหม กามจัดจ้านก็โต่ง มีกามน้อยหนึ่งไม่โต่ง มันก็โต่งอยู่นั่นแหละ ไม่โต่งก็คือไม่มีกาม แล้วไม่มี อัตตาเลย นั่นแหละ คือความไม่โต่ง สูญ นั่นคือความหมด ความโต่ง ๒ ด้าน ถ้ายังไม่สูญ ยังมีกามบำเรออยู่ เสพกามอยู่ แม้นิดน้อยขนาดไหนก็ตาม ก็ยังคือ โต่งอยู่นั่นแหละ หรือยังมีอัตตา ติดอัตตา เสพอัตตาแม้นิดน้อยหนึ่ง เป็นอนาคามีแล้ว ก็ยังเหลืออัตตา โต่งอัตตาอยู่ ก็ยังโต่ง อยู่นั่นแหละ

หมดอัตตา หมดกาม กามสุข ไม่มีความเป็น สุขัลลิกะหมด อัตตกิลมถะหมด ไม่เหลืออัตตา ปฏิบัติ พากเพียรมาจนกระทั่งสุดท้าย เหน็ดเหนื่อย เมื่อยล้า ลำบากลำบนขนาดไหน ก็ต้องให้หมดอัตตา ไม่ใช่ว่า เหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าแล้ว ก็ไม่หมดอัตตา มันยังเหลืออยู่ มันก็ยิ่งโต่งอยู่เท่านั้นแหละ ไม่ใช่ เอาแต่หยาบๆ โอ๋ อัตตกิลมถานุโยคทรมานกาย ขนาดที่อยู่นอกรีตนอกเรื่อง นอกขอบเขตพุทธ ด้วยซ้ำ ไอ้อย่างนั้นมันก็ถูก แต่มันไม่ใช่มีแต่หยาบอย่างนั้น โต่ง สุดโต่ง ๒ ฟาก ๒ ฝั่ง กามก็รู้ ลักษณะกามจ๋าๆ จัดๆจ้านๆนั่นแหละ สุดโต่ง กามลดลงมา ก็เรียกว่ายังไม่ ไม่ใช่โต่งแล้ว ไม่ใช่ ยังโต่งอยู่นั่นแหละ ยังมีกามเหลืออยู่ ก็โต่งขนาดที่เหลือ อัตตาก็ยังอัตตา เพราะอัตตากับกามนี่ จะสังเคราะห์กัน ต้องมาลดกาม ลดอัตตา ลดกาม ลดอัตตา ลดอะไรได้ แล้ว ลดอบายมุขได้ เราก็ดี แต่มาหลงดี มาติดดี ที่เราได้ เป็นอัตตาซ้อน ต้องลด เราได้ดี ยินดีแล้ว

ตอนแรกนี่ อย่างพวกเรานี่ ใหม่ๆนี่ลองสังเกตตัวเองสิ คนสูบบุหรี่ พอเลิกบุหรี่ได้ แหม ชักเขื่อง เห็นคนอื่น สูบบุหรี่นี่ อื๊ย...แหมไอ้พวกนี้มันต่ำ ไอ้พวกนี้มันไม่เก่ง มันไม่ไหว นี่ มันจะมีอัตตา ซ้อนขึ้นมา ลดอัตตาเราจนวางใจ เข้าใจเขาว่า เออ เขาติด เขายึด เขาถือ เขายังเป็นอยู่นะ เราก็ ประมาณตน ตอนแรกไม่ประมาณตน ก็อวดดี โอ๊ย สอนเขายับเยินเลย ใส่เป็นชุดๆๆๆเลย สอนเขา เขาจะแย่แล้ว ก็ยังไม่ได้เรื่อง ยังไม่รู้สึกตัว เป็นอัตตา จนกระทั่งเรารู้ตัว ประมาณตน แล้วก็ไม่ติด ยึดอะไร ไม่มีอัตตา เขาจะติดอยู่ เราอยากจะช่วยเขาก็ช่วย ถ้าสมควรจะช่วยได้ ถ้าไม่สมควร เราก็รู้ตัว มีอัตตัญญุตา ว่า ช่วยเขาไม่ได้หรอก ต้องปล่อยเขา หรือช่วยได้เท่านี้ พอเหมาะแล้วนะ ก็ช่วยกันแค่นั้น อะไรอย่างนี้ จนเราไม่มีผลักมีดูด เราได้ของเราแล้ว ไม่มีผลักมีดูด แล้วเราจึงจะ ดำเนิน เรื่องกามที่สูงขึ้น เรียนรู้กามที่สูงขึ้น แล้งไปได้อีก ลดได้อีก แล้วก็มีอัตตาตามมาอีก ลดอัตตา มานะอีก ซับซ้อนกันอยู่อย่างนี้ ลดกาม แล้วมาลดอัตตา ลดอัตตาได้อีก ก็ลดกามสูงขึ้น ลดกามอีก เดี๋ยวก็ มีอัตตาอีก ลดอัตตาอีก ลดอัตตาอีก ลดอัตตาอีก แล้วก็มาลดกามอีก มีแต่ กามกับอัตตา กามกับอัตตา จนกว่าจะสูญสิ้น เป็นที่สุด

