มนุษย์พุทธบริษัท ตอน ๒
โดย พ่อท่านโพธิรักษ์
เมื่อวันที่ ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๓๔
ณ พุทธสถานศาลีอโศก


เราก็มาพูดถึงประโยชน์ที่จะได้ในการทำวัตร เราก็เพื่อประโยชน์ อย่างน้อยได้ฝึกปรือ เพิ่มประโยชน์ ตรงที่ว่าเราได้ทำกิจวัตร วันๆหนึ่ง เราควรจะมีกิจอะไรบ้าง เราก็มี กระทำกัน คนในทุกๆคนน่ะ ถ้าเผื่อว่า ไม่คำนึงถึงอะไรเลย ชีวิตปล่อยไป เปะปะๆ ไม่ได้มีหลักอะไรของชีวิต ไม่รู้ว่าอะไรสำคัญ และไม่สำคัญ ปล่อยไปตามอารมณ์ อารมณ์ตัวเอง กิเลสจะพาบงการ เป็นอะไร ต่ออะไรไป ก็ตามเรื่อง อยากจะหลับ อยากจะตื่น อยากจะเป็นโน่นเป็นนี่ ก็ถือว่าตัวเองอิสระ ตามใจตัวเอง ที่จริง ใจก็คือกิเลส แล้วก็ตามใจ กิเลสของตัวเอง ไปตามเรื่อง ตามราว ก็เป็นชีวิตที่ไม่มีความรู้ ไม่มีสติ ไม่รู้จักความสำคัญในความสำคัญ ในกาลเวลา เวลาหลับ เวลาตื่น เวลาตื่นขึ้นมาแล้วควรจะมีอะไร ต่ออะไรเป็นหลักที่ดี อย่างเรามี วัฒนธรรม ตื่นเช้าขึ้นมา ตามเวลาที่เราควรจะตื่น ตื่นมาแล้วก็ได้เข้ามา อย่างน้อยก็สวดมนต์ แล้วก็ได้ อบรมตน ได้ฟังสิ่งที่ควรได้ฟัง ซึ่งเป็นการเสริมประโยชน์ สร้างสรร เป็นการศึกษา

อาตมาเคยพูดนะว่า พวกเรานี่มีบุญนะ มีบุญที่อยู่วัด หรืออยู่ใกล้วัด แล้วก็ได้มาฟังธรรม เช้าขึ้นก็มี สารัตถะ มีสิ่งที่ดีติดอยู่ในหู ได้รับฟัง ได้สัมผัส ทางตาของเรา ได้นึกคิด ได้พิจารณา ได้รับซับทราบ ซึ่งเป็นสิ่งที่ดี เป็นทรัพย์แท้ๆ อย่างหนึ่งที่ได้ฟังธรรม การได้ฟังธรรม โดยเฉพาะ ได้ฟังธรรมที่เป็น ธรรมะของพระพุทธเจ้าแท้ๆ ฟังสิ่งที่ดี หรือแม้ไม่ได้เป็นธรรมะแท้ๆ เป็นเรื่อง ราวอะไร ที่เราควรจะรู้ ความสำคัญ รู้ความจำเป็น รู้ว่าสิ่งนี้ต่อไปในอนาคตข้างหน้า ในโอกาส ในเวลานาที ชั่วโมงข้างหน้านี่ เราควรจะทำอะไร เราควรจะมีอะไรกัน แค่นั้นมันก็เป็นทิศทาง เป็นครรลองของสุคโต ของการเดิน ดำเนินไปของชีวิตที่ดีขึ้นแล้ว

นี่เราได้อะไรต่ออะไรที่ดียิ่งกว่านั้นเป็นประจำ ไม่ได้จ้างได้วาน ทำกันเอง เป็นกันเอง อยู่ในกลุ่มพุทธบริษัท อยู่ในสังคมกลุ่มของเราเอง เราก็ได้ทำสิ่งที่ดีๆอย่างนี้ มันเป็นบุญของผู้ที่ได้ ถ้าไม่รับ เราก็ไม่รับเอาบุญนั้น ถ้าเรารับ เราก็ได้บุญนั้น ได้กุศลนั้น ได้คุณค่านั้น อะไรอย่างนี้ เป็นต้น อันนี้ถ้าผู้ที่มีปัญญา มีสำนึกแล้ว ก็ต้องขวนขวายเอา อย่างน้อยก็ได้มาหัด มาฝึกฝืน สิ่งที่ดี ที่เป็นกุศล แต่เราเองนี่กิเลสมันจะพาไม่เอา มันจะตามใจตัวเอง มันอยากนอนต่อ มันลุกเหมือนกัน แต่มันไม่อยากที่จะมานั่ง ไม่อยากจะมาฟัง อยากจะไปทำอะไรที่ตัวเองชอบ ไปติดอะไรอยู่ เพลิดเพลินอะไรอยู่ ก็อ้างเป็นกิจเป็นการเป็นงานบ้าง กิจการงานนั้น ก็ทำแหละ เราก็ไม่ใช่ ไม่มีเวลาที่จะทำ ทั้งๆที่มันไม่ต้องรีบร้อน แต่เราก็อ้างว่า เออ... ต้องไปทำงานนั้นน่ะ มานั่งอย่างนี้ ไม่ได้ประโยชน์เท่า ทำงานนั้นดีกว่า ใจมันชอบ มันก็ทำตาม อำเภอใจเรา บำเรอใจเรา นั่นก็เป็นตัวอัตตา

ไอ้ตัวอัตตานี่อาตมาไม่รู้จะพูดยังไง มันเยอะเหลือเกิน มันมากเหลือเกิน จนกระทั่ง ท่านพุทธทาส นี่ ท่านรวมมาหมดเลย ทุกอย่างก็มีแต่ตัวกูของกูทั้งนั้น ที่จริงอัตตาก็กู ก็เรา สักกายะก็เรา อาสวะก็เรา ตัวตนของเราทั้งนั้นแหละ ตัวเรา หยาบ กลาง ละเอียด มันมีสภาพของมันทั้งนั้น มากมายก่ายกอง เพราะฉะนั้น เราจะต้องพยายามไม่บำเรอตน ไม่บำเรอใจตน ตามที่ตนต้องการเสพ คิดถึงประโยชน์ คิดถึงคุณค่าที่แท้จริง ทุกกรรมกิริยา ทุกเวลานี่ เราจะต้องนึกถึง กาย วาจา ใจ เราได้ทำอยู่อย่างไร เราจะเจริญอย่างไร อาตมาอยากจะเสริม ในเรื่องที่จะทำให้เราเจริญยิ่งๆขึ้น คือวุฒิ วุฒินะ ไม่เช่นนั้นแล้ว เราจะ เฉื่อย เราจะเสียเวลา เป็นฐิติ เป็นการหยุดอยู่ เป็นการอยู่ที่เก่า เป็นลิงติดแป้น เป็นลิงติดแป้น เป็นเจ้าติดศาล แล้วไม่สูงขึ้น จุดนี้นี่เราจะพิจารณาอย่างไร

หลักปฏิบัติของเราก็คือมรรคองค์แปดนั่นน่ะ มรรคองค์แปดก็หลักคลุมใหญ่ๆ ก็ศีล สมาธิ ปัญญา ศีล สมาธิ ปัญญา เราก็ต้องตั้งกำหนดแหละ มีกำหนดของเรา สัมมาทิฏฐิ มีความเห็นแจ้ง มีความรู้แจ้ง ในตัวเรา สักกายะก็คือตัวเรา เราก็ไล่ไปตั้งแต่ตัวเรา สักกายะนี่ มีความเห็น สักกายทิฏฐิ เห็นอย่าง ไม่สงสัย พ้นวิจิกิจฉา พ้นสักกายทิฏฐิ คือรู้ตัว เห็นตัว เข้าใจตัวเอง ตัวเองมีตัวไหน เป็นตัวร้ายเป็นตัวการ

สักกายะนี่อาตมาเคยแปลเป็นตัวภาษาไทย ว่า คือ ตัวการ ตัวการนี่ตัวเรา ตอนนี้เรามีตัวอะไร เป็นตัวการ ที่จะตัองแก้ไข ตัวไหนมันดีแล้วก็แล้วไป เราได้ดีแล้วก็แล้ว เราจะต้องดียิ่งขึ้น เราต้องดียิ่งขึ้น เจริญขึ้น กว่าเก่า ดีกว่าเก่า เราต้องตรวจ สักกายะก็คือต้องตรวจตัวเสมอ วันนี้ เมื่อวานนี้ เมื่อวานนี้เราดีขนาดนี้ วันนี้เราจะต้องดีขึ้นกว่านี้ พรุ่งนี้จะต้อง ดีขึ้นกว่าเมื่อวานนี้ หรือวันนี้อีก อย่างนี้เป็นต้น เราต้องตรวจ สักกายะ ตรวจสักกายะมีอะไรบ้าง แล้วเราก็มาเพียรปรับ การปรับไม่ได้ปรับอื่นเลย ปรับความคิด สังกัปปะ ปรับวาจา กรรมวาจา ปรับการกระทำ กัมมันตะ แล้วมันก็จะไปปรับอาชีวะ ปรับอาชีพ ใจเราเป็นตัวรู้ ใจเราเป็นตัวกำหนด ว่า เราจะปรับอย่างไร อธิของสังกัปปะ อธิของวาจา อธิของกัมมันตะ อธิของอาชีพ ที่มันจะยิ่งขึ้นๆ มันจะเจริญขึ้น ความหมายของท่านก็เป็นหลัก มิจฉาสังกัปปะก็มีสาม กามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก มันก็มีหลักอยู่อย่างนั้นแหละ

ทีนี้เราเองน่ะแหละ เรามีกามอยู่อีกเท่าไหร่ กามนี้ได้แล้ว เราลดละได้แล้ว แล้วก็คงจะต้องรู้นะว่า กามนี่ ตั้งแต่หยาบ กลาง ละเอียด หยาบในเรื่องราวของกาม การใคร่อยากในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส กามคุณ ๕ กามในเรื่องอะไรก็แล้วแต่ ตั้งแต่เรื่องหยาบๆ ก็เรื่องผู้หญิงผู้ชายนี่ เป็นกามคุณเต็ม สมบูรณ์แบบ แล้วก็ มันเรื่องสัมผัส แตะต้องทางรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสทั้งหมด ทั้งใจด้วยนะ ในเรื่องของกามอันใหญ่ นอกนั้น ก็กามในเรื่องตา หู จมูก ลิ้น กาย ของเรานี่แหละ จะเป็นการปรับในเรื่องของการกินอยู่หลับนอน เครื่องใช้อุปโภคบริโภค สิ่งแวดล้อมอะไรที่กระทบสัมผัสทางตา หู จมูก ลิ้น กาย เรานี่ เราจะตั้งเรียกว่า ศีล แล้วเราก็จะปฏิบัติ เรียกว่า พรต เราจะบำเพ็ญประพฤติ เราต้องกำหนดจริงๆ เราก็ต้องดูตัวเราว่า เออ... เราจะทำอะไรเพิ่มขึ้น แต่ก่อนนี้เรามีศีลขนาดนี้ ตอนนี้จะเพิ่มอธิศีล เราจะบำเพ็ญ เราจะประพฤติ พรตปฏิบัติ แต่ก่อนนี้ขนาดนี้ เรายังเสวยอยู่ ยังลำลองให้มันอยู่ ตอนนี้ เราจะเคร่งขึ้นกว่านี้ เราจะปรับขึ้น ให้สูงกว่านี้ ให้ดีขึ้นกว่านี้ อย่างนี้ไม่เอา อย่างนี้มันยังเป็นการปล่อย ให้เป็นเหยื่อของกาม ที่จริงกิเลส ทั้งหมด ก็นิวรณ์ ๕ นั่นแหละ กาม พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจะ วิจิกิจฉา

วิจิกิจฉาก็คือต้องแจ้งตลอด แทงทะลุรอบไม่สงสัย เห็นแจ้งเห็นจริงเป็นญาณ สุดท้ายก็คือ ญาณทัสนวิเสส เป็นตัวตรัสรู้โน่นแหละ มันจึงพ้นวิจิกิจฉาอย่างสมบูรณ์ ทั้งรู้และทำได้สำเร็จ เรียกว่า ญาณทัสสนวิเสส ที่รู้แจ้งแทงทะลุว่าเราได้ตรัสรู้แล้ว เราได้บรรลุแล้ว เป็น กตญาณ ญาณที่เห็นแล้วว่า เราทำได้แล้ว สำเร็จแล้ว

เราก็ต้องดูตรวจตราความจริง สัจจญาณ กตญาณ กิจจญาณก็ทำ เพราะฉะนั้น เรากำหนดตัวที่จะทำ ตัวที่จะประพฤติให้ตัวเอง เราก็ทำ ทำของเรา คนอื่นจะมารู้กับเราอะไรได้ เราจะเพิ่ม เราจะลด เราจะนั่นนี่ นิดๆหน่อยๆ ไอ้โน่นไอ้นี่ ไม่จำเป็นจะต้องบอกใคร บางสิ่งบางอย่างนี่น่ะ เราทำของเรานี่มันเหมือน ละเลียดของเรา เราทำของเราบางอย่างบางอันนี่ เราบอกใครไม่ได้หรอก มันน่าอาย แล้วเราจะมา กำหนดหยุด กำหนดลด กำหนดทำโน่นนี่อะไร มันเหมือนกับคนอื่น เราบอกเขา มันบางที บางอย่าง มันแล้วของเราเองน่ะ มันน่าอาย ของเราบางสิ่งบางอย่าง คนอื่นเขารู้ด้วย มันไม่น่าเปิดเผยอะไร เราก็ทำของเรา แก้ไขของเรา สิ่งใดจะเอื้อไปให้การเป็นกาม กามอย่างหยาบ อย่างกลาง อย่างละเอียด พยาบาท ที่จริงก็สายราคะโทสะ นั่นแหละ หรือโลภกับโกรธนั่นแหละ แล้วมันมีรายละเอียด ของมันไป เรื่อยๆ เสร็จแล้วมันก็ยังมากไป นั่นเรียกว่าเบียดเบียนตน เรากำหนดเสียสูงไป เกินไป เรียกว่า เบียดเบียนตน หรือ อัตตกิลมถะ ทรมานตน เราก็อย่าทำ เราก็เอา นี่กะขนาดนี้ ตั้งตนอยู่บนความลำบาก พอสมควร แล้วก็ทำได้ ไม่เกินไป ไม่เกินตัว ไม่เกินสักกายะ หรือไม่เกินอัตตา ไม่เกินตัวเรา เราขนาดนี้ พอได้ นี่มันจัดการขนาดนี้ สังวรระวังขนาดนี้ สำรวมกายวาจาใจ แม้แต่ในการคิดนึก ในการที่เราจะไป... จิตวิญญาณของเรา จะไปเที่ยวได้มี วิตรรกะ มีการตรึกการตรอง มีการเที่ยวได้ข้องได้แวะ มีการไปปรุง ไปแต่ง มีการไป... ทางด้านความคิดนี่แหละ เราจะต้องรู้ตัวเองเลยว่า นี่ตอนนี้จิตของเรา มันประหวัด ถึงอะไร จิตของเรา มันแลบเลียถึงอะไร จิตของเรามันได้สัมผัสกับอะไรแล้ว มันสังขารมันปรุงกับอะไรแล้ว ไปในแง่กามขนาดนี้ กามขนาดนี้ให้มันก่อน นี่มันยังไม่ได้เป็นศีล เป็นหลักอะไรของเรา เรายังไม่ได้ถือ เรายังไม่ได้สมาทาน แต่ขณะนี้เรามาสมาทานแล้ว ต้องสู้ อย่างนี้ไม่เอา นี่...เราจะไม่อนุโลมแก่ตนเอง ขนาดนี้ จะเป็นเรื่องของรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ขนาดที่เรา ตั้งแล้วก็ดี อย่างนี้เป็นต้น เราจะต้องรู้จริงๆ ว่าเราไม่เบียดเบียนตน แล้วก็ไม่ไป เบียดเบียนคนอื่น เราทำอยู่ในแวดวงของพวกเรานี่ เราทำขนาดนี้ มันไปกระทบ สัมผัส มันไปเดือดร้อนผู้อื่นมั้ย

ยกตัวอย่างง่ายๆ อย่างอยู่ในบ้านๆหนึ่ง สามียังไม่กินหรอกมังสวิรัติน่ะ ตัวเองจะกิน เป็นภรรยา ต้องทำ กับข้าวให้สามี ตัวเองก็จะถือศีล จะไม่กินเนื้อสัตว์ ไม่กินเนื้อสัตว์แล้วเสร็จ เราก็ทำให้สามีกิน เราก็ทำให้เขา ถ้าเราจะบอกว่า เราจะไม่กินเนื้อสัตว์ แล้วเราก็จะไม่ทำละ เอ๊!มันได้มั้ย มันไม่ได้นะ เราต้องทำให้เขา ให้ลูกเต้า สามีเขาก็ยังกินอยู่ เราก็ต้องทำให้เขา อย่างนี้เป็นต้น เราก็ต้องรู้ว่า เราเคร่ง กว่านี้ ไม่ได้หรอก เคร่งกว่านี้เดี๋ยวบ้านแตก เดี๋ยวยุ่ง เราก็ต้องอนุโลมก่อน จนสามีเขาฟัง พอเราลองเชิงดู บอก เอ๊!ถ้าจะทำมาโดยไม่บอกบ้าง แซมๆปนๆมา ถ้าเขาทักว่า อะไรล่ะนี่ ทำไมต้องทำมังสวิรัติมากิน บอกว่า ฉันจะทำมากินของฉันน่า คุณก็กินของคุณไปเถอะ ฉันก็ทำให้คุณแล้ว อะไรนี่ ค่อยๆไปเรื่อยๆ จนกระทั่ง เขาก็ตักชามมังสวิรัติของเรามั่ง หลายๆทีเราทีสองชามมา สามชามมา หนักเข้า ก็ทุกชามเลย ก็เป็นมังสวิรัติ อะไรอย่างนี้ มันก็ค่อยๆเป็น ค่อยๆไป ค่อยๆจัดแจง ค่อยๆ ปรับ ค่อยๆทำ อะไรต่างๆนานา ถ้าเราทำได้ดีด้วย ได้จังหวะพอดี ไม่ใช่รีบๆ ด้วยนะ พอฟังอาตมาไป ก็ได้ไปรีบ วันนี้พรุ่งนี้มะรืนนี้ เต็มโต๊ะๆ เป็นมังสวิรัติหมด ทางโน้นรู้ตัวทัน ก็ว้ากกันละก็ แหม! จานบินกันกลางโต๊ะ ก็ไม่ได้เรื่อง เหมือนกัน นะ เราก็ต้องรู้กาลเวลา รู้ว่าเราจะเข้มขึ้น จะอะไรขึ้น เพื่อตัวเรา เพื่อตัวเขา ไม่เบียดเบียนเขา ไม่เบียดเบียนเรา นี่พูดถึงว่าถึงที่เราอยู่กับเขาด้วย เราอยู่ เราสัมพันธ์กัน เราจะต้องอะไรต่ออะไรกันพวกนี้ มันมีเรื่องราวมากกว่านี้นะ อาตมานี่ ยกตัวอย่าง ให้ฟังหยาบๆ เรื่องง่ายๆ เป็นเรื่องราวที่ เบียดเบียนผู้นั้น ผู้นี้ด้วยทางเขาเอง เขายังไม่เป็นไป เราก็จะต้องเอาแต่แค่เรา เราจะต้องอนุโลมปฏิโลมเขาบ้าง อะไรเราก็ต้องเป็นไป คนเราก็มีวิบาก มีองค์ประกอบของชีวิตต่างกันนะ

