ถาม-ตอบปัญหา

ช่วงหนึ่งจากการทำวัตรเช้า เมื่อวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๓๖ โดย พ่อท่าน โพธิรักษ์ ณ ปฐมอโศก


ถาม : พ่อท่านคะ ของพวกเรามันยากนี่คะ อย่างญี่ปุ่น หรือประเทศพัฒนา เขาก็ทำงาน มีอาชีพ เขาก็ทำ ตามอาชีพ ใครมีอาชีพอย่างไร ก็ทำอย่างนั้น ต่างคนก็ต่างสร้างสรร แต่ของเรามันมีงานจร ในขณะ ที่ทำงาน มันมีงานจรมาอีก เหมือนกับว่า เราจะต้องรับงานมาก ทำให้งานหลักพัฒนาไม่มาก

พ่อท่าน : อันนี้มันเป็นความจำนนของเรา บอกแล้วว่า พวกเราบุกเบิก รุ่นหัวงานแรก มันก็เลยงานเยอะ เพราะไอ้โน่น ก็จำเป็น ไอ้นี่ก็สำคัญ แล้วยิ่งยุคสมัยนี้ อะไรมันก็สำคัญไปหมด

อย่างสมัยพระพุทธเจ้า มันไม่มีอะไรมาก ไม่มีอะไรซับซ้อน ไอ้โน่นไอ้นี่ ก็ไม่ต้องเยอะต้องแยะอะไร เพราะว่า มันมีปัจจัยสำคัญ กิน อยู่ หลับ นอน ชีวิตมันไม่ต้องดิ้นรนอะไร เดี๋ยวนี้ โอ้โห! มันเยอะเรื่อง อาตมา ก็ไม่รู้จะขยายความอย่างไร สังคมยุคสมัยไม่เหมือนกัน

เพราะฉะนั้น ทุกวันนี้ งานมันหลายแขนง หลายกระแส หลายอย่างหลายอัน มีโน่นมีนี่ ดูมันเป็น ความจำเป็น ดูเป็นความทุกข์ความร้อน เป็นความลำบาก ก็มันเป็นกิจ เป็นการ เป็นงาน มันเยอะจริงๆ อาตมาก็เข้าใจ

ทีนี้ พวกเราอยู่ยุคนี้ คุณก็ตาย รอเกิดในยุคสมัยพระพุทธเจ้าก็แล้วกัน

ถาม : คือคนที่เขาไม่เห็นด้วย เขาจะมองว่า พวกที่ทำงาน หรือพวกที่รับภาระอะไร สุขภาพก็ไม่ดี จิตใจ ก็ไม่ดี คนที่เขาไม่ทำงาน เขาก็จะมองเห็นจุดอ่อนของคนทำงาน อารมณ์ก็ไม่ดี มันก็มีหลายๆอย่าง คนที่ทำงาน ก็ใช่ว่าจะได้ดีเสมอไป

พ่อท่าน : ได้ดี คนทำงานได้ปฏิบัติธรรม แน่นอน ได้ดี ถึงแม้ว่าเขาจะแสดงออก ก็เป็นของจริง คนที่ปกปิด เอาไว้ หมกเอาไว้ ไม่ได้แสดงออก นึกหรือว่า ตัวเองได้ดี ตัวเองหมกของที่เลวไว้ต่างหาก ฟังไว้ชัดๆ ตัวเอง ไม่ได้มีคลี่คลาย ไม่ได้ขยับเขยื้อนเลย หมกของเลวเอาไว้ โดยที่ไม่มีโอกาส... เนิ่นช้าๆ นั่นแหละ ไม่ได้เข้าฐาน ของศาสนาของพระพุทธเจ้า ธรรมใด วินัยใด เป็นไปเพื่อความเนิ่นช้า มันชะลอ มันลวง ตัวเอง

ถ้าหากมันออกมา พวกเราจะมีถูกกระแทก ถูกสัมผัสอะไรออกมา มันก็ออกมาบ้าง ออกมาก็ได้รู้ซิ ของจริง ของเราเป็น เราจะได้รู้ตัวของเรา นี่คนที่ไม่ได้กระแทกกระทั้นอะไร สงบอยู่ เหมือนกับคุณสุภาพ เรียบร้อย คุณไม่มีอะไร ที่จริงคุณมีอะไร แต่คุณหมักไว้

ถาม : คนทำงาน จะออกมาในลักษณะจุ้นจ้าน ติดงาน คนไม่ทำงานก็เรียบง่าย

พ่อท่าน : เหมือนกับคนบรรลุแล้วนะ ที่จริง... มันเหมือนกับของหมักดอง ถ้าใครฟังตรงนี้ชัดแล้ว จะสะดุ้ง พวกฤาษี ทั้งหลายแหล่ นี่แหละ ลักษณะฤาษี มันกลบ มันดูแล้วมันเหมือนกับสวย แต่ไม่สวยหรอก มันหมัก มันไม่แสดงออก มันอนุสัย มันนอนเนื่อง นอนนิ่ง มันสิ่งที่เน่าหมัก อาสวะก็แปลว่า ของหมักดอง แตกตัว มียีสต์ มีแบตทีเรียเติบโต ไม่ใช่ไม่เติบโต มันอนุสัย อนุสัยก็แปลเป็นภาษาไทยว่า นอนนิ่ง นอนเนื่อง นอน... มันต่อเนื่องนะ ไม่ใช่ว่ามันไม่ต่อนะ มันไม่จบนะ ถ้านอนตัด ไม่ใช่นอนเนื่อง ถ้านอนตัด เออ อย่างนั้นไปได้ มันไม่ตัด ลักษณะพวกนี้ไม่ใช่ของพุทธ มันไม่ตัดหรอก มันนอนเนื่อง มันนอนแล้ว มันก็ต้อง ต่อเนื่องนี่ ก็คือต่อ มันนอนแล้วมันก็เนื่องต่อไปอยู่ มันไม่ได้ขาด อาสวะมันยังมีหมักอย่างนี้

เพราะฉะนั้น อาสวะลักษณะจิตพวกนี้ หมกอาสวะ หมกอานุสัย มันไม่ได้ถูกกระแทกกระเทือน ออกมา หรอก ขอยืนยันนะ อย่านึกว่า แหม พวกนี้สิ ดีกว่า ไม่ดีกว่า ขอยืนยัน ข้อสำคัญ พวกเราอย่าทำเกิน ฐานตัวเอง ก็แล้วกัน ระวัง! นี่ มันมากไป สู้ไม่ไหวหรอก จะต้องพักบ้าง ให้มันชัดอย่างนั้น เท่านั้นเอง ไม่เช่นนั้น เราเอง จะแพ้ภัยตัว โอ๊! ทนไม่ไหวแล้ว ออกมามากก็ละอายมาก หรือไม่ก็สู้ไม่ไหว มันแรง กระทุ้งออกมา กิเลสมันหนักเกินไป เราก็รบรากันไม่ไหว เท่านั้นแหละ ระมัดระวังไปตามขนาด ยังมีการ ได้สัมผัส มีกิเลสออกมาแสดงตัว แล้วเราก็ได้จัดการกับกิเลสจริง เมื่อใดๆ เมื่อนั้น คุณมีหวังได้ มีโอกาส