ที่สุดแม้คำว่ากามเราไม่ใช้ แต่ก็มีการติดยึด มีการใคร่อยากเป็นตัวเรา กามนี่แปลว่า ความใคร่อยาก ยังมีการชอบ การยินดี ใคร่อยากหรือยินดี มันเป็นตัวดูดไม่ใช่ตัวผลัก เป็นตัวเรา เราก็ต้องมาละลด อัตตา ตัวเรานี่ เป็นตัวใคร่อยากเป็นเรา เป็นตัวเรา เป็นของเราอยู่นั่นแหละ แม้สิ่งดีนี้ เป็นคุณธรรม เป็นคุณวิเศษ ที่เราได้ เราเป็น เรามีนะ แต่ถ้าเรามาติดอยู่อีก มันก็เป็นความใคร่อยาก เป็นเรา เป็นความดูด เป็นลักษณะดูด เป็นลักษณะติดยึด ลักษณะที่ยังไม่สลายตัว ยังไม่กระจายตัวออก มันยังมีภาวะ พลังงานแม่เหล็กน่ะ เพราะฉะนั้น เราจะต้องทำให้มันเป็นนิวตรอน หมดพลังงาน แม่เหล็กให้ได้ นี่ มันลึกซึ้งอย่างนี้ มันไม่ใช่เรื่องตื้นๆ จิตวิญญาณ เป็นเรื่องของพลังงาน อาตมา เขียนไว้ ในลำธารชีวิต หรือยังไง...เป็นพลังงาน แต่พลังงานนี้ มันยิ่งใหญ่ ยิ่งยอดกว่าพลังงาน ที่โลกๆ เขาจับมาใช้กัน...ไม่ว่าจะเป็น ความร้อน แม่เหล็ก แสง เสียง ไฟฟ้า อะไรก็แล้วแต่เถอะ เขาเอามาใช้กันอยู่นี่ มันยังด้อย ยังหยาบ พลังงานพวกนี้ แต่พลังงงานของทางจิตวิญญาณ มันวิจิตร ลึกซึ้ง แล้วมีคุณลักษณะเหมือนกัน มีคุณลักษณะร้อน เย็นได้เหมือนกัน ร้อนก็ร้อน แสงเสียง แม่เหล็กไฟฟ้า เหมือนกันหมดละ จนสุดท้าย แม้แต่ในระดับของไฟฟ้า จะสร้างเป็น พลังงานในปัจจุบันนั้น จนกระทั่งจะเป็นนิวตรอนในตัว ไม่มีบวก ไม่มีลบ ไม่มีดูด ไม่มีซึม ไม่มีผลัก ก็ได้เป็นที่สุด พลังงานจริงๆนะ แล้วมีฤทธิ์แรงยิ่งกว่า พลังงานทางโลกได้ด้วย ถ้าผู้นั้นสามารถ เอามาใช้ได้ พลังงานวิเศษกว่า พลังงานทางวัตถุได้จริงๆ แต่มันยากเหลือเกิน เพราะว่า ทุกวันนี้ เขาก็จับ พลังงานที่ลึกๆละเอียดๆขึ้นมาใช้เรื่อยๆ แต่พลังงานวิญญาณนี่ มันไม่ใช่ว่า มันจะง่ายๆ น่ะ มันลึกซึ้งมาก แล้วมันเป็นพลังงานที่เกินกล่าว เพราะว่าธรรมชาติที่ลึกซึ้งพวกนี้ ยังไม่มีมนุษย์ ที่จะไปเรียนรู้ได้อีกเยอะ มีวิทยาศาสตร์อันหนึ่ง เขาพยายามที่จะเรียนรู้พลังงานแห่งชีวะ ทุกวันนี้ เขาพยายาม ตามเข้าไป ตามเข้าไปถ่ายออกมาเป็นหนัง เป็นวิดีโอนะ แล้วจะได้ดูกัน มันเป็นเรื่องของ ความลึกซึ้ง มหัศจรรย์ เป็นเรื่องของความลึกซึ้งมหัศจรรย์ ทางการกำเนิด เขาว่าโลกนี่ มันกำเนิด มีชีวะมาตั้งแต่เมื่อไหร่ ตั้งกี่ล้านปีมาแล้ว เขาบอกว่า มันเกิดมีชีวะมาจากในทะเลนั่นเอง มีองค์ประกอบของน้ำ แล้วก็เป็นอะไรไม่รู้ เป็นภาษาทางเทคนิค เป็นภาษาทางวิทยาศาสตร์ แล้วอาตมาจำไม่ได้ ตั้งแต่เริ่มต้นเป็นเซลล์ เป็นชีวะขึ้นมาจนกระทั่ง มาถึงทุกวันนี้ พวกคุณนี่เกิด ชีวะของในตัวคนนี่เกิด ก็เกิดจากเหมือนกัน อยู่ในภาวะเหมือนอยู่ในน้ำ ในทะเล