ในเรื่องสังกัปปะ ในเรื่องดำริ ตริ หรือตรึกนึกคิด กำหนด ในเรื่องของจิตทั้งนั้นน่ะ เราจะกำหนดแค่ไหน ตริ ตรึก นึกคิด เรียกว่าเราสามารถที่จะ จัดแจงแค่ไหนอะไรต่างๆ พวกนี้ เราก็กำหนดให้มันพอเหมาะพอดี เป็นไปในการตรึกไปในทางที่จะบำเรอกาม บำเรอพยาบาท ก็อย่า แล้วก็ถ้าเคร่งเกินไป เบียดเบียนตน เบียนเบียนผู้อื่น ก็อย่า นี่ก็ปรับให้มันเป็นมัชฌิมา แล้วก็จะสูงขึ้น ไปเรื่อยๆๆๆๆๆ ตามขั้นตอน ถ้าได้จังหวะ ที่พอดี มันก็เจริญอย่างดีอย่างสวย เรียบร้อยราบรื่น ไม่กระทบไม่สัมผัสไม่รุนแรง ไม่เดือดร้อนไม่วุ่นวาย ไปตามลำดับ ของความเจริญ ที่มันเป็นไปได้ วาจาก็เหมือนกัน เราต้องกำหนดเหมือนกัน วาจาเราก็ ต้องพูด จะพูดขนาดนี้นี่ พูดรู้สึกว่าเอาจริงเอาจัง เอาเด็ด มันได้มั้ย จะพูดขนาดนี้แล้วละ ทั้งๆที่เรา ก็ทำมาแล้วละ แต่ว่าเราไปพูดไปคุยบางทีนี่มันโว นะ บางทีนี่มันโอ่อ่า ตอนนี้จะบอกได้รึยังว่า เราอาบน้ำ ห้าขัน ได้รึยัง ออกไปแล้วมันจะกระทบแรงมั้ย มันจะเกิดผลสะท้อนขึ้นมา น่าอ้วก มากไป คนเขาฟัง ไม่ไหวหรอก เราจะพูดได้รึยัง เราก็ต้องประมาณ ถ้ายังพูดไม่ได้ ก็อย่าเพิ่ง ตอนนี้พูดได้ พูดแล้วก็เป็น หลักเกณฑ์ พูดแล้วก็เป็นสิ่งยืนยัน พูดแล้วก็ทำให้คนอื่นได้คิด ได้สำนึก ตัวเราก็ต้องได้ด้วยนะ เวลาจะพูดนี่

การพูดด้วยตัวเองยังไม่ได้มันไม่มีประสิทธิภาพ เราต้องบอกเขาให้รู้ เพราะฉะนั้น เราก็จะต้องพูด อย่าให้คนเขาเข้าใจเราผิด ว่าเราทำได้ ถ้าเราทำได้ แล้วเราพูดนี่ มันดี ยถาวาที ตถาการี พูดอย่างใด ทำอย่างนั้น ทำได้อย่างนั้น ตถาการี ยถาวาที ทำได้อย่างไรแล้ว จึงพูดอย่างนั้น มันมีผลดี พระพุทธเจ้านี่ ยถาวาที ตถาการี หรือ ตถาการี ยถาวาที ทำอย่างใด ท่านพูดอย่างนั้น พูดอย่างใด ท่านก็ทำอย่างนั้นได้ ทีนี้เราก็เหมือนกัน ก็ควรจะอย่างนั้นบ้าง ทำอย่างใดได้ แล้วก็พูด แล้วพูดอย่างใด ทำอย่างนั้น ถ้ามัน ยังไม่ได้ ไม่ต้องพูดก็ได้ ไอ้ที่ทำได้ แล้วพูดนี่ มันมีเยอะไป ที่เราจะพูด ที่เราปฏิบัติ นักปฏิบัติจริง มันจะ มีเคร่ง มันจะมีเข้ม มันจะมีให้พูดได้ พูดแล้ว มันก็จะมีประสิทธิภาพ แต่ถ้าเผื่อว่าเราเอง เราทำยังไม่ได้ แล้วไปพูดนี่ โอ๊ย! เขาเอามาแซวเล่นนี่ ทำยังไม่ได้แล้วก็พูด เราทำได้แล้วนี่นะ แล้วเราไปพูด มันน่าหมั่นไส้ ก็ตาม เขายังไม่กล้าอะไรเลย เขายังไม่กล้าละลาบละล้วงอะไร เราทำได้อย่างนั้นๆ แล้วเรียบร้อยจริงๆ แล้วมันก็ดูเข้มเคร่ง เข้มเคร่ง ดูตึง

ไอ้เรื่องทำได้ตึง ได้เคร่งนี่นะ คนที่ทำไม่ได้นี่ คนที่อวิชชาหรือคนที่ ปัญญายังไม่สูงนี่ มองคนเคร่ง มองคน ที่เขาทำได้ตึงแล้วนี่ เป็นการสุดโต่ง นั่นคือ คนปัญญาอ่อน ฟังดีๆนะ คนปัญญาอ่อน อื๊ย! เคร่งไป ตึงไป ปัญญาอ่อนคนนั้น มองเขาตึง เขาเคร่ง ถ้าเขาตึงเขาเคร่งของเขาอย่างนั้น แล้วเขาก็สบาย ของเขา ไอ้คำว่าเคร่ง คำว่าตึงนี่หมายความว่า ทำอย่างได้จัดจ้าน ทำได้ อย่างแรง ทำได้อย่างสูง ตามหลักเกณฑ์ ของศีลของธรรมอะไรก็แล้วแต่ ทำได้จัดนี่ กินมื้อเดียว อาบน้ำห้าขัน พวกนี้ มันตึง มันประหยัดมาก แล้วเขาสบายของเขามั้ยล่ะ เขาทำได้สบายของเขา เขาก็ไม่เดือดร้อนอะไรของเขา เขาก็เป็นปกติของเขา เขาก็ประโยชน์สูงประหยัดสุดของเขา แล้วเขาก็มองใน มุมดีของเขา โอ๊ย!สบาย ฉันทำได้อย่างนี้ เป็นมุมดีของฉันนะ นุ่งผ้าใส่เสื้อ อะไรก็ของเราอย่างนี้ สบาย ไม่ต้องไปเดือดร้อนอะไร ถึงเวลานอนก็นอน ไม่ต้องไปเปลี่ยนชุดนอน ให้มันลำบากลำบน ถึงเวลาตื่นก็ตื่นขึ้นมา ก็ไม่ต้องไปเปลี่ยนชุดตื่น ไม่ต้องไป เปลี่ยนชุดเช้า ไม่ต้องไปเปลี่ยนชุดสาย ชุดบ่าย ชุดเย็นอะไรอีก ลำบากลำบนอะไร ก็ชุดนี้ยังไม่ถึงเวลา ควรจะซัก ก็ชุดนี้แหละ ก็สบาย ไม่ต้องเป็นภาระอะไรมากมาย ก็เราก็สบายของเราแล้วนี่ เคร่งไป มันเข้มไป มันมอซอ รองเท้าก็ไม่ใส่ ก็ดีแล้วเราก็ไม่ต้องไปกังวลรองเท้า ไม่ต้องหาย ไม่ต้องไป อู๊ย! เดี๋ยวไป ก็ลืมรองเท้าอีกแล้ว โน่นนี่ ไม่ต้องนี่ เท้าเราก็สบาย ไปไหนก็ไม่เดือดร้อนเท้า ไม่ต้องมีรองเท้า ก็สบาย ทุกอย่าง นอกจากคนที่ยังติดรองเท้าอยู่ เท้ายังอ่อนแอ ไปไหนก็ต้องติดรองเท้า อยู่นั่นแหละ อย่างน้อย มันก็ต้องเป็นภาระ ที่ต้องเปลืองสิ่งหนึ่ง มันต้องเปลือง ต้องอาศัย ต้องเป็นภาระ ต้องคอยดูแล ต้องคอย ติดเนื้อติดตัว มันไม่มีเสีย มันก็ไม่อุจาดอะไร ในการที่ไม่ใส่รองเท้า เราก็ไม่ใส่ เขาก็ว่าเคร่งไป ก็เขาสบายแล้ว ดูมันตึงนะ ดูมันเคร่งนะ จริงๆ สำหรับคนที่ทำได้ เขาก็ดูเขาทำสบาย เขาไม่เคร่งไม่ตึง

แต่คนที่ทำยังไม่ได้นี่ มันเคร่งไป โอ๋ย!มันไม่เจ็บเท้ารึไง มันทรมานตัวเอง มันทรมานอะไรล่ะ ก็เราไม่ต้อง ไปทรมานอะไรมัน มันสบายๆดี แต่ถ้าเขาทำเขาทรมานตัวเขาแน่ เพราะเขาไม่เป็นสุขแน่ เขาลำบาก เขายังทำไม่ได้หรอก เขาเอาตัวเขามาวัด ว่าคนอื่นเขาตึง ว่าคนอื่นเขาเคร่ง แล้วเขาก็ไม่รู้จักสภาพ นี่ไม่รู้จักสภาพ แล้วเขาก็ว่ามันตึงไป เคร่งไปนี่ มันทำไมจะต้อง ไปเป็นอย่างนั้น เพราะฉะนั้น แล้วก็ไป เรียกร้องนะ เรียกร้องว่าอย่างนี้ไม่ถูกหรอก มันต้องมาเป็นอย่างเขาเป็น ที่จะต้องอนุโลมปฏิโลมว่า อยู่กับหมู่ต้องเป็นอย่างหมู่ซิ ไอ้แบบนี้ ฉุดคนที่เขาลดละได้ ลงมาหาตัวเอง ด้วยความปัญญาอ่อน ด้วยความโง่ ความอวิชชา ไม่เข้าใจ ไม่เข้าใจผู้เจริญ เพราะฉะนั้น ผู้เจริญที่ เขาจะประโยชน์สูง ประหยัดสุด เขาจะทำอะไรได้ ทุกวันนี้ ก็ร่ำร้อง ขอให้ประหยัด ประหยัด ประหยัด ประหยัดกันที่ไหน สังคมน่ะชวนให้ประหยัด รู้นะว่า ควรประหยัด แต่ไม่ประหยัดอะไรกันสักอย่าง เพราะฉะนั้น เขาถึงไม่เกิด ความเป็นไปได้ มีแต่รู้ แต่ไม่ทำ พอทำก็มาร่ำร้อง แล้วคนที่ทำได้ แทนที่จะอนุโมทนาสาธุว่าเขาทำได้ โอ๊! เคร่งได้ไม่ทุกข์เหรอ ไม่ทุกข์หรอก พ้นทุกข์ก็เป็นไปได้ นี่ของเขาน่ะ อ๋อ!ดีมั้ยอย่างนั้นอย่างนี้ เหตุผลมันก็ดี ว่าประหยัดดี แล้วก็ไม่เปลือง ไม่ผลาญ ไม่เป็นภาระอะไรต่างๆนานา แล้วไม่ได้ผิดอะไร ไม่อุจาด ไม่ไปเดือดร้อนคนอื่น ไม่ได้ไปเบียดเบียนคนอื่น แต่ใจเขาน่ะ รู้สึกว่าใจเขาน่ะมัน ไอ้เบียดเบียนใจนี่ ไม่มีปัญหาหรอก เบียดเบียนทางใจนี่

เราเบียดเบียนโดยที่เรียกว่า เราไม่ได้ทำให้เขาตกต่ำ คนทุกวันนี้ในโลกในโลกีย์นี่ เขาเบียดเบียนกัน เบียดเบียนเรื่องอะไร เบียดเบียนเรื่องบำเรอกาม บำเรอความโลภ คนนี้รวยกว่า แล้วก็แสดงความรวย เพื่อยั่วให้คนอื่นอยากรวย อย่างเขา คนนั้นแหละ เบียดเบียนคนที่เขาจนกว่า ฟังให้ดีนะ แล้วเบียดเบียนกัน อย่างไม่พูด ตัวเองแสดงความรวย อวดรวย ทำรวย หรูหราฟู่ฟ่า แอ๊คอ๊าทอยู่ในสังคมนี่ อวดอ้างกันอยู่ใช่มั้ย เต็มไปหมด คนจนก็ โอ้! อยากเป็นตาม อยากได้ตาม เราก็ไม่รวยอย่างเขา ไม่ได้สุข อย่างเขา ไม่ได้อร่อยอย่างเขา ไม่ได้วิเศษอย่างเขา ไม่ได้สวยอย่างเขา ไม่ได้หรูหราอย่างเขา ไม่ได้สบาย ถ้ามี มองไปในแง่ตื้นๆ ก็เรียกว่าสบาย โอ๊ย!มีเครื่องอะไรประกอบ เครื่องทุ่นแรง เครื่องอาศัย เครื่องบำเรอ ความสุข มากมายได้ เราไม่มีอย่างเขา คนนั้นก็น้อยใจ คนนั้นก็ต่ำต้อย คนนี้ก็รู้สึกด้อย ขาด อยากมี อย่างเขา ก็เกิดกิเลส คนที่ทำให้คนเกิดกิเลสนั่นแหละ คือคนเบียดเบียนน้ำใจคนอื่น เขา เบียดเบียนกันอยู่

คนที่แต่งตัวสวย ผู้หญิงแต่งตัวสวยๆให้ผู้ชายเกิดกาม ให้ผู้ชายเกิดกาม ยั่วยุกัน เป็นเครื่องไม้ เครื่องมือ หนังสือพิมพ์ก็เอามาตีพิมพ์รูปโป๊ รูปที่จะยั่วให้เกิดราคะ คนได้ดูก็เกิดราคะ พวกนี้เบียดเบียนใจคนอื่น ทั้งนั้น ให้เกิดราคะ ให้เกิดกาม ทำให้คนอื่นเกิดกามนี่ มันเกิดราคะด้วย มันเกิดกิเลส มันทำให้เขาเกิด สิ่งต่ำ เบียดเบียนให้เขาตกต่ำ คนนี้เบียดเบียนเขาทั้งนั้นน่ะ ในโลก เขาทำอยู่เต็มไปหมด ในโลกนี่ทำอยู่ เต็มไปหมด ให้คนอื่นเกิดความโลภ เกิด ราคะ อยู่เต็มไปหมดทั้งโลก คนเหล่านั้นละคือคนเบียดเบียน ทางใจ ถ้าจะว่าการเบียดเบียนทางใจนี่เลว เขาเลวมาก

เพราะฉะนั้น เราบอกว่า พวกเรานี่ ถ้าไม่ไปเบียดเบียนทางใจเขา ทำให้เขาเอง มันรับไม่ได้ มันอึดอัด มันหมั่นไส้ คุณคิดไม่ดีของคุณเอง จิตริษยา จิตที่ของคุณไม่เข้าใจ มุมเหลี่ยมของสัจจะว่า เขาได้ดีแล้ว เขาลด เขาละ เขาปลดเขาปล่อย ลดนะ เขาลดเขาน้อย เขามักน้อยสันโดษ น่าจะอนุโมทนา ตามหลักการ ของพระพุทธเจ้าสอน แต่คุณไม่มีปัญญารู้ คุณปัญญาอ่อน คุณโง่ แล้วคุณก็บอกรับไม่ได้ แล้วมาต่อว่า เรียกร้องจะให้เราไปเป็น อย่างคุณเป็น อย่างส่วนรวมส่วนใหญ่เป็น ก็ส่วนใหญ่ยังปฏิบัติไม่ได้ คนเขามักน้อย สันโดษ ได้แล้ว ควรจะอนุโมทนาเขา แต่ตัวเองไม่ได้ศึกษาธรรมะ ไม่ได้ศึกษาธรรมะ พระพุทธเจ้า ไม่เข้าใจอะไร เสร็จแล้วก็ไปเพ่งโทษคนอื่นเขา บอกเราเบียดเบียนน้ำใจ เบียดเบียนน้ำใจ อย่างนี้ ถ้าวิเคราะห์อย่างลึกแล้ว ไม่เกิดการเบียดเบียนน้ำใจ ไม่ได้ถือว่าเป็นการเบียดเบียนน้ำใจ เพราะไม่ได้กระทบ คุณเพื่อให้คุณตกต่ำ เหมือนอย่างกับคุณยั่วราคะกัน ยั่วกามกัน ยั่วความโลภกัน คุณยั่วความโลภกันอย่างนั้นซิ เบียดเบียนน้ำใจเขา ให้เขาอยากโลภอย่างคุณ อยากมีอย่างคุณ อยากได้ อยากเป็นอย่างคุณ คุณเองชอบในเรื่องราคะ ท่าทางเซ็กซี่ ท่าทางโป๊ เปลือย ให้เกิดราคะ คุณก็ทำ ให้เขาเกิด ราคะ คุณเองก็เต็มไปด้วยตัวไอ้อาการราคะ แล้วอยากให้คนอื่น เขาเกิดราคะ คุณนั่น ต่างหากล่ะ ทำให้เกิดเบียดเบียนจิตใจเขา ให้เขานี่ เกิดกิเลส แล้วมันตกต่ำ อย่างนั้นต่างหากล่ะ ก็เป็นเรื่องที่เบียดเบียน เป็นเรื่องที่เลวร้ายกว่า แต่ก็ไม่เคยพูดกัน เพราะไม่รู้ เพราะอวิชชา แล้วก็ไม่ติงกัน เราก็ติงกันอยู่