เพราะฉะนั้น ลักษณะหมักๆๆๆ แบบนี้ คุณฟังให้ชัด ที่อาตมาบอกนี่ ไม่ใช่โมเม เขาบอกว่า เขาเรียบ ก็ใช่สิ คุณลักษณะ คุณพยายามกลบเกลื่อน เป็นฤาษี พยายามไม่ให้มันออกมา ก็เป็นอนุสัย เป็นอาสวะ อยู่อย่างนั้นแหละ และ จะช้านาน

ถาม : พ่อท่านคะ เหมือนพ่อท่านเทศน์ในตอนแรก คือ คนที่มาอยู่วัดนานๆ แล้วเห็นกิเลสเยอะ คนทำงานมากๆ ก็จะเป็นเช่นนั้นเหมือนกัน ใช่ไหมคะ

พ่อท่าน : ใช่ ใช่ คนไม่ทำงานก็ไม่ค่อยเห็นหรอก จะรู้สึกเหมือนว่าตัวเองเป็นคนบรรลุ เพราะฉะนั้น จะมองเห็น คนเลี่ยงๆ หลบๆ คนเฉื่อยๆ เนือยๆ เหมือนตัวสงบจริง ๒ ซึ่งมันต่างกัน บอกแล้วว่า อริยะของ พระพุทธเจ้านั้น ยิ่งเป็นอริยะ ยิ่งคล่องแคล่ว ยิ่งกระตือรือร้น ยิ่งปราดเปรียว ยิ่งชำนาญ ยิ่งสร้างสรร ยิ่งมีคุณค่า

เพราะฉะนั้น ผู้ที่เป็นพระอรหันต์ ก็คือ ผู้ที่มีหน้าที่งานการที่ดี เป็นโพธิสัตว์ อรหันต์คือโพธิสัตว์ โพธิสัตว์คืออรหันต์ โพธิสัตว์ คือผู้ที่ทำงาน หนักเข้าก็จะเป็นอรหันต์จี้กง บ้าๆบอๆ แต่นั่นมันก็เกินไป อรหันต์จี้กงนี่ เขาคิดเอาส่งไป เลอะเทอะไปหมด แต่อรหันต์จะคล่องๆ เหมือนอรหันต์จี้กง เป็นตัวอย่าง ที่มันมากไป เขาก็เลยเอามาเป็นอรหันต์จี้กง คือทำงาน อรหันต์ของพระพุทธเจ้า นี่สร้างสรร ทำงานทำการ มหายานนี่ไป แต่ว่ามันเฟ้อ มันเพี้ยนไปเหมือนกัน หลงจนกระทั่งไม่รู้จักจิต อรหัตผลไม่มี ก็เลยเฝือไปเลย โพธิสัตว์ไม่มีอรหันต์ อรหันต์ไม่มีโพธิสัตว์ มันก็แตกแล้ว อาตมาก็กำลังจับมารวมกัน แล้วให้เห็นจริงเลยว่า อรหันต์กับโพธิสัตว์ ไม่ได้เป็นอื่น อันเดียวกัน ขอยืนยันว่า อันเดียวกัน แล้วต้องรู้เลยว่า ผู้ที่บรรลุ ผู้ที่หมดประโยชน์ ก็คือ ผู้ทำประโยชน์ท่านทุกคน เป็นโพธิสัตว์

ถาม : เขามองมุมนี้ว่า เพราะพ่อท่านเป็นพระโพธิสัตว์ จึงมีแนวโน้มสอนพวกเราอย่างนี้ แต่ถ้าเป็น พระอรหันต์ ธรรมดาทั่วไป ที่ไม่ใช่พระโพธิสัตว์ เขาไม่สอนแบบพ่อท่านหรอก เขาจะสอนแบบเรียบๆ กว่านี้ ไม่ต้องมา วุ่นวายอย่างนี้ เพราะพ่อท่านเป็นพระโพธิสัตว์ พ่อท่านถึงอยากให้พวกเราเป็นอย่างนี้

พ่อท่าน : เพราะไม่วุ่นวาย มันถึงได้เงียบ แล้วก็นี่เงียบฉี่ ศาสนาเงียบฉี่ มันถึงได้เป็นอย่างนี้ มันถึงถูกโลก เขากลบกลืน หมดเลย เพราะเราไม่รู้โลก เพราะเราไม่ทันโลก เพราะเราไม่เป็นคนเหมือนอย่างโลก เขาจึงดูถูก เขาก็ดูถูกนะ ศักดิ์ศรีของศาสนาถูกดูถูก ผู้ที่พัฒนานี่ เขาอวดอ้างเขาเผลอ เขาบอกว่า สังคมนี่ อยู่ได้ด้วยเขา คนโลกีย์ เพราะฉะนั้น แอ๊คไม่ขึ้น ศาสนาอย่าไปนั่งแอ๊ค เขาไม่เคารพ คำว่าศาสนา ไม่มีทางทันกิน เหมือนอย่างคึกฤทธิ์ เป็นต้น อย่าเอาศาสนาพวกโน้นมา

เพราะฉะนั้น เขาก็เลยอ้าง ประเภทอ้างมิจฉาทิฐิ ว่าอย่าเอาศาสนาโลกุตระมาสอนมนุษย์ เห็นมั้ยว่า มันเสื่อม ขนาดไหน คนอย่างคึกฤทธิ์ ยังดูถูกด้วย

ถาม : ถ้าอรหันต์องค์นั้น องค์ที่ไม่ใช่พระโพธิสัตว์ ในระดับพ่อท่าน เขาจะสอนอย่างพ่อท่านหรือเปล่า คือ สอนให้ขยันมากๆ ให้ทำงานมากๆ เขาจะสอนให้ขยัน อย่างพ่อท่านหรือเปล่า