เพราะฉะนั้น ไข่ของผู้หญิงนี่ ไข่ที่อยู่ในท้องนี่ ไข่ของผู้หญิงนี่ มันอยู่ในน้ำ มีน้ำเลี้ยง ลอย แม้แต่ที่สุด สเปอร์มนี่ เขาต้องอยู่ในน้ำ เสร็จแล้วไปทำปฏิสนธิ ปฏิสนธิออกมา จนกระทั่งได้ ก็ต้องอยู่ในน้ำ หล่อเลี้ยงอยู่ตลอดเวลา จะมีสภาพ โอ๊ย เขาใช้กล้องเข้าไปถ่าย มีกล้องพิเศษ เข้าไปถ่าย ของจริง ออกมา แล้วขยายเป็นแสนเท่า ขยาย ๕ แสนเท่าก็มี บางอัน โอ้ ดูแล้วมันจน ไม่รู้เรื่องว่า มันอะไรกันโว้ย แล้วก็ยังหลายอย่างที่เขาถ่ายเห็นขนาดนั้น เขาก็ยังอธิบายไม่ได้ว่า เอ๊ มันทำไม ต้องทำอย่างนั้น ทำไมมันเป็นอย่างนั้น เขายังอธิบายไม่ได้เลย เป็นพลังงานที่มันเกิดเป็นไป ตามนั้นแหละ ทำไมสเปริมมันจะต้องทำหน้าที่อย่างนั้นของมัน มีหน้าที่อยู่แค่นั้น ทำอยู่แต่แค่นั้นล่ะ ทำไมจะต้องทำ อะไรมันสั่งไม่รู้ มันเกิดมา มันก็ต้องทำอย่างนั้น บางครั้งก็ไม่รู้นะ มันก็ต้อง เป็นอย่างนี้ เป็นต้น มันไปทำปฏิกิริยากันแล้ว มีอะไรต่ออะไรแค่ไหนต้องเลิก ต้องหยุด ต้องจบ เขาก็มีของเขา อย่างนี้เป็นต้น

แล้วพลังงานพวกนี้ มันไม่ใช่วัตถุอย่างแค่นี้ขยาย ๕ แสนเท่า ไม่ใช่ พลังงานทางวิทยาศาสตร์ทำได้ แต่พลังงาน ทางจิตวิญญาณขยาย ๕ แสนเท่ายังไม่เห็นเลย ยังไม่รู้เรื่องเลย จะขยายอีกกี่ล้านเท่า ยังไม่รู้เลย แล้วมันก็วิจิตรด้วย นอกจากมันจะละเอียด เล็กลึกซึ้งแล้ว มันยังวิจิตร ไอ้ตัววิจิตรนี่ ไม่รู้จะใช้ ภาษาอะไรได้เข้าใจมากกว่านี้ มันวิจิตรพิสดารเกินกว่าจะคิดคาดได้ พลังงาน ทางวิญญาณ จนมาเป็นตัวความรู้สึกนี่ เพราะฉะนั้นสูงสุด อาตมาถึงเห็นว่า พระพุทธเจ้า ท่านค้นพบแล้ว ก็พูดเป็นภาษาคนไม่ได้นี่ ตัวรู้สึกนี่แหละเป็นตัวกิเลส แล้วเป็นตัวเหตุให้เกิดกิเลส ที่ร้ายแรงที่สุด