ส่วนเรานั้นมาในทางนี้แล้ว ไม่พยายามที่จะให้มันเป็นเช่นนั้น ไม่พยายามให้ไปยั่วราคะ ไม่ยั่วโลภะอะไร คุณมาพยายามทำตัวจนๆปอนๆ ประหยัด มันไปยั่วอะไร บอกว่าคนจนนี่แหละดี ถ้าความจน จะเบียดเบียนคุณ มันก็ไม่เห็นจะมีปัญหาอะไร คนจนไปเบียดเบียนคนรวย แต่คนรวย เบียดเบียน คนจนนี่ซิ มันเต็มบ้านเต็มเมืองอยู่ทุกวันนี้ นี่มุมเหลี่ยมต่างๆ แง่เชิงต่างๆพวกนี้ ต้องมีญาณ ปัญญา ที่เฉลียวฉลาด ที่รู้จักมุมที่ชัดเจน เข้าใจอย่างชัดเจนว่าอะไร มันเกิดการ เบียดเบียนกันแน่ เบียดเบียน ทางใจนี่ก็ตาม ที่วิเคราะห์ให้ฟังนะ เพราะฉะนั้น กามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก เบียดเบียนตน เบียดเบียนท่านนี่ ก็ยังมีแนวลึก ที่เราจะต้องพิจารณา ถ้าเราถึงขั้นว่า คราวนี้เอาละ ประกาศละ ถึงครั้ง ถึงคราว เราจะลดจะละ เราจะประกาศศักดา ว่าเราทำได้อย่างนี้ เราจะพูดอย่างนี้อะไรนี่ การจะพูด จะใช้วาจาการพูด จะเบียดเบียนคนอื่นเขา หรือไม่เบียดเบียนคนอื่นเขา ก็สัมพันธ์ เป็นสังกัปปะด้วย ไตร่ตรอง ตรึกตรอง วินิจฉัย แล้วเราจะพูด หรือเราจะทำ กัมมันตะเป็นไป เพื่อเมตตา

ข้อศีลกัมมันตะก็มีสาม มีตั้งแต่ปาณาติบาต อทินาทาน และ กาเมสุมิจฉาจาร เราก็คำนึง เราไม่ฆ่าสัตว์ แล้วศีลสูงกว่านั้น เราก็ไม่กินเนื้อสัตว์ จะเกิดธรรมเมตตา จะทำอะไร ให้มันเกิดคุณธรรม ที่เมตตา ยิ่งขึ้นกว่านี้ ศีลข้อสองจะทำอย่างไรถึงจะเกิดสัมมาอาชีพ ที่ดีกว่านี้ อย่าได้กระทำอะไร ที่มันเป็นไป เพื่อความโลภ ความเห็นแก่ตัว ความได้มาแก่ตัวแก่ตน นั่นเอง ศีลข้อสอง อทินนาทานนี่ เราไม่ได้ทุจริต แล้วละ ไอ้แค่หยาบๆ ว่าเราจะต้องไปเอาของ ที่ไม่ใช่ของเรา ขโมยขโจรปล้นจี้ ไปโลภโมโทสันเอาของ คนอื่น ไม่ใช่ของเรา แล้วเราก็ไม่ได้เป็นคนขี้เกียจ นอกจากไม่เอาของที่ไม่ใช่ของของเราแล้ว เราต้องมี สัมมาอาชีพ ต้องมีการงานที่คุ้มตัว ไม่ใช่กินเหล็กแดงเผาไฟ หรือว่าไม่ใช่ว่า รับแต่ของคนอื่น ไม่มีอาชีพ ไม่มีงาน พอที่จะคุ้มสิ่งที่เราจะต้องรับมาสังเคราะห์ชีวิตร่าง กาย ได้แก่กินแต่นอนอุตุ ตั้งแต่สมณะไปเลย ไม่ทำงานทำการ ไม่ได้ ต้องทำงานทำการ ต้องมีสัมมาอาชีพ ศีลข้อสองนี่ ต้องเจริญด้วยสัมมาอาชีพ เจริญด้วยสัมมาอาชีพ จนกระทั่งไม่มีความโลภ ไม่มีความเห็นแก่ตัว แต่เป็นคนที่เสียสละ เสียด้วยซ้ำ ไม่เห็นแก่ตัว ๆ นี่แหละเป็นคนที่จะเป็นประโยชน์คุณค่าแก่ผู้อื่น สร้างสรร มีงานการ มีสัมมาอาชีพ มีกิจที่มีสมรรถภาพ เราได้ช่วยเหลือเฟือฟายมนุษยชาติสังคม อยู่อย่างเป็นบุญ อย่างร่ำรวย อย่างเป็น เศรษฐี คือ เราทำให้เขา เราไม่ได้เอา ไม่ได้สะสม ให้แก่เราเอง เราก็เป็นเศรษฐี เศรษฐีไม่มีเงิน เศรษฐีไม่ได้สะสม เสียด้วยซ้ำ ประเสริฐ เป็นผู้มีบุญ เราก็ชื่อว่าบุญ คนอื่นก็ได้ประโยชน์จากเรา เราเป็นผู้ที่ช่วยเหลือเฟือฟาย เกื้อกูลอนุเคราะห์โลกอยู่ เป็นพหุชนหิตายะ พหุชนสุขายะ โลกานุกัมปายะ จริงๆ ศีลข้อหนึ่ง เมตตาเกื้อกูล ขึ้น ซ้อนกันหนุนกัน ศีลข้อสอง ก็ลงมือสร้างสรรสัมมาอาชีพ ทำการ ทำงาน ทำโน่นทำนี่ ที่ได้มากขึ้น สบายขึ้น เจริญขึ้น ยิ่งได้มาก ก็ยิ่งเสียสละแจกจ่าย และ ศีลข้อสาม ไม่บำเรอตนเลย กัมมันตะนี่ กามไม่มี ราคะไม่มี มีพรหมจรรย์ อยู่จบ พรหมจรรย์ขึ้นไปเรื่อยๆ ศีลข้อสามนี่ กาเมสุมิจฉาจารนี่ลึกซึ้งขึ้นไปเป็นพรหมจรรย์ ลึกซึ้งขึ้นไปก็เป็นตัวที่ไม่บำเรอตนเลย ศีลข้อหนึ่งเพื่อผู้อื่น ศีลข้อสองตนขยันหมั่น เพียรสร้างสรร แข็งแรง มีสมรรถภาพ มีคุณค่าประโยชน์ ศีลข้อสาม ของกัมมันตะ ต้องตรวจตนว่าเหลือมั้ย เหลือเศษที่บำเรอตน เราหมดความอยาก สิ้นความเสพมั้ย จิตของเรานี่แหละ ต้องตรวจละเอียดขึ้นไปเรื่อยๆ สูงขึ้นไปเรื่อยๆนะ นี่เรียกว่า อธิศีล แล้วเราก็จะไม่มี มิจฉา มิจฉากัมมันตะ เราก็ต้องตรวจต้องอ่าน

ชีวิตของคนเราก็มีการงาน ชีวิตของคนเราก็มีการเกื้อกูล มีเมตตา แล้วเราก็ จิตจะอุเบกขาสูงสุดมั้ย จะเฉย จะวาง จะบริสุทธิ์สะอาด เป็นปริสุทธา ปริโยทาตา มุทุ กัมมัญญา ปภัสสรา นี่ ศีลข้อสาม กาเมสุมิจฉาจารนี่ ไม่ใช่ว่าอยู่แค่นั้น ไม่ผิดผัวเขาเมียใครแล้วก็แค่นั้น อยู่แค่นั้นน่ะ ไม่เจริญเสียที อธิศีลก็ไม่มี ไม่รู้เรื่อง ไม่ใช่ ต้องเจริญขึ้น เรื่องผัวเขาเมียใคร เรื่องของ พรหมจรรย์ เรื่องผู้หญิงผู้ชาย ก็ไม่แล้ว เรื่องตา หู จมูก ลิ้น กาย เรื่องภพ ข้างใน กามราคะในขนาดเรียกว่า กามราคะสังโยชน์ ก็ขนาดหนึ่ง กามมันก็ยังเหลืออยู่นั่นแหละ อาตมาเคยใช้ภาษาอธิบาย ในทางเอกก็อธิบาย ในสมาธิพุทธ ก็เคยอธิบาย กามที่เหลืออยู่ข้างใน มันไม่ได้ออกมาทางข้างนอกหรอก แต่ก็มาเป็น รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ที่เรายังมีเหลือเชื้ออยู่ บำเรออยู่ข้างใน สัมผัสทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย เสร็จแล้ว มันก็ยังเป็น รูปราคะ อรูปราคะ เป็นสังโยชน์ชั้นสูง ชั้นนอกไม่เราเลิก เป็นกามราคะที่จะบำเรอข้างนอกให้คนเห็น คนรู้ท่าทีว่า เรายังยินดีด้วยรูป ยินดีด้วยรส ด้วยกลิ่น ด้วยเสียง ด้วยสัมผัส แตะต้องเสียดสี อะไรข้างนอก ไม่ ไม่ต้องถึงขนาดนั้นหรอก ไม่หยาบ แต่ความละเอียดอย่างข้างใน มันก็ยังเป็นลักษณะของ ความอร่อย อย่างนี้ก็ยังจำได้ มีสัญญา อย่างนี้ก็ยัง แค่นี้เราก็เป็นรส แค่นี้ก็เป็นรูป แค่นี้ก็เป็นเสียง ยังได้เป็นอัสสาทะ อยู่ข้างใน เป็นรูปราคะ รูป-ปะ-รา-คะ หรือ รู-ปะ-รา-คะ ก็ยังหยาบ จนกระทั่ง มันอ่อนลงไป มันไม่เป็น รูปราคะหรอก นิดๆหน่อยๆ พลิ้วๆแผ่วๆ ไม่ถึงขนาดกระทบ สัมผัสแต่มันก็ยังเป็น มันไม่รู้มันเกิดอย่างไร แต่มีลักษณะของอัสสาทะ ของรสอร่อย ของเชิงรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสเหมือนกัน แต่บางทีก็เกือบ จะแยกไม่ออก ว่าเป็นเชิงของรูป หรือรส หรือกลิ่น หรือเสียง หรือสัมผัส แต่ก็เป็นเชิงบำเรอรส เป็นราคะ เป็นอรูปราคะ นี่ก็เรียกว่ากามในภพ ที่อาตมาใช้ภาษาคำว่า กามในภพ ข้างนอกนี่เหมือนกับ พระอรหันต์ เอ๊ย! ไม่แล้ว เรื่องรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส เรื่องอะไรพวกนี้ สบาย แต่ข้างใน มันยังมีความละเอียดลออ ลึกซึ้งอยู่ เป็นรส เป็นอัสสาทะ เรายังติดรสอยู่เหล่านี้หรือไม่ ของใคร ก็ต้องอ่านเอาเอง อธิศีลของตนเอง จัดการตัวเอง ประพฤติสังวรระวัง มีสังวรปธาน ปหานปธานของเรา ทำจริงๆ มันจึงจะได้เก็บละเอียดๆๆ เข้าไป แม้แต่เหตุปัจจัยเดิม

เหตุปัจจัยแค่ที่อาตมายกตัวอย่างอบายมุข สัมผัสเขากินเหล้ากัน เอ๊อ! ไม่กิน ยังไงๆก็ไม่กิน ไม่เอา เข้าปากหรอก เพื่อนจะมาบังคับอย่างไรก็อยู่ได้ ไม่กินจริงๆ แต่ข้างในมันยังมีหลอกๆ หลอนๆ มันยังมี อารมณ์ มันยังมีอัสสาทะ มา พลิ้วๆ แผ่วๆ เป็นรูปราคะ หรืออรูปราคะ ในเรื่องของเหล้า ในเรื่องของบุหรี่ ในเรื่องของเครื่องแต่งตัว เครื่องใช้ เรื่องของผู้หญิง ก็มีเยอะแยะมากมาย เรื่องอะไรก็แล้วแต่ แต่ละเหตุ ปัจจัย เราก็มาไตร่ตรอง มาพิจารณา แม้แต่อาหาร การกิน อย่างนี้ๆ เป็นรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ข้างนอกนี่เราไม่แตะไม่ต้อง ข้างนอกเราไม่ทิ้งก็ได้ แต่มันยังมีรอนๆ ยังมีไรๆ ยังมีรส เป็นรูป เป็นอรูป อะไร อยู่ในจิต อย่างนี้เป็นต้น เราก็ต้องเรียนให้ละเอียดลออ จับเค้าจับเงื่อน จับอาการอารมณ์ให้ละเอียด

นี่ มันลึกซึ้ง ของพระพุทธเจ้านี่มากมายนะ มานะก็สอนแล้ว มานะสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องสูงนี่ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ ก็ต้องเรียนรู้มานะ เราได้ดีแล้ว เราก็เอาดี หลงดี ติดดี เอาดีไปข่มไปเบ่งผู้อื่น อะไรต่างๆนานาซับซ้อน ก็สอนอยู่แล้ว แนะนำอยู่แล้ว ไอ้เรื่องมานะนี่ แม้แต่ ในพวกเรากันเอง มันก็มีท่าที ที่เบ่งที่ข่ม มีท่าทีที่ฉวัดเฉวียน ท่าทีลีลาในที เชิงใหญ่ เชิงเบ่ง หมายถึง เบ่งหยาบ และก็ท่าทีเหนือชั้น เหนือเชิงอะไรต่ออะไรกันอยู่ อย่างโน้นอย่างนี้อยู่ เราก็ต้องรู้ เราอ่อนน้อมถ่อมตน เราได้แล้วก็ได้ ใครเขา จะว่าเราไม่ได้ ก็ช่างมันเถอะ แล้วเราก็ไม่ถือเนื้อถือตัวถือสา เราจะอนุโลมปฏิโลมอย่างโน้นอย่างนี้ บางครั้งบางคราว อะไรกับใครยังไง ใครเขาจะเข้าใจเราไม่ได้ แต่เราจำเป็นที่จะต้องทำละ

อย่างยกตัวอย่างง่ายๆ อย่างอาตมานี่ ตัดสินใจจะต้องแต่งเพลง แน่นอนเลย คนอื่นเขาจะต้องเพ่งอาตมา แน่นอนว่า ไอ้นี่มันพระบ้าอะไรวะ เวียนกลับมาแต่งเพลง ไหนบอกว่ามันสูง ตกต่ำไปแล้ว เขาเข้าใจ เราไม่ได้ ใจ เราแน่ใจเรา แม้ว่าเราไม่ได้ลิ้มไม่ได้เลีย มันว่าง เราทำเพื่อประโยชน์ผู้อื่นนะ เราลดลงมา มันไม่ใช่สังขารของตน มันเป็นปุญญาภิสังขาร สังขารเพื่อผู้อื่น อย่างพระพุทธเจ้าท่านเรียกว่า อิทธาภิสังขาร สังขารเพื่อผู้อื่น เป็นการสังขาร อย่างมีฤทธิ์ อิทธาภิสังขารนี่ อย่างมีฤทธิ์อย่างยิ่ง เพื่อประโยชน์ผู้อื่น เราทำเพื่อผู้อื่นจริงๆเลย เขาเข้าใจไม่ได้ เขาจะว่าอย่างโน้นอย่างนี้ก็เอาเถอะ ยอม เราก็ยอม แล้วเราก็จะทำละ เพื่อประโยชน์ที่จะเกิดการเจริญ อาตมาจำเป็น หรือแม้แต่จะเอาวิดีโอ มาให้ดูอะไรนี่ โอ๊!ไตร่ตรอง อันนี้ได้รึยังน้อ ควรจะทำรึยัง คนอื่นติน่ะติแน่ เขาเข้าใจไม่ได้ เขาจะต้องว่า ต้องอะไร ทำได้รึยัง องค์ประกอบพร้อมพอรึยัง ทำเพื่อผู้อื่นไม่ใช่ตัวเองเลยนะ แต่ถ้าใครทำไม่ได้ ไม่มีฤทธิ์เพียงพอนะ อย่าทำเลย เละ ตัวเองก็เละ อนุโลมมาตัวก็ไปด้วย ลงทะเลยะเยือกเย็นด้วยกัน หมดเลย กิเลสคลุกไปหมดเลย แล้วไม่เกิดการขัดเกลา ไม่เกิดการใช้ได้ เพราะฉะนั้น สิ่งใดก็แล้วแต่ ที่เราจะอนุโลมต่อผู้อื่น เราก็อยู่เหนือ แม้ปรุงให้ผู้อื่นแล้ว ผู้อื่นก็ต้องเจริญด้วย ไม่ใช่ปรุงให้ผู้อื่น ผู้อื่นก็เลย ยิ่งจมไปด้วย เลย ติดยึด แล้วก็เสร็จ หมายความว่า ปรุงแล้วเสร็จ ก็เลยตกต่ำไปด้วยกันหมดเลย ถ้าไม่มี ฝีมือจริงๆ ไปไม่รอดหรอก เรื่องนี้เป็นเรื่องของ ฝีมือของโพธิสัตว์