พ่อท่าน : ประมาณตนถูก ขยันกว่าอาตมาก็มี อาตมานี่มันขยันอยู่ในรูปของความนิ่ง เพราะขยัน ในที่จะต้อง ทำงานบริหาร ทำงานอยู่ในห้อง ทำงานอยู่ในส่วนตำรา หรือส่วนหลักการ หรือส่วนพวกนี้ ไม่เหมือน โสดาบัน เขาไม่มีฐานะเหมือนอาตมา เขาก็ลงลุยเลย จะเห็นรูปขยันของเขา ขยันกว่าอาตมา แต่ขยันกว่าอาตมา มันขยันซ้อน ขยันแบบบริหาร มันใช้หัว ขยันหัว แต่โสดาบัน เขาจะขยันมือตีน

ถาม : เหมือนพรพิชัย

พ่อท่าน : จะขยันออกเลย มือตีนของเขาขยัน ทำเห็นชัดเจนเลย เพราะฉะนั้น โสดาบันขยัน โพธิสัตว์ ต้องมีมาแต่ โสดาบัน พอเข้าอริยคุณก็เป็นโพธิสัตว์ เป็นอรหัตผล คือมีอริยคุณเป็นอรหันต์มาเรื่อย
โสดาก็มี อรหันต์ของโสดา แล้วก็มีโพธิสัตว์ของโสดา

สกิทา ก็มีอรหันต์ของสกิทา แล้วก็มีโพธิสัตว์ของสกิทา
อนาคาก็มีอรหันต์ของอนาคา มีโพธิสัตว์ของอนาคา

ถาม : คือ พ่อท่านนี่รู้สึกว่า ทุกตัวมันขยันทำ แต่จิตบริสุทธิ์ไม่ค่อยเน้น คือทัศนะของเขาต้องจิตบริสุทธิ์นำ

พ่อท่าน : ก็ต้องมีบริสุทธิ์ของโสดา จิตบริสุทธิ์ก็ต้องมีอรหัต ก็เขาไม่ถือสิ ถึงไม่บรรลุธรรมไง ผิดไง มิจฉาทิฏฐิไง จิตนำก็ต้องจิตมีโสดา จิตต้องมีอริยคุณ ผลมีอรหัตคุณ ต้องมีจางคลาย มีวิมุติ โสดาก็ต้อง มีจางคลาย มีวิมุติ มีจางคลาย มีวิมุติตัวไหน มันก็จะมีตัวอยู่เหนือ อยู่เหนือหมดทุกตัว นอกนั้น มันก็สัมผัส สัมพันธ์ได้ทุกตัว

ถาม : พ่อท่านคะ ในทัศนะที่ว่า งานคือสมถะ เวลาทำงานไม่ได้อ่านอะไร แต่คนที่เขาอยู่เฉยๆ เขาอ่านจิต อ่านใจ เห็นกิเลส

พ่อท่าน : ไม่จริง อ่านจิต อ่านใจ ไม่จริง ไม่มีสัมผัส มันก็ไม่ได้อ่านจิตอะไร มันไม่มีอะไรเกิด มันก็มีแต่ หยุดๆๆๆ นิ่งๆๆๆ คุณอ่านใจ ในขณะที่คุณเจโตสมถะ หรือในขณะที่คุณไม่มีสัมผัส กระทุ้งกระแทกอะไร เมื่อไร จิตของคุณก็รู้อยู่แล้ว เจตนาของคุณ คุณก็รู้อยู่แล้วว่า เราจะสงบๆ นั่นก็คือ คาถาสะกดจิต เราจะสงบๆ ถ้าเราไม่สงบ เราจะอ่านไม่ได้ๆ ใช่ไหมล่ะ? ก็คุณสะกดจิตของคุณอยู่แล้ว คุณนั่งเฉยๆ คุณก็ต้อง ให้จิตสงบ คุณก็สะกดจิตอยู่แล้ว

ถาม : อาจจะไม่สะกดจิตก็ได้ แต่เป็นลักษณะวิปัสสนา พออะไรฟุ้งออกมา ก็ล้างออก

พ่อท่าน : ล้างยังไงล่ะ วิปัสสนาล้างออก แล้วฟุ้งขึ้นมา ฟุ้งจัด หรือฟุ้งน้อย ฟุ้งมากละ ฟุ้งน้อยใช่มั้ย มันก็ได้ล้างน้อยๆ ก็เอาซิ ทำทีละน้อยๆไป

ถาม : คือมีทัศนะที่ว่าอยู่เฉยๆ ก็เห็นกิเลส พอทำงานก็อาจจะเป็นสมถะ ก็กลบเอาไว้ จิตมันอยู่กับงาน มันก็ไม่เห็นกิเลส กลบกิเลสไว้

พ่อท่าน : ไม่กลบๆ อยู่กับงานคุณก็ไม่กลบ ถ้าคุณเอง คุณฟังให้รู้เรื่อง คุณปฏิบัติให้เป็นว่า มีผัสสะ เป็นปัจจัย แล้วคุณก็อ่าน คุณกระทบกับวัตถุ คุณก็ยังเกิดกิเลสเลย กระทบกับคน คุณก็เกิดกิเลส มันจะกลบ อะไรละ

ถาม : พวกเราที่ทำงาน ไม่รู้จะเอาอย่างไร พ่อท่านสอนอย่างหนึ่ง สมณะบางรูป สอนอย่างหนึ่ง

พ่อท่าน : จะต้องมีวิบากอย่างนี้แหละ คืออาตมาก็ต้องเข็นสมณะพวกนี้ ถึงบอกว่า บางองค์ ท่านก็ อยู่ไม่รอด หรือไม่ก็ต้องแช่อยู่อย่างนี้ แล้วก็ถ่วงอาตมาไป

ถาม : ก็พ่อท่าน เป็นโพธิสัตว์ งานเป็นของพ่อท่าน อย่างพวกเรานี่ ไม่ต้องทำก็ได้

พ่อท่าน : ทุกคนเป็นโพธิสัตว์ เริ่มต้นเป็นโสดาบัน เป็นโพธิสัตว์หมด

ถาม : ผมมีความเห็นว่า น่าจะให้คำจำกัดความคำว่าพระอรหันต์ใหม่ พระอรหันต์น่าจะเป็น ผู้ที่ขยัน ขวนขวาย เอาภาระ เอางานเอาการ

พ่อท่าน : ไม่ต้องผม มาเป็นผู้ให้คำจำกัดความ พระพุทธเจ้าจำกัดความมาแล้ว ธรรมใด วินัยใด เป็นไป เพื่อความขยัน ธรรมนั้น วินัยนั้น เป็นของเราตถาคต ท่านรวมไว้หมดแล้ว เพราะฉะนั้น ธรรมะของ พระพุทธเจ้า ที่เป็นโลกุตรธรรม หรือเป็นธรรมของพุทธธรรม ก็ต้องเป็นไป เพื่อความขยัน ถ้าไม่ใช่ ความขยัน มันก็ไม่ใช่พุทธธรรม ก็เป็นฤาษีธรรมเดรัจฉาน หรือเดียรถีย์ธรรม ท่านกำหนดไว้แล้ว ไม่ต้องเอาผมกำหนด ไม่ต้องให้ผมนิยาม หรือจำกัดความ

