คำที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก
โดย พ่อท่าน สมณะโพธิรักษ์
เมื่อ วันที่ ๒๓ ตุลาคม ๒๕๓๔
ณ พุทธสถาน ปฐมอโศก

วันออกพรรษา ที่จริงอาตมาอยากให้เข้าต่อไปหนะ จะออกไปทำไมเล่า ก็เข้าต่อไป ก็ทำยังงี้ มันก็ดีแล้ว ได้โน่นได้นี่ดี แป๊บเดียว สามเดือนแล้ว แป๊บเดียว ยังไม่ทันได้อะไรเท่าไรเลย แต่มันก็ดีนะ มันได้อะไร ขึ้นมา พอสมควรเลย แม้แต่เราปฏิบัติธรรม เราได้กระทบสัมผัสกันต่างๆ นานา เพราะว่า อยู่กันแน่นขึ้นมา ก็กระทบสัมผัสกันมากขึ้น หลายคนหลายจริต ต่างจริตกันต่างๆ นานา นี้มันก็นั่นแหละ การกระทบ มันก็เป็นธรรมชาติ เป็นธรรมดา เวลามารวมกันเข้า เวลาประชุม หลายคน ก็มีหลายเสียง หลายความเห็น แล้วก็มันก็มีทั้งบุญเก่า บุญใหม่ บาปใหม่ บาปเก่า ด้วยหนา บางทีจองเวรมากันหลายชาติ พูดกันยังไง ออกมา ก็ไม่ค่อยเข้าหูกัน พอเจอกันชาตินี้ ทั้งๆที่ว่า มันก็ไม่ได้อะไรกันมากนะ พูดก็ไม่ค่อยเข้าหูกัน ไอ้เข้าหูกัน บุญไป ไอ้ที่ไม่ค่อยเข้าหูกันก็ เอ้า ก็ว่ากันไปยังงั้นแหละ มันเป็นธรรมดาธรรมชาติ ของกรรม ของวิบากด้วย ของสัจจะความจริง แม้แต่อดีต ปัจจุบันมันก็มาเกี่ยวข้องกันอยู่ยังงี้แหละ มันก็ได้อะไร ต่ออะไรไปก็ดีนา

เอ้า ไหว้พระกันซักหน่อย ดีกว่ามั้ง ให้มันเป็นพิธีบ้างหนอ แล้วจะได้ตั้งใจฟังธรรมะ แล้วถ้าเรา เป็นคนมี บุญบารมี ที่เอนเอียงไปข้างธรรมะ มันจะพยายามปรับปรุงตัวเราเอง ไปในฝ่ายธรรม ไปในฝ่ายกุศลเสมอ แต่ถ้าเราปล่อยปละละเลย ไม่เป็นไปตามที่ว่า นี่คือไม่มีสติ ให้รู้ตัวว่า เราเองนี่ เรารู้ตัวเองดีๆ พอเวลา เราไม่มีสติ มันจะไปกับกิเลส มันจะไปกับความเคยชิน ไปกับสิ่งเดิมๆ เก่าๆ ที่เราต้องการแก้ไขนี่ มันจะแก้ไขไม่ได้ แล้วมันก็จะไปอยู่งั้นแหละ เผลอมันก็ ไปเรื่อยๆ เพราะฉะนั้น เรื่องสติจึงเป็นตัวแรก เป็นตัวนำ ที่เราจะต้องให้มี ให้รู้สึกตัว ให้รู้ว่าเราเอง เรากำลังอยู่ในวาระอะไร กำลังทำอะไร พิจารณา กาย วาจา ใจ มีธัมมวิจัยสัมโพชฌงค์ มีสติสัมโพชฌงค์ มีวิริยะความเพียร เพียรที่จะพยายามรู้จริงๆเลย แล้วก็วิจัยให้ออก วิจัยอะไรเป็นธรรม อะไรไม่เป็นธรรม อะไรมันดีไม่ดี เราต้องวิจัยเสมอจริงๆ แม้แต่จะทำ อะไรเล็กๆน้อยๆ ก็ตาม เพราะงั้น แม้แต่จะไหว้พระ จะกล่าว คำไหว้พระ กล่าวนำ กล่าวทำอะไรก็ตาม หรือแม้แต่นั่งฟังต่อไป ในเวลานั่งฟังต่อไป ก็รู้ตัวให้ได้ พยายาม ที่จะปรับตัวเอง ให้มันได้ผลไป ในทาง สัมมา หรือทางเจริญให้ได้จริงๆนา เอ้า ตั้งใจกล่าว


 

เจริญธรรม ญาติโยมทั้งหลาย วันนี้เป็นวันออกพรรษา ก็มาพูดถึงหัวใจอันหนึ่งของ ศาสนาพุทธเรา ดีๆ ขึ้นมาอีกหน่อย เป็นคำเก่า เป็นเรื่องที่พวกคุณรู้แล้ว ได้เคยได้ยินมาแล้ว แต่ก็จะต้องรู้ต่อไป แล้วจะต้อง วิจัยวิเคราะห์ และจะต้องศึกษาจุดนี้แหละ ต่อไปอีก หัวใจที่ว่านั้นก็คือ ความพอดี ความพอเหมาะ หรือ มัชฌิมาปฏิปทา มัชฌิมาปฏิปทา นี่เป็นคำที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งคนเราจะทำให้มัชฌิมา ให้พอดี ปานกลาง ให้พอเหมาะได้นี่นะ มันไม่ง่ายเลย เป็นความลึกซึ้ง ละเอียดมากมายจริงๆ เพราะฉะนั้น การศึกษาทุกวันนี้ คนเราไม่เข้าใจว่า อันนี้เป็นความสำคัญ เขาก็นึกว่าง่ายๆ มัชฌิมาปฏิปทา ก็เข้าใจกัน นะ เข้าใจแล้วก็ตาม ที่ความเข้าใจของตัวเอง แล้วก็เอาไปทำ ก็นึกว่าเรานี่ทำทะลุแล้ว สูงสุดแล้ว สมบูรณ์แล้ว ถูกมัชฌิมาแล้ว จริงๆ ก็ถูกนะ ถูกตามภูมิ ตามฐานะ ฐานะต่ำๆ เตี้ยๆแค่นั้น มันก็แค่นั้น แหละ ก็มัชฌิมาตามอำนาจกิเลส เป็นตัวตัดสินของตนเอง ปัญญาของตนเอง ลึกซึ้งเท่าไหร่ ก็จะมี ความรู้อยู่ และ อำนาจของจิตแข็งแรงเท่าไร กิเลสมันเป็นเจ้าเรือน เท่าไหร่ มันต่อสู้กัน อำนาจของจิต มีเท่านี้ กิเลสแข็งเท่านี้ ถ้ากิเลสแข็งแรง มาก อำนาจจิตสู้ไม่ได้ แม้ปัญญาจะรู้ว่า ยังนี้ถูก ยังนี้ดี เวลา ตัดสินแล้ว ว่าเอาทางนี้เถอะ เราเอาแค่นี้แหละนะ ทำขนาดนี้แล้ว เราก็ว่าพอดีๆ มันก็ตัดสินให้แก่ตัวเอง เข้าข้างกิเลส เพราะกิเลสมันมีอำนาจ แล้วเราก็ว่านั่นแหละ มัชฌิมาของเรา เจ้าตัวกิเลส มันเป็นตัว กรรมการ มันเป็นกรรมการตกลง ตัดสินให้คะแนนว่าเอาอีก อย่างนี้ก็แล้วกัน มันมีอำนาจนี่ กิเลสมีอำนาจ เราก็ได้เท่าของเรา คนไหนที่มีอำนาจทางจิต มีอินทรีย์พละ ชนะกิเลสได้เก่งๆ ก็จะมัชฌิมาตามความจริง ของผู้นั้น เพราะเอาชนะกิเลสได้ มีอำนาจเหนือกิเลสได้ ก็จะชนะได้มากขึ้นๆ การตัดสินก็จะทำได้ ตามที่อำนาจของจิต มันแข็งกว่ากิเลส และ มีความรู้ ความลึกซึ้ง จะถูกทาง จะถูกตรงๆ หรือเบี้ยวๆ เอียงๆ เพี้ยนๆ อะไร ก็ตามแต่ความจริงของแต่ละคน ที่มีปัญญารู้ตรง รู้ตรงๆ รู้ใกล้เคียง หรือว่ารู้จริง รู้ชัดอะไรต่างๆ พวกนี้ มีมาก มีน้อยเท่าไหร่ มันก็จะเป็นความจริง ที่เราจะเป็นไป ตามอำนาจของเรา อำนาจของปัญญา ปัญญินทรีย์ หรืออำนาจของ ตัวกำลังของจิต กำลังของจิตที่มันจะแข็ง มันจะแรง จะสู้กะกิเลสอย่างที่กล่าวไปแล้ว มันก็จะตัดสินเอา เพราะฉะนั้น มัชฌิมาของแต่ละคนๆ จึงเป็นมัชฌิมา ที่จะว่าถูกก็ถูก ถูกสำหรับแต่ละคน แต่ถ้าเผื่อว่า อำนาจกิเลสมาก มันก็ถูกอย่างกิเลสมาก มันก็ไม่ เจริญอยู่นั่นแหละ ถูกๆของเขา

แต่ทีนี้ จะให้ถูกจริงๆพระพุทธเจ้าท่านถึงได้ตรัสเป็นคำ เป็นภาษาที่ชัดเจน อาตมาว่า ชัดเจนนะ ต้องตั้งตน อยู่บนความลำบาก กุศลธรรมจึงจะเจริญยิ่ง นี่ภาษาที่พระพุทธเจ้า ท่านตรัสนี่ ลำบาก มันก็คือว่า เราเองจะเก็งจะกะการ ปฏิบัติประพฤติของเรา ก็จะต้อง มีบทปฏิบัติที่จะได้ขัดเกลา ตั้งตน อยู่บนความลำบาก จริงๆ ไม่ใช่ตามใจเป็น ยถาสุขัง ไม่ใช่ เพราะอำนาจกิเลสมันจะสมใจ มันจะพอใจ มันจะทำขนาดที่เรียกว่า มันไม่ต้องฝืน ต้องทน ไม่มีธรรมะ ไม่มีขันติอะไรมากหรอก แล้วเขาก็บอกว่า มัชฌิมา หรือความพอดี ปานกลางนี่ ก็คืออย่างนั้นแหละ ไม่ต้องอดต้องทน ต้องฝืน อะไรหรอก จะอด จะฝืนมากๆ ก็หาว่าทรมานตน ยิ่งไม่เข้าใจอย่างที่อาตมาพูดนี่เลย แล้วยถาสุขัง ของเขายิ่งมีค่า คือ บำเรอความสุข บำเรอตัวอยู่ไปปฏิบัติธรรม ก็อย่างบำเรอ แม้แต่เป็นนักบวช มาบวช เป็นภิกษุแล้วก็ตาม ก็ยังอยู่อย่างบำเรอ วันๆคืนๆ ก็กินๆนอนๆ พากเพียร ก็พากเพียรสิ่งที่จะได้ ลาภยศ สรรเสริญ ทำอะไร ต่ออะไรก็ไปอย่างที่กิเลส โดยที่ตัวเอง เป็นทาสของโลกียะ เป็นทาสของลาภ ยศ สรรเสริญ อะไรอยู่ ก็ไม่รู้ตัว แม้มาบวชแล้ว เป็นภิกษุแล้วก็ตาม แล้วก็ตัดสินว่า เราทำอย่างนี้นะถูกแล้ว เป็นมัชฌิมาแล้ว ทั้งๆที่ตัวหลักใหญ่ ของศาสนาพระพุทธเจ้า ที่เป็นเนื้อหาแก่นแท้ นั่นคือ โลกุตระ จะต้องเรียนรู้ โลกียะ กับโลกุตระ

โลกธรรม หรือ ลาภ ยศ สรรเสริญ โลกียสุขนี่แหละ มันสุข มันทุกข์อยู่ที่สมใจในลาภ สมใจในยศ สมใจ ในสรรเสริญ สมใจในสิ่งที่มาได้รับสัมผัส แตะต้อง ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย แม้แต่ใจที่เป็นภพของใจ เป็นภวังค์ เป็นภวตัณหาของใจ มันได้สมใจ เหมาะใจ มันถูกต้องกับที่เราชอบ มันก็สบาย มันก็เป็นสุข มันก็ง่าย แล้วเราก็ขี้มักจะตัดสิน ให้มันเป็นความสุข หรือตัดสินให้เป็น ยถาสุขัง เป็นความเอร็ดอร่อย สมใจ ซึ่งไม่ค่อยรู้ ความจริง ไม่ค่อยเข้าใจว่า ตั้งตนอยู่บนความลำบากนั้นน่ะ เป็นภาคปฏิบัติ อันนี้ เขาไม่รู้กันจริงๆเลยนะ พวกเรานี่เข้าใจบ้าง และเข้าใจมากขึ้นแล้ว มีผู้ที่เคร่งครัด พากเพียร ปฏิบัติ เหมือนกัน ในธรรมะของศาสนาพระพุทธเจ้า นี่ มี เคร่งครัด พากเพียร แล้วก็ถือว่า การปฏิบัตินั้น ก็คือ การทำสมถะ ทำให้จิตสงบโดยการสะกดจิต ทำสมาธิสะกดจิต แล้วเขาก็บอกว่า นั่นแหละ ตั้งตนอยู่ บนความลำบาก คืออันนั้นแหละ อันที่พยายามที่จะไม่ไป คลุกคลีเกี่ยวข้อง ไม่ไปรับรู้อะไร มันยากน่ะ มันทรมานเหมือนกันน่ะ มันตั้งตนอยู่บนความลำบากเหมือนกันนะ มันยากนะ ไม่ไปคลุกคลีเกี่ยวข้อง ไม่ไปวุ่นไปวายอะไรนี่ก็ยาก สิ่งเหล่านี้ เราต้องเรียนรู้ แล้วเราก็ต้อง มีเหมือนกัน ไม่ต้องไปเกี่ยวข้อง อะไรต่ออะไร ก็มีเหมือนกัน ถ้าเรารู้ว่า ไอ้ที่เราจะไปเกี่ยวข้อง ถ้าไปเกี่ยวเข้าแล้ว เราไม่เป็นโลกุตระจิต จิตของเรามันไม่เหนือ มันไม่สูง มันสู้ไม่ได้ เราต้องพรากไม้ที่ชุ่มด้วยยาง ออกจากน้ำก่อน เราก็ต้อง พรากออกมา นั่นก็จริง จริง