เมื่อรู้สึกแล้ว เราจะต้องมีตัวความรู้ เข้าไปเป็นตัวกำหนด ตัวความรู้เข้าไป รู้สึกอย่างงมงาย ก็คือ รู้สึกว่า เออ อย่างนี้เราชอบแล้ว ได้สมใจอย่างนี้ เราเรียกว่าสุข รู้สึกอย่างนี้เราไม่ชอบ ไม่ชอบ แล้วก็ต้องการผลักไส ต้องการเอาออก ไม่เอาออกไม่ได้ มันยังอยู่กับเรา ก็ทุกข์ เรียกว่า ทุกขเวทนา บางอย่าง เราก็ไม่ได้ไปกำหนดมัน ไม่รู้ งมงาย ก็เรียกว่า อทุกขมสุขอย่างงมงายเฉยๆ เป็นอุเบกขา เด๋อ แต่ทางด้านความรู้แล้ว รู้ว่าอย่างนี้ จนกระทั่งเราเข้าใจว่าสุข เราก็ไม่ติดยึดวางได้ เรารู้ว่า ถ้าสุข ก็เป็นสิ่งที่ง่ายหน่อย ถ้าทุกข์ก็เป็นสิ่งที่ทนได้ยากหน่อย เรารู้ความจริงว่า ทุกข์ คือความทนได้ยาก สุข คือความทนได้ง่าย ก็เท่านั้นเอง เอาเถอะ ถึงแม้ว่า มันจะทนได้ยาก แต่มันเป็นคุณค่า ด้วยความรู้ เรารู้ว่า เป็นคุณค่าความดี ไม่ได้มาบำเรอ ไม่ได้มาเห็นแก่ตัวอะไร เพื่อสร้างสรร เพื่อผู้อื่น เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่ออะไรก็แล้วแต่ เราก็ยินดีทำ ยินดีให้มีอยู่ แม้ทุกข์นี้ เราก็ไม่ได้เป็นกิเลส เพื่อเรา หมดเรา หมดของเรา ไม่ใช่ตัวเรา ไม่ใช่ของๆเรา ไม่ได้เพื่อเรา หมดความเห็นแก่ตัว มีแต่ความเห็นแก่อื่น เห็นแก่ผู้อื่นเท่านั้น

นี่เป็นความรู้สุดรู้ แล้วก็ทำให้ได้ดังที่ว่านี้เท่านั้น เพราะฉะนั้น พระอรหันต์เจ้า จะอยู่กับสภาพที่รู้ และรู้สึก เพราะฉะนั้น ไม่ใช่ ไม่รู้สึก ทีนี้ถ้าผู้ใดมีอุปาทานกับความรู้สึกมาก ก็ทุกข์มาก แล้วก็มี ตัวตนของความรู้สึกนั้นมาก รู้สึกสุขมาก อย่างนี้ก็สุขๆๆๆ แล้วก็เป็นตัวตนที่โตที่ใหญ่ แล้วก็อยาก จะได้สุขอันนั้นให้อยู่ ยังอยู่ อันนี้ทุกข์มาก ก็ทนไม่ค่อยได้มาก ทนไม่ค่อยได้มาก ก็จะต้องผลักมาก จึงเกิดปฏิกิริยา ผลักและดูดมาก