ถาม : อรหันต์ แต่ละองค์นี่ มีลักษณะขยันเท่ากันไหม

พ่อท่าน : เท่ากัน

ถาม : อรหันต์ แต่ละรูปๆ ก็มีการทำงาน มีรอบจัดอะไร

พ่อท่าน : ใช่

ถาม : แต่บางรูป ทำไมรู้สึกว่า เป็นลักษณะนิ่มๆ

พ่อท่าน : องค์ไหนล่ะ? (ผู้ฟังหัวเราะ) อรหันต์องค์ไหนล่ะ บอกซิ อรหันต์องค์โมคคัลลา ท่านก็ทำงาน พระอานนท์ ท่านก็ทำงานทั้งวัน พระสารีบุตร ท่านก็ทำทั้งนั้นแหละ พระองค์ไหนไม่ทำงาน อรหันต์ องค์ไหนล่ะ? คุณเอาอรหันต์ขี้เก๊ สมัยนี้นะหรือ? ไม่ใช่อรหันต์ ที่ตู่ๆเป็นพระฤาษีสมัยนี้ เขาบอกว่า อรหันต์ที่เข้าใจกัน พระป่าเป็นฤาษี เป็นอะไร แล้วว่าเป็นอรหันต์ ไม่ใช่อรหันต์ ขอยืนยัน แต่เราไปหลงผิด เข้าใจว่าเป็นอรหันต์ ตามที่คนไปหลงกัน ยิ่งไปอ่านหนังสือลานโพธิ์ ไปอ่านหนังสือโลกทิพย์ อ่านหนังสือ ที่เขาระบุอรหันต์ ไม่ใช่อรหันต์หรอกนั่นน่ะ

ถาม : อรหันต์บางองค์มีบริวารมาก บางองค์มีบริวารน้อย

พ่อท่าน : นั่นอยู่ที่สมรรถนะของแต่ละคน แต่ขยันเหมือนกัน

ใช่ เพราะว่าพระพุทธเจ้าตรัสไว้แล้ว คำว่า ขยันนี่ ตรัสไว้แล้ว คุณไปเอามาแย้งสิ ธรรมใด วินัยใด เป็นไป เพื่อความขยัน ธรรมนั้น วินัยนั้น ของเราตถาคต ธรรมใด วินัยใด เป็นไปเพื่อความเกียจคร้าน ธรรมนั้น วินัยนั้น ไม่ใช่ของเราตถาคต ตรงนี้แหละ มันเป็นตัวไข ว่าธรรมะของพระพุทธเจ้านั้น สอนคน ต้องเป็น คนขยันขึ้นมา ไม่ใช่เป็นคนยิ่งอยู่เฉยๆ ยิ่งอยู่สงบ อยู่สงบ คืออยู่เฉยๆ อยู่นิ่งๆ อยู่ไม่ทำงาน ไม่ใช่คนขยัน ไม่ใช่คนขวนขวาย บุญกิริยาวัตถุ ก็สอนให้ขวนขวาย ความพยายาม สัมมาวายามะ คือความขวนขวาย ความพยายาม ที่จะรังสรรค์ แต่เขาก็ไปแปลว่า ความขยันปฏิบัติธรรม คือขยันอยู่เฉยๆ แล้วขยันอยู่เฉยๆ มันไม่ค้านแย้งกันหรือ?

ผู้ฟัง : ขยันอ่าน ขยันท่อง

พ่อท่าน : ขยันอ่าน ขยันท่อง ก็ขยันอ่าน ขยันท่องนั่นแหละ มันได้แต่ปริยัติ ไม่มีปฏิบัติ ไม่มีผัสสะ เป็นปัจจัย ตัวปฏิบัติก็อยู่ที่มีตา มีรูป มีวิญญาณ

ถาม : ประวัติของพระอรหันต์ แต่ละรูป ขณะที่บรรลุธรรม จะมีลักษณะนั่ง

พ่อท่าน : เตวิชโช ก็ใช้สิ ก็สอนพวกคุณอยู่เตวิชโช คุณจะทำเมื่อไหร่ก็ทำ แต่พวกเราก็ไม่ทำเอง เตวิชโช ทั้งวันไม่ใช่

ถาม : ถ้าอย่างนี้ ไม่ต้องถึงอรหันต์ อรหัตผล คล้ายๆยังไม่ถึงฐาน นั่งแล้วก็หลับ ฟุ้งซ่านไปเมืองผี

พ่อท่าน : ไม่ใช่ ขอยืนยันว่า อรหัตผลของคนที่จะมีแต่ฤาษีนั้น ไม่ใช่ตัวอรหัตผลแล้ว

ถาม : เขาไม่ขยัน เขาก็สร้างสรร เขาก็จะกลับไปเป็นฤาษี

พ่อท่าน : เป็นฤาษี ไม่ใช่อรหัตผล อรหัตผลต้องมีโพธิสัตวคุณ ต้องรื้อขนสัตว์ ต้องมีจิตที่จะขยัน ต้องมีจิต ที่จะต้อง เห็นแก่ผู้อื่น เพราะตัวที่หมดตน ก็ต้องเห็นแก่ผู้อื่น เมื่อมันไม่หมดตน มันก็ไม่เห็นแก่ผู้อื่น มันก็เลย จะเอาแต่ตน เฮ้ย กูพักดีกว่า กูหยุดดีกว่า มันก็ไม่ใช่แล้วนี่ ได้เชิงแค่นี้แหละ

ถาม : ถ้าไม่สร้างต่อ เขาก็กลับไปเป็นฤาษี ไม่ใช่อรหัตผลจริงๆ

พ่อท่าน : ใช่ อรหัตผลกับโพธิสัตว์ จะต้องเกิดพร้อมกัน เกิดพร้อมกัน หรือว่าเกิดคนละอย่างก็ตาม เกิดคนละ ลักษณะก็ตาม แต่มันจะต้องมาลงรวมกันว่า คุณหมดกิเลสคือคุณขยัน ไม่ใช่คุณหมดกิเลส คุณก็เดินแช่ติด ไม่ใช่