แต่ถ้าเผื่อว่าเราคิดว่า เราเอง เราไม่ต้องพรากหรอก อันนี้นะ เราสัมผัสอยู่ได้ แล้วเราก็มีสติสัมปชัญญะ มี ธัมมะวิจัย แล้วก็พยายาม ทำแบบฝึกหัดแท้ ที่มีของจริงของแท้ ไม่ใช่ไป นั่งหลับตา ด้นเดาเอา ทั้งๆที่ ด้นเดาเอา ในตอนหลับตา นี่ไม่มีการรับรู้ความจริง ไม่เกิดญาณทัสนะ เกิดแต่ความเฉลียวฉลาด ชนิดหนึ่ง ในสมาธินั่งหลับตานี่ ความเฉลียวฉลาดนั้นคืออะไร ความเฉลียว ฉลาดนั่นคือ การผกผัน ความรู้ตรรกศาสตร์ อยู่ในภวังค์ พอจิตมันจากกิเลส เพราะเรากดข่ม ย่อมให้ กิเลสนิวรณ์ ระงับชั่วคราว เมื่อกิเลสนิวรณ์ ถูกกดข่ม ระงับชั่วคราว จิตมันก็ผ่องใสดี จิตผ่องใสดี จะนึกจะคิด จะตรรกะ จะนึกเหตุ นึกผล จะทบทวน จะโน้นจะนี้ มันก็มีความเป็นไปได้ดี เพราะไม่มี ตัวกวน ไม่มีกิเลสเข้ามากวน ไม่ต้องวุ่น ต้องวาย ไม่ต้องไปใช้พลังงาน ไม่ต้องไปอะไรต่ออะไร ไปอย่างนั้นมัน มันก็มีพลังเยอะ พลังนี้ก็มาขบคิด คิดได้ดี ได้ลึก เพราะพลังของจิต มันมีประสิทธิภาพ เราไม่เคยคิดได้ ลึกซึ้งขนาดนั้น เราก็จะคิดได้ลึกซึ้ง พอคิดได้ลึกซึ้ง มันก็เป็นตรรกะศาสตร์ อยู่นั่นแหละ เขาก็นึกว่า นี่แหละ คือปัญญา คือญาณ แล้วมัน ก็แปลกนะ แล้วมันก็ลึกซึ้งได้ เพราะมันมีอำนาจทางคิด มีอำนาจทางตรวจสอบ ไตร่ตรอง อะไรนี่ ได้ ละเอียดลึกซึ้ง เพราะมันมีพลัง เพราะจิตไม่ถูกกิเลสกวน ก็เอาพลังจิตมาใช้ได้เยอะ เมื่อเอามาใช้ได้เยอะ ก็ผกผันนึกคิดไป ไม่ได้สัมผัสกับความจริง ตามความเป็นจริงน่ะ ไม่ได้สัมผัสกับรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ลาภ ยศ สรรเสริญ โลกียสุข หรือผู้คน ข้าวของอะไร

นี่ไม่ได้สัมผัสหรอก แต่คิดอยู่ในภวังค์ ระลึกเอา ไอ้ตัวระลึกมาน่ะ ไม่ใช่ความจริง แม้คุณ จะไประลึก ถึงเรื่องราว เป็นบุพเพนิวาสานุสติ ระลึกเรื่องอดีต ระลึกเรื่องที่ผ่านมา มันก็ไม่ใช่ความจริง ร้อยเปอร์เซ็นต์ ไม่ใช่ความจริงทีเดียว จริง อาจจะนึกถึง เรื่องที่เกิดจริงๆกับเรา แล้วเราก็ไป ท้าวความถึงความจริง อย่างนั้นแล้ว ก็มีปัญญา ที่จะระลึกถึงความจริงอันนั้นแล้ว กระทบสัมผัสแล้ว ก็เกิดกิเลสยังไง ในภาวะนั้น เราได้ลด ได้ละกิเลสไหม สู้กิเลสได้ไหม หรือว่าเราเสียท่ากับกิเลส เอาเรื่องเหล่านั้น มาคิดนึก ก็เกิดญาณรู้เหมือนกัน แต่ไม่ใช่ญาณรู้ประเภท ปัจจุบันธรรม ที่เรียกว่า วิปัสสนา อันนี้เป็นแต่เพียง การรู้จากเตวิชโช การรู้จากการระลึก ของที่เกิดแล้ว เป็นแล้ว อดีตเอามาทบทวน ทบทวน ไตร่ตรอง วิจัยรู้ มันก็เกิดความรู้เหมือนกัน แต่รู้สิ่งที่เป็นแล้ว เกิดแล้ว ไม่ใช่ปัจจุบัน ไม่ใช่เกิดเดี๋ยวนี้ เป็นเดี๋ยวนี้ ปัจจุบัน เดี๋ยวนี้ รู้ของจริง ตามความเป็นจริงเดี๋ยวนี้ ไอ้นั้นก็จริงเหมือนกัน อดีตที่เราระลึกถึงของจริง แต่เป็นของจริง ที่เอาสัญญา เอาของเก่าที่ระลึกความจำมาอีกที ไม่ใช่เหตุการณ์ ปัจจุบันๆ ไม่ใช่ของสด มีส่วนจริงบ้าง แต่ไม่ใช่ได้มาทั้งหมดๆ เพราะว่ามันเอาของเก่า มันเก็บของเก่ามา มันไม่ได้หมดหรอก มันหล่นๆร่วงๆ ลืมๆเพี้ยนๆ เพราะ สัญญาไม่เที่ยง ความจำนี่ไม่เที่ยง เราเอาความจำไประลึกย้อนแล้ว ก็เก็บ มาๆๆ ไตร่ตรองนึกคิด ทบทวนอะไร ก็ตามใจเถอะ มันไม่ได้หมดหรอก แม้คุณจะจำได้ดีก็เถอะ เอาละ ได้มากขนาดไหนก็ตาม ก็คือได้ มันจะไม่ตรงกับในปัจจุบันธรรม แม้วิปัสสนา ท่านถึงบอกว่า เป็นเรื่องของปัจจุบันธรรมด้วย อันนี้ก็สมถะ แต่ก็ได้บอกแล้วว่า ได้ปัญญา ได้ความเฉลียวฉลาด หรือได้รู้ แต่ไม่ใช่รู้ของจริง ตามความเป็นจริง ๑๐๐% ไม่ใช่รู้ของจริงตามความเป็นจริง ๑๐๐% มันแต่เพียงว่า เอาอดีตมานึกคิด มารู้

ทีนี้ ความรู้ผกผันนั้นๆๆๆ เราจะตัดกิเลส ก็ไม่ได้ ตัดกิเลสตอนนี้ ถ้าเอาอดีตมาพูด ไประลึกถึงตอนโน้น มันเกิดสัมผัสแตะต้องแล้ว เกิดกิเลสแล้ว แล้วเราสู้ได้ หรือไม่ได้ ก็เอามาทบทวน มันก็ได้รู้ อันนั้นเท่านั้น เราจะมาตัดอีก เหตุการณ์ก็แล้วมาแล้ว ไอ้ตอนนั้น ไม่ได้ตัด จะมาตัดตอนนี้ เอ้า ก็ตัด ถ้าคุณเอง คุณรู้กิเลส จะลดจะละ ในขณะ ที่นั่งอยู่นี่ นั่งเป็นสมาธิแล้วก็ระลึก เอาจิตระลึกจิตนั้นก็ ก็ระลึกถึง เหตุการณ์นั้นก็ แล้วก็รู้เห็นว่า เออ กิเลสเรายังอยู่นะ กิเลสเรายังไม่บางจางคลาย กิเลสยังไม่ลด ก็ตั้งใจ จะลด ก็เป็นความตั้งใจในปัจจุบันนี้ คุณตั้งใจแล้ว คุณก็ทำให้ได้อีก คุณทำปัจจุบันใด เมื่อใด นั่นแหละ เมื่อเวลากระทบ สัมผัสกิเลสเกิดจริง เป็นปัจจุบัน เมื่อกิเลสเกิดจริง เป็นปัจจุบันน่ะ แล้วคุณ ก็ลด แล้วมันเป็นเหตุการณ์คล้ายๆ กับที่เรา ได้ระลึกย้อน เอาปุพเพนิวาสานุสติ ระลึกย้อนเรื่องนั้นมา อ้อ อันนี้ คล้ายกัน เรื่องนี้ เรา มันเกิดจริงแล้ว คุณปฏิบัติ ตอนที่กำลังปฏิบัตินั่นเป็นวิปัสสนา เป็นวิปัสสนาธุระ และเมื่อเกิดรู้ เห็นแจ้ง ขณะจริงแล้ว ว่าลดได้จริง หรือไม่จริง ในปัจจุบันน่ะ เรียกว่า วิปัสสนาญาณ นั่นแหละญาณวิปัสสนาแท้ๆ ส่วนญาณที่ระลึกของเก่ามารู้ นั่นน่ะ มันเป็น ปุพเพนิวาสานุสติญาณ ก็เป็นวิชชาหนึ่งเหมือนกัน แต่ไม่ใช่วิปัสสนาญาณ วิปัสสนาญาณ มันตัว พอเป็นฌาณ ก็เป็น วิปัสสนาญาณ เป็นมโนมยิทธิ เป็นอิทธิวิธี นั่นหนะ มันเป็นตัวต้นๆ เป็นตัวที่ต้นนี่ ไม่ได้หมายความว่า ตื้นๆน่ะ วิปัสสนาญาณ นี่ไม่ได้หมายความว่าตื้นน่ะ

ทีนี้ผู้ใด รู้จักหลักพิเศษที่กล่าวไปแล้วนี้ว่า เราจะทำปัจจุบันธรรม ทำอะไรต่ออะไรได้ดี ก็จะเข้าใจว่า อ้อ ปฏิบัติธรรมของพระพุทธเจ้า นี่ปฏิบัติทุกขณะที่เป็นปัจจุบัน เมื่อปฏิบัติทุกขณะ ที่เป็นปัจจุบัน มันก็จะได้ ผลที่จริงๆ จะต้องทำให้ตัวเองมีปัญญา มีสติสัมปชัญญะ มีธัมมวิจัย มีความเพียรที่จะพยายามให้รู้ ให้รู้ตัว แล้วก็วิจัยกิเลสตัณหา อะไรต่างๆ นานา ให้ชัด แล้วก็มีวิธี จะใช้สมถะภาวนา จะใช้วิปัสสนา ภาวนา อะไรก็ตามเถอะ ทำให้มันลด ให้ได้จริงๆ คุณเก่ง ยังไง ก็ทำให้ลด ให้ได้จริงๆ นั่นแหละ จะเป็นวิธี การปฏิบัติในปัจจุบัน มีผัสสะเป็นปัจจัย ลืมตายิ่งดี บอกแล้ว ไปนั่งหลับตาระลึกนั้น มันไม่ได้จริงทีเดียว มันมีส่วนที่จะในอุปการะ แล้วก็เป็น ญาณชนิดหนึ่ง เป็นญาณได้เหมือนกัน เป็นปุพเพนิวาสานุสติญาณ รู้ความเกิด ที่เอามาระลึก รู้ความดับ ที่เอามาระลึกก็ดี... ถ้าคุณรู้ ความเกิดความดับ นี่แม้แต่ เอามา ระลึกว่า มันเคยเกิดแล้ว มันก็เคยดับ หรือดับได้ หรือไม่ได้ คุณเอาสิ่งนั้น มาทบทวน เอาของเก่า ของอดีต มาทบทวน เป็นไปแต่สมมติสัจจะ ไม่ใช่ปรมัตถสัจจะ ที่เป็นปัจจุบันธรรม ก็ได้ ก็ได้รู้ เสร็จแล้ว อันนั้น จะได้ช่วยให้เราได้เข้าใจเพิ่มขึ้น ได้มีเหตุผลข้อมูล อะไรต่างๆ นานามากขึ้น เราก็จะเอาความรู้ ความเข้าใจนี้ ไปใช้ประกอบกับตัวเอง เมื่อเกิดปัจจุบันเมื่อไร มีการกระทบสัมผัสกับปัจจุบันเมื่อไรอีก ไอ้ที่เราได้เล่าเรียนมานั้น มันเหมือนตำรา มันเหมือนความรู้ที่จะเอามาเป็นอาวุธ สำหรับ ไว้ใช้เสริม เติมต่อไป มันก็เป็นอุปการะกันอย่างนี้ หนะ เป็นอุปการะ ทำให้เราเกิด คุณค่าขึ้นมา

