คือทั้งสิ้นของพรหมจรรย์
โดย พ่อท่าน สมณะโพธิรักษ์
เมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ.๒๕๓๔
ณ พุทธสถานสันติอโศก

พระพุทธเจ้าท่านตรัสย้ำยืนยันอันหนึ่งที่เราเอามาใช้ เอามาประกอบ การประพฤติปฏิบัติ แล้วก็พิสูจน์กัน จนกระทั่งถึงทุกวันนี้ ก็คือ มิตรดี สหายดี สังคมสิ่งแวดล้อมดี เป็นทั้งสิ้นของพรหมจรรย์ อันนี้อาตมา ก็ใคร่จะขยายความ ในส่วนเหล่านี้ ให้พวกเราได้รู้ลึกซึ้งขึ้นไปอีก แล้วก็จะได้เห็นความจริงที่เราเองก็ได้ผล ได้ประโยชน์จาก การปฏิบัติธรรม ตามหลักของพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นหลักใหญ่ ก็โพธิปักขิยธรรม หรือ มรรคองค์ ๘ ซึ่งเราก็ได้ปฏิบัติกันมา มีอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา เป็นลำดับๆขึ้นมาตาม มีผล

ผลที่ว่านี้ พวกเราก็ต้องรู้เอง ถึงขนาดเป็นผลในเรื่องปรมัตถสัจจะ เป็นผลธรรม ที่เกิดจริงเป็นจริง และ มีผลทั้งเกิดความเป็นอยู่ของชีวิต มีกายกรรม ที่เป็นเมตตากายกรรม มีวจีกรรมที่เป็นเมตตาวจีกรรม มีมโนกรรมที่เป็น เมตตามโนกรรม หรือเป็นกาย วาจา ใจ ที่เป็นกุศลกรรม เป็นจิตที่มีคุณค่าเป็นประธาน ทั้งรู้ รู้ต่อสังคม รู้เรา รู้เขา ในหมู่พวกเราเองอย่างไร รู้ข้างนอก รู้ว่าเราจะทำอย่างไร จะทำทางกาย ทางวาจา หรือทางการงาน จนกระทั่งทำเป็นชีวิต เป็นอาชีพ งานประจำชีวิต ทั้งๆที่ไม่เหมือนชาวโลก เขาว่า เขาจะต้องไปทำแบบระบบของโลก ไปสมัครงานระบุตำแหน่งหน้าที่กัน อย่างตายตัว แล้วเราก็ต้อง ทำเพื่อที่จะให้ได้รับเงินทองข้าวของ ลาภ ยศ สรรเสริญ โลกียสุข โดยเฉพาะได้ลาภ ได้ยศ อะไรมา เพื่อใช้ เพื่ออาศัย หรือยิ่งกว่านั้น ก็เพื่อโลภ มาให้แก่ตัวเอง ให้ได้มากๆ เพื่อเบ่ง เพื่อข่ม อะไรเขา ต่างๆนานา เราก็ไม่ได้มีระบบอย่างนั้น จะมีตัวสำนึกข้างใน จะมีตัวปัญญาข้างใน รู้ว่าเราควรทำ หรือไม่ควรทำ เราควรขยัน หรือไม่ควรขยัน เอาใจใส่ หรือไม่ควรเอาใจใส่ โดยไม่มีอำนาจโลกียะ หรือโลกธรรม คือ ลาภ ยศ สรรเสริญ โลกียสุข เหล่านั้น เป็นตัวอิทธิพล เป็นตัวเร่ง หรือเป็นตัวล่อ ล่อให้เราต้องขยัน ต้องพากเพียร ต้องเอาใจใส่ ต้องพัฒนา แต่เราก็ทำด้วยความสำนึก ทำด้วยปัญญา ในปัญญาลึกๆ หรือว่าในจิตลึกๆ ในความรู้ ที่ลึกๆ เราก็ต้องรู้ว่า สิ่งเหล่านี้เป็นคุณค่า เป็นความดี แล้วเราก็ทำ เพื่อผล เพื่อประโยชน์ เพื่อเสียสละ เป็นผล เมื่อเราทำ ก็เป็นผลขึ้นมา เป็นประโยชน์ขึ้นมา มีผลได้ ผลตาม

เมื่อมีผลได้ขึ้นมาก เราก็ไม่ใช่ว่าจะอาศัยสิ่งเหล่านั้นไปแลกเงินทอง ลาภ ยศ หรือว่าทำแล้ว ก็เพื่อต้องการ สรรเสริญเยินยออะไรก็ไม่ใช่ หรือแม้แต่ ทำเพราะเรามันหัวใจ ทำแล้วมันก็เป็นความอร่อย เป็นความสุข ได้ทำแล้ว มันก็สุข เป็นกัมมารามตา เป็นการหลงระเริงไป เป็นการงาน หรือว่าเป็นกรรม ที่เราทำ เพราะมันรัก มันชอบ มันอร่อย ถ้าไม่ได้ทำแล้วก็รู้สึกทุกข์ รู้สึกเหงา รู้สึกขาดอะไรต่างๆพวกนี้ ก็ไม่ใช่ อย่างนั้นทีเดียว แต่ทำเพราะรู้จริงว่า ควรจะเป็นเช่นนั้น ควรจะต้องกระทำเป็นกิจ เป็นหน้าที่ของมนุษย์ เป็นธรรมดา ของมนุษย์ที่จะต้องรังสรรค์ ที่จะต้องสร้าง ต้องทำ อย่างนี้เป็นต้น แล้วเราก็ได้ทำกันไป

เราจะได้เห็นตัวสำคัญลึกๆของกิเลส โดยเฉพาะตัวขี้เกียจ หรือตัว เห็นแก่ตัว เป็นภพเป็นภวตัณหา อย่างหนึ่ง มันต้องการทำตามใจเรา เราต้องการทำอันนี้ อันนี้เราไม่ต้องการทำแล้ว เราก็อยากจะไปทำ อันนั้นอันนี้ อันนี้ก็เป็นภวตัณหา เป็นการบำเรอ ยังมีตัวตน ยังมีเรานี่แหละ กำหนดเพื่อเรา ตามใจของเรา เราอยากทำ เราก็ทำ เราไม่อยากทำ เราก็ไม่ทำ เราชอบเราก็ทำ นี่เป็นอัตตา เป็นกิเลสตัวร้าย แล้วก็คน ในโลกก็เผินๆมองง่ายๆ เข้าใจมันว่า นี่เป็นตัวอิสรเสรี เป็นตัวที่ไม่มีใครเป็นเจ้า เป็นนายหัวใจเราละ เราจะทำตามใจเราได้ นี่เป็นความอิสระ จริงๆแล้วไม่ใช่ ไม่ใช่ตัวดี คนในโลก ก็ต้องการความอิสระ แบบนี้แหละ บำเรอใจตัวเอง ตามใจกู กูชอบอะไร ใครจะมาขัดมาข้องไม่ได้ ใครจะมาเป็นเจ้าเป็นนาย ใครจะมาสั่งมาสอน มาบังคับ มาจี้ มาชี้ อย่างโน้น อย่างนี้ ที่ไม่ตรงกับ ความพอใจของเรา ไม่ตรงกับ ที่เราติดยึด ที่เราอุปาทานไว้ เราก็ไม่ชอบ เพราะฉะนั้น เราจะละอุปาทานลึกๆพวกนี้ได้ เราก็จะต้อง อย่าไปตามใจเรา แต่ต้องตรวจดูตามเหตุผล ต้องตรวจดูตามเนื้อหา ตรวจดูตามคุณค่าของงาน ของการกระทำนั้นๆว่า มันดี มันควร เหมาะแก่กาล สมควรแก่เวลากาล สมควรแก่เรื่องราว สมควรแก่เหตุ สมควรแก่สิ่งแวดล้อมว่า ควรกระทำหรือไม่

ถ้างานนี้สิ่งนี้ควรกระทำ เราไม่ชอบก็ต้องกระทำ นั่นแหละยิ่งแก้อัตตาดี ยิ่งเราไม่ชอบ เรายิ่งต้องทำ ต้องมีฉันทะ ต้องมีความยินดี มีความพอใจที่จะทำ เพราะมันสมควรทำ ตอนนี้มันเป็นเศรษฐกิจด้วย เป็น Demand เป็นอุปสงค์ที่ต้องการนะอันนี้ ต้องทำตอนนี้ มีความจำเป็น มีความสำคัญนะ จะต้องทำ ยิ่งไม่มี ใครจะทำ เรายิ่งต้องเอาภาระ แม้เราจะไม่ชอบอย่างไรก็ตาม หรือยิ่งกว่านั้น เรายิ่งเป็นผู้รู้ เป็นผู้ถนัด เป็นผู้มีสมรรถนะ ความสามารถในเรื่องนี้ด้วยซ้ำ เรายิ่งต้องเอาภาระ แม้เราจะไม่ชอบ ต้องแก้ ยังไม่ชอบเรายิ่งต้องแก้ เพราะนั่นแหละ คือกิเลส ตัวผลัก ตัวไม่ชอบ หรือตัวชอบ ก็เป็นกิเลสทั้งนั้น ชอบหรือไม่ชอบ กิเลสทั้งนั้น พอใจ ไม่พอใจ กิเสลทั้งนั้น

นี่แหละแนวลึกๆเข้าไป มันก็ต้องเรียนรู้พวกนี้จริงๆ เราอยู่ด้วยกันมา นี่ เป็นมิตรดี สหายดี เป็นทั้งสิ้นของ พรหมจรรย์ คำว่าเป็นทั้งสิ้น ของพรหมจรรย์นี่ หมายความว่า เป็นทั้งสิ้นของศาสนา และในศาสนานี่ ก็มีทั้งปรมัตถสัจจะ มีทั้ง สมมุติสัจจะ เพราะฉะนั้น การมีมิตรดี สหายดี การมีแวดวง การมีพวกเรา อยู่ทั้งหมดนี่ เป็นเหตุ เป็นปัจจัย แก่กันและกันทุกอย่าง จะมีครบทุกอย่าง เพราะ พระพุทธองค์ ท่านตรัส แล้วว่า เป็นทั้งสิ้น ไม่ใช่ครึ่งเดียว ครบบริบูรณ์อยู่ในนี้ ศาสนาพระพุทธเจ้าทั้งหมดอยู่ในนี้ เพราะฉะนั้น สัจจะทั้งสมมุติก็อยู่ในนี้ อยู่ในแวดวง ของมิตรดี สหายดี สังคมสิ่งแวดล้อม นี่แหละ ที่อาตมากำลังพาทำ แล้วย้ำยืนยันกับเรา ว่าเราเป็นสังคมพุทธ พุทธบริษัท มีหมด สังกัปปะ วาจา กัมมันตะ อาชีพ ที่พาทำอยู่นี่

สมณะพวกเราหลายผู้ที่ยังเอียงๆอยู่ เอียงๆโดยไม่สำคัญในสัมมาอาชีพ ไม่เห็นว่าอาชีพเป็นสำคัญ หรือ ไม่เข้าใจคำว่าอาชีพ ไม่เข้าใจคำว่า การงาน อย่างสมบูรณ์ คิดแต่ว่าการงานสมณะ ก็คือการงานส่วนหนึ่ง เราก็ทำแต่หน้าที่สอน สอนน่ะ ใช่ สอนน่ะ เป็นหน้าที่ตรงของสมณะ ทีนี้จะสอนเขา แล้วเราก็ต้องรู้ นอกจากรู้แล้ว บางอย่างเราก็ต้อง ทำเป็นด้วย ถ้าเราทำเป็นด้วย มันก็สอนเขาได้ดี ยิ่งเป็นยิ่งชำนาญด้วย ยิ่งช่วยงานได้ดีเลยด้วย แม้ว่าเราทำเป็นแล้ว เราจะช่วย หรือว่า เราจะสอน เราจะแนะคนอื่น แล้วก็ต่อไป ก็ให้ฆราวาส เขารับผิดชอบไปก็ตาม ในครั้งคราวเราก็ต้องลงมือทำ ลงมือสอน สิ่งนี้ไม่ผิดวินัย เราก็ต้อง ทำอยู่นั่นแหละ เรารับผิดชอบ บางทีก็ขาดแรงงาน ก็ต้องช่วยกัน ขาดคน ฆราวาสที่จะรับช่วงก็ไม่มี

จริง หน้าที่ที่สูงที่สุด หน้าที่ที่แน่ที่สุดของสมณะ ก็คือสอน เป็นปุโรหิต แนะนะ สอน จริง แต่ก็ไม่ได้ หมายความว่า การกระทำ หรือการงาน โดยเฉพาะเรียกว่า อาชีพนั้นน่ะ ไม่ใช่ว่าจะอาชีพสอนอย่างเดียว ลงมือทำด้วย ประกอบการด้วย หลายอย่างที่เราทำไม่ได้เลย เพราะว่า พระวินัยห้ามไว้ มันไม่เกี่ยว ไม่ข้อง อะไรต่ออะไร ก็ต้องถือว่า วินัยทำไว้ ครบสมบูรณ์แล้ว พระพุทธเจ้า ท่านตรัสไว้ อะไรต่ออะไรบ้าง ที่ป้องกันเอาไว้ ซึ่งมันก็ไปเนื่องเกี่ยวกับอาชีพ แล้วก็ไปลงมือ ทำอย่างนั้นไม่ได้ แต่กระนั้นก็ดี เราก็ควรจะรู้ เช่น การเกษตร เราก็ควรจะรู้ ควรจะศึกษาได้ มีวินัยห้ามไว้ ว่าไม่ให้ทำ ก็ไม่ทำละ ในสิ่งที่ ถึงขั้น พระพุทธเจ้าว่า ทำแล้วมันละเมิดวินัย ข้อนั้น ข้อนี้ ไปขุดดิน ไปเด็ดพืช อะไรเลย มันไม่ได้แล้ว เอ้า!ไม่ได้ เราก็ต้องรู้ อยู่ในเขตขอบว่า มันทำไม่ได้ ไปค้าขาย ซื้อก็ไม่ได้ ขายก็ไม่ได้ เราก็ไปทำไม่ได้ อะไรอย่างนี้ เป็นต้น แต่อาชีพหลายๆอย่าง ไม่ได้ระบุ ไม่ได้ห้าม นอกจากไม่ได้ระบุ ไม่ได้ห้ามแล้ว ยังมีหลักฐาน มีอะไรยืนยันว่า พระก็ต้องทำ เช่นว่า การก่อการสร้าง สร้างบ้าน สร้างเรือน สร้างที่อยู่ทีพัก อะไรอย่างนี้ เป็นต้น ในวินัย ยังหลงเหลือ อยู่เลยว่า จะโบกปูนเท่านั้นชั้น เท่านี้ชั้น จะทำนั่นเท่านั้น นั่นเท่านั้น นี่อะไร นี้ ได้ งานที่มันเกี่ยวกับสิ่งที่ไม่ไปขัดข้องกับวินัย อะไรต่างๆนานา ดังกล่าวนี้แหละ