นี่นัยมันซับซ้อนลึกซึ้งมาก เพราะฉะนั้น คนของพระพุทธเจ้า คุณฟังดีๆ จะเห็น โอ้โฮ! คนของพระพุทธเจ้า นี่ถ้าเผื่อ บรรลุธรรมจริงๆ เลยนะ เป็นคนที่ถูกทางอย่างสมบูรณ์แบบเลยนะ จะเป็นคนมีคุณค่าขนาดไหน คุณคิดดูซิ มันยิ่งกว่าเครื่องกล มันยิ่งกว่าหุ่นยนต์ชั้นดี ที่สั่งบงการกำหนดตัวเอง ควบคุมตัวเองได้เอง เป็นหุ่นยนต์ ชั้นดี ที่เฉลียวฉลาด รู้โลก แล้วสั่งการได้เองอะไรเองเลย หุ่นยนต์ชั้นเลิศ ยอดในโลก

ถาม : อรหันต์จริง จะต้องขยัน

พ่อท่าน : ใช่ มันเป็นสัจจะของมันเอง เพราะฉะนั้น สัจจะตัวที่เรียกว่า เป็นอรหันต์จริง หรือเป็นอรหัตผล จริง มันก็เป็นสัจจะจริง มีอรหัตผลเมื่อไร ตัวขยันเข้าไปแทนที่ตัวนั้น เมื่อนั้น

พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า ธรรมใด วินัยใด เป็นไปเพื่อความขยัน ธรรมนั้น วินัยนั้น เป็นของเราตถาคต
เพราะฉะนั้น เมื่อผู้ใดบรรลุพุทธธรรมของพระพุทธเจ้าว่าวิมุติ ควรจะมีตัวขยันทันทีไหม ควรไหม เมื่อวิมุติ ไม่ใช่มุด ต้องขยัน

ตัวขยัน จะต้องมาเป็นตัววิมุติทันที ตัววิมุติ กับตัวขยัน จะต้องมาแทนกันทันทีเลย เพราะตัวตนหายไป มีแต่ตัว ผู้อื่นมาแทน แล้วก็รู้โลก มีเมตตา กรุณา มุทิตา เป็นพระพรหมเลย มีจิตเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ในตัวเสร็จเลย แทนที่ขึ้นมาเลย

เพราะฉะนั้น อาตมาถึงบอกว่า ทุกวันนี้นี่ พยายามที่จะสอนให้เข้าสัมมาทิฐิ แล้วก็พยายาม ที่จะเป็นจริง พวกนี้ จึงเห็นว่าขนาดพวกเรานี่ ยังเข้าใจสัมมาทิฐิยังไม่เจริญสมบูรณ์ ก็ไปได้ขนาดนี้ ถ้าได้จริง เป็นอรหันต์จริง อรหัตผลจริง โสดาก็มีอรหัตผลที่ชัดเจน สกิทาก็มีอรหัตผลที่ชัดเจน โอ้โห! ไม่ต้อง อะไรหรอก ภูมิของพวกเรา ถึงอนาคามีภูมินะ ส่วนใหญ่ ในอนาคามีภูมิ โอ้โฮ! จะเห็นปฏิกิริยา ความขยัน หมั่นเพียร ความมีน้ำใจ มีอะไรต่างๆ นานา จะเห็นรูปร่างของศาสนาพุทธนี่ มากขึ้นเลย

ทุกวันนี้ พวกเราก็ยังมีฤาษี อาตมาถึงหยิบฤาษีมาตี โอ้โห! ไม่ใช่เรื่องเล่นแล้วนะ ขนาดที่ขยายฤาษี มา ๖ ขนาดแล้วนี่

ถาม : ถ้าเน้นเรื่องงานมากๆ ฆราวาสก็ได้เปรียบนักบวช เพราะฆราวาสเขาทำงานได้มากกว่า ในด้าน พฤติกรรม

พ่อท่าน : จริง แต่ฆราวาส ก็จะสู้เราไม่ได้ ตรงที่ว่าปริยัติของเขาไม่พอ เพราะเขาไม่มีวัน ที่จะมีอะไร ต่ออะไร ต่างๆ นานา ที่แวดล้อมเพียงพอ มันห่างมันไกล เพราะฉะนั้น ความเฉลียวฉลาดเอง ความที่จะรู้ ในลักษณะพวกนี้ มีสปายะที่ดี มีธรรมสปายะ หรือมี บุคคลสปายะ ที่จะเป็นสัตบุรุษ ได้คอยแนะนำ เสมอ ไอ้โน่นไอ้นี่ มันไม่ใช่เรื่องเล่นๆ เรื่องละเอียดลออ มันก็ช้า ก็นาน ฆราวาสเขาก็อยู่โน่น เขาก็ทำงมงายๆ ของเขาเหมือนเด็กๆ ปล่อยให้ทำ ก็งุ่มง่ามๆไป ดีไม่ดี ก็ทำเสียทำหาย ก็ขาดทุน แพ้ภัยตัวเยอะ แต่ถ้ามา อย่างนี้แล้ว องค์ประกอบของสปายะ มันพร้อม มันก็จะเป็นทุกทั้งสิ้นของพรหมจรรย์

มิตรดี สหายดี สังคมสิ่งแวดล้อมดี สัมปวังโก มีเสนาสนะ บุคคล อาหาร และ ธรรมสปายะ ครบ มันก็ได้ดีกว่า แม้คุณจะเป็นฆราวาสนี่ก็เป็นได้ ได้ดีกว่า ฆราวาสอย่างพวกคุณ จนกระทั่ง ขึ้นมาเป็น นักบวชได้ ก็ยิ่งดี ไม่มีปัญหาอะไร

แต่นักบวช จะต้องมีวินัย มีหลักเกณฑ์ อะไรต่ออะไรอีกมาก ซึ่งก็ยาก บางคนถึงถนัดว่า อย่าเพิ่งมาเอา วินัยเลย เราค่อยไปตามขั้นตามตอนนี่เถิด เมื่อเป็นฆราวาส ถึงขั้นถึงที่แล้ว การขึ้นมาก็ง่าย มาเอาวินัย ก็ง่าย มาเอาหลักเกณฑ์ของวินัยอะไรต่างๆ ก็ง่าย

แต่ถ้าเผื่อว่ายังไม่แล้ว ยังไม่ง่าย ขึ้นมาบวช แล้วมีวินัย โอ้โห! มันลำบากใจ ถึงสึกออกไปไง หลายคน สึกออกไปแล้ว ไม่มีวินัยพระ ก็ไปอยู่เป็นฆราวาส แต่ก็อยู่กับพวกเรานี่แหละ นั่นแสดงว่า มาเอาวินัยนี่ มันเกินตัวไปก่อน ก็ทำอันโน้นมา แล้วถึงขยับขึ้นมา คอยดูในอนาคต สุดท้าย ผู้ที่ออกไป สึกก็อยู่กับพวกเรา จนปฏิบัติ ถ้าได้ขึ้นมา ประเดี๋ยวก็มาบวชใหม่อีกแหละ ในอนาคต ตอนนี้อาตมาก็พูดไปเท่านั้นเอง อีกหน่อย ก็เหมือนกัน คอยดูสิ ก็มาบวชใหม่อีกแหละ บวช ตอนนี้ เอาวินัยได้แล้ว เอาหลักเกณฑ์ อะไรได้แล้ว