ทีนี้ อาตมาอยากจะเข้าหาคำว่า มัชฌิมา พวกเราปฏิบัติธรรมนี่ เมื่อกี้นี้พูดถึงหลักวิชา อันสำคัญ นา อันสำคัญ วิปัสสนาก็แล้วแต่ เรียกว่า ลักษณะที่ มันรู้ความจริง ที่เกิดปัญญาญาณ เกิดญาณที่แท้หนะ ที่พูดไปแล้วหนะ เราเอง เราไม่มีญาณแท้ ที่กล่าวนี้แหละ เราจึงประมาณค่าของมัชฌิมา ค่าของ ความพอเหมาะ พอดีลงตัว ความพอเหมาะ พอสมกับตัวเองได้ยาก เพราะญาณของเราไม่ลึกซึ้ง มันก็ เพี้ยนๆ เบี่ยงๆ ตรงมั่ง ไม่ตรงมั่ง ยังงี้ แล้วแต่ความจริงของใครๆ มันก็มีได้ ตามความจริง ของคนนั้นๆ มากน้อยก็แล้วแต่จริงๆจังๆ เรามาพูดถึงมัชฌิมา ความพอเหมาะ พอดี เรามีเมื่อกี้นี้ เราอ่านข่าว ของท่าน พระพยอม ท่านพูดสวยนา ท่านบอกว่า แม้ท่านจะเจ็บป่วย ท่านก็ต้องไป กินยาบำบัดเอา ไม่พัก ไปทำ ทำทั้งๆที่คอมันเป็นหนอง ก็กินยาบำบัด แล้วก็ไปทำ อย่างนี้นี่ อาตมาก็บอกตายตัวไม่ได้ ว่าท่านทำนั้น มัชฌิมาหรือไม่ พอเหมาะพอควรไหม ควรพักมากกว่า หรือว่าต้องฝืนไปมากกว่า ท่านฝืนไปมากกว่า ถ้าท่านฝืนอยู่ อย่างนี้ ก็แน่นอน ความเสื่อม ความทรุด มันจะเกิดขึ้น จริง ถ้าไปเพ่งถึงผล ว่า ถ้าเราไปทำ ก็จะเกิดผลดี เกิดบุญ แต่อายุท่านจะสั้นลงมั้ย อวัยวะที่มันเสื่อม มันจะเสื่อมลง แล้วต่อไป ก็จะใช้ยาก หรือใช้ไม่ดี ใช้ไม่ได้ในอนาคต มันจะสั้นกว่าไหม ในการที่จะรังสรรค์ ที่จะมีอุปกรณ์ องคาพยพ แม้คอ แค่คอนี่แหละ มันจะได้ไหม มันจะนานไหม มันจะรักษาไว้ให้ได้เกิดประโยชน์สูง ประหยัดสุด ได้ไหม อาตมา บอกแต่ลักษณะของการพิจารณา การวิจัยให้ฟัง แต่จะให้อาตมา ไปชี้ตายตัวเลยว่า ท่านทำ พอเหมาะแล้ว นี่คงไม่ได้ เพราะอาตมาไม่มีข้อมูลมากมาย ไม่มีข้อมูล เหมือนอย่างท่านมี ท่านมีข้อมูล ท่านก็เอาอันนั้นมาตัดสิน มาใช้เป็นเหตุปัจจัย การพิจารณา ตัดสิน เท่าที่อาตมาดูแล้ว ในลักษณะเทศน์นี่ แน่นอนล่ะ สมณะผู้ที่สามารถ ที่จะชี้ แจง อาศัยการเทศน์ การเทศน์นี่แหละ เป็นเรื่องใหญ่ การเทศน์ นี่แหละ เป็นเรื่องสื่อ ๆ ที่จะให้คนรู้จักสัจธรรม แล้วเราก็ได้นำเอาไปประพฤติปฏิบัติ

สมัยพระพุทธเจ้า ก็เหมือนกัน ไล่เรียงมาจนกระทั่งเดี๋ยวนี้ ก็ยังใช้การเทศน์เป็นหลัก เป็นสื่อ เป็นการ บอกแจ้ง เป็นการเกื้อกูลกันอย่างสำคัญ ในเรื่องการเทศน์ นี่แหละ เพราะฉะนั้น การเทศน์ ถ้าผู้ที่เอาใจใส่ ในเรื่องศาสนาแล้ว จึงเอาเรื่องเอาราว เอาถ่าน แม้แต่ในภาษา ในสูตรของพระพุทธเจ้า ก็จะต้องเป็นผู้ที่ เป็นพระธรรมกถึก ไม่เป็นพระธรรมกถึก ไม่ได้ พระธรรมกถึกคือ พระเทศน์ ต้องเทศน์ให้ได้เก่งๆ ต้องเข้า สู่บริษัทได้ ต้องแกล้วกล้าอาจหาญที่จะเทศน์ ต้องเป็นพระธรรมกถึกจริงๆ เพราะฉะนั้น ผู้ที่มีปัญญารู้ เขาก็จึงเป็นพระนักเทศน์กันให้ได้ แต่นั่นแหละ จนกลาย เป็นพระนักเทศน์กันนา แล้วก็ไม่มัชฌิมา ฟังดู ดีๆ เป็นพระนักเทศน์ที่ไม่มัชฌิมา ไม่มัชฌิมากัน เอาอย่างง่ายๆ เมื่อกี้กล่าวมาแล้วก่อนว่า ไม่มัชฌิมา ในสภาพที่เรียกว่า แม้แต่สังขาร ร่างกายของเรา เราควรจะเทศน์ต่อไป หรือควรจะพัก แค่นี้ก็ไม่รู้ นี่แหละ คือตัวมัชฌิมา มันไม่ได้ แม้กระทั่งแค่นี้ไม่รู้ ประมาณไม่ได้ น้อยไปมากไป หรือว่า มัชฌิมา ที่ตัวเอง เทศน์หาลูกค้า หรือว่าเทศน์ให้มีลูกศิษย์มากๆ ไอ้ลูกศิษย์ที่มามากๆ เกินไปนั้นน่ะ มากเกินนั้นน่ะ มันก็คือ เกิน เทศน์ไปเถอะ แล้วมันไม่ได้ผลหรอก ตำน้ำพริก ละลายแม่น้ำเสียเรี่ยวเสียแรง เสียเวลา เทศน์มาก ด้วยนะ เสียเวลา เรี่ยวแรง จะกรูเกรียวก็ได้ ได้หมู่กรูเกรียวเยอะๆ แต่เนื้อมันไม่ได้เท่าไร ยิ่งคนมาก มันยิ่งเทศน์ ยิ่งเจือจาง เพราะคนมากๆ เราจะไปเทศน์เข้มงวดกวดขัน หนักๆให้มีรสเข้มข้น ธรรมะสูง คนยิ่งมากๆ คนยิ่งหลวมๆ ใครก็ไม่รู้ บางคนก็ยังไม่ทันอนุบาลด้วยซ้ำไป ยิ่งแย่ มาปนเปอยู่ในนี้ ตั้งเยอะ ตั้งแยะ เพราะเราเทศน์ไป โดยที่พวกนี้ก็ไม่ได้ประโยชน์ ฟังไม่รู้เรื่อง มันก็ไม่ได้ เราก็ต้องอนุโลม ไปให้เขาด้วย เพราะว่า เขาก็มานั่งอยู่ในที่นี้ เพราะฉะนั้น การเทศน์ ก็เลยต้องไปทั้งเตี้ย ไปทั้งต่ำ ไปทั้งง่ายๆ ไปทั้งหลายๆฐาน ของคนที่ไม่สูง จนกระทั่ง ฐานะกลาง ฐานะสูงๆ มันก็เลยกว้าง ต้องเทศน์ยาว ต้องเทศน์กว้าง ต้องเทศน์ไม่จำกัดขนาด ขอบเขตขึ้นมา มันก็ไม่ละเอียด ถ้ามีเวลาเท่ากัน เทศน์เจาะลึก ในเวลาเท่านี้ กับเทศน์กว้างๆ ในเวลาเท่ากัน มันก็จะได้เนื้อหากว้างๆ ฟ่ามๆ คนลึกก็ไม่ได้ หรือถ้าคนมากก็ตาม แล้วเราก็ไม่ได้เอื้อคนที่มากๆ คือคนที่มีฐาน อ่อนๆ เราเทศน์เจาะลึกลงไปเลย คนที่ไม่เจาะลึก เอ้อ คนที่ฐานไม่ถึง ก็นั่งหลับ นั่งหลับแน่ๆ นั่งง่วง ไม่รื่นเริงบันเทิงหรอก

เมื่อคนมากๆ คำนึงถึงคนมากๆ เราจึงต้องพยายามให้คนมากๆ นี่รับได้ โดยเฉพาะ ยิ่งปรุงรสให้มัน สนุกสนาน ให้มันตลกเฮฮา ให้มัน อะไรต่ออะไร ต่างๆนานา เขาก็เลย มาฟังตลกเฮฮา แม้จะมีเนื้อ ตลกเฮฮา ก็ต้องมากกว่า เนื้อก็ต้องน้อยกว่า ก็ต้องทำงาน ใช้แรงงาน ใช้อะไรต่ออะไร ก็ต้องมากกว่า เพราะคนเยอะๆ จริงมีโมโครโฟน จริงเหมือนกันแหละ มีไมโครโฟนจริง แต่ว่าคนเยอะๆ นี่ มันก็ใช้ พลังงานต่างกันน่ะ เรารู้นี่น่ะ โดยปฏิภาณ รู้ว่าคนนั่งอยู่นี่ไม่เท่าไหร่ ถ้าคนน้อยๆ ก็มาอยู่ใกล้ๆ ชิดๆ มีไมโครโฟน ก็ไม่ต้องไปพูดมาก ไม่ใช่ไปพูดดัง พูดหนัก พูดอะไรเยอะก็ได้ ก็ได้ยินกัน ทั่วถ้วน แต่ถ้าเผื่อว่า มากๆ นี่นา มันก็จะต้องมีน้ำหนักที่กว้างขึ้นจริงๆ เพราะคนหมู่มาก มันจะมีความรู้สึกยังงั้น ที่จริง ท่านก็ไม่ได้เน้นหนักอะไร เท่าไหร่หรอกนะ ท่านนักเทศน์ ท่านไม่ได้.... อาตมาว่า คุณก็คงพอรู้นา อย่างท่าน ...เทศน์ สำเนียงสุ้มเสียง การใช้กำลังในการเทศน์ กับอาตมาเทศน์นี่ คุณว่าอาตมาเทศน์ กับท่าน... ท่านพยอม นี่นา เทศน์นี่ ใครใช้กำลังมากกว่ากัน พระพยอมใช่ไหม ท่านหนุ่มกว่า ท่าน... ก็หนุ่มกว่าอาตมา ท่านก็เลยใช้ กำลังมากว่าใช่ไหม ช้า ใช้น้อยกว่าเหรอ แต่เทศน์นานกว่า เทศน์มากกว่า ใช่ไหม ท่านใช้น้ำหนักน้อยกว่า ท่านใช้น้ำหนักน้อยกว่า ท่านใช้เทศน์ไปเรื่อยๆ แต่มาก ซึ่งดูแล้ว มันไม่ค่อยหนัก มันไม่น่าจะหนักน่ะ มันไม่น่า จะเป็นอะไร แต่ก็เป็นได้ก่อนอาตมาด้วยซ้ำ อาตมาหากิน ทางพูดมาน่ะ ทางโฆษก เป็นครูด้วย โฆษกด้วย ใช้การพูดมาทั้งนั้น ไม่ใช่อาตมาทำน้อยน่ะ ไม่ใช่พูดมาน้อย พูดมามาก งานครูก็พูด งานโฆษก งานวิทยุ โทรทัศน์ พูดทั้งนั้น พูดมา จนกระทั่ง มาบวช ก็มาพูด พูดมาตลอด แม้แต่อาตมาว่า อาตมาไม่ใช่พระนักเทศน์ แต่อาตมาก็ทำ

แม้เป็นฆราวาส ก็เหมือนเทศน์ เพราะเป็นครู เป็นโฆษก เพราะเป็นนักวิทยุก็ เทศน์เหมือนกัน จะว่าวันหนึ่ง สามงานสี่งาน อาตมาเมื่อหนุ่มๆ ก็หลายงาน เหมือนกัน วิ่งรอกกัน บางทีสามโรงเรียน วิ่งจนไม่มีเวลา กินข้าว วิ่งรอก สอนหนังสือ ยังงี้เป็นต้น ไม่มีเวลากินข้าว นี่ต้องสอนเสร็จ โน่นบ่ายสาม บ่ายสี่ ค่อยไป กินข้าว น่ะวิ่งเช้าๆ กลางวันๆ วิ่งสอนที่เป็นครูน่ะ ก็วิ่งสอน ถ้าว่ามาก ก็ใช้มาก แต่ทำไมชำรุดไวกว่า อาตมา ท่านเหล่านั้น ชำรุดอันนี้ ถ้าจะว่าไปแล้ว ก็เป็นอินทรีย์พละ เป็นบุญบารมีของสรีระ เหมือนกัน เป็นวิบากของสรีระด้วย ถ้าจะว่ามากก็ไม่ใช่ น้อยกว่ากัน อาตมาว่า ไม่ใช่น้อยกว่ากัน ใครอยู่กับอาตมา ก็คงรู้ ไม่ใช่น้อย ก็คง พอเป็นพอไป ไล่เลี่ยกันมา แล้วยิ่งมาพิจารณา รายละเอียดแล้ว น้ำหนักที่ให้ อาตมาเทศน์ เน้นน้ำหนัก มากกว่าท่าน แน่นอน ไม่ว่าเมื่อไร แต่ไหนแต่ไรมา อาตมามีลักษณะอย่างนี้ พูดลอยๆๆๆๆ เหวอๆๆๆ อาตมาว่า มันไม่มี feling เลย มันไม่มีน้ำหนัก ที่จะให้รู้สึกกระเทือน หรือว่า มีน้ำหนัก ที่จะ เข้าไปแทงทะลุ ลึก แรงอะไร มันดูมันเบา นา ไม่ใช่อาตมาไม่รู้น่ะ พูดเบาๆ มันก็ ดูนิ่มนวลดี ถ้าพูดหนักๆ มันไม่ค่อย นิ่มนวล ไม่ใช่อาตมาไม่มีปฏิภาณ ไม่ใช่ว่า อาตมาโง่ จนกระทั่งไม่รู้ว่า พูดเบาๆ นี่นิ่มนวล พูดหนักๆ มันไม่ค่อยนิ่มนวลหรอก ยิ่งใส่น้ำเสียง น้ำหนักด้วยแรงๆ ดุๆ อะไรงี้ มันไม่นิ่มนวลหรอก คุณพอรู้บ้างไหม ว่าเทศน์นี้อย่างนั้น มันไม่นิ่มนวล คุณรู้บ้างไหม พวกคุณน่ะ ก็ขนาดคุณยังรู้ แล้ว อาตมาไม่รู้ได้เหรอ อาตมาก็คง ไม่โง่ไปกว่าคุณเท่าไหร่มั้ง ไม่ได้โง่กว่าพวกคุณ หน่อย