ซึ่งทุกวันนี้ ก็มีอะไรหลายอย่าง ที่เราจะต้องลึกซึ้งเหมือนกัน จะต้องดูว่า งานนี้ มันไปโยงใย ไปโยงเกี่ยว เข้าไปถึงข้อวินัยอันนี้ไหม ถ้ามันโยงเกี่ยวไป มากไป เราก็ต้องพยายาม จะเข้า ต้องรู้จักที่ต่ำ รอยตัด ไม่ให้มันเข้าไป บางทีเราอาจ จะจำเป็นต้องสอน ต้องแนะนำอยู่ ก็อยู่ในส่วนหนึ่ง ในพฤติกรรมหนึ่ง อย่าให้มัน ไป...เนื่องไปต่อเข้าไป จนกระทั่ง กลายเป็นน่าเกลียด เช่นว่าเกี่ยวกับการเงินมูลนิธิ ก็ให้ฆราวาสเขาทำ ไม่อย่างนั้น เราก็จะต้อง อย่าไปยุ่งกับการเงิน การทองเขา ไปเป็นกรรมการในมูลนิธินี่ สมณะอย่าไปเป็น เป็นอันขาด เพราะมูลนิธิก็คือ เกี่ยวข้องกับเรื่องการเงินน่ะ สมาคมก็ตาม จะเกี่ยวข้อง กับเรื่องการงเงิน ต้องหาทุนหารอน ต้องมีการอะไร จริง มันก็มีกิจกรรม กิจการอะไร ซึ่งเราร่วมคิด ร่วมประชุม ร่วมวินิจฉัย กับกิจกรรม กิจการงานอะไรได้ แต่ในเรื่องการเงิน เราจะต้องรู้จักที่ตัด ว่าในเรื่อง การเงินนี่ เราตัดไว้นะ ของมูลนิธิก็ดี สมาคมก็ดี เรื่องการเงินนี่ เราอย่าไปทำตัวเข้าไป ไปเจ้ากี้เจ้าการ ไปรับรู้ ไม่ใช่ไม่รับรู้ ก็รับรู้บ้างได้ แต่ว่าอย่าเข้าไปเป็นตัวบทบาท ต้องใช้ต้องสอย สั่งการอะไรนี่ ให้กรรมการ เขาเป็นตัวสั่งการ จะซื้อจะหา จะใช้จะสอยอะไร นี่ ที่ประชุมของกรรมการ เราจะร่วมฟัง รับรู้วินิจฉัยด้วยบ้าง ก็ได้ เวลาจะสั่งซื้อ สั่งอะไร มันก็ไม่ผิดวินัยอะไร จะสั่งซื้อสั่งขายอะไร ก็ให้เขา จัดการกันไป ให้ฆราวาสเขาทำกันไป อย่างนี้เป็นต้น

ที่อยากจะเจาะลึกลงไปสู่ฟังในวันนี้ ก็คือเรื่อง เป็นทั้งสิ้นของพรหมจรรย์ คำว่า เป็นทั้งสิ้นของพรหมจรรย์ ก็บอกไปเมื่อกี้แล้วว่า มันหมายถึงว่า ครบทุกอย่างในสัจจะ พรหมจรรย์ คือศาสนาทั้งหมด เพราะฉะนั้น ศาสนาทั้งหมด ก็ครบทุกอย่างในสัจธรรม สัจธรรมที่มีทั้งสัจธรรมสมมุติ สมมุติสัจจะ และมีทั้งสัจธรรม ที่เป็นปรมัตถสัจจะ เพราะฉะนั้น ในสังคมคน ที่มีมิตรดี มิตรดีคือมิตรอย่างไร

มิตรดี คือ มิตรที่มีทั้งเหตุปัจจัย ที่ก่อให้เราเป็นบทฝึกหัด เป็นเหตุปัจจัย ที่ทำให้เราขัดเกลา เป็นมิตร ที่ขัดเกลา ขัดเกลาโดยเจตนาก็ได้ ขัดเกลาโดยไม่เจตนาก็ได้ มันเป็นเหตุปัจจัยให้แก่เรา เพราะฉะนั้น สิ่งนั้นเป็นมิตร ศัตรู ฟังดีๆนะ ทีนี้ตีลังกากลับแล้ว พอบอกศัตรู คุณก็คงบอกว่าไม่ใช่มิตร

แต่อาตมากำลังจะอธิบาย ว่าศัตรูนั่นแหละคือมหามิตร ศัตรูนั้นคือ มหามิตร เราไปสร้างศัตรู สร้างอย่างไร ก็ไม่เหมือน ให้สมมุติ เขาเป็นผู้ร้าย อย่างในหนัง เป็นผู้ร้ายนะ ด่าเราอย่างนี้นะ ตีเรา อย่างนี้นะ พยาบาทเราอย่างนี้นะ ในหนังก็เล่นในหนังเท่านั้นเอง เป็นละครเป็นหนัง มันไม่เหมือน ของจริงนะ เขาจะแสดงให้เหมือนอย่างไร ก็คือการแสดง แต่หากศัตรู จริงๆแล้ว มันไม่ใช่แสดงแล้ว มันจริงเลยนะ ทีนี้ มันจริงเลย

ทีนี้ ศัตรูนี่ เราจะรับมือศัตรูอย่างไร พระพุทธเจ้าท่านสอนมาแล้วว่า เราเอง เราจะไม่ทำใจร้าย อะไร ทั้งนั้นแหละ เราจะไม่รับด้วยความร้ายทั้งนั้น จะไม่มีความโกรธ พยาบาท อาฆาต แม้แต่จะ วิตกหรือตรึก ดำริขึ้นมา อาการของจิตที่มันเริ่มเกิดขึ้นมา ตริ ตรึก นึก คิดนี่เกิด มา ตรึกขึ้นมา นึกขึ้นมา ในสายของ สังกัปปะ ในสายของการดำรินี่ อาตมาเคยเอามาอธิบาย มีตั้งแต่ปรารภ ปรารมภ์ ปรารภแล้วก็อะไรล่ะ จนกระทั่ง เป็นธาตุ ธาตุที่มันเริ่มเกิดจากจิตนี่ อารภธาตุ แล้วก็ นิกกมธาตุ ปรักกมธาตุ ถามธาตุ ธิติธาตุ อุปักกมธาตุ เป็นธาตุที่เกิดมาตั้งแต่เริ่ม มาเริ่มเกิดที่จิต น่ะ ตั้งแต่เริ่มมันมีอารมณ์ อารมณ์ปรารภ อารภธาตุ นิกกมธาตุ ก็โตขึ้นมาเรื่อยๆน่ะ จนกระทั่ง ถึงถามธาตุ ถามธาตุนี่เป็นกำลัง ถามะ แปลว่ากำลัง มีกำลังแรงขึ้นมาเรื่อยๆ ตามลำดับ จากจิตนี่ล่ะ มันเกิดมาเป็นกำลังของความดำริ นึกคิด เป็นธาตุของ จิตที่เกิดขึ้นมา เรื่อยๆ จนกระทั่งเป็นสภาพตั้งแข็งแรง เป็นกำลัง แล้วก็แข็งแรง เป็นลักษณะเต็มที่ของมัน แล้วมันก็แสดงบทบาทเลย เป็นอุปักกมธาตุ เป็นความเพียร ความเพียรนี่ ก็หมายความว่า มันเต็มกำลังแล้ว

คนเรายังไม่เพียร เพราะไม่มีกำลัง เรียกภาษา คำว่า ความเพียร ก็หมายว่า กำลังอันนั้นแสดงบทบาท ออกไปเลย จะมีเพียร ทีนี้ความเพียร จะแรงเท่าไหร เป็นวิริยารัมภะ หรือเป็นความเพียร ที่มีกำลัง เป็นวิริยพละ เป็นกำลังแห่งความเพียรมากขึ้น สูงขึ้นเท่าใดๆ ก็เพราะว่าตัวนั้นแหละ ตัวมาจากค่า ตัวดำริ ตัวนึกคิดนั่นแหละ แล้วก็เป็นสภาพที่โต่งขึ้นไป เป็นแรงของสิ่งนั้น แรงนั้น จะผลักเบนไป เป็นแข็งแรง เป็นพลังงานนะ เป็นพลัง ทีนี้คุณมีความเห็นอย่างไร โดยปัญญา มีปัญญา มีความเห็น มีทิฏฐิอย่างไร พลังนี้จะไปเสริม มีปัญญาจะไปเห็นว่า อย่างนี้ว่าดี จะทำอย่างนี้ จะให้มีเกิดงาน อันนี้ขึ้นไป ด้วยความรู้ ก็อันนี้เป็นกำลังงาน อาตมาเคยยกตัวอย่าง เหมือนกับเรือเดินเรือนี่ ต้องมีต้นหนกับต้นกล ต้นกลนี่ เป็นความเพียร ต้นหนนี่เป็นสติ หรือทิฏฐิ เป็นความเห็น ตรวจตรา ทิศทาง รู้ทิศรู้ทางว่า จะทำอะไรๆ เมื่อทำก็ต้องมีแรงที่ทำ เรียกว่า ต้นกล มีแรงกล นั่นละคือ ความเพียร คือวิริยะ ไปด้วยกัน ต้องเกิดงานขึ้น อย่างนี้เสมอน่ะ จะเกิดคุณค่า กำลังงานอย่างนี้น่ะ เพราะฉะนั้น ในการงานต่างๆ ที่จะเกิดนี่ เราจะต้อง เรียนรู้ แล้วเรา ก็จะต้องอยู่กัน ด้วยการกระทบ สัมผัส อย่างที่กล่าวแล้วเมื่อกี้ว่า

แม้แต่จะมีผู้เห็นค้าน ผู้ที่เห็นแย้ง ผู้ที่ไม่เห็นด้วย จนกลายเป็นศัตรู จะล้มล้าง สิ่งที่เราทำก็ตาม ก็เป็นตัว ผู้ที่ตรวจตราตรวจส่อง ตรวจตรา ตรวจส่องเรียกว่า เช็ค มันดีหรือไม่ดี มันถูกหรือไม่ถูก เมื่อเกิดผู้ที่ ไม่เห็นด้วย ขัดแย้งหรือเป็นผู้ตรงกันข้าม เขาก็จะต้องมีเหตุมีผล อันนั้นอันนี้ขึ้นมา เราจะทำอย่างไร เราจึงจะฉลาด ที่เราจะรับลูก รับลูกจากศัตรู รับลูกจากผู้เห็นแย้ง ผู้เห็นค้าน รับลูกจาก ผู้ไม่เห็นด้วย กับเรานี่ เขาก็จะมีเหตุผล คนใดที่เป็นศัตรู อย่างประเภท ที่เรียกว่าอาฆาต มาดร้าย ไม่มีเหตุ ไม่มีผลอะไร ตั้งหน้าตั้งตา จะโค่นจะฆ่า จะแกงเฉยๆ ก็ยังดีอีกแหละ เราจะหลบอย่างไร คือเขาไม่มีเหตุผลอะไร ให้เราหรอก มันเป็นอาฆาต บ้าๆ อาฆาตประเภท ที่จะทำลาย อย่างไม่มีเหตุผล ทำลายอย่างไม่มี ไม่รู้อะไร ทำลายอย่างโง่ๆ ทำลายอย่างไม่เพื่อที่จะมาพัฒนา อะไรกันหรอก ไม่มีเหตุผลอะไรเลย จะทำลาย โดยที่เรียกว่า ปักยึดเลยว่า อั๊วจะทำลายลื้อ ก็แล้วกัน อั๊วจะทำลายลื้อ ไม่ให้ลื้อทำอะไร ไม่ให้ลื้อมีชีวิต ไม่ให้ลื้อมีกรรมการงาน ไม่ให้ลื้อมีบทบาทอะไร ก็แล้วกัน ลื้อจะทำอะไร อั๊วจะทำลายหมดทุกอย่าง ลื้อไม่มีดี สักอย่างละ อั๊วจะปราบลื้อไม่ให้มีบทบาท ไม่ให้พฤติกรรมอะไร อยู่ในโลกนี้ ลื้อจะทำอะไร อั๊วจะทำลายหมด ถ้าอย่างนี้ก็ดี ดีที่เราจะเลี่ยงอย่างไร ถึงจะอยู่ในโลกนี้ด้วยกันได้ ถ้าอยู่ไม่ได้ ก็อยู่กัน ห่างๆ อย่าเห็นกัน อย่ารำคาญกัน เขานั่นแหละรำคาญ เราต้องทำตัวเราไม่ให้รำคาญ เราทำตัวเราไม่ให้ มีบทบาทชัง บทบาทโทสมูล ไม่ว่าจะโทสมูลอย่างหยาบ อย่างกลาง อย่างละเอียด เล็กน้อยขนาดไหน เป็นธุลีละอองขนาดไหน ก็ต้อง ล้างกิเลสเรา แล้วนี่แหละคือ ตัวแบบฝึกหัด ตัวโจทก์ที่เราจ้างด้วยเงิน อีกล้านๆๆ เพื่อที่จะสร้างโจทก์อันนี้ ก็สร้างไม่ได้ ไม่ใช่ละคร ไม่ใช่หนัง แต่เป็นเรื่องจริง เพราะฉะนั้น มองคุณค่า ความดีเหล่านี้ให้ออก แล้วใช้ให้เป็น

มันเป็นคุณค่าจริงๆ มันเป็นความดีที่จริง เป็นของจริงที่เราจะต้องใช้ ให้เป็นประโยชน์ ได้ยกสมมุติแล้วว่า แม้ว่าศัตรูนั้นจะเป็นศัตรูที่เลวร้าย ไม่มีดีเลย ตั้งหน้าตั้งตาจะโค่นอย่างเดียว แล้วเราก็จะต้องใช้เหมือนกัน แล้วเราจะอยู่อย่างไรในโลกนี้ โดยที่เรียกว่า ไม่ต้องเกิดจิต ที่จะต้องเกิด ไม่ชอบใจเลย แม้แต่น้อยหนึ่ง กับศัตรูผู้เลวร้ายขนาดนี้ ไม่มีดีอะไรเลยก็ตาม แล้วก็ร้ายขนาดที่ว่า จะตามรังควาน ตามเข่น ตามฆ่า เลยนะ เราจะสามารถเลี่ยง สามารถที่จะไม่ปะทะ หรือแม้ปะทะ เราก็ไม่เกิดอารมณ์ ไม่เกิดจิตใจที่เป็น อกุศลจิตใดๆเลย ไม่เกิดอกุศลจิต ใดๆเลย เราจะเกิด เกิดคือหมายความว่า เราจะบรรลุธรรม เราจะไม่เกิด กิเลสนั่นแหละ ไม่ให้เกิดอกุศลธรรมนั่นแหละ ไม่ให้เกิดอกุศลจิต นั่นแหละ ได้ไหม โทสมูล ใจวาง ใจกลาง ใจปกติ ว่างๆกลางๆ ไม่ได้โกรธตอบ ไม่ได้เคือง ไม่ได้แค้น ไม่ได้ชัง ไม่ได้ไม่ชอบอะไร ก็ เออ! พอรู้ว่า เขาเป็นเช่นนั้น เขาเป็นคนอาฆาตมาดร้าย เขาก็ไม่ได้มีอะไร ที่จะให้เป็นผู้แย้ง ผู้ค้าน โดยไม่มีเหตุ ไม่มีผล ไม่มีหลักเกณฑ์ ไม่มีคำอธิบาย ไม่มีอะไรที่จะทำให้เราศึกษาได้เลย จะตีทิ้งเราลูกเดียว เราก็ต้อง รู้ให้ได้ว่า นี่ก็เป็นเหตุปัจจัยหนึ่ง