เพราะฉะนั้น คนที่บวชแล้ว มันไม่ไหว มันฝืนจริงๆ สู้ไม่ได้ก็ลงไป เพราะฉะนั้น บางทีคนมาบวชแล้วนี่ ไม่ตรง เท่าไหร่ ช้ากว่าเป็นฆราวาส เป็นฆราวาสๆมาแล้ว ปั๊บ ได้บวช พอถึงฐานบวช บวชอันนี้ไวกว่า

เพราะฉะนั้น บางคนอยากจะได้ฐานะนักบวชนี่ ก็มาเป็นฤาษีในฐานะนักบวช ก็เลยเลี่ยง เพราะอินทรีย์ ไม่ถึง ก็ช้า แต่จะสึกไปก็ใช่ที่ อาย แหม บวชแล้วนี่ เราก็ไม่อยากสึก นะ แต่เราก็รู้ว่า เราไม่แข็งแรงเท่า เป็นฆราวาสนี่ ยังมีอะไรต่ออะไร ที่โอกาสเขาจำเป็นจะต้องถูกบังคับ วินัยอะไร ก็ไม่ต้องคั่น

ถาม : พอเขาอยู่ในฐานฤาษี แล้วเข้ามาบวช พอเป็นนักบวช ก็เป็นผู้สอน เวลาสอนก็สอนอีกอย่างหนึ่ง ต่างหาก จากพ่อท่าน พ่อท่านสอนอย่างหนึ่ง ลูกๆสอนอีกอย่าง

พ่อท่าน : นั่นแหละ ก็เลยยิ่งหลงไปเลย นั่นแหละมันจึงยาก มันจึงซ้อน เป็นความซวย ที่เป็นวิบาก ของอาตมา เพราะฉะนั้น นักบวชบางคนตัวเองเลี่ยง แล้วตัวเอง ก็เอาตัวเอง อาตมาถึงต้องมาแก้อยู่นี่ แล้วตัวเอง ก็ช้านะ ไม่ใช่ไม่ช้านะ

ถาม : คนที่ทำงานตามพ่อท่านก็ยาก นโยบายใหญ่อย่างหนึ่ง พอเวลาทำงาน มีนโยบายรองมาซ้อน เป็นตัวดัก มันก็เป็นไปไม่ได้ มันก็เหมือนเราผิด เราก็จะผิดในหมู่ของทีมหนึ่ง แต่ไม่ผิดสำหรับทีมหนึ่ง ทำให้สู้กับ อัตตาหลายตัว

พ่อท่าน : ใช่ นี่ อาตมาเอง อาตมาก็เข้าใจอยู่ก็รู้อยู่ แต่ไม่รู้จะเลี่ยงยังไง เพราะฉะนั้น ผู้ที่มาบวชแล้ว ได้ฐานมาแล้ว แล้วตัวเองก็มาถนัดมาตามตัวเอง บางคนก็เลี่ยง สายเจโตก็เลี่ยง ไปสอนไม่ค่อยสอน เท่าไหร่ ส่วนสายปัญญา ก็เอาแต่ปัญญามาสอน สอนแล้วก็มาแก้ที่อาตมา อาตมาพูดอย่างนี้ อาตมาแนะ อย่างนี้ เอา นี่ก็ไปสอนว่า ไปทำงานมาก ตัวเองขี้เกียจงาน ก็ไปสอนพวกเราว่า อย่าทำงานมาก อาตมา ก็ต้อง มาแก้อย่างนี้ อาตมาช่วยไม่ได้ ก็ไม่รู้จะทำอย่างไร เป็นวิบากของอาตมา เพราะว่าไม่เอา ก็ไม่ได้ จะต้อง มีนักบวชบ้าง มีอะไรบ้าง ก็ต้องแก้เอา เพราะฉะนั้น อาตมาถึงบอกว่า บวชก็ไม่ใช่บวชง่ายๆ หรอก ขนาดไม่บวชง่ายๆ ยังมีช่องเลี่ยงมาง่ายๆเลย เสร็จแล้วก็มาตีกิน แล้วช้านะ คนเหล่านี้จะช้า ช้าตัวเอง เพราะว่า มันแรงนะ

ถ้าไม่เถียงอย่างนี้ ตัวเองก็ไม่ได้เหมาะสมกับตัวเอง เมื่อไม่เหมาะสมกับตัวเอง ตัวเองเสียท่า ตัวเองก็ไม่ดีสิ มันไม่ดีกับตัวเอง นี่มันซ้อน ละอายหน้ากิเลสนะ ไม่ใช่หิริโอตตัปปะเทวดา นี่ มันละอายหน้ากิเลส ป้องกันกิเลส ให้แก่ตัวเอง นี่ก็แรง อาตมาก็ไม่รู้จะทำอย่างไร เพราะว่าเป็นเหตุการณ์ เป็นภาวะ ที่อาตมา จำนน อาตมา ก็ได้แต่เทศน์ว่า ไม่ได้ว่าตรงๆ หรอก ฟังดีๆ อาตมาก็เทศน์ว่าอยู่เรื่อยๆ นั่นแหละ ไม่ได้ว่า ตรงหรอก อาตมารู้ตัวบุคคลก็รู้ แต่ก็เทศน์ว่าไปเรื่อยๆ เพื่อให้รู้สึกตัว ไม่อยากจะทำแรงนัก เดี๋ยวก็สึกหมด อาตมาก็จะมีพระ น้อยไป (ผู้ฟังหัวเราะ) อาตมาก็ได้ขนาดนี้ คือจำนนทุกอย่าง อาตมาก็ได้แค่นี้แหละ ไม่รู้จะทำยังไง

ถาม : หลักการปฏิบัติ ต้องเอาความเห็นของหมู่ ถ้าเอาความเห็นของพ่อท่าน ก็อยู่ไมได้อีก