ผู้ที่เป็นพระอรหันต์เจ้า จึงผลักและดูดไม่มาก ในตัวเอง ไม่มีผลักมีดูด แต่จะมีการกระทำผลักดูด ให้แก่ผู้อื่น อันนี้ควรผลัก อันนี้ควรขจัด อันนี้ควรดูด ควรยังไว้ ควรรังสรรไว้ เพราะฉะนั้น จะให้กุศล รวมกันอยู่ อย่างดูด หรืออย่างรวมกันอย่างแน่น อย่างสนิทเนียน อย่างได้สัดส่วนที่ไม่เบียดเสียดข่ม ไม่เบียดเบียน หรือไม่เบียดเสียด หรือข่มหรือกดกันเกินไป ให้อยู่กันอย่างคล่องตัว อยู่กันอย่างอบอุ่น อยู่กันอย่างเนียน อยู่กันอย่างพอเหมาะพอดี ซึ่งเป็นความหมายของ มัชฌิมาปฏิปทาทั้งนั้น จะทำอย่างไร ถึงจะได้มัชฌิมาปฏิปทาดังกล่าวนี้ ไม่ใช่เรื่องตื้นเขินเลยน่ะ เพราะฉะนั้น ธรรมะของ พระพุทธเจ้านี้ มีคนดูถูกคนประมาท นึกว่าตัวเองรู้ นึกว่าตัวเองเข้าใจ ได้อะไรนิด ได้อะไรหน่อย ก็นึกว่าตัวเองรู้ ตัวเองเข้าใจ หลักเกณฑ์ มัชฌิมาปฏิปทา ขนาด...ทฤษฎีแห่งความเป็นกลาง เราเข้าใจแล้ว รู้แล้ว แล้วก็ไปตู่ไปท้วงคนนั้น คนนี้ ไปถือสาคนนั้นคนนี้อะไรต่ออะไร อยู่เยอะแยะ ไปน่ะ เราจะต้องไปศึกษา จนกระทั่ง เรารู้ลึกซึ้ง แล้วก็ปฏิบัติประพฤติกระทำ จนได้ แล้วเราก็จะรู้ว่า เราอยู่กันอย่าง มัชฌิมา

ทีนี้มาพูดถึงพวกเราอยู่กันทุกวันนี้ พวกเรานี่ ยังลดสิ่งที่ยังเฟ้อ ยังเกิน ยังไม่สันโดษได้ แล้วเราก็ ยังรังสรร เพื่อผู้อื่นได้อีก ตัวเรานั่นน่ะ เป็นผู้ที่น้อยลง น้อยลงได้ น้อย จะมีเครื่องอุปโภค เครื่องบริโภค ที่จะให้ตัวเองมี กำลังวังชา มีชีวิตตั้งอยู่แต่ละวัน อยู่อย่างสมดุล อยู่อย่างหมุนเวียน ได้สัดส่วนที่ดี แข็งแรง มีสมรรถภาพดี มีสิ่งที่ได้รังสรร อยู่อย่างดี เราก็อาศัยธาตุ อาศัยอะไรๆ ที่รองรับ แม้แต่ที่สุด แม้แต่เสื้อผ้า หน้าแพร ปัจจัย ๔ ก็อาศัย อย่าว่าแต่ปัจจัย ๔ เลย เครื่องบริโภค เครื่องประกอบบริขาร เครื่องประกอบ ที่จะมาใช้มาสอย ก็ให้พอดี ในหลักเศรษฐศาสตร์ที่ลึกซึ้ง ซ้อนอยู่ในอันนี้นี่ น่ะ โอ๊ย มีอีกเยอะ เรามางก เรามากักตุน เรามาเก็บเอาไว้ แต่ในเรา แล้วเราก็ไม่ได้ ใช้คุณค่าของมัน สมเหมาะสมควร ก็เสียเศรษฐกิจเหมือนกัน เราเองเรากระจาย เราแบ่งให้ผู้นั้น ผู้นี้ ได้ออกไป ให้มันทำกิจ ให้มันได้ใช้งาน ให้มันได้เกิดการสร้างสรร ไม่ว่าจะเป็นแผ่นดิน ที่ดิน ข้าวของ เครื่องใช้ ตั้งแต่ใหญ่มาจนกระทั่ง ถึงเล็กละเอียด ก็ตาม

ถ้าเผื่อว่าเรารู้จักการจัดสรรแบ่งแจกแล้วก็สะพัดให้ได้เกิดบทบาทการงานของมัน ไม่สูญเปล่า ในแต่ละ วินาที ได้มีบทบาทประพฤติที่มันได้คุณค่าประโยชน์ อย่างดีแล้วละก็ ผู้นั้นแหละ เป็นนัก เศรษฐศาสตร์ชั้นสูง แล้วก็จะเรียนรู้ สภาพของตนเอง เป็นผู้ที่อาศัยหรือจัดแจง เป็นผู้ที่ประหยัดสุด ประโยชน์สูง ผู้มีประโยชน์สูง ประหยัดสุดได้อย่างแท้จริงเลย เพราะฉะนั้น สังคม อันนี้แก้ปัญหา เศรษฐกิจ แก้ปัญหาการเบียดเบียน แก้ปัญหาความเดือดร้อนต่างๆ นานาได้หมด