ในพวกเราจริงๆนี่นะ ในหมู่แวดวงมิตรดีสหายดี สังคมสิ่งแวดล้อมดี คงจะไม่มีหรอก ถ้าจะมีก็เป็น คู่อาฆาต มาจากปางไหน ก็ไม่รู้ละ อาตมาว่านะ เพราะว่าเราก็เลือกเฟ้นเข้ามาเหมือนกัน เลือกเฟ้นเข้ามา มาอยู่รวมกันนี่นะ มันเลือกเฟ้นนะ มันเหมือนน้ำก็ไหลไปหาน้ำ น้ำมันก็ไหลไปหาน้ำมัน มันเลือกเฟ้นนะ แต่นั่นแหละวิบาก มันมีวิบากเหมือนกัน มันเป็นคู่อาฆาตมาแต่ ปางบรรพ์ที่ไหน เมื่อไหร่ ก็ไม่รู้ แล้วเรา ก็เลือกคนที่มาอยู่ในพวกเราว่า เป็นผู้มีปัญญา และมีเหตุผล ไม่ใช่เป็นคนไร้เหตุผล เป็นพวกชาวตลาด ท่าเตียน ชาวตลาดปากคลองตลาด ด่าสาดเสียเทเสีย ว่ากันไปโดยไม่เข้าท่า ให้ตรึก ให้ตรองให้นึกดูว่า เราเป็นคนหนึ่งไหม ที่เป็นคนมาจากท่าเตียน รู้จักความหมายนะ ว่ามาจากท่าเตียน หมายถึงอะไร คือ ไอ้คนนี้นี่ เราไม่มีเหตุผลกับมัน เราไม่ชอบเลย มันจะทำอย่างไร เราก็ไม่ชอบหน้ามันเลย เราเห็นมันผิด ไปทุกอย่างแหละ ด่ามันท่าเดียว ไม่มีเหตุผลให้ด้วย มันเลวไปหมด มันไม่ดีไปหมด ไอ้บางทีเหตุผล ที่ไปอ้าง เพื่อที่จะด่าเขานั่น ก็ไม่เข้าท่าเลยนะ คนอื่นฟังแล้ว เอ๊อ! ไอ้นี่มันหมาป่ากับลูกแกะนี่หว่า มันเหมือน หมาป่าเลยนะ เหตุผล ฟังไม่ขึ้นเลย นิทานหมาป่ากับลูกแกะ ก็คงเคยรู้กันละนะ คือ ลูกแกะ ไม่ได้ผิดเลย แต่หมาป่านี่ หาข้อผิดไปตลอด สุดท้ายเอ็งไม่ผิด พ่อเอ็งก็ผิดตั้งแต่ปางก่อน พ่อเอ็งไม่ผิด ปู่เอ็งก็ผิด โน่น หาเรื่องไปโน่นเลย คือเรียกว่า เป็นจอมหาเรื่อง

ถ้าอย่างนี้ที่มีอยู่ด้วยกันในวงพวกเรา สังคมของชาวอโศกเรานี่ จงรู้ไว้ เสียเถอะว่า มันเวรมาแต่ปางบรรพ์ ตั้งแต่ชาติไหนก็ไม่รู้แล้วละ ถ้าคนที่อยู่ใน พวกเราด้วยกันได้นี่ เป็นมาตราฐานเรียกว่า เขาก็อยู่กันได้นะ ที่จริง แต่ไอ้คนนี้ คู่นี้เท่านั้นแหละ หรือว่า ๒, ๓ คนนี้ กันน่ะ มันกัดกันจริงเลยไอ้คู่นี้ ไอ้คนอื่น ก็ไม่เป็น อย่างนั้น

อาตมาวิเคราะห์ให้ฟังนี่ โดยหลักเหมือนกับอจินไตย เหมือนกับ วิบากกรรม คือ มันไม่มีเหตุผลอื่น ที่จะวินิจฉัยแล้ว เพราะว่ากับคนอื่น ก็ไม่มีนะ กับคนอื่นก็มีเหตุมีผลมีอะไรดีนะ แล้วก็อยู่กับพวกเรา เราก็รักษามาตรฐาน เราก็คัดเลือกกันแล้วนะว่า มาอยู่ด้วยกันนี่ ต้องมีมาตรฐาน มีศีล สมาธิ ปัญญา พอสมควร จึงมาอยู่กันได้ ถ้าไม่มีคุณธรรมพอสมควร เราไม่เอา ก็รู้อยู่ เพราะฉะนั้น คนที่มี มาตรฐาน อยู่ด้วยกันได้แล้วนี่ แต่เสร็จแล้ว เราก็มาอยู่ด้วยกันแล้ว มันก็มีอะไรอันนี้ มันไม่มีอื่นเลย นอกจากวิบาก ที่ว่านี่ หรือแม้ตัวเรานี่แหละ เราทำอะไรก็ดูผิดไปหมด โอย! ทำไมนะ เราทำอะไร ก็ดูมันผิดไปหมด จงรู้ไว้ เถิดว่า ตัวเรานี่ ไปเป็นหมาหัวเน่า มาตั้งแต่ปางไหนก็ไม่รู้ เหมือนนนทุกข์ รู้จักนิทานนนทุกข์ นี่ไหมล่ะ นนทุกข์หัวล้านน่ะ โอ!ใครก็เขกหัว ใครก็แหย่ ใครก็ว่า ใครก็ทำหมดเลย ใครก็รังแก รังแกหมดเลย เพราะว่า เราไปสร้างเวร สร้างกรรมมา ถ้าใครไปอ่านวิบาก นนทุกข์ต่อ ก็จะรู้ วิบากของแกน่ะ ไปเที่ยวได้ รังควานคนอื่นเขามา ตั้งไม่รู้กี่ชาติต่อกี่ชาติ พอมาชาตินี้ เขาก็เขกหัวเอาบ้าง เขาก็แหย่เอาบ้าง เขาก็เอา น้ำรดหัวล้านเล่นๆบ้าง อะไรบ้างนี่ นนทุกข์หัวล้านน่ะ เขาแกล้งทุกอย่าง แล้วตัวเอง ต้องไปตักน้ำล้างเท้า ให้พวกพระอื่นเขา เขาก็แกล้งทุกอย่าง ก็เพราะตัวเรา ไปทำวิบากไว้แต่ปางไหนก็ไม่รู้ ทำอะไรก็ดูเป็นผิด ทำอะไรก็ดูไม่เข้าท่า คนอื่นก็ต้องแกล้ง ต้องยั่ว ต้องเย้า ต้องอะไรต่ออะไรให้ อยู่ตลอดกาลนาน ก็จงรู้เถอะว่า เออ! เวรภัยเราเอง ทนเอา ต้องปฏิบัติดี อย่างไร ที่จะปฏิบัติดีให้ได้ พยายามทำเอานะ

ทีนี้ ปฏิบัติดี ปฏิบัติสุภาพนี่ ก็ขอแก้เคล็ดอีกอันหนึ่ง คำว่า สุภาพ กับคำว่า เฉื่อยเนือย ไม่ใช่อันเดียวกัน คนสุภาพก็คือ คนที่รู้จักภาวะที่ดี อาจจะคล่องแคล่ว เร็วไว แคล่วคล่อง แต่เรียบร้อย สุภาพนี่คือเรียบร้อย ทำอะไร เรียบร้อย ทำอะไรเป็นเหตุ เป็นปัจจัยที่ดี เป็นผลงาม เป็นผลที่เรียบร้อย ราบรื่น งาม เรียกว่า สันติก็ได้ สุภาพหรือสันติ สันตินี่เรียบร้อย ราบรื่น ง่าย งาม ทำได้งดงาม ทำได้ดี อาจจะเร็ว แคล่วคล่อง เลยก็ได้ เร็ว คล่อง เพราะฉะนั้น สุภาพไม่ใช่คนเฉื่อยเนือย อืดอาด แล้วก็จับจด ไม่ได้เรื่อง ไม่ใช่ สุภาพ ไม่ใช่ลักษณะเฉื่อยเนือย ทำมีแต่ช้าๆ แล้วก็ช้า แล้วก็ไม่ค่อยได้เรื่อง ได้ราวอะไร ดีไม่ดีทำช้าๆ แล้วทำ เสียๆ หายๆ ไม่งามไม่เรียบไม่ร้อยด้วย ทำแล้วก็พังๆ เสียๆหายๆ อะไรต่างๆนานา ทำก็ไม่เป็น ไม่อะไร อย่างนั้นไม่ใช่สุภาพ ทำช้าๆ ไปเรื่อยๆ ไม่ใช่สุภาพหรอก ไอ้นั่นน่ะ มันขี้เกียจแล้ว แล้วมันก็ไม่มีกำลังแล้ว เหมือนคนจะตายแล้ว ไม่มีวิริยะ ไม่มีกำลัง ไม่มีอุปักกมธาตุ ไม่มีถามธาตุ หรือไม่มีวิริยะ ไม่มีวิริยารัมภะ ไม่ได้ปรารภความเพียร เลย เป็นคนใจเฉื่อย เป็นคนใจขี้เกียจ เป็นคน...ในภาษาโลก เขาเรียกว่าอู้คนอู้ อู้ให้หมดวันไป อู้ไปอย่างนั้นล่ะ ไปทำงานที่ไหน เขาก็ชังที่นั่นแหละ

คนโลก เขาก็ยังชังเลย คนโลกเขาก็รู้ทัน คนทางธรรมไม่ใช่คนโง่ คนทางธรรมก็รู้ทัน คนไหนอู้ ไม่อู้ นี่รู้ทัน เพราะฉะนั้น คนไหนที่เฉื่อย กับคนที่สุภาพนี่ เราจะรู้ คนนี้มีจริต อย่างนี้ล่ะนะ จริตเวิ้กว้ากโวยวาย เอ้า! โวยวาย มันก็ไม่สุภาพละ มันโวยวาย เกินไป ไม่น่าจะว้ากๆอย่างนี้ เกินไป ไม่น่าจะต้องเจี๊ยวจ๊าว ไม่น่า จะต้อง อย่างโน้นอย่างนี้ก็ได้ พูดกันธรรมดา ขออันนั้นหน่อยซิ ขออันนี้หน่อยซิ ไม่ใช่ว่าพอ อะไรนิด อะไรหน่อย ก็จิก จี้ แรง ด่า กระทุ้ง นิสัยมันหยาบ มันเหมือนกับ เป็นเจ้า เป็นนาย เป็นเจ้าชีวิต เป็นนิสัยข่ม เป็นนิสัย ว้ากเพ้ย แหม! จะใช้ภาษาไทยอย่างไร ให้มันหมดน่ะ เราก็ต้องรู้ที่เรา แล้วเราก็แก้ ไอ้อย่างนั้น ก็ไม่สุภาพ แหละ ว้ากเพ้ย ว้ากอย่างโน้นอย่างนี้ ไอ้โน่นไอ้นี่ ข่มเบ่งอะไรอย่างนี้ ไม่เหมาะ ไม่สมกับ ลักษณะ ไม่พอเหมาะพอดี ผู้นี้ก็ไม่ใช่สุภาพ เพราะฉะนั้น คล่องแคล่วนี่ ไม่ใช่ความไม่สุภาพ คล่องแคล่ว ทำได้เรียบร้อย ทำได้งดงาม ทำได้ เร็วดี ทำได้อย่างแข็งแรง สุภาพ ลักษณะพวกนี้ เราจะต้องเข้าใจ ลักษณะของ คำว่าสุภาพด้วย

แล้วทีนี้การรู้เรารู้เขานี่ มันเป็นเรื่องสำคัญมากเลย ถ้าเราเอง เราวางใจก่อนนะ ใครจะเป็นยังไงก็แล้วแต่ พอกระทบสัมผัส แล้วเราวางใจก่อน ไม่ใช่ว่าใครกระทบสัมผัสเราแล้ว เราไม่ชอบใจ มันมีอุปาทานของคน คนมีอุปาทานนี่ อย่างนี้มันไม่ชอบใจ อย่างสมมุติว่า เราเองเรามีกำหนดอยู่ในใจว่า คนเรานี่นะ เมื่อเวลา คบกัน หรือว่าพบกันแล้ว สัมผัสกันแล้ว ทักทายกันก็จะขนาดนี้ ถ้าทักทายกันแรงกว่านี้ ภาษาที่ ไม่ต้องใจเรา ภาษาอย่างโน้นอย่างนี้ ซึ่งเราถือ เอ๊! นี่ไม่ได้สนิทกัน มาทักทายด้วยภาษาอย่างนี้ มันไม่ใช่ ภาษาคนสนิท เป็นภาษาที่ละลาบละล้วงแล้ว ถือตัว เป็นคนถือตัว อย่างนี้เราไม่เอา อย่างนี้เราต้องโกรธ อย่างนี้ เราจะต้องถือว่า มาละลาบละล้วงแล้ว อัตตานั่นเอง มาละลาบละล้วงกูแล้ว อย่างนี้ หรือยิ่ง ถือตัวว่าใหญ่ ถือตัวว่าสูง ใครมาทำ กิริยาอย่างนี้กับเรา ถือว่าไม่ให้เกียรติ ไม่เคารพ ไม่คารวะ เราถือ พอเขาทำไม่ได้มาตรฐาน ที่เราต้องการ ตามอุปาทาน ตามที่ยึดถือไว้ กำหนดไว้ เราก็ตาเขียวเลย คือ ลักษณะอาการก็โกรธ หรือไม่ชอบใจ ก็ขึ้นมาแล้ว เราต้องรู้ตัวเรา ยิ่งคนอื่น คนข้างนอก เขายังไม่ได้รู้ว่า เราเป็นใคร เรามีนิสัยอย่างไร เขาพอมาสัมผัส เขาก็ไปตามของเขา แล้วเราก็ไม่ชอบขึ้นมาเลย

นี่เราโง่แล้วโง่แล้ว ก็คนยังไม่ได้รู้จักกัน คนยังไม่ได้รู้เลยว่า เราเป็นใคร อย่างไร เขาจะทำอะไรก็ตาม ของเขา เคยของเขาชิน แสดงอาการ อย่างนั้นอย่างนี้ ออกมากับเรา แล้วเราก็เกิด พอกระทบสัมผัสแล้ว เราก็ ถือสาแล้ว ไม่ชอบใจแล้ว อะไรขึ้นมา ตัวไม่ชอบใจนี่แหละ อาการไม่ชอบใจ ถ้าเราเกิด เราต้องรู้ทัน ต้องแก้ไขทันที ก็คนนี้ ยังไม่ได้รู้กับเราเลย เป็นใครก็แล้วแต่ หรือรู้ ยิ่งรู้นี่แหละ เราอยู่ด้วยกันมา ตั้ง ๕ ปีแล้ว ๘ ปีแล้ว ยังไม่รู้ หรือว่าคนนี้นิสัยอย่างนี้ จริตอย่างนี้ แล้วมันก็ไม่ต้องกับที่เราชอบ เมื่อไม่ต้องใจกับ ที่เราชอบ ทำไมมันต้องทำอย่างนี้ ก็มันไม่ใช่เอ็งนี่หว่า ก็เขาก็ต้อง ทำอย่างนั้นน่ะซี เขาจะทำอย่างนั้นน่ะ ถ้าเราไม่ถือ ถ้าเราวางใจได้ว่า เออ! เขาคือเขานะ ถ้าเราแก้เขาได้ เราก็บอกว่า...อย่างนี้ แก้อย่างนี้ได้ไหม ปรับปรุงอย่างนี้ อย่าทำเลยกิริยาอย่างนี้ พูดอย่างนี้ ทำกิริยาอย่างนี้ อย่าทำเลย มันไม่สวย ไม่สุภาพ ไม่ดี ไม่รู้จักสัมมาคารวะ ก็ตาม หรือไม่อะไร ก็แล้วแต่เถอะ อย่างนี้ไม่ดีไม่ถูก เราสอนเขาได้ แนะนำเขาได้ จะด้วยวิธีการ ศิลปะวิธีอื่นก็แล้วแต่นะ ถ้าคุณสอนเขาได้ คุณก็สอนเขา ให้แก้ไข

ถ้าคุณสอนไม่ได้แล้ว เออ! ไอ้คนนี้เราสอนไม่ได้หรอก เราก็ต้องปล่อย เราก็วางใจ แล้วเราก็รู้เขาเสียว่า เขาก็คือเขา เขาก็ต้องเป็นอย่างนี้ เขาจะหยาบ ก็หยาบของเขาอย่างนี้ แล้วเราก็วางใจไม่ถือ ไม่มีอุปาทาน ไม่ฉวยไว้ ไม่ถือไว้ ไม่ถือ ไม่มีอุปาทาน ไม่อุปาทาน ก็เขาก็คือเขา ก็รู้แล้ว ด้วยปัญญา เขาเป็นอย่างนี้ เราวางใจได้ เราก็สบาย เราจะไม่เกิดไม่ชอบใจ เราจะไม่เกิดโกรธเลย อยู่ด้วยกันได้ เป็นมิตรดี สหายดี สังคมสิ่งแวดล้อมดี เป็นทั้งสิ้นของพรหมจรรย์ ถ้าเราเอง กระทบสัมผัสกับเขาเมื่อไหร่ เราก็ยังไม่ชอบอยู่ นั่นแหละคือโจทก์แท้ โจทก์แท้ เป็นทั้งสิ้นของพรหมจรรย์ เอาเงินร้อยล้าน พันล้าน หมื่นล้าน มาสร้าง ให้เหมือนโจทก์นี้ ก็ไม่เหมือน