พ่อท่าน : ความเห็นของหมู่ ยิ่งไม่มีหลักการเลย ยิ่งทะเลาะ ก็ไม่เป็นไรก็ทำไป อาตมาทนได้ไง เพราะฉะนั้น อาตมาจะถูกข่ม ไม่ต้องเอาความเห็นของอาตมาหรอก ไม่เผด็จการ อาตมาทนได้ อาตมายอมได้ แต่ถ้าเผื่อว่า เอาความเห็นของคนผู้ใหญ่ เป็นหลักนะ อีกหน่อยต่อไป ผู้ใหญ่ที่ไม่ได้เรื่อง เข้ามายึดหัวหาด เป็นเผด็จการเลย แล้วเบี้ยว แล้วศาสนาจะเสื่อม เพราะผู้เผด็จการนั้น ใช้อำนาจ เสร็จแล้วก็ ความเห็น ไม่ตรง ไปกันใหญ่เลย เพราะฉะนั้น ตัวเองมีอัตตามาก อัตตาก็เลยมาทำอำนาจ ก็เลยจะไปกันใหญ่ ไปเอาความเห็นของหมู่ นั่นแหละถูกแล้ว โดยหลักวิธี

ถาม : เพราะว่าพ่อท่านยกให้หมู่

พ่อท่าน : อาตมายกให้หมู่ อาตมาเอง อาตมาอดได้ทนได้ อาตมาไม่ว่าอะไร จะมาลบหลู่ ไม่เอาตาม อาตมา อาตมายอมได้ ไม่เป็นไร แต่ทีนี้ ผู้ที่ไม่ใช่ ก็มักจะเอาอำนาจบาตรใหญ่อยู่ ก็หัดระวังเอาตามหมู่ แม้แต่ฆราวาสเอง ก็เหมือนกัน ก็เอาตามหมู่ อย่าไปเอาอำนาจบาตรใหญ่ของตัว นี่ มันเป็นหลักการ

ถาม : ตอนนี้มันไม่เป็นขั้นตอน เพราะว่า คนที่สายทำงาน เขาก็พาไปหาพ่อท่านเลย เขาไม่ปรึกษา เป็นขั้นตอน เพราะว่า ขั้นตอนมันถูกตัด ก็เลยไปทางขั้นตอนที่ไปได้

พ่อท่าน : อาตมาเอง อาตมาก็จะใช้วิธีว่า ก็ให้อันนี้เห็นควร อันไหนที่ชัดเจน อาตมาตัดสินไป เอาตาม อาตมา บางครั้งบางคราว อาตมาก็โยนให้หมู่ ซึ่งก็อยู่ในดุลย์พินิจของอาตมาอีกเหมือนกัน บางครั้ง อาตมาก็ไม่ปล่อย ให้เป็นอย่างนั้นมาทีเดียวหรอก แหม! อะไรมาถึงอาตมา อาตมาก็ตัดสินให้หมดไป ทันที ทุกคนเมื่อไร ก็เห็นอยู่

ถาม : ดิฉันมีความเห็นว่า คนที่มีความเห็นไม่เข้าใจ ไม่เข้าใจในการปฏิบัติงาน ต้องยึดศีลเป็นหลัก การทำงาน เป็นหมู่ เราก็ทำตามหมู่ไปได้ แต่เรื่องจิต เรื่องศีล ก็เป็นของเราอีก เป็นส่วนตัว เขาไม่เข้าใจ

พ่อท่าน : ประโยชน์ตน ประโยชน์ท่าน ที่บัวขวัญ ถามว่าปฏิบัติของตน ศีลของตน กรรมฐานของตน เสร็จแล้ว กรรมฐานของตน กับของหมู่ ที่หมู่เขาก็ทำ มันรวมกันไม่ได้ มันก็เลยดูเหมือนค้านแย้ง ที่จริง ไม่ค้านแย้งหรอก ศีลของตนนั้นน่ะ ยึดถือของตนก็จริงอยู่ อันใด ที่ตนเอง มันทำกับหมู่นี้ไม่ไหวเลย เพราะว่า เราไปอนุโลม เช่น ตัวอย่างง่ายๆ กินกระเทียม ตัวเองถือศีลของตัวเองไม่กินกระเทียม ตัวเอง ก็เลยบอก ไม่ไหวหรอก เราไปกินกระเทียม ยังไง เราถือศีลของเราไม่กินกระเทียม คุณยึดของคุณได้ คุณไม่กิน ของคุณได้ แต่คุณอย่าไปห้ามหมู่เขา แล้วคุณก็หัดวางใจหมู่เขา นั่นคือ วางอัตตาตัวตน วางของ ตัวเอง เมื่อคุณ วางของตัวเอง หมู่เขากินกระเทียม ก็กินไปซิ ดีไม่ดี คุณผัดกระเทียมให้แก่เขา ก็ผัดได้ ด้วยซ้ำไป แต่คุณไม่กินนะ คุณก็อย่ากิน เขาไม่ว่าอะไรคุณนี่ คุณไม่กิน เขาก็ไม่ว่าอะไรคุณ แต่คุณอย่า ไปค้านแย้งหมู่เขา ส่วนรวมเขาเอาอย่างนี้ เป็นต้น นี่ยกตัวอย่างง่าย

อันอื่นก็เหมือนกัน คุณจะอนุโลมทำกับเขาก็ได้ เช่น บอกว่า ตกลงสร้างโรงน้ำดื่มนี่ เราไม่เห็นด้วยหรอก เราไม่เห็นด้วย เมื่อคุณไม่เห็นด้วย ก็ไม่เป็นไร เมื่อสร้างโรงน้ำดื่มมา คุณก็ไม่ต้องดื่มน้ำนี้ก็แล้วกัน แต่คุณ ไปช่วยเขาทำ ก็แล้วกัน ไปช่วยเขา ขนอิฐ ขนหิน สร้างอะไรก็สร้าง คุณก็ไม่ต้องกินซิน้ำดื่ม ก็ไม่เห็นด้วยนี่ ทำไปทำไมน้ำดื่ม ก็ไม่เป็นไร

แต่ถ้าคุณเอง คุณก็ไม่ขัดข้อง ส่วนตัวของคุณ คุณก็ไม่เอา เมื่อไม่เอา เขาก็ไม่ว่าอะไร นี่ คุณไม่กินน้ำดื่มนี่ ก็ไม่เป็นไร คุณจะกินน้ำคลอง ก็ไม่ว่าอะไร แต่ว่านี่เขาจะเอานะ เขาจะสร้างโรงน้ำดื่มละ เอาน้ำดื่ม มาให้กินละ คุณไม่เห็นด้วย ไม่จำเป็น ก็ไม่เป็นไร ไม่จำเป็น ก็ไม่ต้องกินของคุณ