ก็คงไม่โง่กว่ามากมาย จนกระทั่งไม่รู้ละมั้ง หนอ มันคงพอรู้นะนา ไอ้อย่างนั้น แต่อาตมา ก็ไม่เอา อาตมา ก็ทำอย่างที่ว่านี้ ที่อาตมาขยายความอะไรมานี่ เห็นว่า แม้แต่การจัดสรร ของตัวมัชฌิมา แล้วมันจะเกิด ประโยชน์สูง ประหยัดสุดพอดู อย่างนี้ ก็เรียกว่ามัชฌิมา ทำงานมากไป ทำงานน้อยไป ในนัยของงาน ที่ว่านี้ แม้แต่การเทศน์ มัชฌิมา หรือไม่มัชฌิมานี่ มันก็จะต้องศึกษา มันก็ต้องกระทำ ไอ้เรื่องการทำงาน มีมัชฌิมา นี่ ผู้ที่ทำแหละ จะรู้ แล้วมันซ้อนเชิงน่ะ เวลาเราทำงานนี่ เทศน์ก็ดี หรือมันจะทำงาน กายกรรม วจีกรรม ทำงานทางกาย ทำงานอะไร ก็แล้วแต่ นี่เป็นงานที่ทำทุกวันนี้นา ฆราวาสก็ดี พระก็ดี พระก็ทำ แม้แต่พระเราเป็นพระช่าง ที่ออกไปทำงานช่าง ทำงานเกี่ยวกับ การอะไรนี่ ที่เราทำกันอยู่ อะไรๆ ที่มัน พอทำได้ เป็นพระก็ตาม เป็นสมณะก็ตาม มันทำได้ ไม่ผิดศีล ไม่ผิดวินัยอะไร เราก็ทำกันไปอยู่นี้ เราก็ประมาณว่า มันจะทำให้สุขภาพร่างกาย เราเสื่อมไหม มันจะได้ประโยชน์สูง แล้วก็ประหยัดไหม เราก็ประมาณ ทั้งนั้นแหละ ประมาณ เทศน์ก็ต้องประมาณ ทำงานก็ต้องประมาณ ทำการงาน ก็ต้องประมาณ ในการทำการงานของสมณะ หรือพระนี่ ถ้าทำงานได้สัดส่วนที่ดี ได้ดู มาก ได้ดู ไม่ขาดระยะ ดูสมเหมาะสมควร ตามกาละ ตามเวลา ได้ประโยชน์มาก ดี ก็เป็นตัวอย่างอันดี พระหรือ สมณะ นี่เป็นครูอันดีนะ ก็ทำ ส่วนหนึ่ง นำพากันทำไป ไม่ผิดศีล ไม่ผิดวินัย ก็ใช้ได้ ก็ทำไป แล้วเราก็ จะได้เรียนรู้ ศึกษา เพราะว่าเป็นพระ หรือเป็นสมณะ นี่ต้องโลกวิทู ต้องเป็นพหูสูต จะต้องมีความรู้ ที่จะต้องรู้ว่า อะไรซับซ้อนลึกซึ้ง อะไรช่วยเขาทำ อันใดบางอัน บางอย่าง นี่มันไม่สมควรจะต้องทำ นี่ด้วยซ้ำไป แต่จำเป็นจะต้องอนุโลม ทำไปบ้าง พอทำแล้ว ก็ต้องถ่ายทอด ถ่ายให้แก่ฆราวาสที่เขา มีหน้าที่ โดยตรงทำ แล้วเราก็ไม่ต้องไปรับผิดชอบ ไม่ต้องเอาเรื่อง ไม่ต้องไปวุ่นวายในงานนั้น หรือ งานอย่างนั้น เป็นแต่เพียง คอยรับปรึกษา เขาทำ เขาบกพร่อง ผิดพลาดอะไร ก็ต้องมาปรึกษาหารือ เราก็เออ ก็ดู

ยกตัวอย่างง่ายๆ เอาไอ้สิ่งที่ผิดวินัยเสียก่อน เช่นว่า เราทำไร่ทำนานี่ พระเราไปทำไร่ ทำนา ไม่ได้หรอก ผิดวินัยก็รู้อยู่ แต่กระนั้นก็ตาม ก็ไม่ได้หมายความว่า พระนี่จะไปดู เขาทำไร่ทำนาไม่ได้ หรือ ยิ่งลึกซึ้ง ขึ้นไปว่า พระแนะนำเขา ทำไร่ทำนาไม่ได้เลย ไม่ใช่ พระมีความรู้ ในวิชาการนี้ และในเรื่องนี้ ไม่ใช่วิชาการ หลักทฤษฏี หลักความจริง หลักความถูกต้องอะไร ก็ความรู้ในเรื่องของการทำไร่ทำนานี่ พระรูปไหน มีความรู้ แนะนำได้ อธิบายได้ ให้คนเข้าใจ ให้คนรู้ลึกซึ้ง ในความรู้ ในการไปทำนาทำไร่ ทำสวน จะให้เจริญ จะให้อะไร ก็แนะนำไปได้ ไม่ใช่ว่าแนะนำไม่ได้ นอกจาก แนะนำไม่ได้แล้ว ก็เลยมองเพี้ยน ไปในทางอีกทางหนึ่งว่า เอย ขืนเป็นพระ ไปบอกเขา ให้ปลูกผัก ปลูกหญ้า อะไรต่ออะไร ปลูกพืช ประเดี๋ยว เขาก็ต้องเด็ดพืช แล้วก็ต้องตัดพืช แล้วก็ต้อง อะไรต่ออะไร หรือไม่บางที เราก็ต้องพูดพาด พูดพิงไป ถึงการขุดดิน ขุดเดินอะไร เดี๋ยวก็กลายเป็นผิดวินัย แล้วเกินขอบเขตไปอย่างนั้น ก็เลย ไม่อยากสอน ไม่อยากพูด ไม่อยากแนะนำ ทั้งๆที่ตัวเองรู้ มันก็บกพร่อง นี่ หมายถึงเรื่องที่ผิดวินัยนา บอกฆราวาสเขาไป แม้ขนาดนั้น ก็ยังไม่ได้พาซื่อถึงขนาด ว่าบอกไม่ได้ บอกได้ แล้วก็ต้องรู้ ว่าพูดอย่างนี้ หมายถึงว่า เราบอกให้เขาไป ขุดดินหรือเปล่า พูดยังงี้ หมายถึง เราบอกให้เขาไปเด็ดพืช พรากพืช หรือเปล่า ถ้าไม่ได้ไปขนาดหมายถึงว่า ไปพรากพืช ไม่ได้หมายถึงว่า ให้ไปขุดดิน แต่ก็ให้ความรู้ ว่าคุณ จะขุด ก็ไปขุดตามที่ว่านี้ ก็แล้วกัน อธิบายไว้แล้ว จะไปตัดพืช ตัดอะไรก็ คุณก็ไปทำของคุณ ตามความหมาย ตามที่อธิบาย ให้ฟังแล้วกัน ไม่ได้ไปบอกคุณ เอ้า ไปตัดต้นนั้นมา ไปทำตรงนี้มา อะไรกันตรงๆ ซึ่งบางที ยังต้องอนุโลมเลยทุกวันนี้ แม้แต่ อาตมาก็ยังต้องพูดเลย เออ ต้องบอกเลย แต่ว่าก็รู้ตัวอยู่น่ะ ทุกทีแหละ เอย... บอกยังงี้ มันก็คือวินัย มันก็ไม่ตรงกับวินัยทีเดียว แต่มันไปบอก ให้เขาตัด แต่ในความจริงเราบอก เราบอกให้ตัด ไม่ได้หมายความว่า เราไปโลภโมโทสัน เหตุการ ตัดต้นไม้นี่ มันเกิดจากความโลภมาให้แก่ตัว แล้วก็ไปเกิด การเบียดเบียนผู้อื่น แล้วก็เลยตั้งวินัยนี้ขึ้นมา วินัยนี้ ไปตัดต้นไม้มาปลูกนี่ บ้างปลุกบ้าน ปลูกกุฎิตัวเอง พระพุทธเจ้าท่านก็เลยตั้ง บอกไม่ให้ไปตัดต้นไม้ ไม่ให้ไปพรากพืช ก็เลยที่จริงน่ะนา ไอ้พรากพืช นี่ไม่ได้มีตอนที่วินัยไม่ให้ตัดต้นไม้ ไม่ให้พรากพืชตรงนั้น แค่นั้นน่ะ วินัยนี่ มันมีทีหลัง...ศีล จุลศีล นี่มาแล้ว ไม่ให้พรากพืช โดยทั้งห้าอะไร

ก่อนที่จะเกิดวินัย พระพุทธเจ้าท่านสร้างศาสนาด้วยศีล ในจุลศีลมีแล้ว พืชอะไร ห้า อะไร หมายความ ว่าไง พืชเกิดจากอะไร ก็...รู้แล้ว เกิดจากเง่า มันเป็นความรวม ว่าอะไรพืช พืชทั้ง ๕ อะไรนี่นา อ้า รู้แล้ว นัยห้านี่นา อะไรนี่ว่าไอ้พืชคามภูตคาม นี่มันมีมาเก่าแล้ว เป็นศีลมาแล้ว ไม่ใช่เป็นวินัยนา ท่านมีมาแล้ว นี่เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง ความหมายของท่าน ไม่ให้ไปเที่ยวได้เด็ดต้นหมากรากไม้ ไม่ให้ต้องไป พรากพืช พรากอะไร ต่ออะไร นี่เกี่ยวในชีวะอย่างที่อาตมาเคยอธิบายด้วย เกี่ยวด้วย ชีวะ ในระดับนั้น ระดับนี้ด้วย แล้วก็หมายถึงว่า ไม่ให้พระไปเที่ยวได้แย่งทำไร่ทำนา ฆราวาสเขาทำ ก็ให้เขาทำไป ไม่ต้อง ไปมีอาชีพวกนี้ อาชีพหลายอาชีพ ที่พระพุทธ เจ้า อย่างค้าขาย ทำไร่ทำนานี่ พระพุทธเจ้าท่านตัดมือ ตัดไม้ อย่าไปทำ อย่าไปแย่ง อาชีพพวกนี้ เป็นงานหลักของฆราวาสเขา แต่ไม่ได้หมายความว่ารู้ไม่ได้ แนะนำเขาไม่ได้ ไม่ใช่เลย อย่างที่กล่าวแล้ว ไม่ใช่ แนะนำได้ สอนได้ ยิ่งสอนได้เก่ง แนะนำได้เก่ง ได้ดีด้วย ก็ทำให้เขาเกิดความรู้ ให้เกิดเขาสร้างสรรที่ดี เป็นคุณค่า สร้างขึ้นมาแล้ว ก็ได้อาศัย มาเป็นบุญ แล้วก็จะเอาไปค้าไปขาย ไม่ไปขูดไปรีดเขานัก ก็ยิ่งดีใหญ่ ไม่ใช่ว่าเสียหาย เพราะฉะนั้น ในแนวลึก ในความซับซ้อนอะไรต่ออะไรนี่ เราจะต้องศึกษากันจริงว่า มัชฌิมา ของพระ จะต้องมีสัมมาอาชีพน่ะ ไม่ใช่ไม่มีสัมมาอาชีพ พระก็มีอาชีพๆ ไม่ได้ไปพรากพืช ไม่ได้ไปทำไร่ทำนา ไม่ได้ไปค้าไปขาย แต่อธิบาย

อาตมาทุกวันนี้ อธิบายเรื่องค้าเรื่องขายตั้งเยอะด้วย อาตมาไม่ได้ไปค้าขายเอง ไม่ได้ไป ตั้งหน้าตั้งตา จะไปโลภโมโทสัน สอนเขาให้ลดด้วยซ้ำไป ในขณะที่อาตมา พาพวกเรา แนะนำพวกเรา ให้ไปค้าไปขาย ไปทำชมร. ไปทำศาลาค้า ไปทำ บริษัทพลังบุญ บริษัทอะไรขึ้นมา มีการค้าการขาย พยายามสอน ให้ซ้อน ให้ลึกเชิง ให้ได้ราคาถูก ให้ลดราคา ให้ไปเกื้อกูล สร้างให้มันได้มีคุณภาพดี มีปริมาณมากมากขึ้น รู้จักเกื้อกูล รู้จักเผื่อแผ่ ให้ได้เสียสละมากขึ้น ไม่ได้ให้ไปโลภ บอกให้ขาดทุน ขาดทุนภาษาโลกน่ะ ให้ได้กำไรอริยะให้ได้ ทำทฤษฏีไปค้า ไปขาย ไปขายเป็นแบบกำไรอริยะ คือให้ต่ำกว่าทุน ให้ได้ ได้เสียสละ มากเท่าไหร่ นั่นแหละวิเศษ แต่พวกเราก็พยายามๆ อยู่เหมือนกัน กิเลสมันมี บางทีมันก็อดโลภไม่ได้ ซึ่งใครก็ทำอยู่ก็จะรู้ เผลอๆ มันก็จะเอาเปรียบไม่ได้ อดโลภไม่ได้ ถ้าตั้งใจดีๆ ก็จะเสียสละ บางคน ก็จะเสียสละ จนร้านจะตั้งไม่อยู่ ให้ไปเถอะๆๆ ให้ไปก็หมดซี ก็เกลี้ยง จะไปเหลืออะไร อะไรก็จะให้ จนกระทั่ง ไม่มีลักษณะหมุนเวียน ไม่มีอะไรที่จะพอทรงอยู่ ตั้งอยู่ แล้วก็หมุนเวียนพอเป็นไป จะมีส่วนเกิน ส่วนนั้นมา ส่วนสูญเสีย ส่วนที่จะใช้จ่าย มันก็ต้องมีอะไรต่ออะไร ที่ละเอียด ลออ ที่จะต้องพยายาม ให้มันตั้งอยู่ได้ มันจะได้มากกว่าหลัก อาตมาก็บอกหมดแล้วนา พยายามที่จะต้อง สุขุม ปราณีต จะต้องขยัน อุตสาหะ ซึ่งมันจะทำให้เราเสียสละ ได้มากขึ้น แล้วก็เนียน แนบเนียนข้างในมากขึ้นๆ เป็นนักค้า เป็นพ่อค้าแม่ค้าที่สุจริตธรรม แล้วก็ เป็นบุญ เป็นกุศลที่แท้จริง

พ่อค้าในระดับพ่อค้าแบบโลกุตระ ฟังดีๆ นะ โลกุตระนี่ คือไม่เป็นทาสลาภ ยศ สรรเสริญ ไม่เป็นทาส เป็นผู้ไม่เอาเปรียบ แต่มีวิธีการค้าขายเป็นสัมมาอาชีพ เป็นฆราวาสนี่แหละ แล้วก็ปฏิบัติธรรมอยู่ในตัว ตัวเองยังเป็นฆราวาสอยู่ ยังมีอาชีพค้าขาย ก็เป็นสัมมาอาชีพได้ ดำริก็ไม่ดำริ ในเรื่องของอย่างที่เอา มิจฉาสัมมา นั่นมาเป็นตัวตัดสิน มาเป็นตัวพิจารณาความหมาย แล้วเราก็ทำจริงๆ ลดละจริงๆ ถ้าสมณะ ไม่มีความรู้เลย ปล่อยให้ฆราวาส เขาไปค้าไปขายเอง มันก็ขี้โลภหมดน่ะซี กรรมวิธีทำยังไง ถึงจะลดละ

ขนาดทุกวันนี้ อาตมาอธิบายกันนี่ มันยังไม่ง่ายเลย พูดบริษัทพลังบุญก็ประชุมทุกเดือน ศาลาค้า ก็ประชุม แต่ไม่ค่อยจะมาประชุม อะไรเต็ม ชมร. ศาลาค้า บางที ก็ไม่ค่อย มาประชุม ศาลาค้า เพราะฉะนั้น บางทีก็เลยโละๆเละๆ นี่ ส่วนเอาส่วนเกินอยู่เก่ง อาตมาก็ไม่รู้จะทำยังไง บางทีก็มาบ้าง ไม่มาบ้าง แล้วก็ไม่ค่อยมีอะไร ไม่มีรายละเอียด อะไรมาเสนอ มันก็เลยต้องทำค้าๆขายๆ ไปงั้นแหละ มันก็ยังไม่ซ้อนเนียน ไม่ลึกซึ้ง ไม่ซ้อนใน จริงๆแล้วน่ะ ศาลาค้า นี่มันน่าจะได้ส่วนเกิน หรือรายได้มากกว่า ชมร. ด้วยซ้ำ เพราะ ชมร. นี่ทำอาหารขายจานละ ๕ บาท ซึ่งก็รู้อยู่แล้วว่า ทุนรอนมันขึ้นตั้งเท่าไหร่ แต่เสร็จแล้ว ยังได้ ส่วนเกินส่วนเหลือของ ชมร.ขายวันๆ ก็ไม่ได้มากเท่าศาลาค้า ศาลาค้าขายมากกว่า นี่ขนาดชมร.นครปฐม กับศาลาค้าเรานี่ ศาลาค้าที่นี่ ขายวันหนึ่ง ได้มากกว่า ชมร. นะ แต่หักกลบ ลบหนี้งบดุลแล้ว พอถึงงบดุล สิ้นปีหรือสิ้นเดือน ไม่ได้ มากกว่าชมร. เขาหรอก ชมร. ก็ยังมีใช้หนี้กันได้ ...