จงถือว่าเป็นโชคของเราแล้วหนอ ที่มีโจทก์ให้เราประพฤติ ที่มีโจทก์ให้ เราปฏิบติ แล้วจงปฏิบัติไปด้วย ความเต็มใจ หาประโยชน์นั้นให้ได้ หลายคนเลี่ยงเลย ไม่เอาไอ้คนนี้ ชังน้ำหน้ามัน ไม่อยากเห็นหน้า คุณจะไม่ได้ปฏิบัติ คุณจะไม่ได้วางใจ คุณจะคบค้าสมาคมก็ไม่ได้ แล้วไอ้คนที่มีนิสัยอย่างที่ว่า ที่เรา ไม่ชอบใจนี่นะ เขาไม่รู้หรอก ว่าเราไม่ชอบ บางคนอาจจะรู้ กิริยาเราหรือตัวเรานี่ เขาไม่ชอบ เห็นหน้าเรา เขาก็ไม่ชอบ ทำอะไร เขาก็ไม่ชอบเราไปหมด บางคนก็จะรู้ บางคนไม่รู้ตัวด้วย เอ๊ะ!คนนี้ ทำไมนะ เห็นเราแล้ว เขาไม่ค่อยจะญาติดีกับเราเลย เขาเมิน เขาไม่อะไรเลย ไม่ค่อยสนิทกับเราสักที แล้วเขาก็ ไม่รู้ด้วยว่า เอ๊!หรือเขาไม่ชอบเรา เขาก็ไม่รู้ไม่แน่ใจ พูดด้วย บางทีก็มีมารยาท ก็พูดกับเราเหมือนกัน ทักทายปราศัยกัน แต่ก็ดูจืดๆ ดู เอ๊ะ! กับคนอื่น สนิทสนมได้ดีนะ แต่กับเรา ทำไมไม่ค่อยสนิทสนมเลย จะทำงานด้วย จะนี่นั่นด้วย ไม่เอากับเราเลย เราไม่ต้องไปสงสัยหรอก เราต้องศึกษาเลยว่า อ้อ! เขาคง ไม่ชอบเรา เขาไม่ชอบอะไร

ทีนี้เราก็ต้องศึกษาตัวเรา เออ!แก้ไขเสีย ปรับปรุงเสีย พัฒนาเสีย นี่คือ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา ต้องดำริ ต้องนึกคิด ต้องไตร่ตรอง ให้เกิด ปัญญาญาณ ให้เกิดรู้อะไรต่ออะไรหมด แล้วก็เวลาจะพูด วาจาก็ดี กัมมันตะ เวลาจะกระทำเกี่ยวข้องกันและกัน ก็ตาม ทำการงาน ร่วมกันก็ตาม ต้องปรับเลย ทีเดียว อยู่ในมรรคองค์ ๘ นี่ทั้งนั้นแหละ เป็นทั้งสิ้นของพรหมจรรย์ เป็นเรื่องที่เราจะได้ปรับ ทั้งการอยู่ ร่วมกัน ปรับทั้งใจ กาย วาจา ปรับขึ้นมาสู่สภาพที่จะ ประสานสมานสามัคคี อบอุ่น อยู่กันอย่างพี่ อย่างน้อย อยู่กันอย่างสร้างสรร เพราะฉะนั้น แม้คนจริตคนละจริต คนนี้ทำจริตอย่างนี้ คนนี้มีจริต อย่างนี้ ของเขาละ เราก็มีจริตอย่างนี้ เราก็ร่วมมือร่วมไม้ รังสรรค์กันได้ คนมีจริตอย่างนี้

ถ้าเรามีศิลปวิทยา มีความรู้เก่ง ที่เราจะสามารถ หาทางที่จะให้เขา แก้ไข ปรับปรุงจริต ที่เราเห็นว่า มันหยาบ มันไม่ดี เราก็หาทางแก้ไข เขาได้ ก็ทำโดยเขารู้ตัวบ้าง ไม่รู้ตัวบ้าง บางทีไม่ใช่ให้รู้ตัวหรอก ต้องไม่ให้รู้ตัว เป็นบทเรียน เป็นบทฝึกหัดให้เขาทำ โดยต้องไม่ให้เขารู้ตัว ถ้าขืนให้รู้ตัวก่อน มันไม่ทำหรอก มันคนรู้ทัน ไม่ทำ มันเลี่ยงเลย แล้วมันก็รู้ รู้แล้ว นี่จะให้ฉันแก้ไข จ้างฉันก็ไม่แก้ เพราะกิเลส มันจะยอม แก้ตัว แก้ไขที่ไหน กิเลสมันดื้อจะตาย เพราะฉะนั้น ให้รู้ก่อน ไม่ทำหรอก กิเลสนี่ มันจะต้อง ทำตามใจ กิเลสของมัน อยู่อย่างนั้นแหละ เพราะกิเลสคือตัวติดยึด กิเลสคือตัวที่ตีไม่แตก กิเลสคือตัวที่จะเที่ยง จะยืนยงคงกระพันอยู่อย่างนั้นแหละ จะไม่แก้ไขละ กิเลสน่ะ มันยอดดื้อยอดด้านเลยนะ กิเลสนี่ เพราะฉะนั้น ให้รู้ตัวก่อน ไม่ค่อยได้หรอก ต้องไม่ให้รู้ตัว แล้วก็ขายขี้หน้า หน้าแตก เปิดฉาก ไอ้กิเลส นี่แหละ แยกเขี้ยวยิงฟันออกมาเลย เราจะได้ชี้หน้า นี่ไง กิเลสนี่ แก้ไขเสีย นี่ บอกว่ามันยังไม่ไป มันบอกว่า มันตายแล้ว มันไม่มีแล้ว นี่ยังไง มันโผล่หน้าออกมานี่ เขี้ยวยาว ตาโต ปากแบะ อยู่นี่ยังไง เราก็จะได้ ยืนยัน ให้เขาจำนนว่า เขายังมีสภาพนี้ ชอบ ชังนี่แหละ ทั้งชอบทั้งชัง นี่เรากำลังเน้นในเรื่องของการชัง เน้นสายโทสมูล เราไม่ได้เน้นสายราคะหรือสายโลภมูล สายราคะหรือสายโลภะ เราก็นัยกลับกัน เท่านั้นเอง ถ้ามันจะดูดจะดึง มันจะชอบ ก็ต้องแก้มันเหมือนกันล่ะ แหม! มันไม่น่าจะเอออวยกัน ขนาดนี้ มันไม่น่าจะติดจะยึด จะสัมพันธ์กันมากขนาดนี้ ก็ได้ต้องรู้ไว้ นั่นแหละ ประเดี๋ยวมันก็จากกันไม่ได้ พรากกันไม่ได้ ห่างกันไม่ได้ เดี๋ยวดีไม่ดี จะดูดดึงกัน กลายเป็นราคะหนักหน้าเข้าไปอีก เลยเถิด เข้าไปอีก จะยุ่งกันใหญ่ นี่ก็พูดทิ้งไว้เท่านั้น ราคมูลหรือโลภมูล

ส่วนที่กำลังเน้นนี่ เน้นโทสมูลน่ะ กำลังขยายความโทสมูล ในหมู่มิตร ของพวกเรานี่ มีครบ มีทั้งวิบาก ที่เป็นจองเวรจองกรรมกันมา แต่หลายชาติแล้ว ไม่ได้หมายความว่า มันมีวิบาก มาจองเวร จองกรรมกันมา แต่หลายชาติ แล้วชาตินี้ก็จะ เออ! ก็มันเป็น คู่อาฆาต มาแต่ชาติปางก่อน ชาตินี้ก็เลี่ยง อย่าเลี่ยง ต้องทำแบบฝึกหัด พยายามประสาน เลิกอาฆาต เลิกที่จะเกิดความไม่ชอบใจ หรือเกิด ชังในใจของเรา บอกแล้วว่าในสายโทสมูลนี่ แม้แต่อรติ ความไม่ชอบใจ ก็จะต้อง ไม่ให้เหลือ ให้กลาง ให้ว่าง ให้กลาง ให้ว่าง รับกันได้กับศัตรู หรือรับกันได้ กับผู้ที่ค้านแย้ง ผู้ที่ต่างจริตกับเรา ต้องรับให้ได้น่ะ รับให้ได้ เห็นอะไร ใครก็ตาม ที่เขาทำอะไรแล้ว มันไม่ต้องตา มันไม่ต้องใจเราเลย เห็นแล้วก็ จงดูที่เราทันที เห็นนี่ คนนี้ทำ เอ๊! ทำไมมันทำอย่างนี้นะ เอ๊! มันทำไม มันทำอย่างนี้นะ กิเลสมันเกิดแล้วน่ะ ถ้ามันแรงล่ะนะ ถ้าเราทำ มันผิดตา แล้วก็ผิดความรู้ ตอนนี้พูดความรู้นะ ไม่ใช่ผิด อารมณ์ ผิดอารมณ์น่ะ เอ๊!ทำไมทำอย่างนี้วะ นี่ผิดอารมณ์ นั่นนะกิเลสแล้ว แต่ถ้าบอกว่า เอ๊! ทำเราเห็นแล้วล่ะ ไม่ต้องตา แล้วก็ผิดความรู้ เรารู้ว่า เอ๊!ทำอย่างนี้มันผิดนี่นะ ทำอย่างนี้มันไม่ดี ทำอย่างนี้มันไม่สวย ทำอย่างนี้ไม่ถูกต้องแล้ว อย่างนี้ผิดแล้ว จะเสียหาย แต่ไม่เกิดอารมณ์ ไม่เกิดอารมณ์ไม่ชอบใจ นี่ละ ละเอียดแล้ว ตอนนี้ ละเอียดนะ เพราะฉะนั้น ความรู้กับอารมณ์ ไม่ชอบใจนี่ ความรู้ว่า นี่ ไม่ถูกนะ นี่ไม่ ดีนะ ความรู้ ฟังให้ดีนะ ความรู้ที่เห็นแล้วว่า เอ๊!นี่ไม่ถูกนะ ไม่ดีนะ จะเสียหายนะ กับอารมณ์ ที่ไม่ชอบใจ ต้องอ่านให้ชัด วิเคราะห์ให้ชัด

เพราะถ้าสัมผัสแล้ว ประสบขึ้นมาแล้วว่า เอ๊ะ!ไอ้นี่ไม่ถูกนะ ไม่ดี จะห้ามจะอะไรนี่ ต้องรีบอ่านอารมณ์ เลยว่า เรามีอารมณ์ไม่ชอบใจ อารมณ์โกรธ อารมณ์ที่จะไม่ดี ในเรื่องที่ใจของเราเป็นทุกข์อย่างหนึ่ง ร้อน มันมีหรือเปล่า ถ้าเผื่อว่า รู้ว่าไม่ดี แล้วเราก็รู้ว่าไม่ดีด้วยปัญญา แล้วเราจะรีบท้วง รีบทักเขาก็ตาม มันจะไม่ร้อน มันจะไม่ทุกข์ แล้วพอรู้แล้ว เราก็จะดูที่ตัวเขาอีก เรียกว่า ปุคคลปโร ปรัญญุตา จะต้อง มีการประมาณในบุคคล เขาทำไม่ถูก ดูหน้า ใคร อ๋อ! คนนี้ คนนี้เราบอกได้ไหม คนนี้เราเตือนได้ไหม ห้ามได้ไหม หรือสมควร ห้ามไหม เราเห็นว่าไอ้นี่ไม่ถูกแล้ว สมควรห้ามไหม ถ้าจะห้าม ต้องมี สัมมาคารวะไหม ไม่ถูกเหมือนกันแหละ แต่นี่เขามีฐานะสูงนะ ตามสมมุติก็ตาม เราจะเตือนเขาได้ไหม อยู่ในฐานะเราเตือนได้ไหม ห้ามได้ไหม ท้วงได้ไหม ห้ามไม่ได้ ท้วงไม่ได้ เห็นหน้าแล้ว เออ! ท้วงไม่ได้หรอก อยู่ในฐานะนี้ เอาไว้วันอื่น แล้วค่อยหาโอกาส หรือ ถ้าจะท้วง ก็ต้องมีศิลปวิทยาว่า จะท้วงอย่างไร ถึงจะเป็น สัมมาคารวะ จะท้วงก็ต้องมีสัมมาคารวะ ในที จะท้วงอย่างไร หรือคนนี้ท้วงไม่ได้เลย ไม่ต้องสัมมาคารวะหรอก ฐานะต่ำกว่าเราเสียด้วยซ้ำ แต่ โอ้โฮ! มันยอดดื้อ ยอดด้าน แล้วก็ พูดไป ก็ทะเลาะกันด้วยซ้ำ ยึดติด เขารู้สึก ไม่ชอบใจเรา แล้วเราก็บอกสอนไม่ได้ด้วย เราก็รู้เสียว่า เออ! อันนี้เป็น ถ้ายิ่งรีบจะต้องแก้ แก้ไขจัดแจง เราท้วงไม่ได้ เราก็ต้องไปบอกใคร ที่เขาจะช่วยท้วงคนนี้ได้ เพราะที่ทำ ต่อไป เสียนะ ทำต่อไปไม่ดีแล้ว เราแน่ใจว่า นั่นเป็นความรู้ ก็ทำตามควร มันจะทำตามควร อย่างถูก ฐานะ ถูกกาลเทศะ ถูกสภาพ ประมาณได้ จะไม่เกิดการทะเลาะ เบาะแว้ง จะไม่เกิดการเสียหายอะไรเลย แล้วเราจะฉลาดว่า เราควรทำอย่างไร จะไปบอกใคร จะควรช้าควรเร็วขนาดไหน อะไรต่างๆ นานาพวกนี้ มันจะได้สัดได้ส่วนไปหมด เพราะมันไม่ร้อนใจ มันไม่ยึดแรง มันไม่ติดแรงเกินไป แล้วเราก็รู้นะว่า ควรเร็ว หรือไม่ควรเร็ว ควรเร็วเราก็ทำไปตามควรจริงๆ จะไปบอกคนอื่นก็ไปบอก อะไรอย่างนี้ เป็นต้น