ถาม : เพียงไม่เห็นด้วยตอนต้น ไม่เห็นด้วย ไม่ช่วยทำ แต่ช่วยดื่ม

พ่อท่าน : ไอ้นี่ซิ ไม่เข้าท่า เห็นมั้ย นี่ยกตัวอย่างให้ฟังชัดๆ อย่างนี้ คุณอยู่กับหมู่ คุณก็ทำสิ กิจการของหมู่ พระพุทธเจ้าท่านว่า ในนาถกรณธรรม กิจการของหมู่ เราก็พรั่งพร้อมกันทำ พรั่งพร้อมกันตัดสิน เอามติ เสร็จแล้ว ก็ทำไป ส่วนตัวของเรา ก็ทำส่วนตัวของเรา ของเราก็ขัดเกลาของเรา เราจะลองดูซิ เราจะอด ไม่กินกระเทียม เราก็ลองของเราไป แต่สักวันหนึ่ง ถ้าหมู่เขากินกระเทียมทั้งหมด ถ้าเราอยู่เหนือกระเทียม แล้ว เราก็กินกระเทียมได้ มันไม่เป็นปัญหาหรอก

คุณหมดกามแล้ว คุณกินเข้าไปสิกระเทียม บอกว่ามันเป็นกลิ่น เป็นรส มันติด มันเป็นรส เป็นกามอะไร อร่อย มันหอม มันโน่น มันนี่ ก็คุณอยู่เหนือมันแล้ว คุณก็กินเข้าไปสิ กระเทียม มันเป็นยาด้วยซ้ำไป เป็นของดี ด้วยซ้ำไป อย่างนี้เป็นต้น มันไม่แปลกอะไรหรอก แต่เนื้อสัตว์ เราไม่กินหรอก เนื้อสัตว์ ไม่ใช่ธาตุ ที่จะสังเคราะห์มนุษย์ ถึงแม้ว่า เราจะอยู่เหนือมันแล้ว เราก็ไม่กินหรอก เนื้อสัตว์ ไปกินทำไม แล้วจะต้อง ไปกิน ฆ่ากันทำไมเล่า พระพุทธเจ้าสอนไม่ต้องฆ่าสัตว์ ศีลข้อแรก อย่างนี้เป็นต้น อันนั้นก็ไม่ต้องเลย

แต่เรื่องกินพวกนี้ ไม่มีปัญหาอะไรหรอก เรื่องส่วนนี้ มันของไม่เหมือนกัน ไม่กินเนื้อสัตว์ กับไม่กินกระเทียม ไม่เหมือนกัน

ถาม : บางคนมีสินค้าของตนอย่างหนึ่ง การสัมผัส การคบคุ้น เขาก็จะรู้อยู่ในสิ่งนั้น เวลาพูดคุย ก็จะพูดคุยสิ่งนั้นก่อน เหมือนโฆษณาสินค้าของตน แต่บางทีก็ไม่หวังว่าสินค้าของเรา จะให้คน ได้รับทุกคนไป แต่ในสภาวะที่เราอยู่กับสิ่งนั้น จำเจ หรือรู้ในสิ่งนั้น แล้วเราก็จะมีสภาพ พูดถึงบ่อยๆ

พ่อท่าน : ก็ใครที่ถนัด หรือชอบ มันก็ต้องบ่อยๆ มันก็ต้องพูดถึงบ่อย มันก็ต้องเกี่ยวข้องบ่อย เพราะว่า เราชอบอันนั้น หรือเรามีอันนั้นมาก เราถนัดอันนั้น มันก็เป็นธรรมชาติธรรมดา

เพราะฉะนั้น คนนั้นจะมีอันนั้นมาก อันนั้นบ่อย ก็ไม่เป็นไร ก็เรื่องของเขา ทีนี้เราเอง เราจะเอาด้วยก็เอา หรือว่า คนที่มีอันนั้นมากๆ ธรรมชาติ เกี่ยวข้องกับอันนั้น กินอันนั้น ใช้อันนั้นบ่อยๆ ก็ต้องรู้ตัวบ้างสิว่า อันนี้คุณก็อยู่เหนือมัน ได้หรือยังล่ะ? อยู่เหนือมันได้แล้ว ลองพรากดูบ้างซิ

ถ้าอยู่เหนือมันได้ แล้วพราก มันก็ไม่โหยหา ไม่อาวรณ์ ก็ไปอันอื่นบ้าง แต่ถ้าเผื่อว่า อยู่เหนือมันไม่ได้นะ พอพรากมันไป ประเดี๋ยวเถอะ มันระลึกถึงแล้ว มันก็อยากจะอันนั้นแหละ มันจะเป็นอย่างนั้น

เพราะฉะนั้น ต้องเรียนรู้ อย่ามัวจำเจอยู่อันเดียวอันเก่านัก แต่อันไหนที่จำเจ จำเป็น ที่จำเจ เราต้องรู้ตัวว่า อันนี้ มันจำเป็นที่จำเจ แต่ว่า ก็ลองๆดูบ้าง หัดพราก หัดอะไรบ้าง หรือมีคนแทน ก็ให้คนนี้ ทำแทนอันนี้ซะ แล้วให้เขา ไปอันอื่นบ้าง เราถนัด เรื่องถนัด มันก็ง่าย อะไรที่เราถนัด มันก็ง่าย สะดวก จะบอกว่า มันชอบ หรือจะบอกว่า มันสะดวก มันง่าย ก็คือ แนวโน้มสบาย สะดวก สบาย มันถนัด มันชำนาญ จะบอกว่าชอบ ก็ดูอารมณ์ที่ลึกๆ ของเราเองว่า เราชอบ เราติดมั้ย เท่านั้นเอง

ถ้าเราอ่านตัวนั้นเป็นนะ มีญาณที่จะอ่านตัวที่ชอบ ที่ติดที่ยึดมั้ย ถ้าเราไม่มีจิตที่ชอบ ที่ติด ที่ยึดจริงแล้ว ละก็ อะไรๆมันก็อยู่ที่สภาพลงตามธรรมชาติ อันนี้เราสัมผัสสัมพันธ์ เรารู้มันดี เราง่ายกับมัน เราชำนาญ กับมัน เราถนัดกับมัน เราเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับมัน มันเหมือนเนื้อตัวของเราเลย เราง่ายไปหมด มันก็เป็น ธรรมชาติของมัน อันนั้นก็เป็นอันนั้น แค่นั้นเอง แต่ใจเรา ไม่ได้ดูดดึง ผูกพันอะไร


(ถาม-ตอบปัญหาวัตรเช้า ๒๐ ก.ย.๓๖ /FILE:3588.SSS)

ถอด โดย สม.ปราณี ๘ ต.ค.๓๖
ตรวจทาน ๑ โดย สม.ปราณี
พิมพ์ โดย สม.นัยนา ๙ ต.ค.๓๖
ตรวจทาน ๒ โดย โครงงานถอดเท็ปฯ ๙ ต.ค.๓๖