พวกเราเองนี่ ถ้าเผื่อว่าเราไม่ใช่โพธิสัตว์จริงๆ อย่าเสี่ยงเลย ทางเถรวาทนี่เขาถึงไม่ปรุงอะไร ทั้งนั้นน่ะ ไม่อนุโลม อะไรทั้งนั้น เอาตัวเอง ทำอะไรก็ไม่ได้ ก็เลยยิ่งน้อยลง ๆ ยิ่งจะต้องไม่มีสิ่งอะไร พอที่จะเอา มาใช้ เป็นปฏินิสสัคคะ เพราะฉะนั้น เถรวาทในเรื่องปฏินิสสัคคะไม่เข้าใจเลย เรื่องปฏินิสสัคคะ เรื่อง การตีกลับ หรือว่าการสลัดคืน เขาได้แต่ภาษาง่ายๆ สลัดคืน สภาพของ ปฏินิสสัคคานุปัสสี ปฏินิสสัคคะ สภาพพวกนี้นี่ ยาก อินทรีย์พละจะต้องแข็งแรง ต้องสูง ต้องเหนือชั้น ต้องมีอัปปนา พยัปปนา เจตโส อภินิโรปนา ต้องมีตัวแน่วแน่ แนบแน่น แข็งแรง เป็นฐิเต อาเนญชัปปัตเต ต้องเหนือ จนกระทั่งแข็งแรง ไม่เวียนกลับ ตัวเองไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา แล้วตัวเองเป็นหลักให้แก่ผู้อื่นได้จริงๆ จึงจะอนุโลมปฏิโลม จึงจะย้อนกลับไป จึงจะไปทำ โดยที่เรียกว่า เราเองเราก็ไม่ตกต่ำแน่นอน เรา เป็นพระมาลัยโปรดสัตว์ได้ ลงนรกนี่ได้ ไปคลุกคลีกับนรกนี่ได้ นรกนี่จะมีกิเลสกองเท่าภูเขา ก็เดินลุยกองกิเลสเท่าภูเขานี่ เหมือนเดิน อยู่ในที่ว่างจริงๆ

นี่เป็นเรื่องลึกซึ้ง เป็นเรื่องชั้นสูง เป็นเรื่องที่ประมาทไม่ได้ เป็นเรื่องที่จะต้องรู้ดี ถ้าเผื่อว่า ผู้ใดรู้ตัวว่า เราทำไม่ได้ อย่าไปแอ๊ค อย่าไปอวดเก่ง อย่าไปทำ ทำแล้วตาย ตายด้วยกันทั้งคู่ ตายด้วยกันทั้งตัวผู้ทำ และผู้อื่น มันช่วยไม่รอดหรอก เสร็จแล้วเมื่อช่วยไม่รอด แล้วเกิดมานะซ้อน พลาดไปแล้วก็หาเรื่องเลี่ยง หาเรื่องแก้ตัว หาเรื่องโกหก เลยยิ่งจม กับจม กับจม กับจม ทีนี้ละ นรกลึก ฉุดไม่ขึ้นเลย เพราะมานะนี่ ไม่ใช่เล่น มันรักหน้า มันกลัวเขา จะจับผิดได้ เรายิ่งทำเป็น ตัวโต เรายิ่งทำเป็นตัวสูง ตัวใหญ่ เสร็จแล้ว เขาก็ ยิ่งจับได้ ตัวเองต้องเลี่ยง ต้องโกหกหนัก ต้องหาทางมาปกปิด มันซับซ้อน เหมือนอย่างที่เขา เป็นกันอยู่ ในโลกทุกวันนี้ ในสังคมใหญ่ๆ ตัวใหญ่ๆสูงๆ นั่งทับกองขี้ ลุกไม่ได้ เลยก็หาทางที่จะแก้ตัว หาทางที่จะปกปิด หาทางที่จะทำอะไร ต่ออะไรกัน ไม่ได้นะ ถ้าขืนเปิดอันนี้ อันนี้มันเปิด อันนี้มันเปิด อันนี้ มันตุงนัง อันนี้อันนี้อะไรนี่ เหมือนกัน ยิ่งยากใหญ่เลย ยิ่งลำบากใหญ่เลย ต้องกด ต้องข่ม ต้องเลี่ยง ต้องหาเรื่องมาเป็นอำนาจบังคับ เพื่อไม่ให้คนอื่นเขามายุ่งยาก วุ่นวายอันนี้ ต่างๆนานาสารพัดซับซ้อน นี่คือเรื่องเลวร้ายที่มันมีอยู่ในสังคม ทางโลกก็เหมือนกัน ทางธรรมก็เหมือนกัน เพราะฉะนั้น อย่าประมาท อย่าไปอวดดีในเรื่องของสัจจะ

ซึ่งอาตมา ก็ย้ำกับพวกเราว่า เรื่องของสัจจะนั้นน่ะ มันเป็นสัจจะที่เราจะต้องสั่งสม กัมมัสสโกมหิ กัมมทายาโท เราจะมีกรรมเท่านั้นแหละเป็นทรัพย์ เป็นมรดกที่เราจะสะสม แต่ละผู้แต่ละคนนี่ ก็ทำกรรม สะสมกรรม ประมาณกรรมให้จริง แต่ละเวลา กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ที่ได้พูดนี่ แล้วมันจะเลื่อนชั้น อาชีพ เลื่อนชั้นอาชีวะ กุหนา ลปนา เนมิตตกตา นิปเปสิกตา ลาเภน ลาภัง นิชิคิงสนตา มันจะเลื่อน แล้วมันซ้อนอยู่เรื่อยนะ อาชีพนี่ แม้ว่าเราลาออกจากงานมาแล้ว แล้วเรามาทำงาน ในที่นี้นี่ เหมือนกับ เราไม่รับรายได้แล้วละ ลาเภน แหม! เหมือนกับอาชีพของเรา ชั้นสูงล่ะนะ ลาเภน ลาภัง นิชิคิงสนตา เชียวนะ ว่างั้นนะ แต่เสร็จแล้วเราก็ ยังมามีจิตใจยังมีตัว เอ๊! มันยังไม่ซื่อทีเดียวหรอก มันยังมีลปนา ลวงๆหลอกๆ หลอกนิดลวงหน่อย เขาอยู่นะนี่ เราว่า เราว่าไม่ แต่เราก็รู้ตัวว่าที่จริงเราก็ยังเล็มๆ และๆ เล็มๆ เลียบๆเคียงๆอยู่นะ เราว่าไม่ อย่างนี้เป็นต้น มันละเอียดซ้อน มันไม่เชิงโกหก

แต่ถ้าเผื่อว่ายังหยาบอยู่ถึงขั้นเราว่าไม่ แล้ว ยังโกหกเขาอยู่แท้ๆโทนโท่ กุหนา นี่ ขี้โกงเขาอยู่นี่ มันก็ไม่ไหวละ เราว่าไม่แล้วนะนี่ เราว่าไม่เอา เราว่าไม่หวง ไม่สะสม ไม่กอบโกย ไม่อะไรแล้วนี่ ในเรื่องของ การโลภ ในเรื่องของการโกรธก็ตาม อารมณ์ การโกรธ เราโกรธอยู่ เราก็ว่าไม่โกรธ ไปโกหกเขานี่ นี่หลอกลวงเขานี่ หรือนี่ขี้โกงเขานี่ โกงก็ ขนาดหยาบ กุหนา ลปนาก็ขนาดลวง ขนาดที่ไม่หยาบเท่ากัน ก็แล้วกัน ก็เข้าใจ เอ๊! ยังโกง หรือโกหก หรือตลบตะแลง เนมิตตกตา นี่ยังตลบตะแลงอยู่ ตัวเองก็ยังงง ตัวเองเลยว่า เอ๊! เรานี่โกงเขารึเปล่า โกหกเขารึเปล่า เราไม่ได้โกงนะ ไม่ได้โกหกหรอก แต่ว่าก็คล่อกแคล่ก คลอกแคล่ก คล่อกแคล่กอยู่งั้นแหละ จับไม่มั่นคั้นไม่ตาย ตัวเองก็ยังไม่รู้ตัว นี่ท่านถึงเรียกว่า ตลบตะแลง เรามีอะไรซ้อนมั้ย ในกรรมกิริยาของเราต่างๆ เหมือนกับเรามี แหม! อาชีวะชั้นสูงนะนี่ เรามาอยู่ในวงการ นี้นี่ เราไม่มีรายได้นะตอนนี้ แต่จริงๆแฝงรายได้รึเปล่า โดยเฉพาะพวกที่ทำอยู่ กับการเงินนี่ มีเงิน หมุนเวียน มาในมือ ดูแลการเงินของกองกลาง อะไรอย่างนี้เป็นต้น ระวังนะ การเงินของกองกลาง เราทำ แหม! มันผ่านมือ เสร็จแล้วเราก็แฝงใช้แฝงสอย อยู่ในนี้น่ะ โดยที่เหมือนกับ เราไม่ได้เป็นของเราหรอกนะ แต่เราใช้ฟรี อันนี้มันทำมาบำเรอตนเอง หรือมันเพื่อ ตนเองด้วยซ้ำไป แล้วเราก็ไม่รู้เรื่อง เรามีสิทธิ์ นี่มันอยู่ในมือเรา มันก็หมุนไปได้ ไอ้โน่นไปไอ้นี่มา อะไรต่างๆนานา ระวัง อย่างนี้เป็นต้น แล้วเราโกง อยู่ในนี้รึเปล่า ลวงอยู่ในนี้รึเปล่า ตลบตะแลง อยู่ในนี้รึเปล่า แฝงอยู่ในนี้รึเปล่า อย่างนี้เป็นต้น มันก็เป็น เรื่องของความโลภ

ความโกรธก็เหมือนกัน มันแฝง นี่เราโกรธ นี่เราอาฆาต อาฆาต ที่จริงจิตของเราอาฆาตเราไม่รู้ เอ้า!ไม่รู้ ก็แล้วไป รู้อยู่ แต่เราเองโกหกเขา โกหกตรงๆน่ะแหละคือ กุหนา หยาบแล้ว โกง ทั้งๆ ที่เราเป็นอย่างนั้น แต่เราก็โกหกเขาตรงๆ นั่นแหละคือโกงตรงๆน่ะ เราโกรธเราก็บอกว่า เราไม่โกรธ อย่างนี้เป็นต้น ทั้งๆที่ เราเองเรานี่ริษยา แต่เราไม่รู้ว่า เราริษยา คือไม่เข้าใจ อาการริษยา เป็นอย่างไร ริษยา แล้วเราก็ปฏิบัติ โดยที่เราไม่รู้ นั่นเรียกว่าเรายังโง่อยู่ ยังอวิชชา แต่ถ้าเผื่อว่าเรารู้แล้วว่า อาการอย่างนี้ ริษยา อย่างหยาบ เสียด้วยซ้ำ แต่เราก็บอกว่า เราไม่ได้ริษยาหรอก โกหกแล้ว กุหนาแล้ว โกงเต็มที่เลย รู้แล้วอาการอย่างนี้ เป็นอาการทางใจของเรา ริษยานะ นี่ ไม่ต้องการให้เขาได้ดี ต้องการที่จะเหนือชั้น ด้วยการเบ่งข่มกัน อะไรอย่างนี้ เป็นต้น นี่เราไม่รู้อาการ เราไม่รู้สัจจะพวกนี้นี่ เราก็ปฏิบัติ อย่างงมงายอยู่นั่นน่ะ แต่ถ้าเรารู้ อาการพวกนี้ชัดเจนว่า อ๋อ! นี่มันเป็นลักษณะของโทสมูลนี่แหละ แต่เป็นริษยานะ แล้วเราก็ลดละ ของเราเสีย อย่าให้ไปลวงใคร อย่าให้มันมีอาการนี้ แล้วก็ไปพูดไปจา ไปแสดงท่าทีกลบเกลื่อนตัวเอง หรือว่าแก้ตัวในประเภท ตลบตะแลง อย่าว่าแต่แค่โกหก อย่าว่าแต่แค่ลวง อย่าว่าแต่แค่นี้เลย แค่ ตลบตะแลงก็ไม่เอา หรือแม้ที่สุด เราก็ต้องละให้หลุดให้พ้น นิปเปสิกตา

อย่าไปมอบอยู่ในมุมใดที่เป็นความผิด ทิศใดที่เป็นความผิด อยู่ด้วยกันพวกเรานี่ ก็จะต้อง ไม่ลำเอียง เข้าข้างใคร ไม่ใช่วาคนนี้ก๊กของเรา เราก็เข้าข้างก๊กของเรา ไม่ ไม่ลำเอียง เพราะฉะนั้น มันก็จะไม่เป็น แม้จะอยู่ในหมู่กลุ่มก็ไม่เป็นหมู่เป็นพวก อยู่ในหมู่ในกลุ่มก็ไม่เข้าข้างหมู่ เข้าข้างกลุ่ม อยู่ด้วยกันนี่ ไม่เข้าข้างใคร แม้ที่สุดเรากับทางโลก เราก็ไม่เข้าข้างเรา แล้วก็ไม่ เข้าข้างโลก เอาสัจจะเป็นใหญ่ ไม่ลำเอียงใดๆทั้งปวง ไม่มอบตนอยู่ในทางผิด ใครผิดก็ผิด เราไม่เข้าข้างคนผิด แม้แต่ในพวกเราเอง หรือ เขาก็ตาม ถ้าเขาถูกหรือเขาผิด เราก็ไม่เข้าข้างเขา ถ้าเขาผิด เขาถูก เราก็ถือหางข้างถูก เราผิดก็ไม่ถือหาง ข้างเราแล้ว เราผิด เราถูกก็ถือหางข้างเรา ชัดเจน นิปเปสิกตา ไม่มอบตนในทางผิด สุดท้ายอย่างลึก อย่างละเอียดขนาดไหนก็ตาม มันซับซ้อนนะ เราต้องรู้โครงใหญ่กับเรื่องเล็กด้วย บางทีนี้เราก็เรื่องเล็กนะ ของคนอื่นนะ แล้ว เขาก็ถูกด้วย ถูกของคนอื่นน่ะนิดเดียว แต่ของเรานี่ผิด ผิดนิดเดียว ผิดนิดเดียว เสร็จแล้ว เรื่องหลายๆอย่าง เราก็เลยไม่ได้ ลาออกจากไอ้นี่ไปอยู่อีกฝั่งหนึ่งเลย เพราะเขาถูกนะ แต่ถูก นิดเดียว เราผิดก็ผิดนิดเดียวด้วย ลาออกจากนี่เลย เอาขี้หมาไปแลกกับทองคำ ระวัง ลาออกจากหมู่ใหญ่ ทั้งๆที่มันเป็นสัจจะเยอะ มันมีผิดพลาดได้เหมือนกัน เสร็จแล้วก็เอาเรื่องเล็ก นี่แหละมาเป็นตัวเหตุ ที่เราจะต้องเลิกจากกลุ่มนี้ไปอยู่กลุ่มหนึ่ง ไอ้แบบนี้น่ะซวยนะ ระวัง ยื่นใบลา เร็วเกินไป (หัวเราะ) ยื่นใบลาเร็วเกินไป ระวัง (หัวเราะ) เอ้า!นี่ยื่นใบลาเร็วเกินไป รึเปล่านี่ ลาออกจากโน่นมาอยู่ที่นี่ หือ! ยื่นใบลาเร็วเกินไปรึเปล่า ระวัง อย่าเอาขี้หมา ไปแลกทองคำนะ

ในนัยละเอียดพวกนี้มีมากซับซ้อน นี่อาตมาพูดถึงอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ที่เราจะต้องมีปัญญาไตร่ตรอง ตรวจสอบ แล้วก็ทำให้ตัวเองเลื่อนชั้นอยู่เสมอๆ คนต้องเจริญ วุฒิ วุฒิ อยู่เสมอๆ ไม่ว่าจะเป็นอะไร พิจารณาแล้วไม่นอกไปกว่าหลักที่ พระพุทธเจ้าท่านตรัส นี่อาตมาพยายามอธิบายด้วยภาษาไทย ซึ่งมัน ไม่ง่ายนะ สังกัปปะเราก็ต้องพิจารณา วาจาต้องพิจารณา กัมมันตะต้องพิจารณา อย่างที่อธิบาย ขยายความ ให้ฟัง แม้แต่อาชีวะ อยู่ในหลักเกณฑ์ หลักทฤษฎี หลักใหญ่ มรรคองค์แปดของพระพุทธเจ้า นี่แหละ เราต้องรู้ความจริงพวกนี้ อย่างชัดเจนแท้ๆ จึงเชื่อว่าเราเพิ่มเราเจริญนะ ไม่ใช่ลอยๆไป มันช้า ตรงที่ว่า มันติดแป้น แล้วเราก็ไม่รู้ ไม่เข้าใจในสภาพอธิ เอ๊! เราจะอธิศีลอย่างไร ศีลจะเพิ่มขึ้นอย่างไร แล้วมันจะเจริญด้วยอธิจิต จิตเรามันเฉื่อย จิตเรามันคือเดิมๆน่ะ มันก็ดูมันก็ดี มันก็สบาย แต่มันก็ไม่เห็น เจริญอะไร มันก็เท่าเก่า มันไม่มีอะไรเจริญขึ้นจริงเลย มันไม่ละเอียด มันไม่สุขุม มันไม่ประณีต มันไม่เกิดตัวรู้ รู้ว่าเราได้เจริญ เพราะเราได้ลดละ กิเลสที่เหลือ กิเลสมันหยาบ มันกลาง มันละเอียด เราก็รู้ตัวว่าเรา ได้ปฏิบัติ แม้กิเลสละเอียด เราก็ได้ทำอยู่