ไม่มีตัวโกรธเป็นตัวเหตุปัจจัยนี่ เราก็พ้นทุกข์ เราก็สะอาดบริสุทธิ์ จะทำอะไรก็ มันตัวเหตุกับผล ที่อาตมา อธิบายไปเมื่อกี้ มันจะมีเหตุผลไปหมด อ๋อ!เราทักไม่ได้ เราท้วงไม่ได้ แล้วจะไปบอกใคร จะทำอย่างไรดีนี่ มันต้องเร็วไหม ต้องรีบแก้ไขไหม รีบแก้ไขไปบอก รีบบอก ถ้าไม่รีบแก้ไข เออ! ช่างเถอะ ไว้ค่อยๆบอก คนนั้นคนนี้ ก็คอยเตือนนะทีหลัง เขาทำอันนี้รู้สึกจะไม่ค่อยดีมั้ง อะไรต่ออะไร ต่างๆนานา เราก็จะหาเวลา หรือว่าจะอาศัยเวลาอื่นใด ที่จะไป บอกคนที่เขาควรมาแจ้ง ควรมาบอก ควรมาทำให้เขาแก้ไข สอน คนมาสอน คนมาแนะนำได้ ก็ให้คนนั้นเขามาทำ อย่างนี้ เป็นต้น มันจะไม่เกิดความวุ่นวาย ในหมู่ในกลุ่ม แล้วเราเอง เราสัมผัส สิ่งที่บกพร่อง สิ่งที่ไม่ดีไม่งามเช่นนั้น เราไม่โกรธนี่ เราฉลาดที่สุด ถ้าเราเจอแต่ สิ่งที่บกพร่อง แล้วเราก็โกรธนี่ เราโง่แล้ว โกรธมากเท่าไหร่ ก็โง่มากเท่านั้น คนในโลกนี่ โกรธเลย ไม่ดี และนอกจากไม่ดีแล้ว ก็ไม่สมใจ มันเป็นมานะชนิดหนึ่งในใจ เป็นการรู้ดี จริง คุณรู้ถูกต้องด้วย แล้วคุณ ก็ถือดี ถือดีว่าข้ารู้ดี ข้าถูก เอ็งไม่ถูก แล้วเอ็งทำให้ข้าเห็น เอ็งทำให้ข้ารู้ ข้าจะต้องจัดการกับเอ็ง ดีไม่ดี ใครก็ไม่รู้ คนอื่นด้วย ไม่เกรงใจเลย ซัดเลย ทั้งๆที่เป็นคนไหนก็ไม่รู้ เขาทำอยู่ที่ไหนก็ไม่รู้ ไปเจอที่ไหน ก็ซัดเลยทีเดียว โดยไม่ดูหน้าดูหลัง โดยไม่สุภาพ ยิ่งเคยตัวว่า ฉันนี่เคยใหญ่ เคยว้ากเพ้ยที่ไหนๆ ก็ไป ว้ากเพ้ยที่ใครๆ เดี๋ยวสักวัน ก็ได้เลือดมาหรอก ไม่ต้องยากต้องเย็น ได้เลือด ได้เลือดมาแน่น่ะ คือ เรียกว่า ไปแส่ไม่เข้าเรื่อง พูดให้ชัดก็คือ ไปเสือก ไม่เข้าเรื่อง ไม่เข้ากาลเวลา ไม่รู้ผู้คน ไม่รู้บุคคล นึกว่าตัวเอง ใหญ่ไปทั่วหมดทั้งบาง ดูถูก ใหญ่ไปถ้วนทุกที่ทุกแห่ง ก็จะเป็นแบบนี้

นี่อธิบายให้หยาบๆไป ทุกคนก็คงเข้าใจ แม้จะไม่หยาบอย่างนั้น อยู่ในหมู่เรา หรือแม้เราจะไปที่ไหน เราไม่ทำหรอก กับคนอื่น เราไม่ทำอย่างนั้น แต่ในหมู่พวกเรานี่ เราถือสากันเยอะ ในหมู่พวกเรานี่ เราถือสา กันเยอะ ที่มันถือสาอยู่เยอะ มีสภาพเชิงซ้อน เราก็เห็นว่า เอ๊! ก็คนในนี้ด้วยกัน มาหวังดีด้วยกันนี่ เราก็เข้าใจแล้ว ก็มาทำดีนี่ แล้วทำไม ยังทำเลวอยู่ เราก็นึกว่าเรานี่รู้ดี เราก็นึกว่าเรานี่แหละรู้ถูก แล้วเขาทำไม่ถูก เขาทำเลว เขาไม่ทำดี เพราะฉะนั้น ทำไมเขายัง มาทำเลวอยู่ ไม่แน่บางที เราอาจจะผิด ก็ได้ เขาทำนั่นถูกแล้วก็ได้ แต่เสร็จแล้ว เราก็ไปเพ่งโทษเขา เขาทำอย่างนี้ทำผิด มาละลาบละล้วง อะไรต่ออะไร ต่างๆนานา ทั้งๆที่เขาไม่ได้ละลาบละล้วงอะไรหรอก เขาได้ตกลงกับเพื่อน กับหมู่ กับฝูงแล้ว แต่เราไม่รู้นะ เราอวดเก่ง เราอยู่มาก่อน เราแก่ เราชำนาญ ไอ้นี่คนอื่นเขาทำอยู่ แล้วเอ็งมาทำทำไม ทั้งที่ไม่รู้ เขาตกลงกับที่ประชุมมาแล้วนะว่า คนนี้เขาทำ เสร็จแล้ว เราก็แจ๋เข้าไป คนนั้นก็ยังมีอัตตามานะ อยู่นั่นแหละ ไม่ได้แก้ไม่ได้ไขอยู่นั่นแหละ ก็ค่อยพูดถามว่า เออ! ทำไมมาทำล่ะ เขาให้มาทำหรือ เออ!ก็ได้ อย่างนี้จะฉลาด จะมีเหตุผล ไม่ใช่มาเพ่งโทษเลย ยิ่งไม่ชอบหน้าด้วยละก็ ซัดเลย พอเขาพูด เขาแย้ง อะไรขึ้นมา ก็ไปเลย บอก อย่ามาเถียงนะ ข้าอยู่มาก่อน ข้าแก่กว่าแล้วนะ อะไร ไอ้คนแก่ๆนี่ มานะแบบนี้ ไม่ค่อยได้ดีง่ายๆหรอก มันถือแต่ เหตุผล ไอ้แค่แก่กว่าเขา อยู่มาก่อนเขา อะไรอย่างนี้ แก่เพราะกินข้าว เฒ่าเพราะอยู่นาน คนแก่พวกนี้

พระพุทธเจ้าถึงได้ตรัสว่า คนอายุมากแล้ว ไม่มีมานะนี่ หาได้ยาก ท่านสอนพระ เราก็บอก นี่ก็ยังไม่แก่ (ที่ชี้ไปนั่นไม่ได้ว่าคุณหรอกนะ) สมณะผู้เฒ่า สมณะที่มีอายุมากแล้วนี่ ไม่มีมานะหาได้ยาก มีเยอะไป พระพุทธเจ้าท่านตรัส เอาไว้ตั้งไม่รู้กี่สูตร ไม่มีมานะหาได้ยาก บวชเมื่อแก่ก็ตาม หรือบวชนานๆ ยิ่ง บวช ยิ่งแก่ๆด้วยนั่นแหละ ยิ่งดีนัก ข้าบวชมาก่อนนะ ข้าอายุพรรษาแก่กว่าเอ็งนะ อะไรนี่ ยิ่งมีมานะจัด ถ้าไม่ศึกษา อัตตามานะ ความพอใจของตน จะทำอะไร ให้มันพอใจของข้า เอาแต่ใจข้านี่เป็นหลัก แม้คุณ จะถูกอย่างไร

คนเราก็จะสุภาพ ถ้าคนดีล่ะนะ ถ้าคนไม่ดี มันก็จะไม่สุภาพ ใช่ไหม ถูกอย่างไร ก็ไม่ควรจะไม่สุภาพ ไม่ควรจะหยาบ ไม่ควรจะแรงเกินการ ถ้าคนที่แรงได้ก็แรงไปเถอะ ถ้าคนนี้พูดได้สนิท แรงไป เขาก็ไม่ถือสา และต้องแรง บางคนนี่จนกระทั่งรู้ว่า คนนี้ต้องแรง ถ้าไม่แรง ก็แก้ไขเขา รั้งเขาไม่อยู่นะ ถ้าไม่แรง ไอ้คนนี้นี่ดื้อ ถ้าไม่แรง ไม่แรงๆ อย่างนี้ ไม่หยุดเสียด้วยนะ คนนี้ กลายว่า มันเหมือนเล่นกับหมา หมาเลียปาก เล่นกับสาก สากต่อยหัว ไอ้คนนี้ ถ้าไม่แรงๆ นึกว่าเล่น อย่างเด็กบางคนนี่ ถ้าบอกเบาๆนี่ ไม่เชื่อ ต้องแรงทำทีดุๆ จะเอาจริง จะฆ่า จะแกง อย่างนี้ ถึงค่อยกลัว แล้วถึงค่อยทำ ลักษณะคล้ายกัน เพราะฉะนั้น ในพวกเรานี่ กิเลสหลายๆคนนี่ แค่นี้ไม่กระเทือน ไม่กระเทือน กิเลสฉันหรอก ถ้าอย่างนี้เหรอ เฉย ไม่น่ากลัว ลักษณะทำอย่างนี้ ก็ไม่แก้ไขเหมือนกันนะ บอก แค่นี้ไม่น่ากลัว ต้องแรงๆกว่านั้น ลักษณะแรงๆกว่านั้น จึงจะน่ากลัว แล้วจึงจะแก้ไข ก็มี คนจริตแบบนี้ คนจริตบางคนแรงๆ ไม่แก้ไข ไม่น่ากลัว ต้องพูดยิ้ม พูดอ่อนๆ ยิ่งพูด พูดเบาๆ พูด ยิ่งพูดไม่แรงเลยนะ พูด อย่างขึงๆเบาๆ เขายิ่งกลัว ก็มี จริตแบบนี้ ก็มี ก็ต้องดูที่คน บางที ต้องใช้ลีลานี้ คนนี้ต้องใช้ลีลาอย่างนี้ ดูๆเขา ไม่ต้องไปจริตเขา แรงๆ ไม่ต้อง ไปจริต ต้องลีลานี่ จริงจังเรียบๆ โอ๋!แทงลึกเลย คนนี้ บอก โอ้โห!ถ้าอย่างนี้ แล้ว แหม! มันบอก กลัว อย่างนี้ จริตอย่างนี้ก็มีน่ะ เพราะฉะนั้น เราก็ต้องว่าไป ดูจริตคนดูอะไรต่ออะไรไปตามควร ตามได้ มันก็ต้อง เล่นทุกบทบาทแหละ คนจะสอนเขา จะแนะนำเขานี่ ต้องเล่นทุกบทบาท

ข้อสำคัญก็คือว่า อ่านอารมณ์ของเราเองให้ดี จะเป็นอย่างไรก็แล้วแต่ จะสัมผัส สัมผัสสิ่งที่ถูก ที่ไม่ถูก ในหมู่พวกเรานี่ มันมีกิจกรรมการงาน หรือ มีอิริยาบถ กายกรรม วจีกรรมอยู่ด้วยกันทั้งนั้น เพราะฉะนั้น อิริยาบถ อะไรก็แล้วแต่ อยู่ด้วยกันนี่ เห็นสิ่งนี้ไม่ค่อยถูกตา ไม่ค่อยถูกใจ อะไรแล้ว จะว่าไม่ถูกตาไม่ถูกใจ เดี๋ยวมันจะกลายเป็นกิเลสนะ เห็นว่า มันไม่ชอบมาพากลแล้ว เห็นแล้วรู้สึกว่าจะผิด ก็ให้ตรวจจิตใจเรา อย่าให้มีอารมณ์ไม่ชอบ อารมณ์โกรธ ถ้าผู้ใดโกรธ ผู้นั้นโง่ อวิชชา ผู้นั้นไม่มีปรมัตถสัจจะ ผู้นั้น ปฏิบัติธรรม อ่านอารมณ์ อ่านรูปนาม อ่านอาการ นิมิตของกิเลสของตน ไม่ออก เรียกว่าตอนนั้นน่ะ สติปัฏฐาน ๔ ตก ไม่รู้กาย ไม่รู้เวทนา ไม่รู้จิต ไม่รู้ธรรม ธรรมะที่เป็นนิวรณ์ ๕ ข้อแรกเลย ไม่รู้ แล้ว ไม่รู้ว่าตัวเองนี่ เกิดอารมณ์เพราะพยาบาท หรือ เพราะกาม ไม่สมใจในกาม มันก็โกรธได้ ไม่สมใจ ในพยาบาท มันก็โกรธได้ แล้วก็พยาบาทต่อ เสร็จแล้วมันก็ทำอาการกระด้าง หรือ ทำอาการเกินการ อาการที่เกินการเรียกว่า อุทธัจจะ อาการกระด้าง ก็เรียกว่า ถีนมิทธะ คือ หมายความว่า ไม่ทำอาการ อะไรเลย ใจดำ นี่เรียกว่า ถีนมิทธะ แทนที่จะเตือนว่าเขาผิด เออ ดี ไอ้ผิด นั่นจะได้ชั่วๆ นี่เรียกว่า ประชดเลย ใจดำ ปล่อยให้เขาชั่ว ให้เขาตกต่ำ เราจะต้อง มีใจเมตตา ไม่เป็นปาณาติบาต ลักษณะ ที่ปล่อยให้เขาชั่วต่อไป ทั้งๆที่เห็นว่า เขาเลว เขาชั่ว เขาตกต่ำนี่ แล้วเราก็ปล่อยให้เขาชั่วนี่ เป็นปาณาติบาต เป็นการไม่เมตตา ใจดำ เป็นถีนมิทธะ ใจกระด้าง ใจแข็ง ใจหิน ใจชั่ว ใจถีนมิทธะ

ฟังดีๆนะ อาตมาอธิบายปรมัตถธรรมให้ฟังชัดๆลึกๆ เอาละ ส่วนใจที่ มันไม่ไปกระด้างอย่างนั้น ถ้าเป็นเชิงอุทธัจจะ อุทธัจจะ ก็ไม่กระด้างหรอก ใส่เลย ใส่ อย่างกระจายเลย ออกนอกเหตุนอกผล ด้วยซ้ำ เอาเหตุผลที่ไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้อง มาประกอบด้วย เรียกว่า ด่ายับเลย อันนี้ก็เรียกว่า อุทธัจจะ ลักษณะ กระจาย เพราะฉะนั้น การกระทบสัมผัส และการมีกรรมกิริยาต่อกันนี่ เป็นกรรมกิริยา ของถีนมิทธะ ก็ดังที่กล่าวนี้ กรรมกิริยาของอุทธัจจะ ก็อย่างที่กล่าว อย่างที่อธิบาย นี่ลักษณะกระด้าง ที่ปล่อยปละ ละเลย ไม่มีเมตตา ก็เป็นปาณาติบาตชนิดหนึ่งน่ะ ประเภท อุทัจจะ ก็ปาณาติบาต คือ ด่ายับเลย ไม่มีเหตุผล แล้วเกินไป ฟุ้งกระจายมากไป มันไม่ได้สัด ได้ส่วน ไม่ได้พอเหมาะ พอดี จะติจะเตียน จะด่าจะว่า สมเหมาะ สมควรไหม คนนี้เราด่าได้แค่ไหน เขาศรัทธาเราไหม ศรัทธาได้มาก ด่าได้แรง แล้วแรงเกินไป มันก็เกิดไม่ชอบใจได้ ที่จริงคนเรา ไม่ด่ากัน แหละดี บอกเรียบๆ ร้อยๆได้ดี ดีกว่าแน่ สุภาพกว่าแน่

แต่ด่า ด่าเรียกว่าสุภาพก็ได้ มันสมเหมาะสมควรก็เรียกว่าสุภาพ ดี คือภาวะที่ดี สุก็ดี ภาวะที่ดี ภาพ หรือภาวะที่ดี ด่าหรือดุ ในลักษณะที่ สมเหมาะสมควร แล้วก็เรียกว่า สุภาพ เพราะฉะนั้น จะขนาดไหน มันถึงจะเหมาะที่สุด

นี่แหละการประมาณ มัตตัญญุตา การประมาณ กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม อะไรต่างๆนานาของเรานี่ เราจะต้องตรวจตรา เรามาปฏิบัติธรรม อันนี้เป็นทรัพย์ อันนี้เป็นสิ่งที่เราจะสังวร ระวัง เรามาอยู่ด้วยกันนี่ เราไม่ได้มีใครได้เงินได้ทอง มากน้อยกว่ากันเลยนะ ใครได้ลาภ มากกว่ากัน ไม่มีใครได้สมบัติเป็นเพชร นิลจินดา ได้ที่ดิน ได้บ้านช่อง เรือนชาน ได้ข้าวของอะไรอลังการ มากกว่ากัน ไม่ เราไม่ได้มาได้ สิ่งเหล่านั้น ไม่ได้มาแสวงหาสิ่งเหล่านั้น ไม่ได้มารับสิ่งเหล่านั้น เรามาอยู่ด้วยกัน มาทำงานอยู่นี่ วันต่อวัน ต่อวัน บางคนอยู่ปีหนึ่ง บางคนอยู่ ๑๐ ปี บางคนกว่า ๑๐ ปีแล้วก็ตาม เราไม่ได้สิ่งเหล่านั้นหรอก เราจะได้ ปรมัตถสัจจะ และเรียนรู้ สมมุติสัจจะ และทำกับสมมุติสัจจะพวกนี้ เป็นความได้ลงตัว เป็นมัชฌิมา ได้สัดส่วนที่เจริญน่ะ เรารู้จักสมมุติกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม การงาน การเกี่ยวข้องกัน การสัมผัส การประมาณ มัตตัญญุตา การประมาณ ประมาณอะไรต่ออะไร อย่างไร ทำอย่างไร ขนาดไหน มันจะได้ เกิดความเจริญ รังสรรค์ อยู่ร่วมกัน มีแต่การสร้างสรรทั้งนั้น เพราะฉะนั้น เราก็จะกระทบสัมผัส อะไรกับใคร แค่ไหน อยู่กับพวกเรานี่ มันก็กระทบสัมผัสกันทุกวัน อยู่ข้างนอก