เพราะมันไม่ซ้อนเนียน การค้ายังไม่ลึกซึ้ง ยังไม่เป็นโลกุตระที่ดีที่เก่ง อาตมาประชุมอยู่ อาตมาเอง อาตมาไม่มีเวลาพอ อยากจะประชุมย่อยๆ ส่วนนั้นส่วนนี้ อยากจะประชุม อะไร มันทำไม่ไหว ไม่มีเวลา ต้องพยายาม แล้วอีกอย่างหนึ่ง อาตมาก็เจตนา บายให้พวกเรา ให้ท่านองค์ต่างๆนี่ ช่วยรับรู้ รับไปประชุม ไปที่สันติอโศก นี่ ท่านถิรจิตโต นี่รับไปมาก ไปประชุมส่วนนั้นส่วนนี้อีกมาก มีเหตุมีปัจจัย มีเรื่องมีราว ท่านก็รับไป ประชุมกัน เป็นกลุ่มเป็นหมู่ เป็นครั้งเป็นคราว ละเอียดลออ ซอยมากๆ อาตมาก็รับ ข้อมูล จากท่าน ที่เป็นผลสรุป เป็นผลที่ประชุม แล้ว มีโน่นมีนี่มาอีก ทีหนึ่งจากท่าน หรือเรื่องราวอะไร ที่ไม่ต้อง มาบอกอาตมา ท่านก็จัดแจงตัดสินไป อะไรต่ออะไรไป ก็ซ้อนเชิง ให้ผู้ที่ได้รับงาน ได้รับรู้ ได้เป็นผู้ที่ ได้รับซับทราบข้อมูลความที่แท้จริง อะไรต่ออะไร เข้าไปคลุกคลีเกี่ยวข้องที่แท้จริง ก็นำพากันไปได้ สังคม มันจะเลิกพวกนี้ ไม่ได้หรอก แม้พระไม่ค้าขายแล้ว ฆราวาสค้าขาย ก็ต้องให้เป็นการค้าขาย ที่เข้าข่าย โลกุตระ กำไรอริยะให้ได้ ให้แท้จริง ถ้าไม่แท้จริง มันก็ไปไม่รอด มันไม่สัมมาหรอก มันไม่เกิด ความพอเหมาะ พอดี ไม่เกิดมัชฌิมาปฏิปทา ที่ได้สัดส่วน เป็นสันติสุข สันติภาพ เป็นภราดรภาพ มันก็มีแต่ตัวแก่ง ตัวแย่ง เป็นเล่ห์กลเชิงชั้น

ทุกวันนี้ เชิงชั้นเยอะ การค้าการขายนี่ ใหญ่ยิ่งใหญ่มากเลยนา ยิ่งใหญ่มากๆ ในการค้า การขายนี่ แล้วเป็น สมณะเป็นพระ ไม่ได้เสริมหนุนด้วยคุณธรรม ลักษณะโลกุตรธรรม พฤติกรรมที่เป็นโลกุตรธรรม โดยเฉพาะจิตวิญญาณ เป็นผู้เสียสละจริงๆ เป็นพ่อค้า แม่ค้า ที่มีบุญมีจริง ได้เสียสละจริง แล้วมันจะ ไปได้เรื่องอะไรเล่าศาสนาพุทธ

ศาสนาพุทธ ก็ถือว่า ไม่ได้ช่วยเขาอยู่นั่นเอง แต่ถ้าได้ช่วยเขาแล้ว ก็คือว่า ผู้ที่เป็นสมณะ ก็ต้องรู้ รู้ทฤษฏี เศรษฐศาสตร์ เศรษฐกิจ พาณิชยศาสตร์ อะไรต่างๆ ต้องรู้จริงๆ ไม่รู้ก็ไม่ได้ ไม่รู้จะไปบอกเขาได้ไงนา นี่ มัชฌิมาละ อะไรต่ออะไร ต่างๆนานาพวกนี้ ฟังไปดีๆ แล้วมันจะเกี่ยวข้อง มันจะเห็นว่า มันจัดสัดส่วน ไม่ใช่ง่ายๆ อ้า ทีนี้ มัชฌิมา ตัวสำคัญนี่ตัวหนึ่ง ก็คือ ในสายของเจโต กับ ปัญญา สายของกามตัณหา กับของ ภวตัณหา มหายานนี่ถือว่า เป็นพวกปัญญา หรือ เป็นพวกกามตัณหา สายเถรวาท นี่ ถือว่าเป็น พวกเจโต หรือ เป็นพวกภวตัณหา เป็นพวกติดภพ ภวภพไม่ใช่กามภพ นา พวกเถรวาท

ทีนี้ พวกเรานี่เป็นฝ่ายข้างเถรวาท มีเถรวาทเป็นพื้นฐานมา เราก็เลยเข้าใจยาก ตนเอง จะเข้าใจ ของตนเองยาก เข้าใจของคนอื่นง่ายกว่า เพราะมันมองออกนอก พอมองเข้าใน ยิ่งเป็นภวตัณหา มันยิ่ง ละเอียด มันเป็นภพ เป็นชาติ เป็นนามธรรม มันเป็นความนิ่ง ความสงบ สงบลักษณะนี้ ต้องขออธิบาย เสียก่อนว่า คำว่าสงบนี่ ไม่ใช่ว่าอยู่เฉยๆ หยุด จริง หยุดแต่อะไรหยุด กิเลสหยุด ความเสพย์หยุด ความแสวงหาใคร่อยาก ต้องการมาให้ตัวหยุด แต่ความแสวงหาใคร่อยากสร้างสรร เพื่อคนอื่นนั้น ยิ่งเจริญ ยิ่งหยุดความใคร่อยาก มาให้แก่ตัว พลังงานที่เหลือ ทุนรอนเหลือ เราจะมีสิ่งเหลือ เหล่านี้ แล้วมาสร้างสรร เพื่อที่จะให้คนอื่นได้เพิ่มเติม ไม่ใช่ว่า มาให้แก่ตน ตนไม่บำเรอตน ตนไม่เสพ ตนไม่อร่อย ตนไม่ต้องการมาบำเรอแล้ว เราก็ไม่ต้อง นั่นแหละหยุด นั่นแหละ สายนั่นแหละสมถะ จิต ของพุทธนี่นา จิตวิญญาณของพุทธ นี่ยิ่งมีความสงบ ยิ่งมีความสมถะ ยิ่งมีความลดกิเลส ฆ่ากิเลสตาย ได้จริงๆ เท่าไหร่ๆได้ จิตจริงๆ ไม่ใช่กิเลสน่ะ คือกิเลสมันหยุด กิเลสมันตาย กิเลสมันหมดบทบาท หมดการเสพ กิเลสเพื่อตัวมันหมดยังงี้ ยิ่งหมดลงเท่าไหร่ๆ จิตวิญญาณยิ่งเจริญ จิตวิญญาณยิ่งแข็งแรง จิตวิญญาณ ยิ่งแกล้วกล้า จิตวิญญาณยิ่งอาจหาญ จิตวิญญาณยิ่งรู้รอบ รู้มาก มีกำลังมาก จิตวิญญาณ ยิ่งมีกำลังมาก ได้สร้างสรร เพื่อผู้อื่นมากขึ้น ยิ่งสงบ ยิ่งสร้างสรร ไม่ใช่ยิ่งสงบยิ่งงอมืองอเท้า ยิ่งสงบ ยิ่งหยุด ยิ่งสงบ ยิ่งไม่ได้งาน ไม่ใช่,

ยิ่งสงบยิ่งได้งาน ยิ่งสงบยิ่งเชี่ยวชาญ นี่มันเป็นภาวะทวนกระแส ปฏิโสตัง มันเป็นภาวะ ยอกย้อน ปฏิโสตัง นี่ยอกย้อนและทวนกระแส มันเหมือนยอกย้อนอยู่นั้นนา แต่ถ้าคุณ เข้าใจที่อาตมาพูด เข้าใจ สภาวธรรมแล้วคุณจะไม่งงเลย แต่ภาษามันพูดแล้ว มันยอกย้อน นี่ คิดฟังฟังดีๆ ภาษายอกย้อน อาตมาพูดยังงี้ ยอกย้อน คนที่เข้าใจ ได้โดยไม่งง ไม่ยอกย้อนน่ะ รู้สึกว่าชัด รู้ ถ้าคนที่รู้ แต่ถ้าคนที่ไม่รู้ ไม่มีปัญญาเพียงพอ น่ะ ฟังแล้ว พูดยังไงว้า กลับไปกลับมา ยอกย้อนไปยอกย้อนมา ก็ไหนว่าหยุดแล้ว ทำไมยิ่ง แคล่วคล่อง ยิ่งปราดเปรียว ก็อะไรมันหยุดเล่า แต่ถ้าคุณรู้ว่าอะไรหยุด รู้ว่าอะไรปราดเปรียว รู้อะไรแคล่วคล่อง คุณก็จะไม่งง กิเลสมันก็อยู่กับจิต มันก็เหมือนกับจิต แต่มันไม่ใช่จิต แต่มันมีบทบาท เหมือนจิต มันจะวิเคราะห์ออกยาก แยกออกยาก พอแยกอาการของกิเลสออกได้ ให้กิเลสมันตาย ให้กิเลส มันหยุด ได้จริง สมถะจริง จิตมันไม่ได้หยุดตาม จิตจริงๆยิ่งบริสุทธิ์จากกิเลส มันยิ่งแข็งแรง ยิ่งมีพลัง ยิ่งเจริญ ยิ่งวิเศษ ยิ่งทั้งรู้ ทั้งมีกำลัง เจโตก็เกิดเป็นกำลัง ปัญญาก็เกิดเป็นยอดรู้ มีทั้งเจโต มีทั้งกำลัง ยิ่งขึ้น เพราะกิเลสตาย

ถ้าเผื่อว่าเราตื้นๆ เขินๆ แล้วก็บอกว่า พอสงบแล้ว มันก็หยุด ว่างั้น หยุด เลยหยุดไปหมด ทั้งกิเลส มันหยุดไปทั้งจิตเลย จิตก็หยุดด้วย กิเลสก็หยุดด้วย แต่กิเลสไม่ได้ตายจริงหรอก นา กิเลสหยุด เพราะว่า ไปกั้น เอาพลังอะไรไปกดไปข่ม ไปปิดไปป้อง ไปบังมันไว้ แล้วจิตก็หยุดด้วย กิเลสก็พัก แต่ไม่ได้ หมายความว่า ได้ฆ่าได้ทำลาย แบบทฤษฏีของ พระพุทธเจ้าที่ชัดเจน มันก็เลย หมกๆ หมักๆ ลักษณะ แบบนี้แหละ เป็นลักษณะเถรวาท เอียงโต่งไปในทางภพ แล้วภพพวกนี้ มันไม่มัชฌิมา ก็คือมันยิ่งโต่ง ไปเข้าไปหาภพ เถรวาท

มหายาน เขาก็โต่งไปหากาม หาสร้างสรร หางานการ หาอะไร หนักเข้า เห็นว่ามหายาน บานทะโล่โท่ ถึงขนาดว่ามีเมียก็ได้ เราก็บอกโอ้โฮ นี่มันขั้นปาราชิกแล้วนี่ มีเมียได้นี่ พระมีเมียได้ นี่ขั้นปาราชิกแล้ว มันโต่งไปสุดโต่ง อย่างหนึ่งของกามตัณหา ของทางด้าน มหายาน แล้วคุณอย่านึกว่าเถรวาทไม่โต่งน่ะ เถรวาทก็โต่งไปหาภพ ไปแต่งงานกับภพ เหมือนกัน แต่งงานกับภพเหมือนกัน จนกระทั่ง ผิดในลักษณะ ของ อุตริมนุสธรรม แล้วก็เอา อุตริมนุสธรรม ที่ตัวเองไม่ค่อยรู้แจ้งรู้ชัด นั่นแหละ จริงๆไม่ใช่อุตริมนุสธรรม ของ พระพุทธเจ้า แต่เป็นเรื่องอุตริเอามาพูด เพราะฉะนั้น เปิดเผยสิ่งที่เป็นอุตริมนุสธรรม ที่เพี้ยนที่ผิด เท่ากับฆ่าศาสนา เท่ากับไป หลงใหลได้ปลื้ม แต่งงานกับความรู้นอกรีต นอกธรรม นอกสาระสัจจะ สุดโต่ง ไปเป็นปาราชิกชนิดหนึ่งเหมือนกัน ถ้าจะว่าปาราชิก แต่มหายาน เขาไม่ถือปาราชิก เถรวาท ก็เช่นเดียวกัน ไม่ถือว่าปาราชิก