อาตมาพูดได้ตรงๆเลยนะว่า พวกเรานี่กิเลสที่ละเอียดนี่ยังมีอยู่กันทั้งนั้นแน่ะ ใช่มั้ย กิเลสที่ละเอียด แต่เราก็ดูเหมือนไม่ได้เรียนรู้กิเลสละเอียดเลย วันๆหนึ่งไม่เห็นกิเลสอะไร เหมือนกับเราไม่มีกิเลส พระอรหันต์ กันทั้งหมดรึเปล่า นี่ เหอ! (พ่อท่านถาม) แม้แค่พระอนาคามีล่ะ แน่ใจมั้ยว่าเป็นพระอนาคามี สังโยชน์ต่ำหมดแล้ว เหลือแต่สังโยชน์สูง ก็ยังไม่ แต่เราก็เหมือนเราไม่มีกิเลสน่ะ อย่าว่าแต่อนาคามีเลย เหมือนพระอรหันต์น่ะ อยู่นี่ โอ๊ย! สบาย ไม่มีกิเลสแล้ว โอ๊! วันคืน ว่าง สบาย เพราะสิ่งแวดล้อมของเรา มันช่วย พวกเรานี่ มันเกื้อกูลกัน มันเป็นระบบ มันสบาย แล้วมันไม่ต้องไปขวนขวาย ปล่อยให้คุณ ไปอยู่ข้างนอกซิ คุณต้องเลี้ยงตัวเอง ต้องหัวหกก้นขวิด ต้องอะไรต่ออะไร แล้วจะรู้เลย ว่า อื้อหือ! ถ้าคนที่ภูมิสูง จะเห็นเลยว่า โอ้โห! อยู่กับมันยาก แล้วเราก็ไม่กินมากกินมายกับมัน แล้วมันก็ ไม่ใช้มาก ใช้มายอะไร แต่เราทำงานเหมือนกับวัวกับควาย เหมือนอย่างมันน่ะ ไอ้วัวควาย แล้วเป็นบุญ ก็ไม่ว่าอะไร หรอกนะ เป็นบุญที่จะเอาไปรังสรรค์ ไปสร้างสรรสิ่งที่ดีที่งาม ไม่หรอก ไปให้ อย่างไป อยู่บ้านน่ะ หาให้ใครใช้ ให้ไอ้พวกลูกเต้าเหล่าหลานพวกนี้ ประเดี๋ยวจะไปบ้านแตก อีกล่ะ ก็มันก็เอาไป เละเทะ นั่นน่ะ มันเอาไปทำอะไร ไปเป็นขี้ข้าม้าคอกให้มัน ไปแล้วมันก็เอาไปใช้อะไรก็ไม่รู้ เอาไปสร้างบาป สร้างเวร สร้างหนี้สร้างสิน สร้างกิเลสให้อีก แล้วไปหาเงินให้มันอยู่ทำไม มันเอาไปมันก็เอาไปก่อกิเลสอยู่ นั่นแหละ เราเอาแรงงานหรือเอาเงินมาทำอันนี้ พูดไปแล้วเดี๋ยวจะหาว่าอาตมา และเล็ม มาทำนี่มันบุญ มันกุศลดีกว่า เอาแรงงานมา มาเอาแรงงาน เอาละ ประเดี๋ยวเอาเงินมา มันจะว่าเอา ให้เงินมันหมด เอ้า! เมื่อมีห้าสิบล้านให้มันหมด มาแต่ตัวอาตมาก็ต้องการ เอาแรงงานมาสร้าง มาทำอย่างนี้ดีกว่า ไม่งั้น ก็เอาแรงงานไปทำมาหาเงินอะไร แล้วมันก็เอาไปกิน ไปใช้ อย่างเป็นลูกเป็นหลานก็ตามเถอะ มันก็จะจม อยู่แต่ไอ้กิเลสอย่างนั้นน่ะ ไปบำเรอกิเลสอยู่อย่างนั้นน่ะ มันไม่ได้เป็นคุณซ้อนอะไรหรอก ไอ้ สภาพซ้อน พวกนี้ มันไม่เป็นคุณเป็นค่า อะไรนะ

อาตมาพูดอย่างนี้ก็ฟังดีๆ เดี๋ยวจะหาว่าอาตมานี่คอย แหม!ปลุกเร้า ให้ออกมา ให้เลิก ให้ทิ้ง อะไร มากเกินไป ไม่ใช่ นี่ถึงเวลาพูดก็อธิบายให้ฟังชัดๆ อาตมา จริงๆนะ ไม่พยายามที่จะไปปลุกเร้า ให้จนกระทั่ง แหม!อยากทิ้งบ้านทิ้งเรือน ทิ้งข้าวทิ้งของ ทิ้งลูกทิ้งหลาน ยิ่งทิ้งครอบครัวนี่ โอ้โห! เขายิง จะเอาตายเลย ทิ้งพ่อทิ้งแม่ ทิ้งลูกทิ้งเต้านี่ เขาจะเอาตายจริงๆ นะ อาตมาละ แหม! ต้องระวังจริงๆเลย ถ้าอาตมาไม่ระวังนะ ป่านนี้อาตมาตาย เพราะถูกพ่อแม่พี่น้องพวกนั้น มากระทืบแล้ว นี่ผัวเมีย มาเอา มาหมด แต่ก่อนนี้ตอน แรกๆ ก็บอกว่า นี่ ถ้าเมียใครหายละ มาหาเอาที่อโศก ผัวใครหายมาหาเอาที่อโศก ลูกใครหาย มาหาเอาที่อโศก หลานใครหาย ปู่ย่าตายายใครหาย มาหาเอาที่อโศก แต่ก่อนนี้เขาว่า อย่างนั้น แล้วจะจริงนะ เสร็จแล้วก็ตายซิ เขาก็มา เขายังไม่ปล่อย เขายังไม่ชัดเจน เขายังไม่ยินยอม เขายังไม่เห็นดี เขาก็มารุมกระทืบเอาเท่านั้นเอง เอาลูกเอาหลาน เอาผัวเอาเมียใครเขามาหมด ก็ตาย แต่ที่ค่อยๆให้มันได้สัดได้ส่วน จนกระทั่งเขาก็เข้าใจ เขาก็ค่อยอนุโลม ยอมปล่อยมา แม้จะหวงแหนมา โอ๊ย! กว่าจะคลายใจ โอย! ลูกมา ดูซินี่ส่งเสียมันเรียนๆ สูงๆ เสร็จแล้ว มันก็ไม่ไป อย่างที่เราเป็นเลย เพราะว่าพ่อแม่ ที่ยังมาไม่ได้ เขายังอยู่ในโลก ก็อยากจะให้ได้ ลาภยศสรรเสริญโลกียสุข ถือว่าไอ้นั่น เป็นเครื่องอลังการ เป็นผลสำเร็จของลูกของเต้า ของมนุษย์ ก็ควรจะมีลาภ ยศ สรรเสริญ โลกียสุข อย่างนั้นแหละ

แล้วมาอย่างนี้ มันอะไรกันเล่า เงินทองมีก็ไม่เอา ของมีรูป รส กลิ่น เสียง มีก็ไม่เอา ยศศักดิ์มีก็ไม่เอา นี่มันจะบ้ากันใหญ่แล้ว เขาไม่ยอมง่ายๆ แต่กว่าเขาจะยอมได้นี่นะ โอ๋ย! ต้องใช้เวลา ต้องค่อยๆเป็น ค่อยๆไป ค่อยๆ ยืดแล้วหยุ่นอีก ยืดแล้วหยุ่นอีก กว่าจะยอม จนกระทั่งเข้าใจ เขาเข้าใจ เป็นสัมมาทิฏฐิขึ้น พ่อแม่สัมมาทิฏฐิขึ้น คุณเองทำให้พ่อแม่สัมมาทิฏฐิขึ้น ยิ่งกว่าหาบ้านหาเมืองให้พ่อแม่ ยิ่งกว่าให้เอา พ่อแม่ ไว้บ่าไว้ไหล่ ให้พ่อแม่นี่ เลี้ยงดูบูชา แล้วก็ขี้รดเยี่ยวรดบ่าสองข้าง ที่ท่านเปรียบไว้น่ะ ที่ในพระสูตร ที่ท่านเปรียบไว้ เราให้ท่านเกิดอริยคุณ หรือเกิดทรัพย์ทั้ง ๔ ศรัทธา เกิดเข้าใจเชื่อ เออ...ดีๆๆ แค่ศรัทธา นี่น่ะ มาเชื่อว่า เออ...ดีแล้วล่ะ เอ้า!เอาเถอะ ลูกไปดี แม่ยังมาไม่ได้ พ่อยังมาไม่ได้ ก็ยอม คลายใจ อย่างนี้ก็เท่ากับ เกิดศรัทธินทรีย์ ศรัทธา ในส่วนที่เชื่อ มาดี ลูกมาดี เข้าใจแหละ เกิดปัญญิณทรีย์ เกิดปัญญา เกิดตัวรู้ ตัวทิฏฐิ ปัญญาหรือทิฏฐินี่แหละ มันเกิดความเป็นความเข้าใจว่า เอ้อ!ดี มาดี ยอม มาดีแล้วละ ไปเถอะลูก ไม่ต้าน ไม่ฉุด ไม่อะไร เข้าใจดี นั่นก็คือเท่ากับให้ศรัทธา

ถ้ายิ่งท่านมีศีลอีกด้วย ปฏิบัติประพฤติตาม เริ่มไล่ขึ้น ได้เป็นทีละขั้น เป็นศีลแต่ละขั้นแต่ละขั้น มีศีล มีจาคะ ลดละปละปล่อย ไอ้สิ่งที่ติดยึดออกไปได้อีก เรื่อยๆๆๆ ก็ได้ทรัพย์ ๔ ทรัพย์ ๗ ทรัพย์ทั้งสี่นี่แหละ พระพุทธเจ้าท่านตรัสบอกว่า ต้องให้พ่อแม่ได้ ศรัทธา ศีล จาคะ ปัญญา นี่เหนือกว่าที่จะเอาพ่อแม่แบกไว้ ทั้งสองไหล่สองบ่า เลี้ยงดู ขี้ รดเยี่ยวรดอะไรก็อยู่กับเรานี่ อย่างนี้ก็ยังไม่ถือว่าทดแทนบุญคุณยิ่งกว่า อันนี้ ทดแทนบุญคุณยิ่งกว่า เห็นมั้ยลึกซึ้ง ธรรมะของพระพุทธเจ้านี่ แต่เราอย่าไปรีบร้อน รีบๆรี่ๆ เอาไม่ได้หรอก อย่างที่พวกเรานี่มีตัวอย่างกันมากนะ พวกเรานี่ พ่อ แม่ พี่น้อง อย่างท่านสมณลักขโณนี่ โอ๊ย! พ่อแม่ พี่ ตามอย่างที่... จริงๆนะ จะมาเอาตายน่ะ พี่สาวมาถึงจะเล่นงานอาตมา เอาน้องชายมา พ่อมา พากันมา อาตมาบอก ลูกคุณก็เอาคืนไปซิ อาตมาไม่ได้ดึงอะไรไว้ เอาไปซิ ก็พาไปซิ แต่ลูกคุณไม่อยู่ ลูกคุณ จะอยู่ที่นี่ คุณก็ว่ากันเองซิ ลูกพ่อลูกแม่ อะไรก็ว่ากันเองซิ แต่แม่ไม่ได้มา มาแต่พ่อกับพี่สาว จนกระทั่ง สุดท้าย พ่อก็เห็นดีเห็นชอบ มาวัด มารักษาตัว มาพักอยู่ที่ข้างวัด ดูแลกันอะไร จนกระทั่งเลิกละ อะไรต่ออะไรไปได้ อย่างนี้เป็นต้น

นี่แหละเกิดได้ทรัพย์อันนี้ มันจะได้อะไรแล้ว เงินทองไปหอบหวงทรัพย์ ศฤงคารแบบโลกๆไป แล้วก็ไม่ได้ คุณธรรมอะไรพวกนี้ติดตัวไป ได้อะไร เรารู้แล้วว่า กรรม วิบาก นี่แหละเป็นทรัพย์ ได้กรรม ได้วิบาก ได้ศรัทธา ก็ยังดี ได้ศีลปฏิบัติเข้าไปเล็กน้อย หรือได้มากขึ้นเป็นอธิศีล ขนาดไหน ได้จาคะได้สละ ได้ปลดปล่อย สิ่งที่ตัวติดตัวยึด ตัวเป็นกิเลส ได้ลดได้ละจริงๆ เกิดปัญญาชัดเจน สิ่งเหล่านี้แหละ เป็นทรัพย์มหาทรัพย์ สิ่งเหล่านี้แหละ เป็นสิ่งที่ต้องสะสม อย่าไป สะสมกองกิเลส อย่าไปสะสม วัตถุทรัพย์เลย ยิ่งวัตถุทรัพย์ละมัน ปัดโธ่! ชาติหนึ่ง เท่าหนึ่งเท่านั้นแหละ กองอยู่บนแผ่นดินนี่แหละ จะได้เอาอะไรไปด้วยได้ ยิ่งโลภโมโทสันมา หรือยิ่งไปโกง ไปทุจริตมาด้วยแล้วได้มากๆ โอ๊ย! เจ้าประคุณเอ๋ย ไปเอาเปรียบเอารัดเขามา กลับกลายไปเป็นหนี้แต่บาปแต่เวร นี่ธรรมะมันซ้อนเชิงเห็นมั้ย มันจะชัดขึ้นๆ จะเห็นได้ว่า เออ! แล้วคุณก็เกิดความเข้าใจ เกิดความเชื่อถือ เป็นศรัทธา ศรัทธินทรีย์ คุณก็บำเพ็ญเพื่ออย่างนี้ ตลอดไป บำเพ็ญยิ่งขึ้นๆ ยิ่งจะเห็นชัดขึ้น ปัญญิณทรีย์ ปัญญาพละ กำลังของ ปัญญาที่ยิ่งเห็นรู้ชัด ญาณยิ่ง ลึกซึ้งขึ้น ยิ่งมั่นใจ แล้วชีวิตก็ยิ่งมีองค์ประกอบเป็น พุทธบริษัท มีจารีต ประเพณีวัฒนธรรม มีกลุ่มมีหมู่ มีเนื้อหา มีอะไรต่ออะไร อาตมาถึงบอกว่า อโศกนี่ ต่อให้อาตมา ตายดับลง เดี๋ยวนี้นี่นะ ไม่แตกง่ายๆหรอก แม้คุณจะมีญาณปัญญาเท่าที่ พวกคุณมีขณะนี้ มันก็ยังจะ เจริญไปได้ มันก็ยังจะพอมีในพวกเรานี่ ก็เจริญไป

อาตมาพูดนำนี่อธิบายไปเพิ่มเติมขึ้นด้วยโวหารภาษา แนะนำให้เข้าใจ สภาวะที่ลึกซึ้งขึ้นไป คุณก็ฟัง เติมไปเรื่อยๆ ธรรมะมันสัมพันธ์กัน แล้วมันก็ลึกซึ้งขึ้นไปเรื่อยๆ คุณก็ฟังเข้าใจ แล้วคุณก็บำเพ็ญไปเรื่อย คุณก็จะเข้าใจอย่างที่อาตมาเข้าใจ เพราะมันถูกทาง มันเข้ากระแสแล้วนี่ มันไปได้เรื่อยๆ โสดา สกิทา อนาคา มันยิ่งศึกษา ยิ่งฟังธรรม ยิ่งเบิกบานในธรรม ยิ่งทำให้เราเกิดอินทรีย์ มีวิริยินทรีย์ ศรัทธินทรีย์นี่ ฟังไป ก็เกิดเชื่อถือเพิ่มขึ้น เชื่อถือแล้วก็เชื่อฟัง ปฏิบัติตาม แล้วก็จะเชื่อมั่น มันก็เกิดศรัทธา ศรัทธินทรีย์ ศรัทธาผล พอศรัทธา ศรัทธินทรีย์ ศรัทธาพละ มันเกิดสูงขึ้น วิริยินทรีย์ เป็นอินทรีย์ ๕ พละ ๕ มันก็เพียร มากขึ้น ตั้งใจอุตสาหะ อดทนเอา มันมีทมะ ขันติ จาคะ มันเข้าใจเป็นสัจจะที่จริง เห็นจริงๆๆๆๆขึ้นเลยนะ มันเชื่อว่าจริงขึ้นเรื่อยๆ มีสัจจะ ทมะ ขันติ แล้วก็ มาจาคะเป็นที่สุดนั่นแหละ ก็ฝึกเพื่อจาคะ เพื่อจาคะ ศีลที่จะเพิ่มอธิศีลขึ้น ความเคร่งครัดขึ้น ความที่จะเอาจริงเอาจังกับตนขึ้น เป็นพรต เป็นตบะ หรือ เป็นศีลที่ เราจะประพฤติให้แก่ตนแก่ตน เราก็ทำขึ้นไปเรื่อยๆ สอดซ้อนขึ้นไป ไม่ได้ออกไปนอกทฤษฎี พระพุทธเจ้านี่เลย ทฤษฎีของท่านนี่มันสัมพันธ์กันหมด แล้วมันก็เป็น สภาพที่ ถ้าเราเข้าใจแล้ว มันเกี่ยวข้องกัน มันสัมพันธ์กันตรงไหนอย่างไร เราจะเอาออกมาอธิบาย ไม่ใช่โมเมนะ ไม่ใช่ยำเส็ง เละ เอาหัวเป็นหาง เอาอะไรไปไอ้โน่นไอ้นี่ปนกัน ไม่เข้าเรื่อง ไม่ใช่ มันมีเหตุมีผล มีสภาพที่สังเคราะห์กัน เกื้อกูลกัน อุปถัมภ์ อุปัฏฐากกัน หรือแม้แต่มันขัดเกลากันในตัว มันขัดเกลากันในตัวก็มี เป็นอย่างชัดเจนเลย เป็นได้ เห็นจริง แล้วเราก็จะพึง ปฏิบัติประพฤติ พวกเรานี่ อาตมาเร่งอยู่แต่ว่า มันจะเฉื่อย ตรงที่มันเผลอว่า มันเป็นสุข เหมือนกับแวะชมสวนนะ พวกชาวสวรรค์แวะชมสวน มีเพื่อน มีฝูงก็แวะชมสวน ช้าอยู่นั่นแหละ สวนที่สวยกว่านี่มีอีก ยังมีอีกหลายสวน เดินเข้าไป รีบๆ เดินเถอะ รู้แล้ว ชัดแล้ว ก็พอก็ปล่อยก็วาง นั่นแหละคือลักษณะฌาณ ลักษณะที่เกิดวิตกวิจาร แล้วก็ปีติ เสร็จแล้ว ก็จมอยู่กับปีติ ไม่ลดปีติ ยินดีชื่นชมอยู่กับฐานเก่า อร่อยอยู่กับนี่ กินไม่รู้แล้ว ลิ้มไม่รู้แล้ว ดื่มไม่รู้แล้ว อยู่ที่นี่แหละ อยู่แค่นี้