เราบางคนไม่ได้ออกข้างนอกเลย นานๆจะออกสักที พวกข้างนอก เขาไม่รู้อิโหน่อิเหน่ เราวางได้เก่งนะ ได้ช่ำชอง วางคนข้างนอกเก่ง แต่พวกเรากันเอง ไม่ได้ ถือสา นั่นก็จะต้องมาสังวรตนเอง ว่า ทำไม กับที พวกเรานี่ ทำไมมัน แหม!ไม่ยอมเลย แต่ส่วนคนอื่นนี่ เขาจะชั่ว จะเลว จะดีอย่างไร วางได้หมด ใครดี ก็ว่าเขาดี คนข้างนอก ใครไม่ดีก็ รู้ว่าเขาไม่ดี แต่เราก็วางใจได้นะ ไม่ดีก็รู้ เราไม่เอานิยายอะไรกับเขา คือ รู้เขารู้เราได้ สำหรับคนข้างนอก แต่ในนี้ก็ต้องรู้เขารู้เราเหมือนกัน ในนี้แต่ละคนๆ ไม่ใช่เรา จริงๆนะ จริง เป็นมิตรของเรา เป็นพี่น้องของเรา เป็นญาติธรรมของเรา เป็นผู้ปรารถนาดีด้วยกันกับเราเหมือนกัน แล้วมันจะลึกๆ ซ้อนๆอยู่ว่า พวกเรามันเหมือนกับพ่อแม่ เห็นว่า เอ๊ะ! ลูกนี่ มันทำไม่ดีนี่นะ แหม! มันโกรธมาก คนอื่น ลูกคนอื่นทำไม่ดี ช่างหัวมันปะไร ไม่ใช่ลูกกู ไม่เอานิยาย ก็ลูกคนอื่นนี่ ไม่ใช่ลูกกู จะเลว จะชั่วอย่างไร ช่างเถอะ ไม่เกี่ยว ไม่ได้เดือดเนื้อร้อนใจอะไร แต่ถ้าลูกกูทำไม่ดี มันเดือดเนื้อร้อนใจ เหลือเกิน คล้ายๆกัน

พวกเรานี่ก็มีส่วนนี้ คล้ายๆกัน ก็มันญาติธรรมเราแล้ว มันมาเอาดี ด้วยกันแล้วนี่ ใช่ไหม ในนี้แล้ว เพราะฉะนั้น ทำไม่ดี แหม! เป็นเดือด เป็นร้อน คล้ายๆกับว่าลูกกู มีส่วนนี้ เหมือนกัน บางคนอาจจะ ยิ่งกว่า ลูกกูเลยนะ แหม! ถือสายิ่งกว่าลูกกู ทั้งๆที่ไม่ใช่ลูก มาอยู่ด้วยกัน มาจากประเทศนอกก็มี มาจากประเทศในก็มี มาจากเหนือจากใต้ จากอีสานอะไรก็มี พอมาสมมุติมายึด มาถือขึ้นมาว่า เออ! นี่พวกเรามาในนี้ มาเอาดี มาทำดีนะ ทำไมมันไม่ทำดี มันก็ยึดแล้ว อุปาทานมากขึ้น เหมือนกับลูกกู อย่างที่ว่า ส่วนคนข้างนอก บอก วางได้ แต่คนข้างนอก ไม่ใช่ญาติธรรม ไม่ใช่ลูกกู ไม่เป็นไรหรอก เอ็งจะทำชั่ว ก็เรื่องของเอ็ง ไม่ทุกข์เลย ใจไม่มีอารมณ์ ใจไม่มีความถือสาอะไร แต่นี่ ถือสาจัด ดี ในมุมดี ก็ดี ถือสาก็ดีเหมือนกัน จะได้ช่วยกัน แต่อย่าเป็น แม่หน้ายักษ์ ใจยักษ์ เกินไปนัก แม่หน้ายักษ์ ใจยักษ์นี่ โอย! ลูกทำอะไรนิด ทำอะไรหน่อย ก็ว้าก โอ๊!มันแรง

อาตมาอธิบายมาก่อนแล้วว่า ให้รับสัมผัสให้เป็น รับสัมผัสให้ดี แม้จะเป็นญาติธรรม เป็นมิตรดี สหายดี สังคมสิ่งแวดล้อมดี ก็เป็นเหตุ เป็นปัจจัย เป็นโจทก์ให้แก่เราทั้งสิ้น เป็นโจทก์ให้แก่เราทั้งสิ้น คนข้างนอก วางได้ ดี แต่คนข้างในก็ต้องวางได้ด้วย หัด บอกแล้วว่า เอาเงินกี่ล้าน ไปจ้างโจทก์เหล่านี้ ไม่ได้ หลายคน มีวิบาก แก่กันและกันมา มันอาฆาตมาดร้ายแก่กันมา ตั้งไม่รู้ปางไหน ต่อปางไหน นี่เรื่องจริงนะ อาตมา ไม่ใช่พูดเล่นนะ เพราะฉะนั้น เราก็ เออ! คนนี้นี่คงจะ...มันรู้อะไรไม่ได้ เราระลึกชาติเอง ก็ไม่ได้จริงๆ เออ! ชาติแต่ปางก่อน มันคงจะอย่างนี้ แล้วก็ปลง หัดปลงก็ เออ! เขามีวิบาก กับเรามา ชาตินี้เราขอหยุด จองเวร จองกรรม ญาติดีให้ได้ จะรับลูก กับเขาอย่างไร ลูกเขารับมาอย่างนี้ เราก็หัดสัมผัส รับลูกให้เป็น เราประสานสัมพันธ์ได้ ส่วนเขาจะถือสาเป็นคู่เวร คู่ภัย คู่ศัตรูอาฆาต อะไรอยู่ ก็เรื่องของเขา

แต่เราทำของเราได้ เป็นโจทย์บอกดี้ ดี ดี เขากลับไม่ได้ประโยชน์ จากการที่จะมาสัมผัสแตะต้องกัน อีชาตินี้แล้ว เขากลับวางไม่ได้ อภัยไม่ได้ ปลงไม่ได้ สิ้นเวรสิ้นกรรมไม่ได้ ยังเป็นเวรานุเวร อยู่ที่จิตของเขา มันก็ของเขา ส่วนของเรานั้นหมดไป และในวิธีนี้แหละ กรรมวิบาก ถือว่า ชาตินี้ เกิดมาร่วมกัน คุณได้ อาศัยเขาเป็นเหตุปัจจัย คุณวางใจได้แล้วนะ ชาติหน้าคุณไม่เกิด เจอกันอีก สำหรับเรา จะไม่เจอเขา แต่เขายังจะมีเชื้อของการอาฆาตพยาบาท นี้ อยู่ในใจของเขา แม้เขาจะไม่ได้แก้แค้นเรา เขาก็จะไม่ได้ แก้แค้น แล้วเขา ก็จะมีเชื้อพยาบาทนี่ ไปเป็นเชื้อหมกหมัก ไปคอยพยาบาทคนอื่น ก็มีแรงตัวพยาบาทนี่ ไปผสมผสาน ถ้าเขาไม่หัดล้าง หัดลดของเขา เขาก็จะมีความทุกข์ จะมีเหตุปัจจัยพวกนี้ อยู่ในตัวเขา นั่นเอง ซวย แล้วเขาก็จะไม่มีโอกาสได้แก้แค้นเรา เพราะเราได้ล้าง ได้อโหสิกันแล้ว เพราะฉะนั้น ชาติต่อๆไป คุณก็จะไม่มีวิบากอันนี้มาเจอกัน

ถึงเจอกัน ก็จะมีบารมีเชิงชั้นที่เขาจะทำอะไรคุณไม่ได้ ทำอะไรไม่ได้เลย จะเหมือนแต่หมาเห่าเครื่องบิน เห่า คือคนที่มันจองเวรจองกรรม ก็ได้แต่เห่า แต่คุณทำอะไรเครื่องบินเขาไม่ได้หรอก เพราะว่าอยู่ฐานะสูง บ้าง ก็ได้ หรืออะไรต่ออะไรก็ได้ ไม่ได้อยู่ในฐานะที่คุณ จะทำอะไรเขา ได้เลย ต้องจำนน ต้องยอมหมดเลย ยิ่งเจ็บปวดนะ ถ้ามีเวรในใจ มีเวรานุเวรในใจ ยิ่งเจ็บปวด โอ๊ย! ทำเขาไม่ได้เลย ดูซินี่ เขาเอาไปกิน หมดเลย เขาดูเหนือเราไปหมดเลย สู้ก็ไม่ได้ ทำอะไรก็ไม่ได้ คนอื่นซัดเราอีก ซวยนะ ซวยมากนะ

นี่คือเรื่องของอจินไตย เรื่องของวิบากกรรมที่มันซับซ้อน ซับซ้อน เพราะฉะนั้น ก่อนอื่นเราเจอคู่วิบากนี่ รีบจัดการทำโจทย์เสีย ทำเสีย ให้สำเร็จ ในชาตินี้ รีบๆทำ พยายามเข้าใจให้ได้ว่า เออ! หัดวางที่เรา นี่แหละ ได้ประโยชน์ หัดวางที่เรานี่แหละได้ดี เพราะฉะนั้น ถ้าเราเอง เราสัมผัสอะไรที่ มันไม่ต้องใจเรา เราอย่าโกรธ อย่าไม่ชอบใจ ตั้งสติ ตั้งปัญญาให้ดีๆว่า เออ!แล้วเราทำท่าไหนดี ถ้าเขาทำไม่ดี ควรสงสาร เขานะ ไม่ใช่ว่าควรชังเขา ควรเห็นใจ โอ!น่าสงสารนะ มันเมตตาเกิดขึ้นแล้ว ถ้าเราเกิดสงสารเขา หรือว่า เห็นใจเขาอย่างนี้ นั่นคือ เมตตาเกิดในใจแล้ว คนที่เมตตาเกิดในใจนี่แหละ คือ จิตพระเจ้า จิตพระพรหม จิตฐานสูง เมตตาแล้วเราก็ประมาณ ไม่ใช่ว่า เมตตาแล้ว เราก็จะช่วยเขาท่าเดียวเลย รุนแรงเลย ปลุกปั่นให้เขาไม่ช่วย ก็จะช่วย เดี๋ยวก็ทะเลาะกันอีกแหละ เราก็ต้องประมาณ เพราะฉะนั้น จิตอย่างนี้ เกิดเป็นจิตเมตตานี่ ดีแล้ว มีเมตตา มโนกรรม มีเมตตา ทีนี้เราจะก่อ มโนกรรมทางวาจา มโนกรรมทางกาย ได้ไหม ถ้าได้ก็ทำ นี่เป็นสาราณียธรรมน่ะ ลาภของเราแล้วหนอ ที่เราเอง วางได้ ปลงได้ เป็นลาภทางปรมัตถ์ เป็นลาภทางโลกุตระ เราได้ลดละกิเลสของตัวเรา จริงๆ นี่ต่างหาก คือรายได้ คือลาภที่เรามาแสวงหา ไม่ใช่เงินทอง ไม่ใช่ทรัพย์สิน ไม่ใช่ศักดิ์ ฐานะ ยศ สรรเสริญ เยินยอ ที่เป็นโลก เป็นโลกียะ โลกธรรม ไม่ใช่นะ นี่ คือโลกุตระ ที่เราจะได้ลาภอย่างนี้ คือมันทวนกระแสกัน กับโลก หรือโลกียะอยู่ นี่ เราจะต้องรู้สิ่งเหล่านี้ ให้ชัดๆ ลึกๆนะ

ทีนี้มีอีกมุมหนึ่ง เรื่องลึกๆของความโง่ของคนที่เลี่ยง หรือขี้เกียจ อยู่ด้วยกันนี่ คนที่เลี่ยง เลี่ยงขี้เกียจน่ะ ชอบหลบไปพัก หรือว่าทำให้คนอื่นสนใจ ทำให้คนอื่นสงสาร หนักเข้าก็จะกลายเป็น นิวโรซิส (neurosis) คือเป็นโรคทางจิต เราไม่เป็นโรคหรอก เราก็จะต้องพยายามให้เกิดอาการทางกาย ให้เป็นโรค ฟังดีๆนะ เราไม่เป็นโรคหรอก แล้วเราก็ จิตของเรานี่ต้องการความสงสาร ต้องการพัก ต้องการเลี่ยง หรือต้องการ เรียกร้องความสงสาร ถ้าเราเจ็บปวด คนก็จะสงสาร คนก็จะมาช่วยเหลือเฟือฟาย มันไม่เป็นโรค ก็จิตนี่ล่ะ นำมาก่อน มโนปุพพังคมา ธัมมา มโนเสฏฐา มโนมยา จิตนี่แหละนำมาก่อนเลยว่า ถ้าในแง่โรคนี่ เขาไม่เกี่ยงนะ ถ้าเราเป็นโรค เห็นจริงๆเลยว่า เราเป็น อาการไม่สบาย ปวดนั่น เจ็บนี่ หรือว่า บวมนั่น พองนี่ แดงนั่น ร้อนนี่เลยนะ เป็นตรงนั้น เป็นตรงนี้เลยนะ ไอ้โรคนี้ร้ายกาจจริงๆนะ ทางหมอเขาก็รู้ ทางโลกวิทยาศาสตร์เขาก็รู้ ทางจิตนี่ อาตมาว่า อาตมารู้ แล้วก็พูดเปรยๆกับพวกเรา แต่พวกเรา ก็ไม่เชื่อ เพราะพวกเรารู้ไม่เท่าทันจิตตัวเอง ว่าจิตตัวเอง ขี้ออเซาะ จิตตัวเอง ขี้หาเรื่อง หาเรื่องว่า ฉันจะต้องป่วย จนกระทั่งมันป่วย ออกมาทางกาย มันจิตมาก่อนนะ ไม่หายสักที ไม่ยอมเลิกสักทีแล้ว ป่วยมันอยู่นั่นแหละ แล้วตัวเองก็ทุกข์นะ ไม่ใช่ ไม่ทุกข์นะ เพราะตัวเอง โง่เองน่ะ ตัวเอง ก็ทุกข์นะ รักษาก็ไม่หาย หมอก็ว่า หมอดีละ หมอชั้น ๑ หมอชั้นแพง อะไรก็แล้วแต่ ให้หมอทางวิทยาศาสตร์ หมอทางโลกตรวจ เขาบอก ไม่เห็นมีเหตุปัจจัยเลย หาเหตุไม่เจอ แต่หมอทางจีนที่ด้นๆ เดาๆ ก็มีเรื่อยละ หมอทางจีนมันด้นเดาเก่ง แมะ พับ อ้อ แต่ไม่ค่อยตรงกันหรอก คนนี้บอกมาจากตับ คนนี้บอกมาจากปอด แมะคนนี้ บอกมาจาก หัวใจ คนนี้มาจากเย็นมาก คนนี้มาจากร้อนมาก คนนี้มาจากอะไร หมอแมะ หมอจีนนี่ เละนะ แล้วก็เชื่อหมด รักษาไปเถิด