นี่ฟังดีๆ อาตมาอธิบายเหตุผลให้ฟัง มันต่างคนต่างโต่งไปเหมือนกัน แล้วยิ่งเถรวาท ยิ่งรู้ยาก รู้ยากกว่า ทางด้านมหายาน เพราะมหายาน มันเป็นรูป มันเป็นตัว มันเป็นตน เป็นข้างนอก มันเป็นกามภพ ส่วน ภวภพนั้น มันลึกตามไม่ถึง ไม่มีญาณ ที่ลึกซึ้งได้ ไม่สามารถรู้ว่า อันนี้ผิดพลาด อันนี้เพี้ยน อันนี้ตัวไป หลงสงบที่เป็นสมถะ ไม่ใช่วิปัสสนา ญาณ ไม่ใช่วิปัสสนา ไม่ใช่วิปัสสนาธรรม ไม่ใช่ธรรมะที่เป็นวิปัสสนา นั่นก็ยิ่งไป กันใหญ่เลย เพราะฉะนั้น ความกดข่มในลักษณะฤาษีนี้ จึงยิ่งยาก ยิ่งลำบาก

วิธีทำง่าย แต่การรู้จักอย่างละเอียดลออ ยาก สมถะนี่ วิธีทำน่ะง่าย ที่มันยาก มันรู้ยาก ก็เพราะว่า มันไม่ได้ เป็นเนื้อแท้ ที่เอามาเป็นวิปัสสนาเห็นชิ้นเห็นอัน หยาบ กลาง ละเอียดชัด มันได้แต่กดๆ ข่มๆ มันก็ยิ่งปกปิด มันก็ยิ่งไม่ได้เรื่องรู้นะซี มันจะไปรู้ง่าย ได้ไง การกระทำที่โต่ง ดังกล่าวนี้ ไม่ว่าจะโต่ง ไปในทางมหายาน ไม่ว่าจะโต่งไปทาง เถรวาท อย่างที่กล่าวนี้ ก็คือความไม่มัชฌิมาปฏิปทา นั่นเอง ที่พระพุทธเจ้าท่านสอน ตั้งแต่เริ่มแรก เปิดเผยศาสนา ในธัมมจักรกัปปวัตตนสูตรว่า ความโต่งสองด้าน ตั้งแต่แรกเริ่ม มันมีมา ตั้งแต่ไหนๆ แหละ ยังงี้ กามสุขัลลิกะ กับ อัตตกิลมถะ ปฏิบัติอย่างประเภทกดข่ม นี่ก็ทรมานนะ อัตตกิลมถะ ทรมานแต่ให้หมดอัตตา พากเพียร พยายามนะ จะให้มันแน่น จะให้มันนาน จะให้มันไม่ดิ้น จะก็ต้องทำอยู่ตลอดเวลาเลย หยุดไม่ได้หรอก สมถะแบบสมาธิแบบฤาษีนี่ ไม่ใช่แบบพุทธ ไม่มีสำเร็จแล้ว หยุดจบ จบแล้วก็ต้องทำอีก ไม่ต้องเรียนอีก ไม่ต้องฝึกอีก ไม่ต้อง ไม่ได้ ไม่ได้เลย ต้องทำ ไปเรื่อย นั่นแหละ นั่งสะกดจิต หลับตาอยู่นั่นแหละ หรือไม่ก็สังวร อย่าไปเที่ยวได้สัมผัส แตะต้องอะไร กับทางโลกธรรมนะ ลาภ ยศ สรรเสริญ โลกียสุข รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส เข้าไปจุ้นจ้านวุ่นวาย ไม่ได้นะ เพราะไม่มีความรู้ ไม่มีกำลังโลกุตระที่แท้ กำลังของโลกุตระไม่มี กำลังที่เหนือ เหนือกิเลสแท้ กำลังอันนั้น ไม่มี อินทรีย์พละ ที่เหนือโลกียะจริงๆ ไม่มี เพราะไม่ได้เรียนรู้ และก็ไม่ได้เป็นจริง ไม่ได้เรียนรู้ แล้วก็ไม่ได้ ฝึกหัด ถูกต้อง

แม้เรียนรู้แล้วฝึกหัดถูกต้อง จึงจะมีจริง เป็นจริง จึงจะอยู่เหนือโลกจริงๆ มันก็อยู่กับบทบาทของ ของจริง ทฤษฏีมัชฌิมาปฏิปทา หรือ ทฤษฏีมรรคองค์๘ นี่ ยิ่งใหญ่ที่สุดเลย แล้วต้องได้ขนาดแต่ละคนๆ ที่จะต้อง พยายามแบ่งมาใช้ เรียนรู้ สักกายะ เรียนรู้ตัวเอง เรียนรู้อัตตา เรียนรู้ตัวเอง แล้วก็มีผัสสะเป็นปัจจัย ลด ละ จางคลาย ซึ่งอาตมาได้อธิบายเรื่องอนิจจัง มิจฉาทิฏฐิ จะพ้นมิจฉาทิกฐิ ด้วยทวารทั้ง ๖ เราก็มีสัมผัส เป็นปัจจัย เมื่อเป็นปัจจัยแล้ว เราก็เห็นตัว อนิจจานุปัสสี เห็นอนิจจัง เห็นความไม่เที่ยง เกิดความไม่เที่ยง เห็นความไม่เที่ยงจริง อะไรละไม่เที่ยง กิเลสไม่เที่ยง สมุทัย ตัณหาไม่เที่ยง เพราะแม้คุณจะปฏิบัติ กามตัณหา กิเลสในด้านนอกๆ ตั้งแต่สิ่งที่ เป็นตัวเป็นตน เป็นลาภ เป็นยศ หยาบๆ เป็นรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสหยาบๆ คุณก็สามารถจับสักกายะ กิเลสตัวเหล่านี้ได้ รู้ขนาด รู้ตัวตนรูปร่าง ลักษณะ เสร็จแล้ว เราก็ทำ ให้มันลดลงซี อาตมาเคยอธิบายซ้ำซากไม่รู้กี่ที มันไม่เที่ยง มันมีสมมติขนาดของ มันร้อยหน่วย ตัวโตเท่าไหนก็แล้วแต่ อาตมาทำมือให้ดูด้วย ตัวโตเท่านี้ เสร็จแล้ว มันก็ไม่เที่ยง แต่ไม่เที่ยง เป็นไปเพื่อ ความหน่ายคลาย อนิจจาจะลดลงมาหาวิราคะ มาหานิโรธ ไม่ใช่ว่าไม่เที่ยงแล้วก็มีแต่มากขึ้น หนาขึ้น โตขึ้น นั่นก็ไม่เที่ยง แต่ไม่เที่ยงแบบนั้น ไม่เที่ยงแบบปุถุชน กิเลสมันหนาขึ้น มันก็หนาขึ้น เรียกว่าปุถุ อันนี้อริยะ อริยะนี่คือ ลดละหน่ายจางคลาย กิเลส ไม่เที่ยงโดยความสามารถ โดยความรู้ ความสามารถ เราได้เรียนได้รู้ ได้รู้จริงๆ แล้วมันก็ลดลงมา เรียกว่า เห็นอนิจจัง เรียกว่า อนิจจานุปัสสี ตามรู้ตามเห็น ความไม่เที่ยง ไม่เที่ยงเพราะเราตีแตก ไม่เที่ยงเพราะเรา ทำให้เปลี่ยนแปลง โดยสามารถเปลี่ยนแปลง ให้ลดละ จางคลายเป็น วิราคานุปัสสี เพราะฉะนั้น แค่คุณทำให้ไม่เที่ยง ให้ลดได้ เรียกว่าลดได้ คุณเห็นนิดหนึ่ง ว่ามันอนิจจัง ไม่เที่ยงแล้ว และไม่เที่ยง เพราะเราลดมันได้ โดยสามารถจริงๆ นั่นคุณพ้น มิจฉาทิฏฐิ

อย่านึกว่า ทิฏฐิมีแต่ความเห็น ตรรกศาสตร์เท่านั้นนะ นี่คือเห็นไตรลักษณ์ ลักษณะของไตรลักษณ์ นี่คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เออ อะไรๆ มันก็ไม่เที่ยงๆๆ เบรอๆ ไปกว้างๆ อะไรมันก็ไม่เที่ยง มันก็เป็น ตรรกศาสตร์ ชนิดหนึ่ง จริง ใครก็เข้าใจ คุณพูดนี่ คุณก็เข้าใจ อะไรก็ ไม่เที่ยงๆๆ ในโลกไม่มีอะไรเลย เที่ยงหรอก สิ่งที่เกิด สิ่งที่มี สิ่งที่เป็น ไม่มีอะไรเที่ยงหรอก ทั้งนั้น เราก็เข้าใจได้ เข้าใจแล้วหละ ถ้าเข้าใจได้ รู้ชัด รู้เจน ไม่เถียงเลย แน่ชัดเลย อันนี้ เราไม่ย้อน ไม่แย้งจริงๆ ถ้าคุณเชื่อมั่นอย่างนี้ ว่า จริง ไม่มีอื่น ไม่เป็นอื่น เป็นหนึ่งเดียวจริงๆ ถ้าคุณรู้อย่างนี้ได้ เป็นการบรรลุธรรม คุณก็บรรลุกันหมด ทุกคนแล้ว ก็คุณรู้กันได้อยู่ทุกคนน่ะ ความไม่เที่ยง มันไม่เข้าใจตรงไหน ใช่ไหม

แต่ปรมัตถธรรมนั้น คือจิต เจตสิก คุณเห็นจิต เจตสิก กิเลสก็คือจิต คือเจตสิก บอกแล้ว แล้วคุณก็เห็น ความไม่เที่ยงอยู่ที่จิต เจตสิก นี่แหละ กิเลสที่มันเหมือนตัวจิต เหมือนเจตสิก แต่คุณก็แยกอาการ ลิงคะ นิมิตของมันออก มาได้ แล้วทำให้มันลดจริงๆ จิต เจตสิก เป็นปรมัตถ์ จิต เจตสิก ลด หน่าย คลาย จางจริงๆ ไม่เป็นตัวตน ตัวตนนั่นคือกิเลส ตัวตนอยู่ในจิต เจตสิก นั่นแหละ คุณทำให้มันลดได้จริงๆ นี่แหละ ถึงเห็นของจริงว่า เห็นอนิจจังๆ ไม่เที่ยง เพราะคุณทำได้ เพราะพ้นมิจฉาทิฏฐิ ด้วยการเห็น อนิจจัง พ้นสักกายะทิฏฐิ ด้วยการเห็นทุกข์ พ้นอัตตานุทิฏฐิ ด้วยการเห็นอนัตตา มีสัมผัสเป็นปัจจัย ไปอ่านดู

มิจฉาทิฏฐิสูตร สักกายทิฏฐิสูตร อัตตานุทิฏฐิสูตร อาตมาเอามาบันทึกไว้ ในทางเอก ก็มีอยู่ แล้วเรา จะเข้าใจว่า ทำไมท่านเอาอนิจจังไปไว้ ที่ตรงนั้นกับ มิจฉาทิฏฐิ ทำไมท่านเอาทุกข์ มาไว้กับสักกายทิฏฐิ ทำไมท่านเอาอนัตตา ไปไว้กับอัตตานุทิฏฐิ ก็เพราะว่า มันก็ต้องมีสภาวะรองรับอย่างนี้ ไม่ใช่ตรรกศาสตร์ รู้ว่า เออ อนิจจังนะ อะไรก็อนิจจัง ทุกขัง ใช่ ทุกอย่างเป็นทุกข์ ทุกข์เท่านั้นเกิดขึ้น ทุกข์เท่านั้นตั้งอยู่ ทุกข์เท่านั้นดับไป คุณก็เข้าใจด้วยเหตุผลได้ อนัตตานะ ทุกอย่างไม่มีตัว ไม่มีตนหรอกทุกอย่าง คุณก็เข้าใจได้ด้วย ตรรกศาสตร์ ไม่ใช่ตัวเรา ตัวเขาอะไร ของใครของมัน คุณเข้าใจ แต่กิเลสโทนโท่ อยู่ที่ตัวคุณนี่ซี เอาให้มันสูญ ให้มันไม่มีตัวตน อนัตตาตั้งแต่มิจฉาทิฏฐิ แล้วก็จับตัว สักกายะให้แม่น เพราะสักกายะทีเดียว เพราะตัวตน มันเป็นตัวการใหญ่ทีเดียว เราจึงทุกข์ เห็นโท่นโท่ เพราะมันมีสักกายะ จึงทุกข์ ฉะนั้น ต้องพ้นสักกายะ ต้องล้างสักกายะ ต้องลดสักกายะ ลดๆๆๆๆๆๆ ทุกข์ก็ลดตาม ทุกข์ก็ลดตาม ก็เห็นชัดเจนว่า โอ้ เรื่องทุกข์ นี่เหตุแห่งทุกข์ พอดับเหตุแห่งทุกข์ เป็นวิราคะ เป็นนิโรธะ มันก็ลดทุกข์ ๆๆๆ เห็นของจริง ว่ามันเป็นสักกายะ จับของจริงได้ในตัวเรา ลดมันได้จริงๆ จางคลายจริงๆ นิโรธจริงๆ เป็นคือปรมัตถสัจจะ มันจึงจะคือไตรลักษณ์ ที่มีสภาวะ เป็นไตรลักษณ์ปรมัตถ์ ไม่ใช่ไตรลักษณ์ แค่สมมุติ แค่ตรรกศาสตร์ จนกระทั่ง ถึงอนัตตา สักกายะก็ตัวตนที่โต อัตตาก็ตัว ไล่เล็กลงมาเรื่อยๆๆๆๆ มันยังมีตัวตนอยู่เท่าไร มันก็ยังเป็นอัตตา ซ้อนในอัตตา มันก็เป็นอาสวะ อาสวะ ก็แปลว่า ตัวตน สวะนี่ เป็นตัวที่แปลว่าตัวตน มันก็เป็นตัวตน แต่มันละเอียด ลึกซึ้งเล็กแล้ว จนกระทั่ง ถอนอาสวะ ล้างหมดสิ้น ไม่เหลืออาสวะ ไม่เหลืออนุสัย ก็สูญ ไม่มีตัว ไม่มีตนแล้ว อนัตตา จึงจะเห็น อนัตตา จริงๆ ว่ามันไม่มีตัว ไม่มีตน คุณฟังดีๆนะ คุณเข้าใจแต่แค่ว่า อะไรก็ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน อะไร ก็ไม่ใช่ของตัว ของตน ไม่มีอะไรเป็นตัวตน คุณเข้าใจยังงี้ ก็แค่ตรรกศาสตร์ แต่คุณจับตัวสภาพ ได้เลยว่า นี่ กิเลส แล้วกิเลสนี้ เป็นอาการยังไง เป็นเครื่องหมายให้รู้ว่า ยังไงในจิตใจของคุณนี่ โอ้... กิเลส เหตุนี้ ปัจจัยนี้ มันไม่มีตัวตนจริงๆ นี้เป็นอนัตตา ที่เป็นสภาวะ เป็นความสุญญตา สูญที่มีสภาวะ สูญจาก ตัวตนอันนั้น ตัวกิเลสนั้น มันต่างกันไหม กับตรรกศาสตร์ มันต่างกันมากน่ะ เพราะฉะนั้น ของจริง หรือไม่จริง พวกนี้แหละ ถ้าใครไม่มี