เพราะฉะนั้น ในทางบริหารประเทศชาติ บริหารสังคมใหญ่ๆ กว้างๆ เขาใช้หลักเศรษฐกิจ กันเป็น ส่วนใหญ่ ในด้านรัฐศาสตร์นี่ ต้องเรียนเศรษฐศาสตร์ด้วยอย่างสำคัญ ในเรื่องรัฐศาสตร์ จะต้อง เรียนเศรษฐศาสตร์ด้วยอย่างสำคัญ เพราะว่าการแก้ปัญหาอย่างที่กล่าวนี้ มันจะเป็นอย่างนี้ ถ้าตัวเราเองนี่ เป็นผู้รู้จัก ในการที่จะอาศัย และแบ่งแจกสร้างสรร เรารู้หลักการพวกนี้ เรารู้จักสภาพ พวกนี้ดีนะ เราจะเป็นผู้ที่ช่วยเศรษฐกิจของสังคมมนุษยชาติได้อย่างเก่งที่สุดเลย ในชาวอโศก พวกเรานี่ ก็ฝึกฝนอบรมเรียนรู้ เพื่อที่จะเป็นคนอาศัยสิ่งที่อาศัย ประหยัดที่สุด แล้วเราจะเป็นผู้สร้าง ที่สร้างสิ่งที่สำคัญ สิ่งที่จำเป็นของสังคมได้ ดีที่สุด มากที่สุดขึ้นไป แล้วเราก็จะสะพัด หรือกระจาย หรือเรียกว่า เฉลี่ยลาภ ในภาษาพระพุทธเจ้า เฉลี่ยลาภก็คือ ลาภธัมมิกา เฉลี่ยจริงๆ ด้วยความ เมตตา ทางกายกรรม เมตตาทางวจีกรรม เมตตาทางมโนกรรม ไม่ใช่เฉลี่ยลาภ เพื่อที่ จะได้ลาภ มากยิ่งขึ้น ไม่ใช่ ไม่ใช่ การเสียสละ หรือการเฉลี่ยนี่ ที่อาตมาเทศน์เมื่อวานนี้ ที่สันติอโศก ก็ได้เทศน์ พูดถึงเรื่อง การเสียสละ ๒ ชนิด เสียสละจริง กับเสียสละมารยาท

คนที่เสียสละจริง ย่อมรู้ตัวเองว่า ตัวเองเต็มใจ ย่อมรู้ตัวเองว่าเต็มใจที่จะมีน้อยลงๆ ส่วนผู้เสียสละ มารยาทนั้น ยิ่งรู้ว่าตัวเองพร่อง แล้วจะต้องได้มากขึ้นๆ เสียสละมารยาท มีอยู่ในสังคมเยอะ มันยิ่งรู้สึกว่า ตัวเองยิ่งรู้ว่าตัวเองพร่องนะ ยิ่งเสียสละยิ่งรู้สึกตัวเองพร่อง แล้วก็จะมีกลเชิงซ้อน อยู่ในนั้นล่ะว่า เออ เราให้เขาไป เราต้องได้มาคืนนะ ต้องได้มากยิ่งขึ้นๆ ถ้ายิ่งหยาบๆแล้ว ก็คือ สละไป เพื่อเราจะได้มามากยิ่งขึ้น เหมือนอย่างกับคนทำทาน ทำทาน ใส่บาตร ก่อนจะใส่บาตร ทัพพีหนึ่ง ก็ สาธุ ขอให้ได้บ้านได้เมืองโน่นแน่ะ อย่าว่าแต่ได้ล้านเลย ได้บ้านได้เมือง ก็จะเอา กันแหละ ตะกละ โลภมาก ซะไม่มี...แล้วไม่เคยรู้ตัวนะ ไม่เคยประมาณว่า เอ๊ะ มันดี หรือไม่ดี อย่างนั้นน่ะ หน็อยจะให้ข้าวคนอื่นไปนี่ ให้ก็ให้ซี ข้าวแค่ทัพพีเดียวนั่น ไม่ ได้...เอาคืน อยากได้ มากกว่าเก่า ได้มาท่าไหน ก็เอาทั้งนั้น มันจะเอา โลภโมโทสัน ไม่ได้ให้จริงใจ