พวกนี้ ไม่รู้จะว่าอย่างไร พวกอภิโง่นี่ คือโง่ตัวเองล่ะนะ ต้องตรวจตรา เห็นให้จริงว่า เอ๊!เขาบอกว่า เราไม่มีอาการ เราไม่มีเชื้อนะ เราไม่มี หาโรค สมุฏฐานโรค มันไม่มีหรอก จงพยายามแก้ไขตัวเองว่า ทำไม เราเป็นอย่างนี้ เราต้องการอะไร ต้องการให้เขาเห็นใจว่าเราป่วย แล้วเรา จะได้หลบ ได้เลี่ยง จิตขี้เกียจ มาจากโรคขี้เกียจตัวเดียว เลี่ยงงาน ซึ่งมัน เป็นความโง่นะ คนเรานี่ ลงไม่ทำงานก็โง่แล้ว ถ้าเราเอง กำลังวังชาก็ดี เวลาก็มี อะไรก็มีอยู่น่ะ โง่แล้ว คนเรานี่ ไม่ทำงาน ก็โง่แล้ว

อาตมาเคยเน้นว่า ศาสนาพระพุทธเจ้านี่เป็นศาสนาแห่งการงาน และ การปฏิบัติธรรม ก็คือ การทำกรรม ๑.กรรมของสังกัปปะ ๒.กรรมของวาจา ๓.กรรมของทั้งหมด กัมมันตะนี่ คือรวมทั้งหมดละ อาตมา ขยายความทุกทีนะว่า กัมมันตะ มันไม่ใช่แค่กายกรรม กายกรรมด้วย แต่เน้นว่ากายกรรมก็ได้ ก็ขยายว่า สังกัปปะเป็นของมโน วาจาก็เป็นของวาจา กัมมันตะก็ของกาย ก็ด้วย แต่อาตมาก็เคยย้ำ ทุกทีว่า กัมมันตะ ไม่ได้หมายความว่า กายกรรมอย่างเดียว มันรวมเอา วาจาและใจมาด้วย แล้วก็ปรับกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม นั่นแหละ กรรม การปฏิบัติธรรมก็คือทำกรรม ชีวิตก็คือกรรม ๓ ปฏิบัติธรรม ก็คือ ทำกรรม ปรับปรุงกรรม กรรมก็คืออิริยาบถ จนถึงการงาน เพราะฉะนั้น อิริยาบถที่ไร้ค่า อิริยาบถ ที่เที่ยวได้ยืดอยู่ตรงนั้น ยืดอยู่ตรงนี้ เฉื่อยอยู่ตรงนั้น เลี่ยงอยู่ตรงนี้ อิริยาบถอย่างนั้น จะไปมีคุณค่า อะไรเล่า

พระพุทธเจ้าท่านถึงได้เตือน เวลาล่วงไปๆ กายกรรม วจีกรรมที่ดีกว่านี้ยังมีอีก มีอะไรล่ะ ท่านไม่ได้บอกว่า ใจนะ คุณต้องรู้ ด้วยทิฏฐิ ด้วยความเห็นแล้ว ว่า คุณควรจะไปออก ไปทำกายกรรม พฤติกรรมของ อิริยาบถ ทางกายอะไร วจีอะไรที่ดีกว่านี้ ยังมีอีก ในกาลเวลาอย่างนี้ ที่เป็นคุณค่า เป็นประโยชน์ เป็นสิ่งที่ควร เตือนกาย วาจา ไม่ใช่เตือนใจนะ

ข้อความนี้นี่ ที่พระพุทธเจ้าท่านสอน อาตมาเคยติงว่า ท่านไม่ได้บอก ว่าเวลาล่วงไปๆ เธอทำอะไรอยู่ กายกรรม วจีกรรมที่ดีกว่านี้ ยังมีอีก ไม่ใช่มี กายกรรม วจีกรรม แล้วมโนกรรมด้วยนะ ไปดูตรวจในพระบาลี ก็ได้ ไม่มีคำว่ามโน มีแต่แค่กาย กับวาจา กาย กับวาจานี่ คือพฤติกรรม คืออิริยาบถ คือการงานโดยแท้ ถ้ามโนกรรม กรรมทางจิตนั่นน่ะ คนไม่ล่วงรู้กันได้ง่ายๆหรอก แล้วเราก็ไม่ต้อง ชี้บอกกันอย่างนี้ แต่กาย กับวาจานี่ ชี้บอก แล้วมันเห็นกันง่ายๆ เป็น รูปลักษณะที่ชัดเจน ชัดเจน เราจะต้องไปออก ไปทำกายกรรม อะไร ไปทำ กรรมทางกายอะไร ไปทำกรรมทางวาจาอะไร จงไปทำดีกว่านี้ มีอะไรดีกว่านี้ ไปออกเรี่ยว ออกแรง หรือไปพูด ก็แล้วแต่ จงไปทำ อย่าอยู่ว่างๆ นิ่งๆ เงียบๆ แบบนั่งหลับตานี่ ก็มีแต่มโนกรรม กายไม่มี วจีไม่มี ใช่ไหม นั่งเฉยๆนี่ ไม่มีอิริยาบถทางกาย วาจา มันดีกว่านั่งเฉยๆไหม สมควรนั่งเฉยๆไหม ถ้าคุณเมื่อย คุณป่วย จะต้องพัก ก็นั่งเฉย นอนเฉยไปเถอะ ควรจะพักผ่อน แต่ไม่สมควรพัก ไม่สมควร ที่จะอยู่เฉย เราไม่พัก ไม่สมควรพัก เราไม่พัก เราควรไปทำ กายกรรมอะไร เราควรไปทำวจีกรรมอะไร ที่ดีกว่านี้ เพราะฉะนั้น คนที่จะมีคุณค่า ประโยชน์มากนี่ ถ้าเราเข้าใจอย่างนี้ แล้ว ทุกคนก็สังวรระวัง ทุกคนก็รู้ตัว แก้ไข ปรับปรุง

คนจะมีประโยชน์มากเลย เพราะว่าจะมีกายกรรม จะมีวจีกรรมนี่แหละ แล้วเราก็ได้เรียนรู้ด้วย ความรู้ว่า ควรทำกรรมอะไร กายกรรมอะไร วจีกรรมอะไรน่ะ เพราะฉะนั้น ตัวเลี่ยง ตัวพัก ตัวที่ไม่รู้ตัวเอง เลี่ยง แล้วก็จนกระทั่ง จะไม่ต้องทำอะไร แล้วเราก็กลายเป็นคนป่วย ป่วยยังไม่พอ ขออาหารเสริมอีก โอ! ยิ่งเป็นหนี้หนัก เข้าไปใหญ่เลย ทั้งๆที่ตัวเองเป็น นิวโรซิส เป็นไข้ใจ เป็นโรคทางจิต แล้วยังไม่พอ ต้องให้เพื่อนมาเป็นภาระ ทำอาหารเสริมมาช่วยอะไรไปอีกนะ คิดดูซิว่า จะเป็นหนี้เท่าไหร่ แล้วมันไม่รู้นะ อาตมาพูดอย่างนี้แล้ว ก็อย่าพึ่งไปร้อนใจ จนเกินการ บางคนอาจจะป่วยจริง แต่ถ้าใคร หมอเขาตรวจแล้ว ที่โน่นที่นี่อะไร มันก็ไม่มีปัจจัย ไม่มีเหตุของความป่วย ค้นหาเหตุไม่เจอ จงพยายามมา สังวร ระวัง มาล้าง กิเลสตัวเองว่า ทำไมเราขี้เกียจ ทำไมเราอยากอยู่เฉยๆ เราจะขยันขึ้นมานิดหนึ่ง เอาละ เราอาจจะเจ็บป่วย นิวโรซิส มันก็ทำให้ปวดกระดูก ปวดกระเดี้ยว ปวดอะไรต่ออะไรได้ ลองทำดูซิ มันจะหายปวดไหม ถ้านิวโรซิส เราจะหายปวดกระดูก จะหายปวดนั่น ปวดนี่เลย หายปวดตรงนั้น หายเจ็บตรงนี้ หาย ไอ้อาการโน่นนี่ อะไรต่ออะไร มันจะหาย โรคนิวโรซิสนี่ มันก็คือ มันน้อยไป

ส่วนโรคขยันเกินไป ก็จิตชนิดหนึ่งเหมือนกัน มันมากไป ขยันเกินไป เอ้า!ทีนี้ปวดจริงๆสิ กระดูกปวด เอวปวด กล้ามเนื้อปวด หรือว่าเป็นโน่นเป็นนี่ อ่อนแอลงไป เปลี้ย เพลีย มันโอเว่อร์น่ะ มันเกินน่ะ การงาน ทำเกิน ก็เป็นโรคจิต อย่างหนึ่งเหมือนกัน แต่โรคจิตทำการงานเกินนี่ อาตมาว่า รู้ง่าย รักษาง่าย แต่โรคจิต ทางที่เลี่ยงหลบ ขี้เกียจ ไม่รู้ตัว และไม่เอาถ่านนี่นะ นอกจาก จะไร้คุณค่า คือมันเลวตรงที่ไร้คุณค่า ไร้ประโยชน์ สร้างสรรอะไรแล้ว มันยังไม่รู้ตัวได้ง่าย นี่อาตมาถึงบอกว่า ไอ้เรื่องนี้ลึก เรื่องนี้ลึก

แล้วในพวกเรานี่ อาตมาก็พยายามบอก พยายามจะวิเคราะห์เหมือนกัน แต่ว่า มันก็ไม่ได้โอกาส ไม่ได้เวลา ก็มาวิเคราะห์สู่ฟังว่า ให้ตรวจตรา ให้พยายาม พวกเรานี่ เหมือนมันมีไม่สบายกันเยอะ เหมือนไม่สบาย เยอะ ทีนี้ ถ้าเผื่อว่า มันมีงานมากๆ มันก็จะซ้อนนะ พองานมากๆ เราชักจะขี้เกียจ ขี้เกียจเราก็เลยหาเรื่อง ที่จะพัก แล้วก็เลยทำ อย่างซังกะตาย หรือว่าทำอย่างหลบๆเลี่ยงๆ ทำไป ก็ไม่เป็น โรคหรอก แต่นิวโรซิส ที่ว่า โรคทางจิตเกิด ก็เลยทำให้เกิด ก็เป็นบ้าง เป็นขึ้นมาซ้อน แต่ก็ทำ ทำทีซ้อนอีกเหมือนกันนะว่าทำ เพื่อนให้พัก ก็ไม่ค่อยอยากพัก แต่ตัวขี้เกียจ ก็บอกว่า เฮ้ย! เกิดโรคซิ เพื่อประท้วง เกิดโรคสิเพื่อประท้วง ใจมันก็อยากพักนะ แต่ข้างนอกก็รู้นะ มีสำนึกรู้เหมือนกันว่า ถ้าขืนพักแล้วไม่เก๋นะ ไม่โก้นะ ถ้าขืนพักไม่ดี ต้องทำเป็นไม่พัก เพื่อนบอกเอาน่าไปพักน่า ไม่พัก เก๋ อีกอย่างหนึ่ง เหมือนกัน อย่างนี้น่าเอากระบอง ตีกบาลนะ คนพรรค์นี้ แล้วไม่รู้ตัว ไม่รู้ตัว มันทำย้อนแย้ง คนมันมีเล่ห์เหลี่ยม ซับซ้อน เยอะแยะ อย่างนี้ มานะมัน ก็ขึ้นว่า ฉันไม่ดีนะ ฉันขี้เกียจ แต่ฉันก็จะทำเป็นขยัน มันก็ซ้อนอย่างที่ว่านี่แหละ มานะมันรู้ สำนึกมันรู้ ไม่ขยัน แต่ก็เลี่ยงๆ หลบๆ อยู่อย่างนั้น ก็ทำไป ก็เพื่อนเขาบอกให้พัก ฉันจะแกล้งทำ ก็เพื่อนเขาบอก เลยดูเหมือนเก๋ใหญ่เลย อย่างนี้ระวัง อย่ามานั่งเล่นลิเก อย่างนี้ แล้วตัวเองก็โง่เง่า ตัวเองก็ได้บาปได้เวร นะ ซับซ้อนมากกว่านี้

อาตมาว่า อาตมาอธิบายขนาดนี้ได้ ก็เก่งแล้วนะ พยายามที่จะชี้หน้า ฉีกหน้ากิเลสนี่ ออกมา ก็มาพูด มาบรรยายให้ฟัง เพราะฉะนั้น ในหมู่มิตรดี สหายดี สังคมสิ่งแวดล้อมดีของเรานี่ มี สารพัดเล่ห์เหลี่ยม เป็นคนดีในระดับหนึ่ง คนดีในระดับขั้นนี้ขั้นสูงขั้นอะไร แล้วเล่ห์เหลี่ยม ที่มันจะซ้อนเชิงพวกนี้ ระวัง ไม่ว่าแต่ฆราวาส ตั้งแต่สมณะลงไปเลย ตรวจตนเองทุกอย่าง สัมมาอาชีพ บอกแล้วว่าสัมมาอาชีพ แม้แต่สมณะ ด้วยกันเอง ก็ไม่ได้หมายความว่า เราจะเป็นผู้สอนอย่างเดียว เราจะต้อง อ่านแต่หนังสือ ดูแต่หนังสือ ดูแต่ตำราไว้สอนเขาอย่างเดียว

ไม่ดูล่ะ สัมมาอาชีพ การงานการกระทำของใครๆ ไม่รู้เรื่อง รู้แต่ตำรา ปรมัตถ์ จิต เจตสิก อภิธรรม สูตรนั้น สูตรนี้ แต่ไม่รู้ว่า การทำงาน การงาน สัมมาอาชีพ หรือกัมมันตะทั้งหลายแหล่ ของคน นี่ เราบอกเขาไม่ถูก เขามา เขามีโน่นมีนี่ นี่ ไม่รู้เรื่องเลย มาถึงก็สอนแต่ ปรมัตถ์ๆๆๆ โถ แล้วคุณจะสอนฆราวาสที่ไหน ให้เป็น ปรมัตถ์ได้ ถ้าคุณไม่มีบาทฐาน จากการงานนี่ก่อน แล้วให้เขาค่อยๆ ไต่จากการงาน นี่แหละ เป็นการ ปฏิบัติธรรม เออ! กรรม การงานอันนี้ ของคุณ อาชีพอันนี้นะ เลิกอันนี้มันเสีย ละอันนี้มันเสีย กระทบ สัมผัส อย่างนี้ แล้วก็นี่เขาต้องหยุดการงาน ให้เขาหยิบจากนอก เป็นตัวเชื่อมโยง เข้าไปหาอารมณ์จิต ตัวจิตได้ มันก็ถึงจะอธิบายกันได้