อาตมาเอามาพูดนี่ อาตมาไม่ได้เอามาจากตำราไหนน่ะ อาตมามีของอาตมา มาแต่ปางบรรพ์ เอามาพูด มาขยายความนี่ อาตมากล้ายืนยันได้น่ะ วันนี้ วันออกพรรษา คุยตัวอีกสักหน่อยหนึ่ง ไม่มีใครรู้หรอก ไม่มีใครมีสภาพนี้หรอก แล้วเขาอธิบายกันไม่ได้ มีที่ไหน คุณไปหามา นี่พูดแล้วก็เหมือนอวดดี อวดใหญ่ อวดโต แต่พูดให้ฟัง พูดจริงๆให้ฟัง แม้แต่แค่วิเคราะห์ ให้เห็นว่า อนัตตาอย่าง ตรรกศาสตร์ กับ อนัตตา อย่างปรมัตถ์ อนัตตาอย่างสมมติ

อนัตตาอย่างปรมัตถ์ นี่เขาก็ไม่ได้พูดกัน อาตมาพูดมา อนิจจังก็พูด ทุกขัง อนัตตา อะไรก็พูด อธิบายมา ตั้งไม่รู้เท่าไหร่ๆ พวกเราก็ฟังไม่ใช่ง่าย หลายคนเข้าใจ แต่เข้าใจแล้ว จับสภาวะก็ยาก แม้แต่คุณจะมา เรียบเรียงพูด อย่างอาตมาบ้าง มันไม่ได้พูดได้ง่ายๆ นะ ฟังมาไม่รู้กี่เที่ยวแล้ว จำได้ไหมว่า ผมพูดมา กี่ทีแล้ว เรื่องพวกนี้ ผมเคยพูดมาหรือเปล่า อธิบาย อนิจจัง ทุกขัง อนัตตายังงี้น่ะ อนัตตา เป็นสภาวะยังงี้ เคยไหม จำได้ไหมว่าผมเคยอธิบาย จำไม่ได้ว่ากี่เที่ยว แต่จำได้ว่า ผมเคยพูดมาไหม มันมากครั้ง จนกระทั่ง คุณจำไม่ได้ว่ากี่เที่ยว ใช่ไหม เออ ก็สอบทานเอาจริงๆนี่น่ะ จะโกหกกันอยู่ที่นี่น่ะนี่ ทำเป็น เข้าข้างอาตมา แล้วก็โกหก เพื่อที่จะยืนยันเป็นพยานว่างั้นเถอะ พยานปากเอก แล้วก็ ทำเป็นพูดแล้ว ก็โกหก แล้วก็อยู่ที่บาปคนนี้ แต่ถ้าความจริงก็อยู่ที่คนนี้ เป็นพยานเท็จ หรือพยานแท้ ถ้าเป็นพยานแท้ ก็อยู่ที่นี่

อาตมาจำได้ว่า พูดจนไม่รู้ว่านับไม่ได้เหมือนกัน จำไม่ได้ว่า พูดมากี่เที่ยว กี่ครั้งนา พูดอธิบายมามากบ้าง น้อยบ้าง ผ่านๆ บ้าง เจาะๆ พยายามเจาะ เจตนาให้ลึกบ้าง พูดให้ฟัง นี่เป็นสาระสัจจะ ทั้งหลาย ทั้งแหล่นะ เพราะฉะนั้น ผู้ที่มีสภาวะพวกนี้ รู้ตัวมัชฌิมาที่แท้ ตัวที่ปานกลางพอเหมาะ พอดีของคุณ ฆ่าได้กี่ตัว รู้ได้กี่ตัว รู้ได้มากมายแค่ไหน ไอ้ที่พูดตัวๆ นี่มัน ที่จริง มัน แหม มันมากน่ะ มันมากตัวน่ะ เพราะฉะนั้น คุณจะรู้ว่าคุณเอง คุณได้ฆ่ากิเลส มามากๆ ตัวแล้ว มันก็ยังเหลือมากตัวเหลือเกิน แล้วคุณ ก็จะรู้ แล้วยิ่งญาณของคุณ ยิ่งดีน่ะ คุณจะรู้ตัวเลยว่า โอ้โฮ ทำไมเราอยู่ในวัดแท้ๆ ทำไมกิเลส มันถึง มากขึ้นๆ ไม่ใช่ กิเลสของคุณ มันมากมาแต่เก่า แต่ที่คุณเห็นกิเลส มากขึ้นนั้นน่ะ เพราะกิเลสของคุณ มันปรากฎตัว คุณมีญาณๆ ก็เห็นกิเลสในตัวเรามากขึ้นๆ ไม่ใช่ว่าคุณเอง คุณไปเพิ่มกิเลสมา อยู่ที่นี่ อยู่ในวง สายสิญจน์พวกเรานี่ พาเอากิเลสอะไรมาให้มากมาย จะมีกิเลสมาก อยู่ในวัดนี่นา อยู่ในสายสิญจน์ จะมีกิเลสมากอยู่ทางหนึ่ง คือ ทางภวตัณหา เพราะว่ามัน แหม ไอ้สายสิญจน์ ภวตัณหา นี่ยาก อัตตา สร้างภพ สร้างชาติเอง นี่ยาก มันของตัวของตนเอง เพราะฉะนั้น อยู่ในด้าย สายสิญจน์ นี่ กามทางด้านโลกียะ นอกๆนี่ป้องกันไว้ให้แล้ว กามภพ กามตัณหา นี่ป้องกันไว้ ให้แล้ว เพราะฉะนั้น คุณจะไม่มากเท่าไหร่

คุณจะมารู้ว่ากิเลสกาม นี่ ของตัวเองนี่มันมาก ไม่ใช่ว่า คุณออกไปให้เขา เอาเข็มฉีดยา แทงเอา ที่ศูนย์ การค้าโน่นเมื่อไหร่ ไม่ได้ไปสัมผัส รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ราคะ อะไร จากข้างนอกมา ใช่ไหมเล่า ไม่ได้ไปถูกยั่วถูกยวน อะไรมามาก อยู่ที่นี่ก็แค่นี้ ให้สังวรระวังกันด้วย พยายามช่วยกัน แต่ละคนๆ ช่วยกันมอง ช่วยกันแล ช่วยกันเพ่ง ใครแหลมๆไป ก็ว่ากัน มาให้ข้อมูล ที่จริง ก็มาฟ้องนั่นเอง ให้เตือน ให้ติงกัน จริงอยู่ตลอดเวลา เพราะฉะนั้น โอกาสจะเข้ามามีโรค ของกาม แหม ฟังแล้ว หวาดเสียวนา เหมือนกามโรคฮึๆ มีโรคของกาม กามภพ กิเลสตัณหา กามนี่ มีโรคนี่ คุณไม่ได้ไปเอาโรคนั้นมาใส่ตัว แต่คุณเห็นว่า เรามี โอ้โฮ กิเลส กาม ของเราก็เห็นตัวของเรา ตัวเราเองนี่ มีมากขึ้น มันของตัวเรา มีมาเก่า แต่ ญาณ หรือดวงตาของคุณเจริญขึ้น เห็นโรคอันนี้ของคุณเอง เห็นกิเลสอันนี้ ของคุณเองมากขึ้น ชัดกว่าแต่ก่อน มันมีอยู่เหมือนกัน แต่คุณไม่มีดวงตา คุณไม่มีญาณรู้มัน

ตอนนี้มีญาณรู้มัน เลยก็รู้เห็นมากขึ้น ไม่ใช่มันมีกิเลสเพิ่มนะ แต่กิเลสภวตัณหา จะเพิ่ม เพราะว่า ด้ายสายสิญจน์ เพราะว่ากิเลสด้านภวตัณหานี่ยาก กั้นยาก เหลือเกิน มันสร้างเองได้ มันอัตตา เพราะว่า ตัณหานี่มันอัตตา มันสร้างภพ สร้างชาติ สร้างอะไรเองอยู่ในนี้ มันไม่ได้ออกไปทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ภายนอก มันไม่ได้เกี่ยวข้อง กับของหยาบ มันเรื่องลึก เรื่องละเอียดของตัวตน อันนี้ก็กั้นยาก อาตมา ก็ถึงว่าหนัก เรื่องอัตตามานะนี่หนัก เรื่องภพ เรื่องภวตัณหานี่ หนัก เรื่องพวกนี้นี่ อาตมาก็พยายามป้องกัน พยายามแล้ว พวกเราก็เชื่อ ใครเชื่อก็ทำจนได้ พอทำได้แล้ว ไล่ออกไป คุณยังไม่ไปเอาเลย ไอ้ กามข้างนอก อาตมาเชื่อเลยน่ะ เอ้า แจกบัตรไปดูคอนเสิร์ต นายเบริ์ด อาตมาว่า ไปดูกันไม่กี่คนหรอก จะไม่ไปซะเยอะ บางคนก็ละอาย ไม่เอา ไม่ไป หิริโอตตัปปะ ใจมันมีกิเลส มันอยากไป มันก็ได้หิริ ไม่เอา ถ้าให้จริงๆ น่ะนา ไม่ค่อยไปหรอก ยกตัวอย่างง่ายๆ ยังงี้เป็นต้น

เพราะว่าพวกเรา รู้แล้ว อันใดที่มันยิ่งได้ชัดเจน จ้างให้ไปยังไม่ไปเลย อย่าว่าแต่ให้ บัตรฟรีเลยนา จ้างอีก ไม่เอา ไม่รู้จะเห็นได้สาระอะไร จากอันนั้น จะดู ที่นี่ก็ดูเหลือแหล่แล้ว อัดเท็ปมาดูกัน นิดๆหน่อยๆ ก็เหลือ เข้าใจแล้ว เข้าใจแล้ว จะไปถึงไหน ปรุงขนาดไหน เป็นยังไง ลีลาก็เป็นยังไง ก็พอเข้าใจแล้ว แล้วก็ดูโดย ไม่ได้ติดรสเอร็ดอร่อยอะไร ดีไม่ดี จะไปข่มเขาด้วยซ้ำ จะไปดูถูก ดูแคลนเขา ซึ่งอาตมา ก็ปรามอยู่ ไม่ต้องไปดูถูกดูแคลนเขา เขาก็เป็นเขา เราก็เป็น เรา เราไม่เป็น ไม่มีอย่างเขา ก็ดีแล้ว แต่เขาเป็นเขาก็มีอยู่ ถึงเราไปช่วยเขาไม่ได้ เขาก็เป็น ก็น่าสงสารเขาด้วยซ้ำ ถ้าเรามีโอกาส ก็ควรจะช่วยเขา ทีหลัง ตอนนี้ ยังช่วยไม่ได้ ก็ปล่อยเขาไปก่อน มุมดีอะไร มันอาจจะมีบ้าง ก็เอามาใช้ นา แม้แต่อย่างเบิร์ด ทำนี่ มันมี มุมดีอะไร ที่เราจะประยุกต์ ดัดแปลงอะไรเอามาใช้บ้าง ได้ก็เอา ซึ่งมันก็ต้อง เป็นความรู้ อย่างชาญฉลาด ที่จะเป็นนักศิลปะ ที่จะเอาสิ่งเหล่านี้ มาประยุกต์ แม้แต่สิ่งนี้ จะเป็นสิ่งที่ ตรงกันข้ามกันนา ต้องมีฝีมือนา เหมือนนักศิลปะนี่ สีแดงกะสีเขียว นี่มันตัดกันน่ะ แต่มันภาพนี้ เราจะต้อง เอาแดง มาให้ได้ อย่างสัดส่วน ที่ดีจนเกินการ ดูแล้วช่วยหนุน ช่วยเนื่องส่งเสริม ทั้งๆที่ เอามาเป็นสีศัตรูกัน หรือเรียกว่า สีปฏิปักษ์ สีแดง กับสีเขียว มันเป็นปฏิปักษ์กัน จะเอาเป็นเขียว ไปทั้งหมด ไม่เอาแดงมาเลย มันก็ไม่ดีน่ะ แต่ถ้าเอามา ก็ต้องมีฝีมือน่ะ เอามาใช้ให้มีฝีมือน่ะ อย่าเอามาใช้ ให้มันทำให้รก หรือมันทำให้เละเทะ พังอย่างนี้ เป็นต้น นี่ยกตัวอย่างง่ายๆๆ อะไรๆ มันมีลึกซึ้ง มันมียากกว่านี้อีกเยอะ แต่พอเข้าใจก็เอา พอเข้าใจ ระดับนี้ไปก่อน งั้นเราจะรู้ อะไรต่ออะไร ได้ลึกซึ้ง ละเอียด สามารถจัดแจงไม่ให้โต่งไปฝั่งโน้น ฝั่งนี้ได้ มัชฌิมาจริงๆนี่ จึงไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ตื้นๆ