ไปเถอะน่า สวนหน้ามี ลำใยสวนนี้ยังไม่อร่อยเท่าไหร่หรอก ลำใยสวนโน้นคุณภาพ เยี่ยมกว่านี่ แต่ต้องฝืน เดินขึ้นไปนะ ต้องอุตสาหะไต่ขึ้นไปให้ได้ ไต่ขึ้นไป สวนโน้นน่ะ เจ๋งกว่านี่ บอก ไต่เหรอ ก็มีกินแล้วนี่ ขึ้นมันอยู่ลำใยพันธุ์นี้เท่านั้นแหละ ไม่เอา พันธุ์โน้นดีกว่า ก็ยังต้องขึ้นไปนี่ ต้องอุตสาหะ มันต้องลงทุน ลงแรง มันต้องพากเพียรลำบาก ตั้งตนอยู่บนความลำบาก มันต้องอุตสาหะเพิ่มขึ้น มันก็ไม่อยากเอาหละ ก็มันมีที่พักแล้ว มันก็อร่อย มองลงไปข้างล่างก็ดีกว่าเขา เขายังไม่มีกินดีอยู่ดีเท่าเราเลย เรากินดีแล้ว อยู่ดีแล้ว สบายแล้ว มันก็ไม่อยากจะขึ้นเหนือเขา ก็เห็นขึ้นไปก็ลำบาก นี่มันติดแป้นอย่างนี้จริงๆนะ อาตมาพูดนี่ภาษาหยาบๆนะ แต่ในแนวลึกซึ้งนี่จะต้องรู้จักตัวเองว่า เอ๊! เราทำไมจะต้อง ไปอุตสาหะ เราทำไมจะต้องไปเพิ่มภูมิ เราทำไมจะต้องติดแป้น

อันนี้แหละเมถุนสังโยคนี่คือกาม นี่แหละคือกามชนิดหนึ่ง บำเรอตนชนิดหนึ่ง แม้แต่เราปฏิบัติประพฤติ ในเรื่องโภชเนมัตตัญญุตา เครื่องกินเครื่องใช้นี่ เราดูเหมือนเราน้อยนะ แต่เราก็ไม่ใช่น้อย ยังมีอยู่ ไอ้โน่น ไอ้นี่ กะรุ่มกะร่ามอะไรของเราอยู่ เครื่องกินเครื่องใช้ อาหารการกิน มันรวมหมดอุปโภคบริโภค หนักเข้า ยิ่งคนที่ทำงานนี่นะ จะมีเครื่องใช้มาก แล้วหวงแหนกอบโกย นี่ก็ของกู นี่ของกู ไม่ต้องไปไหนหรอก อยู่ตรงนั้นแหละ ของกูทั้งนั้นนี่ ใครแตะก็ไม่ได้ ใครต้องก็ไม่ได้ หวงแหนอยู่นั่นแหละ สะสมอยู่นั่นแหละ โอ๊ย! จะต้องทำงาน อยู่กับไอ้กองขยะเขยอะ ไอ้เครื่องเครานี่แหละ แล้วก็หวงแหนกันอยู่ตรงนี้แหละ จิตที่ละเอียดซ้อน ที่อาตมาพูดนี่ มันซ้อนนะ เราจะปลดปล่อยจิตว่า จริงเราก็ดูแล ไอ้การดูแล กับการ หวงแหนต่างกันนี่ หวงแหน เป็นของตู ของกูอะไรที่สะสมกอบโกยเข้าไปมากมายนี่ กับการดูแลนี่ต่างกัน การดูแลก็คือดูแล คนนั้นคนนี้จะใช้จะสอย ก็รู้จักคน รู้จักคนนั้นคนนี้ อนุโลมปฏิโลม มันต้องเสียบ้าง ของที่ใช้แล้ว จะไม่ให้เสื่อมไม่ให้เสีย ไม่ให้ชำรุดทรุดโทรมเลย ใช้แล้วก็จะต้องเหมือนเก่า ใช้แล้วก็ต้อง เหมือนเก่า แล้วดีขึ้นกว่าเก่า มีเหรอ ใช้แล้วมันก็ต้องเสื่อมไป เสร็จแล้วก็ยังจิตโง่ๆอยู่นั่นแหละ เสีย อ้าว! ไม่ให้มันเสีย แล้วถึงเวลามันเสีย มันต้องเสีย แล้วบางอย่าง มันก็ต้องเสียมาก มันเสียมากโดยที่เขา ไม่เจตนาอย่างนี้ก็ เออ! ก็แล้วไป แต่ทุกข์ใจ ทีหลังไม่ให้ละ ไอ้คนนี้เอาไปแล้วไปทำเสีย บางทีคนนั้นเอาไป ยังไม่ได้ทำเลยนะ เอาไปพั้บมันเสีย แล้วคนอื่นเขาทำไว้ อ้าว! ก็มันจะหลุดอยู่แล้ว อีกนิดหนึ่ง หลุดเลย หัก มา หัก แล้ว (คนฟังหัวเราะ) ไม่ระวัง ไม่อะไร ทีหลังไม่ให้แล้วคนนี้ เลยคนนี้รับ เคราะห์ไป ซวย คนนี้รับเคราะห์ คนที่ขี้หวงขี้แหนของนี่จำหน้าเอาไว้เลย ไอ้คนนี้ไม่ให้ ทั้งๆที่คนนี้ อาจจะเป็นคนที่ละเอียด ลออด้วยซ้ำไป แต่ไม่ใช่เขาทำ คนอื่นเขาทำมากองไว้ เหลืออยู่ใยนิดหนึ่ง นี่ก็มีได้นะ ก็ซวยได้เหมือนกัน แต่ผู้ที่ อนุโลมปฏิโลม ผู้ที่มีปัญญาญาณ ผู้ดูแล ผู้ที่ไม่หวงแหน แต่ดูแล รู้ว่า เออ! อย่าไปติดยึดอะไร เกินไปนัก คนที่ทำงานนี่นะ มันดี ใช้ข้าวใช้ของใช้เครื่องใช้ อะไรต่ออะไร ก็ต้องใช้ ถ้าเขาไม่สุรุ่ยสุร่าย ไม่หยาบเกินไป มันก็ต้องมีเสื่อมมีเสีย อะไร ก็เข้าใจ จะดูจะแล จะอะไรต่ออะไรกันนี่ ที่อาตมาต้องพูด เรื่องนี้ก็เพราะว่า พวกเราจะต้องเป็นสังคม ที่สร้างสรรเพิ่มขึ้น เพราะฉะนั้น การใช้การสอยเรื่องนั่นเรื่องนี่ อะไรต่ออะไรต่างๆนานา จะต้องมีปัญญากว้าง ประณีต เข้าใจให้รอบ ไม่เช่นนั้นแล้วกลายเป็นแคบเกินไป กลายเป็นหวงแหนเกินไป กลายเป็นตัวเองนั่นแหละ กลายเป็นตัวกูของกู อัตตา อัตนียา เลยเป็นปู่โสม เฝ้าของอยู่ตรงนี้ หวงมันอยู่ตรงนี้แหละนะ

คนหวงเงินก็เหมือนกัน คุมการเงิน เขาจะมาเบิกจะมาขอไปใช้ไอ้โน่น ไปจ่ายไอ้นี่ก็ไม่ได้หรอก คนที่ฉัน ชอบใจ เบิกง่าย คนที่ฉันไม่ชอบใจเบิกยาก อะไรก็แล้วแต่พวกนี้ ระวัง คุณไม่ละเอียดพอ เพราะฉะนั้น เราต้องดูที่งานการ ต้องดูที่สาระ ต้องดูที่ ไอ้โน่นนี่จะให้เบิก ควรเบิกไม่ควรเบิกอะไรนี่ นี่ต้องอธิบาย ต้องพูดไป ที่จริงมันก็น่าจะมีปฏิภาณนะ แต่มันอย่างว่าแหละ ธรรมะนี่มันลึกซึ้ง ก็ต้องเข้าใจ แม้แต่ผู้ที่ คุมการเงิน ดูแลข้าวของ ต้องดูข้าวของ แต่คนไม่เอาภาระเลย ไม่ค่อยช่วยอะไรกันเลย ข้าวของก็ไม่ดู ไม่แล เที่ยวได้ใช้ๆ แล้วทิ้งๆขว้างๆด้วย สุรุ่ยสุร่าย ไม่ประณีต ไม่นำพา ไม่ดูไม่แล ไม่เก็บไม่งำ อะไรต่างๆ นานา หยาบ พรรณนี้ก็ไม่เจริญอีกเหมือนกัน เพราะความเจริญของคนนี่ เกิดกับอุปนิสัยใจคอ จิตที่จะ ละเอียดลออกับสิ่งเหล่านี้ด้วย แล้วยังเกิดจากการหวงแหน หรือหยาบ สุรุ่ยสุร่ายด้วย เป็นเรื่องการพัฒนา จิตวิญญาณนะ เป็นตัวกูและของกูอยู่ หรือวางตัวกูและ ของกูหรือไม่ เป็นการลดละกิเลส ตัณหา อุปาทาน หรือลดละอัตตามานะ อัตตาตัวตน ไม่ตัวตนด้วย เราต้องทำงาน เราต้องทำงาน เพราะฉะนั้น ยิ่งเป็นฆราวาสด้วยนี่ ดูแลอะไรมากมาย ผู้ใหญ่หรือว่าแม้แต่เป็นสมณะก็เหมือนกัน ก็ดูแลข้าวของ ดูแลอะไรเหมือนกันนะ เพราะฉะนั้น การศึกษาพวกนี้นี่ มันจึงไม่ใช่มีแต่เรื่องว่า ต้องมานั่งหลับหูหลับตา บำเพ็ญ มันไม่ไปไกล หรอก แล้วก็ไม่สำเร็จง่ายหรอก มันอยู่ในทุกอย่าง สังกัปปะ วาจา กัมมันตะ อาชีวะ อยู่ที่กรรมการงานด้วย ทั้งหมดเลย

การปฏิบัติธรรมของพระพุทธเจ้านี่ เป็นการปฏิบัติธรรม ด้วยการงาน มีกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม มีตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ จะต้องเรียนรู้ หก เก้า สภาพเก้า สภาพตาหูจมูกลิ้นกายใจหก กับกรรม ๓ อาตมาเขียนไว้ตั้งแต่ ในหนังสือ คนคืออะไร มาตั้งนานแล้ว ระวัง ระวังจริงๆ การออกไปด้วย กรรม ๓ นี่ต้อง ระวัง กรรม ๓ กาย วาจา ใจที่จะออกไป ระวัง ไอ้จะเข้ามา ระวังตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ หก ระวังประตูเข้าหก ระวังประตูออกสามนี่ให้ดีๆ ประตูเข้าหกนี่ ถ้าเข้าไม่ดีละก็ เอากิเลสเข้ามาหมด ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ถ้าออกไม่ดี เอากิเลสออกไป หรือไม่ก็ไปก่อกิเลส ก่อเวรก่อภัย กาย วาจา ใจ ก่อกิเลส ก่อเวรก่อภัย กาย วาจา ใจ ออกสามเข้าหก ดูให้ดี ประมาณให้ดีจริงๆ และทำให้สมตัว สำคัญก็คือ มัชฌิมา ก็คือสมฐานะตัว เพราะฉะนั้น ตัวเองยังชั้นต่ำอยู่ก็ ต่ำ

ทีนี้เราต้องรู้ผู้อื่นด้วย ผู้อื่นคนนี้เขาก็อยู่ในฐานนี้นะ ศีล อธิศีลของเขาขนาดนี้ แล้วเราก็จะไปเร่งรีบ ให้เขาสูงขึ้นมา ให้มาเร็วเหมือนอย่างเท่าเรา ไม่ได้ ไม่ได้ แล้วอย่าไปดูถูกกัน อย่าไปดูถูกกัน เขาทำ ได้เหมาะ คนไหนที่ทำได้เหมาะ มัชฌิมาของเขานี่ เขาได้เร็ว ตัวเองทำเป็นสูงกว่าเขา แล้วก็ไปเพ่งเขา แต่ตัวเองไม่ค่อยเก่ง ตกลงติดแป้นตรงนี้ คนอื่นเขาทำได้พอเหมาะพอดี เขาลิ่วๆๆ เขาข้ามหน้า ไปถึงไหน ถึงไหน แล้วยังไปหลง ยังไปหลง ยังมองเขาไม่ออก ยังนึกว่าเขาต่ำ เขาต่ำ ที่แท้เขาสูงกว่า ไม่รู้ตัว นี่มีได้ เป็นได้ เขาเจริญกว่า ไปล้ำหน้าแล้ว ตัวเองยังนึกว่าเขาต่ำ ไปดูถูกดูแคลน เขาอยู่อย่างนั้นแหละ ก็ได้ ในเรื่องคุณธรรมที่ซ้อนเชิง ที่จริงๆจังๆอยู่ในความเป็นจริงนี่ มันมีลึกซึ้ง ในตัวพวกเรานี่ มีตัวอย่าง หรือ มีแบบฝึกหัด มีองค์ประกอบของตัวอย่าง เป็นเหตุปัจจัยนั่นเอง เป็นเหตุปัจจัย ที่ให้เราได้ศึกษา ซึ่งเป็นเหตุ ปัจจัยจริงๆ ไม่ใช่ตัวนึกคิด ไม่ใช่ตัวสมมุติ แล้วก็อยู่ในตำรา อยู่ในความคิดนึก เท่านั้นเอง

เหมือนคิดเลขคณิตในใจ ไข่ไก่ ๒๐ ฟอง ทำแตกเสีย ๑๐ ฟอง เหลือเท่าไหร่ ก็คิดเลขในใจ แต่ไม่เห็น มีไข่สักใบ มันแตกอยู่ตรงไหน ไม่ได้มีไข่ ไม่ได้สัมผัสไข่ แต่พวกเรานี่มีไข่แตก ให้เห็นเลยนี่ กระทบกัน ให้เห็นเลยนี่ จะทุบ จะถองกัน ก็ให้เห็นอยู่เลยนี่ ของจริง ไม่ใช่เลขคณิตในใจ แต่คนเรียนเลขคณิตในใจ เรียนในตำรับตำรา เรียนแต่การคิดนึก ตรรกศาสตร์อยู่อย่างนั้นน่ะ เขาก็คิดอยู่แค่นั้นน่ะ แต่ของเรานี่ มีแบบฝึกหัด มีตัวแบบฝึกหัดเลย นี่ มีลูกไก่แม่ไก่นี่ จิกกันอยู่นี่ เต็มที่เลยนี่ มีตัวจริงให้ จิตหยาบ จิตละเอียด อะไรแค่ไหนก็แล้วแต่ นี่เรียกว่าแบบฝึกหัดจริง ของจริง แล้วเราจะได้ตัวที่ละเอียด คนสูงขึ้นมา ในระดับที่จะมาเป็น ตัวแบบฝึกให้เรา ก็คือพวกรา คนหยาบน่ะ มันเยอะแยะไป คุณจะโดด ไปปฏิบัติหยาบ อยู่ในคนที่ยังไม่เข้ามา ในหมู่พวกเรานี่ ก็มีสังคมของเขา มีคนหยาบของเขาอยู่ในโลกนี่ โลภลาภ โลภยศ โลภกามคุณห้า โลภกิเลสใน ภพภวตัณหา กามตัณหา อยู่ในโลกน่ะ เต็มเหนี่ยวไม่รู้เรื่อง นั่นก็เป็นแบบฝึกหัดให้เขา เป็นตัวอย่างให้เขา เป็นแม่ไก่พ่อไก่ เป็นตัวไก่ มันจิกกันอยู่ในโน้น เป็นตัวอย่าง ให้เขา เต็มอยู่แล้ว จนกระทั่งเราเห็นแล้วว่า เออ! สังคมอย่างนั้น เราไม่เอาแล้วหละ ไม่ต้องมาจิกเรา เราก็ไม่ต้องไปจิกเขาแล้วละ เราอยู่ในเขาก็ อยู่ได้ แต่ว่าเราไม่ต้องการตัวอย่างแค่นั้นแหละ เราไม่ต้องการ เหตุปัจจัย ที่จะเป็นแบบฝึกหัด ให้เราแค่นั้น ไม่ต้องการไก่ที่มันจะมาจิกเรา เราจะต้องไปจิกกับ ไก่พวกนั้น เพื่อที่จะทดสอบ เพื่อที่จะฝึกฝนศึกษาให้สมบูรณ์ เราสูงขึ้นมา จะต้องมี แบบฝึกหัดที่สูงขึ้นมา จะต้อง มีเหตุ มีปัจจัยขึ้นมา ตามขั้นตามตอนที่แท้จริง เพราะฉะนั้น ความหยาบมาหาละเอียด ก็ต้องมี แบบฝึกหัด ที่ละเอียด ที่เป็นตัวจริงของความละเอียด

ในพวกเรานี่ดูเหมือนสายโทสะ โลภะ อะไร ทะเลาะเบาะแว้งกัน มันไม่หยาบ เหมือนข้างนอกเขาหรอก มันไม่อาฆาตมาดร้ายกันรุนแรง เหมือนข้างนอกหรอก ไม่หรอก แม้แต่มันจะมีเชิงกาม มันก็มี กามพวกเรา ก็ไม่ได้หยาบคายอย่างคนข้างนอกเขาหรอก ถ้าหยาบอย่างข้างนอก เราเห็นแล้ว ท่าทีลีลาแสดงออก หยาบคาย คุณก็ออกไป แล้วเขาก็ออกไป หนักเข้าก็ไปแต่งงง แต่งงาน เขาไปอะไรกันข้างนอก เขาก็ ขนาดนั้นน่ะ ถ้าอยู่ในนี้ มันไม่ต้องไปถึงขั้นแต่งงาน มันก็มีระริกระรี้อยู่อย่างนี้ แล้วเราก็ลดลงให้ได้ เป็นแบบฝึกหัดในนี้ ลดให้ได้ ใครเกิดเหตุการณ์ก็รู้ว่า เออ! แต่ก่อนนี้มันมีนะ เดี๋ยวนี้มันลดลงไปได้ แล้วจะเห็นว่า เออ มันก็ในนี้ แต่ถ้าเป็นข้างนอก มันก็จะหยาบคายกว่านี้ ในนี้ไม่หยาบคายมากมายอะไร อาตมาถึงบอกว่า ถ้าหยาบเกินขนาด อาตมาก็ต้อง ว่าหยาบๆบ้าง ว่าแรงๆบ้าง จนจะต้องให้ออกไป เพราะถ้าขืนอยู่แล้วแสดงหยาบ อย่างนี้มันไม่ไหว มันไม่ได้มาตรฐานของคนในนี้ เพราะฉะนั้น จะหยาบ ในเรื่องของความโลภ หยาบในเรื่องของราคะ หรือหยาบในเรื่องของความโกรธ เป็นโทสะ หยาบขนาดนั้น ต่ำกว่ามาตรฐาน หรือหยาบในความหลง โง่เง่าเกินไป จนกระทั่งบางที จิตไม่มีสติสตัง คนเป็นโรค ประสาท อย่างนี้ มันสอนไม่ได้หรอก อย่างนี้ มันมีโมหะ มันมีความหลง มันไม่มีปัญญา มันไม่มีทิฏฐิ มันไม่มีญาณอะไรพอที่จะพูดกันรู้เรื่อง แล้วจะไปสอนอะไร มันก็เป็นขยะ อยู่ในนี้ มันไม่เจริญหรอก