ไม่ใช่มาถึง ก็ล่อแต่ภาษาปรมัตถ์ คนข้างนอกๆหรือคนฆราวาสที่ไหนมา ก็ยังไม่รู้เรื่องการงาน ยังไม่รู้เรื่อง อะไรเลย เอาแต่ปรมัตถ์ คุณวางที่ใจนะ ทำที่ใจนะ อย่าไปถือสา วาง โกรธให้รู้อารมณ์โกรธ รู้อาการลิงค นิมิตนะ อย่า ไป... มาครั้งเดียว ไม่มาอีกแล้ว ก็มันมืดมิดน่ะ อาการ ลิงค นิมิตอะไรอยู่ เขาจะไปรู้เรื่อง อะไร เออ!เราบอกเลิกกินเนื้อสัตว์เสียนะ ทำการงานอันนี้ ก็การงานอันนี้มันก็วิเคราะห์ซิว่า การงานอันนี้ มันกุศลหรืออกุศล ไปทำงานอย่างนี้ มันสัมพันธ์กับงานนี้ มันไม่ดีนะ มันหยาบ มันเป็นงานหลอกลวง แล้วเป็นงานโกงล่ะนะ นี่เป็นอาชีพ ในระดับโกงนะ ในระดับไม่ดีหรอก นี่เป็นอาชีพมอมเมา อาชีพไม่ดีนะ อาชีพนี้ยังตลบตะแลง อาชีพนี้ ก็ค่อยๆเลื่อนไหลขึ้นไป จนกว่าจะรู้ อันนี้ อาชีพ มอบตนในทางผิดนะ ก็จะแนะนำระดับอาชีพ มอบตนในทางผิด อันนี้คิดราคา คิดค่า คิดเงินแพงไปนะ มันไม่ถูกหรอก มันเสีย คิดเอามากๆ กับเขา มันโลภโมโทสันไป นี่ไปขายไดเร็กเซลล์นี่ โอ้โฮ! นี่ไปร่วมมือขูดรีดประชาชน อย่างที่ อาตมาเคยบอกใคร กันพวกนี้ ก็เราก็ต้องรู้ แนะนำเขาว่า ตัวนี้เป็นหนี้เป็นสิน เป็นบาปเป็นอะไร เป็นเวร เป็นภัย ในสังคมในประเทศชาติ แล้วตัวเองก็มีบาปเยอะ ก็ต้องรู้ ต้องเข้าใจ

งานอย่างโน้น งานอย่างนี้ เป็นอบายมุข งานอย่างนี้เป็นงานควร งานอย่างนี้ มีอุปสงค์ที่ดี งานนี้ไม่เป็น อุปสงค์ที่ควรจะทำแล้ว ต้องรู้จักเศรษฐกิจ รู้จักสังคม รู้จักรัฐศาสตร์ รู้จักนิติศาสตร์ อะไรต่างๆนานา มันจึงจะทำงานกับหมู่ชน หรือศาสนา ถึงจะเป็นที่พึ่ง ของทั้งสิ้นทั้งหมดของพุทธบริษัท ที่ห่างก็ตาม แต่เขาก็ตั้ง หรือว่าของเขา ก็ได้ยึดแล้วว่า เขาเองเขาก็เป็นพุทธศาสนิกชนคนหนึ่ง จะห่างขนาดนั้น ขนาดนี้ ก็ตาม แล้วเราแรง มีกำลังพอจะเอื้อ พอจะเอื้อมเอื้อเข้าไปเกื้อกูลเขาได้ไหม ถ้าเอื้อไปเกื้อกูลเขาได้ คุณก็ทำ อันนี้ยังไม่ไหว เราอย่าพึ่ง ไปอ้าขาผวาปีกเลย เรายังไม่มีแรงมากพอ คุณก็พอ

มันจึงจะใช่คำว่า เป็นทั้งสิ้น ทั้งหมดของพรหมจรรย์ เพราะฉะนั้น แม้แต่ เป็นสมณะนี่ ที่เขาศรัทธา เลื่อมใส เขาไม่ไปถามหรอกฆราวาส เขาอยาก จะมาหาสมณะนี่แนะนำ เขาไม่ศรัทธาฆราวาสหรอก แม้แต่ คุณจะเป็นฆราวาส คุณก็มีภูมิธรรมดี เขาก็ยังไม่เชื่อเท่าหรอก จะมาหาสมณะ สมณะก็ไม่รู้เลย การงานอาชีพอะไรก็ไม่รู้เรื่อง บรรยายก็ไม่ได้ มันก็ช่วยอะไรกันน้อย ช่วยอะไรกันก็ไม่ได้มากพอ เพราะฉะนั้น จึงต้องรู้จักอาชีพ สนใจในอาชีพ เรียนรู้ หรือ ลงมือ ทำได้ ก็ทำ สิ่งใดไม่ขัดกับวินัย เราก็เรียนรู้ เราก็ซักซ้อม เราก็กระทำ พอสมควร

อันไหนที่ขัดกับพระวินัยหรือว่าโลกวัชชะเกินไป เราก็ไม่เอา บางอย่างไม่ ในธรรมวินัยหรอก แต่ว่าเป็น โลกวัชชะ เพราะว่าในโลกนี้ มันพึ่งเกิดใหม่ เช่น อาชีพโชเฟอร์ อย่างนี้เป็นต้น อาตมาทำได้นะ อาชีพ โชเฟอร์ ขับรถเป็น แต่ไม่ได้หรอก โลกวัชชะ ไปขับรถไม่ได้หรอก อาชีพโชเฟอร์นี่ไม่ได้ สมัยพระพุทธเจ้า ไม่ได้ออกวินัยไว้ว่า ห้ามขับรถ ไม่มี เพราะยังไม่มีรถให้ขับ นี่ยกตัวอย่างเป็นต้น เราก็ไม่ทำ แต่เครื่องยนต์ เครื่องกลบางอย่างน่ะ ทำได้ไหม ได้ ก็ทำในส่วนสัด ที่เราทำได้ ไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นอย่างนั้น เป็นเครื่องยนต์ เครื่องกล เหมือนกัน ขับคอมพิวเตอร์ได้ไหม ขับได้ ขับคอมพิวเตอร์ มานั่งขับ เดี๋ยวนี้ คนพวกเรา ก็นั่งขับคอมพิวเตอร์ เยอะ นี่อยู่ในห้อง คอมพิวเตอร์ มันไม่ต้อง ไปวุ่นวายอะไรกับใคร เราก็ทำอยู่นี่ ไม่เป็นพิษ เป็นภัย กับใคร เราก็ขับ คอมพิวเตอร์ ก็แค่แตะตรงนั้น แตะตรงนี้แค่นั้น ปุ่มมันง่ายกว่าขับรถ

ขับรถนี่มันหลายปุ่ม แล้วก็ออกไปวิ่ง ไปที่ไหนก็ไม่รู้ อะไรก็ไม่รู้ ไปทำ ดีไม่ดีไปขับชนคนตายก็ได้ เขาก็เลย นี่แหละ เขาเอาโลกวัชชะ ก็คือว่า อย่าขับเลย ขับรถยนต์นี่ คนเขาถึงถามว่า แล้วขี่จักรยานได้ไหม พระ ไอ้จักรยานไปชนคนตายนี่น้อยนะ ไปชนหมาตาย ก็คงยากเหมือนกันละนะ ขี่จักรยาน เพราะฉะนั้น ก็ไม่เท่าไหร่ แล้วพายเรือล่ะ โอ๊ย! พายเรือไม่ชนปลาตายหรอก พายได้ เพราะฉะนั้น พระพายเรือ ไม่เป็น โลกวัชชะ แต่พระขับเรือล่ะ โอ้โห! ถ้าขับเรือหางยาวนี่ คนตายเหมือนกันนะ แต่พายเรือนี่ คงไม่ตาย ขับเรือหางยางนี่ คนตายเหมือนกัน นะ ก็เป็นโลกวัชชะได้ เพราะฉะนั้น พระก็ไม่ควรขับเรือหางยาว พระก็ไม่ควรขับรถมอเตอร์ไซด์ เพราะมันเร็ว มันแรง พระก็ไม่ควรขับรถยนต์ มันเร็ว มันแรง ตายได้นะ อะไรอย่างนี้เป็นต้น นี่ก็ความหมาย ที่มันถึงขั้นจะเกิดพิษ เกิดภัย พระไม่ควร ไปถึงขั้นนั้น ดีไม่ดีตาย แล้วปาราชิกด้วยนะ ไปทำคนตายนี่ ไม่ดี อะไรอย่างนี้ เป็นต้น

นี่ก็วิเคราะห์วิจัยให้ฟังว่า เรื่องการงาน เรื่องอาชีพ เรื่องกรรมกิริยา อะไรต่างๆนานา มันเกิดใหม่ มันไม่ใช่ ยุคกาลสมัยพระพุทธเจ้า หลายอย่างต้องเรียนรู้ รู้จักสัมมาอาชีพ รู้จักสัมมากัมมันตะ ที่เราจะต้องรู้ อันไหน ควรทำ ก็ทำ ทำได้แล้ว จะสอนคนอื่น แนะนำคนอื่น ได้ด้วย ก็ยิ่งดี อย่างนี้เป็นต้น โดยเฉพาะ ที่อาตมาวิเคราะห์วิจัย เรื่องจิต ให้ฟังว่า มันเป็นแบบฝึกหัดในหมู่พวกเรานี่ สิ่งแวดล้อมเป็นทั้งสิ้น ของพรหมจรรย์นี่ อย่านึกว่ามาอยู่ที่นี่แล้วเรารู้ดี บางทีกระทบ สัมผัส ไม่แก้ไขนิสัยของตัวเองหรอก แล้วก็ไม่มองคนอื่น มีแต่ อัตตามานะ ที่ วิเคราะห์ไปนี่ คือ อัตตามานะ จะขี้เกียจก็คือ อัตตามานะ จะเบ่ง ข่มคนอื่น แล้วไม่ดูตน ก็อัตตามานะ เพราะฉะนั้น ตรวจตน จะกระทบสัมผัส กับพวกเรา แม้จะเป็นศัตรู เป็นเวรกรรมกันมา ตั้งแต่ปางไหนๆ ก็ตาม หรือไม่เวรกรรมหรอก ปางนี้ก็ตาม สิ่งเหล่านี้เกิดจริง ไม่ใช่ ลิเก ไม่ใช่ ละคร ไม่ใช่ หนัง ไม่ใช่สิ่งที่เสแสร้ง สร้าง

อาตมาไม่เชื่อว่า พวกเรามาอยู่ด้วยกันในที่นี้ แล้วปรารถนาร้ายต่อกัน แต่กิเลสมันพาร้ายได้ เชื่อว่า ไม่ปรารถนาร้ายหรอก แต่กิเลสที่เราไม่รู้ตัวนี่แหละ เราเอาความชอบใจ ไม่ชอบใจ ก็เอาไป ผนวกใน กรรมกิริยา เกินไป จะพูดก็ดี จะท้วงจะติงกันก็ดี จะว่า จะกล่าว อะไรกันก็ดี เอาความชอบ ไม่ชอบ มาเป็น เหตุปัจจัย ไม่ชอบขี้หน้ามัน ไอ้นี่ แทนที่จะว่านิดเดียว ว่าเสียเยอะ มันเกินไป แล้วมันสมควรว่าไหม ถ้าเขาไม่เคารพนับถือเรา แม้เราจะแก่จะเฒ่า อย่าไปว่าเขาเลย ว่าแล้วมันชังกันเปล่าๆ อยู่กันอย่าง สามัคคี ดีกว่า ให้คนอื่น เป็นคน ติเตือนเขา เป็นคนท้วงติง เป็นคนสอนเขา คนนี้ อย่าไปสอนเขาเลย เรานี่แหละ เขาไม่ชอบหน้าเรา เขาไม่นับถือเรา เราไปสอนเขา ก็มีแต่ทะเลาะวิวาท ไม่สามัคคี เราก็ไม่ต้องสอน ไม่ใช่เอาความชัง ไม่ชอบหน้า ยิ่งเรารู้ตัวว่า เราไม่ชอบหน้าเขานี่ ระวัง ประเดี๋ยว มันไปว่าเขา ก็ว่าเกินไป แล้วก็เลยต่างก็ ทะเลาะวิวาทกัน เข้าไปเรื่อย

เราจะต้องเตือนเราให้ดี คนอายุมาก คนแก่ หรือคนที่ ถือว่าตัวเองเหนือ เป็นสมณะ เป็นนักบวชนี่ แหม! ไปจี้เขาได้ เพราะเขาให้เกียรติ เขาให้ฐานะ เราก็ใส่ใหญ่เลย ระวัง บางคนเขาไม่ได้ศรัทธาเราเลย ถ้าเขาไม่ได้ศรัทธาแล้ว จะเป็นสมณะก็ตาม อย่าไปสอนเขา บอกคนอื่น ให้ฆราวาส โน่น ไปสอนเขาก็ได้ บางคน ตัวเราเองเป็นสมณะนี่ สอนเขาไม่ได้ เพราะเขาไม่ศรัทธา แต่ฆราวาสบางคน เขาสอนได้ บอกเขา ฆราวาสนี่ สอนได้ หรือ บอกสิกขมาตุ หรือ บอกคนอื่น ที่เขาศรัทธา เราเองเราไม่ชอบใจ ยิ่งไม่ชอบใจ ยิ่งต้องระวังมากเลยว่า เราจะสอนเขายาก ถ้าเราไม่ชอบใจใครนี่ สอนเขายาก ฉันเดียวกัน ถ้าเรา ไม่ชอบใจใคร เขาก็ต้องไม่ชอบใจเราเหมือนกัน แล้วจะไป สอนกันได้หรือ ใช่ไหม ยิ่งเป็นเวรานุเวร มาแต่ปางไหน อ้าว! นี่มัน โกรธกันมาตั้งหลายปางแล้วนี่ มันจะไปสอนกันได้ที่ไหน เพราะฉะนั้น เจอกันไม่ได้ ศรศิลป์ ไม่กินกันเลย แรง แล้วอย่าไปสอนเขา เราเกลียด เราชังใคร หรือเราไม่ชอบใจใคร มากๆ นั่นละ ตัวชัดเลย อย่าสอนกัน ถ้าไม่ชอบใจใครแล้ว อย่าสอนกัน

สรุปตรงนี้ ให้ฟังชัดๆ ก่อนอื่นเอาประเด็นนี้ไปเลย บอก โอ๊!นี่ เราไม่ชอบใจ คนนี้ ไม่ชอบใจ อย่าสอนเขา ต้องมีเมตตากัน บอก เอ้อ! ควรจะเมตตา นะคนนี้ เวลาไม่ชอบนี่ ควรเมตตา ทำอย่างไร เราจะเป็นมิตร กันได้ ประสานกันได้ แล้วไปให้คนอื่นเขาช่วย ถ้าเราจะปรารถนาดี แต่ไม่ใช่ฟ้อง ไม่ใช่ใส่ไข่นะ ไปให้คนนั้นสอน สอน ก็ใส่ไข่ใหญ่เลย โอ! หาเรื่องหาราว นั่นเรียกว่า ส่อเสียด ผิดศีลข้อวาจา วจีกรรม ส่อเสียด ไปเอาความจริงไม่จริงอะไร ไม่จริง ก็ไปใส่ให้เขา คนนี้จะได้ไปใส่ ไปว่าคนนี้ ไปกล่าวคนนี้ ระวังอีกเหมือนกัน ไม่ อย่างนั้น มันส่อเสียด เพราะไม่ชอบนี่ เหตุปัจจัย คือไม่ค่อยชอบใจ นี่ มันจะมัก จะส่อเสียดเรื่อย มักจะหาเรื่องที่มันเกินจริง ใส่ไข่ ๘ ฟอง ๑๐ ฟอง ให้แก่เขาไป ส่วนไม่ดี เพราะจะติเตียน ก็ต้องไปบอกส่วนไม่ดี ใช่ไหม เพราะฉะนั้น ไปบอกส่วนไม่ดีของเขา อย่างประมาณ อย่าให้เกินจริง เกินจริง คุณผิดวจีกรรม เป็นทุจริต ทุจริตวจีกรรมนะ ได้บาปนะ ได้บาปนะ คุณทุจริตวจีกรรม พูดไม่ตรง ความจริง ไปหาเรื่องเขามากเกินควร ไปบอกคนนั้น คนนี้ ให้ไปสอนคนนั้นหน่อย แต่ไปบอกใส่ไข่ ไปให้ข้อมูล ผิดพลาด ให้ข้อมูลเกินไป ระวัง

เอาละ เกินเวลามาแล้ว วันนี้ ก็ของจบลงไปดื้อๆ แค่นี้

สาธุ


ถอดโดย ประสิทธิ์ ฝ่ายทอง
ตรวจทาน ๑ โดย อุทัยวรรณ ตั้งมั่นสกุล ๑๑ ต.ค.๓๔
พิมพ์โดย อนงค์ศรี ๘ พ.ย.๓๔
ตรวจทาน ๒ โดย สม.ปราณี ๙ พ.ย.๓๔