ทุกวันนี้ อาตมาพยายามที่จะอธิบาย ถึงเรื่องอัตตามานะให้มาก มากๆขึ้น เพราะว่า มันยากอย่างที่ กล่าวแล้ว แล้วมันโต่งไปได้มากกว่า เพราะมันไม่รู้ ไม่เห็น ด้วยใครๆเลย อาตมาก็ได้แต่ พยายามที่จะรู้ บทบาทของพวกคุณ มันแสดงออกมา มันเป็นยังไง แล้วก็เอาสิ่งเหล่านั้นแหละมา หยั่งไปถึงสภาพว่า เออ ยังงี้นี่หลงไปในทางผิด ภวตัณหา แบบไหน ลึกอย่างไร มีมุมเหลี่ยมอะไร จะสะกัดกั้น ที่จะบอกแจ้ง ให้คุณรู้ตัว แล้วคุณก็ได้ไปตรวจตรา เห็นจริง เห็นชัด แล้วคุณก็จะได้เลิก ได้ละ ได้ลด มันก็จะได้เจริญ ขึ้นบ้าง กามก็ดี ภวตัณหาก็ดี กามตัณหาก็ดี มันเป็นคู่ที่มันไปด้วยกัน มาด้วยกัน สลับซับซ้อน พึ่งพา อาศัยกัน ให้เลวยิ่งขึ้นก็ได้ พึ่งพาอาศัยกัน ให้ลดละ หน่าย จาง คลายก็ได้ ได้อาศัยอยู่ นา เป็นเหตุ เป็นปัจจัย แก่กันและกัน ทำให้เจริญก็ต้องรู้ว่า ทำให้เจริญ คืออย่างไร ทำอย่างไร ทำให้เสื่อมๆ นี่ ไม่ต้องรู้ มารู้อะไรมากมาย ก็พากันเสื่อมได้ กามตัณหา กับภวตัณหาพาให้เสื่อม โดยไม่ต้องรู้ ความรู้อะไร โลกๆ เขาพากันเสื่อมอยู่แล้ว เจริญงอกงามไพบูลย์ พอ กามตัณหา กับ ภวตัณหา นั่นแหละ เป็นคู่หูตัวสำคัญ พากันเสื่อมแล้วเสื่อมอีกๆ อยู่ในโลก ไมต้องศึกษายากหรอก เพราะว่าเพื่อนๆ ศึกษา ไม่ต้องศึกษาอะไรนัก เพื่อนพา แล้วเขาก็ศึกษา ด้วยเหมือนกัน จะว่าไปเขาก็ปรุงก็แต่ง เขาก็เฉลียว ฉลาด เขาก็เพิ่มเติมโดยไม่รู้ โดยอวิชชา มันก็เลยหนักหน้าไปอยู่เรื่อยๆ เพียงแค่คุณ ตามเขาเท่านั้น คุณก็หนัก คุณก็หนา หนาไปด้วย กามตัณหา หนาไปด้วย ภวตัณหาได้มากมาย ไม่ยาก แต่จะมารู้กามตัณหา ภวตัณหา เพื่อที่จะลดละ จาง คลาย เพื่อที่จะเจริญขึ้นทางอริยะ นี้ซียาก

สรุปแล้ว ความโต่งสองด้าน หรือ มัชฌิมา นี่จึงเป็นหัวใจแท้ๆ ของศาสนา ของพระพุทธเจ้า ไม่ตายตัว ลึกซึ้ง ซับซ้อนละเอียดลออมาก จะขอย้ำอีกทีหนึ่งว่า ตัวภวตัณหา หรือตัวอัตตามานะ นี่มีตั้งแต่ระดับ หยาบ ไปจนกระทั่งหมด กามตัณหา หมดราคะ เป็นพระอริยะ ในระดับพระอนาคามี ด้วยภพกาม สบายนา สบายแล้ว ปลอดภัย ไม่เวียนกลับมาอีกจริงๆ เลย เป็นพระอนาคามีแล้ว ก็ยังมีอัตตามานะ คิดดูซิ ต่ำๆ ไม่ได้หมายความว่า อัตตามานะ ไม่มีน่ะ อัตตามานะก็ใหญ่นะ ไม่ได้หมายความว่า อัตตามานะ ไปอยู่ที่สังโยชน์สูงแล้ว สังโยชน์ต่ำไม่มี มีไปด้วยกันกับกาม นี่แหละหยาบๆ ต่ำๆ นี่แหละ ไปด้วยกันนี่แหละ เพราะฉะนั้น ล้างกามให้หมดด้วย อัตตามานะ ก็ช่วยล้างกันด้วย อัตตามานะก็ลด กามก็ลด จนกระทั่งกามหมด อัตตามานะ ที่เหลือละเอียด ยังค้างเติ่งไปอีก หาปลายยอดนั่นอีก ไม่มีกาม ไม่มีอัตตามานะ เพราะฉะนั้น อัตตามานะ มันจึงมากกว่ากาม เป็นทับทวี แล้วไม่ได้รู้ได้ง่ายๆ เพราะไม่รู้ จึงนึกว่าตัวไม่มี เพราะไม่รู้นี่ จึงนึกว่าตัวไม่มี เถรวาทนี่มาเรียนฝ่าย ภวตัณหา นี่เป็นตัวนามธรรม ไม่ใช่รู้ ได้ง่ายๆ แล้วก็นึกว่า ตัวไม่มี ไม่รู้ได้ง่ายๆ จึงนึกว่าตัวไม่มี แท้จริงก็มี บอกแล้วว่า มันโต่งเป็นสองด้าน เหมือนกันกับ กามตัณหา เหมือนกันกับมหายาน มหายานเป็นรูปเป็นร่างชัด พอมาเถรวาท มาเป็น ภวตัณหา เป็นภพ ไม่ชัด ก็เลยไม่ค่อยรู้ นึกว่าตัวไม่มี ไอ้ความไม่มี กับความไม่รู้นี่ มันต่างกัน ตัวมีอยู่แท้ๆ แต่ตัวไม่รู้ นึกว่าตัวไม่มี ไอ้ความไม่มีนี่ ก็ตัวรู้ แต่ตัวไม่รู้ ต้องรู้จริงๆ เลยว่า มันไม่มี มันคือไม่มีจริงๆ ต้องรู้ชัดว่า ไอ้สิ่งมี มันคืออะไร ไม่มี แล้วจริงๆ ไม่ใช่พิสูจน์กันได้ง่ายๆ พิสูจน์กันยากเย็นแสนเข็ญ เอาอาตมาได้ เทศน์ถึงเรื่องของมัชฌิมา ของความโต่งสองด้าน ที่เราเอง เรากำลัง พากเพียร ศึกษากันอยู่ ทั้งฆราวาส และทั้งแม้แต่สมณะด้วย ถูกประพฤติ ปฏิบัติขึ้นมา ในฐานะสูงนี้ ด้วยเหมือนกัน นี่เป็นเรื่อง ที่เราจะต้องศึกษาไป

ก็ออกพรรษาแล้ว ก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะหยุด เราจะพากเพียร ชาติไหนๆ จะมีชีวิตอยู่ เราก็ต้อง พากเพียร ศึกษาปฏิบัติธรรมของพระพุทธเจ้า นี่แหละ และไม่ได้หมายความว่า เราไม่เจริญ เราไม่สุข เจริญ เป็นสุข สุขพิเศษด้วย เป็นวูปสโมสุข สุขอย่างเบิกบาน ร่าเริง สุขอย่างที่จะรู้เท่าทันโลก สุขอย่าง สนุกสนานด้วย แต่มันเกินๆ ไปได้ ทีนี้ เราจะทำขนาดไหน

อาตมาเอง อาตมาไม่อยากจะพูดว่า อาตมานี่ ปางต่อๆไปนี้ หรือว่า บางครั้ง บางคราว อาตมามันอยาก จะสนุกเหมือนกับอย่างอรหันต์จี้กง อาตมาไม่อยาก จะพูดว่า อาตมาอยากจะไปเป็นอย่างนั้นน่ะ แต่ว่า สนุกน่ะ โอ สนุกสนาน แต่ไม่ได้มี เจตนาร้ายอะไรหรอก และท่านก็ไม่ตกต่ำด้วย เพราะว่าท่านทำ กับคนอื่น เท่านั้น ตัวเองท่านก็ทำไป เหมือนบ้าๆ บอๆ แต่มันก็เกินไป อาตมาเห็นว่า ยังไม่เหมาะแก่กาล แต่ยังไม่รู้ว่า อาตมาจะทำอย่างนั้นหรือเปล่า แล้วสนุกน่ะ สนุก สนาน ไม่ได้หมายความ เป็นอรหันต์แล้ว เด๋อ แข็ง เกร็ง ไม่ ทุกวันนี้ อาตมา เบิกบาน ร่าเริง และสนุกสนานกว่าเก่าม๊ากมาก ทุกวันนี้ อาตมาไม่เกร็ง เรียกว่า ไม่พยายามสังวรสำรวม แบบให้มันสุขุม ให้มันสมถะ ให้มันเป็นเหมือนอย่างสมัยก่อน ไม่ เพราะ อาตมามั่นใจ ในคนที่เชื่ออาตมา ในแนวลึกมากพอ เพราะฉะนั้น ในแนวกว้าง อาตมาไม่แคร์ เท่าไหร่ ในแนวกว้าง ในแนวตื้น อาตมาไม่แคร์ เพราะฉะนั้น ในคนที่มามองอาตมาตื้นๆ มามอง อาตมาหยาบ แล้วก็หาว่า เอ้อ อาตมาไม่ลึกซึ้งหรอก อาตมาไม่ยิ่งใหญ่ ไม่วิเศษ ไม่ดีอะไรหรอก มันเป็น การคัดเลือก ในตัวด้วย ไม่มีปัญหาอะไร อาตมาเอง อาตมาไม่ไม่ใช่ว่า อาตมาประมาท อาตมาว่า อาตมาประมาณ อยู่ตลอดเวลา ว่า มันสมเหมาะสมควรเอาขนาดไหนนา ซึ่งอาตมาเอง อาตมาว่า ไม่ได้กังวล ในเรื่อง ตัวเอง ว่าตัวเองจะมีคนเคารพนับถือ ศรัทธาหรือไม่ อาตมาไม่กังวล แล้วอาตมา ก็รู้อยู่ว่า ถึงแม้ว่า อาตมาทำอย่างนี้ นี่คนเคารพนับถือ ศรัทธาเลื่อมใส มีอยู่หรือไม่มี เพียงพอหรือไม่เพียงพอ คนเคารพ ศรัทธาก็เพียงพอ และอาตมาก็ทำงาน กับคนเคารพศรัทธาอยู่นี่แหละ เต็มมืออยู่ ทุกวันนี้ ไม่ล้นมือ นี่ได้ฝีมือของอาตมา ที่พยายามประมาณไม่ให้ล้นมือ ถ้าเผื่อว่า ได้ลูกศิษย์ ลูกหา หรือว่า ได้คนกรูเกรียว มากเกินไป ผู้ช่วยเหลือก็ไม่หวาดไหว ไม่ค่อยพอ อาตมาฟ่าม ทำแนวลึก ที่จะลึกไปกว่านี้ไม่ได้ เพราะฉะนั้น ไม่จำเป็นที่ จะรีบร้อน ให้ได้มากๆๆๆๆ เร็วๆ ไปให้พอได้สัดส่วนไป แล้วก็ดูยาก ว่ามันน้อยลง หรือมันมากขึ้น ดูยาก บางทีเหมือนกับมันน้อยลงๆๆ แล้วมันก็ดูหยาบขึ้นๆๆๆๆ บางที จะรู้สึกน่ะ แต่ที่จริง มันก็ซับซ้อน มันหยาบขึ้นก็จริง มันเหมือนกะเทียน เหมือนกะ เหลา แต่เขาได้ สภาพแก่นสภาพแท้ขึ้นมา นา เสร็จแล้ว เราก็เอา ไอ้แก่นไอ้แท้ๆ นี่ไปประกอบไปใช้ เพื่อที่จะสร้าง ให้มันเกิด ความมีจักรกล ที่โตขึ้น ใหญ่ขึ้นอีกทีหลัง ยังงี้ เป็นต้น ก็ทำไปตามลำดับ ตามขั้น ตามตอนมานี่ ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ

ก็คิดว่า พวกเราได้ฟังที่อาตมาเทศน์แล้ว ก็คงจะเอาไปตรวจตราของตัวเอง ตรวจสอบ สภาวะที่แท้จริง ในความหมายที่พอฟังแล้ว พอเข้าใจนี่แหละ เอาความรู้ ความเข้าใจเท่าไหร่ๆ ก็เอาไปเก็บ หรือเอาไปใช้ เอาไปปฏิบัติ แม้ออกพรรษาแล้ว ก็เอาไปปฏิบัติอีก อยู่ที่ไหน ก็ปฏิบัติ เพราะมรรคองค์ ๘ นี่ ปฏิบัติ ได้ทุกที่ ตามอินทรีย์พละ แต่มันก็เหมาะสม อย่างพระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า มาบวช นี่ มันบริสุทธิ์ โดยสังข์ขัด โดยส่วนเดียว ก็จริง มันดีมันหลายๆอย่าง มันดีกว่า แต่ผู้ไม่เหมาะสมมาบวช ไม่บริสุทธิ์ดุจสังข์ขัด โดยส่วนเดียวหรอก มันเน่า โดยส่วนเดียวด้วย ผู้ที่ไม่เหมาะสมที่จะถึงฐานบวชน่ะ มาบวช ไม่ได้บริสุทธิ์ ดุจสังข์ขัด โดยส่วนเดียวหรอก มาบวช นรกโดยส่วนเดียวด้วย ฟังงี้ คงพอเข้าใจนา ไม่ได้เกิดคุณค่าอะไร เพราะฉะนั้น ผู้เหมาะสมที่จะได้บวชได้แล้ว มีฐานฐานะ พอจะบวชแล้วจริง ก็บวชให้เหมาะสมของตัวเอง ก็บริสุทธิ์ โดยส่วนเดียวได้จริง แล้วถ้าคุณที่ยังไม่ถึงฐานะจริงมาบวช นรกโดยส่วนเดียว เรื่องนรกนั่นแหละ เป็นส่วนใหญ่ ไม่ได้ส่วนเดียว ก็เป็นนรกเป็นส่วนใหญ่ด้วย การเจริญส่วนน้อย ก็ไม่เหมาะสมเหมือนกัน

เอ้า เอาละ อาตมาคิดว่า การแสดงธรรมสมควรแก่เวลาแล้ว ก็เอาแค่นี้พอ.....


ถอดโดย จอม ศรีสวัสดิ์
ตรวจทาน ๑ โดย สม.ปราณี
พิมพ์โดย สม.นัยนา
ตรวจทาน ๒ โดย สม.จินดา ๑๖ พ.ย.๒๕๓๔

คำที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่ในโลก/FILE:1992B.TAP