แม้จะทำบุญอย่างนี้ ก็ยังรู้สึกตัวเอง พร่องแล้วจะต้องได้มามากขึ้น นั่นละ คือ ผู้ที่สละมารยาท ไม่ใช่สละจริงหรอก หนักเข้าก็กลายเป็นสละมารยา อย่างโลกทุกวันนี้นี่ โอ้โห สละมารยา เยอะเลย ออกโทรทัศน์ ประกาศทางโน้น ทางนี้ สละมารยา มากมาย แล้วได้ค่านิยมทางโน้นทางนี้ ได้ทาง จิตวิทยา ได้กันทางโปรประกันดาตัวเอง ได้ทางโฆษณาตัวเองอะไร อุ๊ย์ มากมายก่ายกอง พูดไป ก็ไม่หมด เมื่อย

โดยความจริงแล้ว คนเราเกิดมานี่ เพื่อสละเท่านั้น หรือเพื่อทาน ในบารมี ๑๐ ทัศ นี่ มีตัวทานเท่านั้น เป็นตัวที่ ยิ่งยอด ยิ่งใหญ่ที่สุด ศีลก็เพื่อเป็นไปกับทานน่ะ บารมี ๑๐ ทัศ มี ทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญา แล้วก็อีก ๔ ตัว ก็คือ สัจจะ วิริยะ ขันติ อธิษฐานแล้วก็อีก ๒ ตัวสุดท้าย เมตตา กับ อุเบกชา นี่บารมี ๑๐ ทานเท่านั้น

ศีล ก็บำเพ็ญเพื่อจะให้เกิดจิตสละ หรือทาน

เนกขัมมะ ก็คือการสละออก ซึ่งกิเลสหรือตัวตน จนจะเป็นผู้ที่ไม่ติดตัวตน เพื่อเสียสละ เพื่อทาน

ปัญญา ก็เพื่อรู้อันนี้ เพื่อรู้จักศีล เพื่อรู้จักเนกขัมมะ เพื่อรู้จักว่า ทานคือทานจริงๆนะ ไม่ใช่ทานคือเอา ไม่ใช่ทานคือต้องการโค้งงอมาให้แก่ตัวเอง ไม่ใช่ ทานนั่นคือให้ ให้ ไม่ใช่เอา ไม่ใช่โค้งงอ ไม่ใช่มี เล่ห์เหลี่ยมอะไร เพื่อเรา หมดให้กันโดยตรง ทานตรงๆ ให้ตรงๆ ปัญญาก็ต้องมีเพื่ออันนี้ เพราะฉะนั้น เรียนสัจจะก็คือตรวจตรา ให้เกิดความจริงซ้อนเข้าไป ลึกเข้าไป ซ้อนเข้าไป สัจจะ วิริยะ พากเพียรเข้าไป ขันติ อดทน ทำให้ได้ อธิษฐานตั้งใจๆ ตั้งให้ตรง ตั้งให้จริง ตั้งให้ได้ ตั้งให้มั่น ตั้งให้แข็งแรง อธิษฐาน อธิษฐานไม่ได้แปลว่าขอนะ นี่คือองค์ธรรมของบารมี ๑๐ สัจจะ วิริยะ ขันติ อธิษฐาน นี่ก็เป็นบารมีที่จะต้องซ้อนเชิงให้เกิดทาน เมื่อผู้ใดทำได้ ยิ่งได้จริงแล้ว ผู้นั้นก็คือ มีความถึงที่ แห่งเมตตากับอุเบกขา เมตตาคือ ตัวปฏิกิริยาแห่งการงาน เพราะฉะนั้น มีชีวิตอยู่ อย่างเมตตาเพื่อทาน มีคุณลักษณะของเมตตาในจิต เรียกว่าเมตตาจิต เมตตากายกรรม เมตตาวจีกรรม เมตตามโนกรรม เพื่อลาภธัมมิกา เพื่อเฉลี่ยลาภ เพื่อให้ เพื่อแจก เพื่อทาน แล้วจิต ตัวของตัวเอง ที่สุดก็คืออุเบกขา สุดท้าย ว่าง เปล่า เฉย จิตก็เบิกบาน ร่าเริง เป็นสะอาด จิตสะอาด บริสุทธิ์ ปริสุทธา ปริโยทาตา มุทุ กัมมัญญา ปภัสรา