ที่นี่โรงเรียนนะ เราอยู่ด้วย เป็นมหาวิทยาลัยแห่งชีวิต เป็นโรงเรียนนะ เอาละ อาตมาพาทำอยู่นี่ เป็นโรงเรียน เป็นโรงเรียนนะ เพราะฉะนั้น เราจะต้องศึกษา ทุกคนจะต้องเป็นนักศึกษาทั้งนั้น เป็นเสขบุคคล เพราะฉะนั้น โรงเรียนของเราจริงๆ ในวัดนี่ต้องถือว่าเป็นเสขะเลยทีเดียว มีองค์ประกอบ ข้างนอก อะไรต่ออะไรก็ ในขนาดนั้นขนาดนี้ ใครจะสมัครเข้ามา สมัครนอกบัญชีบ้าง สมัครในบัญชีบ้าง ก็เข้ามาตามลำดับนะ ในการศึกษาของ เรา แม้แต่เราจะไป เดินทางไปศึกษา อย่างทุกวันนี้ต้องมาศาล ต้องไปโน่นไปนี่ มันเป็นการพิสูจน์ ตัวของเราเหมือนกัน พิสูจน์ว่าเราเอง เราเห็นสารัตถะกับอะไร ถ้าคน ที่มีภาระ มีเรื่องอะไร สำคัญกว่านี้ เขาก็เห็นภาระอันนั้น สำคัญกว่านี้ เขาก็ไม่มา แต่พูดอย่างนี้ ก็ไม่ได้ หมายความว่า ไปปลุกเร้าให้เรามากัน ใครๆก็ต้องรีบมากันให้หมด ก็ไม่ใช่ มันจะเป็นจริง ตามขนาด ของมัน มาไม่ได้ เขาก็มาไม่ได้ เขาเห็นอันนั้นสำคัญกว่า ทั้งๆที่จริงๆแล้ว ชั่งตวงวัดกัน จริงๆแล้ว มันทิ้งมาได้ มันมาช่วยอันนี้ หรือมันมาศึกษาอันนี้ มาเอาอันนี้ บางทีเราก็ได้อะไรบ้าง อย่างน้อย ก็มาฟังธรรมนี่ก็ยังดี เออ...แล้วก็มารู้มาเห็น มาสัมผัส มาเป็นเรี่ยวเป็นแรง มาเป็นมวล มันต้องเกื้อกูล อุปการะกันทุกอย่าง

ทำอะไรอยู่คนเดียวทำได้ที่ไหน อาตมาทำอะไรคนเดียว ไม่มีมวล ไม่มีหมู่ ไม่มีฤทธิ์ ไม่มีแรง ป่านนี้น่ะเหรอ เขาฝังแล้ว เรียบร้อย ใช่มั้ย มันไม่มีฤทธิ์ ไม่มีอะไรถ่วง ไม่มีอะไรดุลย์ ไม่มีอะไรประท้วง ไม่มีน้ำหนักอะไร เขาจะไปเกรงใจอะไรกันได้ นี่เขาเกรงใจ เพราะว่ามันไม่ได้หรอกนะ นี่มันมีหมู่มีมวลนะ แล้วมันมีเนื้อหา มันมีอำนาจของสิ่งนั้นสิ่งนี้ ต่างๆนานา มันสัมพันธ์กัน มันเป็นองค์ประกอบที่ทำให้เกิดน้ำหนัก ให้เกิดฤทธิ์ เกิดคุณค่าที่มีฤทธิ์ มีน้ำหนัก จริงๆ แต่ละคนนี่ มีประโยชน์อยู่ในนั้น เสริมส่วนให้มีฤทธิ์ เสริมส่วนให้มีน้ำหนัก เสริมส่วนให้มีค่า เมื่อมีฤทธิ์มีน้ำหนักมีค่าอย่างนี้ มันเป็นน้ำหนักฤทธิ์ค่า ทางด้านบุญ ทางด้านธรรมะ นี่เป็นกองของธรรมะนะ กองทัพธรรมนะ อธรรมเขาก็เกรง กริ่งเกรงได้ ถ้ามันมีน้อย น้ำหนักมันก็น้อย ยิ่งจริงเลยนะว่าที่นี่ไม่ได้จ้าง ไม่ได้วาน ไม่ได้จ้างได้วาน มาด้วยศรัทธา ดีไม่ดีเสียสละด้วย ที่ของเรายั่งยืนนี่ สองปีเฉยๆ นี่เขาหมดทาง ที่แต่ก่อนนี้เห็นมั้ย เฉลิมเขาว่า เอ๊อ! ไอ้อย่างนี้ผมเคย ทำ ก็จ้างม็อบอย่างนี้น่ะ ผมก็เคยทำ ไอ้จ้างม็อบทำอย่างนี้ เดี๋ยวมันก็หยุดหรอก มันก็หมดสตางค์ที่จะจ้างเอง ก็เรายังไม่หมดนี่ตังค์จ้าง เพราะเราไม่ได้จ้าง เรายังไม่หมดสตางค์ที่จะจ้าง เราไม่หมด เพราะเราไม่ได้จ้างจริงๆ เรายังไม่หมด อาตมาไม่ได้จ่ายสักบาทสักที ใช่มั้ย พวกคุณ ก็มาอย่างนี้ ถึงเวลา เฮละโลโฮละเล อย่าว่าแต่ไปได้แค่ศาลแขวงเลย จ้างไปศาลแขวง ตอนนั้นพูดใหม่ๆ มันก็อยู่ที่ศาลแขวง เฮละโลไปศาลแขวงที่กรุงเทพฯ เท่านั้นเอง อย่าว่า แต่จ้างไปแค่ศาลแขวงเลยนี่ ไปเลยนี่ไปต่างจังหวัด ไปจังหวัดโน่นจังหวัดนี่ ท่องจนไปทั่ว ประเทศไทยแล้ว นี่ถ้าเกิดไปว่าความ ที่ศาลอเมริกากันแล้วเป็นไงนี่ หือ! จะต้องไปสืบความ กันที่อเมริกา จะเหลือกี่คนนี่ ค่าเครื่องบิน มันแพงนะ ก็คงไม่สืบขั้นข้ามประเทศ กันถึงขนาดนั้นหรอก คดีแค่นี้ แหม! คดีมันแทบจะเป็น มโนสาเร่ อยู่แล้ว คดีเรานี่นะ ติดคุก อย่างดีก็หกเดือนแค่นั้นเอง เรายังไม่ได้ใหญ่โตถึงขนาดนั้น คดีที่เขาจะเกิด แย่งชิงประเทศกัน ก็ค่อยไปว่าความกันที่อเมริกาหน่อย ก็สมมุติ ไปลองๆดูเท่านั้นเองนะ

ซึ่งอาตมาแน่ใจว่าพวกเรานี่มีความศรัทธา เรียกว่าเชื่อ แล้วก็มีความเข้าใจ มีปัญญาด้วย อาตมาไม่เอานะ อย่างงมงายนี่ ต้องมีปัญญา ต้องเข้าใจว่าทำนี่ มันเพื่อผลอะไร เพื่อประโยชน์อะไร มันควรมั้ย มันคุ้มมั้ย ประโยชน์แบบโลกๆ เราก็เข้าใจ แต่ก่อนก็เสียสละ มานักหนา เสียสละไป ไม่ต้องเอาอะไรมาก ผู้หญิง พูดแล้วมันก็ ไปเสียสละไอ้กับ เครื่องแต่งตัว เครื่องอะไร ขี้หมูราขี้หมาทาสี อย่างที่อาตมาว่านี่ จ่ายไป ไม่รู้เท่าไหร่ กี่ร้อยกี่พันกี่หมื่น กี่แสน บางคนเป็นล้านๆนะ อย่างทางโลกนี่เป็นล้านๆนะ จ่ายไปเถิด แล้วได้ อะไรขึ้นมา นอกจาก กามกิเลส เหอ! จ่ายไปแล้วได้อะไร ได้กามกิเลสใส่เข้าไว้ใน กระป๋องออมสิน จิตวิญญาณเรา หลงสะสมมา จ่ายเงินจ่ายทอง จ่ายกำลังงาน จ่ายเวลานะ เดินไปช็อปปิ้งดูไอ้นี่ ไม่ชอบใจ ไอ้โน่นไอ้นี่ อ๊า! เดินกระดิ๊กกระดี๊ อะไรไปอยู่นั่นน่ะ แล้วได้แต่กิเลส หมดไปเท่าไหร่ นับไม่ถ้วน เหอ! นับไม่ถ้วน เสร็จแล้วก็ไม่ได้อะไร ได้แต่กิเลส ซึ่งไม่เป็นสิ่งที่ควรได้เลย เสร็จแล้วก็ต้อง มานั่งล้างอยู่ซิ นี่ล้างไปซิ มานั่งล้างอยู่นี่ ทรมานทรกรรมอยู่นี่ ก็เพราะไป เที่ยวได้เสียเงินนั่นแหละ เสียเวลา เสียแรงงาน นั่นแหละ แล้วทำมาให้เอง ตัวเองนั่นแหละ ไปโง่กับเขา เขาก็หลอกไป เดี๋ยวนี้ก็ยังถูกหลอกกันอยู่เต็มบ้าน เต็มเรือน เต็มเมือง เต็มโลก จะไปแย่งชิง สมบัติพัสถาน แย่งชิงลาภยศอะไรก็เหมือนกัน หลงอยู่ในโลกนะ แย่งชิงลาภยศ สรรเสริญ อำนาจบาตรใหญ่อะไรอยู่ อย่างนั้นน่ะ เสียเรี่ยวเสียแรง เสียเวลา เสียแรงงาน แล้วก็ไปอุปาทาน อยู่กับเขาอย่างนั้นน่ะ เสร็จแล้วก็ติดเป็นกิเลส

มาในนี้ก็แบกเข้ามาด้วย อุตส่าห์ทิ้งทางโน้นมาแล้วนะ ไม่ไปแย่งกับเขาแล้วทางโน้น แต่ไอ้เชื้อ ที่ติดอยู่น่ะ มันเป็นกิเลสที่ติดตัวมา มานี่น่ะ มาอยู่ในนี้ มาล้างกันอยู่นี่ แล้วก็มาชกกันอยู่ในนี้ เพราะมันยังมา ออกฤทธิ์ อยู่ในนี้ ไม่อะไร หยาบๆคายๆ ก็ยังมีเชื้อมีเหลือ ก็มาแย่งลาภกันในนี้ เล็กๆน้อยๆ ดูซินี่ หยิบอะไร ดีๆ ตอนนี้เห่องา ดูตักงามาตั้งสิบช้อนเลย (คนฟังหัวเราะ) ไม่แบ่งฉัน มาโลภอยู่ในนี้ ดูซินี่คนหลัง ไม่ได้เลย ตัวเองเอาตั้งสิบช้อน เป็นลาภชนิดหนึ่งเหมือนกันนี่ ของฟรีนี่นะ ของมานี่ไม่ได้ซื้อ ก็ต้อง เป็นลาภ แต่ถึงช่วงเราก็เอา ก็ มันก็มีโลภ มันมีลาภมียศ อยู่ในนี้ก็มียศนี่ ผู้รับใช้กลุ่ม ทำยศทำเบ่ง อย่างโน้นอย่างนี้ มันก็ซ้อนอยู่ในนี้ มันไม่หยาบเหมือนโลกแล้ว แต่มันก็มามีละเอียดในนี้ มาแย่งลาภ แย่งยศ แย่งสรรเสริญ เอาได้หน้าได้ตา เด่นดัง อะไรอยู่ในนี้ ในทีในท่า มันไม่หยาบหรอก แต่มันละเอียด ซ้อนๆๆ อยู่ในนี้แหละ แล้วตัวในนี้แหละเป็นตัวจริง ที่เป็นตัวแบบฝึกหัดแท้ ไม่ใช่ของอย่างโลก อย่างโลกๆน่ะ เรารู้เท่าทันมันหมด นะ

เราจะละเอียดอย่างนี้ เราถึงรู้เท่าทันทางโน้นน่ะ ไม่ต้องอ้าปากก็เห็นลิ้นไก่ ไม่ต้องอ้าปาก ก็เห็นขี้ฟัน ทางข้างโลกน่ะ โลกียะน่ะ แต่อาตมาพูดกับพวกเรานะ พูดอย่างดูถูกดูแคลน ก็พูดอย่างอวดดี พูดอย่างหยาบ แต่เขาไม่เข้าใจว่าเรารู้ แต่เรารู้ แล้วเราจำเป็นจะต้องพูดด้วยเหรอ ว่าเรารู้ เราไม่จำเป็น จะต้องพูดว่าเรารู้ก็ได้ เหมือนกับเราโง่ แต่เราก็กันคุณ กั้นคุณได้ ถ้าเราทำเป็นอวดดี รู้ แล้วบอกคุณด้วย คุณก็ป้องกันซิ เรื่องอะไร คุณก็สู้ คุณก็ (หัวเราะ) จะให้ไปล้างของคุณเหรอ เพราะฉะนั้น มันก็บอกกัน ไม่ได้ ไม่ต้องบอกกันหรอก ไม่จำเป็นจะต้องบอก แล้วก็มากมาย ไม่มีเวลาจะไปบอกบทด้วยซ้ำ มันก็มี ซ้อนเชิง โลกียะนี่แหละ ลาภ ยศ สรรเสริญ โลกียสุข แม้แต่มา เสพโลกียสุข ประเภทที่ไม่ได้เอาของใคร ข้าจะนอนของข้า ข้าจะอยู่ในภพของข้า ข้าจะหลบจะเลี่ยง อะไรของข้า ตามภพของข้า ข้าจะทำตาม ที่ข้าเข้าใจนี่แหละ ใครอย่ามาตีภพของข้าแตกนะ ข้าจะเอาอย่างของข้านี่ ของคนอื่นก็ไม่เอา ข้าจะเอา อย่างของข้านี่ แล้วก็ไม่มีปัญญา ที่จะมีไหวพริบ รู้เลยว่า ปัดโธ่เอ๊ย! อยู่แต่ในภพของตัวเองนั่นแหละ ของคนอื่นเขา อย่างโน้นอย่างนี้บ้าง มันก็ยังมีตัวมีตนอยู่อย่างนั้น นี่มันก็ซ้อนๆๆๆ เข้าไปเรื่อย

เราจะต้องเข้าใจให้กว้าง แม้แต่ในโลกกว้าง อย่างพวกเรานี่ก็ยังไม่ออกกว้างเลย บางคน อยู่ในสันติอโศก อยู่ในรูตัวเองนี่ไม่ค่อยรู้ สันติอโศกมันมีอะไรบ้างก็ไม่รู้ อยู่ในรูตัวเองนั่นแหละ แล้วรอบสันติอโศกนี่ มีอะไรบ้าง ไม่รู้ แล้วจะไปรู้อะไร โลกวิทู พหูสูตร แล้วมันจะรู้หรือว่า กิเลสของเรานี่ มันหมักอยู่นี่ มันพัก ถ้ากระทบสัมผัสอย่างโน้นอย่างนี้ อย่างนี้อย่างโน้น ซึ่งเราเอง เราไปติดมาตั้งแต่เป็นเชื้อโรคที่ไหนๆๆๆ เป็นเชื้อมาข้างนอกมากมาย แล้ว ตอนนี้ ก็มาหมักเก็บไว้นี่ เราก็ได้แต่เอาอันนี้มาปรุง ไอ้ตัวนี่พักเก็บไว้ มันก็ไม่ขึ้นมา มันยังไม่ได้รู้ตัว มันยังไม่ได้ล้าง มันยังไม่เข้าใจหน้าตา มันไม่ได้เกิดปัญญา ปัญญินทรีย์ มันยังไม่ได้เกิด เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติอะไรเลย มันยังไม่รู้ว่า มันยังอยู่ในจิตของเรา แล้วเราก็ไม่เข้าใจ ล้างมันไม่ได้ เพราะมันไม่รู้ตัวว่า มันยังมี นึกว่าเราหมดเสียด้วยซ้ำ

แม้แต่ในแวดวงของพวกเรานี่ ยังเกี่ยวข้องไปด้วยรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ลาภ ยศ สรรเสริญ อะไร มันก็มีซ้อนเชิง หยาบๆเราไม่ได้ แล้วเราก็มาดูละเอียดให้มันรู้ว่า มันกระทุ้งออกมา แล้วเราก็ล้างมัน จนหมด ไม่มีเหลือ ในขนาดพวกเรานี่ มันไม่หยาบแล้ว มันก็มีละเอียด ในตัวของมันอยู่ เราก็จะรู้ว่า คนนี้ยังหยาบ เอ้า! คนนี้ชั้นนี้เราก็ปล่อยเขาได้ วางใจเขาได้ คนนี้ละเอียดขึ้นมา ละเอียด มันฐานใกล้กัน ใกล้กันขึ้นมานี่ มันจะทะเลาะกัน พอฐานที่ห่างกัน เขาต่ำมาก เราก็อนุโลมเขาได้ เขาต่ำมากไป ขนาดหนึ่ง แล้วเราก็ยังไม่ถือสา เหมือนกับพี่คนโตน่ะ น้องคนเล็กนี่ไม่ถือสา แต่คนใกล้ๆกันละก็ ชักจะทะเลาะกัน ชักจะถือกัน แข่งดีแข่งเด่นกัน ฐานใกล้ๆกันนี่ มันจะแข่งดีแข่งเด่น ถ้าฐานที่ห่างกันละก็ ไม่มีปัญหา ไอ้คนโน้น พี่มากเกินไปไม่สู้ ไอ้คนนั้นน้องเล็กเกินไป เออ!...อนุโลม มันทำอะไรเราไม่ได้หรอก มันเป็นเรื่องของธรรมดา ธรรมชาติของมันน่ะ เพราะฉะนั้น เราก็รู้คนนี้ เออ! คนนี้ฐานนี้เขา เราก็วางใจ เขาได้ เพราะว่าเขาฐานต่ำกว่าเรา เกื้อกูลเขาได้ก็เกื้อกูล คนนี้สูงกว่าเราจริงๆ อย่าไปแอ๊ค รู้แล้วอย่าไปสู้ คนสูงกว่าจริงๆ มันก็อย่างนั้น แต่ไอ้ที่ใกล้ๆกันนี่ มันก็ทะเลาะกัน แข่งกัน แข่งดีแข่งเด่นกัน อยู่ที่ฐาน ใกล้กันเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น คนที่ฐานใกล้กันแล้ว หรือที่คนที่คุณยังถือสานี่แหละ ไอ้คนนี้ นี่ไม่ยอมมัน ไอ้คนนี้ไม่ยอมมัน ไอ้คนนั้นละ เป็นแบบฝึกหัดของเรา คนนั้นแหละ แบบฝึกหัดของเรา ไอ้คนนี้ยอมมันไม่ได้ เออ! ไอ้คนนั้นแหละ แบบฝึกหัดของเรา (หัวเราะ) เข้าใจขึ้นมั้ย ไอ้คน ยอมมันไม่ได้ มันเป็นยังไงล่ะ ยอมไม่ได้ ต้องเอาชนะมันนี่ แล้วมันอะไรล่ะ เหอ! กู กูต้องใหญ่ กูต้องชนะ ยอมมันไม่ได้