ประภัสสร เบิกบาน ร่าเริง จิตบริสุทธิ์ สะอาด ไม่ได้มีเรา ไม่ได้มีตัวของเรา ไม่ได้ยึดติดเรา ไม่ได้ต้องการ อะไรตอบแทนเลย แต่มั่นใจในคุณค่าอันนี้ว่าสูงสุดดีสุด แล้วทำอันนี้ อย่างบริสุทธิ์ใจ ที่สุด อุเบกขาเป็นฐาน บารมีสูงสุด สำหรับอาศัย ส่วนเมตตานั้นเป็นฐานบารมี สำหรับสร้างสรร สำหรับเป็นมนุษย์ ประเสริฐอยู่ในโลก อุเบกขาเป็นตัวอาศัยของตน สบาย ว่าง เบา เป็นอุเบกขา วิหารธรรม

ส่วนเมตตาวิหารธรรมนั้น เป็นตัวการงาน เป็นตัวปรารถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ เมตตา แล้วก็ทำเมตตา ก็กรุณา ก็มุทิตา แล้วก็ค่อยไปจบที่อุเบกขาอีกอย่างเดิม กรุณาก็คือลงมือช่วย เมื่อต้องการให้คนอื่น พ้นทุกข์ ก็ลงมือช่วย กรุณาคือกระทำ เมื่อกระทำสำเร็จแล้ว ก็เห็น ก็รู้ ก็ตรวจ ก็รู้ว่าจบ มุทิตา ก็คือ ยินดีกับเขา ที่เขาพ้นทุกข์ ยินดีแล้ว จบแล้ว พอแล้วเสร็จแล้ว มุทิตาจิต ก็ชัดเจน เป็นตัวตรวจสอบ แล้วก็วาง ก็อุเบกขา ก็จบ

วันนี้ อาตมาค่อนข้างจะเทศน์ รู้สึกว่าจะเป็นปรมัตถ์เสียเยอะ แล้วเป็นคุณธรรมในระดับสูง ผู้ที่มาใหม่ ยังไม่มีพื้นฐานในการฟังธรรม วันนี้ก็ขออภัยน่ะที่มันไปเสียลึก...ไปซะ ก็อาจจะ ลำบากหน่อย ก็ขออภัย แต่ไม่ได้ดูถูกนะ หลายคนฟังแล้ว เข้าใจดี ก็ขออนุโมทนา มาได้มาฟังธรรม กัณฑ์เข้าพรรษาวันนี้ ซึ่งอาตมาเห็นว่า ได้อธิบาย ได้เจาะอะไรไว้ ลึกมากทีเดียว พวกเราจะได้ ศึกษากันต่อ การมาอยู่รวมกัน บอกแล้วว่า เราจะมีประสบการณ์ เราจะมีของจริง ที่เราจะได้ป ระพฤติ ปฏิบัติ อย่างมาก แล้วพวกเราก็ต้องลด ต้องยอม บอกแล้วว่าตัวยอมนี่แหละ ตัวลดรา อ่อนน้อม ถ่อมตน มีคารโว มีนิวาโต ต้องถ่อมตน ถ่อมตน หรือต้องมี อปจายนมัย มีตัวอ่อนน้อม ให้ได้ ตัวอ่อนน้อม บอกแล้วว่า มันไม่ใช่เรื่องตื้นเขิน ถ้าทำได้แล้ว ทุกอย่างจะเจริญขึ้นอีกน่ะ ทั้งตัวเรา และสังคม และการสร้างสรร อะไรต่างๆนานา ทั้งหมด ทั้งมวล

เอาละ สำหรับวันนี้ ก็เลยเวลาไปแล้วนิดหน่อย พอ

สาธุ


ถอด โดย ประสิทธิ์ ฝ่ายทอง
ตรวจ ๑ โดย สม.ปราณี
พิมพ์ โดย อนงค์ศรี ๒๐ ก.ย.๓๔
ตรวจ ๒ โดย บังอร สุขสมาน ๕ ต.ค.๓๔
เข้าปก โดย สุริยา รุ่งเรือง
เขียนปก โดย พุทธศิลป์

มัชฌิมาของพุทธ สุดลึกซึ้ง / FILE:1843B.TAP