เพราะฉะนั้น เราจะยอม เราก็ดูที่สาระ เออ! คนนี้เขาจะอย่างนี้ เราอนุโลมเรายอมเสีย ไม่ถึงพัง ไม่ถึงเสีย อะไรหรอก เป็นไป พิสูจน์ดู เขาทำก็ทำดู เราก็ยอมให้เขาทำไปเถอะ เราทำตามเขาดู ถ้าเราจะตามเขา ก็ นี่คุณเอาอย่างนี้นะ โอเคกับคุณนะ ถ้ามันเสียก็...คุณเป็นผู้นำน่ะ คุณเป็นผู้ เอาน่ะ เอากับคุณน่ะ ก็ยอมคุณน่ะ ถ้ามันเสียมันก็จะรู้ผลว่า อ้า!...เสีย บางทีเราก็ได้วิเคราะห์วิจัยกันแล้ว ว่าอย่างเรานี่นะ เสนอเข้าไป เขาก็ไม่เอา เขาจะเอาอย่างเขา เราก็วิเคราะห์วิจัย ก็ยังแข่งกันอยู่นั่น เอ้า!ตกลง เอา อย่างคุณก็เอา แล้วเราก็ทำด้วยกัน ทำเสร็จแล้วมันเสีย เอ้า!เสร็จ เขาก็ต้องกลับมาเอา อย่างที่เรา เสนอเอาไว้ สุดท้าย แต่ต้องเสียไปก่อน ถ้ามันไม่ถูกต้อง มันก็เสียไปก่อน ทำอย่างไรได้ล่ะ โหวต... ก็มีคน เห็นดีอย่างนี้หลายคน ทำอย่างไรได้ สังคมของเรามีคนโง่เท่านี้ ก็ต้องโง่ไปก่อนสิ ก็โหวตแล้ว ก็คนโง่ มันเห็นอันนี้ดี ใช่มั้ย เป็นคะแนนเสียงมาก มันก็ต้องจำนน มันก็ต้องสมกับ คนโง่แหละ มันก็ต้องเสีย จนได้ ก็ทำไป เสียเวลาไป เสียแล้วก็

แต่ถ้าเผื่อว่ามันมีคนดี ถูกต้อง จงคิดว่าเราเองแพ้โหวตนี่ และเราอยู่ในสังคมคนมีปัญญา เราคงจะเป็น พวกผิดแน่ สังคมของคนมีปัญญานี่ มันก็จะต้องถูกมากกว่าผิดใช่มั้ย คนถูก ก็จะต้องมากกว่าคนผิด เสมอ สังคมของคนมีปัญญา เรียกว่าสภา มีปราชญ์ สังคมคนปราชญ์ สังคมปราชญ์ ผู้มีปัญญา มันก็จะต้อง ถูกกว่าผิดแน่ๆ เพราะฉะนั้น เมื่อตกลงมติแล้ว โหวตแล้ว ได้อย่างนี้ เอ้า! ตกลง มันจะถูก มากกว่าผิด ในสังคมของปัญญาชน ในสภามีปราชญ์ เพราะฉะนั้น โหวตเสียง ปราชญ์ก็มักจะต้อง เห็นถูก ก่อนผิดแหละ ปราชญ์มันต้องฉลาดจริง เพราะฉะนั้น มันไม่ค่อยผิดเท่าไหร่หรอก แต่ถ้าจะผิด ก็ยอมซิ สังคมเรามีคนโง่มากกว่า คนฉลาด เราก็ต้องยอม คุณจะไปทำอย่างไร ก็คุณเลือกสังคมนี้แล้ว แต่ถ้าคุณอยู่ กับสังคมนี่ มันเลือกผิดเสียบ่อยๆๆๆ ไปหาสังคมใหม่เถอะ มันตัดสินมติออกมาทีไร มันมี แต่ผิด อยู่เรื่อยๆ เลยนี่ พิสูจน์ไปเรื่อยๆ มันไม่ไหว มันไม่เป็นปราชญ์แล้วนี่ มันเป็นปาด พวกเขียดตะปาด แล้วแบบนี้ มันไม่ใช่ปราชญ์ เราก็ต้องแก้ไข เราก็ต้องไปหาสังคมใหม่

แต่ถ้าสังคมนี้ เป็นปราชญ์จริงนะ เราจะเห็นเลยว่า โอ๊ย! เรานี่อวดดี เขาตัดสินตกลงถูก มติหมู่ถูกทุกที เราก็ยังอวดดี ไม่ยอม ไม่ยอม อยู่นั่นแหละ แล้วเราก็ไม่ร่วมไม้ร่วมมือด้วย ก็ช้า แต่ถ้าเราร่วมไม้ร่วมมือ ก็ดี จะได้รุ่งโรจน์ รีบๆเสร็จ จะได้รู้ว่าผิดหรือถูก สมมุติว่าคนโหวตกัน ยี่สิบคน กับสิบคน ยี่สิบคนชนะ แล้วพวกนี้ เป็นปราชญ์ เราสิบคนนี่ เราตกลงมีมติ รู้จักใช้สังคม รู้จักใช้ที่ประชุมเป็น อีกสิบคนนี้ก็ เอ้า!วาง ยอม ไม่ฝืน ไม่ต้าน เอ้า!ตกลงเอามติอย่างนี้แล้วนะ ยี่สิบคนชนะ ลงมือช่วยกันทำ มันก็จะได้ รีบเสร็จ ถ้ามันผิด มันก็จะได้รีบรู้ว่ามันผิด ไม่ต้องเสียเวลา เนิ่นนาน ถ้ามันดีมันก็จะได้รู้ว่าดี แล้วเราก็จะ ได้เกม อ้อ! เราผิดจริงๆ เพราะผลออกมาแล้ว ผลสรุป ผลสำเร็จ แล้วมันถูก เราจะได้รู้ อีกสิบคน ก็จะได้ ชัดเจนไปเลย ถ้ามันผิด ก็จะได้รีบรู้ว่า เออ! ผิด รีบๆแก้ตัว รีบแก้ไข ไม่ต้องเสียเวลาเนิ่นนาน เอ้า!อย่างนั้น ก็มาเอามติ ที่เราว่านี่ นั่นแสดงว่าหมู่กลุ่มนี้ฉลาดน้อย มีคนฉลาดน้อย มีคนโง่มาก มันก็ต้อง ทำอย่างนั้น ก็ต้องเสียเวลาไปอย่างนั้นแหละ แต่ถ้าแน่ใจว่าหมู่กลุ่มนี้มีคนฉลาดมาก แน่นอน มันจะถูก มากกว่าผิด เสมอ เราต้องรู้ ยอมไว้ นึกไว้แต่ว่า เออ! เราจะไป พิสูจน์ไปซิ จะไปทำเป็นแอ๊คๆๆ นึกว่าเราถูกอยู่เรื่อย อยู่เรื่อย มันอาจจะมีบางครั้งบางคราวนานๆ ทีนะ ส่วนน้อยถูก ส่วนมากนี่ผิด มีได้เหมือนกัน ครั้งคราว มันไม่รอบถ้วน มันมีบกพร่อง ถ้าเผื่อว่า มีปราชญ์ ส่วนมากจริงๆแล้ว มันไม่ค่อยผิดหรอก

นี่ก็เป็นค่าเฉลี่ยที่อาตมาวิจัยให้ฟังว่า ในการใช้ที่ประชุมตัดสิน เป็น เยภุยสิกา เอาเสียงข้างมาก เป็นประมาณ ในการตัดสินเรื่องนั่นเรื่องนี่อะไรในหลักการของพระพุทธเจ้าพวกนี้นะ มันละเอียดลออ ลึกซึ้งอย่างนี้ตามสัจจะ อาตมาวิจัยสัจจะให้ฟังนี่ ก็คงพอเข้าใจ ถ้าเราเข้าใจแล้ว ทีหลังมติคือมติ ที่ประชุมคือที่ประชุม เพราะฉะนั้นบางทีนี่ การประชุมนี่ ถ้าเราตั้งกรรมการ หรือ เราตั้งผู้สมเหมาะสมควร ไอ้ที่จะออกเสียงนี่ ไม่ใช่กรรมการ แล้วก็มาออกกันเละ จะต้องมาเอาที่ประชุมนี่ ต้องใช้ที่ประชุม กับชาวบ้าน ทั้งหมด ทั้งๆที่มันไม่ใช่ ชาวบ้านยังไม่รู้เรื่องอะไรด้วยเลยนะ ในนัยละเอียดซับซ้อนนี่ กรรมการ รู้เรื่องกัน ก็ต้องให้แต่กรรมการ เป็นผู้ออกเสียง จะไปให้ทั้งชาวบ้านออกเสียงหมด แล้วถือว่า นี่คือที่ประชุม ไม่ได้ ไม่ได้ ในสภาต้องมีปราชญ์เท่านั้น คัดเลือกปราชญ์เท่านั้น เข้าไปในสภา แล้วจะต้อง ให้กรรมการของสภานั้น เป็นผู้ออกเสียง ไม่ใช่ไปเอากเฬวรากอะไร ถึงไม่ค่อยมีเหตุปัจจัย ไม่ค่อยมีเรื่องราว ไม่ค่อยมีรายละเอียด แล้วก็มาออกเสียงกันหมดเลย แล้วถือว่า นี่คือประชาธิปไตย เห็นมั้ยมันซับซ้อน ไม่ได้ แล้วชาวบ้านที่ไม่รู้เรื่องรู้ราว ยิ่งสมัยนี้นี่เก่งนะ มันซับซ้อนเหลือเกินนะ ไปม็อบ ไปล็อบบี้เอาไว้ด้วย ถ้าเผื่อว่าข้ายก ยกตามนะ ไม่รู้เรื่องอะไรหรอกนะ ก็ได้คะแนนน่ะซิ แล้วเอาเงินไปจ้างเอาไว้ด้วย ก็ได้คะแนนน่ะซิพวก

นี่ถึงว่าประชาธิปไตยหรือว่าลักษณะที่มันไม่ชัด ซ้อนเชิงพวกนี้ พัง สังคมนี่ พัง แล้วเรื่องที่ลึกซึ้ง คนโง่นี่ มันไม่รู้จริงๆนะ เรื่องลึกซึ้งนี่นะ เรื่อง ซับซ้อนลึกซึ้ง คนโง่มันไม่รู้จริงๆ เพราะฉะนั้น มันก็ตามผู้นำ ผู้นำก็ใช้ วิธีการนี้ ใช้เล่ห์กลแบบล็อบบี้ หรือว่าสร้างม็อบ หรือว่าหาพวกไว้ ด้วยอำนาจเงิน อำนาจฤทธิ์เดช อำนาจทำคุณงามความดีอะไรล่อเอาไว้ เราอะไรก็เฮละโล ช่วยเรานะ เฮละโลช่วยเรานะ ประชาธิปไตย ทุกวันนี้ เป็นประชาธิปไตยหาพวก ประชาธิปไตย หาพวกอยู่อย่างนี้เสมอ อาตมาเองก็เป็นนัก ประชาธิปไตย แต่อาตมาไม่หาพวก แต่พวกคุณ เป็นพวกอาตมาเอง เท่านั้นเอง แม้แต่ในพวกเรานี่ อาตมาเองก็ยังให้ ซับซ้อนในตัวเลยว่า อย่าไปหลง ไปหลงบุคคล ไปหลงตัวตน เพราะฉะนั้น จะต้อง พินิจพิเคราะห์เข้าไปหาเรื่อง เข้าไปหาเรื่องราว เข้าไปหาสารัตถะให้แน่ชัด อะไรที่ถูกต้อง อะไรที่ดีที่สุด เราเอาอันนั้น กันให้ชัดเจน อย่าไปติดตัวบุคคล

นี่เรื่องของสัจจะ ประชาธิปไตยจริงๆ เสรีนิยมจริงๆ แต่มันมีกรรมวิธีซับซ้อน เพราะฉะนั้น เข้าถึงประชาชน แล้วเอาประชาชน ถ้ามันไม่มีวิธีการอย่างทุกวันนี้น่ะ เข้าถึงประชาชนก็ได้ แต่คุณต้องทำให้ประชาชน ฉลาด อย่างพวกเรานี่ คือประชาชนฉลาด เพราะฉะนั้น บางทีออกเสียงกันได้หมด แต่เราก็ยังมีซ้อนเชิง ยังมีคณะ ยังมีหมู่ ยังมีกรรมการ ยังมีโน่นมีนี่ ยังมีสภา บางทีก็เอาแต่เฉพาะเสียงของสมณะ บางทีก็เอา เฉพาะเสียงกรรมการพวกคุณ บางทีก็ทั้งสมณะ ทั้งพวกคุณ บางทีก็เอาทั้งหมดทั้งหมู่บ้าน นี่มันไม่ตายตัว ทีเดียว จะต้องรู้ขนาด จะต้องรู้ขีดรู้เขต ไม่เช่นนั้นแล้ว ไม่ได้สิ่งที่ละเอียดลออ ไม่ได้สิ่งที่ถูกต้อง อย่างสมบูรณ์ นี่เป็นนัยที่จะต้อง ศึกษาเพิ่มเติม ไม่เช่นนั้น เราก็ทำอะไรต่ออะไรเข้าไป อย่างถูกสัดส่วน ไม่ได้ เขาจะเรียนรู้ทางโลก จะเรียนรู้การเมือง จะเรียนรู้ประชาธิปไตย จะเรียนรู้สังคมศาสตร์ จะเรียนรู้ ถึงรัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ อะไรนี่ไม่ต้องไปกังวลมากนักหรอก เราทำพุทธศาสตร์นี่แหละ เรียนพุทธศาสตร์ จริงๆนี่แหละ แล้วมันจะครบศาสตร์ต่างๆ อยู่ในสังคมโลกมนุษย์นั่นเอง แล้วสุดท้าย ก็เป็นไปเพื่อความเป็นอยู่สุข อิสรเสรีภาพ ภราดรภาพ สันติภาพ สมรรถภาพ บูรณภาพ นี้เท่านั้น อาตมา ขอยืนยันว่า มนุษย์ในโลกนี้ ไม่ออกไปนอก ห้าภาพนี้ นักบริหารทั้งหลายแหล่ ต้องเรียนรู้ ห้าภาพนี้ ให้ลึกซึ้ง นักบริหาร คุณจำลองน่ะ ไปเรียนบริหารมา จนได้ปริญญาโท อาตมาไม่ได้เรียนมาเลย บริหารนะ บริหาร ต้องเรียนรู้ ห้าภาพนี้ให้ชัด ถ้าไม่เช่นนั้นแล้ว ก็ไม่รู้รายละเอียดซับซ้อน ทำให้สมบูรณ์ไม่ได้ เป็นสันติภาพ ที่เป้าหมายสูงสุด ที่เราต้องการนี่ไม่เกิดนะ

เอาละ สำหรับวันนี้ อาตมาก็ขยายความอะไรต่ออะไรขึ้นมาเพิ่มเติม เทศน์เมื่อวานนี้กับวันนี้ สองกัณฑ์นี้ ก็มีอะไรละเอียดลออ พอสมควรนะ ไม่ได้เคยมาเทศน์ นอกงานพุทธาเลย ในไพศาลีนี่ ปีนี้เป็นปีพิเศษนะ ได้มาเทศน์สองกัณฑ์ ที่ไพศาลีนี่ อาตมาก็ว่าได้ขยายความ อะไรต่ออะไรเพิ่มเติม ผู้มาก็ได้ฟัง ผู้ไม่ได้มา ก็ไม่ได้ฟัง หรือผู้มาไม่ฟังก็แล้วแต่ มาเหมือนกันน่ะ แต่ไม่ได้ฟัง ก็จะไปช่วยยังไงได้ เป็นความซวยของ ส่วนตัว ไม่ได้ฟัง ก็ไปหลบไปเลี่ยง ไปอะไรต่ออะไร ทั้งๆที่มันควรมาได้ฟัง ก็ไม่ได้ฟัง มันก็เป็นบุญเป็นบาป ของแต่ละคน กรรมวิบากของเขา ก็ได้เท่าไหร่ก็เท่านั้นนะ เอาละ สำหรับวันนี้ก็หมดเวลาแล้ว ตีห้าครึ่งแล้ว ก็พอกันเท่านี้

สาธุ


ถอด โดย ศิริวัฒนา เสรีรัชต์ ๒๐ กันยายน ๒๕๓๔
ตรวจ ๑ โดย อุทัยวรรณ ตั้งมั่นสกุล ๒๓ ตุลาคม ๒๕๓๔
พิมพ์ โดย อนงค์ศรี เบญจโศภิษฐ์ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๓๔
ตรวจ ๒ โดย อุทัยวรรณ ตั้งมั่นสกุล ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๓๔

มนุษย์พุทธบริษัท ตอน 2 / FILE:1921D.TAP